มานิตย์ จิตจันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และประธานแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) กล่าวในเวทีสัญจร “ระดมความคิด ฝ่าวิกฤติรัฐธรรมนูญ 2550” ที่ โรงแรมปาร์ควิว จ.ยะลา ถึงสาเหตุที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยกล่าวย้อนให้ผู้เข้ามร่วมสัมมนาเห็นว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดการยึดอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศขึ้นโดย อดีต ผบ.ทบ. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งระบุไว้ชัดในกฎหมายอาญามาตรา 113 ซึ่งมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ในข้อหากบฎ
นอกจากนี้ หลังการยึดอำนาจของประชาชนไปแล้ว ยังแต่งตั้งพวกตัวเองเข้ามานั่งร่างกฎกติกาขึ้นมาใหม่ ที่ต้องเรียกว่า กฎของโจรกบฎ ซึ่งปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้น รัฐธรรมนูญ 2550 จึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญของประชาชน แต่เป็นการแอบอ้างเพื่อต้องการอำนาจที่นำมาใช้บังคับประชาชนทั่วประเทศให้ปฏิบัติตาม
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ยังกล่าวด้วยว่า การยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวง และสาเหตุที่แท้จริงที่คณะปฏิวัติยอมให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ก็เพราะหลังยึดอำนาจแล้ว นานาประเทศรังเกียจไม่คบค้าสมาคมด้วย ส่งผลให้การค้าขายกับต่างประเทศสะดุดลงอย่างฉับพลัน ขณะที่รัฐบาลแต่งตั้งโดยคณะปฏิวัติ ก็ไม่สามารถบริหารประเทสได้ จึงหมดหนทางยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยความจำใจ
อย่างไรก็ตาม ผลพวงของ กฎกติกาโจรกบฎ ยังคงมีอยู่และลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็คือรัฐธรรมนูญ 2550 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นประชาชนคนไทยทุกคนต้องช่วยกันผลักดันให้ยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญ 2550 และนำรัฐธรรมนุญ 2540 ของประชาชนมาปรับปรุงแก้ไขบังคับใช้แทน
นอกจากนี้ นายมานตอย์ ยังกล่าวถึงการพิจารณาความของผู้พิพากษาในปัจจุบันด้วยว่า แท้จริงแล้ว ผู้พิพากษาก็คือลูกจ้างของประชาชน ที่มีความเชี่ยวชายด้านกฎหมาย และประชาชนยอมเสียภาษีให้เป็นเงินเดือนเพื่อเข้าไปทำหน้าที่ตัดสินคดรความตามที่ประชาชนได้วางกรอบกติกาไว้ ซึ่งหากประชาชนเห็นว่า คำตัดสินใดของผู้พิพากาษไมสมเหตุสมผล สามารถร่วมลงชื่อให้รัฐสภาถอดถอนได้ จึงไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนืออำนาจของประชาชนและแตะต้องไม่ได้
