
ตามกลไกตลาด ราคาสินค้าจะปรับตัวขึ้นหรือลงขึ้นอยู่กับดีมานด์และซัพพลาย เป็นหลักการทั่วไป ดังนั้น หากจะไปมัดมือชกให้ผู้ประกอบการลดราคาสินค้าลง จะเป็นธรรมหรือไม่ ???กรณีนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่เชื่อว่าท่าทีอันขึงขังของ รมว.พาณิชย์ น่าจะมีข้อมูลลึกๆพอสมควร และได้แต่หวังว่ารายงานที่ นายยรรยงพวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน มอบให้“มิ่งขวัญ” ก่อนที่จะพบกับผู้ประกอบทั้ง 250 รายจะเป็นข้อมูลที่จะได้รับการ “ยอมรับ”และสามารถสยบความเคลื่อนไหวไม่ให้มีการ“วงแตก” กันเสียก่อนเพราะแค่ “มิ่งขวัญ” ส่งสัญญาณผ่านสื่อไปเพียงแค่วันเดียว บรรดาผู้ประกอบการที่ไม่ยอมเสียผลประโยชน์ ต่างตบเท้าตั้งท่าคัดค้านเกี่ยงงอนกันแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มเจรจาด้วยซ้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากกลุ่มบริษัทในเครือ“สหพัฒน์” ซึ่งมีสินค้าอุปโภคที่จำเป็นอยู่ในมือนับร้อยรายการ และล้วนเป็นสินค้าจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคของระดับรากหญ้าโดยตรง อาทิ ข้าวสาร อาหารแห้ง ผงซักฟอกสบู่ ยาสีฟัน ฯลฯนายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กก.ผอ.บริษัท ไทยเพรซเิดนทฟ์ ดูส ์จำกดั (มหาชน) หนงึ่ในเครอื “สหพฒั น”ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ระบุว่า เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น หากต้องการให้ผู้ประกอบการลดราคาลง ก็ต้องไปทำให้วัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นลดลงให้ได้ก่อน ถ้าทำได้แล้วค่อยมาว่ากัน ซึ่งแนวทางดังกล่าวฟันธงเลยว่า ผู้ประกอบการไม่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะในสภาวะปัจจุบัน
“หากผู้ประกอบการให้ความร่วมมือในแนวทางดังกล่าว มีอยู่วิธีเดียว คือ ลดคุณภาพของสินค้าลง หรือทำเป็นสินค้าไฟติ้งแบรนด์ที่ผ่านมา ก็มีบทเรียนผลิตผงซักฟอกธงฟ้าออกจำหน่าย สินค้าคุณภาพไม่ดีก็ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภค แต่ความเป็นจริง ไม่มีผู้ประกอบการรายใดอยากจะลดคุณภาพสินค้าลง เพราะมีโอกาสที่แบรนด์จะเสีย ใครจะกล้าเสี่ยงเอาแบรนด์ที่สร้างสมมาแล้วต้องพังทลายไป”ขณะที่ นายสมบุญ ประสิทธิ์จูตระกูลนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย บอกว่าหากต้องการให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามที่รัฐบาลต้องการ รัฐคงต้องเข้ามาช่วยเหลือในด้านของต้นทุนวัตถุดิบ และลดอัตราการเก็บภาษีเงินได้จากปัจจุบันที่จัดเก็บ 30%แนวทางที่กระทรวงพาณิชย์งัดออกมานั้นเข้าใจกันว่า รมว.พาณิชย์ ต้องการมีผลงานให้ประชาชนชื่นชอบ หากภาครัฐให้ความร่วมมือก็อยากจะร่วมมือ แต่ต้องไม่ให้กระทบถึงต้นทุนเพียงแค่ยกแรก ก็ชักจะเป็นห่วง รมว.พาณิชย์ ซะแล้ว!!!