WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 10, 2011

ทหารสังคัง VS ทหารโจร!!!

ที่มา vattavan

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

น้ำท่วมคราวนี้ ผมได้เห็นน้ำใจคนไทยที่หลั่งไหลช่วยพี่น้องผองไทยกันเองแล้ว
ชื่นใจจริงๆ!
ที่ซึ้งใจไม่หายเลย ก็คือ ‘ชาวนครสวรรค์’ ที่ยังเก็บกวาดขยะล้างเมืองจากน้ำที่ท่วมจนมิดหัวยังไม่หมด แต่พวกเขามีน้ำใจล้นเหลือ ได้จัดส่งความช่วยเหลือมาให้พี่น้องชาว
จังหวัดอื่น ทั้งที่ยังทุกข์ยากไม่สร่าง เช่น อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว
นอกจากนั้น ยังมีพี่น้องจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งชีวิตพวกเขาแม้จะไม่ปกติอยู่แล้ว แต่ยังแสดงออกถึงความงดงามของจิตใจ ว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน อุตส่าห์รวบรวม
เงินคนละเล็กละน้อยๆ ส่งมาช่วยคนกรุงเทพฯ
น่าสรรเสริญน้ำใจนัก!

คนไทยมีเมตตาอย่างนี้ เพราะ ‘พรหมวิหารธรรม’ ของพระพุทธศาสนาโดยแท้ ที่ได้วางรากฐานให้กับสังคมไทย มายาวนานนับพันปี และได้ซึมซับอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยเรา

จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว แม้คนต่างด้าวท้าวต่างแดน หรือศาสนิกอื่น ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ก็ยังรู้สึกได้ถึงเมตตาธรรม ซึ่งมีอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติของเราโดยทั่วกัน
ที่ผมเห็นว่าขาดเมตตากำลัง น่าจะเป็นไอ้พวกที่พยายามเขย่าขวัญประชาชน ด้วยการเผยแพร่ข่าวสารอันเป็นเท็จ (อย่างกลุ่ม ‘ไอ้หัวเหม่ง’ สุทธิชัย และกลุ่ม Post to die ที่ฉกฉวยอุทกภัยเป็นโอกาส ในการใช้สื่อกาลีที่อยู่ในอิทธิพลของพวกตน ทั้งทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสังคมออนไลน์ ทั้งตะโกนเขย่าขย่ม และประสานเสียงร้องแรก
แหกกระเชอ
ให้นายกฯปู ลาออก!
แต่...กลุ่มกาลีพวกนี้ดำเนินการไม่ได้โดยง่ายดาย เพราะถูกโต้ตอบฉับพลันทันที ด้วยสื่อของประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย ชนิดแลกกันหมัดต่อหมัด ตีนต่อตีน แต่เวลา
ผ่านไปก็เป็นที่ประจักษ์ว่า มวลชนที่สนับสนุนรัฐบาลปัจจุบัน ยังหนาแน่น แข็งแกร่ง ที่สำคัญคือ
นายกรัฐมนตรีไทยแลนด์ผู้หญิง ที่ชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับเสียงสนับสนุนจากต่างประเทศอย่างล้นหลาม เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ไม่ใช่
รัฐบาลที่วิ่งราวอำนาจมา เหมือนอย่างไอ้รัฐบาลโลซก จนประชาชนทนไม่ไหว
รวมส้นตีนถีบ...จนตกกระป๋องไปแล้ว!

ลัง การเลือกตั้งเดือน ก.ค.2554 ฝ่ายทหารตระหนักว่า พวกตนนั้นเดินทางผิดมาตลอด เพราะดันโง่เขลาเบาปัญญา หลงไปสนับสนุนพรรคการเมืองดักดาน อันเป็นการสวนทางกับประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้
เมื่อพรรคดักดานเข้าครองอำนาจ เรื่องทุจริตคอรัปชั่นของทหารมากมาย ถูกเปิดเผยมาสู่สังคมไทย ไม่ว่าเป็นเรื่อง
‘ไม้ชี้ศพ’ ‘
‘บอลลูนอัปยศ’ (ที่บินไม่ขึ้น)
‘ยานเกราะยูครวย-กระป๋องทาสี’
ฯลฯ
การทุจริตคอรัปชั่นในกองทัพ ล้วนแล้วแต่ทำทหารตัวนายใหญ่ๆ มีภาพพจน์ที่ไม่สู้ดี ในสายตาสื่อพี่น้องประชาชน เพราะพวกเขาวิพากษ์วิจารณ์กัน ว่า
“พวกแม่ง ‘แดก’ กันไฟแลบ!”
ฟังแล้วน่าสลดใจ!!
กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ ชนิดสาหัสสากรรจ์ ทำให้ฝ่ายทหารต้องเสียหายมากเหลือเกิน
แต่น่าแปลก
ทางฝ่ายการเมืองที่ทหารอุตส่าห์สนับสนุน อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ทั้งยังเป็นผู้ลากไอ้พวกเวรนี้ เข้าไปตั้งรัฐบาลกันในค่ายทหารเอง แต่นักการเมืองกาลีเมื่อได้อำนาจรัฐแล้ว มัน
กลับไม่ใส่ใจใยดี โดยไม่ได้แสดงการออกมาปกป้องทหารแต่อย่างใด พูดง่ายก็คือ ‘ถีบหัวส่ง’ ทำเหมือนว่า
“เรื่องของพวกมึง แก้ไขกันเองแล้วกัน!!”

ไม่น่าเชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งล่าสุด ทหารยังไม่รู้ตัว ทั้งโง่เขลาและมืดบอด ที่ฟังเสียงความต้องการของประชาชนคนส่วนใหญ่ไม่ออก ยังคงแสดงจุดยืนออกมาชัดเจน ที่จะ
สนับสนุนพรรคกาลีต่อไป!
แต่...
พรรคที่นายทหารผู้บังคับบัญชาสนับสนุน โดยจัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เทคะแนนเสียงให้ นั้น...
กลับพ่ายแพ้ย่อยยับไม่เป็นชิ้นดี พรรคที่ทหารไม่สนับสนุน กลับเป็นฝ่ายกำชัยชนะอย่างเด็ดขาดแน่นอน
ราษฎรพากัน...ปรบมือให้!

ผู้สื่อข่าวสายทหาร ระดับปลาร้า อย่าง วาสนา นาน่วม แห่งบางกอกโพสต์ และ ศิรินรัตน์ บุรินทร์กุล แห่งน.ส.พ.ไทยโพสต์ แสดงความประหลาดใจออกมาชัดเจน แสดงความคิดเห็นออกมาในทำนองว่า
การที่พรรคกาลี ที่ทหารสนับสนุน พ่ายแพ้แม้กระทั่งหน่วยเลือกตั้งหน้าค่ายทหารเอง ทำให้ผู้บังคับบัญชาทหารตระหนักกันแล้ว ว่า
พวกตนไม่สามารถ สั่งการนายทหารประทวนและทหารเกณฑ์ ลงคะแนนตามที่ “เจ้านาย” สั่งให้เลือก เพราะทหารผู้น้อยเหล่านั้น ล้วนเป็นลูกชาวบ้าน และไม่ได้หวัง
ประโยชน์จากนักการเมือง เหมือนพวกนายทหารใหญ่ทั้งหลาย!!
ดังนั้น เมื่อบรรดาผู้บังคับบัญชา รู้ซึ้งถึงความจริงนี้จึงพยายามปลีกตนออกจากพรรคดักดาน ที่ทหารผู้น้อยและชาวบ้านส่วนใหญ่ล้วนปฏิเสธ แต่ก็ดูเหมือนว่าสายเกินไป เพราะ
ผู้คนส่วนใหญ่ เสื่อมความนิยมทหาร
พาลเกลียดชังเอาด้วย!

การไม่ทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ในการเลือกตั้งนั้น ยังเป็นเรื่องภายในของทหาร แต่การที่ทหารไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นเรื่องที่นานานประเทศ เขาจับจ้องประเทศเราอยู่ เนื่องจากไทยแลนด์แดนสยามนั้น มีชื่อเสียงไม่ดี เรื่องการที่ทหารไทยละเมิดสิทธิมนุษยชน จนเป็นที่รู้กันไปทั่ว
ผมเคยเล่าถึงการที่เจ้าหน้าที่ทหารใน ‘ศูนย์วิวัฒน์สันติ’ ของกองทัพภาคที่ 4 ซึ่งทำหน้าที่แบบเดียวกับ “ศูนย์ซักถาม” ของ กอ.รมน.ในอดีตยุคยังมีกฎหมายคอมมิวนิสต์ กระทำ
ต่อราษฎรในพื้นที่
โดยเขียนเอาไว้ว่า

....ได้ มีการนำตัวชาวบ้านมารีดเอาข่าว แล้วซ้อมอย่างโหดร้ายด้วยความทารุณผิดมนุษย์ ได้กระจายไปถึงหูขององค์การระหว่างประเทศนี้ จนทำให้เรื่องแดงและแตกออกมาพร้อมพยานหลักฐานชัดเจน ทำให้คนไทยได้รับรู้กัน
สื่อในประเทศอย่างหนังสือพิมพ์ ‘โพสต์ทูเดย์’ ถึงกับให้กับฉายาทหารหน่วยนี้ว่า
‘หน่วยทมิฬ’
ส่วนชาวบ้าน ข้าราชการ และคนไทยมุสลิมและตำรวจในพื้นที่ รับรู้เรื่องนี้มาเป็นระยะเวลาพอสมควร และเรียกศูนย์แห่งนี้อย่างตรงไปตรงมา ‘ศูนย์กระทืบสันติ’ ซึ่งเข้าท่าดีจัง
เพราะไม่ใช่แต่ชำนาญในการรุมกระทืบชาวบ้าน จนขี้แตกขี้แตนเท่านั้น ยังช่วยกันรุมกระทืบ ความสงบสุขและสันติ จังหวัดชายแดนปักษ์ใต้
ให้พัง...คาตีนไปอีกด้วย!
จึงไม่แปลกเลย ถ้าญาติพี่น้องผู้ที่ถูกกระทำ ลุกมาไล่ฆ่าทหาร ล้างแค้นเอาคืนกันบ้าง!
พล.ท.วิโรจน์ บัวจรูญ แม่ทัพภาคที่ 4 (ในขณะนั้น) ทนต้องสั่งยุบศูนย์ ‘ศูนย์วิวัฒน์สันติ’
เพราะจำนนต่อหลักฐาน!

นอกจากนั้นก็ยังมีอีกหลายกรณี เช่นกรณีตากใบ กรณีอิหม่ามยะผา ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลต้องชดใช้ในเรื่องที่ทหารไปละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นจำนวนเงินไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่สดๆร้อนๆไม่กี่วันนี้ คือกรณี ฮิวแมน ไรต์ส วอทช์ (HRW) องค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนระดับโลก ซึ่งมีฐานอยู่ที่มหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ออกโรงเรียกร้องให้รัฐบาล
ไทย เปิดเผยข้อมูลที่แท้จริง เกี่ยวกับชะตากรรมของผู้อพยพชาวมุสลิมโรฮิงยาจำนวน 92 คน ที่เดินทางมาจากภาคตะวันตกของพม่า หลังมีผู้พบเห็นถูกทหารไทยนำขึ้นรถบรรทุกหายตัวไป
ผู้บังคับบัญชาทหาร จะปฏิเสธหรือหาทางแก้ตัวอย่างไรต้องเตรียมการกันให้ดี เพราะตัวเลข 92 นี้ เป็นตัวเลขเดียวกับที่ประชาชนโดนเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือทหาร ฆ่าตายใน
เหตุการณ์ชุมนุมเมื่อ ปี พ.ศ.2553 นั่นเอง

เรื่องที่กล่าวมา อาจดูเล็กไปทันที เมื่อเทียบกับเรื่องร้ายแรงที่สุด ที่กระทบแวดวงดงทหาร คือ การที่มีหลักฐานชัดเจนว่าทหารไทยจากกองกำลังผาเมือง ร่วมกันปล้นฆ่าลูกเรือชาวจีนในแม่น้ำโขง ไปถึง 13 ศพ
นี่แหละ เรื่องใหญ่จริงๆ!
มีความพยายามจากกองทัพบก ที่จะบ่ายเบี่ยง จากความรับผิดชอบจากนายทหารตัวดัง แต่ในที่สุด ทางรัฐมนตรีกลาโหม ก็ออกมายอมรับ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จบกันง่ายๆ แม้รัฐบาล
ของนายกฯปูจะพยายามอย่างเต็มที่แล้ว เพื่อไม่ให้กรณีนี้ ต้องกลายเป็นกรณีเพชรซาอุฯ ภาค 2
พูดง่ายๆก็คือ
ผู้บังคับบัญชาทหาร ต้องไม่ปกป้องคุ้มครอง “ทหารโจร” หรือ “ทหารชั่ว” เพราะมิฉะนั้น พวกท่านจะกลายเป็น
“หัวหน้าโจร” หรือ “ทหารชั่ว” เสียเอง!

ารที่ ทหารไทยมีเรื่องราวที่น่าขายหน้า แพร่หลายไปถึงต่างประเทศ ทำให้เกียรติภูมิทหารไทยตกต่ำลงมาก แต่ที่กระเทือนใจคนไทยมากที่สุดก็คือ การที่ทหารฆ่าฟันประชาชน
ชาวไทยด้วยกันเอง เพียงเพื่อต่ออายุให้รัฐบาลกาลี ให้ได้อยู่ต่อไป ท่ามกลางเสียร่ำลือว่า
เพื่อแสวงประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น...โง่บรรลัยเลย!
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว การสอบสวนเพื่อเอาผิดต่อนักการเมือง ผู้สั่งการให้เข่นฆ่าประชาชน นายทหารผู้บังคับบัญชาพึงระลึกว่า
ไม่ใช่หน้าที่ของทหารที่จะเข้ามาพูดปกป้องนักการเมืองเหล่านั้น เพราะทหารผู้ฆ่าพี่น้องเพื่อนร่วมชาติด้วยกันเอง ไม่ต้องรับผิดเพราะ
พวกเขา...ทำตาม ‘คำสั่ง’ ของนักการเมือง!
นอก จากนั้น ผู้บังคับบัญชาทหารไม่ควรเข้าไปแทรกแซงเรื่องการดำเนินคดี ไม่ว่าจะโดยกระบวนการยุติธรรมในบ้านเราเอง หรือจะโดยกระบวนการยุติธรรมระดับโลก เพราะ
หาก ผู้เสียหายหาความยุติธรรมในบ้านเราไม่ได้ เขาก็มีสิทธิจะแสวงหาช่องทางอื่น ที่มีความเป็นธรรมมากกว่า เพื่อให้ไขว่คว้าความเป็นธรรม ให้คนที่ฆ่าญาติพี่น้องเขาตาย รับโทษตามกบิลเมืองนั่นเอง
(ดูบทความประกอบ ไทยกับกระบวนการ ‘ไม่’ ยุติธรรม อันน่าอับอาย!!!
http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=186
“จดหมายฟ้องโลก”
http://www.vattavan.com/detail.php?cont_id=187)
บ้านเมืองของเรานั้น ‘ความยุติธรรม’ ได้สูญสิ้นไปแล้ว!
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=205)

ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ

content/picdata/337/data/sodier1.jpg

เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ นับว่าเป็นคุณกับฝ่ายทหาร เพราะบรรดาทหารผู้น้อย ซึ่งส่วนมากเป็นทหารเกณฑ์ ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม กลับมาทำให้คะแนนนิยมทหารดีขึ้น เพราะพวกเขา เข้าลุยน้ำกัน วันละหลายชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือประชาชน ที่ทุกข์ยากเพราะเหตุน้ำท่วม จนโรคผิวหนังและ ‘สังคัง’ กินแทบจะถ้วนทั่วทุกตัวคน จึงได้รับคำชมเชยว่าบรรดา

‘ทหารสังคัง’ เหล่านี้แหละ...ที่เป็นพระเอกตัวจริง!

ทหาร ตัวนายทั้งหลาย ที่ผัดหน้านวลขาว แต่งเครื่องแบบขัดบราสโซวาววามโก้หรู แต่ไม่เคยรบกับใครเลย นอกจากรบกับประชาชนคนในชาติเดียวกัน หรือทหารที่ทำมาหากิน โดยอาศัยเครื่องแบบ นั้น
จงอย่าได้ไปแย่ง ‘ความดีความชอบ’ จากลูกน้อง ไม่เข้าการแน่....

ยืนเฉยๆ ดูลูกน้อง ‘เกาสังคัง’ จะดีกว่านะ!!!

*********

(บทความประจำสัปดาห์ ตอน ‘ทหารสังคัง’ VS ‘ทหารโจร’ ออนไลน์วันเสาร์ ที่ 10 ธันวาคม 2554)

France 24: เผยรายงานพิเศษ "Red Shirt Killed By Royal Thai Army"

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย JJ_Sathon



รายงานจากสำนักข่าวของฝรั่งเศส ได้สรุปรายงานข่าว
การที่ทหารไทย ในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง
โดยใช้หัวข้อว่า "Red Shirt Killed By Royal Thai Army"
ทหารได้เข้าสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
และได้ใช้อาวุธสงครามนานาชนิด ที่ใช้กระสุนจริง
ภายใต้การสั่งการของรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ
ทำให้เกิดการบาดเจ็บกว่า2,000คนและตายกว่าร้อยคน
และยังไม่ร่วมนักข่าวกับประชาชนคนเดินถนน
ที่ต้องตกเป็นเหยื่อกระสุนของฝ่ายรัฐอีกจำนวนหนึง
เพียงเพื่อรักษาเก้าอี้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนต่อไป
ถือว่าเป็นการปฎิบัติการที่ไร้มนุษยธรรมโดยสิ้นเชิง.

ทางเว็บไซต์ขอร่วมบันทึกภาพนี้ไว้ในความทรงจำของเราทุกคน


http://www.go6tv.com/2011/12/france-24-red-shirt-killed-by-royal.html

คลิปตะโกนใส่อภิสิทธิ์ "ฆาตกร 91ศพ"

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย JJ_Sathon




ระหว่างที่รถของนายอภิสิทธิ์ ขับเข้ามาในกองบัญชากรรตำรวจนครบาลพบว่า
ประชาชนชายหญิงที่สวมชุดดำไว้ทุกข์ให้กับผู้เสียชีวิตซึ่งมารออยู่
ก่อนหน้าประมาณ 20 คน ได้ชูป้ายข้อความที่เขียนว่า
" ฆาตกรแห่งเมืองผู้ดี 91 ศพ"
" นักฆ่ากระชับพื้นที่ "
" ใครสั่งฆ่าประชาชนต้องรับกรรม "

และข้อความอื่นๆที่มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกันพร้อมตะโกนเสียงดังว่า
" ไอ้ฆาตกร 91 ศพ "
โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ 10 นายดูแลความเรียบร้อย
อยู่ด้านหน้าประตูทางเข้าไม่ให้บุกรุกเข้ามาในพื้นที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาลแต่อย่างใด

ข่าว/ภาพ : สุภารัตน์ เอี่ยมตาล.. โต๊ะข่าวอาชญากรรม สำนักข่าวเนชั่น


http://www.go6tv.com/2011/12/91.html

ประเมินการเมืองไทยหลังน้ำลด

ที่มา Voice TV



รายการ Intelligence ประจำวันที่ 9 ธ.ค. 54

อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ ประเมินว่า การเมืองไทยหลังน้ำลด มีแนวโน้มเผชิญหน้ากันนอกสภามากขึ้น อยู่กับเงื่อนไขที่แต่ละกลุ่มชูขึ้นมา ที่น่าจับตาคือ กลุ่มการเมืองที่จุดพลังมวลชนขึ้นมา จะนำไปสู่สิ่งที่ดีต่อระบอบประชาธิปไตยหรือ เช่น กลุ่ม

เสื้อหลากสี ชูเรื่องการปกป้องสถาบัน กลุ่ม นปช. ทวงคืนความเป็นธรรมคดี 91 ศพ และกลุ่มนักวิชาการ ปัญญาชน เรียกร้องความเป็นธรรมคดีอากง

ในฐานะนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ อ.ศิโรตม์ ยอมรับว่า ประเมินการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ลำบาก เพราะเข้ารับตำแหน่งก็เผชิญกับวิกฤติมหาอุทกภัย แต่หากมองผู้นำในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ยังมองว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังขาดความมุ่งมั่นทางการเมืองที่ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบ

กับรัฐบาลทักษิณ ยุคไทยรักไทย มุ่งลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน รัฐบาลสุรยุทธ์ ไม่มีวาระชัดเจนเพราะเป็นรัฐบาลหลังรัฐประหาร รัฐบาลสมัครมุ่งจะยุติการเผชิญหน้า 2 ฝ่าย ส่วนรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีความมุ่งมั่นจะปฏิรูปผ่านคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือยุติความขัดแย้งทางการเมือง

สำหรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีลักษณะเฉพาะการเป็นรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้ง หลังสลายการชุมนุม ย่อมถูกคาดหวังเป็นพิเศษว่า รัฐบาลชุดนี้ จะเข้ามาลดอำนาจของกองทัพ แก้ไขกฎหมายความมั่นคง ลดผลพวงของรัฐประหาร และยังต้องเตรียมการรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย

อ.ศิโรตม์ มองว่า การเดินหน้าสู่การออกกฎหมายนิรโทษกรรม รัฐบาลน่าจะเลือกใช้คณะกรรมาธิการสร้างความปรองดอง ที่พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธาน คมช. เป็นประธาน ถือเป็นการ "เกี้ยเซี๊ยะ" กับ กลุ่มชนชั้นนำกับนักการเมือง ที่ทั้งสองฝ่ายทำมาตลอด เพราะไม่ต้องการแตกหักกัน ที่น่าจับตาอีกจุด คือ การพยายามกัน "ทหาร" ออกไปจากการรับผิดชอบคดีสลายการชุมนุม โดยมุ่งผลทางการเมืองเพื่อดำเนินคดีต่อผู้สั่งการ คือ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ในฐานะ ผอ.ศอฉ. ทั้งๆที่ เหตุการณ์พฤษภา 53 ควรจะสรุปบทเรียนนำไปสู่การปฏิรูปกองทัพ ลดอำนาจกองทัพ แก้ไข พรก.ฉุกเฉิน หรือ พรบ.ความมั่นคง

ผมคิดว่ารัฐบาลกับอำมาตย์กำลังเล่นบทตีสองหน้ากันทั้งคู่

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย

คือ สถานการณ์แบบนี้ เพิ่งเริ่มต้นกันใหม่ๆ ทั้งรัฐบาลและอำมาตย์ ประชาชนเพิ่งเลือกรัฐบาลมา และชาวโลกจับตามอง

ส่วน อำมาตย์ก็ยังคงมีพลังอยู่พอสมควร และรัฐบาลเพิ่งสถาปนาใหม่ อำนาจยังไม่มั่นคงเท่าใดนัก การบุกลุยเอามันเลย ผมว่าหากผมเป็นแม่ทัพเอง ผมก็รอสะสมกำลังให้เข็มแข็งก่อน คงไม่บุ่มบ่ามลุยตอนนี้ เพราะมันจะดูโง่เขลาไปหน่อย เราลุยเลย ก็บีบบังคับให้ฝ่่ายตรงข้ามต้องสู้ สงครามก็เกิดขึ้นในภาวะที่เรายังไม่พร้อมอย่างสมบูรณ์อำนาจยังไม่มั่นคง

ก็ต้องเล่นบทตีสองหน้า ซ่อนดาบในรอยยิ้มทั้งคู่ เพราะตอนนี้ขืนทำอะไรมาก ก็คงไม่เหมาะสม

เรื่อง ปราบเว็บหมิ่น ผมว่าเขาคงประเภท "ขังขังจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด" ย้ำ "ตามกฎหมายนะครับ" ประเภทปิดโดยพละการแบบยุค ปชป. คงไม่ทำ แต่หากผิดชัดเจนก็คงเลี่ยงได้ยาก อันนี้มันเป็นมานานแล้ว ผมคาดเดาว่าน่าจะออกมาในรูปนี้

เพราะนี่คือ การตีสองหน้าได้ดีที่สุด

คือผมก็คงไม่เชื่อว่ารัฐบาลคงจะโง่ ที่จะไปสยบอำมาตย์ แต่มันก็ไม่ฉลาดที่จะแสดงความเป็นปรปักษ์แบบหักด้ามพร้าด้วยเข่า ก็คงรำลิเก ไป

ผม คาดว่าน่าจะออกมาแบบนี้ พวกเรา ก็ตีลูกคู่ไป เว็บไทยฟรีนิวส์เคารพกฎหมายอยู่แล้ว เราไม่สนับสนุนให้ใครทำผิด ม. 112 อยู่แล้ว กฎหมายก็คือกฎหมาย ตราบใดที่ยังไม่แก้ไข เราก็คงทำอะไรกฎหมายไม่ได้

ก็ต้องตะโกนให้เสียงดังกันต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะดังพอ ดังพอเมื่อไหร่ ถึงเวลาเราก็รู้เอง

แต่ ใครจะคิดอย่างไร หรือมีทัศนะคติอย่างไร ก็คงเป็นเสรีภาพ คงไม่มีใครไปบังคับใครให้คิดอย่างไร ต้องรักต้่องกราบใครได้ นั่นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

อีกอย่างนายกฯ ปู ก็อยู่กลางสมรภูมิมานานแล้วตั้งแต่ปี 2550 ไม่ใช่เพิ่งเข้ามา แต่อาจเพิ่งออกมาอยู่ข้างหน้า ทำให้คนอาจมองว่าไร้เดียงสา แต่ผมไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนั้น คงรู้อะไรๆ พอๆ หรือมากกว่า ผม คนในเว็บ หรือคนทั่วไป แต่คงแสดงออกไม่ได้ว่ารู้อะไร ไม่รู้อะไร ก็ต้องเล่นตามบทไป

สถานการณ์มันน่าจะเป็นอย่างนั้น

มะกันเล็งออกกฎหมายต่อต้านการปิดกั้นเว็บ

ที่มา thaifreenews

โดย ice angel



ประธาน คณะกรรมาธิการเทคโนโลยีการสื่อสารสหรัฐฯ เสนอแก้ร่างกฎหมายในการสื่อสารออนไลน์สากล ห้ามบริษัทเอกชนพัฒนาระบบปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการปิดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารออนไลน์ หรือระบบตรวจสอบข้อมูลประวัติผู้ใช้อินเตอร์เน็ต...

เมื่อ 9 ธ.ค. นายคริส สมิธ ประธานคณะกรรมาธิการร่วมด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร สังกัดพรรครีพับลิกันของสหรัฐฯ เสนอให้ปรับแก้ร่างกฎหมายว่าด้วยเสรีภาพในการสื่อสารออนไลน์สากล (Global Online Freedom Act หรือจีโอเอฟเอ) ต่อที่ประชุมสภาในกรุงวอชิงตัน โดยเสนอให้เพิ่มเงื่อนไขห้ามบริษัทเอกชนในสหรัฐฯผลิตหรือพัฒนาระบบปฏิบัติ การทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการปิดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารออนไลน์หรือ ระบบตรวจสอบข้อมูลประวัติผู้ใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อจำหน่ายแก่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่ต้องการควบคุมการแสดงความคิดเห็นของ พลเมืองในประเทศ



Freedom House Endorses Global Online Freedom Act
Washington
December 8, 2011

Freedom House supports the Global Online Freedom Act (GOFA) 2.0, which was introduced today in the U.S. Congress as H.R. 3605. The bill, which would hinder the ability of U.S. companies to sell surveillance and censorship technologies to repressive governments, is crucial to the promotion of global internet freedom.

“U.S. companies are reported to have sold technologies for monitoring digital communications and censoring online content to repressive governments in the Middle East and elsewhere,” said Daniel Calingaert, vice president for policy at Freedom House. “GOFA is the first serious legislative proposal to stop sales of U.S. technology that is used to violate human rights.”

The bill would prohibit exports of surveillance and censorship technologies to countries that restrict the internet. It would also require U.S. technology companies to disclose their policies for collecting and sharing personal data and for blocking access to online content.
“The explosive growth of social media and internet use generally is being met by increasingly sophisticated forms of repression,” continued Calingaert. “More and more governments are eavesdropping on the communications of human rights activists and restricting internet users’ access to information, such as independent news websites and peaceful online political discussions.”

http://www.freedomhouse.org/template.cfm?page=70&release=1535


2011-03-02@0731 DSIแถลง Hiroyuki Muramotoตายด้วยปืนอาก้า

ที่มา thaifreenews

โดย Tuxedo

เกษียร เตชะพีระ:“ความฝันในเฟซบุ๊ก”

ที่มา ประชาไท

กระดานข้อความบางกระดานในเฟซบุ๊กสะท้อนความฝันของผู้คนพอ ๆ กับความจริงที่พวกเขาดำรงอยู่ การพยายามทำนายไขความฝันจึงอาจช่วยให้เราเข้าใจความจริงที่ป้อนเลี้ยงแวด ล้อมความฝันนั้นๆ อยู่ว่า มันขาดหายอะไรไป? พรมแดนแห่งความเป็นไปได้/เป็นไปไม่ได้ของมัน อยู่ที่ไหน? ทำไม? อย่างไร?

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%


1) “เราเห็นด้วยกับข้อเสนอของหมอประเวศในการให้ประเทศไทยกลับไปปกครองแบบสมัยโบราณ” (เฟซบุ๊ก, 29 พ.ย.2554)

ซิกมุนต์ บอแมน

มีแต่ชีวิตเสพสุขหรูหราสมัยใหม่เท่านั้นที่มั่งมีล้นเหลือพอจะเหลียวกลับ ไปมองยุคก่อน สมัยใหม่ด้วยความหวนหาอาลัย แววตาและท่าทีหวนหาอาลัยอดีตของชีวิตดังกล่าวเผยให้เห็นความรู้สึกอึดอัด แปลกแยกจากความเสี่ยงและผันผวนของชีวิตสมัยใหม่แบบไม่รู้ตัวหรือกึ่งรู้ตัว ที่ซ่อนแฝงอยู่ ผู้คนพากันหวนหาชุมชนซึ่งสูญสลายไปนานแล้ว แม้ว่าเอาเข้าจริงพวกเขาไม่สามารถตัดชีวิตตัวเองให้หลุดพ้นจากคำสาปและพรอัน ประเสริฐของเสรีภาพสมัยใหม่ได้ ชีวิตดังกล่าวน่าเห็นอกเห็นใจตรงที่ไม่ตระหนักว่าสภาพเงื่อนไขแห่งการดำรง อยู่แบบสมัยใหม่ของตัวเองนั่นแหละที่เป็นตัวปัดปฏิเสธความเป็นไปได้ของอดีต ก่อนสมัยใหม่ของพวกเขาโดยตรง

ดังที่ซิกมุนต์ บอแมน นักสังคมวิทยาชาวโปแลนด์เชื้อสายยิว ผู้ถูกขับไสออกมาอยู่อังกฤษ เคยกล่าวไว้ว่า “เสรีภาพที่ปราศจากชุมชน ย่อมหมายถึงความวิกลจริต ขณะชุมชนที่ปราศจากเสรีภาพ ย่อมหมายถึงความเป็นไพร่ข้า” (Zygmunt Bauman, Life in Fragments: Essays in Postmodern Morality) สำหรับผู้เรียกร้องให้เสียสละเสรีภาพเพื่อ เห็นแก่ชุมชนที่ไม่มีวันหวนกลับไปถึงได้นั้น เอาเข้าจริงพวกเขาอาจกำลังพลัดตกลงไปในบ่วงแห่งความเป็นไพร่ข้าอันวิกลจริต ก็เป็นได้

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

2) “เราไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอการปิดเฟซบุ๊กและยูทูบเพื่อกำจัดเว็บหมิ่น” (29 พ.ย.2554)

เรย์มอนด์ วิลเลียมส์

เรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ปัญญาชนนักศึกษาวัฒนธรรมผู้ล่วงลับ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากครอบครัว พนักงานให้สัญญาณประจำสถานีรถไฟในชนบทแคว้นเวลส์ของอังกฤษ ก่อนจะได้ทุนไปเรียนต่อ จนจบและเป็นอาจารย์ด้านวรรณกรรมและวัฒนธรรมศึกษาชื่อดังที่มหาวิทยาลัยเคม บริดจ์ เคยพูดถึงอาการปลาบปลื้มความวิจิตรดีงามตามประเพณีแต่เก่าก่อนและต่อต้าน วัตถุนิยม-พาณิชย์นิยมของปัญญาชนชั้นสูงในมหาวิทยาลัยว่า มีแง่มุมที่สะท้อนความแปลกแยกจากสังคมอุตสาหกรรมอยู่ แต่พวกเขาไม่เข้าใจคนชั้นล่างจริง ๆ แต่อย่างใด เพราะผู้คนในชุมชนของวิลเลียมส์เองนั้นพึงพอใจความก้าวหน้าสะดวกสบายที่การ ปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่นำมาให้ เช่น ระบบน้ำ ประปา, รถยนต์, ยาสมัยใหม่, อุปกรณ์คุมกำเนิด, อาหารกระป๋อง เป็นต้น ที่ได้ให้พลังอำนาจ และปลดเปลื้องคนงานชายหญิงออกจากภาระงานอาชีพและงานในครัวเรือนอันหนักหน่วง ให้มีเวลาว่างและเสรีภาพที่จะทำอย่างอื่นในชีวิต ไม่มีทางที่คนชั้นล่างในชุมชนของเขาจะหันหลังให้ความก้าวหน้าเหล่านี้และ กลับไปสู่ชีวิตที่ลำบากตรากตรำหนักหนาสาหัสดังก่อน สิ่งที่ต้องปฏิเสธ จึงไม่ใช่การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีโดยตัวมันเอง แต่คือระเบียบความสัมพันธ์ทางอำนาจและทรัพย์สินที่กำกับยึดกุมมันไว้อย่าง ไม่เท่าเทียมต่างหาก (Raymond Williams, Resources of Hope: Culture, Democracy, Socialism)

หากเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ อยู่ถึงยุคการปฏิวัติไอทีทุกวันนี้ ทรรศนะของเขาต่อเฟซบุ๊กและยูทูบ คงไม่ต่างจากที่มีต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม.....

%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

3)“สังคมที่ธำรงรักษาความรู้สึกมั่นคงของตัวไว้ได้ก็แต่ในบรรยากาศแห่ง ความกลัว จะมั่นคงไปได้อย่างไร? คนไทยควรมีสิทธิ์ได้อยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ด้วยความไว้วางใจ ไม่ใช่ความกลัว” (7 ธ.ค.​2554)

อานันท์ ปันยารชุน

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2554 ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีการเปิดตัวหนังสือชีวประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉบับภาษาอังกฤษ โดยสำนักพิมพ์ Editions Didier Millet ชื่อ “King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work” โดยมีอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ เป็นที่ปรึกษากองบรรณาธิการ ซึ่งในงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติและผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เป็นอย่างมาก

อานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากองบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า งานเขียนซึ่งมีความยาวกว่า 500 หน้านี้ เป็นการรวบรวมบทความและข้อเท็จจริงที่ผ่านการถกเถียงระหว่างผู้เขียนที่หลาก หลาย โดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างประเทศ โดยเขาหวังว่า จะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นอิสระ เป็นกลางและรอบด้านแก่ผู้อ่านมากที่สุด

หนังสือดังกล่าวยังได้รวบรวมประเด็นอันเป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน เช่น กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และการสืบรัชทายาทด้วย.....

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของงาน ผู้สื่อข่าวถามว่า อานันท์เห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้อง กับหลักสิทธิมนุษยชนสากล เนื่องจากหนังสือดังกล่าวได้ระบุถึงปัญหาของกฎหมายอาญา ม.112 ด้วย ซึ่งอดีตนายกฯ ได้ตอบว่า แท้จริงแล้วกฎหมายนี้ต้องพิจารณาในบริบทของประเทศไทย ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์ไทยกับประชาชนเป็นเอกลักษณ์จากที่ อื่นๆ ในโลก

อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่าการบังคับใช้ของกฎหมายนี้รุนแรงเกินไป โดยเฉพาะในแง่ของการฟ้องร้องที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถกล่าวโทษ ทั้งนี้เขา เสนอแนะว่า อาจมีการตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่สั่งฟ้องโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง รวมถึงพิจารณาลดบทลงโทษให้ผ่อนคลายลงกว่าเดิมด้วย.....

(อ้างจาก http://prachatai.com/journal/2011/11/38077)

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: คำอธิษฐานถึง "อากง" ในวันรัฐธรรมนูญ

ที่มา ประชาไท

๑. อธิษฐานนำ: “กฎหมาย” แทน “กฎตามใจฉัน”

แม้บ้านเมืองจะแสนวุ่นวายในยามนี้ แต่ผมมีความหวังว่าภาวะวิกฤตได้เสนอโอกาสให้สังคมไทยหันมาพึ่ง “กฎหมาย” แทน “กฎตามใจฉัน” กันมากขึ้น

พอมีคนคิดว่า “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” บริหารน้ำท่วมผิดพลาด ไม่เป็นธรรม ก็ใช้สิทธิทางศาล ทั้งที่จะเอาผิดทางแพ่ง อาญา และปกครอง ไม่ว่าจะเพื่อเรียกค่าเสียหาย หรือเพียงเพื่อขอความเป็นธรรมให้รัฐบาลทำให้ถูกต้อง (ผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า การฟ้องเพื่อให้รัฐทำให้ถูกต้องนั้นมีทางทำได้ แต่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นยาก เพราะมีกฎหมาย เช่น มาตรา 43 ของ กฎหมายป้องกันบรรเทาสาธารณภัยฯ ที่ให้อำนาจฝ่ายบริหารกำหนดค่าเสียหายไว้แล้ว ศาลจะไปกำหนดแทนไม่ได้ ดูเพิ่มที่ http://on.fb.me/s0FasP )

พอมีคนคิดว่า “คุณทักษิณ” จะถูกช่วยให้พ้นผิด ก็ขู่จะฟ้องศาลให้ตรวจสอบว่ากฎหมายอภัยโทษ หรือกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ? (ผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า การจะด่วนสรุปว่าศาลมีอำนาจพิจารณาได้หรือไม่ได้เสมอไปนั้น คงเป็นความคิดที่คับแคบเกินไป ดูเพิ่มที่ http://on.fb.me/rJ6kTd และ http://on.fb.me/w0eznn )

แม้แต่กรณี “รัฐบาลอภิสิทธิ์” สลายการชุมนุมแต่คดี 91-92-93 ศพในประเทศไปไม่ถึงไหน ก็มีการพูดเรื่องฟ้องคดีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ! (เรื่องนี้ผมเห็นว่ามีช่องทางเป็นไปได้แต่ยากมาก ดูเพิ่มที่ http://on.fb.me/vPHzNS )

* * *

๒. อธิษฐานนึก: “คดีอากง” สู่ “ศาลรัฐธรรมนูญ”

ล่าสุด เมื่อเห็นว่า “อากง” ถูกพิพากษาจำคุก 20 ปี จากข้อความ sms 4 ฉบับ (หรือ 1 ฉบับที่แตกเป็น 4 ตอนก็ไม่ชัด) ผมก็อดคิดไม่ได้ว่า สำหรับผู้ที่ต้องการจะช่วย “อากง” นั้น นอกจากจะรณรงค์ทางการเมืองให้แก้กฎหมาย หรือ อภัยโทษ นิรโทษ ลดโทษ หรือสู้คดีอุทธรณ์ฎีกา (ซึ่งอากงอาจต้องรอในคุกอีกนาน) นั้น “อากง” จะ สามารถฟ้องต่อ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ว่าบทบัญญัติกฎหมายที่ศาลนำมาลงโทษอากงนั้น เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ?

ย้ำนะครับ ผมไม่ได้ถามนะครับว่า ความมีอยู่ของ “กฎหมายหมิ่น” มาตรา 112 โดยตัวมันเองขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และผมก็ไม่ได้ถามซ้ำกับคนอื่นว่าเราควรจะรักษา หรือแก้ไข หรือเลิก มาตรา 112 หรือไม่ และผมไม่ได้ถามเสียด้วยซ้ำว่าศาลที่พิพากษาจำคุกอากงนั้นตัดสินคดีอย่าง ยุติธรรมหรือไม่ ผมไม่ได้ถามสิ่งเหล่านี้นะครับ

แต่ผมกำลังถามถึง “สิทธิของอากง” หรือแม้แต่ “สิทธิของผู้ที่เกรงว่าตนจะตกอยู่ในสภาพเดียวกับอากง” ที่จะใช้ช่องทางตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 211 หรือ มาตรา 212 ประกอบกับมาตรา 6 มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา ๓๙ เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบว่า ตัวบทกฎหมายที่ศาลนำมาลงโทษอากงนั้น ไม่ว่าจะในเรื่องกระบวนพิจารณารับฟังหลักฐานก็ดี เรื่องการกำหนดความรุนแรงของโทษก็ดี หรือแม้แต่วิธีการนับกระทงรวมโทษก็ดีนั้น ละเมิดสิทธิเสรีภาพในทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่ ?

การที่ประชาชนจะนำคดีไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญนั้น แม้จะเป็นไปได้แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ซ้ำยังจะโดนคดีบรรทัดฐานขวางกั้นเอาง่ายๆ แต่สมมติว่าผ่านขั้นตอนและศาลรับฟ้อง อากงก็อาจยก “รัฐธรรมนูญ มาตรา 29” ที่บัญญัติว่า กฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของอากงนั้น จะมีได้ก็แต่เพียง “เท่าที่จำเป็น” เท่านั้น ไม่ใช่ว่าสภาจะมีอำนาจตรากฎหมายอะไรตามใจก็ได้

ทั้งนี้ การฟ้องลักษณะดังกล่าวต้องไม่ใช่การขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบดุลพินิจของศาลอาญา และต้องไม่ใช่การขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” เช่น มาตรา 112 นั้น จะมีอยู่ได้หรือไม่ (เพราะคำตอบชัดเจนว่ามีได้ และควรมีเสียด้วยซ้ำ) เพียงแต่ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าหากจะมี มาตรา 112 อยู่ต่อไป กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่มีลักษณะจำกัดสิทธิเสรีภาพเกินไปกว่า “เท่าที่จำเป็น”

แต่หาก มาตรา 112 หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเกินไปกว่า “เท่าที่จำเป็น” ศาล ก็ต้องวินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้สภาต้องไปแก้กฎหมายใหม่ จะให้รุนแรงเข้มข้นเข้มงวดก็ทำได้ แต่ต้องมี“เท่าที่จำเป็น” เท่านั้น (ส่วนจะมีผลย้อนหลังไปถึงผลคำพิพากษาคดีอากงหรือไม่นั้นก็น่าถกเถียงกันได้)

ปัญหาคือ เกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” ตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 29” นี้ จะวัดกันอย่างไร? แน่นอนว่ากฎหมายที่ห้ามจุดพลุหลังสองทุ่ม หรือ ห้ามขับรถเปลืองน้ำมันเกินวันละสองลิตรนั้น อาจตอบได้โดยวง่ายว่าเกินกว่า “เท่าที่จำเป็น”

แม้กรณีคดี "อากง" อาจมองเป็นเรื่องยาก แต่ศาลไทยเองก็ต้องพัฒนาตนเองไม่ต่างไปจากศาลในสังคมอื่นที่ต้องใช้เวลาเป็น ร้อยปีในการลองผิดลองถูกเพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์ให้หลักแหลม ลึกซึ้ง และแยบยลเพื่อนำมาใช้วัดความยุติธรรมว่าเกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” นั้น ต้องเท่าไหน

หากจะยกหลักเกณฑ์เบื้องต้นที่ศาลหลายประเทศใช้ ก็อาจกล่าวถึง “หลักความได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ส่วนตน” กับ “หลักความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและเป้าหมาย” มาพอสังเขปดังนี้

สมมติมีผู้โต้แย้งว่า “โทษประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติด” นั้นรุนแรงเกินความจำเป็น ศาลอาจมองได้ว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ขัดต่อเกณฑ์เพราะ “ได้สัดส่วน” ระหว่าง “ประโยชน์สาธารณะ” และ “ประโยชน์ส่วนตน” เช่น ยาเสพติดหนึ่งกระสอบที่ขายไปสามารถทำลายครอบครัวของผู้คนได้ทั้งชุมชน ทำลายทั้งร่างกาย อาชีพการงาน หรือแม้แต่ชีวิต ก่อให้เกิดอาชญากรรมและค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา ในขณะที่ประโยชน์ส่วนตนนั้นแทบจะไม่มีอะไรนอกไปจากการที่ผู้ค้าได้เงินตอบ แทนหรือผู้เสพรู้สึกพอใจ ตรงกันข้าม หาก “ยาเสพติด” บางประเภทมีคุณเป็นยารักษาโรคและค้าไปเพื่อรักษาเยียวยาผู้ครอบครอง กฎหมายก็อาจทบทวน “ความได้สัดส่วน” ใหม่ ดังที่หลายประเทศลดหรือยกเลิกความผิดในการค้าหรือครอบครองยาเสพติดที่นำไปใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

นอกจากนี้ ศาลยังอาจมองว่าโทษประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพติดนั้น มี “ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและเป้าหมาย” ที่ เหมาะสม กล่าวคือ ยาเสพติดนั้นเคลื่อนย้ายและกระจายขายกันได้ง่าย แอบทำโดยลับและซุกซ่อนสะดวก แต่มีราคาค่าตอบแทนสูงมาก หากกฎหมายกำหนดโทษเบา ผู้คนย่อมมีแรงจูงใจที่จะค้ายา ติดคุกเพียง 1 ปี อาจมีเงินใช้ได้ 10 ปี กฎหมายก็ย่อมกำหนดโทษที่มีรุนแรงเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนเกรงกลัวต่อการ ตัดสินใจค้ายา

ลองหันมามอง “คดีอากง” หากอากงปรึกษาทนายนำคดีไปฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลจะนำเกณฑ์ข้างต้นมาพิจารณาว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มีลักษณะเกินเลยไปกว่าเกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” ตาม “รัฐธรรมนูญ มาตรา 29” ได้หรือไม่ ?

หากคดีอากงมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ ศาลย่อมพึงอธิบายให้กระจ่างและลึกซึ้งว่า ข้อความ sms 4 ฉบับ (หรือ 1 ฉบับที่แตกเป็น 4 ตอน) แม้จะมีเนื้อหาที่น่าเกลียดชังขัดต่อความรู้สึกของคนในสังคมเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อได้ถูกส่งไปยังผู้คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีแรงจูงใจจะส่งต่อ (ซ้ำยังรีบแจ้งความดำเนินคดีเสียด้วยซ้ำ) จะถือว่ากระทบไปถึง “ประโยชน์สาธารณะ” ของสังคมไทยอย่างรุนแรงกว้างขวาง หรือไม่ อย่างไร ?

เช่น หากศาลอธิบายได้กระจ่างชัดว่าคนไทยเป็นคนที่มีสภาวะจิตที่อ่อนไหวต่อข้อความ ดังกล่าวขนาดที่ว่าเมื่อเห็นข้อความแล้วถึงกับล้มป่วยหรือชีวิตเดือดร้อน วุ่นวาย หรือหากศาลมองว่าสังคมไทยมีมูลเหตุที่จะหลงเชื่อข้อความได้ง่ายและมีแรงจูง ใจที่จะแพ่กระจายข้อความหรือสามารถถูกข้อความโน้มน้าวให้ลุกขึ้นต่อต้านล้ม ล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างกว้างขวางจนสังคมวุ่นวาย ก็ย่อมมีมูลเหตุของ “ประโยชน์สาธารณะ” ที่จะเข้าไปจำกัด “ประโยชน์ส่วนตน” ของผู้ส่งข้อความที่อาจทำไปโดยเชื่อว่าเป็นสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความเห็น หรือระบายอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ อีกทั้งยังสมเหตุสมผลที่จะใช้ “วิธีการ” เด็ดขาดรุนแรงเพื่อให้เป็นไปตาม “เป้าหมาย” ที่ยากจะควบคุมดูแล

แต่ตรงกันข้าม หากศาลมองว่าผู้คนในสังคมไทยมีวุฒิภาวะทางสติปัญญาและอารมณ์เพียงพอที่จะ กลั่นกรองข้อมูลจากข้อความ โดยมิได้วิตกล้มป่วยหรือหลงเชื่อ หรือมีแรงจูงใจให้ลุ่มหลงส่งต่อเผยแพร่ข้อความแต่โดยง่าย อีกทั้งธรรมชาติของการส่งข้อความไม่ได้มุ่งทำโดยแอบลับ แต่มุ่งทำให้ผู้อื่นได้รับรู้ จึงพบเห็นและจับได้ง่าย อีกทั้งหากศาลเชื่อว่าคนไทยโดยพื้นฐานล้วนจงรักภักดี ต่างรักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ และร่วมกันสอดส่องดูแล ตักเตือนต่อว่า หรือแม้แต่ดำเนินคดีกับผู้ส่งข้อความดังกล่าวแล้วไซร้ ก็ย่อมอาจมองได้ว่า มาตรา 112 ดังที่เป็นอยู่มีลักษณะที่ “ไม่สมสัดส่วนระหว่างประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ส่วนตน” อีกทั้งยัง “ขาดความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการและเป้าหมาย”

กล่าวอีกทางให้เข้าใจง่ายก็คือ แม้จะลดโทษสูงสุดให้เหลือเพียง 1 ปี ความดีและความรักที่สังคมไทยมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะยังคงปก ป้อง “เป้าหมาย” ของความสงบเรียบร้อยได้ดังเดิม โดยที่ไม่ได้ทำให้ “ประโยชน์สาธารณะ” เสียไปแต่อย่างใด เพราะหากประชาชนคนไทยต่างจงรักภักดีอย่างแท้จริง และมีสติอารมณ์ที่มั่นคง ไม่ว่าใครจะถูกจำคุกสัก 1 ปี หรือ 20 ปี ประชาชนคนไทยก็จะยังคงจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ดังเดิม และช่วยกันสอดส่องดูแลบ้านเมืองดั่งที่เคยได้กระทำมา ทั้งยังจะดีต่อทั้ง “ประโยชน์สาธารณะ” และ “ประโยชน์ส่วนตน” โดยสังคมไทยไม่ต้องมาถกเถียงกันว่า มาตรา 112 รุนแรงหรือไม่เป็นธรรม หรือถูกมาใช้ทางการเมืองหรือไม่

หากศาลพิจารณาดังนี้ ก็ย่อมวินิจฉัยได้ว่ากฎหมายที่เกินเลยไปกว่าเกณฑ์ “เท่าที่จำเป็น” ตาม “รัฐธรรมนูญมาตรา 29” ย่อมเป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หากจะใช้บังคับต่อไปในอนาคต สภาก็ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง “เท่าที่จำเป็น” เท่านั้น

* * *

๓. อธิษฐานนาน: ขอศาลเป็นที่พึ่งของประชาชน

ประเด็นชวนคิดข้างต้นนี้เป็นสภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของสังคมที่มี “พลวัตรทางประชาธิปไตย” เมื่อ ผู้คนหลายล้านคนหลายล้านมุมมองความคิดต่างเกิดแก่เจ็บตายไปตามยุคสมัย ย่อมไม่มีกฎหมายหรือความคิดใดที่ถูกต้องเป็นธรรมหรืออ้างว่าจำเป็นได้ตลอด กาล

“ศาล” ไม่ได้เป็นร้านขายคำพิพากษา แต่เป็นศูนย์กลางของสังคมที่คอยเชื่อมโยงความสูงส่งแห่งหลักการให้สอดรับกับ มโนธรรมสำนึกของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ศาลคือผู้ที่ต้องแสวงหาความจริงแห่งยุคสมัยและอธิบายความถูกต้องให้แก่สังคม ในยามที่มืดมนและสับสน

บรรดาตุลาการเพศชายอายุช่วง ๖๐ ปีทั้งเก้าท่าน ณ ศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ จะต้องเชื่อมโยงกฎหมายเข้ากับมโนธรรมสำนึกของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสตรีมีครรภ์ที่ประสงค์จัดการกับร่างกายของตนไม่ต่างไปจากคนไข้ หรือผู้รักร่วมเพศที่ประสงค์จดทะเบียนสมรสไม่ต่างจากคู่รักหญิงชาย หรือนักเลงปืนที่ต้องการพกพาของล้ำค่าติดตัวไม่ต่างจากนักเลงพระ และรวมไปถึงบรรดามนุษย์ผู้มีจิตใจและความคิดเห็นต่อ “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ไม่ว่าจะทางใด เพราะศาลจะแสวงหาแต่เพียงกฎหมายที่ประชาชนเห็นว่าควรเป็นไม่ได้ แต่ต้องยึดมั่นในมนุษย์ดังที่เป็นเช่นกัน

เนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญปีนี้ ผู้เขียนขอตั้งจิตอธิษฐานให้อำนาจแห่งความดีทั้งปวงโปรดดลบันดาลให้ประชาชน มีมโนธรรมสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์เป็นที่พึ่งพา และมีศาลที่ยึดมั่นรักษาสิทธิเสรีภาพของพวกเราเป็นที่พักพิงสืบไป

อักโกธะ – อากง (สังคมแห่งความหวาดกลัว)

ที่มา ประชาไท

ข้อเสียอย่างยิ่งของบ้านเรา คือ การ “ไม่สามารถ” ยก “ประเด็นปัญหาระดับพื้นฐาน” ของความเป็นประชาธิปไตยมาถกเถียงกันด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดได้ เช่น แม้แต่เกิด “กรณีอากง” ที่ทำให้รู้สึกสะเทือนใจกันทั้งประเทศแล้ว ปัญหาเรื่องยกเลิก-ไม่ยกเลิก ปรับปรุง-ไม่ปรับปรุง ม.112 ก็ไม่สามารถนำมาถกเถียงกันอย่างตรงไปตรงมาจนสามารถนำไปสู่การมีฉันทามติทาง สังคมร่วมกันได้ แต่ต่างคนต่างพูดกันไป ผมจะลองนำตัวอย่างที่ต่างคนต่างพูดกันมาลองไล่เรียงเหตุผล (ตามการตีความของผม) ดู และผมก็เห็นว่า สองทัศนะข้างล่างนี้บ่งบอกมุมมองตรงข้ามเกี่ยวกับ ม.112 ได้ค่อนข้างชัดเจน

ที่มา https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1515610323260.2070497.1024504690

“หากพบเว็บไซต์ใดที่เผยแพร่ข้อความลบหลู่ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ก็ควรจะรายงานเจ้าหน้าที่ทราบ...หรือถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ก็ควรจะแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อจับกุมทันที ขอเรียนว่าพฤติการณ์ของคนพาลคนชั่วเนรคุณ อกตัญญูพวกนี้อุปมาเหมือนบาดแผลที่อาจจะแลดูเล็กน้อย แต่แท้จริงเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง ที่ไม่อาจบำบัด ได้เพียงแต่ด้วยการล้าง หรือชำระแผลแล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ แต่จะต้องรักษาให้ถูกวิธี แม้จะต้องทำด้วยการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายนั้นออก หรือสกัดไว้มิให้ลุกลามออกไป ช่วยกันป้องกันเมืองไทยเถอะครับ อย่าให้เชื้อโรคเนรคุณอกตัญญูมันลุกลามออกไปมากกว่านี้”

วสิษฐ เดชกุญชร (ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2554)

ทั้งสองข้อความนี้สะท้อน “ทัศนะที่แตกต่างกัน” แม้ทัศนะแรกจะไม่บอกตรงๆ ว่าปฏิเสธ ม.112 แต่การยืนยันสิทธิของคนไทยเช่นนั้นก็มีความหมาย “เป็นอย่างน้อย” ว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้ ม.112 จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะมีแต่การยืนยันสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบของประชาชนเท่า นั้น การมีชีวิตอยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย “ความไว้วางใจ ไม่ใช่ความกลัว” จึงอาจเป็นไปได้

ส่วนข้อความที่สองชัดเจนว่า เป็นการยืนยันความชอบธรรมของ ม.112 และการใช้ ม.112 ขจัด “เนื้อร้าย” ที่เรียกว่า “คนพาล คนชั่วเนรคุณ อกตัญญูพวกนี้” ออกไป ซึ่งหมายถึงคนที่มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่เข้าข่ายผิด ม.112

แน่นอนว่าในบ้านเราทัศนะทั้งสอง (ไม่ใช่คนทั้งสอง) นี้ต่อสู้กันมานาน แต่ต้องขีดเส้นใต้ว่า “อาวุธ” ของทัศนะแรกมีเพียง “เหตุผล” เป็นหลักที่ใช้ยืนยันสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย แต่อาวุธของทัศนะหลังคือข้ออ้างทางศีลธรรม (คนพาล อกตัญญู ฯลฯ) และ ม.112 อาจใช้ปืน รถถัง ถ้าพวกเขาเห็นว่าจำเป็น ฉะนั้น เมื่อประชาชนที่ยึดทั้งสองทัศนะมีปัญหาขัดแย้งกัน ฝ่ายที่ยืนยันสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงเป็นฝ่ายถูกไล่ล่า ถูกจับติดคุก และถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งเห็นจากประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่ยุค 14 ตุลา เป็นต้นมา

แต่ที่สำคัญคือ เมื่อไล่เรียงเหตุผลของสองทัศนะแล้วเราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนดังนี้

ทัศนะแรกเป็นการยืนยันสิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขว่า ต้องอยู่ร่วมกันด้วย “ความไว้วางใจ” ซึ่งผมคิดว่า ความไว้วางใจจะเป็นไปได้จริงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลักที่ขาดไม่ได้ 2 ประการ คือ

1. ระบบสังคมการเมืองต้องเป็นประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง มีกติกาให้ประชาชนมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบทุกระบบอำนาจสาธารณะ อย่างเท่าเทียม

2. สร้อยของประชาธิปไตยที่ว่า “อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” หมายถึง พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทรงเป็น “พุทธมามกะ” ตามอุดมการณ์ “ธรรมราชา” ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็น “สมมติราช” ผู้ทรงมี “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งนักวิชาการปัจจุบันอย่างบวรศักดิ์ อุวรรโณ นิยามว่า ทศพิธราชธรรม คือ “หลักธรรมาภิบาล” ซึ่งผมเห็นด้วยว่าในทางหลักการตีความเช่นนี้ได้ เนื่องจากเนื้อหาหลักของทศพิธราชธรรมเรียกร้อง ความโปร่งใสและการตรวจสอบได้เป็นอย่างยิ่ง

จะเห็นว่า ม.112 ขัดแย้งกับความเป็นประชาธิปไตยตามข้อ 1 และขัดกับอุดมการณ์ธรรมราชา หรือทศพิธราชธรรมตามข้อ 2 ฉะนั้น ม.112 จึงเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิ่งที่อาจารย์เกษียรกล่าวว่า “...คนไทยควรมีสิทธิได้อยู่ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข ด้วยความไว้วางใจ ไม่ใช่ความกลัว”

แน่นอนว่าทัศนะที่สองที่ยืนยันความชอบธรรมของ ม.112 และเรียกร้องให้บังคับใช้อย่างจริงจังในสถานการณ์ปัจจุบันย่อมขัดแย้งทั้ง ต่อความเป็นประชาธิปไตย (หลักเสรีภาพ และความเสมอภาค) และอุดมการณ์ธรรมราชา หรือทศพิธราชธรรม

แต่ข้อสังเกตที่ดูจะเป็นเรื่อง “ตลกร้าย” มากก็คือ ฝ่ายที่ยืนยันทัศนะที่สองมักอ้างความเป็นธรรมราชาและทศพิธราชธรรมมาอวยเจ้า อยู่เสมอ อย่างเป็นประเพณีมาตั้งแต่โบราณ แต่ในขณะที่อ้างทศพิธราชธรรม (ซึ่งเรียกร้องความโปร่งใสตรวจสอบได้) พวกเขากลับยืนยัน ม.112 (ซึ่งห้ามวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ) ซึ่งมีปัญหาย้อนแย้งในตัวเองมาก เช่น

1. อุดมการณ์ธรรมราชาที่มีทศพิธราชธรรม ย่อมสอดคล้องกับการที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ซึ่งเป็น “สมมติราช” ไม่ใช่ “เทวราช” แต่ ม.112 เป็นการรับรองสถานะเทวราชของกษัตริย์ตามระบบความความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ไม่ใช่พุทธ

2. ม.112 ที่รับรองสถานะเทวราชาซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบไม่ได้นั้น ทำให้ “ทศพิธราชธรรม” อธิบายไม่ได้ในเชิงเหตุผลและความเป็นจริง เพราะ 1) ถ้าตรวจสอบไม่ได้เลย ราษฎรจะรู้ได้อย่างไรว่ากษัตริย์มีทศพิธราชธรรมจริง 2) การเผชิญปัญหา หรือสถานการณ์จริงเท่านั้น จึงจะพิสูจน์ความมีทศพิธราชธรรมได้ แต่ ม.112 ทำให้กษัตริย์ไม่สามารถเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์จริง

เช่น ทศพิธราชธรรมข้อ 7 คือ “อักโกธะ” แปลว่าความไม่โกรธ หมายถึงธรรมราชาไม่ใช้อารมณ์โกรธในการปกครองราษฎร แต่ถ้าแม้แต่เรื่องพื้นๆ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบด้วยเหตุผล ม.112 ก็ห้ามไม่ให้ราษฎรมีสิทธิกระทำต่อธรรมราชา แล้วอย่างนี้ใครในโลกนี้จะรู้ “ความไม่โกรธ” หรือ ความอดทนต่อความโกรธของธรรมราชาได้เล่า แม้แต่ธรรมราชาเองจะรู้คุณธรรม “ความไม่โกรธ” ของตนเองได้อย่างไร หากถูกแม้กระทั่งกฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องผ่านการทดสอบจากสถานการณ์จริงแม้แต่ เรื่องพื้นๆ คือ “การถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผล”

ฉะนั้น การยืนยัน ม.112 จึงเป็นการปกป้องเพียงสถานะแห่ง “เทวราช” เท่านั้น ในขณะที่ไปทำลายอุดมการณ์ธรรมราชาของกษัตริย์ที่เป็นพุทธมามกะ ด้วยการทำให้ทศพิธราชธรรมเป็นของที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกทดสอบด้วยสถานการณ์จริง จึงกลายเป็นว่าที่ว่าปกป้อง ม.112 เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์นั้น กลับเป็นการทำลายอุดมการณ์ที่ถูกต้องของสถาบันกษัตริย์ไปเสีย และยิ่งมองบนจุดยืนความเป็นประชาธิปไตย ก็ยิ่งชัดว่า ม.112 เป็นเครื่องมือสร้าง “ความหวาดกลัว” ในหมู่ประชาชนมากกว่าที่จะสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างไว้วางใจ

ม.112 ทำลายคุณค่าของทศพิธราชธรรม และเป็นเครื่องมือสร้างความหวาดกลัว นี่เห็นชัดมาก เช่น ทำลายหลัก “อักโกธะ” อย่างกรณีจำคุก “อากง” 20 ปี เป็นต้น ถ้าใครจะบอกว่า ม.112 ไม่ได้ทำลายคุณค่าของทศพิธราชธรรม ขอได้โปรดอธิบายหน่อยครับว่า การลงโทษจำคุกคนที่ทำผิดด้วย “ข้อความ” ด้วยการจำคุกถึง 20 ปี สอดคล้อง หรือสะท้อนถึงความมีทศพิธราชธรรม คือ “ความไม่โกรธ” ของธรรมราชาอย่างไร

กรุณาอย่าบอกว่าผมโยงทศพิธราชธรรมกับ ม.112 อย่างมั่วๆ เพราะว่ากฎกติกาใดๆ เกี่ยวกับธรรมราชาจำเป็นต้องสะท้อนถึง “ความมีธรรม” ของพระราชา ไม่ใช่ไปขัดแย้งจนพิสูจน์ความมีธรรมของพระราชาไม่ได้

จึงอยากให้ฝ่ายปกป้อง ม.112 ที่มักอ้างทศพิธราชธรรม โปรดตรองดูให้ชัดว่า ฝ่ายเรียกร้องให้ยกเลิกหรือปรับปรุง ม.112 นั้น เขาต้องการทำลายสถาบันจริงๆ หรือว่า ฝ่ายปกป้องสถาบันเองกำลังทำลายสถาบันอย่างไม่รู้ตัว!

หรือควรจะหยุดกล่าวหา ใส่ร้าย ไล่ล่ากัน แล้วหันมาถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดเพื่อนำไปสู่การมีฉันทามติร่วมกัน ในทางสังคมเกี่ยวกับการยกเลิก-ไม่ยกเลิก หรือ ปรับปรุง-ไม่ปรับปรุง ม.112 จะไม่ดีกว่าหรือ?

หมายเหตุ ประชาสัมพันธ์กิจกรรม

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554 เวลา 16.00 น.

เชิญร่วมกิจกรรม Fearless Walk อภยยาตรา จากอนุสาวรีชัยสมรภูมิ-แยกราชประสงค์ “เพื่ออากง เพื่อนักโทษการเมือง เพื่อเสรีภาพ เพื่อสังคมที่ปราศจากความหวาดกลัว”

เรื่องของอากง: Freedom of Speech และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม

ที่มา ประชาไท

บทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาในคดีอากง sms แต่อยากเชิญชวนผู้อ่านวิเคราะห์สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของอากงผ่านข้อ สมมติฐานที่เป็นไปได้สองประการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าในสองการกระทำที่แตกต่างกันสุดขั้ว อย่างน้อยที่สุด ในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง อากงได้ครอบครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอันสมควรจะได้รับการคุ้มครองประการ ใดบ้าง

บทความนี้จงใจตัดความน่าสงสารทุกๆ ประการของอากงออก ไม่ว่าจะเป็นอายุ สังขาร ภาระครอบครัว ฐานะ โรคภัย รวมถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อหลีกเลี่ยงอคติทุกประการอันอาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อวิจารณญาณ โดยบทความนี้จะมองอากงในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ กล่าวคือ ไม่เป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถที่ควรต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิใน ด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษในสายตาของกฎหมาย

อนึ่ง บทความนี้ไม่อาจละเว้นว่าผลกระทบที่เกิดต่ออากงทั้งหมด เกิดจากการบังคับใช้มาตรา 112 ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย

สมมติฐานประการที่หนึ่ง: อากงไม่ได้เป็นคนส่ง sms
สมมติว่าในวันที่ 9, 11, 12, 22 พฤษภาคม 2553 ชายชราอายุ 61 ปี กำลังทำกิจกรรมอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์และส่ง sms อาจกำลังปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว เลี้ยงหลาน รำมวยจีน เข้าห้องน้ำ หรือนอนดูโทรทัศน์แล้วเผลอหลับ ฯลฯ

วันหนึ่งในเดือนสิงหาคมตำรวจได้นำหมายจับมาถึงบ้าน โดยบอกว่าชายผู้นี้ต้องถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 14 (2), (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) ฉบับที่ 41 โดยกระทำการส่งข้อความ ABCDEFG อันมีลักษณะหยาบคาย เข้าข่ายจาบจ้วง ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ[1] เข้าโทรศัพท์มือถือของเลขาฯ อดีตนายกอภิสิทธิ์ (เหตุที่ต้องสมมติเป็น ABCDEFG เนื่องจากว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดทราบว่าข้อความดังกล่าวมีเนื้อหาว่า อย่างไร นอกจากบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี)

ชายผู้นี้ถูกคุมขังในเรือนจำเป็นระยะเวลา 63 วัน ได้รับการประกันตัวครั้งแรกในชั้นสอบสวน แต่ไม่ได้รับการประกันตัวในระหว่างการพิจารณา[2]

กรณีตามสมมติฐานนี้ การอ้างหลักการคุ้มครองเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech) ไม่อาจใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของอากงได้ เพราะตัวอากงเองไม่ได้แม้แต่จะเป็นผู้คิด พิมพ์ และกดส่ง sms ที่ว่านี้เสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดี ในข้อ 10 และ 11(1) แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR)[3] ได้บัญญัติหลักการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับอากง ในฐานะผู้ต้องหาในคดีนี้ไว้ว่า “บุคคลชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบูรณ์ ในการที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม โดยศาลที่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง ในการวินิจฉัยชี้ขาดทั้งสิทธิและภาระผูกพัน ตลอดจนข้อกล่าวหาใดๆ ที่มีต่อบุคคลนั้นในทางอาญา” และ “บุคคลที่ถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญามีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่า บริสุทธิ์ จนกว่าจะได้มีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ในการพิจารณาที่กระทำโดยเปิดเผย และซึ่งได้รับหลักประกันทุกอย่างที่จำเป็นในการต่อสู้คดี”

ยิ่งไปกว่านั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550[4] มาตรา 39 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในเรื่องนี้ไว้ว่า ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และในมาตรา 40 (2) และ (7) ก็ได้รับรองสิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา และสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม และโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ ให้กับผู้ต้องหาในคดีอาญาด้วย

สิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวนี้ ได้รับการยืนยันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 ที่บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริง และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น และเมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย

หากพิจารณาข้อเท็จจริงจากบันทึกสังเกตการณ์การสืบพยานในคดีนี้ http://ilaw.or.th/node/1229 และ ‘สิบคำถามต่อหลักความชอบธรรม คำพิพากษา ‘คดีอากง sms’’ http://thaipublica.org/2011/11/ten-questions-ah-kong/ คำถามเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นสำหรับสมมติฐานประการแรกนี้ คือ

“หากอากงไม่ได้เป็นผู้ส่ง sms และด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามหลักเสรีภาพในความคิดเห็นและการ แสดงออก (Freedom of Speech) แต่จากกระบวนพิจารณาที่เกิดขึ้น ชายผู้บริสุทธิ์คนนี้ได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการ ยุติธรรมอย่างเพียงพอแล้วหรือยัง?”

สมมติฐานประการที่สอง: อากงเป็นคนส่ง sms จริง
สมมติว่าในวันและเวลาเดียวกัน ชายชราอายุ 61 ปี ซึ่งมีความเชียวชาญในการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างคล่องมือ สามารถใช้ความสามารถเฉพาะตัวค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ของเลขาฯ อดีตนายกอภิสิทธิ์มาไว้ในครอบครองได้ หรืออาจได้หมายเลขดังกล่าวมาอยู่ในความครอบครองด้วยความบังเอิญ หรือมีผู้หวังดีหรือไม่หวังดีจัดหามาให้ หรือได้มาไว้ในความครอบครองด้วยประการใดๆ ก็ตาม

ในวินาทีใดวินาทีหนึ่ง ชายผู้นี้เกิดความคิดบางอย่าง จึงได้ลงมือพิมพ์ sms ทีละตัวอักษร เกิดเป็นข้อความซึ่งมีเนื้อหาว่า ABCDEFG ส่งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของเลขาฯ อดีตนายกอภิสิทธิ์ดังกล่าว

เบื้องต้น การกระทำดังกล่าว ‘อาจ’ เข้าข่ายได้รับความคุ้มครอง ตามที่ปรากฏในตอนต้นของคำปรารภและข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งรับรองไว้ว่า การดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech) คือปณิธานสูงสุดของสามัญชน และ “บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก สิทธิดังกล่าวนี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรก แซง ไปจนถึงการแสวงหา รับเอา ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลและความคิดเห็นผ่านสื่อใดๆ โดยปราศจากพรมแดน”

นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ยังได้บัญญัติรับรองสิทธิในลักษณะเดียวกันนี้ไว้ในมาตรา 45 วรรคหนึ่งด้วยว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการส่งข้อความที่มีเนื้อหาว่า ABCDEFG ของอากง ‘อาจ’ เข้าข่ายได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (Freedom of Speech) ดังกล่าวข้างต้น แต่เสรีภาพในข้อนี้ก็หาใช่ว่าจะได้รับการคุ้มครองครอบจักรวาลโดยไร้ข้อจำกัด ไม่

ข้อยกเว้นการคุ้มครอง Freedom of Speech เช่น ข้อ 29 (2) แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า “ในการใช้สิทธิและเสรีภาพ บุคคลพึงใช้เพียงเท่าที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามที่กฎหมายกำหนด การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวนี้ต้องเป็นไปโดยเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการ ดำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่เป็นธรรม และการเคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เพื่อบรรลุถึงพันธะอันเที่ยงธรรมแห่งศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชน และสวัสดิการส่วนรวมในสังคมประชาธิปไตย”

นอกจากนี้ ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (The European Convention on Human Rights – ECHR)[5] ยังได้รับรองข้อยกเว้นการคุ้มครอง Freedom of Speech ไว้ในข้อ 10 (2) ด้วยว่า “เนื่องจากการใช้เสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออกย่อมนำมาซึ่งหน้าที่และ ความรับผิดชอบ ดังนั้นการใช้เสรีภาพในเรื่องนี้ย่อมอาจถูกกำหนดโดยหลักการ เงื่อนไข ข้อจำกัด หรือบทลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ และตามความจำเป็นในสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน หรือความปลอดภัยของประชาชน เพื่อป้องกันสภาวะไร้ระเบียบหรืออาชญากรรม เพื่อคุ้มครองสุขภาวะหรือศีลธรรม เพื่อคุ้มครองชื่อเสียงหรือสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลซึ่งถูกปกปิดเป็นความลับ หรือเพื่อรักษาอำนาจและความเป็นกลางของฝ่ายตุลาการ”

ทั้งนี้ รวมถึงมาตรา 45 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่บัญญัติว่า “การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น...”

เนื้อหาที่เข้าข่ายอาจถูกยกเว้นไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ Freedom of Speech[6] เช่น เนื้อหาที่ก่อให้เกิดภยันตรายที่ชัดเจนในทันที (Clear and Present Danger) เนื้อหาที่ยุยงให้มีการใช้ความรุนแรง (Fighting Words) เนื้อหาที่มีลักษณะหมิ่นประมาท (Libel and Slander) เนื้อหาลามกอนาจาร (Obscenity) เนื้อหาที่ขัดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Conflict with other Legitimate Social or Governmental Interests)

ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า เนื้อหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีลักษณะเป็นการจำกัด Freedom of Speech ในตัวเอง อย่างไรก็ตาม เคยปรากฏกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามมาตรานี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าเนื้อหานั้นๆ ยังไม่ถึงกับเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์[7]

สำหรับกรณีนี้ เมื่อพนักงานอัยการสั่งฟ้อง นั่นหมายถึงว่า พนักงานอัยการได้มีการตีความข้อความ ABCDEFG แล้วว่าอาจเข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ แต่อย่างไรก็ตาม ความเห็นของพนักงานอัยการย่อมไม่ผูกพันศาล

ดังนั้น เมื่ออากงถูกนำตัวมาขึ้นศาล ศาลจึงจำเป็นต้องมีการตีความข้อความ ABCDEFG อีกครั้ง และที่สำคัญในการดำเนินกระบวนพิจารณา ศาลยังต้องทำการพิสูจน์พยานหลักฐานจนสิ้นสงสัย ตามหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาดังได้ที่กล่าวมาในสมมติฐาน ข้อแรกอย่างเคร่งครัด จึงจะสามารถลงโทษอากงในฐานะผู้พิมพ์และส่ง sms ได้ แม้ชายผู้นี้จะได้ลงมือกระทำผิดจริงก็ตาม

ทั้งนี้ เพราะหลักการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา เป็นหลักการที่ใช้คุ้มครองสิทธิของทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าผู้ต้องหาคนนั้นได้กระทำความผิดจริงหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้น ความเป็นธรรมของอัตราส่วนโทษตามมาตรา 112 ที่จะลงแก่อากงก็นับเป็นประเด็นสำคัญอย่างมากที่ต้องนำมาพิจารณาตามหลักความ ได้สัดส่วนระหว่างโทษและการกระทำความผิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักการคุ้ม ครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และเป็นพื้นฐานสำคัญของนิติรัฐ ซึ่งจะยังไม่ขอนำมากล่าว ณ ที่นี้[8]

จากสมมติฐานทั้งสองประการดังกล่าวข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ไม่ว่าโดยข้อเท็จจริงอากงจะเป็นผู้ส่ง sms หรือไม่ก็ตาม และแม้ว่าอากงจะไม่สามารถอ้าง Freedom of Speech เพื่อคุ้มครองตัวเองได้เลยในกรณีนี้ แต่อย่างน้อยที่สุด ในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่ง อากงสมควรได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนพิจารณา

หากจะกล่าวจนถึงที่สุด เราคงไม่อยากเห็นการบังคับใช้มาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อปกป้องคนที่เรารัก ในลักษณะที่เป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของบุคคลอื่น

การรณรงค์ ‘ฝ่ามืออากง’ จึงเป็นไปเพื่อสนับสนุนหลักการดังกล่าวข้างต้นนี้ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของอากงแต่เพียงผู้เดียว แต่เพื่อประโยชน์ของเราทุกคนที่อาจตกเป็นผู้ต้องหาได้ทุกเมื่อ ทั้งนี้สุดแท้แต่ผู้อ่านจะนำไปพิจารณา

--------------------
[1] http://prachatai.com/journal/2011/11/37991
[2] เรื่องเดียวกัน
[3] http://www.un.org/en/documents/udhr/index.shtml
[4] http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Constitution2550.pdf
[5] http://conventions.coe.int/treaty/en/Treaties/Html/005.htm
[6] Freedom of Speech and Press: Exceptions to the First Amendment http://www.fas.org/sgp/crs/misc/95-815.pdf
[7] http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9500000041356
[8] ผู้สนใจโปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม,” เว็ปไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย - www.pub-law.net, เผยแพร่ครั้งแรก 31 มกราคม 2553; และชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, (กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, 2540) น. 28 - 29.

70 ปี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 ฉบับประชาธิปไตยฯ ตอนที่ 2 มรณกรรมใต้ตีนเผด็จการ

ที่มา ประชาไท

บทความนี้อุทิศให้กับ
อ.สุรพศ ทวีศักดิ์,
อากง อำพล
ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
โจ กอร์ดอน
และผู้ได้รับความไม่เป็นธรรมท่านอื่นๆ
อันเนื่องมาจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

"สังฆสภาประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมีพระเถระผู้เป็นชั้นอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งพระอนุเถระผู้เป็นชั้นศิษย์ เมื่อต้องเข้าประชุมโต้เถียงกันในสภาโดยฐานะเป็นสมาชิกเท่ากันก็เป็นเหตุให้ เสื่อมความเคารพยำเกรง ผิดหลักพระธรรมวินัย เสียผลในทางปกครอง ทั้งเป็นเหตุให้เสื่อมความเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน จะอ้างว่าอนุวัตร ตามพระพุทธานุญาตที่ให้สงฆ์เป็นใหญ่ในสังฆกรรมทั้งปวง ทำนองเดียวกับระบอบการปกครองบ้านเมืองที่ให้ประชาชนมีส่วนมีเสียงในการ ปกครองนั้นไม่ได้" [1]

ข้อโต้แย้งเพื่อล้มพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 โดย ในปี 2490 ใน สำเนาหนังสือร้องเรียนและบันทึกคำชี้แจงประกอบหนังสือร้องเรียนเกี่ยวกับพระ ราชบัญญัตคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2518, น.1-24

...ถ้าเกิดองค์กรใดก็ตามมีสามอำนาจในองค์กรเดียว องค์กรนั้นสมควรเรียกว่า ‘มาเฟีย’ มากกว่า คือถ้าจะออกกฎเอง ตามหลักสากลก็ต้องเป็นการออกกฎในกรอบของกฎหมายแม่บทที่ตราขึ้นโดยสภา แต่การวินิจฉัยสั่งการ เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้หากจะให้เป็นที่สุดเหมือนกับเขาใช้อำนาจตุลาการเอง อันนี้ยอมไม่ได้ องค์กรเหล่านี้สามารถออกคำสั่งได้ แต่คำสั่งที่ออกมาต้องไม่เป็นที่สุด ต้องสามารถถูกฟ้องร้องต่อศาลได้”

คำให้สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ปี 2554 [2]

ชัยชนะของการผลักดันกฎหมาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ปี 2484 มิได้จีรังยั่งยืน แต่เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติที่ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป การพ่ายแพ้ที่ไม่อาจยืนกฎหมายดังกล่าวในสังคม นอกจากจะแสดงให้เห็นกลไกการจัดการอำนาจในสังคมสงฆ์แบบประชาธิปไตยที่พังทลาย ลงไปแล้ว ยังทำให้เราเห็นได้ว่าคุณค่าของแนวคิดประชาธิปไตยที่ลงหลักปักฐานมาตั้งแต่ ปี 2475 ถูกปู้ยี่ปู้ยำอย่างย่อยยับทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระดับชาติ การเมืองระดับท้องถิ่นในเทศบาลทั่วประเทศ นับเป็นความสำเร็จในการลบมรดกของคณะราษฎรออกจากแผนที่ประเทศไทย ในอีกด้านก็คือ การรุมฉีดยาขนานเดิมที่เปี่ยมล้นอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมที่ผู้สมัครอยู่ที่ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ การทำความเข้าใจความเสื่อมสลายของอุดมการณ์ประชาธิปไตยของกฎหมายฉบับนี้จึง เป็นกระจกสะท้อนถึงสังคมการเมืองไทยและทำให้เราประเมินสถานการณ์ทางการเมือง ที่ผ่านมาได้แม่นยำมากขึ้นด้วย

พลังจากการสั่งสมของระบบศักดินาและอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมในสังคมไทยมีราก ฐานที่ลงลึกและสลับซับซ้อนมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมันถูกผูกอยู่กับโครงสร้างทางการเมืองแบบจารีตที่มีอายุยาวนาน ดังนั้นระบบอุปถัมภ์ที่มีต่อคณะสงฆ์นั้นยึดโยงตั้งแต่ยอดบนสุดคือ สถาบันกษัตริย์จากนั้นก็ลดหลั่นมาสู่เจ้านาย ขุนศึก ขุนนาง และชาวบ้าน

การตีกลับของพลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนสามารถคว่ำอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎรลงไปได้นั้นผ่านการบ่มเพาะและ ต่อสู้มาจนสุกได้ที่ หากมองแบบโลกคู่ขนานกันกับโลกของฆราวาสแล้ว ภายในโลกของของคณะสงฆ์ เราก็จะเห็นการขับเคี่ยวต่อสู้ที่เข้มข้นไม่แพ้กัน แต่พลังของพ.ร.บ. 2484 นับว่ายังมีโอกาสอยู่รอดยาวนานกว่า หลังจากที่อุดมการณ์และตัวบุคคลในนามคณะราษฎรได้ถูกโค่นทำลายไปแล้วตั้งแต่ ต้นทศวรรษ 2490

การเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คดีสวรรคต และจุดจบคณะราษฎร

แม้ปรีดี พนมยงค์จะขึ้นมามีอำนาจ ด้วยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงสั้นๆ จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นในปี 2489 ความมั่นคงดังกล่าวช่างไม่ยั่งยืน กลุ่มอำนาจของเขาพังทลายลงด้วยข้อกล่าวหาทางการเมือง จากพรรคอนุรักษ์นิยมอย่างประชาธิปัตย์ กรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ผสมโรงกับข้อกล่าวหาทุจริตคอรัปชั่นโดยพรรคพวกของปรีดี ทำให้รัฐนาวาของคณะราษฎรปีกซ้ายกลุ่มปรีดี ต้องพบจุดจบด้วยการรัฐประหารในปี 2490 รัฐประหารครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ทหารทำการยึดอำนาจโดยด้วยกำลังและฉีกรัฐธรรมนูญอันเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศทิ้ง สำหรับผู้เขียนแล้วนับเป็นความรุนแรงที่เลวร้ายอุกฉกรรจ์ที่ได้ทำลายบรรทัด ฐานทางสังคมการเมืองที่เชื่อมั่นในความเสมอภาคของคน มันไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเท่านั้น แต่เป็นการโต้กลับจากฟากฝั่งอนุรักษ์นิยมเพื่อรื้ออุดมการณ์ของคณะราษฎร และสร้างอุดมการณ์และความชอบธรรมทางการเมืองของตนขึ้นมาใหม่

นั่นคือ ต้นแบบของการรัฐประหารที่กลายเป็นวงจรขบวนการอุบาทว์ ที่ทหารใช้กำลังยึดอำนาจและถ่ายเทอำนาจรัฏฐาธิปัตย์มาสู่ตนโดยสร้างข้ออ้าง ที่อิงแอบกับสถาบันทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม รัฐธรรมนูญที่เคยศักดิ์สิทธิ์และถูกยกย่องว่าจะอยู่ชั่วกัลปาวสานกลับถูก เหยียบย่ำและฉีกทิ้งง่ายๆ เพื่อสถาปนาความชอบธรรมของหมู่คณะของคน วิธีการนี้สืบทอดอย่างต่อเนื่องมาจนถึงครั้งล่าสุดในปี 2549

พลังอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมนานาชนิดเติบโตอย่างโรแมนติก บีบคั้นอารมณ์ มีสีสันภายใต้การเมืองวัฒนธรรมของฝ่ายขวาเติบโตและขายดิบขายดี วรรณกรรมที่เป็นหมุดหมายที่สำคัญก็คือ สี่แผ่นดิน ศัตรูเก่าของคณะราษฎร ที่เป็นนักโทษการเมืองรวมทั้งปัญญาชนฝ่ายขวาก็ผลิตผลงานสารคดีการเมืองเพื่อ ตอกย้ำความเลวร้ายของคณะราษฎร

พร้อมทั้งสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบเก่าและพวกพ้องอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

อาจกล่าวได้ว่าความล่มสลายพ่ายแพ้ของคณะราษฎร นอกจากจะปราชัยต่อกำลังทหาร (ที่พ่ายแพ้อย่างราบคาบในกบฏวังหลวงปี 2492 ) แล้ว ยังสู้ไม่ได้เลยกับกระแสนิยมในด่านวัฒนธรรมอันโรแมนติกโหยหาวันหวาน โลกหลัง 2490 จึงกลายเป็นโลกคนละใบกับ 15ปีที่แล้ว ที่คนสามัญขึ้นมากู่ร้องตะโกนต่อชัยชนะในนามของความเสมอภาค

รอยปริแตกในคณะสงฆ์ การเสี้ยมสอนและความอ่อนแอ

การเมืองในคณะสงฆ์ที่เกิดขึ้นมานานนมตั้งแต่ก่อนที่โครงสร้างการปกครอง ของคณะสงฆ์จะเดินตามแนวคณะราษฎรเสียอีก ในโครงสร้างใหม่แม้โดยอำนาจการปกครองจะถูกแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 เพื่อถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบซึ่งกันและกัน แต่ปัญหาหลักกลับเป็นอุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยมที่ยังเกาะแน่นอยู่ภายในสังคม สงฆ์อย่างแข็งแกร่ง ระบบเส้นสายและอุปถัมภ์ที่หยั่งรากลึกก็ถือเป็นด่านกั้นสำคัญที่ไม่ค่อยจะลง ตัวกับแนวคิดแบบมนุษยนิยม เหตุผลนิยม และความเสมอภาค ที่มากับระบอบประชาธิปไตย

จุดอ่อนที่สำคัญของระบอบใหม่ก็คือ มันมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะทำให้ฝ่ายอำนาจเก่ารุกกลับมาใช้อำนาจเข้าไปล้ม ล้างการดำรงอยู่ของกฎหมายฉบับนี้

การเมืองในจีวร กับ ความขัดแย้งระหว่างมหานิกาย

การแตกแยกของคณะสงฆ์ ไม่ได้แยกเป็น 2 เสี่ยง เฉพาะมหานิกาย กับ ธรรมยุตเพียงเท่านั้น พบว่าในมหานิกายเองก็ยังแบ่งฝ่ายเป็นมหานิกายดั้งเดิมและ มหานิกายแปลงอีก ที่มีของเรื่องนี้อยู่ที่ “จีวร”

สมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราช ได้พยายามเปลี่ยนรูปแบบการครองผ้าด้วยการนำไปสู่เป็นวาระหลักประชุมในปี 2457 [3] ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่จะบีบให้พระมหานิกายครองจีวรแบบธรรมยุต ในครั้งนั้นได้ทำให้พระมหานิกายเกิดความเห็นเป็น 2 ฝ่ายนั่นคือ ฝ่ายที่สนับสนุนที่เป็นพระผู้ใหญ่ก็คือ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) วัดมหาธาตุ และพระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม และพระอีก 10 รูป กับอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยคือ พระพิมลธรรม (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา ญาณฉนฺโท) วัดระฆังโฆสิตาราม และพระเทพเวที (น่วม) วัดสระเกศ [4] นี่คือ รอยปริแตกที่นำไปสู่การแบ่งฝักฝ่ายในมหานิกาย การวินิจฉัยดังกล่าวในเวลาต่อมา ได้กลายเป็นเครื่องมือในการบีบบังคับจากพระผู้มีอำนาจชั้นผู้ใหญ่ ให้พระชั้นผู้น้อยปฏิบัติตาม [5] อย่างไรก็ตามเรื่องการครองจีวรก็ไม่ได้ถูกบังคับใช้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ปล่อยให้เกิดความคลุมเครือต่อไป แต่นั่นก็ได้บ่มเพาะความไม่ไว้วางใจกันในมหานิกายขึ้นอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากการความหวาดระแวงของมหานิกายที่มีต่อธรรมยุตว่าจะเข้ามาครอบงำมหา นิกาย อันเป็นประสบการณ์ความเจ็บปวดโดยตรงที่พวกเขาเคยเผชิญมา

มหานิกาย กับตำแหน่งสังฆนายกที่หลุดลอย

หากมองเพียงผิวเผินจะเห็นว่า เมื่อคณะราษฎรกลับมาเป็นใหญ่ ได้ส่งผลดีต่อการกลับมามีอำนาจของมหานิกายด้วย สมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศนเทพวราราม (แพ ติสฺสเทโว) ได้รับตำแหน่งพระสังฆราช หลังจากที่ธรรมยุตครองตำแหน่งนี้มาถึง 2 สมัยติดต่อกันมา

อย่างไรก็ตามในโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์หลังจากพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ในทางปฏิบัติแล้ว ตำแหน่งสำคัญที่สุดก็คือ สังฆนายก ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารที่จะทำหน้าที่วางนโยบายในการผลักดันความก้าวหน้า ของคณะสงฆ์ดุจดั่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือกันว่าเป็นตำแหน่งที่กุมอำนาจเหนือกว่า ประธานสังฆสภา ประธานวินัยธร และสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นประมุขเสียอีก

แคนดิเดทสังฆนายกที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งของฝ่ายมหานิกายก็คือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ขณะที่ฝ่ายธรรมยุต คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) อย่างไรก็ตามด้วยความที่สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เป็นพระมหานิกายแปลง และยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้าวชิรญาณวโรรสมาก่อน ทั้งยังเป็นผู้ที่ผลักดันให้การศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัยมีความเติบโตก้าว หน้ามาก จึงมีศิษย์ที่เป็นทั้งพระในฝ่ายมหานิกายและธรรมยุต [6] ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝ่ายธรรมยุตทำให้สมเด็จพระวันรัต (เฮง) ถูกระแวงแก่คณะสงฆ์มหานิกายดั้งเดิม ไม่เพียงเท่านั้นในสายตาของคณะปฏิสังขรณ์ฯ เห็นว่าหลังจากที่คณะได้ดำเนินการเรียกร้องพ.ร.บ.สงฆ์อย่างเปิดเผย ในครั้งนั้นกลับไม่พบพระจากวัดมหาธาตุและวัดเบญจมบพิตรที่อาจนับว่าเป็นวัด มหานิกายแปลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วยเลย [7] เหล่านี้คือ ความกังขาต่อความชอบธรรมในการดำรงตำแหน่งสำคัญของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง)

สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่า ทำไมแทนที่ฝ่ายมหานิกายจะรวมตัวกันหนุนให้สมเด็จพระวันรัต (เฮง) ขึ้นเป็นสังฆนายกรูปแรกในประวัติศาสตร์ กลับกลายเป็นว่า ฝ่ายมหานิกายนั่นแหละที่กีดกันมหานิกายกันเอง จนในที่สุด สมเด็จพระวันรัต (เฮง) ต้องไปรับตำแหน่งประธานสังฆสภาเสีย ความขัดแย้งนี้กลับเป็นผลดีแก่ฝ่ายธรรมยุตที่มีความเป็นเอกภาพมากกว่า ในที่สุดก็สามารถผลักดันให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน) ขึ้นเป็นสังฆนายกได้สำเร็จ

เมื่อพิจารณากลับไปที่อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 แล้วจะพบว่า การจัดสรรตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้ทำให้มหานิกายมีความได้เปรียบเลย กลับเป็นฝ่ายธรรมยุตได้ดำรงตำแหน่งผู้กุมอำนาจบริหารสูงสุดนั่นคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน) วัดบรมนิวาส ในตำแหน่งสังฆนายก (2485) [8] และอำนาจตุลาการ นั่นคือ สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ชื่น สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศ ในตำแหน่งประธานคณะวินัยธร (2485) [9] ถือเป็น 2 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตย

ประชุมสังคายนาพระไตรปิฏก ธรรมวินัยเพื่อรวมคณะสงฆ์

ระเบิดเวลาที่ฝ่ายธรรมยุตตระหนักดีนั่นก็คือ การระบุไว้ในบทเฉพาะกาลว่าภายใน 8 ปีหลังประกาศใช้กฎหมายนี้จะให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกและรวมนิกายทั้งสอง ให้เป็นหนึ่งเดียว หลังจากรัฐบาลเปิดวัดประชาธิปไตย (ซึ่งต่อมาก็คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน) ในปี 2485 ก็เริ่มเดินหน้าจัดการสร้างความเอกภาพในวงการสงฆ์ โดยการเริ่มผลักดันการสังคายนาพระไตรปิฎกโดยมีนัยเพื่อการชำระความเข้าใจให้ ตรงกันเพื่อที่จะรวมทั้งสองนิกายให้เป็นหนึ่งเดียว การประชุมครั้งแรกมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2486 ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระสังฆราช (ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศน์ฯ เป็นประธานในการประชุม แม้จะมีผู้เข้าร่วมอย่าง คณะสังฆมนตรี พล.ต.ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อธิบดีกรมการศาสนา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัยก็ตาม แต่การประชุมที่มีในครั้งหลังๆ ก็ไม่สามารถสร้างความคืบหน้าจนต้องเลิกราไปในที่สุด [10] นัยของสังคายนาคือ การรวมนิกาย เป็นสิ่งที่ฝ่ายธรรมยุตไม่ยอมให้เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เรื่องนี้ถูกทำให้เงียบและหายไปในที่สุด

การเมืองในอายุขัย การเมืองในความตาย

ความตายไม่ใช่การสิ้นสุดหรือจุดจบของการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตและอำนาจ เท่านั้น แต่เป็นโอกาสของอำนาจใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ด้วย ความตายจึงผูกพันอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจในทางการเมืองอยู่เสมอ โดยเฉพาะในสังคมอนุร้กษ์นิยมที่ให้ความสำคัญกับระบบอาวุโส ที่ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ ผู้มีอาวุโสมาก และมีเส้นสายอุปถัมภ์ที่แข็งแกร่ง ก็ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น ในคณะสงฆ์จึงพบปัญหาว่า กว่าที่พระผู้ใหญ่จะขึ้นมามีอำนาจในการปกครอง แม้จะผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านประสบการณ์มามากเพียงใด แต่สังขารและความสดใหม่ในเชิงสร้างสรรค์นั้นก็มีข้อจำกัดเสียแล้ว กรณีของสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ที่ว่ากันว่าได้ขึ้นตำแหน่งสมเด็จในอายุที่น้อยมาก นั่นก็คือเมื่ออายุได้ 58 ปีแล้ว [11] ดังนั้นจึงไม่น่าสงสัยเลยว่า พระชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจอยู่ล้วนแก่พรรษา และสังขารร่วงโรยเกือบทั้งสิ้น ยังไม่รวมปัญหาที่ว่าพระผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยไม่สามารถดำเนินการในตำแหน่งตัว เอง ได้มอบหมายให้พระลูกศิษย์ใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ดำเนินการแทนอีก

หลังพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 มรณกรรมของพระผู้ใหญ่ 2 รูปใกล้ๆกัน กลับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพลี่ยงพล้ำทางการเมืองในคณะสงฆ์มหานิกาย เพราะว่าพระทั้งสองนั้นเป็นบุคลากรที่สำคัญยิ่ง นั่นคือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ มรณภาพเมื่อปี 2486 มีผลให้ตำแหน่งประธานสังฆสภาตกอยู่กับ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) อีกปีถัดมา สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ สิ้นพระชนม์ในปี 2487 [12] ประมุขของสงฆ์ และผู้กุมอำนาจอธิปไตยทั้งสามคือ สังฆนายก ประธานสังฆสภา และประธานวินัยธร จึงอยู่ในอำนาจของพระสงฆ์ในฝ่ายธรรมยุตทั้งหมด

สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว 2399-2487)
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว 2399-2487)

ความตายของพระเถระหลังจากนี้ ยิ่งก่อปมเงื่อนทางการเมืองในคณะสงฆ์ให้ทวีขึ้น อย่างที่พระในสังคมสงฆ์ไม่อาจจะจินตนาการได้

ล้ม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ภาคแรก

ความเข้มแข็งอันเนื่องมาจากเอกภาพและการกุมสภาพนำของฝ่ายธรรมยุต ได้นำไปสู่การหาวิธีถอดสลักระเบิดเวลาเรื่องการรวมนิกายออก พบการระบุว่าในช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขัดตาทัพในช่วงรอยต่อของสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นว่ากันว่า มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนหนึ่ง ร่วมกันเสนอร่างพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฉบับใหม่เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาด้วยซ้ำ [13] อย่างไรก็ตามระหว่างนี้พระผู้ใหญ่ในฝ่ายมหานิกายก็ได้ไหวตัวทันและจับตาการเคลื่อนไหวดังกล่าวอยู่

ข้อขัดแย้งเรื่องการตั้งสังฆนายก

แม้ว่าในปี 2489 จะมีการประชุมสังฆสภา ได้มีการเลือกพระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศ เป็นประธานสังฆสภา และพระปิฎกโกศล (พระธีรภทฺโท) วัดประยุรวงศาวาส เป็นรองประธานสังฆสภา [14] ซึ่งล้วนเป็นพระจากมหานิกาย แต่ในปีเดียวกันนี้ก็ถือว่าเป็นระยะที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งของสังฆนายก ด้วย ตำแหน่งอันสำคัญยิ่งของคณะสงฆ์นี้ทางฝ่ายธรรมยุตได้เดินหน้าผลักดันให้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นสังฆนายก สืบเนื่องจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน) [15] โดยไม่พิจารณาว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) จะชราภาพมากแล้วที่อายุ 74 ปี

ขณะที่ฝ่ายมหานิกายเองก็มีแคนดิเดทอยู่หลายตัวเลือกนั่นคือ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) อายุ 70 วัดพระเชตุพน, พระพรหมมุนี (ปลด กิตฺติโสภโณ) อายุ 57 วัดเบญจมบพิตร, พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) อายุ 55 วัดมหาธาตุ [16] อย่างไรก็ตามดังที่ทราบกันเมื่ออำนาจอธิปไตยและประมุขของคณะสงฆ์อยู่แต่ใน มือพระธรรมยุต ในที่สุดการโต้แย้งการผลักดันคนของธรรมยุตโดยพระฝ่ายมหานิกายก็ไม่เป็นผล เพราะในที่สุดฝ่ายธรรมยุตก็บรรลุเป้าหมาย

ข้อโต้แย้งที่ว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ชราจนเกรงจะทำงานไม่ไหว ก็ได้การแต่งตั้งให้พระธรรมปาโมกข์ (จวน อุฏฺฐายี) สังฆมนตรีว่าการองค์กรเผยแผ่ เป็นผู้สั่งการในตำแหน่งสังฆนายก [17] ทั้งที่มีอาวุโสน้อยกว่าแคนดิเดทฝ่ายมหานิกาย การตัดสินใจตั้งสังฆนายกโดยไม่มีมาตรฐานและลำเอียงเข้าฝ่ายธรรมยุตอย่าง จะแจ้งเช่นนี้จึงสร้างความไม่พอใจให้กับพระมหานิกายอีกครั้ง

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)

สำนักอบรมครูวัดสามพระยา สุมกำลังโต้ธรรมยุต

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันมหานิกายตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา เพื่อสกัดกั้นฝ่ายธรรมยุตในการล้มพ.ร.บ.ปัจจุบัน ปี 2489 พระปริยัตโศภน (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) วัดสามพระยา ได้เป็นแกนนำในจัดตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา (ส.อ.ส.) โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังคือ พระพรหมมุนี (ปลด กิตตฺโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร และพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) วัดมหาธาตุ [18] เป้าหมายลึกๆของการตั้งสำนักนี้เพื่อใช้เคลื่อนไหวสกัดกั้นความพยายามของ ฝ่ายธรรมยุตที่จะคว่ำพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 นั่นเอง แต่จุดประสงค์การจัดตั้งสำนักอย่างเป็นทางการนั้นชี้ว่า เน้นการปลูกฝัง ความรู้ ความฉลาด ความสามารถ และความประพฤติดีให้เกิดขึ้นแก่ผู้รับการอบรม และมีความมุ่งมั่นในการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์และกิจการพระศาสนา ขนบธรรมเนียมและการศึกษาให้ "อวดแก่ศาสนาอื่นๆให้ได้" ที่น่าสนใจก็คือ ได้มีการเชิญพระมหาเปรียญและพระคณาธิการ (พระสังฆาธิการ) ในระดับต่างๆ จากกรุงเทพและต่างจังหวัดมารับการอบรมเป็นรุ่นๆ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส ซึ่งระหว่างการบรรยายก็มีการพูดจาพาดพิงถึงคณะสงฆ์ธรรมยุตอย่างรุนแรงและตรง ไปตรงมา [19] ความเคลื่อนไหวในสำนักนี้จึงเป็นป้อมค่ายที่ฝ่ายมหานิกายส่วนหนึ่งใช้ในการระดมบุคลากร และหลอมรวมความคิดต่อต้านธรรมยุตอย่างแข็งขัน

ปฏิกิริยาจากการกระทำดังกล่าวก็คือ มีคำวิจารณ์ถึงสำนักอบรมครูวัดสามพระยาว่าเป็น "ลัทธิอุบาทว์" "สำนักอั้งยี่สามพระยา" ทั้งยังเรียกร้องให้บอยคอตต่อสำนักนี้ นอกจากนั้นฝ่ายธรรมยุตเอง เมื่อพลันทราบข่าวก็ได้มีหนังสือเวียนไปถึงพระสามเณรในสังกัดว่า มีพระนิกายหนึ่งได้รวมตัวกล่าวจ้วงจาบคณะของตนอย่างรุนแรงโดยไม่คำนึงถึง ความถูกต้องตามพระธรรมวินัยและกฎหมาย แต่ขอให้จงตั้งในอาการสงบและใช้ขันติธรรมให้ถึงที่สุด [20]

ความเคลื่อนไหวของสำนักอบรมครูวัดสามพระยา อาจนับได้ว่าเริ่มจุดติด เมื่อพระทั้งหลายในมหานิกายได้ให้ความสนใจ ผู้เข้าร่วมจำนวนมากจนมีการกล่าวไว้ว่า ประสบปัญหาที่พักอาศัยและการขบฉัน ปาฐกถาพิเศษแต่ละครั้งก็มีบรรพชิต คฤหัสถ์ รวมถึงสื่อมวลชนให้ความสนใจเป็นอันมาก [21] การณ์ทั้งหลายเหมือนจะไปได้ดีและเข้าทางต่อการเคลื่อนไหวของฝ่ายมหานิกาย แต่ก็เกิดสะดุดด้วยขัดแย้งภายในอีกเหตุการณ์หนึ่ง นั่นคือ ปัญหาที่มาจากการมรณภาพของสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) วัดพระเชตุพนฯ สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ปี 2490 [22]

วัดสามพระยา ที่ตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา ฐานต่อต้านฝ่ายธรรมยุตของฝ่ายมหานิกาย
วัดสามพระยา ที่ตั้งสำนักอบรมครูวัดสามพระยา ฐานต่อต้านฝ่ายธรรมยุตของฝ่ายมหานิกาย

จี้ที่จุดอ่อน แบ่งแยกแล้วปกครอง แคนดิเดทชิง มท.1 ของสงฆ์

การเพลี่ยงพล้ำของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายไม่ได้อยู่ที่การสูญเสียบุคลากร เท่านั้น แต่ความขัดแย้งร้าวฉานภายในมหานิกายเองก็ทำให้ความเป็นเอกภาพเริ่มเสื่อม คลายลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อแคนดิเดทที่จะชิงตำแหน่ง สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นับเป็นพระผู้ใหญ่ทั้งสองรูปจากมหานิกายอย่าง พระพรหมมุนี (ปลด กิตตฺโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร และพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) วัดมหาธาตุ ที่เคยสนับสนุนการดำเนินการของสำนักอบรมครู วัดสามพระยา โดยชื่อชั้นแล้ว ทั้งสองล้วนมีความสามารถที่โดดเด่น เหมาะสมนับได้ว่าาตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของทางโลกเลยทีเดียว [23] เป็นที่สงสัยว่า การที่ผู้มีอำนาจฝ่ายธรรมยุตเลือกพระพิมลธรรม (ช้อย) ให้ดำรงตำแหน่งนี้ ก็เพื่อที่จะสร้างให้เกิดช่องโหว่ที่จุดเกรงใจนี้เอง การทำให้เกิดความรู้สึกตะขิดตะขวงใจระหว่างพระทั้งสองรูปนั้น ยังกระทบชิ่งไปถึงสำนักอบรมครูวัดสามพระยาด้วย ทำให้การดำเนินกิจกรรมของสำนักนี้ต้องปรับเปลี่ยนท่าทีจนมีลักษณะอ่อนตัวลง อีกอย่างเห็นผล [24] พระพิมลธรรม (ช้อย) ได้รับแต่งตั้งในเดือนเมษายน 2490

อ้างประชาธิปไตยและไตรปิฎก เพื่อล้มประชาธิปไตยในคณะสงฆ์

เมื่อธรรมยุตกระชับอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในตำแหน่งสำคัญได้อีกครั้ง ความเคลื่อนไหวเพื่อคว่ำพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 ก็ค่อยๆเผยตัวออกมาในที่แจ้ง โดยเฉพาะหลังจากมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2489 ฝ่ายธรรมยุตพลิกเกมโดยหยิบฉวย มาตรา 13 ที่ว่าด้วย “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธินิยมใดๆ และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน” [25] มาตีความว่า การดึงดันที่จะรวมนิกายเป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญมาตรานี้ การดำเนินการอย่างเป็นระบบแสดงออกมาอย่างชัดเจนในจดหมายของพระเถรธรรมยุตที่ ลงนามพระเถระ 22 รูป ตั้งแต่พระระดับสังฆนายกลงมา โดยยื่นให้แก่ สมเด็จพระสังฆราช [26] ซึ่งมีประเด็นสำคัญในการโจมตีพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 อยู่ 2 เรื่องหลักได้แก่ การละเมิดต่อกฎอันได้แก่ พระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎก รัฐธรรมนูญ ตลอดจนธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกัน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ ความบกพร่องในตัวบทของกฎหมายดังกล่าว

การละเมิดต่อพระธรรมวินัยนั้น นอกจากรัฐบาลที่ผ่านมาจะออกกฎหมายโดยออกตัวว่าจะตีความการปฏิบัติเพื่อรักษา พระธรรมวินัยแต่ก็เห็นว่า ไม่สามารถทำได้จริง [27] และการที่พ.ร.บ.มีความตั้งใจที่จะรวมนิกายทั้งสองนั้น ถือเป็นการละเมิดพระวินัยเรื่องห้ามภิกษุนานาสังวาส ซึ่งนั่นก็ถือว่าการเหยียดและกล่าวหาพระมหานิกายว่าไม่เป็นอุปสัมบันไม่เป็น พระอีกด้วย [28]

การละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ อ้างเรื่องบทเฉพาะกาล 8 ปีขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2489 ที่ให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา นอกจากนั้นที่น่าสนใจ มีการนำประเด็นเกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาในกรณีต่างประเทศด้วย [29]

การละเมิดต่อธรรมเนียมปฏิบัติสืบมา การสังคายนาจะไม่ทำให้รวมนิกายได้ อ้างการทำไตรปิฎกฉบับงานพระบรมศพ ร.6 ปี 2470 ที่ผ่านมาก็ไม่ทำให้รวมนิกายได้ [30] และไม่เป็นไปตามคลองธรรม อ้างว่า พ.ร.บ.เกิดขึ้นเพราะถูกฝืนใจบังคับให้ผิดจากพระวินัย [31] ธรรมยุตมีน้อยกว่ามหานิกาย ในทางปฏิบัติมหานิกายจะกลืนธรรมยุตให้เปลี่ยนลัทธิที่นิยมมาช้านาน กฎหมายนี้จึงเป็น "กฎหมายซ่อนเงื่อน" [32]

แต่เหตุผลที่น่าจะตรงใจของฝ่ายต่อต้านมากที่สุดน่าจะเป็นข้ออ้างที่ว่า พ.ร.บ.ฯ นี้ขัดกับวิธีปกครองสงฆ์ จากเดิมที่เคยปกครองแบบอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ พ.ร.บฯนี้ทำให้สงฆ์เป็นรูปการเมือง "สังฆสภาประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งมีพระเถระและผู้เป็นชั้นอุปัชฌาย์อาจารย์ ทั้งพระอนุเถระผู้เป็นชั้นศิษย์ เมื่อต้องเข้าประชุมโต้เถียงกันในสภาโดยฐานะเป็นสมาชิกเท่ากัน ก็เป็นเหตุให้เสื่อมความยำเกรงผิดหลักพระธรรมวินัย เสียผลในการปกครอง ทั้งเป็นเหตุให้เสื่อความเคารพยำเกรง ผิดหลักพระธรรมวินัย" [33]

นอกจากนั้นการชำระคดี พวกเขายังอ้างคติทางศาสนาถือว่า ปล่อยผู้กระทำผิดคนเดียวไว้ในศาสนา ย่อมทำให้หมู่เสื่อมเสีย เป็นเหตุให้พระศาสนาเศร้าหมอง ต้องแก้ไขไม่ให้เป็นที่รังเกียจสงสัยของหมู่ และไม่ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่ผู้ละเมิดพระวินัย และไม่เห็นด้วยกับกฎหมายบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายมีหลักเกณฑ์ที่จัดการแก่ ผู้กระทำผิดที่ในบางกรณีแม้จะเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ได้จริงตามกฎหมายก็ปล่อยผู้กระทำผิด ถือกันตามคติที่ว่าปล่อยคนผิด ดีกว่าลงโทษผู้ไม่ผิด หากสงสัยไม่มีหลักฐาน ก็ยกผลประโยชน์ให้จำเลย ซึ่งสวนทางกับคติพุทธศาสนาแบบที่พวกเขาเข้าใจ [34]

หนังสือเพื่อคว่ำพ.ร.บสงฆ์นี้เขียนขึ้นใน ปี 2490

แคนดิเดทชิง มท.1 ของสงฆ์ และความแตกแยกของมหานิกายรอบใหม่

มรณกรรมของพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ในเดือนมกราคม 2491 นับเป็นการจากไปของพระผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญเนื่องจากว่า พระรูปนี้ครองถึง อีกรูป 3 ตำแหน่ง นั่นคือ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เจ้าคณะตรวจการภาค 1 และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุนั้นในที่สุดก็ตกเป็นของ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อาจ อาสโภ) วัดสุวรรณดาราม อยุธยา โดยราบรื่น แต่ที่เป็นปัญหาสำคัญก็คือ ตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง ที่ว่างลง อย่าลืมว่าตำแหน่งนี้ ก็เคยเป็นตำแหน่งที่ล่อให้เกิดความขัดแย้งมาแล้วในครั้งหนึ่ง พระปริยัติโศภณ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา ได้แสดงความเห็นว่า ควรให้ สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร ขึ้นครองตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เพราะนอกจากสมเด็จพระวันรัต (ปลด) เคยเป็นเคนดิเดทคู่กับพระพิมลธรรม (ช้อย) มาก่อนแล้ว ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ทางความคิดกับฝ่ายธรรมยุต ดังนั้นสมเด็จพระวันรัต (ปลด) จึงมีความเหมาะสมในตำแหน่งเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่คู่แคนดิเดทในครั้งคือ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (อาจ อาสโภ) วัดสุวรรณดาราม อยุธยา อันเป็นพระในสายวัดมหาธาตุ ซึ่งในมุมมองของพระปริยัติโศภณ (ฟื้น) แล้วถือว่าเป็นคนอ่อน อาจถูกธรรมยุตครอบงำได้ [35] ซึ่งไม่นับว่ามีคุณสมบัติมากพอที่จะต่อกรกับฝ่ายธรรมยุต

ความคิดดังกล่าวพระปริยัติโศภณนำไปปรึกษาไปทั่ว และพบว่าส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มว่าจะเห็นด้วย [36] แต่การตัดสินใจแต่งตั้งจากตำแหน่งนี้จาก สังฆมนตรี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2491 กลับพลิกโผ และกลายเป็นว่า พระธรรมไตรโลกาจารย์ได้ขึ้นครองตำแหน่งนี้แทน เหตุการณ์นี้ทำให้พระปริยัติโศภณ (ฟื้น) เสียหน้าและทำการลาออกจากตำแหน่ง สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาทันที [37]

ด้วยวิธีเช่นนี้จึงทำให้ฝ่ายมหานิกาย ถูกแบ่งเป็น 2 เสี่ยงด้วยความขัดแย้ง คือ สายวัดเบญจมบพิตร นำโดย สมเด็จวันรัต (ปลด)-สายวัดสามพระยา นำโดย พระปริยัติโศภณ (ฟื้น) กับอีกเสี่ยงคือ ฝ่ายวัดมหาธาตุ นำโดย พระธรรมไตรโลกาจารย์ [38] ความขัดแย้งได้บานปลายไปสู่ระดับโครงสร้างและมีผลทำให้พ.ร.บ.คณะสงฆ์จบชีวิต ลง และเกิดกรณีที่อัปยศที่สุดคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในสังคมไทย

ตั้งสังฆนายก ต้องมหานิกายเท่านั้น!

ตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองที่ว่ายิ่งใหญ่แล้ว ตำแหน่งสังฆนายกยิ่งแล้วใหญ่ วิกฤตสังฆนายกประทุขึ้น หลังมรณกรรมของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณถาวโร) สังฆนายก ในเดือนมิถุนายน 2494 มีผลให้สังฆมนตรีถูกยุบไปด้วย การแต่งตั้งสังฆมนตรีรูปใหม่นั่นคือ พระศาสนโสภณ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ขึ้นเป็นพระสังฆนายก ในเดือนมิถุนายน 2494 [39] ความขุ่นเคืองจนเกินรับไหวของคณะสงฆ์มหานิกาย ได้ระเบิดออกมาด้วยการเคลื่อนไหวโค่นล้มสังฆนายกรูปใหม่หมาดๆ

ในสายตาของพระมหานิกายแล้ว สังฆนายกรูปใหม่จะเป็นใครไม่ได้นอกจาก สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตรที่สมทั้งวัยวุฒิและฐานันดรศักดิ์มากกว่า ยังไม่นับว่า สมเด็จพระวันรัต (ปลด) พลาดจากตำแหน่งสำคัญมาตั้งแต่สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง เนื่องจากที่ผ่านมานั้นการพิจารณาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ก็อยู่แต่ในมือคณะสงฆ์ธรรมยุติ ส่วนพระมหานิกายถูกกีดกันออกมา สภาพดังกล่าวดำรงมาตั้งแต่ปี 2485-2494 ในเวลาเกือบสิบปีที่สังฆนายกมาจากธรรมยุต [40]

ประเด็นร้อนนี้ถูกยกระดับขึ้นเมื่อ พระเทพเวที (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา ได้ยกประเด็น "สองหัวสองหาง" ขึ้นมาตอบโต้ธรรมยุต เพื่อให้แยกสังฆนายกของทั้งสองฝ่าย ท่าทีเช่นนี้ไปกันได้กับความอึดอัด และสิ่งที่พระมหานิกายจำนวนมากคิดอยู่ ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในการล่าลายเซ็นพระ เมื่อนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงครามทราบเรื่อง ก็ขอร้องให้ใช้วิธีอื่นเพราะเกรงจะทำให้สงฆ์แตกแยกมากกว่าที่เป็นอยู่ [41]

อย่างไรก็ตามเมื่อพระทั้งหลายได้ตกกระไดพลอยโจนไปแล้ว ด้วยการลงนามอย่างเปิดเผย ประเมินกันแล้วว่าถ้าหากหยุดเคลื่อนไหวก็คงจะพบกับหายนะด้วยอำนาจการปกครอง ที่ไม่เป็นธรรมที่กดทับอยู่ จึงเสี่ยงเดินหน้าต่อไปพึ่งพระผู้ใหญ่ในมหานิกาย และได้รับคำปรึกษาว่า ให้ไปขอลายเซ็นจาก พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ซึ่งบัดนั้นเป็นสังฆมนตรีองค์การปกครอง อันจะส่งผลการเคลื่อนไวมีน้ำหนักและมีความชอบธรรม

จากม็อบสงฆ์โค่นสังฆนายกธรรมยุต สู่ข้อตกลงตำหนักเพชร

ในเบื้องต้นพระพิมลธรรม (อาจ) กล่าวปฏิเสธในการลงนามด้วยเหตุผลว่า หากร่วมลงนามแล้ว ก็จะถือได้ว่าเป็นผู้เสียหาย มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะทำให้สูญเสียความเป็นกลางไม่สามารถโต้แย้งในที่ประชุมสังฆมนตรีได้ หรือโต้แย้งก็อาจไม่มีน้ำหนัก อย่างไรก็ตามพระที่ยกโขยงกันมาล่าลายเซ็นได้ทั้งปลอบทั้งขู่ จนมีผู้เหลืออดบริภาษต่อพระพิมลธรรม (อาจ) ว่า "ไอ้ชาติลาวตาขาว" ถึงจุดนั้นทำให้พระพิมลธรรม (อาจ) เปลี่ยนใจลงนามให้ แต่มีข้อแม้ว่า จะขอแก้ไขหนังสือฉบับนั้นด้วยตนเอง ซึ่งในวันต่อมาก็มีหนังสือสองฉบับไปที่นายกรัฐมนตรี ในเรื่อง "ขอถวายตำแหน่งสังฆนายกแด่สมเด็จพระวันรัต" และสมเด็จพระสังฆราช เรื่อง "ขอร้องให้ทรงพระกรุณาแต่งตั้งสมเด็จพระวันรัตเป็นสังฆนายก" [42] หลังจากที่พระพิมลธรรม (อาจ) ยื่นหนังสือไปแล้วและรอคอยอย่างใจเย็น พระอีกส่วนหนึ่งที่เป็นระดับเจ้าคณะตรวจการภาค เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค เจ้าคณะจังหวัด และผู้แทนเจ้าคณะจังหวัด รวม 71 รูปทั่วประเทศ ก็ลงนามยื่นหนังสือลงวันที่ 30 มิถุนายน 2494 สนับสนุนมติพระจำนวน 47 รูปที่ยื่นไปก่อนหน้านี้ กดดันอย่างหนักเข้าไปอีก [43]

พลังที่กดดันอย่างมากนี้ ในที่สุดก็นำไปสู่การประชุมที่ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศ ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2494 โดยคณะธรรมยุตยินยอมให้แต่งตั้งพระฝ่ายมหานิกายเป็นสังฆนายก แต่ต้องรับเงื่อนไข คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ในการปกครองส่วนกลาง ให้คณะสังฆมนตรีบริหารร่วมกัน แต่ปกครองบังคับบัญชาตามนิกาย การปกครองส่วนภูมิภาคให้แยกตามนิกาย [44] ต่อมาข้อตกลงนี้เรียกว่า "ข้อตกลงตำหนักเพชร" ที่น่าสังเกตก็คือ เมื่อที่ประชุมที่ข้อสรุป สมเด็จพระสังฆราชก็แจ้งว่า พระศาสนโศภณ (จวน) ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสังฆนายกแล้ว [45] คล้ายกับว่าเตรียมการกันมาก่อน อย่างไรก็ตามในความขัดแย้งนี้ที่แบ่งการปกครองอย่างชัดเจนขึ้น กลับทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างนิกายที่จะสร้างผลงานในอาณาจักรของตนมากขึ้น [46]

ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศ
ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศ

พุทธทาสกับการวิจารณ์โครงสร้างปกครองสงฆ์ [47]

ในสังคมการเมืองสงฆ์ เรายังพบบันทึกที่พุทธทาสภิกขุวิจารณ์โครงสร้างการปกครองสงฆ์ โดยบันทึกไว้ในหน้าที่ระบุวันที่ 18-21 มีนาคม 2495 วิจารณ์ว่าควรจะปรับเปลี่ยน เพราะมีลักษณะเป็นเผด็จการโดยตรงและโดยอ้อม ไม่เป็น “สังฆาธิปไตย” หรือไม่เป็นไปตาม “ธรรมวินัยแท้” พุทธทาสได้เขียนถึง “ระบอบการปกครองใหม่” โดยแบ่งเป็น 3 แผนก นั่นคือ ส่วนวิชาการ (เทฆนิค) คณาจารย์, ส่วนบริหาร (4 องค์การณ์) คณาธิการ และส่วนสมณธรรม โดย 2 ส่วนแรกน่าจะเป็นกลุ่มคามวาสี และกลุ่มสุดท้ายน่าจะเป็น ธรรมาจารย์, อรัญวาสี หรืออาจกล่าวได้ว่า ให้จัดการปกครองโดยแยกแยะจากวัตรปฏิบัติที่ต่างกันไปนั่นเอง นอกจากนั้นพุทธทาสยังเสนอให้เปลี่ยนการปกครองระดับจังหวัดใหม่ ให้มีตำแหน่ง “ผู้กำกับการกรรมการสงฆ์จังหวัด” (หรือเจ้าคณะจังหวัด) ที่ “รอบรู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ มีคุณธรรมสูง แตกฉานในกฎระเบียบ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ฯลฯ” แม้จะอายุน้อยก็ตาม สามารถถวายความคิดเห็นหรือ “ควบคุมผู้เฒ่า” ได้ ซึ่งในจังหวัดจะให้มี 5 องค์การนั่นคือ องค์การปกครอง องค์การศึกษา องค์การเผยแผ่ องค์การสาธารณูปการและ องค์การสมณธรรม องค์การสุดท้ายน่าจะเป็นการสนับสนุนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมที่พุทธทาสสนใจ อยู่ ตำแหน่งนี้พุทธทาสมีความเป็นว่าจะต้องเป็น “คนหนุ่มที่ดี ที่สามารถ ทันสมัย และสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา” และเห็นว่า การอยู่ในตำแหน่งตลอดกาลนั้นเป็น “เผด็จการอยู่ในตัว”

อนึ่งการวิจารณ์ดังกล่าวก็มีบริบทของมันอยู่ เมื่อเราพลิกดูบันทึกวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2495 พบว่า พระพิมลธรรม (อาจ) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองมาที่สุราษฎร์ธานี และมีกำหนดการจำวัดที่สวนโมกข์ด้วย ขณะนั้นพุทธทาสมีสมณศักดิ์เป็น พระอริยนันทมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ (ได้รับการแต่งตั้งในปี 2493) แน่นอนว่า พุทธทาสเป็นพระผู้ใหญ่ที่ต้องรู้เห็นกับสภาพสังคมสงฆ์ในสมัยนั้นเป็นอย่างดี และไม่อาจลอยตัวอยู่เหนือปัญหาการเมืองของสงฆ์ในขณะนั้นได้ นี่คือหลักฐานส่วนหนึ่งที่พุทธทาสเกี่ยวพันกับปัญหาการเมืองสงฆ์

พุทธทาสลิขิตธรรม บันทึกนึกได้เอง  แสดงบันทึกว่าด้วยชีวิต ศาสนา สังคม การเมือง สันติภาพ และหลักคิดสำคัญ เล่มนี้แสดงให้เห็นวิธีคิดเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองสงฆ์ในปี 2495
พุทธทาสลิขิตธรรม บันทึกนึกได้เอง แสดงบันทึกว่าด้วยชีวิต ศาสนา สังคม การเมือง สันติภาพ และหลักคิดสำคัญเล่มนี้แสดงให้เห็นวิธีคิดเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองสงฆ์ในปี 2495

การเติบโตของฝ่ายซ้ายและการเชิดชูความดีแบบปัจเจกชน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ในทศวรรษ 2490 การเติบโตของอุดมการณ์ไม่ได้มีเพียงเฉพาะฝ่ายขวาที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม ราชาชาตินิยมเท่านั้น แต่ฝ่ายซ้ายอุดมการณ์สังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ต่างก็มีพื้นที่ “บนดิน” มีโอกาสสื่อสารกับสาธารณะอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ การรวมกลุ่มจัดตั้งทางการเมืองฝ่ายซ้าย เช่น สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย พรรคสหชีพ ฯลฯ อย่างไรก็ตามกลางทศวรรษ 2490 ที่การเมืองระหว่างประเทศเข้มข้น แม้รัฐบาลไทยได้ยกเลิก พ.ร.บ.การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในปี 2489 แต่กระนั้นพ.ร.บ.ลักษณะดังกล่าวก็ปรากฏอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2495 ก่อนหน้านั้นไม่กี่วันก็เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า กบฏสันติภาพ ซึ่งเป็นการจับกุมกวาดล้างนักคิด นักเขียน นักเคลื่อนไหวทางสังคมจำนวน 104 คน เป็นนักโทษการเมืองที่ติดคุกยาวนานไปจนถึงปี 2500 ที่น่าสนใจก็คือ จากช่องทางดังกล่าวพบว่า มีพระวิปัสสนาเข้าไปสอนกรรมฐานแก่นักโทษการเมืองจำนวนหนึ่ง และหนึ่งในนั้นก็คือ พระพิมลธรรม (อาจ) แห่งวัดมหาธาตุ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งๆที่เรื่องคุณธรรม ความดีงาม ก็ถูกพร่ำหาอยู่ไม่ขาดปาก แต่กลับเป็นความดีที่แยกขาดจากโครงสร้างอันอยุติธรรม เป็นความดีที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอำนาจอันไม่ชอบธรรม สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดนั่นก็คือ การที่คณะรัฐประหาร 2490 อ้างความเป็นคนดีมีศีลธรรม และเหตุผลทางจริยธรรมต่างๆนานา โค่นล้มรัฐบาลด้วยข้ออ้างเรื่องทุจริต และกรณีสวรรคต ยังไม่นับว่ากรณีสวรรคตที่ปรีดี พนมยงค์ถูกใส่ร้าย ด้วยกลเกมสกปรกอย่างการจ้างคนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง” นั้น คนดี นักศีลธรรมทั้งหลายก็ไม่ได้มีบทบาทออกมาช่วยรับรองเกียรติ ด้วยจิตใจอันมีศีลธรรมแม้แต่น้อย หรือเป็นว่าเมื่อศีลธรรมเข้าตาจนหน้ามืดตามัว สังคมคนดีก็ปราศจากสติปัญญาที่จะแยกแยะได้ว่า ใครดีใครชั่ว ดังนั้นเมื่อฝ่ายรัฐประหารและอนุรักษ์นิยมสร้างปีศาจปรีดี พนมยงค์ขึ้นมา ความบ้องตื้นของสังคมไทยก็อ้าแขนรับอย่างอบอุ่น พระพิมลธรรม (อาจ) เองก็ถูกผลักให้เดินทางที่โหดร้ายไม่แพ้กับปรีดีในเวลาต่อมา

คอมมิวนิสต์ก็เป็นอรหันต์ได้?

เรื่องหนึ่งที่พระพิมลธรรม (อาจ) ถูกใส่ร้ายและประเด็นการเมืองทางโลกด้วยนั่นก็คือ ข้อหาที่เกี่ยวพันกับคอมมิวนิสต์ กระทั่งมีการกล่าวถึงขนาดว่า คอมมิวนิสต์บวชเป็นพระได้หรือไม่ พระพิมลธรรม (อาจ) ไม่เห็นว่าเป็นปัญหาที่จะให้คอมมิวนิสต์บวชได้ ข้อกล่าวหานี้เป็นอีกด้านหนึ่งของคำตอบทำนองว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ของพระกิตติวุฑโฑในอีกราว 2 ทศวรรษต่อมา แต่ในครั้งนี้อาจเรียกว่า “คอมมิวนิสต์ก็เป็นอรหันต์ได้” [48] ในคราว “กบฏสันติภาพ” ในปี 2495 อันเนื่องมาจากการตั้งคณะกรรมการสันติภาพ พบว่าพระพิมลธรรม (อาจ) ได้มีบทบาทในการเข้าไปสอนวิปัสสนากรรมฐานในเรือนจำด้วย อย่างน้อยมีนักโทษการเมือง 2 คนที่เข้าเรียนกรรมฐานด้วยนั่นคือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ และสมัคร บุราวาส จากจำนวน 104 คน จากบันทึกของสมัคร บุราวาสได้ระบุไว้ว่า เริ่มเรียนวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ปี 2498 [49]

ภาพการปล่อยตัวนักโทษการเมือง กรณีกบฏสันติภาพ ปี 2500 ภายในภาพมีกุหลาบ สายประดิษฐ์รวมอยู่ด้วย
ภาพการปล่อยตัวนักโทษการเมือง กรณีกบฏสันติภาพ ปี 2500 ภายในภาพมีกุหลาบ สายประดิษฐ์รวมอยู่ด้วย

รัฐประหาร 2500

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลวิเคราะห์ไว้ว่า ความโหดเหี้ยมและมือเปื้อนเลือดของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่มีเผ่า ศรียานนท์ ทหารเก่าที่กลายมาเป็นอธิบดีกรมตำรวจและได้ก่อกรรมทำเข็ญต่างๆนานาและมี อำนาจอยู่ในมืออย่างล้นเหลือนั้น ได้ทำให้เหล่าปัญญาชน นักเคลื่อนไหว นักปฏิวัติ “เลือดเข้าตา” ได้เห็นว่า เผ่านี่แหละที่เป็นศัตรูหมายเลข 1 จึงได้โจมตีเผ่าด้วยความรู้สึกว่า กำลังทำในสิ่งที่ถูกจริยธรรม ได้ทำการล้างแค้นให้เหยื่อที่ถูกเผ่าฆ่า ขณะที่เผ่าเป็น “มาร” แต่พวกปัญญาชนเป็น “นักรบจริยธรรม” ที่มีหน้าที่ปราบมาร ขณะที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็ไม่ต้องลงแรงมาก เพียงแต่

รู้จักจังหวะปรากฏตัว และทำตัวให้เป็นขวัญใจประชาชน ในที่สุดก็ทำการรัฐประหารเมื่อ 16 กันยายน 2500 [50] นั่นทำให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม หมดอำนาจและต้องลี้ภัยและไม่ได้กลับเมืองไทยตราบจนชีวิตหาไม่

รัฐประหารซ้ำ 2501 และการฉีกรัฐธรรมนูญ

การรัฐประหารในปี 2500 โดยยอมให้มีรัฐสภากันอยู่ แม้จะมีถนอม กิตติขจรเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาภาพลักษณ์ แต่ปรากฏว่า สิ่งที่ผู้ยึดอำนาจทนไม่ได้ก็คือ ความวุ่นวายที่ตามมาจากการมีสภา พรรคการเมือง เสรีภาพของสื่อมวลชน แม้กระทั่งองค์กรของเหล่ากรรมกร ในที่สุดจึงมีการยึดอำนาจซ้ำและไม่มีการอ้อมค้อม คณะรัฐประหารได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งไปพร้อมๆ กับอำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ล้มเลิกสภา สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก้าวขึ้นในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในฐานะเผด็จการอย่างเต็มตัว รัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501

ในวงการสงฆ์นั้น ตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2500 การที่รัฐบาลเก่าสนับสนุนพระสงฆ์โดยเฉพาะฝ่ายมหานิกาย เมื่อเปลี่ยนขั้วนั่นก็ทำให้ สำนักอบรมครูวัดสามพระยาที่มีบทบาทเผชิญหน้าคณะธรรมยุต ที่นำโดยพระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา เจ้าคณะจังหวัดพระนคร ต้องยุติกิจกรรมลงอย่างสิ้นเชิง [51]

เดือนพฤศจิกายน 2501 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น) สิ้นพระชนม์ ได้มีการแต่งตั้ง สมเด็จพระวันรัต (ปลด) สังฆนายก เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราชตามพระราชบัญญัติ [52]

พระพิมลธรรม (อาจ) กับความขุ่นเคืองของสฤษดิ์

ระหว่างที่พระเถระรุ่นใหญ่ล้มหายตายจากไปเรื่อย พระพิมลธรรม (อาจ) ก็ได้สร้างผลงานขึ้นอย่างโดดเด่นในฐานะสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง และยังมีความใกล้ชิดกับ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทั้งยังเคยแวะไป

สนทนากับอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้ที่ลี้ภัยการเมืองอยู่ที่ญี่ปุ่นอีกด้วย การเข้าพบครั้งนั้นทำให้มิตรสหายและบุคคลต่างๆ ก็เข้าไปนมัสการอยู่เนืองๆ สิ่งเหล่านี้เข้าหู สฤษดิ์์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติอย่างแน่นอน และนั่นทำให้พระพิมลธรรม (อาจ)ไม่เป็นที่ไว้วางใจต่อสฤษดิ์ คนอย่างสฤษดิ์จะคิดอย่างไรเมื่อเกิดการเปรียบเทียบเมื่อ การเดินทางไปอีสานของเขาที่มีคนมาต้อนรับไม่มากนัก ผิดกับพระพิมลธรรมที่พระสงฆ์และประชาชนพากันต้อนรับอย่างเนืองแน่น [53]

ป.พิบูลสงคราม และพระพิมลธรรม (อาจ)
ป.พิบูลสงคราม และพระพิมลธรรม (อาจ)

สมรภูมิประชุมสัมมันตนาพระคณาธิการทั่วราชอาณาจักร

เดือนเมษายน 2503 สมเด็จพระวันรัต (ปลด) สังฆนายกและผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราช จัดประชุมสัมมันตนาพระคณาธิการทั่วราชอาณาจักร โดยเชิญพระจำนวน 523 รูป อันประกอบด้วย เจ้าคณะตรวจการภาคทุกรูป, เจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาคทุกรูป, เจ้าคณะจังหวัดทุกรูป และเจ้าอาวาสในจังหวัดพระนครและธนบุรี [54] โดยมีนัยการเมือง มีการกล่าวว่าจะเชื่อมต่อพระศาสนาในการสร้างความเจริญให้กับชาติสอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของคณะปฏิวัติ สอดคล้องกับการส่งสาส์นมาปวารณาตัวช่วยเหลือเรื่องแก้ไข พ.ร.บ. ของสฤษดิ์ และโอกาสนี้ยังถือว่าเป็นการเชิญพระทั้งหลายมาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพอดีต สมเด็จพระสังฆราชอีกด้วย [55]

งานนี้ยังมีเบื้องหลังว่า เป็นความตั้งใจของสมเด็จพระวันรัต (ปลด) ที่จะดันให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ขึ้นเป็นสังฆนายก จึงได้นำสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน) กับ พระพิมลธรรม (อาจ) มาบรรยายประชันกัน แต่ผลปรากฏว่า พระพิมลธรรม (อาจ) บรรยายได้คมคาย กว้างขวางและแจ่มชัดกว่า [56]

การประชุมครั้งนี้ยังมีวาระว่าด้วยการเลือกสมเด็จพระสังฆราชด้วย พระธรรมนายก (สมบูรณ์ จนฺทเถร)ได้เปิดประเด็นสนับสนุน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า

ด้านพรรษา เมื่อเทียบกับสมเด็จพระวันรัต (ปลด) ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่า เรื่องนี้คงเป็นดำริของพระพิมลธรรม (อาจ) เนื่องจาก พระธรรมนายก(สมบูรณ์)เป็นศิษย์วัดมหาธาตุและรู้กันว่าเป็นมือซ้ายของพระพิมล ธรรม (อาจ) หลังจากนั้นมา จึงมีข่าวลือและใบปลิวโจมตีพระพิมลธรรมสารพัด ขณะที่พระพิมลธรรมกลับวางเฉย ไม่ชี้แจงใดๆ โดยให้เหตุผลว่า การตนเองที่ลนลานไปชี้แจงโดยผู้ใหญ่ไม่ได้เรียกไปนั้นทำไม่ได้และบัณฑิตเขา ไม่ทำกัน [57]

พระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดสัมพันธวงศ์
พระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดสัมพันธวงศ์ มอบของที่ระลึกแก่ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ งานวางศิลาฤกษ์ พระอุโบสถหลังใหม่ วัดสัมพันธวงศ์ปี 2506

สังฆราชใหม่ สังฆนายกใหม่ ตัดตอนกลุ่มอำนาจเก่า

สมเด็จพระวันรัต (ปลด) ขึ้นแท่นได้รับการสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระสังฆราช ในเดือนพฤษภาคม 2503 [58] และในเดือนเดียวกัน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) ก็ขึ้นเป็นสังฆนายก [59] การขึ้นมีอำนาจของสังฆนายกใหม่ได้ตัดสังฆมนตรีที่เคยดำรงตำแหน่งอยู่เดิมออก ไปจำนวนมาก ข้อพิรุธก็คือ เมื่อปรับคณะสังฆมนตรีแล้ว สังฆนายกลนลานออกแถลงการณ์ชี้แจง [60] แน่นอนว่าการตั้งสังฆมนตรีครั้งนี้ เพื่อการสกัดให้พระพิมลธรรม (อาจ) หลุดจากวงโคจร และทำให้พระที่สนับสนุนพระพิมลธรรม (อาจ) ต้องหลุดวงอำนาจการปกครองคณะสงฆในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น พระศาสนโศภณ (ปลอด อตฺถการี) วัดราชาธวาสวิหาร (ธรรมยุต) , พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศ (ธรรมยุต) [61], พระธรรมปิฎก (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (ธรรมยุต) พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) วัดราษฎร์บำรุง จังหวัดชลบุรี พระเถระสายมหาธาตุ และมือขวาพระพิมลธรรม [62] นี่คือ จุดเริ่มต้น

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) (2432-2505) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) สังฆนายก (2440-2514)
ภาพซ้าย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ) (2432-2505)
ภาพขวา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) สังฆนายก (2440-2514)

โศกนาฏกรรมพระพิมลธรรม (อาจ)

เรื่องร้ายแรงอันน่าละอายนี้ เกิดขึ้นเดือนสิงหาคม 2503 สังฆนายกและสังฆมนตรี รับทราบคำร้องเรียนจากการประชุมร่วมกับตำรวจสันติบาลว่า มี 2 ผู้เสียหาย ได้กล่าวหาว่า พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) เสพเมถุนธรรมทางเวจมรรค (ร่วมเพศทางทวารหนัก) กับพวกตนจนสำเร็จความใคร่ การกล่าวหาเช่นนี้ ตามกระบวนการยุติธรรมของสงฆ์ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 แล้ว จะต้องมอบเรื่องให้คณะวินัยธร ที่ถืออำนาจอธิปไตยทางตุลาการ แต่ที่น่าตกใจก็คือ สังฆนายก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) กลับด่วนวินิจฉัยเองด้วยการเขียนหนังสือสั้นๆ เสนอสมเด็จพระสังฆราช (ปลด) [63] กระนั้นสมเด็จพระสังฆราช ก็รับลูกต่อทันควันด้วยการออกหนังสือไปยังพระพิมลธรรม (อาจ) มีข้อความที่น่าสนใจว่า

"ด้วยทางการตำรวจได้ทำการสอบสวนเรื่องความประพฤติของ ท่านได้ความประจักษ์แล้ว...ขอให้ท่านพิจารณาตนด้วยตน ขอให้ท่านออกเสียจากสมณเพศ และหลบหายตัวไปเสีย จะเป็นการดีกว่าที่จะปรากฏโดยประการอื่นๆ เพื่อรักษาตัวท่านเอง และเพื่อเห็นแก่วัดและพระศาสนา"

พระพิมลธรรม (อาจ) ก็ตอบจดหมายกลับไป โดยมีใจความว่า ข้อเสนอที่ให้หนีไปนั้นไม่เป็นผลดีต่อวัดมหาธาตุและศาสนาโดยรวม และโดยส่วนตัวก็ไม่เป็นธรรม หนังสือดังกล่าวลงวันที่ 22 กันยายน 2503 พระพิมลธรรม (อาจ) เองก็ไม่ได้ถูกโดดเดี่ยวจากการปรักปรำ อีกสองวันต่อมา ปรากฏคณะสงฆ์วัดมหาธาตุจำนวน 465 รูปได้ทำหนังสือและลงนามยืนยันความบริสุทธิ์ [64]

อย่างไรก็ตามทางเบื้องบนก็มีจดหมายให้ชี้แจง และแม้พระพิมลธรรม (อาจ) จะชี้แจงกลับไป ก็ดูราวกับว่าไม่มีผลใดๆ ซ้ำยังเดินหน้าตัดสินโดยข้ามกระบวนการที่ชอบธรรมโดยการประกาศถอดสมณศักดิ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2503 ไม่เฉพาะกับพระพิมลธรรม (อาจ) เท่านั้น แต่พระศาสนโสภณ (ปลอด อตฺถการี) วัดราชาธิวาส ที่สนับสนุนพระพิมลธรรม (อาจ) ด้วยข้อหาฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยออกมาในนามของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลายเซ็น สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2503 [65] การโค่นล้มพระพิมลธรรมจึงได้ดึงเอาอำนาจรัฐเข้ามาเกี่ยวพันเพื่อทำลายศัตรูของตนอย่างสิ้นคิด

แม้จะถูกถอดสมณศักดิ์ พระพิมลธรรม(อาจ) ที่กลายเป็นพระอาสภเถระ ก็ยังตั้งมั่นเพราะเชื่อในความบริสุทธิ์ของตน แม้ว่าจะลงเอยด้วยการใช้อำนาจรัฐมาบีบบังคับให้สึกด้วยการส่งสันติบาล ไปจับกุม ณ วัดมหาธาตุ ในวันที่ 20 เมษายน 2505 ด้วยข้อหาว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ และกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร พระอาสภเถร ไม่แสดงอาการขัดขืน แต่ขอเจ้าหน้าที่ตำรวจเขียนบันทึกสั่งการงานที่คั่งค้างอยู่อย่างองอาจ ก่อนจะถูกนำตัวไปสันติบาล [66] เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่พบว่า ระหว่างจับกุมได้กรมตำรวจ ได้นำแถลงการณ์ส่งไปออกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อ้างความจำเป็นในการจับกุมคราวนี้ว่า

"ถ้าปล่อยไว้ก็จะเป็นภยันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบัน ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องจัดการขั้นเด็ดขาดด้วยการจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป" [67]

ในที่สุดก็พระอาสภเถระก็ถูกกระชากผ้ากาสาวพัสตร์ออกไปโดยคำสั่งของสังฆ มนตรีโดยผู้ลงมือคือ พระธรรมคุณาภรณ์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา และพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ฐิตวีโร) วัดไตรมิตร ทำให้ต้องเปลี่ยนไปครองผ้ากาสาวพัสตร์สีขาวแทน การสึกจบลงด้วยการที่อดีตพระอาสภเถระเดินทางไปจำพรรษาในฐานะอาคันตุกะ ณ สันติปาลาราม ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2505 ถูกทำให้หายไปจากวงการสงฆ์อีกสิบกว่าปี [68] การใช้อำนาจในการสึกให้ขาดจากความเป็นพระนั้น เป็นโทษสูงเทียบได้กับการประหารชีวิตเลยทีเดียว การใช้อำนาจบนกระบวนการไม่ชอบธรรมอย่างเลวร้ายเพื่อทำลายบุคคลๆเดียว นอกจากจะเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ภายใต้กฎหมาย เดียวกันแล้ว ยังเป็นการบิดเบือนกระบวนการทางกฎหมายเพื่อรับใช้เป้าหมายอย่างไร้ความชอบ ธรรมอย่างยิ่ง โศกนาฏกรรมชีวิตของปรีดี พนมยงค์ ที่สุดท้ายต้องลี้ภัยและตายในต่างแดน ก็มีจุดจบที่เอน็จอนาถไม่ต่างไปจากพระพิมลธรรม (อาจ) เลย

พระพิมลธรรม (อาจ) ในชุดห่มขาว
พระพิมลธรรม (อาจ) ในชุดห่มขาว

ลายมือของพระพิมลธรรม (อาจ)
ลายมือของพระพิมลธรรม (อาจ) อ่านได้ว่า “ถึงแม้ว่าจะมีผู้มีใจโหดร้ายทารุณแย่งชิง ผ้ากาสาวพัตรของกระผมไป กระผมก็จะนุ่งห่ม ผ้ากาสาวพัสตรชุดอื่นแทน ซึ่งกระผมมีสิทธิตาม พระธรรมวินัยและกฎหมาย จึงขอให้ท่านเจ้าคุณ ผู้รู้เห็นอยู่ ณ ที่นี้ โปรดทราบและเป็นสักขีพยาน ให้แก่กระผมตามคำปฏิญาณนี้ด้วย - อาสภเถร!”

แม้ทั้งสองจะถูกใส่ร้าย แต่เรายังไม่พบหลักฐานแน่ชัดว่า สังคมร่วมสมัยจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อความไม่ถูกต้องนี้อย่างไร สอดคล้องกับคำอธิบายทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ในสังคมไทยที่แทบจะไม่ได้ยึดโยงกับหน้าประวัติศาสตร์ ทั้งยังแสร้งลืมราวกับว่า คุณงามความดี และคนดีมีศีลธรรมทั้งหลายบริสุทธิ์ อยู่ลอยเหนือจากความจริงจากสังคม คนที่ถูกลงโทษก็สมควรด้วยแล้วกับความผิดโดยไม่ตั้งคำถาม หรือไม่ก็จำนนต่อความบ้อท่าของตัวเอง หรือที่สุดจะโทษว่าเป็นกรรมของบุคคล ก็สุดแล้วแต่จะอธิบายกัน

คำพูดที่พระพิมลธรรม (อาจ) เคยพูดไว้กับ สมัคร บุราวาศ เมื่ออยู่ในเรือนจำไม่อาจสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นกับเขาได้เลยนั่นคือ

“วิปัสสนากรรมฐานนี้แหละจะนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลกนี้ได้” [69]

ล้มพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ภาคสอง

ความอื้อฉาวจากกรณีพระพิมลธรรม ยิ่งทำให้สังฆสภาไม่สามารถดำเนินการอย่างราบรื่น พระที่เป็นสมาชิกสภามักยื่นกระทู้ถามเสมอ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม สังฆนายก และสังฆมนตรีรูปอื่นก็ไม่สามารถตอบต่อสภาให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างสังฆสภากับสังฆมนตรี แน่นอนว่าเป็นอุปสรรคต่อการปกครองคณะสงฆ์ให้ราบรื่น ในที่สุดก็ไปสู่การยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ อย่างไรก็ดี แรงต้านพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นี้เป็นไฟสุมขอนมาตั้งแต่ทศวรรษ 2490 แล้ว ความวุ่นวายอันเนื่องมาจากการโต้เถียงทางความคิดที่ละเมิดต่อลำดับศักดิ์สูง ต่ำในสังคมสงฆ์ การถ่วงดุลตรวจสอบไม่ให้เกิดอำนาจที่ฉ้อฉล ก็ทำให้การปกครองสงฆ์เป็นไปอย่างไม่สะดวกใจสำหรับพระสงฆ์บางคน [70]

เขียนด้วยมือประชาชน ลบด้วยส้นตีนเผด็จการ

ที่ประชุมคณะสังฆมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการ 5 รูปเมื่อเดือนตุลาคม 2501 เพื่อพิจารณาข้อบกพร่องของพ.ร.บ.เดิม โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน) สังฆนายก เป็นประธาน ซึ่งประเด็นที่คณะสงฆ์เห็นว่าเป็นปัญหาคือ ความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2489 มาตรา 13 ดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่พระฝ่ายธรรมยุต 22 รูปนำเสนอเมื่อปี 2490 มาแล้ว [71] จึงได้มีการดำเนินการยกร่างพ.ร.บ. ไม่พบว่าร่างดังกล่าวมีความคืบหน้าเพียงใด เรื่องพ.ร.บ.ใหม่เป็นข่าวอีกทีก็คือ การที่สภาร่างรัฐธรรมนูญในอำนาจของสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2505 โดยมีพระอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นประธานกรรมาธิการ และกรรมาธิการคนสำคัญที่เป็นพระเปรียญเก่าอย่าง ปิ่น มุทุกันต์ ยศพันเอก [72] (ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศาสนาในปี 2506) ร่างดังกล่าวแทบจะไม่มีเสียงคัดค้าน อาจเป็นเพราะว่า กฎหมายดังกล่าวมีใบสั่งมาจากสฤษดิ์ การคัดค้านจึงถูกทำให้เงียบลงโดยปริยาย และในที่สุดสภาร่างรัฐธรรมนูญก็ลงมติเห็นควรใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นกฎหมายด้วยผลคะแนนผู้เห็นด้วย 112 เสียง และไม่เห็นด้วย 1 เสียง กฎหมายดังกล่าวก์ถือว่าผ่านที่ประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 13 ธันวาคม 2505 เรียกว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 [73]

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ตราเมื่อ 25 ธันวาคม 2505
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ตราเมื่อ 25 ธันวาคม 2505

ทั้งที่ปัญหาการจัดการเชิงโครงสร้างดังกล่าวต้องการระบบตรวจสอบ ถ่วงดุลและความรับผิดชอบ การล้มกระดานโครงสร้างดังกล่าวจึงเท่ากับเป็นการใช้อำนาจเข้าไปจัดการปัญหา ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปอย่างฉาบฉวย และกลับทำให้คณะสงฆ์และพุทธศาสนากลับเข้าไปอยู่ปริมณฑลที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ ดังเดิม ในบรรทัดฐานของสังคมไทยในยุค “ปฏิวัติ” ที่นำโดย สฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เป็นหัวหอกสำคัญในการรื้อฟื้นอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม ราชาชาตินิยมอย่างเต็มกำลัง ขณะเดียวกันก็ได้ทำการกวาดล้างเสี้ยนหนามตั้งแต่ฝ่ายซ้าย มาจนถึงฝ่ายเสรีนิยม กดหัวให้อยู่ใต้บรรยากาศเผด็จการ

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกันแล้ว สังคมสงฆ์เมื่อถูกตามใจด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 กฎหมายดังกล่าวถูกแก้ไขอีกครั้งในปี 2535 โดยไม่กระทบกับโครงสร้างเดิม มาจนถึงปัจจุบันทำให้เห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญทางโลกจะหกล้มหกลุก ลองผิดลองถูกในรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ โดยเฉพาะฉบับหลังๆที่ให้ความสำคัญกับประชาชน สิทธิของคนในระดับต่างๆมากขึ้น แต่กฎหมายของคณะสงฆ์ก็ยังผดุงซึ่งอำนาจของพระในกลุ่มเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในความลี้ลับสนธยาของวงการสงฆ์ ทั้งยังประสานเสียงไปกับการเติบโตของสังคมความเชื่อ พุทธพาณิชย์ และนับวันการปกครองสงฆ์ก็นับวันจะประสบปัญหาอันเนื่องมาจากความหลากหลายของ ลัทธิพิธีจำนวนมาก เซลล์ย่อยๆเหล่านี้ หากไม่มีอำนาจวาสนาบารมีมากพอ ก็จะถูกอำนาจรัฐที่มอบมาสู่มือสงฆ์ ทำลายล้างและบดขยี้ แต่หากว่าเซลล์นั้นเข้มแข็งและเกาะเกี่ยวกันแน่น หรือกระทั่งมีเส้นสายมากพอ นับวันสิ่งเหล่านั้นก็จะเริ่มกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม หรือในอนาคตก็จะเข้ามากลืนกินสิ่งที่สงฆ์พยายามรักษาไว้อย่างสุดชีวิตนั้นก็ ได้.

อ้างอิง:

  1. แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.230
  2. กองบรรณาธิการประชาไท. "คุยกันยาวๆ กับ ‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’: อ่านกันชัดๆ ว่าด้วยความพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการฉีกรัฐธรรมนูญ" . http://prachatai.com/journal/2011/09/37007 (21 กันยายน 2554)
  3. แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.113
  4. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน,, น.115
  5. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.120
  6. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน,, น.184
  7. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน,, น.184
  8. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.190
  9. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.193-195
  10. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.204
  11. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.184
  12. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.204-206
  13. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.212
  14. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.206
  15. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.207
  16. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.211
  17. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.209
  18. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.213
  19. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.213-214
  20. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.214
  21. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.214
  22. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.216
  23. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.216-217
  24. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.218
  25. "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ใน ราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 30 เล่มที่ 63 , 10 พฤษภาคม 2489
  26. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.220 และ 232
  27. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.224
  28. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.220-221
  29. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.222
  30. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.222
  31. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.228
  32. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.228
  33. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.230
  34. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.230
  35. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.237
  36. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.238
  37. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.238-239
  38. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.241
  39. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.250
  40. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.252
  41. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.254
  42. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.261-262
  43. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.265
  44. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.266
  45. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.266
  46. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.274
  47. พุทธทาสภิกขุ. พุทธทาสลิขิตธรรม บันทึกนึกได้เอง (กรุงเทพฯ : สวนโมกขพลารามและคณะธรรมทานสุราษฎร์ธานี, พิมพ์ครั้งที่ 2), 2548
  48. "คอมมิวนิสต์สายพระ" http://board.palungjit.com/archive/t-117430.html (8 มีนาคม 2551) ในระยะสั้นผู้เขียนมีข้อจำกัดในการหาแหล่งข้อมูลชั้นต้น ข้อมูลดังกล่าวจะตัองรอการยืนยันจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออีกครั้ง
  49. สมัคร บุราวาศ. หนึ่งเดือนในวิปัสสนา (กรุงเทพฯ : ศยาม), 2544, น.8
  50. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. "deja vu ทักษิณ VS นายกฯพระราชทาน, พิบูล-เผ่า VS สฤษดิ์." ใน ประชาไทออนไลน์. http://prachatai.com/journal/2006/03/7681 (10 มีนาคม 2549)
  51. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.278-279
  52. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.279
  53. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.278-279
  54. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.283
  55. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.282-283
  56. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.283
  57. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.285-286
  58. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.287
  59. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.289
  60. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.290-291
  61. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.293
  62. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.294
  63. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.296
  64. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.299-300
  65. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.306-307
  66. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.308-310
  67. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.310
  68. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.322
  69. สมัคร บุราวาศ. เรื่องเดียวกัน, น.36
  70. แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.323
  71. กรมการศานา. “รายงานการประชุมคณะสังฆมนตรี ครั้งที 15/2501” วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2501 ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตร” อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. การปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539, น.218
  72. รัฐสภา. รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่นิติบัญญัติ)” เล่ม 4. พ.ศ.2505 อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.219
  73. รัฐสภา. รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่นิติบัญญัติ)” เล่ม 4. พ.ศ.2505, น.1193 อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.219