WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 18, 2008

ผมขอตอบโต้การแถลงการณ์ของกัปตัน จักรี จงศิริ ผู้จุดไฟสงครามขึ้นกลางเมือง

บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ผมเขียนคำแถลงการณ์นี้เวลาตีสองสามสิบห้านาทีครับ หลังจากที่ผมได้อ่านคำแถลงการณ์ของกัปตัน จักรี จงศิริ กัปตันการบินไทย ผมอ่านแล้วผมเกิดอาการนอนไม่หลับ และรู้สึกรับไม่ได้กับคนที่คิดว่าตัวเองมีสติปัญญาแต่ไม่รู้จักแยกแยะ และคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเองรับรู้เป็นความจริง ผมรับไม่ได้กับการพยายามบิดเบือนสถานการณ์ หรือการปิดตาไม่ยอมรับรู้ความจริง แต่เลือกเชื่อเฉพาะสิ่งที่ทำให้กลุ่มการเมืองที่ตัวเองสนับสนุนได้ประโยชน์ทางการเมือง



กัปตันจักรีครับ คุณเป็นคนมีการศึกษา คุณไม่รู้จักคิดเชียวหรือว่า ความขัดแย้งของการเมืองไทยที่ต้องมีการฆ่ากันตายอย่างแน่นอน เพราะเกิดจากคนอย่างคุณนี่แหละครับ คนที่คิดว่าตัวเองดี ตัวเองเก่ง และสิ่งที่ตัวเองคิดต้องถูกฝ่ายเดียว ใครคิดไม่เหมือนกับตนเองคือคนโง่ คือคนเลว

คุณมีสติปัญญาคุณไม่รู้จักแยกแยะเชียวหรือว่า เหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 มันคือการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มพันธมิตร เพื่อที่จะโยนความผิดให้กับรัฐบาล เพื่อต้องการให้ทหารมาทำรัฐประหาร หากคุณมีสติและรู้จักคิดแบบไตร่ตรองแบบคนมีสติปัญญา คุณก็จะเห็นความผิดปกติหลายอย่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น มีการนำกำลังไปล้อมรัฐสภา ม็อบทั้งหลายติดอาวุธ มีทั้งคลิปวิดีโอ และภาพถ่านยืนยันมากมายทั้งในอินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ โดยเฉพาะของต่างประเทศ เพียงแต่คนอย่างพวกคุณ พยายามหลับตาที่จะไม่มองข้อเท็จจริงเหล่านี้เสีย แล้วพยายามเลือกเชื่อเอาแต่สิ่งที่คิดว่า เป็นประโยชน์ทางการเมืองต่อกลุ่มการเมืองที่ตัวเองสนับสนุน พูดและเชื่อสิ่งที่คิดว่ากลุ่มการเมืองที่ตัวเองสนับสนุน จะได้ประโยชน์ทางการเมือง

มันมีหลักฐานที่ไหนในโลกนี้ที่แก๊สน้ำตา สามารถฆ่าคนได้ ระเบิดคาร์บอม ที่พันตำรวจโท คนนั้นตาย เกิดจากอะไร เขาขนระเบิดมาทำไม ทำไมคุณไม่ยอมคิดต่อ ว่า มีการนำระเบิดเขามาสร้างสถานการณ์ในหมู่ของพันธมิตร เพราะมีหลักฐานยืนยันจากทั้งที่เก็บได้จากตำรวจ หรือภาพถ่ายต่าง


คนอย่างพวกคุณกล่าวอ้างแต่ว่าตำรวจฆ่าประชาชน ตำรวจยิงชาวบ้าน แต่ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงคือ มีตำรวจนับสิบคนที่โดนยิงด้วยอาวุธปืน และนอนบาดเจ็บอยู่ที่โรงพยายาบาล ตำรวจเหล่านี้ยิงกันเองหรือ ไม่มีข้อมูลเลยว่ากลุ่มพันธมิตรโดนยิงด้วยปืน ยกเว้นบาดเจ็บจากการระเบิด ที่รุนแรงกว่าแก้สน้ำตา ซึ่งมีหลักฐานมากมายว่ามีการนำระเบิดปิงปองเข้าไปสร้างสถานการณ์

คุณก็รู้ใช่หรือไม่ว่า หากคิดต่อ คุณจะเจอความจริงที่พวกคุณเองรับไม่ได้คือ สถานการณ์เหล่านั้น ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรที่ต้องการล้มล้างรัฐบาล



ผมว่าหากคุณไม่รู้ความจริง คุณก็ไม่ใช่คนฉลาดเท่าใดนัก เพราะถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือได้โดยง่าย แต่หากคุณรู้ความจริงอยู่แล้ว แต่จงใจสร้างสถานการณ์ต่อ เพื่อให้เกิดการต่อต้านพรรคพลังประชาชน ผมไม่รู้จะเรียกคนอย่างคุณว่าอะไรดี

เหตุการณ์ทั้งหลายมันต่อเนื่องกัน

ผมคิดว่า "คนอย่างคุณนี่แหละครับคือที่ทำให้บ้านเมืองแตกแยก” เป็นคนที่ จุดไฟสงครามกลางเมืองเพื่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นมา ความวุ่นวายทั้งหลายเกิดจากคนอย่างพวกคุณนี่แหละ

ผมไม่เชื่อว่าจิตใต้สำนึกของคุณจะไม่รู้ว่าความจริงคืออะไร แต่ความคิดจะสร้างสถานการณ์ขึ้นเพื่อให้ฝ่ายที่ตนเองสนับสนุนได้เปรียบทางการเมือง

คนอย่างคุณไม่ได้มีศีลธรรม หรือจริยธรรมอะไร เพียงแต่อ้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นเพื่อทำลายกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นเอง คุณคงพอใจ ภูมิใจนะซิครับ ที่ได้เป็นคนจุดไฟสงครามแห่งความแตกแยกนี้ขึ้นมา

แถลงการณ์ของคุณ ผมไม่คิดว่าคนที่เขารู้ความจริง ซึ่งผมคิดว่ามีจำนวนนับล้าน จะคล้อยตามในสิ่งที่คุณต้องการสร้างความแตกแยกขึ้นมาหรอกครับ เขาก็คิดว่าคุณคือเครื่องมืออันหนึ่งของกลุ่มพันธมิตรเท่านั้นเอง

แต่รอยลิ่มแห่งความแตกแยกที่คุณสร้างขึ้นมันได้แยกรอยร้าวของคนในชาติออกไปอีก

ลูกชาวนาไทย

คนที่จะไม่ยอมให้ใครมาพรากเอาประชาธิปไตยออกไปจากเมืองไทยและจะสู้เพื่อประชาธิปไตยให้ถึงที่สุด

เวลาตี 3.05 น.

18 ตุลาคม 51

ปล.ใครอยากดูภาพเหล่านี้ ไปดูได้ืีที่

[url]http://www.newskythailand.com/board/index.php?PHPSESSID=149dabd9d007bb0d751c14fd9c306fbd&topic=2622.0[/url]

จาก thaifreenews

ศาลอนุมัติหมายจับพันธมิตรฯ ขับรถพุ่งชน ตร.

กรุงเทพฯ 18 ต.ค. - ศาลอนุมัติหมายจับแนวร่วมพันธมิตร ฯ คนขับรถกระบะพุ่งชนตำรวจ ขณะเข้าสลายการชุมนุมบริเวณแยกการเรือน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่

พ.ต.อ.ประภาส ปิยะมงคล ผู้กำกับสืบสวนกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 เปิดเผยว่า ศาลอาญา รัชดาฯ อนุมัติหมายจับนายปรีชา ตรีจรูญ อายุ 51 ปี แนวร่วมพันธมิตรประชานเพื่อประชาธิปไตย ข้อหาพยายามฆ่าเจ้าหพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่

พ.ต.อ.ประภาส กล่าวว่าหลังคณะกรรมการกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีมติเห็นชอบให้ขออนุมัติต่อศาลออกหมายจับ เนื่องจากพยานหลักฐานและเทปบันทึกภาพระบุพฤติการณ์ว่านายปรีชาเป็นคนขับรถกระบะโตโยต้าสีน้ำเงิน ทะเบียน วพ 1968 กทม. พุ่งชนและพยายามถอยทับ เจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด 191 ได้รับบาดเจ็บสาหัส ขณะสลายการชุมนุมบริเวณแยกการเรือน ถนนราชวิถี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมาจริง ซึ่งศาลพิจารณาแล้ว จึงอนุมัติหมายจับตามที่เสนอ

อย่างไรก็ตาม ได้ส่งสายสืบเฝ้าประกบตามที่ต่าง ๆ และบ้านพักแล้ว เชื่อว่าจะได้ตัวเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากนายปรีชาได้รับบาดเจ็บเช่นกันและเพิ่งออกจากโรงพยาบาล

ส่วนการติดตามตัวนายสุชาติ นาคบางไทร ผู้ต้องหาตามหมายจับ ในข้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ จากการขึ้นเวที นปช.ที่ท้องสนามหลวง คืนวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ได้ส่งกำลังตำรวจไปเฝ้าที่บ้านพักแล้ว โดยตั้งแต่ศาลอนุมัติหมายจับ นายสุชาติยังไม่ได้เดินทางกลับเข้าบ้านพักแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายังหลบอยู่ในประเทศ.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-10-18 18:21:24

องค์กรสื่อฯชำเราการเมืองสามานท์!กรีด‘สภาตรายาง’รับใช้อำนาจเหนือกม.

องค์กรสื่อฯ ทุบโต๊ะ! ย้ำสื่อถูกปิดกั้นกรณีชำเราการเมืองสามานท์ ปูดแผนรบพุ่งการเมือง 2 ขั้วก่อวิกฤตชาติ อัดยับ “สภาตรายาง” เครื่องมือรับใช้อำนาจนอกเหนือกฎหมาย ขณะที่ บก.หัวเขียวลั่น “ความกลัว...ทำให้เสื่อม” ไม่กล้านำเสนอความจริง แนะสื่อฯเป็นได้ทั้งผู้ยับยั้งและเป็นผู้จุดชนวนให้เกิดความรุนแรง

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย และสถาบันอิศรา จัดงานเสวนา “บทบาทสื่อกับการยุติความรุนแรง” โดยมีวิทยากรร่วมกันเสนอความคิดเห็นและแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน ประกอบกับวิถีทางแห่งการยุติความรุนแรงทางการเมือง

โดยในปัจจุบันนี้ ได้มีองค์กรวิชาชีพสื่อบางแห่ง อันมีที่มาที่ไปในการเป็นกระบอกเสียงให้กับ “อำนาจเหนือกฎหมาย” เป็นพวกที่ให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมให้ก่อความวุ่นวาย ความเกลียดชังระหว่างคนในชาติ และเป็นสื่อมวลชนที่มีจุดยืนในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งไม่เคราพต่อเขื่อแปบ้านเมือง ซึ่งการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนกลุ่มนี้ไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งระบอบประชาธิปไตย

นายสมหมาย ปาริจฉัตร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท มติชน จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สื่อมวลชนในขณะนี้สูญเสียความเป็นอิสระภาพทางการนำเสนอจากวิกฤตการเมือง จนทำให้เกิดปรากฎการณ์คุกคามสื่อ ประกอบกับนักข่าวบางคนก็มีความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่มีใครผิด แต่ต้องยึดอยู่บนฐานของวิชาชีพ ในบทบาทของตนเอง และไม่คุกคามแนวความคิดของผู้อื่น

ดังนั้นสื่อต้องใช้ดุลยพินิจในการทำหน้าที่ของตนเองอย่างรอบด้าน เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง และสื่อสามารถช่วยยุติความรุนแรงโดยยึดมั่นในหลักการของวิชาชีพ รายงานข่าวรอบด้านโดยปราศจากความกลัว ความเกลียดชัง แก้ไขปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุและผล รวมทั้งองค์กรสื่อต้องร่วมกันพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าในร่วมกัน

เช่นเดียวกับนายสุนทร ทาซ้าย บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ระบุว่า ความกลัว...ทำให้เสื่อม โดยสื่อในปัจจุบัน แม้กระทั่งตน เกิดอาณาจักรแห่งความกลัว จึงไม่กล้าที่จะนำเสนอความจริงในบางประการที่เป็นความจริง เพราะเกรงว่าอาจจะกระทบต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจนกลายเป็นความรุนแรง ซึ่งนี่คือปัญหาดังนั้นสื่อมวลชนต้องปลดแอกความกลัว และต้องมีเสรีภาพในการนำเสนอความจริง ทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา สื่อเป็นได้ทั้งผู้ยับยั้งและเป็นผู้จุดชนวนให้เกิดความรุนแรง โดยเฉพาะในสภาวะการณ์ที่ความเป็นประชาธิปไตยไม่เข้มแข็ง

“ทางออกที่ดีที่สุดในการยุติความรุนแรงสื่อคือผู้นำ หลักสำคัญคือการรายงานความจริงออกไป ต้องรายงานด้วยความรอบคอบ พอดี และเกิดประโยชน์ต่อสังคม การตั้งคำถามของสื่อหากขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์และท่าทีอันดี ไม่ยั่วยุ ก็จะไม่เกิดความรุนแรง หรือไม่เป็นหนทางในการนำไปสู่ความรุนแรง” นายสุนทรกล่าว

ขณะที่ นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม หนึ่งในวิทยากร ได้เสนอแนวทางยุติความรุนแรงโดยการให้สื่อมวลชนพิจารณาอย่างใคร่ครวญในการนำเสนอข่าวสาร โดยต้องวิเคราะห์ว่าสื่อจะตกเป็นเครื่องมือของบุคคลกลุ่มใดหรือไม่ และต้องยึดหลักของวิชาชีพให้จงหนัก โดยองค์กรสื่อในแขนงต่างๆควรมีการพูดคุยสื่อสาร เพื่อผลักดันในเกิดแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อไม่ให้สื่อตกเป็นเครื่องมือที่อาจจะพัฒนาไปสู่ความรุนแรง

นอกจากนี้ ในประเด็นเรื่องความคิดเห็นที่แตกต่างตนมองว่า ความคิดเห็นเป็นสิทธิส่วนบุคคล ใครจะรักหรือชอบพอบุคคลใดก็ย่อมกระทำได้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรนำมารวมกับการนำเสนอรายงานข่าวต่อสาธารณะ เพราะอาจจะเกิดความรุนแรงที่เป็นการสั่งสมเพิ่มปริมาณเพื่อรอวันระเบิด



ทำบุญกู้วิกฤตชาติ ‘สล้าง’นิมนต์พระ 2 หมื่นรูป


บ้านเมืองวุนวายหนัก ‘อดีตรองอธิบดีกรม ตร.’เตรียมจัดทำบุญใหญ่ นิมนต์พระ 20,000 รูป ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า พร้อมวอนสื่อมวลชนเสนอข่าวอย่าบิดเบือน

พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ แถลงข่าวร่วมกับองค์การชาวพุทธแห่งประเทศไทย นำโดยพระครูสังฆพินัย ในการจัดโครงการ “ทำบุญมหากุศลกู้วิกฤติชาติ” เพื่อเป็นการกอบกู้วิกฤติของประเทศที่กำลังเกิดความแตกแยกอยู่ในสังคม โดยจะนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 20,000 รูป และเชิญชวนประชาชนมาร่วมกันทำการเจริญพระพุทธมณแผ่จิตเมตตาให้คนในชาติกลับมาสามัคคีกันอีกครั้ง อีกทั้งยังเป็นการแสดงความไม่นิ่งนอนใจของพระสงฆ์องค์การชาวพุธ ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันพุธที่ 22 ต.ค.นี้ เวลา 13.00 น โดยขอให้ประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมงานในวันนั้นแต่งการในชุดขาวล้วน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเรียกความสามัคคีปรองดองกันโดยที่ไม่มีสีต่อต้านหรือสีสนันสนุน

พล.ต.อ.สล้าง กล่าวว่า ขอให้สื่อมวลชนใช้จรรยาบรรณเป็นสื่อเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา อย่าปกปิดข้อเท็จจริง มิฉะนั้นบ้านเมืองจะเดินต่อไปไม่ได้ ขณะนี้การเสนอข่าวของสื่อมวลชนได้มีการเบี่ยงเบนประเด็นข่าวจากความเป็นจริง จึงขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว และขอเรียนว่าเราอดทนกับสื่ออย่างถึงที่สุดแล้ว จากนี้ไปหากไม่เลิกความไร้จรรยาบรรณ จะตั้งอาสาสมัครชุดหนึ่งเพื่อดูแลดำเนินการกับสื่อไม่ว่าถูกหรือผิดกฎหมาย จึงขอความกรุณาให้สื่อมวลชนทุกแขนงเสนอข่าวด้วยความซื่อตรง

นอกจากนี้พล.ต.อ.สล้าง ยังเปิดเผยด้วยว่า ได้รับโทรศัพท์จากตำรวจคนสนิทนายหนึ่งว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 1,000 นาย พร้อมใจลาออกเพื่อกู้วิกฤติชาติ ส่วนมาตราการจัดการกับกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น จะขอดำเนินการหลังการทำบุญที่ลานพระบรมรูปให้สิ้นเสียก่อน พร้อมกันนี้ยังกล่าวอีกว่าตนได้ทำพินัยกรรมมอบให้กับลูกเรียบร้อยแล้วโดยพร้อมที่จะกอบกู้วิกฤติชาติ


'สุรยุทธ์'ย้ำทหารอย่าแตกแถว

อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาย้ำถึงบทบาทของทหารในสถานการณ์บ้านเมืองที่แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ว่า ไม่สามารถห้ามความคิดทหารได้ ทหารต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบวินัย

วันนี้ (18 ต.ค.)พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน ที่มีการแบ่งเป็น 2 ฝ่ายว่า สะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมปัจุบัน ที่เคยบอกกับเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ก่อนหน้านี้ ว่า การรับข้อมูลหรือการรับฟังสิ่งใด เมื่อรับมาแล้วต้องนำมาพิจารณาอีกว่า ควรเชื่อหรือไม่ก่อนที่นำมาปฏิบัติ หรือตัดสินใจใดๆลงไป ในสังคมสามารถมีความแตกต่างได้ แต่ไม่ควรแตกแยก ถึงขั้นจับอาวุธขึ้นมาสู้กัน

ส่วนเรื่องของทหาร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทหารมีหน้าที่ของตนเองหากพ้นหน้าที่ไปแล้วถือว่าเป็นคนไทยคนหนึ่ง ในบางช่วงเวลาไม่สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้เหมือนคนทั่วไปพราะทหารมีระเบียบวินัยและข้อจำกัด ส่วนเรื่องทางการเมืองเราไม่สามารถห้ามทหารคิดได้ แต่ในทางปฏิบัติ ควรปฏิบัติตนอย่างไร ทหารต้องมีการพิจารณาตัวเอง



Friday, October 17, 2008

พันธมิตรฯ ระบุการที่นายกฯ ไม่ลาออก จะทำให้รัฐบาลถูกกดดันมากขึ้น

กรุงเทพฯ 17 ต.ค. - แกนนำพันธมิตร ออกมาระบุว่าการที่นายกรัฐมนตรีไม่ลาออก จะทำให้กองทัพและสังคมออกมากดดันรัฐบาลมากขึ้น จนทำงานได้ลำบาก.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2008-10-17 19:34:54



‘วรพล’ชำแหละการเมืองสามานท์!ปูดสื่อพันธมารก่อ‘กลียุค’ปิดหูปิดตาปชช.

นักวิชาการ มธ.ชำแหละการเมืองสามานท์! จวกฝ่ายแค้น ปชป.เล่นการเมืองนอกสภา หลังจี้นายกฯยุบความจริงวันนี้ ปูดสื่อรับใช้ 'พันธมาร' ปิดหูปิดตาประชาชน ย้ำทำเพื่ออำนาจของตัวเอง ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องประชาธิปไตย มีนัยยะปลุกปั่นให้เกิด “กลียุค”

จากกรณี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เข้าพบอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ พร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีให้ยกเลิกสัญญากับบริษัท ดิจิตอล มีเดีย โฮลดิ้งฯ ผู้ผลิตรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ NBT โดยอ้างถึงความไม่ชอบมาพากลในสัญญาของเอกชนรายดังกล่าว

นอกจากนี้ ได้มีความพยายามกดดันให้ยกเลิกการจัดรายการ “ความจริงวันนี้” รวมทั้งวิทยุ 2 คลื่น คือ คลื่อ FM 105 และคลื่น FM 97 โดยระบุว่าเป็นการเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว และปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น

ต่อเรื่องดังกล่าว นายวรพล พรหมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวตำหนิพฤติกรรมและเจตนาของกรรมการบริหาร ปชป. ที่ออกมาเรียกร้องให้ยุติการเปิดเผยข้อมูลเท็จจริง ซึ่งเป็นการเล่นการเมืองนอกสภาฯ จนสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้น เป็นการเบี่ยงเบนประเด็นในเชิงการต่อสู้ทางการเมือง แบะเป็นการปิดหูปิดตาประชาชนในการเสพ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร

“เห็นได้ชัดว่า มีความพยายามที่จะกำจัดรายการความจริงวันนี้ ทั้งที่รายการนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลรอบด้าน เพียงแต่ไม่ถูกใจ หรือสร้างความไม่พอใจให้กับฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล”

ก่อนหน้านี้หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน ได้นำข้อความสัมภาษณ์ "อาจารย์วรพล" ซึ่งกล่าวเปรียบเทียบรายการเอเอสทีวี อันเป็นกระบอกเสียงให้แก่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เพื่อใช้เป็นเครื่องปลุกปั่นมวลชนให้มีความคิดต่อต้านระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ต่างจาก “รัสปูติน” โดยคนพวกนี้ มีทั้งคนที่เป็นนักสื่อสารมวลชน รู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ข่าวสารข้อมูลในการโฆษณาชวนเชื่อ และใช้การโฆษณาชวนเชื่อแบบย้ำคิดย้ำทำ มีทั้งนักเคลื่อนไหวมวลชนในอดีตที่เคยร่วมงานกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) .และนักการทหารที่ทำงานในยุทธวิธีสงครามจิตวิทยามวลชน

ฉะนั้นคนพวกนี้รู้ว่าในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสะกดจิตโดยใช้ข่าวสารข้อมูล การล้างสมอง การครอบงำความคิดคนในทางความเชื่อและอุดมการณ์ โดยการพูด ย้ำคิดย้ำทำไปเรื่อยๆ ซึ่งมีความชำนาญอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกับรัสปูติน หรือเปรียบเทียบกับกลยุทธ์การโฆษณาชวนเชื่อแบบของพรรคนาซี หรือกลยุทธ์การโฆษณาชวนเชื่อแบบของอเมริกาในสมัยลัทธิแมคคาธี

“พวกนี้จริงๆใช้เทคนิคคล้ายๆกัน มีตำรา มีวิธีการในทางวิชาการ เช่น ในสังคมวิทยาเรียกว่าการขัดเกลาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้คนคล้อยตาม แล้วคนก็เหมือนกับตกอยู่ในสภาวะที่ภาษาปัจจุบันเรียกว่าเป็นสาวกที่พร้อมจะรับคำสั่งไปทำสิ่งต่างๆร่วมกัน พวกนี้จะไม่ทำเดี่ยวๆ แต่มักจะทำพร้อมๆกันถึงจะมีความกล้า ยังไม่ถึงขั้นที่จะทำเดี่ยวแบบเอาอาวุธติดตัวไปฆ่าตัวตาย หรือระเบิดพลีชีพ”

อาจารย์วรพล ยอมรับว่าการเคลื่อนไหวของแกนนำพันธมิตรฯ ที่ใช้ยุทธวิธีนี้อันตรายมาก เพราะไม่ใช่เฉพาะสันติอโศกที่มีลักษณะในการพยายามเผยแพร่ลัทธิความคิดครอบงำ แต่ทุกส่วนที่อยู่ในกลุ่มพันธมิตรฯที่มีพฤติกรรมคล้ายๆกันคือถูกสะกดจิตหมู่

อาจารย์วรพล มั่นใจว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย แต่ทำเพื่ออำนาจของกลุ่มตัวเอง และคนกลุ่มนี้ไม่เหมือนลัทธิคลั่งศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่คลั่งอุดมการณ์และความเชื่อต่างๆ เป็นความเชื่อที่เขาคลั่งจนบดบังข้อเท็จจริงต่างๆ แต่หากประชาชนฝ่ายอื่นไปขัดขวาง หรือร่วมรับความรุนแรง ก็เข้าทางกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ต้องการให้เกิดกลียุค



ไม่ออก-ไม่ยุบ! นายกฯประกาศชัด

นายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าทำงานต่อ ยันไม่ลาออก-ยุบสภา พร้อมยอมรับผลสอบสลายชุมนุม 7 ต.ค. มั่นใจผบ.เหล่าทัพไม่คิดยึดอำนาจ เพราะต้องทำงานด้วยกันต่อไป


นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดแถลงข่าวร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาล โดยยืนยันว่า จะไม่ลาออกและยุบสภา ซึ่งรัฐบาลจะทำงานต่อไปด้วยความเข้มแข็งอดทน แม้ว่าจะไม่สบายใจกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ เนื่องจากรัฐบาลยังมีภาระงานสำคัญที่จะต้องทำในช่วงปลายปีนี้ จึงขอร้องให้ประชาชนให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเพื่อให้งานต่าง ๆ ลุล่วงไปด้วยดี

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพร้อมจะยอมรับผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมาจากคณะกรรมการฯที่รัฐบาลตั้งขึ้น ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลภายใน 15 วัน ขณะที่ย้ำความตั้งใจของรัฐบาลที่จะคืนอำนาจให้กับประชาชนหลังจากมีการตั้งสำร่างรัฐธรรมนูญและมีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่มีข่าวว่าผบ.เหล่าทัพไม่สนับสนุนให้รัฐบาลอยู่ต่อ นายสมชาย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีเหล่าทัพไหนออกมาบอกว่าไม่สนับสนุน พร้อมทั้งยืนยันจะไม่มีการปรับเปลี่ยนผบ.เหล่าทัพ ยืนยันจะต้องอยู่ด้วยกันเพราะรัฐบาลต้องทำงานร่วมกับกองทัพและรัฐบาลไม่กลัวการปฎิวัติ



ชท.พร้อมชิ่งรัฐบาล หากผลสอบสลายชุมนุมผิดจริง

แกนนำพรรคชาติไทยเผยพร้อมลาออกจากพรรคร่วมหากผลสอบระบุชัดว่ารัฐบาลเป็นผู้กระทำผิด วอนคนไทยให้โอกาส‘สมชาย’เคลียร์สถานการณ์ต่างๆของบ้านเมืองให้ดีขึ้น

พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนากยรัฐมนตรี ที่ปรึกษาพรรคชาติไทย กล่าวว่าแนวทางที่รับบาลต้องเร่งทำในขณะนี้คือการทำความเข้าใจกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ เพื่อให้ความชัดเจนต่อประชาชน ขณะเดียวกันก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว้าใครเป็นผู้สั่งการสลายการชุมนุม และหากผลสอบออกมาเป็นรัฐบาล ก็ต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก หรือยุบสภา และในส่วนของพรรคชาติไทยจะกำหนดท่าทีอีกครั้ง ว่าจะตัดสินใจอย่างไรหลังทราบผลสอบการสลายการชุมนุม

นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทวงเกษตรและสหกรณ์ แกนนำพรรคชาติไทย เห็นว่าการที่ผู้บัญชาการทหารบกแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ไม่ได้บีบคั้นรัฐบาล อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนให้โอกาสรัฐบาลในการคลี่คลายสถานการณ์ ซึ่งเวลานี้ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว อีกทั้งนายกรัฐมนตรี ประกาศชัดเจนแล้วว่าพร้อมลาออกหากผลสอบระบุชัดว่ารัฐบาลเป็นผู้กระทำผิด ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นพรรคชาติไทยก็จะต้องพิจารณาตัวเองด้วย


ม็อบเสื้อแดงมอบเงิน ช่วยเหลือตำรวจสลายม็อบ

แกนนำกลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 นำทีมม็อบเสื้อแดง นำเงินช่วยเหลือตำรวจสลายม็อบที่ได้รับบาดเจ็บมอบให้ ผบช.ภาค 5พร้อมย้ำให้ตำรวจระวังกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีป่วนเมือง ในพื้นที่จ.เชียงใหม่

นายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล แกนนำกลุ่มคนรักเชียงใหม่51 กล่าวว่า หลังตำรวจสลายม็อบในวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ทางกลุ่มได้มีการตั้งตู้เปิดรับบริจาคเงินช่วยเหลือตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสลายม็อบ ที่หน้าโรงแรมแกรนด์วโรรสเชียงใหม่ และรวบรวมเงินได้ประมาณ 60,099 บาท จึงได้รวบรวมนำมามอบให้ในวันนี้ ซึ่งการตั้งตู้บริจาคครั้งนี้ ทางกลุ่มต้องการช่วยเหลือตำรวจชั้นผู้น้อย ซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ และขอเป็นกำลังใจให้ แต่เรื่องที่ว่าใครเป็นคนสั่งการสลายม็อบ ใครถูกใครผิดเป็นเรื่องที่จะต้องรอการพิสูจน์ตามข้อเท็จจริงต่อไป ทั้งทางกลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51ได้ฝากให้พล.ต.ท.สถาพร ดวงแก้ว ผบช.ภาค5ได้ช่วยเข้มงวดตรวจตราเป็นพิเศษในเรื่องของความปลอดภัยในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เพราะทราบว่า มีคนบางกลุ่มได้นำเอาระเบิดปิงปองเข้ามาเตรียมก่อเหตุในพื้นที่ ขอให้เจ้าหน้าที่ได้กวดขันตรวจตราในเรื่องนี้ด้วย เพราะเกรงว่าจะนำเข้ามาก่อเหตุที่ไม่คาดคิดกับทางกลุ่มได้



นายกฯ เรียกหารือด่วน รมต.พรรคร่วมรัฐบาล

ดอนเมือง 17 ต.ค. - นายกรัฐมนตรีเรียกหารือด่วน รมต.พรรคร่วมรัฐบาล ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง หลังจากที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพกดดันให้รัฐบาลลาออก โดย 6 พรรคร่วมรัฐบาลจะแถลงข่าวพร้อมกับนายกรัฐมนตรี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว.

ชมรายละเอียด สำนักข่าวไทย

อัพเดตเมื่อ 2008-10-17 14:21:53




เปิดศึกชนชั้นสังคมไทยร้าวหนัก รากหญ้ารวมหัวต้าน‘หมอ’งดขายข้าว

สังคมไทยร้าวหนัก เกิดการแบ่งแยกชนชั้นชัดเจนหลังกลุ่ม “หมอ” ทำตัวศักดินาประกาศไม่รักษาตำรวจเพราะไม่พอใจที่เข้าสลายการชุมนุม จนถูกกลุ่มคนรากหญ้า ทั้งพ่อค้า-แม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ตอบโต้ไม่ขายข้าวให้กิน ระบุคนเป็นหมอต้องมีจรรยาบรรณ การกระทำดังว่าทำให้ขาดความเชื่อมั่นต่อวิชาชีพแพทย์ ร้านค้าย่านตลาดสามย่านรวมตัว งดขายของให้หมอ จนกว่าจะออกมาขอโทษประชาชนในสิ่งที่พูดออกไป ย้อนเกล็ด! ซื้อของได้แต่ต้องไม่แต่งตัวเป็นหมอ “อ.จรัล” ระบุเป็นสิทธิของคนค้าขาย ชี้การต่อสู้กันของชนชั้นล่างกับชนชั้นกลางขึ้นไปได้เริ่มขึ้นแล้ว

หลังจากมีแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อ้างเป็นตัวแทนแพทย์ 8 สถาบัน ออกมาแถลงประกาศจะไม่รักษาตำรวจที่แต่งเครื่องแบบเข้ามารับการรักษา โดยอ้างว่าเพื่อตอบโต้ตำรวจที่สลายการชุมนุม นอกจากจะเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่ขิงความขาดวุฒิภาวะที่ไม่รู้จักแยกแยะเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัว หรือจะเป็นเรื่องของจริยธรรม ที่ระบุชัดว่าแพทย์ไม่มีสิทธิปฏิเสธคนไข้ และข้อกำหนดแพทยสภาที่ยังมีเรื่องของการไม่ฝักใฝ่การเมืองนั้น

ยังพบว่าเรื่องราวดังกล่าวได้ขยายวงออกไปถึงกลุ่มชาวบ้านระดับรากหญ้า และมองว่ากลุ่มหมอทำตัวเป็นพวกศักดินา ทำตัวมีอำนาจต่อรงทางาสังคมที่คิดว่าคนอื่นจะต้องง้ออยู่ตลอดเวลา และถึงกับมีการออกมาตอบโต้กันแล้ว ถมยังทำท่าจะขายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น

รวมไปถึงการกระทำของบรรดาแพทย์ ทั้งหลายที่ส่งผลให้เกิดการต่อต้าน ยังถูกมองอย่างเป็นห่วงด้วยว่าจะเป็นความเริ่มต้นของการแบ่งแยกชนชั้นทางสังคมชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากที่มีความขัดแย้งทางครวามคิดในบ้านเมืองอยู่แล้วในขณะนี้

ล่าสุดมีรายงานว่าคณะแพทย์ ร.พ.จุฬาฯ ต้องรับศึกหนักจากการกดดันของพ่อค้าแม้ค้า ภายในโรงพยาบาล ที่ไม่ยอมขายอาหารให้ หรือแม้แต่รถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ก็ไม่ยอมให้บริการรับ-ส่ง ซึ่งสร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก

พ่อค้าในศูนย์อาหาร ของจุฬาฯ ระบุว่าเรื่องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจและไม่สลายใจให้กับพวกพ่อค้าแม่ค่าหลายคน เพราะที่ผ่านมาพวกตนเองก็เหมือนต้อยต่ำกว่าอยู่แล้ว พวกหมอยังมาทำให้รู้สึกอีกว่าจะเลือกรักษาเฉพาะคนที่เป็นพวกเดียวกันเท่านั้น โดยไม่ได้คิดเลยว่าตำรวจทำตามหน้าที่ และกลับเอาเรื่องของการเจ็บป่วย ล้มตาย มาต่อรองสนองความต้องการทางการเมืองของตัวเอง

พร้อมกับย้อนบางเหตุการณ์ให้ฟังด้วยว่าก่อนหน้านี้พ่อค้า-แม่ค้า ภายในบริเวณ ร.พ.จุฬาฯได้รวมตัวกันประท้วงไม่ยอมขายอาหารให้ จนสร้างความเดือดร้อนกันทั่วถึง โดยพวกแพทย์ต้องแก้ปัญหา จ้างให้มอเตอร์ไซต์รับจ้างไปซื้อให้ ก็กลับถูกปฏิเสธอีก ทำให้ต้องเดินไปซื้อเองและยังถูกแม่ค้าตะโกนต่อว่าด้วย

ขณะเดียวกันจากการสำรวจร้านค้าและร้านอาหารบริเวณตลาดสามย่าน เพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว หลายร้ายยอมรับว่าไม่พอใจ และคาดไม่ถึงว่าคนเป็นหมอจะคิดได้อย่างนี้ และส่วนใหญ่ยังทวงถามถึงเรื่องจรรยาบรรณเป็นหลัก แต่หลายร้ายก็ระบุว่ายังต้องทำมาหากิน ใครมาซื้อก็คงขายให้ ส่วนความำไม่พอใจก็ต้องเก็บเอำไว้

อย่างไรก็ดีหลายรายก็ออกมาแสเดงความเห็นอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา

ป้าบุญยืน อายุ 53 แม่ค้าขายส้มตำ บริเวณตลาดสามย่านท้ายซอย กล่าวว่ารู้สึกไม่ชอบใจที่คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาฯ ออกมาระบุถึงการเลือกรับผู้ป่วย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งทำให้ตนเกิดความไม่มั่นใจวิชาชีพแพทย์ ที่ต้องให้การรักษาผู้บาดเจ็บหรือป่วยโดยไม่มีการแบ่งแยกชนชั้นวรรณะ เท่ากับเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน

ตนจึงอยากจะแสดงให้พวกแพทย์ที่สนับสนุนพันธมิตรฯ ได้เห็นว่าก็ยังมีประชาชนอยู่อีกมากที่ไม่เห็นด้วยกับพวกพันธมิตรฯโดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้า แม่ค้าในบริเวณนี้จะไม่ให้การต้อนรับ หรือขายสินค้าให้กับพวกที่แต่งตัวเป็นหมอจุฬาฯโดยเด็ดขาด ซึ่งถ้าหากว่าอยากจะซื้อสินค้าก็ต้องไม่แต่งตัวเป็นหมอมา จะได้ขายให้ หากตนรู้ว่าเป็นหมอจะไล่ไปให้พ้นหน้าร้าน

ขณะนี้มีร้านค้าอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ยอมขายของให้กับนักศึกษาแพทย์ และหมอ โดยจะทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีคณะแพทย์จะออกมาขอโทษกับสิ่งที่ได้กล่าวออกไป

“ความจริงวิชาชีพแพทย์ ที่เป็นผู้ให้การรักษาคนป่วยไม่น่าที่จะยุ่งเกี่ยวกับวงการเมือง โดยควรทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด แต่กลับกลายเป็นว่ากับละทิ้งจรรยาบรรณของความเป็นหมอแบบนี้ ประชาชนจะวางใจฝากชีวิตไว้ในมือได้อย่างไร แสดงให้เห็นชัดเจว่าถึงเป็นหมอหากมีความแค้นหรือไม่พอใจใครก็แกล้งปล่อยให้ตายไปแบบไม่ต้องสนใจได้อย่างนั้นหรือ รู้สึกเสียดายเงินภาษีที่ต้องเสียไปให้กับพวกหมอที่ไม่รู้จักแยกแยะ” แม่ค้าส้มตำ กล่าว

ด้านนายเจษฎา (นามสมมุติ) พ่อค้ากาแฟสด ในโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ กล่าวว่า ความจริงเรื่องของบ้านเมืองก็ควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของนักการเมืองเป็นผู้จัดการ แต่ตนไม่เขาใจว่าทำไมหมอที่ทำหน้าที่รักษาคนไข้ จะต้องอกมาประกาศสิ่งที่ทำให้คนไข้หลาย ๆ คนไม่สบายใจ การเข้ายุ่งกับเรื่องดังกล่าว ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องการใช้กำลังเจ้าหน้าตำรวจในการสลายการชุมนุม แต่ก็เป็นไปตามหน้าที่และสมควรแก่เหตุแล้วที่จะใช้กำลังเข้าปะทะ

อย่างไรก็ตาม ตนรู้สึกว่า การกระทำของแพทย์จุฬาฯ กำลังจะเป็นการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายให้กับสังคมอย่างชัดเจน แทนที่แพทย์จะมีจรรยาบรรณยืนอยู่ข้างความถูกต้อง กลับกลายเป็นสมุนคอยรับใช้พันธมิตรฯแบบนนี้มันไม่ถูกต้อง

“ผมไม่เข้าใจการใช้กำลังของตำรวจก็เป็นตามขั้นตอนทุกอย่าง ผมติดตามดูข่าวมาตลอดก็เห็นกันอยู่ว่าเรื่องราวมันเป็นอย่างไร ผมอยากถามจริง ๆ ว่าจะต้องให้ตำรวจทำอย่างไรถึงจะพอใจ ต้องปล่อยให้โยรุมทึ้งให้เกือบตายก่อนใช่ไหม พวกแพทย์จุฬาฯจึงจะรักษา”

ส่วน นายสมหวัง จักรยานยนต์รับจ้าง เปิดเผยว่า เหตุที่ไม่รับผู้โดยสารที่แพทย์และนิสิตของร.พ.จุฬาฯ เป็นเพราะรู้สึกหมั่นไส้ที่ออกมาประกาศตัวไม่รับรักษาตำรวจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่สิ่งที่แพทย์ควรจะปฏิบัติ ตนไม่เข้าใจว่าหมอจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองทำไม และทำแล้วได้ประโยชน์กับประชาชนอย่างไร ถ้าเป็นอย่างนั้น ตนก็จะไม่ให้บริการกับหมอที่ทำตัวเป็นอันธพาลเช่นกัน

ทางด้านนายจรัล ดิษฐาอภิชัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่แม่ค้าทำแบบนี้ เพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะกระทำได้ ซึ่งคิดว่าปรากฏการณ์แบบนี้เกิดจากความไม่พอใจที่หมอไม่ยอมรักษาตำรวจ เพราะเขาคิดว่าตำรวจได้ทำหน้าที่รักษากฏหมายอย่างดีที่สุดแล้ว ดังนั้นหากตำรวจไม่ได้รับความเป็นธรรมเขาก็พร้อมจะออกมาปกป้องอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ ตามปกติแล้วแม่ค้ากับตำรวจจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากันเสมอ เพราะตำรวจชอบจับแม่ค้า ทำให้แม่ค้าเกลียดตำรวจและตำรวจก็จะไม่ชอบแม่ค้า แต่มาครั้งนี้ทั้งสองอาชีพออกมาปกป้องกันและกันเพราะความไม่เป็นธรรมของคนในวิชาชีพแพทย์ที่ต้องยึดมั่นจรรยาบรรณ เพราะแพทย์ต้องรักษาคนไข้ทุกราย

“เหตุการณ์นี้คือการต่อสู้กันระหว่างชนชั้นล่างกับชนชั้นกลางขึ้นไป เพราะชนชั้นล่างรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากวิชาชีพที่ต้องยึดมั่นจรรยาบรรณ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องลุกออกมาเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีตนเอง และแสดงจุดยืนทางการเมือง ผมคิดว่าถ้าหากหมอยังจะประกาศจุดยืนว่าไม่ทำการรักษาตำรวจก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นไปอีก เพราะชาวบ้านก็จะคิดว่าหมอประกาศเลือกยืนอยู่ข้างพันธมิตรฯ แต่ถ้าหยุดสถานการณ์ก็อาจจะดีขึ้น”



จากนักบิน ถึงหมอ ลามต่อที่...มะเร็งของการอ้างสิทธิ

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

จากนักบิน ถึงหมอ ลามต่อที่...มะเร็งของการอ้างสิทธิ


ข่าวการประท้วงโดยนักบินการบินไทยและแถลงการณ์จากแพทย์หลายสถาบันในกรุงเทพ วันที่ 8 ตุลาคม ที่ผ่านมา นับเป็นปฏิกิริยาตอบโต้ของภาคประชาสังคมที่มีต่อรัฐแบบทันควัน หลังตำรวจสลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้ารัฐสภา ลามไปถึงการประกาศจากทีมแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 9 ตุลาคม ที่ผ่านมา น่าแปลกที่การประท้วงเหล่านี้ได้ถูกนำไปกล่าวสดุดีในเวทีชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยแกนนำพันธมิตรฯ หลายคนกล่าวสรรเสริญการกระทำเหล่านี้ว่ากล้าหาญ เป็นผู้เสียสละเพื่อชาติ และเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมทั้งเรียกร้องให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ แม่ค้า และประชาชน ยึดเอาการประท้วงในลักษณะดังกล่าวเป็นต้นแบบ (model) ในการแสดงออกซึ่ง “มาตรการกดดันทางสังคม” (social sanction)
สนธิ แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวต่อหน้าผู้ร่วมการชุมนุมพันธมิตรฯ จำนวนมากว่า แรงบันดาลใจจากการประท้วงของกัปตันการบินไทยที่ไม่ยอมให้ ส.ส. พรรคพลังประชาชนขึ้นเครื่องบิน ทำให้เขาฉุกคิดถึงการดึงเอาพลังของพันธมิตรฯ ที่ยังไม่ได้ใช้ ออกมาใช้ให้มากขึ้น ดังนั้นสนธิจึงมีความคิดที่จะทำสติ๊กเกอร์ “ที่นี่ไม่ต้อนรับนักการเมือง” ออกมานับแสนๆ ใบ เพื่อแจกจ่ายเพื่อให้เครือข่ายพันธมิตรฯ นำไปติด ว่ากันว่า เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองให้ชัดเจน หรือเป็นการขยายแนวรบของสงครามเชิงสัญลักษณ์อีกรูปแบบหนึ่ง
ก่อนหน้านี้ไม่นาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจที่ร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคยกดดันรัฐบาลสมัคร โดยปิดสนามบินหาดใหญ่และสนามบินภูเก็ต ยุติการเดินรถไฟหลายสาย ต่อมาก็มีคำขู่อย่างต่อเนื่องว่า จะตัดน้ำตัดไฟฟ้า หากรัฐไม่ทำตามความต้องการที่ร้องขอทันเวลา แม้ว่าการประท้วงรัฐเป็นเครื่องชี้วัดความตื่นตัวทางการเมืองของประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตย แต่การประท้วงที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ กำลังก่อให้เกิดคำถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อภาคประชาสังคมอีกปีกหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวประณามการใช้มาตรการประท้วงรัฐของแพทย์
มาตรการทางสังคมกำลังถูกนำไปใช้อย่างไร้ทิศทาง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า “ภาคประชาชน” ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน ที่สำคัญ การใช้มาตรการทางสังคมกำลังถูกตั้งคำถามจากสังคมว่า การใช้มาตรการทางสังคมในลักษณะไหน ภายใต้เงื่อนไขอย่างไรจึงจะเรียกว่าชอบธรรม? การหาคำตอบสำหรับคำถามข้างต้น คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถกเถียงกันเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง
มาตรการกดดันทางสังคม…ความเหมือนในความต่าง

ทั้งๆ ที่รูปธรรมของการประท้วงรัฐโดยภาคประชาสังคมเกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระ และการประท้วงต่างรูปแบบก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่างระดับ เช่น การที่แม่ค้าไม่ยอมขายของให้คนที่สนับสนุนรัฐบาล ย่อมมีผลกระทบไม่เท่ากับการที่พนักงานรัฐวิสาหกิจไม่ยอมให้บริการรถไฟ หรือการขู่ตัดน้ำตัดไฟ หรือการประกาศไม่ให้บริการทางการแพทย์ แต่การประท้วงรัฐที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้กลับมีจุดร่วมกันอย่างน่าประหลาด
นับตั้งแต่เป็นการแสดงออกของปัจเจกชนหรือกลุ่มบุคคลในภาคประชาสังคมเหมือนกัน มุ่งแสดงความเห็นคัดค้านรัฐเหมือนกัน ใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจและสังคมในการกดดันเหมือนกัน เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบตลาดเหมือนกัน เป็นการเคลื่อนไหวประท้วงของคนชั้นกลางระดับมีอันจะกิน หรือพวกคอปกขาว หรือไม่ก็ผู้ประกอบการเหมือนกัน เป็นการประท้วงที่อ้างอิงอำนาจความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ความเป็นผู้รู้ เป็นอภิสิทธิ์ชน มีตำแหน่งแห่งที่พิเศษ (privileged position) ในสังคม เช่น เป็นแพทย์ เป็นกัปตัน เป็นอธิการบดี หรือไม่ก็มีอำนาจ (authority) ในการกุมช่องทางการเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญ เช่น เป็นผู้ควบคุมระบบการแจกจ่ายน้ำไฟ เป็นต้น
ประเด็นที่น่าสนใจคือ การเคลื่อนไหวเหล่านี้อ้างสถานะความเป็นประชาชนในการยืนยันความชอบธรรม และใช้วิธีการ (means) เช่น การปฏิเสธที่จะปฏิบัติหน้าที่ หรือการเลือกปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนบางคนหรือบางกลุ่ม ตลอดจนการกีดกันไม่ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรส่วนรวม (exclusion of access to common property) เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า เพื่อต่อรองในการบรรลุเป้าหมาย
โดยทั่วไปแล้ว การอ้างสิทธิอันชอบธรรมต้องวางอยู่บนฐานอำนาจที่ชอบธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ สิทธิตามกฎหมาย (law) สิทธิตามจารีตประเพณี (custom) และสิทธิอันเกิดจากการยินยอมทางสังคม (convention) นอกเหนือจากนั้นแล้ว การอ้างสิทธิก็ไม่อาจถือว่าชอบธรรม
เมื่อการอ้างสิทธิของปัจเจกชนหรือของกลุ่มบุคคลหนึ่งในขณะนี้ กลับไปสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอีกกลุ่มอื่นๆ การอ้างสิทธินั้นจะยังถือว่าชอบธรรม และเป็นตัวแทนของ “ประชาชน” หรือไม่?
เมื่อปัจเจกชนหรือกลุ่มคนอ้างอำนาจที่ได้จากการลงทุนความรู้ของสังคม การมีตำแหน่งแห่งที่พิเศษในสังคม หรือการเป็นสมาชิกของสถาบันที่สังคมไว้วางใจให้ควบคุมทรัพยากรของส่วนรวม เพื่อหวังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามที่ตนต้องการ การอ้างสิทธินี้ ยังเป็นสิ่งที่สังคมต้องยอมรับหรือไม่?
ความรุนแรงของรัฐ VS ความรุนแรงของภาคประชาชน
น่าเสียใจว่าสื่อสาธารณะจำนวนไม่น้อยกำลังสร้างมายาคติว่า เหตุการณ์ 7 ตุลาคม ที่หน้ารัฐสภา เป็นความรุนแรงที่รัฐกระทำต่อประชาชนเพียงฝ่ายเดียว นัยก็คือต้องการจะบอกว่า ประชาชนเป็นเหยื่อ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นเพียงผู้ถูกกระทำ ดังนั้น รัฐจึงสมควรถูกประณาม
การสร้างภาพแทนความจริงผ่านสื่อ กำลังสร้างความจริงขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง และความจริงชุดดังกล่าวได้เข้าปะทะ เบียดขับ และทำลายความน่าเชื่อถือของความจริงชุดอื่นๆ นำไปสู่การสถาปนาความเชื่อว่าการเข้าปิดล้อมรัฐสภา เพื่อขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสภา เป็นเรื่องทำได้ในระบอบประชาธิปไตย? การตัดกระแสไฟฟ้าในขณะที่มีการประชุมสภา เป็นเรื่องชอบธรรม? การแสดงวาจามุ่งร้าย การข่มขู่ และการกักขังหน่วงเหนี่ยว ไม่ยอมเปิดทางให้เข้าออกรัฐสภาเป็นเรื่องถูกต้อง?
มายาคติเช่นนั้นทรงพลังก็จริง แต่ไม่อาจปิดกั้นความจริงชุดอื่นๆ ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ดูจากการตั้งคำถามของสังคม เกี่ยวกับการมีอาวุธในครอบครองและการใช้ความรุนแรงของการ์ดฝ่ายพันธมิตรฯ ที่เผยแพร่ตามสื่อเว็บไซต์ต่างๆ การตั้งคำถามเรื่องการบาดเจ็บและการล้มตายของตำรวจ การตั้งคำถามต่อผู้ที่อยู่เบื้องหลังการปะทะกัน ระหว่างฝ่ายสนับสนุนพันธมิตรฯ กับฝ่ายคัดค้าน รวมถึงการตั้งคำถามกับท่าทีที่เงียบเฉยของสื่อกระแสหลักต่อความตายของฝ่ายตรงข้ามพันธมิตรฯ
เราจะนิยามความรุนแรงที่เผชิญหน้าอยู่ทุกวันนี้อย่างไร? เราจะถือว่าการทำร้ายทางกายเท่านั้นหรือคือความรุนแรง? การใช้คำพูดให้ร้าย การข่มขู่ มุ่งร้าย การไม่พูดความจริง การพูดความเท็จปนจริง เพื่อสร้างความเข้าใจผิด การสร้างความเกลียดชัง และการจงใจสร้างความแตกแยกในสังคม ถือเป็นความรุนแรงหรือไม่?
เราจะถือว่า การเข้าข้างแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายผลประโยชน์แบบไม่สมดุล ซึ่งเอื้อผลประโยชน์ให้แก่นายทุน อภิสิทธิ์ชน คนที่มีตำแหน่งแห่งที่พิเศษในสังคม คนที่กุมอำนาจในการควบคุมและเข้าถึงทรัพยากรจำเป็นของสังคม ตลอดจนคนชั้นกลางในเมือง เป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างอย่างหนึ่งหรือไม่? รวมถึงเราจะมองการพยายามรักษาสถานภาพอำนาจเดิมในสังคม (status quo) ของคนเพียงไม่กี่หยิบมือว่า เป็นความรุนแรงต่อประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่?
นักทฤษฎีชื่อดัง มิเชล ฟูโก (Michel Foucault) กล่าวไว้ว่า อำนาจนั้นไม่ใช่เรื่องที่สามารถจะครอบครองหรือผูกขาดอยู่ในมือของใคร เพราะอำนาจไม่ผูกขาดอยู่ในมือของผู้กุมอำนาจรัฐ แม้แต่ผู้ต่อต้านอำนาจรัฐก็อาจแสวงอำนาจผ่านยุทธวิธีต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การกระทำของตน ดังนั้น วาทกรรมที่กำลังเกร่ออยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น “ความรุนแรงของรัฐ” “เหยื่อของอำนาจรัฐ” “การต่อต้านของประชาชนสองมือเปล่า” “อารยะขัดขืน” หรือ “ประชาภิวัตน์” จึงเป็นมากกว่าถ้อยคำที่ใส ซื่อ ไร้เดียงสา ปราศจากนัยแฝงเร้นทางการเมือง หากแต่เป็นความพยายามสถาปนาอำนาจนำ ผ่านการสร้างความหมาย คุณค่า และบรรทัดฐานทางสังคม อันนำไปสู่การปรับสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างกลุ่มคนในทางปฏิบัติ
การถกเถียงกันในเรื่องผลกระทบของการสร้างวาทกรรมเป็นเรื่องจำเป็น บทความนี้ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการเตือนสติว่า การใช้วาทกรรมทางการเมืองอย่างขาดความระมัดระวัง เป็นเรื่องที่อันตรายต่อสังคม
เมื่อนักบินการบินไทยอ้างสิทธิในฐานะพนักงานการบินไทย ที่ทับซ้อนกับสิทธิในฐานะสมาชิกชุมชนพันธมิตรฯ เพื่อปฏิเสธไม่ให้ ส.ส. พรรคพลังประชาชน ที่ซื้อตั๋วอย่างถูกต้องขึ้นเครื่องบินของการบินไทย โดยอ้างอำนาจที่ได้มาจากสถานภาพการเป็น “กัปตัน” โดยมองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า เครื่องบินไม่ใช่สมบัติส่วนตัว หากแต่เป็นทรัพย์สินของบริษัท และบริษัทการบินไทยเติบโตจากการสนับสนุนของเงินภาษีของประชาชน บริษัทมีพันธะผูกพันที่ต้องให้บริการแก่สังคมและต่อผู้บริโภค จึงเท่ากับว่า การอ้างสิทธิของกัปตันไปกระทบต่อสิทธิของส่วนรวมโดยตรง คำถามคือ การอ้างสิทธิเช่นนี้อาศัยอำนาจอะไรมารองรับความชอบธรรมของการอ้างสิทธิของตน?
ในทำนองเดียวกัน เมื่อแพทย์และพยาบาล (บางคน) อ้างสิทธิในนามสถาบัน เช่น แพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาฯ ประกาศว่า “จะงดตรวจและรักษาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” โดยอ้างว่าการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่เป็นหนึ่งในมาตรการกดดันทางสังคม ที่แพทย์และพยาบาลมีสิทธิแสดงความไม่เห็นด้วยกับการกระทำของผู้บริหารประเทศและตำรวจ รวมถึงกรณีคณะแพทย์จากโรงพยาบาลเชียงใหม่ (บางคน) ประกาศไม่รับรักษา “ผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคร่วมรัฐบาลในชุดปัจจุบัน งดการตรวจรักษาผู้รับบริการที่เป็นตํารวจ และเรียกร้องให้เพื่อนแพทย์ทั่วประเทศ ร่วมกันดําเนินมาตรการกดดันทางสังคมต่อผู้นํารัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สนับสนุนรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ตํารวจโดยพร้อมเพรียงกัน”
คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ การอ้างสิทธิของบุคลากรทางการแพทย์ดังกล่าว อ้างอิงความชอบธรรมจากอะไร ในเมื่อการอ้างสิทธิไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ ไม่มีอยู่ในจารีตประเพณี และไม่ได้ผ่านการรับรองจากสังคม
ตราบเท่าที่ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการมีอาวุธในครอบครอง การใช้ความรุนแรง ยังคงเป็นข้อกล่าวหาที่มีต่อทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชน ตราบเท่าที่ทั้งฝ่ายรัฐและประชาชนต่างบาดเจ็บล้มตาย ตราบเท่าที่การพิสูจน์ความจริงเบื้องหลังความขัดแย้งยังอยู่ในดำเนินการไม่แล้วเสร็จ การด่วนสรุป ตัดสิน และการเลือกข้าง เลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล จึงเป็นความรุนแรงที่ยากจะปฏิเสธ ความรุนแรงชนิดนี้คือมะเร็งที่กำลังแพร่ระบาดในสังคม
ผลกระทบในระยะสั้น คือการสร้างเกลียดชังและแบ่งขั้ว แยกข้างให้บาดลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง ส่วนผลกระทบในระยะยาว คือการฉีดวัคซีนให้คนไทยเคยชินกับการจัดประเภทกลุ่มคน (categorization) การตีตรากลุ่มคน (stigmatization) รวมถึงการตัดสินคนแบบเหมารวม (generalization) อย่างมืดบอด ซึ่งเท่ากับทำลายโอกาสเข้าถึงความจริง ทำลายโอกาสแยกแยะถูกผิด และทำลายโอกาสอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างของแนวคิด และเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์



อานันท์ – ประเวศ - ระพี !

คอลัมน์ : ละครชีวิต

การวางตัวให้เป็นกลางของ “ผู้หลักผู้ใหญ่” ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงแบบนี้ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ใช่เกิดความขัดแย้งแบบธรรมดา แต่กำลังเกิดความขัดแย้งที่มากขึ้นทุกๆ วัน จนจะกลายเป็น “สงครามกลางเมือง” อยู่แล้ว
ดังนั้นผู้หลักผู้ใหญ่จะต้องวางตัวให้เป็นกลาง แต่ในทางกลับกัน สถานการณ์ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่าไร กลับไม่เจอผู้ใหญ่ที่วางตัวเป็นกลางเลย
มีบางคนบอกว่ามีแต่ผู้ใหญ่เฮงซวย ...แต่ผมรู้สึกว่าคำๆ นี้มันแรงไป เพราะสังคมไทยไม่ชอบให้ก้าวร้าวกับผู้หลักผู้ใหญ่
ย้อนกลับไปตอนผมเด็กๆ มักจะได้ยินคำว่า “ผู้ใหญ่เฮงซวย” เช่น ในสมัยเป็นเด็กนักเรียนก็จะเจอคนอื่นด่ากันว่า ผู้ใหญ่เฮงซวย ชอบสั่งสอนในเรื่องผิดๆ ให้เด็ก
ขณะเดียวกันเติบโตขึ้นมาอีกหน่อยเข้าสู่สังคมการทำงานก็จะเจอคนอื่นๆ ที่ด่าผู้ใหญ่เฮงซวยว่า “วางอำนาจบาตรใหญ่” ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
ถ้าเขยิบออกไปอีกหน่อยในระดับชาติก็จะเจอผู้ใหญ่เฮงซวยอีกประเภท ซึ่งอันหลังสุดนี้ถือเป็นความเฮงซวยที่ทุกคนต้องได้รับผลกระทบจากผู้ใหญ่ประเภทนี้
ช่วงนี้คอการเมืองคงจะเห็นการปรากฏตัวของ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย ที่ไปเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี หัวหน้าการ์ดม็อบพันธมิตรฯ ที่เสียชีวิตคาซากรถจี๊ปเชอโรกีระเบิด
นายอานันท์ ตระเวนเดินสายเยี่ยมนางสาววิชุดา ระดับปัญญาวุฒิ มารดาของ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ที่เสียชีวิตจากเหตุสลายม็อบหน้ารัฐสภา
นายอานันท์ ยกย่องบุคคลพวกนี้ว่าเป็น “ผู้เสียสละ” ราวกับว่าไปรบกับโจรใต้
นายอานันท์ไม่ได้ลืมหูลืมตาดูเลยว่าบุคคลพวกนี้ไปก่อเหตุอะไรมา
พวกนี้ไปบุกยึดรัฐสภาเพื่อขัดขวางไม่ให้มีการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา และไม่ให้เจ้าหน้าที่ของอาคารรัฐสภาเข้ามาปฏิบัติหน้าที่
พฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องไปยกย่องเชิดชูว่าเป็น “คนดี” หรือ “วีรสตรี” แต่สำควรที่จะประณามให้สาสมกับความเลว
นอกจากนายอานันท์แล้ว ยังมีผู้ใหญ่เฮงซวยอีกหลายคน เช่น ศ.ระพี สาคริก ที่ส่งสารไปถึงเวทีพันธมิตรฯ เป็นประจำ
รวมทั้ง นพ.ประเวศ วะสี ที่เคยเขียนบทความ ชื่อ “ถอนเสี้ยนออกจากเนื้อ เพื่อสมานฉันท์ได้”
นพ.ประเวศ บอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เหมือนเสี้ยนที่ตำอยู่ในเนื้อ ต้องถอนเสี้ยนออกก่อนแผลจึงจะสมาน แถมยังตะแบงอีกว่า ทักษิณต้องหยุดเล่นการเมือง
สถานการณ์แบบนี้เมืองไทยกำลังต้องการคนกลางเข้ามาช่วยเหลือ ไม่ใช่เอาผู้ใหญ่เฮงซวยที่วางตัวไม่เป็นกลาง อคติตั้งแต่เริ่มต้น มาป่าวประกาศให้อีกฝ่ายเป็นนักโทษ
บ้านเมืองเราเป็นประชาธิปไตย ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามาบริหารประเทศ
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ... เพราะฉะนั้น อานันท์ - ประเวศ - ระพี ควรจะสงสาร ลูกๆ หลานๆ บ้าง
ปล่อยให้ประเทศชาติพัฒนาไปในทิศทางที่ควรจะเป็น ...ไม่ใช่มาสกัดกั้นให้บ้านเมืองล้าหลังเพียงแค่นี้
สงสารประชาชนบ้างเถอะครับ !



แถลงการณ์สมาพันธ์ประชาธิปไตย คัดค้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ คัดค้านการก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมในเมือง

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน
แถลงการณ์สมาพันธ์ประชาธิปไตย คัดค้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ คัดค้านการก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมในเมือง

เหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 เกิดขึ้น เริ่มจากความจงใจของ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง ที่อ้างเหตุไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อออกไปให้ตำรวจจับกุมตามกฎหมาย ไม่เช่นนั้นตำรวจก็จะมีความผิดตามมาตรา 157 ของประมวลกฎหมายอาญา เพื่อปลุกระดมให้พันธมิตรฯ เข้ามาชุมนุมในทำเนียบให้มากขึ้นซึ่งก็สมดังประสงค์ เมื่อจำนวนคนมากพอพันธมิตรฯ ก็เคลื่อนพลปิดล้อมรัฐสภาอย่างแน่นหนาทุกด้าน พร้อมบังเกอร์ลวดหนามยางรถยนต์ราดน้ำมัน มุ่งมั่นที่จะให้ตำรวจใช้กำลังเปิดทางให้สมาชิกรัฐสภาและเจ้าหน้าที่เข้าทำงานอย่างจงใจเจตนา
เท่ากับกระทำการ “ใช้กำลังประทุษร้าย หรือจงใจที่จะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ(เปิดประชุมรัฐสภาไม่ได้) ล้มล้างอำนาจบริหาร (แถลงนโยบายไม่ได้ตามมาตรา 176 รัฐธรรมนูญ 2550) หรือจงใจให้ใช้อำนาจดังกล่าวไม่ได้” ซึ่งมีความผิดเข้าข่ายเป็นกบฏตามประมวลกฎหมาย มาตรา 113 เลยทีเดียว 7 ตุลาคม 2551 จึงเป็นความตั้งใจในการก่อให้เกิดการกระทำที่เข้าข่าย “กบฏ” ชัดเจน
นอกจากนี้จะเห็นได้ชัด แม้ว่าเจ้าหน้าที่จะใช้แก๊สน้ำตา แต่พันธมิตรฯ ก็ใช้ปืนยิงตำรวจที่หน้ารัฐสภา ยิงปืนเข้าไปในห้องรองประธานวุฒิสภา ขว้างระเบิดเพลิงเข้าไปในกระทรวงศึกษาธิการ ใช้ไม้ปลายแหลมแทงตำรวจทะลุชายโครงด้านขวา ใช้ท่อนเหล็กตีรอง ผบ.ตชด. สาหัส ใช้รถพุ่งชน รอง สวป.สน.เตาปูน แล้วถอยรถมาทับซ้ำทำให้ตำรวจต้องใช้ปืนเล็งเพื่อเตรียมยิงยางรถ
ที่สำคัญคือ รถจี๊ปเชอโรกีของพันธมิตรฯ สายกองทัพธรรม ภายหลังเคลื่อนย้ายที่จอดสามหนแล้วมาจอดที่หน้าพรรคชาติไทย ได้บรรจุระเบิดจำนวนมาก แล้ว พ.ต.ท.นอกราชการ เมธี ชาติมนตรี ในขณะที่ก้าวเข้าไปในรถ (ที่ไม่ใช่ของตน) เกิดระเบิด (ซึ่งได้ฉีกร่างของเขาและเศษส่วนเนื้อสมองได้พุ่งตรงดิ่งไปคาบนยอดใบไม้เหนือร่างเขา) ขึ้นแล้วระเบิดในรถจี๊ปอีกครั้ง จากนั้นก็จุดระเบิดถังแก๊สของรถอีก ทั้งหมดนี้น่าจะเข้าข่าย “คาร์บอมบ์” ชัดเจน ซึ่งก็คือ “การก่อการร้ายในเมือง” ชนิดหนึ่งนั่นเอง และหากว่ารถโดยสารที่บรรทุก ส.ส. ส.ว. เจ้าหน้าที่ หนีการปิดล้อมของพันธมิตรฯ ออกจากรัฐสภาซึ่งต้องเคลื่อนผ่านข้างๆ รถจี๊ปเชอโรกีดังกล่าวในจังหวะที่คาร์บอมบ์ถูกกดระเบิดด้วยรีโมตคอนโทรล ผู้ที่เสียชีวิตก็คงไม่ใช่ คุณเมธี ชาติมนตรี แต่คงจะเป็น ส.ส. ส.ว. เจ้าหน้าที่รัฐสภาแทน
การกระทำทั้งหมดของพันธมิตรฯ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ดังกล่าวข้างต้นเข้าข่ายมีความผิดตาม พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พุทธศักราช 2550 (ที่ออกโดยรัฐบาลรัฐประหารเอง) มาตรา 4 ที่ระบุไว้ว่า เป็นการกระทำที่เป็นการ “ก่อวินาศกรรม”
ในขณะที่การสืบสวนสอบสวนรายละเอียดกำลังดำเนินไปอย่างเคร่งครัดโดยยังไม่มีข้อสรุปออกมา ปรากฏว่า มีผู้ที่เสนอให้ทหารทำการรัฐประหาร หรือเสนอรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลเฉพาะกิจเฉพาะกาล ซึ่งก็คือการทำรัฐประหารในอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ปัจจุบันอย่างน้อย 2 ท่าน คือ นพ.ประเวศ วะสี และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
สมาพันธ์ประชาธิปไตยขอคัดค้านและต่อต้านข้อเสนอของทั้งสองท่านอย่างเด็ดเดี่ยว เพราะรัฐประหารไม่ใช่ทางออกอย่างแน่นอน แต่จะนำไปสู่ความพินาศวอดวายที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ ประชาธิปไตยมีคำตอบเสมอโดยไม่ต้องรัฐประหาร ผู้ที่เสนอเช่นนี้ดูผิวเผินอาจจะเป็นผู้ปรารถนาดีต่อประเทศ แต่แก่นแท้แล้วคือผู้ที่ปรารถนาร้ายต่อประเทศและประชาชน และสะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณอำนาจนิยมของท่าน
ส่วนการที่ นายอานันท์ ปันยารชุน แสดงความชื่นชมต่อการกระทำของ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี อย่างออกนอกหน้านั้น เท่ากับว่า นายอานันท์ ปันยารชุน เห็นด้วยกับการกระทำของ พ.ต.ท.เมธี ชาติมนตรี นั่นเอง สมาพันธ์ประชาธิปไตยขอประณามและคัดค้าน “คาร์บอมบ์” ดังกล่าว และไม่ว่าจะมีจุดมุ่งหมายในการประหัตประหารรถโดยสาร ส.ส. ส.ว. เจ้าหน้าที่รัฐสภา ที่จะต้องเคลื่อนผ่านจุดนั้นหรือไม่ก็ตาม “คาร์บอมบ์”หรือก่อการร้ายโดยซุกระเบิดในรถยนต์จำนวนมากเพื่อให้ระเบิดทำลายเป้าหมายที่ต้องการในเมือง รวมถึงการก่อวินาศกรรมทุกรูปแบบ ก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกประณามคัดค้าน และหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ใช่การแสดงออกที่สนับสนุนเช่นนี้



วังเวง ว้าเหว่

สามเหลี่ยมดินแดง


00 หนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ สื่อทางเลือกของประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ฉบับวันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2551 เอกฉัตร เข้าเวรประจำการตามหน้าที่ ด้วยใจหดหู่กับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบกาย วังเวง ว้าเหว่
00 ศึกในยังไม่รู้จะจบลงอย่างไร ศึกนอกชายแดนกัมพูชา เสียงปืนนัดแรกดังขึ้นมาทักทาย ตามคำบัญชาของ สมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหาร ในขณะที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีของไทย ศิษย์พ่อท่านคล้าย ยังคงท่องคาถาประนีประนอม เจรจาสมานฉันท์ ประเทศไทยจะไม่เปิดศึกก่อน ไม่รุกรานใคร จะปกป้องอธิปไตยกับผู้บุกรุกเท่านั้น ไม่ต่างกับคาถาที่ท่องขึ้นใจในการปฏิบัติกับกลุ่มพันธมิตรพันธมารที่ยึดทำเนียบรัฐบาล ย่ำยีหัวใจคนไทย ใกล้ถึงจุดสลายแล้วจะกลายเป็นจุดเดือด ด้วยเหตุนี้แหละ ในทำเนียบรัฐบาลจึงกระพือข่าวกันสนุกปาก เหตุที่ สมเด็จฮุนเซ็น แข็งกร้าว เพราะมีใบสั่งมาจากลอนดอน ต้องการจะกลบข่าวพระราชทานเพลิงศพสมาชิกพันธมิตรฯ และเบี่ยงเบนข่าวก่อนจะถึงวันพิพากษาคดีที่ดินรัชดาฯ วันที่ 21 ตุลาคม ที่จะถึง มันจะบ้ากันไปใหญ่
00 อัปรีย์ อ่านว่า อัปรีย์ เป็นคำที่ เอกฉัตร ไม่อยากจะขุดขึ้นมาใช้ แต่วันนี้เหลืออด เมื่อได้ยินได้อ่านคำปราศรัยของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำคนสำคัญของ กลุ่มพันธมิตรพันธมาร เมื่อคืนวันวาน หยิบยกแอบอ้าง สถาบันที่ปวงชนชาวไทยเคารพบูชา มาแบ่งแยกประชาชน ประกาศกร้าว วันนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างคนที่เอาพระมหากษัตริย์ กับฝ่ายที่ไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงต้องประกาศสงครามครั้งสุดท้าย นี่คือความคิดชั่วๆ ของคนที่ยึดทำเนียบรัฐบาล สร้างความวุ่นวายให้กับประเทศไปสู่วิกฤติ ไม่เคารพกฎหมาย แล้วยังนำสถาบันที่คนไทยเคารพบูชามาแบ่งแยกประชาชน โปรดฟังอีกครั้ง อัปรีย์ครับ
00 นอกจากนั้นยังจินตนาการพาดพิงไปถึงคนที่ไม่มีโอกาสได้ชี้แจงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไอ้แป๊ะลิ้ม กล่าวหาใส่ร้ายว่า อดีตนายกฯ ทักษิณ ทุ่มเงินซื้อรากหญ้า ซื้อตำรวจ ซื้อทหาร เพื่อต้องการล้มล้างสถาบัน ดังนั้นใครที่สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรพันธมาร เป้าหมายคือ ต้องการล้มล้างราชบัลลังก์ เหตุที่กลุ่มพันธมิตรพันธมารรวมตัวกันสู้ เพราะทุกคนรักพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ และการทำการเมืองใหม่ต้องเริ่มที่สถาบันพระมหากษัตริย์ มันจะเหิมเกริมเกินความพอดี อัปรีย์ไม่มีที่ติจริงกับแนวคิดชั่วๆ เลวเกินคำบรรยาย เอกฉัตร ฝากความนี้ไปถึงทนายความของ อดีตนายกฯ ทักษิณ แม้เจ้าตัวจะลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ แต่สามารถหาหลักฐานฟ้องร้องได้ จะปล่อยเลยตามเลยเห็นจะไม่ได้การ เพราะเป็นการใส่ร้ายป้ายสีที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตของคนที่ได้ชื่อว่าพสกนิกรชาวไทย
00 ต้องย้อนถามกลับไปยังแกนนำพันธมิตรพันธมาร ไอ้อีตัวไหนกันแน่ที่ปลุกระดมยุยงให้ประชาชนเกลียดชังทหาร ตำรวจ ซึ่งเป็น สถาบันหลักของชาติไทยในการปกป้องราชบัลลังก์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพียงแค่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ไม่ทำตามความต้องการพันธมิตรพันธมาร เหมือนที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก เคยว่านอนสอนง่าย นำทหารออกมาปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ต้องการซ้ำเติมให้ประเทศบอบช้ำสุดที่เยียวยาแก้ไข เพียงแค่พันธมิตรพันธมารย่ำยีประเทศอยู่ทุกวี่ทุกวันก็วิกฤติพอแล้ว ต้องการให้ระบบรัฐสภาแก้ปัญหาการเมือง บิ๊กป๊อก จึงถูกด่าอย่างสาดเสียเทเสีย แถมยังส่งขบวนการมือตบนรกไปเยาะเย้ยถากถาง ไม่เว้นแม้ในงานพระราชทานเพลิงศพ
00 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนตั้งคำถาม ทหารในกองทัพวันนี้ นับหนึ่งถึงเท่าไรแล้ว จึงอดทนอดกลั้น ผิดวิสัยทหารหาญกับการที่ผู้บังคับบัญชาถูกกล่าวหาใส่ร้ายอย่างเสียๆ หายๆ ประจานกันทางสถานีโทรทัศน์ คนได้ดูกันทั่วประเทศ
00 ส่วน ตำรวจในภาวะปกติเป็นหน่วยงานภาพลักษณ์ติดลบในสายตาชาวบ้าน เป็นข้าราชการต้นทุนต่ำ จึงถูก กลุ่มพันธมิตรพันธมารและเครือข่ายช่วยกันกระพือถูกรุมประณามเป็นจำเลยสังคม กล่าวหา ตำรวจเป็นฆาตกรฆ่าประชาชนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ ตายแค่ 2 คน ซึ่งวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปสาเหตุการตาย ในขณะตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ บังคับใช้กฎหมายให้เป็นกฎหมาย ได้รับบาดเจ็บหลายสิบนาย มีใครพูดถึงบ้างไหมว่าตำรวจได้รับบาดเจ็บเพราะอะไร จะให้ตำรวจออกมาร้องโวยวาย เสียงโวายวายไม่สามารถถ่ายทอดสดทางทีวีได้ จึงได้ยินกันในวงแคบเฉพาะญาติพี่น้องและเพื่อนข้าราชการตำรวจเท่านั้น จึงตกเป็นตัวตั้งรับอย่างน่าสงสาร ทำให้ เพลงมาร์ชตำรวจ กลับมาฮิตอีกครั้ง มีประชาชนที่เข้าใจและเห็นใจตำรวจ อยากจะฟังเพื่อให้กำลังใจตำรวจ
00 เอกฉัตร ติดตามข่าวชนิด เกาะติดขอบเวทีมาตลอด ยืนยันมาตลอดว่า การปฏิบัติการเปิดเส้นทางจราจรหน้าบริเวณรัฐสภา ไม่ใช่เป็นการสลายการชุมนุม ตำรวจฝ่ายปฏิบัติได้ทำตามขั้นตอน แต่ที่เกิดเหตุรุนแรงขึ้นมาเพราะม็อบที่ปิดถนนหน้า รัฐสภา เป็นม็อบที่จัดตั้งพร้อมจะตอบโต้ตำรวจทุกรูปแบบ มีการวางแผนทั้งรุกและรับเป็นขั้นเป็นตอน มีการเตรียมอาวุธนานาชนิดไว้พร้อม แก๊สน้ำตาที่ยิงออกมาเพื่อให้ม็อบแตกฮือนั้น เป็นการแตกฮือเพื่อหลบไม่ให้แสบตา แต่กลับมารวมตัวกันใหม่ ตามเสียงปลุกระดมของแกนนำ จึงรวมกันแน่นหนาในตอนบ่าย หลังจากคณะรัฐมนตรีและ ส.ส. เข้าไปอยู่ในสภา เป็นการรวมตัวเพื่อปิดกั้นไม่ให้คนในรัฐสภาออก ถึงขนาดตะโกนฆ่ามัน...ฆ่ามัน และยิงปืนใส่ตำรวจบาดเจ็บไปหลายนาย จากนั้นยกพล บุกกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นการกระทำที่เหิมเกริมไม่เกรงกลัวกฎหมาย นั่นแหละจึงเกิดภาพข่าว ตำรวจระดมยิงแก๊สน้ำตาไม่ยั้งมือ ทำให้ต่อมดัดจริตกระตุก รุมประณามตำรวจทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งในเหตุการณ์อย่างนั้น ไม่ว่าใครเป็นผู้บังคับบัญชาของตำรวจฝ่ายปฏิบัติการ ก็ต้องดำเนินการอย่างที่เห็น มิฉะนั้นสถานที่ราชการทั้งรัฐสภาและกองบัญชาการตำรวจนครบาล คงเหลือแต่ซาก
00 อ่านข่าวแล้วอดขำไม่ได้ เมื่อเห็นคณะกรรมการที่ตั้งกันขึ้นมามากมายนับไม่ถ้วน หาก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. ซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม จะต้องไปให้ปากคำทุกคณะ ไม่รู้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ไปให้ปากคำครบทุกคณะหรือเปล่า แต่ไม่ว่าคณะกรรมการจะตั้งขึ้นมากี่คณะ จะตั้งธงกันไว้ล่วงหน้าหรือไม่ แต่ถ้ามีการย้ายตำรวจตามกระแสกดดันของผู้กระทำความผิด เอกฉัตร ขอไว้อาลัยล่วงหน้า และจะเดินสายให้ตำรวจเปลี่ยนแปลงการทำงานใหม่ ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น ก็จะลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน จะปลอดภัยที่สุดกับหน้าที่การงาน



สติหายก็วายวอด

เคยทำ “ของหาย” แล้วนอนไม่หลับกันบ้างไหม ปกติไม่ว่าจะเงินหายหรือของหาย ไม่สู้จะเสียดายเพราะคิดว่าไม่ตายหาใหม่ได้ จึงเป็นคนไม่ค่อยเป็นทุกข์กับเรื่องข้าวของ หลังๆ เริ่มซื้อและสะสมน้อยลง ก็ยิ่งไม่ต้องเป็นทุกข์คอยหวงทรัพย์สมบัติที่มีติดตัว
แต่ของชิ้นเดียวที่หายไปแล้วจนป่านนี้ยังเสียดายนอนแทบไม่หลับ ก็คือ “พระเครื่อง” เป็นพระรุ่นไหน บูชามาเท่าไร วัดไหน หลวงพ่ออะไรปลุกเสก ฯลฯ ก็อย่ารู้เลย เพราะของแบบนี้ส่วนมากมีค่าทางจิตใจมากกว่าเงินทอง หายไปก็เหมือนหัวใจจะแหว่งไปเสี้ยวหนึ่ง (ถึงขนาดนั้น...)
ที่สำคัญมันหายแบบโทษใครไม่ได้นอกจากตัวเอง เนื่องจากวันนั้นเปลี่ยนสายสร้อยใหม่เป็นสายเชือกแล้วรู้สึกคันผิวที่ต้นคอ จึงถอดเก็บใส่กล่องไว้แล้วก็ลืมเก็บกลับบ้าน ทิ้งไว้ที่ออฟฟิศ จนป่านนี้ก็หาไม่เจอไม่มีใครรู้ใครเห็น ใครที่หยิบไปจะนำไปบูชาต่อก็คงไม่ได้สักกี่สตางค์เพราะไม่ใช่เหรียญหรูอาจารย์ดัง เลยเดาว่าคนเอาไปคงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันจึงหยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว ถ้าเขารักจริงชอบจริงก็จะตัดใจให้ นึกเสียว่าเครื่องรางของขลังทำนองนี้ถ้าไม่ใช่ของเราก็ไม่ใช่ของเรา เป็นการปลอบประโลมตัวเองที่อยู่บนหลักความเชื่อล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับเหตุผลสักนิด...(แต่ถ้าสงสารก็เอามาคืนเถอะ ฮือ ฮือ)
เจอเข้ากับตัวแบบนี้ จึงทำให้นึกถึงบรรดานักเลงพระ (บางคน) ที่เริ่มสะสมจากความชอบความศรัทธาส่วนบุคคล ยิ่งนานวันก็ยิ่งมีมาก ยิ่งผูกพันหวงแหนมาก นำมาสู่ความทุกข์เพราะจิตใจยึดมั่นผูกติดกับสิ่งนั้น บางคนหลงถึงขนาดเชื่อว่าที่กำลังทำอยู่คือการน้อมนำใจให้เข้าใกล้คำสอนของพระศาสดา (ผ่านทางรูปเคารพบูชา) ทั้งที่ความจริงคำสอนของพระพุทธองค์คือ ปล่อยวาง พระพุทธรูปหรืออะไรก็แล้วแต่คือสัญลักษณ์ให้เห็นทางตา หาใช่หนทางสู่ความสงบทางใจแต่อย่างใด
เวลาทำสร้อยพระหล่นพื้นหรือกระทั่งทำหายแล้วจิตใจร้อนรุ่มกระวนกระวายนั่นแหละ แสดงว่าเรากำลังหลงแล้ว ยึดติดอยู่กับรูปเคารพแล้ว ลืมไปว่าแท้จริงความศรัทธาอยู่ที่ “ใจ” มากกว่า “วัตถุ”
แล้วเจ้าความหลงผิดๆ ถูก ๆ ระหว่างเปลือก แก่น กระพี้ ฯลฯ ทำนองนี้ ก็นำความวุ่นวายมาสู่มนุษย์เรามากมายหลายเรื่องเต็มทน บางคนรักหรือศรัทธาอะไรมาตลอดชีวิตแล้วเพิ่งมารู้ความจริงที่อยู่เบื้องหลังก็เกิดอาการอกหักกันเป็นทิวแถว บางคนจึงสุดขั้วไม่นับถืออะไรเลยเพราะไม่รู้อะไรจริงอะไรลวง
ที่เห็นว่าจริงหลายครั้งลวง ที่เห็นว่าลวงที่แท้อาจจริง สองสิ่งนี้สลับสับเปลี่ยนกันไป บางทีก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเวลา ไม่มีอะไรจริงหรือลวงในทุกสภาวะ อยู่ที่ว่าเราใช้สติและปัญญาตัดสินมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะการเมืองแบบในวันนี้ ง่ายที่จะใช้อารมณ์และตีขลุมว่าที่เรารักเราชอบคือความจริง ถ้าขาดสติกันเมื่อไรความเสียหายย่อยยับก็อยู่ไม่ไกลเลย


7 ตุลาคม “พาคนไปตาย”

“...หรือเราจะปล่อยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องถูกโดดเดี่ยว และตกเป็นผู้ร้ายของสังคมไปอย่างนี้โดยปล่อยให้ผู้ก่อและผู้ริเริ่มการชุมนุมต้องลอยนวลทั้งที่การชุมนุมเมื่อ 7 ตุลาคม 2551 ได้ปิดฉากอย่างโหดร้าย โดยพวกเขาเหล่านั้นเอง...”

7 ตุลาคม “พาคนไปตาย”


ดูเหมือนว่าภายหลังเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องตราเป็นผู้ร้ายของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งที่ความจริงแล้ว เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่เพียงแต่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ แต่ทว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเองก็บาดเจ็บสาหัสหลายคน และบาดเจ็บอย่างไม่ถึงขั้นสาหัสอีกนับร้อย

และทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเองได้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และเพื่อการสลายการชุมนุมตามความจำเป็นและตามสมควรและการเคลื่อนขบวนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่กระทำการด้วยความฮึกเหิม ไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย และส่อให้เห็นได้ว่า การชุมนุมเช่นว่านั้นหากจะกล่าวอ้างความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญเพื่ออ้างเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะได้ก็ตาม แต่ที่สุดแล้ว บาปเคราะห์ทั้งปวงก็จะต้องตกอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องบาดเจ็บจากการกระทำของผู้ชุมนุมที่อ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ แต่ภาพที่ปรากฏกลับเห็นเด่นชัดถึงความรุนแรงที่ผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อและยั่วยุ

ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องกระทำการตามสมควรและความจำเป็นเพื่อปกป้องตนเองจากการถูกทำร้าย

แต่ที่สุดแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังตกเป็นผู้ร้ายอยู่นั่นเอง

แน่นอนว่าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กระทำการเกินสมควรแก่เหตุแล้วก็ย่อมจะต้องรับผิดไม่ว่าทางกฎหมายหรือทางวินัย

แต่ในวันนี้ดูเหมือนว่าหลายฝ่ายต่างเร่งรีบและด่วนตัดสินใจในทันใดและโดยพลันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการกระทำผิดของฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังนั้น ผู้บัญชาตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาตำรวจนครบาลและรองผู้บัญชาการฯ จึงต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ทั้งนี้เรื่องนี้ควรจะต้องพินิจพิจารณากันด้วยความสุขุมรอบคอบ และต้องฟังความรอบด้าน

แน่นอนเหลือเกินว่าหากประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บล้มตายลงจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้บังคับบัญชาก็จะต้องรับผิดชอบ

แต่คำถามก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใครเป็นผู้ก่อ และแท้ที่จริงแล้วประชาชนที่บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ในฐานะประชาชนผู้บริสุทธิ์ และไม่รู้อีโหน่อีเหน่ จนตัวเองต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จริงหรือไม่ และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ

ฝ่ายที่ริเริ่มใช้ความรุนแรงคือฝ่ายใดรวมถึงบรรดาแกนนำคนสำคัญของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่วางแผนการและผลักดันให้ประชาชนเคลื่อนพลไป ร่วมถึงผู้นำฝูงชนเข้าชุมนุมจนต้องบาดเจ็บล้มตายไปนั้น ควรจะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบหรือไม่นั้น กลับไม่มีผู้ใดกล่าวถึง

หรือเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 ไม่มีผู้นำการชุมนุมคนใดที่ควรถูกกล่าวหาว่า “พาคนไปตาย” อย่างที่เคยเกิดเมื่อพฤษภาคม 2535

อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงมีอยู่ว่า ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดใหญ่ทั้งหมดนั้น จะต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ว่าผู้นำการชุมนุมนั้นไม่ได้มีหน้าที่เพื่อต่อสู้ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว หากยังมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมชุมนุมทุกคน

แต่จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นผู้นำการชุมนุมหรือแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยคนใดออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์

และยังไม่ปรากฏว่ามีผู้หลักผู้ใหญ่ผู้อาวุโสคนใดในบ้านเมืองนี้ ออกมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ แต่กลับแสดงอาการเกาะกระแสซ้ำเติมกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้กระทำการตามหน้าที่ โดยมิได้คำนึงว่า ความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเหนื่อยยากตลอดมานั้น จะเป็นเช่นไร

ซึ่งนี่คือสภาพความเป็นจริงที่เจ็บปวดในสังคมไทยในวันนี้

จนถึงเวลานี้ เราจะปล่อยให้มีการใช้เสรีภาพอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด จนก่อให้เกิดสภาวะอนาธิปไตยเกิดขึ้นในรัฐและนำไปสู่การที่ไม่มีเสรีภาพเหลืออยู่เลย กระนั้นหรือ

หรือเราจะปล่อยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องถูกโดดเดี่ยว และตกเป็นผู้ร้ายของสังคมไปอย่างนี้โดยปล่อยให้ผู้ก่อและผู้ริเริ่มการชุมนุมต้องลอยนวลทั้งที่การชุมนุมเมื่อ 7 ตุลาคม 2551 ได้ปิดฉากอย่างโหดร้าย โดยพวกเขาเหล่านั้นเอง หรือว่าสิ่งที่เราจะทำได้ก็เพียงแต่หวัง หวังเพียงว่าความโหดร้ายและการสูญเสียของผู้ชุมนุมจะตามหลอกหลอนมโนธรรมสำนึกของผู้นำชุมนุมไปตลอดชีวิต



ส.ส.พลังประชาชนเรียกร้องให้ผู้บัญชาการฯทำตาม รธน.

ส.ส.พลังประชาชน กลุ่มอีสานพัฒนา กลุ่มกทม.และกลุ่มภาคกลาง ได้แถลงข่าวเรียกร้องให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพปฏิบัติตามกรอบรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีแสดงความรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้สื่อมวลชนพาดหัวข่าวและแสดงออกอย่างชัดเจนว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออก


‘เสธหนั่น’ชี้เหล่าทัพมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นจี้รัฐ‘ออก-ยุบ’

พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีเหล่าทัพอออกมาแสดงความคิดเห็น เพื่อกดดันให้รัฐบาลยุบสภาหรือลาออกนั้น ก็เป็นสิทธิ์ที่จะมีการแสดงความคิดเห็น เนื่องจากเป็นประชาชนคนหนึ่ง ซึ่งทางทหารจะแสดงความคิดเห็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา คงไปก้าวก่ายอะไรไม่ได้ ในส่วนของรัฐบาลก็ต้องเร่งสอบสวนหาข้อเท็จจริงเรื่องสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ถ้าการสอบสวนข้อเท็จจริงออกมาว่ารัฐบาลมีความผิด นายสมชาย นายกรัฐมนตรี ต้องออกมารับผิดชอบทุกกรณี

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า อยากให้รัฐบาลเร่งสอบสวนข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด ก่อนจะมีเหตุบานปลายไปมากกว่านี้ ในส่วนพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคชาติไทยเอง อาจจะถอนตัว ถ้าการสอบสวนนายกรัฐมนตรีมีความผิด ต้องพิจารณาว่าจะอยู่ต่อไปอีกหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนที่พันธมิตรฯ กับ นปช. กำลังเผชิญหน้ากันนั้น รัฐบาลเองก็ต้องวางแนวทาง เพื่อป้องกันไม่ให้มีเหตุเกิดขึ้นเหมือนวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา


ทักษิณส่งทนายแจ้งความเอาผิดสนธิ

นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล และนายวัชระ แสงปทุม ทีมที่ปรึกษากฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าแจงความกับพนักงานสอบสวน สน.ดุสิต เพื่อให้ดำเนินคดี นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ ในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาในเอกสาร

นายวัชระ กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ปรึกษาทีมทนายความและได้มอบหมายให้ทีมทนายความ เดินทางเข้าแจ้งความนายสนธิ เนื่องจาก เมื่อวันที่ 14 - 15 ต.ค.ที่ผ่านมา นายสนธิ ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่ทำเนียบฯและกล่าวโจมตีให้ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ โดยได้มีการนำเสนอข่าวลงตีพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาท ในลักษณะ พ.ต.ท.ทักษิณ จ้องล้มสถาบันเบื้องสูง และในช่วงบ่ายวันนี้ ทนายความพ.ต.ท.ทักษิณ จะยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง ที่เคยสั่งนายสนธิห้ามพูดถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ในทางเสียหาย ให้ทำตามคำสั่งศาลด้วย

สส.พปช.เชื่อมีคนหนุนหลัง'อนุพงษ์'พูดกดดันรบ.

วันนี้ (17 ต.ค.) นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น พรรคพลังประชาชน(พปช.) กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ออกมาเสนอแนะให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีลาออก หรือยุบสภา เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ นั้นเป็นกดดันรัฐบาลและเชื่อว่า มีผู้อยู่เบื้องหลัง พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ผบ.ทบ.พูดในลักษณะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เหมือนถูกบังคับให้พูด และแทนที่พล.อ.อนุพงษ์ ในฐานะ ผอ.รักษาความมั่นคงภายในจะหามาตรการป้องกันไม่ให้กลุ่มพันธมิตรฯสร้างความวุ่นวายให้บ้านเมืองแต่กลับมาบีบให้รัฐบาลตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ นายปัญญา ยังได้เรียกร้องให้ ผบ.ทบ.ทำตามที่พูดไว้ว่า ทหารจะอยู่เคียงข้างประชาชน และจะไม่ทำรัฐประหาร

Thursday, October 16, 2008

ชาวบ้านตาดำๆ

พวกกระผม เป็นข้าราชการ เบี้ยหวัดบำนาญทหารชั้นผู้น้อย มีความข้องใจดังนี้ ผู้ที่จะรับเบี้ยหวัดบำนาญตั้งแต่อายุ 65 ปี ต้องได้รับบำนาญเดือนแรก ไม่ต่ำกว่า 13,350 บาท จึงจะมีสิทธิรับเงินได้นั้น ทำไมจะต้องเอากฎเกณฑ์รับบำนาญเดือนแรกมาเป็นข้ออ้าง

ผู้ที่มีบำนาญไม่ถึง 13,350 บาทก็ไม่มีสิทธิรับเงินหรือ

ทำไมกระทรวงการคลังจึงไม่จ่ายเงิน 15 เท่า ส่วนที่เหลือให้หมดเลย ไม่ต้องมาคิดให้ปวดหัว มีเท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น

การที่กระทรวงการคลังจ่ายเงินแบบนี้ ไม่ยุติธรรมสำหรับข้าราชการบำนาญชั้นผู้น้อย แต่ได้ดีสำหรับข้าราชการบำนาญชั้นผู้ใหญ่ ตั้งแต่ พ.ต.ขึ้นไปถึงนายพล

ทำแบบนี้ทำให้ ข้าราชการเบี้ยหวัดบำนาญชั้นผู้น้อยเดือดร้อน ขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาใหม่เถอะ เดือดร้อนจริงๆ

จากข้าราชการเบี้ยหวัดบำนาญทหารชั้นผู้น้อย

ผมทำหน้าที่ให้แล้วนะครับ ส่วนผู้มีอำนาจท่านใดจะรับฟังหรือเข้ามาเยียวยาผมก็สุดปัญญาจริงๆ เพราะความเป็นธรรม ความเท่าเทียม ในสังคมไทยไม่มีมานานแล้ว ประชาธิปไตย ก็ไม่เคยมีมาเลยนับตั้งแต่อดีต มีแต่ภาพจำลองของประชาธิปไตยเท่านั้น

เป็นประชาธิปไตยจอมปลอม

เพราะฉะนั้น การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยในเมืองไทย อำนาจการปกครองจึง ยังอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อย ถ้าวันนี้คนส่วนใหญ่ของประเทศยังเป็นพลังเงียบ ไม่มีปากมีเสียง ไม่มีน้ำยา

ก็ต้องรับสภาพนี้ต่อไปเรื่อยๆ

อย่าบ่น อย่าเบื่อ เพราะเมื่อคนส่วนใหญ่ รักษาประชาธิปไตย เอาไว้ไม่ได้ ก็ไม่สมควรที่จะอ้างเอาประโยชน์จากการปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย อายชาวโลกเขาเปล่าๆ

เพราะในโลกของประชาธิปไตย จะต้องไม่มีกฎหมู่ ถ้ากฎหมู่ได้ชัยชนะเหนือกฎหมาย ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นการรวบอำนาจการปกครอง หรือที่เรียกว่า เผด็จการในรูปแบบต่างๆ

วันนี้ผมเชื่อว่าประชาชนที่เป็น ชาวบ้านตาดำๆ กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก แผ่นดินภาคใต้ก็ลุกเป็นไฟ ชายแดนกัมพูชาก็กำลังจะเกิดศึก ราคาพืชผลการเกษตรลดลงน่าใจหาย ราคายางจากกิโลกรัมละ 60 บาทเหลือ 12 บาท ราคาข้าวเกวียนละไม่ถึงหมื่นแล้ว แถมโครงการรับจำนำข้าวจะไปรอดหรือเปล่าก็ไม่รู้

หันมาที่คนกินเงินเดือน เริ่มจากการลดค่าจ้าง ถูกตัดโอที แล้วก็ปลดคนงาน รัฐวิสาหกิจใหญ่ๆ อาทิ การบินไทย ไม่มีโบนัส เป็นไปได้อย่างไร ตลาดหุ้นมีแนวโน้มว่าเมื่อวิกฤติการเงินมาถึงเมื่อไหร่ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์น่าจะเหลือต่ำกว่า 300 จุด เฮ้อระยะนี้ถ้ามีเรื่องเดือดร้อนแนะนำให้ไปร้องพันธมิตรฯดีที่สุด.

“หมัดเหล็ก”


ป.ป.ช.ชี้มูล ยงยุทธ แสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเป็นเท็จ


ป.ป.ช.16 ต.ค. - นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) แถลงมติ ป.ป.ช.เกี่ยวกับกรณีนายยงยุทธ ติยะไพรัช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จงใจยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบว่า จาการตรวจสอบพบว่า ก่อนหน้านี้นายยงยุทธได้แสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน โดยแจ้งว่าได้ขายหุ้นบริษัท มิติฟู้ดโปรดักส์ จำกัด จำนวน 24,500 หุ้น ให้แก่ พ.ต.ท.นัฏฐวุฒิ ยุววรรณ ซึ่งเป็นน้องชายภรรยาเป็นจำนวนเงิน 245,000 บาท โดย พ.ต.ท.นัฏฐวุฒิได้ชำระเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวเป็นเงินสดจำนวน 850,000 บาท และมีเงินค้างชำระจำนวน 1,600,000 บาท

“จากการตรวจสอบพบว่า นับแต่วันจดทะเบียนจนถึงปัจจุบันเวลากว่า 18 ปี บริษัทดังกล่าวไม่ได้ประกอบกิจการค้าแต่อย่างใด และ พ.ต.ท.นัฏฐวุฒิไม่มีฐานะการเงินเพียงพอที่จะชำระเงินค่าหุ้นเป็นเงินสดถึง 850.000 บาทตามที่มีการทำสัญญากันไว้จริง จึงมีเหตุอันควรเชื่อว่า ไม่มีการซื้อขายหุ้นกันจริง และไม่มีเงินกู้ยืมจำนวน 1,600,000 บาท ตามที่นายยงยุทธแสดงไว้ในบัญชี คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายยงยุทธเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสเดงรายการหนี้สินทรัพย์สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดย ป.ป.ช.จะเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยต่อว่า นายยงยุทธจงใจยื่นบัญชีเป็นเท็จตามรัฐธรรมนูญมาตรา 263 รวมทั้งให้พิพากษาลงโทษตามมาตรา 119 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542. – สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-10-16 19:01:29