WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 24, 2011

คิวมท.ล้างเครือข่าย"เนวิน"

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ



"ต้องขยับหัวเพื่อให้ขบวนขยับได้"

นาย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ส่งสัญญาณภายหลังนายกฯ มีคำสั่งย้าย นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี

จากนั้นก็ลงนามแต่งตั้งนายพระนาย สุวรรณรัฐ รองปลัดกระทรวงมหาด ไทย ขึ้นรักษาราชการแทน โดยให้มีผลทันที

เป็น การขยับหัวขบวนเพื่อเปิดทางสู่การแต่งตั้งโยกย้าย ระดับ 10 อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ที่นายยงยุทธ ระบุล่าช้ากว่ากำหนด

เพื่อไม่ให้ล่าช้าไปกว่านี้ คาดว่าจะมีการเสนอบัญชีโยกย้ายเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 27 ก.ย.นี้

ใน จำนวนนี้ เป็นการโยกย้ายมาทดแทนตำแหน่งเกษียณ ซึ่งวันที่ 30 ก.ย. นี้ มีข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง เกษียณอายุราชการรวม 19 ตำแหน่ง ประกอบด้วย

ระดับอธิบดี จำนวน 1 ตำแหน่ง ได้แก่ นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง

ระดับผู้ตรวจราชการกระทรวง จำนวน 6 ตำแหน่ง ได้แก่ นายจาดุร อภิชาตบุตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง นายธวัชชัย ฟักอังกูร, นายปรีชา บุตรศรี, น.ส.เรืองวรรณ บัวนุช, นายศุภกิจ บุญญฤทธิ์พงษ์ และ นายสุเมธ แสงนิ่มนวล

และระดับผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 12 ตำแหน่ง ประกอบด้วย นายชาย พานิชพรพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายทองทวี พิมเสน ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

นายพงษ์ศักดิ์ นาคประดา ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร นายพิสิษฐ บุญช่วง ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ นายสุเทพ โกมลภมร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายอธิคม สุพรรณพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และ นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร

เมื่อจำนวนคนเกษียณมากก็เปิดทางให้การสับเปลี่ยนตำแหน่ง การจัดวางตัวบุคคล ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

ที่หลายฝ่ายจับตาคือการสลับสับเปลี่ยนตัวบุคคลจะมีรายการ "ย้ายล้างบาง" อย่างที่คาดการณ์กันมากน้อยแค่ไหน

โดยเฉพาะในตำแหน่งอธิบดี รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในสายของเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ที่คุมมหาดไทยมาก่อนหน้านี้

ไฮไลต์อยู่ที่เก้าอี้อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

การ ขยับในตำแหน่งสำคัญทั้งหมดนี้เพื่อเปิดทางให้คนในสายของพรรคเพื่อไทย ที่ถูกเด้งไปนั่งผู้ตรวจราชการกระทรวงในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กลับมาผงาดอีกครั้ง

เก้าอี้ใหญ่อย่างกรมการปกครอง คาดการณ์กันล่วงหน้า นายสุกิจ เจริญรัตนกุล ซึ่งรัฐบาลที่แล้วมีคำสั่งย้ายจากอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้ไปนั่งตบยุงในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

ด้วยบารมีของน้องชาย น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรองนายกฯ คนสนิทของ"นายหญิง" คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์

เที่ยวนี้จะได้ออกจากกรุ ขึ้นแท่นอธิบดีกรมการปกครอง

เก้าอี้ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ นายขวัญชัย วงศ์นิติกร นั่งประจำการอยู่ อาจถูกโยกไปดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง หรือเข้ากรุผู้ตรวจราชการกระทรวง

เพื่อเปิดทางให้กับ นายวีระยุทธ เอี่ยม อำภา ผู้ตรวจราชการกระทรวง ที่เป็น สิงห์ดำเช่นเดียวกับนายยงยุทธ

ไม่ ต่างกันคือ นายสุรชัย ขันอาสา คงต้องลุกจากเก้าอี้อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ถ้าไม่กลับไปเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ก็อาจต้องเข้ากรุผู้ตรวจฯ เปิดทางให้ "สิงห์ดำ" ในโควตาคุณหญิงพจมาน เข้ามาเสียบแทน

ส่วน นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สิงห์ดำที่อยู่รอดปลอดภัยมาจากรัฐบาลที่แล้ว เพราะนายเนวิน ต้องการลดแรงกดดัน จึงโยกจากรองปลัดมานั่งอธิบดีปภ.

เที่ยวนี้ อดีตผู้ว่าฯเชียงใหม่ คนนี้ อาจต้องกลับไปนั่งรองปลัด เพื่อรอคิวขึ้นนั่งปลัด หลังนายพระนาย เกษียณ

ใน ส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเกษียณแค่ 12 จังหวัด แต่ครั้งนี้จะมีการย้ายสลับสับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ไม่น้อยกว่า 40 ตำแหน่ง

เหตุจากส.ส.เพื่อไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน วิ่งขอโควตาดึงคนของตัวเองเข้ามาในพื้นที่

แต่ เพื่อป้องกันเสียงครหาโยกย้ายล้างบาง บัญชีโยกย้ายผู้ว่าฯ อาจทำเป็น 2 ล็อต จังหวัดที่อยู่ในโซนเป้าหมายต้องส่งคนของตัวเองลงไปดูแล อาจเป็นรอบหลัง

ส่วน ใหญ่ผู้ที่อยู่ในข่ายถูกโยกย้ายต่างรู้ชะตากรรมตัวเองดี สำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดในสายของนายเนวิน ไล่เรียงตั้งแต่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ เชียงราย ปทุมธานี สงขลา สุราษฎร์ธานี

ไม่ถูกสลับไปนั่งจังหวัดเล็ก ก็น่าจะถูกเด้งเข้ามานั่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

ส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทยคงปล่อยให้ทำงานในพื้นที่ต่อไป

เพราะประเมินแล้วคุ้มกว่าการย้ายสลับไปอยู่ในพื้นที่อื่น ที่อาจสร้างปัญหาภายหลังได้

สวนดุสิตโพล ชี้ คนกรุงส่วนใหญ่เชื่อว่ามีการทุจริตติดตั้งกล้องcctv ความเชื่อมั่นลด รู้สึกไม่ปลอดภัย

ที่มา มติชน


จากกรณีที่ ดีเอสไอ เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการติดตั้งและจัดซื้อกล้อง CCTV ในกรุงเทพฯ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่า มีการใช้กล้อง CCTV หลอก แทนกล้องจริงในหลายพื้นที่ หากพบว่ามีการทุจริตจริงก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างแน่นอน เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน กรณี กล้อง CCTV "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จำนวน 1,020 คน ระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน 2554 สรุปผลได้ดังนี้

1. ความคิดเห็นของประชาชน กับ ข่าวการติดตั้งกล้อง CCTV หลอก ในกรุงเทพฯ

อันดับ 1 ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีการติดตั้งกล้องหลอกๆเอาไว้ เป็นประเด็นที่น่าสนใจและอยากรู้ข้อเท็จจริง 37.81%

อันดับ 2 รู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย หากเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ก็ไม่สามารถหาหลักฐานได้ 33.14%

อันดับ 3 เป็นเรื่องผิดปกติ ไม่ชอบมาพากล อยากให้ผู้ที่มีอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้างออกมาชี้แจงโดยเร็ว 29.05%

2. ประชาชนเชื่อหรือไม่? กรณีที่มีกระแสข่าวการทุจริตการติดตั้งกล้อง CCTV ในกรุงเทพฯ

อันดับ 1 เชื่อ 54.15% เพราะ เป็นโครงการที่มีความเกี่ยวข้องกับงบประมาณจำนวนมาก จากเหตุผลที่ชี้แจงในเบื้องต้นฟังไม่ขึ้น ฯลฯ

อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 40.02% เพราะ ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวหรือการตั้งข้อสังเกตของแต่ละคนที่ออกมาวิพากษ์ วิจารณ์ควรรอฟังหรือพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานจะดีกว่า ฯลฯ

อันดับ 3 ไม่เชื่อ 5.83% เพราะ เชื่อมั่นในความโปร่งใสและการดำเนินการจัดซื้อของอดีตผู้ว่า ฯ คนที่แล้ว ฯลฯ

3. ผลกระทบจากการติดตั้งกล้อง CCTV หลอก คือ

อันดับ 1 ไม่มั่นใจในความปลอดภัย ทำให้โจร ผู้ร้าย ใช้โอกาสนี้ในการกระทำผิด 38.76%

อันดับ 2 เสียความรู้สึกกับ กทม. ขาดความเชื่อมั่นในการบริหารงานและความน่าเชื่อถือลดลง 32.53%

อันดับ 3 ถ้ามีการจัดซื้อจัดจ้างโครงการใดก็แล้วแต่จะต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด 28.71%

4. ความมั่นใจของประชาชนเมื่อรู้ว่ามีการติดตั้งกล้อง CCTV หลอก

อันดับ 1 เชื่อมั่นลดลง 58.32% เพราะ ทำให้เสียความรู้สึก คิดว่าข่าวนี้น่าจะมีมูลความจริงอยู่บ้าง ,เพิ่งเข้าใจว่าเหตุผลที่อ้างกล้องเสีย น่าจะมาจากสาเหตุนี้ ฯลฯ

อันดับ 2 เฉยๆ 34.18% เพราะ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ,ควรนำงบประมาณส่วนนี้ไปใช้หรือสนับสนุนในเรื่องของการปฏิบัติหน้าที่หรือ เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในการลาดตระเวน ตรวจตรามากกว่า ฯลฯ

อันดับ 3 เชื่อมั่นเหมือนเดิม 7.50% เพราะ กล้อง CCTV เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักฐาน แต่การปฏิบัติหน้าที่ของ จนท.ตำรวจที่เคร่งครัดมีความสำคัญกว่า ฯลฯ

คลิป เปิดใจขวัญใจประชาชน "คนรากหญ้า" ทาง Asia Update

ที่มา thaifreenews

โดย bozo
RuMi CBR

เปิดใจขวัญใจประชาชน "คนรากหญ้า" ทาง Asia Update
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2554

1)




mp3 http://www.mediafire.com/?hf2p9xdfdz4f69p

2)



mp3 http://www.mediafire.com/?4kuw5kqozdgmk55

3)



mp3 http://www.mediafire.com/?xqq3ujsbxcqqcga

4)



mp3 http://www.mediafire.com/?9cc5s57fyr1p6sy

5)




« เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:47:39 PM »


RuMi CBR

เปิดใจขวัญใจประชาชน "คนรากหญ้า" ทาง Asia Update
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2554

1)


mp3 http://www.mediafire.com/?hf2p9xdfdz4f69p

2)


mp3 http://www.mediafire.com/?4kuw5kqozdgmk55

3)


mp3 http://www.mediafire.com/?xqq3ujsbxcqqcga

4)


mp3 http://www.mediafire.com/?9cc5s57fyr1p6sy

5)


mp3 http://www.mediafire.com/?743aphr6ssau9vb

ขอบคุณคุณอั๋น Ant Redarmy


http://www.thaivoice.org/board/index.php?topic=1219.0

นายกฯ สั่งเร่งช่วยเชียงใหม่น้ำป่าทะลัก โคลนถล่ม เด็กตาย 1 สูญหาย 2

ที่มา ข่าวสด


เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. วันที่ 23 ก.ย. ที่ จ.เชียงใหม่ ที่บ้านเปียงกอก หมู่ 6 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง น้ำป่าทะลัก โคลนถล่ม โดยแจ้งสัญญาณเตือนภัยให้ชาวบ้านเตรียมพร้อมรับมือ หลังจากสัญญาณเตือนภัยดังขึ้นไม่ถึง 5 นาที ชาวบ้านกำลังจะหลับนอน เสียงน้ำป่าดังและกระแสน้ำมาเร็วมาก ชาวบ้านร้องเรียกกันเป็นทอดๆให้ออกจากบ้านหาที่หลบ บางคนได้ปีนขึ้นหลังคาบ้านดันหลังคาออกแล้วขึ้นไปอยู่ข้างบนหลังคา

ทุกบ้านไม่สามารถที่จะเก็บของหนีได้ทันเพราะน้ำมาเร็วมาก น้ำโคลนและไม้ซุงขนานไหญ่ เล็กไหลมากับน้ำ แรงน้ำและไม้ซุงซัดเอารถยนต์ที่จอดในบ้านไหลไปไกลกว่า 50 เมตร และจมอยู่ใต้ดินโคลน ต่อมา น้ำลดในเวลาประมาณ 03 00น.วันนี้

น้ำ ป่าเข้าท่วมบ้านเรือนในครั้งนี้สูงประมาณ 2 เมตรเศษ ได้มีเด็กหายไปทั้งหมด 3 คน พบศพแล้ว 1 คนเป็นเด็กชายอายุ 6 เดือนเศษชื่อเด็กชายคีม ไทยใหญ่ ส่วนเด็กยังไม่พบนั้นมีอายุประมาณ 6 ขวบ และ 8 ขวบ

ส่วนความเสียหายยังไม่สามารถที่จะสำรวจได้ในเวลานี้ ขณะนี้ทางหน่วยงานเทศบาล และ อบต.ที่มีรถตัก ได้เข้ามาในพื้นที่เพื่อหาทางช่วยเหลือชาวบ้านแล้ว ส่วนทางทหารกองกำลังผาเมืองก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจแล้ว และทางหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่32 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจซึ่งทาง อบต.โป่งน้ำร้อนจะให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ส่วนถนนเข้าไปในที่ทำการอุทยานฟ้าห่มปกนั้นถนนขาด และสะพานขาดไม่สามารถที่จะผ่านเข้าไปได้

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่องให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้รับทราบสถานการณ์ น้ำท่วมที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝางนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบ้านเรือนเสียหายเบื้องต้น 20 หลัง ซึ่งทาง ปภ.ได้ส่งรองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นไปดูแลและติดตาม สถานการณ์ที่อำเภอฝางแล้วและสั่งการณ์ให้เร่งดำเนินการเปิดช่องทางจราจร และเส้นทางคมนาคมต่างๆเพื่อลำเลียงความช่วยเหลือเข้าไปในพื้นที่ รวมทั้งช่วยเหลือชาวบ้านที่อยู่ด้านในออกมา ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ปภ. ประสานกับเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่เร่งเข้าไปปฏิบัติการช่วยเหลือแล้ว และมีการรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบเป็นระยะ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งเข้าไปดำเนินการอำนวยการช่วย เหลือโดยด่วน

หน.ทีมชันสูตร 13 ศพ ชี้มีหน้าที่แค่สอบสวน รวบรวมพยาน ไม่มีหน้าที่สั่งฟ้องใคร ลั่นทำงานไร้แรงกดดัน

ที่มา มติชน

เมื่อวันที่ 24 กันยายน พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีชันสูตร 13 ศพ จากการสลายการชุมนุม ได้เรียกประชุมชุดพนักงานสืบสวนสอบสวนที่ห้องประชุมปารุสกวัน 1 พล.ต.ต.อนุชัยกล่าวว่า ได้เรียกประชุมคณะสืบสวนสอบสวนเพื่อพิจารณาสำนวน 13 ศพ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษส่งสำนวนให้ บช.น.ดำเนินการ ตาม ป.วิอาญา มาตรา 150 วรรค 3 หลังรายงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นได้รับมอบหมายให้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนขึ้นมารับผิดชอบเพื่อ ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีการกำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติและการแบ่งงาน รวมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว บริสุทธิ์ และเป็นธรรม

ผู้สื่อข่าวถามว่า กดดันหรือไม่ที่ญาติผู้ตายให้ความหวังอยากให้คดีอยู่ที่ บช.น.มากกว่าดีเอสไอ พล.ต.ต.อนุชัยกล่าวว่า ชุดพนักงานสืบสวนสอบสวนรับผิดชอบในเรื่องสำนวนชันสูตรพลิกศพ แต่สำนวนคดีอาญาหลักก็ยังความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ตนคิดว่าคณะทำงานคงไม่หนักใจเพราะเราทำงานกฎหมาย

เมื่อถามว่า คดีทั้ง 13 ศพ มีเร่งรัดคดีไหนหรือไม่ พล.ต.ต.อนุชัยกล่าวว่า ตามกฎหมายการสอบสวนสำนวนชันสูตรพลิกศพได้กำหนดกรอบระยะเวลาการทำงานในแต่ละ คดีไว้ว่า จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานทราบเรื่อง แต่เรื่องนี้ได้ผ่านพ้นมาเป็นระยะเวลานานแล้วและเป็นกรณีที่สอบสวนชันสูตร พลิกศพตาม ป.วิอาญามาตรา 150 วรรคแรก เพราะตอนนั้นยังไม่พบว่าการตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงาน คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนก็จะเริ่มนับหนึ่ง ในวันที่ 19 ก.ย. วันที่กรมสอบสวนคดีพิเศษส่งสำนวนมาให้

เมื่อถามว่า ถ้าพิสูจน์ออกมาตรงกับดีเอสไอว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ขั้นตอนต่อไปนั้นจะต้องชี้ไปถึงผู้ที่สั่งการหรือไม่ พล.ต.ต.อนุชัยกล่าวว่า ภารกิจของคณะสืบสวนสอบสวนชุดนี้มีหน้าที่สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานให้ได้ความ ว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน ตายอย่างไร ใครเป็นคนทำให้ตาย โดยดำเนินการร่วมกับพนักงานอัยการ ซึ่งจะมีการประสานงานกัน ภารกิจจะเสร็จสิ้นเมื่อส่งสำนวนให้พนักงานอัยการ จากนั้นพนักงานอัยการก็จะส่งสำนวนให้ศาลไต่สวนการตาย เราคงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องใคร

ผลประโยชน์ทับซ้อน จุดตาย-จุดขายเพื่อไทย

ที่มา มติชน


โดย จำลอง ดอกปิก

(ที่มา คอลัมน์ระหว่างวรรค หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 24 กันยายน 2554)

เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญ การรัฐประหาร ที่คณะผู้ก่อการโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนกันยายน ปี 2549 แจ้งต่อสาธารณะ ขณะที่มีมูลเหตุแห่งความขัดแย้งทางอำนาจ ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับผู้มีอิทธิพลเหนือฝ่ายการเมืองเป็นเบื้องหลัง

วันเวลาล่วงเลยมาร่วม 5 ปี กระทั่งรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยน้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

โจทย์ใหญ่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร วันนี้ ยังคงเป็นโจทย์เดิม ปัญหาความขัดแย้งทางอำนาจยังดำรงอยู่ และเป็นปัจจัยเสี่ยงชี้เป็นชี้ตายลำดับแรกๆ ผลงานการบริหารราชการแผ่นดินไม่อาจนำมาทดแทน ชดเชยได้ในความคิดของบางหมู่คณะ ไม่ว่าใครจะมองว่าสนองตอบประชาชนได้ดีกว่าแค่ไหนก็ตาม

เพียงแต่ วันนี้ กลุ่มอำนาจเดินเกมแยบยลมากยิ่งขึ้น ไม่โฉ่งฉ่าง ออกมาชนเอง เล่นเอง เนื่องจากสถานการณ์และทิศทางของบ้านเมืองที่ประชาชนร่วมกันตัดสินใจเลือก รัฐบาลแล้วไม่เอื้ออำนวย จึงต้องเคลื่อนไหวผ่านกลุ่มการเมือง หรือยืมมือ อาศัยการเล่นในระบบมากขึ้น

แล้วรอคิดบัญชีเมื่อรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ

เรื่อง นี้ฝ่ายค้านผู้คร่ำหวอดการเมืองมีหรือจะอ่านไม่ออก มีหรือจะไม่รู้ว่า มีเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่จะทำให้รัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ และล้มรัฐบาลได้ การตรวจสอบรัฐบาลจึงมุ่งเน้นไปยังจุดนี้อย่างเป็นพิเศษ และเมื่อรัฐบาลนี้แยกจาก พ.ต.ท.ทักษิณไม่ออก เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจึงถูกจุดเป็นประเด็น ประทับตราตอกย้ำ หวังขยายผล โน้มน้าวประชาชนเห็นคล้อยตาม เพื่อลดทอนความเชื่อถือศรัทธาที่มีต่อรัฐบาล

เรื่อง ขุมทรัพย์กลางทะเลลึกไทย-กัมพูชา การขยายมาตรการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกจากวงเงิน 3 เป็น 5 ล้านบาท จึงถูกประชาธิปัตย์มองเป็นเรื่องใหญ่ มีผลประโยชน์ทับซ้อนซ่อนอยู่เบื้องหลังปล่อยไปมิได้เป็นอันขาด

ทั้ง ที่บางเรื่องมีการทำลับๆ ล่อๆ ไม่ต่างกัน และบางเรื่องหยิบยกแค่บางส่วน มาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองแทน โดยลดน้ำหนักคุณภาพเนื้อหาสาระลง อาทิการคัดค้านการผลักดันนโยบายด้วยเหตุผล เนื่องจากส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณ หรือรายได้รัฐ ขณะที่รัฐบาลยังต้องนำเงินมาลงทุนพัฒนาประเทศอีกมหาศาล เพราะผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจ รู้สึกเหมือนกับเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ตื่นเต้น ก่อผลสะเทือนเท่าปมเงื่อนการทุจริตคอร์รัปชั่น

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้าบริหารราชการแผ่นดินครบ 1 เดือนเต็ม 30 วันที่ผ่านมานี้ หลายเรื่องที่ถูกปรามาส ไม่มีทางทำได้ อาทิ มาตรการเร่งด่วนเพื่อลดค่าครองชีพประชาชน การลดราคาน้ำมัน การคืนภาษีรถยนต์คันแรก และบ้านหลังแรก แต่รัฐบาลได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำได้จริงตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน

การเดินหน้าผลักดัน นโยบายออกมาเป็นชุดๆ อย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ประชาชนย่อมเปรียบเทียบ และมองเห็นความแตกต่าง ระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้อย่างชัดเจน ทั้งเรื่องฝีมือการบริหารจัดการ การกล้าตัดสินใจ

ประชาธิปัตย์จึง อาจหวั่นไหวเป็นธรรมดา จึงต้องพลิกแพลงหากลยุทธ์มาหยุดรัฐบาล และคงเห็นว่าไม่มีอะไรดีไปกว่าการตอกย้ำเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นจุดขายพรรคเพื่อไทย

ขณะเดียวกัน ก็อาจเป็นจุดตายรัฐบาลได้ด้วยเช่นกัน!

ของกลางสูญหาย

ที่มา มติชน



โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 23 กันยายน 2554)

ตอนที่นายถวิล เปลี่ยนศรี ออกมาแถลงข่าวกรณีถูกย้ายพ้นตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยเน้นว่าถูกการเมืองรังแก และทิ้งท้ายด้วยคำพระที่ว่า กฎแห่งกรรมมีจริง

ฝ่ายรัฐบาลโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง รีบหยิบเรื่องเวรกรรมนี้มาย้อนกลับทันที ว่าชอบใจคำนี้มาก ใครทำกรรมไว้ให้เตรียมรับกรรมด้วย

เรื่องเวรกรรมระหว่างนายถวิลกับฝ่ายนักการเมืองนั้น ก็ตีความกันตามแต่มุมมอง

บังเอิญมีการพาดพิงบทบาทของนายถวิล ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สมช.แล้วเข้าไปมีบทบาทใน ศอฉ.

จึงต้องนึกถึงเหตุการณ์นองเลือดปี 2553 ลงเอยด้วยความตาย 91 ศพ

หลักของพระพุทธศาสนานั้น เน้นย้ำถึงกฎแห่งกรรม ตักเตือนมนุษย์เราให้มีความเกรงกลัวต่อบาป

ใครก่อบาปกรรมทำร้ายชีวิตคน สุดท้ายต้องได้รับผลกรรมนั้น

ผลกรรมนั้นจะปรากฏในรูปแบบไหน

ความไม่สงบสุขในจิตใจไปตลอดชีวิตก็อย่างหนึ่ง

กระบวนการยุติธรรมก็อีกทางหนึ่ง ลงเอยถ้าศาลตัดสินว่าผิดจริงก็ต้องติดคุกติดตะราง ไปจนถึงโทษประหารให้ตายตกไปตามกัน

คดี 91 ศพ ในขณะนี้เริ่มมีความคืบหน้า ในทางกระบวนการสอบสวน

สำนวน ที่ส่งไปดองอยู่ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ส่งกลับมายังพนักงานสอบสวนท้องที่ โดยเริ่มที่ 13 ศพ ซึ่งพอจะสรุปได้ชัดว่าน่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

จากนี้พนักงานสอบสวนก็จะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนส่งขึ้นศาลไต่สวนต่อไป

ขณะที่คดีมีความชัดเจนขึ้น

มีเรื่องราวของหลักฐานสำคัญโผล่ออกมาให้ได้รับรู้กันอีก คือ การที่นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯและรัฐมนตรีมหาดไทย ออกมาทวงอาวุธปืนลูกซองจำนวน 3 พันกระบอก

บอกว่า ศอฉ.เรียกปืนจำนวนนี้ไปจากมหาดไทย เพื่อนำไปใช้ช่วงสลายม็อบแดง แต่จนบัดนี้ยังไม่ส่งกลับมา อพป. และ ชรบ. ไม่มีอาวุธปืนใช้

ขณะที่นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง ซึ่งเพิ่งได้รับกลับตำแหน่งหลังจากโดนย้ายไปก่อนหน้านี้ ได้เคยออกมาเปิดข้อมูลปืนลูกซอง 3 พันกระบอกนี้ก่อน เพราะปฏิเสธไม่ยอมส่งมอบให้ศอฉ.เลยเป็นเหตุผลหนึ่งที่ถูกเด้ง

ที่ไม่ยอมร่วมมือเพราะปืน สามารถเป็นอาวุธที่ใช้ฆ่าประชาชนที่ชุมนุมได้

นาย วงศ์ศักดิ์ยังได้เตือนกลับไปยังนายถวิล ว่าอย่าได้อ้างอิงการต่อสู้ของนายวงศ์ศักดิ์ที่เข้าพึ่ง ก.พ.ค.จนได้รับชัยชนะ เพราะกรณีของนายถวิลนั้นเป็นการถูกย้ายตามอำนาจของผู้บังคับบัญชาตาม พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งไม่เหมือนกัน

ลึกๆ แล้วนายวงศ์ศักดิ์คงต้องการจะบอกว่า เขาถูกย้ายเพราะไม่ร่วมมือกับ ศอฉ.ในเรื่องปืน

ส่วนนายถวิลนั้นมีบทบาทสำคัญอยู่ใน ศอฉ. ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง

เรื่องปืน 3 พันกระบอก ที่เอาไปใช้เหตุปราบม็อบแดง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมหาดไทยเท่านั้น ยังมีปืนของกองทัพอีก

ดูตัวเลขแล้วน่าขนลุก และต้องนึกถึงกฎแห่งกรรมจริงๆ

แต่ในด้านกระบวนการกฎหมาย

เท่ากับว่าปืน 3 พันกระบอกนี้ ถูกเก็บซ่อนหรือทำให้สูญหาย

ต้องตามคืนมาให้ได้ เพราะป็นของกลางสำคัญคดี 91 ศพ

เบื้องหลัง "ทักษิณ" นายกฯตัวจริง คอนเน็กชั่นพิเศษ "วัฒนา-อุกฤษ"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ


ภาพ:รอยเตอร์




ทั้งเกม-แผนปรองดอง ทุกวาระที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ล้วน เป็น "ราก" และข้อเสนอของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"

เบื้องหลังการขับเคลื่อน กระดานการเมืองทั้งในฝ่ายบริหาร-กระบวนการยุติธรรม-อัยการ-ตำรวจ ล้วนถูกเซตติ้ง เป็นระบบ

เบื้อง หลังการอนุมัติและปฏิบัติการแต่งตั้ง "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เดินตาม "แผน" ของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อความปรองดอง แห่งชาติ (คอป.) ก็มาจากการนำความตั้งใจของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ส่งผ่าน "วัฒนา เมืองสุข" ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อไทย ปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานในกระบวน การยุติธรรม และปฏิวัติกฎหมายทั้งหมด

จากนั้น "วัฒนา" นำความเห็นของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ส่งตรงถึง "กิตติพงษ์ กิตติยารักษ์" ในฐานะปลัดกระทรวงยุติธรรม มือทำงานใน คอป. จัดทำ "รายงานฉบับที่ 2" ส่งตรงถึงมือ "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

คำ สั่งอย่างไม่เป็นทางการของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ยังครอบคลุมให้อำนาจหน้าที่ของ "วัฒนา" สามารถดึงรัฐมนตรียุติธรรม-รัฐมนตรีมหาดไทย และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯที่กำกับดูแลงานด้านกิจการตำรวจ และรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้ามาประสานงานให้เกิดการ "ปรองดอง" ด้วย

วาระบรรยายเรื่อง "เส้นทางปรองดอง" ระดับนานาชาติและแนวปฏิบัติในประเทศไทย จึงเกิดขึ้นที่อาคารรัฐสภา มี "วัฒนา" เป็นผู้บรรยาย โดยมี "น.ส.ยิ่งลักษณ์" และคณะรัฐมนตรีจากเพื่อไทย "ถูกสั่ง" ให้เข้าร่วมวง

เบื้อง หลังการแต่งตั้ง นายอุกฤษ มงคลนาวิน ให้เป็นประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรม แห่งชาติ (คอ.นธ) นับเป็นอีก 1 แผนที่ขับเคลื่อนมาจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ+ วัฒนา" เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไก-สั่งการ-ส่งลูกให้คณะกรรมการชุด "ยงยุทธ" ปฏิบัติการปรองดองได้ราบรื่น

เบื้องหลังการเข้าประจำการที่บ้าน พิษณุโลกของ "คณะเนติบริกร" ทั้ง พงศ์เทพ เทพกาญจนา-นพดล ปัทมะ และ ภูมิธรรม เวชยชัย แต่ไม่ให้ "อำนาจ" และไม่ "แต่งตั้ง" ก็เป็นไปตามแผน "ใช้หนี้-ใช้งาน" ของเจ้าของพรรคเพื่อไทยตัวจริง

เบื้องหลังการ เคลื่อนที่เร็ว-ยึดญัตติ สาธารณะ-ยึดพื้นที่สื่อ ของคณะ "น.ส. ยิ่งลักษณ์" จึงมาจากสมองกลของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ที่สั่งการกลุ่ม "ม้าเร็ว-ม้าใช้" ในเครือข่ายบ้านเลขที่ 111+37 อดีตกรรมการบริหารพลังประชาชนทั้งแผง

แม้ เบื้องหลังการขับเคลื่อนการ "ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ของคณะ "นิติราษฎร์" จะ "บังเอิญ" สอดคล้องต้องกันกับข้อเสนอของ "นายจาตุรนต์ ฉายแสง" และข้อเสนอของพรรคเพื่อไทย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า แทบทุกมาตราล้วน "แตะสัมผัส" ความได้- เสียทางการเงิน-การเมืองของ "พ.ต.ท. ทักษิณ"

เบื้อง หลังชื่อ "วัฒนา เมืองสุข" คือคนเคยเป็นแคดิเดด รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" แต่เมื่อชื่อของเขาหลุดโผ คนใกล้ชิด "พ.ต.ท.ทักษิณ" อธิบายว่า "วัฒนามีภาพที่เป็นคนสนิทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชัดเจน หากให้เป็นรับมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ ก็จะถูกโยงมีผลประโยชน์ ทับซ้อนกับเจ้าของทุนสินค้าเกษตรยักษ์ใหญ่ หากให้เป็นรัฐมนตรีด้านความมั่นคง จะถูกครหาว่าตั้งใจช่วย พ.ต.ท. ทักษิณ โจ่งแจ้งเกินไป"

ตำแหน่งที่ลงตัวของ "วัฒนา" จึงเป็นคนเชื่อม-ตัวประสาน กับบุคคล ชั้นสูง-นายทหารในกองทัพ-ข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ด้วยคอนเนกชั่น พิเศษ ในนาม "ปราจีนบุรีคอนเน็กชั่น"

เกมใต้ดิน ของ "วัฒนา" จะถูกนำไปปฏิบัติบนดิน ด้วยคำสั่งของ "พ.ต.ท. ทักษิณ" ส่งตรงถึง "ครม.ยิ่งลักษณ์" ในห้องประชุมพรรคเพื่อไทย

การขับเคลื่อนรัฐบาล "น.ส.ยิ่งลักษณ์" จึงเป็นจังหวะก้าว จังหวะคิด ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ทุกวาระ

นอก จากการประชุมคณะรัฐมนตรี "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ทั้ง 35 คนแล้ว ยังต้องมีวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี "พ.ต.ท.ทักษิณ" ร่วมกับนักการเมืองจากบ้านเลขที่ 111 + อดีตกรรมการบริหารพลังประชาชน อดีตนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ "พี่น้องชินวัตร" ที่พรรคเพื่อไทย ทุกเช้าวันจันทร์ ผ่านโปรแกรมสไกป์

วาระเพื่อไทย ท้าชนกับทุกโครงสร้างอำนาจ ไม่เกรงหน้าอินทร์ หน้าพรหม เพราะ "พ.ต.ท.ทักษิณ" สั่งการว่า "เราชนะการเลือกตั้งเข้ามานั้นถือว่าประชาชนได้ให้โอกาสพรรคเพื่อไทย ได้เข้ามาทำงาน ไม่ต้องห่วงเรื่อง การต่อต้าน เพราะเป็นพวกหน้าเก่าเขย่ารัฐบาลตามวิถีทางที่พวกเขาชำนาญ"

นอก จากวาระ "สั่งการ" แล้ว "พ.ต.ท.ทักษิณ" ยังมีวาระให้การบ้าน รัฐมนตรีไปสานต่อนโยบายประชานิยม ที่เคยสร้างชื่อยุคไทยรักไทย โดยเฉพาะโครงการปล่อยกู้-ให้เงินในโครงการกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้เงินหมุนไปในระบบเศรษฐกิจ

จากนี้ไปอาจไม่มีอำนาจใด ขวาง เส้นทางอำนาจของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"

เบื้องหลัง "ทักษิณ" นายกฯตัวจริง คอนเน็กชั่นพิเศษ "วัฒนา-อุกฤษ"

ที่มา มติชน




ทั้งเกม-แผนปรองดอง ทุกวาระที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ล้วน เป็น "ราก" และข้อเสนอของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร"

เบื้องหลังการขับเคลื่อน กระดานการเมืองทั้งในฝ่ายบริหาร-กระบวนการยุติธรรม-อัยการ-ตำรวจ ล้วนถูกเซตติ้ง เป็นระบบ

เบื้อง หลังการอนุมัติและปฏิบัติการแต่งตั้ง "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เดินตาม "แผน" ของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อความปรองดอง แห่งชาติ (คอป.) ก็มาจากการนำความตั้งใจของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ส่งผ่าน "วัฒนา เมืองสุข" ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อไทย ปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานในกระบวน การยุติธรรม และปฏิวัติกฎหมายทั้งหมด

เบื้องหลังการแต่งตั้ง นายอุกฤษ มงคลนาวิน ให้เป็นประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรม แห่งชาติ (คอ.นธ) นับเป็นอีก 1 แผนที่ขับเคลื่อนมาจาก "พ.ต.ท.ทักษิณ+ วัฒนา"

เกมใต้ดิน ของ "วัฒนา" จะถูกนำไปปฏิบัติบนดิน ด้วยคำสั่งของ "พ.ต.ท. ทักษิณ" ส่งตรงถึง "ครม.ยิ่งลักษณ์" ในห้องประชุมพรรคเพื่อไทย

การขับเคลื่อนรัฐบาล "น.ส.ยิ่งลักษณ์" จึงเป็นจังหวะก้าว จังหวะคิด ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ทุกวาระ

เบื้องหลัง "ทักษิณ" นายกฯตัวจริง คอนเน็กชั่นพิเศษ "วัฒนา-อุกฤษ" มีที่ไป ที่มา

คลิกอ่านรายละเอียด

เปิด 4 สัญญากทม. ติดตั้งกล้อง"ซีซีทีวี-ดัมมี่"

ที่มา มติชน

ที่มา - ส่วน หนึ่งเอกสารสัญญาที่กรุงเทพมหานครลงนามว่าจ้าง 3 บริษัท คือบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด, บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด และกิจการค้าร่วม ทีเอ็นบี จำนวน 4 สัญญาเพื่อให้ติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (ซีซีทีวี) 2,046 ตัว และกล้องดัมมี่ 1,325 ตัว ในเขตต่างๆ ทั่ว กทม.

รายการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หรือซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์กล้องดัมมี่ จากสัญญาจ้างเหมา 4 โครงการ

1.โครงการ จ้างเหมาติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์ประกอบและการเชื่อมโยงสัญญาณไปยังสำนักงานเขตพระนคร และสำนักงานดุสิต จำนวนกล้องติดจริง 347 ตัว และจำนวนกล้องดัมมี่ 242 ตัว มีนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง โดยเงินงบกลาง รายการเงินสำรองทั่วไปกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในลักษณะหมวดรายจ่ายอื่น ลงนามสัญญาวันที่ 25 ธันวาคม 2550 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 23 เมษายน 2551 โดยมีนายรัฐพล มีธนาถาวร เป็นผู้ลงนามสัญญา และบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 106,900,000 บาท

2.โครงการ จ้างเหมาติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือซีซีทีวี รวมอุปกรณ์การทำงาน ในพื้นที่ 1 ได้แก่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ จตุจักร บางซื่อ ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง และคลองเตย จำนวนกล้องติดจริง 533 ตัว และจำนวนกล้องดัมมี่ 373 ตัว มีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปี 2549 ลงนามสัญญาวันที่ 2 กันยายน 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 ธันวาคม 2552 โดยมีนายจุมพล สำเภาพล เป็นผู้ลงนามสัญญา และบริษัท จีเนียส ทราฟฟิค ซีสเต็ม จำกัด เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 67,800,000 บาท




3.โครงการ จ้างเหมาติดตั้งกล้องวงจรปิด หรือซีซีทีวี รวมอุปกรณ์การทำงาน ในพื้นที่ 2 ได้แก่ สาทร บางรัก วัฒนา ยานนาวา บางคอแหลม บางนา คลองสาน ธนบุรี บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย บางพลัด จอมทอง ภาษีเจริญ หลักสี่ ลาดพร้าว สายไหม ดอนเมือง บางกะปิ วังทองหลาง สะพานสูง บึงกุ่ม สวนหลวง ประเวศ มีนบุรี ตลิ่งชัน บางบอน ทุ่งครุ และทวีวัฒนา คลองเตย จำนวนกล้องติดจริง 490 ตัว และจำนวนกล้องดัมมี่ 343 ตัว มีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปี 2549 ลงนามสัญญาวันที่ 7 กันยายน 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 6 ธันวาคม 2552 โดยมีนายจุมพล สำเภาพล เป็นผู้ลงนามสัญญา และบริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 66,240,000 บาท

4.โครงการจ้างเหมาติดตั้งกล้องโทรทัศน์ วงจรปิด หรือซีซีทีวี พร้อมอุปกรณ์การทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนกล้องจริง 676 ตัว จำนวนกล้องดัมมี่ 367 ตัว มีนายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ เป็นผู้อนุมัติจ้าง จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปี 2550 ลงนามสัญญาวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 15 เมษายน 2553 โดยมีนายวินัย ลิ่มสกุล เป็นผู้ลงนามสัญญา และกิจการค้าร่วม ทีเอ็นบี เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 86,664,069.85 บาท



หมายเหตุ รวมจำนวนกล้องจริง 2,046 ตัว และกล้องดัมมี่ 1,325 ตัว โดยโครงการที่ 1 และ 3 ได้มีการรื้อย้ายอุปกรณ์หุ้มกล้องดัมมี่ออกแล้วทั้งหมด เพื่อป้องกันการสับสนของประชาชน ส่วนโครงการที่ 2 และ 4 ได้มีการรื้อย้ายอุปกรณ์หุ้มกล้องดัมมี่ออกบางส่วน และมีคงเหลืออยู่ในพื้นที่โครงการประมาณ 500 ชุด เพื่อใช้ในการป้องปรามอาชญากรรมในพื้นที่ดังกล่าวจนกว่าจะมีการติดตั้งกล้อง จริง



นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้ว่าฯกทม.

"การ ติดตั้งกล้องดัมมี่นั้นยอมรับว่าดำเนินการจริง เพราะในช่วงต้นปี 2550 มีเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะนั้นมีกล้องวงจรปิดเพียงไม่กี่หลักร้อยเครื่องเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงกล้องจราจร ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเสนอแนวทางติดตั้งกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มมาตรการด้านความมั่นคง แต่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการติดตั้งกล้องวงจรปิดให้ครบถ้วนทุกจุดได้ จึงต้องออกสำรวจและติดตั้งกล่องเปล่า เพื่อกำหนดจุดติดตั้ง ก่อนดำเนินการติดตั้งกล้องจริงให้ครบถ้วนเมื่อมีงบประมาณ ซึ่งในส่วนของรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับงบประมาณหรือการจัดซื้อ เป็นเรื่องที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ต้องชี้แจง"

ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

ผู้ว่าฯกทม.

กทม.ได้ จัดซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิดแล้ว 2 รุ่น คือรุ่นแรก มีการจัดซื้อและดำเนินการติดตั้งหลังเหตุการณ์ระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ ปลายปี 2550 ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล 330 ล้านบาท สำหรับนโยบายในการจัดซื้อเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 และได้มีการจัดซื้อในเดือนพฤศจิกายน 2552 และได้มีการยกร่างประกวดราคา 4 ครั้ง ในปี 2550-2551 ซึ่งในร่างการประกวดราคาในการจัดซื้อกล้องรุ่นแรกนั้น ได้มีการกำหนดให้ซื้อกล้องดัมมี่ไว้ด้วย ส่วนการจัดซื้อครั้งที่ 2 จำนวน 10,000 ตัว มาจากการที่ได้ให้คำมั่นสัญญาสมัยหาเสียงเลือกตั้ง

"กล้อง รุ่นแรกมาจากเหตุฉุกเฉินที่รัฐบาลให้ กทม.ติดตั้งกล้องวงจรปิด ด้วยเงินงบประมาณที่จำกัดเพียง 330 ล้านบาท จึงได้มีการจัดซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิด 2,046 ตัว และมีกล้องดัมมี่ 1,325 ตัว เกินกว่าครึ่งของกล้องจริง เพราะขณะนั้นกล้องของจริงมีราคา 34,000-130,000 บาท ส่วนกล้องดัมมี่ราคา 2,500-2,700 บาท ในขณะนั้นกล้องดัมมี่ถือว่ามีประโยชน์ต่ออาชญากร เพราะทำให้เกรงกลัวการทำความผิด ประชาชนมีสิทธิที่จะคิดและวิพากษ์วิจารณ์ว่าการติดตั้งดัมมี่มีความสมควร หรือไม่ แต่ไม่อยากให้สรุปว่าเป็นการคอร์รัปชั่น เพราะกล้องดัมมี่อยู่ในแผนการจัดซื้ออยู่แล้วตั้งแต่แรก เรื่องกล้องดัมมี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะในต่างประเทศก็นิยมใช้กล้องดัมมี่ในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมเช่นกัน"

(มติชนรายวัน วันเสาร์ที่ 24 กันยายน 2554 หน้า2)


แนวประชานิยม เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ต่างที่ "โนว์ฮาว"

ที่มา มติชน




ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านหลังแรกในวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถยนต์คันแรกลดภาษี 100,000 บาท ภายใน 1 ปี

ยังอยู่ในกรอบแห่ง "เคนเนเซี่ยน" ของ จอห์น เมย์นาร์ด เคย์นส์

แม้ว่าโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในราคา 15,000 บาทต่อเกวียน พร้อมกับเงินที่ทุ่มลงไป 4.3 แสนล้านบาท เป้าหมายจะอยู่ที่ชาวนา

สะท้อนกลิ่นอายกระดูกสันหลังแห่งชาติ ซึ่งถูกทอดทิ้งมาอย่างยาวนาน

แต่ก็ยังอยู่ในหลักการแห่งการเข้าไปแสดงบทบาทของรัฐในจุดอันเหมาะสม ตามแนว ทางของ เคย์นส์

นั่นก็คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจโดย "รัฐ" เป็นกองหน้า

คล้าย กับโครงการบ้านหลังแรกและโครงการรถยนต์คันแรกจะกำหนดเป้าหมายอยู่ที่คนชั้น กลางในเมือง ขณะที่โครงการรับจำนำข้าวเปลือกจะกำหนดเป้าหมายไปยังชาวนาในชนบท แต่ทั้งหมดนี้ดำเนินไปภายในกรอบแห่งการสร้างกลไกให้เกิดการหมุนเวียนของทุน

เมื่อ เป็นบ้านหลังแรกย่อมอยู่ในกรอบแห่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเป็นรถยนต์คันแรกย่อมอยู่ในกรอบแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะที่เรื่องของชาวนาอยู่ในกรอบแห่งการ เกษตร

นี่คือ ดู-อัล แทร็ก กระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในเมืองและในชนบท



ถึง แม้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีคนเสื้อแดงเป็นรากฐานทางการเมือง แต่กรอบแห่งการกำหนดนโยบายก็ยังเป็นนโยบายประชานิยมภายใต้กระแสทุน

ยังมิได้เป็น "ลัทธิแดง" อย่างที่มีบางคนป่าวร้องเพื่อสร้างความหวาดกลัว

อย่าลืมเป็นอันขาดว่า ไม่ว่าคนเสื้อแดงจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าคนเสื้อแดงจากภาคเหนือ ไม่ว่าคนเสื้อแดงจากภาคกลาง

ล้วนเสพติดกับนโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทย

เป็น นโยบายประชานิยมอย่างที่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำไปขยายให้ อลังการใหญ่โตมากยิ่งขึ้น จาก 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นรักษาฟรี เป็นนโยบายประชานิยมอย่างที่พรรคภูมิใจนำไปประกาศเป็นของตนเอง

เพียงแต่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำ ชาวบ้านเขาไม่เชื่อ เพียงแต่เมื่อประกาศจากพรรคภูมิใจไทย ชาวบ้านเขาไม่ศรัทธา

อย่าได้แปลกใจหากคำขวัญที่นำเสนอใหม่คือ "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"

คำ ขวัญนี้ทำให้พรรคเพื่อไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง ได้รับเลือกมากถึง 265 ส.ส. กำชัยเหนือทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย และสามารถต่อยอดนโยบายจากพรรคไทยรักไทยมาถึงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทุกอย่างอยู่ในกรอบของประชานิยม ทุกอย่างดำเนินไปตามแนว จอห์น เมย์นาร์ด เคย์นส์



กระแสคัดค้านต่อต้าน ไม่ว่าจะมาจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะมาจาก ทีดีอาร์ไอ ไม่ว่าจะมาจากปัญญาชน นักวิชาการ ยังเป็นเหมือนเดิม

นั่นก็คือ เสมอเป็นเพียงการคัดค้านในเรื่องวิธีการ ในเรื่องกระบวนการ

มิได้เป็นการคัดค้านในเรื่องหลักการอันเป็นแก่นแท้ นั่นก็คือ มิได้เป็นการเอาแนวคิดตรงกันข้ามกับหลักการทุนเสรีไปคัดค้าน

ทีดีอาร์ไอก็คิดในกรอบของทุนนิยม พรรคประชาธิปัตย์ก็คิดในกรอบของทุนนิยม

ที่มีการหยิบยกเอาคำว่า "ลัทธิแดง" มาเป็นอุทานเสริมบทก็เสมอเป็นเพียงถนิมพิมพาภรณ์ สร้างอลังการแห่งวาทกรรมเท่านั้น

พรรคเพื่อไทย หรือแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังอยู่ในกรอบแห่งทุนเช่นเดียวกัน

เพียงแต่ความเก่งของพรรคเพื่อไทยก็คือ การสร้างสีสันให้กับทุนโดยการกระตุ้นทั้งระดับชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง

ทั้งในเมือง ทั้งในชนบท

แท้ จริงแล้ว โครงการจำนำข้าวเปลือกก็เท่ากับเป็นการแจกเงินให้ชาวนา เพียงแต่มีข้าวเปลือกมาเป็นสินทรัพย์เพื่อต่อยอด อันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงไปกับโครงการแจกเงินเฉยๆ ของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นี่คือความวิลิศมาหราอันเหนือกว่าของพรรคเพื่อไทยเมื่อเทียบกับของพรรคประชาธิปัตย์



มีความพยายามในการใส่สีตีไข่ วาดหัวต่อหาง นโยบายพรรคเพื่อไทยอย่างเจตนามากมาย

แต่ เมื่อกล่าวในเชิงเปรียบเทียบแล้ว นโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทยกับนโยบายประชานิยมของพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในกรอบใกล้เคียงและเหมือนๆ กัน

เพียงแต่ "โนว์ฮาว" ของพรรคเพื่อไทย อลังการและน่าเชื่อถือมากกว่าเท่านั้น

ตื่นได้แล้ว

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน
มันฯ มือเสือ



เป็นไปตามคาดกรณี "ทักษิณ" สไกป์เข้ามาร่วมประชุมรัฐมนตรีเพื่อไทยเมื่อวันพุธ

เป็นเหตุให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นน้องสาวต้องเหนื่อยกับคำถามที่ว่า ตกลงใครคือนายกฯ ตัวจริงกันแน่

แต่ จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทักษิณเสนอแนะต่อรัฐบาล ตามที่ปรากฏเป็นข่าวทางสื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับรายงานคล้ายคลึงกัน คือชี้แนะแนวทางทำงานด้านต่างๆ

ไม่ว่าการช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำท่วม นำโครงการเอสเอ็มแอล และกองทุนหมู่บ้านที่เคยประสบความสำเร็จกลับมาใช้โดยเพิ่มงบเข้าไป

เปิดโอกาสประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดความต้องการของตัวเองเพื่อให้แก้ไขปัญหาถูกจุด และทำให้เกิดการฟื้นฟูไปพร้อมกับการเยียวยา

ทั้ง ยังแนะนำเรื่องเมกะโปรเจ็กต์ อีกช่องทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นย้ำว่าโครงการใดทำเอาไว้แล้ว รัฐบาลและรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงต้องลุยต่อ

แต่ขอให้พิจารณาภาพรวมหรือแม็กโครก่อนว่าเป็นอย่างไร แล้วค่อยมาดูไมโครในรายละเอียดเพื่อประหยัดงบประมาณ

ส่วนโครงการใดที่ไม่เคยดำเนินการมาก่อนขอให้รอบคอบและระวังเรื่องทุจริต ถ้าเป็นไปได้ควรตั้งกรรมการมาศึกษาแต่ละโครงการให้ชัดก่อน

เช่นเดียวกับปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และปัญหาภาคใต้ ที่ผู้ปฏิบัติและรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบต้องเร่งดำเนินการด้วยความเข้มแข็ง

แต่ ที่ทักษิณเน้นย้ำกับรัฐมนตรีเพื่อไทย คือขอให้ทุกคนตั้งใจทำงาน ไม่ต้องห่วงเรื่องการต่อต้านที่เกิดขึ้นในระยะนี้เพราะเป็นพวก "หน้าเก่า" ทั้งนั้น

"พวกหน้าเก่ากำลังพยายามเขย่ารัฐบาลอย่างหนัก เพื่อหวังได้อำนาจกลับคืนไปอีกครั้งตามวิถีทางที่พวกเขาชำนาญและเคยทำมาแล้ว แต่ไม่ต้องไปห่วงถ้าเราเอาผลงานมาเป็นตัวตั้ง"

ทักษิณโชว์วิสัยทัศน์กลบรัศมีน้องสาวเสียสนิท

ทั้ง ยังสะท้อนไปถึงใครบางคนที่ยังมัวหลงเคลิ้มกับคำทำนายพระท่านว่า ให้รักษาเนื้อรักษาตัวให้ดี เพราะจะได้กลับมาเป็นนายกฯ อีกรอบ (ด้วยวิธีไหนไม่ได้บอก)

นักเล�นเกมตีรวนการเมืองไปวันๆ พอมาเจอกับนโยบาย "ทักษิณคิด ยิ่งลักษณ์ทำ" แบบนี้เข้าไป

ถ้ายังไม่รีบหาทางออกจากความฝัน กลับสู่โลกความเป็นจริงให้ได้ในเร็ววัน

เชื่อว่าอย่างเก่งก็เป็นได้แค่ "นายกฯ เงา" ไปตลอด

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 24/09/54 ลับ-ลวง-หลอก

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



ใช้มารยา สับปลับ ลับลวงหลอก
ไม่ต้องบอก ใครก็รู้ ดูก็เห็น
สารพัด หลอกลวงลับ จับประเด็น
สมกากเดน พวกชั่วช้า สุดสารเลว....


ยามพวกมัน เรืองอำนาจ ขาดสติ
มันอุตริ ฉุดเมืองไทย ให้ดิ่งเหว
ใช้เล่ห์กล ปนเหลวไหล สุมไปเปลว
เรียก"โคตรเลว" นั่นไพเราะ เหมาะสมดี....


กุเรื่องราว โป้ปด พูดมดเท็จ
หวังสำเร็จ สาดใส่ ไล่แต้มสี
ที่แท้คือ พวกจัญไร ใจอัปรีย์
หวังลับลวง บดขยี้ บี้แหลกลาญ....


ลับลวงหลอก จัดซื้อ ถือรวบรัด
ความจริงชัด ฉาวโฉ่ โชว์หลักฐาน
ทั้งจีที เรือเหาะ เพราะสันดาน
สร้างสามานย์ แบบระยำ กินคำโต....


ทำลับลวง เร้นลับ จับทักษิณ
แล้วพลิกลิ้น หยดย้อย อวดรอยโง่
พวกลับๆ ลวงหลอก บอกคุยโว
จึงเหม็นโฉ่ โชว์ต่อหน้า ประชาชน....


ลับลวง..กล้องดัมมี่ ซีซีทีวีหลอก
พอหางงอก กลับแก้ตัว มั่วอีกหน
มันสมแล้ว กับพรรคเปรต พวกเศษคน
เลวมากจน ไม่อยากเพียร เขียนบรรยาย....


๓ บลา / ๒๔ ก.ย.๕๔

ตามหา รมต.ดูแลสื่อ............ผู้หญิงคนนั้น

ที่มา blablabla



เห็นหายเฮด..เลยเฝ้าถาม..ติดตามหา
เลยเวลา..นั่งจุ้มปุ๊ก..เป็นสุขสันต์
เพราะตีนบวม..ส้มหล่นใส่..หรือไรกัน
ชักอัดอั้น..เหมือนสิ้นหวัง..พังทลาย.....

ค่าของคน..ผลของงาน..ควรขานรับ
ลองขยับ..เร่งรุด..สร้างจุดขาย
เอาเวลา..โยนทิ้งขว้าง..ช่างเสียดาย
คนมากมาย..เริ่มโห่ใส่.ไร้ผลงาน....

จัดระเบียบ..สื่อชั่ว..อย่ามัวช้า
แล้วเดินหน้า..รุกคืบ..ช่วยสืบสาน
อย่ามัวนั่ง..ซื่อบื้อ..ถือดักดาน
รองุ่นง่าน..สับสน..โดนรังแก....

ก็เห็นอยู่..จึงถามไถ่..ใช่ทับถม
สื่อโสมม..ยังตั้งท่า..มายุแหย่
หากไม่คิด..จะสนใจ..ใฝ่ดูแล
ยกธงแพ้..ลาออกซะ..อย่าอยู่เลย....

๓ บลา / ๒๓ ก.ย.๕๔

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 23/09/54 บททดสอบกำลังภายใน

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



พวกใคร-มัน นั้นหรือ คือคำตอบ
บททดสอบ ขุมกำลัง ใครยังเจ๋ง
คำฆ่าน้อง ฟ้องนาย ชายนักเลง
ใครอวดเบ่ง เผยออกมา ช้าอยู่ใย....


ต้องผูดขาด..อำนาจไว้ ได้ตามโผ
ต้องคอยโอ่ เร่งรัด คอยจัดให้
ต้องให้พี่ ให้เพื่อน เหมือนจงใจ
ระบบอุปถัมภ์ ค้ำไว้ ไม่รอรี....


คือสันดาน ทาสแท้ แก้ไม่หาย
สมเชิงชาย ตามคาด ขาดศักดิ์ศรี
แม้นปูมหลัง หมดจด สวยสดดี
แต่อัปรีย์ ยังแฝงร่าง อำพรางตัว....


ยุคกดขี่ ข่มเหง นักเลงถ่อย
สร้างด่างพร้อย ประจักษ์เด่น เห็นกันทั่ว
พวกคนดี กลับขี้ขลาด เพราะหวาดกลัว
ปล่อยคนชั่ว ยึดเรียบ เหยียบจมดิน....


บททดสอบ บทนี้ มีความหมาย
เริ่มออกลาย หางยาว ทำด่าวดิ้น
เพราะอำนาจ เสพสุข สนุกกิน
ต่างถวิล จดจ้อง ต้องได้มัน....


๓ บลา / ๒๓ ก.ย.๕๔

ภาระรับผิดของตัวกลาง: คำถามที่ต้องการความชัดเจน

ที่มา ประชาไท

ความเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารที่เราเห็นว่าอินเทอร์เน็ตเข้ามาเปลี่ยนแปลง โลกจนน่าตกใจนั้น ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในยุคของอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ช่วงปีคริสตศักราช 1440 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคโรงพิมพ์ (printing press) ก็นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โรงพิมพ์และสิ่งพิมพ์นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งด้านเทคโนโลยี, สังคม, ศาสนา, และเศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงนี้นำยุโรปออกจากยุคมืด ระดับความรู้หนังสือของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด นำมิติใหม่ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสิทธิมนุษยชนที่เพิ่มขึ้นสู่ประชากรยุโรป

พร้อมๆ กับคุณประโยชน์ของเสรีภาพในการสื่อสารที่เพิ่มขึ้น โทษของการสื่อสารทั้งในแง่ของรัฐที่กลัวคำวิจารณ์ หรือข้อเขียนที่ดูหมิ่นตัวบุคคลจนเกินเลยเสรีภาพก็เกิดขึ้นได้เสมอๆ กลไกการหาตัวผู้รับผิดชอบจึงพัฒนาขึ้นมาไล่ๆ กัน อย่างที่ทุกวันนี้เวลาที่เราอ่านหนังสือเราอาจจะสังเกตว่าหนังสือต้องมีชื่อ และสถานที่พิมพ์ พร้อมกับคนรับผิดชอบในการตรวจสอบข้อความนั้นๆ ไว้ก่อนเสมอ และเมื่อเกิดเหตุที่ข้อความใดๆ ในหนังสือมีปัญหาทางกฎหมาย ผู้รับผิดชอบนั้นๆ ก็อาจจะถูกดำเนินคดีหรือต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อหาตัวผู้ ประพันธ์มารับผิดต่อไป

ถ้าเรามองย้อนกลับไปเพียงไม่กี่ปี เราจะเห็นว่าอินเทอร์เน็ตกำลังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นอีก ครั้ง การสื่อสารที่มากขึ้นกำลังก่อให้เกิดการวิจารณ์ต่อเรื่องต่างๆ ในวงกว้าง การพูดคุยการตรวจสอบกำลังเกิดขึ้นทั่วไป

แต่ไม่มีสิ่งใดมีแต่ด้านดีเพียงด้านเดียว อินเทอร์เน็ตเองก็สร้างปัญหาจากเนื้อหาและข้อความขึ้นจำนวนมาก ข้อมูลให้ร้ายต่อกัน หรือการนำข้อมูลส่วนตัวมาเปิดเผยในที่สาธารณะสร้างความเสียหายต่อตัวบุคคล เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แม้แต่ในไทยเองที่ผู้ใช้ยังไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ

เรื่องเหล่านี้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อเรามีบริการใหม่ๆ ที่ใช้งานสะดวกขึ้นเช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) ที่ทุกอย่างเผยแพร่ไปเร็วกว่าเมื่อครั้งที่เราใช้เว็บบอร์ดหรืออีเมลเป็น หลักในอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตจึงไม่ควรเป็นดินแดนไร้กฎหมาย ไร้การควบคุมที่ทุกคนจะทำอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ เราทุกคนเองควรได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเพื่อไม่ให้ใครสามารถเข้ามาใส่ ร้าย หรือนำเรื่องส่วนตัวมาเปิดเผย

คำถามสำคัญที่เราควรคิดกันก็คือ ภายใต้ความควบคุมเหล่านั้น เราต้องการทำให้เกิดอะไรขึ้นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย? เราต้องการอินเทอร์เน็ตที่มีเพียงข้อมูลที่คัดกรองแล้วว่าดีงาม เราต้องการการจำกัดการแบบทันทีเช่นที่ทุกวันนี้เราใช้บริการ Twitter, WhatsApp, หรือ Facebook กันหรือไม่

สิ่งที่เราควรตระหนักคืออินเทอร์เน็ตไม่ใช่สิ่งพิมพ์ และผู้ให้บริการ หรือตัวกลาง (เช่น เว็บมาสเตอร์ Internet service provider: ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) ก็ไม่ใช่ผู้พิมพ์ แม้สุดท้ายแล้วเราต้องการให้มีการควบคุมอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ความคุ้มครอง กันและกันของประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต แต่การหาทางออกง่ายๆ โดยการหาใครสักคนมาเป็นผู้รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต เพียงเพราะว่า เป็นการยากที่ผู้รักษากฎหมายจะไปหาตัวผู้กระทำผิดตัวจริงมาลงโทษได้นั้นไม่ ใช่เรื่องที่ดีทั้งต่อผู้เสียหายและต่อสังคมโดยรวม

ธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตนับแต่วันที่มันถูกออกแบบมาคือการสื่อสารระหว่าง กัน (point-to-point) โดยไม่มีศูนย์กลาง (decentralised) ทุกวันนี้เราใช้ความสามารถเช่นนี้โดยเราไม่รู้ตัวเสมอๆ เช่น Skype นั้นสามารถต่อสายโทรศัพท์ระหว่างคนสองคนได้โดยที่ไม่มีข้อมูลเสียงที่เราคุย กับปลายทางถูกส่งไปยังบริษัท Skype เองเลย แต่ Skype มีเพียงหน้าที่นัดแนะให้ปลายทางทั้งสองมาเชื่อมต่อกันเท่านั้น

ส่วนบริการที่มีศูนย์กลางเช่น Facebook, Twitter, หรือ Gmail นั้นก็มักเป็นบริการที่สามารถขยายตัวตามผู้ใช้ได้อย่างแทบไม่มีขีดจำกัด ระบบที่ใหญ่ รองรับผู้ใช้จำนวนมหาศาลไม่ได้หมายถึงจะต้องมีพนักงานจำนวนมากแต่อย่างใด บริการเช่น Facebook นั้นมีพนักงานทำงานอยู่ประมาณ 2,000 คนเท่านั้น เมื่อเทียบกับผู้ใช้บริการประมาณ 750 ล้านคน และมีจำนวนข้อความถูกส่งเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์วันละ 60 ล้านข้อความ

ด้วยธรรมชาติเช่นนี้ของอินเทอร์เน็ต การคาดหวังให้ผู้ให้บริการใดๆ รับรู้ข้อมูลทุกอย่างในตัวข้อความหรือในตัวบุคคลที่เป็นผู้ส่งข้อความ ระหว่างกันจึงเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นว่าเราจะปฏิเสธบริการเช่นนี้ทั้งหมด แล้วมองอินเทอร์เน็ตให้กลายเป็นช่องทางการอ่านบทความของเว็บนิตยสารหรือ หนังสือพิมพ์โดยไม่สามารถให้ความเห็นใดๆ ในเว็บโดยตรงได้ แต่ต้องส่งอีเมลไปยังบรรณาธิการเพื่อคัดเลือกอีเมลมาตอบกันต่อไป

การเรียกร้องให้กฎหมายไม่คาดหวังให้ผู้ให้บริการต้องรับรู้ถึงข้อความทุก ข้อความ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ให้บริการต่างๆ จะไม่ต้องรับผิดชอบ จนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นพื้นที่ไร้กฎหมาย แต่กฎหมายที่ดีและเข้าใจธรรมชาติของอินเทอร์เน็ตไม่ควรเรียกร้องจากผู้ให้ บริการจนกระทั่งไม่สามารถให้บริการได้โดยไม่เสี่ยงต่อการถูกเอาผิด และจะทำให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้กระทำผิดตัวจริงเดือดร้อนไปด้วย

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่ใช้อยู่ในทุกวันนี้ ถูกเขียนขึ้นโดยมีข้อสันนิษฐานที่ค่อนข้างแปลกแยกจากธรรมชาติของการสื่อสาร ระหว่างกันในอินเทอร์เน็ต ดูเหมือนมันถูกเขียนขึ้นโดยความพยายามควบคุมอินเทอร์เน็ตอย่างสุดขั้ว และเขียนเพื่อหาใครสักคนมารับผิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้จนได้ เช่น การเขียนความผิดให้กว้างขวางที่สุด อย่างการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) มีโทษสูงสุดคือ จำคุกห้าปี

เป็นประเด็นถกเถียงว่า มาตรา 14 (1) ซึ่งมีการเขียนมูลความผิดอย่างกว้างขวางเช่นนี้ มีเจตนารมณ์ดั้งเดิมคือ เพื่อเล่นงานการปลอมตัวในอินเทอร์เน็ต (phishing) เท่านั้นหรือไม่

เมื่อมีการใช้คำที่ครอบคลุมการกระทำกว้างขวางเช่นนี้แล้ว ก็ทำให้เกิดการฟ้องร้องจำนวนมาก และซ้ำซ้อนกับฐานความผิดที่มีอยู่แล้วในกฎหมายฉบับอื่น เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท

หากจะตีความมาตรา 14 (1) อย่างตรงตัวแล้ว การเล่น April Fools (วันเมษาหน้าโง่) ในวันที่ 1 เมษายนของทุกปี นั้นอาจจะทำให้เว็บไซต์ระดับโลกอย่าง Google และ BBC, และอีกหลายสำนักข่าวต่างประเทศ ผิดกฎหมายไทย จนมีความผิดต้องโทษจำคุกสูงสุด 5 ปีตามมาตรา 14 (1) นี้กันไปหมด

แนวทางเช่นนี้ตามมาถึงมาตรา 15 ที่พูดถึงผู้ให้บริการที่ “จงใจสนับสนุนหรือยินยอม” ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 โดยไม่ระบุว่าการกระทำเช่นไรจึงจะเป็นการ “จงใจ” ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตตามบ้านอาจจะถูกลูกค้าส่งข้อมูลอันเป็นการกระทำ ความผิดต่อผู้อื่นเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นความจงใจได้หากเราปล่อยให้มีการตีความกันเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเป็นผู้เสียหายเสียเอง

ผู้ให้บริการนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้ให้บริการเว็บเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต, ผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์, ตลอดจนผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูล หากแต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปัจจุบันกลับไม่มีแนวทางชัดเจนว่าผู้ให้บริการแต่ละประเภทจะต้องทำอย่าง ไรจึงจะแสดงตัวว่า ไม่ได้จงใจสนับสนุนข้อมูลเหล่านี้ แต่เป็นเพียงการให้บริการตามปรกติวิสัย

การปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต ไม่ได้หมายถึงการยกเลิกการควบคุมทั้งหมด ไม่ได้หมายถึงอินเทอร์เน็ตที่จะไม่มีใครต้องรับผิดชอบอะไร หากแต่คือ การมีกฎระเบียบ ที่ทำให้ทุกคนรู้ถึงภาระรับผิดชอบของตัวเอง มีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน และตระหนักถึงความผิดหากไม่ทำตามความรับผิดชอบเหล่านั้น

ผมเชื่อว่า เราสามารถสนับสนุนให้มีกติกาที่ชัดเจนสำหรับผู้ให้บริการแต่ละประเภท โดยการออกกฎหมายลูก เพื่อจะได้มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับผู้ให้บริการแต่ละประเภทต่อไป

ยกตัวอย่างเช่นกระบวนการขอลบเนื้อหาออกจากเว็บ ที่ทุกวันนี้กลับไม่มีกระบวนการใดๆ บอกได้ หากเรามีกฎที่ลงรายละเอียดแยกตามประเภทผู้ให้บริการ เราอาจจะมีกฎที่ผู้ให้บริการเว็บจะต้องลบเนื้อหาที่พาดพิงต่อบุคคลในทางร้าย เมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้เสียหาย โดยจะต้องปิดการเข้าถึงในเวลาที่กำหนด ผู้ให้บริการอาจจะต้องส่งต่อข้อมูลติดต่อ (เช่นอีเมล) ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อมีการดำเนินคดี ฯลฯ รวมไปถึงเราอาจจะกำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีบริการค้นหาเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ถูกขโมยแล้วนำไปเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ หรือโทรศัพท์ที่ถูกขโมยแล้วได้รับการแจ้งหมายเลขประจำเครื่องเอาไว้ กติกาเช่นนี้สามารถช่วยลดความยุ่งยากในการดำเนินคดี และช่วยลดอาชญากรรมได้ แต่กลับไม่มีการระบุไว้ในหน้าที่ของผู้ให้บริการแต่อย่างใดในทุกวันนี้

ผู้ออกกฎหมายไม่ควรคิดแต่ว่า กฎหมายที่ออกไปนั้นช่วยทำให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ง่ายหรือไม่ แต่ยังควรมองในแง่การคุ้มครองผู้เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริการ ต้องมีช่องทางให้ผู้รับบริการอย่างสะดวกเมื่อผู้รับบริการต้องการ ตัวอย่างเช่น การกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแสดงจุดติดต่อ เช่น อีเมล หรือหมายเลขโทรศัพท์อย่างเป็นมาตรฐาน ผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์อาจจะต้องมีศูนย์แจ้งว่าหมายเลขไอพีใดควรติดต่อผู้ ดูแลได้ผ่านทางช่องทางใด หากถูกโจมตีจากหมายเลขไอพีใดๆ ผู้เสียหายควรมีช่องทางติดต่อกับผู้ให้บริการหมายเลขไอพีนั้นๆ เพื่อแจ้งการโจมตีและขอให้ปิดบริการได้

เมื่อเราถูกละเมิดเล็กๆ น้อยๆ แทนที่เราจะต้องไปขึ้นดำเนินคดีซึ่งบางครั้งไม่คุ้มค่ากับผู้เสียหายเอง หากผู้รับบริการสามารถติดต่อผู้ให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องตอบสนองต่อเรื่องร้องเรียนต่างๆ อย่างรวดเร็ว และสามารถแก้ไขต่อการละเมิดนั้นได้อาจจะเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายมากกว่า

หากเป็นการละเมิดตัวบุคคลอาจจะต้องปิดการเข้าถึงข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด หลังได้รับแจ้งแม้จะยังไม่มีการแจ้งความ หากเป็นกรณีที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นความผิดหรือไม่ เราอาจจะตั้งกฎให้ผู้ให้บริการต้องปิดการเข้าถึงเป็นช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่ ผู้เสียหายจะไปดำเนินคดีและอาศัยอำนาจเจ้าหน้าที่เพื่อขอให้ปิดการเข้าถึง หรือคงข้อมูลบันทึกการเข้าถึง (log) ของผู้ใช้นั้นๆ เอาไว้แม้การดำเนินการจะใช้เวลานานจนคำสั่งมาถึงเมื่อเลยเวลาที่กฎหมายกำหนด ไปแล้ว

ผมมีความเชื่อว่าเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งนำไปสู่การตรวจสอบ, การถกเถียง, และการวิจารณ์นั้น สามารถอยู่ร่วมกับการรับผิดชอบ และการคุ้มครองสิทธิของทุกคนในสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ เราสามารถสร้างกฎที่ไม่ทำให้เกิดความกลัวอย่างไม่จำเป็น แต่แก้ปัญหาและคุ้มครองเสรีภาพของประชาชน โดยยังเปิดพื้นที่ให้มีการพูดคุยและวิจารณ์อันเป็นส่วนสำคัญต่อสังคม ประชาธิปไตยได้หากเราออกแบบกฎอย่างดีพอ

* วสันต์ ลิ่วลมไพศาล หรือ "lewcpe" เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone ซึ่งนำเสนอสรุปข่าวด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก เว็บไซต์ดังกล่าวเปิดให้ผู้อ่านทุกคนสามารถร่วมเป็นผู้เขียนข่าวได้ด้วย วสันต์จบการศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายไร้สายแบบเมซ และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (ข้อมูลจากฐานข้อมูลวิจัยไทยและ Blognone)


ที่มา: http://thainetizen.org/node/2689

ถามหาความกล้าหาญของนักนิติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ไทย (อีกครั้งหนึ่ง)

ที่มา ประชาไท

ในกระแสของการสนับสนุนและคัดค้านกันอย่างหนักต่อแถลงการณ์ของคณะอาจารย์ นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ใช้ชื่อว่า “นิติราษฎร์”ที่แถลงเนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี ของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ว่าไม่ให้การรับรองการกระทำของคณะรัฐประหารและผู้ที่ใช้กฎหมายของคณะรัฐ ประหารไม่ว่าจะเป็นศาลหรือองค์กรอื่นใดว่ามีผลตามกฎหมาย พูดง่ายๆก็คือมีค่าเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นนั่นเอง

ผมในฐานะที่เคยเสนอแนวความคิดนี้มาตั้งแต่ภายหลังการรัฐประหารใหม่ๆ โดยได้เขียนบทความตีพิมพ์ในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2549 และมีการนำไปเผยแพร่กันอย่างกว้างขวางในหลายๆ สื่อ อาทิ ประชาไท เว็บไซต์เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย (Error! Hyperlink reference not valid. จึงอยากนำบทความดังกล่าวมาเสนอเพื่อถามหาความกล้าหาญของนักนิติศาสตร์และนัก รัฐศาสตร์ไทยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการสนับสนุนแถลงการณ์ของ “นิติราษฎร์”ครับ

0 0 0

เมื่อช่วงระยะเวลาที่ผ่านพ้นการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์กับการรัฐประหารที่ มาพร้อมกับการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรมาถึง หลาย ๆ คนเริ่มรู้สึกถึงความอึดอัดของการ ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพที่พึงมี ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารหรือสิทธิเสรีภาพ ในการชุมนุมทางการเมือง หลายๆคนหงุดหงิดกับการที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในรายการวิทยุ โทรทัศน์ หรือเว็บไซต์ที่ตนเองชื่นชอบเพราะต้องถูกปิดลงเพราะเหตุแห่งความ ”บ้าจี้”ของคนบางคน หลาย ๆ คนถามหาความถูกต้องความชอบธรรมว่า การใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลซึ่งเป็นวิธีการ ที่ผิดกฎหมายและฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง แล้วออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ตนเองว่าถูกต้องด้วย หลักนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์หรือไม่อย่างไร

นักวิชาการบางคนออกมาบอกว่า คณะรัฐประหารที่ใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลได้สำเร็จย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งหมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือองค์อธิปัตย์ (sovereign ) เพราะเป็นผู้ที่ใช้กำลังเข้ายึดครองอำนาจอธิปไตยได้สำเร็จ ทั้งๆที่มุมมองทางด้านรัฐศาสตร์นั้น นักรัฐศาสตร์ทั้งหลายต่างก็ยอมรับในลัทธิประชาธิปไตย (popular sovereign) ที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนหรือในอีกชื่อหนึ่งก็คือทฤษฎีสัญญาประชาคม (social contract theory)ที่มีรากฐานมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างรัฐ โดยที่ประชาชนตกลงยินยอมให้ผู้ปกครองใช้อำนาจอธิปไตยแทนตนตามเจตจำนงของ ประชาชน หากผู้ปกครองละเมิดเจตจำนงของประชาชน ประชาชนมีสิทธิถอดผู้ปกครองได้ตามวิถีทางประชาธิปไตย มิใช่การแย่งชิงอำนาจอธิปไตยไปจากประชาชนโดยการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจแล้วออก กฎหมายมาบังคับเอากับประชาชน

ในเรื่องของความชอบธรรมของคณะรัฐประหารนั้นแม้แต่องค์กรที่ใช้อำนาจ ตุลาการเองก็ตาม ในอดีตเมื่อมีการนำคดีเข้าสู่ศาล ก็ได้มีแนวบรรทัดฐานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ว่า เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจได้สำเร็จ ย่อมเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองหรือแม้กระทั่งองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติเองก็ตามก็ ยอมรับว่าประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารเป็นกฎหมาย เมื่อจะยกเลิกก็ต้อง ออกกฎหมายใหม่มายกเลิก สุดแล้วแต่ว่าประกาศหรือคำสั่งที่ออกมานั้นเป็นกฎหมายอยู่ใน ลำดับศักดิ์ใดก็ออกกฎหมายในลำดับศักดิ์ที่เท่ากันหรือสูงกว่ามายกเลิกประกาศ หรือคำสั่งนั้น

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นแนวคิดและความเชื่อของบรรดาเหล่านักนิติศาสตร์และ นักรัฐศาสตร์ไทยมาโดยตลอดว่าหากยึดอำนาจได้สำเร็จก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ไม่ต้อง รับโทษทัณฑ์ใดใด จึงเป็นเหตุให้เรามีการก่อการรัฐประหารทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว หลายสิบครั้งซึ่งมากที่สุดในโลกนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นต้นมา ทั้ง ๆ ที่ชื่อของประเทศไทยแปลว่า ประเทศแห่งความเป็นอิสระและเสรี แม้แต่พม่า เขมร ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ชิลี อาร์เจนตินา โคลัมเบีย ปารากวัย ซูดาน ซิมบับเว เซราลีโอนส์ ระวันดา คองโก ลิเบีย อิรัก อาฟกานิสถาน ปากีสถาน สุรินัม เนปาล ฯลฯ ที่ล้วนเคยแต่ตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าอาณานิคมทั้งหลาย แต่ประเทศเหล่านั้นก็ยังมีการรัฐประหารน้อยครั้งกว่าประเทศไทย

กลับมาทางมุมมองด้านนิติศาสตร์หรือกฎหมาย แน่นอนว่า การก่อการรัฐประหารนั้นเป็นการกระทำความผิดตามกฏหมาย โดยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ก็ระบุไว้ชัดว่าผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ (3) แบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครอง ในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตและมีอายุความที่จะนำเอาตัวผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้มา ฟ้องร้องดำเนินคดีถึงยี่สิบปี

แม้ว่าการก่อการรัฐประหารของไทยที่ผ่านมาทุกครั้งจะถือว่ารัฐธรรมนูญถูก ยกเลิกตามความเห็นของนักวิชาการทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ก็ตาม แต่เราลืมไปว่าประมวลกฎหมายอาญามิได้ถูกยกเลิกไปแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวก็ย่อมถือว่ามีความผิดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ว่าจะมีการออกกฎหมายมา นิรโทษกรรมก็ตาม ซึ่งก็หมายความว่าเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษไม่ได้หมายความว่าการกระทำ เช่นนั้นไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาก็คือว่าการออกกฎหมายมานิรโทษกรรมให้แก่ตนเอง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง จะถูกต้องหรือไม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความกล้าหาญของนักวิชาการทั้งทางด้านนิติศาสตร์และด้านรัฐ ศาสตร์ทั้งหลายที่จะเป็นผู้ให้ความเห็นหักล้างแนวบรรทัดฐานเดิมที่มีมาใน อดีต ซึ่งก็หมายความรวมไปถึงผู้ที่จะมีหน้าที่วินิจฉัยเมื่อมีการนำคดีขึ้นสู่ศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลยุติธรรมหรือศาลอื่นใดก็ตามหากจะมีผู้ฟ้องร้องเป็นคดีความ ขึ้นมา

จริงอยู่ความเชื่อที่ว่าคณะรัฐประหารคือรัฏฐาธิปัตย์ ประกาศหรือคำสั่งของ คณะรัฐประหารคือกฎหมายต้องปฏิบัติตามนั้นมีมาช้านาน แต่ก็มิได้หมายความว่า เราจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือแนวคิดนี้ไม่ได้ แม้แต่ความเชื่อที่เป็นวิทยาศาสตร์แท้ ๆ ยังมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด อาทิ การไม่จัดให้ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลอีกต่อไป โดยวิธีการเพียงเพราะการยกมือของนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในที่ประชุม แล้วนับประสาอะไรกับความเชื่อทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ด้านสังคม(social science)ที่อ่อนไหวและยืดหยุ่นกว่าวิทยาศาสตร์แท้ ๆ ( pure science ) จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

หากเราเปลี่ยนแนวคิดเสียใหม่ว่าการทำรัฐประหารไม่ว่าจะสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ ก็ตามเป็นการกระทำผิดกฎหมายที่ต้องได้รับโทษเสมอ ประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารไม่ถือว่าเป็นกฎหมายและกฎหมายนิรโทษกรรมที่ ออกให้เพื่อตนเองย่อมไม่มีผลบังคับใช้แล้วไซร้ ประเด็นของการถกเถียงว่าเราจะทำอย่างไรที่จะป้องกันมิให้มีการรัฐประหารเกิด ขึ้นอีกก็คงจะลดลงไป อย่างน้อยก็ประเด็นความชอบด้วยกฎหมายทางด้านนิติศาสตร์และประเด็นความชอบ ธรรมของสัญญาประชาคมหรือลัทธิประชาธิปไตยทางด้านรัฐศาสตร์นั่นเอง

ถึงเวลาแล้วที่นักนิติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ทั้งหลายจะต้องมีความกล้าหาญ ที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือความเชื่อที่เคยมีมาในอดีตแล้วสร้างบรรทัดฐาน ใหม่เสียให้ถูกต้อง โดยการไม่ยอมรับการรัฐประหารว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยหลักนิติศาสตร์หรือ รัฐศาสตร์ ไม่ว่า จะด้วยการอ้างเหตุผลใดใดเพื่อการทำรัฐประหารก็ตาม

หากเราสามารถทำได้เช่นนี้แล้วผู้ที่จะคิดทำรัฐประหารในคราว ต่อไปจะได้คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ จะได้ไม่ทำให้พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไทยที่สั่งสมมาเกือบร้อยปีต้องพัง ทลายลงครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้นดังเช่นที่ผ่านๆมาเสียที

เมื่อพระอ้างพระไตรปิฎก “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ”

ที่มา ประชาไท

พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ข้อความข้างบนนี้คือข้อความที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ที่พำนักของพระเกษม อาจิณฺณสีโล ผู้อ้างพระไตรปิฎกว่า “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ” ผมคิดว่าวิธีอ้างพระไตรปิฏกแบบ “อีเดียต” ของพระรูปนี้เป็น “กรณีศึกษา” ที่น่าสนใจ แต่โปรดเข้าใจว่า “อีเดียต” ในที่นี้ผมไม่ได้ใช้เป็นคำด่า แต่ใช้ในความหมายเชิงวิชาการที่หมายถึง การอ้างข้อความในพระไตรปิฎกโดยไม่วิเคราะห์เนื้อหาและบริบทเพื่อเป็น “คำตอบสำเร็จรูป” แก่ทุกเรื่องอย่าง (ที่ไม่รู้จะใช้คำไหนแทนดีจึงใช้) อีเดียต”

บังเอิญผมเพิ่งได้อ่านแง่คิดในการอ่านพระไตรปิฎกจากข้อเขียนของสมภาร พรมทา (วารสารปัญญา ฉบับที่ 12 กันยายน 2554) ซึ่งเข้ากันได้กับเรื่องนี้พอดี จึงขอ “เก็บความ” มาเล่าโดยย่อ ข้อเขียนดังกล่าวยกตัวอย่างเรื่องหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เขียนประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตอนหนึ่งว่าคืนที่ท่านบรรลุธรรมนั้นเกิดนิมิตมีพระพุทธเจ้าหลายองค์มาแสดง ความยินดี พระพุทธเจ้าแต่ละองค์มีพระอรหันต์เป็นบริวารจำนวนมากน้อยต่างกันตามบารมีที่ บำเพ็ญมาต่างกัน แถมมีพระอรหันต์ที่เป็นสามเณร อายุประมาณ 7- 8 ขวบ หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูมาในขบวนนั้นๆ ด้วย ความประทับใจในความน่ารักของสามเณรทำให้หลวงตาบัวถึงขนาดเขียนว่า “ถ้าเป็นเราคงอดไม่ได้ที่จะเข้าไปหยิกแก้มสามเณร แล้วค่อยขอขมาโทษทีหลัง”

อีกเรื่องเป็นประวัติของหลวงพ่อชา สุภัทโท ตอนวัยหนุ่มท่านต่อสู้กับ “ราคะ” ชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน ระหว่างเดินจงกรมอยู่กลางป่าตอนกลางคืน ปรากฏว่าท่านเกิดนิมิตเห็นอวัยวะเพศผู้หญิงลอยมาเวียนวนรบกวนสมาธิอยู่ตลอด เวลา จนทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ องคชาติแข็งตัวจนต้องถลกสบงเดินจงกรมสู้กับความรู้สึกทางกามารมณ์นั้นอย่าง เอาเป็นเอาตายอยู่ถึง 10 วันจึงเอาชนะได้เด็ดขาด (ปกติถ้าเราจะเกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อเห็นหรือจินตนาการภาพผู้หญิงเปลือยทั้ง ตัว ถ้าเห็นอวัยวะชิ้นใดชิ้นหนึ่งลอยมา เราน่าจะเผ่นป่าราบมากกว่า ไม่รู้ว่าคนเขียนประวัติหลวงพ่อชาทำไมถึงจินตนาการได้พิลึกพิลั่นขนาดนั้น)

อาจารย์สมภารแสดงความเห็นทำนองว่า ตัวอย่างที่ยกมานี้ เป็นการเขียนประวัติพระเกจิอาจารย์แนวโรแมนติก คือใส่จินตการเหนือจริงเข้าไป แม้ว่าผู้เขียนจะบอกว่าเขียนจากคำบอกเล่าของเจ้าของประวัติเองก็ตาม แต่ท่วงทำนอง ลีลาในการเขียน หรือการใส่สีตีไข่เพื่อให้เห็นความน่าอัศจรรย์ หรือเห็นความเพียรเป็นเลิศในการเอาชนะกิเลสของครูบาอาจารย์นั้นเป็นของผู้ เขียนเอง

ประเด็นคือ เราต้องเข้าใจว่า ประวัติของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ นั้น ไม่ใช่ตัวท่านเขียนเอง แต่เป็นลูกศิษย์ท่านเขียน ขนาดประวัติพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยเรายังเห็นความโรแมนติก หรือความเหนือจริงที่ถูกเติมแต่งโดยผู้เขียนเพื่อยกย่องหรือสร้างศรัทธาใน ครูอาจารย์ของตนขนาดนี้ เรื่องราวของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธกาลก็เช่นกัน ท่านไม่ได้เขียนประวัติของตัวท่านเอาไว้เอง เป็นเรื่องที่คนอื่นเขียนให้ท่านทั้งนั้น แม้แต่เนื้อหาคำสอนที่ถูกบันทึกเป็นพระไตรปิฎกทั้งหมดก็ถูกรวบรวมจัดหมวด หมู่ที่เรียกว่า “สังคายนา” หรือ edit โดยกลุ่มพระสาวกผู้เชี่ยวชาญที่ทำกันมาแล้วหลายครั้ง

จะเห็นว่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้าที่เราพบในพระไตรปิฎกมีอยู่สองแนวคือ แนวโรแมนติก (romantic) กับแนวสมจริง (realistic) ที่เป็นเช่นนี้เพราะพระสาวกมีสองประเภทคือพวก romanticists กับพวก realists และสองพวกนี้ก็ทรงจำและบันทึกเรื่องราวของพระพุทธเจ้าต่างกัน เราจึงได้เห็นภาพลักษณ์ของพระพุทธสองภาพที่แตกต่างกัน (ซึ่งต่างก็ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นแหละ) ภาพของพระพุทธเจ้าในพุทธประวัติแนวโรแมนติก คือภาพของ “อภิมนุษย์” ที่สง่างามสมบูรณ์แบบ มีลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ เกิดมาแล้วเดินได้ 7 ก้าวทันที มีอิทธิปาฎิหาริย์ต่างๆ เป็นสัพพัญญูรู้ทุกอย่างในจักรวาล ทำอะไรไม่เคยผิดพลาดล้มเหลว เป็นต้น แต่ภาพของพระพุทธเจ้าแนวสมจริง คือมนุษย์ธรรมดาเหมือนเรา ต่างจากเราเพียงเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากกิเลส ทว่าร่างกายบุคลิกภาพก็เหมือนคนธรรมดา มีความเจ็บป่วยแก่ชรา นั่งนานๆ ก็เหนื่อย บางครั้งต้องนั่งพิงเสาศาลาเวลาประชุมสงฆ์ บางครั้งก็สอนลูกศิษย์ให้เป็นพระที่ดีก็ไม่ได้ เช่นพระเทวทัต ลูกศิษย์บางคนก็หัวดื้อไม่เชื่อฟัง เช่นพระฉันนะอดีต “อำมาตย์คนสนิท” ของท่านเอง บางครั้งลูกศิษย์แตกเป็นสองก๊ก พระองค์ก็ไม่สามารถประสานให้เกิดความสามัคคีกันได้ เช่นภิกษุเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน เป็นต้น

สำหรับพวก realists เวลามองคำสอนของพระพุทธเจ้าเขาก็มองตามเป็นจริง ไม่คิดว่าทุกข้อความของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกจะเป็นสัจธรรมที่ตอบปัญหาได้ ทุกเรื่อง คือเขาแยกคำสอนของพระพุทธเจ้าออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นความจริงอันเป็นหลักการทั่วไปที่ไม่สัมพันธ์หรือขึ้นอยู่กับ บริบทใดบริบทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่นอริยสัจสี่ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ ฯลฯ กับส่วนที่เป็นความจริงที่สัมพันธ์หรือขึ้นต่อบริบทเฉพาะบางอย่าง ซึ่งบริบทเฉพาะนั้นอาจเป็นปัญหาของบุคคลที่พระพุทธเจ้าสอน หรือวัฒนธรรมทางสังคมในเวลานั้นก็ได้ หมายความว่าเวลาสอนคนเป็นรายบุคคล พระพุทธองค์จะใช้วิธีพูดแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นมีทุกข์หรือปัญหาเฉพาะตัวอย่างไร หรือมีภูมิหลังทางความเชื่ออย่างไร หรือเวลาสอนธรรมะทางการเมืองก็ดูบริบททางวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ เช่น คำสอนเรื่องทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรพระองค์ก็สอนเพื่อตอบสนองต่อปัญหาของระบบสังคมการเมืองแบบราชา ธิปไตย วัชชีธรรมหรืออปริหานิยธรรมก็สอนแก่สังคมการเมืองแบบสามัคคีธรรม หรือคณาธิปไตยในเวลานั้น เป็นต้น

เมื่อค้นดูข้อความในพระไตรปิฎกที่พระเกษมยกมาอ้างแล้วสรุปว่า “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ” นั้น จะเห็นว่า เป็นข้อความในกัณฑินชาดก (และเพิ่มเติมตัวอย่างในอินทริยชาดก) “ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง” (พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ข้อ 13 หน้า 5) ว่า “เราติเตียนบุรุษผู้มีลูกศรเป็นอาวุธ ผู้ยิงไปเต็มกำลัง เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ อนึ่ง สัตว์เหล่าใดตกอยู่ในอำนาจของหญิงทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้น บัณฑิตก็ติเตียนแล้วเหมือนกัน”

บริบทของการตรัสข้อความนี้คือ เกิดปัญหาว่าพระรูปหนึ่งจะสึกเพราะภรรยาเก่าลวงว่าจะไปแต่งงานกับคนอื่น การอยากจะสึกของพระรูปดังกล่าวนั้นตามค่านิยมของสังคมสงฆ์หมายถึงการตกอยู่ ใน “อำนาจ” (ในเรื่อง หมายถึงความติดใจในรสปลายจวักและในทางกามารมณ์) ของตรีซึ่งเป็นอุปสรรคต่อชีวิตพรหมจรรย์ของพระ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสข้อความในพระไตรปิฎกนั้นในบริบทของการสอนพระที่ตกอยู่ใน “อำนาจ” ของสตรีในความหมายดังกล่าวนั้น จนทำให้อยากสึกไป (โดยการสอนนั้นใช้วิธีเล่านิทานชาดกประกอบ ซึ่งการสอนด้วย “นิทาน” น่าจะเป็นที่นิยมในยุคนั้น)

แต่ข้อความว่า “เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ” เราอาจเข้าใจได้ว่า ข้อความนี้น่าจะเป็นการพูดถึงความจริงที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคมวัฒนธรรม ยุคนั้นที่หัวเมืองใดมีผู้หญิงเป็นผู้นำอาจทำให้อ่อนแอเนื่องจากเป็นยุคสมัย ที่ “ศึกชิงเมือง” เกิดได้ตลอดเวลา หรือเป็นยุคที่สังคมยังไม่ยอมรับบทบาทความเป็นผู้นำของสตรี ซึ่งเป็นไปได้ว่าพระพุทธเจ้าก็เห็นด้วยกับการไม่ยอมรับบทบาทเช่นนั้นด้วย

ทว่าการไม่ยอมรับบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีดังกล่าวนั้น เป็นเพียงค่านิยมร่วมสมัยในยุคหนึ่ง (ในยุคใกล้เคียงกับพุทธกาล เพลโตก็ถือว่าสตรีไม่ใช่เสรีชน) ไม่ใช่ “หลักการตายตัว” ของพุทธศาสนาที่ใช้ได้กับทุกยุคสมัย ฉะนั้น การที่พระเกษมอ้างคำพูดของพระพุทธเจ้า (ถ้าใช่?) ที่ว่า “เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ” เพื่อเป็น “คำตอบสำเร็จรูป” กับยุคปัจจุบันว่า “ผู้หญิงไม่ควรเป็นผู้นำประเทศ” จึงเป็นการอ้างแบบอีเดียต คือไม่รู้จักใช้สติปัญญาจำแนกแยกแยะว่า ข้อความดังกล่าวเป็นความจริงในบริบทของสังคมวัฒนธรรมยุคกว่าสองพันปีที่แล้ว ไม่ใช่ความจริงที่เป็นหลักการทั่วไปเหมือนความจริงของอริยสัจสี่ หรือไตรลักษณ์ที่ปรับใช้ (apply) ได้กับทุกยุคสมัย

ส่วนข้อความที่ว่า “สตรีผู้มีปัญญาทราม” ที่พระเกษมอ้างถึง แม้จะเป็นข้อความในพระไตรปิฎกจริง แต่ก็ไม่ใช่ข้อความที่พูดถึงธรรมชาติของความเป็นผู้หญิง หรือเป็นคำตัดสินค่าความเป็นเพศหญิง เพราะมีข้อความมากมายในพระไตรปิฎกที่ระบุว่า “บุรุษผู้มีปัญญาทราม” ซึ่งทั้งสองข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่พาดพิงถึงสตรีหรือบุรุษบางคนที่ แสดงออกถึงความมีคุณภาพทางปัญญาเช่นนั้น เช่น ข้อความว่า “พระอ้างพระไตรปิฎกแบบอีเดียต” ในที่นี้ก็หมายเฉพาะพระบางรูป ไม่ใช่พระทุกรูป เป็นต้น

หากย้อนไปดูข้อความโปรยต้นบทความจะเห็นว่า พระเกษมเชื่ออย่างสุดโต่ง (extreme) ว่าปัญหาทุกเรื่องหา “คำตอบสำเร็จรูป” ได้จากพระไตรปิฎก หรือสามารถอ้างพระไตรปิฎกมาตอบปัญหาในชีวิตและสังคมปัจจุบันได้ทุกเรื่อง นี่ก็เป็นความเชื่อแบบอีเดียตเช่นกัน เมื่อเชื่อแบบอีเดียตเช่นนี้จึงทำให้อ้างพระไตรปิฎกแบบอีเดียตดังกล่าวแล้ว

จะว่าไปวิธีคิด และทัศนคติที่มองคำถามท้าทายทางวิชาการเป็นคำด่า มองกัลยาณมิตรทางวิชาการเป็นตัวปัญหา และวิธีอ้างพระไตรปิฎกแบบอีเดียตดังกล่าว คือภาพสะท้อนปัญหาของระบบการศึกษา และวัฒนธรรมทางปัญญาของสังคมสงฆ์ที่ฝังรากลึกมานาน และยังมองไม่เห็นวิสัยทัศน์ของการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด!

น้ำท่วม...เป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัว

ที่มา ประชาไท

ใครว่าคนไทยเป็นคนใจกว้าง มีความโอบอ้อมอารี เอื่อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน ผมว่า...พูดผิดพูดใหม่ได้นะครับ เพราะกรณีน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือ เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์ไล่ลงมาจนถึงจังหวัดในภาคกลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาฯลฯ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของคนไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้

ตัวอย่างปัญหาน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เปลี่ยน จากสังคมของการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขไปเป็นสังคมของความเห็นแก่ตัวอย่าง สมบูรณ์ คนที่มีเงินหรือมีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าก็สามารถเอาเปรียบคนยากคนจน ได้(อย่างหน้าชื่นตาบาน) ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ

ตัวอย่างที่หนึ่ง การปล่อยปะละเลยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในภาคเหนือเพื่อปลูกพืช เศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด แสดงให้เห็นว่านักธุรกิจหรือผู้ที่มีอิทธิพลทั้งหลายไม่เคยสนใจเลยว่า การทำธุรกิจที่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบนั้นได้นำมาสู่การสูญเสียพื้นที่ ป่าไม้ที่ทำหน้าที่เป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศ พื้นที่ต้นน้ำเหล่านี้ทำหน้าที่ชะลอการไหลของน้ำในฤดูฝนและคลายน้ำที่อุ้ม ไว้ในฤดูแล้ง เมื่อนักธุรกิจไทยเลือกที่จะรุกรานพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกข้าวโพดทั้งที่รู้ ว่าเป็นการทำลายระบบนิเวศและเป็นต้นตอของปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของประเทศไทย ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของกลุ่มทุนเหล่านี้ทั้ง สิ้น หลังจากที่นักธุรกิจค้าข้าวโพดได้กอบโกยผลประโยชน์จากการทำลายระบบนิเวศใน พื้นที่ต้นน้ำ เป็นที่พอใจแล้วก็แสดงความใจแคบโดยการทิ้งปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้คนยากคนจน ในชนบทในภาคกลาง

ตัวอย่างที่สอง น้ำเป็นทรัพยากรที่ไม่สามารถบริหารจัดการอย่างง่ายๆ ไม่งั้นคนเขาไม่เสียเวลาห้าปีแปดปีเพื่อร่ำเรียนวิชาชลศาสตร์หรือวิศวกรน้ำ หรอกครับ แต่การแก้ปัญหาน้ำท่วมในปัจจุบันกลับอาศัยความมักง่ายโดยการมอบให้ผู้ว่า ราชการจังหวัดต่างๆ รับผิดชอบการแก้ปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดของตน เช่น การสร้างทำนบกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมพื้นที่ในจังหวัดของตนเอง แต่เคยคิดหรือไม่ว่าน้ำจำนวนนั้นจะถูกผลักออกไปท่วมจังหวัดอื่นๆ ถัดไปอย่างไรบ้าง ดังนั้น การป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่ดำเนินกันมาแบบว่าพื้นที่ใดมีเงินมากก็สร้าง เขื่อนให้สูงกว่าเพื่อผลักน้ำให้ไปท่วมพื้นที่อื่นหรือจังหวัดอื่นแทน ถ้าคนไทยยังแก้ปัญหากันแบบนี้ ผมก็คิดว่าเป็นการทำงานที่เห็นแก่ตัวสิ้นดี และเป็นการแก้ปัญหาแบบมักง่าย

ตัวอย่างที่สาม การพัฒนาตัวเมืองต่างๆ ผู้คนหวังแต่จะกอบโกยประโยชน์ใส่ตนเองโดยไม่แยแสต่อส่วนรวม ในการพัฒนาเมืองพบว่า ทางไหลของน้ำเดิม เช่น ลำคลอง ลำห้วย ลำธารต่างๆ ที่เป็นทางระบายน้ำในฤดูฝนก็ถูกถมไปหมดเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กอบโกยเงินโดยการถมทางน้ำสาธารณะเพื่อทำหมู่ บ้านจัดสรร เจ้าหน้าที่ของรัฐพอได้รับเงินค่าน้ำร้อนน้ำชาแล้วก็ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ สร้างถนนต่างๆ ก็ยกระดับให้สูงซะจนน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ พื้นที่เขตธุรกิจหรือเขตอุตสาหกรรมก็สร้างทำนบกันน้ำไม่ให้ท่วมพื้นที่ของตน โดยให้คนยากคนจนในพื้นที่เกษตรกรรมต้องรับชะตากรรมกับปัญหาน้ำท่วมน้ำหลาก แทน การขยายตัวของพื้นที่เมืองในลักษณะเช่นนี้นอกจากไม่นำไปสู่การพัฒนาที่ ยั่งยืนแล้วช่างสะท้อนความด้อยพัฒนาคนอีกด้วย

ตัวอย่างที่สี่ เกิดเป็นคนกรุงเทพนี้ช่างวิเศษเสียจริงๆ กี่ปีต่อกี่ปีที่ประเทศไทยมีปัญหาน้ำท่วมสูงถึงหลังคาบ้าน ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายมากมาย ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านที่ซื้อหามาด้วยเงินทองที่แสนจะหายากก็ถูกน้ำพัดพา อันตรธานไปหมด แต่คนกรุงเทพยังคงใช้ชีวิตปกติ ว่างจากงานก็ช้อปปิ้ง ดูหนัง ฟังเพลง ทำสิ่งที่ตนเองสนใจ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาน้ำท่วมเลย การที่คนกรุงเทพฯ ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมเป็นเพราะคนกรุงเทพฯ มีเอกสิทธิ์และมีสตางค์มากพอทีจะสร้างแนวกันน้ำสองริมฝั่งแม่น้ำและปิดประตู กันน้ำทุกจุดเพื่อ ป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าเขตกรุงเทพฯ เมื่อน้ำจำนวนนี้ไม่สามารถไหลเข้าพื้นที่กรุงเทพได้ มันก็ต้องไหลไปท่วมพื้นที่ข้างเคียงแทน อย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำอย่างเห็นแก่ตัวก็ไม่รู้ว่าจะ เรียกอะไรแล้วครับ ถามว่า...คนรวยในกรุงเทพฯเคยมีจิตใจที่คิดจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ เพื่อนำเงินรายได้ของชาวกรุงเทพฯไปชดเชยประชาชนในพื้นที่ข้างเคียงที่ ต้องอยู่ใต้น้ำแทนคนกรุงเทพหรือไม่...ไม่เคยและไม่คิดจะทำด้วย อย่างนี้ไม่เรียกว่าเอาเปรียบ ใจแคบ เห็นแก่ตัวก็ไม่รู้ว่าจะเรียกอะไรแล้ว

นอกจากจะมีเล่ห์เหลี่ยมในการเอาเปรียบพื้นที่รอบๆ แล้ว คนกรุงเทพฯ ก็ยังยกภาระการจ่ายค่าชดเชยทั้งหมดไปให้รัฐบาลกลางแทน อย่าลืมนะครับว่าเงินของรัฐบาลที่นำมาจ่ายเป็นค่าชดเชยน้ำท่วมก็คือเงินของ ประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง เมื่อรัฐบาลนำเงินจำนวนนี้มาจ่ายเป็นค่าชดเชยน้ำท่วมเสียแล้ว เงินที่จะนำมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศให้กับประชาชนในชนบทในอนาคต ก็ต้องถูกตัดทอนลงไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คนกรุงเทพฯ ไม่ยอมรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ แต่โยนภาระทั้งหมดให้คนจนในชนบทที่ต้องใช้เงินของตัวเองมาชดเชยให้ตัวเองจาก ปัญหาน้ำท่วม การทำแบบนี้เป็นวิธีการทางการคลังสาธารณะที่แยบยลมาก ผมเองไม่คิดเลยว่าคนไทยด้วยกันจะกล้าทำกันขนาดนี้

สรุปความได้ว่า การบริหารจัดการน้ำท่วมของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นเพียงการแก้ปัญหาแบบตัว ใครตัวมัน ใครมีเงินมากกว่า มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่า เช่น ชาวกรุงเทพมหานคร หรือคนในเขตเมืองใหญ่ๆ ก็ใช้อิทธิพลของตัวเองสร้างสิ่งปลูกสร้างที่แข็งแรงกว่าเพื่อผลักน้ำให้ไป ท่วมพื้นที่รอบนอกแทน ทำให้พื้นที่อื่นๆ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่แล้วต้องอยู่ใต้น้ำนานขึ้นและ/หรือเผชิญกับ ระดับน้ำที่สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น การกระทำอย่างนี้ไม่เรียกว่าเอาเปรียบ เห็นแก่ตัว มักง่ายก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไรแล้วครับ.

เปิดรายงานกรรมการสิทธิฯ ชะตากรรมชาวบ้านแหง! ใต้อุ้งมือนักการเมือง

ที่มา ประชาไท

รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา หนึ่งในนโยบายรัฐบาล “ปู 1” แถลงคือ การเร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งถูกบรรจุอยู่ใน นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม

ในขณะที่หน่วยงานโดยตรงที่รับผิดชอบโดยตรงในการทำเหมืองแร่ อย่างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้เปิดแผนยุทธศาสตร์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประจำปีงบประมาณ 2554-2557 พร้อมทั้ง มอบรางวัล “เหมืองแร่สีเขียว” ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม กว่า 42 เจ้าของธุรกิจแร่

ทั้งแผนยุทธศาสตร์ และ โครงการเหมืองแร่สีเขียว ทีชูขึ้นเป็น แผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ แบบ “ฉบับปิดตาข้างเดียว” แทบไม่เอ่ยถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่มีเกือบ 50 พื้นที่ทั่วประเทศ ตรงกันข้ามกลับถูกยกเป็นประเด็นนำเสนอในแผนพัฒนาดังกล่าว ที่ระบุว่า เป็นปัจจัยที่เป็น”อุปสรรค” ต่อการดำเนินงาน เพราะมองว่า “บทบาทของเองค์กรพัฒนาเอกชน ในการคัดค้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ส่งผลกระทบต่อบทบาทของกรมในการบริหารจัดการแร่ภายในประเทศ”

ใน “สายตา” ของรัฐ จึงไม่มีพื้นที่ไว้สำหรับชาวบ้าน ไม่ได้ยินเสียงร้องของผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในแต่ละพื้นที่ในการทำ เหมืองแร่ ตั้งแต่การติดกระดุมเม็ดแรก อย่างการเริ่มต้นขอประทานบัตรที่สร้างความขัดแย้งของคนในชุมชน ความเดือดร้อนจากผลกระทบที่อยู่ระหว่างการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือ หลังจากเลิกกิจการแล้วทิ้ง “ซาก” อุตสาหกรรรมอันตราย เอาไว้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ดูต่างหน้า

ทรัพยากรแร่ที่ควรจะเป็นของ “ประชาชน”ทุกคน กลับถูกใช้วาทกรรมว่าเป็นของ “รัฐ” ที่พร้อม จะเสนอให้นักธุรกิจการเมือง และนายทุนข้ามชาติได้ตลอดเวลา

เปิดผลสอบอนุกรรมการสิทธิ

มีรายงานว่า คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ได้เสนอผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีคัดค้านการเปิดกิจการเหมืองแร่ลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง ภายหลังจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องที่ 533/2551 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ที่ระบุว่ากลุ่มนายทุนได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินทำกินของชาวบ้าน บริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 7 ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนกว่า 1,000 ไร่

โดยกลุ่มนายทุนได้เสนอซื้อในราคาที่ถูก โดยอ้างว่าที่ดินทำกินดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่จับจองทำกินไม่มีเอกสารสิทธิ ใด ๆ หากไม่ขายให้ก็จะถูกข่มขู่ จึงจำใจต้องขายไป ทั้ง ๆ ที่พื้นที่ทำกินดังกล่าวได้ใช้ทำกินมาหลายชั่วอายุคนแล้ว

ทั้งนี้จากการตรวจสอบของอนุกรรมการฯ ดังกล่าว พบว่า มีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องในกรณีการอนุญาตให้สัมปทานสำรวจและทำ เหมืองแร่ถ่านหินบ้านแหงเหนือ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด โดยมีลำดับเหตุการณ์สำคัญ ตามข้อมูลในรายงานดังกล่าวดังนี้คือ

2 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการ พัฒนาแหล่งถ่านหิน 4 ฉบับ คือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 วันที่ 5 มิถุนายน 2533 วันที่ 10 มีนาคม 2535 และวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขต สำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)

ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ต่อไป

10 มิถุนายน 2551 บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้ทำการจดทะเบียน ประเภทบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท วัตถุประสงค์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้คือประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า ซึ่งประธานบริษัท คือ นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค อดีตอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นผู้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนาย มานิต นพอมรบดี ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน “นายเรืองศักดิ์” เป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยคนที่หนึ่ง ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดกับอดีตนักการเมืองที่เป็นสามีของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รมต.ทส. ที่ออกประกาศกระทรวงฯ “ปลดล็อค” มาตรา 6 ทวิ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 เพื่อนำแหล่งแร่ถ่านหิน 8 พื้นที่ ไปเปิดประมูลให้เอกชน

17 มิถุนายน 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา แหล่งถ่านหินรวม 4 มติ คือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2531 (เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2531 ครั้งที่ 11) วันที่ 5 มิถุนายน 2533 (เรื่อง ผลการสำรวจถ่านหินแอ่งงาว แจ้ห่ม-เมืองปาน เชียงม่วนและเสริมงาม) วันที่ 10 มีนาคม 2535 (เรื่อง การพัฒนาถ่านหินแอ่งเวียงแหง) และวันที่ 25 กันยายน 2544 [เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2544 (ครั้งที่ 85)] โดยยังคงสงวนพื้นที่แหล่งแร่ถ่านหินแอ่งเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และแอ่งสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพัฒนาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป เพื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขต สำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหิน (ลิกไนต์)

ตามความในมาตรา 6 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป และจะได้นำพื้นที่แหล่งถ่านหินในเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ 8 พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินมาใช้ ประโยชน์เป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานของประเทศ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอต่อไป

20 มิถุนายน 2551 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมต.อนงค์วรรณ เทพสุทิน) ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 เนื่องด้วยบัดนี้ทางราชการได้ดำเนินการสำรวจแร่ในพื้นที่ดังกล่าวบางส่วน เสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่อีกต่อไป จึงประกาศให้ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ในท้องที่ต่าง ๆ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2531 ดังต่อไปนี้

  1. เขตท้องที่อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา และอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เนื้อที่ 673 ตารางกิโลเมตร
  2. เขตท้องที่อำเภอเชียงคำ และอำเภอปง จังหวัดพะเยา เนื้อที่ 529 ตารางกิโลเมตร
  3. เขตท้องที่อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ 182 ตารางกิโลเมตร
  4. เขตท้องที่อำเภองาว เนื้อที่ 195 ตารางกิโลเมตร
  5. เขตท้องที่อำเภอวังเหนือ และอำเภอแจ้ห่ม เนื้อที่ 332 ตารางกิโลเมตร
  6. เขตท้องที่กิ่งอำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอเมืองลำปาง เนื้อที่ 500 ตารางกิโลเมตร
  7. เขตท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอแม่ทะ และอำเภอเกาะคา เนื้อที่ 783 ตารางกิโลเมตร
  8. เขตท้องที่อำเภอห้างฉัตร อำเภอเกาะคา และอำเภอเสริมงาม เนื้อที่ 205 ตารางกิโลเมตร

24 มิถุนายน 2551 หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2551 แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ตามที่ รมต.ทส. เสนอ

ทั้งนี้ในรายงานดังกล่าว ได้ตั้งข้อสังเกตที่สำคัญว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 แต่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่ 0505/9287 แจ้งมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2551 จึงมีข้อสงสัยว่า รมต.ทส. ได้ทำการประกาศกระทรวงฯ เรื่องยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ก่อนที่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึง รมต.ทส. ได้อย่างไร

คณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนฯ มีความเห็นว่าการเร่งรีบออกประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าว ของ รมต.ทส. ก่อนหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะมาถึงเป็นการกระทำที่เอื้อ ประโยชน์ให้กับพวกพ้อง

คนเหนือรำลึก 5 ปีรัฐประหาร 19 ก.ย.

ที่มา ประชาไท

คนเหนือร่วมสัปดาห์รำลึก 5 ปี รัฐประหาร 19 ก.ย. เสื้อแดง “เชียงใหม่-ลำพูน” แรลลี่รณรงค์ประชาธิปไตย ด้านภาควิชาการจัดเสวนา "5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่" ชี้จะปฎิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ผู้มีบทบาททางการเมือง เช่น พรรคการเมือง ฝ่าย บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ภาคประชาชน
เสื้อแดงเชียงใหม่แรลลี่รณรงค์ประชาธิปไตย
ด้านภาควิชาการจัดเสวนา "5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่"
เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 54 กลุ่ม นปช.นครหริภุญไชยและกลุ่มสมาพันธ์ประชาธิปไตยเขตเหนือ(แดงลำพูน) ประมาณ 50 คน ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรที่วัดสันป่ายางหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน จากนั้นได้ จัดการแรลลีรถจักรยานยนต์และรถยนต์กว่า 20 คันเป็นริ้วขบวนจาก ต.เหมืองง่า ไปตามถนนสายลำพูน-เชียงใหม่ สิ้นสุดที่ ต.อุโมงค์ แล้ววกกลับมาที่อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ต.ในเมือง อ.เมือง เพื่อร่วมแถลงการณ์ นปช.แดงนครหริภุญชัย
ทั้งนี้แกนนำกลุ่มแดงลำพูนเปิดเผยว่าการออกมาเคลื่อนไหวในกิจกรรมวัน ครอบรอบ 5 ปีรัฐประหารในวันนี้ นับเป็นการเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์เพื่อให้เห็นว่า ถึงแม้พรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่คนเสื้อแดงลำพูนจะยังเดินทางต่อสู้กับการปฏิวัติรัฐประหารและชัยชนะที่ แท้จริง ซึ่งกิจกรรมต่อไปคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ(รธน.)ปี 2550 ที่ได้มาจากการปฏิวัติเพื่อคืนความเป็นธรรมให้กับสังคมได้ในที่สุด
นอกจากนี้ยังมีการประกาศแถลงการณ์จากกลุ่มคนเสื้อแดงลำพูน ประณามการยึดอำนาจที่ผ่านมาซึ่งทำให้เมืองไทยถอยหลัง หยุดการพัฒนาประเทศ ส่งผลกระทบถึงเพื่อนบ้านต่างประเทศ ทำให้ประชาชนและบ้านเมืองที่ผ่านมาเสียโอกาส รวมทั้งการถูกทหารยึดอำนาจด้วยรถถังทำให้ปี 2553 ต้องสูญเสียคนตายไปแล้ว 91 ศพ เจ็บกว่า 200 คน สูญหายอีกจำนวนหนึ่งไปกับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อวันที่ 10 เม.ย. และ 19 พ.ค.
วันเดียวกันที่ จ. เชียงใหม่ ที่โรงแรมวโรรสแกรนด์พาเลซ ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 จำนวนมากรวมตัวกันบริเวณหน้าโรงแรมเพื่อร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกและต่อต้าน รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 โดยมีการรับประทานอาหารร่วมกัน จากนั้นเวลาประมาณ 13.00 น. กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 พร้อมด้วยกลุ่มคนเสื้อแดงจากจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือได้จัดขบวนแห่ โดยมีรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถเครื่องขยายเสียงและรถสองแถวแดงความยาวร่วม 500 เมตร เคลื่อนตัวออกจากหน้าโรงแรมวโรรสแกรนด์พาเลซไปยังหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ผ่านประตูช้างเผือก มุ่งหน้าไปยังตลาดวโรรส และไปทำกิจกรรมที่ลานอเนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ ก่อนเคลื่อนขบวนไปตามจุดต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งตลอดเส้นทางมีประชาชนถือธงสีแดงออกมาโบกต้อนรับอย่างคึกคัก แล้วขบวนจึงกลับไปรวมตัวกันที่หน้าโรงแรม โดยในช่วงค่ำมีการปราศรัยบนเวทีหัวข้อ “ปิดฉากเผด็จการ 19 กันยา” โดยมีแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ขึ้นปราศรัย และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ผู้ช่วยเลขานุการัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ขึ้นปราศรัยด้วย
เสวนา " 5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่"
สำนักข่าวประชาธรรมรายงาน ว่าเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 54 คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ และสำนักข่าวประชาธรรม จัดเสวนา "5 ปีรัฐประหาร และการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่" ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีวิทยากรในการเสวนาได้แก่ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ศรีวรรณ จันทร์ผง แกนนำนปช.เชียงใหม่, ภัควดี ไม่มีนามสกุล นักเขียน นักแปลอิสระ, ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สมชาย ปรีชาศิลปะกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ณัฐกร วิทตานนท์ สำนักนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมี ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นพิธีกรดำเนินการเสวนา
.............................
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ กล่าวว่า ผลสรุปของ 5 ปีรัฐประหาร อยากชวนมองให้เป็นกระบวนการ เกิดอะไรขึ้นในบ้านเรา ในวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการต่อสู้เพื่อเคลื่อนเข้าสู่สังคมประชาธิปไตย ในการต่อสู้ที่ผ่านๆมามันมีปัญหาอยู่ตรงไหนที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรม คนส่วนมากจะมองไปที่มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ในฐานะนักประวัติศาสตร์นั้น ถ้ามองอะไรที่ยาวไกลมากไปอาจจะทำให้ไม่เข้าใจปัจจุบัน ฉะนั้นการมองไปที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นไกลไป แน่นอนว่านักประวัติศาสตร์ไม่สามารถมองข้ามประเด็นนี้ได้ แต่คิดว่ามรดกที่ตกทอดที่ใกล้กว่านั้นและทำให้เป็นปัญหาจนถึงทุกวันนี้ คือ การจัดความสัมพันธ์ใหม่ในสมัยพล.เอกเปรม สภาวะหลังปี 2516 ระบบอำนาจเด็ดขาดมันอยู่ไม่ได้ จึงเกิดประชาธิปไตยแบบครึ่งใบขึ้นมา มีระบบการเลือกตั้งขึ้นมา แต่อำนาจสูงสุดยังอยู่ในมือของพล.เอกเปรม (ภาคราชการ) อำนาจในสมัยเปรมเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามาแบบครึ่งๆ
การเมืองประชาธิปไตยครึ่งใบของเปรมถือว่ายังมีความชอบธรรมไม่มากนัก จึงใช้วิธีการเดียวกับสฤษดิ์ คือ เข้าไปแอบอิงกับสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นกระบวนนี้น่าสนใจคือ เกิดการสถาปนาอำนาจแบบใหม่ขึ้นมา มีการรักษาระบบราชการกึ่งเลือกตั้ง โดยใช้อำนาจนอกระบบเป็นครั้งคราว สิ่งนี้เป็นผลตกทอดสมัยพล.เอกเปรมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกิดประมาณปี 2520
การเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยในสมัยพลเอกเปรม เป็นผลมาจากการปรับตัวของชนชั้นนำระหว่างปี 2516-2519 เป็นการปรับตัวที่ชนชั้นนำรู้ว่าทำแบบเดิมนั้นไปไม่รอด เป็นการปรับตัวที่ใช้ระบบราชการแช่แข็งนโยบายของนักการเมืองอีกปีกหนึ่ง เพื่อรักษาสถานภาพเดิมทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุน และเริ่มมีการเริ่มต้นประชานิยม เมื่อบุญชู โรจนเสถียร สร้างนโยบายประชานิยม พลเอกเปรมก็ดึงกลับไปเป็นของรัฐเพื่อไม่ปล่อยให้นักการเมืองใช้ประชานิยมได้ อย่างเสรี กลุ่มทุนเก่าก็ร่ำรวยขึ้น ซึ่งระบบ 8 ปีนี้น่าสนใจและยังไม่มีใครศึกษาการสร้างเครือข่าย ทุกคนโดดไปด่าสถาบันอื่นโดยลืมดูโครงสร้างอันนี้
หลังสมัยพลเอกเปรม สมัยรัฐบาลชาติชายมีความพยายามในการรุกคืบเข้าไปในอำนาจของระบบราชการ ทำให้เกิดการโต้กลับของอำนาจ เกิด รสช.(คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) ขึ้นมา อย่างไรก็ตามหลังยุครสช.มีความพยายามในการรักษาประชาธิปไตยครึ่งใบอยู่ตลอด มา พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้อำนาจในช่วงหลังก็ไต่เส้นลวด ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบมาตลอด ซึ่งพยายามให้อำนาจราชการครึ่งหนึ่งไว้ ไม่ก้าวไปล่วงล้ำ เพื่อให้อำนาจตัวเองอยู่ ประชาธิปัตย์พยายามรักษาดุลอำนาจนี้ไว้
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการร่างรัฐธรรมนูญปี 40 เป็นการปลดล๊อคอำนาจประชาธิปไตยครึ่งใบ เป็นจุดเริ่มต้นในการดึงประชาชนเข้าร่วมทางการเมือง
การเมืองในสมัยทักษิณ ด้วยหลักการของรัฐธรรมนูญปี 40 ซึ่งปลดล๊อคอำนาจระบบราชการ เกิดการจัดความสัมพันธ์อำนาจในระบบประชาธิปไตยใหม่ โดยลดทอนอำนาจระบบราชการในทุกส่วน ปรับเปลี่ยนระบบราชการทุกระดับ ทั้งการศึกษา โรงพยาบาล ฯลฯ รวมทั้งทำให้ความชอบธรรมทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง จึงทำให้อำนาจประชาธิปไตยสั่นคลอน ทั้งหมดจึงนำไปสู่การรัฐประหาร 49
รัฐประหารที่เกิดขึ้นและการเมืองหลังจากนั้น รวมถึงรัฐธรรมนูญปี 50 ถือเป็นการสืบทอดอำนาจในสมัยพล.เอกเปรมอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการพยายามรักษาประชาธิปไตยครึ่งใบไว้ พยายามเข้าไปแอบอิงสถาบันเดิม พยายามสร้างกฎเกณฑ์ที่ทำให้ราชการมีอำนาจ เช่น การตั้งกฎโยกย้ายทหารต้องผ่านกรรมการทั้ง 7 คน เป็นต้น ทำให้เกิดความขัดแย้งสูงมาก
กระบวนการที่เกิดขึ้นใน 5 ปีหลัง เป็นการยื้ออำนาจของระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบและอำนาจที่อ้างความชอบธรรมจาก การเลือกตั้ง(ระบบราชการ กับภาคการเมือง) ความรุนแรงปี 2552 และ 2553 จึงเป็นผลผลิตของการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจคู่นี้ที่ยังไม่ลงตัว
นอกจากนี้การยื้อแย่งทางการเมืองดังกล่าวยังสัมพันธ์กับความเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจอีกด้วย ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอันนี้ทำให้ชนบทไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คนในชนบทในงานวิจัยของหลายท่านล้วนสะท้อนให้เห็นว่าคนชนบทไม่ใช่ชาวนา ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบทได้เปลี่ยนไปแล้ว อาจจะไม่มีชนบทเหลืออยู่ในความหมายเดิมอีกต่อไป
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมันนำมาสู่ "การเมืองเรื่องความหวัง" (Politic of Hope) ซึ่งเมื่อเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจนี้ แล้วคุณต้องมีความหวังว่าจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร จากบทสัมภาษณ์ของงานวิจัยเรื่องเสื้อแดง สิ่งที่ปรากฏชัด คือ ประชาชนมีสำนึกทางพลเมือง ความเปลี่ยนแปลง 2 ด้านนี้ จึงนำเข้ามาสู่การต่อสู้ทางการเมืองด้วย
ผลสรุป คือ การยื้อทางอำนาจไม่ก่อผลดีต่อสังคมไทยโดยรวม ตนคิดว่าทางออกคือ หนึ่ง ปลดล๊อคทางอำนาจ ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้มีการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจให้ลงตัวมากขึ้น (ถ้ายื้อแบบนี้โดยไม่ร่างกติกาก็จะทำให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นอีก) การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยกลไกของปี 2540 จะทำให้สังคมไทยเคลื่อนไปสู่การตกลงกันได้ง่ายมากขึ้น
ซึ่งหลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ลงประชามติเสร็จแล้ว ควรยุบสภาเลือกตั้งใหม่ นี่คือสิ่งที่สำคัญเพราะจะทำให้เราเปิดหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งอันนี้ แต่มีข้อกังวลคือ ถ้ารัฐบาลปัจจุบันมีความสุขกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจจะไม่เกิด เพราะเป็นการให้อำนาจกับระบบราชการอยู่ ถ้ารัฐบาลยังคงอยู่ได้ โดยสามารถเปลี่ยนอำนาจระบบราชการมาอยู่ในมือ ประชาชนก็อาจต้องผลักดันมากขึ้น
สอง เราจะสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น ทั้งในรัฐสภาและในที่อื่นๆ โดยให้สังคมเป็นคนตัดสินได้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีการรัฐประหารอีก เช่นการโยกย้ายทหาร ถ้ารัฐบาลต้องการโยกย้ายทหาร โดยผ่านคณะกรรมการทั้ง 7 คน แล้วมีเสียงครหา สังคมเป็นคนตัดสิน อาจจะด้วยการโหวตหรืออะไรก็แล้วแต่ ทหารก็จะไม่กล้ารัฐประหาร
กลุ่มที่สนับสนุนทางการเมืองต้องใจเย็นๆและมองการไกล ไม่ว่ากลุ่มใดก็ตาม ถ้าเกิดรัฐประหารครั้งต่อไปต้องมีจุดยืนให้ชัด เพราะคิดว่ารัฐปะหารครั้งต่อไปโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากทหารทั้งสองฝั่ง ทั้งฝั่งเดิมที่พยายามรักษาประชาธิปไตยครึ่งใบ กับทหารอีกฝั่งหนึ่งที่เราเรียกกันว่า "ทหารแตงโม" เราต้องมีจุดยืนให้ชัดว่าเราต้านรัฐประหารจากทุกกลุ่ม เพราะการรัฐประหารเป็นการลากสังคมไทยไปสู่จุดดับ
.....................................
ศรีวรรณ จันทร์ผง กล่าวว่า การเมืองในช่วงนี้ก็เป็นการต่อยอดจากการเคลื่อนไหวปี 16 - 19 และพฤษภาทมิฬ รัฐประหารปี 34 ก็เป็นภาวะของประชาชนที่อยากได้รัฐธรรมนูญปี 40 ประชาชนตื่นตัวทางการเมือง ต้องการให้อำนาจ 3 อำนาจคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการแยกออกจากกัน และตรวจสอบกันได้ รัฐธรรมนูญปี 2540 ทักษิณแทบไม่ได้มีส่วนร่วม หลังรัฐธรรมนูญปี 40 มันเกิดสถานการณ์ที่คนยากจนไม่เคยได้รับ นโยบายของพรรคการเมืองนั้นมีความโดดเด่นมาก คือกองทุนหมู่บ้าน นโยบายการศึกษา กองทุนกู้ยืมการศึกษา นโยบายหวยบนดิน ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของคนเสื้อแดงนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะนโยบายของทักษิณ ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะไปขัดกับผลประโยชน์ของอำนาจเก่าหรือไม่ ตนก็ไม่รู้ แต่รู้ว่าชาวบ้านได้ประโยชน์ อย่างเรื่องยาเสพติดในสมัยทักษิณ ชาวบ้านก็ชอบมาก เพราะทำให้ลูกหลานเขาไม่ติดยาเสพติด
แต่ทำไมต้องมีการทำรัฐประหาร ก่อนทำรัฐประหารทักษิณได้อยู่ครบเทอม พอสมัยที่สอง พันธมิตรเริ่มออกมาเคลื่อนไหว และใช้สื่อในการโจมตีทักษิณ ในเรื่องการคอรัปชั่น เงื่อนไขเหล่านี้ กลุ่มอำนาจเก่าจัดการกับ รัฐธรรมนูญปี 40 ก็เพื่อจะจัดการกับทักษิณ เป็นการผนึกกำลังของ 3 ฝ่าย ทั้งพันธมิตร ประชาธิปัตย์ ทหาร ระบบราชการกลุ่มอำมาตยาธิปไตย
คนเสื้อแดงออกมาต่อสู้เพราะ ปัญหาสองมาตรฐาน ความไม่เป็นกลางขององค์กรอิสระ และรับไม่ได้กับรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะไม่ใช่อำนาจของประชาชนโดยแท้จริง อำนาจตกอยู่ที่ศาล สว.สรรหา มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน กระบวนการของอำนาจเก่าพยายามยื้ออำนาจอยู่เรื่อย รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นการยกร่างโดย คปค.(คณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ก็ว่าได้
ปัญหาสองมาตรฐานที่ปลดรัฐบาลสมชาย และสมัคร ทำให้เกิดพี่น้องเสื้อแดง ซึ่งต่อมาก็มีการยุบพรรคไทยรัก จากประสบการณ์การเคลื่อนไหวของประชาชน.ปี 52 สิ่งที่พี่น้องได้ คือ ลูกปืน
ต่อมาปี 53 เราก็เรียกร้องความเป็นธรรมเช่นกัน เราล้อมราบ 11 ตั้งแต่เดือนมีนาคม จะเห็นว่าพลังการต่อสู้ของเสื้อแดงมีมากมายมหาศาล สิ่งที่พี่น้องเสื้อแดงออกมาเรียกร้อง คือ ความเป็นธรรม และนโยบายที่พี่น้องประชาชนต้องการ
ภายใต้การต่อสู้ในสมัยอภิสิทธ์ มีการประกาศพรก.ฉุกเฉินฯ สารพัดเพื่อจำกัดสิทธิประชาชน ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม สร้างความเจ็บปวดให้กับพี่น้องเสื้อแดงอย่างมาก
................................
ภัควดี ไม่มีนามสกุล กล่าวว่า มีคนเสนอภาพในเชิงกว้างแล้ว สำหรับตนอยากจะมองให้แคบลงมาในเรื่องของ กองทัพ เพราะสถาบันกองทัพถือเป็นสถาบันที่ไม่ค่อยเปลี่ยนบทบาท ในสังคมไทยถือเป็นสังคมของรัฐทหาร แม้ในระบบเศรษฐกิจทหารก็เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น กรณี กสทช.ที่มีทหารเข้าไปเป็นกรรมการจำนวนมาก ก็แสดงถึงความไร้เหตุผลของสังคมไทยอย่างมาก
หลังปี 2535 เราพูดกันมากว่า ต้องการให้กองทัพไทยกลับสู่กรมกอง แม้มีการผลักดันเข้ากรมกองจริง แต่ยังไม่มีการปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจัง ดังนั้นจึงอยากยกตัวอย่างการปฏิรูปกองทัพในสองประเทศ ประเทศแรกคืออาร์เจนตินา ซึ่งเคยเป็นเผด็จการ มีการกวาดล้างพลเมืองไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย และสามารถเอาผิดผู้นำประเทศที่เป็นทหารได้ หลังจากเปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยรัฐบาลพลเรือนพยายามปฏิรูปกองทัพ คือจำกัดความรับผิดชอบของทหารเฉพาะการป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่ของตำรวจ ตำรวจจะขึ้นอยู่กับแต่ละเมือง หรือขึ้นอยู่กับผู้ว่าฯ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับส่วนกลางเหมือนประเทศไทย
ในบางประเทศ ฐานทัพทหารจะอยู่ในเขตชายแดน ไม่เหมือนประเทศเราที่ค่ายทหารที่ใหญ่ๆกลับอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แล้วตอนี้พยายามมาสร้างกองพันทหารม้าที่เชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนวิธีคิดของประเทศไทย ที่เอาระบอบอาณานิคมแบบตะวันตกมาใช้ในระบอบการปกครอง ซึ่งไม่ต่างจากสมัยรัชกาลที่ 5 โดยถือเอากรุงเทพฯเป็นศูนย์กลาง และภูมิภาคเป็นอาณานิคม
เรื่องที่สองที่อาร์เจนตินาทำในการปฏิรูปกองทัพ คือ ย้ายหน่วยข่าวกรองและหน่วยปราบจารจลให้ออกจากความรับผิดชอบของกองทัพ
เรื่องที่สาม คือ ปรับระบบการศึกษาของกองทัพ ถ้ากรณีของไทยการศึกษาของทหารแยกออกจากระบบการศึกษาโดยทั่วไป ซึ่งวิธีการศึกษาแบบนี้มันทำให้ทหารถูกครอบงำทางอุดมการณ์ได้ง่าย แต่ถ้ามีการปรับระบบการศึกษาให้ทหารมาเรียนกับพลเรือนอย่างที่อาร์เจนตินา หรือเวเนซูเอล่าทำ จะทำให้ทหารได้เรียนรู้กับประชาชนทั่วไป ผูกพันกับประชาชน รับรู้ข่าวสาร ไม่แปลกแยก และทหารมีความคิดทางการเมืองที่ก้าวหน้าขึ้น
เรื่องที่สี่ กองทัพต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน ประธานาธิบดีของเขาจะเป็นผู้นำเหล่าทัพ เสนาธิการแต่ละเหล่าทัพก็เป็นพลเรือนด้วย และห้ามนายทหารรับตำแหน่งทางการเมือง และแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
เรื่องที่ห้า ลดจำนวนตำแหน่งนายทหารระดับสูง ส่วนใหญ่ประเทศที่ก้าวหน้ามากๆอย่างสหรัฐฯ ระดับพลเอก จะไม่เยอะเหมือนบ้านเรา การพิจารณาตำแหน่งก็พิจารณาที่ผลงาน ไม่ใช่เส้นสายหรือนามสกุล
เรื่องที่หก ลดงบประมาณป้องกันประเทศ ลดการใช้จ่ายของกองทัพ ยกเลิกการจัดซื้ออาวุธด้วยวิธีพิเศษ การซื้ออาวุธต้องตรวจสอบได้
เรื่องที่เจ็ด ลดการเกณฑ์ทหารลงเหลือ 1 ใน 3 ขณะที่ประเทศไทยนั้นถ้ายกเลิกการเกณฑ์ทหารได้ก็จะดี รวมถึงยกเลิกระบบศักดินาในกองทัพที่ทหารเกณฑ์ยังต้องไปเป็นคนรับใช้นายพล ด้วย
เรื่องต่อมา (เรื่องที่ 8) ห้ามนายหารมีตำแหน่งในรัฐวิสาหกิจ กองทัพห้ามทำธุรกิจ นายทหารที่เกษียณห้ามไปรับตำแหน่งทางองค์ธุรกิจด้วย
อันสุดท้าย(เก้า) เขาระบุไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า การรัฐประหารทุกรูปแบบเป็นกบฏของแผ่นดิน และยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรมคนที่ทำรัฐประหารทั้งหมดไป
อันนี้คือการปฏิรูปกองทัพในประเทศอาเจนติน่าซึ่งผ่านระบอบเผด็จการทหารที่โหดร้าย
ต่อมาอยากจะยกตัวอย่างประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ใกล้ๆเราและมีประสบการณ์คล้ายๆกับอาร์เจนตินา แล้วเขาก็เปลี่ยนผ่านมาเป็นระบอบประชาธิปไตย และก็มีการปฏิรูปกองทัพพอสมควร ซึ่งหลังผ่านยุคซูฮาร์โตที่เป็นเผด็จการทหารและกวาดล้างประชาชนไปมากมาแล้ว ประชาธิปไตยของเขาค่อนข้างมีความมั่นคงกว่าประเทศไทย หลายเรื่องที่เคยล้าหลังกว่าเรา ตอนนี้เริ่มล้ำหน้าเรา ส่วนหนึ่งก็มีการปฏิรูปกองทัพมากพอสมควรแต่ทำสำเร็จน้อยกว่าอาร์เจนตินา
ในช่วงต้นๆหลังยุคซูฮาร์โต เขาสามารถปฏิรูปกองทัพได้ถึง 17 เรื่อง ขอยกตัวอย่างบางเรื่อง เช่น ห้ามไม่ให้ทหารมาดำรงตำแหน่งของพลเรือน(อาทิ ตำแหน่งรัฐมนตรี) มีรัฐมนตรีกลาโหมเป็นพลเรือน มีการระบุภาระหน้าที่ของทหารอินโดนีเซียว่าจะต้องรักษาความมั่นคงระหว่าง ประเทศเท่านั้น ห้ามทหารไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับความมั่นคงภายในประเทศ ให้ยกเลิกหน่วยงานด้านความมั่นคงภายในประเทศของกองทัพ(เปรียบได้อย่างยกเลิก กอรมน.ในไทย) มีการตั้งศาลสิทธิมนุษยชนขึ้น มีความพยายามทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยให้เลือกประธานาธิบดีโดย ตรงและให้เลือกตั้งส่วนท้องถิ่นมากขึ้น สร้างระบบตรวจสอบงบประมาณกองทัพ สิ่งที่น่าสนใจที่เขาสำเร็จ คือ การให้ศาลทหารอยู่ภายใต้ศาลสูงสุด สร้างความโปร่งใสของศาลทหารให้มากขึ้น
มีบทความหนึ่งซึ่งพูดถึงปัจจัยที่จะทำให้ของการปฏิรูปกองทัพยากหรือง่าย มีอยู่ 5 ข้อ
ข้อแรก ความผูกพันของกองทัพกับชนชั้นนำเดิมในประเทศมีมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีมากก็ปฎิรูปยาก ถ้ามีน้อยก็ปฏิรูปง่ายหน่อย
ข้อต่อมา(ข้อสอง)ในประเทศนั้น ประชาชนมีความเห็นพ้องต้องกันต่อระบอบประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีมากแค่ไหน การปฏิรูปก็ง่ายขึ้น
ข้อที่สาม คือปัจจัยระหว่างประเทศ เช่น ประเทศตุรกี เขาปฏิรูปกองทัพได้ง่ายเพราะอยากเข้าเป็นสมาชิกของอียู เขาก็ต้องปฏิรูปกองทัพ เพื่อให้เข้าเงื่อนไขอียู แต่อาเซียนอยากให้แต่ละประเทศแก้ไขปัญหาภายในประเทศเอง ปัจจัยนี้จึงไม่เอื้อให้ประเทศเรา
ข้อที่สี่ การปฏิรูปกองทัพทำให้เกิดความขัดแย้งของชนชั้นนำมากน้อยแค่ไหน
ข้อที่ห้า คือ วัฒนธรรมของกองทัพ เช่น วัฒนธรรมของกองทัพในการทำธุรกิจข้างนอก กองทัพไทยก็มีวัฒนธรรมในการทำธุรกิจข้างนอกด้วยเช่นกัน
บทความนี้มีข้อเสนอด้วยว่า เรื่องการปฏิรูปกองทัพในอนาคต ซึ่งมีอยู่ 8 ข้อ คือ หนึ่ง กฎหมายสิทธิมนุษยชนควรมีความเข้มแข็งมากขึ้น ควรมีอำนาจในการบังคับใช้มากขึ้น
สอง ศาลควรได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น
สาม กองทัพต้องอยู่ใต้อำนาจของกระทรวงกลาโหม
สี่ กองทัพควรมีวัฒนธรรมของพลเรือนมากขึ้น
ห้า ผู้ตรวจสอบการใช้งบประมาณของกองทัพ ควรมีอำนาจทำได้มากขึ้น
หก ผลประโยชน์ทางธุรกิจของกองทัพทั้งหมด ต้องโอนให้เป็นของรัฐ
เจ็ดสภาความมั่นคงแห่งชาติควรมีผู้นำพลเรือน มีทหารเป็นส่วนประกอบ
อันสุดท้าย ต้องสร้างความเข้มแข็งให้ผู้มีบทบาททางการเมือง เช่น พรรคการเมือง ฝ่าย บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ภาคประชาชนต้องเข้มแข็งในการผลักดันระบอบประชาธิปไตยด้วย ทั้งหมดนี้จะทำให้ การปฏิรูปกองทัพประสบความสำเร็จ
......................................
ธเนศวร์ เจริญเมือง กล่าวว่า มีข้อสังเกต คือประการที่ 1 บรรยากาศการจัดงานรัฐประหารในช่วงนี้ก็ถือว่าหนาแน่น คึกคักไม่เหมือนกับหลายปีก่อนในช่วงที่รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ประการที่ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในทางวิชาการไม่มีเอกสารที่มากพอจะสรุปว่า ในช่วงหลายปีมานี้ หรือตั้งแต่หลังปี 2549 เป็นอย่างไร อันนี้ก็เป็นการบ้านของฝ่ายวิชาการ ปัจจุบันประชาชนก็ไปไกล ซึ่งเราก็ทราบกันดีอยู่แล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐประหาร จนถึงหลังรัฐประหาร 5 ปีที่แล้วนั้นเป็นการวางแผนกันอย่างระบบของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ ประชาธิปไตย ทั้งนักปฏิวัติที่มีประสบการณ์ ยังมีการแบ่งงานกันทำทั้งฝ่ายพลเรือน และทหาร
คนที่ทำงานด้านการศึกษา และสื่อก็ต้องทำงานมากขึ้นในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น
ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา กว่าที่ยิ่งลักษณ์จะได้เป็นนายกฯ จนมาถึงปัจจุบัน ก็จะต้องมีการทำความเข้าใจระบบรัฐสภา การทำงานของฝ่ายค้านควรจะทำให้ตรงกับบทบาทหน้าที่ของตัวเอง แม้ฝ่ายประชาธิปไตยชนะในเรื่องของคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ถามว่าความเป็นประชาธิปไตย.ในส่วนอื่นๆ เป็นอย่างไร ก็ต้องติดตามกันต่อ
บทเรียนของประชาธิปไตยของหลายๆ ประเทศ เช่นอาร์เจนตินา อินโดนีเซีย ประชาชนก็ต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วย และทำงานเผยแพร่มากขึ้น ประชาธิปไตยที่จะเกิดขึ้นตามโมเดลของประเทศต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นพลพวงที่ประชาชนได้ขับเคลื่อน ของเรายังเป็นแค่การชนะการเลือกตั้งเท่านั้นดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติม และขับเคลื่อนต่อ
ในช่วงที่ผ่านมา ฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยได้เปิดเผยตัวตน ธาตุแท้ของตัวเอง ด้านหนึ่งเราก็เสริมตัวเองในด้านสื่อของเราให้เข้มแข็ง ซึ่งฝ่ายของเราควรจะทำการบ้าน และโต้แย้งกับฝ่ายที่เห็นต่างให้เข้มแข็งด้วย กรณีสื่อมวลชนไทย(ภาคภาษาอังกฤษ) ดูถูกนายกฯ ก็เป็นที่เราต้องมีการจัดวาระคุยกัน
คนเสื้อแดงต้องผลักดันเรื่อง กระบวนการยุติธรรม ทำความเข้าใจระบอบรัฐสภาด้วย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คนเห็นต่างๆ กันโต้แย้งกัน ไม่ใช่การโต้วาที ประเด็นคือ เราจะรักษาภาวะ บรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยให้นานๆ ได้อย่างไร
กรณีการปฏิรูปกองทัพ ก็อยากเห็นมากว่าจะทำอย่างไร ลักษณะการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเรา ไม่มีบทบาทขององค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นองค์กรนำ มีความหลากหลาย ผ่านการแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน ขณะเดียวกันก็มีขบวนการอื่นๆ ที่มีความอัดอั้นตันใจ เช่น คนที่อยู่ในต่างประเทศ ก็เป็นลักษณะของต่างคนต่างทำ เราจะประสานงานกันอย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญคือเรื่อง ต่างประเทศ เช่น กรณีสหรัฐฯ มีบาทอย่างไรในการควบคุมบทบาททหารในอินโดนีเซีย และสหรัฐฯ มีบทบาทอย่างไรต่อประชาธิปไตยไทย อะไรจะทำให้ประชาธิปไตยพัฒนาไปมากกว่านี้
ตัวบ่งชี้หลายประการ ที่ยังเห็นว่าฝ่ายพัฒนาประชาธิปไตยกับฝ่ายต่อต้านยังมีอยู่สูง เช่น วิธีการทำงานของฝ่ายค้าน ที่อยากเป็นรัฐบาล ค้านแบบทำลายทุกอย่าง เอาให้ได้ รื่องการโยกย้ายข้าราชการก็จะถูกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ค่อนข้างแรง แตะต้องไม่ได้ วิธีคิดในสังคมไทยยังเป็นแบบเก่าคือราชการแตะไม่ได้
นอกจากนี้ยังมีการดึงเอาคำทำนาย การโหมกระพือฝั่งของฝั่งปฏิปักษ์ประชาธิปไตย นั่นคือรัฐบาลขาดความชอบธรรม ด้วยการบ่อนเซาะทำลายรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของหมู่บ้านเสื้อแดง เครือข่าย สิ่งเหล่านี้คือตัวจักรสำคัญที่จะผลักดันประชาธิปไตยให้ก้าวหน้าเข้มแข็ง ขึ้น
กรณีเกาหลีใต้ ประชาชนต่อต้านเผด็จการอย่างรุนแรง เป็นเวลาถึง 21 ปี กว่าที่จะมีระบบเลือกตั้ง ดังนั้นประเทศไทยก็ต้องใช้เวลา ถือเป็นประเด็นที่ท้าทายสังคมไทยมาก จากนี้ไปต้องมองในเชิงบวก ในแง่ของกระบวนการประชาชน สร้างความเข้มแข็งสื่อ การสร้างความสามัคคีให้แน่นแฟ้น โดยการใช้เวทีเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสื่อ ทำให้การพัฒนา ประชาธิปไตยเราเข้มแข็งขึ้น ในทาง ประวัติศาสตร์นั้นเราก็รู้ว่าไม่มีองค์กรติดอาวุธใดเลยที่จะสละอำนาจอย่าง สันติวิธี
ในประเทศที่พัฒนาประชาธิปไตยล่าช้า เราน่าจะรองบ๊วย เราล่าช้ามากภายใต้ระบบสื่อมวลชนที่หลากหลาย สร้างความสับสนให้ประชาชน นอกจากนี้ปัจจัยภายในก็เหมือนจะไม่ให้เราเปลี่ยนผ่านไปง่ายๆ ปัจจัยภายนอกอย่างอเมริกาก็เหมือนจะมุ่งไปที่จีนมากกว่าไทย
การปฏิวัติประชาธิปไตยไทย ถือว่าคลาสสิคกว่าประเทศไหนๆ ในโลก เราก็ควรจะมีความสุขในการสร้างสรรค์ประชิปไตยร่วมกัน
..................................
สมชาย ปรีชาศิลปะกุล กล่าวว่า หลังจาก 5 ปีผ่านไป ผมถือว่ารัฐประหารนี้ประสบความล้มเหลวที่สุด มีการรำลึกถึงรัฐประหารในเชิงต่อต้านกันมายาวนานมาก จนบัดนี้ก็ยังระลึกถึงอยู่ ทุกฝ่ายที่พูดถึงรัฐประหารก็ไม่เห็นด้วย แม้ในตอนเริ่มบางส่วนอาจจะเห็นด้วย แต่ตอนนี้ก็ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของการรัฐประหารนี้เลย เช่นกรณี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ดังนั้นผมจึงคิดว่ารัฐประหาร 49 นั้นล้มเหลว
อยากให้มอง รัฐประหารเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ถ้าเทียบการเมืองหลัง 2520 กับการเมืองหลังปี 2550 นั้นจะเห็นว่าเหมือนกันคือการสร้างระบอบการเมืองกึ่งรัฐสภา กึ่งอำมาตยาธิปไตย คือยอมให้มีการเลือกตั้ง แต่ก็มีการออกแบบรัฐธรรมนูญกำกับระบอบการเลือกตั้งอีกทีหนึ่ง
ปัจจุบันเราจะเห็นอารมณ์ของสังคมไทย ปีนี้มีการจัดงานอย่างกว้างขวาง เราเห็นอารมณ์ร่วมของสังคมได้ คือ รัฐธรรมนญ 50 เป็นปัญหา มีคนเสนอแก้รัฐธรรมนูญ แต่ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่เป็นหลักการของสังคมไทย เท่าที่ผมจับประเด็นได้มีอยู่ 2 สองเรื่องเรื่องแรก การต่อต้านรัฐประหาร และการพยายามล้มล้างผลของการรัฐประหาร สอง มีความพยายามจะพูดถึงรากฐานของระบอบการปกครอง มีความพยายามจะเสนอหลักการ ประชาธิปไตยอันใหม่ให้เกิดขึ้น
ข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้นน่าสนใจ ในอดีตมีการเขียนกฎหมายเพื่อป้องกัน
ข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้นน่าสนใจ ในอดีตมีการเขียนกฎหมายเพื่อป้องกันการรัฐประหาร(เช่นรัฐธรรมนูญปี 2517) แต่ก็ถูกฉีกตลอด ข้อเสนอใหม่มีความพยายามในการแก้รัฐธรรมนูญให้เพิกถอนผลของการรัฐประหาร อันนี้จะสำเร็จหรือไม่ ไม่รู้ แต่คิดว่านี่เป็นอุดมการณ์ของสังคมไทยโดยรวมว่า การรัฐประหารเป็นสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้ และรวมถึงการพยายามที่จะทำให้การรัฐประหาร ไม่มีผลผูกพันกับสังคมอย่างมั่นคงยาวนานอย่างเช่นที่เคยเป็นมา
ข้อเสนอเรื่องที่สอง มีการพูดถึงความพยายามในการวางรากฐานการปกครองของระบอบประชาธิปไตย มีเรื่องสำคัญที่กำลังถูกผลักดันอยู่ 5 เรื่องใหญ่ คือ หนึ่ง อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับระบบราชการ (โดยเฉพาะทหาร) โดยหลักการนั้นตามความคิดตนนั้น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรจะมีอำนาจเหนือราชการ โยกย้ายได้ ข้าราชการเป็นกลไกของรัฐบาล
สอง กระบวนการยุติธรรมและองค์กรอิสระ เป็นปัญหาอันหนึ่งที่สำคัญ ถ้าเราสังเกตการล้มของรัฐบาลสมชาย และสมัคร ล้มลงเพราะองค์กรอิสระ ไม่ได้ล้มลงเพราะการเคลื่อนไหวของมวลชน นี่ถือเป็นการกุมอำนาจของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยผ่านองค์กรอิสระ ทำให้เราตั้งคำถามกับองค์กรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน จะมีการรับผิดอย่างไร เช่น กรณี กกต.กับการยื่นฟ้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ล่าช้า ซึ่งเป็นทำหน้าที่บกพร่องจะรับผิดชอบกับประชาชนอย่างไร นอกจากนี้เวลาเกิดความขัดแย้งทางการเมือง องค์กรอิสระมีการชี้ถูกชี้ผิดที่ไร้มาตรฐาน แต่ไม่มีการผิดชอบการกระทำของตนเอง (ในการที่ตนเองทำให้สังคมเสียหาย หรือทำให้เกิดข้อกังขาในสังคม)
สาม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญมีการเขียนระบุไว้ แต่มักจะมีกฎหมายพิเศษ กับกฎหมายยกเว้น เช่น พรบ.คอมฯ มาตรา 112 ซึ่งกฎหมายยกเว้นนี้เป็นกฎหมายที่มีปัญหาที่สุด สิ่งที่เป็นข้อยกเว้นกลับถูกใช้เป็นอย่างมาก ในขณะที่หลักการรัฐธรรมนูญกลับไม่ค่อยใช้ ดังนั้นจึงเห็นว่า ควรทำให้เรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องหลัก ทำให้กฎหมายพิเศษ หรือ กฎหมายยกเว้นมันเล็กลงกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะมีคนจำนวนมากที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้เพราะสังคมไทยยังมีเรื่องที่ยังเบลอ และไม่มีใครกล้าพูด
สี่ ทำอย่างไรให้กระบวนการบังคับใช้ กฎหมายวางบนหลักการที่อยู่บนเหตุผลและความชอบธรรม ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เช่น เรื่องข้อเรียกร้องเรื่องสองมาตรฐาน ดังนั้นจึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ Rule of laws ได้รับการยอมรับ
ห้า เรื่องสถาบันกษัตริย์ และองคมนตรี คงจะต้องมีการจัดวางสถานะให้พ้นจากการเมือง เช่นองคมนตรีไม่ควรให้กำลังใจนักการเมืองหรือข้าราชการประจำ เป็นต้น
สังคมไทยกำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ไม่ใช่แค่การแก้รัฐธรรมนูญ แต่จะเป็นการสถาปนารัฐธรรมนูญที่มีการวางหลักการพื้นฐานสำคัญ ในเรื่องต่างๆเหล่านี้ มันจะทำให้สังคมไทยหรือรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมีอนาคต กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ สิ่งที่เราควรจะต้องทำ คือ เมื่อเราวิจารณ์เขาแล้ว ถ้าเราจะจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เราไม่ควรทำเหมือนที่เขาทำมา แต่เราควรทำให้รัฐธรรมนูญใหม่ เป็นของคนทุกคน ไม่ใช่รัฐธรรมนูญของคนเสื้อแดง หรือรัฐธรรมนูญที่ปิดปากอีกฝ่าย ทุกฝ่ายสามารถขัดแย้ง โต้เถียงกันได้ คนเสื้อแดงต้องแสดงให้เห็นว่าเรากำลังผลักสังคมไทยไปข้างหน้าด้วยความเสมอ ภาคและเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
................................................................
ณัฐกร วิทตานนท์ กล่าวว่า เวลานึกถึงปฏิรูปการเมืองหลังพฤษภาทมิฬ 35 สมัยที่ผมเรียน จะแค่คิดตื้นๆ ว่า รัฐธรรมนูญปี 40 นั้นคงจะก้าวหน้ากว่าสมัย รสช. สมัยนั้นการปฏิรูปการเมือง หมอประเวศก็เป็นประธาน ฯ และมาถึงปัจจุบัน หมอประเวศก็กลับมาเป็นอีกเช่นกัน
การแก้รัฐธรรมนูญ 40 อ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ระบุว่า เราอยู่ในวงจรนักการเมืองบ้าอำนาจ และประชาชนโง่ รัฐธรมมนูญ 40 มันจึงถูกออกแบบ เช่น สส.ต้องจบปริญญาตรี
มาถึงประเด็นที่ว่า รัฐประหาร 49 เกิดขึ้นได้อย่างไร สำหรับผมในภาษาชาวบ้านง่ายๆ ก็คือการยึดอำนาจเท่านั้นเอง ไม่ใช่การอธิบายให้มันสวยหรู โจทย์ของการปฏิรูปการเมืองรอบใหม่นั้น จึงต้องมีการมองถึงมือที่มองไม่เห็นนอกรัฐธรรมนูญด้วย เราจะไม่มองแคบเหมือนปี 40 ไม่ใช่แค่ทหาร ไม่ใช่แค่มองประชาชนโง่ เพราะปัจจุบันประชาชนรู้มากกว่าที่หลายคนคิด
ดังนั้นโจทย์รอบใหม่ ใจกลางของปัญหาต้องมีการปฏิรูป ทหาร ศาล ระบบราชการ สื่อสารมวลชน ต้องมีการปฏิรูปให้เข้ากับระบอบประชาธิปไตยที่คนส่วนใหญ่ต้องการ กรณีศาล โครงสร้างอำนาจศาลมีการเปลี่ยนแปลงมาก หลังปี 2549 มีการ เปลี่ยนสัดส่วนโดยผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แต่เพิ่มผู้พิพากษาอาวุโส ผู้พิพากษาอาวุโสสามารถตัดสินคดีได้ นอกจากนี้ศาลยังเข้าไปมีบทบาทในคณะกรรมการสรรหาต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าคนแก่กลัวความเปลี่ยนแปลง
ประเด็น คือ ถ้าจะปฏิรูปการเมืองรอบใหม่ต้องปฏิรูปองค์กรเหล่านี้ นอกจากนี้ยังต้องมีการระบุคุณค่าพื้นฐานของ ประชาธิปไตยของคนในสังคมไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย
การทำให้ให้รัฐประหารหมดไป มีวิธีการไม่ซับซ้อน คือ การเอาคนผิดมาลงโทษ เหมือนการฆ่าคนตาย ถ้าเรามาลงโทษ ก็ไม่มีใครกล้าทำ ในประเทศเราแปลกประหลาด การทำรัฐประหารกลับได้ตำแหน่ง เราจึงต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ที่มาข่าวบางส่วน: สำนักข่าวประชาธรรม