WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 22, 2008

มาแล้ว! คำขวัญแก้ปัญหายาเสพติด“รวมพลังประชาไท พ้นภัยยาเสพติด”

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติเป็นครั้งแรก โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เข้าร่วมการประชุม


ภายหลังการประชุม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมได้มีการรายงานสรุปสถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน พบว่าการแพร่ระบาดของยาเสพติดมีแนวโน้มการนำลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศตามแนวชายแดนภาคเหนือ แต่มีสัดส่วนลดลง ขณะที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่หลัก 9 จังหวัด 22 อำเภอ ส่วนพื้นที่ที่เป็นปัญหาหลัก ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีสัดส่วนของปัญหาอยู่ที่ร้อยละ 40 ของปัญหาทั้งประเทศ และยาบ้ายังคงเป็นตัวยาหลักที่เป็นการแพร่ระบาด

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า กลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ยังเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 2 เมษายนนี้ เวลา 14.00 น. นายกรัฐมนตรีจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 1 ภายใต้ชื่อ “รวมพลังประชาไท พ้นภัยยาเสพติด” มุ่งเน้นกลยุทธ์ 3 ลด 3 เพิ่ม 3 เน้น ประกอบด้วย ลดกลุ่มผู้ค้า กลุ่มผู้เสพ และกลุ่มเยาวชนที่มีความเสี่ยง รวมถึงเพิ่มการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ภาคประชาชน และองค์กรท้องถิ่นในการปราบปรามและเฝ้าระวัง และเน้นหนักต่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ปัญหาซ้ำซากต่อเนื่อง

นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้กำชับในที่ประชุมให้การปราบปรามเป็นไปอย่างชัดเจน เฉียบคม และหวังผลได้ในระยะสั้น ภายใต้กรอบของกฎหมาย และขอยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะใช้ความรุนแรงปราบปรามจับกุมผู้ค้า แต่จะบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันเชื่อว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาจะประสบผลสำเร็จด้วยดี

พล.ต.สนั่น ติง สุเมธ ชี้นำส่งคดียุบชาติไทยให้ศาล รธน.พิจารณา

สนามบินน้ำ 22 มี.ค. - “พล.ต.สนั่น” ติง “สุเมธ” ผิดมารยาท กรณีชี้นำส่งคดียุบ ชท. ให้ศาล รธน.พิจารณา ทั้งที่ กกต. ยังไม่มีมติ เชื่อมีเงามืดอยู่เบื้องหลัง ยันไม่มีการหารือตั้งพรรคสำรอง เชื่อ ชท.ไม่ถูกยุบ หนุนแก้ไข รธน. เฉพาะประเด็นที่มีผลให้บ้านเมืองวุ่นวาย

พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า จะต้องส่งคดียุบพรรคชาติไทยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ว่า การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว ถือเป็นชี้นำและผิดมารยาทอย่างร้ายแรง เพราะ กกต. ยังไม่ได้ประชุมและมีมติออกมา หลังจากที่อนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้เสนอผลมา ซึ่งการออกมาพูดเช่นนี้ ทำให้คนเห็นว่าพรรคชาติไทยผิดไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล เชื่อว่าการออกมาให้สัมภาษณ์ของนายสุเมธ มีเงามืดอย่างน้อย 3 คน ที่คอยบงการและสอดแทรกอยู่ใน กกต.

“ผมเริ่มจะเชื่อมากขึ้น หลังจากที่เขาบอกกันว่ามีเงาทะมึนอยู่เบื้องหลัง เพราะการปฏิบัติของท่านสุเมธมันเริ่มเพี้ยน ทำให้ประชาชนเข้าใจว่านี่ผิดแล้วน่ะ ที่ท่านนายกฯ สมัคร บอกว่ามีมือที่มองไม่เห็น แต่ของผมมองว่ามีคนที่อยู่ในเงามืดอย่างน้อย 3 คนที่คอยบงการคุณสุเมธหรือไม่ และที่คอยมาสอดแทรกใน กกต.อยู่ ซึ่งผมก็ติดตามคน ๆ หนึ่งมาตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้ว เพราะเข้าไปแทรกในเพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยชาติพัฒนา ไปแทรกเขาทุกพรรค ผมขอร้องทั้ง 3 ท่าน บ้านเมืองมันจะเกิดอะไรก็ต้องให้เป็นไปตามครรลอง” พล.ต.สนั่น กล่าว

ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย กล่าวด้วยว่า พฤติกรรมของนายสุเมธไม่สมควรมีตำแหน่งในบ้านเมือง ดังนั้น หากรู้ว่าตัวเองทำผิดไปแล้ว ก็ควรออกมาขอโทษ หรือไม่ก็ลาออกจากการเป็น กกต.ไปเลย เพราะถือว่าทำผิดอย่างร้ายแรง “ก็เห็นใจว่าอายุมาก เกิน 70 ปีแล้ว ดังนั้น ควรจะออกก่อนที่จะถูกไล่จะดีกว่า เพราะถ้าไปตัดสินใครแล้วศาลบอกว่าหมดอายุไปแล้ว ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาได้”

ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เสนอให้ยุบสภาฯ ก่อนที่พรรคการเมืองจะถูกยุบ พล.ต.สนั่น กล่าวว่า ถึงแม้จะยุบสภาฯ หากมีธงว่าจะยุบพรรคการเมือง ก็ตามไปยุบได้ ดังนั้น อย่าไปเส้นตื้น ขณะนี้แกนนำพรรคพลังประชาชน และนายกรัฐมนตรี บอกแล้ววว่าไม่มีเรื่องยุบสภาฯ เป็นความเห็นส่วนตัว แต่อยากย้ำว่า สิ่งที่ทุกพรรคการเมืองจะต้องพิจารณาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยต้องดูว่า มีประเด็นใดบ้างที่ส่งผลกระทบทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย แต่ไม่ได้หมายความว่าแก้เลอะเทอะ หรือแก้เพื่อตัวเอง เพียงแต่กรณีที่กรรมการบริหารพรรคทำผิด แต่พรรคหรือคนอื่นไม่ได้รู้เห็นแต่กลับจะต้องถูกยุบนั้น เป็นเรื่องที่ควรต้องแก้

พล.ต.สนั่น กล่าวยืนยันด้วยว่า ผู้ใหญ่ในพรรคไม่เคยคุยกันเรื่องการตั้งพรรคสำรอง เพราะไม่คิดว่าพรรคชาติไทยจะถูกยุบ เนื่องจากหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิดดังกล่าว

ด้านนายอรรคพล สรสุชาติ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสมาชิกพรรคชาติไทย กล่าวว่า ในฐานะที่ส่วนร่วมในการพิจารณร่าง พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้ง 3 ฉบับ ขอยืนยันว่าในขณะที่พิจารณาร่างกฎหมายนี้ ตามเจตนารมณ์ของผู้ร่างที่มาชี้แจงกับ สนช. ยืนยันชัดเจนและมีบันทึกไว้ว่ากรณีที่มีผู้สมัครของพรรคการเมืองใดทำผิด การจะพิจารณายุบพรรคหรือไม่ กกต.ต้องสอบสวนว่าความผิดนั้นเกี่ยวโยงกับหัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรคหรือไม่ ซึ่ง กกต.ก็ทำตามขั้นตอนนี้ โดยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ โดยมีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน

“ผมมีข้อมูลว่า ผลการสอบระบุชัดเจนว่า หัวหน้าพรรคชาติไทยและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัคร ส.ส.ชัยนาท พรรคชาติไทย และเป็นกรรมการบริหารพรรคที่ได้ใบแดง เท่ากับว่าผลวินิจฉัยออกมาแล้วว่า กรรมการบริหารพรรคและหัวหน้าพรรคไม่รู้เห็น พรรคชาติไทยไม่ผิด” นายอรรคพล กล่าว. – สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-03-22 16:39:08

พปช.จัดประชุมใหญ่-เดินหน้าแก้รธน.เผด็จการ

(22มีค.) ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพลังประชาชน แถลงผลการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2551 ว่า มีผู้เข้าร่วมประชุม 299 คน ถือว่าครบองค์ประชุม ตามกำหนดของข้อบังคับพรรคตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาครบทุกประเด็น ตามระเบียบวาระการประชุม เสร็จสิ้นภายใน 13.00 น.
ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายกมล พิกุลสวัสดิ์ เป็นผู้สอบบัญชีของพรรค และที่ประชุมได้รับรองรายงานการเงิน 2550 ซึ่งรายงานงบดุลของพรรคพลังประชาชน มีรายได้ประมาณ 141 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 203 ล้านบาท ส่วนแผนการดำเนินการปี 2552 ทางพรรคฯ มีเป้าหมายจะเร่งฟื้นฟูประชาธิปไตย และดำเนินนโยบายพาประเทศผ่านพ้นวิกฤติ ที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า โดยเน้นพันธกิจการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชน ทั้งยังมีภารกิจ ภายในพรรค และอีกส่วนหนึ่งที่ได้เสนอและรับรองจากที่ประชุมพรรค คือ การพัฒนาพรรคที่นำไปสู่สถาบันทางการเมือง
ร.ท.กุเทพ กล่าวอีกว่า ในที่ประชุม นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้พูดต่อที่ประชุมก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ ซึ่งนายสมัครได้รายงานถึงสถานการณ์การเมืองทั่วไปว่า จากที่ได้เดินทางไปต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งทุกประเทศที่เดินทางไป ต่างแสดงความชื่นชมยินดีที่ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย และหวังว่าจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้นในระดับนานาชาติ ที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจมีความก้าวหน้า
" นายสมัครได้กล่าวว่า ขณะนี้กลับมีปัญหาทางการเมือง บั่นทอนความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจจากประชาคมโลก โดยการเมืองยังไม่สิ้นสุดสะเด็ดน้ำ แต่ยังมีประเด็นให้มีการถกเถียงอยู่ตลอด ก็เป็นปัญหาให้การทำงานของรัฐบาลไม่ลงตัวอยู่ " ร.ท.กุเทพระบุและว่า นายสมัครยังกล่าวในที่ประชุมพรรคฯ ถึงกรณีการยุบพรรคการเมือง ซึ่งถ้ามีการยุบพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรค จะเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ ไม่ใช่เป็นการฆ่ากรรมการบริหารพรรค โดยนายสมัครได้ยืนยันว่า จะทำหน้าที่แก้ไขปัญหา และวิกฤตของประเทศจนครบวาระ 4 ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุมได้พูดถึงการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่จะเป็นอุปสรรคในการบริหารประเทศหรือไม่ ร.ท.กุเทพกล่าวว่า ก่อนเข้าระเบียบวาระ ได้มีการแสดงความคิดเห็นถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันอย่างกว้างขวาง ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมยืนยันว่า เมื่อพรรคฯ ได้รับเสียงส่วนใหญ่จากประชาชน ก็ต้องแก้ไขปัญหา โดยอาศัยกรอบของอำนาจที่ได้รับมาให้ดีที่สุด ฉะนั้นหากมีกฎหมายมาตราใดทำให้เกิดความเสียหาย และการเมืองมาถึงทางตัน ก็เป็นความชอบธรรมที่จะหางแก้ไข เพราะเห็นตรงกันว่า ภายในระยะเวลา 2 ปีที่ สนช. ได้ทำการร่างกฎหมาย บนบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และริดรอนอำนาจขององค์กรอิสระ
ส่วนจะมีการแก้มาตรา 237 หรือไม่นั้น ร.ท.กุเทพ กล่าวว่า ไม่ได้ลงรายละเอียด คาดว่าจะมีการพูดคุยกันในที่ประชุมพรรคฯ ในวันที่ 25 มี.ค.นี้ โดยขณะนี้มี ส.ส. เสนอญัตติเข้าสู่สภา เพื่อตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาประเด็นที่จะมีแก้ไข ที่จะประกอบด้วยตัวแทนจากทุกพรรคการเมือง
ต่อข้อถามว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าว จะมีการหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้านหรือไม่ ร.ท.กุเทพกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาในสภา ต้องใช้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย ซึ่งเราได้มีการพูดคุยในหมู่ ส.ส. ด้วยกันแล้ว แม้แต่พรรคไม่ร่วมรัฐบาลเห็นตรงกัน โดยอาจจะอยู่ในช่วงสงวนท่าที เพื่อไม่ให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้เกิดความสับสนทีกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคฯ กังวลหรือไม่ว่า จะถูกโจมตีว่าแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ร.ท. กุเทพกล่าวว่า ที่ประชุมก็มีการพูดคุยในเรื่องนี้ เพราะบางเรื่องต้องกล้าอธิบายกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมาว่า กฎหมายที่แก้มีผลโดยรวมต่อประเทศอย่างไร โดยอาศัยรัฐสภาเป็นเวที เมื่อเห็นว่ากฎหมายใดไม่ชอบธรรมเราก็ต้องแก้ เพราะเรามาจากระบอบ
ประชาธิปไตย ซึ่งมีบางคนเสนอในที่ประชุมว่า วันนี้ต้องเอากฏมายที่มาโดยไม่ชอบไปทั้งหมด แต่เราเห็นว่า กฎหมายบางฉบับมีเนื้อหาที่ดีก็เอาไว้ แต่ในที่ประชุมไม่ได้มีการพูดถึงการยุบพรรค กรณีการให้ใบแดงกับนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
ต่อคำถามที่ว่า ที่ประชุมได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดของ พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน หรือไม่ ร.ท.กุเทพกล่าวว่า เป็นที่ทราบกันก่อนเข้าประชุมว่า พรรคมีท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งแนวทางดังกล่าว
เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งเมื่อมีความชัดเจนว่า ทางพรรคไม่มีแนวทางอย่างนั้น ที่ประชุมก็ไม่มีการพูดกันในประเด็นนั้นต่อ โดยเฉพาะการที่นายสมัครได้ยืนยันว่า จะแก้ปัญหาของพี่น้องประชาชนจนสุดความสามารถและตรบวาระ นั่นหมายถึงการยุบสภาที่ไม่เกี่ยวกับปัญหาในสภา แต่เป็นความขัดแย้งอื่นๆ ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะยุบสภา

จาก hi-thaksin

นายกฯสมัครเตรียมเยือนเวียดนาม 24 มี.ค.นี้

นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดจะเดินทางเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 24 มีนาคม 2551 เพื่อแนะนำตัว ภายหลังจากเข้ารับตำแหน่ง และสร้างความคุ้นเคย และส่งเสริมสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับผู้นำเวียดนาม รวมทั้งยืนยันความต่อเนื่องด้านนโยบายของไทยต่อเวียดนาม และเน้นย้ำถึงความสำคัญที่ไทยให้แก่เวียดนาม ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ และความร่วมมือในมิติต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยกับเวียดนาม อาทิ ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือทางวิชาการ การศึกษา ความร่วมมือด้านสาธารณสุข และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ตลอดจนแสวงหาแนวทางที่ทั้งสองประเทศจะกระชับความร่วมมือของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่ออนุภูมิภาคโดยรวมด้วย
นายธฤต กล่าวว่า ภารกิจสำคัญของนายกรัฐมนตรีในระหว่างการเยือน ประกอบด้วยการเข้าเยี่ยมคารวะนายเหวียน มินห์ เจี๊ยต ประธานาธิบดีเวียดนาม และนายหน่ง ดึ๊ก หมั่น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม รวมทั้งหารือข้อราชการกับนายเหวียน เติน ซุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม นอกจากนี้ นายสมัครจะเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-เวียดนาม ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีในการขจัดการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก และการช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะพบปะและมอบนโยบายแก่หัวหน้าสำนักงานส่วนราชการไทยในเวียดนาม รวมทั้งนักธุรกิจและคนไทยในเวียดนาม


จาก hi-thaksin

รัฐบาลกำหนด 3 ยุทธศาสตร์ปราบปรามยาเสพติด

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชีรัฐบาลเตรียมใช้มาตรการ 3 ลด 3 เพิ่ม และ3เน้น ยืนยันไม่มีนโยบายใช้ความรุนแรงในการปราบยาเสพติด

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯกล่าวว่า ในวันที่ 2 เม.ย.นี้ รัฐบาลจะประกาศนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่ทำเนียบรัฐบาลโดยใช้กลยุทธการลด 3 เพิ่ม 3 เน้นลดผู้ค้าผู้เสพและกลุ่มเสี่ยงเพิ่มมาตรการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ บทบาทของประชาชนและสาธารณและเน้นพื้นที่ กทม.และปริมณฑล บางพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่นำเข้า ทั้งนี้ นายกฯได้กำชับให้การใช้มาตรการจะต้องเห็นผลได้ในระยะสั้นและต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ยืนยันรัฐบาลไม่มีนโยบายใช้การรุนแรงในการปราบปราม รองโฆษกสำนักนายกฯยังสรุปถึงสถานการณ์ยาเสพติดด้วยว่าพื้นที่สำคัญคือกทม.และปริมณฑลและ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการแพร่ระบาดจะเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเยาวชนอายุตั้งแต่ 15-24 ปี

อย่างไรก็ตามในส่วนของการปราบปรามได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าจำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในปี 2544 มีจำนวนสูงถึง 1.9 ล้านคน และมีการประกาศสงครามยาเสพติดในปี 2546 มีจำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องลดลงเหลือ 4.5 แสนคน แต่เมื่อยุติการประกาศสงครามกับยาเสพติดกลับมีผู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นถึง 5.7 แสนคน

นายกฯ ให้ฟื้นอุตสาหกรรมอาหารพัฒนา 3 จังหวัดใต้

นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยฟื้นอุตสาหกรรมอาหาร พัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดใต้ ดึงทหารเข้ามาถือหุ้น

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธาน ประชุมวางแนวทางแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้วันนี้ว่า เป็นการหารือใน ส่วนของการพัฒนาของฝ่ายพลเรือน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น

โดยที่ประชุมเห็นว่าควรมีการฟื้นฟูโครงการอุตสาหกรรมอาหารและโครงการอื่นๆ ที่ภาคเอกชนไม่กล้าเข้าไปดำเนินการกลับ ขึ้นมาใหม่ โดยการให้ทหารเข้าไปถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ และเอกชนถือหุ้น 49 เปอร์เซ็นต์ คล้ายกับรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีการ ลงทุนในด้านงบประมาณจากภาคเอกชนและใช้กำลังจากทหารเข้าไปดำเนินการแทน โดยสามารถดำเนินการได้ทันที

นายกรัฐมนตรีบอกว่าภาพรวมการแก้ไข นายกรัฐมนตรีจะเป็นคนรับผิดชอบหลัก โดยมีฝ่ายปฏิบัติงานทั้งฝ่ายพลเรือน ทหาร และตำรวจ แต่จะไม่ขอเปิดเผยยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ก่อการร้ายทราบถึงแนวทางของ รัฐบาล ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีบอกว่า สถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ขณะนี้ถือว่าดีขึ้นตามลำดับ แต่เหตุร้ายที่เกิดขึ้นค่อนข้างถี่ใน ช่วงนี้เป็นเพราะผู้ก่อการร้ายต้องการให้ฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีกระโดดลงไป ซึ่งขณะนี้ฝ่ายปฏิบัติการณ์ กำลังพยายามทำงานกันอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำว่าการแก้ไขปัญหาภาคใต้จะยึดหลักสันติวิธีในการดำเนินการต่อไป ส่วนที่นักวิชาการเสนอให้เชิญ นายอนันต์ ปันยารชุน เข้ามาเป็นคณะทำงานในการแก้ปัญหานี้นั้น นายกฯ พูดเพียงสั้นๆ ว่าไม่เชิญ

รัฐบาลดีเดย์ อัดฉีดเงินลงรากหญ้าถึงมือชาวบ้าน เม.ย.นี้

รัฐบาลดีเดย์หลังสงกรานต์อัดฉีดงบลงรากหญ้าผ่านโครงการ เอสเอ็มแอล.เกือบ 20,000 ล้านบาท พร้อมดึง 2 แบงก์รัฐ ออมสิน และ ธกส.เดินโครงการประชานิยมเต็มสูบ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ ให้ประชาชนในชนบท

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และ รมว.คลัง เปิดเผยหลังเรียกประชุมคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน เพื่อเร่งอัดฉีดเม็ดเงินลงไปสร้างรายได้ให้ประชาชนในภาคชนบท ซึ่งตังเลขเบื้องต้นของ ก.มหาดไทย ปัจจุบันมีหมู่บ้านอยู่ ทั้งสิ้น 78,358 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้แยกเป็นชุมชน 3,444 ชุมชน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติขยายหมู่บ้านและงบประมาณที่จะใช้ใหม่ เป็น 7 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ประชากรตั้งแต่ 1 คน ถึง 50 คน จะได้จัดสรรงบประมาณ 50,000 บาทเท่าเดิม

กลุ่มที่ 2 ประชากร 51 คน ถึง 100 คน ได้งบประมาณ 100,000 บาท เท่าเดิมเช่นกัน

กลุ่มที่ 3 ประชากรตั้งแต่ 101 ถึง 200 คน จะได้รับจัดสรรงบลงเหลือแค่ 150,000 บาท จากเดิม 200,000 บาท

กลุ่มที่ 4 ประชากรตั้งแต่ 201 ถึง 500 คน ได้รับจัดสรรงบเท่าเดิมคือ 200,000 บาท

กลุ่มที่ 5 ที่ประชากรตั้งแต่ 501 ถึง 1,000 คน จะได้งบประมาณเท่าเดิม คือ 250,000 บาท

กลุ่มที่ 6 ประชากรตั้งแต่ 1,000 ถึง 1,500 คน จะได้งบประมาณ 300,000 บาท

กลุ่มที่ 7 ซึ่งถือเป็นหมู่บ้านขนาด เอ็กซ์แอล ประชากรตั้งแต่ 1,501 คนขึ้นไป จะได้รับการจัดสรรงบประมาณ 350,000 บาท ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีหมู่บ้านที่เข้าข่ายราว 3,117 หมู่บ้าน

ซึ่งเมื่อคำนวนงบตามสัดส่วนของขนาดหมู่บ้านทั้ง 7 กลุ่ม จะต้องใช้งบประมาณถึง 18,687 ล้านบาทเศษ โดยในจำนวนนี้จะ โยกงบจากโครงการอยู่ดีมีสุข 15,000 ล้านบาท ส่วนที่เบิกจ่ายไปก่อนหน้านี้ในโครงการอยู่ดีมีสุขก็จะประสานไปยัง ก.มหาดไทย ให้ทำโครงการให้สอดคล้องกับโครงการเอสเอ็มแอล.ส่วนที่เกินอยู่อีกราว 3,600 ล้านบาท จะใช้งบกลางโดยจะเสนอให้ ครม. เห็นชอบในวันอังคารนี้เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้ทันที และหลัง ครม.เห็นชอบก็จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ ตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. และตั้งเป้าช่วงเทศกาลสงกรานต์

ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับบ้านจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อดูว่า แต่ละหมู่บ้านจะนำเงินไปทำอะไรกันบ้าง และสัปดาห์สุดท้าย ของเดือนก็จะเริ่มกดปุ่มโอนเงินเข้าระบบผ่านธนาคารออมสิน และ ธกส. ลงไปสู่หมู่บ้านทันที ซึ่งในเรื่องดังกล่าวได้มีการตั้งคณะ กรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายขึ้นมาอีก 1 ชุด เพื่อให้การเบิกจ่ายและใช้งบมีประสิทธิภาพสูงสุด

และในการประชุม ครม.วันอังคารนี้จะมีการเสนอโครงการประชานิยมที่อยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารออมสิน และ ธกส. ซึ่งก็ อยู่ในแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้าเข้าที่ประชุม ครม.ด้วย ซึ่งประกอบด้วย การพักหนี้เกษตรกร 3 ปี, โครงการธนาคาร ประชาชนที่ลดดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.75 จากร้อยละ 1 ต่อเดือน และโครงการกองทุนหมู่บ้านที่จะมีการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าไป ยังหมู่บ้านเกิดใหม่ 1,600 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท โดยทั้งหมดดีเดย์เดินโครงการพร้อมกันเดือน เม.ย.นี้ เพื่อเร่งสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับนายทุนในภาคชนบท ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อในประเทศ หนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ใน 6 เดือน

‘หมอเลี้ยบ' หนุนแก้รธน.-แนะส.ส.เริ่มก่อนเพื่อความรวดเร็ว

วันนี้ (21 มี.ค.) นายแพทย์ (นพ.) สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัญหาด้านการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ยกร่างขึ้นมาจากการยึดอำนาจ ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่บั่นทอนถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน จึงควรมีการแก้ไขเพื่อให้การเมืองมีเสถียรภาพและนักลงทุนเกิดความมั่นใจมากขึ้น
นพ.สุรพงษ์ กล่าวยอมรับว่า ปัญหาการเมืองได้สร้างแรงกดดันทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างไรจากคดียุบพรรค ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนและนักลงทุน อีกทั้งการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาบอกว่าไม่มีทางเลือกในการส่งให้ศาลตัดสินกรณียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เพราะข้อกฎหมายบังคับไว้ ทำให้มองย้อนกลับไปว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้มาจากกฎหมายที่มาจากการยึดอำนาจ
ดังนั้น เมื่อกฎหมายทำให้เกิดความไม่มั่นใจ จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรต้องทบทวนและหาทางแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งประชาชน, ส.ว. และ ส.ส. สามารถเข้ามาร่วมกันเพื่อแก้ไขกฎหมายได้ แต่หากจะให้แก้ไขปัญหาได้โดยเร็วก็ต้องให้ ส.ส.เป็นฝ่ายเริ่มก่อน
ส่วนกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ออกมามีจุดประสงค์เพื่อต้องการขจัดคนทุจริตออกจากระบบการเมืองหรือไม่นั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ในระดับของพรรคการเมืองเองได้วางกรอบการรับสมาชิก และผู้บริหารพรรคไว้อยู่แล้ว แต่ยอมรับว่าคงจะทำได้ไม่ 100% และเมื่อมีกฎหมายในเรื่องการยุบพรรคและการตัดสิทธิทางการเมือง ยิ่งทำให้กฎหมายมีความเข้มข้นมากขึ้น
ทั้งนี้ ทำให้มองได้ว่าในอนาคตกรรมการบริหารพรรคการเมืองจะมีน้อยลง เพราะแกนนำพรรคจะไม่กล้าเข้ามาเป็นกรรมการบริหารพรรค อีกทั้งแม้จะเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งแต่ท้ายที่สุดแล้วนายกรัฐมนตรีจะไม่ได้มาจากหัวหน้าพรรค ซึ่งการจะวางกรอบของกฎหมายก็ควรจะดูว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศจริงหรือไม่
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะเห็นทิศทางได้ก่อนที่จะเดินทางไปทำโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น ปลายเดือนนี้ (30-31 มี.ค.) เพื่อจะได้ตอบคำถามกับต่างประเทศได้ โดยอาจจะมีการซาวนด์เสียงอย่างไม่เป็นทางการ
ส่วนการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ปรับตัวลดลงเกือบ 10 จุดนั้น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เกิดจากนักลงทุนไม่มั่นใจ หลังจากศาลฎีการับคำฟ้องกรณีที่ กกต. ให้ใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นด้านการเมืองให้กับนักลงทุน
นพ.สุรพงษ์ ยังให้ความเห็นกรณีนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.) โดยชี้ว่า กฎหมายควรจะลงโทษเฉพาะผู้ที่กระทำความผิดเท่านั้น ไม่ควรโยงไปถึงการยุบพรรค โดยเปรียบเทียบกับธุรกิจของเอกชนว่าถ้าผู้บริหารกระทำผิดก็ไม่จำเป็นถึงขั้นปิดบริษัท
"ควรจะต้องดูว่าข้อกฎหมายที่มีอยู่เหมาะสมแล้วหรือไม่ เพราะผู้ที่กระทำความผิดเป็นเพียงกรรมการบริหารพรรคเพียงคนเดียว จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการยุบพรรคทั้งพรรคเหมือนอย่างบริษัทเอกชนที่พนักงานทำผิดจำเป็นที่จะต้องยุบบริษัทนั้นหรือไม่ ดังนั้นจึงอยากให้คิดให้ดี"


จาก hi-thaksin

ตร.คุมเข้มพันธมิตรฯชุมนุม-เตือนอย่าละเมิดสิทธิคนอื่น

วันนี้(21 มี.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรีประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่รองผบ.ตร.มค.1 . กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยในการจัดสัมมนาของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 28 มี.ค.ที่ห้องประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า วันนี้ตนได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องการรักษาความปลอดภัยของผู้ชุมนุมในทุกรูปแบบ ไม่ใช่เรื่องของพันธมิตรอย่างเดียว เพราะปัจจุบันมีความขัดแย้งทางความคิดในสังคมมากขึ้น การทำงานของผู้รักษากฏหมายก็ต้องปรับตามไปด้วย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เตรียมที่จะทำการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งฝ่ายอำนวยการ และฝ่ายปฏิบัติให้มีกรอบการทำงานในทางเดียวกัน ซึ่งจะทำให้งานด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยในการชุมนุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวว่า ในการชุมนุมของทุกกลุ่ม ตนอยากฝากให้ทุกฝ่ายชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ กระทำตามกรอบของกฏหมาย อย่าไปละเมิดสิทธิของคนอื่น ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัย ตำรวจจะดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยในวันที่ 27 มี.ค.ก่อนการชุมนุม ตนจะไปประชุมกับตำรวจนครบาลเพื่อเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่


จาก hi-thaksin

‘สมัคร'เผยคนไทยรู้'‘อีแอบ'จ้องยุบพรรค-ชี้เป็นกรรมบ้านเมือง

วันนี้(21 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีคดียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยที่จะโยงถึงพรรคพลังประชาชนว่า ออกปากพูดอะไรไม่ได้แล้ว พูดได้แต่เพียงว่า วันนี้มันเป็นกรรมของบ้านเมืองนี้ มีการปฏิวัติยึดอำนาจ เสร็จแล้วก็ออกรัฐธรรมนูญใหม่ จนกระทั่งได้มีประชาธิปไตย ทั่วโลกเขาก็เห็นว่ามีประชาธิปไตยแล้ว เลือกตั้งกันมาแล้วตั้งรัฐบาลได้แล้ว แต่ก็ยังไม่รู้จักจบจักสิ้น ใครที่เป็นคนดำเนินการให้ไม่รู้จักจบสิ้น ลองคิดดูบ้างซิว่า ไม่สงสารบ้านเมืองกันเลย
"ผมมันคนธรรมดา ไม่เป็นอะไรก็ไม่ตายหรอก แต่บ้านเมืองมันตาย ไม่สงสารบ้างหรอ ผมพูดอะไรไม่ได้แล้วกำลังนี้ มีส่วนได้เสีย ผมก็พูดไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ มันก็สมควรแก่เหตุแล้ว แต่จะเอากันให้ตายตรงนี้ก็เอาสิ เอากันมั้ย เอาให้ตายกันไปเลย ให้พรรคการเมืองมันตายไปเลย พรรคการเมืองมันตายไม่เป็นไร แต่ประเทศชาติมันตาย ก็ล้มลุกคลุกคลาน กว่าจะโงหัวขึ้นมาได้ พอเงยหน้าพอไปคบค้าสมาคมกับใครเขาได้ ก็จะกลับอย่างเดิมก็จะเอากันให้ตายอีก ทีนี้เป็นไงพอใจหรือยัง ไม่ต้องถามอีกแล้วพอแล้วเอาไปออกข่าวก็แล้วกัน" นายสมัคร ระบุ
เมื่อถามว่าจะระบุถึงคนที่จะให้ยุบพรรคได้หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่ต้องระบุหรอก ประชาชนทุกคนรู้ ใครคิดจะทำอะไรอย่างนี้ คิดบ้างซิ คิดบ้างนี่มันบ้างเมือง มันประเทศของเรา เอาพรรคการเมืองให้ตายแปลว่าต้องการฆ่าประเทศนี้ให้ตาย มันสะใจอะไรกันนักหนา มันเจ็บช้ำน้ำใจอะไรกันนักหนา ปฏิวัติไปแล้ว ยึดอำนาจไปแล้ว จะฆ่ากันให้ตาย เอากันให้ตาย เอาอีก
เมื่อถามว่าก็มีทางออกในทางกฎหมายหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ก็เขาก็พยายามไป แต่ก็น่าแสดงให้เห็น ถ้าเขาลองพูดสัก 2-3 คำ ว่าเรื่องนี้มันต้องดูทั้งนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ แต่ว่าถ้าบ้านเมืองมันมาขนาดนี้แล้ว เราก็คงจะต้องดำเนินการไป
เมื่อถามว่าแสดงว่าเรื่องมีธงมีเป้าหมายที่จะสกัดอยู่ นายสมัคร กล่าวว่า นั่นลูกสาวคุณบรรหาร(น.ส.กัญจนา ศิลปาอาชา รองหัวหน้าพรรคชาติไทย)ท่านพูด ก็ต้องขอบคุณ คุณกัญจนา
เมื่อถามว่าท่านบอกว่ามีคนคนหนึ่งที่พยายามทำให้บ้านเมืองมีปัญหาใช่หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ตนเองไม่ได้ใช้คำนี้เลย มีคุณกัญจนา พูดเฉียดไปหน่อย
"ผมเลิกพูดแล้วเรื่องนี้ ผมไม่ต้องการจะพูดอีกแล้ว วันนี้ผมจำเป็นที่ต้องแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมา มันน่าเจ็บช้ำน้ำใจ คุณเป็นผมคุณจะรู้เลยว่า มันอะไรกันนักหนา มันทำไม มันทำไม กับไอ้พรรคการเมืองพรรคนี้ มันทำความชอกช้ำให้ใคร จะเอามันให้ตายอย่างนั้นหรือ ผมต้องร้องถามเลย ผมต้องขอความเป็นธรรมกับสังคม ผมทำงานให้บ้านเมืองนี้อยู่ ทำไปถูกฉุดกระชากลากไป ก็ต้องรู้สึกเหมือนผมซิ"
เมื่อถามถึงกรณี พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เสนอให้มีการยุบสภาก่อนตัดสินยุบพรรค นายสมัคร กล่าวว่า เรื่องนั่นเป็นความเห็นส่วนตัวของเขา เมื่อถามว่าท่านจะไม่ทำตามใช่หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ตามไม่ตามไม่รู้ แต่เขาเป็นนักการเมือง เขามีความคิด เขาพูดคุณก็ฟังเขาก็แล้วกัน
เมื่อถามถึงการนัดรับประทานอาหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) นายสมัคร กล่าวว่า ยังอยู่อีกหรอ คมช. ไหนบอกเลิกแล้วไง เมื่อถามว่าได้มีการสอบถามกรณีนี้หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ไม่ถามหรอก คนเขารู้จักกันกินข้าวกันไม่เห็นมีอะไรเสียหาย ไม่มีปัญหาไม่ต้องถาม พรรคผมยุบไปแล้ว ผมจะไปกินข้าวกันก็คงไม่มีใครสนใจแล้วต่อไปนี้
เมื่อถามว่าจะมีการตรวจสอบงบลับของคมช.หรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า ผมไม่ฟื้นฝอยหาตะเข็บ ผมต้องการให้ทุกอย่างมันเดินหน้าไป โปรดกรุณาอย่าถามเรื่องนี้ ผมไม่ได้สบคบกับใครทำอะไรผิดหรอก
ส่วนกรณีวุฒิการศึกษาของนายสุธา ชันแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รับรายงานหรือยังสำหรับกรณีนี้ นายสมัคร กล่าวว่า ก่อนที่เขาจะเข้ามาก็มีการตรวจสอบวุฒิการศึกษาเรียบร้อย ตนก็รอฟังอยู่ให้บอกว่ามาว่าไม่ใช่ ให้ก.พ.เขาบอกมา เมื่อถามว่าถ้ามีการบอกว่าเป็นวุฒิปลอม นายสมัคร กล่าวว่า ก็ทางนั้นเขาบอกว่าดีได้อย่างไร ถ้ามันปลอม ก.พ.จะบอกว่าดีเมื่อตอนต้นได้อย่างไร ก็เขาโอเคมาเราก็โอเคไป เขาบอกไม่ใช่ก็ไม่ใช่ ไม่มีปัญหาเรื่องอย่างนี้ ไม่ดุเดือดเลือดพล่าน
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังกล่าวถึงการโยกย้ายนายทหารว่า ทุกเหล่าทัพพอใจ


จาก hi-thaksin

‘หมอเลี้ยบ'เผยยุบสภาเลี่ยงยุบพรรคแค่ความเห็น

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง รับคำร้อง กกต.ให้ใบแดงนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่า ต้องเป็นไปตามกฎหมาย นายยงยุทธ ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ โดยให้เป็นหน้าที่ของรองประธาน สำหรับพรรคพลังประชาชนคงจะประชุมเพื่อพิจารณากระบวนการ ว่าจะเตรียมชี้แจงอย่างไร และคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่กระทบต่อความรู้สึกของคนในพรรค
ส่วนที่ พ.ต.ท.กานต์ เทียนแก้ว รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ระบุว่า ทางออกเพื่อไม่ให้เกิดการยุบพรรคคือการยุบสภานั้น ถือเป็นความเห็น แต่ในพรรคยังไม่ได้พูดคุย ซึ่งอาจคาดเดาว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะไปในทิศทางนั้น แต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น อีกทั้งการที่ศาลรับคำร้องในคดีดังกล่าวเชื่อว่า จะไม่เชื่อมโยงหรือส่งผลไปยังคดีอื่นที่เกี่ยวข้อง เพราะแต่ละคดีก็มีรูปคดีและข้อมูลของตัวเอง
โดยระหว่างนี้ พรรคจะหาคนมาทำหน้าที่ประธานสภาแทนนายยงยุทธหรือไม่นั้น ต้องมีการพูดคุยกันว่า จะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างไร แต่ในชั้นนี้กระบวนการยังอยู่ในการพิจารณาของศาลยังไม่ได้พิพากษาไปในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งในการสัมนาใหญ่ ส.ส.ของพรรคพลังประชาชนวันที่ 22 มีนาคมนี้ คงจะหยิบยกมาหารือว่า จะรอให้มีคำพิพากษามาก่อน หรือจะดำเนินการอย่างอื่นต่อไป


จาก hi-thaksin

คณะ กก.เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจใต้อนุมัติ 5 ยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ใต้

ทำเนียบฯ 21 มี.ค.-นายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้อนุมัติ 5 กรอบยุทธศาสตร์พัฒนา 3 จังหวัดใต้ รวมสงขลา-สตูล พร้อมให้ทหารร่วมลงทุนภาคเอกชนฟื้นเศรษฐกิจในพื้นที่

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ว่า การทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 2 ส่วน คือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และกองกำลังทหาร ตำรวจ พลเรือน (พตท.) โดยที่ประชุมเสนอให้มีการพัฒนาในส่วนพลเรือนโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมา ภาคเอกชนไม่กล้าที่จะไปลงทุน ตนจึงขอให้กำหนดรูปแบบเป็นลักษณะอุตสาหกรรมทหาร เช่น ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอาหารกระป๋อง การก่อสร้างถนน โดยทหารจะเข้าถือหุ้น 51% ภาคเอกชนถือหุ้น 49 % คล้ายกับรัฐวิสาหกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที

ส่วนสถานการณ์ที่ยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รัฐบาลมีนโยบายจะมอบหมายให้ใครรับผิดชอบโดยตรงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเป็นคนรับผิดชอบในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลนี้ต้องรับผิดชอบสถานการณ์ทั้งหมด ขณะเดียวกัน มีฝ่ายปฏิบัติทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินการใหม่ ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงเบาบางลง ส่วนเหตุระเบิดล่าสุดนั้น กลุ่มผู้ก่อเหตุต้องการให้ฝ่ายการเมืองลงไปมีบทบาทในพื้นที่ ดังนั้น จึงมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม ไปดูแลปัญหา

“แต่ ร.ต.อ.เฉลิม ลงไปแค่จังหวัดสงขลา ก็ไม่ว่าอะไร เพราะฝ่ายปฏิบัติการก็ทำหน้าที่และรายงานให้ผมทราบอย่างถี่ถ้วน ดังนั้น เราต้องไว้วางใจให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงาน” นายสมัคร กล่าว

นายสมัคร กล่าวอีกว่า การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะรวมถึง จ.สงขลา และ จ.สตูล ด้วย ในฐานะที่เป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งจะเป็นการช่วยและเชื่อมโยงพัฒนาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม จะนำเรื่องนี้ไปหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 25 มีนาคมนี้ และในเบื้องต้นจะใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 51

“ส่วนการวิเคราะห์สถานการณ์และเหตุระเบิดล่าสุดนั้น จะต้องดูว่าผู้ก่อความไม่สงบต้องการอะไร เพราะฝ่ายความมั่นคงประเมินว่า จะมีก่อเหตุความไม่สงบในช่วง 12-15 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ผู้ก่อความไม่สงบก็ลงมือในวันที่ 16 มี.ค. เพราะเจ้าหน้าที่คลายความระมัดระวัง ซึ่งการที่สื่อมวลชนเสนอข่าวเอิกเกริกก็จะสมประโยชน์ของผู้ก่อความไม่สงบ และถ้าผมกระโดดลงไปในพื้นที่ด้วยก็จะยิ่งสมประโยชน์มากขึ้น เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ต้องมาดูแลผม” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีกลุ่มผู้ก่อความสงบ 2 กลุ่มเคลื่อนไหวในต่างประเทศและต้องการยกระดับปัญหาให้เป็นสากล เพื่อให้มีการเจรจาที่เจนีวา โดยให้รัฐบาลไทยรับรองการเจรจาดังกล่าว แต่รัฐบาลไม่มีทางที่จะดำเนินการเช่นนั้น

“นายลี กวน ยู ก็บอกว่าเป็นเรื่องภายในของประเทศ และที่ต้องหวานอมขมกลืนทุกวันนี้ เพราะต้องการให้เป็นปัญหาอินเตอร์” นายกรัฐมนตรี กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าในวันที่ 23 มีนาคมนี้ เป็นวันครบรอบก่อตั้งขบวนการพูโลคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า “ขบวนการดังกล่าวฝากผู้สื่อข่าวมาบอกกับตนหรือ ผมจะรับฟังไว้ และเราจะต้องระมัดระวังว่าเขาจะลอบวางระเบิดอย่างนั้นหรือ และคงไม่เชิญนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานแก้ไขปัญหา อย่างที่มีนักวิชาการเสนอ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม กพต. วันนี้ (21 มี.ค.) ให้ความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยให้ความสำคัญกับการบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พัฒนา จ.สตูล เป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังการลุกลามของเหตุความไม่สงบ และพัฒนา จ.สงขลา เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับนานาชาติ

ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1.การคุ้มครองความปลอดภัย การอำนวยความเป็นธรรมเพื่อเสิมสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐและสร้างภูมิคุ้มกันแก่กลุ่มเสี่ยง 2. การแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ในการพึ่งพาตัวเอง 3. การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเน้นการปฏิรูปการศึกษาเชิงบูรณาการ 4. การเสริมสร้างความแข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยมีแนวทางในการขยายการผลิตด้านการเกษตรให้ครบวงจร และ 5. การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยเน้นการปรับปรุงและการทำกฎระเบียบเฉพาะในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดำเนินการบูรณาการแผนงานโครงการและกรอบงบประมาณตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวภายใน 45 วัน.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-03-21 19:12:05


ไม่ยุบสภาหนียุบพรรค

21 มี.ค.-วันนี้มีความเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคพลังประชาชนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ต่างยืนยันย้ำว่า จะไม่มีการยุบสภาเพื่อหนีการยุบพรรคอย่างเด็ดขาด ทั้งเชื่อว่ามีความพยายามวางยา พรรคพลังประชาชน ผ่านกฏหมายรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีวันนี้ วอนขอให้ฝ่ายที่จ้องจะยุบ 3 พรรค คือพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย ให้คิดถึงบ้านเมืองด้วย เพราะฆ่า 3 พรรคเหมือนทำลายประชาธิปไตย.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย



อัพเดตเมื่อ 2008-03-21 19:11:26

เฉลิมพร้อมเป็นทนายเคลียร์คดียงยุทธ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเผยพร้อมเป็นทนายให้ นายยงยุทธ ติยะไพรัช หากเรื่องดังกล่าวนำไปสู่การยุบพรรคพลังประชาชน ทั้งนี้ ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าไม่มี กกต.ใดในโลกมีอำนาจ
มากเท่ากับ กกต.ประเทศไทย

ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าพร้อมที่จะเป็นทนายความให้กับนายยงยุทธ ติยะไพรัช เลขาธิการพรรคพลังประชาชน หาก กกต.ได้ส่งเรื่องกรณีใบแดงของนายยงยุทธ ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และส่งผลกระทบถึงขั้นยุบพรรคพลังประชาชน

ทั้งนี้ ยังระบุด้วยว่าหากมีการยุบพรรคการเมืองอย่างมัชฌิมาธิปไตย ชาติไทย และพลังประชาชนจริง ก็จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง และจะทำให้ประเทศเกิดความวุ่นวาย นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ไม่เคยเห็น กกต.ที่ใดมีอำนาจมากมายเท่ากับ กกต.ในประเทศไทย

อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังได้กล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งผู้ตรวจราชการและคณะทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับคดีการบุกรุกที่ดินป่าสงวนและการบุกรุกพื้นที่ป่าโครงการพระราชดำริภายใน 30 วัน ทั้งนี้ ยืนยันว่าการกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นการเลือกปฏิบัติ แต่กระทำภายใต้หลักฐานข้อเท็จจริง โดยได้ติดต่อยังไปยังพื้นทีป่าสงวนทั่วประเทศ (21/03/51)


มท.1 รับมีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบภาคใต้ขอเคลียร์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเผยมีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่หนีไปอยู่ประเทศสวีเดนขอเจรจา ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแลการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ หากนายกฯ มอบหมายอย่าง
เป็นทางการทั้งนี้ ยืนยันนายกฯ จะเดินทางไปลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แน่นอน

ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าได้นำข้อมูลจากการเดินทางไปร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้นายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

ขณะที่นายกรัฐมนตรียืนยันจะลงพื้นที่ภาคใต้แน่นอน นอกจากนี้ยังระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ส่วนหนึ่งเป็นประเด็นทางการเมือง แต่โดยภาพรวมแล้วการแก้ปัญหาขณะนี้ก็ดีขึ้นมาก ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ นอกจากนี้ยังยอมรับด้วยว่ามีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ไปหลบหนีอยู่ที่ประเทศสวีเดน ติดต่อเข้ามาเพื่อขอเจรจากับตนเองที่ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งขณะนี้ก็กำลังพิจารณาอยู่

ทั้งนี้ หากมีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มใดที่หลบหนีอยู่ภายนอกประเทศ และมีความต้องการที่จะเดินทางกลับประเทศไทย ก็ขอให้มาเจรจากับตนเองได้ โดยจะดูแลเรื่องความปลอดภัยเต็มที่ และถ้าไม่กล้ากลับมาก็พร้อมที่จะไปรับด้วยตนเองอย่างไรก็ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็พร้อมที่จะเข้าไปดูแลการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง หากนายกรัฐมนตรีมีการมอบหมายให้ดูแลงานด้านความมั่นคงอย่างเป็นทางการ และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี (21/03/51)


ยุบพรรค [22 มี.ค. 51 - 17:50]

ก็เป็นไปตามคาดการณ์เมื่อศาลฎีกาคดีการเมืองรับคำร้องสำนวนคดีทุจริตเลือกตั้งที่เชียงราย ซึ่ง กกต. ชี้ขาดให้ “ใบแดง” นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนฯ ก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม

แต่ผลจากการนี้มันไม่ใช่แค่คดีที่จะต้องไปสู้กัน แต่มันมีผลต่อการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายยงยุทธ เมื่อศาลฎีการับคดีก็จะทำให้นายยงยุทธต้องพักการปฏิบัติหน้าที่ทันที

เรียกว่าไม่ต้องไปแสดง “สปิริต” หรือ “ดัดจริต” อะไรหรอกครับ...เพราะยังไงก็ต้องถูกพักงาน เพราะกฎหมายกำหนดเอาไว้อย่างนั้น และถ้าจะแสดงสปิริตก็ต้อง “ลาออก” ตอนนี้แหละถึงจะงดงาม

จะ “หัวหมอ” อย่างไรก็หยุดไม่อยู่และอย่าดัดจริตไปพูดอย่างอื่นก็แล้วกัน

แม้ว่ากระบวนการพิจารณาเรื่องนี้จะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง แต่ดูเหมือนพรรคพลังประชาชนจะมีการเตรียมการแก้ปัญหาล่วงหน้าเอาไว้แล้ว แม้จะใจดีสู้เสือเรื่อง “ยุบพรรค” ก็ตาม

เพราะหากนายยงยุทธถูกศาลตัดสินให้ “ใบแดง” ตามคำร้องของ กกต.ก็คงมิใช่แค่ว่านายยงยุทธจะถูกเว้นวรรคทางการเมืองเท่านั้น แต่มันจะยึดโยงไปสู่การดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน นั่นก็คือ ความเป็นกรรมการบริหารพรรค

เมื่อกรรมการบริหารพรรคไปทำผิดทุจริตเลือกตั้ง คำถามก็คือทำในฐานะส่วนตัวหรือทำเพื่อพรรค แม้คำพูดจะแยกกันได้ แต่การกระทำมันแยกไม่ออกอยู่แล้ว ยิ่งการเป็นรองหัวหน้าพรรคอันดับ 1 ไม่ต้องพูดเลยว่ามีความสำคัญต่อพรรคมากน้อยแค่ไหน

ยิ่งบทบาท ลีลา กระบวนท่าทางการเมืองด้วยแล้วมันก็ยิ่งชัด

เรื่อง “ยุบพรรค” นั้น หากดูการดำเนินการของ กกต.ไม่ใช่ ธรรมดาเหมือนกัน ยิ่งการส่งเรื่องให้ที่ปรึกษากฎหมายพิจารณาในข้อกฎหมายด้วยระยะเวลา 15 วัน มันน่าจะไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่มันน่าจะมีอะไรที่จะต้องยืดเวลาออกไป

หรือถ้าจะพูดกันง่ายๆ กกต.น่าจะรอการตัดสินของศาลฎีกาก่อนว่าจะรับคดีนายยงยุทธหรือไม่มากกว่าเหตุผลอื่น

เพราะอย่างที่ กกต.ท่านหนึ่งได้เปิดเผยว่า กฎหมายมันมัดผูกโยงในฐานะกรรมการบริหารพรรคเมื่อไปกระทำผิดเลือกตั้งก็จะ

ต้องเกี่ยวพันกับพรรคโดยตรง จึงไม่มีทางเลี่ยงที่จะต้องถูก “ยุบพรรค” ด้วยเพียงแต่ว่าคนในพรรคอื่นๆ ถือว่าไม่ใช่เกี่ยวข้อง สามารถไป สังกัดพรรคการเมืองอื่นหรือสังกัดพรรคการเมืองใหม่ได้

เว้นแต่คนกระทำผิดเท่านั้นที่ต้องถูกเว้นวรรค 5 ปี

เหนืออื่นใดที่ว่า กกต.ต้องรอศาลฎีกาว่าจะรับหรือไม่รับคำร้อง มันมีผลต่อ กกต. แน่ เพราะหาก กกต.ชี้ขาดออกมาก่อนว่าพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยถูกคำสั่ง “ยุบพรรค” ด้วยกรณีเดียวกัน คือเป็นกรรมการบริหารพรรคแล้วทุจริตเลือกตั้ง

แม้ว่าคณะอนุฯ กกต. จะลงมติเอกฉันท์ว่าไม่สมควรยุบเพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เมื่อมีกฎหมายบังคับไว้ก็ต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น กกต.คงจะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเรื่องนี้เพื่อเป็นบรรทัดฐานและจะได้ดำเนินการได้

หาก กกต. ชี้ขาดยุบชาติไทย-มัชฌิมาธิปไตยแล้วศาลฎีกาไม่รับคำร้องคดีนายยงยุทธ อะไรจะเกิดขึ้น กกต.เจอปัญหาทันที

เพราะจะทำให้ กกต.หมดความเชื่อถือ เนื่องจากนายยงยุทธตอบโต้มาตลอดว่าถูกกลั่นแกล้ง จัดฉากสร้างหลักฐานเท็จ ถ้าศาลฎีกาไม่รับก็แสดงว่าเป็นอย่างข้อกล่าวหาได้ แต่เมื่อศาลรับทำให้การตัดสินใจยุบพรรคชาติไทย-มัชฌิมาธิปไตยง่ายขึ้น

และแรงกดดันทั้งหมดก็จะไปอยู่ที่พรรคพลังประชาชน เพราะถ้า 2 พรรคโดนก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพลังประชาชนจะไม่โดนด้วย

เลยเครียดกันไปทั้งพรรค...

"สายล่อฟ้า"

คอลัมน์ กล้าได้กล้าเสีย

โดนทุบฝ่ายเดียวที่ไหน [22 มี.ค. 51 - 02:36]

ด้านหนึ่ง “ลุงหมัก” นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังกลับจากเดินทางเยือนประเทศสิงคโปร์ว่า อดีตนายกรัฐมนตรีลี กวน ยิว แห่งสิงคโปร์ ได้ให้ความสนใจสอบถามความคืบหน้าคดียุบพรรค

และไม่ได้มีแค่ผู้นำสิงคโปร์ที่ห่วงใยเสถียรภาพการเมืองไทย “ลุงหมัก” ว่า แม้แต่สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ก็เคยสอบถามเรื่องเดียวกัน โดยเห็นว่า ทำไมป่านนี้เรื่องไม่จบสิ้นเสียที

อีกด้านหนึ่ง นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ เดินทางไปร่วมฉลองความสัมพันธ์ 175 ปีไทยกับสหรัฐฯ ก็เจอคำถามเสียวๆจากผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย

ทหารจะยึดอำนาจอีกหรือเปล่า

ล่าสุด “หมอเลี้ยบ” นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯและ รมว.คลัง ก็ออกมายอมรับตอกย้ำความน่าห่วงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะได้รับแรงตกกระทบจากกรณีที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นทิ้ง

เนื่องจากไม่มั่นใจกับสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งประทับรับฟ้องคดีใบแดงของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งแท่นส่งศาลรัฐธรรมนูญพิพากษายุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย

นำร่องล้างบางพรรคพลังประชาชน

โดยความพยายามของฝ่ายรัฐบาลอิงมุมมองต่างชาติ โยงสถานการณ์เศรษฐกิจ ผูกปมกับการเมืองวุ่นวายไม่จบ

ยื้อกับแรงเสียดทานที่พุ่งเข้าหา

นอกจากคิวที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีหมายเลขดำที่ ลต.38/2551 ตามที่ กกต.ได้ยื่นคำร้องให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายยงยุทธ

วันเดียวกันที่ประชุมที่ปรึกษากฎหมายของ กกต.มีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 เสียง ชง กกต. ให้ส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคชาติไทยและพรรค มัชฌิมาธิปไตย

และก็เป็น “หนูนา” น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ส.ส.สัดส่วน รองหัวหน้าพรรคชาติไทย ลูกสาวคนดังของ “บิ๊กเติ้ง” นายบรรหาร ศิลปอาชา ออกมาแฉดังๆเลยว่า

ได้ยินกระแสข่าวมีใบสั่งจากผู้ใหญ่ให้ยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาฯ

พร้อมๆกับรายงานข่าวกระซิบตามมาอีกว่า บิ๊กๆพรรคชาติไทยรู้สึกหนักใจที่เกมยุบพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยถูกนำไปพัวพันกับความต้องการยุบพรรคพลังประชาชน

ถือเป็นเกมล้างบางพรรคการเมืองที่เข้าไปร่วมจัดตั้งรัฐบาล

โดยใบสั่งยุบ 3 พรรค มีเงื่อนไขสำคัญคือ กลุ่มผู้มีอำนาจทางทหารไม่ยอมรับการกลับมาของพรรคพลังประชาชน จึงต้องการล้มเกมให้มีการเลือกตั้งใหม่ และการยุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาฯ เพื่อตัดกำลังรัฐบาลให้ง่อนแง่น

โยงกันเป็นฉากๆเลย

แต่ก็ใช่ว่า จะตกเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว โดยเกมรุกกลับของเครือข่าย “ทักษิณ”

ประกาศบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายของกองทัพ เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 10 ของอดีตนายกฯทักษิณ หวนกลับมากินตำแหน่งหลักสำคัญๆ

ขยับปีกกันพรึบพรับ

สวนทางกับเด็กในคาถาของ “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธาน คมช. นายทหารคนสนิทของ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล อดีตเลขาธิการ คมช. โดนเด้งเข้ากรุระนาว

แถมด้วยคำสั่งไล่บี้สอบการใช้งบฯสมัย คมช.

ยังไม่รวมสัญญาณโยกย้ายข้าราชการบิ๊กลอตในเดือนเมษายน

และกับคิวที่ คตส.ส่งซิกเรียก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นพยานปากเอกกรณีระบุต่างชาติสงสัยอดีตนายกฯทักษิณ รวยมาจากไหนถึงได้มีเงินซื้อสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้

ล่าสุดนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ลงนามในคำสั่งที่ 73/2551 ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงการถือครองที่ดินบริเวณเขายายเที่ยง ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านพักตากอากาศของอดีตนายกฯสุรยุทธ์

แก้เกมกันแบบช็อตต่อช็อต

สวนหมัดกันทันทีทันควันเลย.

ทีมข่าวการเมือง รายงาน

คอลัมน์ ข่าวการเมือง(วิเคราะห์)

ยุบพรรค

คุณสุเมธ อุปนิสากร นั้น มีตำแหน่งเป็น 1 ใน 5 ของคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. ดังนั้น คำพูดยืนยันของคุณสุเมธวันนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้าม!!
วันนี้...คุณสุเมธพูดชัดเจนอย่าง “ตั้งใจพูด” ว่า...

เรื่องคดียุบพรรคชาติไทยและมัชฌิมาธิปไตยนั้น ตามกฎหมาย กกต. ก็จะทำอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจากส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณายุบพรรคเท่านั้น แค่นี้ยังไม่เท่าไร แต่สิ่งที่ คุณบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กับ คุณอนงค์วรรณ เทพสุทิน จะต้องหนาวยะเยือกมากกว่านั้น คือ การยืนยันด้วยการยก ข้อกฎหมาย ประกอบการพูดว่า...กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 วรรค 2 กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.เลือกตั้ง มาตรา 103 วรรค 2 ที่ระบุว่า

หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคกระทำความผิด กฎหมายให้ถือว่าพรรคการเมืองได้อำนาจการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งมันจะไปเข้ากฎหมายมาตรา 94(1) ที่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบ ตรงนี้แหละ ที่คุณสุเมธนำมากล่าวอ้างในการพูด จนทำให้สองหัวหน้าพรรคแทบจะหัวใจวาย คือ“ถ้ากฎหมายมันเขียนคำว่า “ให้ถือว่า” ก็จะแปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เว้นแต่เขียนว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อน อย่างนี้แปลเป็นอย่างอื่นได้

เขียนอย่างนี้ก็คล้ายๆ ว่า มัดเอาไว้เลย ตามกฎหมายไม่มีทางที่จะให้ผมคิดเป็นอย่างอื่นได้เลย เขามัดคอผมว่าต้องส่งไปอย่างนี้ คล้ายขีดเส้นให้ผมเดิน ซึ่งในที่ประชุมก็เห็นเหมือนกันหมด” จนบัดนี้ ผมเองก็อ่านไม่ออก คิดไม่ตกว่า คุณสุเมธนำเรื่องคอขาดบาดตายอย่างนี้ ออกมา “บอกเล่า” แบบไม่มีปี่มีขลุ่ยทำไม??หรือคุณสุเมธต้องการ “สื่อ” อะไรบางอย่างออกมา ให้พรรคการเมืองอื่นๆ ได้รับรู้??

และแน่นอน!! หาก พรรคชาติไทยกับพรรคมัชฌิมาธิปไตย ประสบชะตากรรมตามนัยคำอธิบายเบื้องต้นของคุณสุเมธ พรรคใหญ่ที่เป็นแกนนำรัฐบาลอย่าง พรรคพลังประชาชน ก็ “หนีไม่พ้น” เช่นเดียวกันหาก คุณยงยุทธ ติยะไพรัช เกิดถูกศาลฎีกาฯ ตัดสินให้ “ใบแดง” เมื่อไร พรรคพลังประชาชนก็จะเจอข้อหาถูกยุบพรรคทันที เพราะคุณยงยุทธก็เป็น “กรรมการบริหารพรรค” คนสำคัญ

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นอย่างนี้ มาจากการร่างรัฐธรรมนูญที่มี “ประสงค์ สุ่นศิริ” เป็นประธานยกร่าง ทางเลือก (ที่ถือเป็นทางรอด) เดียว ซึ่งพรรคการเมืองทั้งหลายจะต้องทำ แต่คงทำยากหรือทำไม่ได้!!คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ!!เพราะวุฒิสมาชิกกับพรรคประชาธิปัตย์คงไม่เอาด้วย!!

“สองคม”

ผลัดกันเขียน เวียนกันคิด - ผลัดกันเขียน เวียนกันคิด

สงครามใต้ ไข้ที่ถูกเลี้ยง (2)

ถ้า..คำตอบของสงครามใต้..คือ การแบ่งแยกประเทศไทย..สถาปนาประเทศใหม่อย่างที่หวาดวิตกกันถ้า..ยังไม่มีคำตอบสักอย่าง..เราก็ต้อง..เชื่อไว้สักอย่าง..เป็นหนทางวิเคราะห์..เพื่อการแก้ไข..

เชื่อกันว่า..มันคือสงครามสร้างประเทศใหม่ โดยใช้ศาสนาและภาษาเป็นเงื่อนไขสงคราม..มันก็ไม่ต่างระหว่างอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ แย่งแผ่นดินกับเม็กซิกันที่พูดภาษาสเปนใครอยู่สหรัฐฯ ตอนใต้..มันก็เหมือนกับประเทศไทยตอนใต้..สถานที่กับภาษา..มันมาจากภาษาอื่น..ซานดิเอโก้ก็เหมือนกับสุไหงโก-ลก..

ทันทีที่อเมริกัน..สร้างเส้นแดนใหม่ให้อเมริกา เขาก็ป้องกันการหวนกลับ..เขาเอาฐานทัพเข้าไปวางไว้..เรียงรายตั้งแต่ฝั่งแอตแลนติกถึงแปซิฟิกรัฐติดทะเลเป็นฐานทัพเรือ..รัฐกลางแผ่นดินเป็นฐานทัพบก และรัฐตะวันออกเป็นฐานทัพอากาศถึงวันนี้..ไม่มีเม็กซิกันสักคน..คิดจะเอาแผ่นดินกลับโดยไล่ฐานทัพ..เพราะแค่คิดก็บ้า หากจะทำก็ฆ่าตัวตาย

ถ้า..นราธิวาส จังหวัดติดอ่าวไทย..เป็นฐานทัพฟ้า..การดูแลอ่าวไทยข้ามไปถึงฝั่งอันดามัน..ย่อมง่ายกว่า..บินจากโคราชหรือกรุงเทพฯ..ถ้า..ปัตตานีเป็นฐานทัพบก..การบุกรุกจากฝั่งตะวันตก ส่งกำลังบำรุงให้กองกำลังก่อการร้าย ก็ทำได้ยากขึ้น..ชายแดนด้านนี้..คือปัญหา..หากไทยจะแทรกแซงแย่งแผ่นดินมาเลย์..เราจะทำได้โดยการแทรกแซงจากตะวันออกไปทางตะวันตก..ฝั่งอันดามัน..ให้สตูลเป็นฐานทัพเรือ..

เป็นดังว่า..ประเทศเกิดใหม่จะเกิดได้ ก็เมื่อไทยทั้งประเทศต้องแพ้สงคราม..เป็นดังว่า..ความฝันที่จะสร้างประเทศคงไม่ใช่ของง่าย เพราะนั่นหมายถึงต้องขับไล่..3 ฐานทัพไปออกไปจากแผ่นดินมองจากแผนที่..หากลากเส้นแบ่งอาณาเขตในทะเล..ที่แบ่งครึ่งกันระหว่าง..เกาะลังกาวีของมาเลย์ กับเกาะตะรุเตาของประเทศไทย..ผ่าเข้ามาบนแผ่นดินแล้ว..สงครามใต้..อยู่ต่ำลงไปจากเส้นนี้..

มองอย่างชาวบ้าน..มองสงครามด้วยมุมมองของนักการพนัน..เราเห็นเดิมพันชัดเจนวันนี้ถ้าคิดกันแต่จะ..เป็นเศรษฐีสงคราม..วันหน้า..อาณาเขตประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนใหม่ หรือมาเลเซียจะมีรัฐใหม่สงครามย่อมมีวันเลิกรา..ผู้เข้าสงครามโดยไม่หวังชนะ..คือ ผู้แพ้

พญาไม้

พญาไม้ทูเดย์ - พญาไม้ทูเดย์

ฟ้องดะ!

คนใกล้ตัวเป็นพิษ!!!“ปัญหาใหญ่” ของคนเป็นใหญ่เกือบทุกคน ไม่เว้นกระทั่ง “วีรบุรุษนาแก” พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผบ.ตร. ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดวินัยร้ายแรงใน 3 กรณี

1. ทุจริตการทำสัญญาเช่ารถตู้ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) มูลค่า 9,800 ล้านบาท

2. การใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมกับผู้ใต้บังคับบัญชาและ

3. การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจโดยไม่มีกฎหมายรองรับทั้งหมดอยู่ระหว่างการสอบสวนหาพยานหลักฐานของ อัยการสูงสุด ชุดที่มี นายชัยเกษม นิติสิริ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง

ช่วงสายของวันที่ 19 มี.ค. เกิดเรื่อง “เผ็ดร้อน” เชิงวิวาทะ และอาจกลายเป็นประเด็นการเมืองขึ้นมา เมื่อ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ให้สัมภาษณ์นักข่าวหลังเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาข้างต้น โดยบอกในช่วงหนึ่งว่า...

“…ทำไมผมด่าลูกน้องควายแล้วผิดตรงไหน ถ้าผมไปด่าคุณก็ไปอย่าง เวลาพวกคุณถูกด่า สมองมีแค่นี้หรือ ปัญญามีแค่นี้หรือ เมื่อวานคุณไปเสพเมถุนกับใคร คุณไม่เห็นทำอะไรสักอย่างเลย พวกคุณก็ไม่ได้ฟ้องนี่ พวกคุณก็มีความรู้สึกสบายๆ ที่มีคนเขาด่าคุณอย่างนั้นใช่ไหม”วันเดียวกัน มีนักข่าวเอาประโยค “เสพเมถุน” นี้ไปถามกับนายกฯ สมัคร สุนทรเวช แต่คำตอบที่ได้รับ คือ...“ไม่ได้ยิน...ไม่ขอออกความเห็น”ไม่ได้ยินแต่รับรู้!!!“บางกอกทูเดย์” มั่นใจว่า...นายกฯ สมัคร รู้มากกว่านั้นเยอะ???

อย่างน้อย...เป้าที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จะนำมาใช้เล่นงาน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รอง ผบ.ตร. รักษาราชการแทน ผบ.ตร. หลังจากใช้ให้นายตำรวจติดตามนำหนังสือร้องเรียนถึงนายกฯ สมัคร ถึงทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้สอบสวนกรณีจัดซื้อจัดจ้างทำป้ายโฆษณาของ สตช. เมื่อวันที่ 20 มี.ค. และแม้ว่า เรื่องนี้...จะเป็นหนึ่งในข้อกล่าวหาสอบสวนวินัยของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็ตามนายกฯสมัคร น่าจะรู้ว่า...ประเด็นที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จะนำมาฟ้องร้อง พล.ต.อ.พัชรวาท จะไม่หยุดแค่นี้

หากพลิกดูปูมหลังของ ผบ.ตร.คนนี้ ก็ชัดเจนว่า...เขายืนหยัดต่อสู้กับทั้งเจ้าพ่อ มาเฟีย สื่อค่ายใหญ่ของเมืองไทย ฯลฯแม้กระทั่ง คนสีเดียวกันและคนต่างสีอย่างไม่สะทกสะท้านฉะนั้น นายกฯ สมัคร จึงต้องรู้ต่อไปอีกว่า...เป้าจริงของการฟ้องร้อง พล.ต.อ.พัชรวาท อยู่ที่ใครกันแน่???เท็จจริงแค่ไหน ที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ใช้กลวิธี “ตีกระทบชิ่ง” พล.ต.อ.พัชรวาท ไปยังใครบางคนและคนๆ นั้น อาจเป็นคนที่นายกฯ สมัคร รู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด

อย่าลืมว่า...พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เป็นเพียงนายตำรวจเพียงไม่กี่นาย ที่กล้า “ชน” กับทุกๆ เรื่องและทุกๆ คนที่ยืนตรงข้ามกับเขาจะมีนายตำรวจสักกี่คน ที่กล้าฟ้องร้องดำเนินคดีกับสื่อ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ค่ายใหญ่บางค่าย ชนิดแลกกัน “หมัดต่อหมัด”สำคัญกว่านั้น ทั้งกองหนุนและแรงใจที่มีอย่างท่วมท้นจากผู้คนในสังคมไทย ซึ่งเชื่ออย่างสนิทใจว่า...พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ คือ “นายตำรวจน้ำดี” ของเมืองไทย

และเป็น “นายตำรวจน้ำดี” ที่หาได้ยากมาก...ถึงมากที่สุด ในแวดวงที่ต้องแนบอิงอยู่ผลประโยชน์ เพื่อการต่อรองแลกเปลี่ยนสิ่งหนึ่งสิ่งใดหากมันจำเป็นจริงๆ เวทีการเมืองก็น่าจะเป็นอีกช่องทางที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จะเลือกเดินโดยเฉพาะ “เก้าอี้” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน กำลังจะครบเทอม 4 ปี ในช่วงปลาย ก.ค.ที่จะถึงนี้

“แฟนคลับ” ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รู้สึกใน “มุมบวก” กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ คงต้องเทใจ...ใส่คะแนนให้อย่างไม่ต้องสงสัยคนเป็นกลางที่ไม่รู้สึกเกลียดหรือรักใคร่ แต่พอเห็นคำสั่งย้ายให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว“บางกอกทูเดย์” เชื่อเหลือเกินว่า...ส่วนหนึ่งของคนกลุ่มนี้ คงต้องหย่อนบัตรเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้กับ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์

เพราะนิสัยคนไทย...ไม่ชอบเห็นการรังแกคนเก่งและดีนี่เอง...จึงทำให้ คนใกล้ชิดอีกคนของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ยืนยันกับ “บางกอกทูเดย์” ว่า...อดีตนายใหญ่ของ สตช. คนนี้ อาจลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อมีที่ไปชัดเจน ก็ยิ่งทำให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ พร้อมจะยืนซดกับใครต่อใคร แบบไม่เลือกหน้าฟ้องดะ! ไปเรื่อย

เพราะมี “แต้มต่อ” จากความเป็นคนมีชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดี เมื่อรวมกับ “คะแนนสงสาร” จากสังคมไทยโอกาสจะเจริญเติบโตในเวทีการเมืองของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็ดูจะยิ่งสดใสมากขึ้นปัญหา คือ แล้วคดีที่ตัวเขาตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาล่ะ...จะทำอย่างไร???บอกตามตรง ไม่ว่าจะมองมุมใด ทั้ง 3 กรณีโดยเฉพาะ 2 กรณีหลังนั้น คงเอาผิด พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ไม่ง่ายนัก!!!

จะมีก็แต่กรณีแรก คือ ทุจริตการทำสัญญาเช่ารถตู้ของ สตช. มูลค่า 9,800 ล้านบาทถึงหากศาลชี้มูลว่า...สตช. ทำผิดล่ะก็หน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่ใช้วิธีการและมาตรฐานเดียวกัน ก็คงต้องมีความผิดตามไปด้วยกระนั้น “บางกอกทูเดย์” ยังเชื่อลึกๆ ว่า...พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็ยังจะหลุดทั้ง 3 ข้อกล่าวหาร้ายแรงที่ว่านี้

การหลุดจากข้อกล่าวหาในฐานะ “จำเลย” ก็จะไปเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือ เมื่อต้องกลายเป็น “โจทก์”สิ่งนี้เอง ที่จะ “เขย่า” พล.ต.อ.พัชรวาท เพื่อ “ตีชิ่ง” ไปกระทบใครบางคน ที่เป็น “เป้าหลัก” ของกลเกมแห่งอำนาจครั้งนี้ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ แต่เส้นทางของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ คงไม่สิ้นสุดอยู่แค่...ข้าราชการตำรวจแก่ๆ อย่างแน่นอนบันไดการเมืองยังรอทอดยาว ให้เขาได้ก้าวเดินอย่างสง่าผ่าเผย

ดีไม่ดี...บั้นปลายชีวิตของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ อาจจะไปได้ดีกว่าการเป็นนักการเมืองที่ต้องถูกตรวจสอบจากสังคม หรือถูกให้ร้ายจากเครือข่ายคนการเมืองด้วยกันเป็นบั้นปลายชีวิตที่ใหญ่ยิ่งกว่าการเป็นนักการเมือง!!!แต่กว่าจะถึงตรงจุดนั้น จำเป็นที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ จะต้องเปิด...ยุทธการฟ้องดะ! ให้ได้เสียก่อน


กระชากหน้ากาก รัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ชำแหละ บทบาทนักวิชาการ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เขมือบ โปรเจคงานวิจัย ยุคคมช.เรืองอำนาจ 42.6 ล้านบาท อ้างทำเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตย อ.ใจ อึ้งภากรณ์ แฉขบวนการผลาญงบประมาณชาติเอาโครงการไปแก้ตัวให้ การรัฐประหาร 19 กันยายน 2551 ในต่างประเทศ ทั้งที่ผิดหลักการประชาธิปไตย น่าอับอายขายหน้า ล่าสุดนักวิชาการจุฬาฯกลุ่มนี้ยังมีหน้ามาขึ้นเวทีพันธมิตรฯ วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ นี้อีก

จากกรณีที่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะมีการจัดชุมนุมโดยอ้างว่าเป็นการเสวนาทางวิชาการ แต่แท้จริงมีการจัด“รายการยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ” วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2551ณ หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ นั้น

จากการตรวจสอบโปรแกรมงานดังกล่าว ในเวลา 18.45-20.15 น. อภิปราย “เหลียวหลังแลหน้าการเมืองไทย” โดยมีวิทยากรประกอบไปด้วย ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศ.ดร.สุรชัย ศิริไกร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี ศ.ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เคยมีประวัติในการฉีกบัตรเลือกตั้งในคูหาเลือกตั้ง ผศ.ดร.สุรัตน์ โหราชัยกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยหัวข้ออภิปรายดังกล่าว ปรากฏว่ามี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมอภิกปรายถึง 4 คนด้วยกัน และเป็นที่น่าสังเกตว่า นักวิชาการเหล่านี้ มีความเป็นกลางทางการเมืองหรือไม่ เพราะเคยเป็นกล่ามเคลื่อนไหวในการล้มล้างรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาแล้ว และนักวิชาการกลุ่มนี้ยังมีบทบาทในการสนับสนุนหรือทำงานให้กับ เผด็จการ คมช. หรือ โจรปล้นประชาธิปไตย ที่นำทหารเข้ายึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 อีกด้วย

ภายใต้บทความของ รศ.ใจ อึ้งภากรณ์ อาจารย์ประจำภาคปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เคยเขียนบทเรื่อง “คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย” เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2550 โดยระบุในบทความว่า
“ผู้ที่กล่าวหาอดีตนายกฯ ทักษิณ ว่ากระทำความผิด มีความถูกต้องในการมองว่าทักษิณคอร์รัปชั่นทางนโยบายในการไม่จ่ายภาษีและการกระทำอื่นๆ ที่ให้ผลประโยชน์กับตนเอง ทั้งๆ ที่พฤติกรรมดังกล่าวไม่ถือว่าผิดกฏหมายสมัยนั้น แต่ตอนนี้เป็นที่น่าสลดใจ ที่ผมต้องรายงานให้ทราบว่า คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ คณะของผม กระทำการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายอันใหญ่หลวง เพราะมีการนำเงินภาษีประชาชนคนยากคนจนในจำนวน 42.6 ล้านบาท มาทำ ‘การวิจัย’ เรื่องประชาธิปไตย

พฤติกรรมนี้เป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย และเป็นการโกงประชาชน เพราะผู้บริหารคณะรัฐศาสตร์ และอาจารย์ในคณะเกือบทั้งหมดสนับสนุนการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ทำลายประชาธิปไตย ต่อจากนั้น กลุ่มอาจารย์เหล่านี้เข้าไปรับตำแหน่งและค่าตอบแทนจากการเป็นที่ปรึกษา คมช. ที่ปรึกษารัฐบาลเผด็จการ และเข้าไปดำรงตำแหน่งในสนช. สภาเถื่อนที่เผด็จการแต่งตั้ง และสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ของเผด็จการที่ลดทอนสิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตย

คณาจารย์เหล่านี้สนับสนุนคมช.มาตลอดและสนับสนุนรัฐธรรมนูญของเผด็จการ พร้อมกันนั้น มีการเห็นด้วยสมยอมเพิกเฉยกับทางมหาวิทยาลัยส่วนกลาง ในการสั่งไม่ขายหนังสือต่างๆ ที่คัดค้านการทำรัฐประหาร เช่นหนังสือ A Coup for the Rich เป็นต้น แถมยังมีการเดินหน้าในกระบวนการสอบสวนพฤติกรรมของอาจารย์ที่คัดค้านเผด็จการ ซึ่งถือว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ

“โครงการศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย” Thailand Democracy Watch ของคณะรัฐศาสตร์ ได้งบประมาณจากภาษีประชาชนถึง 42.6 ล้านบาท โดยหัวหน้าทีมวิจัยคือ จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ นักวิชาการคนนี้ได้นำทีมอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ไปแก้ตัวแทนคมช.และการทำรัฐประหารตามมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียและอังกฤษ โดยใช้เงินภาษีประชาชนในการเดินทาง

ผู้ที่มีหน้าที่สร้างโครงการวิจัยนี้ อ้างว่าสังคมไทยไม่มีการเรียนรู้จากอดีต ทำให้มี “วงจรอุบาทว์ทางการเมือง” มีการด่าพลเมืองไทยว่ามีนิสัยและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่ยอมเรียนรู้ เพิกเฉย ยอมรับคอร์รัปชั่น คำนึงถึงผลประโยชน์ใกล้ตัว ไม่ไตร่ตรอง ไม่แสวงหาข้อมูลและเหตุผล ซึ่งเป็นการด่าคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเป็นการด่าผู้จ่ายภาษีให้นักวิชาการมีอาชีพได้

โครงการนี้อ้างว่าคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ มีหน้าที่ในการชี้นำสังคมไทยด้านการเมืองประชาธิปไตย ให้ข้อมูลแก่ประชาชน สร้าง “ดัชนีประชาธิปไตย” เพื่อสามารถเป็นที่อ้างอิงของนักวิชาการต่างประเทศ

การที่คณาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ไม่มีความละอายใจ ไม่รู้จักความผิดของตนเองในการสนับสนุนและการร่วมมือกับเผด็จการ เป็นเรื่องน่าเศร้าและเป็นเรื่องที่ทำให้ชื่อเสียงของคณะเสียไป ขายหน้าประชาสังคมทั้งในไทยและภายนอกประเทศ แต่การรับเงินมาเป็นล้านๆ โดยการอ้างว่าคณะมีอะไรจะสั่งสอนพลเมืองไทยและนักวิชาการต่างประเทศเป็นเรื่องเหลวไหลน่ารังเกียจอย่างถึงที่สุด ผมไม่เคยคิดว่าคณะของผมจะคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายและขาดศีลธรรมในอุดมการณ์แบบนี้ วันนี้เป็นวันที่ชื่อเสียงของคณะกลายเป็นสิ่งสกปรก

ท้ายบทความ ได้ลงท้ายว่า “ด้วยความเศร้าใจ” รศ. ใจ อึ๊งภากรณ์ ภาคปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จึงเป็นข้อน่าสังเกตุ และ น่าห่วงใย กับบทบาทของนักวิชาการ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอย่างมากว่าเข้าร่วมการเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อจุดประสงค์อะไร เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการใช้งบประมาณ หรือการของบประมาณงานวิจัย หรือไม่อย่างไร

'สนธิ' คนที่คุณไม่รู้จัก ตอนที่ 3 'แค้นสั่งฟ้า'

มาอีกแล้วครับทั่น.... คราวนี้ คงไม่พูดพร่ำทำเพลงอะไรให้ยืดยาว กับภาคต่อของ "สนธิ ลิ้มทองกุล คนที่คุณไม่รู้จัก" ที่ผมคัดลอกมาจากหนังสือ "อีกด้านหนึ่งของสนธิ เล่มที่ 1" ที่ผู้เขียนได้เปลือยความเป็นตัวตนของชื่อสนธิ ลิ้มทองกุล

คนที่ไม่รู้จักพอ แต่กลับชอบ "อ้างฟ้า อิงแผ่นดิน" ไม่เคยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนต้องล้มลุกคลุกคลาน กับความอหังการ ในความพยายามกลับมายิ่งใหญ่ในแวดวงสื่อสารมวลชน

วันนี้ ผมจะนำเสนอในตอน "แค้นสั่งฟ้า" อันเป็นตอนที่นำไปสู่ความคับแค้นใจ รัฐบาลไทยรักไทย และนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่ร่วมด้วยช่วยเหลือ ปล่อยให้เขาต้องเผชิญกับความโหดร้ายของปัญหาหนี้สินจำนวนมหาศาล จนถึงกับจะทำให้ประชาชนและประเทศชาติ ต้องตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด

เอาหล่ะครับเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาเริ่มกันเลยดีกว่า เพราะตอนนี้ เนื้อหาสาระค่อนข้างจะยาว ผมกลัว มิตรรักแฟนนานุแฟน Hi-thaksin จะเบื่อซะก่อน

///////////////////////////////////

แค้นสั่งฟ้า

สิทธิเสรีภาพ เป็นประเด็นการเมืองที่มีการพูดจากกันมากทุกสมัยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใดมาทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองก็ตาม ประเด็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ ข่มขู่ คุกคามสื่อมวลชน มักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการรบพุ่งทางการเมือง ที่ได้ผลดี เนื่องจากสื่อมวลชนจะสนใจนำเสนอประเด็นนี้เป็นกรณีพิเศษ

ขณะนั่งจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ในสตูดิโอช่อง 9 อ.ส.ม.ท. สนธิ มีมุมมองในเรื่องอำนาจรัฐกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน แปลกแยกจากปัจจุบันชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้า ยังมิพักต้องพูดถึงว่ามุมมองของสนธิ ในวันนั้นแตกต่างจากเพื่อนพ้องน้องพี่ในแวดวงสื่อสารมวลชนเพียงใด

ในวันนั้น สนธิ ลิ้มทองกุล เชื่อมั่นอย่างบริสุทธิ์ใจ จึงกล่าวถึงปรัชญาการทำ "สื่อ" ในแบบของสนธิ ว่า สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ ยังคงต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล และหากผู้ดำเนินรายการคนใด ถูกถอดรายการ ก็อย่าโวยวาย เพราะไม่มีรัฐบาลใด ที่จะยินดีให้มีใครมาด่ารัฐบาล ในวิทยุ หรือโทรทัศน์ ที่รัฐบาลกำกับดูแลอยู่

มีประโยคหนึ่งที่สนธิ เคยกล่าวในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์เมื่อครั้งยังชื่นมื่นกับรัฐบาลว่า "...ในที่สุดแล้วคนไทยยังเข้าใจผิด สื่อมวลชนก็ยังเข้าใจผิด มันไม่มีสื่อเสรีในประเทศ มันไม่มีสื่อเสรีในโลกนี้ ไปหามาให้ผมดู สื่อที่ไหนมีเสรีบ้าง ไม่มี มันมีแต่สื่อของทุน แล้วสื่อนี้ก็คือต้องรับใช้ทุน..."

แต่วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ความเปลี่ยนแปลงของกรอบคิด หรือกระบวนทัศน์ของสนธิ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่อาจจะอธิบายเป็นอื่นได้ นอกจากว่าเป็นผลมาจากการถูกถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ออกจากช่อง 9 อ.ส.ม.ท. นั่นเอง และ สนธิ ไม่เพียงแค่โวยวายเหมือนผู้ดำเนินรายการคนอื่นๆ เท่านั้น แต่เขายังคิดสะสางความแค้นครั้งนี้ด้วยการล้มรัฐบาล ปลุกระดมมวลชนมาขับไล่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นการชดเชยให้กับตัวเองที่ถูกถอดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ออกจากช่อง 9

ด้วยปรัชญาการทำธุรกิจสื่อสารมวลชนของ สนธิ ลิ้มทองกุล ที่กำหนดบทบาทและหน้าที่อันชัดเจนของสื่อว่า "ต้องรับใช้ทุน" และสื่อต้องทำหน้าที่แสวงหารายได้มาให้คุ้มค่ากับการลงทุน สื่อจึงจะยืนอยู่ได้ สื่อในทัศนะของสนธิ จึงเสมอเพียงสินค้าทั่วๆ ไป เท่านั้น มิได้มีความหมายพิเศษดังเช่นสื่อในมุมมองของนักวิชาการ และนักวิชาชีพคนอื่นๆ

ด้วยวิธีคิดแบบนี้ จึงไม่แปลกอะไรกับการปรากฏอยู่บนเวบไซต์ manager.co.th ด้วยคอลัมน์ ซ้อเจ็ด อย่างยาวนาน เพราะเวบไซต์ manager.co.th ก็มีหน้าที่ต้องรับใช้ทุน และแสวงหาประโยชน์ หารายได้มาเลี้ยงดูตัวเอง และซ้อเจ็ด ก็ต้องทำหน้าที่รับใช้ทุน เช่นเดียวกัน ประจวบเหมาะกับ ซ้อเจ็ด นี่แหละที่เป็นนางกวักเรียกแฟนๆ เข้ามาเยี่ยมชมเวบไซต์ manager.co.th อย่างล้นหลาม จึงเป็นจุดขายที่สำคัญของเวบไซต์ นั่นหมายความว่าสปอนเซอร์ส่วนหนี่ง เข้ามาถึงสนธิ ก็เพราะซ้อเจ็ดนี่เอง

แน่นอนว่า ทุนที่กำลังอ้างถึงอยู่ในขณะนี้ ก็คือ "ผู้ลงทุน" นั่งเอง ซึ่งโดยนิตินัยแล้ว สื่อในเครือผู้จัดการ ก็ย่อมต้องรับใช้บริษัท ไทยเดย์ดอมคอม และ เดอะแมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป แต่ในทางพฤตินัยแล้ว พูดกันให้ชัดถ้อยชัดคำและชัดเจนในเจตนารมณ์ ก็ต้องบอกว่าสื่อในเครือผู้จัดการ ก็ต้องมีหน้าที่รับใช้ สนธิ ลิ้มทองกุล ในฐานะผู้ลงทุน ในฐานะผู้ที่ไปกู้เงินมาหลายร้อยหลายพันล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจชนิดนี้

ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรอีกเช่นกัน หากในช่วงที่ผ่านมา เราจะได้เห็นการนำเสนอข้อมูลด้านเดียวของข่าวสาร ที่ปรากฏอยู่บนสื่อในเครือผู้จัดการทุกเล่ม ทุกคลื่น และทุกรายการ ที่นำเสนอต่อสาธารณะ

อักทั้งไม่จำเป็นต้องคาดเดาให้ยุ่งยากว่า การนำเสนอข้อมูลด้านเดียวของสื่อเครือผู้จัดการ เป็นข้อมูลด้านใด และมีเจตนารมณ์ชนิดใด จึงต้องทำเช่นนี้

ก็แม้แต่คำเตือนที่ทรงคุณค่ายิ่งของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี(ในขณะนั้น) และสะท้อนให้เห็นถึงความห่วงใยขององคมนตรี ซึ่งก็คือผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปลุกปั่นกระแสของสนธิ ที่ใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเครื่องมือ ตามสำนวนของเปลว สีเงิน แห่งไทยโพสต์ ที่สะบัดปากกาใส่ว่า "กำลังโหนกำแพงสู่เป้าหวังของตัวเอง" ซึ่งได้รับการนำเสนอเผยแพร่ทางสื่อสารมวลชนทุกประเภท ทุกรายการ และทุกสังกัด กลับไม่ได้รับการนำเสนอให้ประชาชนได้รับทราบจากสนธิ และสื่อในเครือผู้จัดการ แม้แต่คำเดียว

"คงไม่ใช่กองทัพอย่างเดียว ในส่วนที่เป็นองคมนตรีเห็นว่า มีการอ้างอิงสถาบันจากหลายๆฝ่าย เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมไม่สมควร

เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันสูงสุด ที่ไม่ควรอ้างอิง และเกี่ยวข้องกับทางการเมือง เมื่อเป็นสถาบันที่เรายกย่อง ศรัทธา เป็นสถาบันที่เราเคารพนับถือ ก็ไม่วครนำมาเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง

การเมืองก็ควรจะแก้ด้วยการเมือง"

ข้อความที่เต็มไปด้วยความไม่สบายใจและความห่วงใยจากองคมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เช่นนี้ ไม่มีสาระที่สื่ออย่างสนธิ และสื่อเครือผู้จัดการจะนำเสนอหรืออย่างไร คงอาจจะเป็นเพราะ ขณะนี้ สื่อในเครือผู้จัดการ สื่อในสังกัดสนธิ ลิ้มทองกุล มิได้ทำหน้าที่ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงใดๆ หากแต่มีหน้าที่ต้องรับใช้ทุน รับใช้เงินที่สนธินำมาฟาดหัวและจ่ายแจก รับใช้สนธิ ที่กำลังมีความพยาบาท อาดมาดร้ายต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่ทำงานตามที่สนธิ ต้องการ

ถามว่าระหว่างพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี พูด กับสนธิ ลิ้มทองกุลพูด

ด้วยหัวใจของสื่อมืออาชีพ หรือสื่อวิชาชีพที่ไม่มีจิตเจตนาซ่อนเร้น ควรจะรายงานคำพูดของใครก่อน ด้วยเหตุใด และคำพูดของใครมีคุณค่าสำหรับประชาชนมากกว่ากัน

ถามว่าระหว่างคำพูดที่เต็มไปด้วยความห่วงใยต่อบ้านเมือง และสถาบันกษัตริย์ขององคมนตรี กับคำพูดที่เต็มไปด้วยอารมณ์ ความแค้น การปลุกระดม เพื่อประโยชน์แห่งธุรกิจของตนเอง โดยอ้างสถาบันกษัตริย์ และประเทศชาติบังหน้า ของนักธุรกิจคนหนึ่ง ที่มุ่งแสวงหากำไรจากการลงทุนเป็นลำดับแรกของความคิด

ด้วยหัวใจของสื่อมืออาชีพ หรือสื่อวิชาชีพที่ไม่มีจิตเจตนาซ่อนเร้น ควรจะนำเสนอคำพูดของใครให้ประชาชนได้รับทราบก่อน และคำพูดของใครมีน้ำหนัก มีสาระมากกว่ากัน และคำพูดของใครมีคุณค่าแก่ประเทศชาติ และภักดีต่อสถาบันกษัตริย์มากกว่ากัน

เหตุที่ต้องเป็นเช่นนี้ ก็เพียงเพราะว่า พล.อ.สุรยุทธ์ ไม่ใช่ทุน ที่สื่อเครือผู้จัดการต้องรับใช้ สนธิ ต่างหากเล่าคือทุน ที่สื่อเครือผู้จัดการต้องรับใช้

หรือสนธิ ลิ้มทองกุลจะถามพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อีกสักคนไหมว่า

"ใครจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ มากกว่ากัน"

เพราะสื่อในเครือผู้จัดการไม่ได้ทำหน้าที่ที่แท้จริงของสื่อมวลชนแล้ว หากแต่ทำหน้าที่สื่อที่ต้องรับใช้สนธิ เพียงผู้เดียว เพราะสนธิ คือ "ทุน" ของเครือผู้จัดการ

เมื่อสนธิ คือ "ทุน" ของเครือผู้จัดการแล้ว จึงไม่แปลกประหลาดใดเลยที่สื่อเครือผู้จัดการต้องขวนขวายทำหน้าที่รับใช้ และเสาะแสวงหากำไรให้กับสนธิไม่ว่าจะเป็นกำไรทางตรง กำไรทางอ้อม กำไรทางธุรกิจ กำไรทางสังคม และที่น่ากลัวยิ่งก็คือ เป็นการเสาะแสวงหากำไรมาตอบแทนการลงทุน โดยไม่เลือกวิธีการ

บิดเบือน ปกปิด ปลุกระดม ฉวยโอกาสขายเสื้อ "เราจะสู้เพื่อในหลวง" ทำได้ทั้งนั้น เพื่อตอบแทนและรับใช้ "ทุน"

แรงจูงใจที่ทำให้นักสื่อสารมวลชนมืออาชีพ ต้องฉีกทฤษฎี ฉีกตำราสื่อสารมวลชนขั้นพื้นฐาน ที่ว่าด้วยการนำเสนอข้อมูลสองด้าน การนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน การนำเสนอข้อมูลที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนรวม เป็นสิ่งที่พึงกระทำก่อนการนำเสนอข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน และไม่ควรนำเสนอข้อมูลด้านเดียว แน่นอนว่าต้องยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ หากไม่เป็นผลประโยชน์ก้อนใหญ่ ก็คงเป็นเพราะผิดหวังอย่างยิ่งใหญ่

ก่อนหน้าที่จะเกิดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร การทำหน้าที่ของสนธิ ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ หลายครั้งหลายตอน ซึ่งในห้วงเวลานั้น สื่อแบบสนธิ ก็เคยรับใช้พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลมาก่อน เพราะเห็นว่ารัฐบาลเป็นแหล่งทุนที่จะเสาะแสวงหาเงินไปใส่ให้กับเครือผู้จัดการ เป็นทั้งทุนที่ให้ทั้งโอกาสในการทำมาหากิน เป็นทั้งทุนที่ทำให้สื่อแบบสนธิมีเครดิตขึ้นมาอีกครั้งในการชุบชีวิตเครือผู้จัดการ

จวบจนกระทั่งรัฐบาล หยุดการสนับสนุนสื่อเครือผู้จัดการนั่นเอง สื่อแบบสนธิจึงเห็นว่าหมดหน้าที่ต้องรับใช้ และทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามคือ โจมตี แว้งกัดอย่างรุนแรงและหนักหน่วง อันเนื่องเพราะผิดหวังอย่างรุนแรงกับรัฐบาล นั่นเอง

และความผิดหวังที่เกิดขึ้นนี้เอง ที่ทำให้สนธิ ต้องเปิดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร เพื่อชำระ "แค้นสั่งฟ้า" ที่อยู่ในใจของตัวเอง เป็นครั้งที่สอง หลังจากที่การชำระแค้นครั้งแรก มีนายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ เป็นคู่แค้นที่ถูกชำระไปเรียบร้อยแล้ว

ย้อนรอยเส้นทางการเดินกลับคืนสู่ประเทศไทยของสนธิ รอบนี้ พบว่าการรับใช้ทุนของสื่อเครือผู้จัดการยุคใหม่ หลังสงครามเศรษฐกิจปี 2540 สงบลงนั้น ปรากฏชัดเจนอย่างยิ่งว่ามีการเลือกข้างมาแต่ต้น ในการรับใช้ทุนการเมืองกลุ่มหนึ่งโจมตีใส่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้นจนเสียศูนย์ และเป็นกำลังสนับสนุนที่สำคัญของกลุ่มทุนการเมืองพรรคไทยรักไทย ซึ่งฉายภาพชัดแจ้งเป็นอย่างยิ่งภายหลังการเลือกตั้งปี 2544 สิ้นสุดลง ด้วยชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคไทยรักไทย ที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ และทุกพรรคการเมือง

หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ หลุดจากวงโคจรของอำนาจ และพรรคไทยรักไทยได้เข้ามาสวมต่อการใช้อำนาจรัฐแทน สถานการณ์ในขณะนั้น พรรคไทยรักไทยยิ่งใหญ่เกรียงไกรอย่างมาก ในแวดวงการเมือง ในขณะที่ สนธิ ลิ้มทองกุล ก็เตรียมตัวที่จะกลับสู่ยุคความยิ่งใหญ่ในแวดวงธุรกิจสื่อสารมวลชนอีกครั้ง ด้วยเหตุผลที่ผู้บริหารคนสำคัญของรัฐบาล ล้วนแต่ผูกพันกับสนธิ มาช้านาน ทั้งแบบเพื่อนฝูง พรรคพวก และลูกจ้าง

"น้ำขึ้นให้รีบตัก" เป็นภาษิตที่นำมาใช้ได้ดีกับสนธิ ในห้วงเวลาที่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยครองอำนาจรัฐใน 4 ปีแรก สื่อในเครือผู้จัดการ และไทยเดย์ดอทคอม เร่งทยอยเปิดตัวเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน นิตยสาร สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และ สถานีข่าวโทรทัศน์ 11 News 1 ซึ่งสื่อในเครือผู้จัดการทุกเล่ม ทุกรายการ ได้รับการตอบรับอย่างอบอุ่นจากหน่วยงานรัฐ ทั้งรัฐวิสาหกิจ และราชการ ชนิดที่สื่อสำนักอื่นๆ ได้แต่มองตาปริบๆ พร้อมกับทำปากขมุบขมิบด้วยความอิจฉา

การอุดหนุนสื่อในเครือผู้จัดการของหน่วยงานรัฐ จนแทบจะไม่มีพื้นที่ และเวลาให้ออกโฆษณา ส่งผลให้สนธิ ตกเป็นเป้าของสมาชิกวุฒิสภา เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ ที่เห็นว่าการสนับสนุนอย่างมากมายและคับคั่ง เช่นนี้ ไม่ใช่ภาวะปกติ หากแต่ต้องมี "คำสั่ง" ให้หน่วยงานต่างๆ สนับสนุนและอุดหนุนเป็นพิเศษแก่สื่อเครือผู้จัดการ ที่อยู่ภายใต้การบัญชาการของสนธิ ลิ้มทองกุล

แน่นอนว่า หลักฐาน "คำสั่ง" ย่อมหาไม่ได้ และจะมี "คำสั่ง" จริงหรือไม่ก็ไม่มีใครทราบได้ หากแต่สิ่งที่มีแน่นอน และปรากฏขึ้นในภายหลังก็คือ คำบอกเล่าของผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ที่ตกเป็นจำเลยของ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ก็คือ "คำแอบอ้าง" ที่มีไปถึงรัฐวิสาหกิจเกือบทุกแห่ง

รัฐวิสาหกิจเกือบทั้งหมดในกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม อาทิ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โรงงานยาสูบ การบินไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทย ฯลฯ ต่างทยอยเข้าคิวทำสัญญาซื้อพื้นที่ และเวลาโฆษณากับเครือผู้จัดการ เป็นเงินรวมกันแล้วหลายร้อยล้านบาท และแน่นอนว่าความพร้อมใจกับซื้อสื่อโฆษณาแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้

จากการตรวจสอบห้วงเวลา "น้ำขึ้น" นั้น สนธิ ได้ตักเข้าไปใส่ในเครือผู้จัดการแบบไม่หยุดหย่อน และไม่แบ่งให้ใครได้ตักบ้างเลย พบว่ามีรายงานการซื้อขายโฆษณาที่น่าสนใจอยู่ 2 รายการ(เท่าที่ตรวจสอบพบ) คือ

1. บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ซื้อโฆษณาสื่อเครือผู้จัดการ ตั้งแต่ปี 2545-2548 รวมทั้งสิ้น 54,637,987 ล้านบาท

นอกจากนี้ ปตท.ยังได้ทำสัญญาซื้อขายโฆษณากับ 11 News 1 อีก 60 ล้านบาท แต่เนื่องจาก 11 News 1 ต้องมีอันเป็นไป ถูกสั่งระงับการออกอากาศเสียก่อน ส่งผลให้สัญญาการซื้อขายเวลาระหว่างปตท. กับ 11 News 1 ต้องสิ้นสุดลงไปด้วย ในขณะที่เพ่งจ่ายเงินไปเพียง 10 ล้านบาท

การซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ในเครือผู้จัดการ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องสงสัย เพราะเป็นสื่อที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายกันมานานแล้ว และปตท.ก็เคยซื้ออยู่เป็นประจำ แต่กับการทำสัญญาซื้อสื่อโฆษณาใน 11 News 1 ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ และสนธิ ก็เป็นเพียงผู้รับจ้างทำข่าวให้กับบริษัท RNT เจ้าของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 11/1 ตัวจริง นั้นเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ และต้องสงสัย

การทำสัญญาซื้อสื่อโฆษณาจำนวน 60 ล้านบาท ไม่ใช่เงินจำนวนน้อยนิด สำหรับบริษัทที่กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ เหตุใดจึงมีการใช้วิจารณญาณ หรือใช้การพิจารณาบนพื้นฐานข้อมูลใด ว่าสมควรจะจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการเกิดขึ้นของสถานีโทรทัศน์ระบบดาวเทียม 11/1 มากถึงเพียงนี้ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่า 11/1 ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และ 11 News 1 ของสนธิ จะได้ออกอากาศนานเพียงใด เพราะสนธิ เป็นเพียงผู้รับจ้างทำข่าวเท่านั้น และเมื่อสนธิ ไม่ใช่เจ้าของสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ ทำไป ปตท.จึงต้องไปทำสัญญาซื้อสื่อโฆษณาหรือในนามไทยเดย์ดอทคอม

คำถามเหล่านี้ มีการซักไซ้ไล่เลียงกันในปตท. ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถตอบได้ชัดเจน ทุกคนทราบแต่ว่าการจ่ายเงินจำนวนมากขนาดนี้ ต้องมี "ผู้ใหญ่" สั่งมา แต่เป็น "ผู้ใหญ่" คนใด ไม่มีใครทราบ และจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ทราบว่า "ผู้ใหญ่" คนนั้นคือใคร หน้าตาเป็นอย่างไร เพราะ "ผู้ใหญ่" นั้นมาสั่งในรูปของคำบอกเล่า คำอ้าง ไม่ได้มาด้วยตัวเอง ไม่มีแม้กระทั่ง "เสียง" แต่ความน่าเชื่อถือของผู้อ้างมีสูงมาก จนทำให้มีการทำสัญญาซื้อสื่อโฆษณา 60 ล้านบาทเกิดขึ้น

การทำสัญญาครั้งนั้น มีมูลค่า 60 ล้านบาท แต่สนธิ ในนามของไทยเดย์ดอทคอม หรือ 11 News 1 ได้รับเงินไปเพียง 10 ล้านบาทเท่านั้น เนื่องจาก 11 News 1 ประสบปัญหาสะดุดขาตัวเอง จนต้องปิดตัวลง

แม้จะเคยให้การสนับสนุนมากมายขนาดนี้ แต่ปตท. ก็ไม่เคยได้รับสิทธิเศษใดๆ จากสนธิ และเครือผู้จัดการสักครั้งเดียว หากจะมีก็แต่ได้รับเชิญขึ้นเวทีเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ค่อนข้างบ่อยครั้งในฐานะจำเลยของสังคม ในฐานะบริษัทมหาชนที่หลอกต้มคนไทย ให้ซื้อน้ำมันแพง หลอกต้มคนไทยผู้ถือหุ้นรายย่อย ให้เสียประโยชน์ หลอกต้มคนไทยให้เชื่อมั่นการบริหารงานเป็นธรรมาภิบาล และสำคัญที่สุดก็คือ การกล่าวประณามปตท. ว่าเป็นบริษัทที่เห็นแก่กำไร ไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชน และเห็นว่ากำไรที่เกิดจากการบริหารของปตท. เป็นสิ่งที่ผิดพลาด และเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ปตท. เอาเปรียบประชาชน รัฐบาลในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่จริงใจต่อประชาชน

กล่าวโดยสรุป ก็คือ การมกำไรจากการบริหารงานของปตท. คือ ความผิดพลาดของปตท. ในทัศนะของนักธุรกิจแบบสนธิ

ความผิดพลาดของปตท. ในสายตาของสนธิ และสื่อเครือผู้จัดการ เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ ปตท. ซื้อสื่อโฆษณาในเครือผู้จัดการน้อยลงกว่าเดิมนั่นเอง

เหตุที่ปตท. ลดพื้นที่โฆษณาในเครือผู้จัดการลง ก็เพราะรับไม่ได้จากการที่ถูกนั่งด่าอยู่ทุกวัน ยิ่งซื้อโฆษณาน้อย ก็ยิ่งถูกด่ามาก เพราะไปทำให้เขาผิดหวังมากขึ้นๆ

เหตุที่ปตท.ถูกด่า ถูกประณามบนประเวทีเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ก็มีเหตุมาจาก เรื่องการตัดงบซื้อสื่อโฆษณาเครือผู้จัดการเท่านั้นเอง

เป็นเหตุเดียวกับที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นนายกฯที่ดีที่สุด เท่าที่ประเทศไทยเคยมีมาของสนธิ ถูกชี้หน้ากล่าวประณามว่าเป็นนายกฯที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีมา เพียงเพราะไม่ช่วยเหลือ ไม่ใช้อำนาจ "สั่งการ" ให้ 11 News 1 กลับคืนขึ้นไปอยู่บน UBC 9 อีกครั้งหนึ่ง

ตัวอย่างรายที่ 2 ของการสนับสนุนสนธิ และเครือผู้จัดการ ก็คือ...

ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ซื้อโฆษณาสื่อเครือผู้จัดการ เฉพาะรายการโทรทัศน์ 2 รายการ คือ เมืองไทยรายสัปดาห์ กับรายการ พบคนพบธรรม ซึ่งออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ทั้ง 2 รายการ ตั้งแต่ปี 2544-2548 ธนาคารกรุงไทย ใช้เงินซื้อสื่อในเครือผู้จัดการ มากถึง 276 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 77.04 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 6.42 ล้านบาท

ยังไม่นับถึงพื้นที่โฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน รวมไปถึงเวบไซต์ manager.co.th ที่ลงกันอย่างถี่ยิบ ตามเงื่อนไขการปรับโครงสร้างหนี้ที่กำหนดให้ เดอะแมเนเจอร์มีเดียกรุ๊ป จำกัด ชำระหนี้ด้วยการใช้หน้าหนังสือพิมพ์แทนเงินสด ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิพิเศษของลูกหนี้ที่ไม่ธรรมดาอย่างสนธิ และเดอะแมเนเจอร์มีเดียปรุ๊ป ที่วิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีความสนิทสนมแนบแน่น และช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาตลอดกับสนธิ เอื้อเฟื้อจัดให้ชนิดที่ลูกหนี้รายอื่น ได้แต่มอง แต่ไม่มีความสามารถที่จะทำตาม

ความเป็น "ลูกหนี้รายพิเศษ" ที่ได้รับเงื่อนไขการชำระหนี้ "พิเศษ" แบบนี้เป็นเหตุที่ทำให้ สนธิ กับวิโรจน์ มีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งนัก จนถึงขนาดที่ว่า เมื่อวันที่วิโรจน์ ไม่ได้รับการต่ออายุให้นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด วาระที่ 2 คนที่เจ็บแค้นยิ่งกว่าวิโรจน์เสียอีก ก็คือ สนธิ ลิ้มทองกุล

นับแต่นั้นมา ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ถูกขึ้นบัญชีแค้นรอชำระของสนธิ เพิ่มขึ้นอีก 1 ชื่อ ด้วยเหตุที่สนธิ แน่ใจว่า ม.ร.ว.ปรีดียาธร คือคีย์แมนคนสำคัญในการขวางทางการนั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย วาระที่ 2 ของวิโรจน์ ซึ่งนั่นหมายความว่า ความพิเศษที่สนธิ เคยได้รับ ย่อมไม่มีความแน่นอนอีกต่อไป ทั้งในฐานะลูกหนี้ และในฐานะคู่ค้า

ในฐานะลูกหนี้ ที่ไม่ต้องชดใช้หนี้ด้วยเงินสด แต่สามารถชดใช้ด้วยกระดาษหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งตีราคากันไว้ที่หน้าละ 286,600 บาท เดือนละ 12 หน้า สำหรับผู้จัดการรายวัน ก็คิดเป็นเงิน 3.432 ล้านบาท หากคิดเป็นปี ก็เท่ากับ 41.184 ล้านบาท 10 ปี ผ่านไป ก็เท่ากับ 410.184 ล้านบาท

หากใช้วิธีการกันแบบนี้ ไม่นานนัก หนี้จำนวนมหาศาลของผู้จัดการ ก็จะหมดลงได้ ยังพอเห็นแสงเทียนที่ปลายอุโมงค์

นี่ยังไม่นับสื่ออื่นๆ อีก เช่นผู้จัดการรายสัปดาห์ ผู้จัดการรายเดือน และเวบไซต์ ที่ก็มีเงื่อนไขการชดใช้หนี้ด้วยกระดาษ เช่นเดียวกัน

ดังนั้นหากจะมีใครสักคนที่เสกกระดาษเป็นเงิน ได้จริงๆ คนคนนั้นย่อมชื่อ สนธิ ลิ้มทองกุล

ด้วยเงื่อนไขพิเศษนี้เอง ที่ทำให้สนธิ เป็นเดือดเป็นร้อนแทนวิโรจน์ นวลแข และโกรธแค้นผู้ว่าแบงก์ชาติ โกรธแค้นนายกรัฐมนตรี ที่ไม่สนับสนุนคนที่สนธิสนับสนุน

การหวนคืนสู่วงการธุรกิจสื่อในประเทศของสนธิ ในรอบนี้ สนธิ ในฐานะผู้ประกอบการที่มี "หนี้เน่า" จำนวนมากที่สุดในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าผู้ประกอบการายอื่นๆ และลูกหนี้รายอื่นๆ ด้วยแต้มต่อ ที่เรียกว่าการแฮร์คัทหนี้หรือการลดหนี้ที่ตัวเองก่อไว้มากกว่า 6,000 ล้านบาท

จำนวนหนี้ 6,000 ล้านบาท ที่สนธิได้รับประโยชน์ไปนี้ เป็นเงินที่รัฐบาลต้องใช้เงินภาษีของประชาชน มาชดใช้แทน ทั้งๆ ที่ไม่ได้ร่วมก่อหนี้ และไม่ได้รับประโยชน์จากเงิน 6,000 ล้านบาททั้งขาที่ก่อหนี้ และขาชดใช้หนี้ แม้แต่สลึงเดียว การแฮร์คัทหนี้ หรือลดหนี้ครั้งนั้น เป็นที่มาของข้อกล่าวหาว่า สนธิ ได้รับการปฏิบัติจากธนาคารเจ้าหนี้ซึ่งเป็นธนาคารรัฐบาล ในมาตรฐานที่พิเศษกว่าลูกหนี้ทุกราย

และ...ธนาคารรัฐบาลที่เป็นผู้นำในการแฮคัทหนี้ จำนวนนี้ให้แก่สนธิ ก็ไม่ใช่ธนาคารใดไหนเลย ก็คือ ธนาคารกรุงไทย ที่อยู่ภายใต้การกำกับของวิโรจน์ นวลแข นั่นเอง

การได้รับแต้มต่อจำนวนนี้ ทำให้สนธิ มีพลังอย่างยิ่งที่ทำให้เขากลับคืนสู่ธุรกิจสื่อสารมวลชนอีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นการยืนยันถึงความเป็นคนพิเศษของเขาที่ยังหาประโยชน์ได้ในประเทศไทย ซึ่งไม่สามารถหาได้จากสนามธุรกิจใดๆ ในโลกนี้

นอกจากนี้ ผู้คนบริวารแวดล้อมของเขาในอดีต ยังได้ดิบได้ดี ไปกุมอำนาจสำคัญด้วยเศรษฐกิจในรัฐบาลไว้เกือบหมด จึงเป็นแต้มต่ออีกชั้นหนึ่งที่ได้เปรียบทุกๆ คนบนเวทีการแข่งขันรอบใหม่นี้

การกลับมารอบใหม่ครั้งนี้ สนธิพุ่งเป้าไปที่ธุรกิจโทรทัศน์ เป็นสำคัญ เขาวางยุทธศาสตร์ให้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อเพื่อการชดใช้หนี้และสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อการหารายได้ เนื่องจากเวลาโฆษณาบนสถานีโทรทัศน์ มีราคาสูงกว่าราคากระดาษมาก

เห็นได้จากการที่ธนาคารกรุงไทย ซื้อเวลาโฆษณารายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ด้วยงบประมาณ ปีละ 38.52 ล้านบาท หากทอนออกเป็น 52 สัปดาห์ ก็เท่ากับว่ารายการเมืองไทยรายสัปดาห์ มีรายได้จากธนาคารกรุงไทย เพียงรายเดียวมากถึง 740,769 บาท ต่อการจัดรายการ 1 ครั้ง ทั้งๆ ที่เวลาจัดรายการเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น

นี่ยังไม่นับรวมถึงรายได้จากผู้สนับสนุนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ รายอื่นๆ อีก

ไม่แปลกเลย หากสนธิ จะคิดต่อยอดในฐานะนักธุรกิจผู้มากวิสัยทัศน์ว่า การมีเวลาเพียง 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เขายังทำรายได้มากมายขนาดนี้ หากแป็นเข้จองสถานีโทรทัศน์เสียเอง จะมีรายได้มากมายขนาดไหน แต่เมื่อยังไม่ได้เป็นเจ้าของสถานี ก็ขอให้ตัวเองได้มีโอกาสออก "จอ" ไว้ก่อน เพื่อรักษาเรตติ้งของตัวเอง จนถึงวันที่พร้อมตั้งสถานีโทรทัศน์ของตัวเอง ก็น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับสนธิ ในสถานการณ์ยามนี้

หากมองย้อนกลับไปในวันที่ยังมีรายการเมืองไทยรายวัน ซึ่งจัดกันสัปดาห์ละ 5 วัน แล้วก็จะยิ่งเห็นถึงเม็ดเนจำนวนมหาศาล ที่ออกจากกระเป๋ารัฐวิสาหกิจอย่างธนาคารกรุงไทย และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่มีน้ำใจให้สนธิ ในยามนั้นหลั่งไหลเข้าไปในกระเป๋าสนธิ ว่ามากน้อยเพียงใด คิดกันง่ายๆ ก็ต้องคูณ 5 เข้าไปของรายได้ที่ได้จากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์

การปรับผังรายการของช่อง 9 และเปลี่ยนจากเมืองไทยรายวัน เป็นเมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นการหย่อนเมล็ดพันธุ์ความแค้นไว้ในใจของสนธิ โดยที่คนใน อ.ส.ม.ท.ไม่รู้ตัวแม้แต่น้อย เพราะเป็นการทำงานตามหน้าที่ และเพื่อทำเรตติง เพื่อที่จะปรับแต่งตัวเองสำหรับการเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่สำหรับสนธิ เขาเก็บคิดเรื่อยมาว่าเป็นการกลั่นแกล้ง และตัดรายได้ แต่ไม่ได้แสดงออกมาให้ใครเห็น จนถึงวันที่เมืองไทยรายสัปดาห์ถูกถอดออกจากผังรายการของช่อง 9 เพราะความไม่เหมาะสมของเนื้อหาที่สนธิ นำเสนอนั่นเอง จึงทำให้ทุกคนได้เห็นอาการโกรธแค้นของสนธิ ที่ต้องสิ้นสุดหมดหนทางทำมาหารายได้ในช่อง 9 อีกต่อไป

11 News 1 ก็เดินหน้าต่อไม่ได้ เมืองไทยรายสัปดาห์ ก็ถูกถอดออกจากช่อง 9 ธุรกิจโทรทัศน์ที่ตั้งใจหวังไว้ ต้องล่มสลายลงทันที เส้นทางการหารายได้เพื่อความมั่งคั่งให้กับตนเอง ที่เคยเปิดโล่งกลายเป็นตีบตันจงถึงอุดตันในที่สุด ทำให้สนธิ เก็บอาการไว้ไม่อยู่

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมสนธิ จึงต้องเดือดร้อน ต้องดิ้นรน ต้องโกรธแค้น เมื่อถูกตัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ เพราะรายได้สัปดาห์ละมากกว่า 1 ล้านบาท(ประมาณจากการขายโฆษณาได้ 10 นาที ต่อการจัดรายการ 1 ชั่วโมง) ต้องมลายหายไปในพริบตา และตัดสินใจเปิดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรขึ้น โดยอาศัยเสื้อ "เราจะสู้เพื่อในหลวง" มาเป็นเครื่องหมายการค้า ของตนเอง และหารายได้จากการขายเสื้อ ขาย CD ขายหนังสือเมืองไทยรายสัปดาห์ แทน

2 ตัวอย่างที่นำเนอมานี้ คงพอจะทำให้เห็นภาพแล้วว่า สนธิ ได้รับสิทธิพิเศษเพียงใดจากการทำธุรกิจโทรทัศน์ และในวันที่เขาได้รับสิทธิพิเศษ เขาปกป้องรัฐบาลอย่างไร แต่ในวันที่สิทธิพิเศษที่เคยได้ถูกตัด เขามีอาการเช่นไร และแสดงอาการอย่างไรต่อ "ทุน" ที่เขาเคยรับใช้ แ ละแสวงหาประโยชน์จากการเป็น "ผู้รับใช้" ในอดีต เมื่อ "ทุน" เหล่านั้นไม่เห็นเขาอยู่ในสายตา

วิเคราะห์กันว่า หากสนธิ ไม่สะดุดขาตัวเองหกล้มเสียก่อน หาก 11 News 1 สามารถเดิหน้าไปได้ตามที่สนธิวางแผนไว้ โอกาสที่เขาจะกลับมาเป็นโมกุลแห่งวงการสื่ออีกครั้งก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เมื่อสถานการณ์ไม่เป็นเช่นที่คาดคิดไว้ สถานการณ์ของสนธิในวันนี้จึงยากลำบากมาก เพราะโอกาสที่จะล้างหนี้เก่า ก็ทำไม่ได้ โอกาสที่จะหารายได้ใหม่ ก็หดหายไป

หากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ผู้ได้รับผลกระทบเป็นสนธิ ลิ้มทองกุล เหมือนเช่นในปี 2540 ก็คงไม่ก่อให้เกิดปัญหามากนัก แต่เนื่องจากสนธิ ได้ส่งมอบภารกิจในการสร้างผู้จัดการยุคใหม่ขึ้นมา แก่จิตตนารถ ลิ้มทองกุล ลูกชายคนเดียวของเขาแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น ย่อมเป็นธรรมดาสำหรับผู้เป็นพ่อ ที่จะต้องปัดเป่าทุกข์ร้อนให้แก่ลูก และช่วยแก้ปัญหาให้กับลูก เนื่องเพราะไม่มีพ่อคนไหนอยากเห็นลูกลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำบากกับมรดกที่พ่อยกให้

สนธิเชื่อว่า สถานการณ์ที่บีบรัดตัวเขา เกิดขึ้นจากการกระทำของคนในรัฐบาล เริ่มจากปรับรายการเมืองไทยรายวัน เป็นเมืองไทยรายสัปดาห์ การถอดสัญญาณภาพ 11 News 1 ออกจาก UBC9 การถอดเมืองไทยรายสัปดาห์

การถูกปรับออกจากรายการโทรทัศน์ช่อง 9 ในขณะที่ 11 News1 ก็ไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ ส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อสนธิ ลิ้มทองกุล เพราะเป็นการปิดช่องทางรายได้หลักของเขา อันนำมาสู่ความโกรธเคือง และพัฒนาเป็นความแค้นในที่สุด

เป็นความแค้นที่เรียกกันในสำนวนของสนธิว่า "แค้นสั่งฟ้า" เช่นเดียวกับที่เคยแค้นธารินทร์ และนำไปสู่การเปลือยธารินทร์ ในที่สุด

เป็นความแค้นที่เกิดขึ้นในขณะที่รู้สึกว่าตัวเองถูกโดดเดี่ยว มิตรสหายผู้มากมีอำนาจไม่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ

เป็นความแค้นที่พร้อมจะพัฒนาเป็นการมุ่งทำลายล้าง เพื่อให้พ้นไปจากเส้นทางเดินของตน

เป็นความแค้นที่เกิดจากความขัดแย้งทางธุรกิจ

การถูกตัดแหล่งรายได้เหล่านี้นี่เอง ทำให้สนธิ ถึงกับฟิวส์ขาด เพราะสื่อแบบเขา สื่อของเขา เป็นสื่อที่มักจะมีคนจัดงบประมาณมาให้ ด้วยความเกรงอกเกรงใจ แต่เอเปลี่ยนจาก "จัด" เป็น "ตัด" ทำให้สนธิ ที่มีความหวังอย่างมากกับการหวนคืนสู่ความยิ่งใหญ่อีกครั้งของเขา ต้องฝันสลายไปในที่สุด เพราะการดำเนินรายการโทรทัศน์ หรือสถานีข่าวโทรทัศน์ จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หากไม่มีแหล่งรายได้เข้ามาสนับสนุน ก็ไม่สามารถที่จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างสมบูรณ์

สนธิ จึงบังเกิดอาการคับแค้นเป็นยิ่งนัก กับรัฐบาลไทยรักไทย และนายกฯทักษิณ ด้วยความที่ไม่เข้าด้วยช่วยเหลือ ปล่อยให้เขาต้องเผชิญกับความโหดร้ายของปัญหาหนี้สินจำนวนมหาศาล ทั้งของเก่าที่ยังไม่ลด และของใหม่ที่เพิ่นพูนขึ้น อันนำมาสู่การเกิด "แค้นสั่งฟ้า" ที่เคยเกิดขึ้นกับธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

สำหรับ "แค้นสั่งฟ้า" ที่เกิดขึ้นรอบนี้ มีเป้าหมายพุ่งไปที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว

มีแต่สนธิเท่านั้น ที่จะตอบได้ว่าเขามีแผนการที่จะชำระความแค้นที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามแผน ด้วยการปลุกระดมประชาชน ที่อยู่ในกรอบแห่งกฎหมายให้มาร่วมกันใช้วิธีนอกกฎหมาย เพื่อโค่นล้มรัฐบาล ที่ไม่ช่วยเหลือการทำธุรกิจ ของเขาจริงๆ หรือ...?

มีแต่สนธิ เท่านั้นที่ตอบได้ว่า เพียงเพื่อชำระแค้นกันเป็นการส่วนตัวกับนายกฯทักษิณ และบริวารรอบตัวนายกฯทักษิณ เขาถึงกับจะทำให้ประชาชนและประเทศชาติ ต้องตกอยู่ในสภาวะตึงเครียดไปอีกนานเท่าไหร่......

///////////////////////////////////

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับสิ่งที่สนธิ ลิ้มทองกุล ได้กระทำลงไป ก่อให้เกิดผลอย่างไรต่อประเทศชาติ และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อตัวท่าน

อย่าลืม....ร่วมแสดงความคิดเห็น ถึงผลกระทบที่ท่านได้รับจากการกระทำของสนธิ ลิ้มทองกุล ให้ทุกๆ คนได้รับทราบด้วยนะครับ จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

-อ่าน'สนธิ ลิ้มทองกุล' คนที่คุณไม่รู้จัก ตอนที่ 2 คลิ๊กที่นี่

-อ่าน'สนธิ ลิ้มทองกุล' คนที่คุณไม่รู้จัก ตอนที่ 1 คลิ๊กที่นี่

บรรทัดทอง

จาก hi-thaksin