WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 14, 2012

คำพูดเป็นนายคน (และเป็นนายของอภิสิทธิ์ด้วย)

ที่มา Voice TV




ในช่วงเวลาเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งในบทบาทผู้นำฝ่ายค้านและนายกรัฐมนตรี เขาได้ใช้หลายช่วงเวลา สร้างชุดคำพูด ที่ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต้องบันทึกไว้ เพราะคำพูดเหล่านั้น ยังถูกนำมาใช้เป็นศรย้อนกลับเขา ในช่วงเวลาที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีผู้ต่อต้านมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

คำพูดเป็นนายคน ยังเป็นวลีที่ยังใช้ได้ดีกับทุกคน ในทุกสมัย ไม่เว้นแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในสมัยเขาเป็นฝ่ายค้าน ที่มีหลายชุดคำพูด กลายเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย และเป็นคำพูดที่กลายเป็นศรย้อนกลับการกระทำของเขาในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายก รัฐมนตรีนาน 2 ปี 231 วัน

31 สิงหาคม 2551 นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน จัดชุดคำพูดนี้ ถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญนิติบัญญัติ ซึ่งในขณะนั้น มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเกิดขึ้นแล้ว

9 ตุลาคม 2551 หรือ เพียง 1 เดือนเศษ ก่อนที่เขาจะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ 2 วันหลังจากเกิดเหตุรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดทางให้คณะรัฐมนตรีได้เข้าอาคารรัฐสภา เพื่อแถลงนโยบายต่อที่ประชุม

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดชุดคำพูดนี้ ถึงรัฐบาล

ผมไม่นึกไม่ฝันว่า เรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส"

"แล้วเรายังมีรัฐ ที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ"

" พฤติกรรมอย่างนี้ ไม่มีทางนำพามาซึ่งความสมานฉันท์ความปรองดอง"

"พันธมิตรทำถูก  ทำผิด รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ทำผิด ไม่มีสิทธิ์ทำร้ายประชาชน อันนี้คือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์"

"เราเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ทำในสิ่งที่เราพอจะทำได้ ถ้าการทิ้งตำแหน่งนั้นทำให้บ้านเมืองสงบแก้ไขปัญหาได้ เราทำทันที"

"การเมืองในวิถีทางประชาธิปไตย ไม่มีที่ไหนในโลก ที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ"

นายอภิสิทธิ์ ในสมัยที่เป็นฝ่ายค้าน ยังเคยให้สัมภาษณ์ในรายการถามจริง ตอบตรง ทางสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที หรือช่อง 11 โดยเรียกร้องหลายประเด็นให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อลดความขัดแย้งในบ้านเมือง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2551 ถึง 5 สิงหาคม 2554 รัฐบาลของเขาเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง ไม่แตกต่างจากรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์  ซึ่งในครั้งนี้ เขาในฐานะนายกรัฐมนตรี ตอบกลับข้อเรียกร้องให้รัฐบาลบยุบสภา และเรื่องการใช้กำลัง เข้าควบคุมมวลชนแตกต่างออกไป

และประโยคสุดท้าย จากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่จะกลายมาเป็นนายของเขาอีกครั้ง นั่นคือการให้สัมภาษณ์ในรายการ BBC World News ของสถานีโทรทัศน์บีบีซี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะช่วงเวลา 5 นาทีเศษ ที่คนไทยได้ดูคลิปนี้ จากเว็บไซต์ยูทูป เขาได้พูดประโยคสำคัญที่ว่า มีคำสั่งให้ใช้กระสุนจริงภายใต้สถานการณ์แบบไหน  ซึ่งคำสั่งออกโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อป้องกันตัวเอง เพื่อป้องกันการเสียชีวิตของประชาชน  และโชคร้ายที่มีประชาชนเสียชีวิต หรือ And unfortunately, some people died

ซึ่งความโชคร้ายตามมุมมองของนายอภิสิทธิ์ ทำให้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต้องบันทึกว่า ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นาน 2 ปี 231 วัน  มีผู้ชุมนุมต่อต้านเขาและรัฐบาลเสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุดในประเทศไทย เพราะการชุมนุมนาน 2 เดือน 7 วัน ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม ถึง 19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิต 99 รายและบาดเจ็บกว่า 2,000 คน
13 ธันวาคม 2555 เวลา 18:10 น.

Thursday, December 13, 2012

ล้านคำบรรยาย (พิเศษ) การ์ตูนเซีย 13/12/55 ทำเหมือนกับจะถึงวันสิ้นโลกของพวกเขา

ที่มา blablabla

 



ฮุย เล ฮุย ทุยส์แลนด์ แดนตอแหล
ไม่เปลี่ยนแปร ความระยำ ทำไขสือ
ปากปราศรัย ใจโสมม สมคำลือ

นี่แหละคือ ดินแดน แคว้นสนธยา....

คนดีๆ ถูกเหยียบย่ำ ทำลายสิ้น
ด้วยเล่ห์ลิ้น สามานย์ สันดานหมา
คอยจิดตอด เห่าหอน อ้อนบาทา
สมชื่อว่า "เมืองตอแหล" ไม่แคร์ใคร....

ชื่อ "ทักษิณ" แม้ร้อนหนาว ก้าวไม่พ้น
ตามหลอกหลอน ทุกข์หมองหม่น จนเป็นไข้
วันสิ้นโลก หากย่อยยับ แตกดับไป
พวกจัญไร มันตามโกรธ โทษคนเดียว....

เดินหน้าแก้ รัฐธรรมนูญ เพิ่มพูนผล
แม้นมืดมน ทุกที่ทาง กลางน้ำเชี่ยว
จะคอยรอ และชื่นชม วันกลมเกลียว
อย่าแอบเบี้ยว หลบไปหงอ รอวันตาย....

๓ บลา / ๑๓ ธ.ค.๕๕

'อภิสิทธิ์-สุเทพ'ไม่เซ็นรับข้อกล่าวหาร่วมฆ่าประชาชน

ที่มา Voice TV

 'อภิสิทธิ์-สุเทพ'ไม่เซ็นรับข้อกล่าวหาร่วมฆ่าประชาชน


อภิสิทธิ์ และ สุเทพ ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ไม่ลงลายมือชื่อในสำนวนการสอบสวน ลั่นขอสู้ถึงที่สุด มั่นใจไม่ใช่คนขี้โกง

วันนี้ (13 ธ.ค.) นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังร่วมฟังการสอบปากคำ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ว่า เบื้องต้นทั้ง 2 คนให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ยอมลงลายมือชื่อในสำนวนการสอบสวน เพราะถือว่าไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งตนได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากมีการตั้งข้อกล่าวหาดังกล่าว ในขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น ต้องมีการส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช. แต่คดีนี้ ไม่มีการส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช. ดังนั้นขั้นตอนจึงจบในชั้นพนักงานสอบสวนดีเอสไอ

ตนถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการทำผิดกฎหมาย ใช้อำนาจโดยมิชอบ เพราะในขณะนั้น นายอภิสิทธิ์ ในฐานะ นายกรัฐมนตรี มีเหตุการวุ่นวายในบ้านเมือง มีกลุ่มก่อการร้ายเผาบ้านเผาเมือง รัฐบาล จำเป็นต้องออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมเหตุการณ์ และเมื่อมีกลุ่มชายชุดดำทำร้ายเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องป้องกันตัว จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.68

ส่วนจะมีการฟ้องกลับทาง ดีเอสไอ หรือไม่นั้น ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่เชื่อว่า ใครทำอะไรไว้ เวรกรรมมีจริง

ส่วนนายกรณ์ จาติกวนิช อดีตรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ระบุว่า นายอภิสิทธิ์ได้เปิดเผยว่า "ผมจะต่อสู้ภายใต้กรอบกฎหมาย ผมไม่ใช่คนขี้ขลาด ไม่ใช่คนขี้โกง ผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ของผม"  

13 ธันวาคม 2555 เวลา 16:19 น.

ฮือฮา! เสื้อแดงเปิด "ธรณีกรรแสง" ต้อนรับ "อภิสิทธิ์-สุเทพ" เมื่อก้าวเท้าเข้า DSI

ที่มา go6tv



วันที่ 13 ธันวาคม 2555 (go6TV) ล่าสุด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เดินทางถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยมีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ยืนให้การต้อนรับอยู่บันไดหน้าตึก
ในขณะที่ขบวนรถจอดและประตูเปิด นายสุเทพได้ก้าวลงมาก่อน ตามมาด้วยนายอภิสิทธิ์ ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมด้านนอก จากนั้น ตำรวจปราบจลาจลได้พานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเข้าไปในอาคาร  ระหว่าง ที่ตำรวจพาตัวนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพเข้าไปในอาคารนั้น ภายนอกอาคาร ญาติผู้เสียชีวิตได้เปิดเพลงธรณีกรรแสง ที่ใช้ในงานศพดังกระหึ่มทั่วบริเวณขึ้นมาเป็นการต้อนรับนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพอย่างเป็นทางการ สร้างความคึกคักให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทีมงานดีเอสไอที่อมยิ้มกันเป็นแถว

ทั้งนี้นายธาริต กล่าวว่า คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการสอบปากคำนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ซึ่งดีเอสไอจัดชุดพนักงานสอบสวนไว้ชุดเดียว เนื่องจากทั้งสองถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีเดียวกัน โดยทุกขั้นตอนการสอบสวนทั้งคู่จะอยู่ด้วยกันตลอด แต่ในกรณีที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ จะกลับไปรวมรวบเอกสาร เพื่อนำมามอบให้พนักงานสอบสวนในภายหลังก็อาจใช้เวลาไม่มากนัก

Wednesday, December 12, 2012

"จารุพรรณ" ชี้ "อภิสิทธิ์" รับใช้กระสุนจริง สามารถใช้ในศาลได้

ที่มา go6tv



12-12-12 - go6TV ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์บีบีซี ประเทศอังกฤษถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ว่า “ที่นายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์โดยบิดเบือนข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ไม่เกินความ คาดหมาย ประเด็นคือการยอมรับว่าได้สั่งการให้มีการใช้กระสุนจริงในการสลายการชุมนุม”
1. การที่นายอภิสิทธิ์ไม่ยอมรับรายงานของ “ฮิวแมนไรท์วอทช์” แต่ยอมรับรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ทั้งที่ คอป. บอกว่าชายชุดดำพิสูจน์ไม่ได้ 

2. นาย อภิสิทธิ์บอกว่า ไม่มีการบุกเข้าไปสลายการชุมนุมมีเพียงการตั้งด่าน ตรงนี้เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะทั้งโลกเห็นหมดว่ามีการใช้รถหุ้มเกราะ รถถัง อาวุธปืนครบมือ การบุกเข้าสลายการชุมนุม ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์บีบีซี ก็อยู่ในเหตุการณ์ตอนเสื้อแดงชุมนุมตลอดเวลา" 
“ซึ่ง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ BBC อยู่นั้น นายอภิสิทธิ์ คงไม่ได้เห็นว่า คำพูดของตนนั้นขัดแย้งกับภาพประกอบที่สำนักข่าว BBC ได้เคยถ่ายจากวันสลายการชุมนุม และนำขึ้นเปรียบเทียบกัน  จะเห็นภาพจากในคลิปว่าขณะนั้น ทหารเข้ากระหน่ำยิงใส่ผู้ชุมนุมที่วิ่งหนีกันและมีศพคนตาย  โลกได้เห็นว่าใครกันแน่พูดเท็จ”   
3. คำถามที่ว่าเสียใจไหมที่มีการสั่งให้ใช้กระสุนจริง นาย อภิสิทธิ์ตอบว่าเสียใจที่มีคนตาย แต่ยังไม่ยอมรับว่าเสียใจ ที่ใช้กระสุนจริง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คือ คนที่เสียชีวิตทั้งหมดเป็นคนที่มือเปล่าทั้งสิ้น แต่เขาไม่ได้ตอบเรื่องนี้เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน
4. พอเริ่มจนมุมกับคำถามของพิธีกร ก็ยกตัวอย่าง การประชุม จี 20 ที่ประเทศอังกฤษ ก็มีการชุมนุมแล้วและมีผู้ชุมนุมเสียชีวิต ไม่เห็นมีนายกรัฐมนตรีต้องมารับผิดชอบเลย
"ใน ฐานะที่เป็นคนไทยการให้สัมภาษณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรีควรแสดงความรับผิดชอบ เรื่องการตายของพลเรือน แต่กลับออกไปแก้ตัวแบบพัลวัน จึงไม่ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย แต่ในแง่คดีความ ถึงขั้นยอมรับว่ามีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริง ส่วนนี้สามารถนำไปใช้ทางศาลได้ เพราะในทางข้อกฎหมายถือว่าเป็นการยอมรับ ดังนั้น จะรวบรวมยื่นให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศต่อไป" 

ทั้ง นี้การที่นายอภิสิทธิ์บอกว่าถ้าศาลจะตัดสินให้ถึงขั้นประหารชีวิตก็ยอม ถือเป็นการยอมรับไปเรียบร้อยแล้วสำหรับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่เกิด ขึ้น อย่างไรก็ตาม การกล้าออกมายอมรับความจริงอย่างรวดเร็วในครั้งนี้ก็สะท้อนให้เห็นว่า นายอภิสิทธิ์มีความเชื่อมั่นว่าจะไม่ต้องเผชิญกับโทษที่สูงที่สุดในประเทศ ไทยใช่หรือไม่? น.ส.จารุพรรณกล่าว

ประชาธิปัตย์ผวา! กลัวแม่ยกไร้สติ สั่งด่วนห้ามไปให้กำลังใจ "อภิสิทธิ์"

ที่มา go6tv

 

12-12-12 go6TV - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางกลับจากประเทศอังกฤษถึงประเทศไทย เวลา 06.00 น. จากนั้นได้เดินทางเข้าพรรคประชาธิปัตย์ในเวลาประมาณ 09.50 น. พร้อมนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ โดยได้เรียกทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยทีมทนายความส่วนตัวเข้าหารือที่พรรคประชาธิปัตย์ ห้องประชุมอาคารมูลนิธิควง อภัยวงศ์ ชั้น 2 จากนั้นเวลา 10.30 น. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ใน วันพรุ่งนี้ (13 ธ.ค.) เวลา 13.00 น. นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ จะเดินทางออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพื่อไปรับทราบข้อกล่าวหาของกรมสอบสวนคดี พิเศษ หรือดีเอสไอ ทั้งนี้ ขอยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมให้ความร่วมมือตามกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง อยากขอให้ผู้ที่จะมาให้กำลังใจนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ไม่ต้องเดินทางไปที่ดีเอสไอ เพราะหากเกิดอะไรขึ้นเขาต้องโยนให้พรรคประชาธิปัตย์รับผิดชอบแน่นอน ซึ่งเราเห็นว่าขณะนี้มีความพยายามสร้างภาพว่า นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เหมือนผู้กระทำผิด โดยมีความพยายามดิสเครดิตบุคคลทั้งสอง ด้วยการกำหนดเงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1.ต้องไม่หลบหนีคดี 2.ไม่ยุ่งเกี่ยวกับพยานหลักฐาน 3.ไม่เป็นอุปสรรคต่อคดี และ 4.ไม่ก่อเหตุประการอื่น 

ส่วน ข้อกล่าวหานั้น นายชวนนท์กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่า เป็นเพียงคำสั่งที่ให้ใช้อาวุธ เป็นคำสั่งตามหลักสากล และชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น จึงอยากเรียกร้องให้ดีเอสไอ ดำเนินการทุกอย่างตรงไปตรงมา

พิพากษา "ยกฟ้องเผาห้าง CTW" ศาลเยาวชนฯ ระบุไม่มีหลักฐาน!

ที่มา go6tv



วันที่ 12 ธันวาคม 2555 (go6TV) ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง อ่านคำพิพากษาในคดีที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 2 คน เป็นจำเลยฐานร่วมกันวางเพลิงเผาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนเป็นเหตุให้ นายกิติพงษ์ สมสุข อายุ 20 ปี ซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ถึงแก่ความตาย
ทั้งนี้ โดยศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 2 คน เนื่องจากไม่มีประจักษ์พยานที่ระบุว่า จำเลยกระทำความผิด และจากการสืบพยานที่เป็นทั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่อยู่ในเหตุการณ์ ไม่สามารถยืนยันได้ว่า จำเลยทั้ง 2 คน เป็นผู้ก่อเหตุ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
                      
          สำหรับคดีที่เกี่ยวกับกรณีการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ระหว่างเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ได้ถูกแยกเป็นคดีความผิดฐานปล้นทรัพย์,คดีความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิง โดยคดีปล้นทรัพย์ มีจำเลย 7 คน ซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้ สั่งยกฟ้องจำเลย 6 คน มีเพียง นายคมสันต์ สุดจันทร์ฮาม จำเลยที่ 3 ที่ถูกพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี
                ทั้งนี้ เยาวชนสองคนดังกล่าว เป็นพนักงานร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าที่ถูกเพลิงไหม้ ทำงานอยู่จนกระทั่งห้างประกาศปิดระหว่างมีการชุมนุม จึงออกมาเป็นอาสาสมัครช่วยงานตามเต็นท์ต่างๆ พอเกิดเหตุทหารบุกสลายการชุมนุม ด้วยความเคยชินกับห้างที่ตนทำงาน จึงได้วิ่งหลบกลับเข้าไปในห้างสรรพสินค้า เพราะรู้เส้นทางได้ดี แต่พอวิ่งเข้าไป กลับถูกทหารจับกล่าวหาว่ามาขโมยสินค้าในห้างและวางเพลิง ทั้งที่เยาวชนทั้งสองคนยืนยันและมีหลักฐานชัดเจนว่า ตนคือพนักงานในร้านค้าห้างสรรพสินค้านั้น แต่ทหารไม่เชื่อจึงส่งฟ้องในคดีเผาห้างจนศาลมีคำพิพากษายกฟ้องในวันนี้

Monday, November 5, 2012

“ปรากฏการณ์สนามม้า” สัญญาณสู้รบใหม่ของระบอบอำมาตย์ฯ

ที่มา uddred

 Facebook อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ 5 พฤศจิกายน 2555 >>>






หลังจากพ่ายแพ้การเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 เครือข่ายระบอบอำมาตย์ก็ต้องทบทวนปัจจัยแห่งความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง และยังไม่มีท่าทีว่าจะยอมถอนจากอำนาจแต่ประการใด เราลองตรวจสอบขบวนแถวเครือข่ายระบอบอำมาตย์ ซึ่งที่จริงจะเห็นร่องรอยง่ายกว่านี้ถ้าไม่เกิดมหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ใน ประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นการวางยาหรืออย่างไร ? ที่ทำให้น้ำในเขื่อนถูกเก็บไว้มากกว่าปีก่อนซึ่งก็มีน้ำท่วม แต่หลังจากครบรอบปีการเกิดอุทกภัย แน่นอนว่าปลอดภัยจากน้ำท่วม สัญญาณรบก็เริ่มชัดเจนขึ้น
ตรวจสอบที่พรรคประชาธิปัตย์ เราเคยมีข้อสรุปจากบทความก่อนหน้านี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ละทิ้งการต่อสู้ในรัฐสภาโดยการป่วน ทำให้รัฐสภากลายเป็นสถานที่ไม่น่าเชื่อถืออีกในภาพรวม เมื่อลากเก้าอี้ ยื้อยุดประธานรัฐสภาให้ลุกออกมาพร้อมปาแฟ้มใส่ ทั้งหมดที่ผ่านมานั้นแสดงหนักเมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวาระสอง กลุ่มพันธมิตรก็ออกมาขวางการลงมติ พรบ.ปรองดอง การแสดงออกเหล่านี้ก็เป็นการเริ่มก่อตัวเพื่อขยายแนวต่อต้านรัฐบาล โค่นล้มรัฐบาล และปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 โดยต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญและต่อต้านการออกกฎหมาย พรบ.ปรองดอง ทั้งหมดนี้เป็นการต่อสู้ที่มีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์เดียวกัน ทั้งหมดแสดงถึงเอกภาพในการวางแผนขับเคลื่อน
ถ้าตรวจสอบการเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ที่สุเทพ เทือกสุบรรณกล่าวอยู่เสมอว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้พ่ายแพ้พรรคเพื่อไทย แต่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้งานมวลชนคนเสื้อแดงและโรงเรียนการเมืองนปช. ดังนั้นจึงกล่าวชัดเจนถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานแย่งชิงมวลชนหรือสร้างมวลชน ของพรรคประชาธิปัตย์ เช่นเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยมีมวลชนคนเสื้อแดง ดังนั้น การมีบลูสกายและช่องอื่น ๆ อีก 2 ช่องก็เพื่อย้อนรอยคนเสื้อแดง รวมทั้งการเดินสายเปิดเวทีปราศรัยทุกสัปดาห์ และเปิดโรงเรียนการเมืองเลียนแบบย้อนรอย แม้ว่าจะได้มวลชนคนละแบบ ไม่ใช่มวลชนคนที่ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย แต่เป็นมวลชนที่ตามหลังอย่างเชื่อง ๆ หรือถูกล้างสมองว่าต่อสู้กับพวกล้มเจ้า เขาเปลี่ยนมวลชนในระบบของพรรคเป็นมวลชนที่ต่อสู้นอกระบบของระบอบอำมาตย์ เดิมพันนี้สูงมาก หมายถึงอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์และการดำรงอยู่ของระบอบอำมาตย์ เราจึงเห็นการทุ่มสุดตัวของพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกเดินสาย ด้านหนึ่งแก้ตัวให้กับความผิดกรณีปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนปี 2553 ใสร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง, พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อีกด้านหนึ่งพยายามขยายมวลชนของตน สร้างมวลชนต่อสู้เพื่อระบอบอำมาตย์
แม้ไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอ เพียงแค่อ้างว่ามาสู้เพื่อล้มรัฐบาลที่เป็นอันตรายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็อาจได้มวลชนนอกระบบจำนวนหนึ่งที่สามารถต่อสู้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ ดังนั้นการทุ่มสุดตัวดังเมื่อครั้งล้มรัฐบาลไทยรักไทยหรือให้ยิ่งใหญ่กว่า เพราะจะล้มยากกว่า ก็คุ้มค่ากับการลงทุน
ตรวจสอบที่กองกำลังนอกระบบขณะนี้ที่นำโดย เสธ.อ้าย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ก็เป็นผู้นำที่ถูกดึงขึ้นมาเพื่อยกระดับงานมวลชนของระบอบอำมาตย์ เพราะสนธิ ลิ้มทองกุลไม่ได้การยอมรับจากพรรคประชาธิปัตย์และกองทัพหรือหน่วยงานความ มั่นคง หรือกลุ่มแนวทางปฏิวัติประชาธิปไตย (ของประเสริฐ ทรัพย์สุนทร) จากบนลงล่าง จะเห็นได้ว่าเสธ.อ้ายจะพูดแบบขู่ทุกครั้งว่าถ้าคนไม่ได้ตามเป้าเขาจะเลิกนำ แสดงว่าเงื่อนไขสำคัญในการนำมวลชนของระบอบอำมาตย์ต้องขอกำลังจริงเพื่อสร้าง ความชอบธรรมที่จะให้เครือข่ายระบอบอำมาตย์อื่นสนธิกำลังเข้าด้วยกันล้ม รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ขบวนการคนเสื้อแดง ปกป้องรัฐธรรมนูญ 50 องค์กรอิสระของรัฐธรรมนูญ 50 และอำนาจตุลาการนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ 50 ไว้ได้หมด ไม่มีการเลือกตั้งอย่างน้อย 5 ปี และปิดประเทศจนกว่าระบอบทักษิณตามที่เขาเชื่อจะถูกทำลายหมด นี่ก็คล้ายเป็นยุครัฐประหารหลัง 6 ตุลาที่รัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียรประกาศขั้นตอนสู่ประชาธิปไตยต้องใช้เวลา 12 ปี เป็นวิธีคิดอำมาตย์แบบเดียวกัน คือไม่ยอมคืนอำนาจให้กับประชาชน กองกำลังนอกระบบนี้จึงมาจากพรรคการเมือง นักธุรกิจสายอำมาตย์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เจ้ามือต่าง ๆ (หวย, บ่อน, ยาเสพติด) นอกระบบ ที่เสียผลประโยชน์จากรัฐบาลทักษิณ และหน่วยงานความมั่นคงที่มีระบบคิดว่า ความมั่นคงคือการพิทักษ์ระบอบอำมาตย์แล้วพิฆาตประชาชน
เมื่อขบวนแถวมี
1. พรรคการเมืองอนุรักษ์นิยม
2. กองกำลังนอกระบบและมวลชนระบอบอำมาตย์ก็รอกวักมือเรียก
3. กองกำลังในระบบของระบอบอำมาตย์ มาทำรัฐประหารเช่นคราวสนธิ ลิ้มทองกุลเข้าพบสนธิ บุญยรัตกลินเพื่อให้ก่อรัฐประหาร
4. ยังมีกำลังสำคัญคือขบวนการตุลาการภิวัฒน์ร่วมกับองค์กรอิสระต่าง ๆ และกลุ่ม สว.สรรหา
คือกองทัพประจำการและข้าราชการประจำขององค์กรที่ไม่ได้ยึดโยงมาจากประชาชน ที่เป็นกลไกรัฐสำคัญที่จะร่วมส่วนกับพรรคการเมืองและมวลชนนอกระบบ เพื่อทำการหยุดประเทศไทยไม่ให้ก้าวต่อไปตามทิศทางที่ประชาชนเป็นใหญ่และทน ไม่ไหวกับการที่รัฐบาลนี้จะอยู่ต่อไปยาวนาน เพราะหมายถึงจุดจบของระบอบอำมาตย์ เพราะประชาชนรากหญ้า ผู้ใช้แรงงาน คนชั้นกลาง ปัญญาชนจะเข้าร่วมในทิศทางประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยและความยุติธรรมมาก ขึ้นเรื่อย ๆ นี่จะเป็นสัญญาณสู้รบใหม่ครั้งยิ่งใหญ่ของระบอบอำมาตย์ที่ประชาชนและพรรค เพื่อไทยจะประมาทมิได้ แม้ความชอบธรรมจะไม่ได้อยู่ที่กลุ่มคนเหล่านี้ แต่ต้องไม่ลืมว่าพวกเขากล่าวเอาไว้ว่าจะใช้วิธีไหนก็ได้ โหดร้าย หน้าด้านก็ต้องทำ นี่ทำให้ผู้เขียนคิดถึงเรื่องการประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ ประกาศเสียทีจะดีไหม? ก็เพียงแค่เปิดประตูให้ฝ่ายอัยการเขาได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้นเอง จะได้เป็นยันต์กันผู้ร้ายเข้าสิงร่างกายของพวกเทพ ๆ ทั้งหลายที่บอกว่าประชาชนเป็นพวกมาร...ต้องปราบ....ต้องฆ่า !!!

นิธิ เอียวศรีวงศ์ : เปลี่ยนประเทศไทย ด้วยการรับจำนำข้าว

ที่มา ประชาไท



เพราะรัฐบาลกำลังทำอะไรที่มีความสำคัญสุดยอดในการเปลี่ยนประเทศไทย หนทางย่อมไม่ราบรื่นเป็นธรรมดา
ผมไม่มีความเห็นอะไรเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวด้วยราคาสูงของรัฐบาลมา นาน เพราะยอมรับว่ายังไม่สู้เข้าใจผลกระทบถ่องแท้นัก จึงได้สดับตรับฟังและตามอ่านความเห็นของคนอื่นตลอดมา

บัดนี้ ผมคิดว่าผมพอจะบรรลุความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว

ผู้ ที่คัดค้านเห็นว่าโครงการนี้มีปัญหามาก และปัญหาเหล่านั้นก็เริ่มปรากฏให้เห็นบ้างแล้ว ผมขอแบ่งปัญหาที่กล่าวถึงออกเป็นสองอย่าง คือปัญหาเชิงหลักการกับปัญหาเชิงปฏิบัติ

ในด้านหลักการ ราคาที่รับจำนำนั้นเห็นว่าสูงเกินความเป็นจริง หรือเกินขีดความสามารถของรัฐบาลไทย (ทุกชุด) จะจัดการได้ เริ่มตั้งแต่ไม่มีทางระบายข้าวออกไปได้ เพราะราคาที่รับซื้อสูงเกินราคาตลาดโลกมาก นอกจากยอมระบายออกในราคาที่ขาดทุน เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ยิ่งกว่านี้บางคนยังบอกว่า มีส่วนดึงราคาข้าวภายในประเทศให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งจะทำความเดือดร้อนแก่คนชั้นกลางระดับล่างในเขตเมือง แต่จนถึงทุกวันนี้ ผลกระทบด้านนี้ยังไม่ปรากฏให้เห็น ค่าครองชีพที่สูงขึ้นนั้นมีส่วนจากราคาข้าวน้อยมาก

ผลกระทบต่อไปก็ คือ ชาวนาย่อมจะลงทุนปลูกข้าวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้จำนวนข้าวที่ไหลเข้าสู่โครงการเพิ่มขึ้นด้วย การขยายการปลูกข้าวเพราะแรงกระตุ้นของโครงการ จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ตลอดจนราคาเช่าที่ดิน ค่าขนส่ง, แรงงาน ฯลฯ บางส่วนของต้นทุนการผลิตก็มีราคาสูงขึ้นจริงในฤดูการผลิตใหม่นี้ เช่น ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง และค่าเช่าที่ดิน เป็นต้น แต่ก็น่าจะเป็นการขึ้นราคาชั่วคราว ในช่วงที่อุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลกันเท่านั้น

ดังนั้น ผู้คัดค้านโครงการจึงเสนอว่า สิ่งที่รัฐบาลน่าจะทำในการช่วยชาวนามากกว่า คือการพัฒนาการเกษตรในเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่รับจำนำผลผลิตด้วยราคาสูง เช่น ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ฯลฯ เป็นต้น

ปัญหา ในด้านเชิงปฏิบัติ ผู้คัดค้านเห็นว่าโครงการนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือชาวนากลางขึ้นไป กับโรงสี ส่วนชาวนาเล็กที่ "ยากจน" (คำนี้มีปัญหาในตัวของมันเองมากนะครับ) เงินไม่ตกถึงมือ เท่าที่ผมทราบ ความเห็นนี้ไม่ได้มาจากการวิจัย แต่เป็นการประมาณเท่านั้น เพราะในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับในตัวเลขว่าทั้งมอเตอร์ไซค์, รถปิกอัพ และวัสดุก่อสร้างขายดีขึ้นในเขตชนบท ซึ่งตลาดของชาวนากลางอย่างเดียวไม่เพียงพอจะอธิบายได้ อีกทั้งความกระตือรือร้นของชาวนาที่จะขยายการเพาะปลูก ก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า ชาวนาจำนวนมาก (ทั้งกลางและเล็ก) ตอบสนองต่อโครงการด้วยความยินดี

ในส่วนโรงสีได้กำไรนั้น ผมยังมองไม่เห็นว่าจะได้อย่างไร นอกจากยอมรับซื้อข้าวในราคาสูงขึ้น ทั้งนี้ไม่พูดถึงการทุจริตเช่นสวมสิทธิจำนำข้าวและอื่นๆ นะครับ ที่พอจะมองเห็นกำไรแน่ๆ ก็คือรับสีข้าวที่รัฐบาลรับจำนำไว้ตันละ 500 บาท ซึ่งก็ไม่ใช่ราคาที่สูงกว่าปกติ แต่มีข้อได้เปรียบคือมีข้าวป้อนให้สีได้มั่นคงขึ้น โดยตัวเองไม่ต้องเสี่ยงทางธุรกิจคือรับซื้อเท่านั้น

อีกข้อหนึ่งที่ พูดกันมากคือการทุจริตทั้งของชาวนาเอง (ขายส่วนต่างของสิทธิการจำนำข้าว), นายทุนผู้รับซื้อส่วนต่างนี้, ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทั้งขององค์กรของรัฐและบริษัทเซอร์เวย์เยอร์ เรื่องนี้จริงแน่นอนโดยไม่ต้องทำวิจัยเลยก็ได้ โครงการใช้เงินเป็นแสนล้านโดยไม่มีการโกงเลย จะเกิดขึ้นได้ที่ไหนในโลกล่ะครับ แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ โกงมากกว่าโครงการจำนำข้าวที่ผ่านมาหรือโครงการประกันราคามากน้อยแค่ไหน และโกงได้อย่างไรหรือมีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง และควรอุดอย่างไร น่าเสียดายที่ไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการคัดค้าน

ยังมี เสียงคัดค้านเชิงอุดมการณ์จากจุดยืนจารีตนิยม ที่รังเกียจรัฐสวัสดิการทุกรูปแบบ เพราะเชื่อว่าจะทำให้คนขี้เกียจไม่รับผิดชอบและไม่ทำหน้าที่ของตนเอง คอยแต่จะแบมือรับความช่วยเหลือจากรัฐตลอดไป ข้อนี้ผมจะไม่พูดถึงล่ะครับ เพราะน่าสงสารเกินไป

แม้เสียงคัดค้านเหล่านี้มีส่วนจริงหรือมีส่วน เป็นไปได้บางเรื่อง แต่เป็นการมองโครงการในแง่ความเป็นไปได้ทางการตลาดเท่านั้น ผมคิดว่ารัฐบาลต้องชัด (กว่านี้) ว่าโครงการรับจำนำข้าวด้วยราคาสูงคือการปฏิรูปสังคม ไม่ใช่โครงการรับจำนำข้าวอย่างที่ผ่านมา ซึ่งมีเป้าหมายเพียงช่วยพยุงราคาข้าวของชาวนาให้ใกล้เคียงกับราคาตลาดโลกมาก ขึ้น และต้องไม่ขาดทุน

ตรงกันข้ามเลยครับ รัฐบาลตั้งใจจะขาดทุนมาแต่ต้น และด้วยเหตุดังนั้น จึงต้องวางแผนการระบายข้าวให้ดีโดยไม่ต้องนั่งรอราคาสูงสุดอย่างเดียว แต่จะระบายไปตามจังหวะเพื่อรักษาตลาดข้าวของไทยด้วยและเพื่อให้การระบายข้าว ทั้งหมดที่รับจำนำมานั้นขาดทุนน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่น การแพคเกจจิ้ง ไปจนถึงผ่านกระบวนการรักษาคุณภาพให้คงทน เป็นต้น เท่ากับโครงการรับจำนำช่วยเปิดตลาดข้าวระดับสูงไปพร้อมกัน (แน่นอนโดยร่วมมือกับผู้ส่งออกเอกชน)

จะขาดทุนบักโกรกแค่ไหน ผมไม่ทราบ แต่มีนักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งประมาณว่าไม่น่าจะเกิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งยังน้อยกว่าเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายออกไปในการประกันราคา (ซึ่งรั่วไหลมากกว่าเสียอีก)... แต่ตัวเลขนี้จะเชื่อได้แค่ไหนผมไม่ทราบ

สมมุติ ว่านักเศรษฐศาสตร์ประเมินต่ำไป 100% ก็ขาดทุนแค่ 100,000 ล้านบาท เงิน 100,000 ล้านจากงบประมาณแผ่นดินหลายล้านล้านบาท เพื่อช่วยชาวนาซึ่งมีจำนวนประมาณ 40% ของประเทศ จะเป็นไรไปเล่าครับ ปัญหามาอยู่ที่ว่าช่วยแล้วได้ผลอะไรและอย่างไรต่างหาก เช่น หากชาวนามั่นใจว่ารายได้ของตนจะสูงขึ้น เขาเอาไปลงทุนในอะไรอีกบ้างที่จะให้ผลดีแก่เขาในระยะยาว

ส่วนการที่ จำนวนหนึ่งนำไปซื้อมอเตอร์ไซค์และปิกอัพหรือต่อเติมบ้านเรือนนั้น อย่าได้คิดว่าเขาเอาเงินที่ได้มาไปใช้ในทางฟุ่มเฟือยเป็นอันขาด เพราะทั้งสามอย่างนี้เป็นการลงทุนทางธุรกิจไปพร้อมกับการเลื่อนสถานภาพทาง สังคม

เรื่องนี้ต้องเข้าใจชีวิตของชาวนาไทยให้ดี

"ชาวนา" ที่ทำนาขนาดเล็กด้วยกำลังครอบ ครัวของตนเพื่อยังชีพนั้น ปัจจุบันแทบจะไม่มีเหลืออยู่แล้ว ส่วนใหญ่ของรายได้ของครอบครัวชาวนามาจากงานนอกภาคการเกษตร และเป็นเช่นนี้มาหลายสิบปีแล้วด้วย ฉะนั้นรายได้ของครอบครัวชาวนาจึงสูงขึ้น แต่ไม่ใช่จากการทำนาหากมาจากการรับจ้างหลากหลายประเภท แม้กระนั้นการทำนาก็ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญแก่คนอีกมาก ในขณะที่หลุดออกไปจากภาคเกษตรโดยสิ้นเชิงก็มีจำนวนไม่น้อยเหมือนกัน ฉะนั้นถ้าถือเส้นความยากจนตามที่สำนักงานสถิติใช้ในการหาข้อมูล ชาวนาส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจน

การที่ชาวนาหลุดออกไปเป็นแรงงานประเภทต่างๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นในการพัฒนาของทุกประเทศ แต่ไทยมีปัญหาเฉพาะก็คือ อัตราการเปลี่ยนอาชีพของชาวนาไทยเกิดขึ้นช้ามาก จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังมีคนที่ทำนา (หรือเกษตรอย่างอื่น) ตกค้างอยู่ถึงเกือบ 40% ของประชากร แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่ของเขาไม่ได้มาจากภาคเกษตรก็ตาม

รถ ปิกอัพ, บ้านเรือน และมอเตอร์ไซค์ มีส่วนในการทำให้รายได้นอกภาคเกษตรของเขาเพิ่มขึ้น (เช่น มีมอเตอร์ไซค์ก็ทำให้หางานจ้างได้กว้างขึ้นกว่าจักรยานหรือเดินเท้า) การไปซื้อสินค้าเหล่านี้เมื่อมั่นใจว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต จึงเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง

เป็นไปได้หรือไม่ว่า หากเขามีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาวแล้ว ชาวนาจะหันไปทำอาชีพอื่นๆ มากกว่าทำนา เพราะราคาจำนำ 15,000 บาทต่อข้าวหนึ่งตันนั้น ใช่ว่าจะทำให้รายได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก หากเปรียบกับการมีงานจ้างประจำทั้งปี หรือมีโอกาสค้าขายอย่างเป็นกอบเป็นกำมากขึ้น โครงการรับจำนำข้าวจึงอาจเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะทำให้ชาวนาจำนวนหนึ่งหัน ไปสู่อาชีพอื่น ในขณะที่ผู้ยังอยู่ในอาชีพทำนา ก็จะมีโอกาสพัฒนาผลิตภาพของตนเพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น

ในกระบวนการนี้ เขาจะลงทุนกับการศึกษาของลูกหลานเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ หลังจากจบ ม.3 ซึ่งทำให้หางานโรงงานทำได้นั้น เขาจะส่งลูกหลานเรียนต่อไปหรือไม่ อันนี้ผมเดาไม่ถูก แต่ก็เชื่อว่าอย่างน้อยจำนวนหนึ่งก็น่าจะลงทุนด้านการศึกษาต่อไป เพราะไม่มีแรงบีบให้ต้องเอาลูกออกไปทำงานโรงงาน และถ้าเป็นอย่างนั้นในจำนวนคนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวนาในเวลานี้ ย่อมหมายความว่า โครงการรับจำนำนี้ช่วยเปิดช่องทางที่ชาวนาจะได้รับผลพวงของการพัฒนาเต็มเม็ด เต็มหน่วยขึ้น

อันที่จริง การที่รัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว ทุ่มงบประมาณลงไปสนับสนุน หรือออกกฎหมายปกป้องคนในอาชีพเกษตรนั้นเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ในสหรัฐ, ยุโรป, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น แต่ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งไม่ใช่ชาวนาไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร กลับสนับสนุนนโยบายเช่นนี้ด้วยซ้ำ เหตุใดนโยบายทำนองเดียวกันจึงถูกคนชั้นกลางและชนชั้นนำไทยคัดค้านอย่างหนัก

ส่วน หนึ่งของคำตอบก็คือ ในประเทศพัฒนาแล้ว ชาวนาหรือเกษตรกรมีจำนวนน้อยมาก เฉลี่ยประมาณ 4-8% ของประชากร คนทั่วไปจึงไม่รู้สึกถึงผลกระทบของนโยบาย แต่คนถึง 40% ที่คอยความช่วยเหลือในเมืองไทย มีจำนวนมากกว่ากันมาก ความช่วยเหลือใดๆ ที่จะบังเกิดผลแก่เขาจริง ต้องมีสัดส่วนพอสมควรในทรัพย์สาธารณะเป็นธรรมดา คนไทยชั้นกลางขึ้นไปจึงอ่อนไหวต่อการช่วยชาวนามากเป็นพิเศษ มองนโยบายเหล่านี้ด้วยความระแวง

แต่เหตุผลที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือการเมือง

ส่วน หนึ่งของชนชั้นนำไทยต้องการเก็บชาวนาไว้ภายใต้อุปถัมภ์ของตนตลอดไป แยกชาวนาออกเป็นปัจเจกบุคคลตัวเล็กๆ ภายใต้การนำของ "ปราชญ์ชาวบ้าน" ที่สยบยอมต่อระบบ ส่วนที่เหลือมองไม่เห็นประโยชน์ของชาวนามากกว่าแรงงานราคาถูก เพราะถึงอย่างไรสินค้าที่พวกเขาผลิตก็มุ่งไปที่ตลาดต่างประเทศอยู่แล้ว

ใน ทางตรงกันข้าม ชาวนาไทยไม่มีประสบการณ์ในการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองทางการเมืองมากนัก (เมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรในประเทศพัฒนาแล้วทั่วไป) อันที่จริงชาวนาไทยถูก "ปราบปราม" อย่างเหี้ยมโหดและเด็ดขาดเสียยิ่งกว่าความเคลื่อนไหวของกรรมกรเสียอีก หากเขาพยายามรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ของเขาในนโยบายสาธารณะ

จะ โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โครงการรับจำนำข้าวในราคาสูงของรัฐบาล ย่อมมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองให้แก่ชาวนาด้วย หากทำต่อเนื่องไปอีกสักสองสามปี จะไม่มีรัฐบาลใดกล้าเลิกโครงการนี้เป็นอันขาด

แม้ว่ารัฐบาลเดินมาถูก ทางแล้ว (ตามทรรศนะของผม) แต่รัฐบาลต้องยินดีและน้อมรับฟังคำวิจารณ์ของทุกฝ่าย ส่วนหนึ่งของคำวิจารณ์นั้นอาจมาจากแรงจูงใจที่ไม่ดีทางการเมือง แต่รัฐบาลอย่าไปสนใจแรงจูงใจดีกว่า หากควรฟังและทบทวนโครงการอยู่ตลอดเวลา แก้ไขปรับเปลี่ยนอย่าให้เกิดรูรั่ว แต่ก็ต้องชัดเจนในด้านเป้าหมายของโครงการ ทั้งแก่ตนเองและประชาชน

เพราะรัฐบาลกำลังทำอะไรที่มีความสำคัญสุดยอดในการเปลี่ยนประเทศไทย หนทางย่อมไม่ราบรื่นเป็นธรรมดา


ที่มา: มติชนออนไลน์

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรักษาเป็นสินค้าและความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ในฐานะผู้บริโภค

ที่มา ประชาไท



ภายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขไทยเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนสถานภาพของแพทย์ในประเทศไทยที่มีสถานะเป็นที่ยอมรับในสังคมในฐานะผู้ เสียสละเพื่อรักษาชีวิตของสังคมเป็นผู้ให้บริการ นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจการแพทย์ทำให้ภาพของแพทย์บางส่วนที่ผู้ป่วยมอง ว่าเป็นผู้มีพระคุณกลายเป็นพ่อค้า และเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้จากเดิมที่ดีกลายเป็นภาพขัดแย้ง ไม่เข้าใจมากขึ้น และมีการฟ้องร้องมากขึ้น [1] ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญจนฝ่ายนโยบายสาธารณสุขเช่นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หามาตรการเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์คนไข้  [2]
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ 4 แบบ 
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ [3]
• ความสัมพันธ์แบบพ่อปกครองลูก (parternalistic model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเหมือนผู้ปกครองผูกขาดการตัดสินเพียงผู้ เดียวในการเลือกการรักษาให้กับคนไข้ เพราะผู้ป่วยเป็นผู้ที่ไม่รู้อะไรเลยในการรักษา แพทย์เป็นผู้รู้ดีและเต็มไปด้วยปราถนาที่ต้องการให้ผู้ป่วยหายจากการป่วยและ จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้คนไข้ ผู้ป่วยต้องทำตามที่แพทย์สั่งโดยห้ามขัดขืน
• ความสัมพันธ์แบบกึ่งเสรี (deliberative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เสมือนครูหรือเพื่อนที่หวังดีกับคนไข้แพทย์มี หน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและชักชวนให้ผู้ป่วยเลือกการรักษาที่แพทย์คิดว่า เป็นสิ่งที่ดีที่สุดของคนไข้ สิ่งที่แตกต่างจากแบบแรกคือ ผู้ป่วยมีการตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ทำตามที่แพทย์พูด
• ความสัมพันธ์แบบการแปล (interpretative) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาของคนไข้ โดยคนไข้เป็นผู้มีความรู้และสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์และข้อมูลที่ ซับซ้อนได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการอธิบายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแปลสารที่เข้าใจยากให้ เข้าใจง่ายให้แก่ผู้ป่วย
• ความสัมพันธ์แบบให้ข้อมูลข่าวสาร (informative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเป็นช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญการรักษาและมี หน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างทั้งข้อดีข้อเสียของการรักษาทุกชนิดและ สร้างตัวเลือกต่างๆให้กับผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสถานะผู้บริโภค มื่อได้รับข้อมูลแล้วก็สามารถไตร่ตรองได้เองว่าจะเลือกการรักษาในฐานะเป็น สินค้าชนิดหนึ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายตัวเองดีที่สุด
ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจน ศตวรรษที่แล้วเป็นความสัมพันธ์ลักษณะพ่อปกครองลูก ที่แพทย์ผูกขาดการตัดสินใจจากคนไข้หมด การรักษาที่ดีจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และคนไข้ คือถ้ามีความสัมพันธ์ดีก็มีโอกาสที่แพทย์จะทุ่มเทการรักษาอย่างเต็มที่ และต้องอาศัยจริยธรรมส่วนตัวของแพทย์ สาเหตุที่ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อปกครองลูกเพราะ ความไม่สมมาตรด้านข้อมูลระหว่างแพทย์และคนไข้ การเข้าถึงข้อมูลอย่างยากลำบากของคนไข้ ความซับซ้อนของความรู้ด้านการแพทย์ ความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์แบบเก่าจึงวางอยู่บนความไม่เสมอภาค โดยที่คนไข้ได้สูญเสียอธิปไตยในการตัดสินใจไปให้กับแพทย์และอยู่ในรูปแบบของ การมอบอำนาจให้แพทย์ตัดสินใจ « Tutelle médicale »  [5]
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและการเติบโตของธุรกิจการ แพทย์ เปิดโอกาสให้แพทย์สามารถหากำไรได้จากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลและอำนาจ ตัดสินใจผูกขาดที่อาจเลือกการรักษาที่ไม่จำเป็นให้คนไข้เพื่อเพิ่มรายได้กับ ตนเองและอาจสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์คนไข้ สภาพการณ์ปัจจุบันจริยธรรมของแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและต้อง อาศัยการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคนไข้ ด้วยผลดีของเทคโนโลยีปัจจุบันส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นผู้ ป่วยสามารถหาข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้มากขึ้นและทั่วถึงกับประชาชน ทำให้ผู้ป่วยมีอำนาจทางข้อมูลมากขึ้นและสามารถมีอำนาจต่อรองกับแพทย์และดึง อำนาจตัดสินใจจากแพทย์มาสู่ตนเองอีกครั้ง
ผู้ป่วยจากเดิมที่มีลักษณะตั้งรับ (passive) กลายมาเป็นผู้ป่วยที่มีความอิสระ (autonomy) พวกเขาไม่ใช่ผู้ป่วยที่เชื่อง ต้องเชื่อฟังคำสั่งทุกอย่างจากแพทย์โดยไม่รู้ว่าแพทย์ทำสิ่งที่ดีหรือแย่กับ ตน แต่ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยที่รับรู้ เรียนรู้ได้ ว่าการรักษาใดที่ดีสำหรับตน ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีแขนขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ถึงแม้ตนเองจะป่วย อยู่ก็ตาม
แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ทั่วโลกค่อนข้างจะเปลี่ยนจาก ระบบพ่อปกครองลูกเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะผู้ป่วยเป็นผู้บริโภค อย่างไรก็ตามก็มีการโต้แย้งกับแนวความคิดดังกล่าว [6]  โดย เห็นว่าการรักษาไม่ควรเป็นสินค้าแต่ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิ เข้าถึง และอาจมองว่าโมเดลผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคจะเป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์อันดี ระหว่างแพทย์และคนไข้
ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าคิด แต่ควรแยกออกจากกันก่อนว่า การแพทย์เชิงพาณิชย์ที่ลดทอนสิทธิการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยและโมเดลผู้ ป่วยเป็นผู้บริโภคเป็นคนละเรื่องกัน ในประเทศฝรั่งเศสที่จัดหาการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงให้กับประชาชนทุกคน หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ถึงแม้บางรายไม่ได้เป็นผู้เสียภาษีเลยก็ ตาม ต่างก็เปลี่ยนเป็นโมเดลผู้บริโภค โดยมองว่าเป็นการเพิ่มอำนาจและสิทธิของผู้ป่วยและเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวน การประชาธิปไตยในระบบสาธารณสุข สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคมีความแข็งแกร่งและสามารถเป็นปากเป็นเสียงให้กับคน ไข้ที่เดือดร้อนจากการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์ได้

เชิงอรรถ
[1] http://www.doctor.or.th/clinic/detail/7043
[2] มติและข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑
[3] http://www.med.yale.edu/intmed/resources/docs/Emanuel.pdf
[4] http://www.who.int/genomics/public/patientrights/en/
[5] Claude Le Pen, « Patient » ou « personne malade » ? Les nouvelles figures du consommateur de soins, Revue économique-vol.60, N°2 mars 2009, p.258.
[6] http://www.mat.or.th/file_attach/22Mar201205-AttachFile1332376445.pdf