WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, July 1, 2011

ดีเบตคนละเวที ! มาร์ค กับ ปู เจอกันบนจอเจาะข่าวเด่น"สรยุทธ"

ที่มา มติชน



รับชมข่าว VDO ชมคลิป


ราย การสรยุทธ เจาะข่าวเด่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ในช่วงโค้งสุดท้าย สรยุทธ สุทัศนะจินดา นำ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปาร์ตี้ลิสต์ เบอร์ 1 พรรคเพื่อไทย ที่คนหนึ่งอยู่บนเวทีลานพระบรมรูปทรงม้าฯ กับอีกมุมหนึ่ง ปู ยิ่งลักษณ์ อยู่บนเวที ราชมังคลากีฬาสถาน โดยมี อาจารย์สุขุม นวลสกุล นักรัฐศาสตร์ มาร่วมแสดงความเห็น

เลือกตั้ง 2554 ปัจจัยชี้ขาดสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ ( ดูคลิป)

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 1 ก.ค. 54

ยิ่งคืบคลานเข้าใกล้วันเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 มากเท่าใด
ความคิดเห็นหลากหลายจากต่างประเทศเกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งครั้งนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
และหลากหลายมุมมอง หลากหลายทรรศนะมากยิ่งขึ้น
มีทั้งทรรศนะอย่างเป็นทางการ จาก
บัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ที่เพิ่งรับตำแหน่งวาระที่ 2 ไปหมาดๆ,
ความเคลื่อนไหวของ 2 ส.ส.อเมริกันจาก 2 พรรค เรียกร้องให้
นางฮิลลารี รอดแฮม คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศ แถลงจุดยืนและส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเลือกตั้งในไทย,
เรื่อยไปจนถึงบทวิเคราะห์ว่าด้วยในบริบททางการทูตระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาของสำนักข่าวเอเอฟพี



ต่อไปนี้คือรายละเอียดของความเคลื่อนไหวเหล่านั้น
ที่จับจ้องมาที่การเลือกตั้งครั้งสำคัญของไทยครั้งนี้อย่างช่วยไม่ได้
เพราะเหตุรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมานั้น ยังสดใหม่ในความทรงจำของทุกๆ คน
โดยเฉพาะคนที่ไม่ต้องการให้มีเรื่องทำนองเดียวกันเกิดขึ้นอีกครั้ง


จี้"คลินตัน"ตรวจสอบเลือกตั้งไทย


นายเท็ด โป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตัวแทน
เขตเลือกตั้งที่ 2 ของรัฐเท็กซัส ร่วมกับ นายเดนนิส คูซินิช ส.ส.พรรคเดโมแครตจากรัฐโอไฮโอ
ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา
ส่งถึงนางฮิลลารี รอดแฮม คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ
มีทั้งในส่วนของการแสดงความคิดเห็นและในส่วนที่เรียกร้องต่อรัฐมนตรฮิลลารี มีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้


"เรียนท่านรัฐมนตรี


ในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ ราชอาณาจักรไทย เตรียมจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้น
ซึ่งหลังจากภาวะปั่นป่วนทางการเมืองที่เกิดขึ้นยาวนานนับทศวรรษ
การเลือกตั้งครั้งนี้กลายเป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่จำเป็นต้องเป็นไปโดยเสรี เป็นธรรม
เพื่อให้ประชาธิปไตยได้เบ่งบานอีกครั้ง


อย่างที่ท่านคงรำลึกได้ เมื่อฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา
กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเข้ายึดครองพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพฯเป็นเวลานานถึง 9 สัปดาห์
จากที่เริ่มต้นโดยสันติ
ทั้งการชุมนุมประท้วงและการรับมือของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกลายเป็นเหตุ
ให้ก้าวร้าวรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ลงเอยในท้ายที่สุดด้วยการกลายเป็นการสู้รบกันใจกลางเมือง
เมื่อถึงเวลาที่ทหารใช้กำลังกวาดล้างเพื่อสลายผู้ชุมนุมในราวกลางเดือนพฤษภาคมนั้น
มีผู้เสียชีวิตไป 88 คน และมากถึง 2,000 คน ได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้ ตามรายงานของสื่อมวลชน


เราจำเป็นต้องแสดงให้เห็นเด่นชัดว่า เราจะยืนหยัดเคียงข้างกับประชาธิปไตยในประเทศไทย ดังนั้น
เราขอเรียกร้องให้ท่านรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้งของไทยครั้งนี้
สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม และสร้าง ความกระจ่างชัดให้เกิดขึ้นว่า
สหรัฐอเมริกาจะเคารพในเจตนารมณ์ของปวงชนชาวไทย
เราขอเสนอด้วยว่า ท่านควรส่งทีมเข้าไปตรวจสอบการเลือกตั้ง
เพื่อช่วยให้เกิดความแน่ใจได้ว่า ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกต้องและชอบธรรม
ภายใต้ภาวการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้เองที่สหรัฐอเมริกาจำต้องแสดงออก
ซึ่งจุดยืนอย่างกล้าหาญเพื่อให้เจตนารมณ์ของประชาชนได้รับการรับฟังและเคารพ


เท็ด โป


เดนนิส คูซินิช


สมาชิกรัฐสภา"




ทุกฝ่ายควรเคารพประชาชน


ในห้วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น โฆษกประจำตัวเลขาธิการสหประชาชาติ
เผยแพร่ถ้อยแถลงสั้นๆ ที่เป็นทรรศนะของ นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ต่อการเลือกตั้ง
ที่กำลังจะ มีขึ้น ไม่เพียงสะท้อนถึงนัยกดดันในเชิงการทูตเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึง
ความสำคัญต่อการมี "เสถียรภาพ" ทางการเมืองขึ้นในไทยอีกด้วย


ในถ้อยแถลงในนามของ บัน คี มุน ดังกล่าว ระบุว่า ได้ติดตามสถานการณ์ก่อนหน้าการเลือกตั้ง
ที่จะมีขึ้น ในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ อย่างใกล้ชิด และคาดหวังว่า การเลือกตั้งดังกล่าวนี้
จะดำเนินไปโดยสันติ และในลักษณะที่มีเสรี เป็นธรรม และโปร่งใส
เพื่อให้การเลือกตั้งนี้ส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์
และเสริมสร้างขนบประชาธิปไตยในประเทศไทยให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น


นายบัน คี มุน เรียกร้องต่อทุกๆ ฝ่าย ให้งดเว้นการกระทำใดๆ
ที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้น ทั้งก่อนหน้า,
ระหว่างและหลังการเลือกตั้ง และขอให้ทุกฝ่ายยอมรับ
และเคารพต่อเจตนารมณ์ของปวงชน ตามที่ได้แสดงออกมาให้เห็นผ่านหีบบัตรเลือกตั้งครั้งนี้


สำนักข่าวเอเอฟพีตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า ถ้อย แถลงครั้งนี้มีขึ้นท่ามบรรยากาศของความหวั่นวิตกว่า
การเลือกตั้งครั้งนี้จะนำพาความรุนแรงกลับมาอีกครั้ง
โดยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า มีผู้สมัครรับเลือกตั้งมากถึง 430 คน ที่ขอความคุ้มครองมา
และจำเป็นต้องระดมกำลังเจ้าหน้าที่มากถึง 170,000 นาย
ทำหน้าที่อารักขาหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศในวันเลือกตั้ง


สหรัฐวิตกกับเลือกตั้งไทย


ฌอน แทนดอน ผู้สื่อข่าวของเอเอฟพี ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. วิเคราะห์การเลือกตั้งไทยในครั้งนี้
ภายใต้บริบทในด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ออกมา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน


เจ้าหน้าที่ระดับ "ผู้กำหนดนโยบาย" ในสหรัฐอเมริกา กำลังจับตามองการเลือกตั้งไทยครั้งนี้
อยู่อย่างเป็นกังวลวิตกว่า การเลือกตั้งจะกลายเป็นชนวนให้เกิดสถานการณ์ต่อเนื่องเป็นชุดออกมา
ที่จะกลายเป็น "ภาวะไร้เสถียรภาพใหม่"
ซึ่งจะลงเอยด้วยการเป็นเครื่อง "บั่นทอนบทบาท" ของมิตรประเทศ
ที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคนี้ลง
ในยามที่รัฐบาลบารัค โอบามา ให้ความ สำคัญต่อภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างมากในหลายๆ ด้าน


"เคิร์ท แคมป์เบลล์" ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออก
กล่าวเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าสหรัฐอเมริกาต้องการ
"ทำงานให้ใกล้ชิดกับไทยมากขึ้นอย่างยิ่ง" ดังนั้น
ในความเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับผู้ช่วยรัฐมนตรี
การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นจึงถูกยึดถือเสมือนหนึ่งเป็น "เครื่องชี้ขาด"
ในการกำหนดวิถีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาในอนาคต


ภายใต้ภาวการณ์ดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ตัวแทนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
จะ "เข้าถึงตัว" แกนนำสำคัญของทั้งสองฝ่าย
เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมให้เกิด "ความสงบ" ขึ้นในประเทศ


เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในไทย เพิ่งพบหารือกับ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เมื่อไม่นานมานี้
ขณะเดียวกัน ก็ ""ระมัดระวังอย่างยิ่ง" ที่จะไม่พาตัวเองเข้าไป "เกี่ยวข้องโดยตรง"
ในกระบวนการ เลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทางการไทยยื่น "ประท้วง" กลายๆ
เมื่อ แคมป์เบลล์ เข้าพบกับแกนนำของกลุ่มเสื้อแดงในระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อปีที่ผ่านมา


สหรัฐกร้าวขึ้นแน่ถ้า"ปฏิวัติ"อีก


เมื่อเกิดรัฐประหารในปี 2549 นั้น ปฏิกิริยาต่อทางการไทยในเวลานั้นของสหรัฐอเมริกาก็คือ
สั่งระงับความช่วยเหลือทางทหารมูลค่า 24 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่งยกเลิกการระงับไปเมื่อต้นปี 2551 นี้


ผู้เชี่ยวชาญมองการกระทำของสหรัฐอเมริกาในครั้งนั้น ว่า
เป็นการแข็งกร้าวเกินไปทำลายมิตรประเทศโดยไม่จำเป็น
แต่มีไม่น้อยเหมือนกันที่เห็นว่า การระงับความช่วยเหลือดังกล่าว
มีค่าเท่ากับไม่ได้ตัดสัมพันธ์ใดๆ เพราะทำไปเพียงให้เป็น "สัญลักษณ์"
และให้สอดคล้องกับกฎหมายเท่านั้นเอง


โจชัว เคอร์แลนท์ซิค นักวิชาการจากสภาวิเทศสัมพันธ์ในวอชิงตัน บอกว่า
ท่าทีของสหรัฐอเมริกาจะแข็งกร้าวมากขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน
หากเกิด "รัฐประหาร" ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง


"สถานการณ์แปลกแยกกับยุคสมัยมากเกินไป
นี่ ไม่ใช่ยุคสงครามเย็นนะครับ ขณะ 2011 แล้ว
ไม่มีประเทศระดับเดียวกันที่มีรายได้ปานกลาง
และเป็นประชาธิปไตยใหม่ที่ไหนเขามีรัฐประหารกันแล้ว"


เขาบอกด้วยว่า ในขณะเดียวกัน การที่สหรัฐให้ความสำคัญ
ในฐานะมิตรประเทศเชิงยุทธศาสตร์ของไทยก็ลดลง
และเพิ่มความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น
พร้อมวิพากษ์วิจารณ์ไทย หรือดำเนินการอื่นใดต่อไทยของสหรัฐอเมริกาทำได้ง่ายขึ้น


"ตอนนี้ไทยเริ่มถูกปรับลดลำดับความสำคัญในความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาลงแล้ว
มาอยู่ในระดับเดียวกับประเทศอย่างเวียดนาม
แทนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายเหมือนก่อนหน้านี้"


ไม่ว่าจะมีใครใส่ใจหรือไม่ แต่นี่คือความเป็นจริงในทางการทูตที่ไทยต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้







http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1309496124&grpid=01&catid=&subcatid=

มะกันขู่-ถ้าไทยปว. ใช้ไม้แข็ง เลขายูเอ็นแถลง

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



สื่อนอกชี้สหรัฐไม่ปลื้มปฏิวัติ

วันที่ 30 มิ.ย. สำนักข่าวเอเอฟพี ประเทศฝรั่งเศส เผยแพร่บทความ
ที่เขียนโดยนายฌอน แทนดอน ชื่อบทความว่า
"US nervous ahead of Thai election" หรือ "สหรัฐหวั่นวิตกการเลือกตั้งไทย"
มีเนื้อหาระบุ สหรัฐกำลังจับตามองการเลือกตั้งของไทยในวันอาทิตย์ที่ 3 ก.ค. นี้อย่างเป็นห่วง
เพราะเกรงว่าอาจเกิดความไร้เสถียรภาพครั้งใหม่ที่จะลดบทบาทของไทย
ในฐานะพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดในเอเชียของสหรัฐ

นายแทนดอน ชี้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลที่วอชิงตันของนายบารัก โอบามา
ให้ความสำคัญแก่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเน้นสร้างสัมพันธ์กับอินโดนีเซียและเวียดนาม
เพราะเห็นว่าไทยวุ่นวายอยู่กับความขัดแย้งภายใน

สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สหรัฐหวังว่า
การเลือกตั้งของไทยจะดำเนินไปอย่างราบรื่นและปูทางไปสู่การปรองดอง
แต่ก็เตรียมพร้อมเสมอสำหรับเรื่องร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้

ด้านนายเคิร์ต แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออก
กล่าวเมื่อเดือนก่อนว่า สหรัฐต้องการทำงานอย่างใกล้ชิดกับไทย
ช่วงเวลาเลือกตั้งจะเป็นตัวกำหนดแนวทางความสัมพันธ์อย่างชัดเจน

รายงานชิ้นนี้ยังระบุว่า สหรัฐเข้าถึงพรรคการเมืองทั้งสองฝ่ายของไทยมาโดยตลอด
แต่ระมัดระวังที่จะไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยตรง

ขณะที่นายทิโมธี แฮมลิน นักวิเคราะห์ที่ศูนย์สติมสัน ชี้ว่า
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐติดอยู่ในภาวะนิ่งเฉยตั้งแต่การปฏิวัติปี 2549
เปิดโอกาสให้อินโดนีเซีย เวียดนามและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคก้าวขึ้นมาแทนที่

นโยบายการทูตของไทยขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นความพยายามอธิบาย
ให้ต่างชาติเข้าใจถึงสถานการณ์ในประเทศและอยากให้การเลือกตั้งดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
เพื่อให้สามารถกลับไปดำเนินนโยบายการทูตตามปกติ

นอกจากนี้ รายงานของแทนดอนยังเผยว่า
นายโจชัว คูร์ลันต์ซิก นักวิชาการสภาวิเทศสัมพันธ์ของสหรัฐ คาดว่า
สหรัฐจะดำเนินมาตรการแข็งกร้าวกว่านี้หากเกิดการปฏิวัติครั้งใหม่ในไทย
ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของไทยที่มีต่อสหรัฐลดลง
เพราะประเทศอื่นในภูมิภาคมีบทบาทมากขึ้น ส่งผลให้สหรัฐวิพากษ์วิจารณ์ไทยได้สะดวกขึ้น
และหลายคนเริ่มมองว่าไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศอย่างเวียดนาม
จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มประเทศประชาธิปไตย



ยูเอ็นหวังไทยเคารพผลเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.
ในเว็บไซต์ของสหประชาชาติ ระบุว่าเลขาฯยูเอ็นติดตามสถานการณ์การเลือกตั้งในไทย
ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 3 ก.ค. โดยหวังว่าไทยจะจัดการเลือกตั้งโดยสันติและยุติธรรม
น่าเชื่อถือและโปร่งใสบริสุทธิ์ เพื่อสร้างความปรองดองให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศ
และขอให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรงระหว่างและหลังการเลือกตั้ง
และขอให้ยอมรับและเคารพการตัดสินใจของประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิที่คูหาเลือกตั้ง

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา
นายบัน ออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
โดยเรียกร้องให้กัมพูชาและไทยให้ใช้ความอดทนและอดกลั้นอย่างถึงที่สุด
รวมทั้งใช้มาตรการเพื่อทำให้เกิดการหยุดยิง และเชื่อว่า
ความขัดแย้งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีทางการทหารและขอผลักดัน
ให้กัมพูชาและไทยเจรจาร่วมกันพร้อมสนับสนุนกลไกระดับทวิภาคีในการแก้ปัญหา

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. นายบัน แถลงข่าว
ภายหลังการเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องสีงาช้าง ทำเนียบรัฐบาล
โดยกล่าวถึงเหตุการณ์การชุมนุมกลางกรุงเทพฯ ความขัดแย้งและการสูญเสียชีวิต
โดยยกให้เป็นเรื่องที่ไทยต้องจัดการและแก้ไขเอง
แม้มีความพยายามจากพลเรือนและกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม
ที่อยากจะเห็นยูเอ็นยื่นมือเข้ามาดูแล
และรายงานพิเศษต่อกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งในเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ก็ตาม
ส่วนยูเอ็นสนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง
เพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เริ่มต้นทำงาน และ
เปิดกว้างในการทำงานและพร้อมร่วมงานกับประชาคมโลก
ซึ่งยูเอ็นพร้อมให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคต่อการทำงานของคณะกรรมการนี้


http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakF4TURjMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOeTB3TVE9PQ==

สื่อต่างประเทศจับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งไทย

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



เมื่อ 1 ก.ค. สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานสรุปภาพรวมการเลือกตั้งของไทย
ในชื่อเรื่อง “ประเทศไทยที่แตกแยกจัดการเลือกตั้งตึงเครียด” ระบุว่า
การเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค.นี้จะเป็นบททดสอบศักยภาพของไทย
ในการคลี่คลายวิกฤตการเมืองอันยาวนานที่ผ่านการนองเลือด
และถ่างช่องว่างระหว่างชนชั้นปกครองกับคนยากคนจน
เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ
ซึ่งมีการใช้ทหารสลายการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลจนมีผู้เสียชีวิตเกิน 90 ราย
และเป็นการตัดสินว่าจะเป็นการกลับมาทางการเมืองของพ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่
ในขณะที่ลี้ภัยอยู่นอกประเทศและส่งน้องสาวเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


เอเอฟพีระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณยังคงเป็นขวัญใจของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและชาวชนบท
แต่ยังคงเป็นที่เกลียดชังของชนชั้นปกครอง
ที่มองว่าพ.ต.ท.ทักษิณคอร์รัปชั่นและเป็นภัยต่อสถาบัน
จากโพลที่ออกมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นักการเมืองหน้าใหม่
มีคะแนนนิยมเหนือพรรคประชาธิปัตย์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
พอล แชมเบอร์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยพายัพ กล่าวว่า
การที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้รับความนิยมมากมายขนาดนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนว่า
พ.ต.ท.ทักษิณยังคงมีพลังทางการเมืองอยู่ในสังคมไทย


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd09UVXhPVE01Tnc9PQ==&sectionid=

ยิ่งลักษณ์มั่นใจวิสัยทัศน์ปี 2020 ลั่นให้คอป.ลุยต่อเพื่อปรองดอง

ที่มา thaifreenews

โดย bozo





วันที่ 1 ก.ค. ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับ 1 พรรคเพื่อไทย
ขึ้นกล่าวปราศรัยใหญ่ โดยมีประชาชนมาฟังราว 28,000 คน
ท่ามกลางฝนที่โปรยปรายในช่วงหัวค่ำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2020
ในด้านต่างๆ เช่น การคมนาคม สวัสดิการสุขภาพ การศึกษา การพลังงาน ฯลฯ
ตามที่เคยปราศรัยในช่วงหาเสียง ในส่วนของกระบวนการปรองดองนั้น
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ยืนยันไม่คิดอาฆาตแค้น หากได้เป็นรัฐบาล
จะสนับสนุนคณะกรรมการอิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.
ซึ่งมีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน ชุดเดิมที่พรรคประชาธิปัตย์ตั้งไว้ดำเนินการต่อไป โดยให้อิสระเต็มที่



น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวก่อนขึ้นเวทีว่า
วิสัยทัศน์นี้ไม่ได้หมายความว่าพรรคเพื่อไทยจะต้องเป็นรัฐบาลถึง 9 ปี
แต่เป็นสิ่งที่เรามีความตั้งใจที่จะวางอนาคตของประเทศและเรามีความมั่นใจและจริงใจ
ในการทำนโยบายและเข้ามารับใช้ประชาชน ตนพร้อมน้อมรับทุกการตัดสินใจของประชาชน



สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯนั้น ยืนยันว่า
ท่านไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับพรรค เพียงแค่ให้กำลังใจอย่างเดียว
และในช่วงโค้งสุดท้ายก็ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน



เมื่อถามถึงสูตรการจัดตั้งรัฐบาล มองพรรคไหนไว้บ้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า
ยังไม่ได้คิด วันนี้ขอคิดว่าแค่ว่าจะอธิบายและนำเสนอวิสัยทัศน์ปี 2020 ได้อย่างไร



ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับหนึ่งพรรคเพื่อไทยให้สัมภาษณ์ก่อนขึ้นเวทีปราศรัย
กรณีที่มีเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ที่กล่าวหา
เรื่องการดูแลสื่อของนายวิม รุ่งวัฒนะจินดาผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ว่า
เหตุการณ์ทั้งหมดพรรคไม่ได้รับทราบในส่วนนี้ เชื่อว่าเป็นเรื่องของการไม่ประสงค์ดีมากกว่า
ซึ่งมีบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง และนายวิมเองก็ได้ชี้แจงกับผู้ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNd09UVXhPVE0yTmc9PQ==&sectionid=

เด็ดขาด ไปเลย

ที่มา มติชน

โดย bozo

จากที่ไม่ใช่สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศต่อสาธารณะ นับตั้งแต่เปิดแคมเปญหาเสียงเป็นต้นมา

แต่ในช่วงโค้งสุดท้าย นายอภิสิทธิ์ ได้ยกขึ้นมาประกาศชัดเจนแล้วว่า

"ถ้า เลือกพรรคประชาธิปัตย์เข้ามามากๆ เป็นอันดับหนึ่ง หรือเกิน 250 ได้ ผมยืนยันได้ การทำหน้าที่จะมีประสิทธิภาพกว่าตอนมีข้อจำกัดเป็นรัฐบาลผสม และจะล้างปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบอบทักษิณ"

และ

"ถ้าอยากให้ ถอนพิษทักษิณเด็ดขาดต้องเลือกประชาธิปัตย์มาเป็นที่หนึ่งเกิน 250 เสียง แล้วเราจะได้ประกาศไปทั่วประเทศทั่วโลก ประเทศไทยพร้อมเดินหน้ารักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข และจะได้บอกว่าประเทศไทยเงินซื้อไม่ได้ คนไทยจะไม่ยอมให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย คนไทยประกาศอิสรภาพจากความกลัว จากการข่มขู่แล้ว และประกาศให้รู้ว่าประเทศไทยไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง หรือคนสีใดสีหนึ่ง แต่ต้องเป็นของคนทุกสี"

ให้ขีดเส้นใต้ ที่การเรียกร้องให้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ "เกิน 250 เสียง"

เพื่อมุ่งสู่

การถอนพิษ "ทักษิณ"

และ การจะได้ทำหน้าที่รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพกว่าตอนมีข้อจำกัดเป็นรัฐบาลผสม

นับ เป็นเรื่องที่ดี ที่ในที่สุด นายอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้เสนอให้ประชาชนตัดสินใจเลือกตนเองและ พรรคเกินครึ่ง อย่างเต็มปากเต็มคำเสียที

ไม่ใช่หวัง "พลังพิเศษ" มาช่วยเพียงถ่ายเดียว



ที่ผ่านมา เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ วางจุดยืนทางการเมืองของตน แบบ "พึ่งพาคนอื่น"

จน ดูเหมือนจะยอมรับกลายๆ ว่า การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พรรคประชาธิปัตย์ ไม่น่าจะได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นที่ 1 โดยจะถูกพรรคเพื่อไทย ชิงเอาแชมป์เลือกตั้งไปครอง

แต่ก็เป็นการยอมรับ ที่ไม่ได้หมายถึง ความพ่ายแพ้

ตรงกันข้าม กลับพยายามเนรมิต "สมการการเมือง" ขึ้นมา เพื่อที่จะทำให้พรรคที่ได้รับเสียงข้างมากไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้

เราจึงได้ยินสูตรตัวเลข ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ บวกกับ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย เพื่อเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

โดย ล่าสุด พรรคภูมิใจไทย ได้อวดตัวเลขว่า พรรคประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส. ประมาณ 180 คน ขณะที่พรรคภูมิใจไทย จะได้ ส.ส. 77 คน รวมแล้วทั้งสองพรรคจะกุมเสียง ส.ส. ข้างมาก คือ 257 เสียงเอาไว้ได้

และ นั่นจะเพียงพอให้เป็นแกนใน การดึงเอาพรรคการเมืองอื่นไม่ว่า ชาติไทยพัฒนา, ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน, พลังชล, มาตุภูมิ เป็นต้น มาร่วมจัดตั้งรัฐบาล

โดยปล่อยให้พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายค้าน

ภาย ใต้ "ความฝันหวาน" ในสมการการเมืองดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์ ก็ดูเหมือนจะอบอุ่นกับตัวช่วย ทั้งที่ปรากฏบนดิน และใต้ดิน อย่างน่าอิจฉาด้วย

บนดินก็อย่างที่ทราบกัน กรณีที่มีกลุ่มพลเมืองเพื่อร่วมคัดค้านการนิรโทษกรรมคดีคอร์รัปชั่นทักษิณ นำโดย นายแก้วสรร อติโพธิ และ น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ออกมาเรียกร้องให้ดีเอสไอเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีให้การเท็จเรื่องหุ้นต่อศาล อย่างเอาการเอางาน

ตามมาด้วยกลุ่ม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็ได้ร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้ยุบพรรคเพื่อไทย ฐานให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมา "บงการ" พรรค

และล่าสุด ก็คือการปรากฏตัวขึ้นมาของกลุ่มสยามสามัคคี ที่มี ส.ว.สรรหา นำโดย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม อดีตหัวหน้าคณะสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ออกมารณรงค์อย่างดุดันภายใต้สโลแกน

"3 กรกฎา ไปเลือกตั้ง ไม่ให้คนเลวปกครองบ้านเมือง ไม่เลือกคน เผาบ้านเผาเมือง ไม่เลือก พวกเคืองแค้นสถาบัน"

แคม เปญของ "กลุ่มสยามสามัคคี" ว่าไปแล้วก็สอดประสานกับท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ออกมาประกาศก่อนหน้านี้ ให้ เลือกคนดี คนสุภาพเข้าสภา และที่สำคัญให้โหวตเพื่อปกป้องสถาบันอย่างน่าประหลาดใจ

แต่ก็ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ "อบอุ่นใจ" กับแรงหนุน "บนดิน" เหล่านี้อย่างมาก

ขณะ เดียวกัน ก็ไม่รู้ไม่ชี้กับขบวนการใต้ดิน ที่มีการผลิตวีซีดีและสิ่งตีพิมพ์ ออกแจกจ่าย โดยมุ่งเปิดโปง พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะผู้ไม่จงรักภักดี

ถือเป็นสามัคคี "รุมกินโต๊ะ" พรรคเพื่อไทย อย่างไม่ไว้ไมตรี



ด้วยภาวะดังกล่าว ทำให้พรรคเพื่อไทย นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีภาระหนักหน่วง

เพราะนอกเหนือจากต้องนำเสนอนโยบายภายใต้แคมเปญ "แก้ไข ไม่แก้แค้น" แล้ว

ยังต้องพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะทำให้พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเข้าสภา เกิน 250 เสียง

เพื่อที่จะตัดปัญหา การที่ฝ่ายตรงข้ามจะ "จัดรัฐบาลแข่ง"

ซึ่ง มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่หากได้รับเลือกตั้ง ในระดับ 230-240 เสียง แม้จะเป็นที่หนึ่ง แต่ก็คงถูกยื้อแย่งจากทั้งพรรคการเมือง และตัวช่วยข้างนอก ไม่ให้ได้รับสิทธิจัดตั้งรัฐบาล

ถ้าหากเกิดสภาวะดังกล่าวขึ้นมาจริง การเมืองไทยก็จะติดหล่ม "วิกฤตการเมือง" อีกครั้ง

และ อาจจะเป็น "มหาวิกฤต" เนื่องจากมวลชนเสื้อแดง ที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยอยู่คงต้องออกมาเคลื่อนไหว และอาจจะนำไปสู่เหตุอันไม่พึงประสงค์ได้โดยง่าย

ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นมาแล้ว คงจะควบคุมเอาไว้ไม่ได้ง่ายๆ

ประเทศชาติ ก็คงอยู่ในภาวะ "หายนะ" อีกรอบ



การเลือกตั้ง วันที่ 3 กรกฎาคม จึงทรงความหมายสำหรับคนไทยอย่างยิ่ง

เพราะจะเป็นการตัดสิน "อนาคต" ของประเทศว่าจะก้าวหน้าหรือถอยหลัง

ทุกคะแนน จึงมีความหมาย

และควรจะเป็นการลงคะแนน ที่ต้องมี "ยุทธศาสตร์" อยู่พอสมควร

นั่นคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อาจจะต้องตัดสินใจให้ "เด็ดขาด" ว่าควรจะเอาหรือไม่เอาใคร

โดยอาจจะต้องจำกัดอยู่ใน 2 พรรคการเมืองใหญ่ คือพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย

หาก เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ ที่เสนอตัว ถอนพิษทักษิณ และเรียกร้องประสิทธิภาพการบริหารงาน ที่ไม่ใช่รัฐบาลผสม ก็ควรเทเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์อย่างเด็ดขาดไปเลย

เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นการชนะโดยเสียงส่วนใหญ่จริงๆ

ไม่ต้องไปพึ่งตัวช่วย หรือไปใช้แท็กติกทางการเมือง จัดรัฐบาลแข่งกับพรรคเพื่อไทย

การชนะอย่างท่วมท้นและขาวสะอาดเท่านั้น จะทำให้มวลชนที่ต่อต้าน ไม่มีน้ำหนักเพียงพอ

ตรง กันข้าม หากเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ "ดีแต่พูด" และต้องรับผิดชอบกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับประเทศ ก็ควรเทเสียงให้พรรคเพื่อไทย อย่างท่วมท้นไปเลยเช่นกัน

คือควรจะได้เสียงเกิน 250 เสียง เพื่อที่จะขจัดปัญหาที่ใครจะมาตั้งรัฐบาลแข่ง

ขณะ เดียวกัน เสียงที่ยิ่งมากยิ่งดีเพราะมันจะเป็นภูมิคุ้มกันอันสำคัญ ที่จะกันไม่ไห้ "มือที่มองไม่เห็น" หรือ "ตัวช่วยฝ่ายตรงข้ามทั้งหลาย" เข้ามาจุ้นจ้าน หรือแทรกแซงประชามติของประชาชน

หากยังดื้อดึง หรือไม่ยอมรับกับ "มติ" ของประชาชน เชื่อว่า "มือที่มองไม่เห็น" หรือ "ตัวช่วยฝ่ายตรงข้ามทั้งหลาย" จะไร้ความชอบธรรมไปเอง

นี่คือสิ่งที่คนไทยควรจะร่วมกัน "ตัดสิน" ในวันที่ 3 กรกฎาคม

ตัดสินกันให้ "เด็ดขาด" ไปเลย

เลือก “คนจริง” ให้ท่วมท้นสภา

ที่มา Voice TV



Wake up Thailand ประจำวันศุกร์ ที่ 1 ก.ค. 2554

นำเสนอในประเด็น
- โหมโรง "อนาคตประเทศไทย ใต้ฟ้าเดียวกัน VS อนาคตประเทศไทย 2020
- "ปฏิญญาบรูไน" ข่าวปล่อย หรือ ลับ ลวง พราง (ภาคต่อ) ?
- ประวิตร' ปัดหารือ 'วัฒนา' ทำปฏิญญาบรูไน
- จี้สมาคมนักข่าวฯ สอบนักข่าวรับเงินพรรคการเมือง
- รีวิวนิตยสารการเมืองรายสัปดาห์
- บทวิเคราะห์ ของ ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์

เปิดใจ"อนุสรณ์ อมรฉัตร" "ภรรยาของผม อ่อนโยนแต่เข้มแข็ง"

ที่มา มติชน









หมายเหตุ - บทสัมภาษณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ปรากฏการณ์ยิ่งลักษณ์" จัดทำโดยทีมข่าวเฉพาะกิจหนังสือพิมพ์โลกวันนี้

แรกเริ่มรัก

"ช่วง ที่เจอคุณปู ผมทำงานบริษัทในเครือซีพี ส่วนคุณปูทำงานที่ Yellow Pages ผมรู้จักพี่สาวคุณปู เพราะเขาส่งสินค้ามาขายในแม็คโคร คุณปูอยากเอา Yellow Pages มาวางในแม็คโครเลยนัดให้เราคุยกัน ตอนเจอกันรู้สึกว่าคุยกับถูกคอ จำไม่ได้ว่าเริ่มจีบตอนไหน

ตอนนั้นคุณปูฮอต ส่วนผมก็เนื้อหอมเหมือนกัน (ยิ้ม) ผมเพิ่งเรียนจบปริญญาโทจากอเมริกา กลับมาทำงานบริษัทและไปสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ถือว่าหน้าที่การงานมั่นคง เลยมีคนเข้าหาเยอะแต่ผมถูกใจคุณปูที่สุด เพราะเขาสวย ทำงานเก่ง เวลาคุยสามารถปรึกษาเรื่องธุรกิจได้ เพราะเขาไม่แข็งเกินไป บางครั้งเขาแนะนำเราบางครั้งเราแนะนำเขา

ผม ชอบที่คุณปูมาจากสังคมต่างจังหวัด ดังนั้น การสื่อสารระหว่างเราจึงเป็นแบบง่ายๆ คุยกันรู้เรื่อง เพราะผมเองก็เป็นคนง่ายๆ สบายๆ ถ้าเทียบกับนักธุรกิจคนอื่นๆ ที่มาจีบคุณปู ผมคงสู้ไม่ได้แต่คุณปูไม่ใช่คนที่สนใจตรงนี้ คิดว่าเหตุผลที่คุณปูเลือกผมคงเพราะมองว่าขยันทำงาน


ผม ประทับใจคุณปูที่เป็นคนอ่อนโยนแต่เข้มแข็ง เราทั้งคู่งานยุ่งมากเหมือนกัน แต่เขาแกร่งและขยันมาก เวลาผมโทรศัพท์ไปจีบเขาสามารถนั่งเซ็นเอกสารไปด้วยคุยไปด้วยได้ หรือบางทีผมไปพักผ่อนกับเพื่อนแล้วโทร.ไปหา เขายังนั่งทำงานอยู่เลย"

เริ่มต้นชีวิตครอบครัว

"ผม ตัดสินใจขอแต่งงานกับคุณปู เพราะอยู่ด้วยแล้วมีความสุขเขาเป็นทั้งเพื่อน ที่ปรึกษา ช่วยเติมเต็มส่วนที่เราไม่มี คอยดูแลเอาใจใส่จนทำให้ชีวิตผมดีขึ้น

แม้จะแต่ง งานกันแล้วเราก็ยังให้เวลาส่วนตัวซึ่งกันและกัน บางวันผมไปตีกอล์ฟ คุณปูไปร้านเสริมสวยบางครั้งผมไปสังสรรค์กับเพื่อน ส่วนเขาไปช็อปปิ้ง ทุกอย่างเลยลงตัว

ผมอยู่กับคุณปูมาเกือบ 20 ปีไม่เคยทะเลาะกันรุนแรง ถ้างอนก็ไม่นาน เพราะเรามีกฎว่าถ้าผมงอนห้ามออกจากบ้าน และภายในครึ่งชั่วโมงต้องง้อเขา (หัวเราะ) ส่วนคุณปูถ้างอนแล้วออกไปไหน เขาจะโทร.บอกว่าอยู่ไหน แล้วให้ผมตามไปง้อเลยทำให้ผมคิดว่างั้นจะทะเลาะกันทำไม ดีกันไว้ดีกว่า"

ชีวิตคู่เติมเต็มเมื่อมีลูก

"ก่อนมี "น้องไปค์" ผมกับคุณปูมีกิจกรรมที่ชอบทำของแต่ละคน แต่พอมีลูกก็เปลี่ยนไปเราสองคนหันมาทุ่มเทเวลาให้ลูกหมด

ถ้าไม่มีน้องไปค์ คุณปูอาจจะเห็นว่าผมเป็นลูกไปแล้วก็ได้ เพราะก่อนมีลูกชาย เขาเคยมาลูบคอล้อเล่นแล้วเรียกว่า "ลูกป๊อปๆ" (หัวเราะ)

พอ มีน้องไปค์แล้ว เราสองคนยิ่งผูกพันขึ้นเรื่อยๆ คุณปูเคยบอกว่าลูกชายกับพ่อเหมือนกันมากถึง 90% เขาบอกว่าเมื่อก่อนเวลาผมไม่อยู่เขาจะเหงา แต่ตอนนี้ผมจะไปไหนก็ได้ เพราะเขามีน้องไปค์เป็นตัวแทนผม (ยิ้ม)"

เป็นผู้หญิงแกร่ง อดทน

"คุณ ปูเป็นคนที่กล้ายอมรับความจริงและกล้าเผชิญ ความจริงเขาสามารถนั่งดูทีวีที่มีคนมาด่าหรือใส่ร้ายเขาได้ ช่วงหนึ่งที่มีแต่คนออกมาด่า ผมบอกว่าทนดูได้ยังไง ผมเห็นแล้วยังต้องรีบปิดทีวีหนี แต่เขาบอกว่าไม่ได้หรอก ต้องดูเพื่อเก็บข้อมูลจะได้ชี้แจงและตอบโต้ว่าอันไหนจริงหรือไม่จริง เรียกว่าเขาอดทนและทำใจรับกับสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาได้ดี

ทุก วันนี้คุณปูยังทำงานหนัก ยิ่งมาลงเล่นการเมืองก็ยิ่งทำงานหนัก ทำให้เวลาเขาบ่น ผมจะยอมๆ เขา แต่ถึงจะงานหนักยังไง แค่ไปแหย่เขาหน่อย เขาก็หัวเราะแล้ว เขารู้จักแบ่งอารมณ์ ผมยังคุมอารมณ์ได้ไม่ดีเท่าเขาเลย ไม่ได้ชมกันเอง แต่ชมในฐานะนักธุรกิจและคิดว่านี่เป็นจุดแข็งของเขา"

"หลัง จากนี้ครอบครัวผมคงเปลี่ยนไปเยอะ จากเดิมที่เราเป็นนักธุรกิจด้วยกันทั้งคู่ แต่พอมีคนหนึ่งเข้าไปสู่การเมือง ความเป็นส่วนตัวก็หายไปจึงต้องทำใจและทำตัวให้หนักแน่นเพราะต้องมีทั้งคนที่ คิดดีและไม่ดีกับเรา แต่บางเรื่องเราก็ขำไม่ออก เพราะห่วงว่าถ้ามีคนเอาเรื่องไปจริงและไม่ดีไปบอกลูกชายเราล่ะ จะทำอย่างไร

ผม นั่งพูดกับลูกทุกวันว่า ถ้าแม่ลงเล่นการเมืองก็ต้องมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ถ้ามีคนชม ลูกรับไว้ แต่อย่าเหลิง แต่ถ้ามีคนว่าพ่อแม่ไม่ดี ลูกต้องหนักแน่น เราไม่เคยสอนให้เขารังแกใคร เอาเปรียบใคร ดังนั้น ถ้าลูกรู้ว่าแม่เป็นคนดี เวลาใครมาพูดอะไร เขาก็ต้องหนักแน่นคิดว่าต่อไปผมคงต้องระวังตัวมากขึ้น และคงปรับตัวให้ได้กับการเมืองไทย แต่ผมยืนยันว่าจะเป็นตัวของตัวเอง ใช้ชีวิตเหมือนเดิม ทำในสิ่งที่อยากทำ แต่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเท่านั้นก็พอ"

"ธิดา" นำคนเสื้อแดงเยี่ยม "จตุพร" เผยอัมสเตอร์ดัมอยากมาทำคดีในไทย

ที่มา มติชน



(ที่มา ข่าวสดออนไลน์)

เมื่อ เวลา 10.00 น. ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) น.พ.เหวง โตจิราการ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายขวัญชัย ไพรพนา แกนนำกลุ่มคนรักอุดร และนายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย พร้อมสมาชิกเสื้อแดง กว่า 200 คนเดินทางมาเยี่ยม นายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายนิสิต สินธุไพร ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำฯ เพื่อให้กำลังใจ

นาง ธิดา กล่าวภายหลังว่า เหลืออีกเพียง 2 วันเท่านั้นก็จะถึงวันเลือกตั้ง วันนี้ตนและแกนนำคนอื่นๆ รวมทั้งคนเสื้อแดงจำนวนมากได้นัดหมายมาเยี่ยมนายจตุพร และนายนิสิตที่เรือนจำแห่งนี้เพื่อให้กำลังใจ โดยเฉพาะนายจตุพรที่ศาลไม่อนุญาตให้ออกไปใช้สิทธิในวันที่ 3 ได้ จากการพูดคุยกับนายจตุพร เขาก็ไม่ได้มีอาการวิตกกังวลอะไร ยังสดชื่นดี โดยเขาได้บอกให้ทนายความส่งหนังสือถึงสำนักงานเขตวังทองหลาง เพื่อแจ้งเหตุผลที่ไม่สามารถออกไปใช้สิทธิในวันดังกล่าวได้ เพราะศาลไม่อนุญาตให้ออกเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ

นาง ธิดา กล่าวต่อว่า เมื่อไม่นานมานี้นายอัมสเตอร์ดัม ทนายความของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งจดหมายมาหาตนเพื่อให้ช่วยทำหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ว่าตัวเขามีความประสงค์ที่จะขอเข้ามาดำเนินการเรื่องคดีความต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งวันนี้ตนก็จะร่างจดหมายตามที่เขาขอร้องส่งไปยังนายกฯ ส่วนจะได้หรือไม่คงต้องรอดู

ประธาน นปช.กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญ หากว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ตนในฐานะประธาน นปช.คนเสื้อแดงก็จะยังคงเดินหน้าเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้เสียชีวิต ผู้ถูกคุมขัง และผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์การเมืองที่ผ่านมาต่อไป เพราะ นปช.เป็นองค์กรภาคเอกชน มีหน้าที่เรียกร้องความเป็นธรรม พร้อมทั้งจะเสนอให้รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาบริหารประเทศได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหลายมาตราที่ไม่เป็นธรรมกับประชาชน

เอาพระเอกนำ ! วราทิต ไชยนันท์ ชวน "สมบัติ เมทะนี"พระเอกดังมาช่วยหาเสียง

ที่มา มติชน





เมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม 54 นายวราทิต ไชยนันท์ ผู้สมัครส.ส. จ.ตาก เขต 2 พรรคเพื่อไทย ได้นั่งขบวนรถยนต์หาคะแนนเสียงในเขตเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากในโค้งสุดท้าย โดยมีนายสมบัติ เมทะนี ดารานักแสดง และผู้สมัครส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ยืนบนรถยนต์คู่กับนายวาราทิต ออกกหาเสียงโบกไม้โบกมือให้กับประชาชนที่อยู่ 2 ข้างทาง ซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชน 2 ข้างทางเป็นอย่างดี

บังเอิญจริงๆ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
สมิงสามผลัด



อีกแค่ 2 วันก็ถึงวันเลือกตั้งแล้ว

มีการคาดการณ์กันว่าจะชนะกันแบบขาดลอย

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกมองว่ากำลังเพลี่ยงพล้ำ

จึงต้อง "จัดหนัก" เตะตัดขาพรรคเพื่อไทยให้ได้

หาเสียงวนเวียนอยู่กับเรื่อง "ทักษิณ"

หวังกลบกระแส 91 ศพและดึงคะแนนจากพลังเงียบ

ตามมาติดๆ ด้วยการ "จัดเต็ม" ประกาศถอนตัวจากภาคีมรดกโลกของ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ และผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์พรรคกิจสังคม

จนพวกม็อบคลั่งชาติชูเป็นฮีโร่

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ผสมโรงหยิบยกเป็นความดีความชอบ (ตามเคย)

แต่การที่นายสุวิทย์ถอนตัวครั้งนี้ก็ถูกวิจารณ์ถึงความเหมาะสม

เพราะ ผอ.ยูเนสโกออกแถลงการณ์ยืนยันว่าไทยเข้าใจผิดไปเอง กก.มรดกโลกไม่มีวาระพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทเขาพระวิหารตามที่กัมพูชา เสนอ

แล้วนายสุวิทย์ถอนตัวทำไม ??

ขณะที่ นายพิษณุ จันทร์วิทัน รองปลัดกระทรวงต่างประเทศ ระบุว่ารัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจถอนตัวจากภาคีมรดกโลก

ก็ต้องถามอีกว่านายสุวิทย์ถอนตัวทำไม !?

หากย้อนกลับไปดูพรรคกิจสังคมก็ชูนโยบายทวงสิทธิ์เขาวิหารตั้งแต่เริ่มหาเสียง

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะบังเอิญหรือเปล่าที่ นายสุวิทย์ประกาศถอนตัวก่อนเลือกตั้งไม่กี่วัน

แล้วเดินทางกลับเมืองไทยแบบฮีโร่

นายอภิสิทธิ์ก็ฉวยโอกาสเดียวกันนี้ โจมตีรัฐบาลยุคพลังประชาชนเป็นต้นเหตุปัญหานี้

โดยเป้าหมายที่แท้จริงก็คือ "ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ-เพื่อไทย" แล้วลากโยงไปถึง ฮุนเซน

ก็ต้องย้อนถามกลับไปว่าปัญหาในภาคีมรดกโลก

นายอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลมา 2 ปี ทำไมไม่แก้ปัญหาให้จบ

รอจนถึงเหลืออีกไม่กี่วันจะเลือกตั้งถึงมาประกาศถอนตัว !?

ไม่อยากมองไปไกลจนถึงขั้นเกิดการปะทะระหว่างไทย-เขมรอีก จนนำไปสู่การล้มเลือกตั้ง

แต่ ก็ไม่วายนึกถึงหนังฝรั่งดังเรื่อง Wag The Dog เนื้อหาก็เกี่ยวกับทีมหาเสียงของประธานาธิบดีสหรัฐที่ทำทุกวิถีทางเพื่อกู้ วิกฤตในช่วงคะแนนนิยมตกต่ำ

กุเรื่องสงครามในยุโรป อุปโลกน์ฮีโร่ขึ้นมาตามสไตล์อเมริกันชน

สุดท้ายก็ถูกเปิดโปง จบเห่กันทั้งหมด

ช่างบังเอิญเหมือนการเมืองในบางประเทศตอนนี้จริงๆ

กาหลังเลขพรรควุ่น

ที่มา ข่าวสด

ธิดาเสนอ"กกต." แก้กฎเป็นบัตรดี



บัตรปัญหา - นางธิดา โตจิราการ พร้อมกลุ่มคนเสื้อแดง ยื่นหนังสือต่อกกต.เรียกร้องให้แก้ปัญหาบัตรเลือกตั้งส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ กำกวม ไม่ชัดเจน อาจส่งผลทำให้มีบัตรเสียจำนวนมากได้ เมื่อ 30 มิ.ย.

ทนาย นปช. "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม" จ.ม.เปิดผนึกอีกรอบ ถึง "มาร์ค" กับ "กกต." เรียกร้องเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม เคารพคะแนนเสียงประชาชน ชี้จุดจบการทำลายเจตจำนงประชา ธิปไตยถึงกาลอวสานแล้ว "ธิดา" จี้กกต.แจกแจงยอดใช้สิทธิ์ล่วงหน้า ย้ำต้องแก้ไขระเบียบกากบาทลงคะแนนเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ชาวบ้านยังสับสน แนะให้กาช่องโลโก้พรรคก็ได้ หวั่นบัตรเสียเป็นล้านใบ แล้วกกต.จะรับผิดชอบอย่างไร ส่วนเพื่อไทยก็ยืนยัน หลังสุ่มตัวอย่างพบกาผิดอื้อ ขณะที่กรรมการสิทธิฯ นัดประชุมครั้งสุดท้าย สรุปเหตุรุนแรงเม.ย.-พ.ค.53 เตรียมจัดทำรายงานเผยแพร่ต่อสาธารณะ

เมื่อ วันที่ 30 มิ.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นางธิดา โตจิราการ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) พร้อมด้วยกลุ่มคนเสื้อแดง เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. เพื่อขอให้ กกต. แจกแจงยอดผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตของแต่ละจังหวัด ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อจะนำไปตรวจสอบกับผลการเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค. ว่ามียอดรวมเท่ากันหรือไม่

"เรื่องนี้ควรบริหารจัดการอย่างโปร่งใส ถูกต้อง รวมถึงให้ความเป็นธรรมกับประชาชน ไม่ให้การเลือกตั้งเป็นเพียงพิธีกรรม และให้เพื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมาจบสิ้น ล้างหมดไปด้วยการเลือกตั้ง ที่เสนอขอข้อมูลครั้งนี้เป็นเพียงมาตรการป้องกันการทุจริต และส่งเสริมให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม" นางธิดากล่าว

รักษาการ ประธาน นปช.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังขอให้ กกต.ทบทวนเรื่องการแก้ไขระเบียบการกากบาทบัตรเลือกตั้ง เนื่องจากการบริหารเลือกตั้ง และพิมพ์บัตรเลือกตั้งผิดพลาด รวมถึงการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา กกต.มีความผิดพลาดหลายอย่าง ทั้งในเรื่องของประชาชนจำนวนกว่าแสนคน ไปใช้สิทธิ์ในสถานที่เดียวกัน มีกระบวนการขั้นตอนที่บริหารจัดการไม่ถูกต้อง และการประชา สัมพันธ์ของ กกต.ยังไม่ทั่วถึง การที่คนออกมาใช้สิทธิ์กว่า 50 เปอร์เซ็นต์เป็นไปตามที่ นปช. คาดการณ์ไว้ เพราะมีประชาชนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจ และไม่รู้เรื่องในการปฏิบัติตน

นาง ธิดากล่าวว่า ในการจัดการเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. หาก กกต.ยังไม่ทบทวน หรือแก้ไขระเบียบให้สามารถกากบาทในช่องโลโก้ หรือสัญลักษณ์ได้ จะทำให้มีบัตรเสียจำนวนมาก เพราะหากอ่านข้อความของ กกต.ที่ระบุไว้ที่บัตรเลือกตั้งให้กากบาทในช่องหลังหมายเลข ในส่วนของบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อนั้น จะเป็นช่องที่เป็นโลโก้ ซึ่งเป็นช่องที่อยู่หลังหมายเลขตามข้อความที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง หากไม่แก้ไขจะมีคนกาผิด และทำให้เป็นบัตรเสียจำนวนมาก กกต.จะรับผิดชอบอย่างไร

"หากวันเลือกตั้งปรากฏว่านับคะแนนออกมาแล้ว มีบัตรเสียเป็นล้านใบ กกต.จะรับผิดชอบอย่างไร ทางกลุ่มเล็งเห็นว่า กกต.กำลังเปิดประตูสู่ความหายนะ จัดเลือกตั้งแล้วไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม แล้วจะพูดได้อย่างไรว่าการเลือกตั้งนี้บริสุทธิ์ยุติธรรม พวกเราไม่ได้มารักษาสิทธิ์ของพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่เป็นห่วงว่าอาจมีคนจำนวนมากกากบาทตรงช่องโลโก้พรรคหลังช่องหมายเลข เนื่องจากโลโก้พรรคที่อยู่ในช่องมีขนาดเล็ก อาจทำให้ผู้ใช้สิทธิ์เข้าใจผิดว่าเป็นช่องลงคะแนน แล้วทำให้บัตรนั้นกลายเป็นบัตรเสีย กกต.จะรับผิดชอบอย่างไร แล้วสังคมไทยจะมีทางออกอย่างไร ขอเสนอให้ กกต.แก้ระเบียบกาในช่องโลโก้ได้ โดยไม่ถือว่าเป็นบัตรเสีย" นางธิดากล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่ม เติมว่า สำหรับบัตรลงคะแนนเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ประกอบด้วย ช่องแรก เป็นช่องหมายเลขพรรค ช่องที่ 2 เป็นช่องโลโก้ หรือสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง ช่องที่ 3 เป็นช่องระบุชื่อของพรรค และช่องที่ 4 เป็นช่องลงคะแนน แต่ในบัตรเลือกตั้งระบุว่าให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ภายในช่องทำเครื่องหมายด้านขวาของหมายเลขพรรคการเมืองเพียงหมายเลขเดียว ซึ่งจากกรณีนี้เป็นสาเหตุให้นางธิดาเกรงว่าจะสร้างความสับสนให้ประชาชน หากกาผิดช่องนิดเดียวจะกลายเป็นบัตรเสีย จึงเรียกร้องให้ กกต.แก้ไขระเบียบดังกล่าว

แน่นหนา - พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์ เจริญ ที่ปรึกษา (สบ10) ตรวจสอบการเก็บรักษาบัตรเลือกตั้งล่วงหน้า จ.นนทบุรี เขต 4 ที่สภ.ปากเกร็ด ยืนยันปลอดภัยดี ล็อกกุญ แจถึง 3 ชุด และมีตร.เฝ้าตลอด 24 ช.ม.



หลัง จากนางธิดายื่นหนังสือต่อตัวแทนประธาน กกต.แล้ว คำร้องดังกล่าวจะเข้าสู่กระบวนการตามขั้นตอนของการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ก่อนจะเข้าไปยังที่ประชุมกกต. โดยก่อนหน้านี้ ทั้งนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง และนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เคยให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ไม่สามารถจะแก้ไขได้ว่าหากกาในช่องโลโก้แล้วไม่เป็นบัตรเสีย เพราะจะขัดกฎหมาย แต่อนุญาตให้ทางพรรคการเมือง สามารถประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอย่างถูกต้อง ว่าให้กากบาทอย่างไร ตรงช่องไหน ถึงจะไม่เป็นบัตรเสีย ขณะที่ กกต.เองก็จะประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ เพื่อป้องกันประชาชนเข้าใจผิด

ที่ พรรคเพื่อไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยแกนนำพรรค ร่วมแถลงภายหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรค และผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่ปรึกษาพรรค กล่าวว่า จากการซุ่มสำรวจตัวอย่างประชาชนที่ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าใน 2 จังหวัด คือ จ.อุดรธานี กรณีลงคะแนนบัตรเลือกตั้งส.ส. บัญชีรายชื่อ ได้ข้อมูลว่าประชาชน 10 ตัวอย่าง กากบาทในช่องสัญลักษณ์ของพรรค เป็นช่องที่ต่อจากหมายเลขถึง 9 ตัวอย่าง ส่วน จ.ขอนแก่น สำรวจความเห็นประชาชน 30 ตัวอย่าง พบกากบาทในช่องสัญลักษณ์ของพรรคถึง 28 ตัวอย่าง หากกากบาทในช่องดังกล่าวจะทำให้เป็นบัตรเสียทันที

พล.ต.อ. ประชากล่าวว่า เนื่องจากการกากบาทในลักษณะนี้เป็นการลงคะแนนในส่วนของบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งเขต ทำให้พรรคเพื่อไทยมีความวิตกกังวลในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะมีประชาชนจำนวนมากไม่ทราบถึงกฎระเบียบในส่วนนี้ ดังนั้น อยากให้ กกต.ระบุรายละเอียดการกากบาทเครื่องหมายในแต่ละบัตรเลือกตั้งอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันประชาชนสับสน และเข้าผิดในการลงคะแนน

ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า การประชุมในครั้งนี้ทางกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยกำชับและสั่งการให้ผู้ สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อเร่งลงพื้นที่ร่วมกับผู้สมัครส.ส.เขตในแต่ละจังหวัด เน้นประชา สัมพันธ์เรื่องการกากบาทลงคะแนนในบัตรเลือกตั้ง ทั้งในแบบบัญชีรายชื่อและแบ่งเขตเป็นหลัก เพราะจากการสำรวจการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าที่ผ่านมา พบว่าประชาชนหลายจังหวัดโดยเฉพาะภาคเหนือและอีสานเข้าใจผิด จึงกากบาทผิดช่อง อาจส่งผลกระทบตามมาถึงผลการเลือกตั้งของพรรค

ขณะ เดียวกัน ที่รัฐสภา นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมืองวุฒิสภา พร้อมด้วย นายเมธา ศิลาพันธุ์ ผอ.กกต.นครราชสีมา นางธิดา และตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต และหาข้อสรุปเกี่ยวกับคำสั่งของบัตรเลือกตั้ง

อ่านรายละเอียดทั้งหมดคลิ้ก ข่าวสด

"มาร์ค-สุวิทย์"ทำเสีย ชาญวิทย์ชี้!

ที่มา ข่าวสด

อดีตอธิการมธ.ซัดถอนมรดกโลก เล่นการเมืองไม่สนประเทศ-ปชช. ขี้แพ้ชวนตี-เป็นแกะดำของโลก


อดีต อธิการมธ.-นักประวัติศาสตร์อาวุโส "ชาญวิทย์"ติงอภิสิทธิ์-สุวิทย์นำประเทศไทยออกจากมรดกโลก ระบุเป็นการเมืองยิ่งกว่าการเมืองก่อนเลือกตั้ง โดยไม่สนใจต่อความเสียหายของประเทศ-ประชาชน เหมือนบอลแพ้ แต่คนเล่นคนดูบางกลุ่มไม่ยอมแล้วยังขี้แพ้ชวนตี และถือเป็นความตกต่ำด้านการต่างประเทศอย่างสาหัสสากรรจ์ที่สุด ตั้งคำถามแค่อภิสิทธิ์-สุวิทย์ตัดสินใจแทนคน 60 กว่าล้านเจ้าของประเทศได้อย่างไร

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการอาวุโสด้านประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซ บุ๊ก ถึงกรณีไทยถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลกว่า ถ้อยแถลงของนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรมต.สุวิทย์ คุณกิตติ เรื่องการถอนตัวออกจากกรรมการมรดกโลก (อย่างสับสน กำกวม) และถูกตอบโต้โดย ผอ.อิรินา โบโกวา ของ ยูเนสโก ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง 3 ก.ค. นั้น สรุปได้ว่า นี่เป็น "การเมืองยิ่งกว่าการเมือง" โดยไม่สนใจ ต่อความเสียหายของ "ประเทศชาติ-ประชาชน"

หนึ่ง) นี่เป็นความตกต่ำของ "วิเทโศบายการต่างประเทศการทูต" ของเราอย่างสาหัสสา กรรจ์

สอง) การเมืองก่อนวันเลือกตั้งเรื่องนี้ สอน(ซ้ำๆ) ให้รู้ว่า "บอลแพ้ คนเล่นและคนดู (บางคน บางสถาบัน และบางพรรค) ไม่ยอมแพ้"

สาม) การเมืองก่อนวันเลือกตั้งเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า "คนเล่น บางพรรค บางสถาบัน คือ ขี้แพ้ ชวนตี" (ไม่มีสปิริตนักกีฬาที่ดี)

สี่) การเมืองภายใน และ "วาทกรรม" เรื่องนี้ สอนให้รู้ "ซ้ำๆ" ว่า "วาทะ" ของ "ชาวกรุง" (จอมพลสฤษดิ์) ที่ว่า "วันหนึ่งจะเอาปรา สาทเขาพระวิหารกลับมาเป็นของชาติไทยให้จงได้"

และ (เสนีย์ ปราโมช) "เราไม่ยอมรับแผนที่ เราถือสันปันน้ำ" นั้น

จบลงด้วยเป็น "กรรม" ของ "ชาวบ้าน" ชายแดน ที่บาดเจ็บ ล้มตาย พลัดที่นา คาที่อยู่ ทำมาหากินไม่ได้

ห้า) การเมืองก่อนวันเลือกตั้งเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า วิเทโศบายดังกล่าว อาจบานปลาย ทำให้เกิดสงครามชายแดน (ขึ้นอีก) และ (อาจ) ล้มการเลือกตั้ง หรือไม่ก็สร้างกระบวนการ (ที่ในบั้นปลาย) ทำลายระบอบประชาธิปไตย-การเลือกตั้ง ทั้งหมด

หก) การเมืองก่อนการเลือกตั้งเรื่องนี้ ทำให้เราตั้งคำถามว่า รัฐบาลที่มา (ด้วยวิธีการที่ไม่ชอบมาพากล) จากพรรคผสมไม่กี่พรรคกับผู้นำระดับนายกฯ อภิสิทธ์ และรมต.สุวิทย์ เพียงไม่กี่คน มีความชอบธรรมแค่ไหนที่จะถอน "สยามประเทศไทย" ของเรา ออกจากองค์กรระดับโลก เช่น ยูเนสโก ของนานาอารยชาติ และโลกศิวิไลซ์

เจ็ด) การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ระดับสำคัญสุดเช่นนี้ จะต้องถาม เจ้าของประเทศ คือ ประชาชนที่มีอยู่กว่า 60 ล้านคน จะต้องผ่าน "รัฐสภา" หรือท้ายที่สุดจะต้องมี "ประชามติ" หรือไม่

การถอนตัวจาก "มรดกโลก" โดยไม่ถาม "คนไทย" เจ้าของประเทศ โดยไม่ผ่านรัฐสภา โดยไม่มีประชามติ ถ้อยแถลงของนายกฯ อภิสิทธิ์ และรมต.สุวิทย์ เรื่องการ "ถอนตัว" ออกจาก "มรดกโลก" อย่างสับสน และกำ กวมนั้น

ทำให้เราต้องตั้งคำถามว่า หนึ่ง) นี่เป็นการลาออกจากกรรมการมรดกโลก ใช่ไหม

ถ้าใช่ ก็แปลว่าในคณะกรรมการมรดกโลก ที่มีสมาชิกอยู่ 21 ประเทศ โดยไทยเรามีอธิบดี(หญิง)กรมศิลปากร เป็นตัวแทนนั้น ก็จะหมดสภาพไป

ไทยเราต้องเลิกคบหาสมาคมกับนานาอารยะอีก 20 ประเทศ ใช่ไหม

สอง) แต่ถ้า นี่ไปไกลกว่านั้น คือ เป็นการลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกของ "อนุสัญญามรดกโลก" ซึ่งมีภาคีสมาชิกนานาอารยะอยู่ 187 ประเทศ ไทยเราก็จะกลายเป็น "ประเทศหนึ่งเดียว" ที่เป็น "แกะดำ" ของโลก ใช่หรือไม่

สาม) ไม่ว่า "สยามประเทศไทย" จะลาออกจากกลุ่ม 21 หรือกลุ่ม 187 ก็ไม่สามารถทำให้ประชามหาชนเข้าใจได้ว่านี่เป็นการดำเนินวิเทโศบาย อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และต่อประชาชน และนี่ไม่ใช่ความตกต่ำสุดของนโยบายต่างประเทศ หรือการทูตของไทย

สี่) คำถามต่อมาคือ แล้วไทยเราจะทำอย่างไรกับมรดกโลก 5 แห่งที่เราได้รับการประทับตราของยูเนสโก คือ บ้านเชียง, สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร, อยุธยา, ทุ่งใหญ่นเรศวร และดงพญาเย็นเขาใหญ่ เราจะต้องส่งคืน "ทะเบียน" และเลิกใช้ "ตราโลโก้" ของยูเนสโก ใช่หรือไม่

ห้า) คำถามสุดท้าย ก็คือ ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ที่สำคัญยิ่งยวดเช่นนี้ ทั้งนายกฯ อภิสิทธ์ หรือรมต.สุวิทย์ จากเพียง 2 พรรคการเมือง มีความชอบธรรมแค่ไหน ที่จะดำเนินการผลีผลามทำไปโดยไม่ได้ถามเจ้าของประเทศ คือ ประชาชนที่มีอยู่กว่า 60 ล้านคน โดยที่ไม่ได้ผ่าน "รัฐสภา" หรือท้ายที่สุดโดยที่จะไม่ทำ "ประชามติ"

วันเดียวกันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย ปราศรัยว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ทำให้สนามการค้าบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นสนามรบ ว่า ข้อเท็จจริงไม่ใช่อย่างนั้น ความจริงถ้าดูตัวเลขการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ เพราะแยกปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป กับปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะจุด ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นชัดอยู่แล้วว่าพรรคพลังประชาชนต่อเนื่องมาถึงพรรคเพื่อ ไทยสร้างปมปัญหาไว้

ผู้สื่อข่าวถามว่าเพื่อไทยบอกว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะทำให้สนามการค้ากลับมา และคืนความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การค้าขณะนี้มีบางจุดที่เป็นปัญหา สิ่งสำคัญคือต้องรักษาอธิปไตย และเราพยายามทำไม่ให้กระทบกระเทือนกับภาคส่วนอื่นๆ ตรงนี้ทราบกันดีอยู่เวลาที่กัมพูชาพูดถึงเรื่องนี้ จะยืนยันว่าความสัมพันธ์ด้านอื่นไม่ได้กระทบ

เมื่อถามว่าวันนี้เรื่องกัมพูชาถูกโยงเข้ามากับการเมืองในประเทศ เป็นไปโดยธรรมชาติหรือความจงใจ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า "ผมว่ามันเป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้วว่ากัมพูชาพยายามจับตาดูการเมืองไทย และคิดว่าถ้าได้มีรัฐบาลต่อเนื่องการเจรจาต่อรองของเราน่าจะง่ายขึ้นมาก เพราะกัมพูชาอยากจะได้รัฐบาลซึ่งยอมเขามากกว่า ผมยืนยันว่าที่ผมไม่ยอมเพราะเป็นผลประโยชน์ของชาติ เป็นเรื่องอธิปไตย"

"ประชาชนต้องเลือก ถ้าบอกว่าอยากเป็นมิตรกับสมเด็จฯ ฮุนเซน แล้วยอมเสียดินแดนตามที่เขาขอมาก็สนับสนุนเพื่อไทยได้ แต่ถ้าเลือกประชาธิปัตย์ เรายืนยันปกป้องผลประ โยชน์ของเรา" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์กรณีนายกฯ กัมพูชา ระบุไทยเตรียมโจมตีกัมพูชาว่า ไม่มีอะไร อย่าไปลือกัน จำได้หรือไม่ว่าที่ตนเคยพูดว่าวิธีแก้ไขปัญหาชายแดนมีอย่างเดียวคือการเจรจา พูดคุยกัน หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยากคุยวันหน้าอาจจะคุยก็ได้ ตนไม่เคยบอกว่าอยากรบ อยากเอาชนะ ประเทศไทยเป็นสุภาพบุรุษคือไม่ไปรุกราน หรืออยากได้ดินแดนของใคร เราเพียงแต่รักษาเส้นเขตแดนที่รักษาไว้มาตั้งแต่อดีตกาลตามแผนที่ อัตราส่วนที่ยึดถือไว้ ใครจะพูดอะไรอย่าไปตกใจเราทำหน้าที่ของเรา และเตรียมกำลังให้เข้มแข็งเพื่อรักษาอธิปไตย ที่ผ่านมาบาดเจ็บล้มตาย ใครได้ประโยชน์ตนยังไม่รู้เลย แต่ที่ได้คือศักดิ์ศรีเท่านั้นเอง

ขณะที่นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผวจ. ศรีสะเกษ ให้สัมภาษณ์ว่า สั่งการนายอำเภอกันทรลักษ์ ชี้แจงทำความเข้าใจประชาชนเพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์ว่า ฝ่ายกัมพูชาไม่อยากให้เกิดการขัดแย้ง โดยใช้กำลังอาวุธ เพราะไม่เป็นผลดีต่อการสู้คดีในศาลโลก ในการขึ้นทะเบียนมรดกโลก แต่เราไม่ได้ประมาทแจ้งอำเภอที่ติดชายแดนติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ถ้าเกิดการสู้รบรอบใหม่ก็พร้อมอพยพประชาชนไปอยู่ที่ปลอดภัย แต่การสู้รบไม่น่าจะเกิดขึ้นช่วงนี้

ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวอีกว่า รัฐบาลอนุมัติงบประมาณก่อสร้างหลุมหลบภัยให้กับ จ.ศรีสะเกษ ตามหมู่บ้านแนวชายแดน 451 แห่ง และซ่อมแซมหลุมหลบภัยที่มีอยู่เดิมอีก 200 กว่าแห่ง ขณะนี้หลุมหลบภัยที่มีอยู่พอเพียงสำหรับประชาชนใช้หลบภัยเบื้องต้น

ส่วนสถานการณ์บริเวณรอบปราสาทพระวิหาร ทหารไทยและทหารกัมพูชายังคงตรึงกำลังเต็มอัตรา โดยทหารไทยทำบังเกอร์เพิ่มเติมตลอดแนวด้านทิศตะวันตกของเขาพระวิหาร ขณะที่ทหารกัมพูชาใช้เครื่องจักรทำถนนจากบริเวณด้านหลังวัดแก้วสิกขาคีรีศว รขึ้นไปจนถึงเป้ยตาดี จุดสูงสุดของเขาพระวิหารแล้ว พร้อมกับส่งรถถัง 5 คันขึ้นไปเสริมกำลังใกล้ปราสาทพระวิหาร และเสริมรถถังอีก 10 คัน ที่บ้านโกมุยใกล้กับเขาพระวิหาร และอีก 10 ที่บริเวณช่องโดนเอาว์ติดชายแดน อ.กันทรลักษ์

ที่สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเชียง อ.หนอง หาน จ.อุดรธานี พ.ต.สุเมธ คำพิมาน นายกเทศมนตรีบ้านเชียง ให้สัมภาษณ์กรณีไทยถอนตัวจากภาคีมรดกโลกว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงจดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อพ.ศ.2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลก ว่าด้วยเรื่องการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี

นายกเทศมนตรีบ้านเชียง กล่าวอีกว่า ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงเห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความ สามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม วัฒนธรรมของมนุษย์ ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน และศิลปะเครื่องปั้น ดินเผาที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียง

นายกเทศมนตรีบ้านเชียง กล่าวต่อว่า การที่ไทยถอนตัวจากมรดกโลกจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและการท่องเที่ยวอย่าง ชัดเจน ปกติแล้วจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเดินทางมาบ้านเชียงปีละ ประมาณ 200,000 คน สร้างรายได้ให้กับชุมชนปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท หากไทยถอนตัวแล้วบ้านเชียงจะเป็นแค่ชุมชนเล็กๆ อาจจะเหลือเพียงตำนานบ้านเชียงที่เคยเป็นแหล่งมรดกโลก จึงอยากฝากถึงรัฐบาลเข้ามาดูแลและบริหารบ้านเชียงให้สมกับเป็นชุมชนที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว รักษาไว้ซึ่งชุมชน หมู่บ้านและวิถีชีวิตให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลไม่เหลียวแลเท่าที่ควร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังประเทศไทยถอนตัวจากมรดกโลก บรรยากาศที่แหล่งมรดกโลกบ้านเชียงเป็นไปด้วยความเงียบเหงา บริเวณหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ร้านขายของขายที่ระลึกและร้านค้าต่างไม่มีนักท่องเที่ยวเหมือนที่ผ่านมา

มะกันขู่-ถ้าไทยปว. ใช้ไม้แข็ง เลขายูเอ็นแถลง

ที่มา ข่าวสด


เลือกตั้ง-เคารพส่วนใหญ่ ผบ.ทบ.ยันเองไม่มีปฏิวัติ 2พรรคคึกปราศรัยใหญ่ "เติ้ง"ไม่เชื่อลมปากปชป. สั่งเด้งแล้วผู้การสุรินทร์



ช่วย"อาปู" - นาย พานทองแท้ น.ส. พินทองทา และน.ส.แพทองธาร ชินวัตร ลงพื้นที่ช่วยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตระเวนพบปะประชาชนย่านมีนบุรี หาเสียงให้นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ผู้สมัครส.ส.กทม. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย

ผบ.ทบ.ยัน ไม่ปฏิวัติ ลั่นอย่าทำให้ทหารกลายเป็นจำเลยสังคม แนะหลังเลือกตั้งเลิกทุกสีแล้วยึดกฎหมายเป็นหลัก"บิ๊กป้อม-วัฒนา เมืองสุข"โวยปฏิญญาบูรไนข่าวมั่ว ลั่นไม่เคยเจอกันเลย ยิ่งลักษณ์ชี้โค้งสุดท้ายชูวิสัยทัศน์ 2020 เตรียมขึ้นเวทีใหญ่รัชมังคลาฯแจง ณัฐวุฒิเชื่อชาวบ้านไม่เปลี่ยนใจ มาร์คมั่นใจปชป.ตั้งรัฐบาล หลังได้เป็นพรรคอันดับ 1 ปชป.ฟุ้งมีคน 8 หมื่นร่วมฟังปราศรัยใหญ่ลานพระบรมรูปทรงม้า กอร์ปยันเวทีนี้ไม่เกี่ยวต่อยอดราชประสงค์ เติ้งเมินนิรโทษ"ตัดสิทธิ์" แค่ลมปากปชป. สื่อนอกชี้สหรัฐเตรียมมาตรการแข็งกร้าวหากไทยมีปฏิวัติ เลขาฯยูเอ็นหวังคนไทยเคารพเสียงส่วนใหญ่

ผบ.ทบ.ยันไม่ปฏิวัติ

วัน ที่ 30 มิ.ย. ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ หลังเดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ ถึงกระแสข่าวทหารจะทำการปฏิวัติหากพรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล ว่า เป็นเพียงข่าวลือ ไม่มี ส่วนที่พยายามนำกองทัพไปโยงการเลือกตั้งนั้น เป็นความเข้าใจเก่าๆ ที่เข้าใจผิด อย่านำทหารเข้าไปเกี่ยวข้องในช่วงนี้เพราะเป็นช่วงเลือกตั้ง ช่วงคัดสรรฝ่ายบริหาร ทหารอยู่ในส่วนทหาร ใครจะเป็นรัฐบาลก็เป็นไป

เมื่อ ถามว่า หากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะเข้ามาดูแลกองทัพ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ถ้า มีอำนาจก็ทำไป ไม่ได้มุ่งหวังรักษาตัวเอง แต่สิ่งที่ทำมาทั้งหมดทำด้วยจิตใจ ทำด้วยความรักชาติ รักแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ยอมรับทุกอย่างไม่มีปัญหา ประเด็นสำคัญคือกองทัพต้องอยู่ได้ ในฐานะผู้นำกองทัพไม่อยากนำกองทัพเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ประชาชนยังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและอยากให้ทหารไปอยู่ด้วยข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งทหารจะอยู่ข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้ ทหารขอยืนตรงกลาง ไม่ใช่ความเป็นกลางทางการเมือง แต่เป็นกลางของทหารคือเดินในเส้นทางที่เป็นหน้าที่ เป็นความรับผิดชอบตามกฎหมาย และทำหน้าที่เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ส่วนที่ผู้ใต้บังคับบัญชา 4-5 คนเข้าไปเกี่ยวข้องการเมืองนั้น ยืนยันว่าต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย เพราะไม่ได้สั่งการลงไป ขณะนี้ตำรวจสอบสวนอยู่ ขอให้เป็นเรื่องบุคคล

ลั่นอย่าทำให้ทหารเป็นจำเลยสังคม

เมื่อ ถามถึงจุดยืนของกองทัพหากพรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นรัฐบาล และเสื้อแดงออกมาสร้างความวุ่นวาย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบสั่งการก็รับผิดชอบไป เป็นเรื่องของวันข้างหน้า ขอให้ใจเย็นๆ ไม่น่ามีอะไร ที่ผ่านมามีบทเรียนอยู่แล้ว ขอเรียนว่าทหารทุกคนมุ่งมั่นทำให้บ้านเมืองปลอดภัยและสถาบันหลักอยู่อย่าง มั่นคง ขอให้ประชาชนมีความรักความสามัคคี

เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทย พยายามเจรจากับกองทัพทั้งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และผบ.ทบ.นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่จำเป็น ถึงเวลาใครเป็นรัฐบาลก็สั่งทหารได้อยู่แล้ว สั่งการตามสายการบังคับบัญชา ทั้งนี้เคยพูดแล้วว่าประเทศชาติ ไม่ใช่เรื่องที่ 2 ฝ่ายมาต่อรอง และกองทัพไม่มีสิทธิ์ต่อรอง อย่าทำให้ทหารเป็นจำเลยของสังคม ใครจะเลือกตั้งได้หรือไม่ก็ตาม ทหารขอเป็นทหารของชาติและประชาชน

แนะเลิกทุกสีแล้วยึดกฎหมาย

"คิด ว่าน่าจะใช้วันเวลาที่เหลืออยู่ก่อนและหลังเลือกตั้งทำให้บ้านเมืองปลอดภัย ไม่ต้องมีสีอะไรได้แล้ว เลิกเถอะ และมาว่ากันด้วยกฎกติกา กฎหมาย อย่าทำให้บ้านเมืองเสียหาย ให้สถาบันอยู่เหนือความขัดแย้ง อย่านำท่านลงมา ไม่อยากให้ทุกคนไปแตะต้องสถาบัน ผมขอเท่านี้ แต่ไม่เคยขอได้เลย มันเป็นความกดดันเพราะผมเป็นเจ้าหน้าที่ก็ต้องดำเนินการ แต่พระองค์ท่านทรงมีพระเมตตา รับสั่งไม่อยากให้ลงโทษ แต่เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่รู้จะทำอย่างไร ดังนั้น ทุกคนต้องช่วยกันทำให้สถาบันอยู่เหนือความขัดแย้ง ท่านจะต่อสู้ก็สู้ทางการเมือง และหันกลับมาดูแลกฎหมาย ถ้าไม่ใช้กฎหมายท่านอยู่ไม่ได้ หลังวันที่ 3 ก.ค.ก็อยู่ไม่ได้ ทหารจะถอยหลังออกมาดูว่าท่านจะแก้ไขปัญหาของท่านให้ได้ ที่ผ่านมามักเรียกทหารไปช่วยตลอด แต่ไม่เรียบร้อย ดังนั้นท่านจะต้องแก้ไขกันให้ดี เรายืนหยัดในเรื่องการเมืองคือเป็นทหารประชาธิปไตย" ผบ.ทบ.กล่าว

อ่านรายละเอียดทั้งหมดคลิ้ก ข่าวสด

เก็บตก ภาพคุณปู ยิ่งลักษณ์ 30/06/54

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน
คุณ ยิ่งลักษณ์-คุณพานทองแท้-แพรทองธาร,พิณทองธาร ชินวัตร เดินตลาดสดมีนบุรีไหว้ศาลเจ้า, เดินตลาดหนองจอก, ไหว้หลวงพ่อวัดลาดกระบัง ล่องเรือหาเสียงช่วยผู้สมัครส.ส.แบ่งเขตลาดกระบัง คลองประเวศ 30 มิ.ย. 54









ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 01/07/54 ตัวช่วยให้ตายเร็ว

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



เร่งสปีด รีดระยำ ทำสถุน
ทั้งเกื้อกูล ผลักดัน ไม่หวั่นไหว
เอาตัวช่วย เร่งรัด แล้วจัดไป
หวังให้มัน ตายไว ได้สมปอง....

ล้านตัวช่วย ม้วยแน่ แช่สนิท
ลืมถูกผิด เอาใจ ใฝ่สนอง
แล้วอุ้มชู หลบหลีก ฉีกครรลอง
สร้างมัวหมอง ทั่วบ้าน สะท้านเมือง....

นักวิชาการ วิชาเกิน เลิกเขินขวย
เข้าเอออวย เร็วรี่ อัปรีย์..เหลือง
จ้างสื่อชั่ว ตระบัดสัตย์ ไม่ขัดเคือง
จนลือเลื่อง เมืองอุบาทว์ อนาถจัง....

ทั้งอำนาจ ตัวพิเศษ พวกเปรตโง่
ยังมดเท็จ อวดโอ้ โธ่..พวกงั่ง
ประเทศชาติ ฉิบหาย มลาย..พัง
ยังมั่วนั่ง สั่งการ สามานย์นัก....

เห็นกองทัพ ขยับบู้ท หวังชู้ตส่ง
สร้างมึนงง แก่ประชา เหมือนบ้าหนัก
ทั้งข่มขู่ พูดระยำ ทำยึกยัก
ยิ่งประจักษ์ เผยตน พวกคนพาล....

อีก สว. ลากตั้ง พลังถ่อย
พวกด่างพร้อย งี่เง่า ทำห้าวหาญ
เห็นทาสแท้ พวกชั่ว ทุกตัวมาร
ยิ่งรุกราน มันยิ่งฉิบหาย ยิ่งตายเร็ว....

๓ บลา / ๑ ก.ค.๕๔

เก็บตกเรื่องขำขัน: เจาะข่าวตื้นตอน "เจาะคูหาหมาหอน"

ที่มา Thai E-News

รายงานสดจากพื้นที่ก่อนคืนหมาหอน:กระสุนจริงยิงหวังผล ปฏิบัติการดับฝันเพื่อไทยชนะฟ้าถล่ม

ที่มา Thai E-News



"สมมุติว่าหน่วยนี้มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง100คะแนน หากยิงไปแล้ว คะแนนออกมาที่90%ขึ้นไป เอาไปเลยรางวัลพิเศษก้อนโตสำหรับหัวคะแนน หากเกิน70%ขึ้นไปก็รางวัลลดหลั่นลงไป จากการคำนวณแล้วหากยิงเข้าซัก60%ผู้สมัครของเราก็เข้าป้ายแล้ว"ผู้บัญชาการ รบแห่ง"บ้านใหญ่"บุรีรัมย์กล่าวกับบรรดานักล่าคะแนน

ที่พื้นที่บุรี รัมย์บ้านเนวินนั้น มีคำสั่งรบออกมาถึงขั้นว่าแพ้ไม่ได้ ราคาซื้อขายขยับไปที่1,000บาทต่อหัวในบางพื้นที่ที่แข่งขันกันสูง เพราะนี่ไม่เป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ต้องกล้าฉีกเงินเพื่อเอาชนะ

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
1 กรกฎาคม 2554

อีก 2 วันจะเลือกตั้ง กระแสหลักยังเป็นเรื่องว่าเพื่อไทยมีคะแนนนิยมนำทิ้งห่างคู่แข่งไปเรื่อยๆ จำนวนส.ส.พื้นที่อีสานกับเหนือจะเข้ามาเป็นกอบเป็นกำ ขณะที่กรุงเทพฯมีคะแนนนำหน้าประชาธิปัตย์คู่แข่ง แต่ในสนามเลือกตั้งที่เป็นจริง หากเงินยังเป็นปัจจัยชี้ขาด ก็อาจเกิดรายการพลิกผันผิดคาดขึ้นมาได้

"เพื่อไทยนั้นเสียงดีแต่ คะแนนจะมีหรือเปล่าเป็นเรื่องที่รอดูหลังปิดหีบ"นัก สังเกตการณ์ทางการเมืองผู้คร่ำหวอดทางภาคอีสาน กล่าวแสดงความเห็น พร้อมชี้ว่า กระแสในหมู่ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยเวลานี้คือ มีแต่"กระแสแต่ไม่มีกระสุน"เพราะพรรคไม่ส่งกำลังบำรุงมาให้เลย มีเพียงคนละ 1 ล้านตามกฎหมายเลือกตั้งจริงๆ มีแค่ป้ายหาเสียง อุปกรณ์รถวิ่งตระเวณบอกเบอร์

"ผู้สมัครเพื่อไทยพูดกันว่าทางข้างบน พรรคให้คำแนะนำว่า ในเมื่อพรรคไม่ช่วยกระสุนก็อย่าไปดิ้นรนกู้ยืมไปยิงเอง เพราะถูกหน่วยงานกลไกรัฐเฝ้าจับตาแจกใบเหลืองใบแดงอยู่ทุกระยะฝีก้าว"

"กระแส เสื้อแดงในภาคอีสานแรงก็จริง แต่สมมุติว่าหมู่บ้านหนึ่งมี100หลังคาเรือน มีผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน200เสียง ก็ไม่ใช่แดงหมดทุกคนนะ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.เป็นคนของรัฐเป็นส่วนใหญ่ และคนเหล่านี้ไปเป็นหัวคะแนนให้ฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะภูมิใจไทยหมดแล้ว และระบบอุปถัมภ์แบบพื้นบ้าน ชาวบ้านก็ยังเกรงใจหัวคะแนนระดับผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนเหล่านี้อยู่"นักสังเกตการณ์ชี้

"เราประเมินว่าในแต่ละเขต เลือกตั้งสมมุติว่าหากมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง ซัก1แสนคะแนน ก็เป็นคะแนนดิบของเสื้อแดงซัก2หมื่นเสียงที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ทักษิณหรือ เสื้อแดง อีก8หมื่นที่เหลือคือเป้าหมายของเรา"วงสนทนาบ้านใหญ่บุรีรัมย์กล่าวกับทีม" หัว"ที่ออกปฏิบัติการตามล่าหาคะแนน

ขณะที่เพื่อไทยติดข้อจำกัดเรื่อง ไม่มีกระสุนส่งบำรุงช่วงคืนหมาหอน และถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับตามองทุกฝีก้าว พรรคคู่แข่งอย่างภูมิใจไทยนั้นกลับมีเสรีในการยิงอย่างเต็มเหนี่ยว ก่อนวันหย่อนบัตรมาถึง การยิงชนิดหวังผลปฏิบัติการลุล่วงไปแล้วกว่า 50% ดังนั้นอีก2วันที่เหลือ ก็อาจไม่จำเป็นต้องไปสุ่มเสี่ยงกับการถูกจับในคืนหมาหอน 2 กรกฎาคม

คน ที่จะตามไปจับนั้นไมม่ใช่คนของทางการ แต่เป็นบรรดาเสื้อแดงที่หนุนพรรคเพื่อไทย ที่แทบทุกหมู่บ้านในภาคนี้มีธงสีแดงปักอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆจะทำหน้าที่ออก ตระเวณจับในคืนหมาหอน "แต่กว่าจะถึงค่ำคืนหมาหอน เรายิงจบไปก่อนแล้ว"

การ ยิงชนิดหวังผลนี้ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารคอยคุ้มกันอย่างเข้มแข็ง ชุดปฏิบัติงานอยู่โยงเฝ้าประจำผู้สมัครที่หวังผลของพรรคภูมิใจไทยเต็มพิกัด

การ ยิงชนิดหวังผลนี้อาจลบล้างคำพูดประเภทที่ว่า"มันแจกเงินมา เรารับ แต่อย่าไปเลือกมัน ให้ไปกาเพื่อไทยเวลาเข้าคูหา" เนื่องจากมีการใช้ระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วย นั่นคือการตั้งเป้าลงไปถึงระดับหน่วยเลือกตั้งกันเลยทีเดียว

"สมมุติ ว่าหน่วยนี้มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง100คะแนน หากยิงไปแล้ว คะแนนออกมาที่90%ขึ้นไป เอาไปเลยรางวัลพิเศษสำหรับหัวคะแนน หากเกิน70%ขึ้นไปก็รางวัลลดหลั่นลงไป จากการคำนวณแล้วหากยิงเข้าซัก60%ผู้สมัครของเราก็เข้าป้ายแล้ว"ผู้บัญชาการ รบแห่ง"บ้านใหญ่"บุรีรัมย์กล่าวกับบรรดาวงในใกล้ชิด

ที่พื้นที่บุรี รัมย์บ้านเนวินนั้น มีคำสั่งรบออกมาถึงขั้นว่าแพ้ไม่ได้ ราคาซื้อขายขยับไปที่1,000บาทต่อหัวในบางพื้นที่ที่แข่งขันกันสูง เพราะนี่ไม่เป็นหน้าตาและศักดิ์ศรี

แล้วใครจะไปจับได้ในเมื่อตำรวจทหารคุมการยิงเป็นขบวน และคอยเฝ้าจับตาพรรคเพื่อไทยคู่แข่งแบบจุดต่อจุด

"หาก ภูมิใจไทยเข้าขั้นต่ำ70ที่นั่ง บวกกับประชาธิปัตย์ที่จัดหนักถล่มเพื่อไทยโค้งสุดท้าย กระแสที่กรุงเทพฯพลิก พลังเงียบออกมาเลือกประชาธิปัตย์ พอไม่ให้คะแนนที่กรุงเทพฯขี้เหร่ หรือชนะเพื่อไทยได้ ก็น่าจะรวมกันประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยแพ้เพื่อไทยอยู่หน่อย แต่รวมกับชาติไทยพัฒนา ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน มาตุภูมิ พรรคเล็กพรรคน้อยแล้ว รัฐบาลขั้วเดิมก็ยังจัดตั้งได้ ไม่มีปัญหา หากมีปัญหาก็ปฏิวัติ เพราะทหารเขาไม่เอาเพื่อไทย ข้างบนก็ไม่เอา ยกเว้นว่าผลคะแนนเพื่อไทยออกมาแบบฟ้าถล่มดินทลายจริงๆก็ปล่อยเขาไปซักปี"ผู้ บัญชาการรบค่ายบุรีรัมย์ปราสาทสายฟ้าประเมิน

"นี่เป็นความเป็นจริง ทางการเมือง กระแสของภูใจไทยไม่มีเลย แต่กระสุนเต็มอัตรา คนบ้านใหญ่บุรีรัมย์ก็บ้าพอที่จะใช้เกินอัตราเพื่อกันเหนียว คะแนนที่ปิดหีบออกมาแล้ว และขานกันออกมาคือของจริง หากภูมิใจไทยเข้าป้ายมากๆขนาดนั้นมันก็คือความจริง จะบอกว่าโกงไม่ได้ นี่เป็นการสู้กันตามกติการะหว่างคนมีกระแสกับคนมีกระสุน"นักสังเกตการณ์ระบุ

3 กรกฎาคมนี้ คะแนนจริงจากหับเลือกตั้งจะเป็นคำตอบว่าระหว่างกระแสกับกระสุน ฝั่งไหนจะเข้าป้าย ฝ่ายไหนจะจอดป้าย.

ใจ อึ๊งภากรณ์: โค้งสุดท้ายสู่การเลือกตั้ง

ที่มา ประชาไท

ใน ช่วงโค้งสุดท้ายสู่การเลือกตั้ง คนเสื้อแดงทุกคนคงจะมีคำถามในใจ เช่น “อำมาตย์มันจะโกงด้วย กกต. ศาล หรือ การทำอะไรแปลกๆกับบัตรเลือกตั้งหรือไม่?” “มันจะทำรัฐประหารล้มการเลือกตั้งไหม?” “เพื่อไทยจะได้คะแนนพอที่จะตั้งรัฐบาลได้หรือไม่?” หรือ “ถ้าตั้งรัฐบาลได้ อำมาตย์จะสร้างอุปสรรค์อะไรกับการบริหารงานของเพื่อไทย?”

เราไม่ สามารถตอบได้แน่ชัด แต่เราจะต้องไม่แปลกใจกับเหตุการณ์ในอนาคต “ไม่แปลกใจ” หมายความว่าเราต้องคิดล่วงหน้าว่าถ้าอำมาตย์ทำอะไร เราจะรับมืออย่างไร และจงเข้าใจว่าเราต้องรับมือเอง ไม่มีใครคนอื่นที่จะทำให้

นอกจาก การคิดเรื่องการรับมือ เราต้องไม่ไหลตามกระแสข่าวลือที่มีมากมายในสังคมที่ปกปิดข่าวอย่างไทย ก่อนจะเชื่ออะไรต้องตรวจสอบว่าแหล่งข่าวไว้ใจได้หรือไม่ มาจากใคร ฯลฯ

อย่า ประเมินฝ่ายตรงข้ามต่ำไป ซึ่งหมายความว่า พอเห็นโพลล์เพื่อไทยมาแรง ก็นั่งพัก คิดว่าถ้าไม่ไปเลือกตั้งจะไม่มีผลมากมาย ทำอย่างนี้ไม่ได้ เราต้องเข้าใจว่าแม้อำมาตย์ไม่โกงตอนนี้ มันขยันสร้างปัญหามานาน ตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติ เราพักผ่อนไม่ได้

ที่สำคัญคือ ต้องเลี้ยงดูเครือข่ายเสื้อแดง เพราะหลังเลือกตั้งภาระของคนเสื้อแดงจะเพิ่มหลายเท่า ยิ่งต้องขยันมากขึ้นในการปกป้องกระบวนการประชาธิปไตย และรัฐบาลเพื่อไทย

ใน ระบบประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวนอกรัฐสภา โดยขบวนการประชาชนอย่างคนเสื้อแดง เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม เป็นเรื่องสำคัญ และมีความชอบธรรม อย่าไปฟังฝ่ายตรงข้ามที่กล่าวหาคนเสื้อแดงว่า “ใช้กฎหมู่” ในขณะที่ฝ่ายมันใช้ปืน และอำนาจนอกกติกาประชาธิปไตยมาตลอด

ถ้า...ถ้า... พรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมาก มันไม่ได้แปลว่าฝ่ายเรายึดอำนาจรัฐได้ และมันไม่ได้แปลว่าประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยกลับมาง่ายๆ พรรคเพื่อไทยในรัฐสภา จะต้องพึ่งพลังคนเสื้อแดงนอกรัฐสภา เราต้องพร้อมจะชุมนุมใหญ่ เพื่อกีดกันการโกง ล้ม หรือทำลายกระบวนการประชาธิปไตย และไม่ใช่ปล่อยให้มันทำแล้วค่อยๆ ออกมา ต้องออกมาทันที ต้องประกาศล่วงหน้าว่าจะออกมาด้วย

แล้วอีกอย่าง.... เราต้องทำใจล่วงหน้า เพราะพรรคเพื่อไทยตามลำพังอาจไม่พร้อม อาจไม่จริงใจ หรืออาจอ่อนแอเกินไป ที่จะปฏิรูปประเทศไทย ถ้าอะไรเกิดขึ้นที่จะทำให้เราผิดหวังอย่าแปลกใจ การประนีประนอมกับอำมาตย์จะไม่นำไปสู่การสร้างประชาธิปไตย ไม่ว่าใครในเพื่อไทยจะแก้ตัวอย่างไร ดังนั้นเราไม่ต้องมองว่าพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำเสื้อแดง

เราต้องไม่ ลืมภาระของคนเสื้อแดงในการรณรงค์ให้ ปล่อยนักโทษการเมือง ยกเลิกกฎหมาย 112 ตัดอำนาจทหาร ปฏิรูปศาล ยกเลิกการเซ็นเซอร์สื่อ สร้างความเท่าเทียมผ่านรัฐสวัสดิการ ฯลฯ ซึ่งตามลำพังพรรคเพื่อไทยอาจไม่ทำ

และ เราต้องกดดันให้มีการลงโทษอภิสิทธิ์ สุเทพ อนุพงษ์ และประยุทธ์ เพราะพวกนี้มือเปื้อนเลือดจากการสั่งฆ่าประชาชน ยิ่งกว่านั้นมันหน้าด้านตบหน้าวีรชน โดยการไปปราศรัยในจุดที่มันฆ่าประชาชน!! ถ้าพวกนี้ไม่ถูกลงโทษ มัน และคนอย่างมันในอนาคต จะมองว่าฆ่าประชาชนได้อีก เพราะทุกคนจะลอยนวลเสมอ ถึงเวลาสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนแล้ว

ในโค้งสุดท้ายนี้ เราต้องตั้งใจ คิดอย่างชัดเจน พร้อมจะรับมือกับทุกสถานการณ์ และ

1. ขณะที่กาช่องพรรคเพื่อไทย จงเข้าใจว่านี่เป็นการลงประชามติ “ไม่เอาเผด็จการมือเปื้อนเลือด” มันตบหน้าวีรชนของเรา ดังนั้นเวลาเรากาช่องพรรคเพื่อไทย เราตบหน้ามันกลับไป

2. อย่าตั้งความหวังสูงเกินไปในนักการเมืองพรรคเพื่อไทย จงเข้าใจว่าพลังเพื่อเปลี่ยนสังคม และเลิกฝันร้ายแห่งอำมาตย์ คือคนเสื้อแดง

บนถนน 2475 : ก่อนวันนั้นจะมาถึง

ที่มา ประชาไท

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อฉายภาพเส้นทางการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสยามก่อนจะดำเนินมาถึงวันที่ คณะราษฎรได้ร่วมกันอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จึงขอร่วมรำลึกเหตุการณ์นี้ในวาระครบ 79 ปี การปฏิวัติ 2475 มา ณ โอกาสนี้
*****
ศตวรรษ ที่19 คลื่นจักรวรรดินิยมพร้อมทั้งกระแสทุนนิยมจากโลกตะวันตกเดินทางมาถึงโลกตะวัน ออก สยามในฐานะ“รัฐกษัตริย์”ซึ่งปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย เริ่มสั่นคลอนและจำต้องปรับตัวเพราะไม่สามารถทัดทานกระแสทุนนิยมอันเป็น วิวัฒนาการของสังคมตะวันตกได้ก้าวไปถึงแล้ว
รัฐบาล สยามยอม เสียเปรียบลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ ในปี2398 และได้กลายเป็นต้นแบบให้ชาติตะวันตกอีก 13 ประเทศ เข้ามาเจรจาทำสัญญาในแบบเดียวกัน นี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สยามต้องรับมือกับคลื่นจักรวรรดินิยมและกระแสทุนนิยม ที่ถาโถมเข้าใส่
ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่5 อธิปไตยของสยามถูกท้าทายอย่างมากจนราชสำนักได้ตระหนักถึงความด้อยกว่าทั้ง ความรู้และความคิด จึงได้พยายามปรับตัวโดยจัดรูปแบบของรัฐใหม่ตามแบบแผนตะวันตกและไม่ลืมที่จะ ผสานจารีตการเมืองดั้งเดิมของชนชั้นนำเอาไว้บางอย่าง
ใน รัชสมัยนี้เองที่อุดมการณ์ประชาธิปไตยเริ่มเข้าสู่สังคมสยามอย่าง ค่อนข้าง ชัดเจน เริ่มจากชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่งมีทั้งเจ้านายและขุนนางที่ไปศึกษาและปฏิบัติ ราชการในยุโรป ได้ออกมาเคลื่อนไหวครั้งแรกในร.ศ.103(พ.ศ.2427) คณะเจ้านายและขุนนางกลุ่มหนึ่ง อาทิ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ มีหนังสือกราบทูลรัชกาลที่5 มีสาระสำคัญเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐ ธรรมนูญ (constitutional monarchy) โดยเห็นว่าเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้สยามรอดพ้นภัยคุกคามจากตะวันตกได้ และเป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวว่า “แผ่นดินสยามเป็นของชาวสยามทั้งหมด”
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
รัชกาล ที่5 ทรงปฏิเสธและตอบกลับไปว่า พระองค์ไม่เคยคิดที่จะหวงแหนอำนาจไว้เลย แต่ติดขัดที่สถานการณ์ขณะนั้นยังไม่เหมาะสม เพราะขาดคนมีความรู้ความสามารถและความกล้าที่จะทำหน้าที่นิติบัญญัติเพื่อ ถ่วงดุลกับอำนาจบริหารที่ของกษัตริย์
ทว่าหลังจาก นั้น ก็มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตามแนวทางของพระองค์เอง กล่าวคือ การสถาปนาอำนาจส่วนกลางภายใต้รัฐบาลแบบสมัยใหม่ที่รวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วน กลางแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เป็นการก่อร่างสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) โดยมีกษัตริย์เป็นองค์อธิปัตย์สูงสุด มีอำนาจสมบูรณ์และแบ่งแยกไม่ได้ คงสถานะความศักดิ์สิทธิ์เหนือประชาชนเช่นเดียวกับยุคศักดินา และในสมัยนี้นอกจากกลุ่มชนชั้นสูงแล้ว ยังมีสามัญชนหัวก้าวหน้าอย่าง “เทียนวรรณ” และ ก.ศ.ร. กุหลาบ ที่ได้พยายามนำเสนอแนวคิดท้าทายและกล้าวิพากษ์วิจารณ์การปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยสำนึกถึงความเป็นมนุษย์ที่ต้องมีสิทธิ ความเสมอภาค คนทุกคนควรมีโอกาสเท่าเทียมกัน ดังที่เทียนวรรณ ได้แต่งบทประพันธ์ขึ้น ตอนหนึ่งว่า
...ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ
ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ
แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ
จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย...”
แม้การเปลี่ยนแปลงยังมิได้เกิดขึ้นตามข้อเรียกร้อง แต่ก่อนที่รัชกาลที่5 เสด็จสวรรคต ทรงมีพระราชดำรัสอันเปรียบเหมือนคำมั่นสัญญาว่า "จะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้แก่พลเมืองไทยทันทีที่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์...จะให้เขามีปาลิเมนต์และคอนสติติวชั่น"
พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (คราวเสด็จนิวัติพระนคร หลังทรงสำเร็จการศึกษาจากอังกฤษ)
ถึง ต้นศตวรรษที่20 หลังจากรัชกาลที่5เสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารก็เสด็จขึ้นครองราชย์ กล่าวได้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 มิได้มีปรากฏการณ์ใดที่จะแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยแท้จริง
ทรงมุ่งสร้างความมั่นคงให้กับรัฐตาม แนวทางชาติ นิยมและอนุรักษ์นิยม ทรงริเริ่มตั้งเมืองสมมุติ“ดุสิตธานี” จำลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย และให้มีหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์และเสนอข่าวด้วย มีคนบางกลุ่มวิจารณ์ว่า ดุสิตธานีเป็นเพียงการละเล่นของกษัตริย์และไม่ได้ตั้งใจก่อตั้งรูปการปกครอง แบบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง
ก่อนหน้านั้นช่วงต้น รัชกาลมีเหตุ ปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ขึ้นในจีน ตุรกีและโปรตุเกส เหตุการณ์เหล่านี้มีอิทธิพลมาถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยในสยาม นั่นคือ เหตุการณ์ รศ.130 กลุ่มนายทหารและปัญญาชนวางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้กษัตริย์พระราชทานรัฐ ธรรมนูญและเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการรั่วไหลเสียก่อนจึงถูกจับกุมเสียก่อน
คณะร.ศ.130 หลังถูกจับกุม
หลังการก่อการครั้งนี้ รัชกาลที่6 ยังทรงยืนยันหนักแน่นว่า ราษฎรยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย “ระบอบกษัตริย์ทรงอำนาจสูงสุดนั้นดีแล้ว ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับประเทศสยามเพราะราษฎรไม่มีความรู้” พร้อมกับทรงเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังที่เกิดในหลายประเทศ เช่น “การปฏิวัติทั้งในจีนและโปรตุเกส เป็นสิ่งไม่ถูกต้องเพราะนำมาซึ่งความวุ่นวาย”
เหตุการณ์ ปฏิวัติจีน ปี1911 (พ.ศ.2454) ขบวนการปฏิวัติภายใต้การนำของดร.ซุน ยัตเซ็น หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้เคยเดินทางเคลื่อนไหวทางการเมืองในหลายประเทศรวมทั้งสยาม ได้ปฏิวัติโค่นล้มอำนาจการปกครองระบอบจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงได้สำเร็จและ เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำขบวนการปฏิวัติ
ปี 2457เกิด สงครามโลกครั้งที่1 และหลังจากนั้นก็มีเหตุปฏิวัติล้มล้างระบอบกษัตริย์เกิดขึ้นอีกหลายประเทศ ทั้งในรุสเซีย เยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี ขณะที่ภายในประเทศก็มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อสามัญชนเริ่มตื่นตัว และแสดงออกทางการเมืองกว้างขวางขึ้น เช่น หนังสือพิมพ์ “จีนโนสยามวารศัพท์” ของนายเซียวฮุดเสง ที่เผยแพร่โฆษณาความคิดเชิงประชาธิปไตย จนกระทั่งรัฐบาลไม่พอใจถึงกับออกกฎหมายควบคุมและให้รัฐมีอำนาจสั่งปิดได้ นับเป็นกฎหมายเซ็นเซอร์สิ่งพิมพ์ฉบับแรกในประวัติศาสตร์ไทย
ห้วงเวลาสู่วิกฤต
รัชกาล ที่ 6 ในฉลองพระองค์"แฟนซี" เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา วันที่ 29 ธันวาคม 2466 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลสยามกำลังประสบภาวะขาดดุลการคลังอย่างมาก
รัชกาลที่ 6 ขณะทรงแสดงละครร่วมกับข้าราชสำนัก กล่าวกันว่า รัชสมัยนี้ งานด้านศิลปะการละครเฟื่องฟูมากถึงขีดสุด
สถานการณ์ ช่วงปลายรัชกาลที่6 ย่ำแย่ลงเมื่อความขัดแย้งทางการเมืองที่รุมเร้าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และราชสำนักยิ่งซับซ้อนมากขึ้น สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจของชาติตั้งแต่ พ.ศ.2465เป็นต้นมา งบประมาณแผ่นดินขาดดุลอย่างหนัก ต้นพ.ศ.2467 ใกล้สิ้นรัชกาล สถานการณ์ยิ่งทรุดหนัก และคนจำนวนหนึ่งได้พุ่งเป้าไปที่การใช้จ่ายเงินเกินตัวของราชสำนักเวลานั้น จนกระทั่งเงินคงคลังเหลือน้อยจนรัฐบาลเกือบอยู่ในสภาพล้มละลาย วิกฤตการณ์ในรัชสมัยนี้มีส่วนสำคัญต่อสถานะของระบอบกษัตริย์ที่กำลังสั่น คลอน
พันธบัตร ที่รัฐบาลรัชกาลที่ 6 ออกจำหน่ายในตลาดยุโรป ปี1922 (พ.ศ.2465) เพื่อกู้ยืมเงิน 2 ล้านปอนด์ มาใช้คืนเงินคงคลัง แก้ปัญหาเสถียรภาพทางการคลัง ท่ามกลางภาวะขาดดุลงบประมาณอย่างหนักช่วงปลายรัชกาล
เมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสถียรภาพของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มวิกฤต ดังเห็นได้จาก"บันทึกเรื่องการปกครอง" (23 กรกฎาคม-1สิงหาคม 2469) ที่ รัชกาลที่7ทรงเขียนถึง ดร.ฟรานซิส บี แซร์(พระยากัลยาณไมตรี)อดีตที่ปรึกษาราชการต่างประเทศฯสมัยรัชกาลที่ 6 เนื้อความที่ปรากฏในบันทึกนี้สะท้อนถึงสถานะของราชสำนักสยามในเวลานั้นได้ อย่างชัดเจน
"..ในรัชสมัยที่เพิ่งสิ้น สุด(รัชกาลที่6) หลายสิ่งหลายอย่างได้ทวีความเลวร้ายไปมาก เนื่องจากเหตุหลายประการซึ่งข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องเล่า ด้วยท่านเองก็ทราบดีแก่ใจเพียงพอแล้ว พระเจ้าแผ่นดินกลายเป็นผู้ที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของข้าราชการบริพารคนโปรด ข้าราชการทุกคนถูกเพ่งเล็งมากบ้างน้อยบ้างในด้านฉ้อราษฎรบังหลวง หรือเล่นพรรคเล่นพวก ยังนับเป็นโชคดีที่พระบรมวงศานุวงศ์ยังเป็น ที่เคารพยกย่องว่า เป็นคนซื่อสัตย์ สิ่งที่เป็นที่น่าเสียใจยิ่งคือ พระราชสำนักของพระองค์เป็นที่เกลียดชังอย่างรุนแรง และในตอนปลายรัชสมัยก็ถูกเลาะเลียนเยาะย้อย กำเนิดของหนังสือพิมพ์ฟรีเพสทำให้สถานการณ์ในขณะนั้นขยายตัวเลวร้ายมากขึ้น ฐานะ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นสิ่งหนึ่งที่ตกอยู่ในสภาวะลำบาก ความเคลื่อนไหวทางความคิดในประเทศแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ระยะเวลาของระบอบเอกาธิปไตยเหลือน้อยลงเต็มที..."
พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์)
และ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รัฐบาลสยามแก้ปัญหาขาดดุลการคลังด้วยการปลดข้าราชการออกจำนวนมาก ปัญหาเศรษฐกิจได้ขยายวงสู่ความขัดแย้งในวงของผู้บริหารจนกระทั่งถึงขั้นมี การลาออกของเสนาบดี รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่อนุรักษ์นิยมเน้นการจัดงบประมาณให้เข้า ดุล จึงต้องตัดงบประมาณรายจ่าย ลดเงินเดือน ลดจำนวนข้าราชการพร้อมกับเก็บภาษีในรูปใหม่ซึ่งกระทบคนชั้นกลางมากที่สุด จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างมาก ขณะที่เกษตรกรชาวนาก็อยู่ในภาวะทุกข์ยาก ราคาข้าวและราคาที่ดินตกต่ำอย่างมาก ชาวนาขาดเงินสดที่จะซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค ในขณะเดียวกันก็ขาดเงินสำหรับเสียภาษีอากร ทั้งยังไม่สามารถจะหาเงินกู้มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ เกิดหนี้สินรุงรัง และเกิดอัตราว่างงานสูง
แม้ประเทศกำลังประสบภาวะ เศรษฐกิจก็ ตาม แต่ถึงกระนั้นเจ้านายและชนชั้นสูงยังคงดำรงสถานะที่สูงส่งเช่นเดิม ด้วยแนวคิดของระบบเจ้านายต้องผดุงไว้ซึ่งขัตติยะ เพราะหากมีเรื่องใดเสื่อมเสียมากระทบชนชั้นเจ้านาย ย่อมส่งผลต่อพระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์ด้วย ดังนั้นพระมหากษัตริย์ต้องพระราชทานเงินให้แก่ชนชั้นเจ้าอย่างเพียงพอ
สถานการณ์ ดังกล่าวเชื่อมโยงมาถึงกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยที่รุนแรงมากขึ้น “รัฐสภาและรัฐธรรมนูญ” เป็นคำที่คุ้นเคยกันทั่วไปอย่างน้อยก็ในหมู่ปัญญาชน เวลานั้นมีกระแสข่าวว่า รัชกาลที่7 จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ท้ายที่สุดก็มิได้เกิดขึ้น พระองค์ทรงแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยวิธีเดิม คือ “การปรับปรุงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” เพราะทรงเห็นว่า “การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแบบฉบับพระบิดานั้น เป็นวิธีที่ดีที่สุด”
ถึง ปี2474 รัชกาลที่7 ทรงมอบหมายให้กระทรวงต่างประเทศและที่ปรึกษาร่างเค้าโครงธรรมนูญเพื่อเตรียม ไว้ว่า อาจจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในเดือนเมษายน ในโอกาสครบ 150 ปี ราชวงศ์จักรี หากแต่เค้าโครงธรรมนูญฉบับนี้ ยังเป็นธรรมนูญที่ให้อำนาจสูงสุดแก่กษัตริย์และขุนนางเสนาบดีเช่นเดิม เพราะไม่ได้แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกไปจากสถาบันกษัตริย์ มิใช่ธรรมนูญที่อยู่บนพื้นฐานอำนาจของประชาชนตามหลักประชาธิปไตยทั่วไป หากเป็นธรรมนูญแบบกษัตริย์นิยม ดังเห็นได้จากที่ระบุไว้ในมาตรา 1 ของร่างฯฉบับนี้ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์" แต่แล้วการพระราชทานรัฐธรรมนูญครั้งนั้นก็ล้มเหลวไปพร้อมๆกับโอกาสของสยามที่จะมีระบอบรัฐสภา
ขบวนการคณะราษฎร
ทหาร และพลเรือนกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนและทหารที่ศึกษาและทำงานอยู่ ในยุโรป มีเจตนาตรงกันคือต้องการเห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งได้เริ่มประชุมกันครั้งแรกตั้งแต่ราวเดือนกุมภาพันธ์ ปี2469 ณ กรุงปารีส และตกลงกันใช้วิธี "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่กษัตริย์อยู่เหนือ กฎหมาย มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ โดยเน้นแผนการที่หลีกเลี่ยงการนองเลือดเพื่อป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรก แซงจากมหาอำนาจที่มีอาณานิคมอยู่ล้อมรอบสยามในสมัยนั้น คืออังกฤษและฝรั่งเศส
หลัง การประชุมนั้น เมื่อคณะผู้ก่อการกลับมาประเทศสยาม ก็พยายามเสาะหาสมาชิกที่ต้องการเข้าร่วมการปฏิวัติ จนได้สมาชิกจากหลากหลายอาชีพ
- สายพลเรือน นำโดย หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
- สายทหารเรือ นำโดยน.ต. หลวงสินธุสงครามชัย
- สายทหารบกชั้นยศน้อย นำโดย พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม
- และสายนายทหารชั้นยศสูง นำโดย พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา
เมื่อ จัดตั้งขบวนการสำเร็จเป็นรูปร่าง คณะราษฎรได้ประชุมเตรียมการหลายครั้ง แต่ได้ล้มเลิกแผนการบางแผน เช่น การยึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในวันที่ 16มิถุนายน เนื่องจากประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งได้ข้อสรุปว่าจะปฏิบัติการในรุ่งเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกล กังวล เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนในกรุงเทพ ทำให้สามารถเข้ายึดอำนาจโดยหลีกเลี่ยงการปะทะที่เสียเลือดเนื้อได้ เป้าหมายสำคัญของปฏิบัติการนี้คือการเข้าควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครในเวลานั้น
คณะราษฎรสายทหารบก
แถว ที่1 (ยืนจากซ้าย) ร.อ.หลวงเชวงศักดิ์สงคราม ร.อ.หลวงเสรีเริงฤทธิ์ ร.อ.หลวงชาญสงคราม ร.ท.ขุนพิพัฒน์สรการ ร.อ.หลวงอดุลเดชจรัส ร.อ.หลวงพรหมโยธี ร.อ.หลวงกาจสงคราม ร.ท.ขุนปลดปรปักษ์ ร.อ.หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ร.ท.ขุนวิมลสรกิจ พ.ต.หลวงวิจักรกลยุทธ ร.ท.ทวน วิชัยขัทคะ ร.อ.ขุนสุจริตรณการ ร.ท.น้อม เกตุนุติ ร.อ.หลวงสวัสดิ์รณรงค์

แถวที่ 2 (นั่งจากซ้าย)
พ.ต.หลวง อำนวยสงคราม ร.อ.หลวงทัศไนยนิยมศึก พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ ร.อ.หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต พ.ต.หลวงสฤษฎิ์ยุทธศิลป์

แถวที่3 (นั่งพื้นจากซ้าย) ร.ท.ขุนจำนงภูมิเวท ร.ท.ขุนนิรันดรชัย ร.ท.ขุนเรืองวีรยุทธ์ ร.ท.ขุนศรีศรากร ร.อ.หลวงรณสิทธิพิชัย ร.ท.ไชย ประทีปะเสน ร.ต.จำรูญ จิตรลักษณ์ ร.ต.สมาน เทพหัสดิน ณ อยุธยา ร.ต.อุดม พุทธิเกษตริน

สี่ทหารเสือคณะราษฎร (จากซ้าย) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา และ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ ( หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)
ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475
ย่ำ รุ่งวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้นำทหารบกและทหารเรือประมาณ 2,000 ชีวิต มารวมตัวกันรอบพระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะได้อ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือนประกาศยึดอำนาจการปกครองก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎร ด้านสนามเสือป่า ดังปรากฎในทุกวันนี้มีหมุดทองเหลืองฝังอยู่บนพื้นถนน เป็นหลักฐานติดตรึงประวัติศาสตร์หน้าสำคัญ มีข้อความจารึกว่า
"ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ"
หมุด ทองเหลือง ฝังบนพื้นถนน เคียงข้างพระบรมรูปทรงม้า ณ จุดที่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ประกาศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อให้ประเทศมีรัฐธรรมนูญ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย นับเป็นอนุสรณ์แห่งเหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ไทย
คณะ ราษฎรได้ส่ง น.ต.หลวงศุภชลาศัยไปอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งอยู่ ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐาน ณ วังไกลกังวล หัวหิน เพื่อให้เสด็จนิวัติพระนคร โดยเสนอให้ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไปได้แต่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หากทรงปฏิเสธจะเลือกเจ้านายพระองค์อื่นขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อไป พระองค์ได้ทรงปรึกษากับพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ที่ตามเสด็จและได้ตัดสินพระทัยตกลงตามเงื่อนไขของคณะราษฎร
เมื่อ เสด็จกลับถึงวังศุโขทัย เช้าวันรุ่งขึ้น ผู้แทนคณะราษฎร 7 คน ได้เดินทางนำเอกสารสำคัญไปกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ธรรมนูญ การปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช2475 ซึ่งร่างโดยนายปรีดี พนมยงค์ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ ที่เป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของราษฎร ดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตราแรกว่า
"อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย"
--------------------------------
ประกาศคณะราษฎร
ราษฎรทั้งหลาย
เมื่อ กษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้
การ ที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อ ราษฎรตามที่ รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว
รัฐบาล ของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้ เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป
ราษฎร ทั้งหลายพึง รู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย
เหตุ ฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครอง โดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจ ลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้าน มาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า
๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓.ต้อง บำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)
๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎร ทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือ กฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า
คณะราษฎร
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕