WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 3, 2012

หน้าที่ของโฆษก

ที่มา การ์ตูนมะนาว



เหตุเกิดที่ธรรมศาสตร์

ที่มา การ์ตูนมะนาว



อ่านหน่อยแล้วค่อยคิดว่าจะไล่พ่้อปรีดีไปอยู่ไหนดี?!

ที่มา Thai E-News

กราบหละครับ อายแทน-เผื่อ พวกที่ชอบอ้างตัวเป็น"ลูกพ่อปรีดี+แม่โดม"บางจำพวก จะไม่เคยอ่านว่าปรีดีเขียนในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ไว้อย่างไรบ้าง เชิญอ่านหน่อย อ่านจบแล้วค่อยคิดว่า ยังอยากเป็น"ลูกพ่อปรีดี"อยู่ไหม? หรืออยากจะไล่"พ่อปรีดี"ไปอยู่ที่ประเทศอื่น พร้อมๆคณะนิติราษฎร์ ก็ตามสะดวก

..........

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง..คณะ ราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกําหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอํานา จลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจําเป็นที่ประเทศจะต้องมีการ ปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นอยู่ใน ตําแหน่งตามกําหนดเวลา…"


ประกาศคณะราษฎรฉบับที่1

ความหมายของการตาย อนุสรณ์สถาน และการรำลึก 34 ปี 6 ตุลา 2519

ที่มา Thai E-News

3 กุมภาพันธ์ 2555
โดย อ.​วิภา ดาวมณี
ที่มา เฟสบุค A Vipar Daomanee

วิภา ดาวมณี octnet72@yahoo.com

วัน ที่ 6 ตุลาคม ปี2553 นอกจากเป็นวันครบรอบ 34 ปี ของเหตุการณ์นองเลือดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันเกิดจากอาชญากรรมรัฐ เมื่อปี พ.ศ.2519 แล้ว ยังเป็นวันครบรอบ 10 ปี ของชิ้นงานประติมานุสรณ์ 6 ตุลาด้วย ประติมากรรมชิ้นนี้สร้างขึ้นมาด้วยน้ำพัก น้ำแรง น้ำใจ และการระดมทุนจากบรรดาผู้ผ่านเหตุการณ์ และมีประสบการณ์ร่วมกัน ภายใต้คำขวัญของการจัดงานรำลึก 20 ปี 6 ตุลา ว่า “ขบวนการนักศึกษาประชาชนเดือนตุลา..กล้าต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงาม” โดยมติเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2539 สร้างเสร็จและเปิดก่อนหน้าอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาถึง 2 ปี นั่นหมายความว่าพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ในรูปของอนุสรณ์สถานนั้นไม่ใช่สิ่ง ที่จะสร้างได้ง่ายๆในสังคมไทย หากเป็นเพียงอนุสาวรีย์ของสามัญชน

ประติมากรรม กลางแจ้ง 6 ตุลา มีลักษณะเหมือนเขื่อนกั้นสายธารที่น้ำเคยใสให้กลับกลายเป็นสีแดงของเลือด มีโลหะฝังลงบนหินสีแดง ขนาดยาว 6 เมตร กว้าง 3 เมตร หมายถึงสายธารประชาธิปไตยถูกสะกัดกั้น ด้านหลังมีรายชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ และบันทึกของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งเป็นอธิการบดีในขณะนั้น หากเดินจากมุมด้านซ้ายประติมากรรม แล้วค้อมหัวลงอ่านที่พื้นหินอ่อนสีดำ เวียนไปทางซ้ายทวนเข็มนาฬิกาจนมาบรรจบที่เดิม ก็จะคารวะต่อวิญญาณวีรชน ณ ที่นั้นในเวลาเดียวกัน อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สรุปเรื่องราวไว้อย่างไร ด้วย“ข้อความสั้นๆ” แต่มีความหมายลึกล้ำว่า “ข้อที่น่าเสียดายสำหรับคนรุ่นหนุ่มสาวที่ใฝ่ในเสรีภาพก็คือ เหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ไม่เปิดโอกาสให้เขามีทางเลือกที่ 3 เสียแล้ว ถ้าไม่ทำตัวสงบเสงี่ยมคล้อยตามอำนาจเป็นธรรม ก็ต้องเข้าป่าไปทำงานร่วมกับคอมมิวนิสต์ใครที่สนใจในเรื่องสันติวิธี ประชาธิปไตย และเสรีภาพ จะต้องเริ่มต้นใหม่ เบิกทางให้แก่หนุ่มสาวรุ่นนี้และรุ่นต่อๆ ไป”

ในบันทึกอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฉบับเต็มนั้นชื่อว่า “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” มีความยาวถึงสิบหน้ากระดาษซึ่งถ่ายทอดทุกสิ่งที่สังคมไทยตั้งคำถามกับ เหตุการณ์นี้ มีการแจกแจงถึงเจตนาตลอดจนวิธีการของพวกที่รวมตัวกันวางแผนก่ออาชญากรรมรัฐ ดังนี้

“......... เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว ในเดือนตุลาคม 2516 เมื่อ มีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่า ถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบราบคาบ และได้สืบเจตนานี้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในการเลือกตั้งเมษายน 2519 ได้มีการปิดประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมืองบางพรรคว่า “สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์” และกิตติวุฒโฑภิกขุ ยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า “การฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นบาป” ถึงแม้ในกันยายน–ตุลาคม 2519 เอง ก็ยังมีผู้กล่าวว่าการฆ่าคนที่มาชุมนุมประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร สัก 30,000 คน ก็เป็นการลงทุนที่ถูก

ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2516 ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป ได้แก่ พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะเห็นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุ่มเหล่านี้ได้พยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะทำลายล้างพลังต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์แก่ตนเองด้วยวิธีต่างๆ ทางวิทยุและโทรทัศน์ ทางหนังสือพิมพ์ ทางใบปลิวโฆษณา ทางลมปากลือกัน ทางบัตรสนเท่ห์ ทางจดหมายซึ่งเป็นบัตรสนเท่ห์ขู่เข็ญต่างๆ และได้ก่อตั้งหน่วยต่างๆ เป็นเครื่องมือซึ่งจะได้กล่าวถึงในข้อ 20 และข้อต่อๆ ไป

วิธีการของบุคคลกลุ่มเหล่านี้คือ ใช้การปลุกผีคอมมิวนิสต์โดยทั่วไป ถ้าไม่ชอบใครก็ป้ายว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แม้ แต่นายกรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ หรือเสนีย์ หรือพระราชาคณะบางรูปก็ไม่เว้นจากการถูกป้ายสี อีกวิธีหนึ่งคือการอ้างถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องมือในการป้ายสี ถ้าใครเป็นปรปักษ์ก็แปลว่าไม่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ .” ( จากเว็บไซต์ www.2519.net )

ความ ขัดแย้งทางการเมืองในระหว่างกลุ่มพลังก้าวหน้า ที่มุ่งให้มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างกับพลังอนุรักษ์นิยมทางการเมือง ลงเอยด้วยการก่ออาชญากรรมรัฐ ในวันที่ 6 ตุลา 2519 เพียง 3 ปี จากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เมื่อนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ชุมนุมโดยสงบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกันเรียกร้องให้ขับไล่อดีตจอมพล ถนอม กิตติขจรผู้หวนกลับเข้ามาในประเทศไทยออกไป จนเช้ามืดวันที่ 6 ตุลา การสังหมู่ก็เริ่มต้น จากกลางสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยลามไปจนทั่วบริเวณ จากริมฝั่งเจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ การเข่นฆ่าแผ่เป็นวงกว้าง ผ่ารั้วมหาวิทยาลัยไปถึงต้นมะขามสนามหลวง ฝ่ายการเมืองอนุรักษ์นิยมสร้างสถานการณ์ก่อนหน้าการรัฐประหาร เพื่อสลายกลุ่มองค์กรพลังก้าวหน้าและพรรคการเมืองฝ่ายตรงกันข้าม ผลักดันให้นักศึกษากว่า 3000 คน เดินทางสู่ป่าเขาเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

.......ตัว อักษรคำว่า ๖ ตุลา ๒๕๑๙ เป็นตัวเลขไทย และอักษรไทยแกะสลักบนหินแกรนิตสีแดง แสดงความหมายในตัวอย่างชัดเจน สีแดงหมายถึงเลือดที่ตกสะเก็ด ตัวอักษรหยาบๆ ความนูนไม่เท่ากันบ่งบอก ถึงความหยาบกระด้างของการถูกกระทำ ถูกเข่นฆ่า ถูกจับกุม ภาพวีรชนที่จำลองจากภาพถ่ายจริง จากเหตุการณ์จริงๆในวันนั้น มีวีรชนวิชิตชัย อมรกุล ถูกแขวนคอ เขาเป็นนักศึกษาปี 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เป็นนักกีฬาทีมรักบี้ที่เอาการเอางานและมาทำหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัยใน ที่ชุมนุม วีรชนจารุพงษ์ ทองสินธุ์ อุปนายกฝ่ายกิจการภายนอก องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกลากคอไปตามสนามฟุตบอลโดยผ้าขาวม้าของตัวเองที่พาดบ่าอยู่เป็นประจำ ภาพนักศึกษาหญิง ชาย และอีกหลายภาพอันทารุณดูน่าสลด มีภาพปั้นนูนต่ำของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สะท้อนภาพความพยายามของชนชั้นปกครองที่จะทำลายการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และกดกระแสการสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามของคนหนุ่มสาวที่มีผลพวงมาจากยุค ประชาธิปไตยเบ่งบานลงไป

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ องค์ปาฐกในงานรำลึก 34 ปี 6 ตุลาปีนี้ เสนอไว้ในปาฐกถาพิเศษ “พฤษภาเลือด-อีกหนึ่งบท (ที่ไม่) เรียนของสังคมไทย” ในงานสัมมนาเรื่อง “จาก 14 ถึง 6 ตุลา และพฤษภาเลือดประวัติศาสตร์บาดแผล กับบท (ไม่) เรียนของเรา” เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า

“ ถ้า ถือว่า 6 ตุลา เป็นการฆ่าหมู่นักศึกษาประชาชนที่ครั้งหนึ่งเคยมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า “สังคมไทยไม่มีวันลืม 6 ตุลา เพราะสังคมไทยไม่ได้จดจำ 6 ตุลา มาตั้งแต่ต้น” หรืออย่างดีก็คือทำได้แค่จำเหตุการณ์นั้นแบบอ้อมๆ แอ้มๆ แกมตะขิดตะขวงใจในความเจ็บปวดและโหดร้ายที่เกิดขึ้นในวันนั้น

........6 ตุลามีความรุนแรงกว่าพฤษภา (2535) มีการเผาทั้งเป็น ทำร้ายศพ แขวนคอ ทรมานก่อนเสียชีวิต ฯลฯ ปัญหาทางอภิปรัชญาที่โหดเหี้ยมขึ้นไปอีกก็คือเราจะเปรียบเทียบได้อย่างไรว่า “ความตาย” และ “คนตาย” ในกรณีไหนโหดร้ายกว่ากัน.....หก ตุลาถูกขุดคุ้ยและรื้อฟื้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่าจะเพื่อ พิสูจน์ความจริง ซ้ำการรื้อฟื้นหกตุลาก็ยังวนเวียนกับการชี้แจงซ้ำๆ ซากๆ ว่าคนตายไม่ใช่คอมมิวนิสต์ เป็นผู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นผู้รักความเป็นธรรมในความหมายทั่วไป เป็นนักศึกษาที่ไม่รู้เรื่อง เป็นผู้บริสุทธิ์ทางการเมือง ไม่ใช่ฝ่ายซ้าย ไม่ใช่นักสังคมนิยม ฯลฯ พูด ในเชิงเปรียบเปรยก็คือในจินตนาการของสังคมทุกวันนี้ ภาพของคนที่ตายในเหตุการณ์หกตุลาและผู้ชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ในวันนั้นอาจไม่ แตกต่างจากนักศึกษาที่ไปค่ายพัฒนาชนบทในปัจจุบัน การตอบแบบนี้ดีทางการเมืองกับผู้ตอบ ดีต่อการต่อสู้เพื่อให้หกตุลามี “ที่ทางในประวัติศาสตร์ไทย” แต่แฟร์กับคนที่ตายในวันที่หกตุลาจริงหรือ? ถ้าแม้แต่นักศึกษาประชาชนที่ตายไปในวันนั้นเพียงคนเดียวที่เชื่อเรื่อง สังคมนิยม เขาจะรู้สึกอย่างไรที่ในนามของการต่อสู้ทางการเมืองทุกวันนี้ เราบอกว่าเขาเป็นอย่างที่เราคิดว่าเขาควรจะเป็น พูดอีกอย่างคือคำตอบแบบนี้แสดงความผูกพันกับคนตาย หรือแสดงความพยายามสร้างความผูกพันระหว่างผู้ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันกับ เหตุการณ์ในอดีตที่ล่วงไปแล้วกันแน่?

อันที่จริงอาจตั้งคำถามต่อไปได้อีกว่า อะไรคือความหมายทางการเมืองของปริศนาทางอุดมการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2519 ที่การฆ่านักศึกษาฝ่ายซ้ายเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจยิ่งชีวิต จนถึงปี 2551 ที่การฆ่านักศึกษากลายเป็นความรู้สึกน่าอับอายในระดับสังคม คำถามนี้ไม่เกี่ยวกับหกตุลาแต่เกี่ยวกับการประเมินอะไรต่อมิอะไรที่เกี่ยวกับรัฐประหาร 2549 และสถานการณ์การเมืองหลังจากนั้นจนปัจจุบันและไปสู่อนาคต……”

ความ ทรงจำที่พร่ามัว บวกกับความหมายของการตายที่ถูกบิดเบือนไปทำให้บันทึกประวัติศาสตร์ 6 ตุลา และเจตนารมณ์ 6 ตุลา ต้องผิดเพี้ยนไปจากความจริง ในช่วง 10 ปี ที่ชิ้นงานประติมากรรมที่ได้สร้างไว้ให้สังคมไทยจดจำจึงไม่ได้ทำหน้าที่ อย่างที่ควรจะเป็น อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์เคยกล่าวไว้ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็น “ ดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว ” อาจจะเป็นบทพิสูจน์ส่วนหนึ่งว่าอย่างน้อยก็ยังมีที่มีทางสำหรับอนุสรณ์ของ สามัญชน วีรชนที่ถูกกระทำโดยอำนาจรัฐ ด้วยการถ่ายทอดด้านที่อัปลักษณ์ให้เป็นที่จดจำ ….แต่นั่นยังไม่พอ การเตือนสติดูจะไม่มีผลมากนัก วันนี้สังคมไทยยังคงซึมซับกับประสบการณ์เดิมๆ เรื่องราวเดิมๆ การคุกคาม ปราบปราม เข่นฆ่า และอาชญากรรมของรัฐ ซึ่งดูรุนแรงยิ่งกว่า แต่ขณะเดียวกันมวลชนกลับเข้มแข็งยิ่งขึ้น

มีการกระจายตัวอยู่ใน ทุกจังหวัด ไม่ได้รวมศูนย์เฉพาะในกรุงเทพฯ การสื่อสารต่างๆก็ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงฝ่ายกุมอำนาจ แม้จะมีความพยายามปิดสื่อทุกทาง ทั้งโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ เหลือไว้แต่เครือข่ายเอเอสทีวีที่ทำงานเช่นเดียวกับวิทยุยานเกราะ

ใจ อึ๊งภากรณ์ อดีตเลขาธิการ คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ได้สรุปถึงจุดเด่นของการต่อสู้ของคนเสื้อแดงตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึง 10 พฤษภาคมปีนี้คือ

“……..1. คนเสื้อแดงได้พิสูจน์ว่าเป็นขบวนการของประชาชนชั้นล่างในการต่อสู้ทางชนชั้น เพื่อเรื่องปากท้องและเพื่อประชาธิปไตยพร้อมกัน ซึ่งรวมคนชนบทและคนในกรุงเทพฯ จำนวนมากเป็นประวัติการณ์ ยิ่งใหญ่กว่าการต่อสู้ 14 ตุลา การต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการต่อสู้ในเดือนพฤษภาปี 2535

2. การต่อสู้ที่ยาวนาน ท่ามกลางกระสุนปืน หมอกควัน และข่าวที่ถูกบิดเบือนปิดกั้นโดยรัฐบาล เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับประชาชนจำนวนมาก มวลชนเสื้อแดงได้เรียนรู้วิธีจัดตั้งตนเอง วิธีเข้าถึงข้อมูล และวิธีกระจายข่าว ยิ่งกว่านั้นการต่อสู้ทำให้เขากลายเป็นผู้นำเอง มีความมั่นใจในการท้าทายอำนาจอำมาตย์ที่กดทับชีวิตของพวกเขามานาน เราอาจพูดได้ว่าเกือบจะไม่มีใครในขบวนการเสื้อแดงที่ยังคิดแบบเดิม ไม่มีใครเป็นทาสทางความคิดของลัทธิอำมาตย์

3. การต่อสู้ที่เข้มแข็งของคนเสื้อแดงนี้ บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐระดับล่าง เช่น ตำรวจและทหารเกณฑ์ เริ่มคิดหนัก หลายคนไม่ยอมทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และอาจมีหลายคนที่คิดกบฏ นี่คืออาการของวิกฤตในการปกครองของรัฐอำมาตย์ เราอาจพูดได้ว่ารัฐอำมาตย์อยู่ได้ก็ด้วยการปราบปราม ขู่เข็ญ และการปิดกั้นข้อมูลเท่านั้น ไม่มีความชอบธรรมเลยในสายตาประชาชนนับล้าน และในสายตาสื่อต่างประเทศและชาวโลกที่สนใจประเทศไทย......”

ขณะ ที่เสรีภาพของประชาชนถูกกระชับพื้นทีจนแทบไม่มีที่จะยืน อดีตเพื่อนพ้องน้องพี่ที่ผ่านเหตุการณ์มาด้วยกันหลายต่อหลายคนเมื่อ 6 ตุลา ก็กลับเป็นปฏิปักษ์กัน ไม่เพียงแต่อดีตนักศึกษาที่เคยเข้าป่าเป็นสหาย หลายคนแปรตัวไปเป็นนักการเมืองพรรคอนุรักษ์นิยม หลายคนไปรับใช้นายทุนสื่อ หรือแม้แต่อดีต 18 ผู้ต้องหา 6 ตุลาบางคนก็ถึงกับทำหน้าที่ปลุกระดมผ่านสื่อเสื้อเหลืองให้ใช้กำลังความ รุนแรงจัดการกับมวลชนคนเสื้อแดงเมื่อเมษา-พฤษภา อย่างเด็ดขาด ร่วมกันประกาศว่าต้องช่วยกันปกป้องสถาบัน พร้อมกับกล่าวหามวลชนเสื้อแดงว่าเป็น “พวกทำลายชาติ ศาสน์ กษัตริย์” คนที่เคยร่วมขบวนการรณรงค์ “เปิดประตูคุกให้เพื่อน” ทั้งในป่า ทั้งในเมือง และในหมู่คนไทยในต่างประเทศ เพื่อปลดปล่อยเพื่อนๆที่ถูกจับไป คงนึกในใจว่าไม่น่าปล่อยพวกทรยศต่อประชาชน พวกคลั่งชาติ พวกกระหายเลือดเหล่านี้ออกมาเลย

ความหมายของการรำลึก 34 ปี 6 ตุลา 2519 ปีนี้เราคงจะไม่ต้องถามหาว่า “...ใครฆ่าเขา หรือเราเห็นคนตาย ” อีกแล้ว ความจริงคำถามเหล่านี้เราตอบได้เพราะฆาตกรในเหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลา 2519 กับ เมษา-พฤษภามหาโหด 2553 ก็ไม่ได้ต่างกันเลย มวลมหาประชาชนต้องสรุปบทเรียน เช็ดรอยเลือด เช็ดคราบน้ำตา ลุกขึ้นมาสู้กับพวกอมาตยาธิปไตยต่อไป หากเราท้อแท้ หรือยอมสยบพ่ายแพ้กับพวกมัน การตายของ

วีรชน ก็จะเป็นการตายที่สูญ เปล่า! ประติมากรรม ประติมานุสรณ์ หรือถาวรวัตถุใดๆ ก็คงไร้ประโยชน์ และไม่รู้จะต้องสร้างกันอีกกี่อนุสาวรีย์ กี่อนุสรณ์สถาน????


6 ตุลา 2519 จับกุม นศ.มือเปล่าเหมือนเชลยศึก


ในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 คนไทยถูกปลุกระดมว่าฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป


วิชิตชัย อมรกุล นิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


จารุพงษ์ ทองสินธุ์ อุปนอก สมธ. ธรรมศาสตร์


การรัฐประหารเกิดขึ้นในตอนเย็น ภายหลังนักศึกษาประชาชนถูกจับกุมกว่า 3000 คน เมื่อ 6 ตุลา 2519


ตรวจงานสลักหิน งานประติมากรรม 6 ตุลา โครงการกำแพงประวัติศาสตร์ ที่โรงหิน สระบุรี


กรรมการ จัดสร้างประติมานุสรณ์ 6 ตุลา กับต้นแบบจัดแถลงข่าว เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ขณะไปดูโรงงานสลักหินที่สระบุรี ในภาพจากซ้าย อ.สุรพล ปัญญาวชิระ อ.ใจ อึ๊งภากรณ์ คุณสินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย อ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์ ถ่ายภาพโดย วิภา ดาวมณี ประชาสัมพันธ์โครงการกำแพงประวัติศาสตร์ฯ


ติดตั้งชิ้นงานประติมากรรม ที่หน้าหอประชุมใหญ่เมื่อ พ.ศ.2541

นิติราษฎร์เสนออะไรกันแน่

ที่มา Thai E-News

3 กุมภาพันธ์ 2555
ที่มา Siam Intelligence

หัวข้อข่าวเดิม "วีระ ธีรภัทร จัดหนัก! “คนที่จะโต้นิติราษฏร์” อ่านเนื้อหาหรือยัง? SIU รวมสรุปข้อเสนอ “นิติราษฎร์”

หลัง จากกลายเป็นที่ฮือฮามีผู้ฟังจากทางบ้านโทรเข้าไปแสดงความเห็นใน รายการของ วีระ ธีรภัทร นัดจัดรายการฝีปากกล้าแห่งคลื่น 96.5 F.M. คลื่นความคิด และแสดงความคิดเห็นที่ยั่วยุจนถึงกับการขู่ทำร้ายร่างกาย (hate speech) ว่าจะจะ “ตัดคอนิติราษฎร์ทิ้ง” ทำให้สังคมเดินหน้าไปสู่ความเกลียดชัง วีระ ธีรภัทร จึงยอนกลับไปถามผู้ฟังว่าคนที่ออกมาโจมตีหรือขู่ที่จะทำร้ายนักวิชาการนิติ ราษฎร์นั้นได้อ่านข้อเสนออย่างถี่ถ้วนหรือยัง? หรือเคลื่อนไหวตามกระแส? SIU ในฐานะสื่อจึงเรียบเรียงข้อเสนอให้สามารถเข้าใจในทุกประเด็นที่นิติราษฎร์ เสนอเพื่อความเข้าใจที่ดีก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ และไม่ให้สังคมเดินหน้าไปสู่ความเกลียดชัง





ประเด็นข้อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ กลายเป็นประเด็นร้อนในแวดวงการเมืองไทยมาติดต่อกันมาหลายสัปดาห์ โดยมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและคัดค้านออกมาแสดงตัว และเรื่องราวยิ่งขยายประเด็นในวงกว้างมากขึ้น หลัง ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาให้ข่าวว่าไม่อนุญาตให้ใช้เวทีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคลื่อนไหวในมาตรา 112 จนเกิดการอภิปรายเรื่อง “เสรีภาพในธรรมศาสตร์” อย่างกว้างขวาง

แต่ ถ้ามองดูข้อถกเถียงใน “กิจกรรมและความเคลื่อนไหว” ที่รายล้อม ม.112 และกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ปรากฎตามหน้าสื่อชั้นนำทั่วไทย เรากลับไม่เห็นการถกเถียงในประเด็นเรื่อง “เนื้อหา” ตามข้อเสนอของนิติราษฎร์มากนัก ทั้งที่การถกเถียงในเชิงวิชาการเหล่านี้ย่อมจะเกิดประโยชน์ต่อทิศทางเชิง นโยบายโดยรวม มากกว่ากิจกรรมระยะสั้นที่ผ่านพ้นวันก็จบกันไป

SIU จึงขอ “ย้อนทวน” ดูประเด็นข้อเสนอต่างๆ ของคณะนิติราษฎร์ในอดีตที่ผ่านมา ว่าตกลงแล้ว กลุ่มนิติราษฎร์ที่คนทั้งรักและเกลียด มีข้อเสนออะไรต่อสังคมไทยกันแน่?

ย้อนอดีต “นิติราษฎร์”

คณะ นิติราษฎร์ออกมาส่งข้อเสนอต่อสังคมในวันที่ 18 กันยายน 2554 เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปี เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และครบรอบ 1 ปีของการก่อตั้งคณะนิติราษฎร์ (ก่อนหน้านั้น กลุ่มนิติราษฎร์เคลื่อนไหวในชื่อกลุ่มที่เรียกกันว่า “5 อาจารย์ธรรมศาสตร์”)

ข้อเสนอของนิติราษฎร์มี 4 ประการสำคัญ ได้แก่

  1. การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
  2. การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
  3. กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
  4. การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

รายละเอียดสามารถอ่านได้จาก แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์: ลบล้างผลพวงรัฐประหาร, แก้ไขมาตรา 112, เยียวยาผู้เสียหายจากรัฐประหาร และ จัดทำรธน.ใหม่

ในห้วงเวลานั้นข้อเสนอของนิติราษฎร์ถูกจับตามองอย่างยิ่งในประเด็นแรก คือ “ลบล้างผลพวงของรัฐประหาร” (ซึ่งเป็นประเด็นที่ 1 ในข้อเสนอ) และถูกวิจารณ์อย่างมากว่าเป็นการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรหรือไม่ จนสัปดาห์ถัดมา 25 กันยายน 2554 ทางคณะนิติราษฎร์ต้องออกมาชี้แจงในประเด็นนี้อีกครั้ง และตอบคำถามและข้อสงสัยจากสาธารณะ (รายละเอียดอ่านที่ คณะนิติราษฎร์ชี้แจง: การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยา 2549)

หลัง จากนั้น กลุ่มนิติราษฎร์ได้เงียบหายไปช่วงหนึ่งในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ของปี 2554 ก่อนจะกลับมาอีก 2 ครั้งติดกันในเดือนมกราคม 2555

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 กลุ่มนิติราษฎร์ได้ออกมายื่นข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ซึ่งเป็นประเด็นที่ 2 ในข้อเสนอเดิม) ซึ่งกลุ่มนิติราษฎร์ได้ลงรายละเอียดจากข้อเสนอเดิมมากขึ้น (รายละเอียดอ่านที่ อ่านและชมคลิป! ข้อเสนอนิติราษฎร์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112)

จากนั้นสัปดาห์ถัดมา 22 มกราคม 2555 นิติราษฎร์ออกมาขยายความข้อเสนอเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ซึ่งเป็นประเด็นที่ 4 ในข้อเสนอเดิม) โดยเสนอให้ตั้ง คณะกรรมการจัดทำรัฐธรรมนูญ จำนวน 25 คน โดยให้รัฐสภาเป็นคนเลือก (รายละเอียดอ่านที่ ‘นิติราษฎร์’ เสนอโรดแมปร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งคณะกรรมการร่าง 25 คน ใช้เวลา 9-10 เดือน)

ข้อเสนอ 4 ประการของนิติราษฎร์

กล่าว โดยสรุปแล้ว ข้อเสนอของนิติราษฎร์ในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา ยังยืนอยู่บนข้อเสนอ 4 ข้อในวันที่ 18 กันยายน 2554 แต่ขยายความและลงรายละเอียดใน 3 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1-2-4

ดัง นั้นในการ “วิพากษ์” ข้อเสนอของนิติราษฎร์แล้ว จำเป็นต้องเข้าใจ “ภาพรวม” ของข้อเสนอนิติราษฎร์ว่าทั้ง 4 ประการมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และจะนำไปสู่เป้าหมายอะไร (ซึ่งจะเป็นเรื่องการสนับสนุนความเข้มแข็งของสถาบันฯ หรือเป็นการล้มล้างสถาบันฯ ก็ขึ้นกับมุมมองทางวิชาการ)

ในโอกาสนี้ SIU จึงขอสรุปประเด็นในข้อเสนอ 4 ประการของนิติราษฎร์เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2554 และเพิ่มรายละเอียดจากการขยายความของนิติราษฎร์ในช่วงหลัง เพื่อเป็น “จุดตั้งต้น” ให้ผู้สนใจสามารถติดตามอ่านเอกสารฉบับเต็มของนิติราษฎร์ (ซึ่งมีความยาวและมีความซับซ้อนสูง) ได้สะดวกมากขึ้น

ข้อเสนอ 4 ประการของนิติราษฎร์ (คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม)

สำหรับผู้อ่านที่สนใจข้อเสนอของนิติราษฎร์ทั้งหมด สามารถติดตามได้จาก เว็บไซต์ของคณะนิติราษฎร์

สังเกตุไหมว่ามีแต่เด็กป๋าและคนพรรคเด็กป๋าทั้งนั้นที่ออกมาต้านนิติราษฎร์กัน

ที่มา thaifreenews

โดย Bugbunny

ติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านนิติราษฎร์มาพักหนึ่ง อยากสรุปกลุ่มที่ออกมาต่อต้านออกมาให้เห็นภาพอย่างชัดเจน เห็นได้ว่าเป็นกลุ่มเด็กป๋าและพรรคเด็กป๋าทั้งนั้น

นี่หมายถึงพวกที่ ออกมาเปิดเผยโฉมหน้ากันจริง ๆ และไม่เกี่ยวกับพวกทหารเฒ่ากับไอ้ลิ้มที่พยายามออกมาชวนให้ปฏิวัติรัฐประหาร เพราะพวกนี้หมดน้ำยาแล้วที่จะปลุกมวลชน รวมทั้งมีสิทธิโดนข้อหากบฏในราชอาณาจักรด้วย จากการออกมาเชิญชวนดังกล่าว

จะเห็นว่าที่ออกมานั้นเป็นเครือข่ายเด็กป๋า และพรรคเด็กป๋าทั้งนั้น เดินหน้ากันจริงจังมาก

บวรศักดิ์ คือสายตรงป๋าจากหาดใหญ่ใคร ๆ ก็รู้ ตอนนี้กำลังรอเพื่อนร่วมสายคือ วิษณุ เครืองาม อีกคนหนึ่ง ว่าจะออกมาเมื่อไหร่

หมอ ตุลย์และนางจิตรภัสร์นั้น ถือได้ว่าพรรคแมลงสาปหรือพรรคเด็กป๋าส่งมา หมอตุลย์ เคลื่อนไหวทุกครั้งด้วยรถขยายเสียงคันเดียวกับพรรคแมลงสาป ส่วนนางจิตรภัสร์นั้นลงสมัครในนาม ปชป.และสอบตกแพ้ ดร.ลีลาวดี วัชโรบลของพรรคเพื่อไทย ในพื้นที่ดุสิต ที่บริษัทของนางและหน่วยทหารจำนวนมากมายตั้งอยู่ แบบสมควรแทรกแผ่นดินหนี

สยาม ประชาภิวัฒน์นั้น บรรเจิด สิงคเนติ จรัส สุวรรณมาลา ทวี สุรฤทธิกุล ฯลฯ ต่างเป็นนักวิชาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร 19 กันยา 49 ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญโจร เป็นนักวิชาการสายอำมาตย์เต็มตัว ซึ่งนักวิชาการสายนี้ตาสว่างกันเยอะเวลานี้ เกษียร เป็นตัวอย่างคนหนึ่ง แต่ที่ยังจมปลักกับความลุ่มหลงในอำนาจและการสนับสนุนของอำมาตย์ รวมทั้งอาการ “อาย” ที่หลงไปเลือกข้างเผด็จการ จะถอนตัวก็รู้สึกเขิน ก็เลยอยู่เฉย ๆ กันหลายคน แวดวงนักวิชาการเขารู้กันดี

ส่วนกลุ่มล่า สุดของวารสาร มธ นั้น ผาณิต คือเจ้าของหนังสือพิมพ์แนวหน้า ที่ประสงค์ สุ่น ข้ารับใช้ของป๋า เขียนคอลัมน์อยู่มานานแล้ว โดยไม่มีใครอ่าน เพราะความคิดโบราณเต็มที แบบยังจมอยู่กับสงครามเย็นในยุคที่โลกเป็นระบบดิจิตอล ส่วนยุทธนา มุกดาสนิท และเสรี วงษ์มณฑา นั้น ไม่ต้องกล่าวถึงอะไรมาก ชาวสีม่วงนั้น มีหลักการอย่างหนึ่งว่า ไม่ต้องมีเหตุผลในการเลือกข้าง ขอให้เป็นพวกเดียวกันก็แล้วกัน

โดยสรุปก็คือ สิ้นหนทางอื่นแล้ว อำมาตย์เฒ่าในประเทศนี้จะเลือกวิธีการกล่าวหา ข่มขู่ และยัดเยียดความผิดตามกฎหมายที่พวกตัวเองกำหนดกันเอาไว้ ใช้ระบบที่วางหมากกันมายาวนานนั้นจัดการกับประชาชนและผู้ที่เห็นต่าง เพราะเคยใช้ได้ผลมาหลายครั้ง หลังจากเอายาสูตรนี้อัดให้ประชาชนเสพจนขาดสติกันมาอย่างยาวนาน

พวก เขารู้ดีว่าใช้บริการกลุ่มไอ้ลิ้มไม่ไหวแล้ว ก็เลยต้องใช้กลุ่มใหม่ ๆ ออกมาเดินหน้าบ้าง พยายามสร้างสถานการณ์ให้สุกงอมเพื่อรัฐประหาร แล้วจัดการเลือกตั้งใหม่ด้วยกติกาที่พวกนี้วางอย่างเคร่งครัดกว่านี้ให้ได้ เพราะแนวรัฐธรรมนูญจอมปลอมแบบใช้หุ่นเชิดอย่างไอ้ฟักมาร์กไว้ข้างหน้า พิสูจน์แล้วว่าไร้ผล แม้การรัฐประหารจะเป็นเรื่องเสี่ยงต่อพวกเขาอย่างมาก เพราะมันหมายถึงทั้งการคว่ำบาตรจากนานาชาติ การโดนตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น รวมถึงการลุกขึ้นสู้อย่างรุนแรงของประชาชนแน่นอน แต่คนพวกนี้ก็อาจต้องทำ เพราะไม่เช่นนั้น กลุ่มพวกเขาและทายาททั้งหลายมีหวังบาดเจ็บสาหัส หากการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญในเวลาไม่นานต่อจากนี้ เกิดไม่เป็นไปอย่างที่พวกเขามุ่งหวังตั้งใจกันเอาไว้

คงหมดตัวชนกันแล้ว เลยต้องเอาพวกวางแผนมาออกหน้ากันใหญ่

แถลงการณ์สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย JJ_Sathon










http://www.go6tv.com/2012/02/30-2555.html

"ปราบดา โต้ กนก" พ่อแม่ไม่ได้สั่งสอนให้ตกเป็นทาสของขนบงมงาย

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เขียนโดย JJ_Sathon

ภายหลังจากที่ นายกนก รัตน์วงศ์สกุล ได้โพสต์เฟซบุ๊ก วิจารณ์ถึงกลุ่มคนที่คิดแก้ไข

กฎหมายอาญามาตรา 112 ในเชิงว่า “พ่อแม่ไม่อบรมสั่งสอน”


ภายในวันเดียวกันนั้น สำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น (TyphoonBooks Thailand)

ของนายปราบดา หยุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญญาชน 112 รายแรก ผู้ร่วมลงนามเสนอร่างแก้ไข

กฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ รวมทั้งเป็นบุตรชายนายสุทธิชัย หยุ่น

บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น ได้โพสต์ข้อความว่า


ภาพจาก facebook.com/Typhoonbooks thailad



“ปกติไม่ชอบพูดเรื่องส่วนตัวเลย แต่บางข่าววันนี้ทำให้อยากบอกว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกว่า

เป็นคนโชคดีมากๆ คือการมีพ่อกับแม่ที่มอบสิ่งมีค่าที่สุดกับเรามาตลอด นั่นคืออิสระทาง

ความคิดและการใช้ชีวิต สำหรับเรา ความหมายของการอบรมสั่งสอนลูกที่ดีคือแบบนี้

ไม่ใช่แบบที่อบรมให้ไหม้เกรียมไปด้วยการบังคับ และสั่งสอนให้ตกเป็นทาสของขนบงมงาย”


ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างมากมาย

ถึงคำพูดที่เหมือนไร้ซึ่งวุฒิภาวะเหมือนเด็กด่าพ่อด่าแม่ ของนายกนก รัตน์วงศ์สกุล

ซึ่งพาดพิงไปยังกลุ่มบุคคลปัญญาชนมากมาย และรวมไปถึงกลุ่มราชนิกุลทั้ง 8 ด้วย



http://www.go6tv.com/2012/02/blog-post_03.html

จดหมายเปิดผนึก: จากศิษย์เก่าดีเด่นคนหนึ่งถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันเป็นที่รัก

ที่มา ประชาไท

ท่ามกลางความผันผวนทางการเมืองของสังคมไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้ามีส่วนเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมาอย่าง ต่อเนื่อง ในบางคราวมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้กลายถูกมองเป็นเสมือนคบเพลิงส่องทางสว่างไสว แก่ผู้คน แต่ในบางคราวก็ต้องเผชิญกับการตกเป็นเป้าโจมตีว่ากำลังเดินไปในทิศทางที่ตรง กันข้ามกับอุดมการณ์แต่แรกเริ่มของมหาวิทยาลัย

ในวิกฤติการเมืองครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน การดำเนินบทบาทของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ก็กำลังเผชิญกับคำถามและข้อสงสัยจากผู้คนอย่างกว้างขวาง อันปรากฏขึ้นนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ซึ่งได้ทำให้การเมืองในสังคมไทยต้องเผชิญหน้ากับการแบ่งสีแบ่งฝักแบ่ง ฝ่ายอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงคาดความหมายที่มีสถาบันทางสังคมการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิมอย่าง สำคัญจากแต่ละฝ่าย

มหาวิทยาลัยในสถาบันการศึกษาระดับสูงควรจะมีบทบาทอย่างไรต่อความขัดแย้งใน ทางการเมือง เป็นคำถามสำคัญที่สังคมเองก็มีความคาดหวังอยู่แม้จะไม่มากก็ตาม

แน่นอนว่าเราคงไม่อาจคาดหวังให้บุคคลที่ทำหน้าที่ในฐานะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยต้องมีทรรศนะในทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกับตัวเรา เพราะความขัดแย้งครั้งนี้มีประเด็นที่สามารถถกเถียงและให้คำอธิบายต่อ ปรากฏการณ์ได้ในหลากหลายชุด ซึ่งต่างก็มีเหตุผล ข้อมูล ความเชื่อ อุดมการณ์ที่แตกต่างกันไปเป็นปัจจัยสนับสนุน ทั้งมหาวิทยาลัยมิใช่ดินแดนสรวงสวรรค์ที่ผู้คนหลุดลอยออกไปจากความเป็นจริง ในทางสังคมล้วนต่างก็ย่อมตกอยู่เงื่อนไขความขัดแย้งทางสังคมนี้ด้วยเช่นกัน

แต่มหาวิทยาลัยในฐานะของสถาบันการศึกษาควรจะถูกวางบทบาทเอาไว้ตรงไหน อย่างไร

มหาวิทยาลัยในสังคมปัจจุบันเป็นแหล่งที่ถูกคาดหมายในด้านของภูมิปัญญาความ รู้เมื่อต้องเผชิญกับความยุ่งยากต่างๆ ยิ่งนับวันที่สภาพสังคมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น มหาวิทยาลัยก็ถูกคาดหมายในระดับที่สูงขึ้น แม้ว่าในความเป็นจริงไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างได้ทั่ว ถึง

ในความขัดแย้งทางการเมืองอย่างลึกซึ้งในห้วงเวลาปัจจุบัน เราได้เห็นภาพของการแสดงจุดยืนของบุคคลแต่ละฝ่ายออกมาอย่างแข็งขัน พร้อมกันไปกับการโจมตีผู้ที่มีความคิดเห็นต่างหรือยืนอยู่ในคนละฝั่งอย่าง รุนแรง ส่วนใหญ่เป็นการปลุกเร้าผู้ที่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับตนและทำให้ เกิดความเกลียดชังอีกฝ่าย

ที่สำคัญอาการเกลียดชังเหล่านี้ได้เกิดขึ้นและขยายตัวออกกว้างขวางด้วยผู้คนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างหฤหรรษ์

การแสดงความคิดเห็นในทางการเมืองได้กลายเป็นปมประเด็นที่ทำให้คนจำนวนไม่ น้อยในสังคมต้องการที่จะหลีกเลี่ยง อันเนื่องมาจากความไม่มั่นใจในชีวิตและเสรีภาพซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากการแสดง ความเห็นของตน อีกทั้งความเห็นที่แตกต่างก็ดำเนินไปในทิศทางของการแสดงจุดยืนมากกว่าการแลก เปลี่ยนความเห็นหรือทรรศนะของแต่ละฝ่าย

เมื่อต้องเผชิญการแสดงความเห็นที่สั่นคลอนความเชื่อที่เคยเป็นมาอย่างรุนแรง รวมถึงการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างติดตามมา ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าจะนำซึ่งความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างฝ่ายต่างๆ อย่างแน่นอน

มหาวิทยาลัยจะเผชิญหน้ากับเรื่องนี้อย่างไร ทางหนึ่งที่มักเห็นกันบ่อยครั้งก็คือการใช้อำนาจในการปิดกั้นไม่ให้เกิดการ แสดงความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้น ซึ่งไม่สู้เป็นประโยชน์ทั้งกับสถาบันและกับสังคมโดยรวมแต่อย่างใด

หนทางหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้เกิดการเผชิญหน้ากับความขัดแย้งที่เป็น ประโยชน์ก็คือ การทำให้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ของการถกเถียงในประเด็นปัญหาอย่างตรงไปตรงมา บนฐานของข้อมูลและความรู้ระหว่างบุคคลในฝ่ายต่างๆ บทบาทในลักษณะเช่นนี้ไม่เพียงทำให้เกิดความงอกงามในทางปัญญาและการเรียนรู้ เท่านั้น หากแต่จะเป็นแนวทางเพื่อทำให้เกิดการสนทนาระหว่างผู้คนให้สามารถเกิดขึ้นได้ แม้จะมีความเห็นที่แตกต่างกัน อันเป็นภาพที่หาได้อย่างยากเย็นยิ่งในห้วงเวลาปัจจุบันระหว่างผู้ซึ่งสมาทาน แนวความคิดที่แตกต่างกัน

บทบาทดังกล่าวจะช่วยทำให้การกล่าวหาและป้ายสีกันแบบไร้เหตุผลในทางการเมือง มีความหมายน้อยลง เมื่อสีต่างๆ เจือจางลงก็คงจะทำให้สังคมสามารถมองเห็นใบหน้าที่มีชีวิตของอีกฝ่ายในฐานะ มนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่งได้มากขึ้น

ในด้านของการแสวงหารู้ การเปิดพื้นที่เพื่อให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนนับเป็นห้องเรียนไม่เป็นทาง การเมืองที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการบรรยายตามตารางสอน และเป็นการให้การเรียนรู้กับนักศึกษาและบุคคลภายนอกได้อย่างดียิ่ง

แน่นอนว่าการตระหนักถึงการสร้างความรุนแรงเป็นสิ่งที่ควรต้องตระหนักถึง หากเห็นได้ชัดเจนว่ามีแนวโน้มที่กำลังจะก้าวเดินไปสู่เหตุการณ์ที่มีเลือดตก ยางออกหรือแม้กระทั่งการบาดเจ็บล้มตาย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องพึงระวังมิให้ถูกหยิบมาเป็นข้ออ้างเพื่อปิดปากฝ่าย อื่นที่มีความเห็นต่างๆ ตามอำเภอใจ

สังคมไทยตกอยู่ในห้วงเวลาแห่งความขัดแย้งมาเป็นระยะเวลายาวนาน และสถานการณ์เช่นนี้ก็มีแนวโน้มที่จะยังคงดำเนินต่อไป บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อการนำเสนอแนวทางเพื่อก้าวข้ามให้พ้นไปจากความยุ่งยาก นี้เป็นภาระหน้าที่ประการหนึ่ง

และภาระหน้าที่ดังกล่าวนี้คงไม่อาจจำกัดไว้เพียงเฉพาะกับมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์เท่านั้น หากหมายรวมไปถึงมหาวิทยาลัยแห่งอื่นด้วยเช่นกันที่จะช่วยนำพาสังคมไทยให้ เดินหน้าก้าวข้ามความขัดแย้งไปได้อย่างสันติและสงบ มากกว่าเพียงการคลั่งไคล้อยู่กับการจัดอันดับที่สูงขึ้นของมหาวิทยาลัยใน ระดับโลกโดยไม่สนใจถึงปัญหาความขัดแย้งที่กำลังคุโชนอยู่ภายสังคม ณ ห้วงเวลานี้

ยุกติ มุกดาวิจิตร: เสรีภาพใต้ระบอบกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ

ที่มา ประชาไท

สถาบันกษัตริย์ไม่ใช่ลักษณะพิเศษของสังคมไทย เพราะในโลกนี้มีสังคมมากมายที่มีสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่สวาซีแลนด์ เดนมาร์ก อังกฤษ ไปจนถึงญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ มหาอำนาจทางการเมือง หรือมหายาจก ต่างก็มีสถาบันกษัตริย์กันทั้งสิ้น

แต่หากเราจะอยู่กันอย่างประเทศอารยะแล้ว เราควรจะนับเอาประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ที่วางอยู่บนหลักมนุษยนิยมมาเป็น ตัวอย่างเทียบเคียง อย่างไรก็ดี ในข้อเขียนนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ประสงค์จะเปรียบเทียบสถาบันกษัตริย์ของประเทศ ต่างๆ แต่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ความนิยมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย ที่กำลังคุกคามสิทธิเสรีภาพในสังคมไทยอยู่นั้น หรือเรียกสั้นๆได้ว่า "ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ" นั้น มีลักษณะพิเศคือ เป็นกษัตริย์นิยมที่เป็นปฏิปักษ์กับมนุษยนิยม ดังจะเห็นได้ไม่ยากจากปฏิกิริยาที่นักกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ มีต่อการต่อต้านคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ดังนี้

ประการแรก กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่นิยมเหตุผล เหตุผลเป็นมาตรฐานสำคัญของการวัดความเป็นมนุษยนิยม รายที่แย่หน่อยก็มักด่ากราด ทำลายความเป็นมนุษย์ของเหยื่อด้วยสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะทางภาษาหรือการตัดต่อภาพ บางรายใช้ความเชื่อแบบยุคก่อนมาสาปแช่ง ให้ตกนรกบ้างล่ะ ให้ธรณีสูบบ้างล่ะ โดยหารู้ไม่ว่าไม่มีนักมนุษยนิยมคนใดเขาเชื่อนิทานเหล่านี้กันแล้ว แต่นี่ยังนับว่าเป็นความไร้เหตุผลแบบก่อนสมัยใหม่ที่ตกยุค บางทีกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ก็กล่าวหาคนอย่างเลื่อนลอย เช่น แม้ว่าในข้อเสนอของนิติราษฎร์ แม้ไม่มีข้อความใดบ่งชี้ว่าจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปในทางที่จะล้มล้าง สถาบันกษัตริย์ แต่นักเขียนใหญ่รายหนึ่งก็ยังตะแบงป้ายสีไปน่ำขุ่นๆ ได้ว่า "ผมอ่านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์อย่างไรๆ ก็ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากว่ากลุ่มนิติราษฎร์เห็นว่า ราชอาณาจักรไทยหรือประเทศไทยไม่จำเป็นต้องอาศัยพระมหากษัตริย์เป็นประกัน ความมั่นคงต่อไปอีกแล้ว" กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงมักอาศัยสัญลักษณ์ห้วนๆ มาป้ายสีเหยื่อ หรือคิดหาสัญลักษณ์อะไรมาไมาได้ ก็ย้ำความเชื่อของตนเอาเองแบบไม่ต้องอาศัยหลักฐานที่ชัดเจนอะไรเลย ซึ่งในที่สุดก็จะเป็นการเปิดประตูให้ความชั่วร้ายของกษัตริย์นิยมไทยๆ แบบรุนแรง เข้ามาทำร้ายสังคมไทย

ประการต่อมา กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ บางรายยอมแลกการบูชาลัทธิกษัตริย์นิยม กับการทำลายหลักการพื้นฐานของมนุษยนิยม คือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ แบบนี้ไม่ยอมแม้แต่จะให้มีการพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ หรือไม่ยอมแม้แต่จะให้เอ่ยถึง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรืออาฆาตมาตร้าย ไม่ว่าใครจะกล่าววิจารณ์อะไรต่อพระมหากษัตริย์ ก็จะเป็นการ "จาบจ้วง ล่วงเกิน" ไปเสียทั้งสิ้น กษัตริย์นิยมประเภทนี้ไม่ยอมรับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ อันเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของมนุษยนิยมและประชาธิปไตย

นับวัน กษัตริย์นิยมแบบนี้จะค่อยๆ หมดไปในสังคมชนบท "ความทรงจำ" ต่อภาพงดงามของ "พระราชอำนาจ" ส่วนใหญ่เหลือตกค้างอยู่แก่เฉพาะกับคนในเมือง ที่อบอุ่นสุขสบายบนซากศพการตายที่ชายขอบ เพราะการสร้าง "พระราชอำนาจนำ" ขึ้นมาในท้องถิ่นชนบทห่างไกลดังในอดีตนั้น เกิดขึ้นตามยุคสมัยของการต่อสู้กับภัยคุกคามความมั่นคงสมัยหนึ่ง แต่ในสมัยปัจจุบัน บทบาทพระราชอำนาจนำจำเป็นต้องถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ไม่ใช่ในแบบที่เคยคุ้นกันมา แต่ในเมื่อการอภิปรายถึงบทบาทพระมหากษัตริย์ในบริบทใหม่ถูกปิดกั้นเสียแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าพระราชอำนาจนำแบบใดที่เหมาะสมกับสังคมประชาธิปไตยที่คน ส่วนใหญ่ต้องการ

ประการที่สาม กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ หาได้รักเทิดทูนเจ้านายทุกๆ พระองค์ใน "สถาบันพระมหากษัตริย์" อย่างเสมอเหมือนกันไม่ กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ แยกแยะพระมหากษัตริย์ออกจากเจ้านายพระองค์อื่นๆ รักบางพระองค์ เทิดทูนเพียงบางพระองค์ กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงไม่แม้แต่จะให้ความเท่าเทียมกับทุกๆ พระองค์ เจ้านายบางพระองค์จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์แม้แต่จากกลุ่มกษัตริย์นิยมด้วยกัน เอง หากแต่กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่ยอมรับสิทธิเท่าเทียมกันในการวิจารณ์เจ้านาย มีเพียงพวกพ้องของชนชั้นนำเท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์วิพากษ์วิจารณ์เจ้านายได้ อย่างไรก็ดี ในสังคมไทย เราย่อมทราบกันดีว่า นักลัทธิกษัตริย์นิยมก็เป็นนักนินทาเจ้านายเชื้อพระวงค์ไปจนถึงพระบรมวงศานุ วงค์กันแทบทุกคนไป

ประการต่อมา กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ วางความยุติธรรมอยู่บนลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ คือความยุติธรรมที่แทบจะปราศจากหลักมนุษยธรรม ดังคำกล่าวของโฆษกศาลยุติธรรม ที่ลงท้ายบทความ "อากงปลงไม่ตก" (2) ที่ว่า "ผู้เขียนใคร่ขออนุญาตนำเอาคำกล่าวในอดีตที่เคยพูดกันมาเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างชาติให้มีสันติสุขอย่างถาวรยั่งยืนคือ 'อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าทำหินแตก และอย่าแยกแผ่นดิน'" หากโฆษกศาลยุติธรรมกล่าวเช่นนี้เสียเองแล้ว จะให้ประชาชนมั่นใจได้อย่างไรว่า ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จะไม่กลายเป็นอคติครอบงำศาลเสียจนไม่สถิตความยุติธรรมในระบอบประธิปไตยที่ ต้องวางอยู่บนหลักมนุษยนิยมอีกต่อไป ความยุติธรรมในแบบมนุษยนิยมคือการให้ความเป็นธรรมต่อข้อเท็จจริง ถือว่ามนุษย์เสมอเหมือนกัน พร้อมๆ กับความมีมนุษยธรรมตามสมควร แต่หากสาธารณชนสงสัยว่า การตัดสินของศาลจะมุ่งพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์เหนือกว่าพิทักษ์สิทธิของ ความเป็นมนุษย์แล้ว กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ก็กำลังทำลายมนุษย์เพื่อปกป้องลัทธิบูชาของพวกพ้องตนเองเท่านั้น

ประการที่ห้า กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ยอมให้มีลัทธิกษัตริย์นิยมแบบเดียว คือแบบไทยๆ ที่วางอยู่บนระบอบอำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์ของชนชั้นนำกลุ่มน้อย ความนิยมต่อพระมหากษัตริย์แบบไทยๆ อย่างอื่น คือแบบเป็นเหตุเป็นผล แบบที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยสากล แบบที่จะต้องแยกอำนาจสถาบันกษัตริย์ออกจากอำนาจทางการเมืองโดยเด็ดขาดนั้น ถือว่าเป็นแบบที่ไม่ถูกต้อง กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงคับแคบ ไม่ยินดียอมรับข้อเสนอของกษัตริย์นิยมแบบประชาธิปไตยสากล เนื่องจากกลุ่มพวกพ้องของตนเองที่ปกป้องกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ นี้เท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากช่องว่างในการอิงแอบ ดึงเอาสถาบันกษัตริย์ลงมาแปดเปื้อนกับการเมือง กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ พิทักษ์อำนาจและข่ายใยของการอุปถัมภ์ค้ำชูพวกพ้องที่อิงแอบอำนาจสถาบันพระ มหากษัตริย์กษัตริย์

ประการต่อมา กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่มีมนุษยธรรม ยอมให้มีการฆ่าล้าง ประหัตประหารมนุษย์ได้ หากแม้นว่ามนุษย์นั้น (ที่มักถูกเรียกในสำนวนครึๆว่า "อ้ายอีคนใด") ไม่นิยมลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ของพวกตน กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงไม่เคยห้ามปรามการกระทำรุนแรง การมุ่งอาฆาตมาตร้ายเพื่อนมนุษย์ในนามของกษัตริย์นิยม ประหนึ่งว่า การฆ่าคนนอกลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ นั้นชอบแล้ว กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ไม่เคยประณามชนวนของการเข่นฆ่าอย่างรุนแรง มากไปกว่าจะไปร่วมยุยงให้เกิดการเข่นฆ่าผู้คนที่วิจารณ์เจ้านายชั้นสูงอย่าง มีเหตุมีผล สำหรับนักลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ การไล่ล่าทุบตีคนที่ไม่ยืนฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ น่ายกย่องเกินกว่าจะถูกทักท้วงหรือดำเนินคดีตามหลักมนุษยนิยม

ในที่สุด ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จึงสร้างความกลัวไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่นักการเมืองผู้สู้เพื่อประชาชนตั้งแต่พฤษภาคม 2535 ยังเกรงกลัว ออกโรงมาตักเตือนให้นิติราษฎร์และ ครก.112 หยุดการเคลื่อนไหว ซ้ำร้ายย่ิงกว่านั้น กษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ทำให้แม้แต่ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยยังต้องกลัว ลัทธิกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ ในปัจจุบันจึงดำเนินมาถึงขั้นที่มันไม่ต้องทำงานเองอีกต่อไป มันไม่ต้องออกแรงมาทำร้ายผู้คนอย่างบ้าคลั่งเหมือนเมื่อเช้าวันที่ 6 ตค. 2519 อีกต่อไป แต่มันทำงานด้วยการทำให้คนยอมรับเอาความกลัวเข้ามา การข่มขู่เพียงเล็กน้อยประกอบด้วยภาพหลอนความรุนแรงในนามของกษัตริย์นิยมที่ สถาบันการศึกษาเองก็ไม่สามารถพูดถึงตรงไปตรงมาได้ ก็มีพลังเพียงพอที่จะบีบให้สถาบันการศึกษารับความกลัวเข้ามาเป็นเหตุในการ ปิดปากตนเอง

เมื่อศาลก็ถูกสงสัยว่าจะทำงานในนามกษัตริย์นิยมแบบไทยๆ จนไม่อาจพิทักษ์มนุษยนิยมได้แล้ว และปราการสำคัญที่จะปกป้องมนุษยนิยม คือมหาวิทยาลัย อันเป็นสถาบันขั้นสูงของการใช้แห่งเหตุผล ยังกลับปิดกั้นตนเองเพราะความกลัวเสียอีก แล้วจะยังคงหลงเหลือสื่อมวลชน สาธารณชนทั่วไป หรือใครที่ไหนที่จะมาปกป้องความเป็นมนุษย์อยู่อีกต่อไป

ขอร่วมไว้อาลัยแด่ความตายของเสรีภาพที่ธรรมศาสตร์
1 กุมภาพันธ์ 2555
ยุกติ มุกดาวิจิตร

ขอยืนยันกับ อ.กิตติศักดิ์ ปรกติ: “เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง”

ที่มา ประชาไท

โสภณ พรโชคชัย
2 กุมภาพันธ์ 2555

ผมเพิ่งอ่านพบข้อเขียนของท่านอาจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติ {1} รุ่นพี่ธรรมศาสตร์ของผมเมื่อวานนี้เอง ทั้งที่อาจารย์ท่านเขียนมาตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว (ราว 4 เดือนก่อน) ผมไม่ได้ทำงานการเมือง เลยตกข่าว ไม่ได้ติดตามข่าวสารด้านนี้นัก แต่ผมเคยเขียนเรื่อง “เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง” เมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ผมจึงขอมายืนยันกับอาจารย์กิตติศักดิ์และทุกท่านในเรื่องนี้ครับ

ข้อเขียนของอาจารย์กิตติศักดิ์
ท่านเขียนไว้ว่า “ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้เห็นได้จากคดี Perry v. Schwarzenegger ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิพากษาไปเมื่อ 4 สิงหาคม ปี 2010 นี้เองว่า ผลการลงประชามติของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2008 ที่มีมติให้แก้รัฐธรรมนูญของแคลิฟอร์เนียเสียใหม่ เพื่อหวงห้ามมิให้คนเพศเดียวกันทำการสมรสกันได้นั้นขัดต่อหลักความเสมอภาค และขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ตามประชามตินั้น ประชาชนเสียงข้างมากในแคลิฟอร์เนียต้องการให้กำหนดตายตัวลงในรัฐธรรมนูญของ แคลิฟอร์เนียทีเดียวว่า การสมรสจะทำได้เฉพาะหญิงกับชายเท่านั้น คำพิพากษาของศาลสูงสหรัฐอเมริกาในคดีนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ศาลตัดสินไปในทางที่ขัดต่อมติมหาชน จัดเป็น Anti-Majoritarian Decision แต่ศาลสหรัฐอเมริกาก็ได้ยอมรับว่า เมื่อเสียงส่วนมากใช้ไปในทางที่ผิด ศาลซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียง ข้างมากรับรู้ไว้”

ผมขอเห็นต่างจากอาจารย์กิตติศักดิ์ ดังนี้:

1. ประชามติของชาวมลรัฐหนึ่งจะไปขัดกับรัฐธรรมนูญของทั้งสหรัฐอเมริกา (ซึ่งมาจากฉันทามติของคนทั้งประเทศ) ย่อมไม่ได้อยู่แล้ว ประชามติของคนกลุ่มย่อยเช่นนี้ย่อมไม่มีผล เช่น ชาวฮาวายจะลงประชามติแยกออกจากสหรัฐอเมริกาคงไม่ได้ มติของคณะโจรว่าจะไปปล้นบ้านไหน ชุมชนไหน ย่อมใช้ไม่ได้เพราะโจรไม่ใช่คนส่วนใหญ่ในสังคม

2. อย่างไรก็ตาม หากมีการลงประชามติกันทั่วประเทศห้ามการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ต้องแก้กฎหมายตามเสียงส่วนใหญ่ ผู้พิพากษาก็คงไม่อยู่ในวิสัยที่จะมาตัดสินเป็นอื่นได้

3. ดังนั้นมันจึงเป็นคนละเรื่องกัน จะกล่าวว่า “ศาล (ผู้พิพากษาไม่กี่คน) ซึ่งแม้เป็นเสียงข้างน้อยที่แสนจะน้อยก็มีหน้าที่ชี้ถูกชี้ผิดให้เสียงข้าง มากรับรู้ไว้” ไม่ได้ครับ เพราะเป็นการเปรียบเทียบแบบผิดฝาผิดตัว

อย่าบิดเบือนเสียงส่วนใหญ่
เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้องนั้นเป็นสัจธรรม แต่กฎทุกกฎก็มีข้อยกเว้น เช่น ในกรณีศิลปวิทยาการ คนส่วนใหญ่ในสมัยก่อนที่ไม่มีความรู้ อาจเชื่อว่าโลกแบน แต่ความจริงโลกกลม หรือเราคงไม่สามารถถามคนส่วนใหญ่ว่าจะสร้างจรวดไปดวงจันทร์อย่างไร เราพึงถามผู้รู้ต่างหาก อย่างไรก็ตามในกรณีสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เสียงส่วนใหญ่ถูกต้องแน่นอน

บางคนอ้างผิด ๆ ว่าเสียงส่วนใหญ่ก็ตัดสินใจผิดพลาดได้ เช่น กรณีการเถลิงอำนาจของนาซี เยอรมนี โดยอ้างว่าฮิตเลอร์ก็มาจากการเลือกตั้ง แต่ในความเป็นจริงก็คือ การเลือกตั้งในปี 2476 ดังกล่าว นาซีไม่ได้ชนะด้วยเสียงส่วนใหญ่ นาซีได้คะแนนเสียงเพียง 44% เท่านั้น {3} ทั้งนี้ยังเป็นการเลือกตั้งสกปรก รวมทั้งการทำลายคู่แข่งของฮิตเลอร์ และแม้นาซีจะชนะการเลือกตั้งใน 33 จาก 35 เขตเลือกตั้ง ก็เป็นการชนะด้วยเสียงข้างมากแต่ไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่อยู่ดี

โดยสรุปแล้วในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นเรื่องของปุถุชน ทุกคนรู้เท่าทันกัน เสียงส่วนใหญ่ย่อมถูกต้องเสมอ ไม่มีใครโง่กว่าใคร ดังนั้นเราจึงเชื่อมั่นในเสียงส่วนใหญ่ได้ ยกเว้นจะถูกโฆษณาชวนเชื่อ หรืองมงายเอง ซึ่งไม่ใช่ปรากฏเฉพาะปุถุชน แม้แต่ อาจารย์ระดับดอกเตอร์ชื่อดังยังหลงคารมเปรตกู้มาแล้ว หรือพวกคุณหญิงคุณนาย นายทหารใหญ่ ๆ ไปหลงเคารพอลัชชีทั้งหลาย เป็นต้น

อย่าหลงกับ “คนดี”
ท่านอาจารย์กิตติศักดิ์ ยังกล่าวว่า “ หลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ดำรงอยู่ได้ไม่ใช่เพราะตั้งอยู่บนฐานของเสียงข้างมากเฉยๆ . . . อำนาจสูงสุดแม้จะเป็นของประชาชน แต่ก็จำกัดโดยกฎหมายเสมอ และกฎหมายที่ว่านี้มีอยู่อย่างไรก็ต้องตัดสินโดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นอิสระ . . . ที่ว่าเป็นอิสระในที่นี้ก็คือต้องเป็นคนกลาง ที่เข้าสู่ตำแหน่งเพราะมีคุณสมบัติเป็นที่ประจักษ์ทั้งในทางคุณวุฒิ และทางคุณธรรม ไม่ใช่ตั้งกันตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ แต่ตั้งขึ้นจากบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่พอจะทำให้น่าเชื่อได้ว่า บุคคลเหล่านี้ล้วนมีคุณวุฒิเป็นผู้รู้กฎหมาย รู้ผิดชอบชั่วดี และเป็นผู้ทรงคุณธรรมคือวินิจฉัยตัดสินคดีไปตามความรู้และความสำนักผิดถูก ของตน โดยตั้งตนอยู่ในความปราศจากอคติ และมีหลักเกณฑ์ทางจรรยาบรรณคอยควบคุม”

ศาลรัฐธรรมนูญของไทยชุดนายอุระ หวังอ้อมกลาง ก็ถูก คปค (คมช) ยุบทิ้งไป กระบวนการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากวุฒิสภาซึ่งมาจาก คมช. อีกทอดหนึ่งหลังจากว่างเว้นไป 2 ปี จะประกันได้อย่างไรว่า “ไม่ใช่ตั้งกันตามอำเภอใจของผู้มีอำนาจ” นอกจากนั้นจากการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ ปี 2554 {4} พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ (57%) ไม่เชื่อมั่น (ร้อยละ 37.62 ไม่ค่อยเชื่อมั่น ส่วนร้อยละ 19.31 ไม่เชื่อมั่น) ส่วนน้อยเท่านั้นที่เชื่อมั่น (ร้อยละ 25.53 ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 17.54 เชื่อมั่นมาก) ที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นในศาลรัฐธรรมนูญก็เพราะ “เพราะการตัดสินคดีที่ผ่านมา มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคดีมองว่าเป็นการตัดสินแบบ 2 มาตรฐาน”

คำถามสำหรับประเทศไทยก็คือ ข้าราชการตุลาการได้รับการพิสูจน์อย่างเพียงพอจากสังคม หรือไม่ว่าเป็นคนดีจริง ไม่มีนอกมีใน ประเทศไทยมีกระบวนการควบคุมและตรวจสอบที่เข้มงวดต่อบุคลากรเหล่านี้เช่นใน ประเทศที่เจริญหรือไม่ หรือความเป็นคนดีเป็นแค่ข้อกล่าวอ้าง แต่ไม่เคยพิสูจน์ ถ้าเป็นเช่นนั้นสังคมอาจมีข้อกังขา เข้าทำนอง “อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ” นั่นเอง

ต้องเคารพประชาชน
ในประเทศที่เจริญ เราต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ว่าถูกต้อง แต่ “กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น” ในกรณีศิลปวิทยากรดังข้างต้น และด้วยข้อยกเว้นเหล่านี้ พวกเผด็จการทรราชจึงนำมาบิดเบือน สร้างความสับสนด้วยการอุปโลกน์ตนเป็นผู้นำ เป็นผู้รู้ เป็นอภิชนเหนือคนอื่น และข่มว่ามหาชนเป็นคนโง่ ถูก “ฟาดหัวด้วยเงิน” ได้โดยง่าย ไร้สามารถ ขาดศักยภาพในการตัดสินใจ จำเป็นต้องมีผู้ยิ่งใหญ่ที่สวรรค์ส่งมาเพื่อนำทางให้อยู่เสมอ ๆ

การบิดเบือนเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อให้ท้ายพวกเผด็จการทรราชมาทำการรัฐประหาร แล้วมาควบคุมประชาชน แต่เมื่อเข้ามาแล้ว ก็มาโกงกิน ดังเช่นที่เห็นตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ สามทรราช รสช. หรืออาจรวม คมช. ด้วยก็ได้ มีใครเชื่อบ้างว่ารัฐบาลสุรยุทธ์และรัฐมนตรีเหล่านั้นใสสะอาดกว่ายุคอื่น ในยุคเผด็จการทรราชมักมีการโกงกินมากกว่าพวกนักการเมืองพลเรือนเพราะขาดการ ตรวจสอบและเพราะมักอ้างตนมีคุณธรรมเหนือผู้อื่น

เผด็จการทรราชยังใช้อำนาจเขียนประวัติศาสตร์บิดเบือนต่าง ๆ นานา เช่น ในสมัย 6 ตุลาคม ก็หาว่านักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเพื่อตอกย้ำความชอบธรรมของคณะรัฐประหาร ก็จัดแสดงนิทรรศการอาวุธในธรรมศาสตร์ที่สนามไชย ซึ่งผู้เขียนในฐานะนักศึกษาผู้ร่วมชุมนุมคนหนึ่งเชื่อว่าไม่เคยมีอาวุธ สงครามเช่นนั้น หาไม่ตำรวจ ทหารและกลุ่มฝ่ายขวาที่บุกเข้าไปคงต้องเสียชีวิตกันมากมายไปแล้ว

ประชาชนมักถูกมองว่าเป็นแค่ “ฝุ่นเมือง” หรือ “ปุถุชน” (บุคคลผู้มีกิเลสหนา) แต่ในความเป็นจริง สัจธรรมอยู่ในคนหมู่มาก จึงมีคำพูดว่า “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ปุถุชนหรือสามัญชนนี่แหละคือเจ้าของประเทศตัวจริง ไม่ว่าชนชั้นปกครองจากชาติใด ราชวงศ์ใด หรือลัทธิใดมาครอบครอง สามัญชนก็ยังอยู่สร้างชาติ รักษาความเป็นชาติ เช่นที่เห็นได้ในประวัติศาสตร์จีน เกาหลี หรือล่าสุดในสมัยสงครามเวียดนามที่มีเพียงประชาชนระดับบนที่มีฐานะและโอกาส ที่ดีกว่าที่หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อความอยู่รอดส่วนตัว ดังนั้นเราจึงต้องตระหนักถึงคุณค่าของมวลมหาประชาชนแทนที่จะไปยกย่องทรราช

อ้างอิง:

{1} กิตติศักดิ์ ปรกติ. สิ่งที่คล้ายกันพึงได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน แต่ไม่พึงปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสิ่งที่ต่างกัน ปรกติ 28 กันยายน 2554 www.manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000123483

{2} โสภณ พรโชคชัย. เสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง. http://prachatai.com/journal/2011/06/35438

{3} การเลือกตั้งในเยอรมนี German federal election, March 1933. http://en.wikipedia.org/wiki/German_federal_election,_March_1933

{4} ดุสิตโพลคนกรุง 37.62% ไม่เชื่อศาล รธน.-“วสันต์” แนะตั้ง ส.ส.ร.แก้ รธน. ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 สิงหาคม 2554 18:51 น. http://www.manager.co.th/Politics/Viewnews.aspx?NewsID=9540000103816

"อ.วีระ" แนะคนโทรเข้ารายการ-ให้ค้นคว้าข้อมูลก่อนด่า "นิติราษฎร์"

ที่มา ประชาไท

เมื่อ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ในรายการ "คุยได้คุยดี Talk News & Music" ทางคลื่น 96.5 MHz อสมท. ดำเนินรายการโดยนายวีระ ธีระภัทรานนท์ หรือ "อาจารย์วีระ" ช่วงหนึ่งได้มีผู้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความเห็นในเชิงตำหนิและระบุว่าต้องการ จะทำร้ายกลุ่มนิติราษฎร์

ทำให้นายวีระรีบตัดบท และถามผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาว่ารู้จักกลุ่มนิติราษฎร์หรือไม่ว่าสมาชิกประกอบ ด้วยใคร และถามด้วยว่ารู้ข้อความในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ และยังแนะนำให้กลับไปค้นคว้าข้อมูลจะได้มีพื้นฐานในการแสดงความรู้สึก ก่อนวางสาย โดยท้ายรายการนายวีระระบุด้วยว่าการเคลื่อนไหวแก้ไขมาตรา 112 อยู่ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่รัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าวเคยมีการแก้ไขมาแล้วในปี 2519

"คุณอยากรู้ คุณก็ไปหาความรู้สิครับ คุณจะมานั่งคิดเอาเองทำไม ถ้าคุณไม่แสวงหาข้อเท็จจริง แล้วคุณจะมีพื้นฐานในการแสดงความรู้สึกหรือ เดี๋ยวคุณฟันคอผิดคนนะ" นายวีระกล่าวตอนหนึ่งกับผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาในรายการ

สำหรับรายละเอียดการสนทนาระหว่างนายวีระกับผู้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็น มีดังต่อไปนี้





ที่มา: MrDejavu750/Youtube

มธ.ระอุ กลุ่มสนับสนุน-คัดค้านนิติราษฎร์แสดงจุดยืน

ที่มา ประชาไท

กลุ่มศิษย์เก่าวารสารฯ ต้านนิติราษฎร์ชุมนุม-ร้องเพลงสรรเสริญหน้าลานปรีดี แจงต้องคัดค้านเพราะนิติราษฎร์ละเมิดเสรีภาพของในหลวง ในขณะที่อีกกลุ่มแสดงจุดยืนหนุนนิติราษฎร์บริเวณใกล้เคียง แต่ไม่มีเหตุรุนแรง

2 ก.พ. 55 – เมื่อเวลาราว 14.00 น. กลุ่ม “วารสารฯ ต้านนิติราษฎร์” ราว 70-80 คน ได้นัดชุมนุมหน้าบริเวณลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านกลุ่มนิติราษฎร์ตามที่นัดหมายในเฟซบุ๊กของกลุ่ม ในขณะที่ผู้สนับสนุนคณะนิติราษฎร์ราว 40 คน ได้ชุมนุมและจัดกิจกรรมบริเวณหน้าประตูมหาวิทยาลัยฝั่งสนามหลวง โดยในระหว่างชุมนุมนั้นเกิดเหตุชุลมุนเนื่องจากเกิดการโห่ไล่ผู้ชุมนุมจาก ต่างฝ่าย

กลุ่มวารสารฯ ต้านนิติราษฎร์ ซึ่งระบุว่าเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดชุมนุมเพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านข้อเสนอของนิติราษฎร์ที่เรียกร้องให้ แก้ไขมาตรา 112 โดยมีตัวแทนของกลุ่ม คือผู้กำกับหนังชื่อดัง ยุทธนา มุกดาสนิท ยื่นหนังสือให้กับนายพรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ เพื่อส่งต่อให้นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ซึ่งติดภารกิจ โดยมีข้อเรียกร้องให้มีคำสั่งสอบสวนคณะอาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ โดยนายยุทธนา ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จำเป็นต้องออกมาคัดค้าน เนื่องจากข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการละเมิดเสรีภาพของประมุขประเทศ

“มีการตอกย้ำข้อเสนอที่มากขึ้นๆ อย่างกรณีที่ผมบอกไปเรื่องข้อเสนอตอนหลังที่มีสองสามข้อ ที่ว่าไม่ให้ในหลวงมีพระราชดำรัส ซึ่งพระราชดำรัสใครๆ ก็อยากฟัง แล้วก็เป็นสิทธิเสรีภาพ ปรากฏว่าตอนนี้เรากำลังเรียกร้องเสรีภาพ คณะนิติราษฎร์กำลังเรียกร้องเสรีภาพกันตลอดเวลา โดยไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น แล้วผู้อื่นอันนั้นก็คือประมุขของประเทศ ก็คือในหลวง” ยุทธนากล่าว

กลุ่มวารสารฯ ต้านนิติราษฎร์ ยังมีข้อเสนออีกสี่ข้อ ได้แก่

1. เรียกร้องต่อประชาคมธรรมศาสตร์ ให้ร่วมกันคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ของคณะนิติราษฎร์ รวมทั้งการใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวที่ล่วง ละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์

2. เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงจุดยืนในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างเป็น รูปธรรม และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีพฤติกรรมล่วงละเมิดสถาบันในทุกรูปแบบอย่าง จริงจังและเฉียบขาด

3. เรียกร้องต่อเพื่อนสื่อมวลชน ให้ใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอันเกี่ยวกับการแก้ไข มาตรา 112 เพื่อไม่ขยายผลการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

4. เรียกร้องต่อประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ให้ร่วมกันแสดงตนคัดค้านการแก้ไขมาตรา ๑๑๒ต่อต้านแนวคิดและการกระทำใดๆ ที่ส่อแสดงถึงการล่วงละเมิด ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์

มีรายงานว่า ในขณะที่กลุ่มดังกล่าวกำลังชุมนุมอยู่นั้น ได้มีผู้สนับสนุนเดินเข้าไปในบริเวณหน้าลานปรีดีพร้อมชูป้ายสนับสนุนนิติ ราษฎร์ ทำให้เกิดเหตุชุลมุนจนตำรวจจำเป็นต้องเข้ามาไกล่เกลี่ยสถานการณ์ความขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี ได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มดังกล่าวด้วย

กลุ่มนักกิจกรรม “กราบเก้าอี้” เพื่อเตือนย้ำความรุนแรง 6 ตุลา

ในเวลาใกล้เคียงกัน เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย, Activists for Democracy Network และกลุ่มประกายไฟ พร้อมทั้งประชาชนที่สนใจราว 40 คน ได้จัดกิจกรรม “แจกภาพ กราบเก้าอี้” เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลา ซึ่งมีการใช้ความรุนแรงเพื่อกำจัดคนที่คิดเห็นต่างทางการเมือง พร้อมทั้งแจกแถลงการณ์ โดยมีเนื้อหาว่าสังคมไทยควรนำบทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีตมาทบทวน โดยเฉพาะ 6 ตุลาคม 2519 ที่นักศึกษาและประชาชนถูกฆ่าอย่างโหดร้ายเนื่องมาจากถูกกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์

กลุ่มดังกล่าวยังเสนอให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และที่อื่นๆ เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดเวทีประชาพิจารณ์ปัญหามาตรา 112 และให้กลุ่มที่คัดค้านข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ได้เปิดใจและรับฟังความเห็น ที่แตกต่างเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลง

นักศึกษามธ. รังสิตวางพวงหรีดไว้อาลัยแด่เสรีภาพธรรมศาสตร์

ในวันเดียวกัน วอยซ์ทีวีรายงานว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ใช้ชื่อกลุ่มว่า ธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตยได้มารวมตัวกันบริเวณด้านหน้ารูปปั้นท่าน อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตพร้อมตะโกนว่าธรรมศาสตร์ตายแล้วก่อนที่จะมีการวางพวงหรีดเพื่อ แสดงออกถึงการคัดค้านกรณีที่ทางมหาวิทยาลัยมีมติไม่อนุญาตให้บุคคลหรือกลุ่ม บุคคลต่างๆใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเคลื่อนไหวในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 และต้องการให้ทางมหาวิทยาลัยทบทวนเรื่องดังกล่าวเพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ชื่อว่า มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว

“การเคลื่อนไหวของกลุ่มเรา ไม่ได้มีธงว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขหรือไม่แก้ไขมาตรา 112 แต่ธงนำในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ คือการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ต่อศักดิ์ สุขศรี ตัวแทนของกลุ่มระบุ

หลังจากกิจกรรมในครั้งนี้ ตัวแทนกลุ่มกล่าวว่าวางแผนจะจัดกิจกรรมไว้อาลัยแด่เสรีภาพในธรรมศาสตร์อีก ครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 5 ก.พ. ณ รูปปั้นปรีดี พนมยงค์ บริเวณลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

000

แถลงการณ์เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย

"...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา..." ปรีดี พนมยงค์

ภายหลังจากคณะนิติราษฎร์นำเสนอข้อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังจากนั้นได้มี คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 ได้ดำเนินการล่ารายชื่อเพื่อเข้าสู่กลไกรัฐสภา และเป็นที่ปรากฏว่ามีทั้งกระแสเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยทั้งในส่วนเห็นว่าควรยกเลิกไปเลย และไม่เห็นด้วยกับการแก้เลย แต่กระแสคัดค้านที่ต้องการให้คงสภาพ ม.112 เดิมและห้ามแตะต้องนั้น กลับนำไปสู่กระแสคลั่งสถาบันฯ ขาดการ "เปิดใจ" รับฟังเหตุผล ป้ายสี ใช้ความรุนแรง ข่มขู่ อย่างเช่นในอดีต

ด้วยความห่วงใยต่อปัญหาที่เกิด เรามีข้อเสนอและข้อเรียกร้องดังนี้

1.มหาวิทยาลัยควรเป็นเสาหลักของสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการใช้เหตุ ใช้ผลอย่างสันติ สิทธิในเสรีภาพในการแสวงหาความรู้ การใช้เหตุใช้ผลและข้อมูลในเชิงประจักษ์ อย่างสันติ เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรจะยึดมั่นและส่งเสริม ไม่ใช่นำเอาข้ออ้างการเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ มาลดทอนสิทธิในเสรีภาพและหลักการดังกล่าว นอกจากทำลายความเป็น มหา+วิทยาลัย ที่ควรเป็นแหล่งศึกษาของสาธารณะแล้ว ยังทำให้หลักการดังกล่าวขัดกับการเคารพสถาบันพระมหากษัตริย์อีก

2.นำบทเรียน ความรุนแรงที่เกิดจาก "ความใจแคบ" ในอดีตมาทบทวน ว่า "เสรีภาพ" ไม่ได้ก่อให้เกิด "ความรุนแรง" มีแต่การจ้องจำกัดเสรีภาพที่ชอบใช้ "ความรุนแรง" มากำจัด "เสรีภาพ" โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีบทเรียนจากความคับแคบในอุดมการณ์เผด็จการฟาสซิสต์ ที่ถูกเอามาใช้จัดการกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้เองเมื่อ 6 ตุลา 19 ด้วยข้อหาที่เกี่ยวกับ ม.112 หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเลยไปถึงการล้มล้างสถาบันที่ถูกปลุกขึ้นมาขณะ นั้น หรือแม้กระทั่ง ปรีดี พนมยงค์ เองก็ถูกข้อหาในลักษณะนี้เล่นงาน ดังนั้นธรรมศาสตร์เองควรนำเอาบทเรียนเหตุการณ์นี้มาเป็นแนวทางให้การส่ง เสริมให้คนในมหาลัยและสังคมได้ "เปิดใจ" ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และลดการยึดมั่นในอุดมการณ์ที่เพิ่งสร้างเพื่อป้องกันความรุนแรงที่เคยมีบท เรียน แต่ไม่ใช่เอามาเป็นข้ออ้างในการปิดกันเสรีภาพเสียเอง

3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ควรที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดเวทีประชาพิจารณ์ปัญหามาตรา 112 เพราะมหาวิทยาลัยไม่เพียงต้องเป็นบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ เท่านั้น และต้องเป็นผู้จุดไฟให้แสงสว่างทางปัญญาเพื่อสร้างบรรทัดฐานการแก้ปัญหา แก้ความขัดแย้งด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสันติวิธี มากกว่าด้วยความรุนแรงและความศรัทธาแบบมืดบอด

4.กลุ่มคัดค้านข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ควรเปิดใจให้กว้าง รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ศึกษาทำความเข้าใจข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ หยุดสร้างกระแสคลั่งสถาบันฯ หยุดการใช้ความรุนแรง เรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนความรุนแรงที่เกิดจากอาการคลั่งในอดีต ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

5.สื่อมวลชน ก็เช่นกัน ชนวนเหตุความรุนแรง 6 ตุลา 19 สื่อก็เป็นตัวกระตุ้นอาการคลั่งของคน จนเป็นเหตุให้มีนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก ไม่ต่างจากกรณีความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และกรณี เมษา – พ.ค.53 ที่สื่อมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความเกลียดชังและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

6.รัฐบาลควรนำเอาข้อเสนอแก้ ม.112 ของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะนิติราษฎร์ จัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างขวางขวางเพื่อนำไปสู่กระบวนการในการทำประชามติในการปรับปรุงแก้ไข ยกเลิกหรือดำรงสภาพเดิมต่อไป โดยให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพให้อภิปรายหรือตั้งกรรมการศึกษาเเละทำประชาพิจารณ์ ตามสำดับรวมถึงคุมครองความปลอดภัยของผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการเข้าชื่อ แก้กฎหมายและแสดงความคิดเห็นตามสิทธิในเสรีภาพของพลเมือง

7.สังคมควรยึดมันใน "ความเป็นเหตุเป็นผล" และการแสดงหาทางออกอย่างสันติ หยุดการใช้ความรุนแรง หยุดปิดปากและความศรัทธาแบบไม่มีเหตุผล ยอมรับในความแตกต่างหลากหลายทางความคิด มี "ขันติธรรม" หรือความใจกว้างอดทนอัดกลั้นต่อความคิดเห็นและการแสดงออกที่แตกต่าง ให้ความสำคัญในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ซึ่งคุณค่าที่สำคัญที่สังคมควรยึดถืออันจะนำไปสู่การสร้างระบอบประชาธิปไตย ที่มั่นคง

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา ในฐานะราษฎรผู้กระหายน้ำ

เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย(คกป.)
Activists for Democracy Network(ADN.)
กลุ่มประกายไฟ (Iskra Group)

ANTI 3

ANTI 2

ANTI 1

ANTI 4

ภาพจากเฟซบุ๊กกลุ่ม "วารสารฯ ต้านนิติราษฎร์"

bus001_IMGP8126

bus009_IMGP8078

bus008_IMGP8081

bus007_IMGP8103

bus006_IMGP8093

bus005_IMGP8147

bus004_IMGP8141

bus003_IMGP8113

bus002_IMGP8115

ภาพโดยกานต์ ทัศนภักดิ์

คณบดี มมส. มอบดอกไม้ให้น.ศ. ยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ กลุ่มรณรงค์ระบุจับตาต่อไป

ที่มา ประชาไท

ศิษย์เก่า-ปัจจุบันที่ดำเนินการล่ารายชื่อขอคำตอบจากคณบดีกรณีไม่อนุญาต ให้ใช้พื้นที่จัดงานเสวนากฎหมายหมิ่นฯ เปลี่ยนใจไม่วางพวงหรีดและสืบชะตา หวั่นเกิดเหตุปะทะของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หันมาชูป้ายรณรงค์และให้ข้อมูลแก่นักศึกษา บุคลทั่วไป ด้านคณบดียืนยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 12.12 น. ที่ใต้ตึกวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน ภายใต้ชื่อกลุ่ม “กลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ” จัดกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านการจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ ของคณบดี และคณะผู้บริหารของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง โดยมีการอ่านแถลงการณ์โต้แย้งคำชี้แจงของคณบดีฯ ชูป้าย ให้ข้อมูล และชี้แจงการออกมารณรงค์ของกลุ่มจากตัวแทนศิษย์เก่าของแต่ละรุ่น พร้อมทั้งการควบคุมดูแลอย่างเข้างวดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ

ในขณะที่กลุ่มฯ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ดังกล่าว มีกลุ่มนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง มารวมตัวชูป้ายเพื่อปกป้องเกียรติภูมิของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง และให้กำลังใจคณบดี พร้อมกับพูดว่านิสิตปัจจุบันไม่อยากให้จัดเสวนาเรื่อง“สิทธิเสรีภาพในระบอบ ประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายหมิ่นสถาบันกษัตริย์” เพราะเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน

หลังจากนั้น รศ. สีดา สอนศรี คณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครองพร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เดินทางลงมาชี้แจง พร้อมทั้งยืนยันว่าที่จริงแล้วคณบดีและผู้บริหารไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพทาง วิชาการแต่อย่างใด ให้ทางกลุ่มผู้รณรงค์กลับไปอ่านแถลงการณ์อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันนั้นได้มีการมอบช่อดอกไม้จากคณบดี ผู้บริหาร และนักศึกษาฝ่ายที่มาชูป้ายปกป้องเกียรติของคณะ ให้แก่กลุ่มผู้รณรงค์อีกด้วย

สำหรับตัวแทนกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ กล่าวแสดงความยินดีสำหรับการกลับมาอีกครั้งของสิทธิเสรีภาพในวิทยาลัยการ เมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แต่ในขณะเดียวกันนี้ ทางกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการระบุว่าจะ ติดตามเฝ้าระวังการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ และด้านอื่นๆ ของวิทยาลัยการเมืองการปกครอง รวมทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยมหาสารคามต่อไป

แถลงการณ์

กลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ

เรื่อง ข้อโต้แย้งต่อคำชี้แจงของคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง

……………………………………………………………………………………………………………

สืบเนื่องจากกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกขอทราบเหตุผลที่ไม่อนุญาตให้จัดเวทีเสวนาวิชาการใน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง และมีการระดมรายชื่อนิสิตปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไปเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องเสรีภาพในการจัดเสวนาวิชาการใน วิทยาลัยการเมืองการปกครองให้กลับมามีเสรีภาพอีกครั้งหนึ่ง และคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงต่อกรณีการไม่อนุญาตให้จัดเวทีเสวนาวิชาการในวิทยาลัย การเมืองการปกครอง เหตุผลที่คณบดี และผู้บริหารฯชี้แจงนั้น ทางกลุ่มฯ พิจารณาแล้วมีมติว่า เป็นเหตุผลที่ไม่มีเหตุผล และไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่น่าจะรับฟัง โดยกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ ขอโต้แย้งความจริงใจในการชี้แจงของคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ดังต่อไปนี้

ประเด็นชี้แจงข้อที่ 1 ที่คณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ชี้แจงว่า “...การจัดเสวนาวิชาการเกิดขึ้นท่ามกลางสภาวการณ์ความขัดแย้งทางความคิด ภาวะสับสนของข้อมูลข่าวสาร ความไม่ปลอดภัยและความไม่สงบเรียบร้อย และการป้องกันเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น...ซึ่งประเมินการรักษาความปลอดภัย แล้วว่าไม่สามารถปกป้องหรือระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที...” ประเด็นข้อชี้แจงนี้ทางกลุ่มฯขอโต้แย้งว่า จากการสอบถามถึงรูปแบบของการจัดเสวนาวิชาการ และขอบข่ายเนื้อหาสาระที่จะมีการแลกเปลี่ยนในการเสวนาวิชาการนั้นมิได้มีรูป แบบการไฮปาร์ค การโต้วาที หรือการใช้อารมณ์/อคติที่สุดโต่งในการนำเสนอความคิดเห็น ในทางตรงกันข้ามเวทีเสวนาวิชาการที่จะเกิดขึ้นเป็นเวทีที่จะให้กลุ่มบุคคล ที่มีความแตกต่างทางความคิดได้แสดงเหตุผลหักล้างกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศของความเป็นวิชาการซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุป ทางวิชาการที่จะเป็นทางออกของสังคมไทย และเวทีดังกล่าวนี้ยังเป็นเวทีที่จะให้ข้อมูลทางวิชาการทั้งสองด้านซึ่งจะ ขจัดความกังวลในประเด็นภาวะความสับสนของข้อมูลข่าวสาร อนึ่งการดำเนินการเช่นนี้ทางกลุ่มฯประเมินว่า จากบริบทของส่วนภูมิภาค และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในเวทีวิชาการของส่วนภูมิภาค (มหาสารคาม) ไม่น่าจะมีความรุนแรงที่จะทำให้เกิดความสูญเสียในชีวิต ทรัพย์สิน การที่คณบดี และผู้บริหารฯ ชี้แจงโดยอ้างเหตุผลข้างต้นเป็นการประเมินสถานการณ์ที่เทียบเคียงบริบทของ สถานการณ์ที่เกินเลยความเป็นจริง และชี้นำให้เกิดความรุนแรงท่ามกลางบรรยากาศของความเป็นวิชาการ

ประเด็นที่ 2 ที่คณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ชี้แจงว่า “...ยังคงคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพในทางวิชาการ...เล็งเห็นถึงความเป็นกลาง ซึ่งต้องรักษาไว้อย่างเคร่งครัดไม่เอนเอียงไปทางหนึ่งทางใด...จึงร้องขอให้ จัดกิจกรรมในนามของกลุ่มบุคคล โดยไม่ใช้นามของหน่วยงาน...และดำเนินการจัดกิจกรรมได้ในสถานที่อื่นที่เหมาะ สมกว่า (ที่มิใช่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง) โดยให้เหตุผลว่าอาจสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการ และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ก็คือ ผลกระทบต่อความสมัครสมานสามัคคีของนิสิตและบุคลากรในภาพรวมองค์กรวิทยาลัย การเมืองฯ” ประเด็นข้อชี้แจงนี้ทางกลุ่มฯข้อโต้แย้งว่า หากคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในทางวิชาการ และยังรักษาความเป็นกลางจริง การที่คณบดี และผู้บริหารไม่อนุญาตให้จัดเวทีเสวนาวิชาการที่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ก็เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ และไม่เป็นกลาง อันเนื่องด้วยไม่เคารพในสิทธิที่พึ่งมีในการที่จะใช้สถานที่ และปรามาศผู้เข้าร่วมในท่วงทำนองที่เป็นกลุ่มบุคคลที่ไร้อารยะ และมักใช้ความรุนแรง

ในประเด็นร้องขอให้จัดกิจกรรมในนามกลุ่มบุคคล และจัดในพื้นที่อื่นที่มิใช่วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ทางกลุ่มฯพิจารณาแล้วมีมติว่า การร้องขอเช่นนี้เป็นการทำลายหลักการ และเป้าหมายของการจัดตั้งหน่วยงานซึ่งมีวัตถุประสงค์อย่างชัดแจ้งว่า เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนการสอนทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ และเป็นหน่วยงานที่ให้เสรีภาพในการสร้างสรรค์กิจกรรมและความงอกงามทางปัญญา รวมทั้งให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นพื้นที่ในการถกเถียงทางวิชาการในประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ และเป็นการผลักภาระความรับผิดให้พ้นจากหน่วยงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงเกิดขึ้นในหน่วยงานที่มีปรัชญาว่า “ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”

ประเด็นความกังวลที่คณบดี และผู้บริหาร กังวลว่าการจัดกิจกรรมอาจส่งผลกระทบต่อความสมัครสมานสามัคคีของนิสิต และบุคลากรวิทยาลัยการเมืองการปกครองนั้น ทางกลุ่มมีมติว่า ทางกลุ่มพึงระวัง และให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ ตลอดระยะเวลาการทำกิจกรรมที่ผ่านมา ยังไม่มีเหตุการณ์/กิจกรรมใดๆที่ส่งผลให้เกิดความแตกแยกในวิทยาลัยการเมือง การปกครอง ทั้งๆที่นิสิต และบุคลากรของวิทยาลัยการเมืองการปกครองมีความคิดที่แตกต่าง ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่านี่คือความสวยงามของบรรยากาศทางวิชาการ และเป็นมนต์ขลังของความเป็นประชาธิปไตยอันเกิดจากการมีเสรีภาพทางวิชาการ อนึ่งหากคณบดี และผู้บริหารวิทยาลัยการเมืองการปกครองกังวลต่อประเด็นนี้จริง ทางกลุ่มฯขอเรียกร้องคณบดี และผู้บริหารว่า ไม่ควรบิดเบียนวัตถุประสงค์ของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางวิชาการใน วิทยาลัยการเมืองการปกครองของกลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อ เสรีภาพทางวิชาการ และยุติการใช้เหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลที่ทางกลุ่มแสดงจุดยืนไว้ต่อสาธารณะอัน เป็นการบิดเบือนข้อมูล และเป็นการเสี้ยมให้เกิดความรุนแรงขึ้นในการทำกิจกรรม

ทางกลุ่มฯขอเน้นย้ำ และแสดงเจตจำนงอย่างแน่วแน่ว่า เราจะเรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการให้เกิดขึ้นในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง และจะปกปักรักษาเกียรติภูมิของวิทยาลัยการเมืองการปกครองในฐานะที่เป็นหน่วย งานที่จัดการเรียนการสอนทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ และเป็นหน่วยงานที่ให้เสรีภาพในการสร้างสรรค์กิจกรรมและความงอกงามทางปัญญา รวมทั้งให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นพื้นที่ในการถกเถียงทางวิชาการ

กลุ่มฯเคารพในความแตกต่างทางความคิด เคารพในการวิพากษ์ที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล และเคารพในความเป็นมนุษย์ที่มีอารยะ รวมถึงเคารพในความเป็นครู อาจารย์ที่สร้างสรรค์ให้เกิดความงอกงามทางปัญญา

ด้วยจิตคารวะ และเชื่อมั่นสิทธิเสรีภาพ

กลุ่มรักวิทยาลัยการเมืองการปกครองเพื่อเสรีภาพทางวิชาการ

02/02/2012…12.12 น.

องค์กร/บุคคลที่ร่วมเรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง

ขบวนการคนหนุ่มสาวอีสาน, กลุ่มกิจกรรมปุกฮัก, ชมรมฅนสร้างฝัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชมรมรัฐศาสตร์สัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กลุ่มอิสระเถียงนาประชาคม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กลุ่มเผยแพร่กฎหมายและสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
นายวิทยา แสงปราชญ์ นายอนุวัฒน์ พรหมมา นายเจษฎาวุฒิ อโนวัน นายอธิป ชุมจินดา
นางสาวดวงทิพย์ ฆารฤทธิ นายสุเทพ ศิริวาโภ นายโอภาส สินธุโคตร นายกิตตินันท์ นาชัยคำ
นายโกเมน จันทะสิงห์ นางสาวปรางค์ทิพย์ มั่นธร นายทิวา นินทะสิงห์ นายวรวิทย์ สีหาบุญลือ
นางสาวกนกพร กรกระโทก นางสาวภรณ์ทิพย์ มั่นคง นายอิทธิพล สีขาว นายเรืองฤทธิ์ โพธิพรม
นายชัชรินทร์ ชัยดี นายณัฐพงษ์ ราชมี นายปิยะวัฒน์ นามโฮง นายศรายุทธ ศิลา
นายสกล ภูชัยแสง นายยุทธนา ลุนสำโรง นายปกรณ์ อารีกุล นายศักดิ์ระพี รินสาร
นายปรินทร์ ฮอหรินทร์ นางสาวสุภาวดี สายภัยสง นางสาวกุสุดา โจทก์มีชัย นายดิน บัวแดง พัชรี แซ่เอี้ยว
นายพงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา นายอรรถพล ทุมสวัสดิ์ นายภูมินทร์ พาลุสุข นายบัณฑิต หอมเกษ
นางสาวพลอยชมพู ชมภูวิเศษ นายวัฒนะ บูรณ์เจริญ นายศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์ นายณัฐพล อิ้งทม
นางสาวอารยา ทองดี นายอุเชนท์ เชียงแสน นางสาวนิภาภรณ์ ซับขุนทด นายธนิสสร มณีรักษ์
นางสาวนิตยา ราชประสิทธิ์ นางสาววราพร ครามบุตร นางสาวธิติมา บุคสิงหา นายพลิศ ลักขณานุรักษ์
นายสุรชิต วรรณพัฒน์ นายวรุฒ จักรวรรดิ นายมงคล ชูเสน นางสาวสิริสกุล คีรีรัตน์ นายศรัญยู เดชทิม
นางสาวเจษฎาภรณ์ พิณเหลือง นางสาวสุดารัตน์ บุญธรรม นางสาวพรพิมล สันทัดอนุวัตร นางสาวจีระภา มูลคำมี
นายศตคุณ คนไว นายจิรทีปต์ ขัดมะโนแก้ว นายยุทธศักดิ์ วรวิเศษ นายพิษณุเดช สุคำภา
นางสาวสุทธิพร พุ่มศรี นายวิษณุ อาณารัตน์ นายวิทยา พันธ์พานิชย์ นายอภิชาต จำปาเทศ
นางสาวศิริภรณ์ จิตติแสง นางสาวธัญญา ทุมวารีย์ นายชำนาญ ยานะ นางสาวพิมระวี เสียงหวาน
นายเทิดพันธุ์ พวงเพ็ชร นายกิตติพงษ์ นาสมยนต์

คณบดี มมส. มอบดอกไม้ให้น.ศ. ยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ กลุ่มรณรงค์ระบุจับตาต่อไป

คณบดี มมส. มอบดอกไม้ให้น.ศ. ยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ กลุ่มรณรงค์ระบุจับตาต่อไป

คณบดี มมส. มอบดอกไม้ให้น.ศ. ยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ กลุ่มรณรงค์ระบุจับตาต่อไป

คณบดี มมส. มอบดอกไม้ให้น.ศ. ยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ กลุ่มรณรงค์ระบุจับตาต่อไป

คณบดี มมส. มอบดอกไม้ให้น.ศ. ยันไม่จำกัดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ กลุ่มรณรงค์ระบุจับตาต่อไป

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 03/02/55 ขอกลับคืนข้อเดียวนะคะ

ที่มา Thai E-News

โดย

ภาพถ่ายของฉัน

มาเถิดมา ฟังสำเนียง จากเสียงเปรต
วรนุช สุดทุเรศ พวกเศษขยะ
คำตอแหล โป้ปด ไม่ลดละ
ลองอ่านนะ มีสิบข้อ มันจ้อไว้....

หนึ่ง..ให้เร่งรัด จัดเพิ่ม เติมความรู้
สอง..เลิกอู้ (พูด) มารยาหญิง สิ่งเหลวไหล
สาม..หยุดลอยตัว เหนือปัญหา ก็ว่าไป
สี่..ต้องตอบคำถาม โดนใจ ให้สื่อฟัง....

ห้า..บอกคนไกล หยุดชี้นำ เพราะช้ำปวด
หก..หยุดจำอวด โกยกิน อย่างสิ้นหวัง
เจ็ด..หยุดเอื้อประโยชน์ นายทุน หมกมุ่นจัง
แปด..หยุดสร้าง เงื่อนขัดแย้ง ที่แฝงมา....

เก้า..หยุดกล่าวอ้าง โทษคนอื่น อย่างลื่นลิ้น
สิบ..ให้จบสิ้น ทุกประเด็น อย่างเห็นค่า
ทั้งสิบข้อ จากชวนนท์ คนนำพา
เอือมระอา บ้างไหม ใครตอบที....

ขอข้อเดียว อยากฝากถึง มึงหุบปาก
คำสำราก ช่างน่าอาย ขายศักดิ์ศรี
ดีเข้าตัว มั่วสับปลับ พรรคอัปรีย์
ชั่วโยนหนี ช่างระยำ คำพูดนัก....

๓ บลา / ๓ ก.พ.๕๕

เก็บตกเรื่องขำขัน: เมืองไทยวันนี้

ที่มา Thai E-News


หมายเหตุ: เป็นการ์ตูนลายเส้นของนักเขียนฝรั่งต้นฉบับมีแค่สามช่องแรกล้อเลียนกรณีการ จับกุมผู้ต้องหาแชร์ไฟล์ ช่องที่สี่ดัดแปลงเพิ่มเติมเชื่อว่ามาจากนักเขียนไทย

++++++++++++++++++++++++++++++++



ผังล้มไพร่: โดย Bank

เกมการเมือง : คดีการเมือง ; จากคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี สู่ คดีดา ตอร์ปิโด (ตอนที่ 3, 4, 5)

ที่มา Thai E-News


3 กุมภาพันธ์ 2555

โดย ประเวศ ประภานุกูล
ที่มา เฟสบุค ประเวศ ประภานุกูล


ตอนที่ 3

ความรับผิดทางอาญา นอกจากจะต้องได้ความว่ามีการกระทำความผิดแล้ว จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำ กระทำโดยมีเจตนาให้เกิดผลตามนั้นๆด้วย แต่โดยที่เจตนาอยู่ในใจ จึงมีหลักว่า "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" โดยดูจากการกระทำนั้นๆเองบ่งชี้ถึงเจตนาของผู้กระทำแต่ในบางครั้ง บางกรณี การดูแค่เจตนาจากการกระทำอาจไม่เพียงพอ ต้องดูไปถึง เจตนาพิเศษ เรียกว่า มูลเหตุจูงใจ ซึ่งอาจกล่าวได้อีกอย่าง คือ สาเหตุหรือเหตุผลที่กระทำ กระทำแล้วผู้กระทำได้ประโยชน์อะไร แล้วกับการ เผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี มีอะไรเป็นมูลเหตุจูงใจให้ ผู้ว(เซ็นเซอร์) สั่งเผาศาลากลาง กล่าวสำหรับช่วงเวลานั้น ณ เวลาเกิดเหตุ คงยากที่จะมองออก แต่ ณ เวลานี้ ในเวลาที่ทุกสิ่งทุกอย่างคลี่คลายแล้ว การมองหา มูลเหตุจูงใจ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

ก่อนอื่นต้องขอท้าวความสิ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว คือ ผู้ว(เซ็นเซอร์) เป็นคนจากส่วนกลาง เขาจึงรับผิดชอบต่อส่วนกลาง และรับฟังคำสั่งจากส่วนกลาง

แล้วการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ว(เซ็นเซอร์)จะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนว่า โดยหน้าฉากแล้ว ผู้ว(เซ็นเซอร์) ไม่ได้รับประโยชน์อะไรกับการกระทำนี้เลย แต่จากเหตุการณ์ต่อมา ได้มีการกล่าวหากันมาตลอดจนทุกวันนี้ว่า คนเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง และการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ก็เป็นส่วนหนึ่งในการกล่าวหานี้ จากการที่ ผู้ว(เซ็นเซอร์) เป็นคนจากส่วนกลาง และในเวลานั้นกลุ่มคนที่คุมอำนาจรัฐในส่วนกลาง คือ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และ ศอฉ. การเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี จึงเป็นการวางแผนไว้ล่วงหน้า จากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และ ศอฉ.

ส่วน ผู้ว(เซ็นเซอร์) ก็คงได้รับผลงาน เข้าตา

ในการทำคดีอาญาของทนายจำเลย กับคดีอาญาทั่วไป การต่อสู้คดีของทนายจำเลย มักจะเป็นการสู้ว่า ไม่ได้ทำ ไม่มีเจตนา หรือมีข้อกฎหมายทำให้ไม่ต้องรับผิด หรือไม่ต้องรับโทษ หรือแม้แต่การอ้างเหตุขอความเมตตาจากศาล..ประกอบคำรับสารภาพ

การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้กระทำ หรือไม่มีเจตนา เป็นการต่อสู้คดีในเชิง ตั้งรับ แต่กับคดีการเมือง อย่างคดี เผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี การสู้คดีแบบ ตั้งรับ คงไม่เพียงพอ หากแต่ต้องสู้คดีด้วยการ รุกกลับ นั่นคือ ต้องพิสูจน์ว่า แท้จริงแล้ว ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ถูกเผาจนราบด้วยคำสั่งของ ผู้ว(เซ็นเซอร์) การจุดไฟบนพื้นชั้นล่างของอาคาร ไม่สามารถเผาตัวอาคารได้ ซึ่งแม้ว่าหากสามารถพิสูจน์เช่นนี้ได้ คนที่จุดไฟอาจยังมีความผิด แต่ย่อมส่งผลทางการเมือง

การที่ผมขอให้คนช่วยหาคลิปให้ ก็เพื่อใช้เห็นหลักฐานในการต่อสู้คดีแบบ รุกกลับ ดังกล่าว แน่นอนว่า..การต่อสู้คดีเช่นนี้ จะต้องฝากความหวังไว้กับการ ถามค้านพยานโจทก์ ให้ได้ความตามนั้นด้วย ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าจะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการหรือไม่ แต่อย่างน้อยคงต้องถามทนายความท้องถิ่นที่รับผิดชอบคดีนี้ว่า พวกคุณได้ทำหน้าที่เต็มที่แล้วหรือยัง

ในส่วนนักการเมือง ผู้สมัคร สส.อุบล ของพรรคเพื่อไทย นี่คือการรักษา ฐานเสียง จึงต้องนำคดีทั้งหมดให้ทนายท้องถิ่นทำคดี เพื่อให้ได้ผลงานว่า พวกเขาให้การช่วยเหลือดูแลคดีของ คนเสื้อแดงอุบล ด้วยการให้ทนายของพวกเขาทำคดีให้ กับคดีนี้ ดูเหมือนชื่อเสียงจากการทำคดีดา ตอร์ปิโด จะไม่ช่วยสร้างเครดิตให้ผม

ในส่วนทนายท้องถิ่น ทำไมต้องทำคดีทั้งหมด ทุกคดี ให้กับจำเลยทุกคน ได้ยินมาว่า ทนายท้องถิ่นได้ทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากพรรคเพื่อไทย และได้รับเงินค่าทนายความในอัตรา 15,000/จำเลย 1 คน และดังกล่าวแล้วว่าช่วงนั้น ไม่มีเพียง 2 คดี คือ คดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบล กับคดีเผายางรถยนต์หน้า NBT เท่านั้น แต่ยังมีคดีอื่นๆอีกด้วย รวมทุกคดีแล้ว มีคนถูกฟ้องคดีอาญาทั้งสิ้น 49 คน และใช้หรือให้ทนายท้องถิ่นทำคดีให้ 47 คน รวมแล้วพวกเขาจะได้เงินจากการทำคดีกลุ่มนี้ 705,000 บาท และยังได้เงินโบนัสอีก 200,000 บาท(แต่ส่วนนี้แบ่งให้จำเลยคนหนึ่ง 100,000 บาท)


ตอนที่ 4

ที่จริงควรจบคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี และเข้าสู่คดีดา ตอร์ปิโดได้แล้ว แต่จากตอนที่แล้ว มีคนเข้ามาคอมเม้นท์บันทึกของผมว่า "การใช้เสื้อแดงเป็นเหยื่อของผู้สมัครสสบางคนที่อุบล สะท้อนถึงความไร้เมตตาครับ เพียงแค่ต้องการได้แสดงว่าช่วยเสื้อแดงเป็นการเอาหน้าแล้วเอาคะแนนเสียงกับ คนเสื้อแดงผมถือว่าถ่อยที่สุดครับ คดีเผาศาลากลางนันไม่ได้พิสูจน์ถึงฝีมือของทนายท้องถิ่นเลยคนที่ถูกยกฟ้อง ทั้งหมดคือปิดบังหน้าไม่ทราบว่าใครแต่สี่คนที่โดนตัดสิน33ปี4เดือนไม่ใช่คน ที่ทำแต่เป็นไทยมุงที่เข้าไปดูเหตุการณ์แต่เปิดหน้า ประเด็นมันเหมือนกับคุณประเวศได้โพสต์ไว้ทำไมไม่จี้ประเด็นเพลิงไหม้ที่เกิด ขึ้นก่อน ทำไมไม่จี้ไปหาผู้ว่า"

ผมไม่ทราบรายละเอียดของคดีนี้ เลยไม่อยากวิจารณ์ทนายที่ทำคดี แต่จากคอมเม้นท์ดังกล่าว ทำให้ผมนึกถึงเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้ เรื่องของคนที่เล่าเหตุการณ์ในวันนั้นให้ผมฟัง เขาเป็นหนึ่งในคนที่เปิดหน้า ถูกบันทึกภาพไว้จึงถูกตำรวจจับ และเมื่อจับมาแล้ว ตำรวจได้นำภาพถ่ายของคนอื่นๆมาให้เขาดู พร้อมกับคำถามว่า "รู้จักมั้ย" เอาภาพถ่ายมาให้ดูไล่ไปที่ละภาพ ทีละคน แล้วก็ไปตามจับคนที่เขาบอกว่า รู้จัก

เขาถูกมองว่า เป็นคนชี้เป้าให้ตำรวจจับคนอื่นๆ ซึ่งทำให้เขามาระบายด้วยการเล่าเรื่องให้ผมฟัง

ถ้าหาก 4 คนที่โดนพิพากษา 33 ปี 4 เดือน คือ คนที่เพียงแค่ เห็นหน้า ผมคงได้แต่..อึ้ง

สำหรับตอนนี้อาจสั้นมาก แต่คิดว่าต้องเก็บตกส่วนที่ยังขาดตกไปของคดี เผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกันนี้ก็อยากให้การเริ่มต้นคดีดา ตอร์ปิโด พร้อมกับการเริ่มตอนใหม่



ตอนที่ 5

เกี่ยวกับการรับทำคดีดา ผมเคยตอบนักข่าวประชาไทว่า เพราะค่าทนายความล้วนๆ เขาก็หัวเราะกัน

สิ่งที่ปรากฏต่อคนทั่วไปในเวลานั้น..จากบทสัมภาษณ์ของประชาไท มักเป็นเรื่องไม่มีทนายคนไหนรับทำคดีนี้ ซึ่งก็แน่นอนว่ามันถูกแจ้งต่อผมในตอนนั้น..ตอนที่มีคนติดต่อให้ผมทำคดีนี้ เช่นกัน อีกอย่างที่เขาบอกคือ ดาก็รู้อยู่แล้วว่า คดีนี้..แพ้แน่ๆ นั่นทำให้ผมตัดสินใจง่ายขึ้น เพราะอย่างน้อยก็ไม่มีความกดดัน..ความกดดันจากความคาดหวังของลูกความเราเอง และข้อเสนอสุดท้ายในการพิจารณาของผม คือ ค่าทนายความ เงิน 100,000 บาท สำหรับคดีระดับนี้ไม่ถือว่ามาก แถมยังทยอยจ่าย โดยจะจ่ายให้ก่อน 30,000 บาท..สำหรับคนที่กำลังเงินช็อต 30,000 ก็ช่วยอะไรได้มาก

หลังจากตกลงรับงาน พอเข้าไปคุยกับดาในเรือนจำถึงได้รู้ว่า ยังมีอีก 2 คดี เป็นคดีหมิ่นประมาท สนธิ ลิ้มทองกุล กับพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร

ในวันนัดศาลครั้งแรกของคดีนี้ ก็เหมือนคดีอาญาอื่นๆ แต่กับอีก 2 คดี ได้มีทนายความคนหนึ่งมาศาลพร้อมใบแต่งทนายที่เตรียมไว้แล้ว เขาบอกผมว่า เขามาจากสำนักงานของ วิชิต ปลั่งศรีสกุล ผมถามใครบางคน ก็ได้คำตอบว่า คุณวิชิต เป็นทนายความของ ทักษิณ แต่เมื่อเห็นผมแต่งทนายเข้าไปในคดีก่อนแล้ว เขาก็กลับไป

การที่ไม่มีทนายความคนอื่นไปศาลในคดีหมิ่นเบื้องสูง ช่วยยืนยันว่า ไม่มีทนายคนอื่นรับทำคดีนี้ และการที่คุณวิชิต ส่งทนายความไปในคดีหมิ่นประมาท..ธรรมดา ก็บ่งบอกว่า คุณวิชิต ปลั่งศรีสกุล เป็นคนหนึ่งที่บอกปัดไม่รับทำคดีนี้

ในด้านการวางแผนสู้คดี ดาอยากให้พิสูจน์ความจริงในสิ่งที่ดาปราศรัย แต่ในช่วงเวลานั้น ผมยังไม่รู้ความจริงในสิ่งที่ดาพูด ไม่รู้จะไปหาข้อมูล..พยานหลักฐาน..จากไหน ยังไม่ได้เล่นอินเตอร์เนทด้วยซ้ำ ถ้าจะพูดว่า ผมยังไม่ตาสว่าง ก็คงไม่ผิด ในช่วงเตรียมตัวก่อนขึ้นศาล จึงแทบไม่มีพยานหลักฐานอะไรเพิ่มเติมมาเลย สิ่งที่พอหาได้มาบ้าง ก็เป็นหนังสือเล่มโตๆ และได้มาก่อนวันนัดไม่นาน จึงไม่ได้ประโยชน์อะไร

แต่จากการนัดตรวจพยานหลักฐานของศาลอาญา ผมได้ถ่ายสำเนาพยานเอกสารต่างๆของโจทก์ พร้อมทั้งไร้ท์แผ่นซีดี..คำปราศรัยของดา มาด้วย แต่พอส่งเข้าไปในคุกให้ดา ทางเรือนจำกลับไม่ยอมให้ดาเปิดซีดีฟัง จุดนี้จึงจุดประกายการต่อสู้คดีของผมไปอีกทาง

ตั้งแต่ตอนรับทำคดีนี้ ผมก็รู้อยู่แล้วว่า การต่อสู้คดีนี้ที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ในศาล หากแต่อยู่ที่..การเคลื่อนไหวนอกศาล การสร้างกระแสต่อ ความอยุติธรรมของ 112 ซึ่งนำไปสู่การยื่นหนังสือในเวลาต่อมา

คดีนี้เป็นคดีแรกที่ผมต้องสืบพยาน...ถามค้านพยานโจทก์ 3 วันติดต่อกัน และก็เป็นคดีแรกที่ต้องกลับมาเขียนคำร้องโต้แย้งศาลทุกวันตอนเย็นหลังกลับ จากศาล

สิ่งที่พบเห็นจากคนทั่วไป มักเป็นคำถามว่า ดาทำผิดจริงใช่มั้ย ดูเหมือนทัศนะของคนทั่วไปต่อคดีนี้ คือ สิ่งที่ดาพูด...เป็นความผิดหรือไม่ สิ่งที่ดาพูด...เป็นความจริงหรือไม่ โดยมองข้ามคำถามว่า ดาพูดตามที่ถูกฟ้องหรือเปล่า

การพูดถึงการทำคดีดา พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในศาล ดูเหมือนไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่ตั้งชื่อเรื่อง แต่ไหนๆจะเขียนเกี่ยวกับคดีนี้แล้ว ก็ขอพูดให้หมดทุกสิ่งที่อยากพูด โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นภายในห้องพิจารณาคดีที่ปิดลับ

สงสัยคงต้องร่ายยาวอีกหลายตอน . .

------------------------
อ่านบทความก่อนหน้านี้
เกมการเมือง : คดีการเมือง ; จากคดีเผาศาลากลางจังหวัดอุบล สู่ คดีดา ตอร์ปิโด