WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 22, 2009

จากพฤษภาทมิฬถึงสงกรานต์เลือด:สื่อเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังตีน

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา Media Monitor
22 พฤษภาคม 2552

สื่อลืมเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ตัวเองยืนอยู่ข้างประชาชนแล้วรายงานสิ่งที่รัฐ หรือทหารทำกับประชาชน แต่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคราวสงกรานต์ปีนี้ สื่อเลือกที่จะไปยืนอยู่ฝ่ายทหารแล้วหันมุมกล้อง ไปในทิศทางเดียวกันกับกระบอกปืน


นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor)นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง “ฟรีทีวีกับการรายงานข่าว การชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2552” ในการประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อสารมวลชนระดับชาติ เมื่อวันที่ 16 - 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยา

โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจว่า ฟรีทีวีทุกช่องให้พื้นที่เสียงแก่ฝ่ายรัฐบาลมากกว่าฝ่ายนปช. ผลการศึกษาครั้งนี้จึงเสนอแนะให้ สื่อฟรีทีวีทั้งหมด ควรวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ไม่มีความลำเอียง ไม่ฝักใฝฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงของข่าวอย่างรอบด้าน หลากหลาย และเป็นธรรม ไม่ควรชี้นำความคิดของผู้ชมให้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะ ( อ่านรายละเอียดที่ข่าว ผลวิจัยตอกย้ำทีวีทุกช่องเสนอข่าวสงกรานต์เลือดอคติเอียงข้างรัฐบาล )

นายธีระพล อันมัย สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าววิจารณ์ผลงานศึกษาวิจัยข้างต้น ว่า สื่อทำหน้าที่เพียงแค่รายงานข่าวไม่ต่างจากอาชญากรรม สื่อสนใจเพียงแค่เหตุการณ์ความรุนแรง แต่ไม่ได้บอกสังคมว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมคนเสื้อแดงจึงมาชุมนุม ในขณะที่ผู้ชุมนุมจำนวนมากอยู่ในความสงบ แต่มีกลุ่มหนึ่งออกมาสร้างความวุ่นวาย สื่อเลือกที่จะโฟกัสเฉพาะภาพความรุนแรงเท่านั้น เสียงที่หายไปคืออะไร ภาพที่หายไปคืออะไร เป็นคำถามที่ต้องตอบให้ได้ คนอีสานดูข่าวแล้วรู้สึกแย่เพราะเขาถูกนำเสนอด้วยตัวแทนของภาพความรุนแรง ทั้งที่คนจำนวนมากมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็นทางการเมือง

“สื่อลืมเหตุการณ์พฤษภาฯ ทมิฬที่ตัวเองยืนอยู่ข้างประชาชนแล้วรายงานสิ่งที่รัฐ หรือทหารทำกับประชาชน แต่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสื่อเลือกที่จะไปยืนอยู่ฝ่ายทหารแล้วหันมุมกล้อง ไปในทิศทางเดียวกันกับกระบอกปืน"

กรณีที่สื่อบอกว่า กลุ่มเสื้อแดงไม่รับรองความปลอดภัยจึงออกจากที่ชุมนุมแล้วรายงานเรื่องราว ของเสื้อแดงน้อยลงนั้น ต้องถามกลับไปว่า ในเมื่อสื่อทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาแล้วยังต้องกลัวอะไร คุณกลัวชาวบ้านที่ไม่มีอาวุธ แล้วเลือกไปยืนอยู่ข้างหลังทหารเพราะเชื่อว่าปลอดภัยหรือ นั่นแสดงว่าคุณเชื่อว่าอยู่กับชาวบ้านไม่ปลอดภัยตั้งแต่แรก สื่อเลือกโฟกัสไปที่ความรุนแรง แต่ไม่ได้โฟกัสไปที่หัวใจของคนอีกจำนวนมากที่มาด้วยเจตนาบริสุทธิ์” นายธีระพล กล่าว

รศ.ดร.พีระ จิรโสภณ นักวิชาการอิสระ อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ว่า วิธีการทำข่าวแบบจับคู่ความขัดแย้งนั้นต้องพิจารณาให้ดี เพราะปัญหาความขัดแย้งของสังคมไม่เหมือนเรื่องบนเวทีมวยที่มีเพียงฝ่ายแดง และน้ำเงินเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ขณะเดียวกันก็ตั้งข้อสังเกตว่า จากเหตุการณ์ที่ผ่านมานอกจากเสียงของฝ่ายที่สามมีน้อยแล้ว ในจำนวนที่มีอยู่ยังเป็นนักวิชาการจากส่วนกลางเท่านั้น

“เหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า เสียงของนักวิชาการในส่วนภูมิภาคหายไป รายงานข่าวกลายเป็นเรื่องรัฐใช้ความรุนแรงหรือไม่ ทหารใช้กระสุนจริงหรือปลอม ซึ่งไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สื่อต้องเข้าใจปรากฏการณ์ดังกล่าว และต้องรายงานข่าวไปตามข้อเท็จจริง รอบด้าน ไม่ปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด” รศ.ดร.พีระ กล่าว

นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับพื้นที่ข่าวของ นปช. และรัฐบาลว่า ช่วงก่อนเหตุการณ์รุนแรงนั้น พื้นที่ข่าวของ นปช. มากกว่า แต่หลังจากประกาศ พรก.ฉุกเฉิน รัฐบาลสามารถชิงพื้นที่ข่าวในโทรทัศน์ได้มากกว่า ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้ไม่พบข้อมูลว่าเกิดจากการแทรกของรัฐ โดยรัฐเพียงแต่บอกว่าขอความร่วมมือ แต่จากประสบการณ์ของคนที่เป็นผู้บริหารโทรทัศน์นั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ มักจะมีความระมัดระวังในการรายงานข่าวเป็นพิเศษ

“การรายงานข่าวของสื่อนั้น หากพิจารณาแล้วพบว่าเรื่องใดเป็นความจริงหรือมีข้อมูลที่น่าสนใจ ก็มีโอกาสที่จะรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่าอยู่แล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญคือ ตัวผู้ชุมนุมเองที่ออกมาประกาศว่า ไม่รับรองความปลอดภัยกับสื่อมวลชน ก็เลยทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ แม้ในช่วงหลังจะมีแกนนำ นปช. ขอให้สมาคมนักข่าวฯ ส่งผู้สื่อข่าวลงไปในพื้นที่ชุมนุม แต่ในเวลานั้นสื่อไม่มีใครกล้าเข้าไปแล้ว”

สำหรับกรณีการนำเสนอภาพความรุนแรงนั้น นายประสงค์ กล่าวว่า เป็นธรรมชาติของสื่อที่ต้องนำเสนอภาพเหตุการณ์รุนแรง ความขัดแย้ง เพราะคนชอบดูสิ่งเหล่านี้ ซึ่งอธิบายได้ด้วยทฤษฎีจิตวิทยามวลชน แต่การรายงานข่าวต้องอธิบายที่มาที่ไป หรือส่วนลึกของเหตุการณ์ว่าเป็นอย่างไร

ส่วนกรณีการรายงานข่าวโดยจับคู่ความขัดแย้งนั้น นายประสงค์ กล่าว ว่า สาเหตุที่ไม่ปรากฏส่วนของนักวิชาการ หรือบุคคลที่สามในการรายงานข่าวนั้น เนื่องจากสื่อไม่ได้มีนักวิชาการให้เลือกมากนัก เพราะนักวิชาการหลายท่านต่างมีความคิดทางการเมืองเป็นของตัวเอง และตนรู้สึกว่านักวิชาการเหล่านั้นเอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง การสัมภาษณ์บุคคลที่ไม่ได้มีความเป็นกลาง รวมถึงประชาชนที่ไม่ได้มีบทบาทในสถานการณ์จึงไม่เกิดประโยชน์มากนัก

นายประสงค์ กล่าวอีกว่า ในสถานการณ์ดังกล่าวสื่อโทรทัศน์ตอบสนองช้าไปในเรื่องของการรายงานเหตุการณ์ รุนแรง และไม่ได้ให้พื้นที่มากพอ ซึ่งเข้าใจได้ว่าการปรับผังรายการเพื่อเกาะติดสถานการณ์นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของกอง บก.ข่าว เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นเรื่องของเจ้าของสถานีโทรทัศน์ ฝ่ายรายการ ที่จะมาตัดสินใจร่วมกัน อีกทั้งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นวันหยุดยาว และคาดว่าเหตุการณ์จะสงบแล้ว ทำให้นักข่าวหรือบุคลากรด้านสื่อหายไปกว่าครึ่ง การรายงานข่าวเกาะติดสถานการณ์จึงยังไม่ดีพอ สังเกตได้จากนักข่าวยังตื่นเต้นขณะรายงานข่าว

“นักข่าวต้องหัดตั้งคำถาม ไม่ใช่ปล่อยให้แหล่งข่าวพูดอะไรก็ได้ สื่อต้องทำหน้าที่นายประตูข่าวสาร ไม่ใช่นายไปรษณีย์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลอะไรมาแล้วก็เสนอออกมา ขณะเดียวกันประชาชนต้องดูข่าวด้วยความระมัดระวัง ใช้วิจารณญาณของตัวเอง และรับชมข่าวให้หลากหลายมากขึ้น” นายประสงค์ กล่าว

ผลวิจัยตอกย้ำทีวีทุกช่องเสนอข่าวสงกรานต์เลือดอคติเอียงข้างรัฐบาล

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
22 พฤษภาคม 2552

แหล่งข่าวพบว่าทุกช่องให้พื้นที่เสียงแก่ฝ่ายรัฐบาลมากกว่าฝ่ายนปช. ผลการศึกษาครั้งนี้จึงเสนอแนะให้ สื่อฟรีทีวีทั้งหมด ควรวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ไม่มีความลำเอียง ไม่ฝักใฝฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงของข่าวอย่างรอบด้าน หลากหลาย และเป็นธรรม ไม่ควรชี้นำความคิดของผู้ชมให้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะ


โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) สนับสนุนโดย สสส. ได้นำเสนอรายงานผลวิจัยการศึกษาเรื่อง"ฟรีทีวีกับการรายงานข่าวการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 8-14 เมษายน 2552"ต่อที่ประชุมใหญ่วิชาการวิชาชีพสื่อมวลชน ระดับชาติ ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมานี้

ผลการศึกษาพบว่า สถานีโทรทัศน์ที่ให้พื้นที่สัดส่วนข่าวการชุมนุมเฉลี่ยสูงสุดคือ สถานีโทรทัศน์ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ รองลงมาคือสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) ตามด้วยช่อง 9 โมเดิร์นไนน์, ช่อง 3 อ.ส.ม.ท. ช่อง7 และช่อง 5

ช่อง 3 พบว่าเน้นแหล่งข่าวจากฝ่ายรัฐมากกว่า


โดยภาพรวม การรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เกาะติดสถานการณ์ได้พอสมควร แต่จะเน้นรายงานในรายการข่าวหลักๆ ของสถานีตามผังรายการปกติ ตลอดทั้ง 7 วันในช่วงเหตุการณ์ ไม่มีรายการพิเศษเกาะติดสถานการณ์เป็นกรณีเฉพาะ เน้นข่าวเหตุการณ์-สถานการณ์ มากกว่าข่าวเชิงลึก เน้นบรรยากาศการชุมนุม ประเด็นข่าวผลกระทบจากการชุมนุม ประเด็นข่าวค่อนข้างซ้ำกันในระหว่างวันทั้งภาคเช้า เที่ยง และค่ำ

ขณะที่รายการข่าว 3 มิติจะมีประเด็นข่าวที่แตกต่างกว่ารายการข่าวอื่นๆ มีการใช้ข้อมูลจากสื่อหนังสือพิมพ์ในหลายรายการคุยข่าว การใช้แฟ้มภาพข่าวซ้ำไปซ้ำมา ฉายภาพความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เน้นการรายงานข่าวในลักษณะลำดับเวลา ขาดการวิเคราะห์ และการอธิบายเนื้อหาข่าว เน้นการรายงานสถานการณ์สด บรรยากาศของการชุมนุม แต่ขาดรายละเอียด (และเสียงของแกนนำนปช.) ของการปราศรัย การอ้างอิงแหล่งข่าวไม่สมดุลครบ 3 ด้านและขาดความเห็นของนักวิชาการ

ในด้านแหล่งข่าว พบว่า เน้นการใช้ผู้สื่อข่าวภาคสนามเป็นแหล่งข่าว ส่วนใหญ่จะเป็นการรายงานสถานการณ์สดในที่เกิดเหตุ และบรรยากาศการชุมนุมโดยรอบ เน้นแหล่งข่าวจากฝ่ายรัฐ มากกว่า(นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร) รองลงมาคือฝ่ายนปช. (แกนนำ) ขณะที่ฝ่ายฝ่ายประชาชน/นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ/นักวิชาการ นั้นพบน้อยมาก

ช่อง 5 ขาดความสมดุลและเป็นธรรม โดยที่เน้นแหล่งข่าวฝ่ายรัฐมากกว่า


ในด้านความสมดุล และความเป็นธรรม พบว่า การรายงานขาดความสมดุลและเป็นธรรม เนื่องจากสถานีให้พื้นที่แก่แหล่งข่าวจากรัฐมากกว่าแหล่งข่าวฝ่ายนปช.และฝ่ายประชาชน/นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในพื้นที่ภาพและเสียง

โดยภาพรวมแล้วการรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ให้สัดส่วนพื้นที่ข่าวการชุมนุมน้อยที่สุด เน้นการรายงานข่าวเหตุการณ์ ข่าวสั้น ขาดรายละเอียด เน้นบรรยากาศการชุมนุมโดยทั่วไป ขาดการวิเคราะห์ การให้พื้นที่แหล่งข่าวขาดความสมดุล โดยที่เน้นแหล่งข่าวฝ่ายรัฐมากกว่า มุมกล้องเน้นภาพการปะทะที่รุนแรงและมีฉายซ้ำ ไม่มีการนำเสนอข่าวเชิงลึก สืบสวน ข่าวเชิงวิเคราะห์ ไม่มีรายการพิเศษเกาะติดสถานการณ์ชุมนุม

ช่อง 7 ค่อนข้างขาดความสมดุลและเป็นธรรม ให้พื้นที่แก่ฝ่ายรัฐมากกว่า


โดยภาพรวม การรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 พบว่า รายงานเกาะติดสถานการณ์ได้ล่าช้า เพราะต้องรอรายการข่าวต้นชั่วโมง ปริมาณสัดส่วนข่าวที่นำเสนอต่ำ ประเด็นข่าวตื้น เน้นข่าวเหตุการณ์-บรรยากาศ-สถานการณ์ทั่วไป ขาดการวิเคราะห์ และการอธิบายความข่าว

พบว่า การรายงานค่อนข้างขาดความสมดุลและเป็นธรรม เนื่องจากสถานีให้พื้นที่แก่แหล่งข่าวจากรัฐ มากกว่าแหล่งข่าวฝ่ายนปช. ขณะที่ฝ่ายที่สามเช่นประชาชน นักวิชาการ หรือความคิดเห็นภาคส่วนต่างๆ ก็ปรากฏน้อย

ช่อง9 เสียงแหล่งข่าวส่วนมากให้แก่ฝั่งรัฐบาล


โดยภาพรวม การรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. มีการเกาะติดสถานการณ์ได้ดี และข่าวมีความรอบด้าน แต่ยังขาดความลึก ขาดการเจาะประเด็น หรือหาความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง ร้อยเรียงเหตุการณ์เพื่อหาทางออก การตั้งคำถามของผู้สื่อข่าวเน้นรายงานเหตุการณ์เฉพาะหน้า (Real Time) พิธีกรข่าวในรายการคุยข่าวจะใช้ภาษา น้ำเสียงตื่นตระหนกประหนึ่งมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ในขณะที่พื้นที่เสียงของแหล่งข่าวขาดความสมดุล เสียงแหล่งข่าวส่วนมากให้แก่ฝั่งรัฐบาล ขาดเสียงฝ่ายที่สาม มักฉายภาพข่าวที่เห็นความรุนแรงจากการชุมนุม ขาดรายการวิเคราะห์ข่าว ขาดการรายงานข่าวแบบตีความ อธิบายความ

ช่อง 11 พบว่า การรายงานขาดความสมดุลและเป็นธรรม


พบว่า การรายงานขาดความสมดุลและเป็นธรรม เนื่องจากสถานีให้พื้นที่แก่แหล่งข่าวจากรัฐและฝ่ายประชาชน/นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าแหล่งข่าวฝ่ายผู้ชุมนุม

โดยภาพรวม การรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย-สทท. (NBT) ให้สัดส่วนพื้นที่ข่าวการชุมนุมในระดับสูง เกาะติดสถานการณ์ได้ดีกว่าช่องอื่นๆ แต่ประเด็นข่าวยังเน้นสภาพปัญหาทั่วไป เช่นเรื่องสภาพการจราจร ผลกระทบการปิดถนน การท่องเที่ยว การรายงานข่าวไม่เจาะลึกถึงเหตุการณ์จริง ขาดความรอบด้าน ไร้เสียงประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อเหตุการณ์ ไม่มีการตีความอธิบายข่าว รายงานเฉพาะเปลือกผิวของเหตุการณ์ เริ่มทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของข่าวสารเพื่อประชาชนหลังจากวันที่มีพรก. ฉุกเฉิน มีรายงานพิเศษ สกู๊ปเพิ่มขึ้น แต่ยังขาดการเจาะลงปัญหาการเมือง เพราะเน้นเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมมากกว่า ขาดการอธิบายความหมายข่าว การตีความ การวิเคราะห์ข่าวการเมือง ขาดรายการให้ความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ให้พื้นที่แก่ฝ่ายรัฐในการเป็นสื่อกลางแก้ไข ชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชนมากขึ้น ในช่วงหลังของเหตุการณ์

TPBS มีความรอบด้าน ภาพข่าวมีมุมที่แตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นอย่างเห็นได้ชัด


โดยภาพรวมแล้วการรายงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ทีวีไทยมีความครบถ้วน และเป็นการรายงานข่าวเชิงวิเคราะห์ อธิบายความ โดยใช้ความคิดเห็นจากแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาชนเสนอทางออกต่อเหตุการณ์ สำหรับการเกาะติดเหตุการณ์ชุมนุมช่องทีวีไทยอยู่ในระดับที่ดีมาก มีสัดส่วนข่าวที่สูง เนื้อหาข่าวมีความลึกของประเด็น ได้สาระที่แท้จริง มีความรอบด้าน ภาพข่าวมีมุมที่แตกต่างจากสถานีโทรทัศน์ช่องอื่นอย่างเห็นได้ชัด คือมีความใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากกว่า

ความเป็นกลางและการตั้งคำถาม ของผู้สื่อข่าว พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการถามเพื่อทราบความคืบหน้าของสถานการณ์ โดยที่นักข่าวพยายามตั้งคำถามต่อแหล่งข่าวโดยใช้คำถามปลายเปิด ให้โอกาสแหล่งข่าวได้อธิบายท่าที จุดยืน หากเป็นแหล่งข่าวฝ่ายประชาชน นักวิชาการ นักข่าวจะตั้งถามเพื่อให้แหล่งข่าวช่วยอธิบาย และทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ทางการเมืองในเชิงวิชาการ และให้เสนอแนะทางออกแก้ไขความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรม

สรุปผลการศึกษา


ความสมดุล และความเป็นธรรม พบว่า ในมิติด้านเนื้อหา ฝ่ายผู้ชุมนุมสามารถยึดครองพื้นที่ข่าวได้มากกว่าในช่วงแรก แต่หลังจากการประกาศพรก. ฉุกเฉิน ฝ่ายรัฐบาลจะมีพื้นที่ประเด็นข่าวได้มากกว่า ขณะที่ภาพข่าวส่วนมากเป็นภาพข่าวเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มนปช. และความความรุนแรงจากการปะทะกันของทั้งสองฝ่ายคือรัฐและกลุ่มผู้ชุมนุม

ขณะที่มิติเสียงของแหล่งข่าวพบว่าทุกช่องให้พื้นที่เสียงแก่ฝ่ายรัฐบาลมากกว่าฝ่ายนปช.


ความสมดุลของข่าวส่วนมากสมดุลในระดับ 2 ด้าน คือมีฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนปช.และกลุ่มผู้ชุมนุม แต่ค่อนข้างขาดฝ่ายที่ 3 คือ ประชาชน นักวิชาการ ตัวแทนจากกลุ่มอาชีพอื่นๆ ยกเว้นช่องทีวีไทยที่ให้พื้นที่ฝ่ายที่ 3 สูงกว่าฝ่ายใด

ความเป็นกลางและการตั้งคำถาม ของผู้สื่อข่าว พบว่านักข่าว/ผู้สื่อข่าวส่วนมากใช้ภาษาได้ เป็นกลาง มีความระมัดระวังการใช้คำพูด แต่เฉพาะการตั้งคำถามแก่แหล่งข่าว/หรือการเล่าข่าวในบางรายการที่อาจมีลักษณะสอดแทรกความคิดเห็นลงไปบ้าง

ข้อเสนอแนะจากโครงการฯ

1) สื่อโทรทัศน์ควรให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวเหตุการณ์ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการแทรกรายงานข่าวตลอดเวลาทั้งรูปแบบรายการข่าวด่วน รายการพิเศษเกาะติดสถานการณ์ หรือการแทรกคำบรรยายข่าวบนพื้นที่ด้านล่างของหน้าจอโทรทัศน์ในรายการปกติ

2) สื่อควรลดการนำเสนอข่าวที่เน้นประเด็นความรุนแรงของเหตุการณ์ ซึ่งอาจนำเสนอผ่านภาพข่าว ภาษาพูดที่ส่งสัญญาณความรุนแรงที่มีลักษณะซ้ำไปซ้ำมา หรือการเน้นให้เห็นภาพความรุนแรงของเหตุการณ์ เช่นภาพตำรวจปราบปรามประชาชน การรุมทำร้าย การใช้กำลังอื่นใดในการสลายม็อบทั้งต่อคนและสิ่งของหรือแม้กระทั่งการนำเสนอภาพตำรวจพร้อมอาวุธครบมือ ถ่ายให้เห็นภาพการวางกำลัง การตรวจตรา การสกัด การควบคุม นอกจากนี้การแสดงสีหน้า ท่าทาง ของผู้ประกาศข่าวก็ควรละเว้นการแสดงอารมณ์ความรู้สึก

3) ในการรายงานข่าวการชุมนุม สื่อควรนำเสนอข้อมูลอย่างรัดกุม ไม่ควรนำเสนอข้อมูลที่จะสร้างความตระหนกแก่สาธารณะชนแต่ควรสร้างความตระหนักในข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ นำเสนออย่างสร้างความเข้าใจ สร้างสรรค์ และสร้างสติให้กับสังคม

4) การตั้งคำถามของสื่อมวลชน ควรเป็นไปในลักษณะที่ไม่สร้างความแตกแยก เน้นคำถามที่หาทางออกของสถานการณ์ ถามเพื่อหาคำตอบเพื่อลดความรุนแรงของเหตุการณ์ ไม่ถามคำถามที่แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของความรุนแรง เช่น “จะใช้มาตรการใดในการจัดการสลาย” ควรถามว่า “จะใช้วิธีการใดที่จะไม่ใช้ความรุนแรงกับลุ่มผู้ชมุนุม” เพื่อชี้ช่องทางให้ไม่เกิดความรุนแรง เป็นต้น

5) สื่อควรเน้นการรายงานข่าวที่ให้ข้อมูลอธิบายสาระสำคัญของเหตุการณ์ที่เน้นการตอบคำถาม “ทำไม” (why?) มากกว่าเพียงการอธิบาย “ใคร-ทำอะไร-ที่ไหน-เมื่อไร-อย่างไร” ควรนำเอาข้อมูลในอดีต อธิบายพร้อมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นแนวโน้มเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

6) สื่อฟรีทีวีทั้งหมด ควรวางตนเป็นกลาง ปราศจากอคติ ไม่มีความลำเอียง ไม่ฝักใฝฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงของข่าวอย่างรอบด้าน หลากหลาย และเป็นธรรม ไม่ควรชี้นำความคิดของผู้ชมให้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะ

ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2552

ที่มา ประชาไท

การเมือง

สว.สมชายหนุนแก้มาตรา 237

โพสต์ทูเดย์ - นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่าการดำเนินการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่กรรมการสมานฉันท์ได้ให้อนุกรรมการฯพิจารณาอยู่นั้น สุดท้ายแล้ว ประเทศชาติและสังคมส่วนรวมจะต้องได้ประโยชน์เท่านั้น ไม่ใช่ดำเนินการเพียงเพื่อให้นักการเมือง และเห็นว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองด้วย

ทั้งนี้ในส่วนมาตรา 190 ที่เสนอให้การแก้ไขนั้น ก็ควรพิจารณาในส่วนที่เป็นปัญหายากต่อการวินิจฉัยของฝ่ายบริหารเท่านั้น เช่นในวรรคที่ 2 ที่ ระบุว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และถ้ามีปัญหาเรื่องการตีความก็ให้แก้ไขเฉพาะคำว่าอย่างกว้างขวางและคำว่าอย่างมีนัยสำคัญเท่านั้น และผู้เสนอแก้ไขจะต้องเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของมาตรา 190 มาพร้อมกันด้วย เพราะที่ผ่านมา 3 รัฐบาลแล้วหลีกเลี่ยงที่จะทำกฎหมายดังกล่าวให้แล้วเสร็จจะได้ไม่เกิดในการตีความอีก

ในส่วนที่จะให้การแก้ไขมาตรา 237 เพื่อไม่ให้กรรมการบริหารพรรคกระทำความผิดและโดนยุบพรรครวมถึงการตัดสิทธิ์ 5 ปีนั้น เห็นควรผู้เสนอรัฐธรรมนูญต้องฟังเสียงทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบ เพราะที่ผ่านมามีการทุจริตเลือกตั้งอย่างมากมาย ผู้บริหารพรรคล้วนได้ประโยชน์จากจำนวน สส. ที่มากขึ้นเพราะการทุจริต รัฐธรรมนูญ 50 จึงตั้งใจใช้ยาแรง รักษาโรคร้าย ซึ่งก็เริ่มปรากฏผลแต่นักการเมืองกลับมาแก้ไขกฎหมายเพื่อให้พ้นผิด แทนที่จะแก้ไขพฤติกรรมและวิธีการเลือกตั้งให้สุจริต ดังนั้นถ้าจะแก้ไขมาตรา 237 เพื่อไม่ยุบพรรค ก็ควรที่จะคงโทษกรรมการบริหารพรรค หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค ทั้งการตัดสิทธิ์ทางการเมืองต่อไปและควรเพิ่มโทษอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ต่อกรรมการบริหารพรรคที่กระทำผิด และหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค ในฐานะสมรู้ร่วมคิดใช้จ้างวาน หรือร่วมกระทำความผิด รวมถึงให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มา สส. และสว.

นอกจากนั้นนายสมชาย ยังได้แสดงความคิดเห็นกรณีที่จะให้มีการเลือกตั้ง สว.ทั้งหมดว่า การเลือกตั้งสว.ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าจะเป็นประชาธิปไตย และการเลือกตั้งก็ไม่ใช่คำตอบ ของความเป็นประชาธิปไตยทั้งหมด เพราะต้องยอมรับว่าห้วงที่ผ่านมา มีปัญหาการผูกขาดยึดครอง วุฒิสภาเป็นของบางกลุ่ม บางตระกูล มิได้เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยอย่างมีอิสระ จนถูกเรียกขานว่าเป็นสภาทาส สภาผัวเมีย ที่ถูกกำกับโดยรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจะแก้ไข จำเป็นต้องศึกษาให้ละเอียด เพราะอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภามีหน้าที่ถ่วงดุล ตรวจสอบ ซึ่งหากมีการแก้ไขและเกิดสภาทาสอย่างเช่นในอดีต ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะมีวุฒิสภาอีก และตอนยกร่างรธน.ปี 50 ก็มีข้อถกเถียง ว่าให้สว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด หรือ มาจากการสรรหาทั้งหมด หรือควรมีวุฒิสภาหรือไม่ หลังฟังความเห็นประชาชนถึง 360 เวที จึงได้ข้อสรุปที่มา สว. 2 แบบ คือเลือกตั้งกับสรรหา ดังนั้นการที่จะแก้กลับไปเป็นสว.เลือกตั้งแบบปี 40 ต้องมีผลการศึกษาที่ยอมรับได้มากกว่าแก้เพื่อตามใจนักการเมือง

มาร์คเชียร์ยกเลิกยุบพรรค

ASTVผู้จัดการรายวัน - นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯว่า คณะทำงานของพรรคเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้เสนอประเด็นการแก้ไข ตามที่เคยมีการศึกษาตั้งแต่ตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการชุดอื่นที่ตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่พรรคเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 ในเรื่อง การยุบพรรคนั้นเห็นว่าควรแยก แยกระหว่างการลงโทษพรรคกับการลงโทษกรรมการบริหาร เพราะเห็นว่าพรรคเป็นองค์กร ที่เป็นของสมาชิกทุกคน ซึ่งการไปยุบพรรคแล้วกระทบกับสมาชิกดูไม่เป็นธรรมกับสมาชิก แต่กรรมการบริหารเป็นผู้ที่รับผิดชอบการบริหารพรรค หากพรรคจะทำอะไรที่ผิดต้องรับผิดชอบ แต่ไม่ควรกระเทือนไปถึงสมาชิก

ส่วนที่มีข้อเสนอจาก คณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทยให้คู่ขัดแย้งมาเจรจากันทางลับนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าหมายถึงใคร เจรจาในเรื่องอะไร เห็นแต่ข่าวเฉยๆว่า เสนอให้แกนนำคู่ขัดแย้งเจรจากัน อย่างไรก็ตามตนไม่ได้คิดว่า ปัญหาของประเทศขณะนี้เป็นปัญหาที่เป็นความขัดแย้งส่วนตัวของใคร ตนมองว่า แนวทางแก้ไขขณะนี้คือ การสร้างระบบที่เป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับมากกว่า ทั้งนี้ตนไม่แน่ใจว่า ผู้เสนอเขาคิดว่า คู่ขัดแย้งที่ว่านี้ คือใคร และจะให้เจราจาเรื่องอะไร แต่ถ้าถามทัศนะตนก็บอกว่า การแก้ไขปัญหาขณะนี้เป็นเรื่องการสร้างระบบ ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายมากกว่า

ส่วนที่นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เสนอว่า คู่ขัดแย้งคือ ผู้ที่เคยทำธุรกิจด้วยกันเคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่มาแตกแยกกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าความขัดแย้งที่มีในสังคมขณะนี้ และมีคนจำนวนมากที่เคลื่อนไหว หรือมีการแสดงความคิดเห็น คงจะเป็นประเด็นที่สำคัญและกว้างไปกว่าประเด็นความขัดแย้งส่วนตัวดูที่มาของความขัดแย้งขณะนี้

มติภท.ให้"ชาติชาย"พ้น รมช.เกษตรฯ

โพสต์ทูเดย์ - นาย ศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย แถลงภายหลังการประชุมพรรค ที่มี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นประธานการประชุมว่า การประชุมวันนี้มีการหารือกันในหลายประเด็น รวมทั้งเสนอรายชื่อบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์คนใหม่ แทนนายชาติชาย พุคยาภรณ์ ที่จะถูกปรับออกจากตำแหน่ง โดยที่ประชุมพรรคมีมติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นเอกฉันท์ที่จะให้นายชาติชาย พ้นออกจากตำแหน่ง เนื่องจากนายชาติชายไม่สนองตอบนโยบายของพรรค รวมทั้งไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมของพรรค พร้อมมอบให้หัวหน้าพรรค เป็นผู้พิจารณาบุคคลที่เหมาะสม และรายงานของที่ประชุมพรรคเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาตามกระบวนการขั้นตอนต่อไป

ส่วนกระแสข่าวความขัดแย้งระหว่าง นายสรอรรถ กลิ่นประทุม และนายเนวิน ชิดชอบนั้น นายศุภชัย ยืนยันว่า ทั้ง 2 คนไม่มีปัญหาความขัดแย้งแต่อย่างใด นอกจากนี้ พรรคภูมิใจไทย ยังเตรียมจัดสัมมนาพรรคในระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายนนี้ ที่จังหวัดชุมพรด้วย

ผบ.ทบ.เห็นใจรัฐถังแตกรับถูกตัดงบเกือบหมื่นล.

ไทยรัฐ - วันนี้ (21 พ.ค.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงกลาโหมถูกตัดงบประมาณไปถึง 1.9 หมื่นล้านบาทว่า ในส่วนของกองทัพบกถูกตัดไปเกือบ 10,000 ล้านบาท โดยโครงการใหม่ที่ตั้งงบประมาณผูกพันในปี 2553 ก็จะตัดออกไปทางรัฐบาลให้กองทัพใช้วิธีเกลี่ยงบประมาณ ทำให้กองทัพต้องเริ่มโครงการใหม่เพื่อไม่ให้มีปัญหา เป็นโครงการที่จบในปีเดียว กับโครงการที่ใช้หนี้ผูกพันเท่านั้น ซึ่งสามารถบริหารได้ อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับแผนงานในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนของงบฯปฏิบัติงานก็คงไม่กระทบมากมาย

ต่อข้อถามที่ว่า เรื่องการตัดงบฯ จะกระทบต่อกำลังพลหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ต้องรับให้ได้ ถ้าบ้านเมืองมีความจำเป็น ไม่มีงบประมาณก็ต้องยอมรับ เข้าใจว่ากองทัพมีความจำเป็นแต่ว่า เมื่อตัดงบฯ ก็ต้องตัดในส่วนของกองทัพก่อนหน่วยงานอื่น เพราะหน่วยงานอื่นที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ไปตัดเขาก็คงไม่ดีกับประชาชน ก็ต้องยอมตัดของทหารไป แล้วค่อยไปหามาตรการในการดูแลรักษายุทโธปกรณ์ หรือการฝึกไม่เหมือนจริง ไม่มีกำลัง เป็นการฝึกโดยการวางแผนเฉยๆ

สำหรับโครงการการจัดหารถหุ้มเกราะล้อยางจากประเทศยูเครนนั้น ในงบประมาณปี 2553 ไม่มีการริเริ่มโครงการใหม่ ส่วนที่จัดหามาก่อนหน้านั้นก็ดำเนินการไป

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงการเสนอโครงการจัดหาอุปกรณ์ในการสลายการชุมนุมนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ก็เสนอในขั้นต้นไป เพราะในขณะที่เสนอไปจะมีการประชุมอาเซียนซัมมิทด่วน เมื่อการประชุมเลื่อนออกไปก็ต้องมีการทบทวนให้ละเอียดกว่านี้ ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวตนได้เสนอขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ และของใหม่ถ้ามีการเลื่อนไปก็จะดูรายละเอียด

ผบ.ทบ.ลั่นให้พิสูจน์คอนเทนเนอร์ ยันไร้ศพในค่า้ย

ไทยรัฐ - เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (21 พ.ค.) ที่กองการบิน กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปตรวจเยี่ยมฐานปฏิบัติการผามออีแดง อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ใกล้พื้นที่พิพาทตามแนวชายแดนเขาพระวิหาร เพื่อรับฟังสถานการณ์ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ว่า คงไม่มีอะไรพิเศษ ไปดูตามวาระ ส่วนสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณดังกล่าวทราบว่า ผู้ปฏิบัติการทั้ง 2 ฝ่าย สามารถพูดคุยกันได้ ไม่ตึงเครียดตามแนวชายแดน สำหรับการที่ยูเนสโก ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้านั้น ความจริงการเข้าไปในพื้นที่นั้นต้องติดต่อผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศต้องเป็นฝ่ายดูแล ในส่วนของกองทัพจะดูเรื่องความปลอดภัยในพื้นที่ซึ่งก็มีปัญหาบ้างเล็กน้อยว่า เจ้าหน้าที่ยูเนสโกเข้าจากทางใด ก็จะไปพูดคุยในเรื่องนี้ด้วยว่าเป็นอย่างไร

ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังใช้ความรุนแรงโดยการสังหารและเผาซ้ำนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า จะลงไปดูสถานการณ์ในเร็วๆนี้ เพราะยังมีความโหดร้ายของการปฏิบัติ ก่อนหน้านี้มีใช้ความรุนแรงโดยการตัดคอเพื่อสร้างความรุนแรง เราก็ต้องหามาตรการที่จะทำให้ดีที่สุด และทหารเราใช้การเมือง การพัฒนา ไม่ใช่เอาการทหารปิดปากเขา เพราะจะเกิดปัญหาตามมา เมื่อใช้การพัฒนาแล้วเขาไม่ปฏิบัติก็ต้องใช้เวลา เพราะไม่รู้ว่าเขาจะพอใจแค่ไหน แต่หากเขาพอใจก็จะไม่ก่อเหตุ นี่คือความยากในการใช้การเมือ การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหา ในส่วนของทหารต้องพยายามสร้างความเข้าใจกับประชาชน และไม่ให้มีความคิดจะไปร่วมกับผู้ก่อความไม่สงบฯ และที่ผ่านมา ไม่ได้ใช้กฎหมายอะไรเป็นพิเศษ ประชาชนในภาคใต้ยังใช้ชีวิตปกติ

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ไม่พอใจที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพไม่เข้าไปชี้แจงเรื่องการสลายการชุมนุม เมื่อช่วงสงกรานต์ว่า ผู้บัญชาเหล่าทัพและตนเองก็ให้ความเคารพ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ที่อยู่ด้วยกันตรงนั้นมี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ นายกรัฐมนตรี และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่ปฏิบัติการร่วมกันอยู่ อีกส่วนหนึ่ง คือ ส่วนที่ไปปฏิบัติการในรายละเอียด ซึ่งจัดการเรื่องความสงบเรียบร้อย เป็นอีกกลุ่มที่จะรู้ในทุกรายละเอียดดี ในส่วนแรกจะได้รับทราบจากการรายงาน ส่วนพวกที่อยู่ในศูนย์สั่งการจะรู้ในรายละเอียดการสั่งการ การโต้ตอบข่าวสารน่าจะตอบคณะกรรมการฯได้ดีกว่า

ส่วนความคืบหน้าในการตรวจสอบข้อเท็จจริงตู้คอนเทนเนอร์กลางทะเลนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด เพราะยังไม่เห็น พูดไปสังคมก็จะยิ่งไปกันใหญ่ แต่มีความรู้สึกอย่างเดียว ว่า ต้องพิสูจน์ทราบให้ได้ว่าเป็นอะไร ส่วนขั้นตอนขึ้นอยู่กับผู้มีความรู้เกี่ยวกับใต้น้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมี หรือ ศพ จะเป็นส่วนพิสูจน์ทราบอย่างเดียว ไม่มีทางที่จะปล่อยเฉยๆ ได้ ส่วนงบประมาณที่จะใช้ดำเนินการจะคุ้มค่าหรือไม่นั้น ในความคิดของตนก็ยังคิดว่าจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นอะไร ไม่เช่นนั้น สังคม หรือประชาชน รวมถึงข้าราชการ ก็จะสงสัย ก็ต้องพิสูจน์ทราบให้ได้

สำหรับกรณีที่ กลุ่มญาติวีรชน พฤษภาคม 2535 มายื่นหนังสือให้กองทัพบกหาศพผู้สูญหายจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ถ้าเราเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเป็นญาติหรือลูกของเรา ไปเสียชีวิตในลักษณะเช่นนี้ก็ต้องดิ้นรนที่จะได้ศพคืน แต่คิดว่าสิ่งที่น่าทำต้องมีระบบที่ดีกว่านี้ ที่มีโอกาสจะได้ศพญาติของตนเองคืนมา ขอยกตัวอย่างว่า ถ้าเราไปทวงของ ซึ่งตนเอง และกองทัพบก ไม่มีศพดังกล่าวอยู่ เมื่อเราไม่มีศพอยู่ จะมาทวงก็ ไม่มี เชื่อว่าเขาทุกข์ใจ และอยากได้ สิ่งที่น่าทำ ตามที่ แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ บอกไว้คือ ระบบการตรวจสอบ เรามีศพไม่มีญาติในสุสานเพิ่มขึ้นทุกวัน จนมีเป็น1,000 ศพ ก็ไม่มีระบบไปตรวจสอบ ซึ่งอาจจะใช่ก็ได้ เมื่อมันไม่ใช่ก็จะได้ไปสืบสวน สอบสวนว่าอยู่ที่ใด

'การที่จะมาขอจากกองทัพบก ผมก็เรียนด้วยความเคารพว่า ไม่มี สังคมต้องเข้าใจ ในส่วนตัวผมก็เข้าใจว่า เป็นความจำเป็นต้องดิ้นรนหา เป็นญาติผมก็ต้องทำเช่นนั้น แต่ผมจะไม่ไปขอสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก ที่มันไม่มีพื้นฐานที่จะต้องขอ ผมอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทำระบบการตรวจสอบบุคคลสูญหายให้ดี อย่างที่คุณหมอพรทิพย์ ท่านริเริ่ม หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติคงจะมีแผนงานบ้างเพราะมีมาก ผมเคยอยู่ตามแนวชายแดน เคยให้เราดูศพไม่มีญาติในสุสานว่าเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของเราหรือไม่ ผมไม่เคยไปดู เขาก็ฝังไว้เช่นนั้น' พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

แฉขบวนการป่วนใต้5พันคนจ้องแยกดินแดน

ไทยรัฐ - วันนี้ (21 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังเกิดเหตุความไม่สงบอย่างต่อเนื่องว่า ต้องยอมรับว่า มีกลุ่มคนร่วมขบวนที่มีแนวคิดแบ่งแยกดินแดนจริงๆ ประมาณ 4,000-5,000 คน ดังนั้นหน้าที่ของรัฐบาลคือ ต้องดูแลคน 3 จังหวัดภาคใต้อีกกว่าล้านคนให้มีคุณภาพชีวิตดี ไม่ใช่คิดไปไล่ล่าฆ่าคนที่อยู่ในขบวนการ หรือเป็นผู้ก่อการร้าย 5,000 คนนี้ แต่ต้องพยายามให้คนเหล่านี้กลับใจมาอยู่ข้างรัฐบาล ซึ่งผู้ก่อการต้องการอวดศักดา แสดงให้เห็นว่า ยังมีอำนาจ กระทำการร้ายได้ ซึ่งต้องแก้ไปเรื่อยๆ

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ก่อความไม่สงบพยายามสร้างผลงาน เพื่อขอรับเงินสนับสนุน ก่อนมีการประชุมองค์การการประชุมชาติอิสลาม (โอไอซี) ในเดือนมิ.ย.นี้ ใช่หรือไม่ นายสุเทพ ตอบว่า เป็นเรื่องจริง กลุ่มคนแบ่งแยกดินแดนส่วนหนึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากนอกประเทศ ดังนั้นต้องมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อถามว่า คิดว่านโยบายการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของรัฐบาลในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมาล้มเหลวหรือไม่ นายสุเทพ ตอบว่า ไม่คิดว่าเป็นอย่างนั้น อย่าเพิ่งรีบสรุป ยอมรับว่าการทำงานอาจยังไม่ถูกใจประชาชน ทั้งนี้สัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อประชุมร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และผู้บริหารจังหวัด เพื่อชี้แจงตัวเลขงบประมาณ แผนงาน และโครงการต่างๆ ตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ซึ่งเม็ดเงินจะออกมาในอีก 4 เดือนข้างหน้า สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดนี้ จะเน้นหนักไปที่การยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยตั้งเป้าให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ 1.2 แสนบาท/ครอบครัว/ปี รวมถึงการปรับปรุงด้านการศึกษา และกระบวนการยุติธรรม

พรรค พธม.แท้ง กกต.ไม่รับจดเหตุชื่อซ้ำซ้อน

ไทยรัฐ - วันนี้( 21 พ.ค)นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)กล่าวว่า กกต.มีมติไม่ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่มี นางภานุมาศ พรมสูตร หัวหน้าพรรคได้ยื่นขอต่อกกต.ทั้งนี้เนื่องจากการตรวจสอบของฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบบริหารฐานข้อมูลพรรคการเมืองพบว่า นางรุ่งรัตน์ เป็นกระโทก สมาชิกพรรคของผู้ร่วมขอจัดตั้งพรรคฯ มีชื่อปรากฎเป็นสมาชิกพรรคมหาชน และเมื่อพิจารณาชื่อพรรคที่เป็นภาษาอังกฤษและชื่อย่อภาษาอังกฤษก็คล้ายหรือ ซ้ำกับพรรคประชาภิวัฒน์ ที่ถือว่าขัดกับมาตรา 9 วรรคสอง พ.ร.บ.พรรคการเมือง 50 ที่ห้ามไม่ให้ชื่อพรรคการเมือง ซ้ำ พ้อง หรือมีลักษณะคล้ายคลึงกับชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น หรือของพรรคการเมืองที่ได้จดแจ้งไว้ก่อนตามมาตรา 12 หรือของพรรคการเมืองที่ถูกยุบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

นอกจากนี้เลขาธิการฯ กกต.ยังระบุตรวจสอบพบข้อบังคับพรรคพันธมิตรฯหลายข้อขัดต่อพ.ร.บ.พรรคการเมือง จึงเห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคพันธมิตรฯ และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้กับนางภานุมาศ ผู้ยื่นได้ทราบภายใน 30 วันซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 23 พ.ค.นี้แต่เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ จึงจะแจ้งให้ทราบในวันที่ 25 พ.ค. ที่เป็นวันเปิดทำการ แต่หากนางภานุมาศ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ก็สามารถยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง

คุณภาพชีวิต

ปัดฝุ่นกบช.รัฐหนุน50บ./เดือนช่วยออมเงิน

ไทยโพสต์ - นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จะมีการเสนอจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) เพื่อรองรับการออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณของแรงงานที่อยู่นอกระบบ เน้นผู้ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมและสมัครใจเข้าร่วม ซึ่งจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนคนละขั้นต่ำ 100 บาทต่อเดือน ขณะที่รัฐบาลจะสมทบให้ 50 บาทต่อเดือน หรือใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาทต่อปี โดยคาดว่าจะทำให้ภายใน 1 ปี สถานะของกองทุน กบช.จะมีวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท

ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า เบื้องต้นการตั้งกองทุน กบช.จะต้องมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ โดยเริ่มแรกจะเน้นที่แรงงานนอกระบบที่มีประมาณ 23-24 ล้านคน อาทิ ผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เป็นต้น มีอายุระหว่าง 15-60 ปี ส่งเงินสมทบขั้นต่ำ 100 บาทต่อเดือน จนถึง 1,000 บาทต่อเดือน หรือจะส่งมากกว่านี้ก็ได้ ขณะที่รัฐบาลจะสมทบ 50 บาทต่อเดือน ซึ่งประเมินว่าหลังเกษียณอายุผู้ที่ส่งเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้รับผลตอบแทนคนละ 2,800 บาทต่อเดือน แต่หากส่งสมทบสูงกว่านี้ก็จะได้ผลตอบแทนมากกว่านี้

ทั้งนี้ แรงงานนอกระบบที่มีการส่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว แต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ก็สามารถเข้าร่วมกองทุน กบช.นี้ได้เช่น หากส่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ 5% อาจจะปรับมาส่งเข้า กบช. 3% และส่งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 2% เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าหมายว่า หลังเริ่มต้นกองทุน กบช.กับกลุ่มแรงงานนอกระบบไปแล้ว 2 ปี จากนั้นจะมีการดึงกลุ่มแรงงานในระบบประกันสังคมเข้ามาร่วมด้วย เพราะปัจจุบันแรงงานกลุ่มนี้จะได้รับผลตอบแทนกรณีชราภาพเพียงแค่ 38% ของเงินเดือนๆ สุดท้ายเท่านั้น โดยคาดว่าจะเริ่มจากบริษัทที่มีคนงาน 200 คนขึ้นไปก่อน จากนั้นค่อยขยายให้ครอบคลุมบริษัทที่มีคนงานต่ำกว่า 200 คน ในปีถัดไป

ถก กม.องค์กรจัดสรรคลื่นฯคืบได้ กสทช.11คน

ไทยรัฐ - วันนี้ (21 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ร่วมกันแถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ ได้สรุปผลการพิจารณาในมาตรา 6 ให้มีจำนวนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำนวน 11 คน จากเดิม 10 คน โดยแก้ไขให้มีสัดส่วนกรรมการใหม่ดังนี้คือ (1) ผู้มีผลงาน ความรู้ เชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านกิจการกระจายเสียง 1 คน และกิจการโทรทัศน์ 1 คน (2) ผู้มีผลงาน มีความรู้ เชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านกิจการโทรคมนาคม 2 คน (3) ผู้มีผลงาน ความรู้ เชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ อันเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ด้านละ 2 คน (4) ผู้มีผลงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การส่งเสริมสิทธิ์เสรีภาพจำนวน 1 คน และ(5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาหรือวัฒนธรรม จำนวน 1 คน

โฆษกคณะกรรมาธิการ กล่าวต่อไปว่า ส่วนมาตรา 7 เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะเป็นกรรมการ หสทช. มีการเพิ่มเติม (1) กำหนดคุณสมบัติด้านอายุกรรมการ ให้มีอายุตั้งแต่ 30-65 ปี จากเดิม 35-70 ปี และ (14) กำหนดว่าต้องไม่เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา หรือพนักงาน หรือเป็นผู้ถือหุ้น ในองค์กรหรือบริษัทที่ประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ในระยะเวลา 1 ปี ในวันที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการเลือกสรร ส่วนมาตรา 8 มีการแก้ไขให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นฝ่ายเลขานุการในการรับขึ้นทะเบียน จากองค์กรหรือสถาบันที่จะส่งรายชื่อบุคคลเข้ามาเลือกกันเองเป็นกรรมการ อย่างไรก็ตาม นายบุญยอดกล่าวยอมรับว่า คณะกรรมาธิการฯ ยังไม่ได้หยิบยกประเด็นการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนหรือนอมินี หากผู้เข้ารับการสรรหาโอนหุ้นหรือกิจการไปให้ภรรยา บุตร-ธิดาหรือญาติถือแทน โดยรับว่าจะนำกลับไปหารือในคณะกรรมาธิการฯอีกครั้ง พร้อมทั้งยืนยันว่า คณะกรรมาธิการฯจะเร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเพื่อเสนอเข้าสู่สภาฯให้ทันในสมัยประชุมหน้า

เศรษฐกิจ- การคลัง

ชงคลังขยายเวลาเช่าที่ดิน90ปี ธนารักษ์เล็งขึ้นค่าธรรมเนียม ยันไม่พับแผนศูนย์ช็อปทางด่วน

ไทยโพสต์ - นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ในการเสวนาเรื่องที่ราชพัสดุ กับการพัฒนาประเทศว่า กรมธนารักษ์สามารถนำที่ราชพัสดุพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้หลายรูปแบบ เช่น โรงแรม ศูนย์การค้า อพาร์ตเมนต์ แต่ควรแก้กฎหมายเพื่อขยายระยะเวลาเช่าจาก 30 ปี เป็น 90 ปี เหมือนในต่างประเทศ เพื่อจูงใจให้คนต่างชาติเข้ามาเช่าที่เพื่อลงทุน รวมทั้งยังสอดรับกับความต้องการของคนไทยในการซื้อทรัพย์สินเพื่อสืบทอดให้ลูกหลาน ทั้งนี้ ควรออกกฎหมายควบคุมการให้เช่าพื้นที่ของชาวต่างชาติเพื่อป้องกันปัญหาด้านความมั่นคง เช่น การจัดเป็นโซนนิ่งอนุญาตให้เช่าเฉพาะในเขตพื้นที่เมือง หรือย่านท่องเที่ยว เป็นต้น

"ควรขยายระยะเวลาการเช่าออกไปอีกเป็น 90 ปี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชน และคนต่างชาติเข้ามาลงทุน เพราะถ้าให้เช่าแค่ 30 ปีในช่วงสัญญาที่เหลือ 4-5 ปีหลัง สิทธิการเช่าแทบจะไม่มีค่า ส่วนนิสัยคนไทยเองก็ต้องการเช่าที่ดินยาวๆ แล้วยกให้ลูกหลานได้เข้ามาเช่าต่อไป หรือบางคนคิดว่าตัวเองยังไม่ตายใน 30 ปี จึงไม่สนใจเข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุเท่าไร" นายอธิปกล่าว

นายเทวัญ วิชิตะกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ข้อเสนอการขยายสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุออกไปเป็น 90 ปีถือเป็นแนวคิดที่ดี แต่ต้องศึกษาถึงความจำเป็นเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับรัฐและเอกชน และควรเสนอให้กระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมธนารักษ์มีที่ราชพัสดุกว่า 12.5 ล้านไร่ อยู่ในความครอบครองของส่วนราชการถึง 12.3 ล้านไร่ เหลืออีก 2 แสนไร่จะจัดสรรตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

สำหรับค่าเช่าและค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บจากภาคเอกชนหรือประชาชนได้ใช้มาเป็นเวลาหลายปี ขณะนี้ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง หรือ สวค.ศึกษาแนวทางการปรับค่าเช่าและค่าธรรมเนียมที่ราชพัสดุเพื่อเชิงพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบัน แต่คงไม่สามารถจัดเก็บได้ทันปีนี้ เพราะต้องใช้ระยะเวลาศึกษา โดยจะดูถึงการใช้ประโยชน์ การมีรายได้ของภาคเอกชน เพื่อให้มีการพัฒนาที่ราชพัสดุและใช้ประโยชน์ได้ตามศักยภาพ เพราะยอมรับว่าค่าเช่าและค่าธรรมเนียมที่ราชพัสดุยังอยู่ระดับต่ำ เช่น การเช่าที่ดินในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ตารางวาละ 5-6 บาทต่อเดือน

ด้านนายอำนวย ปรีมนวงศ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กรมธนารักษ์ กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องโครงการร้านค้าใต้ทางด่วนว่า ขณะนี้กรมธนารักษ์ได้ส่งหนังสือชี้แจง รมช.คลัง โดยยังยืนยันให้ ธพส.เป็นผู้ดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางกระทรวงการคลังมีแนวคิดให้ใช้วิธีการทำโครงการในรูปแบบการลงทุนร่วมกัน ระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP แต่จากการศึกษาแล้วพบว่า การทางพิเศษในฐานะที่เป็นเจ้าของพื้นที่ใต้ทางด่วนไม่สามารถโอนที่ดินหรือทำธุรกิจร่วมกับเอกชนได้ ทำให้ไม่สามารถใช้รูปแบบการทำโครงการแบบ PPP ได้

ดังนั้น กรมธนารักษ์จึงเสนอให้ ธพส.เป็นผู้ดำเนินโครงการดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าทางกระทรวงการคลังจะพิจารณาในรายงานดังกล่าว เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับแผนการดำเนินโครงการร้านค้าใต้ทางด่วน ที่คาดว่าจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติให้ ธพส.กู้เงินประมาณ 1,077 ล้านบาทจากสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว เช่น ค่าก่อสร้าง ค่าพัฒนาที่ดิน เบื้องต้นโครงการนี้ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ (ธพส.) จะทำหน้าที่ผู้บริหารการลงทุน และเปิดให้เช่าพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1 หมื่นยูนิต

ปิดฉากเอฟทีเออาเซียน-อินเดีย "พาณิชย์"คาดลงนามเดือนต.ค.

กรุงเทพธุรกิจ - นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค รักษาการอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า คณะเจรจาเขตการค้าเสรีเอฟทีเออาเซียนและอินเดีย จะประชุมระหว่างวันที่ 21-22 พ.ค. 2552 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ซึ่งจะเป็นการประชุมสรุปขั้นสุดท้าย เพื่อแก้ไขกำหนดการลดภาษีใหม่และถ้อยคำของร่างความตกลงการค้าสินค้าให้สอดคล้องกัน โดยทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าหมายจะลงนามความตกลงและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (เออีเอ็ม) ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนส.ค. นี้ แต่หากดำเนินการกระบวนการภายในประเทศเสร็จไม่ทัน ก็จะลงนามในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือน ต.ค. แทน

การประชุมครั้งนี้ จะเป็นเพียงการแก้ไขกำหนดการลดภาษี ซึ่งเดิมกำหนดให้ลดภาษีกันตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2552 แต่การลงนามไม่เป็นไปตามแผน เพราะอินเดียขอให้ผ่านช่วงเลือกตั้งของเขาไปก่อน ซึ่งจะเปลี่ยนไปเริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 จึงต้องปรับปรุงร่างเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง ก่อนที่แต่ละประเทศจะนำไปดำเนินการขอความเห็นชอบให้มีการลงนามต่อไป ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเสนอให้รัฐบาลและรัฐสภา รับทราบการแก้ไขเอกสารจากเดิมที่รัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อเดือนม.ค. 2552” นางนันทวัลย์ กล่าว

ทั้งนี้ เอฟทีเออาเซียน-อินเดีย จะช่วยขยายโอกาสการส่งออกสินค้าของไทยไปอินเดีย ได้หลากหลายเพิ่มเติมจากการเปิดเสรีสินค้าบางส่วน 82 รายการ ภายใต้กรอบไทย-อินเดีย (Early Harvest Scheme) สินค้าไทยที่คาดว่าจะส่งออกไปอินเดียมากขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มูลค่าการค้าไทย-อินเดียพุ่งสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.5 แสนล้าน ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ตามที่ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าหมายไว้

ทั้งนี้ การค้าไทย-อินเดียในปีที่ผ่านมามีมูลค่า 1.99 แสนล้านบาท โดยไทยส่งออกมูลค่า 1.12 แสนล้านบาท และนำเข้า 8.68 หมื่นล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนหน้า 22% ส่วนการค้าไทย-อินเดียในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 มีมูลค่า 46,480 ล้านบาท ขยายตัว 5.4% โดยไทยส่งออก 29,889 ล้านบาท และนำเข้า 16,591 ล้านบาท

อินเดียเป็นตลาดใหม่ที่เป็นความหวังการส่งออกของไทย โดยปริมาณการส่งออกในปีนี้ลดลงในช่วงแรก ก่อนที่อัตราการขยายตัวจะติดลบน้อยลง และการส่งออกล่าสุดในเดือนเม.ย.กลับมาขยายตัวในอัตรา 4.4% ขณะที่การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) มีมูลค่า 857 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 11.5%

ต่างประเทศ

"ซู จี" ถูกพิจารณาคดีลับอีกฝรั่งเศสกลัวกระทบ"โทเทล"

คมชัดลึก - รัฐบาลทหารพม่าได้กลับมาพิจารณาคดีนางออง ซาน ซู จี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและแกนนำเรียกร้องประชาธิปไตย วัย 63 ปี เป็นการลับอีกครั้งในวันพฤหัสบดี (21 พ.ค.) ซึ่งเป็นการพิจารณาคดีวันที่สี่ หลังจากยินยอมให้นักการทูตและผู้สื่อข่าวเข้ารับฟังการพิจารณาคดีได้เมื่อวันพุธเพียงวันเดียว ทั้งยังยอมให้นางซู จีได้พบปะพูดคุยกับทูตไทย สิงคโปร์ และรัสเซียอีกด้วย

นายอ่อง จ่อ บรรณาธิการนิตยสารอิระวดี ซึ่งเป็นนิตยสารออนไลน์ของนักข่าวพม่าในไทย กล่าวว่า เชื่อว่าการที่ศาลอนุญาตให้ผู้สื่อข่าวและนักการทูตต่างชาติเข้าไปชมการพิจารณาคดีในวันพุธได้ เป็นความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนความเห็นของนานาชาติต่อรัฐบาลทหาร พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลก็เคยทำทีเหมือนจะยอมอ่อนข้อให้การเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยมาแล้ว เพียงเพื่อจะถอยหลังกลับไปอีกเมื่อความสนใจของโลกมุ่งไปที่อื่นแทน

ในการพิจารณาคดีวันที่สี่นั้น นางซู จีไม่ได้เข้าร่วมในช่วงเช้า ซึ่งเป็นขั้นตอนที่คณะอัยการส่งมอบหลักฐานเอาผิดนายจอห์น วิลเลียม เยต์ทอว์ ชายอเมริกันที่ว่ายน้ำไปบ้านของนางซู จี จนถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายเข้าเมืองเพราะไปเยี่ยมนักโทษโดยใช้วีซ่านักท่องเที่ยว และละเมิดกฎหมายท้องถิ่น ฐานว่ายน้ำในทะเลสาบอินยาอย่างผิดกฎหมาย

ด้านนักกฎหมายชั้นนำระหว่างประเทศเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไต่สวนในพม่าแบบเดียวกับรวันดา และอดีตประเทศยูโกสลาเวีย ที่มีการไต่สวนจนนำไปสู่การตั้งศาลพิเศษเพื่อดำเนินคดีต่อมา โดยระบุว่ารัฐบาลพม่าอาจก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการบังคับให้ชนกลุ่มน้อยย้ายถิ่นฐานกว่า 3,000 หมู่บ้าน ประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ ทารุณกรรมและล่วงละเมิดทางเพศด้วยความรุนแรง

ขณะที่นายแบกนารด์ คุชแนร์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส เตือนว่า ถ้ายุโรปออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อพม่าก็จะส่งผลกระทบหนักต่อ "โทเทล" บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส ที่เข้าไปทำธุรกิจอยู่ในพม่า และจะนำมาซึ่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อภูมิภาค

นายคุชแนร์กล่าวด้วยว่า เรื่องของโทเทลเป็นประเด็นที่ต้องมีการตัดสินใจในระดับประเทศ เพราะจะต้องมีการทบทวนสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าตัดการส่งก๊าซก็จะส่งผลต่อประชากรของพม่า ยังไม่รวมถึงประเทศไทย ซึ่งเป็นเส้นทางการส่งก๊าซจากพม่าด้วย แม้สถานการณ์ในพม่าจะเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ แต่ก็จะต้องมีการตัดสินใจอย่างระมัดระวัง ถ้าโทเทลถูกห้ามทำธุรกิจตามแหล่งก๊าซธรรมชาติในพม่า บริษัทของจีนก็รีบเข้าไปแทนที่ทันที

นักก.ม.ฮาร์เวิร์ดจี้ยูเอ็นไต่สวนพม่า

กรุงเทพธุรกิจ - วอชิงตัน - นักกฎหมายจากประเทศต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เรียกร้องคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ไต่สวนสถานการณ์ในพม่า ชี้รัฐบาลทหาร ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เหมือนในรวันดา และอดีตประเทศยูโกสลาเวีย

บรรดานักกฎหมายชั้นนำจากหลายประเทศ ได้เรียกร้องในนามคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ดำเนินการไต่สวนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่า เช่นเดียวกับที่ให้มีการไต่สวนสถานการณ์ในรวันดาและในอดีตประเทศยูโกสลาเวีย ที่นำไปสู่การตั้งศาลพิเศษและฟ้องร้องดำเนินคดีผู้นำประเทศ เนื่องจากการกระทำของรัฐบาลทหารพม่า อาจเข้าข่ายกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

รายงานเรียกร้องดังกล่าว จัดทำโดยคณะนักกฎหมาย ภายใต้การนำของนักกฎหมายชื่อดัง 5 คน รวมทั้ง นายริชาร์ด โกลด์สโตน จากแอฟริกาใต้ ที่เป็นอัยการคนแรก ในการพิจารณาคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา และการล่วงละเมิดต่างๆ ในอดีตประเทศยูโกสลาเวีย ระบุว่า ที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ต่อพม่า แม้ว่ารัฐบาลทหารพม่าจะกระทำการรุนแรงอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบต่อประชาชนในประเทศ

รายงานฉบับนี้ มาจากการวิจัยของคลินิกสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ที่อ้างเอกสารของยูเอ็นว่า รัฐบาลทหารพม่าได้บังคับให้มีการย้ายถิ่นฐานในประเทศมากกว่า 3 พันหมู่บ้าน ประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์ กระทำทารุณกรรมและล่วงละเมิดทางเพศอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ สมาชิกในสภาคองเกรสของสหรัฐ ยังเตรียมยื่นจดหมายถึงนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดี เพื่อเรียกร้องให้สหรัฐ ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ชาติสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ผลักดันให้ยูเอ็นเข้าไปไต่สวนเรื่องนี้

ทางด้านนายมาร์ก แคนนิง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำพม่า ซึ่งเป็น 1 ในนักการทูต 20 คนและผู้สื่อข่าวอีก 10 คน ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า ให้เข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีนางซู จี ในวันที่สาม ยืนยันว่า นางซู จี มีสุขภาพแข็งแรงดี และมีกำลังใจที่ดีเยี่ยม

นายแคนนิง กล่าวด้วยว่า นางซู จี ไม่ได้รับอนุญาตให้พบปะเป็นการส่วนตัวกับบรรดานักการทูต นางจึงได้แต่กล่าวขอบคุณบรรดานักการทูตกลางห้องพิจารณาคดี ที่เดินทางมาให้กำลังใจ และหวังว่าจะได้พบปะกับบรรดานักการทูตในสภาพที่ดีกว่านี้

อย่างไรก็ตาม วานนี้ (21 พ.ค.) รัฐบาลทหารพม่า ได้เปิดการพิจารณาคดีนางซูจี แบบปิดลับอีกครั้ง หลังจากยินยอมให้นักการทูตและผู้สื่อข่าวเข้าไปฟังการพิจารณาคดีได้เพียง 1 วัน ที่เรือนจำ อินเส่ง ใกล้กับนครย่างกุ้ง ซึ่งหลายคนมองว่า เป็นการอ่อนข้อให้กับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากนานาชาติ

แผนปิดเรือนจำกวนตานาโมส่อเค้าวืด

กรุงเทพธุรกิจ - วุฒิสภาสหรัฐ มีมติด้วยคะแนนเสียง 90 ต่อ 6 ปฏิเสธที่จะอนุมัติเงิน 80 ล้านดอลลาร์ตามคำร้องขอของนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดี ที่จะใช้ปิดเรือนจำของสหรัฐ ที่อ่าวกวนตานาโม โดยวุฒิสภาสหรัฐ เห็นชอบให้ตัดเงินดังกล่าวออกจากร่างกฎหมายงบประมาณ 91,300 ล้านดอลลาร์ ที่ใช้สนับสนุนการทำสงครามในอัฟกานิสถาน และอิรัก และห้ามรัฐบาลประธานาธิบดีโอบามา ใช้เงินจากแหล่งอื่น เพื่อนำตัวผู้ถูกคุมขัง 240 คนจากเรือนจำที่อ่าวกวนตานาโมมาคุมขังไว้ที่เรือนจำในสหรัฐ ทำให้นายโอบามา มีความยากลำบากขึ้นที่จะทำตามคำมั่นสัญญาว่าจะปิดเรือนจำกวนตานาโมภายในเดือน ม.ค.ปีหน้า

นักศึกษาเวเนฯ ประท้วงถูกตัดงบการศึกษา

กรุงเทพธุรกิจ - นักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยหลายพันคนในกรุงคาราคาส เมืองหลวงของเวเนซุเอลา ชุมนุมประท้วงการตัดงบประมาณสนับสนุนด้านการศึกษาของรัฐบาลภายใต้การนำของนายฮูโก ชาเวซ ประธานาธิบดีลงจากเดิมประมาณ 6% นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประท้วงยังแสดงความไม่พอใจที่นายชาเวซ พยายามหาทางปิดสถานีโทรทัศน์โกลโบวิชั่น ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งสุดท้ายในประเทศ ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของนายชาเวซ

ศาลสูง'กิมจิ' ตัดสินไฟเขียว 'การุณยฆาต'

ไทยโพสต์ - ศาลสูงเกาหลีใต้ยืนยันคำตัดสินตามศาลชั้นต้น อนุญาตให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจของหญิงผู้ป่วยสมองตายได้เป็นรายแรกของประเทศ

ศาลสูงเห็นชอบตามคำร้องของครอบครัวนางคิม ออคคยุง วัย 76 ผู้ป่วยที่นอนอาการโคม่ามาร่วมปี ที่ต้องการให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจเพื่อให้เธอจากโลกนี้ไปอย่างไม่ต้องทรมาน

เมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอดเครื่องช่วยหายใจผู้ป่วยหญิงรายนี้ได้ เนื่องจากร่างกายของเธอไม่สามารถตอบสนองใดๆ ได้มาตั้งแต่เดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ขณะที่ครอบครัวของผู้ป่วยก็เชื่อว่าตัวผู้ป่วยเองก็คงไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยเครื่องช่วยหายใจเช่นกัน

ต่อมาในเดือน ก.พ. ศาลอุทธรณ์ยืนยันคำตัดสินตามศาลชั้นต้น แต่คณะแพทย์ปฏิเสธและยื่นเรื่องให้ศาลสูงพิจารณา

ทั้งนี้ ศาลสูงลงความเห็นว่ากรณีของผู้ป่วยที่ร่างกายส่วนสำคัญต่อการมีชีวิตอยู่ถูกทำลายจนไม่สามารถใช้การได้แล้ว แม้จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องก็คงไม่เป็นผล รังแต่จะเป็นการรบกวนร่างกายคนไข้ซึ่งอาจถือเป็นการดูหมิ่นเกียรติและคุณค่าของคนไข้ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วย

นักจริยธรรมทางการแพทย์มองว่าประเด็นนี้ที่มีการถกเถียงกันมายาวนาน ชี้ให้เห็นถึงการขาดระบบควบคุมที่แน่ชัดว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าเมื่อใดจึงควรถอดเครื่องช่วยหายใจออกจากผู้ป่วยได้ และควรต้องทำอย่างไรจึงจะตรงตามความปรารถนาของผู้ป่วยมากที่สุด

ขณะที่นักวิจารณ์บางส่วนให้ความเห็นว่า เนื่องจากกรณีนี้ไม่มีเอกสารหลักฐานยืนยันความต้องการของผู้ป่วย และศาลเพียงแต่เห็นชอบตามคำขอของครอบครัวผู้ป่วย จึงเป็นการยากที่จะพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมได้ว่าตัวผู้ป่วยเองปรารถนาเช่นนั้นด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ดี ในระยะหลังกระแสสนับสนุนการกระทำการุณยฆาตแก่ผู้ป่วยนั้นเริ่มมีมากขึ้นในเกาหลีใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังกรณีการเสียชีวิตของพระคาร์ดินัลสตีเฟน คิม หลังเขาปฏิเสธไม่ใส่เครื่องช่วยหายใจ

ข่าวมอนิเตอร์ประจำวันที่ 21 พฤษภาคม 2552

ที่มา ประชาไท

การเมือง

อนุกกต.ขยายเวลาสอบยุบ ปชป.รอบ 3 รอเนวิน

เว็บไซต์ไทยรัฐ - นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าววันนี้ (20 พ.ค.) ว่า ที่ประชุม กกต. มีมติขยายเวลาให้อนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์และเครือข่าย ร้องขอให้กกต.ตรวจสอบข้อเท็จจริงและส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคออกไปอีก 15 วัน นับตั้งแต่ครบระยะเวลาที่ขอขยายครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2552 โดยจะครบกำหนดการขอขยายเวลาครั้งใหม่นี้ในวันที่ 30 พ.ค. 2552

เลขาธิการ กกต. กล่าวถึงสาเหตุการขยายเวลาดังกล่าวว่า เนื่องจากเลขาอนุกรรมการไต่สวนฯแจ้งว่าในช่วงการขอขยายเวลาครั้งที่2 ได้สอบปากคำพยานไปหลายปากแล้ว ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย นายสุวัจน์ ลิปปตพัลลภ อดีตแกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กรณีถูกกล่าวว่า เป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิแล้วยังเข้ายุ่งเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล แต่ยังเหลือพยานปากสำคัญ คือ นายเนวิน ชิดชอบ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย โดยนายเนวินสามารถชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือจะมาชี้แจงด้วยตนเองก็ได้ ซึ่งหากยังไม่เข้ามาชี้แจง ก็จะสรุปความเห็นเสนอกกต.พิจารณาต่อไป

หัวหน้า-เลขาฯ เพื่อไทยแถลงลาออกจากตำแหน่งแล้ว

เว็บไซต์แนวหน้า - เมื่อเวลา 14.00น.ที่พรรคเพื่อไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อม น.ส.สุนีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้ร่วมแถลงลาออกจากการเป็นกรรมการริหารพรรคเพื่อไทย โดย นายยุทธ กล่าวว่า ตั้งแต่พรรคพลังประชาชนถูกยุบและตนเข้ามาช่วยกันทำงานตลอดเวลา 7-8 เดือนที่ผ่านมา เห็นว่าถึงเวลาที่พรรคเพื่อไทยสามารถตั้งหลักและเดินหน้าทำงานต่อไปได้แล้ว รวมทั้งสถานการณ์ภายในพรรคนิ่งและสงบแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือควรจะมองไปข้างหน้ามองไปถึงการทำงานของสภาฯ จึงคิดว่าได้เวลาที่ต้องเปลี่ยนผ่านกรรมการบริหารชุดใหม่ โดยให้ผู้ที่เป็น ส.ส.เข้ามาเข้ามาหน้าที่แทน เพื่อให้การประสานต่างๆเป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตามตลอดเวลาที่ทำงานไม่ได้รู้สึกกดดันตรงข้ามกลับรู้สึกอบอุ่นและมีความสุขในการทำงานที่ไม่เคยทำมาก่อน และถึงแม้จะลาออกก็ยังช่วยทำงานในด้านอื่นๆ ต่อไปได้

นายยงยุทธ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ ต้องบอกว่าถึงแม้อดีตนายกฯจะเป็นที่รักของพวกเรา แต่ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ หรือแม้แต่บุคคลภายนอกไม่ได้เข้ามามาแทรกแซงหรือเกี่ยวข้องกับการเลือกหัวหน้าพรรคแน่นอน เพราะการพิจารณาถือเป็นเรื่องภายในที่ต้องเป็นไปตามมติของพรรคและตามข้อกำหนดของ กกต.ที่สำคัญคือต้องมีความโปร่งใส โดยการลงคะแนนลับแต่โหวตเปิดเผย

ด้าน น.ส.สุนีย์ กล่าวเสริมว่า การตัดสินใจลาออกเพราะเห็นว่าพรรคมี ส.ส.ที่สามารถทำงานได้ จึงเห็นว่าควรจะพิจารณาให้มีการเลือกกรรมการบริหารใหม่ โดยผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรคฯ จะต้องทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาฯควบคู่ไปกับการบริการงานในพรรคให้เป็นไปโดยสมบูรณ์แบบ

“สมชาย” ปัด “ทักษิณ” ไฟเขียวนัง หน.พรรค ย้ำพร้อมรับ หากเป็น มติ พรรค

เว็บไซต์แนวหน้า - พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส. นครราชสีมา พรรคเพื่อไทยและผู้ได้รับการคาดหมายเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ เปิดเผยว่า คงเป็นข่าวลือ ก็ว่ากันไป ร่วมทั้ง ตนยังไม่เคยคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่ในแนวทางจะเลือกหัวหน้าพรรค เป็นหน้าที่ของที่ประชุมส.ส.พรรคในการเสนอชื่อที่เห็นว่าเหมาะสมเข้าสู่ที่ประชุมก่อนที่จะลงมติเลือกซึ่งภายในพรรคเพื่อไทยก็มีผู้ที่เหมาะสมหลายคน ทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.ของพรรค พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี หากเสนอชื่อตนเป็นหัวหน้า ก็คงว่ากันไปตามที่ประชุมพรรคจะมีมติอย่างไร

รัฐเล็งขอเพิ่มวันถกงบ-พรก.กู้เงิน เข้มพรรคร่วมห้ามโดดร่ม

เว็บไซต์ไทยรัฐ - เมื่อเวลา 11.50 น.วันนี้ (20 พ.ค.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเรื่องการเปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณา พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ว่า การเปิดประชุมสภาเรื่อง พ.ร.ก.ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ต้องให้ศาลวินิจฉัยจบก่อน ซึ่งศาลจะให้มีการพิจารณาในรัฐสภาโดยเร็ว ตรงนี้อาจไม่ทันการประชุมสภาเนื่องจากจะปิดการประชุมวันที่ 21 พ.ค. ฉะนั้นต้องพิจารณาในวันที่เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณางบประมาณราย จ่าย ปี 53 ซึ่งรัฐบาลกำหนดไว้วันที่ 17 - 1819 มิ.ย.แต่หากมีเรื่อง พ.ร.ก.และ พ.ร.บ.เงินกู้ก็อาจจะขยายเวลาออกไป ทั้งนี้รัฐบาลได้แจ้ง ส.ส.และพรรคร่วมรัฐบาลแล้วว่า ในช่วงวันดังกล่าวขอให้งดการเดินทางไปต่างประเทศและภารกิจ เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมาโหวตส่วนกรณีการประชุมทีมเศรษฐกิจนัดพิเศษ จะเตรียมออก พ.ร.บ.ฉบับใหม่ไหมนั้น

นายสาทิตย์ กล่าวว่า หลักใหญ่ของนายกรัฐมนตรีไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.หรือ พ.ร.ก.ก็ดี โดยปกติในรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าจะเอาไปใช้จ่ายอะไร กี่โครงการ แต่นายกรัฐมนตรีต้องการแสดงความโปร่งใสให้ประชาชนให้สภาได้รับทราบว่าเงินจำ นาน 2 แสนล้าน หรือจะเป็น 4 แสนล้าน จะเอาไปสร้างโรงพยาบาลกี่แห่ง สร้างถนนกี่เส้น สะพานกี่ที่ ลงทุนจ้างงานแล้วคนจะมีงานเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ นี่คือต้องไปทำรายละเอียด นี่คือความโปร่งใสที่รัฐบาลต้องการแสดงให้ประชาชนและสภารับทราบ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เหนื่อย เพราะเท่ากับเรื่องการทำบัญญัติงบประมาณ

ส่วนการที่พ.ร.ก.กู้เงินล่าช้าออกไป จะกระทบแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองหรือไม่นั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า ประชาชนต้องการให้มีการแก้ปัญหาแบบชะลอมากกว่านี้ไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ ตอนนี้เรื่องการจ้างงานเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลกังวลเพราะตรงนี้เป็น งบจ้างงานเป็นหลัก เป็นงบลงทุนและทำให้โครงสร้างพื้นฐาน ทุกอย่างดีขึ้น และผลคือการจ้างงานและการใช้จ่ายภายในประเทศ นี่คือเรื่องหลักที่รัฐบาลคิด

กก.สลายม็อบติดใจ ผู้นำเหล่าทัพ เบี้ยวแจงแตกอนุฯ 7 ชุด ให้ ส.ว.เป็นประธาน

เว็บไซต์แนวหน้า - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในช่วงบ่าย คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมือง ที่มีนายสมศักดิ์ บุญทอง เป็นประธาน ได้ประชุมเพื่อตั้งอนุกรรมการฯ ขึ้นมา 7 ชุด โดยมี ส.ว.เป็นประธาน และอนุกรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล รวมทั้งคนนอกชุดละไม่เกิน 15 คน โดยให้ประธานเป็นผู้สรรหา ทั้งนี้อนุกรรมการฯ ทั้ง 7 ชุดประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ชุมนุมที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล ประกอบด้วย พล.ต.ท. พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ส.ว.อุดรธานี เป็นประธาน 2. คณะอนุฯรวบรวมเหตุการณ์พัทยา และภูมิภาค มีนายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ ส.ว. สรรหา เป็นประธาน 3. คณะอนุฯรวบรวมเหตุการณ์ที่กระทรวงมหาดไทยและศาลรัฐธรรมนูญ มีนางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ เป็นประธาน

4. คณะอนุฯรวบรวมเหตุการณ์ที่สามเหลี่ยมดินแดง ผู้เสียชีวิต 2 ศพที่พบในแม่น้ำเจ้าพระยา กรณีการเสียชีวิตของพลหทารอภินพ เครือสุข กรณีรถแก๊ส และรถเมล์ มีพล.ต.ต. สุเทพ สุขสงวน ส.ว.สรรหา เป็นประธาน5. อนุฯรวบรวมเหตุการณ์นางเลิ้ง เพชรบุรี ซ.5-ซ.7 ยมราช อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และกรณีเตรียมเผาธนาคารกรุงเทพ และอื่น มีนายสุวิทย์ เมฆเสรีกุล ส.ว. สมุทรสาคร เป็นประธาน 6.คณะอนุฯเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น มีนายสิงห์ชัย ทุ่งทอง ส.ว. อุทัยธานี เป็นประธาน และ 7.คณะอนุฯสรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อเสนอแนะ มีนายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว. มหาสารคาม เป็นประธาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังประธานอนุฯ ที่ได้รับแต่งตั้งในวันนี้ไปคัดเลือกคณะอนุฯครบเรียบร้อยแล้ว จะนำรายชื่อมาให้ประธานลงนามในวันที่ 21 พ.ค.นี้ จากนั้นจึงจะเริ่มลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูล และข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่างๆ ก่อนจะนำมาเสนอในที่ประชุมใหญ่นัดแรกในวันที่ 4 มิ.ย. เวลา 10.00 น. และจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 11 มิ.ย. และ 18 มิ.ย. ซึ่งจะครบรอบอายุการทำงาน45วัน ของคณะกรรมการฯ จากนั้นจะมีการสรุปข้อเท็จจริงในที่ประชุมใหญ่ก่อนจะนำเสนอต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาต่อไป อย่างไรก็ตามหากคณะกรรมการไม่สามารถที่จะรวบรวมข้อเท็จจริงได้ทันตามกรอบเวลาดังกล่าว ก็อาจเสนอขอขยายระยะเวลาในการทำงานออกไปได้

รายงานข่าวจากคณะกรรมการฯ แจ้งว่า จากการเชิญตัวแทนผู้เกี่ยวข้องส่วนต่างๆ เข้าให้ข้อมูลกับคณะกรรมการฯ ตลอดช่วง 3 วันที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ส่วนใหญ่ไม่พอใจที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้บัญชาการทหารระดับสูง ไม่ว่าจะเป็น ผบ.ทหารสูงสุด ผบ.ทบ. และผบ.ตร ซึ่งไม่ยอมมาให้ข้อมูลด้วยตัวเอง โดยอ้างว่าไม่สามารถมาให้ข้อมูลไม่ได้เนื่องจากมีภารกิจมาก หากต้องการข้อมูลใดก็ให้ทางคณะกรรมการฯ ทำหนังสือขอไปยังหน่วยงานนั้นๆ โดยจะขอส่งคำชี้แจงที่เป็นเอกสารมาให้ ซึ่งเกรงว่าจะทำให้ไม่ทราบข้อมูลการสั่งการที่เป็นจริงทั้งหมด นอกจากนี้คณะกรรมการฯ มีความสนใจในประเด็นของนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช. ที่ถูกควบคุมตัวไปโดยไม่มีหมายจับและขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน รวมทั้งได้รับข้อมูลว่าจากแพทย์ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวภรรยาของนายอริสมันต์แท้งบุตรจริง

โฆษกทบ.ป้องนาย ส่งลูกน้องเคลียร์ ไม่ได้หนีแจงสลายแดง

เว็บไซต์ไทยรัฐ - พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก กล่าววันนี้ (20 พ.ค.) กรณี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระบุว่าทหารแฝงตัวเป็นคนเสื้อแดงเทียม เพื่อสร้างสถานการณ์เหตุวุ่นว่ายช่วง 13 -14 เม.ย. ว่า ทหารมีหน้าที่ประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้รุนแรง เจ้าหน้าที่ทำทุกวิธีให้ทุกอย่างสงบโดยเร็ว และไม่ให้ประชาชนบาดเจ็บหรือหากบาดเจ็บก็ให้น้อยที่สุด นี่คือนโยบายที่ผู้บังคบบัญชามอบ ไม่มีการปลอมปนของทหารไปสร้างความวุ่นวายแน่นอน

“ที่ผ่านมากองทัพ ชี้แจงมาตลอด สื่อมวลชนก็อยู่ในพื้นที่การตรวจสอบ กองทัพพร้อมให้การตรวจสอบ ส่วนการที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ไม่ได้ไปชี้แจงเหตุการณ์ด้วยตนเอง เพราะท่านอยู่ในห้องประชุมรับฟังนโยบาย และมอบนโยบายให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติ ดังนั้น การที่จะให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการดีที่สุด ก็ต้องให้ผู้แทนกองทัพที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ไปชี้แจงแทน เพื่อให้ชี้แจงคณะกรรมการในทุกเรื่อง เพราะเขาเป็นผู้รับนโยบายและเป็นผู้ปฏิบัติ หากผู้บัญชาการทหารบกไปเอง คงไม่สามารถชี้แจงในรายละเอียดการปฏิบัติได้ เพราะอยู่ในห้องประชุมตลอด” โฆษกกองทัพบก กล่าว

เมื่อถามว่า พรรคเพื่อไทยระบุว่า พล.อ.อนุพงษ์ ไม่จริงใจในการให้ข้อเท็จจริง พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องไม่จริงใจในการแก้ปัญหา แต่ พล.อ.อนุพงษ์ คำนึงถึงการให้ข้อมูล เพราะหากผู้บัญชาการทหารบกไปเอง คงให้ข้อมูลในระดับพื้นที่ไม่ได้มาก เพราะเป็นระดับนโยบายสั่งการให้ผู้ปฏิบัติไปดำเนินการ ผู้แทนที่ไปชี้แจงเป็นระดับรองแม่ทัพภาคที่ 1 รับอำนาจสั่งการมาจากแม่ทัพภาคที่ 1 ในการสั่งผู้บังคับกองพลและผู้บังคับกองพันในหน่วยปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ที่ทราบข้อมูลการปฏิบัติอย่างดี เมื่อถามว่า นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำ นปช.ระบุว่า เหตุรุนแรงที่ อ.พัทยา จ.ชลบุรี เป็นฝีมือของกลุ่มคนเสื้อสีนำเงินของนายเนวิน ชิดชอบ อดีต กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ร่วมมือกับทหารบางส่วนสร้างความรุนแรง พ.อ.สรรเสริญ กล่าวว่า เป็นเรื่องการเมืองของพรรคการเมืองคิดและเป็นมุมมองของแต่ละคน แต่กองทัพมีหน้าที่ชี้แจงข้อเท็จจริงและทำตามกรอบนโยบายที่ได้รับให้เกิดผล โดยต้องไม่ให้มีผู้บาดเจ็บ การที่คิดเช่นนั้นเป็นเรื่องมุมมองแต่ละคน

แพทย์ 4 รพ. ยืนยันเหตุสลายม็อบเสื้อแดงไร้ผู้เสียชีวิต

เว็บไซต์เดลินิวส์ - วันนี้ (20 พ.ค.) ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าของคณะทำงานว่า จากการรับฟังคำชี้แจงจากรัฐบาล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ได้ให้ข้อเท็จจริงมาแล้วบางส่วน โดยช่วงบ่ายวันนี้ คณะกรรมการได้เชิญตัวแทนจากโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ได้แก่ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลศิริราช และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน มาให้ข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้ทราบว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์หรือไม่

นพ.นำชัย คุณธารากรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารผ่านศึก ชี้แจงว่า ทางโรงพยาบาลได้รับการรักษากลุ่มผู้ชุมนุมและทหาร ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างต่ำเช่น อาวุธปืน 9 มม. แต่ไม่ได้สอบถามผู้บาดเจ็บว่าใครเป็นผู้ทำร้ายและใส่เสื้อสีอะไร ซึ่งทหารส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ 18 ราย มาจากกองทัพภาคที่ 2 จ.ปราจีนบุรี ส่วนผู้ชุมนุมที่เข้ารับการรักษามีจำนวน 3 ราย ขณะนี้ยังเหลือรักษาตัวอยู่ที่รพ.1ราย อย่างไรก็ตาม จากการสลายการชุมนุมไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิต มีเฉพาะผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 138 คน

จากนั้น นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมการตรวจสอบ ได้ซักถาม ว่า กระสุนที่พบในระหว่างการรักษาได้มาจากร่างกายผู้บาดเจ็บหรือสถานที่เกิดเหตุ อีกทั้งกระสุนดังกล่าวเป็นกระสุนปลอมหรือกระสุนจริง ซึ่งนพ.นำชัย ชี้แจงว่า ไม่พบเป็นกระสุน แต่พบเป็นเศษโลหะพร้อมเขม่าบนร่างกาย ซึ่งไม่คิดว่าเป็นอาวุธสงคราม เนื่องจากถ้าเป็นอาวุธสงครามจริง บาดแผลเข้าจะต้องมีรูเล็กและด้านทะลุออกจะต้องมีรูใหญ่ และกระดูกต้องแตกละเอียด

ด้าน พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ถามว่า การเสียชีวิตของพลทหารอภินพ เครือสุข ในบ้านพักแม่ทัพภาค 1 มีสาเหตุมาจากอะไรและมีบาดแผลที่มือหรือส่วนอื่น ๆ บนร่างกายหรือไม่ ขณะที่นายบรรจบ รุ่งโรจน์ กรรมการตรวจสอบ ถามว่า เหตุใดการเสียชีวิตของพลทหารอภินพในใบมรณะบัตรจากโรงพยาบาลรามาธิบดีจึงระบุว่า เสียชีวิตจากการคอหัก ซึ่งต่างจากข้อสรุปของโรงพยาบาลศิริราช

นพ.วิชาญ เปี้ยวนิ่ม แพทย์นิติเวช จากโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สาเหตุการเสียชีวิตมาจากกะโหลกศีรษะด้านซ้ายบริเวณท้ายทอยแตกร้าวไปจนถึงกระดูกสันหลัง มีเลือดออกเยื่อหุ้มสมองด้านนอก 2 มม.ก้อนเลือดกดสมอง ซึ่งเป็นอันตรายต่อศีรษะ

นพ.นิติกร โปริสวาณิชย์ แพทย์นิติเวช โรงพยาบาลศิริราช กล่าวเสริมว่า กรณีพลทหารอภินพที่ได้ขอให้มีการตรวจสอบเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลรามาธิบดีนั้น เป็นการร้องขอจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่งทางโรงพยาลไม่ได้ชันสูตรพลิกศพเพิ่มเติมใหม่ แต่เป็นการตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเท่านั้น ซึ่งการตรวจสอบส่วนใหญ่ตรงกับนพ.วิชาญ ส่วนที่ระบุว่าคอหัก ตนเห็นว่านพ.วิชาญได้ชี้แจงจนกระจ่างแล้ว ส่วนข้อซักถามถึงสาเหตุการตายที่ผิดปกติ เราไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ชี้แจงตรงนั้น แต่ทราบว่าได้รับอันตรายอย่างรุนแรงบริเวณต้นคอ ทั้งนี้คงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเกิดจากอะไร ซึ่งอาจเกิดจากของแข็งไปกระทบต้นคอ หรือต้นคอมากระทบของแข็งก็ได้ สำหรับเรื่องนี้ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตาม การตรวจทางนิติเวชเราบอกได้ว่าเกิดจากอะไร

ด้านนายเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามว่า กรณีที่มีผู้ชุมนุมไปปิดล้อมโรงพยาบาลราชวิถี เพื่อทวงศพผู้เสียชีวิต อยากทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นพ.ชาตรี เจริญชีวกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศูนย์นเรนทร) กล่าวว่า ในฐานะที่อยู่ในเหตุการณ์ขอชี้แจงว่า เกิดจากความเข้าใจผิดกรณีนายไสว ทองอุ้ม ที่ถูกยิงหน้าอกซ้ายมีเลือดออกและมีคนนำตัวส่งโรงพยาบาลเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกตัญญูคิดว่านายไสวเสียชีวิตแล้ว เนื่องจากหมดสติไป จึงขึ้นเวที นปช.และประกาศว่ามีคนตาย แต่แพทย์ได้ปั๊มหัวใจและช่วยชีวิตไว้ได้ทัน และตนได้พาตัวแทนกลุ่มนปช.ที่มาปิดล้อมเข้าไปพิสูจน์ว่ายังไม่เสียชีวิต ซึ่งเมื่อพบว่านายไสวยังพูดได้ ตัวแทนก็กลับไปบอกผู้ชุมนุมให้สลายตัว ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ตนยืนยันว่าไม่มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากตนอยู่ในเหตุการณ์ด้วยและยืนยันว่าไม่มีการซ่อนศพแต่อย่างใด

“สนธิ” เผยถูกดิสเครดิต ลั่นทวงบุญคุณ ปชป.

เว็บไซต์ - เมื่อเวลา 12.41 น.ที่ผ่านมา (20 พ.ค.) เว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ ได้ลงบทสัมภาษณ์ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ออกมากล่าวตำหนิการนำเสนอบทความของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก กรณีกล่าวอ้างว่า พันธมิตรฯ ได้วางตัวบุคคลที่จะนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีไว้ทั้งหมดแล้ว โดย นายสนธิ เชื่อว่า คนที่เป็นต้นตอของข่าวน่าจะเป็นคนในพรรคประชาธิปัตย์ ที่หวังดิสเครดิตพันธมิตรฯ อย่างไรก็ตามยังยืนยัน พันธมิตรฯ เป็นมิตรกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ผ่านมาไม่เคยทวงบุญคุณแต่วันนี้อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้คำนี้

นายสนธิ ยังกล่าวถึงความชัดเจนในการตั้งพรรคการเมืองว่า จะต้องถามเสียงของประชาชน ประชาชนจะต้องมีส่วนรู้เห็น แกนนำพันธมิตรฯ ยังไม่เคยมีการหารือในเรื่องการตั้งพรรค เป็นการถามตอบก่อนจะถามเสียงของประชาชน ส่วนตัวยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะเข้าไปมีตำแหน่งหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังไม่ได้คิด ซึ่งความชัดเจนในเรื่องการตั้งพรรคนั้นจะต้องรอที่ประชุมพันธมิตรฯ ในวันที่ 24-25 พ.ค.นี้

นอกจากนี้ นายสนธิ ยังกล่าวตำหนิหนังสือพิมพ์คมชัดลึกที่นำเสนอบทความ โดยเชื่อมีการรับงาน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประชาชนจับตาหนังสือพิมพ์คมชัดลึก และสื่อในเครือเนชั่น เคยคิดว่าคมชัดลึก เป็นหนังสือพิมพ์ที่ใช้ได้ แต่ปรากฏว่า เขียนข่าวเชิงวิเคราะห์ออกมาแบบนี้ เริ่มจะต้องทบทวนว่า บทบาทของคมชัดลึกแท้ที่จริงแล้วเป็นอย่างไร

เศรษฐกิจ

สำนักงานสลากฯ เดินหน้าออกหวยออนไลน์

เว็บไซต์คมชัดลึก - หลังจากมีข้อถกเถียงจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับโครงการสลากกินแบ่งรัฐบาล 2 ตัว 3 ตัว ที่จำหน่ายด้วยเครื่องอัตโนมัติ หรือ หวยออนไลน์ ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลชี้แจงถึงการเดินหน้าโครงการดังกล่าวแล้ว ซึ่งสามารถใช้อำนาจของสำนักงานสลากฯ เดินหน้าได้ โดยไม่ต้องนำเรื่องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบความชัดเจนอีกครั้ง เพราะโครงการดังกล่าวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จากนั้นจะส่งเรื่องกลับไปยังสำนักงานสลากฯ เพื่อเดินหน้าโครงการหวยออนไลน์ต่อไป

ด้าน นายวันชัย สุระกุล ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า หลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า การดำเนินโครงการหวยออนไลน์เป็นอำนาจของสำนักงานสลากฯ สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องรอให้ ครม.อนุมัติ ทางสำนักงานสลากฯ จึงทำหนังสือชี้แจงมายังกระทรวงการคลังว่า ในเมื่อกฎหมายให้อำนาจสำนักงานก็จะเดินหน้าเรื่องดังกล่าว โดยหากกระทรวงการคลังไม่ขัดข้องและส่งหนังสือกลับมาก็จะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสลากฯ ปลายเดือนพฤษภาคมนี้ หรือต้นเดือนมิถุนายน เพื่อพิจารณารายละเอียดโครงการอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้บอร์ดอนุมัติในหลักการไปแล้ว โดยอาจจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมถึงเกมรูปแบบการเล่นและการเงินรางวัล หลังจากนั้นคาดว่าจะดำเนินการออกหวยได้ภายใน 45 วัน หรือประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมปีนี้

นอกจากนั้น ในการประชุมบอร์ดจะมีการพิจารณาเรื่องการต่อสัญญากับตัวแทนจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่คั่งค้างมานานด้วย โดยระหว่างนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบตัวแทนจำหน่ายส่วนที่รับไปแล้วไม่ได้นำไปจำหน่ายเอง แต่นำไปจำหน่ายต่อให้รายย่อย หรือกลุ่มที่ขายเดินราคา หากพบจะไม่ต่อสัญญากับกลุ่มหรือบุคคลดังกล่าว และยึดโควตาไปให้รายอื่นแทน แต่จะเป็นในกลุ่มเดียวกันคือนิติบุคคล รายย่อย หรือสมาคม ซึ่งสัดส่วนของแต่ละกลุ่มยังไม่เปลี่ยนแปลงจากจำนวนสลากรวม 46 ล้านฉบับต่องวด และเป็นของกลุ่มนิติบุคคลมากที่สุด

ที่ผ่านมายอมรับว่ามีตัวแทนประเภทที่ทำตัวเป็นเสือนอนกินเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีรายย่อยมารับซื้อสลากไปจำหน่ายต่อจำนวนมาก กลุ่มนี้จึงได้ส่วนต่างโดยไม่ต้องทำอะไร และเมื่อรับไปขายหลายทอดทำให้สลากขายเกินราคาที่กำหนด จึงต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว คาดว่าน่าจะลงนามในสัญญาตัวแทนจำหน่ายสลากได้ภายใน 6 เดือนนายวันชัย กล่าว

ส่วนการดึงเงินจากการจำหน่ายหวยบนดินเดิมประมาณ 1.7 หมื่นล้านบาท เข้าคลังนั้น จากที่ตรวจสอบในแง่กฎหมายน่าจะสามารถดึงมาใช้ได้โดยไม่ต้องออกกฎหมายใหม่ คาดว่าจะดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 2552 ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงที่ยังไม่สามารถกู้เงินได้ตามกฎหมายใหม่ ทั้ง พ.ร.ก.และ พ.ร.บ.ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 8 แสนล้านบาท

4 กลุ่มธุรกิจออสเตรเลียบุกไทย สนลงทุนผลิตไฟฟ้า-เหมืองแร่

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ - นายเกียรติ สิทธีอมร ผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) เปิดเผยว่ามีนักธุรกิจ 4 กลุ่มจากรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ได้เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 1.กลุ่มที่สนใจลงทุนผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น ไบโอแมส 2.กลุ่มที่สนใจลงทุนด้านขนส่งระบบราง ซึ่งนักธุรกิจออสเตรเลียแจ้งว่าถ้ารัฐบาลพร้อมเมื่อใดจะเข้ามาลงทุนทันที

3.กลุ่มธุรกิจเหมืองแร่ ต้องการให้ไทยมีมาตรการภาษีจูงใจการลงทุนมากขึ้น และ 4.กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและที่พักผู้เกษียณอายุ ซึ่งนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่าไทยมีระบบสาธารณสุขที่ดีและค่ารักษาพยาบาลไม่สูง แต่มีความพร้อมที่จะรับผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ที่ผ่านมามี ชาวญี่ปุ่น ที่เกษียณอายุเข้ามาอาศัยในไทยจำนวนมากและตั้งเป็นชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

“นักธุรกิจออสเตรเลียยังได้สอบถามถึงสถานการณ์การเมืองของไทย แต่นายกฯ ชี้แจงว่ารัฐบาลพยายามนำปัญหาเข้าหารือในรัฐสภา และสร้างบรรยากาศการลงทุนจากต่างประเทศ หากนักธุรกิจออสเตรเลียมีข้อเสนอหรืออุปสรรคการลงทุนสามารถแจ้งให้รัฐบาลทราบ เพื่อหาทางแก้ปัญหา”

นายเกียรติ กล่าวว่าการลงทุนจากออสเตรเลียที่ผ่านมามีไม่มาก แต่ช่วงนี้มีนักธุรกิจที่ต้องการเตรียมความพร้อมเพื่อไปลงทุนในต่างประเทศ ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-ออสเตรเลียให้สิทธิพิเศษลงทุนในหลายธุรกิจ เช่น การศึกษา ก่อสร้าง เหมืองแร่ ขณะเดียวกันทีทีอาร์ มีแผนจะหารือกับรัฐบาลออสเตรเลียเพื่อลดปัญหาอุปสรรคการค้าและการลงทุนระหว่างกัน เช่น กฎระเบียบการส่งพ่อครัวไทยไปทำงานร้านอาหารไทยในออสเตรเลีย หรือเงื่อนไขที่ออสเตรเลียกำหนดให้ลำไยส่งออกจากไทยต้องติดฉลากที่ก้านและกำหนดความยาวก้าน

ด้าน นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า คณะนักธุรกิจจากรัฐควีนส์แลนด์ ได้สอบถามบีโอไอเกี่ยวกับลู่ทางการลงทุนในไทย โดยบริษัท Winning Yatchs ดำเนินธุรกิจผลิตเรืออะลูมิเนียม สนใจร่วมลงทุนผลิตเรืออะลูมิเนียมในไทย แล้วส่งกลับไปขายที่ออสเตรเลีย ซึ่งบีโอไอจัดให้บริษัทออสเตรเลียทั้งหมดพบปะกับผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน การหารือกับบีโอไอยังไม่ได้ระบุถึงวงเงินลงทุน แต่เชื่อว่านักธุรกิจกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเข้ามาลงทุนในไทยสูง

นอกจากนี้ บริษัท W 2 POWER ซึ่งดำเนินธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ สนใจที่จะลงทุนผลิตไฟฟ้าในไทย ซึ่งบีโอไอได้จัดให้บริษัทหารือการลงทุนกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมทั้งยังมีนักธุรกิจที่สนใจลงทุนผลิตรถบรรทุกแช่แข็งสินค้า และธุรกิจจัดฝึกอบรมบุคลากรดูแลผู้สูงอายุ โดยปลายเดือน ก.ค.นี้ บีโอไอจะจัดโรดโชว์กิจกรรมชักจูงการลงทุนที่ออสเตรเลียอีกครั้ง

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวหลังนายแมค ฮาร์บ วุฒิสมาชิกแคนาดาในฐานะที่ปรึกษาของบริษัทเซาท์อีสต์ เอเชีย ไมนิ่งคอร์ป ได้นำนักธุรกิจเหมืองแร่เข้าพบว่า ได้เข้าพบหารือเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่และการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในไทย และสนใจที่จะเข้ามาลงทุนสำรวจศักยภาพการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีแหล่งในจังหวัดเลย พิจิตร เพชรบูรณ์ และจังหวัดปราจีนบุรี

ปัจจุบันนักธุรกิจแคนาดาได้ร่วมทุนกับคนไทยยื่นขออาชญาบัตรสำรวจแร่ตะกั่วและแร่สังกะสี ที่จังหวัดกาญจนบุรี ชื่อบริษัทจีโอไทย อยู่แล้ว 4-5 แปลงพื้นที่ 20,000 ไร่ โดยได้ยื่นขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคำขอและพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ ว่าจะอนุญาตให้เข้าสำรวจแร่ได้หรือไม่

คุณภาพชีวิต

ผลสำรวจชี้รากหญ้าแบกหนี้อ่วม2.1แสนบ.ต่อคน

เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ - นายเกรียงศักดิ์ บุณยะสุต รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในฐานะโฆษกกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลสถานภาพหนี้ของภาคประชาชนระดับฐานรากหรือผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ครู สหกรณ์คนขับแท็กซี่ คนขับสามล้อ วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์เดินรถ จำนวน 4,958 ตัวอย่างทั่วประเทศร่วมกับ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า สมาชิกสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ 94.57% มีภาระหนี้สิน โดยมีเพียง 5.43% เท่านั้นที่ไม่มีหนี้

ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะมีหนี้สินประมาณ 2.1 แสนบาท แบ่งเป็นหนี้ในระบบ 66.70% และหนี้นอกระบบ 33.30% โดยสาเหตุการก่อหนี้ส่วนใหญ่มาจากการขอกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อการลงทุน และเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าแนวโน้มการก่อหนี้นอกระบบเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ขับรถแท็กซี่ 75 % ระบุว่าจะมีภาระหนี้นอกระบบในอีก 1 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้น รองลงมาคือคนขับสามล้อ 64.29% เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่สามารถกู้เงินในระบบได้จากหลายสาเหตุเช่น หลักทรัพย์ค้ำประกันไม่น่าเชื่อถือ และการงานที่ไม่แน่นอน

“ผลการสำรวจพบอีกว่า ประชาชนระดับฐานรากประมาณ 70% มีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย โดยกลุ่มตัวอย่างระบุว่า เกิดจากราคาสินค้าและราคาน้ำมันที่แพงขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้มีภาระหนี้ส่วนใหญ่ 72.80% ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา” นายเกรียงศักดิ์กล่าว

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวอีกว่า ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์หนี้ของภาคครัวเรือนระดับฐานรากมีแนวโน้มประสบปัญหาก่อหนี้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศส่งสัญญาณชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ดังนั้นหากประชาชนมีวินัยในการบริหารทางการเงิน รู้จักเก็บออม ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ ก็จะช่วยให้สามารถฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไปได้

คลังดันรณรงค์ลดบุหรี่ “วาระแห่งชาติ

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ - นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยภายหลังร่วมหารือกับผู้บริหารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.เพื่อหาแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาบุหรี่เถื่อนวานนี้ (20 พ.ค.) โดยกล่าวว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า จะผลักดันให้การรณรงค์เรื่องการลด ละ เลิก บุหรี่ เป็นวาระแห่งชาติ โดยเห็นร่วมกันที่จะตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 ชุด ซึ่งจะมาจากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยชุดแรกจะเป็นคณะกรรมการกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการดำเนินการ ทั้งในส่วนของการปราบปรามและรณรงค์ในการลด ละ เลิก บุหรี่ ส่วนชุดที่สองจะทำหน้าที่รับนโยบายของชุดแรกมาปฏิบัติการ ทั้งนี้ ในเดือนหน้าจะได้มีการเสนอแผนดำเนินการดังกล่าวต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน สสส.ได้รับทราบ

“เมื่อรัฐบาลประกาศขึ้นภาษีบุหรี่แล้ว ซึ่งถือว่า เป็นแนวทางที่จะช่วยในการลด ละ เลิก บุหรี่ แล้ว เราก็ควรจะมีการรณรงค์เรื่องการปราบปรามบุหรี่เถื่อนควบคู่ไปด้วย เพราะปัจจุบันมีบุหรี่ที่ลักลอบเข้ามาในประเทศจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ก็มีแนวโน้มที่เยาวชนจะหันมาสูบบุหรี่กันมากขึ้น ฉะนั้น ขณะที่ เราได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทั้งจากกรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตตรึงกำลังตามจุดเสี่ยงของการลักลอบทั่วประเทศตลอด 7 วัน คิดว่า หลังจากนี้ ยอดการลักลอบนำเข้าน่าจะลดลง”

เขากล่าวด้วยว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต จะได้มีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายบุหรี่ และ บทลงโทษสำหรับผู้ที่ลักลอบการนำเข้า เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการสูบบุหรี่และการลักลอบการจำหน่าย เพราะกฎหมายมีความล้าหลัง เนื่องจาก เป็นกฎหมายที่นำมาใช้ตั้งแต่ 40 ปีที่ผ่านมา โดยในส่วนของการขออนุญาตขายบุหรี่ก็ทำได้ง่าย และ ราคาถูก ส่วนบทลงโทษนั้นก็ต้องกำหนดให้มีความชัดเจนมากขึ้น

ด้านนายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่กล่าวเพิ่มเติมว่า มีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า มีการลักลอบการนำเข้าบุหรี่เถื่อนเข้ามาในหลายประเทศจำนวนมาก โดย 1 ใน 3 ของบุหรี่ที่ส่งมาขายนั้นได้หายไปในตลาดมืด และระยะ 15 ปีที่ผ่านมา มีบุหรี่ที่ส่งมาขายในไทยจำนวนประมาณ 488 ล้านซอง แต่พบว่า มีจำนวน 200 กว่าล้านซอง ได้หายไปในตลาดมืด และยังพบว่า 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ในการผลิตบุหรี่ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 52% เป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการค้าบุหรี่เถื่อนนี้

“กรมสรรพสามิตได้ประเมินไว้ว่า เราสูญเสียรายได้การผลิตบุหรี่ปลอมประมาณ 1,400-1,700 ล้านบาทต่อปี ส่วนการลักลอบบุหรี่เถื่อนนั้น เราสูญเสียรายได้ประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาทต่อปี” เขากล่าว

อธิบดีราชทัณฑ์เซ็นคำสั่งย้ายล้างบาง 20 ผู้คุมคุกคลองเปรม

เว็บไซต์คมชัดลึก - นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรมราชทัณฑ์มีคำสั่งย้ายด่วนข้าราชการจากเรือนจำกลางคลองเปรม 20 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่อยู่ปฏิบัติงานในเรือนจำแห่งนี้มาเป็นเวลานาน ออกนอกพื้นที่ เพื่อแก้ปัญหาการลักลอบสั่งยาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม เนื่องจากเจ้าหน้าที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่มานาน จึงมีความคุ้นเคยกับผู้ต้องขัง อย่างไรก็ตาม การย้ายเจ้าหน้าที่ครั้งนี้มีตั้งแต่ระดับล่างจนถึงระดับชำนาญการพิเศษ เพื่อเป็นการสับเปลี่ยนหมุนเวียนเจ้าหน้าที่เก่าๆ ที่อยู่มานานออก แล้วนำเจ้าหน้าที่บรรจุใหม่เข้าไปปฏิบัติงานแทน

ขณะเดียวกันยังมีการย้ายผู้ต้องขังคดียาเสพติดรายสำคัญส่วนหนึ่งไปควบคุมเข้มยังแดนควบคุมพิเศษ ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เพื่อตัดวงจรการติดต่อระหว่างผู้ต้องขังคดียาเสพติดรายย่อยที่จะเป็นลูกมือให้แก่ผู้ต้องขังรายสำคัญ

นายนัทธีกล่าวอีกว่า กรมราชทัณฑ์กำลังจัดทำแดนควบคุมพิเศษเพิ่มขึ้นอีกในหลายเรือนจำ เช่น เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางเขาบิน และเรือนจำกลางคลองไผ่ เพื่อแยกควบคุมผู้ต้องขังคดียาเสพติดรายสำคัญโดยเฉพาะ เพื่อคุมเข้มและตัดการติดต่อสื่อสารกับภายนอก และระยะยาวจะต้องมีการสร้างเรือนจำมั่นคงสูงสุดขึ้นสำหรับคุมเข้มผู้ต้องขังคดียาเสพติด ซึ่งเพิ่มมากขึ้นถึง 2 หมื่นคน ที่เป็นผู้ต้องขังคดียาเสพติดรายสำคัญ

“ปัจจุบันเรือนจำทั่วประเทศมีภาระควบคุมตัวผู้ต้องขังเกือบ 2 แสนคน ขณะที่เรือนจำมีพื้นที่รองรับผู้ต้องขังได้เพียง 1.4 แสนคน โดยเฉลี่ยพบว่าผู้ต้องขังเพิ่มขึ้นเดือนละ 2,000 คน จึงจำเป็นต้องพิจารณาหาพื้นที่สร้างเรือนจำมั่นคงสูงสำหรับคดียาเสพติดรายสำคัญโดยเฉพาะ ไม่ให้ไปปะปนกับพวกอื่น ซึ่งกำลังพิจารณาสถานที่ว่าจะใช้เกาะใดเกาะหนึ่ง หรือพื้นที่ห่างไกลชุมชน เช่น ที่คลองไผ่ ซึ่งกรมราชทัณฑ์มีที่ดินอยู่จำนวนมาก” นายนัทธีกล่าว

ผบช.น.ถกยุติปัญหาตลาดคลองเตย?

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ - พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เป็นประธานการประชุมเพื่อเจรจาหาข้อยุติปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างกลุ่มผู้ค้าตลาดคลองเตยและการ์ดบริษัท ลีเกิ้ลโปรเฟสชั่นแนล จำกัด ที่ สน.ท่าเรือ วานนี้ โดยมีนายธรรมนัส พรหมเผ่า กรรมการบริหารบริษัทลีเกิ้ล และตัวแทนผู้ค้าเข้าร่วมเจรจา

นายธรรมนัส กล่าวหลังการเจรจาว่า ได้ข้อตกลงว่า ในการใช้บริการเข็นผักนั้น จะให้รถบรรทุกที่ขนผักมานั้นเป็นผู้ตัดสินใจเองว่า จะเลือกใช้บริการจากบริษัทลีเกิ้ล หรือบริษัทเก่า ส่วนเรื่องการกระทบกระทั่งกัน เจ้าหน้าที่ได้ขอให้หลีกเลี่ยงการใช้กำลังปะทะกัน

นายธรรมนัส ให้ความเห็นว่า การแก้ปัญหาของเจ้าหน้าที่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทั้งสองฝ่ายมาเจรจากันสามารถแก้ปัญหาได้เพียงบางเรื่องเท่านั้น หากผู้ที่อยู่เบื้องหลังกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออกมาเจรจาด้วยตัวเอง คาดว่าปัญหาน่าจะยุติลงได้

ด้านตัวแทนผู้ค้า กล่าวว่า การค้าขายในตอนนี้เป็นไปด้วยความกลัวและหวาดระแวง เนื่องจากเกรงว่าจะมีคนประสงค์ร้ายอยู่ตลอดเวลา โดยทางบริษัทลีเกิ้ลต้องถอนตัวออกไป และให้การท่าเรือฯ ทำประชาพิจารณ์ โดยให้พ่อค้าแม่ค้าเข้าร่วมประมูลด้วย

ด้าน พล.ต.ท.วรพงษ์ กล่าวว่า ได้รับความร่วมมือจากทั้งสองฝ่าย โดยให้บริษัทลีเกิ้ล ยกเลิกการให้การ์ดเข้าไปดูแลในตลาด และขอให้ทางแม่ค้าไม่รบกวนสิทธิของกันและกัน ซึ่งการเจรจากันได้ข้อสรุปต่างๆ แล้ว คาดว่าเรื่องทุกอย่างก็จะสามารถยุติได้ อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลความเรียบร้อยตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าสบายใจ

ต่างประเทศ

โสมแดงแปรพักตร์ปูดลูกคนกลางสืบทอดอำนาจ

เว็บไซต์ไทยรัฐ - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (20 พ.ค.) อ้าง หนังสือพิมพ์ “ดอง-อา” ของประเทศเกาหลีใต้รายงานวันเดียวกันนี้ จากเปิดเผยของนายคิม ดุค ออง คนสนิทของนายฮวาง จาง ยอป อดีตประธานรัฐสภาเกาหลีเหนือ ที่แปรพักตร์มาลี้ภัยในประเทศเกาหลีใต้เมื่อปี 2550 ว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่นายคิม จอง อิล ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือวางตัวนายคิม จอง ชอล ลูกชายคนกลางวัย 29 ปี เป็นผู้สืบทอดอำนาจ ไม่ใช่นายคิม จอง อัน ลูกชายคนเล็กวัย 26 ปีดังที่คาดการณ์กัน โดยขณะนี้ นายคิม จอง ชอล รับตำแหน่งสูงในพรรคกรรมกรพรรครัฐบาลอย่างลับๆ เพื่อฝึกความพร้อมเป็นผู้นำและรายงานโดยตรงต่อบิดา

รายงานนี้ขัดแย้งกับการคาดการณ์ของสื่อมวลชนระบุว่านายคิม จอง อิล เห็นว่าลูกชายคนกลาง จบการศึกษาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะอ้อนแอ้นคล้ายผู้หญิงเกินไปที่จะเป็นผู้นำได้ เพราะมีอาการฮอร์โมนเพศหญิงสูงกว่าปกติ จึงวางตัวลูกชายคนเล็กเป็นทายาทอำนาจ ส่วนนายคิม จอง นัม ลูกชายคนโตวัย 38 ปี เดิมถูกคาดหมายกันว่าจะได้เป็นทายาทอำนาจ ต้องหมดสิทธิ์ไปหลังถูกจับที่ประเทศญี่ปุ่นขณะพยายามเดินทางเข้าไปเที่ยวสวนสนุก ดิสนีย์แลนด์โดยใช้พาสปอร์ตปลอมในปี2544

ระบุด้วยว่า นายคิม จอง อิล วัย 67 ปี รับอำนาจสืบต่อจากนายคิม อิล ซุง บิดา “ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่” ที่เสียชีวิตในปี 2537 เขาปกครองด้วยระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ไม่ให้มีฝ่ายค้าน แต่หลังมีข่าวลือว่าเขาป่วยด้วยโรคลมปัจจุบันเมื่อปีที่แล้ว สื่อมวลชน ต่างเกาะติดข่าวอย่างเข้มข้นว่าเขาวางตัวใครเป็นทายาทอำนาจ

เขมรชุมนุมวันแห่งความโกรธ รำลึกเหยื่อเขมรแดง

เว็บไซต์ไทยรัฐ - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานวันนี้ (20 พ.ค.) ว่า ชาวกัมพูชาราว 2,000 คน รวมทั้งพระสงฆ์หลายร้อยรูป ชุมนุมที่เขตช่องเอก ที่เคยเป็น “ทุ่งสังหาร” ของชาวเขมรแดง เนื่องใน “วันแห่งความโกรธแค้น” ประจำปี

รายงานระบุด้วยว่า วันเดียวกันนี้ เป็นวันรำลึกถึงผู้ตกเป็นเหยื่อความทารุณโหดร้ายของชาวเขมรแดง โดยนักศึกษาราว 40 คนได้จำลองการทรมานและสังหารผู้คนขณะเขมรแดงกุมอำนาจในช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.7 ล้านคนด้วย การชุมนุมในวันแห่งความโกรธแค้นปีนี้มีขึ้นขณะที่ศาลพิเศษที่มีสหประชาชาติ เป็นผู้อุปถัมภ์อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอดีตผู้นำเขมรแดง โดยจำเลยรายแรกคือนายเกียง เคก เอียฟ หรือ “สหายดุช” อดีตผู้บัญชาการเรือนจำ “โตล สเลง” อันอื้อฉาว

บินลำเลียงอิเหนาร่วงดับ98ศพ

เว็บไซต์ไทยโพสต์ - เครื่องบินซี-130 ของกองทัพอินโดนีเซียประสบเหตุพุ่งชนบ้านหลายหลังก่อนกระแทกนาข้าวระเบิดไฟลุกท่วมทั้งลำที่ชวาตะวันออก ทำให้เสียชีวิตอย่างน้อย 98 คน เผยเป็นเครื่องบินลำเลียงอายุร่วม 30 ปีที่ได้รับมอบจากสหรัฐ แต่กองทัพยืนยันสภาพยังดี แม้ชาวบ้านอ้างเห็นปีกขวาและชิ้นส่วนร่วงจากกลางอากาศ

ภาพข่าวทีวีอินโดนีเซียเผยให้เห็นควันสีดำพวยพุ่งสู่ท้องฟ้าจากจุดที่เครื่องบินลำเลียงชนิดซี-130 เฮอร์คิวลิสกลายเป็นซากไหม้ไฟลุกท่วมอยู่ปลายนาข้าว ขณะที่ทหารช่วยกันนำร่างผู้ได้รับบาดเจ็บออกจากตัวเครื่องที่เหลือให้เห็นเพียงส่วนหางราว 15 เมตร โดยมีชาวบ้านพยายามช่วยกันใช้ถังน้ำสาดน้ำดับไฟอย่างเต็มกำลัง

ซากอม แทมบูน โฆษกของกองทัพ แถลงว่า ซี-130 ลำนี้มีลูกเรือ 11 คน และผู้โดยสาร 99 คนที่รวมถึงเด็กด้วย 10 คน กำลังนำทหารและครอบครัวทหารบินจากกรุงจาการ์ตาไปยังฐานทัพอิสวาห์ยูดีในจังหวัดชวาตะวันออก ไกลจากกรุงจาการ์ตาทางทิศตะวันออกราว 520 กม. ขณะเกิดเหตุนั้นสภาพอากาศปลอดโปร่งและตัวเครื่องบินก็อยู่ในสภาพดี

เครื่องบินลำนี้พุ่งชนบ้านหลายหลังในหมู่บ้านเกปลัก ก่อนจะกระแทกพื้นและระเบิดปลายนาข้าว ระหว่างเตรียมร่อนลงที่ฐานทัพอิสวาห์ยูดีที่ห่างออกไปเพียง 6.5 กม. เมื่อเวลาราว 06.30 น.ของเช้าวันพุธ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุอะไร

บัมบัง ซูลิสต์โย โฆษกกองทัพอากาศ เผยว่า กองทัพอากาศจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดหนึ่งมาตรวจสอบอุบัติเหตุครั้งนี้ พร้อมกับเสริมว่าเครื่องบินลำนี้มีอายุเกือบ 30 ปีแล้ว และมีผู้เห็นเหตุการณ์หลายคนเล่าว่าเห็นปีกข้างขวาของเครื่องหล่นจากกลางอากาศ

ลามิดี ชาวนาวัย 41 ปีซึ่งกำลังทำนาอยู่ใกล้จุดตก บอกว่า ตนได้ยินเสียงระเบิดดังอย่างน้อย 2 ครั้ง และเห็นเปลวไฟลุกไหม้ภายในตัวเครื่อง จากนั้นส่วนปีกได้หักและร่วงลงมา

บัมบัง ซามูโดร ผู้บัญชาการฐานทัพอากาศอิสวาห์ยูดี เผยว่า มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 98 คน รวมถึงคนบนพื้นดินอีก 2 คน และมีผู้รอดชีวิต 15 คน

ประธานาธิบดีสุสีโล บัมบัง ยุทโธโยโน ได้ร้องขอประชาชนว่าอย่าเพิ่งด่วนตัดสินสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ จนกว่าการสอบสวนจะได้ข้อสรุป ขณะที่อีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีกลาโหมจูโวโน ซูดาร์โซโน ชี้ว่า งบประมาณซ่อมบำรุงถูกจำกัดอยู่แค่ไม่ถึง 10% ของงบกองทัพทั้งที่ควรจะอยู่ที่ระดับ 20-25%

ชัปปี ฮาคิม อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศเปิดเผยกับข่าวรอยเตอร์ว่า เครื่องบินซี-130 ลำที่ตกนี้ผลิตโดยสหรัฐตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980s

กองทัพอากาศอินโดนีเซียใช้เครื่องบินลำเลียงรุ่นนี้เป็นหลักมาตั้งแต่ต้นยุค 1960s หลังได้รับมอบมาจากสหรัฐ 10 ลำ เป็นการแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวนักบินเครื่องบินทิ้งระเบิดของซีไอเอที่ถูกยิงตกระหว่างสนับสนุนกลุ่มกบฏต่อต้านรัฐบาลในปี 2501 ช่วงเวลา 20 ปีนับจากนั้นสหรัฐยังมอบซี-130 ให้อีกราว 40 ลำ ส่วนมากเป็นเครื่องที่ผ่านการใช้งานแล้ว กระทั่งมาถึงยุคประธานาธิบดีบิล คลินตัน อินโดนีเซียก็ถูกรัฐบาลสหรัฐคว่ำบาตรทางทหารตอบโต้เหตุการณ์นองเลือดในติมอร์ตะวันออกปี 2542

กองทัพอากาศโอดครวญมานานแล้วว่า การถูกคว่ำบาตรนี้ทำให้กองทัพขาดแคลนอะไหล่ และงบซ่อมบำรุงก็ไม่เพียงพอ เพียงไม่นานเครื่องบินหลายลำก็ไม่สามารถใช้งานได้ แม้ว่าสหรัฐจะยกเลิกคว่ำบาตรเมื่อหลายปีก่อน แต่ยังมีปัญหาว่าการซ่อมบำรุงเครื่องบินเหล่านี้จะคุ้มค่าต่อการใช้งานหรือไม่

หลายปีที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุทางอากาศกับเครื่องบินพาณิชย์และเครื่องบินทหารของอินโดนีเซียหลายครั้ง เช่นเดือนที่แล้วเครื่องบินฟอกเกอร์ 27 พุ่งชนโรงเก็บเครื่องบินที่สนามบินในชวาตะวันตก ทำให้เสียชีวิตทั้งลำ 24 คน ยังมีอุบัติเหตุกับเครื่องบินโดยสารหลายครั้งคร่าชีวิตคนมากกว่า 120 คนในช่วงไม่กี่ปีมานี้ด้วย ประวัติความปลอดภัยที่ย่ำแย่นี้ทำให้ปี 2550 สหภาพยุโรป (อียู) ได้สั่งห้ามสายการบินทั้งหมดของอินโดนีเซียให้บริการในชาติสมาชิกอียู