ที่มา ไทยรัฐ สุภรณ์ อัตถาวงศ์ "สุภรณ์" ช้ีผู้ชุมนุม มามากคนล้นราชประสงค์ เตรียมเสนอที่ประชุมตั้งเวทีหน้าธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่ ถ.สีลม อีกเวที เผย เคลื่อนไหวใหญ่ 19 เม.ย.น้ี...
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2553 นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือ แรมโบ้ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขึ้นเวทีกล่าวกับผู้ชุมนุมว่า เนื่องจากช่วงนี้มีจำนวนคนที่มาชุมนุมจำนวนมากทำให้พื้นที่ที่ชุมนุมกันในปัจจุบันคับแคบ ดังนั้นจะขอหารือกับที่ประชุมแกนนำ ว่าจะขยายพื้นที่เวทีโดยจะจัดตั้งอีกเวทีหนึ่งที่หน้าธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ที่ถนนสีลม อย่างไรก็ตาม สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงใน 1-2 วันนี้ ยังไม่มีการเคลื่อนไหวไปไหนเป็นเพียงการจัดทัพเพื่อเตรียมเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้งในวันที่ 19 เม.ย. แต่ยังไม่ทราบได้ว่าจะเคลื่อนอย่างไร ต้องมีการหารือกันในที่ประชุมนแกนนำก่อน
เพื่อไทย
Saturday, April 17, 2010
"แรมโบ้" คุย คนมามาก เล็งขอตั้งเวทีหน้าแบงก์กรุงเทพ ถ.สีลมอีกแห่ง
ปิดเวบไร้ผลเมื่อคนกระหายความจริง ทะลวงด่านเผด็จการอ่านไทยอีนิวส์10เมษาเลือด170000คลิ้ก
ที่มา Thai E-Newsปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ-แม้สุเทพ เทือกสุบรรณ จะลงนามปิดกั้นไทยอีนิวส์ในวันที่ 8 เม.ย.จะพบว่ายอดผู้อ่านกลับสูงขึ้นตามความกระหายข้อมูลข่าวสาร โดยวันที่ 10 เม.ย.มีผู้เข้าเยี่ยมชม170,000ครั้ง
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 เมษายน 2553
การประกาศปิดกั้นเวบไซต์ของฝ่ายประชาธิปไตยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยอาศัยอำนาจประกาศฉุกเฉินในตอนแรกเมื่อวันที่ 7เมษายน 2553 จำนวน 36 เวบไซต์ไม่ปรากฎว่ามีรายชื่อของไทยอีนิวส์แต่อย่างใด เวบที่มีชื่อเสียงยอดนิยมที่โดนปิดในคราวนี้คือประชาไท
อย่างไรก็ตามในวันต่อมาคือ 8 เมษายน นายสุเทพสั่งปิดอีก 58 เวบไซต์ คราวนี้จึงมาถึงคิวของไทยอีนิวส์ โดยมีรายชื่อในลำดับที่ 21 (ดูรายละเอียด) ในวันดังกล่าวผู้อ่านของเราแจ้งว่าเข้ามาอ่านทางwww.thaienews.blogspot.com ไม่ได้ แต่ยังเข้าอ่านทางhttp://thaienews.blogspot.comได้ตามปกติ
ต่อมาหลังการปราบปรามประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในวันที่ 10 เมษายน ช่องทางhttp://thaienews.blogspot.com เริ่มเข้ายาก และถูกปิดกั้นสนิทในวันที่ 14 เมษายน
อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านของเราดูจะไม่ละความพยายามที่จะเข้ามาอ่านไทยอีนิวส์ดวยความกระหายข้อมูลข่าวสารความจริง โดยข้อมูลจากwww.statcounter.com ที่เป็นเวบนับจำนวนคนที่เข้าเยี่ยมชมเวบไซต์ต่างๆบอกว่า ในวันเสาร์ที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งเป็นวันที่มีการปราบปรามประชาชนนั้น มีผู้เข้าเยี่ยมชมทั้งสิ้น 170,472 ครั้ง
ส่วนวันที่ 14 เมษายน ซึ่งช่องทางเข้าเยี่ยมปกติถูกปิดตาย ยังมียอดผู้เข้าอ่านข่าวทั้งสิ้น 60,481 ครั้ง และล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่ 16 เมษายน มียอดผู้เข้าอ่านข่าวทั้งสิ้น73,725 ครั้ง
ทั้งนี้เหตุที่ยอดผู้อ่านตั้งแต่วันที่ 14 ลดลงมากหากเทียบกับวันเสาร์ที่ 10 เมษายนนั้น เป็นไปตามความสนใจต่อเหตุการณ์ของประชาชนเป็นสำคัญ
ในระหว่างที่เราถูกปิดกั้นนี้ กองบรรณาธิการไทยอีนิวส์ยังคงยืนหยัดทำหน้าที่ตามปกติ ท่านผู้อ่านสามารถเข้าเยี่ยมชมไทยอีนิวส์ได้ผ่าน 2 ช่องทางเลือกต่อไปนี้
ช่องทางที่ 1 เข้า http://www.google.co.th จากนั้นคลิ้กที่"แปลภาษา" แล้วพิมพ์คำว่า www.thaienews.blogspot.com ลงไป แล้วคลิ้กคำว่า แปล ก็จะสามารถเข้ามาอ่านไทยอีนิวส์ได้ตามปกติ (แต่ระบบแปลอาจทำให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะหากต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ โปรแกรมภาษาจะแปลเป็นไทยแบบsubนรกเล็กน้อย)
ช่องทางที่ 2 เข้าเยี่ยมชมผ่านพร็อกซี่ หรือโปรแกรมทะลวงบล็อค โดยดูที่แถวขวาสุดของไทยอีนิวส์หน้าแรก ตรงคำว่า"โปรแกรมทะลวงบล็อค" แล้วท่านก็จะอ่านไทยอีนิวส์ได้ โดยไม่เจอsubนรกให้หงุดหงิดใจเหมือนแบบแรก
ส่วนท่านผู้อ่านที่อยู่ในต่างประเทศ หรือใช้ipต่างประเทศยังสามารถเข้าเยี่ยมชมไทยอีนิวส์ได้ตามปกติ
ไทยอีนิวส์เริ่มเปิดให้บริการข้อมูลข่าวสาร บทความของฝ่ายที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการอำมาตย์มาตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2549 หรือหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ราว 1 เดือนครึ่ง
เราเริ่มนับยอดจำนวนท่านผู้อ่านเมื่อเดือนเมษายน 2550 หรือ 3 ปีมานี้ ถึงปัจจุบัน มีท่านผู้อ่านเข้าอ่านไทยอีนิวส์แล้วทั้งสิ้นเกือบ 17 ล้านคลิ้ก (ยอดผู้อ่านถึง19.00 วันเสาร์ที่ 17 เมษายน 2553 อยู่ที่ 16,940,303 ครั้ง)
**********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ประชาไทสัมภาษณ์เปิดใจ ไทยอีนิวส์คือใคร คิดอย่างไร ทำงานกันอย่างไร เพื่อใคร?
'เทพ โพธิ์งาม' งานเข้า อดิศรประกาศให้แดงบอยคอต
เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. วันที่ 17 เม.ย. นายอดิศร เพียงเกษ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ขึ้นเวทีปราศรัยกับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ที่เวทีแยกราชประสงค์ โดยนายอดิสร กล่าวว่า วันนี้มีกลุ่มคนอีกลุ่มหนึ่งที่มาต่อต้านการชุมนุมของพวกเสื้อแดง สนับสนุนการทำหน้าที่ของรัฐบาล แต่งตัวใส่เสื้อสีชมพู และเสื้อหลายสี ไปชุมนุมกันที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) รู้ว่ากลุ่มนี้มาจากไหน และ มีคนที่ขึ้นเวทีคือนายสุเทพ โพธิ์งาม หรือ "เทพ โพธิ์งาม" ดารานักแสดงตลกชื่อดัง ขึ้นมาบอกว่ารำคาญคนเสื้อแดง ดังนั้นขอให้กลุ่มคนเสื้อแดงบอยคอต "เทพ โพธิ์งาม" อย่าไปสนใจ อย่าไปดู อย่าไปสนับสนุนผลงานทั้งหมด.
พท.ยื่นนายกฯ ค้านเหตุ10เมษา เป็นคดีพิเศษ
เพื่อไทยยื่นหนังสือนายกฯ ค้านนำคดีเหตุปะทะ 10 เม.ย. เป็นคดีพิเศษ เตรียมยื่นป.ป.ช.ฟันซ้ำ ปูดมี ส.ส. และ อดีตส.ส. เพื่อไทย 10 กว่าคน ถูกขึ้นบัญชีให้มารายงานตัวต่อ ศอฉ. ยืนกรานไม่มาแน่...
วันที่ 17 เม.ย. ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางมายื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน พ.ท.วิบูลย์ ศรีเจริญสุขยิ่ง รองผู้บังคับกองพันทหารราบ มณฑลทหารบกที่ 11 (รอง ผบ.พัน มทบ.11) เพื่อคัดค้านการนำเหตุปะทะ 10 เม.ย.เป็นคดีพิเศษ นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตน และ ญาติผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องดำเนินคดีอาญาต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) และ กองปราบปรามไว้แล้ว ดังนั้น เจตนาที่คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) รับเรื่องนี้เป็นคดีพิเศษ จึงเป็นการใช้กฎหมายเอื้อประโยชน์ทางการเมือง และ เป็นช่องทางปลดตัวเองให้พ้นจากความผิด เพราะ กคพ.หลายคนมีตำแหน่งในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี เช่น นายกรัฐมนตรี ปลัดยุติธรรม ปลัดมหาดไทย อัยการสูงสุด เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้น นายอภิสิทธิ์ และกคพ.มีเจตนาจงใจใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งจะยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.ในสัปดาห์หน้าต่อไป
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งแต่งตั้ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.เป็น ผอ.ศอฉ. แทนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้พล.อ.อนุพงษ์ เคยแสดงความเห็นว่า ปัญหาการเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง ทำให้รัฐบาลรู้สึกว่า ถูกกดดัน จึงต้องแก้เกมใหม่ โดยให้ พล.อ.อนุพงษ์ มารับผิดชอบเต็มตัว เป็นการขึ้นขี่หลังเสือ หากไม่สามารถแก้ปัญหาตามที่รัฐบาลต้องการได้ ก็จะปลด พล.อ.อนุพงษ์ ส่วนการที่ ศอฉ. ออกคำสั่งเรียกบุคคล 51 คน ให้มารายงานตัว เนื่องจาก ให้การสนับสนุนกลุ่มเสื้อแดงนั้น จากการตรวจสอบพบว่า มี ส.ส. อดีต ส.ส. อดีตรัฐมนตรี ของพรรคประมาณ 10 กว่าคน ซึ่งบางส่วนยังไม่ได้รับหมายเรียก เนื่องจาก ศอฉ. ส่งหมายเรียกผ่านตำรวจในพื้นที่ แต่เบื้องต้นฝ่ายกฎหมายของพรรคได้หารือกันแล้ว เห็นว่าจะไม่มารายงานตัว และจะให้ทนายความทำหนังสือสอบถามว่า จะให้บุคคลเหล่านี้มารายงานตัวเรื่องอะไร หากจำเป็นจะส่งทนายความมาแทน
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคเพื่อไทยจะหาทนายความให้ทั้ง 51 คนที่ถูก ศอฉ.ออกหมายเรียกหรือไม่ นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า เฉพาะบุคคลที่ร้องขอมา เช่น เมื่อเช้าวันที่ 17 เม.ย. มี ส.ส.ที่เป็นด็อกเตอร์ จ.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ไปลงชื่อให้ทนายความช่วยทำหนังสือชี้แจงส่งไปให้ศอฉ.แล้ว
หัวใจสีขาว
ที่มา เดลินิวส์
ขออนุญาตเอามาเผยแพร่ต่อ ถึงจะย่อ ๆ แต่ได้ความรู้สึก หัวใจ พองโตเต็ม ๆ
คุณดนัยเขียนเล่าไว้ว่า วันหนึ่งต้องไปงานศพกะทันหัน เลยไม่ได้เตรียมชุดดำไว้ ต้องขับรถกลับมาที่ออฟฟิศเพื่อเปลี่ยนเสื้อผ้า ตั้งใจว่าจะจอดแป๊บเดียว แล้วก็จะมาเอารถออก
แต่ให้บังเอิญมีคนอื่นมาจอดในที่จอดรถคุณดนัย ทำให้ต้องไปจอดรถในที่คนอื่น กลับลงมา มีรถอื่นมาจอด แถมเข้าเกียร์ เอารถออกไม่ได้ เลยตัดสินใจขึ้นแท็กซี่ไป
ไปงานศพกลับมาดึกพอควร ต้องทิ้งรถไว้ แต่เช้าวันรุ่งขึ้น ตาก็เบิกกว้าง เพราะล้อรถแบนแต๊ดแต๋ 2 ล้อ แม้จะปลอบตัวเองว่า อย่าโกรธ อย่าโกรธ แต่ความโกรธวิ่งเข้าขั้วหัวใจเลย
พอมีสติ เกิดปัญญา ซึ่งปกติก็ไม่ได้สามารถจะคิดได้ขนาดนั้นหรอก มันเหมือนสว่างวาบ
คุณดนัยทำอย่างนี้ พอถึงออฟฟิศ... ผมก็สั่งเลขาฯให้ไปตรวจสอบว่า เจ้าของรถที่จอดขวางผมเป็นใคร แล้วช่วยจัดดอกไม้ให้หน่อย จะเอาไปให้เขา เลขาฯ ผมสงสัยว่า ทำไมต้องเอาไปให้ เขามากรีดยางรถแท้ ๆ
ไม่ใช่เลขาฯ เท่านั้น พนักงานทั้งออฟฟิศ ก็โกรธแทนหมด
คนที่กรีดยางรถผม เป็น เจ้าของบริษัททัวร์ ใหญ่สุดแห่งหนึ่ง เขาทำอย่างนี้มาหลายครั้งแล้ว แล้วผมก็เอากระเช้าดอกไม้ไปที่ออฟฟิศเขา คนละชั้นกัน ขอพบเขา แต่เขาไม่ออกมาพบ
ผมไม่ได้รับเชิญให้นั่ง และได้รับการยืนยันว่า นายเขาไม่อยู่ พอเห็นว่าคุณฝรั่งคนนั้นไม่มาพบ ผมเลยอธิบายเหตุการณ์ทั้งหมดให้ลูกน้องเขาฟัง บอกตั้งใจเอาดอกไม้มาขอโทษนายเขา !!!
ปรากฏว่า ก่อนเที่ยงวันเดียวกัน เลขาฯกับทีมงาน ก็เฮลั่น เพราะได้รับ ตะกร้าผลไม้ใหญ่มากพร้อมแชมเปญยี่ห้อแพง จากฝรั่งคนนั้น พร้อมจดหมายน้อย บอกทุกครั้งที่ได้กรีดยาง
เพื่อสั่งสอนคนไทยที่ไม่มีวินัย จะรู้สึกสะใจมาก แต่ผมมาแปลกที่เอาดอกไม้ไปขอโทษเขา และยังอธิบายเหตุผลด้วย เมื่อผมไม่โกรธที่โดนกรีดยาง เขารู้สึกไม่ดี และขอโทษผม
เป็นครั้งแรกจริง ๆ ที่รู้สึกแบบนี้ ฝรั่งคนนั้นว่า
ไม่เท่านั้น ยังขอเป็นลูกค้า แต่ตอนนั้นมีลูกค้าเต็มมือจึงปฏิเสธไป และหลังจากนั้น การกรีดยางรถก็หายไปจากออฟฟิศด้วย
วิธีนี้ดีมากจริง ๆ ใครจะเอาไปใช้บ้างก็ได้ เชื่อว่าคุณดนัย ไม่หวงลิขสิทธิ์หรอก นี่แหละ หักหอกเป็นดอกไม้ ของจริง
หัวใจสีขาวของคุณดนัย ทำให้โลกนี้น่าอยู่จริง ๆ ท่านผู้อ่านเห็นด้วยมั้ย....
ดาวประกายพรึก
เพื่อไทยแจงสื่อนอกนองเลือด 10 เม.ย.รบ.ต้องรับผิดชอบ
ที่มา มติชน ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 17 เม.ย.ว่า ศูนย์ช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยประชาชน (ศชปป.) นำโดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.และนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ ร่วมแถลงข่าวต่อผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรณีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารกับผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง เมื่อคืนวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา รวมไปถึงการเผยแพร่คลิปวีดีโอจำนวน 5 คลิป ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ โดยมีสื่อมวลชนต่างประเทศเข้ารับฟังกว่า 10 คน
นายปลอดประสพ กล่าวว่า ข้อแรกในเรื่องที่ว่าใครเป็นคนสั่งให้มีการสลายม็อบ ในวันที่ 10 เมษายน เวลาประมาณ 16.00 น. ตนได้รับโทรศัพท์จากนักการเมืองระดับสูงว่านายทหารผู้มีอำนาจในการสั่งการต้องการหารือถึงสถานการณ์ทางการเมือง เพื่อหยุดยั้งสถานการณ์รุนแรงที่จะเกิดขึ้น โดยนายทหารบอกว่าจำเป็นที่จะต้องยึดพื้นที่คืนเพราะเป็นคำสั่งของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่การประชุมในช่วงเช้า ขณะนั้นทหารกับผู้ชุมนุมได้ปะทะกันที่แยกมิกสกวัน ทหารบอกว่าได้รับคำสั่งต้องปฏิบัติแต่ไม่ต้องการเดินหน้าต่อไป เขาอยากทำความตกลงว่าขอให้ใช้สะพานมัฆวานเป็นเส้นแบ่งกั้น ในที่สุดก็ตกลงกันโดยทหารอยู่ทิศเหนือประชาชนอยู่ทิศใต้ของสะพานและไม่มีการใช้กำลังต่อไป ถึงตอนนี้พิสูจน์ว่านายอภิสิทธิ์สั่งการ แต่ทหารไม่อยากปฏิบัติตามจึงเห็นการปฏิบัติแค่ครึ่งๆ กลางๆ เพราะถ้าไม่ทำอะไรเลยก็ถูกจะสอบวินัยและมีโทษรุนแรง
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า ในการประชุมที่สำคัญกว่านี้ตนก็ได้รับการตนได้รับติดต่อเข้ามาอีก ซึ่งตนเดินทางไปสะพานผ่านฟ้าฯในเวลา 19.00 น. เมื่อไปถึงเห็นคนเสื้อแดงจำนวนเป็นหมื่นคน คิดว่าไม่น่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นแล้วเพราะคนมาจำนวนมาก และไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ว่าในขณะนั้นมีเฮลิคอปเตอร์บินเข้ามาและเริ่มโปรยแก๊สน้ำตาช่วงแรกที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นเฮลิคอปเตอร์ก็บินมาปล่อยแก๊สน้ำตาที่เวทีปราศรัย โดยในขณะนั้นมีโทรศัพท์เข้ามาบอกว่าประสงค์ที่จะยุติการปฏิบัติการ ทางฝ่ายทหารบอกว่าจะขอหยุดปฏิบัติการโดยถอยไปคนละ 500 เมตร ตนก็ถามกลับไปว่ามาเริ่มต้นทำไมตอนกลางคืนซึ่งมันอันตราย เขาก็พูดเหมือนในช่วงบ่ายว่านายกรัฐมนตรีบอกว่าต้องยึดพื้นที่ทั้งหมดให้ได้ภายในวันนี้
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้อยู่ในจุดที่มีการยิงปะทะกันจริงๆ ก็ไม่ทราบปัญหา แต่ตอบกลับไปว่าจะแพ้แล้วหรืออย่างไรจึงขอเลิก เขาตอบมาว่าตนไม่รู้หรือว่ามีการยิงระเบิดเข้าไป 2 ลูก และทำให้ทหารของเขาบาดเจ็บ ก็ตอบว่าไม่รู้เพราะไม่คิดว่าเสื้อแดงจะมีระเบิด ถ้าไม่อยากจะปฏิบัติตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง ตนจะติดต่อกับนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่ปราศรัยอยู่บนเวทีให้ประกาศให้ ระหว่างนั้นนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช.มาถึงเวทีพอดี ก็บอกปลายสายไปว่าทางโน้นจำเป็นต้องแต่งตั้งผู้มีอำนาจมาเจรจาการแยกทัพ จะพูดกันแค่นนี้ไม่ได้ และภายใน 5 นาทีทางโน้นก็ตอบมาว่าจะให้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เจรจากับนายจาตุรนต์ และนายกอร์ปศักดิ์ก็ตัดสินใจได้ทันทีว่าตกลงให้แยกกำลังออกจากกัน
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการพิสูจน์ว่าการตัดสินใจในการสลายการชุมนุมในเวลากลางคืน เป็นการตัดสินใจของฝ่ายการเมืองคือรัฐบาล ดังนั้น ความผิดพลาดทั้งหมดจึงเป็นความผิดพลาดของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ สำหรับทหารแม้ว่าจะต้องรับผิดบ้างแต่เป็นการทำตามคำสั่ง และเห็นว่าเป็นการทำหน้าที่เพียงครึ่งเดียวและก็หยุดดังที่ปรากฏทั้งในช่วงบ่ายและค่ำ อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดเรื่องขึ้นมาแล้วรัฐบาลก็ได้ปั้นภาษาขึ้นมาใหม่คือคำว่าผู้ก่อการร้าย โดยภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา มีการยิงระเบิดเอ็ม 79 ทุกคืน แม้แต่ห้อง ผบ.ทบ.ก็ถูกยิง 2 ครั้งรัฐบาลไม่เคยบอกว่าใครยิง และไม่เคยบอกว่าผู้ก่อการร้ายยิง หรือมีผู้ก่อการร้ายอยู่ใน กทม.แต่หลังจากคืนวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลจึงประกาศว่ามีผู้ก่อการร้ายใน กทม.และยิงทหารที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
"อยากให้ผู้สื่อข่าวต่างประเทศอย่าได้ไปเชื่อคำพูดเหลวไหล เลอะเทอะ ของกวีเฮงซวยพวกนี้ เขาต้องอ้างผู้ก่อการร้ายเพราะกลัวความรับผิดชอบว่าต่อไปนี้ผู้ก่อการร้ายเป็นคนยิงทหาร และประชาชน แต่วันนี้ผู้ก่อการร้ายสาบสูญไปแล้วเพราะไม่มีตัวตน และหายไปพร้อมนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี" นายปลอดประสพ กล่าว
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าพื้นที่ราชประสงค์อันตราย มีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่พร้อมที่ยิงทหารและประชาชน และให้ประชาชนบอกญาติพี่น้องว่าอย่ามาร่วม แต่ปรากฏว่ายิ่งรัฐบาลประกาศคนก็ยิ่งมาเพิ่มขึ้น เพราะว่าทุกคนต้องการที่จะเขียนประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในครั้งนี้ เขารู้สึกเสียโอกาสที่ไม่ได้ร่วมต่อสู้ในวันที่ 10 เมษายน จึงรอโอกาสให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกโดยไม่กลัว และถ้าเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกก็ขอเชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศไปดูได้ คนเสื้อแดงจะสู้มากกว่าเดิมอีกมันจะได้จบๆ กันเสียที วันนี้มีชาวต่างจังหวัดเข้ามาจำนวนมากเพราะว่าหมดสงกรานต์แล้ว จึงอาจจะขยายพื้นที่การประท้วงให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่ว กทม.มันจะได้หมดเรื่องหมดราว ที่พูดตนไม่ได้ขู่แต่มันเกิดขึ้นจริง นอกจากนั้น ในการชุมนุมครั้งนี้มีทหารตำรวจเข้ามาในฐานะประชาชนธรรมดาอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ปะทะคนพวกนี้เขาก็ต้องช่วยเหลือพวกพ้องเพราะถูกฝึกมาอย่างนั้น แต่คนพวกนี้กลางวันอยู่กับรัฐบาล ในย่ามมีเสื้อสีแดงส่วนกลางคืนอยู่กับเรา และกินแตงโมด้วย ทั้งนี้ สำหรับคนที่โทรศัพท์มาพูดกับตน ถ้าได้เป็นรัฐบาลแล้วตนจะบอก คนที่รู้เรื่องนี้ดีก็มีนายกอร์ปศักดิ์ นายจาตุรนต์ และตน ซึ่งก็ขอขอบคุณทุกคนที่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
185 นักเรียนนักศึกษาออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา-จัดเลือกตั้งใหม่
ที่มา มติชน จดหมายเปิดผนึกถึง รัฐบาล แกนนำนปช. ผู้ร่วมชุมนุม และคนกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความเข้าใจและเสนอ "ทางออก" ของสังคมจากสภาวะความขัดแย้งทางการเมือง และความรุนแรงในปัจจุบัน โดย 185 นักเรียนนักศึกษาไทย ในประเทศและต่างประเทศ ในแง่นี้เราไม่อาจปฏิเสธข้อเท็จจริงประการหนึ่งได้ว่ารัฐบาลได้เข้ามามีส่วนในการสร้างความแตกแยกของทรรศนะของผู้คนในสังคมตรงจุดนี้ด้วย เช่นการเลือกใช้ภาพเหตุการณ์ต่างๆในการนำเสนอความจริงชุดหนึ่ง การสร้างคำนิยามของ "ผู้ก่อการร้าย" ขึ้นมาในกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งได้ก่อให้เกิดกระแสความเกลียดชังให้กับผู้คนจำนวนหนึ่งในกรุงเทพฯที่ได้มีความเกลียดชัง หรือรำคาญใจกับผู้ชุมนุมอยู่เป็นทุนเดิมเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมในพื้นที่ต่างๆในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณสี่แยกราชประสงค์ แต่ในขณะเดียวกันนั้นผลในทางกลับกันคือการสร้างความโกรธแค้นและเกลียดชังที่กลุ่มผู้ร่วมชุมนุมซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ในวันดังกล่าวมีต่อรัฐบาลให้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเป็นทวีคูณ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมาซึ่งรัฐบาลได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทำการบุกจู่โจมจับแกนนำนปช.ที่โรงแรม SC Park นั้น ยิ่งทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่เลวร้ายลงไปอีกโดยเหตุการณ์ดังกล่าวได้ยิ่งกระพือความโกรธแค้นของผู้ชุมนุมที่มีต่อรัฐบาล และภาพรวมของสถานการณ์ที่เป็นอยู่ยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งได้ถูกควบคุมตัวไว้โดยกลุ่มผู้ชุมนุม จนกระทั่งนำมาสู่สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงบ่ายของวันดังกล่าว ที่ได้มีการแต่งตั้งมอบหมายให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบในเขตพื้นที่ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้นั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญญาณบางอย่างที่อาจเป็นเค้าลางของความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ และยิ่งส่งผลให้สถานการณ์ที่ความขัดแย้งและเกลียดชังได้ลามไปสู่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ กับผู้ชุมนุม ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีกและรังแต่จะทำให้ปัญหาต่างๆฝังรากลึกมากยิ่งขึ้นและยากแก่การแก้ไข ในการนี้ทางเราในฐานะที่เป็นการรวมกลุ่มของนักเรียน นักศึกษา ทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองและปฏิเสธความรุนแรงที่เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตอันใกล้ จึงขอเสนอทางออกให้กับสังคมดังต่อไปนี้ ประการแรก เป็นการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลทั้งคณะต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดดังกล่าว ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของตนในการปล่อยให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นกลาง คือเป็นอิสระจากอำนาจของรัฐบาลชุดนี้แล้ว ประการที่สอง เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาพื้นฐานที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้อ้างเหตุผลในการชุมนุม เพราะการเลือกตั้งใหม่ย่อมนำมาสู่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิจารณาและไตร่ตรองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ตนต้องการอีกครั้งหนึ่ง การยุบสภาจึงเป็นทางเลือกที่รัฐบาลควรกระทำมากกว่าการสลายการชุมนุม ทั้งนี้เพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งในระยะเวลาอันใกล้ ประการแรก ไม่มีสิ่งใดที่รับประกันว่าพรรคเพื่อไทย หรือพรรคใดๆ จะเป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป อีกทั้งการยุบสภาจะสามารถปลดเงื่อนไขของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ในทันที ประการที่สอง ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล แต่จากบทเรียนที่เกิดขึ้นนั้น การชุมนุมใดๆ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการยุบสภาหรือการลาออกของผู้นำรัฐบาลนั้น ย่อมมิอาจสำเร็จได้หากรัฐบาลชุดนั้นๆ ไม่สร้างเงื่อนไขสำคัญ ให้กลุ่มใดๆ นำมาใช้เป็นข้ออ้างในการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้คนขนาดใหญ่ ประการที่สาม ที่สุดแล้วการชุมนุมของกลุ่มใดๆไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง เสื้อเหลือง หรือกลุ่มอื่นๆนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นมิใช่สิ่งที่เป็นปัญหาเพราะการชุมนุมโดยสงบของกลุ่มใดๆนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ตามกรอบของระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่ต้องพึงระวังจึงมิใช่การชุมนุมหากเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ความรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นได้อีก มากไปกว่านั้นเราอาจต้องยอมรับว่าเกือบทุกกรณีในอดีตของรัฐไทยที่ผ่านมาสิ่งที่จะสามารถล้มรัฐบาลได้นั้นมิใช่การชุมนุมโดยตัวของมันเอง การชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่อาจเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นแต่ไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอต่อการล้มรัฐบาล แต่เป็นเพราะอำนาจนอกระบบที่แทรกแซงเข้ามาผ่านเงื่อนไขของความรุนแรงที่เกิดขึ้นหรือถูกอ้างว่าจะเกิดขึ้นในบริบทของการชุมนุม ดังนั้นก่อนที่ความรุนแรงระลอกต่อไปจะเกิดขึ้นหรือการแทรกแซงใดๆจะเกิดขึ้น และเพื่อธำรงไว้ซึ่งสิทธิของประชาชนทุกคน ยุติความขัดแย้ง และระงับความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น อันจะส่งผลเสียให้กับประเทศมากไปกว่านี้ การประกาศยุบสภาโดยเร็วที่สุด หรืออย่างมากที่สุดภายใน 30 วันจึงเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะนักเรียน นักศึกษาดังมีรายนามดังต่อไปนี้เห็นว่าเป็นทางออกที่รีบด่วนอย่างยิ่งของสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน
โดยสืบเนื่องจากเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ที่รัฐบาลตัดสินใจสลายการชุมนุมหรือ "ขอคืนพื้นที่" บริเวณถนนราชดำเนิน จนกระทั่งเปิดโอกาสให้ความรุนแรงได้เกิดขึ้น และก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตของผู้คน และผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุกาณณ์ดังกล่าวจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนั้นประกอบไปด้วยทั้ง เจ้าหน้าที่ซึ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในการสลายการชุมนุม และผู้ร่วมชุมนุม กระแสสังคมที่เกิดขึ้นทั้งในขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเข้าสลายการชุมนุมและภายหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างหลากหลาย ทั้งฝ่ายที่สนับสนุนการสลายการชุมนุม และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นความแตกแยกของกระแสสังคมนั้นอาจเป็นผลจากการรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อที่มีจุดยืนแตกต่างกัน และเลือกที่จะเสนอแง่มุมของสิ่งที่เกิดขึ้นจากแง่มุมที่แตกต่างกันตามไปด้วย
1. เนื่องจากเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าชนวนของความรุนแรงที่ได้เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นซ้ำในระยะเวลาอันใกล้นั้น ในแง่หนึ่งมีที่มาจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดของรัฐบาล ในการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง และการตัดสินใจสลายการชุมนุม อันนำมาซึ่งเหตุการณ์ปะทะและความสูญเสียที่เกิดขึ้น อีกทั้งภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นสื่อของรัฐได้นำเสนอข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังและยั่วยุให้เกิดความรุนแรงในระหว่างประชาชนด้วยกัน อีกทั้งภายใต้การดำเนินการของกระทรวง ICT รัฐบาลยังทำการปิดกั้นช่องทางการรับทราบข้อมูลทางเลือกของประชาชนอีกด้วย รัฐบาลจึงควรแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตน อย่างไรก็ตามการลาออกของนายกรัฐมนตรีนั้นคงมิใช่วิธีการแสดงความรับผิดชอบหรือทางออกที่ถูกต้องของปัญหาที่ได้เกิดขึ้น เพราะการลาออกนั้น อย่างมากที่สุดก็จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพียงเฉพาะแต่ตัวของผู้เป็นนายกฯเท่านั้น หรือมากไปกว่านั้นก็เพียงแต่การปรับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี แต่มิได้นำมาซึ่งการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลโดยรวม หรือมากไปกว่านั้นความรับผิดชอบของพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งควรมีส่วนในการรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการนี้ด้วยในฐานะของฝ่ายบริหาร มากไปกว่านั้นหากพิจารณาร่วมไปกับการอ้างเหตุผลในการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีเหตุผลสำคัญ ประการหนึ่งคือที่มาของรัฐบาลชุดนี้มิได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชน แต่มาจากการปรับเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาลดังนั้นทางออกที่เหมาะสมกว่าจึงเป็นการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เพราะ
2. หากรัฐบาลได้ประกาศยุบสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้วทางแกนนำ นปช. ควรประกาศยุติการชุมนุมและงดเว้นการกล่าวปราศรัยที่จะมีผลในการสร้างความเกลียดชังให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างผู้ชุมนุม กับผู้คนบางส่วนในกรุงเทพฯและรัฐบาล และไม่มีการชุมนุมหรือการเคลื่อนไหวใดๆขึ้นอีกในระหว่างที่รัฐบาลทำการรักษาการในตำแหน่งอยู่ในช่วงก่อนการเลือกตั้งใหม่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด และผู้ร่วมชุมนุมควรเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนและยุติพฤติกรรมที่อาจยั่วยุให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้
3. คนกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นกลาง ตลอดจนกลุ่มต่างๆไม่ว่าจะเป็นเสื้อสีอะไรก็ตามที่ออกมาชุมนุมตามจุดต่างๆของกรุงเทพฯ ในลักษณะที่อาจเป็นการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงขึ้นควรยุติการกระทำของตนเช่นเดียวกัน ซึ่งในสถานะของปุถุชนแล้ว ทางเราในฐานะของลูกหลานชนชั้นกลาง และส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯเช่นเดียวกัน ย่อมเข้าใจได้ว่าการกระทำของผู้มาร่วมกลุ่มเหล่านั้นมีที่มาจากความรู้สึกเดือดร้อน และเป็นการกระทำเพื่อตอบโต้การชุมนุมของผู้ชุมนุมเสื้อแดง แต่หากต้องการให้สถานการณ์ทั้งหมดคลี่คลายลงนั้นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนกรุงเทพฯ และชนชั้นกลาง จำต้องยุติพฤติกรรมในการชุมนุมดังกล่าว ในที่นี้ย่อมรวมถึงพฤติกรรมการยั่วยุที่รังแต่จะก่อให้เกิดกระแสความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกันเช่นที่ปรากฎในสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น Facebook เป็นต้น ในขณะที่ผู้นำของกลุ่มเสื้อสีต่างๆที่ออกมาในระหว่างนี้นั้นหากมีความรักให้กับประเทศชาติ ก็ควรที่จะหยุดพฤติกรรมที่รังแต่จะส่งผลให้เกิดความแตกแยกของตนไว้ด้วยเช่นกัน
4. ต่อข้อโต้แย้งที่ว่า การเลือกตั้งใหม่อาจนำมาสู่วงจรอุบาทว์ของการจัดตั้งมวลชนเพื่อล้มรัฐบาลต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดนั้น พวกเรามีความเห็นว่า
1.นายชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2.นายศักดิ์สิทธิ์ สีลาเขต นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3.นายนนทวุฒิ ราชกาวี นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 4.นายศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5.นายฉัตรชัย ทองสุขนอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 6.นางสาวสุนิสา บัวละออ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 7.นายเกื้อ เจริญราษฎร์ นักศึกษาปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 8.นายภวริษฐ์ ฉันทประยูร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9.น.ส. อจินไตย เฮงรวมญาติ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 10.นายวยากร พึ่งเงิน นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.นายสมพล ชคัตประกาศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12.น.ส.วิชญา พรหมสวัสดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 13.นายรักนิรันดร์ ชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 14.นายธัชพงศ์ ศรีสุวรรณ นักศึกษาปริญญาโท Membrane Structure, Anhalt University of Applied Sciences, Germany., 15.น.ส.ธัญญธร สายปัญญา น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 16.นายตฤณ ไอยรา School of International Development, University of East Anglia., 17.น.ส.แวววิศาข์ ณ สงขลา คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 18.นางสาวอัชฌา ถิรนุทธิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19.นางสาวสิรยา ชุมนุมพร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 20.อาจินต์ ทองอยู่คง สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์
21.นางสาวนววิธ จิตต์วรไกร นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22.อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23.นายฮัสสัน ดูมาลี นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24.การ์ตูน บุญมิ่ง นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 25.ภารุต เพ็ญพายัพ นักศึกษาป. โท คณะประวัติศาสตร์ Birkbeck College, 26.ณภัค เสรีรักษ์ น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 27.นายวัฒนา ลาลิน นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 28.กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ นักศึกษาป.โท School of International Development, University of East Anglia, UK, 29.อธิศนันท์ ซันกูล ปริญญาตรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวัทยาลัยเชียงใหม่, 30.วันชัย สินประจักษ์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
31.ทพ.ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 32.วันเฉลิม โภคกุลกานนท์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 33.นายดิศพล ศิริรัตนบวร นักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 34.กฤษณะ มณฑาทิพย์ School of Political Science and International Studies University of Queensland, 35.นางสาวกอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ นิสิตปริญญาเอก คณะสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา และความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 36.วิป วิญญรัตน์ นักศึกษาป.โท Department of History, Birkbeck College, University of London, 37.บุญครอง พรพนาทรัพย์ School of Law, Indiana University, 38.ทัชชนก นิลพันธุ์ LL.M. Indiana University, School of Law, 39.บัญชา ทุนถาวร School of the Art Institute of Chicago, Visual Communication Design, 40.วรรณพร เตชะไกศิยวณิช S.J.D. Indiana University, Maurer School of Law
41.นายธนากร ธีรวัฒน์วรกุล นักศึกษาปริญญาโท LLM. Dundee University, Scotland., 42.กนกพร ขจรศิลป์ LL.M. University of California, Los Angeles, School of Law, 43.รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล นักศึกษาป.เอก คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 44.รพีพัฒน์ พัฒนา ศศ.ม ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 45.ริสา สายศร BBA. Assumption University, 46.นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ International Development Department, School of Government and Policy, University of Birmingham, 47.ตะวัน มานะกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 48.นายเทอญ ฐิติเนื่อง Department of Accounting and Finance, University of Strathclyde, Glasgow., 49.ธนพงศ์ จิตต์สง่า น.ศ. ปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 50.นายภัทร บุปผาวัลย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
51.นายเมธี ชุมพลไพศาล ปริญญาตรี เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 52.กรัณย์ กาญจนรินทร์ นักศึกษาสถาบันภาษา Institut d′Etudes Françaises pour Etudiants Etrangers Université Paul Cézanne Aix-Marseille3, 53.ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ ป.โท สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล, 54.นางสาวสุลักษณ์ หลำอุบล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, 55.ชญานิน เตียงพิทยากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 56.วิรุจ ภูริชานนท์ คณะ สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 57.ศิริภัทร์ ทองสุขนอก คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 58.วีระวรรณ แสนคำราง คณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา, 59.วิชญาภรณ์ ศศิสกุลพร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 60.บดินทร์รัตน์ จันทน์ขาว คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
61.ทิวาพร ใจก้อน ป.โท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 62.น.ส.วริศรา ตั้งค้าวานิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 63.นางสาว ภัชชารีญา ชัยได้สุข สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียน พายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ, 64.นายอภิรัตน์ สุนันทา สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ, 65.นางสาววันใหม่ หมื่นฤทธิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษศาสตร์ (สื่อสารมวลชน) ,คณะนิติศาสตร์, 66.ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 67.นายวิศรุต บุนนาค ปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 68.นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 69.นายสว่าง มีแสง นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 70.นางสาวปทุมรัตน์ ปานรัตน์ มหาวิทยาลัย Asia Pacific International University คณะ Biology
71.นายอดิราช ท้วมละมูล โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา, 72.นายสุทธิพงศ์ อาวะภาค คณะนิติศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์, 73.น.ส.อันธิกา ทรงเผ่า คณะพลศึกษา เอกนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2, 74.นายอภิรัตน์ ปานรัตน์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค, 75.วชรพรรณ สิทธิโกศล นักศึกษาปริญญาโท(MBA)รามคำแหง, 76.นายวรพรต พัชตระชัย คณะBBA มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 77.ตรัย ลาพินี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 78.น.ส.เมลิน ชูธรรมสถิตย์ Economics, University of Waterloo, Canada, 79.นายฮัมเดร์ ยุนุ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 80.อรุษา ชัยชนะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
81.สมเกียรติ มูลทา BBA, ABAC, 82.นางสาวรุ่งนภา ธรรมชาติ บริหาร, หัวเฉียวฯ, 83.สิริมา บุตรสุทธิวงศ์ ป.โท ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 84.ชัชชล อัจนากิตติ นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 85.นายณัฐพล สวัสดี ศิลปกรรมศาสตร์ ม.กรุงเทพ, 86.นายธัชนนท์ ลักษณพรพงษ์ ปริญญาโท วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 87.น.ส.วราภรณ์ สิทธิศักดิ์ธนกุล Communication Arts, Bangkok University International College, 88.ธิติพงษ์ ก่อสกุล นักศึกษาป.โท ชนบทศึกษาและพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์, 89.รัฐนันท์ กิจนิธิไพศาล คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 90.นายไพโรจน์ ศรีเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
91.นายสรไกร คำแก่น รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต, 92.นายนิวัตชัย ขยายแย้ม ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 93.ธีรวัฒน์ คงเที่ยง ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 94.ศศิธร ศรีเพชรางกูร คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 95.น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 96.พรเทพ โลมรัตนา การจัดการสารสนเทศ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา, 97.พนิดา เรืองสว่าง บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 98.กนกวรรณ ไตรยวงค์ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว, 99.วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย ป.โท คณะพาณิชย์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 100.อธิคม จีระไพโรจน์กุล ป. โท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
101.นายชนาธิป โพธิ์แก้ว คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่, 102.โชติช่วง มีป้อม ป.โท พิพิธภัณฑ์ศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, 103.นายณัฐ พัฒนศิริ School of Music มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 104.จารุณี ธรรมยู นิสิตปริญญาโท ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 105.นายอานันท์ สุขุมภาณุเมศร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 106.ภัทรกร บุญเสรฐ วิทยาลัยดุสิตธานี สาขาการจัดการโรงแรม, 107.สุพรรษา มิ่งขวัญ คณะศิลปกรรม สาขาคอมพิวเตอร์อาร์ต ม.รังสิต, 108.นายนรุตม์ เจริญศรี นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 109.นางสาวจิตรชนก คงจรัสพัฒน์ ป.ตรี คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 110.นฤมล กล้าทุกวัน นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
111.นส.ณัฐสุดา แก่นน้อย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 112.นาย อดิศร กรอบกระจก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 113.นาย ธนวัฒน์ ไพรวิจิตร โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย, 114.นางสาวเบญจรัตน์ อักษรเลิศสวัสดิ์ วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 115.นางสาวปรางใส องพิสิฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 116.นางสาวนิตต์ณิชา โชติกเสถียร คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 117.นางสาวสลิสา ยุกตะนันทน์ นักศึกษาปริญญาโท Social and Political Thought, University of Warwick, UK., 118.ไชยรัตน์ ชินบุตร รัฐศาสตร์ การปกครอง รามคำแหง, 119.นางสาว ธนาภรณ์ ชุมพลไพศาล นักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, 120.นายอธิวัฒน์ กิจวนิชย์ภาสุ นักศึกษาปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
121.นายณัฏฐ์ หงษ์ดิลกกุล นักศึกษาปริญญาโท-เอก คณะเศรษฐศาสตร์, Simon Fraser University, 122.นายวรุตม์ วรดิถี Economics, Swedish University of Agricultural Sciences, 123.ขวัญอรุณ โอภานนท์ ปริญญาโท รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 124.ภาณุ ชินผา นักศึกษาปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์, 125.สุทธิอัตถ บุญชื่น MBA, California state University polytechnic Pomona, 126.ภาสวร ตั้งชัยพิทักษ์ บริหารธุรกิจ รามคำแหง, 127.นางสาวชนัญชิดา อนันตวิเชียร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, 128.นางสาวโมไนย โรจนภิมุข เครื่องสายสากล มัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร, 129.หทัยญา บุญสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 130.น.ส.อริสรา ฤทธิยา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคบูรพา ปราจีนบุรี
131.นายวีรภัทร คันธะ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 132.นางสาวสรัญญา ธีรวุฒิ คณะครุศาสตร์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา, 133.นายสยาม ธีรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 134.ไพลิน ปิ่นสำอางค์ ศศ.บ.(ปรัชญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 135.น.ส.ไอลดา ลิบลับ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 136.น.ส. ประทุมรัตน์ นางแย้ม นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 137.สุธิดา ชลชลาธาร นักศึกษาปริญญาโท Faculty of Education, Early Childhood Studies Department, Roehampton University, 138.นางสาวศิริภรณ์ พุฒทาจู ปี4 ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 139.นายคเณศ จิวระโมไนย์กุล วิศวกรรมศาสตร์ ปี4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 140.กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
141.สุรชิต วรรณพัฒน์ ปี3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 142.น.ส.ฐิตินันท์ บุญรอด ปี5 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 143.นายพงศกร พ่วงน่วม ปี3 บริหารธุรกิจ รามคำแหง, 144.สิทธิโชค พริ้งประยงค์ ปี5 คณะดุริยางคศิลป์ สาขาธุรกิจดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 145.นายมารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร, Ph.D. student in Institute of Medical Microbiology, Goettingen University, Germany., 146.น.ส.วีรวัลย์ ทิพย์ธวัชวงศา ปี 2 คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 147.น.ส. อักษราภัค ชัยปะละ นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 148.วิษณุ อาณารัตน์ ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 149.นส. อิสรีย์ เพชรบัวศักดิ์ ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 150.รัชชานนท์ โชติพุฒศิลป์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
151.พัชร์ศร ทองสลวย คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 152.เพรียวพันธ์ เกริกพิทยา คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 153.โยธิน โบราณวรรณ คณะดุริยางค์ศาสตร์ ศิลปากร, 154.ธรรมนูญ จำคำ, Asia Pacific Management, Ristumeikan Asia Pacific University, 155.วิทย์ ประสมปลื้ม นักศึกษาปริญญาโท Master of Public Administration, Arizona State University, 156.วิมลวรรณ ลิ่วชวโรจน์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 157.รูปพิมพ์ สุขพานิช Travel Industry Management, Mahidol University International College, 158.สันติ ปินทุกาศ นักศึกษาปริญญาโท คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 159.พรทิวา ขนอม นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 160.นายชัชพงษ์ โลหะบาล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
161.จิตติคุณ เลี่ยวจำนงค์ ป.ตรี คณะวิทยาศาตร์,คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร [พระนครเหนือ], 162.นางสาวชลธิชา ศรีทอง โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ศิลป์-คำนวณ ม.6, 163.นางสาวปวริศา คุณาวรนนท์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ, 164.นายจิระวิน ตานีพันธ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 165.ชาคร รุ่งเรืองไพฑูรย์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์, 166.นายอัคริศ ต้องทรัพย์อนันต์ น.ศ.ป.ตรีปี4 วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร , ป.ตรี ปี2 รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 167.นายปฏิภาณ นิลศิริ นิสิตภาคบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บัณฑิตปี 52 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์), 168.นายกษิดิ์เดช ซาฮิบ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 169.นายมณเฑียร เลขาลาวัณย์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 170.นายณัฐพันธุ์ บุญเลิศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
171.นายภาคภูมิ พลานุวัฒน์ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 172.ภนิธา โตปฐมวงศ์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 173.น.ส. ธีรินทร์ ศรีประเสริฐ Mahidol University International College [MUIC], 174.สิริพล ธารีรัชต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 175.น.ส.ธัญลักษณ์ นิลศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 176.ทรงกลด ขาวแจ้ง สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 177.ปรินทร์ ทองวรานันท์ School of Music ABAC, 178.นายพงศ์นเรศ อินทปัญญา นักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 179.ธนาวุธ ศรีสุข นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชา Bioinformatics มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีบางมด, 180.สมยศ สืบจากดี นักศึกษาปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
181.ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักศึกษาปริญญาโท Department of Political Science, University College London, 182.นายกิตติกร นาคทอง นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 183.นายฑภิพร สุพร คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 184.นางสาวอักษร สุดเสนาะ โรงเรียนหอวัง, 185.นายธนิสสร มณีรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เปลี่ยนกรุงเทพให้ เป็นสามจังหวัดภาคใต้ : เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นรวันดา
ที่มา thaifreenews บทความโดย...ลูกชาวนาไทย คนเสื้อแดงเขาเรียกร้องแค่ “ยุบสภา” เท่านั้น ยอมไม่ได้ถึงกลับจะก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองเชียวหรือ กลัวเสียงประชาชนขนาดยุบสภาไม่ได้เชียวหรือ ?ถึงกลับต้องฆ่าคนกลางเมือง โชว์ชาวโลกเชียวหรือ ? นั่นเป็นคำถามต่อภาพรวมทั้งหมด ใครที่ดูหนังเรื่อง Hotel Rwanda หรือติดตามข่าวการเมืองในสมัยเมื่อเกือบ 20ปีที่แล้ว จะเห็นภาพการฆ่ากันของคนในประเทศเดียวกันระหว่างคนสองเผ่าพันธุ์ คือ เผ่าฮูตูและเผ่าตุ๊ดชี่ ที่ทำให้มีคนตายเกือบล้านคน ซึ่งผลของการฆ่ากันนี้ เกิดจากการสร้างความเกลียดชังกันสะสมมาเป็นเวลานาน อันที่จริงนักชาติพันธุ์วิทยา ได้พิสูจน์ว่า เผ่าตุ๊ดชี่ กับเผ่าฮูตู ไม่ได้มีความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์มากมายนัก แต่มีความแตกต่างกันทางเศรษฐกิจมากกว่า โดยชนเผ่าตุ๊ดชี่ มักเป็นคนชั้นสูง เป็นผู้ปกครองที่มีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจสูง มีการเอารัดเอาเปรียบกันทางสังคม ความอยุติธรรมต่างๆ สะสม เมื่อถึงคราวระเบิด การฆ่ากันแม้แต่คนข้างบ้านที่รู้จักกันมานั้น ก็เกิดขี้นทั่วทั้งสังคม การฆ่าส่วนใหญ่ก็ใช้มีดอีโต้ยาว ที่มีความโหดร้ายมาก ที่จริงเป็นเผ่าฮูตูซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศลุกขึ้นมาฆ่าเผ่าตุ๊ดชี่ ทิ่เป็นคนส่วนน้อยที่กุมเศรษฐกิจของประเทศไว้ (เทียบได้กับคนชั้นสูงในประเทศไทยปัจจุบัน) สื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น วิทยุ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ความเคียดแค้นชิงชังกันขยายตัวไปด้วย เพราะความมีอคติของสื่อ สร้างความแตกแยกร้าวฉานไปทั่ว ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่จุดนั้น โดยไม่เรียนรู้ประสบการณ์จากชาวโลกในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกันนี้ รัฐบาลที่ "หมดประตูสร้างความชอบธรรม" ของนายอภิสิทธิ์ ได้ใช้สื่อของรัฐทุกชนิด ปิดล้อมทางสื่อกับคนเสื้อแดง ปิดเว็บไซต์ข้อมูลต่างๆ เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารด้านเดียว เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับ "การสังหารหมู่ประชาชน" ของตน ในคืนวันที่ 10 เมษายน 2553 มีความชอบธรรม รัฐบาลอำมาตย์ได้ทำการณรงค์ทางสื่อ โปรประกันดาค่างๆ ฉายคลิปวิดิโอด้านเดียว ให้ความจริงครึ่งเดียว เพื่อสร้างภาพให้ได้ว่า "คนเสื้อแดงที่โดนล้อมปราบ" ในวันที่ 10 เมษายน นั้น "สมควรตายแล้ว" เพราะพวกเขาบังอาจตอบโต้ทหาร ที่ไปฆ่าพวกเขา จนทหารตายไปหลายศพ และบาดเจ็บหลายร้อย ที่จริงพวกเขาควรให้ทหารฆ่าอย่างเดียวเหมือนเมื่อปีที่แล้ว ทั้งๆ ที่คนเสื้อแดงโดนทหารเหล่านั้นฆ่า และบาดเจ็บเกือบพันคน การสร้างภาพว่ามี “ผู้ก่อการร้ายในกลุ่มผู้ชุมนุม” เพื่อสร้างความชอบธรรมในใบสั่งฆ่าของอำมาตย์เท่านั้น ข้อเท็จจริงไม่มีผู้ก่อการร้าย แต่เป็นคนในกองทัพไทยด้วยกัน ที่ทนเห็นความอยุติธรรมไม่ได้ และไม่อาจเห็นชาวบ้านถูกสังหารโหดได้ จึงต้องลุกขึ้นมา “หยุดยั้งกลุ่มหมาบ้า” อย่างผู้นำทหารเสือพระราชินี (บูรพาพยัคฆ์) พล.ต. วลิต โรจนภักดี กับพวก ในการสังหารประชาชน หากไม่มีพวกเขาวันนั้นคงมีคนตายเป็นพัน กว่าทหารพวกนี้จะบุกกวาดไปถึงเวทีที่ผ่านฟ้าได้ ก็คงต้องเดินบนกองศพคนเสื้อแดงนับพันทีเดียว เหมือนกับที่เทียนอันเหมิน ในประเทศจีน ที่มีคนตายเป็นหมื่น กระสุน M-79 นัดนั้น จึงเป็นกระสุนแห่งคุณธรรมโดยแท้ การสร้างข่าวด้านเดียวนี้ไม่มีประโยชน์ เพราะโลกยุคนี้ ข่าวสารข้อมูลนั้น ไม่มีใครสามารถผูกขาดเทคโนโลยีสื่อสารที่ ต่อต้านการผูกขาดสื่อได้ คนเสื้อแดงในหมู่บ้าน ที่ผมเห็น ในชนบท ได้ "ปิดโทรทัศน์" งดรับข่าวสารจากฝ่ายรัฐบาลโดยสิ้นเชิงและ "ตีตรา" ข่าวสารรัฐบาลว่าเป็นการ "หลอกลวง" สื่อข่าวเดียวและอคติ การโปรประกันดา ของรัฐบาลจึงมีผลกับคนเสื้อเหลืองที่เป็นพวกสนับสนุนอำมาตย์อย่างเดียว ทำให้คนเสื้อเหลืองโกรธแค้นคนเสิ้อแดงมากขึ้น และคนเสื้อแดงที่ไม่เชื่อข่าวภาครัฐ ก็โกรธแค้น "อำมาตยาธิปไตย" ตั้งแต่นายถึงบ่าวมากขึ้น ผลของการโปรประกันดาอย่างหนักของรัฐบาลอภิสิทธิ์อย่างบ้าคลั่งขณะนี้ จึงมีประโยชน์อย่างเดียวคือ ทำให้ประเทศแตกแยกและยากประสานกันได้ และจะมีการฆ่ากันตายแบบรวันดามากขึ้น ไม่มีทางที่สื่อปัจจุบันนี้ จะสร้าง "ฉันทานุมัติ" ให้สังคมคิดไปทางเดียวกันได้แบบยุคก่อนอีกแล้ว คนได้เลือกข้างไปหมดแล้ว ไม่มีใครฟังหรือรับสื่อจากฝากตรงข้ามอีกต่อไป สื่อของรัฐบาลอภิสิทธิ์ จึงไม่ส่งผลต่อคนเสื้อแดงแต่อย่างใด หากมีการ "ล้อมปราบอีกครั้ง" มีฆ่าคนอีกครั้ง ประเทศไทยจะได้จำนวนศพ และคนบาดเจ็บมากขึ้น เสิ้อแดงจะไม่สลายตัวไป แต่กรุงเทพฯ จะกลายเป็น "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" กลายเป็นเขตสงครามกลางเมือง และรัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้ยกสนามรบมาไว้ในกรุงเทพมหานครเรียบร้อย ประเทศไทยจะกลายเป็น รวันดา แห่งที่สองของโลก อย่าคิดว่า "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" นั้น จะยัง "ศักดิ์สิทธิ์" อยู่ ช่วงกลางสงกรานนี้ ผมได้กลับหมู่บ้านเกิด และตรวจสอบความเห็นของชาวบ้าน ชาวนา พบว่า พวกเขาไปกันไกลแล้ว เขารู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว เขามีคำถามกันแล้วว่า "...อยู่ไปมีประโยชน์อย่างไร" หากล้อมฆ่าพวกเขาอีกครั้ง "สายใยเส้นสุดท้าย" จะขาดผึงลงทันที ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ไม่ใช่พราหมณ์ ที่เมื่อถึงที่สุดแล้ว ชาวบ้านก็จะตาสว่างว่า การกราบไหว้บูชาเทวดานั้น ไม่เป็น "สรณะได้อย่างแท้จริง" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คนเสื้อแดงที่ตายกว่ายี่สิบคน บาดเจ็บร่วมพันคน มีพี่น้องพวกพ้องของเขาที่ไปร่วมด้วยทั่วประเทศ แต่ละคนที่บาดเจ็บหรือตาย ไม่ได้มาจากอากาศธาตุ พวกเขามีที่อยู่ มีตัวตนในสังคมของเขา มีสายใยกับกลุ่มพวกของเขาที่มา การชุมนุมของคนเสื้อแดง มีคนเข้าร่วม สี่ถึงห้าแสนคน ที่ยังไม่ได้มาแต่สนับสนุนอยู่ที่ต่างจังหวัดอีกมากมาย มันจึงเป็นกิจกรรมที่ “ประชาชนมีส่วนร่วม” หรือเข้าร่วมมากที่สุด คนเจ็บคนตาย มีสายสัมพันธ์กับคนเหล่านี้อยู่ พวกเขาเจ็บแค้น ที่พวกพร้องของเขาเจ็บ ตาย โดยคำสั่งของ “คนที่พวกเขาก็รู้” พวกเขาไม่ได้โง่ ไม่ได้เป็นชาวนาโง่ๆ แบบยุคสงครามเย็นปี 1980s อีกแล้ว แต่เป็นชาวบ้านที่ถูกถึงเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ตั้งสามสี่ปี ตั้งแต่หลังรัฐประหารปี 2549 แล้ว พวกเขามีจิตสำนึกทางการเมือง มีเครือข่ายเชื่อมโยงทางการเมืองเรียบร้อยแล้ว การโปรประกันดาใดๆ ของอำมาตย์ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนใจชาวบ้านเสื้อแดงอีกต่อไปแล้ว อุดมการณ์จักรๆ วงศ์ๆ ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ในวันนี้ พ.ศ. นี้ การกลับชนบทในช่วงสงกรานต์ โดย “ลาพักรบ” ในสนามรบราชประสงค์ และผ่านฟ้าของผม เพื่อมาเยี่ยมบ้านครั้งนี้ ผมจึงได้มีโอกาสเข้ามาตรวจสอบกระแสในหมู่บ้าน กระแสจากพี่ป้าน้าอา ที่เป็น “ชาวนา” เลือดเดียวกับผม กลับครั้งนี้ ญาติพี่น้องของผมต่างเข้ามา “ประชุมสภาใต้ถุนบ้าน” กันเพื่อวิจารณ์ทางการเมืองกับผมกันอย่างเต็มที่ แค่หมู่บ้านผม ก็มีคนเข้าร่วมในกลุ่มเสื้อแดงหลายสิบคนแล้ว เป็นเสื้อแดงกันทั้งหมู่บ้าน อันที่จริงหมู่บ้านชนบทไทยยุคนี้ ไม่ได้ “ขาดลอยจากสังคมเมือง” เพราะลูกหลานต่างทำงานในเมือง ทำงานในโรงงาน เป็นพนักงานของบริษัท ราชการ ทหารตำรวจ ทำให้มีปฎิสัมพันธ์กันมากมาย กระแสความคิดที่ไหลเวียนในสังคมชั้นล่าง ที่ไม่ใช่ “สังคมชั้นสูง อำมาตย์” ก็ไหลเวียนอย่างเต็มที่ ตอบได้เลยว่า วันนี้ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” นั้น ไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไปแล้ว สายสัมพันธ์แทบขาดสะบั้น หรือ “ขาดสะบั้น” ไปแล้วกับ ชาวนาก้าวหน้าในชุมชนที่เป็นพวก “หัวหมอหรือหัวการเมือง” วันนี้หากรัฐบาลยังโหมโปรประกันดา เพื่อให้การ “สังหารหมู่ประชาชนในวันที่ 10เมษายน” และจะสังหารกันอีกในรอบใหม่ มีความชอบธรรม รัฐบาลอภิสิทธิ์ กำลังทำให้ “กรุงเทพฯเป็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรวันดา” วันนี้ผมรู้ว่าผมหยุดฝ่ายใดไม่ได้ แต่เมื่อประเทศมันเป็นฝีเป็นหนองมานาน ก็ให้ฝีมันแตกเสียเลย ไทยยุคใหม่ จะได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสมบูรณ์เสียที เมื่ออยากได้สงครามกลางเมือง ก็ให้ได้สมใจคนกรุงเทพฯ และคนชั้นสูงก็แล้วกัน ถึงอย่างไร วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่อาจเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปได้แล้ว ในทางการเมือง “นายอภิสิทธิ์ได้ตายไปแล้ว” เหลือแต่สภาพผีดิบที่รอวันดับไปเท่านั้น วันนี้แม้จะถูกฆ่า บาดเจ็บไปร่วมพันคน คนเสื้อแดงก็ไม่ได้เสียขวัญหรือท้อถอย แต่กลับมีพลังใจมุ่งมั่นในการต่อสู้มากกว่าเดิม หลังสงกรานต์ พวกชนบทที่กลับมาพักรบชั่วคราว จะกลับไปอีก เพื่อเสริมทัพที่ราชประสงค์ ให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น ผมไม่เห็นแววกลัว หรือท้อถอยในหมู่คนเสื้อแดงในวันนี้ วันนี้ชาวบ้านเขาต้องการเปลี่ยนแปลงและเอาชนะให้ได้ เทวดาหน้าไหน ก็ไม่อาจหยุดการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ หากไม่ชิงปฎิวัติประชาธิปไตยก่อน ชาวบ้านเขาก็จะปฎิวัติประชาชนเอง
นักศึกษาใน-ต่างประเทศทั่วโลกเข้าชื่อตะเพิดมาร์คยุบใน30วัน เลิกหนาป้ายขี้เสื้อแดงก่อการร้าย
ที่มา Thai E-News
เเถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลต้องยุบสภาเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดในการสลายการชุมนุม
โดย กลุ่มนักเรียนนักศึกษาไทย ในประเทศไทยและต่างประเทศ
เนื่องจากการตัดสินใจของรัฐบาลในการสลายการชุมนุมที่ถูกเรียกอย่างสวยหรูว่า “การขอคืนพื้นที่” เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมานั้น นำมาสู่การเปิดโอกาสให้ความรุนแรงเกิดขึ้น ไม่ว่ารัฐบาลจะตั้งใจใช้ความรุนแรงหรือไม่ก็ตามแต่ก็ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งในกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่
การโยนความผิดให้กับสิ่งที่เรียกว่า “ผู้ก่อการร้าย” ทั้งๆ ที่รัฐบาลเองครอบครองทรัพยากรมนุษย์มากมายที่สามารถคิดวางแผนนั้น ไม่ใช่และไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจซึ่งนำมาสู่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทางเราในฐานะนักเรียน นักศึกษาดังมีรายนามต่อท้ายจดหมายฉบับนี้จึงขอเสนอให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดดังกล่าว
อย่างไรก็ตามการลาออกของนายกรัฐมนตรีนั้นคงมิใช่การแสดงความรับผิดชอบหรือทางออกที่ถูกต้องของปัญหาที่ได้เกิดขึ้น เพราะการลาออกนั้น อย่างมากที่สุดก็จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเพียงเฉพาะแต่ตัวของผู้เป็นนายกฯ เท่านั้น หรือมากไปกว่านั้นก็เพียงแต่การปรับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี แต่ มิได้นำมาซึ่งการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลโดยรวม หรือมากไปกว่านั้น
ความรับผิดชอบของพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งควรมีส่วนในการ รับผิดชอบต่อการตัดสินใจของรัฐบาลในการนี้ด้วย เพราะนับตั้งแต่ความรุนแรงดังกล่าวได้เกิดขึ้นนั้นอาจกล่าวได้ว่าความ ชอบธรรมของคณะรัฐบาลทั้งคณะได้หมดสิ้นลง เนื่อง จากคณะรัฐบาลทั้งคณะในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารควรรับผิดชอบร่วมกันต่อการประกา ศพรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงซึ่งอำนวยให้เกิดการตัดสินใจ ปฏิบัติการสลายการชุมนุมหรือขอคืนพื้นที่ และเปิดโอกาสให้เกิดความรุนแรงและความสูญเสียดังกล่าว
มากไปกว่านั้นหากพิจารณาร่วมไปกับการอ้างเหตุผลในการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีเหตุผลสำคัญ ประการหนึ่งคือที่มาของรัฐบาลชุดนี้มิได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของประชาชน แต่มาจากการปรับเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของพรรคร่วมรัฐบาล ดังนั้นทางออกที่เหมาะสมกว่าจึงเป็นการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ เพราะ
ประการแรก เป็นการแสดงความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลทั้งคณะต่อการตัดสินใจที่ผิดพลาดดังกล่าว ตลอด จนเป็นการเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของตนในการปล่อยให้มี การตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นกลางคือ เป็นอิสระจากอำนาจของรัฐบาลชุดนี้แล้ว
ประการที่สอง เป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาพื้นฐานที่กลุ่มผู้ชุมนุมใช้อ้างเหตุผลในการชุมนุม เพราะ การเลือกตั้งใหม่ย่อมนำมาสู่การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิจารณาและไตร่ตรอง ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ตนต้องการอีกครั้งหนึ่ง
ต่อข้อโต้แย้งที่ว่า การเลือกตั้งใหม่อาจนำมาสู่วงจรอุบาทว์ของการจัดตั้งมวลชนเพื่อล้มรัฐบาลต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดนั้น พวกเรามีความเห็นว่า
ประการแรก ไม่มีสิ่งใดที่รับประกันว่าพรรคเพื่อไทย หรือพรรคใดๆ จะ เป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งและได้จัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป อีกทั้งการยุบสภาจะสามารถปลดเงื่อนไขของการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงใน ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ได้ในทันที
ประการที่สอง ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล แต่จากบทเรียนที่เกิดขึ้นนั้น การชุมนุมใดๆ เพื่อเรียกร้องให้เกิดการยุบสภาหรือการลาออกของผู้นำรัฐบาลนั้น ย่อมมิอาจสำเร็จได้หากรัฐบาลชุดนั้นๆ ไม่สร้างเงื่อนไขสำคัญ ให้กลุ่มใดๆ นำมาใช้เป็นข้ออ้างในการชุมนุมเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้คนขนาดใหญ่
ประการที่สาม ที่สุดแล้วการชุมนุมของกลุ่มใดๆไม่ว่าจะเป็นเสื้อแดง เสื้อเหลือง หรือ กลุ่มอื่นๆนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้นมิใช่สิ่งที่เป็นปัญหาเพราะการชุมนุม โดยสงบของกลุ่มใดๆนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ตามกรอบของระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่ต้องพึงระวังจึงมิใช่การชุมนุมหากเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ความรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นได้อีก
มากไปกว่านั้นเราอาจต้องยอมรับว่าเกือบทุกกรณีในอดีตของรัฐไทยที่ผ่านมาสิ่งที่จะสามารถล้มรัฐบาลได้นั้นมิใช่การชุมนุมโดยตัวของมันเอง นั่นคือการชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่อาจเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นแต่ไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอต่อการล้มรัฐบาล แต่ เป็นเพราะอำนาจนอกระบบที่แทรกแซงเข้ามาผ่านเงื่อนไขของความรุนแรงที่เกิดขึ้น หรือถูกอ้างว่าจะเกิดชึ้นในบริบทของการชุมนุมต่างหากที่เข้ามาล้มรัฐบาล
ดังนั้นก่อนที่ความรุนแรงระลอกต่อไปจะเกิดขึ้นหรือการแทรกแซงใดๆจะเกิดขึ้น และเพื่อธำรงไว้ซึ่งสิทธิของประชาชนทุกคน การยุบสภาภายใน 30 วันจึงเป็นสิ่งที่พวกเราในฐานะนักเรียน นักศึกษาดังมีรายนามดังต่อไปนี้เห็นว่าเป็นทางออกที่รีบด่วนอย่างยิ่งของสถานการณ์ของประเทศในปัจจุบัน
นักศึกษาผู้ลงนามในแถลงการณ์1. นายชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. นายศักดิ์สิทธิ์ สีลาเขต นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. นายนนทวุฒิ ราชกาวี นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. นายศุภเกียรติ ศุภศักดิ์ศึกษากร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. นายฉัตรชัย ทองสุขนอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
6. นางสาวสุนิสา บัวละออ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7. นายเกื้อ เจริญราษฎร์ นักศึกษาปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. นายภวริษฐ์ ฉันทประยูร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. น.ส. อจินไตย เฮงรวมญาติ นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. นายวยากร พึ่งเงิน นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. นายสมพล ชคัตประกาศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. น.ส.วิชญา พรหมสวัสดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. นายรักนิรันดร์ ชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
14. นายธัชพงศ์ ศรีสุวรรณ นักศึกษาปริญญาโท Membrane Structure,
Anhalt University of Applied Sciences, Germany.
15. น.ส.ธัญญธร สายปัญญา น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16. นายตฤณ ไอยรา School of International Development, University of East Anglia.
17. น.ส.แวววิศาข์ ณ สงขลา คณะ มัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร
18. นางสาวอัชฌา ถิรนุทธิ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. นางสาวสิรยา ชุมนุมพร นักศึกษาปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
20. อาจินต์ ทองอยู่คง สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์
21. นางสาวนววิธ จิตต์วรไกร นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
22. อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
23. นายฮัสสัน ดูมาลี นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม
24. การ์ตูน บุญมิ่ง นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25. ภารุต เพ็ญพายัพ นักศึกษาป. โท คณะประวัติศาสตร์ Birkbeck College
26. ณภัค เสรีรักษ์ น.ศ.ปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. นายวัฒนา ลาลิน นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
28. กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ นักศึกษาป.โท School of International Development, University of East Anglia, UK
29. อธิศนันท์ ซันกูล ปริญญาตรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวัทยาลัยเชียงใหม่
30. วันชัย สินประจักษ์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
31. ทพ.ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
32. วันเฉลิม โภคกุลกานนท์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33. นายดิศพล ศิริรัตนบวร นักศึกษาชั้นปีที่สาม คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
34. กฤษณะ มณฑาทิพย์ School of Political Science and International Studies
University of Queensland
35. นางสาวกอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ นิสิตปริญญาเอก คณะสิ่งแวดล้อม, การพัฒนา และความยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36. วิป วิญญรัตน์ นักศึกษาป.โท Department of History, Birkbeck College, University of London
37. บุญครอง พรพนาทรัพย์ School of Law, Indiana University
38. ทัชชนก นิลพันธุ์ LL.M. Indiana University, School of Law
39. บัญชา ทุนถาวร School of the Art Institute of Chicago, Visual Communication Design
40. วรรณพร เตชะไกศิยวณิช S.J.D. Indiana University, Maurer School of Law
41. นายธนากร ธีรวัฒน์วรกุล นักศึกษาปริญญาโท LLM. Dundee University, Scotland.
42. กนกพร ขจรศิลป์ LL.M. University of California, Los Angeles, School of Law
43. รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล นักศึกษาป.เอก คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
44. รพีพัฒน์ พัฒนา ศศ.ม ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
45. ริสา สายศร BBA. Assumption University
46. นาถรพี วงศ์แสงจันทร์ International Development Department, School of Government and Policy, University of Birmingham
47. ตะวัน มานะกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. นายเทอญ ฐิติเนื่อง Department of Accounting and Finance, University of Strathclyde, Glasgow.
49. ธนพงศ์ จิตต์สง่า น.ศ. ปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. นายภัทร บุปผาวัลย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
51. นายเมธี ชุมพลไพศาล ปริญญาตรี เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
52. กรัณย์ กาญจนรินทร์ นักศึกษาสถาบันภาษา Institut d'Etudes Françaises pour Etudiants Etrangers Université Paul Cézanne Aix-Marseille3
53. ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ ป.โท สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
54. นางสาวสุลักษณ์ หลำอุบล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย
55. ชญานิน เตียงพิทยากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
56. วิรุจ ภูริชานนท์ คณะ สถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
57. ศิริภัทร์ ทองสุขนอก คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
58. วีระวรรณ แสนคำราง คณะสหเวชศาสตร์ ม.บูรพา
59. วิชญาภรณ์ ศศิสกุลพร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
60. บดินทร์ รัตน์ จันทน์ขาว คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
61. ทิวาพร ใจก้อน ป.โท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
62. น.ส.วริศรา ตั้งค้าวานิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
63. นางสาว ภัชชารีญา ชัยได้สุข สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียน พายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ
64. นาย อภิรัตน์ สุนันทา กลุ่มคนทำเพลง(MC) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ
65. นางสาว วันใหม่ หมื่นฤทธิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษศาสตร์ (สื่อสารมวลชน) ,คณะนิติศาสตร์
66. ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
67. นาย วิศรุต บุนนาค ปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
68. นรินทร์ จิตต์ปราณีชัย เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
69. นายสว่าง มีแสง นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
70. นางสาวปทุมรัตน์ ปานรัตน์ มหาวิทยาลัย Asia Pacific International University คณะ Biology
71. นายอดิราช ท้วมละมูล โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ฉะเชิงเทรา
72. นายสุทธิพงศ์ อาวะภาค คณะนิติศาสตร์ ม. สงขลานครินทร์
73. น.ส.อันธิกา ทรงเผ่า คณะพลศึกษา เอกนันทนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2
74. นายอภิรัตน์ ปานรัตน์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค
75. วชรพรรณ สิทธิโกศล นักศึกษาปริญญาโท(MBA)รามคำแหง
76. นายวรพรต พัชตระชัย คณะBBA มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
77. ตรัย ลาพินี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
78. น.ส.เมลิน ชูธรรมสถิตย์ Economics, University of Waterloo, Canada
79. นาย ฮัมเดร์ ยุนุ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
80. อรุษา ชัยชนะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
81. สมเกียรติ มูลทา BBA, ABAC
82. นางสาวรุ่งนภา ธรรมชาติ บริหาร, หัวเฉียวฯ
83. สิริมา บุตรสุทธิวงศ์ ป.โท ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
84. ชัชชล อัจนากิตติ นักศึกษาปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85. นายณัฐพล สวัสดี ศิลปกรรมศาตร์ ม.กรุงเทพ
86. นายธัชนนท์ ลักษณพรพงษ์ ปริญญาโท วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
87. น.ส.วราภรณ์ สิทธิศักดิ์ธนกุล Communication Arts, Bangkok University International College
88. ธิติพงษ์ ก่อสกุล นักศึกษาป.โท ชนบทศึกษาและพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์
89. รัฐนันท์ กิจนิธิไพศาล คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา (สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
90. นายไพโรจน์ ศรีเกษตร เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
91. นายสรไกร คำแก่น รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิต
92. นายนิวัตชัย ขยายแย้ม ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
93. ธีรวัฒน์ คงเที่ยง ศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
94. ศศิธร ศรีเพชรางกูร คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
95. น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
96. พรเทพ โลมรัตนา การจัดการสารสนเทศ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
97. พนิดา เรืองสว่าง บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
98. กนกวรรณ ไตรยวงค์ เภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
99. วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย ป.โท คณะพาณิชย์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสต
100. อธิคม จีระไพโรจน์กุล ป. โท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
101. นายชนาธิป โพธิ์แก้ว คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่
102. โชติช่วง มีป้อม ป.โท พิพิธภัณฑ์ศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
103. นายณัฐ พัฒนศิริ School of Music มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
104. จารุณี ธรรมยู นิสิตปริญญาโท ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
105. นายอานันท์ สุขุมภาณุเมศร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
106. ภัทรกร บุญเสรฐ วิทยาลัยดุสิตธานี สาขาการจัดการโรงแรม
107. สุพรรษา มิ่งขวัญ คณะศิลปกรรม สาขา คอมพิวเตอร์อาร์ต ม.รังสิต
108. นายนรุตม์ เจริญศรี นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
109. นางสาวจิตรชนก คงจรัสพัฒน์ ป.ตรี คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัย รามคำแหง
110. นฤมล กล้าทุกวัน นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
111. นส ณัฐสุดา แก่นน้อย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
112. นาย อดิศร กรอบกระจก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
113. นาย ธนวัฒน์ ไพรวิจิตร โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
114. นางสาวเบญจรัตน์ อักษรเลิศสวัสดิ์ วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
115. นางสาวปรางใส องพิสิฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
116. นางสาวนิตต์ณิชา โชติกเสถียร คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
117. นางสาว สลิสา ยุกตะนันทน์ นักศึกษาปริญญาโท Social and Political Thought, University of Warwick, UK.
118. ไชยรัตน์ ชินบุตร รัฐศาสตร์ การปกครอง รามคำแหง
119. นางสาว ธนาภรณ์ ชุมพลไพศาล นักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล
120. นายอธิวัฒน์ กิจวนิชย์ภาสุ นักศึกษาปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
121. นายณัฏฐ์ หงษ์ดิลกกุล นักศึกษาปริญญาโท-เอก คณะเศรษฐศาสตร์, Simon Fraser University
122. นายวรุตม์ วรดิถี Economics, Swedish University of Agricultural Sciences
123. ขวัญอรุณ โอภานนท์ ปริญญาโท รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
124. ภาณุ ชินผา นักศึกษาปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
125. สุทธิอัตถ บุญชื่น MBA, California state University polytechnic Pomona
126. ภาสวร ตั้งชัยพิทักษ์ บริหารธุรกิจ รามคำแหง
127. นางสาวชนัญชิดา อนันตวิเชียร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
128. นางสาว โมไนย โรจนภิมุข เครื่องสายสากล มัธยมศึกษาปีที่6 โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร
129. หทัยญา บุญสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
130. น.ส.อริสรา ฤทธิยา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคบูรพา ปราจีนบุรี
131. นายวีรภัทร คันธะ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
132. นางสาวสรัญญา ธีรวุฒิ คณะครุศาสตร์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
133. นายสยาม ธีรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
134. ไพลิน ปิ่นสำอางค์ ศศ.บ.(ปรัชญา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
135. น.ส.ไอลดา ลิบลับ ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
136. น.ส. ประทุมรัตน์ นางแย้ม นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชา ปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. สุธิดา ชลชลาธาร นักศึกษาปริญญาโท Faculty of Education, Early Childhood Studies Department, Roehampton University
138. นางสาวศิริภรณ์ พุฒทาจู ปี4 ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
139. นายคเณศ จิวระโมไนย์กุล วิศวกรรมศาสตร์ ปี4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครับ
140. กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
141. สุรชิต วรรณพัฒน์ ปี3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
142. น.ส.ฐิตินันท์ บุญรอด ปี5 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
143. นายพงศกร พ่วงน่วม ปี3 บริหารธุรกิจ รามคำแหง
144. สิทธิโชค พริ้งประยงค์ ปี5 คณะดุริยางคศิลป์ สาขาธุรกิจดนตรี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
145. นายมารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร, Ph.D. student in Institute of Medical Microbiology, Goettingen University, Germany.
146. น.ส.วีรวัลย์ ทิพย์ธวัชวงศา ปี 2 คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
147. น.ส. อักษราภัค ชัยปะละ นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
148. วิษณุ อาณารัตน์ ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
149. นส. อิสรีย์ เพชรบัวศักดิ์ ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
150. รัชชานนท์ โชติพุฒศิลป์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
151. พัชร์ศร ทองสลวย คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
152. เพรียวพันธ์ เกริกพิทยา คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
153. โยธิน โบราณวรรณ คณะดุริยางค์ศาตร์ ศิลปากร
154. ธรรมนูญ จำคำ, Asia Pacific Management, Ristumeikan Asia Pacific University
155. วิทย์ ประสมปลื้ม นักศึกษาปริญญาโท Master of Public Administration, Arizona State University
156. วิมลวรรณ ลิ่วชวโรจน์ , ศิลปศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
157. รูปพิมพ์ สุขพานิช Travel Industry Management, Mahidol University International College
158. สันติ ปินทุกาศ นักศึกษาปริญญาโท คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
159. พรทิวา ขนอม นักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160. นายชัชพงษ์ โลหะบาล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
161. จิตติคุณ เลี่ยวจำนงค์ ป.ตรี คณะวิทยาศาตร์,คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลรีราชมงคล พระนคร[พระนครเหนือ]
162. นางสาวชลธิชา ศรีทอง โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ศิลป์-คำนวณ ม.6
163. นางสาวปวริศา คุณาวรนนท์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ
164. นายจิระวิน ตานีพันธ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
165. ชาคร รุ่งเรืองไพฑูรย์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์
166. นาย อัคริศ ต้องทรัพย์อนันต์ น.ศ.ป.ตรีปี4 วิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร , ป.ตรี ปี2 รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
167. นายปฏิภาณ นิลศิริ นิสิตภาคบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (บัณฑิตปี 52 คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์)
168. นาย กษิดิ์เดช ซาฮิบ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
169. นาย มณเฑียร เลขาลาวัณย์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
170. นายณัฐพันธุ์ บุญเลิศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง
171. นาย ภาคภูมิ พลานุวัฒน์ เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
172. ภนิธา โตปฐมวงศ์ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
173. น.ส. ธีรินทร์ ศรีประเสริฐ Mahidol University International College [MUIC]
ยกสุดท้าย นายกฯอภิสิทธิ์
ที่มา ข่าวสด
เหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา เป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
เป็นความผิดพลาดในระดับยุทธ ศาสตร์ในระดับเดินหมากผิดตาเดียว แพ้ทั้งกระดาน
หมากตาเดียวนั้นคือ ปฏิบัติการขอพื้นที่คืนจากผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นปฏิบัติการทางทหาร
กลายเป็นเงื่อนไขให้ปัญหาต่างๆ ที่ปะทุคุกรุ่นมาก่อนแล้ว ระเบิดออกอย่างรุนแรงบนถนนราชดำเนิน ต่อหน้าต่อตาคนทั้งประเทศ
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือนปช. ที่ระดมคนเสื้อแดงเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 12-14 มีนา คม และทดสอบความอดทนอดกลั้นของรัฐบาลหลายครั้งหลายหน
แม้จะมีความโน้มเอียงในการใช้ "การทหาร" แก้ปัญหาการเมือง เนื่องจากรัฐบาลได้รับการสนับสนุนจากกองทัพในยุคของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อย่างเต็มที่
แต่กระแสสังคมก็กดดันจนนายอภิสิทธิ์ ยอมเดินเข้าโต๊ะเจรจากับนปช.ก่อนจะลงเอยด้วยความล้มเหลว
สถานการณ์พัฒนาไปอีกขั้น โดย ผู้ชุมนุมขยายเวทีไปยังสี่แยกราชประสงค์ ทำให้ธุรกิจ เศรษฐกิจบริเวณนั้นเป็นอัมพาตอย่างสิ้นเชิง
ก่อนการปะทะในวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลได้สั่งปิดสถานีโทรทัศน์พีทีวีของชาวเสื้อแดง และเว็บไซต์ของเสื้อแดงอีกกว่า 30 เว็บ
เพื่อตัดเครือข่ายการประสานงานและแจ้งข่าวสารของเสื้อแดง
และกลายเป็นชนวนปะทะ ระหว่างคนเสื้อแดงกับทหารที่รักษาการสถานีบริการภาคพื้นดินของไทยคมที่อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ในวันที่ 9 เมษายน
ทหารยอมล่าถอย หลังจากใช้น้ำฉีด ใช้แก๊ส น้ำตาแล้วไม่ได้ผล
เช้ารุ่งขึ้น 10 เมษายน จึงเกิดเหตุการณ์คนเสื้อแดงบุกกองทัพภาค 1
ตามมาด้วยปฏิบัติการขอพื้นที่ถนนราชดำเนิน และสะพานผ่านฟ้าคืน ในช่วงเที่ยงของวันที่ 10 เมษายน
ผลของคำสั่งขอพื้นที่คืนจากผู้ชุมนุม ทำให้ มีกองกำลังทหาร อาวุธครบมือ พร้อมรถเกราะ รถสายพานลำเลียง เดินทางเข้าไปที่บริเวณใกล้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ผู้ชุมนุมที่บางตาในตอนแรก เสริมกำลังเข้ามาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นการเผชิญหน้าในเวลาย่ำค่ำที่ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
เป็นเงื่อนไขที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับความรุนแรง
อุณหภูมิของความเกลียดชังที่บ่มไว้อย่างเป็นระบบ และความขัดแย้งต่างๆ ที่สั่งสมมาจากยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และความเคียดแค้นจากเดือนเมษายน 2552 ฯลฯ ได้จังหวะระเบิดออกอย่างฉับพลัน
มีกลุ่มฉวยโอกาสออกมาใช้อาวุธสงครามยิงใส่ ทหาร จนสูญเสียนายทหารระดับพันเอก ผู้บังคับ บัญชาระดับพลตรีบาดเจ็บ และกำลังพลเสียชีวิต อีกหลายนาย
รถหุ้มเกราะ รถสายพานลำเลียง รถฮัมวี อาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากถูกทำลายและถูกยึด
เป็นอีกครั้งที่กองทัพไทยโดนฉีกหน้าเสียหายยับเยิน
โดยมีกระแสข่าวระบุว่า เบื้องหลัง เกิดความขัด แย้งและการชิงอำนาจในกองทัพ ที่แตกออกเป็นสายอำนาจปัจจุบันและสายอำนาจเก่า
ส่วนฝ่ายประชาชนเสื้อแดง เอาชีวิตมาสังเวยถนนราชดำเนินอีกร่วม 20 คน เป็นการเสียชีวิตปริศนา เพราะฝ่ายทหารยืนยันว่าไม่ได้ใช้กระสุนจริงยิงใส่ประชาชน
ขณะที่เสื้อแดงระบุว่า ฝ่ายทหารใช้สไนเปอร์ หรือพลแม่นปืนซุ่มบนตึกสูง ยิงเด็ดหัวทีละคน
จนบัดนี้ ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า ชีวิตเหล่านี้เป็นผลงานของใครกันแน่
สภาพมิคสัญญีที่เกิดใจกลางกรุงเทพฯ ใกล้แหล่งท่องเที่ยวที่มีชาวต่างชาติมาชุมนุมกัน คือถนนข้าวสาร และย่านสนามหลวง ทำให้ภาพเหตุ การณ์ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก
แต่เรื่องราวยังไม่จบเพียงเท่านี้
กลุ่มผู้ชุมนุมยุบเวทีผ่านฟ้า ย้ายไปรวมเป็นเวทีเดียวที่ราชประสงค์ ขยายพื้นที่ชุมนุมไปในถนนธุรกิจรอบๆ และเตรียมเคลื่อนไหวใหญ่อีกระลอก
ยิ่งสร้างผลกระทบและแรงกดดันต่อนายอภิสิทธิ์และรัฐบาล
แต่รัฐบาลยังเดินหน้าต่อ นอก จากยืนยันไม่ยุบสภา ไม่ลาออกแล้ว ยังผลักดันให้ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือศอฉ. ดำเนินการต่อผู้ชุมนุมและผู้สนับ สนุน
โดยจะเรียกนักธุรกิจ นักการเมือง ที่สนับสนุนการชุมนุมเข้าราบ 11
และยังส่งตำรวจไปจับกุมแกนนำเสื้อแดงที่โรงแรมเอสซี ปาร์ค ในเช้าวันที่ 16 เมษายน แต่คว้าน้ำเหลว
ผลจากเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน แม้รัฐบาลจะพยายามเดินหน้า
แต่เป็นการเดินหน้าที่อ่อนเปลี้ย และมีแนวโน้มว่าอาจจะไม่ได้รับ ความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่
เนื่องจากเป็นการใช้มาตรการแข็งกร้าวแบบการทหาร เข้าจัด การกับความขัดแย้งทางการเมือง
ผลจากวันที่ 10 เมษายน ทำ ให้สถานะของนายอภิสิทธิ์เปลี่ยนแปลง อย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
ประการหนึ่ง กองทัพ โดยพล.อ. อนุพงษ์ ได้กล่าวในการแถลงข่าวว่า ปัญหาการเมืองจะต้องยุติด้วยการ เมือง และอาจจะต้องมีการยุบสภา
ซึ่งเท่ากับบีบให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภา ขณะที่ข่าวเบื้องลึกระบุว่า ฝ่ายทหารจะไม่รับนโยบายขอพื้นที่คืนอีกต่อไป
ประการหนึ่ง พรรคร่วมรัฐบาลได้เปลี่ยนท่าที ยุติการสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ โดยจะใช้การเจรจาภายใน บีบให้นายอภิสิทธิ์ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปลี่ยนตัวนายกฯ ลดการเผชิญหน้ากับเสื้อแดง
และยังมีปัจจัยสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องคือการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติเห็นควรยุบพรรคประชาธิปัตย์ จากความผิดในเรื่องเงินบริจาค 258 ล้านบาทและเงินอุดหนุนพรรคการ เมือง 29 ล้านบาท รอการตัดสินของศาลรัฐ ธรรมนูญต่อไป
เท่ากับลดอำนาจต่อรองของพรรคประชาธิปัตย์ลงไปอีก
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ในสภาพโดดเดี่ยวเคว้งคว้าง
รอเวลา"ร่วง"!?