WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 12, 2011

ด่วน: บัน คี มูน เลชาธิการ UN เยือนไทย 16-17 พ.ย. นี้

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 พฤศจิกายน 2554

ไทย อีนิวส์ช่วยกระจายข่าวเพื่อให้รับทราบกันกว้างขวางยิ่งขึ้น ถึงการมาเยือนไทยอีกครั้งหนึ่งของ ฯพณฯ ท่าน บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ในระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2554 ที่จะมาถึงนี้

ยังจำกันได้เมื่อคราวมาเยือนไทยในเดือน 26 ตุลาคม เมื่อปีที่ผ่านมา 26 ตุลาคม 2554 ชาวเสื้อแดงวิ่งวุ่นเพื่อขอเข้าพบยื่นจดหมาย

งานนี้ใครยังมีประเด็นที่ยังค้างคา ต้องการจะแจ้งให้สหประชาชาติทราบก็เตรียมตัวกันล่วงหน้าเด้อพี่น้อง!


ที่มา มติชนออนไลน์


นาย บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติและนางบัน ซุน เท็ก ภริยาเลขาธิการสหประชาชาติมีกำหนดการเยือนประเทศไทยในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2554 ตามคำเชิญของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ตามที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ทาบทามเชิญในระหว่างการพบหารือกับ เลขาธิการสหประชาชาติในโอกาสที่เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสมัชชา สหประชาชาติ สมัยสามัญสมัยที่ 66 เมื่อเดือนกันยายน 2554 ณ นครนิวยอร์ก

การ เชิญเลขาธิการสหประชาชาติเยือนประเทศไทยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหประชาชาติ และเป็นโอกาสให้เลขาธิการสหประชาชาติได้รับทราบเกี่ยวกับวิกฤติด้านอุทกภัย ครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง และเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน รวมทั้งประเด็นการส่งเสริมบทบาทของกรุงเทพฯ ในฐานะศูนย์กลางของสำนักงานสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาค และการเปิดโอกาสให้สหประชาชาติได้ทราบบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในภูมิภาค โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค รวมทั้งประเด็นสำคัญ อื่น ๆ ที่สองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน

เลขาธิการสหประชาชาติจะเดินทางถึง กรุงเทพฯ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 และจะมีกำหนดการพบหารือกับนายกรัฐมนตรี ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีและเลขาธิการสหประชาชาติจะร่วมกันแถลงข่าว

ใน ช่วงบ่ายวันเดียวกัน เลขาธิการสหประชาชาติจะเดินทางไปยังอาคารสำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและ สังคมสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) เพื่อเข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมเกี่ยวกับการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภายหลังการประชุม เลขาธิการสหประชาชาติ พร้อมคณะจะเดินทางไปเยี่ยมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยก่อนเดินทางออก จากประเทศไทยในช่วงเช้าของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหประชาชาติ ครั้งที่ 4 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย


ข่าวเกี่ยวข้อง

รัฐทหารพ่อUNสั่งห้ามชุมนุมรับบันคีมูน เสื้อแดงคึกโอกาสเดียวเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับ ยันเปล่าก่อม็อบ

จตุพรได้ไฟเขียวยื่นหนังสือเลขาUNแล้ว เสื้อแดงคึกร่วมเป็นสักขีฯตั้งแต่เช้ายันบ่าย หมื่นรายชื่อพรึ้บ

คดีพลิก!คำต่อคำUNไม่ได้เมินสืบสวนสังหารหมู่เสื้อแดง เปิดเบื้องลึกส่งทีมร่วมสอบแต่ยังถูกกีดกัน


ดารากากๆหลบไป ฮีโร่ด่มด๊มมากู้โลกแว้ว

ที่มา Thai E-News

ช่วยหลบไปหน่อย ชิ้วๆ...เกะกะ


พระเอกกำลังมา...เอ๊ยไม่ช๊าย คนนี้จะหลุดมาแย่งซีนทำมั๊ย!


ครับ ต้องคนนี้เลย
ส่วนอีกรายที่ตูดติดกัน ให้รับบทตัวประกอบซีนเดียวพอ

ที่มา เฟซบุ๊คเดี่ยว 9 (โน้ต อุดม)
ลำดับภาพ-เรื่อง ไทยอีนิวส์

คุณ นํ้าเสด็จมาถึงโชคชัย4แล้ว อีกด้านโอบมาถึงนวลจันทร์ คลองแสนแสบก็เอ่อมาปริ่มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิงแถวบางกะปิได้แต่รอเค้า ทรมานนะคับ เหมือนนักโทษรอการประหาร กรุณาท่วมซะที จะได้เอาเวลาไปกังวลอย่างอื่น

ความเดิมจากโพสที่แล้ว โบกเค้ามาเรื่อยๆ


วันนี้มาศูนย์พักพิงสนามราชมังคลาคับ มีน้องจิตอาสาไปชวนที่บ้าน บอกว่าผู้อพยพที่นี่กะลังประสบภาวะตึงเครียด ผมเลยไปทําให้เค้าเครียดกว่าเดิม(ที่มา:facebook โน้ต อุดม)
ไป ทําภารกิจ สปภ(สร้างความปั่นป่วนให้ผู้ประสบภัย)และได้พบกับผู้ว่า การกีฬา(อันนี้จริง)ได้เสนอไอเดียนึงให้ท่านไปเกี่ยวกับกิจกรรมหย่อนใจ ท่านไฟเขียวให้ทําเต็มที่โดยไม่ออกค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทางเราปลื้มใจเป็นอันมาก จึงรีบกลับมาบ้านโทรชวนเพื่อนๆศิลปินที่ไม่สนรายได้ สนแต่รายจ่าย มาร่วมด้วยช่วยกัน คาดว่าไม่เกินรอคงจะได้เห็นดีกัน-facebook เดี่ยว9

มินิเดี่ยวไปอีกครึ่งชั่วโมง
เดี่ยว อยู่ดีๆฝนก็มาไล่ให้ให้กลับบ้าน แต่ดมก็ยังหน้าด้านไปต่อ คราวนี้มีอาสาสมัครตามมาเป็นพรวน ดูทรงแล้วคงใม่ได้ตั้งมาช่วย แต่อยากดูตลกฟรี 55


ตักไป25กะสอบ ลดลงมา2ซม ความเซ็กซี่ของชายยุคใหม่ ไม่ได้อยู่ที่ความมากมายของแพ็ก วันแพ็กก็เอาอยู่ เร้าใจในแพ็กพอเพียง
มุ่ง มั่นขจัดปัญหาความเปียกแฉะให้หมดไป ด้วยเครื่องดูดนํ้าตรากรีนแมมบ้า ซื้อปุ๊ปได้ปั้ป ไม่ต้องรอนาน ไม่ต้องยื่นเอกสารราชการถึง4ฉบับ ไม่ต้องทะเลาะกันให้อายประชาชน หลังนํ้าลดยังสามารถใช้เป็นพร้อพเสริมความมั่นใจ ให้กับชายใดที่มีปมด้่อยได้ด้วย

จบคืนนี้แบบ ไลท์ๆโฮมๆ(เบาๆบ้านๆ)กับภาพที่ไอ้เติงถ่ายให้บนกองทรายก่อนที่จะบรรจุไส่ถุงไปกั้นนํ้าในวันพรุ่ง

(นํ้าๆๆๆๆน้องเคยเห็นนํ้าหรือป่าว นํ้ามันมีมวลไม่เบา มันท่วมยาวๆตามบ้านเรือน มันท่วมเป็นเดือนที่บ้านเรา มีเรือหางยาวหรือยางงงงง)

พรุ่งนี้ด่มด๋มและด่างด๋าง(นอนเกาอยู่ด้านหลัง)ก็คงต้องสู้ภัยพิบัติกันต่อ ไป ตามสภาพที่ตนประสบอยู่ และก็คงเหมือนๆกับทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเรา มันมาแล้วก็ผ่านไป แต่สี่งนึงที่ผมสัมผัสได้จากอุทุกภัยครั้งนี้ นํ้าได้พัดพาการแบ่งแยกสีให้เจือจางลงไป นํ้าได้ทําให้เราหันมารักกัน คุณรู้สึกบ้างหรือเปล่า(ที่มา:facebookโน้ต อุดม)
ขากลับ อาศัยรถอาสาสมัครป้องกั้นแนวกั้นนํ้ามาส่งเราที่จุดจอดรถเมื่อเช้า ฝนก็กระหนํ่ามาอีกระลอก บอกตรงตรงหนาวสั่นและปวดฉี่มัก แต่ไม่กล้าบอกให้รถจอด แหม ผู้หญิงเกือบทั้งคัน จะมายืนแอ่นฉี่ข้างทางท่ามกลางสายตาห่วงใยของสาวๆใครจะฉี่ออก ที่หนักกว่านั้น ข้างๆทางเป็นนํ้าล้วนๆยืนฉี่ในนํ้าก็ไม่ต่างจากฉี่รดขาตัวเอง หนักกว่าโรคฉี่หนูก็น่าจะเป็นฉี่ด่มด๋มนี่แหละ อั้นจนเป่งอ่ะ บอกตรงๆ(ที่มา:facebookโน้ต อุดม)



.
.
.
.
.
.
.
.

.
มารับคุณนายทองสุข หนีนํ้าไปเชียงใหม่ นางอิดออดไม่อยากไป ถ้าจะไปขอเป็นหลังวันที่1ตอนแรกนึกว่าห่วงบ้านเหมือนคนสูงอายุทั่วไป ถามไปถามมาคือแกจะขออยู่ลุ้นหวยงวดนี้ก่อนเป็นการทิ้งทวน

ผมจนปัญญาจะโน้มน้าววันนี้เลยใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ด้วยการชวนลูกน้องออกไป แจกนํ้าให้กําลังใจ สั่งมา2000ขวดมุ่งหน้าดุ่ยๆไปทางบางปะอิน รถไปได้แค่ด่านเก็บเงินวงแหวนรอบนอกก็ไม่สามารถไปต่อ (ไอ้เติงถ่ายภาพ)

ลูกรีบกลับมาด้วยความเป็นห่วง แต่ดูเค้าสิคับ เธอกำลังซ้อมลอยตัวกรณีน้ำมาฉุกเฉิน

คุณ นายพักผ่อนปรับสภาพจิตใจ จากเหตุการณ์หวยกินงวดล่าสุด แกโถมทุ่มเลข55ไปเต็มเหนี่ยว แถมชวนพนักงานในร้านตามไปล่มจมนับสิบชีวิต ตอนนี้ขาดความมั่นใจไปประมาณ70% เราในฐานะลูกก็ได้แต่รับฟัง ช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบภัยท่านนี้ ใครมีจิตอาสา บริจาคเลขเด็ดหรือหวยยังชีพได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หมดเขตเที่ยงตรงของวันที่16พย.นี้
...แต่เอ๊ะ เห็นตัวเลขอะไรแว๊บๆมั้ย

สู้เค๊าต่อไปเถอะน้ะ ขบวนการด่มด๋ม

*********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ปวดตับกับแอ๊ด-หงามาดูโน้ตอุดมอำมาร์ค-ปู



เชิญร่วมแรลลี่ช่วยน้ำท่วมอาทิตย์13กรุงเทพฯ-พัทยา

ที่มา Thai E-News

โดย ฟอร์ด เส้นทางสีแดง
12 พฤศจิกายน 2554

กลุ่มเส้นทางสีแดงจะจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสพอุทกภัยครั้งที่ 3 ในวันอาทิตย์ที่ 13 พ.ย.นี้

ชื่อกิจกรรม : เส้นทางสีแดงเพื่อผู้ประสพอุทกภัย 3
สถานที่ เส้นทาง : กรุงเทพฯ-พัทยา
เป้าหมาย : เพื่อรวบรวมเงินบริจาคมอบให้กับผู้ประสพอุทกภัยทั่วประเทศผ่านศปภ.ภาคประชาชน (มูลนิธิกระจะเงา) โดยไม่หักค่าใช้จ่าย

กำหนดการ :
8.00 น. เดินทางออกจากกรุงเทพฯ บริเวณ Big C เซ็นทรัลบางนา
12.00 น. ตั้งขบวนที่พัทยาเหนือ หน้าศาลาว่าการเมืองพัทยา
13.00 น. แรลลี่ผ่านหาดพัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ หาดจอมเทียน
15.00 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ มุ่งหน้าศปภ.ภาคประชาชน ร่วมมอบเงินและสิ่งของบริจาค

ข้อความย่อ: เชิญร่วมขบวนแรลลี่ รถมอเตอร์ไซด์ รถกระบะ รถเก๋ง กับกิจกรรมเส้นทางสีแดง กรุงเทพ-พัทยา เพื่อรวบรวมน้ำใจช่วยเหลือน้ำท่วม อาทิตย์ที่ 13 พย. กำหนดการ 12.00 น.ตั้งขบวนที่พัทยาเหนือ (หน้าศาลาว่าการเมืองพัทยา) แรลลี่ไปพัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ หาดจอมเทียน 16.00 น. กลับกรุงเทพเพื่อมอบเงินบริจาคให้กับศปภ.ภาคประชาชน (มูลนิธิกระจกเงา) ขบวนแรลลี่ออกจากกรุงเทพ 8.00 น.หน้า Big C เซ็นทรัลบางนา ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สอบถาม 081-5836964

คลิปประชาสัมพันธ์กิจกรรม http://www.youtube.com/watch?v=m7ES56iqzbs



*************
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ภาพกิจกรรม 2ครั้งที่ผ่านมา

ปูแจงภาพรวม น้ำท่วมดีขึ้น ลุยจ่ายเยียวยา

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



"ยิ่งลักษณ์" แจงภาพรวมการทำงานตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา
ขอบคุณ "ดร.สุเมธ" และ "ดร.วีรพงษ์" เข้าร่วมงานแก้ปัญหาอุทกภัยใหญ่
พร้อมมั่นใจภาพรวมดีขึ้น หลายพื้นที่เข้าสู่โหมดฟื้นฟู ...


วันที่ 12 พ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รายงาน
ภาพรวมการทำงานของรัฐบาลตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผ่านรายการ "นายกฯ ยิ่งลักษณ์ พบประชาชน"
โดยแบ่งการรายงานออกเป็นหลายส่วน
เริ่มจากการเฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 จ.นครพนม เมื่อวานนี้
นอกจากนั้นก็ได้กล่าวถึงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ที่มีการพิจารณาเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555
ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณบรรดา ส.ส. ที่ผ่านร่างงบประมาณครั้งนี้ให้
และยืนยันจะใช้เงินอย่างประหยัด คุ้มค่า โปร่งใส ไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ส่วนการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าววว่า
สภาพน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางหลายจังหวัดเริ่มดีขึ้น เข้าสู่ช่วงของการฟื้นฟู
ซึ่งจะพยายามให้สาธารณูปโภคทั้งหลายกลับมาใช้งานได้โดยเร็วที่สุด
รวมถึงสถานพยาบาลและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย
นอกจากนั้น ในเรื่องของการวางแนวป้องกันด้วยบิ๊กแบ็ก
นายกรัฐมนตรียืนยันว่าได้ผลดี สามารถชะลอน้ำที่เข้าสู่กรุงเทพมหานครได้
ทำให้เจ้าหน้าที่มีเวลาพอที่จะเข้าบริหารจัดการน้ำที่ท่วมขังอยู่
และขอยืนยันว่า การวางบิ๊กแบ็กไม่ใช่การกักน้ำ แต่เป็นการชะลอน้ำเท่านั้น
ซึ่งได้กำชับให้กรมชลประทานเร่งผันน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ
และอื่นๆ ออกให้เร็วที่สุดแล้ว
ซึ่งก็ได้มีการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำให้ทางกรุงเทพมหานครไปแล้วอีกกว่า 70 เครื่อง
ขณะที่ทางด้านกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกนั้น พบว่ามีทางน้ำที่ชำรุดเสียหายอยู่ 14 จุด
และได้สั่งการให้เร่งซ่อมแซมแล้ว เชื่อว่าหากซ่อมเสร็จจะช่วยลดระดับการท่วมขังลงได้อีก

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมเทศบาลนครนนทบุรี
ที่มีการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมได้เป็นอย่างดี
จนทำให้ปรากฏว่า ในพื้นที่ จ.นนทบุรี บางจุดนั้น ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเลย
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงการอนุมัติเงินงบกลางในการนำมาใช้เพื่อชดเชย
และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ รัฐบาลกำหนดให้พื้นที่ 30 เขต 6 แสนครัวเรือน
มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 5,000 บาท แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาด้วยเช่นกัน
ซึ่งมีรายละเอียดกำกับไว้แล้ว ถือเป็นการเยียวยาเบื้องต้นที่รัฐบาลได้จัดสรรให้

ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า
ได้มีโอกาสพบผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำจากต่างประเทศหลายประเทศ
ซึ่งได้รับความรู้อย่างมากในการบริหารจัดการน้ำ
ขณะที่ภายในประเทศเองนั้น หลังบางพื้นที่เริ่มมีน้ำลด
รัฐบาลได้กำหนดมาตรการ 3R ในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูประเทศ
โดยเริ่มจาก
1. คือขั้นการเรสคิว หรือกู้ภัย ซึ่งขั้นตอนนี้ ศปภ. จะเป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบ
ขั้นที่ 2.คือ รีสโตร์ หรือซ่อมแซม ได้กำหนดระยะเวลาสำหรับขั้นตอนนี้ไว้ที่ 1 ปี
โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ความเป็นอยู่ประชาชน
หรือแม้กระทั่งคุณภาพชีวิตประชาชนจะต้องฟื้นคืนกลับมา
และขั้นที่ 3.คือ รีดิ้วส์ หมายถึงการทำความเข้าใจในธรรมชาติ
พร้อมทั้งเฝ้าระวังในความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติต่างๆ
ซึ่งส่วนนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ได้ตั้งกรรมการ 2 ชุด แบ่งหน้าที่กัน
ชุดแรกคือคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.)
ที่มี ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน
และชุดที่ 2.คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)
โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
และได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
ให้เกียรติเป็นที่ปรึกษา
ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณที่ทั้ง 2 คน ที่ให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาประเทศในครั้งนี้

นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวรายงานถึงยอดเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยว่า
รัฐบาลได้รับเงินบริจาคมาแล้วทั้งสิ้น 918 ล้านบาท ใช้จ่ายไปตามมติคณะกรรมการ
คงเหลือ 315 ล้านบาท ซึ่งยืนยันว่า เงินทุกบาทได้ใช้จ่ายไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

ขณะที่สัปดาห์หน้านี้ นายกรัฐมนตรีมีภารกิจให้การต้อนรับ
นายบัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
และนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่จะเดินทางมาเยือน พร้อมทั้งร่วมหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือประเทศไทย
ในปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน.


http://www.thairath.co.th/content/pol/216072

เตาหลอม การเมือง ชุบ "นิว" ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อุปสรรค ยากลำบาก

ที่มา ข่าวสด

รู้สึกหรือไม่ว่า กระบวนการให้สัมภาษณ์ ตอบคำถามนักข่าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความเปลี่ยนแปลงนั่นก็คือ ตอบยาวขึ้น

นั่นก็คือ ตอบประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวอย่างล่าสุดระหว่างเดินทางไปพบประชาชนที่ศูนย์พักพิงโรงเรียนมัธยมประชา นิเวศน์ เขตจตุจักร และเมื่อโดยสารรถประจำทางฟรีไปกับนักข่าว

ไม่เพียงไขข้อข้องใจในเรื่อง "น้ำตา"

หากที่สำคัญเป็นอย่างมากคือการยืนหยัด ยืนยัน "ถ้าดิฉันอ่อนแอคงไม่มานั่งหรือยืนอยู่ตรงนี้ คงถอดใจไปนานแล้ว"

"ดิฉันเข้ามาเพราะประชาชนเลือกจะมาถอดใจได้อย่างไร วันนี้ เราต้องพิสูจน์กันตามระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเลือกมาจะให้มาถอดใจกันง่ายๆ ได้อย่างไร"

ที่เคยมั่นใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะไปกับน้ำ พิศดูแล้วก็ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น

ต้องยอมรับว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยาวเรศรุ่นเจริญศรีบนถนนสายการเมืองเป็นอย่างยิ่ง แม้จะเติบใหญ่ในครอบครัวนักการเมืองก็ตาม

ที่สำคัญคือ มิได้ผ่านการเคี่ยวกรำเหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

อย่างน้อย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยเป็นนายตำรวจติดตามนักการเมือง ติดตามบุคคลระดับรัฐมนตรีมาก่อน

แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เคยเลย

ระยะเวลาของการต่อสู้ก็ราบรื่นสะดวกสบายอย่างเหลือเชื่อ พลันที่ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย ก็ใช้เวลาเพียง 49 วัน ก็มานั่งอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

2 เดือนเศษในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี่แหละที่สำมะคัญเป็นอย่างมาก

ปัจจัย สำคัญเป็นอย่างมากมาจากองค์ประกอบใหญ่ๆ อย่างน้อยก็ 3 ส่วนอันเหมือนกับเป็นการต้อนรับน้องใหม่ในระยะเวลา 60-90 วันในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ปัจจัย 1 คือ ปัจจัยอันแข็งแกร่งจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน

ปัจจัย 1 คือ ปัจจัยที่ไม่ยอมรับนับถือภายในปัญญาชนและสื่อมวลชน อันเป็นความต่อเนื่องจากสถานการณ์ก่อนและรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ปัจจัย 1 คือ สถานการณ์ที่เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่วมใหญ่

อาจกล่าวได้ว่า 3 ปัจจัยนี้แหละคือเตาหลอมอันทรงความหมายยิ่งในการเนรมิตประดิษฐ์สร้างให้เกิด การแปรเปลี่ยนเชิงคุณภาพทางการเมืองอย่างใหญ่หลวง

ทำให้ โอลด์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็น นิว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ในที่สุด ความยากลำบากอาจทำลายบางคน แต่สำหรับบางคนกลับให้ความแข็งแกร่ง

เป็นความแข็งแกร่งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินหน้าเผชิญปัญหาและอยู่ท่ามกลางปัญหาอันดุเดือดเข้มข้น และก็ค่อยๆ แปรเปลี่ยน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เด็ดเดี่ยวมั่นคงยิ่งขึ้น

อุปสรรคและความยากลำบากต่างหากที่สร้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมา

"ณัฐวุฒิ" แนะฝ่ายค้านตั้งหน่วยงาน "กกน." ติดตามแก้ปัญหาน้ำท่วม

ที่มา ข่าวสด


เวลา 22.50 น. วันที่ 11 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานการเปิดประชุมร่วมรัฐสภาโดยไม่ลงมติ และเปิดอภิปรายเรื่องสถานการณ์น้ำท่วมหนัก ว่า นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เราเจอพายุเข้ามา 3 ลูก ร่องกดความอากาศต่ำ วันนี้ไม่ต้องหาคนแพ้ชนะกับการจัดการน้ำท่วม ไม่ใช่รัฐบาลล้มเหลว ไม่ใช่ปัญหาของ กทม. ไม่ใช่ความด้อยประสิทธิภาพของนายกฯ หรือต้องไปปรึกษาปัญหาจัดการน้ำจากมัลดิฟส์มาแล้ว

ถ้าเราจัดการน้ำไม่ได้วันนี้หมายถึงคนไทยแพ้ด้วยกัน จึงเรียกร้องให้ ช่วยกันกอบกู้ให้ประชาชนพ้นจากภัยวิกฤตน้ำเสียก่อน แล้วจากนั้นก็จะเดินไปข้างหน้ายุทธศาสตร์ฟื้นฟู ไม่มีประโยชน์ที่จะโจมตีกันจากปัญหาน้ำท่วม ถ้าฝ่ายค้านเป็นรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นยังไง ปี 53 ก็เห็นอยู่แล้วว่าไหวไม่

วันนี้รัฐบาลได้มารับฟังข้อแนะนำจาก 2 สภา นายกฯ ก็ติดตามข่าวสาร รัฐบาลนี้เพิ่งได้บริหารไม่ถึง 3 เดือน ใช้การบริหารจัดการน้ำจากชุดเดิม มรดกรัฐบาลที่แล้ว ถ้ารัฐบาลที่แล้วเป็นอยู่ก็ใช้กลไกเหมือนกัน เหมือนการตั้ง นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย เป็น ผอ.ศปภ.ประชาชนจะตกใจระดับน้ำอีก

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า เมื่อเช้านายสุเทพ นายเทพไท บอกเฝ้าดูการจัดการน้ำท่วม ไม่เห็นรัฐบาลมีบทบาทอะไร เห็นแต่บทบาททหารออกมาช่วยประชาชน เข้าใจผิด ทหารออกมารับคำสั่งของรัฐบาล ที่กลาโหมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ทหารไม่ได้ทำงานแข่งกับรัฐบาล แต่ทำตามคำบังคับบัญชา ต้องขอบคุณแม่ทัพนายกองที่ออกมาช่วยเหลือประชาชนตามคำสั่งรัฐบาล ในวาระช่วยเหลือประชาชน ทำดีผมสนับสนุน ชื่นชม แต่ไม่อยากให้ใครไปหาเศษหาเลย หาประโยชน์ทางการเมืองด้วยเรื่องนี้

ก็ลองถามดูสิครับ ว่าเหล่าทหารที่เหงื่อไหลไคลย้อยที่ขนดินขนทราย รับส่งประชาชน ว่า ระหว่างการแบกกระสอบทรายมาช่วยประชาชน กับแบกสไนเปอร์ ไปยิงประชาชนเขาภูมิใจกับภารกิจไหนมากกว่ากัน เขาเต็มใจที่จะทำภารกิจไหนมากกว่ากัน

ส่วนการเรียกร้องให้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายกฯเห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะมวลน้ำมหาศาล พ.ร.ก.ก็จัดการไม่ได้ ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน คนไปแบกกระสอบทรายเกิน 5 คนต้องจับหรือไม่

"รัฐบาลได้ตั้ง 2 หน่วยงานมาดูแลปัญหาการจัดการน้ำ คือ กยน. กยอ. โดยมี นายวีระพงษ์ มางกูร กับ นายสุเมธ ตันติเวชกุล ถ้าไม่ดีฝ่ายค้านก็ตั้งหน่วยงาน กกน.(คณะกรรมการกำกับน้ำ) ให้นายอภิสิทธิ์ เป็นประธานก็ได้" ส.ส.ดาวไฮปาร์กเพื่อไทย กล่าว

นายณัฐวุฒิ ระบุอีกว่า ถ้าเราเป็น ประชาธิปไตยจริงๆ จะไม่มีคนบางกลุ่มที่ลุ้นเฝ้าส้มหล่นเพื่อเข้าสู่อำนาจอีกครั้ง อำนาจประชาธิปัตย์หลอกหลอนให้คนเป็นแบบนี้และซ้ำเติมวิกฤตประเทศไทย วันนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ทุกฝ่ายได้มาพูดจากัน

นอกจากนี้ นายณัฐวุฒิ ยังชี้แจงกรณีมีเสียงวิจารณ์น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ร้องไห้บ่อย ว่า นายกฯ หลั่งน้ำตาต่อหน้าประชาชน ต่อหน้าสื่อมวลชน เป็นเรื่องปกติที่เข้าใจได้ ไม่นึกว่ามีความพยายามไปอธิบายว่านายกฯ อ่อนแอ ไม่มีภาวะผู้นำ

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ล้วนแต่ต้องหลั่งน้ำตาเมื่อเห็นความทุกข์ยาก ของประชาชน มีแต่เผด็จการและทรราชย์เท่านั้นที่เพิกเฉยต่อความบาดเจ็บและล้มตายของ ประชาชน

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก้มหน้าก้มตาทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีสักคำที่ตอบโต้ใครๆ ที่กระแนะกระแหนเสียดสี หนักเข้าในโลกไซเบอร์เทียบเคียงเป็นหญิงบริการ แต่นายกฯ นิ่ง ทำแต่งาน อย่างนี้ไม่ใช่ภาวะผู้นำหรือ

ขอถกเพิ่มเติมเรื่องงบประมาณทหาร

ที่มา มติชน



โดย ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์

หมายเหตุ ข้อมูลงบประมาณทหารเป็นข้อมูลปี 2010 ในราคาปี 2009 ส่วน GDP เป็นข้อมูลปี 2009


อื่นๆ : ข้อมูลจาก Stockholm International Peace Research Institute อ้างใน Wikipedia


สืบเนื่องจากคอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ โดยอาจารย์นวลน้อย ตรีรัตน์ ในมติชนรายวัน วันที่ 12 ตุลาคม 2554 ที่ได้นำเสนอข้อมูลของงบประมาณทหารในมิติต่างๆ เพื่อให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณทหารนั้น บทความนี้จึงใคร่ขอนำบางประเด็นและข้อมูลที่อาจารย์นวลน้อยได้เสนอไว้มาถก เพิ่มเติม จะได้ต่อยอดความตื่นตัวในด้านนี้ให้มากขึ้น ดังนี้


"3. สัดส่วนงบประมาณทหาร/GDP ในปี 2010 ... พบว่าสัดส่วนงบประมาณทางทหาร/GDP ของประเทศไทยอยู่ในช่วงเดียวกันกับ อิตาลี อินเดีย บราซิล ออสเตรเลีย อัฟกานิสถาน โปแลนด์ อิหร่าน และมาเลเซีย ... และเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่าสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณทหารไม่ ได้ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อหัวประชากรแต่อย่างใด เพราะประเทศในยุโรปจำนวนมาก เช่นเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน เบลเยียม เดนมาร์ก และฟินแลนด์ มีสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณทหารน้อยกว่าร้อยละ 1.5 แต่อังกฤษ และฝรั่งเศส มีสัดส่วนการจัดสรรที่สูงกว่ามาก"


ตัวแปรสำคัญประการหนึ่งที่อังกฤษและฝรั่งเศสมีสัดส่วนของงบประมาณ ทหารต่อ GDP สูงกว่าประเทศอื่นๆ นั้น คือ อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ (defence industry) หรืออุตสาหกรรมอาวุธ (arms industry) อันเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย เป็นต้น อุตสาหกรรมนี้มีลักษณะพิเศษ เพราะอาวุธไม่สามารถขายให้เอกชนได้ (โดยถูกกฎหมาย) ต้องเป็นการขายให้กับกองทัพของประเทศต่างๆ อันเป็นหน่วยงานรัฐ และเป็นสินค้าที่มีราคาสูง อีกทั้งต้องการการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนามหาศาลเพื่อให้สามารถค้นคิดอาวุธ ยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้นลูกค้าสำคัญของผู้ผลิตเหล่านี้ ก็คือรัฐบาลของประเทศตนนั่นเอง อุตสาหกรรมนี้จะได้มีรายได้และผลตอบแทนเพียงพอ และรายจ่ายจากงบประมาณก็จะกลายมาเป็นรายได้ของระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ เอง มีการจ้างงาน มีการกระจายรายได้ อีกทั้งมีผลกระทบภายนอกต่อการขยายพรมแดนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วย การที่ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนของงบประมาณทหารต่อ GDP สูงกว่าประเทศอื่นๆ จึงมีคำอธิบายค่อนข้างชัดเจน จากข้อมูลเดียวกัน ในปี 2009 SIPRI จัดลำดับ 100 ผู้ผลิตอาวุธที่สำคัญที่สุดของโลก ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกา BAe Systems ของอังกฤษ เป็นบริษัทผลิตอาวุธลำดับที่ 2 ของโลก โดยร้อยละ 95 ของยอดขายรวมเป็นการขายอาวุธ และ Thales ของฝรั่งเศส เป็นบริษัทผลิตอาวุธลำดับที่ 11 ของโลก โดยมีการขายอาวุธร้อยละ 57 ของยอดขายรวม


อย่างไรก็ดี ประเทศที่มีสัดส่วนของงบประมาณทหาร/GDP ในระดับเดียวกับประเทศไทยนั้น อินเดียและอิตาลีมีงบประมาณทหารมากที่สุดในโลกเป็นอันดับ 9 และ 10 (ข้อมูลปี 2010) หลายประเทศมีอุตสาหกรรมอาวุธติดอันดับโลกด้วย เช่น Finmeccanica ของอิตาลี ติดลำดับที่ 8 ของโลก และมีการขายอาวุธร้อยละ 53 ของยอดขายรวม SAAB ของสวีเดน อยู่ในลำดับ 31 มีสัดส่วนรายได้จากอาวุธร้อยละ 82 RhienMetall ของเยอรมนี ในลำดับ 32 มีสัดส่วนรายได้จากอาวุธร้อยละ 55 Hindustan Aeronautics ของอินเดีย ที่ลำดับ 45 รายได้ร้อยละ 90 มาจากอาวุธ BAe Systems Australia ที่เป็นบริษัทลูกของ BAe Systems UK อยู่ในลำดับที่ 62 ที่รายได้ทั้งหมดมาจากอาวุธ และ Kongsberg Gruppen ของนอร์เวย์ ในลำดับเดียวกัน รายได้ครึ่งหนึ่งมาจากอาวุธ งบประมาณทหารของประเทศเหล่านี้จะก่อให้เกิดการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ เศรษฐกิจภายในประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยนั้น อุตสาหกรรมนี้อยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น มีบทบาทน้อยมากในระบบเศรษฐกิจไทย เพราะยังจัดอยู่ในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมเท่านั้น การจัดสรรงบประมาณทหารในระดับเดียวกันนั้น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของประเทศที่ไม่มีอุตสาหกรรมอาวุธย่อม ต่ำกว่าประเทศที่มีอุตสาหกรรมนี้


"4...เมื่อพิจารณาการจัดสรรงบประมาณทางทหาร ต่อ GDP ในกลุ่มประเทศอาเซียนดั้งเดิม... พบว่าสิงคโปร์มีการจัดสรรสูงที่สุด ตามด้วย บรูไน มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์"


ด้วยเหตุผลและข้อมูลเดียวกัน สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีอุตสาหกรรมอาวุธติดอันดับโลก นั่นคือ ST Engineering ของกลุ่ม Temasek มีรายรับจากอาวุธร้อยละ 38 อยู่ที่ลำดับที่ 54 ของโลก


นอกจากนี้สิงคโปร์เป็นประเทศนำเข้าอาวุธมากเป็นอันดับ 2 ของโลก มาเลเซียอยู่ที่อันดับ 3 และอินโดนีเซีย ในอันดับ 15 จะเห็นได้ว่า ประเทศเหล่านี้หากไม่มีการผลิตอาวุธก็ต้องทำธุรกิจซื้อขายอาวุธ หรือทั้งสองอย่าง การที่งบประมาณทหารของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ย่อมมิได้เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตหรือซื้อขายอาวุธเช่นในสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียแต่อย่างใด


"จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจะหาตัวแปรที่ชัดเจนมากำหนดการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมเป็น เรื่องยาก เพราะงบประมาณทหารขึ้นอยู่กับประเด็นในเชิงยุทธศาสตร์หรือนโยบายของรัฐ ความต้องการเตรียมความพร้อม การประเมินภัยคุกคาม และความยอมรับของประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศ"


ประเด็นในเชิงยุทธศาสตร์นั้นมีผลอย่างมากต่อการกำหนดการจัดสรรงบ ประมาณทหาร จากข้อมูลชุดเดียวกัน ได้ทำการคำนวณสัมประสิทธิ์ของสหสัมพันธ์ (correlation coefficient) ของสัดส่วนของงบประมาณทหารต่อ GDP ของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีผลดังนี้ กัมพูชา (0.675) ลาว (0.877) เมียนมาร์ (0.879) และมาเลเซีย (0.615) แสดงให้เห็นถึงสหสัมพันธ์ในเชิงบวก กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนของงบประมาณทหารต่อ GDP ของไทยเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนเดียวกันของ ประเทศเพื่อนบ้าน ประมาณร้อยละ 45.56 (สำหรับกัมพูชา) ร้อยละ 76.91 (สำหรับลาว) ร้อยละ 77.26 (สำหรับเมียนมาร์) และร้อยละ 37.82 (สำหรับมาเลเซีย) ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นประเด็นในเชิงยุทธศาสตร์ ทางทหารที่ว่า เมื่อเพื่อนบ้านมีงบประมาณทหารมากขึ้น เราจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณทหารตามไปด้วย เพื่อรักษาระดับความมั่นคงทางทหารให้ทัดเทียมกับเพื่อนบ้าน หรือไม่ให้ภัยคุกคามเพิ่มขึ้นนั่นเอง


ท้ายที่สุดนี้ สิ่งที่อยากฝากไว้คือ การจะหาตัวแปรที่ชัดเจนมากำหนดการจัดสรรงบประมาณทหารที่เหมาะสม แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ก็พอมีคำอธิบายในด้านต่างๆ ค่อนข้างชัดเจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของอุตสาหกรรมอาวุธ และด้านยุทธศาสตร์ ที่มีความซับซ้อนมากกว่าระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อหัวของ ประชากรที่เราคุ้นเคย ข้อถกเถียงเพิ่มเติมที่เกิดขึ้น คือ งบประมาณ ทหารที่อยู่ในระดับเดียวกับประเทศที่มีอุตสาหกรรมอาวุธนั้น ประเทศไทยนำไปใช้ในด้านใด มีการกระจายทรัพยากรด้านความมั่นคงอย่างไร และมีประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างไรบ้าง อนึ่ง ประโยชน์ประการหนึ่งที่เห็นชัดเจนคือการจัดอันดับ Global Firepower ล่าสุดนั้น ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 19 ซึ่งสูงกว่าสิงคโปร์ที่อันดับ 41 ทั้งที่สิงคโปร์มีสัดส่วนงบประมาณทหารต่อ GDP สูงกว่าไทยเท่าตัว ถือว่าประเทศไทยใช้งบประมาณทหารเพื่อเสริมสร้างกำลังรบได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย ในอันดับ 18 แล้ว สัดส่วนงบประมาณทหารต่อ GDP ของไทยยังสูงกว่าอินโดนีเซียมากกว่าเท่าตัวเช่นกัน แต่อันดับห่างกันเพียงอันดับเดียวเท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดต่อไป

จิ้งจกทักยังต้องฟัง! เจ้าสัวซีพี. "ธนินท์" แนะ" รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ฟื้นศก.ประเทศหลังน้ำลดอย่างไร?

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ



เจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นเจ้าของ"ทฤษฎีสองสูง" อันลือลั่น ให้ราคาสินค้าขึ้นสูง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และปรับเงินเดือนให้ขึ้นสูงตาม ให้มีความสมดุลกัน จนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นำมาใช้ทั้งเรื่องการรับจำนำข้าวและขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ300บาท/วัน รวมทั้งขึ้นเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรี ที่จะเริ่มใช้ในต้นปี 2555

ล่าสุดวานนี้(10 พ.ย.2554) นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ลงมือปรุงอาหารแจกจ่ายผู้ประสบภัย ที่เต็นท์โรงครัวพระราชทาน โดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดพระราชทานอาหารให้กับผู้ประสบอุทกภัย ตามโครงการ “กลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์เคียงข้างคนไทยช่วยภัยน้ำท่วม” ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จ.นนทบุรี


หลังลงมือปรุงอาหารเสร็จ นายธนินท์เปิดเผยว่า ภายหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย จะเกิดการจ้างงานอย่างมหาศาล แรงงานจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะหลังน้ำลดต้องมีการขนย้ายทรัพย์สิน ซ่อมแซมบ้านและโรงงาน ขณะที่แรงงานต่างด้าวกลับประเทศไปค่อนข้างมาก ดังนั้น อย่าวิตกว่าคนจะตกงาน และในปีหน้าจะดีกว่าปีนี้ เพราะรายได้หรือเงินส่วนใหญ่จะเป็นของคนจน และ GDP ของไทยอาจสูงถึง 7%


สำหรับปัญหาน้ำท่วมนั้น นายธนินท์กล่าวว่า เกิดจากการระบายน้ำไม่ทัน และมรสุมอีกหลายลูก ซึ่งคนไทยไม่ควรโทษกัน แต่ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยหากรัฐบาลเร่งสูบน้ำออก คนกรุงเทพจะเดือดร้อนน้อยลง เร่งขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ สูบน้ำเต็มที่เชื่อว่าน้ำจะขังไม่ถึง 1 เดือน


ขณะเดียวกัน สิ่งที่รัฐบาลควรปฏิบัติต่อไปก็คือการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน โรงงานที่ไหนน้ำท่วมไม่ต้องย้ายออก ขอให้ทำรั้วป้องกัน เพราะการสร้างโรงงานนั้นต้องลงทุนไปมหาศาล ถ้าเครื่องจักรเสียก็สั่งเครื่องจักรเข้ามาทดแทนง่ายกว่าย้ายทั้งโรงงาน และถ้าไม่มีบริษัทรับประกัน รัฐบาลต้องรับประกันแทน เพื่อให้นักลงทุนมีกำลังใจผลิตสินค้าต่อ จะนำไปสู่การจ้างงานมากขึ้น


นายธนินท์กล่าวอีกว่า รัฐบาลควรปล่อยราคาสินค้าเกษตรให้เป็นไปตามกลไก ดังเช่นราคาน้ำมันที่เป็นไปตามตลาดโลก เท่ากับเป็นการช่วยเหลือคนจนและเกษตรกร เป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้คนจนและเกษตรกรมีรายได้มากขึ้น เป็นประโยชน์ทั้งผู้ผลิต ผู้ซื้อ และรัฐบาลก็เก็บเงินภาษีได้มากขึ้น


สำหรับความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั้น “กลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์เคียงข้างคนไทยช่วยภัยน้ำท่วม” ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่เกิดเหตุอุทกภัยเป็นต้นมา ดังนี้ สนับสนุนเงินช่วยเหลือผ่านนายกรัฐมนตรี จำนวน 30 ล้านบาท มอบผลิตภัณฑ์และถุงยังชีพจำนวน 50,000 ชุด มูลค่า 20 ล้านบาท ผ่านองค์กรต่างๆ อาทิ กระทรวงมหาดไทย มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ครัวสายใยรักแห่งครอบครัวฯ กาชาดจังหวัด ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล และสื่อมวลชน ตลอดจนการตั้งเต็นท์โรงครัวพระราชทาน โดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดพระราชทานอาหารให้กับผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 14 จุดจังหวัด ครอบคลุมทุกพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อทำการปรุงอาหารสดทุกวัน วันละ 3 มื้อ จำนวน 10,000 กล่องต่อจุดต่อวัน แจกจ่ายช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทุกๆพื้นที่

ทั้งนี้ได้ปรุงอาหารแจกจ่ายแก่ประชาชนผู้ประสบภัยไปแล้วกว่า 1,700,000 กล่อง คิดเป็นมูลค่า 60 ล้านบาท และจะดำเนินโครงการต่อไปอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย นอกจากนี้ยังมี กลุ่มบริษัททรู อีก 40 ล้านบาท และกลุ่มการค้าระหว่างประเทศ ข้าวตราฉัตร อีก 5 ล้านบาท รวมมูลค่าที่ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้วทั้งสิ้น 180 ล้านบาท

ศึกษาความขัดแย้ง ศึกษาจาก เจ้าสัว"ธนินท์" ศึกษาทุนนิยมไทย

ที่มา มติชน



(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 12 พ.ย. 2554)



ทั้งๆ ที่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ทั้งๆ ที่ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย

ล้วนเป็น "นายทุน" ระดับเอ้

หรือถึงมิได้เป็น "นายทุน" โดยตน แต่ก็ทำงานรับใช้ระบอบทุนในฐานะ "มืออาชีพ" อย่างยาวนาน

ทำไมจึงมีความเห็น "ต่าง" ในเรื่องนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ

ความโน้มเอียงของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นความโน้มเอียงในแนวทางเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์

คือ ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน

ความโน้มเอียงของ นายธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าสัวใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เป็นความโน้มเอียงในแนวทางเดียวกับพรรคเพื่อไทย

คือ เห็นด้วยกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน

น่า สนใจก็ตรงที่เมื่อประสบกับวิกฤตน้ำท่วม พรรคประชาธิปัตย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นควรให้ชะลอการปรับและรวมถึงนโยบายประชานิยมอื่นๆ

ขณะที่ "เจ้าสัวซีพี" ให้เดินหน้านโยบายต่อไปอย่างไม่ลังเล

ไม่ว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ ไม่ว่าสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่ว่าหอการค้าแห่งประเทศไทย ล้วนเคลื่อนไหวอยู่ภายในองคาพยพแห่งระบอบทุน

เป็นเจ้าของโรงงาน เป็นเจ้าของธุรกิจ อุตสาหกรรม

แต่ 2 องค์ประกอบนี้มีความเห็นต่อกระบวนการขับเคลื่อนระบอบทุนแตกต่างกัน เหมือนกับพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

"เจ้าสัวซีพี" เห็นว่าการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันเป็นการขับเคลื่อน

"เจ้าสัวซีพี" เห็นว่าการเดินหน้านโยบายรถยนต์คันแรก นโยบายบ้านหลังแรก เป็นการขับเคลื่อนและกระตุ้นเศรษฐกิจ

เพราะเมื่อผู้ใช้แรงงานมีเงินในมือมากก็จับจ่ายใช้สอยได้มาก สินค้าก็ขายได้มาก

เช่นเดียวกับนโยบายรถคันแรก นอกจากคนจะได้มีรถราคาถูกแล้ว ผู้ประกอบการรถยนต์ก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วย

เช่นเดียวกับนโยบายบ้านหลังแรก เท่ากับเป็นการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ตรง กันข้าม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าแห่งประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์กลับไม่ได้มองในด้านกระตุ้น หากมองว่าจะเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเศรษฐกิจ

มุมมองแตกต่างกันทำให้แสดงออกแตกต่างกัน

อย่า ได้แปลกใจหากในระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 จะสัมผัสได้ถึงความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

เป็นความขัดแย้งอันต่อเนื่องจากการนำเสนอนโยบายระหว่างการเลือกตั้ง

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ประชาชนกว่า 15 ล้านคนเห็นด้วยกับแนวทางของพรรคเพื่อไทย ขณะที่ประชาชนกว่า 11 ล้านคนเห็นด้วยกับแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์

อันเป็นปัจจัยชี้ขาดว่า พรรคเพื่อไทยกำชัยเหนือพรรคประชาธิปัตย์

แต่ การต่อสู้ในทางความคิด การต่อสู้ในทางการเมือง จากระหว่างหาเสียงเลือกตั้งก็ยืดเยื้อเรื้อรังมายังร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ และการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร ก็เป็นไปตามความคาดหมาย

คือรัฐบาลชนะฝ่ายค้าน

แท้จริงแล้ว ความขัดแย้งจากร่าง พ.ร.บ.งบประมาณก็มิได้แสดงว่าพรรคประชาธิปัตย์มิได้ไม่ต้องการกระตุ้น เศรษฐกิจ และมิได้หมายความว่าพรรคเพื่อไทยจะเห็นแก่คนยากคนจนกระทั่งล้มและมองข้าม ความสำคัญของผู้ประกอบการ

ตรงกันข้าม แนวทางของพรรคเพื่อไทยก็ต้องการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย เพื่อให้ประชาชนมีเงินอยู่ในมือมากขึ้น เพื่อที่จะนำเงินเหล่านั้นมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นวงรอบ

ทุกอย่างล้วนอยู่ในกรอบแห่งเคเนเซี่ยน ต่อยอดและพัฒนาระบอบทุนให้เติบใหญ่

น่ายินดีที่กระบวนการทางสังคมทำให้มีความรับรู้ในระบอบทุนมากยิ่งขึ้นท่ามกลางความขัดแย้ง

โดย เฉพาะความขัดแย้งระหว่างเครือซีพีกับสภาอุตสาหกรรมฯและหอการค้าแห่งประเทศ ไทย และความขัดแย้งระหว่างแนวนโยบายพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

ระหว่างแนวคิดใหม่กับเก่า ระหว่างความใหม่ที่ใหม่ยิ่งกว่า พัฒนากว่า

...........

เจ้าสัวซีพี. "ธนินท์" แนะ" รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ฟื้นศก.ประเทศหลังน้ำลดอย่างไร? ...คลิกอ่าน

ภาพงานหมั้น-แต่ง "เอม พินทองทา ชินวัตร- พงศ์ ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ " สุดชื่นมื่น

ที่มา มติชน






























(ชมคลิป โอ๊ค พาน้องเอม ส่งให้เจ้าบ่าว)

"มติชนออนไลน์" ประมวลภาพถ่ายในงานหมั้นและแต่งงาน ของ พงศ์-ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ นักธุรกิจหนุ่ม อสังหาริมทรัพย์ กับ เอม-พินทองทา ชินวัตร บุตรสาวคนกลางของ พ.ต.ท.ทักษิณ

ชินวัตร และ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ซึ่งจัดขึ้ันตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าวันที่ 11 พฤศจิกายน 2554 ณ โรงแรมสวิสโซเทล นายเลิศ ปาร์ค กรุงเทพ ซึ่งเป็นทั้งภาพที่ ผู้สื่อข่าวมติชน

ออนไลน์ สามารถเก็บบรรยากาศในงานได้บางส่วนเมื่อตอนที่นายพานทองแท้ ชินวัตรนำตัว

น.ส.พินทองทา เจ้าสาว มาส่งมอบให้กับ นายณัฐพงศ์ เจ้าบ่าวที่มายืนรอรับ พร้อมมอบช่อดอกไม้สีขาว ตรงบันได รวมถึงภาพบางส่วนจากวอยซ์ ทีวี และเฟซบุ๊กของ นายพานทองแท้ มาให้ได้ดูถึงบรรยากาศอันอบอุ่นแสนหวาน และเต็มไปด้วยความปลาบปลื้มดีใจของ ตัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวเอง ครอบครัวญาติมิตร และเพื่อนสนิท ของทั้งสองครอบครัว รวมถึงบรรยากาศการวิดีโอลิงค์เข้ามาแสดงความยินดีและอวย พรบุตรสาวสุดที่รักของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากแดนไกล

ภาพจากมติชนออนไลน์

ภาพจากมติชนออนไลน์

ภาพจากเฟซบุ๊คของนายพานทองแท้ ชินวัตร พี่ชาย น.ส. พินทองทา ชินวัตร และได้เขียนบรรยายภาพไว้ว่า

"พ่อ phone in มา surprise น้องเอมกับพงษ์ในงาน"