WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, January 28, 2012

มังกรไฟ

ที่มา การ์ตูนมะนาว



รู้เขารู้เรา สุนัย สุทิน 27-1-2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1055

โหนนน เจ้าาาา จนตรอก บิดเบือนนิติราษฎร์ หวังปิดประเทศ

ที่มา thaifreenews

โดย NuDang

เปิดตำราการเมืองเล่น
สูตรสำเร็จ ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
แอบอิงสถาบันกษัตริย์ แย่งชิงอำนาจการเมือง
หวังเพื่อทำลายล้างศัตรู จากบารมีของกษัตริย์
ผิดเจตนา ที่กษัตริย์ได้...มอบอำนาจการปกครองให้ประชาชน
แต่คนโหนเจ้า...ก็ได้ใช้บารมีหยิบอำนาจนั้นไว้กับตัวเอง
ใช้ทหารเป็นเครื่องมือ เพราะมีอาวุธปืน ระเบิด รถถัง
ใช่ว่าเหตุเกิดมาครั้งเดียว...แต่เกิดมาซ้ำหลายครั้ง
ไม่ว่าจะเป็น หญิง ชาย เด็ก สตรี นักศึกษา หากขัดขืน
ล้วนโดนกำจัดให้หายชีวิต ไม่ต้องมีใครมารับผิดชอบ
................................
ผบ.ทบ. นายประยุทธ คาดหวังอะไร ?
กับการจ้อไมค์ออกทีวี .......กล่าวหานิติราษฎร์ ไม่จงรักภักดี
เขาไม่รู้ใช่ไหม ว่าการใช้วิธีดังกล่าวจะเกิดผลอย่างไรตามมา
หรือกำลังขาดสติ ใช้อารมณ์ มากกว่าหาเหตุผล จากหน่วยงานข่าวกรอง
ที่ตัวเองสามารถ กรองข่าว ตรวจสอบ ให้ชัดเจนก่อน ที่จะจ้อข่าว
หรือตั้งใจพูดแบบนั้น
เพื่อให้ผมเข้าใจว่า ท่านต้องการปลุกระดม “คนไทยฆ่าคนไทย” อีกครั้ง
เพื่อท่าน ผบ.ทบ. จะได้ปิดประเทศ ใช้กำลังทหาร ออกมาควบคุมสถานะการณ์
เพื่อเอาอำนาจการปกครองไว้กับตัวเอง...ด้วยเหตุผล รัฐบาลไม่สามารถควบคุมความสงบได้
เข้าตำรา โหนเจ้า เล่มเดิม ของแท้
...............
กลุ่มนิติราษฎร์ จึงถูกบิดเบือนเจตนา
จากต้องการปกป้องสถาบัน เพื่อไม่ให้นักการเมือง
เอามาเป็นเครื่องมือ หลังจากเกิดเหตุการเดิมๆ
ที่กลุ่มโหนเจ้าชอบใช้ มาตรา 112 เล่นงานทางการเมือง
ออกมาให้ข่าวเฉพาะบางส่วน ที่ทำกระทบต่อจิตใจของคนไทย
ด้วยการถามหาความจงรักภักดี
แต่ไม่ได้ยกเหตุผล ที่มา ที่ไป ของเจตนา ของนิติราษฎร์
กลับยกประเด็น ชี้นำ จากปากของ ตัวเอง จากความคิดของตัวเอง
เพื่อให้กลุ่มนิติราษฎร์ กำลังล้มเจ้า......
แต่ถ้าสังเกตให้ชัดเจน จะพบว่า
ผบ.ทบ. พูดยอมรับเองว่า ไม่มีปัญญาทำอะไร นิติราษฎร์
เพราะนิติราฎร์ทำตามกฏหมาย อยู่ในกรอบของกฎหมาย
สามารถเคลื่อนไหวได้.........
ถ้านิติราษฎร์ อยากจะล้มเจ้าจริง ทำไมถึงจะเล่นงานทางกฎหมายไม่ได้ จริงไหม ?
แสดงว่ามีทหารเลวต้องการ “ปิดประเทศ” จริงๆ

..................................

นิติราษฏร์ต้องได้รับเสรีภาพทางวิชาการ การกล่าวหาว่านิติราษฏร์เป็นนิติเรด เป็นเรื่องน่า

ที่มา thaifreenews

โดย PKT

ถ้าได้ฟังอาจารย์วรเจตน์มาตั้งแต่ต้น อาจารย์ท่านแสดงเจตน์จำนงค์จะนำเสนอแนวทางการเคลื่อนไหวของนิติราษฏร์ในทาง วิชาการ ไม่ใช่การเมือง ในทางวิชาการแล้ว จำนวนคนไม่สำคัญเท่าประเด็นเนื้อหาที่กำลังเสนอ และในทางวิชาการจะปฏิเสธแนวคิดที่แตกต่างหรือข้อถกเถียง ข้อโต้แย้ง ด้วยเหตุผลจากฝ่ายตรงข้ามไม่ได้

ข้อเสนอของนิติราษฏร์ ไม่ใช่คัมภีร์ ที่ห้ามโต้แย้ง หรือ ตั้งคำถาม

แต่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ฝ่ายที่คิดเห็นตรงข้ามกับนิติราษฏร์กลับใช้วิธีเยี่ยงอันธพาล ข่มขู่ คุกคามแทน

ประ เทศใหนที่มีการคุกคามนักวิชาการ ก็จบเห่ ครับ คือคุณข่มขู่คุกคามนักการเมืองก็ยังพอทำเนาเพราะนักการเมืองเป็นบุคคล สาธารณะ จำเป็นต้องยอมรับ และอดทนต่อการคุกคามอยู่แล้ว แต่นักวิชาการนั้นไม่ใช่

นักวิชาการนั้นต้องมีเสรีภาพในการคิดและ นำเสนอความคิด การข่มขู่นักวิชาการไม่ว่าจากฝ่ายใหน จะเป็นการแสดงความอับปัญญาและด้อยพัฒนาของของประเทศนั้น

ใน ทางกลับกัน การพยายามดึงเอานักวิชาการ ลากเอานักวิชาการ ประเด็นทางวิชาการ เข้ามาสนับสนุนประเด็นทางการเมือง ต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยไม่ทำลายความเป็นกลางทางวิชาการลงไป

เราต้องไม่ดราม่า แต่นำมาพิจารณาถกเถียงกันด้วยเหตุผล กระบวนการแก้ไขมาตรา112 จึงจะสามารถดำเนินการไปได้ ถ้าเขาดราม่ามา เราดราม่ากลับ กระบวนการนี้ก็จบเห่ เข้าทางเขา และจะไปไม่ถึงใหน (มองกันออกเนอะ)

การ บริหารความขัดแย้งนั้น ไม่ใช่เราจะเอาชนะเขาลูกเดียว ทำตามแต่ใจเรา โดยไม่คำนึงถึงใจเขา เราต้องลดความขัดแย้งลง ยิ่งบอกว่าตัวเองตาสว่าง มีความเข้าใจในเรื่องต่างๆดี เรายิ่งต้องเมตตาบรรดาผู้ยังมืดบอดให้มาก เหมือนครูผู้รู้ แม้นักเรียนจะดื้อสักเพียงใด เราก็ต้องหาวิธีบอกกล่าวเล่าคุยกัน ไม่ใช่สอนไม่ฟัง พูดไม่ฟัง ไล่ออกจากโรงเรียนโลด อย่างนี้ไปเจอกันนอกโรงเรียนก็ตัวใครตัวมัน

นิ ติราษฏร์ตอนเริ่มต้นดีแล้ว ระวังอย่าให้ใครเอาสีใดๆไปป้ายให้อาจารย์ทั้งหลาย นิติราษฏร์ต้อง สีใส มองเห็นได้ว่าไม่ได้ซ่อนอะไรไว้ นอกจากความหวังดีต่อชาติ ประเด็นที่นิติราษฏร์นำเสนอ จึงจะสามารถส่งไปถึงทุกคนในประเทศนี้ได้


พึงเอาชนะความโกรธด้วยเมตตา

"ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์" นำเผาหุ่น "วรเจตน์" หน้า มธ.

ที่มา ประชาไท

ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ - บรรณวิทย์ เก่งเรียน พร้อมกลุ่มผู้สนับสนุนได้นำหุ่นฟางคล้ายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ไปเผาหน้าทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร๋ พร้อมยื่นรายชื่อ 53,948 รายชื่อ ขออำนาจตุลาการเข้ารับผิดชอบในการหยุดยั้งการทำลายชาติ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไทย

(ที่มาของภาพ: เฟซบุคกลุ่มคนไทยรวมพลังปกป้อง กม.อาญา มาตรา 112)

เมื่อวานนี้ (27 ม.ค.) นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และ พลเรือเอก บรรณวิทย์ เก่งเรียน กลุ่มแนวร่วมคนไทยหัวใจรักชาติ ได้นำหุ่นคล้ายนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเผาบริเวณหน้าประตูทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้น ได้นำรายชื่อประชาชน 53,948 รายชื่อ ขออำนาจตุลาการเข้ารับผิดชอบในการหยุดยั้งการทำลายชาติ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมี นางพรพิมล จิระศิริโรจน์ ผอ.ศาลฎีกา เป็นตัวแทนมารับรายชื่อบริเวณหน้าศาลฎีกา สนามหลวง

‘ไทยพลัดถิ่น’ บุก ‘รัฐสภา’ ซ้ำ จี้หยุดพลิก ‘ร่างพ.ร.บ.สัญชาติ’

ที่มา ประชาไท

ภควิน แสงคง (ใส่หมวก)

นายภควิน แสงคง ที่ปรึกษาเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยจังหวัดระนองและจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ แกนนำเครือข่ายไทยพลัดถิ่น เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 28 – 30 มกราคม 2555 เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นพร้อมเครือข่ายภาคี จะชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เพื่อติดตามการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. ….ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่...) พุทธศักราช …… ในวันที่ 30 มกราคม 2555 นี้

นายภควิน เปิดเผยอีกว่า เหตุที่เครือข่ายไทยพลัดถิ่นออกมาชุมนุมอีกครั้ง สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. ….ได้ประชุมและมีมติตัดมาตรา มาตรา 7/1 ออก และมีการเพิ่มข้อความ “คณะรัฐมนตรีกำหนดก่อนวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติจะมีผลบังคับใช้” ต่อท้ายในมาตรา 3 โดยยืนตามมติเดิมในระหว่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. ….วุฒิสภา เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555

นายภควิน เปิดเผยด้วยว่า จากการที่ตนและเครือข่ายไทยพลัดถิ่นไปศึกษาพบว่า แม้มีการตัดมาตรา 7/1 ออก แต่การเพิ่มข้อความ “การสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ก่อนวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติจะมีผลบังคับใช้” ต่อท้ายในมาตรา 3 ค่าออกมาก็เท่ากับไม่ตัดมาตรา 7/1 ทิ้งแต่อย่างใดเลย จะทำให้คนไทยพลัดถิ่นถึง 80% ไม่มีสิทธิได้สัญชาติไทยตลอดไป

นายภควิน เปิดเผยอีกด้วยว่า ตนและเครือข่ายไทยพลัดถิ่นต้องการให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช บัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่...) พุทธศักราช ……วุฒิสภา นำมาตรา 3 ของร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. ….ที่คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ ที่มีข้อความต่อท้ายว่า “การสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฏกระทรวง”

นายภควิน เปิดเผยอีกว่า ตนและเครือข่ายไทยพลัดถิ่นจะเข้าเจรจากับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. ถ้าหากว่าคณะกรรมาธิการฯ ไม่รับฟังสิ่งที่ตนและเครือข่ายไทยพลัดถิ่นพยายามเรียกร้อง ก็จะมีการชุมนุมยืดเยื้อไปจนกระทั่งถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งคณะกรรมาธิการฯประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. ….อีกครั้ง

“อเนก” ชี้อุปสรรคกระจายอำนาจหากยังคิดในกรอบรัฐเดียว

ที่มา ประชาไท

เอนก เหล่าธรรมทัศน์

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 มกราคม 2555 ที่ห้องศาสตราจารย์ทวีแรงขำ (ร. 103) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดสัมมนาระดมความเห็นเรื่อง “คลื่นลูกที่สองของการกระจายอำนาจ : บริบทใหม่ ความจำเพาะของพื้นที่ และการเคลื่อนไหวเพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ” มีนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ ทั่งประเทศเข้าประมาณ 100 คน

ศาสตราจารย์(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การกระจายอำนาจ คือ การคืนอำนาจให้ประชาชน ชุมชนและท้องถิ่น” ว่า การกระจายอำนาจในรูปของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หากยังคิดในกรอบความเป็นรัฐเดียวแบบรวมศูนย์และผูกขาดอำนาจอธิปัตย์จะทำได้ ยาก เพราะอำนาจยังอยู่ที่รัฐบาล ส่วนกระทรวงทบวงกรมมุ่งสร้างความเป็นเลิศเฉพาะทาง แต่มีความรู้เรื่องพื้นที่น้อยมาก ต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความรู้เรื่องพื้นที่อย่างดี

ศาสตราจารย์(พิเศษ)ดร.เอนก กล่าวอีกว่า แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน แต่กรอบความคิดเอกกะนิยม คือการทุกอย่างต้องเหมือนกันทั้งหมด ได้ทำลายความสวยงามที่หลากหลายไป จริงๆ แล้วควรเป็นพหุรัฐ ถ้าเป็นเป็นพหุนิยมมากขึ้น ก็จะเห็นความงามที่แตกต่างได้ ไม่ใช่มีเพียงมาตรฐานเดียว

ศาสตราจารย์(พิเศษ)ดร.เอนก กล่าวว่า จริงๆ แล้ว รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ทุกมาตรา แต่ที่ผ่านมาทั้งทหาร นักวิชาการ นักปฏิรูป อำมาตย์ ไพร่ ก็ยังคิดไม่พ้นกรอบเดิม คือ รัฐรวมศูนย์อำนาจ ผูกขาดอธิปไตย และยิ่งรวมศูนย์อำนาจ นายกรัฐมนตรีก็จะถูกเรียกร้องให้ทำเรื่องเล็กลง

ศาสตราจาย์ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนาเรื่อง“บริบทใหม่ ความเคลื่อนไหวใหม่ กับคลื่นลูกที่สองของการกระจายอำนาจ” ว่า ต้องให้องค์กรปกครองท้องถิ่นใหญ่ขึ้น มากกว่าองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล โดยให้มีอำนาจทางการคลังมากขึ้น เช่น เก็บภาษี โดยอาจรวมเป็นกลุ่มจังหวัด

ศาสตราจาย์ดร.จรัส ยังได้นำเสนอบทความทางวิชาการเรื่อง ท้องถิ่นพิเศษกับแนวคิดจังหวัดปกครองตนเอง โดยระบุว่า ขณะนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความอ่อนแอลง เพราะไม่มีแรงจูงใจที่พึ่งตนเองทางการคลัง เรียกว่าเป็น โรคเฮมิลตัน พาราด็อก เพราะมัวแต่พึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐ

เด็กไร้รัฐได้ปล่อยตัวจากสถานกักกันตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพฯ ครั้งแรกในไทย

ที่มา ประชาไท

(27 ก.พ.55) ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีการแถลงข่าวกรณีการให้ความช่วยเหลือประกันตัวเด็กไร้รัฐ 2 คนพร้อมด้วยแม่ของเด็ก และหญิงชาวเวียดนาม 1 คน ด้วยความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล

อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า เช้าวันนี้ วัน หญิงชาวเวียดนามวัย 32 ปี พร้อมด้วยลูกชายวัย 11 ปี-ลูกสาววัย 13 ปีซึ่งถูกจัดเป็นคนไร้รัฐ และโรซิน หญิงเวียดนามวัย 27 ปี ได้รับการปล่อยตัวจากสถานกักกันตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพฯ ซอยสวนพลู หลังถูกจับกุมที่เชียงใหม่ และถูกกักอยู่ที่สถานกักกันนาน 1 ปี 6 เดือน โดยทั้งหมดได้รับการประกันตัวด้วยวงเงินคนละ 50,000 บาท ด้วยเงินจากกองทุนเพื่ออิสรภาพของผู้ลี้ภัยและคนไร้สัญชาติของมูลนิธิเพื่อ คนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล โดยจากนี้ พวกเขาจะต้องรายงานตัวทุก 30 วัน และรอการพิจารณาของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เพื่อขอลี้ภัยไปยังประเทศที่สาม

ทั้งนี้ ต่อข้อวิจารณ์ว่าไม่สามารถติดต่อ UNHCR ได้ในระหว่างถูกกักตัวนั้น อมรา ระบุว่าจะพยายามประสานงานกับ ตม. เพื่อขอให้พวกเขาเข้าถึงองค์กรภาคประชาสังคม รวมถึง UNHCR เพื่อขอความช่วยเหลือด้วย

ระหว่างการประกันตัวนี้ เด็กทั้งสองคนจะได้รับทุนการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์แอนดรูส์ แอนนี ฮันเซน ผู้อำนวยการฝ่ายรับสมัครและการตลาดของโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์ ระบุว่า ระหว่างที่พวกเขายังอยู่ในประเทศไทย ก็จะได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษา

วีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล ระบุว่า จากนี้พวกเขาจะอยู่ในความดูแลของมูลนิธิ โดยจะมีทีมงานดูแลเรื่องความปลอดภัยและทำความเข้าใจกับตำรวจในพื้นที่และ หน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

วันและโรซิน กล่าวตรงกันว่า ต้องการความช่วยเหลือจาก UNHCR ในการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัย เพื่อเดินทางไปยังประเทศที่สาม เนื่องจากไม่สามารถกลับไปบ้านได้อีก โดยโรซินเล่าถึงสาเหตุที่เธอต้องหนีเข้ามาที่ประเทศไทยว่า เป็นเพราะครอบครัวของเธอทำงานกับสหรัฐอเมริกา ช่วงสงครามเวียดนาม ทำให้เธอเป็นที่จับตาของหน่วยงานความมั่นคง อีกทั้งเธอยังนับถือศาสนาคริสต์ซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบของรัฐบาล

เกศริน เตียวสกุล ผอ.กลุ่มงานตรวจสอบเรื่องร้องเรียน 1 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ กล่าวว่า สถานกักกันมีความเป็นอยู่ที่แออัดมาก ผู้ถูกกักตัวมีโอกาสเจอแสงแดดเพียง 1 วันต่อสัปดาห์ บางครั้งได้ออกมาเจอแดดตอนเที่ยงซึ่งร้อนมาก โดยปัจจุบันมีเด็กในสถานกักกันราว 50 คน ทั้งนี้ เนื่องจากมองว่า เด็กไม่ใช่อาชญากรรม แต่กลับถูกขังโดยไม่มีกำหนด ขณะนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ พยายามจะเจรจากับ ตม. เพื่อขอให้ย้ายเด็กเหล่านี้ไปอยู่ในสถานที่ควบคุมของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์แทน

วีรวิชญ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยจากพม่าราว 140,000 คนใน 9 ค่าย 4 จังหวัดคือ ตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี และราชบุรี ขณะที่ในเมืองมีผู้ลี้ภัยเกือบ 3,000 คนจาก 30 ประเทศ อาทิ ศรีลังกา ปากีสถาน เกาหลีเหนือ คองโก โซมาเลีย แบ่งเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยราว 900 คน ส่วนที่เหลืออีก 2,000 กว่าคนอยู่ระหว่างการพิจารณา

วีรวิชญ์ กล่าวด้วยว่า จากการที่ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบันในสนธิสัญญาเรื่องผู้ลี้ภัยฉบับ ค.ศ. 1951 ทำให้การจัดการเรื่องผู้ลี้ภัยเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะไม่มีมาตรฐานทางกฎหมาย ทั้งนี้ มีข้อมูลว่าในประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว จำนวนผู้หลบหนีเข้าเมืองลดลง เพราะมีกระบวนการทางกฎหมายและกรอบเวลาการทำงานที่ชัดเจน มีเกณฑ์การพิจารณาที่โปร่งใสและเป็นธรรม ผู้ที่ต้องการลี้ภัยก็สามารถแสดงตัวเพื่อเข้าสู่กระบวนการได้ทันที

วีรวิชญ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการช่วยเหลือบุคคลไร้รัฐทำด้วยหลักมนุษยธรรมโดยไม่มีกรอบของกฎหมาย ที่ชัดเจน แต่การปล่อยตัวคนไร้รัฐครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีความพยายาม ทำให้การปล่อยตัวคนไร้รัฐเป็นไปโดยมีระบบและถูกต้องทั้งในทางปฏิบัติและตาม กฎหมาย โดยการปล่อยตัวครอบครัวดังกล่าวนี้เป็นโครงการนำร่อง ยังมีคนไร้รัฐที่ถูกกักตัวที่จะให้การช่วยเหลือต่อไปอีก

นักข่าวพลเมือง: จับตาผู้ว่าอุดรฯ ชงโปแตชรับ ครม.สัญจร

ที่มา ประชาไท

หวังแซะงบสิบล้าน ครม.ยิ่งลักษณ์ อ้างเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการเหมืองแร่ เอ็นจีโอซัด เพิ่มความขัดแย้งหนักในพื้นที่ บี้ องค์กรส่วนท้องถิ่นสร้างประชาสังคมการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เลิกโกหกชาวบ้าน

นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน) เปิดเผยว่า การประชุม ครม.สัญจร ที่จังหวัดอุดรธานีในครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวผลักดันของ โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี โดยทางจังหวัดอุดรธานีเตรียมชงโครงการเหมืองแร่โปแตชเข้าที่ประชุม ครม.สัญจร เพื่อหวังงบประมาณประชาสัมพันธ์โครงการเหมืองแร่โปแตช มาดำเนินการในพื้นที่ ในขณะที่เวลานี้ก็มีความขัดแย้งในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่องของชาวบ้านใน พื้นที่ กับส่วนราชการจังหวัดอุดรธานี ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลเพียงด้านเดียวของโครงการเหมืองแร่โป แตชมาตลอด

นายสุวิทย์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กำลังเตรียมทำแผนการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ กพร. เพื่อเสนอให้ผู้ว่าจังหวัดในการชงเรื่องพิจารณาของบประชาสัมพันธ์ข้อมูล โครงการเหมืองแร่โปแตชในจังหวัดอุดรธานี จาก ครม.สัญจรที่จะถึงนี้ ซึ่งคงไม่ต่ำกว่าสิบล้านบาท โดยในวันพรุ่งนี้(28 ม.ค.) จะมีการประชุมแผนพัฒนาจังหวัดอุดรธานีกับทุกหน่วยงานที่จังหวัด ที่มีพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานที่ประชุม โดยมีการหยิบยกประเด็นโปแตชเข้าหารือในที่ประชุมด้วย ตนคิดว่าเรื่องนี้ หากจังหวัดคิดจะทำ ควรจะทำแผนประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลต้องทำมา 7-8 ปี แล้ว ตามกฎหมายแร่ ปี 2545 มาตรา 88/9 ว่าด้วยการปรึกษาเบื้องต้นกับผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ใช่มาเสนอทำแผนประชาสัมพันธ์โครงการเอาตอนนี้ มันไม่มีความจำเป็น แต่ที่เสนอขึ้นมาเร่งด่วนอย่างนี้ต้องการ เพียงแค่หวังงบประมาณจากการประชุม ครม.สัญจรครั้งนี้เท่านั้น

“ หน้าที่ในระดับจังหวัดที่ต้องพิจารณาอย่างจริงจังคือ ในส่วนขององค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น อบต.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ทำประชาสังคม ถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา การทำประชาสังคมไม่เคยเป็นการให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง มีแต่การประชาสังคมให้ข้อมูลโกหกชาวบ้าน เป็นการให้ข้อมูลด้านเดียวอยู่ตลอด จนเกิดความขัดแย้งในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์หรือ เอชอีเอ ที่ต้องนำมาพูดถึงอย่างจริงจังไม่ใช่ กพร.ไปว่าจ้างมหาวิทยาลัยทำ โดยให้ความสำคัญเฉพาะแต่เรื่องวิศวกรรมโดยละเลยประเด็นสำคัญคือ ด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม” ” นายสุวิทย์ กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ นายวิเชียร ขาวขำ แกนนำเสื้อแดงจังหวัดอุดรธานี ได้พูดคุยกับคนใกล้ชิดว่า ไม่เห็นด้วยกับโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ในเรื่องผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มไม่เสีย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องผลประโยชน์จากค่าภาคหลวงแร่เพียงแค่ 7 เปอร์เซนต์เท่านั้น แทนที่จะได้ 50 เปอร์เซนต์ รวมทั้งเขาระบุว่า บริษัทต้องวางเงินประกันค่าความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นให้กับชาวบ้านเท่าตัวเพราะพวกชาวบ้านจังหวัดอุดรธานีเป็นผู้ เสียสละ และที่สำคัญพวกเขาต้องได้รับความเสียหายจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำ โครงการเหมืองแร่ขนาดใหญ่อย่างแน่นอนในเรื่องชีวิต และสิ่งแวดล้อม

“หม่อมปลื้ม” วิเคราะห์เดโมแครตให้ร้ายคนรวย คล้าย “ประชาธิปัตย์” บ้านเรา

ที่มา ประชาไท

“หม่อมปลื้ม” วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของพรรคเดโมแครตทั้งสองประเทศ เน้นสร้างความเกลียดชังกับคนที่มีฐานะดี และเพิ่มช่องว่างในความเกลียดชังอิจฉาริษยาคนจนที่มีต่อคนรวย ทิ้งท้ายตั้งข้อสงสัยทำไมถึงเป็นแบบนั้น

27 ม.ค. 55 - ในรายการ The Daily Dose ประจำวันที่ 27 ม.ค. 55 ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการแถลงประจำปีต่อรัฐสภาของ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา (Barack Obama) ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เห็นว่าเป็นการปลุกกระแสต่อต้านคนรวย โดยโอบามาพูดถึงความพยายามที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมมากขึ้น โดยที่มีนโยบายเศรษฐกิจที่สะท้อนระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีความเป็นธรรม สำหรับคนยากคนจน ลดช่องว่างของคนที่มีรายได้สูงกับคนที่มีรายได้ต่ำ

ม.ล.ณัฏฐกรณ์กล่าวว่านี่เป็นสิ่งที่โอบามาพูดเพื่อให้คนนั้นคิดถึงตัวแทน ของพรรครีพับบลิกัน (พรรคคู่แข่ง) ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยโอบามานั้นเริ่มที่จะค่อยๆ ใช้ประเด็นของการที่คนจนนั้นควรที่จะได้รับสิทธิพิเศษในการได้ส่วนแบ่งใน ภาษีของคนร่ำรวย พยายามที่จะเสนอวาระแบบนี้ในการแถลงต่อสภา กอปรกับมีสื่อโฆษณาบางชิ้นที่ออกมาเผยแพร่ในช่วงนี้ ก็มีจุดประสงค์ที่ต้องการลดความชอบธรรมของว่าที่คู่ท้าชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดีจากพรรครีพับบลิกันคือ มิต รอมนีย์ (Mitt Romney)

ซึ่งรอมนีย์นั้นก็เป็นเศรษฐี ซึ่งมีข่าวว่าเขามีเงินเก็บมากกว่า 300 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ และฐานะที่ร่ำรวยของรอมนีย์กำลังกลายมาเป็นปัญหาสำหรับตัวเขาเอง โดยโฆษณา Rich Kids for Romney (เริ่มเผยแพร่ใน http://www.huffingtonpost.com) ที่ล้อเลียนเขานั้น ซึ่ง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ระบุว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าฝ่ายไหนเป็นคนผลิตโฆษณาชิ้นนี้ขึ้นมา ได้ล้อ เลียนว่าคนที่เป็นลูกคนร่ำคนรวยเท่านั้นถึงจะสนับสนุนรอมนีย์ให้เป็น ประธานาธิบดี ทั้งนี้การจุดกระแสแบบนี้มันอาจจะมีผลในช่วงที่คนอเมริกัน 9% ไม่มีงานทำ และมีกระแสการต่อต้านวอลล์สตรีท (Occupy Wall Street)

แต่ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ วิเคราะห์สรุปว่าท้ายที่สุดนี่ก็คือเกมส์การเมือง เกมส์การเมืองของพรรคเดโมแครตเหมือนเดิม และเสริมว่านี่คล้ายเกมส์การเมืองของพรรคเดโมแครตทั้ง 2 ประเทศ (เปรียบเทียบกับพรรคประชาธิปัตย์ในบ้านเรา) คือพรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโอบามาอาจจะดีกว่าพรรคเดโมแครตของประเทศไทย (พรรคประชาธิปัตย์) ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ก็ดีไม่มากนัก คือยุทธการณ์โดยรวมก็คือการสร้างความเกลียดชัง กับคนที่มีฐานะดี และเพิ่มช่องว่างในความเกลียดชังอิจฉาริษยาคนจนที่มีต่อคนรวยนั้น มันเป็นยุทธการของพรรคเดโมแครตทั้งสองประเทศ โดยที่สหรัฐฯ นั้นใช้ความเข้มข้นยิ่งกว่าบ้านเราอีก

และ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ได้ทิ้งท้ายให้ผู้ชมรายการไปคิดต่อว่าทำไมยุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองทั้งสองประเทศที่มีชื่อเหมือนกันจึงเป็นแบบนี้



อ่านเพิ่มเติม :

"หม่อมปลื้ม" เทียบขบวนการ "Occupy Wall St." ที่สหรัฐฯ คือ "พันธมิตรฯ" บ้านเรา
(ประชาไท, 22 ต.ค. 54)

10 เม.ย.นัดพิพากษา ‘บก.ลายจุด’ ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใต้ด่วนดินแดง

ที่มา ประชาไท

27 ม.ค.55 ที่ศาลแขวงพระนครเหนือ มีการสืบพยานจำเลยคดีที่อัยการฟ้องนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบก.ลายจุด จากกรณีที่จัดกิจกรรม “เปลือยเพื่อชีวิต” และเวทีชั่วคราวบริเวณใต้ทางด่วนดินแดง เมื่อวันที่ 18 พ.ค.53 ในข้อหา มั่วสุมทางการเมืองเกิน 5 คน กีดขวางทางจราจร และ ก่อความไม่สงบแก่ประชาชน ในพื้นที่ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยพยานโจทก์ในวันนี้ ได้แก่ นางสาวขวัญระวี วังอุดม นักสิทธิมนุษยชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว และ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

รายงานข่าวแจ้งว่า ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 10 เม.ย.55 เวลา 9.00 น. ศาลแขวงพระนครเหนือ ทั้งนี้ สมบัติโดนฟ้องในคดีใกล้เคียงกันอีกหนึ่งคดีจาก กรณีนัดหมายประชาชนประมาณ 80 คนไปรวมตัวกันที่บริเวณสวนหย่อมถนนเลียบทางด่วน ลาดพร้าว 71 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันหลังเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงจากการสลายการ ชุมนุม ซึ่งศาลได้สั่งลงโทษจำคุก 6 เดือน รอลงอาญา และปรับ 6,000 บาท

นายสมบัติให้สัมภาษณ์ภายหลังการสืบพยานว่า ในสำนวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ส่งให้อัยการ ทั้งในคดีนี้และคดีก่อนหน้า ล้วนเขียนให้มีการเกี่ยวพันกับการเผายาง การยุยงปลุกปั่นประชาชน แต่เมื่อสืบพยานจริงเจ้าหน้าที่กลับไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานในส่วนนั้นแต่ ย่างใด เหมือนกับต้องการเขียนสำนวนให้อัยการส่งฟ้องไว้ก่อน

สมบัติยังกล่าวถึงคดีแรกที่ศาลสั่งลงโทษจำคุก 6 เดือนแต่รอลงอาญาว่า ได้ทำเรื่องอุทธรณ์ไปแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้า

“ถึงไม่ติดคุก แต่มันผิดไง ถ้าเรายอมความเราก็รอลงอาญาแต่ต้นแล้ว แต่เราพยายามสู้ในหลักการให้ได้ แม้มันจะเป็นเรื่องยากมากที่ศาลจะเห็นอย่างนั้นก็ตาม เพราะที่ผ่านมาก็ลงโทษผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ไปแล้วเป็นจำนวนมาก” สมบัติกล่าวถึงการต่อสู้เรื่องการใช้สิทธิในการชุมนุมซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐ ธรรมนูญไม่ขัดต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

"เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์" จี้ "ดีเอสไอ" เอาผิดประเด็นหมิ่นสถาบัน

ที่มา ประชาไท

"เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์" เตรียมบุกดีเอสไอ 30 ม.ค. พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย เพื่อไทยจี้ฟันเว็บหมิ่น ส่วนประชาธิปัตย์จี้เอาผิด “นายกฯ-อนุดิษฐ์-เฉลิม-ผบ.ตร.” เมินปราบเว็บหมิ่นอีกที "ทักษิณ" เตรียมฟ้อง "ชวนนท์" หลังถูกอ้างให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์
27 ม.ค. 55 - สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงาน ว่านายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวันจันทร์ ที่ 30 ม.ค. นี้ เตรียมเดินทางไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ เพื่อยื่นหนังสือให้ตรวจสอบ เว็บไซต์หมิ่นสถาบันที่ยังคงเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งคณะทำงานกฎหมายพรรคเห็นว่า จะต้องช่วยกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยอีกทางหนึ่ง เพราะเป็นที่เคารพรักของประชาชน และหากพบว่า มีการดำเนินการ ที่ผิดกฎหมาย ก็ขอให้ดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทย ดำเนินการอย่างจริงจัง ในเรื่องนี้ พร้อมกันนี้ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวอีกว่า กระทรวง ไอซีที ได้ทำการปราบเว็บหมิ่นสถาบันตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งผ่านมาแล้ว 3 เดือน สามารถปิดเว็บหมิ่นไปแล้วประมาณ 60,000 ยูอาร์แอล
ปชป.ยื่น DSI จันทร์นี้ เอาผิด “นายกฯ-อนุดิษฐ์-เฉลิม-ผบ.ตร.” เมินปราบเว็บหมิ่น
ด้านสำนักข่าวไทยรายงาน ว่า น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงวันนี้ว่า ขณะนี้ครบกำหนด 2 เดือน ที่ได้ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ให้ปราบปรามเว็บไซต์ที่หมิ่นสถาบันและไม่เหมาะสมจำนวน 200 URL แต่เท่าที่ตรวจสอบกลับพบว่าไม่มีความคืบหน้า นอกจากเว็บไซต์เหล่านั้นยังไม่ถูกปิดแล้ว ยังมีเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้นเป็น 400 URL
“ดังนั้นวันจันทร์ที่ 30 มกราคมนี้ เวลา 10.00 น. จะเดินทางยื่นหนังสือต่อนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อแจ้งความเอาผิดกับนายกรัฐมนตรี น.อ.อนุดิษฐ์ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในข่ายความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะละเลยเพิกเฉยต่อการปราบปรามเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมทั้งที่ทราบข้อมูล แล้ว” น.ส.มัลลิกา กล่าว
นอกจากนี้ น.ส.มัลลิกา กล่าวว่า จะนำลิงค์เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมของเดิม 200 URL และที่ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมในรอบ 6 เดือน รวม 478 ลิงค์ มอบให้นายธาริต และขอแจ้งความดำเนินคดีทั้ง 478 ลิงค์ด้วย ในความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และจะขอให้ DSI รับคดีเหล่านี้เป็นคดีพิเศษด้วย.
"ทักษิณ" เตรียมฟ้อง "ชวนนท์" หลังถูกอ้างให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์
มติชนออนไลน์รายงาน ว่านายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าพ.ต.ท.ทักษิณ จะดำเนินการฟ้องร้องนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในข้อหาหมิ่นประมาท หลังออกมาระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่งผลให้พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกเกลียดชัง ทั้งที่ไม่มีข้อความตอนไหนในบทสัมภาษณ์ของหนังสือ Conversation with THAKSIN ที่กล่าวหาหรือให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์เลย
เช่นเดียวกับกรณีที่สำนักข่าวทีนิวส์ ได้นำคำแปลในหนังสือออกมาเผยแพร่ในลักษณะที่อาจจะทำให้เข้าใจว่าพ.ต.ท. ทักษิณ เสนอให้นายบันคีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเข้ากราบทูลฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ก็ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นคำถามของผู้สัมภาษณ์โดยเป็นการสมมติเหตุการณ์ ขึ้นมา ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้แสดงความคิดเห็นออกไป โดยไม่มีคำพูดไหนที่แสดงถึงการให้ร้ายสถาบัน นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเห็นด้วยกับการออกแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทย ที่แสดงจุดยืนต่อการไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ดังนั้นขอเรียกร้องไปยังพรรคประชาธิปัตย์ว่า ขออย่านำสถาบันมาทำลายล้างกันทางการเมือง

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 28/01/55 สาเหตุที่ท่อระบายน้ำอุดตัน...

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน



ขวางทางน้ำ ขวางท่อ ก่อวิบัติ
ยิ่งเห็นชัด ใครคิดชั่ว ตัวปัญหา
คือเหตุผล เลวระยำ เห็นตำตา
ยุคผู้ว่าฯ กทม.ท่ออุดตัน....

ฝนห่าเล็ก ห่าใหญ่ เอาไม่อยู่
แถมคุดคู้ เก้งก้าง ไม่สร้างสรรค์
ใครมาขอ ความร่วมมือ ดื้อดึงดัน
ดูพวกมัน เถิดพี่น้อง ผองประชา....

คนที่เลือก มันมา แทบบ้าคลั่ง
ไร้ความหวัง เกินจะบ่น และค้นหา
กทม.เคยสวยงาม อร่ามตา
"นามเมืองฟ้า" ก็หายวับ พังยับเยิน....



ยิ่งดูดาย นิ่งเงียบ มันเหยียบย่ำ
พวกไฝ่ต่ำ มันรอบจัด ไม่ขัดเขิน
คนเมืองฟ้า ก็แสนโง่ โอ๋เหลือเกิน
ความเจริญ ยิ่งต่ำต้อย ถอยลงคลอง....

จงช่วยกัน กำจัดมัน ตัวปัญหา
ไร้น้ำยา ไร้ผิด-ชอบ ตอบสนอง
สร้างตราบาป เลวระยำ อย่างช่ำชอง

ใครอยากโง่ อีกซ้ำสอง ต้องคอยดู....


๓ บลา / ๒๘ ม.ค.๕๕

ปากหมอสระอาตุลย์ด่าคนลาวโง่!...เหมือนไทย

ที่มา Thai E-News

ปากหมอ สระอา..หมอ ตุลย์-นายแพทย์ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี ถึงกับทนไม่ได้ที่เห็นรูปข้างบนตอนที่อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ไปเยือนหลวงพระบาง มีชาวลาวมาต้อนรับล้นหลาม ถึงกับหลุดจิตใต้สำนึกที่เหยียดเชื้อชาติออกมาทางเฟซบุ๊ค Tul Sittisomwong

คนลาวมันก็โง่เหมือนคนไทย ที่ไม่รู้ว่าเปลือกนอกแม้วที่ดูเก่งดูคล่องขายฝัน สร้างความเจริญ สุดท้ายทรัพยากรและความมั่งคั่งจะตกอยู่กับแม้ว ทิ้งให้ลาวจนกรอบ เจริญแต่วัตถุ สังคมฟอนเฟะ ดูพี่ไทยเป็นตัวอย่างก็แล้วกัน น้องลาวที่รัก

รักหมอตุลย์-สำนึกบุญคุณบิณฑ์ ฟังเพลงสรรเสริญก่อนดูปัญญากับเรณู2ทุกโรงทั่วประเทศ

Friday, January 27, 2012

WHO..."อ.อนามัยโลก" ผลักดันใช้ระบบ "บัตรทอง 30 บ."ทั่วโลก ขอข่าวดีๆแบบนี้หน่อย

ที่มา thaifreenews

โดย ควาย.ไท

http://www.go6tv.com/2012/01/30.html

เมื่อ วันที่ 24 ม.ค. พญ.มัวรีน อี.เบอร์มิงแฮม ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า นานาชาติมองว่า การปฎิรูประบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยถือเป็นตำนาน เพราะได้เปลี่ยนแปลงระบบในช่วงที่ประเทศยังไม่ร่ำรวย และเป็นประเทศแรกๆ ที่ดำเนินการนโยบายนี้และประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ทศวรรษแรกของระบบ เป็นการเน้นด้านการเงินการคลังเพื่อให้ระบบอยู่ได้ แต่ในทศวรรษที่สองจากนี้ ควรเป็นระบบที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ส่วนความท้าทายอีกเรื่อง คือ การดูแลให้ครอบคลุมกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีกลุ่มคนเหล่านี้ 2-4 ล้านคน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

พญ.มัวรีน กล่าวต่อว่า จากผลการดำเนินของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจะผลักดันให้ดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปทั่วโลก โดยจะดำเนินการผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.จัดการประชุมแลกเปลี่ยนระบบสุขภาพระหว่างประเทศในกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจ ของประเทศต่างๆ เพื่อให้ตระหนักและเห็นความจำเป็นในการดำเนินนโยบายนี้ 2.ทำงานเป็นพันธมิตรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม และนักวิชาการ 3.นำยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายที่ได้จากประเทศไทยไปใช้ ซึ่งในรายงานองค์การอนามัยโลก ปี 2553 ก็มีเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพของไทย และ 4. การจัดทำกลไกติดตามความก้าวหน้า เพื่อให้มีการศึกษาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.

วิสัยทัศน์ท่านนายกฯทักษิณโดยแท้...... แมลงสาบไปไกลตีนเลย

ไม่ค่อยกังวล พวกอำมาตย์ออกมาถล่มนิติราษฎร์ เพราะนี่คือสมรภูมิทางปัญญาไม่ใช่กำลัง

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย


ผมไม่ค่อยกังวลเท่าไหร่ ที่พวกอำมาตย์ออกมาถล่มนิติราษฎร์ เพราะนี่คือสมรภูมิทางปัญญาไม่ใช่กำลัง

คือเห็นพวกอำมาตย์ระดมคนมาถล่มนิติราษฎร์แล้ว อาจทำให้หลายคนกังวล ว่าจะเพลี้ยงพล้ำฝ่ายอำมาตย์

ช่วง แรกผมก็กังวลเหมือนกัน แต่ตอนนี้ผมพอประเมินออกแล้วว่า ไม่มีผลมากมายอะไรนัก แต่จะส่งผลลบกับพวกอำมาตย์และฝ่ายต่อต้านการแก้ไข 112 มากกว่า

เพราะนี่คือ สมรภูมิทางปัญญา ไม่ใช่สมรภูมิทางการใช้กำลัง
ต่อให้ยกพวกออกมาหลายหมื่น ก็เปลี่ยนแปลงสภาพอับจนทางวิชาการไม่ได้

อัน ที่จริงการตอบโต้สมรภูมิทางความคิด สมรภูมิทางปัญญานี้ แค่มี "บทความดีๆ" มีเหตุมีผล แนวคิดมีหลักการและทฤษฎีรองรับแบบโต้แย้งทางวิชาการได้ยาก มีแค่บทความเดียว ก็สามารถยันนิติราษฎร์ถอยกลับไปติดกำแพงได้แล้ว หากมีบทความดีๆ ความคิดดีๆ อย่างที่ว่านั้นจริง

เพราะการตอบโต้ด้วย การด่าว่า ใช้กำลังขมขู่ ในที่สุดก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะมันหักล้าง Thesis (ข้อเสนอ) ของนิติราษฏร์ไม่ได้ ยิ่งยกพวกออกมา พวกที่สนับสนุนนิติราษฏร์ก็คงยกพวกออกมาเช่นกัน สุดท้าย ฝ่ายที่มีเหตุมีผลย่อมชนะในที่สุด

เรื่อง 112 ในทางทฤษฎีหลักการ ถึงอย่างไรมันก็ต้องแก้ไข ผมยังไม่เห็นข้อโต้แย้ง ที่มีน้ำหนักทางวิชาการใดๆ เลย ที่สามารถยันไม่ให้แก้ไขได้

จนวันนี้ "ก็ยังไม่มีข้อโต้แย้งนิติราษฏร์" ที่มีน้ำหนักทางวิชการเลย

อัน ที่จริงหากใครศึกษาทฤษฎีการเมือง ก็รู้ว่า มันไม่มี เพราะเรื่อง อนุรักษ์นิยม กับ ลิเบอร์รัล ลัทธิอำมาตย์กับประชาธิปไตย มันสู้กันในยุโรปมาตั้งแต่ปลายศตวรร์ที่ 17 (ราวๆ คศ. 1650 ขึ้นมา) แล้ว และผลสรุปก็เห็นชัดเจนในยุโรปแล้ว

ตอนนี้มันแค่เริ่มในประเทศไทย

ถึงอย่างไร พวกทหารก็คงแพ้ในทางการเมืองและการต่อสู้ทางความคิดอยู่ดี
หาก หัวหอกของฝ่ายทหารเป็นแค่ "ประยุทธ์ จันโอชา" ยิ่งแพ้เร็วมาก เพราะเชื่อมั่นในกำลัง และความรุนแรง แต่ดันมีอำนาจในศตวรรษที่ 21 ซึ่งโลกเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น นี่ไม่ใช่ยุคสงครามเย็น แบบสฤกษ์ ธนะรัช ที่จะสามารถใช้กำลังอย่างไรก็ได้

เสื้อแดง ไม่ดื่มเบียร์สิงห์ เพราะสิงห์สนับสนุนอำมาตย์

ที่มา thaifreenews

โดย ลูกชาวนาไทย

ผมเพิ่งได้คอนเซ็บนี้จากคุณ M14 เราน่าจะรณรงค์ถล่มเบียร์สิงห์กันอีกรอบ
เพราะ "อาวุธที่รุนแรง" ของคนเสื้อแดงคือการบอยคอต เพราะคนเสื้อแดงเป็นพวกรากหญ้า พลังด้านทุนเราสู้พวกอำมาตย์ไม่ได้ อำนาจทางการเมืองเราก็สู้พวกอำมาตย์ไม่ได้ แต่อำนาจการ "บอยคอต" เราชนะทุกคน เพราะเราคือผู้บริโภคกลุ่มใหญ่สุด ดังนั้น หากเราไม่ใช้สินค้าอะไร สินค้านั้นก็ต้องเจ๊ง

ยุคนี้สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่อยู่ในตลาดแข่งขัน ไม่ได้อยู่ในตลาดผูกขาด ดังนั้นไม่ใช่สินค้าใดสินค้าหนึ่ง เราก็ไม่เดือดร้อน

เบียร์ สิงห์มีหลานสาวเป็นพวกอำมาตย์ ที่ต่อต้านนิติราษฎร์เรื่อง 112 ดังนั้น เราก็ต่อต้านเบียร์สิงห์โดยออกแคมเปญ "คนเสื้อแดงไม่ดื่มสิงห์" แสดงพลังกันอีกทีว่าคนเสื้อแดงนั้นมีพลังขนาดไหน

ปล.อันที่จริงผม ไม่ดื่มเบียร์อยู่แล้ว เลยไม่เดือดร้อนอะไร แต่ไม่ทราบว่าท่านที่นิยมเบียร์จะเดือดร้อนหรือไม่ เพราะบางคนมีรสนิยม ชอบเครื่องดื่มยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง

อันที่จริงการบอยคอตนี่เป็น เรื่องที่ทำได้ง่าย ไม่เดือดร้อนเรา และเป็นอาวุธของคนชั้นล่างที่จะต่อสู้กับพวกคนชั้นสูงได้สมน้ำสมเนื้อ หากมีสามัคคีจริงๆ พวกชนชั้นนำก็ต้องแพ้คนรากหญ้าอยู่ดี

โมเดลแก้รธน สูตรเพือไทย ปอกเปลือกข่าว 26 1 2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1046

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถึง ‘พี่เสกที่นับถือ’: “ใครถอยและใครทน พิสูจน์ได้เมื่อภัยมา”

ที่มา ประชาไท

หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม ’ “ใครถอยและใครทน พิสูจน์ได้เมื่อภัยมา”: ตอบจดหมายกรณี นิติราษฎร์-ครก.112 ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

เรียน พี่เสก ที่นับถือ

ผมอ่านจดหมายชี้แจงกรณี “นิติราษฎร์-ครก.112” ของพี่เสกด้วยความรู้สึกเศร้าใจมากกว่าอย่างอื่น ความจริง ผมว่า พี่เสก คง “ชรา” แล้วอย่างที่พี่เสกพูดถึงตัวเองในจดหมายจริงๆ จึงตัดสินทำอะไรที่ไม่ควรทำเช่นนี้ ที่ในระยะยาวมีแต่จะเป็นการลดทอนชื่อเสียงเกียรติภูมิและฐานะทางประวัติ ศาสตร์ของพี่เสกลงไปอีก

ก่อนอื่น ใครที่ได้อ่านจดหมายของพี่เสกฉบับนี้ ก็ยากจะหลีกเลี่ยงอดคิดไม่ได้ว่า ที่พี่เสกเพิ่งมาออกจดหมายฉบับนี้ – สองสัปดาห์หลังจากมีการประกาศชื่อผู้ร่วมลงนามสนับสนุนร่างแก้ไข 112 ของ นิติราษฎร์ (ซึ่งรวมชื่อพี่เสกอยู่ด้วย) ก็เพราะหลายวันที่ผ่านมา มีกระแสโจมตี “นิติราษฎร์” อย่างหนัก ซึ่งนับเป็นเรื่องน่าเสียใจว่า “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” ผู้เคยนำมวลชนลุกขึ้นสู้อย่างกล้าหาญไม่ถอย เมื่อ 40 ปีก่อน (ในท่ามกลางเพื่อนรุ่นเดียวกันหลายคนที่หวั่นไหวกับการขู่ของอำนาจทหารฟัส ซิสต์) กลายมาเป็นคน “ใจเสาะ” อ่อนไหวง่ายกับกระแสโจมตี ที่ทั้งหมด มีแต่เสียงคำรามแบบป่าเถื่อน ไม่มีร่องรอยของภูมิปัญญาอยู่เลยนี้ ไปได้เสียแล้ว

ความจริง กระแสโจมตีในขณะนี้ พุ่งเป้าไปที่นิติราษฎร์เท่านั้น เรียกว่าไม่มีการกล่าวถึงคนอื่นๆที่ร่วมลงนามเลย อย่าว่าแต่พี่เสกเลย แม้แต่คนที่ใกล้ชิดหรือมีท่าทีสนับสนุนนิติราษฏร์มากกว่าพี่เสกหลายเท่า เช่น อาจารย์ชาญวิทย์ หรือ อาจารย์นิธิ (ที่พูดในงานเปิดตัวด้วย) ก็ยังเรียกว่าไปไม่ถึง ก็แล้วทำไมพี่เสกจะต้อง “ร้อนตัว” ออกจดหมายมาชี้แจงแบบนี้เล่า?

ผมเชื่อว่า ทุกคนตระหนักดีว่า ในการรณรงค์ที่ใช้รูปแบบร่วมลงชื่อกันมากๆ เป็นร้อยคนขึ้นไปเช่นนี้ แต่ละคนย่อมอาจจะมีเหตุผลเฉพาะของตัวเอง และไม่จำเป็นต้องคิดเหมือนกับคนที่เป็นผู้ริเริ่มทั้งหมด แต่อย่างน้อย ในฐานะที่แต่ละคนเป็นผู้ใหญ่มีวุฒิภาวะและวิจารณญาณกันแล้ว (อย่าว่า “ชรา” แล้ว อย่างพี่เสก) การลงชื่อ หรือยอมให้ชื่อของตัวเองรวมเข้าไปด้วย ย่อมมาจากการต้องเห็นด้วยกับข้อเสนอเช่นนั้น ไม่ว่าจะมีเหตุผลหรือมุมมองเฉพาะของตัวเองอย่างไร ดังนั้น จะว่าไปแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีความจำเป็นที่แต่ละคนจะต้องออกมาชี้แจงเลย ยิ่งในเมื่อกระแสโจมตีในกรณีนี้ หาได้พุ่งเป้าไปที่ใครโดยเฉพาะ (นอกจากนิติราษฎร์) ที่แน่ๆ ผมก็ไม่เห็นกระแสโจมตีนี้ ไปแตะถึงตัวพี่เสกเลย

แต่ตอนนี้ พี่เสกกลับรู้สึกว่าจำเป็นต้อง “ชี้แจงจุดยืนของตัวเองให้กระจ่าง” โดยอ้างว่า ที่ลงชื่อไปนั้น “เนื่องจากถูกขอร้องโดยผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และผมเองก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่อยู่ในกรอบของการปฏิรูป กฎหมาย มีเนื้อหากลางๆ ออกไปในแนวมนุษยธรรม และที่สำคัญคือยังคงไว้ซึ่งจุดหมายในการพิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติ”

ก่อนอื่น ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า หลังๆ ดูๆ พี่เสกจะชอบ “ออกตัว” เวลาทำอะไรที่มีลักษณะเป็นประเด็นถกเถียง (controversial) ในลักษณะนี้คือ “ถูกผู้ใหญ่ขอร้อง” คราวที่พี่เสกไปรับตำแหน่งในคณะกรรมการปฏิรูป ก็บอกว่า “หนึ่ง-ผมเกรงใจท่านอดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ที่อุตส่าห์เชิญผมไปร่วมงาน” (ใน คำสัมภาษณ์นิตยสาร “ค คน”) พี่เสกก็แก่มากแล้ว ทำไมจะต้องคอย “ออกตัว” (แก้ตัว) ในลักษณะนี้ให้เด็กๆ อายุคราวหลานหลายคนที่เขาร่วมลงชื่อครั้งนี้รู้สึกสมเพชด้วยเล่า? พวกเขาเด็กปานนั้น ยังไม่เห็นมีใครเคยบอกว่าที่ทำไปเพราะคนเป็นผู้ใหญ่กว่าขอให้ทำเลย

แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือการออกมาชี้แจงด้วยเหตุผลที่เห็นได้ชัดว่า ต้องการให้ตัวเอง “ดูดี” ว่า ไม่ได้เป็นพวก “ล้มเจ้า” แบบที่กระแสโจมตีอันป่าเถื่อนกำลังกล่าวหา “นิติราษฎร์” ในขณะนี้ ไม่เช่นนั้น ทำไมจะต้องอุตส่าห์ใส่ข้อความว่าที่สำคัญคือยังคงไว้ซึ่งจุดหมายในการพิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติ” ด้วย มิหนำซ้ำ ในข้อความที่ตามมา ยังอุตส่าห์เขียนในลักษณะ “เป็นนัยๆ” ในลักษณะที่ฝรั่งเรียกว่า innuendo (พูดเป็นนัยๆ ให้เสียหาย) ว่า “ผมต้องขอยืนยันว่าผมไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับนักวิชาการกลุ่มนี้ และยิ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับข้อเสนอในประเด็นอื่นๆ ที่กลุ่มดังกล่าวได้ประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง

คือถ้าพูดกันด้วยภาษาชาวบ้านๆ ใครที่อ่านหนังสือไทยได้ ก็เข้าใจว่า พี่เสกกำลังบอกเป็นนัยว่า “ผมจงรักภักดีนะ ผมไม่เกี่ยวข้องกับพวกนั้น (นิติราษฎร์) เลย ที่พวกนั้นออกมาในแนวไม่จงรักภักดี (คือไม่มี “จุดหมายในการพิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติ” เหมือนผม) ผมไม่รู้ไม่เห็นด้วยนะ” – คือถ้าไม่ให้ตีความเช่นนี้ ก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายการที่พี่เสกต้อง “ร้อนตัว” มาบอกว่า ไม่เกี่ยวข้องกับนิติราษฎร์ได้ยังไง ในเมื่อ (ก) ในประเทศไทย ไม่เห็นมีใครเคยบอกว่าพี่เสกเกี่ยวข้องกับนิติราษฎร์ และ (ข) ถ้า “ข้อเสนอในประเด็นอื่น” ที่นิติราษฎร์ “ประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง” เป็น เรื่องอื่น ไม่ใช่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ (ที่พวกเขาเสนอให้ปฏิรูปตามอารยประเทศประชาธิปไตย) พี่เสกจะต้องออกมา “ชี้แจง” เช่นนี้ และต้องพาดพิงถึง “ประเด็นอื่นๆ ที่กลุ่มดังกล่าวได้ประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง” ด้วยหรือ?

ผมเสียใจที่พี่เสกยิ่งแก่ยิ่งกล้าหาญน้อยลงๆ ถ้าพี่เสกเห็นว่า สิ่งที่นิติราษฎร์ “ประกาศออกมาอย่างต่อเนื่อง” เป็นอะไรที่ไม่ดีต่อสถาบันกษัตริย์ (ที่พี่เสกปวารณาจะ “พิทักษ์รักษา”) ก็ควรกล้าที่จะอธิบายออกมาตรงๆ ไม่ใช่ใช้วิธี innuendo แบบนี้

น่าเสียใจด้วยว่า ในคำสัมภาษณ์ “ค คน” พี่เสกได้พูดถึง “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” โดยเสนอว่า ลักษณะ “โครงสร้างแบบอำนาจนิยม” ของ “ชนชั้นนำ” ในปัจจุบัน “เป็นโครงสร้างอำนาจเดียวกับสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์” จริงอยู่ พี่เสกกำลังโจมตีนักการเมือง ซึ่งเป็น “ผู้ใช้อำนาจการปกครอง [ในปัจจุบัน] ไม่ใช่พระมหากษัตริย์เหมือนแต่ก่อน” (พี่เสกพูดต่อด้วยคำที่เบาลงมาด้วยว่า “หรือบางทีก็เป็นผู้นำกองทัพ”) แต่ในเมื่อพี่เสกกล่าวว่า “โครงสร้าง” การใช้อำนาจปัจจุบันซึ่งพี่เสกวิพากษ์นั้น “แทบจะเหมือนเดิมทุกประการ” กับสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ย่อมหมายความว่า พี่เสก ไม่เห็นด้วยกับสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นกัน แต่ไฉน พี่เสกจึงมายอมค้อมหัวให้กับกระแสโจมตีนิติราษฎร์ในขณะนี้ ที่มาจากอุดมการณ์และวิธีคิดแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างชัดเจนด้วยเล่า?

วินาทีแรกที่ผมอ่านจดหมายของพี่เสกจบ ผมนึกถึงกาพย์ของจิตร ภูมิศักดิ์ ท่อนนี้ ขึ้นมาทันที

หนทางพิสูจน์ม้า และเวลาพิสูจน์คน
ใครถอยและใครทน พิสูจน์ได้เมื่อภัยมา

ด้วยความเศร้าใจจริงๆ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

กระบวนการยุติธรรมที่ไร้ความรู้สึก

ที่มา ประชาไท

กฎหมายในโลกสมัยใหม่จำเป็นต้องมีความชัดเจน แน่นอน มั่นคง เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเนื้อหาสาระของการกระทำใดที่จะเป็นความผิดจะต้องมีการระบุและอธิบายไว้ อย่างชัดเจนล่วงหน้า เพื่อหวังว่าคนที่กำลังชั่งใจว่าจะทำดีหรือไม่จะได้ใช้เป็นต้นทุนประกอบการ ตัดสินใจและงดเว้นการกระทำผิดเสีย
อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญกว่า คือ กระบวนการที่จะพิสูจน์ว่าบุคคลได้กระทำการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดหรือไม่
กฎหมายหมายในปัจจุบันจึงต้องมีการบัญญัติถึง กระบวนการพิสูจน์ “ความจริง” ว่าบุคคลได้กระทำจริงดังที่ได้มีการกล่าวหากันหรือไม่ การตัดสินว่าบุคคลนั้น “ถูก หรือ ผิด” จึงเกิดตามภายหลังดังนั้นกระบวนการยุติธรรมที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงจะต้องยืน อยู่บนหลักฐานในเชิงประจักษ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผลที่ชัดเจนแน่นอน ก่อนที่จะนำข้อเท็จจริงนั้นมาปรักปรำให้บุคคลต้องรับโทษทัณฑ์
จากประสบการณ์อันเลวร้ายในทุกสังคม ซึ่งประวัติศาสตร์ได้สะท้อนการกระทำอันเป็นผลร้ายต่อผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า บทเรียนเหล่านั้นได้ก่อให้เกิดกระบวนการยุติธรรมต้องมีการประกันสิทธิของคู่ กรณี เพื่อป้องกันการลงโทษ “แพะ” ที่ถูกลากมาให้ “รับบาป” จากสิ่งที่ตนมิได้กระทำ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปัจจุบันจึงกำหนดให้ คู่กรณีฝ่ายที่ถูกกล่าวหา หรือ “จำเลย” ได้รับการประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเข้มแข็ง ด้วยเหตุว่า ถ้าจำเลยต้องคำพิพากษาว่า “ผิดจริง” จะต้องรับโทษทางอาญาที่มีผลร้ายแรง ลิดรอนสิทธิอย่างกว้างขวางและยาวนาน
บทบาทการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงต้อง คำนึงถึง หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้อย่างปราศจากข้อสงสัย ว่าผิดจริง ดังที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ในคดีอาญาหลายกรณี ศาลได้ใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาจจะมิได้พิเคราะห์คำอธิบาย ที่แตกต่างจากการรับรู้ทั่วไปของสังคมที่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของวาทกรรม “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ซึ่งมีความคลุมเครือ
ยกตัวอย่างคดีอาญาหลายคดี เช่น คดีสิ่งแวดล้อม คดียาเสพย์ติด คดีก่อการร้าย คดีการใช้สิทธิในการชุมนุม และคดีการแสดงความคิดเห็นอันสุ่มเสี่ยงต่อความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือความ มั่นคง ประชาชนที่ตกเป็นจำเลยมักจะพยายามอธิบายการกระทำซึ่งเป็นข้อเท็จจริงแห่งคดี ที่แตกต่างไปจากวาทกรรมเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และตุลาการเข้าใจ และยึดถือเป็นสรณะ แต่ในแทบทุกคดีไม่ได้รับการตอบสนอง
ท่ามกลางข้อถกเถียงและโต้แย้งว่า ขอบเขตของสิ่งที่เรียกว่า “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ควรจะหมายถึงอะไร กรณีใดจะเข้าลักษณะดังกล่าว ประชาชนที่แสดงความเห็นต่างในหลายคดี ก็ต้องคำพิพากษาจำคุกมาอย่างต่อเนื่อง
จากการทบทวนความคิดเห็นของประชาชนชาวไทยในพื้นที่สื่อสาธารณะทั้งหลาย ทั้งในข่าว บทสัมภาษณ์ เครือข่ายทางสังคมบนโลกอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งโพลล์ คนในสังคมไทยมักแสดงออกว่ายอมรับในความหลากหลาย แต่เมื่อเกิดคดีในกลุ่มข้างต้น พวกเขากลับดูดายต่อผู้ที่เห็นต่างในกรณีเหล่านี้ โดยเฉพาะในเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม
การตีความเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ของผู้ที่ใช้อำนาจรัฐทั้งฝ่ายปกครองอันมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นหลัก และการตีความของฝ่ายตุลาการที่มีผู้พิพากษาเป็นหัวหอก โดยพยายามเชื่อมโยงประเด็นเหล่านี้เข้ากับ “ความรู้สึก” ย่อมมีผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เห็นต่างเป็นอย่างมาก ไม่ว่ารัฐจะอ้างว่าเป็น “ความรู้สึกของปวงชนชาวไทย” แต่คนที่อ้างก็มิเคยทำประชามติหรือประชาพิจารณ์ หรือแม้มีลูกขุนมาให้ความเห็นเลยสักครั้ง
ท่ามกลาง “ฝุ่นควันของความขัดแย้งทางความคิดในช่วงเปลี่ยนผ่าน” การใช้อำนาจรัฐดำเนินการต่อความหลากหลายทางความคิดย่อมกดทับ ความพยามยามในการต่อสู้ทางการเมืองบนพื้นฐานของสันติวิธีให้เหี้ยนเตียนไป อนึ่งการแสดงความคิดเห็นเป็นวิธีการที่ประหยัดเลือดเนื้อที่สุดอันควรค่าแก่ การรักษา
กระบวนการยุติธรรมที่ตีความขยายขอบเขตเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ออกไปจำกัดการใช้สิทธิของประชาชน โดยอ้างเรื่อง “ความรู้สึก” ย่อมเป็นการทำลายความเป็นคนที่ตั้งอยู่บนความแตกต่างหลากหลายเป็นที่สุด
หากต้องการรักษาสันติภาพไว้ในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่แหลม คมขึ้นเรื่อง การตีความและใช้กฎหมายบนพื้นฐานของเหตุผลที่รองรับด้วยกฎหมายที่ประกันสิทธิ เสรีภาพเป็นที่ตั้ง ย่อมเป็นหนทางที่ “ต้องเลือก” อย่างถึงที่สุด เนื่องด้วยกฎหมายลำดับรองและการบังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นภายใต้บริบทของรัฐ ไทยที่มีปัญหาเรื่องอำนาจนิยมจะมีผลต่อการลิดรอนสิทธิของประชาชนไม่ฝ่ายใดก็ ฝ่ายหนึ่งเสมอ แล้วแต่ว่าตอนนั้นอำนาจรัฐอยู่กับใคร ดังนั้นการยึดมั่น “สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” จึงมีความสำคัญต่อทุกคนที่อาจจะตกเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐเมื่อไหร่ก็ได้
หากกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านยังไม่มีการปรับตัว และคงดำเนินไปอย่างชาชินต่อความรู้สึกเจ็บปวด ทรมาน ไม่ยุติธรรม ของเหยื่ออธรรม ซึ่งสั่งสมขึ้นเป็นความคลั่งแค้น กงล้อแห่งความรุนแรงย่อมหมุนไปบนเงื่อนไขที่ทำให้สังคมก้าวเดินไปสู่ภาวะ “ไร้ความรู้สึกต่อเพื่อนมนุษย์” ในท้ายที่สุด
เมื่อจุดแตกหักทางความคิดและกระบวนการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมา ถึง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “มนุษยธรรม” ต่อผู้ที่เห็นต่าง ก็อาจจะไม่หลงเหลืออยู่ในสังคมนี้อีกเลย เพราะท่ามกลางความขัดแย้งที่กำลังคุกรุ่น และพร้อมที่จะระเบิดขึ้นนั้น คนที่มีความกลัวย่อมเกิดความหวากระแวงและพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงเข้าประหัต ประหารฝ่ายตรงข้ามในในอีกไม่ช้า

เพ็ญ ภัคตะ: พ่อแม่ไม่สั่งสอน!

ที่มา ประชาไท

สงสัยว่าพ่อแม่ไม่สอนสั่ง
จึงมานั่งหน้าจอจ้อโขมง
คุ้ยข่าวนู้นแขวะคนนี้ว่าขี้โกง
จนคอโป่งตาโปนถลนตะลึง

คุณคงเป็นลูกรักยิ่งนักแล้ว
พ่อดั่งแก้วกนกมณีเป็นที่หนึ่ง
แม่คุณคงสั่งสอนเสียลึกซึ้ง
ปากคุณจึงจ้วงจาบอำเภอใจ

โอ้ละหนอ...นกน้อยแห่งไร่ส้ม
พ่นคารมข่มเหงยำเยงไพร่
หนึ่งหนึ่งสองที่ผองคุณทูนเทิดไว้
แท้คือโซ่เส้นใหญ่ใกล้หย่อนยาน

เมื่อมีคนเห็นต่างย่อมต่างเห็น
ไยต้องเป็นหนึ่งเดียวเกลียวสมาน
ฉุดกระชากลากไถไสกบาล
ขู่ประจานให้พ้นเขตประเทศไทย

สำรอกทับวลีถ่อยฟังแล้วอึ้ง
“พ่อแม่มึงไม่สั่งสอนกันใช่ไหม?”
สอนน่ะสอน! ว่าอย่าเป็นทาสรับใช้
สั่งสิสั่ง! ว่าหัวใจให้อิสรีย์

หยุดเหยียบย่ำหยามเย้ยถึงแม่พ่อ
ปากสอพลอตระบัดสัตย์สิ้นศักดิ์ศรี
ใครจงรักไม่จงรักสิทธิเขามี
บุพการี...ขอไว้อย่าลามปาม!

มุกหอม วงษ์เทศ: อาถรรพ์แห่งศัพท์

ที่มา ประชาไท

ศัพท์บางประเภทมีอาถรรพ์ คำบางวงศ์วานมีอาคม

ช่วงครึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ความนิยมใช้คำว่า “เจ้า” พวยพุ่งรุ่งโรจน์อย่างเป็นปรากฏการณ์ สวนทางกับความนิยมในสามานยนามและวิสามานยนามเกี่ยวกับเจ้าที่ตกต่ำลง ข้าพเจ้าลองนั่งนึกสลับกับสืบค้นแบบลวกง่ายไม่ทรมานสังขารอันไม่เที่ยง ก็พบว่าคำว่า “เจ้า” มีความหมายและการใช้ตามสมัยนิยมที่รุ่มรวย หลากหลาย เหลื่อมซ้อน ย้อนแย้ง อินุงตุงนัง อาทิเช่น

(1) ผู้มีอำนาจในปริมณฑลหรือกิจการต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่, เจ้าพนักงาน, เจ้าเมือง, เจ้าสำนัก, เจ้าอาวาส, เจ้าพ่อ

(2) เหล่าพระราชวงศ์และราชนิกูลในสถาบันกษัตริย์ นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป (หมายเหตุ: ตามกฎนี้ ผู้มีฐานันดรศักดิ์ต่ำกว่าหม่อมเจ้า จึงไม่ใช่ “เจ้า” อย่างไรก็ดี ผู้ไม่ใช่เจ้ามาแต่กำเนิดก็สามารถถูกแต่งตั้งให้เป็น “เจ้า” ได้ หรือในกรณีที่มีการเปลี่ยนราชวงศ์ สามัญชนก็ตั้งตนเป็นเจ้าได้ เช่น รัชกาลที่หนึ่งผู้สถาปนาราชวงศ์จักรี)

(3) ผี เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจ้าที่, ศาลเจ้า, ไหว้เจ้า, ทรงเจ้า

(4) God - พระเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า

(5) ความเป็นเจ้าของ หรือผู้เป็นใหญ่เหนือสิ่งของ เช่น เจ้าหนี้, เจ้าทรัพย์, เจ้าบ้าน

(6) ผู้มีความเชี่ยวชาญช่ำชองในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เจ้าเล่ห์, เจ้าชู้, เจ้าคารม, เจ้ากี้เจ้าการ

(7) สรรพนามบุรุษและสตรีที่สองและสาม ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยและพูดถึง โดยมีนัยยะถึงคนที่มีสถานะต่ำกว่าหรือเท่ากัน เช่น

“ชายชาติอาชาไนยอย่างข้า ไม่เอาเจ้าด้วยกำลังหรือเล่ห์เพทุบายดอก” “วันหลังคุณอย่าพาเจ้าหนูมาที่นี่อีกนะ ดิฉันรำคาญเด็ก” “เจ้าหล่อนนึกยังไงหนอ ถึงยอมไปไหนมาไหนกับเจ้าราฟาเอล”

นอกจากนี้ยังเกิดความนิยมใช้ “เจ้า” นำหน้าสิ่งไม่มีชีวิตหรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่คน นัยว่าเพื่อแสดงตนเป็นคนสุภาพน่ารัก จิตใจดี มีความเอ็นดูอันเหลือเฟือให้กับสรรพสิ่ง เช่น “อพยพออกจากบ้านเป็นเดือนแล้ว ทำไมเจ้ามวลน้ำไม่เห็นมาเสียที” “อนิจจา, พวกใจบาปจะมากำจัดน้ำเน่ากันแล้ว เรามาร่วมสวดมนต์ให้เจ้าแบคทีเรียกันเถอะ”

(8) ผู้ประกอบการ เช่น “ลูกชิ้นปิ้งเจ้านี้อร่อยที่สุด ใส่บอแรกซ์ไม่อั้น” “เจ้านี้ก็ห่วย เจ้าโน้นก็ห่วย เจ้าที่คนมะรุมมะตุ้มแย่งกันยิ่งห่วย แถวนี้ห่วยทุกเจ้า”

(9) คำอุทาน คำสบถ คำร้องเรียกความสนใจ หรือคำลงท้ายขานรับ เช่น “อุแม่เจ้า!” “แม่เจ้าโว้ย!” “เจ้าข้าเอ๊ย!” “สั่งสอนพวกไม่รู้จักที่ต่ำที่สูงเสร็จเรียบร้อยแล้วเจ้าค่ะ!” “จะให้บ่าวเชือดไก่ให้ลิงดูอีกตัวไหมเจ้าคะ?”

น่าประหลาดที่คำว่า “เจ้า” ตามอักขรวิธีและการสะกดในปัจจุบันมีนัยความหมายและการใช้มากมายและวุ่นวาย ขนาดนี้ ในบางกรณี ความหมายแบบหนึ่งทำลายความหมายอีกแบบหนึ่งจนย่อยยับอย่างไม่น่าให้อภัยโทษ และอยู่ร่วมราชอาณาจักรกันได้

ศัพท์กำราบ สาปด้วยศัพท์

นับตั้งแต่กระแสเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ การปฏิรูปและการวิพากษ์สถาบันกษัตริย์ทวีความเข้มข้นพร้อมส่งสัญญาณไม่ยอม จำนน บรรดาสาวกและอัศวินแห่งลัทธิเทวราชากลายพันธุ์ (รวมทั้งพวกโหนเจ้าทั้งที่อาจไม่ได้นิยมเจ้าด้วยใจจริง) ต่างกระวีกระวาดสาดถ้อยคำเข้าใส่ปีศาจแห่งความเป็นสมัยใหม่อย่างเมามัน

“กำเริบเสิบสาน” “เหิมเกริม” “เห่อเหิม” “ลบหลู่” “จาบจ้วง” “ล่วงละเมิด” “ล่วงเกิน” “ก้าวล่วง” “อาจเอื้อม” “บังอาจ” “ตีตนเสมอ” “มักใหญ่ใฝ่สูง” “หมิ่นเบื้องสูง” “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” “หลู่พระเกียรติ” “ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท” “มิบังควร” “ดึงฟ้าต่ำ” “อกตัญญู” “เนรคุณ” “ทรยศ” “พ่อแม่ไม่สั่งสอน” “ล้มเจ้า” “ล้มล้างราชบังลังก์” “ไม่จงรักภักดี” “ไม่สำนึกบุญคุณ” “ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง” “ไม่เจียมกะลาหัว” “เหาจะกินหัว” “ขี้กลากจะขึ้นหัว” “นรกจะกินกบาล”

ศัพท์แสงสำนวนโวหารหรูหราเหล่านี้ล้วนร้อยรัดอยู่กับแก่นแกนอุดมการณ์ โบราณเดียวกัน (“โบราณ” แต่ก็เป็นการผสมผสานอย่างไม่สถิตของ “มรดก-ซากเดน-เพิ่งสร้าง-ประดิษฐ์ใหม่-กลายพันธุ์”) อุดมการณ์ศักดินาที่ทรงฤทธิ์นี้อ้างอิงปนบิดผันอุดมการณ์พุทธปนพราหมณ์ว่า ด้วยการแบ่งแยกลำดับชั้นตามชาติกำเนิด สิทธิธรรมและบุญญาบารมี ด้วยลักษณะสังคมแบบ “ยศช้างขุนนางพระ” และ “นายว่าขี้ข้าพลอย” ภาษาไทยจึงมีคำ “ด่า-แดกดัน” เกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ลำดับชั้นมากมายหลายเฉดให้เลือกใช้ตามแต่อกุศลจิต ภาษา “คุณไสย” จำพวกนี้มีหน้าที่ตำหนิติเตียน ผรุสวาท เหยียดหยาม เยาะหยัน ข่มขู่ และสาปแช่งการ “ละเมิด” หลักการและคุณค่าว่าด้วยความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสถานภาพบุคคลที่ฝ่ายต่ำ ศักดิ์กว่า (คนสามัญ ไพร่ ฆราวาส) กระทำต่อฝ่ายสูงศักดิ์กว่า (คนชั้นสูง เจ้านาย พระสงฆ์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์)

ภายใต้ระเบียบสังคมแนวดิ่ง เมื่อใดที่คนสถานะต่ำไม่ประพฤติตนทั้งกาย วาจา ใจตามกติกาที่บังคับให้นอบน้อมสวามิภักดิ์ต่อคนสถานะสูง สังคมไทยถือว่าเป็นการแหกจารีตแบบแผนที่อัปมงคลและชั่วช้าสามานย์อย่างยิ่ง จำต้องประณาม ประจาน ประชด และกดปราบพฤติกรรมที่สั่นคลอนโครงสร้างอำนาจและอุดมการณ์ “คนต้องไม่เท่ากัน” แบบไทยให้สิ้นพิษสง ในโลกทัศน์และขอบฟ้าจินตนาการของคนรุ่นเก่าหัวโบราณ คนรุ่นใหม่ที่คร่ำครึกว่าคนหัวก้าวหน้าเมื่อร้อยกว่าปีก่อน หรือกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่ของคนทั่วไปที่นิยมเจ้า “เจ้า” แม้จะเชื่อได้ยากแล้วว่าเป็นอวตารของเทพแขก แต่ก็ยังเชื่อได้ง่ายว่าเป็นผู้สั่งสมบุญญาบารมีมามากและไม่มีทางจะเป็นคน ธรรมดาได้ดังความเชื่อที่แพร่หลายว่า “พระมหากษัตริย์ อย่างไรก็อยู่สูงกว่าคนทั่วไป”

นอกจากข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดหลักแห่ง hierarchy แล้ว การปิดปากการวิจารณ์และสกัดกั้นการปฏิบัติต่อเจ้าในฐานะบุคคลแบบเดียวกับ สามัญชนอีกแบบที่ร้ายกาจยิ่งกว่าคือการอ้างว่าเป็นเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจ เหล่าผู้รักและศรัทธา ซึ่งเป็นวิธีให้เหตุผลชนิดเดียวกันของเหล่าศาสนิกชนหัวรุนแรงที่ไม่อาจทนให้ ศาสนาและศาสดาของตนถูกแตะต้องได้ ยิ่งใช้ข้ออ้างนี้เป็นรากฐานมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ “Head of State” กลายเป็น “God, Prophet, Spiritual Leader” มากขึ้นเท่านั้น ขันติธรรมซึ่งเป็นคุณค่าสำคัญในสังคมประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏในสังคม ที่ปราศจากขันติต่อการแตะต้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แตะต้องไม่ได้

ขัดกับคุณค่า “มนุษยนิยม” ของนานาอารยะชน, ลักษณะกึ่ง “เทวสถานะ” ดังที่เป็นอยู่จริงเห็นประจักษ์ชัดแจ้งได้จากความเชื่อเกี่ยวกับคุณงามความ ดีอันบริสุทธิ์ไร้ข้อด่างพร้อย (ซึ่งลดหลั่นกันไปไม่เท่ากัน และซึ่งสะท้อนว่าไม่ใช่ “เทวนิยม” แบบโบราณที่สามารถใช้พระเดชโดยไม่จำเป็นต้องใช้พระคุณ) พิธีกรรมทั้งแบบรัฐพิธีและลัทธิพิธี แบบแผนอากัปกิริยา กฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมู่ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร กิจกรรมเทิดไท้ ประเพณียอพระเกียรติ และธรรมเนียมคำราชาศัพท์

ราชาศัพท์: ศัพท์ศักดินาแห่งลัทธิเทวราชา

“ความสำคัญของราชาศัพท์
1. ราชาศัพท์เป็นระเบียบการใช้คำพูดของไทยให้สุภาพตามชั้นของบุคคล
2. ราชาศัพท์บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมอันดีของชาติไทย
3. การเรียนรู้ราชาศัพท์ถึงขั้นสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ บ่งบอกถึงระดับการศึกษาของผู้ใช้
4. การพูดราชาศัพท์ได้ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากแสดงถึงการรักชาติแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ไทยอีกด้วย”
คติความเชื่อทั่วไปเกี่ยวกับราชาศัพท์


“การใช้ “ราชาศัพท์” นี้ ไม่ใช่ใช้เมื่อกราบบังคมทูลหรือกราบทูลเฉพาะพระองค์ท่านเท่านั้น แม้จะเป็นการกล่าวถึงหรือกล่าวลับหลังก็ต้องใช้ราชาศัพท์ อย่าคิดว่าเป็นการพูดกันเองหรือประสงค์จะพูดเร็ว จึงใช้คำธรรมดาแทนใช้ราชาศัพท์ ซึ่งจะเป็นการไม่ถวายความเคารพไป”
จำนงค์ ทองประเสริฐ, 2528

“ความจริงราชาศัพท์เป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ก็เป็นของที่ยังตัดไม่ขาดในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์...ในที่นี้ก็จะ ต้องขอวางหลักไว้ว่า ราชาศัพท์นั้นถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงเสียดีกว่า พึงใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้นเอง”
คึกฤทธิ์ ปราโมช, 2495

วันเวลาสมัยประถมเป็นอดีตอันแสนสุขที่ข้าพเจ้าหวนหาอาลัยอยู่เสมอ นอกจากต้องเรียนคัดลายมือด้วยดินสอบ้างปากกาหมึกซึมบ้างเพื่อเอาดีในวิชาชีพ เสมียน, ฝึกทักษะเย็บปักถักร้อยเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน และหัดคลานเข่าไปหาคุณครูตามประเพณีศักดินาในโรงเรียนแล้ว ข้าพเจ้ายังได้สนุกสนานเพลิดเพลินกับการท่องจำคำราชาศัพท์เพื่อการสอบเลื่อน ชั้นแต่ไม่เลื่อนสถานะอีกด้วย

ในบรรดาหมวดหมู่วิชาภาษาไทยทั้งหมด ข้าพเจ้าชอบหมวดคำราชาศัพท์ที่สุด เพราะเต็มไปด้วยภาษาแปลกใหม่ที่ข้าพเจ้าไม่เคยพบไม่เคยเห็นและไม่เคยใช้ใน ชีวิตมาก่อน อย่างไรก็ดีคำศัพท์เกี่ยวกับอากัปกิริยาพื้นๆ อย่างเสด็จ เสวย ตรัส ทูล จำพวกนั้นไม่มีอะไรดึงดูดใจนัก อาณาจักรที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดกลับคือหมวดอวัยวะ ศัพท์แสงอันวิจิตรพิสดารและยากแก่การจดจำทำให้สมัยนั้นข้าพเจ้าเชื่อว่าผู้ เป็น “เจ้า” จะต้องมีอวัยวะชนิดวิเศษผิดแผกแตกต่างจากคนธรรมดาเป็นแน่แท้ หู ตา คอ จมูก ตับ ไต ไส้ ปอด ไหปลาร้า รักแร้ ไม่มีทางจะเป็นอวัยวะชนิดเดียวกันกับพระกรรณ พระเนตร พระศอ พระนาสิก พระยกนะ พระวักกะ พระอันตะ พระปัปผาสะ พระรากขวัญ พระกัจฉะเป็นอันขาด ตับก็คือตับ, just ตับ, แต่พระยกนะคือตับศักดิ์สิทธิ์ เมื่อชันสูตรในเชิงเทวชีววิทยา “ตับ” จึงเป็นอวัยวะชนิดเดียวกันกับ “liver” แต่คนละชนิดกับ “พระยกนะ”

เหมือนบทสวดมนต์ที่เราถูกสอนให้ท่องจำอย่างไม่ประสีประสา เป็นเวลานานกว่าที่ข้าพเจ้าจะเข้าใจสำนวนที่ได้ยินบ่อยในโทรทัศน์จนไม่เคย เฉลียวใจว่ามันจะใช้การอุปมาอุปไมยที่น่าตื่นตะลึงอย่างเหลือเชื่อ ตัวอย่างเช่นวลี “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม” นั้นเมื่อถอดรหัสก็จะได้ความว่า “ขอให้อำนาจบารมีละอองฝุ่นใต้ฝ่าเท้า (ของผู้ที่พูดด้วย) ปกป้องคุ้มครองหัวและกระหม่อม (ของผู้พูด)” ด้วยสมรรถภาพอันจำกัดของมนุษย์ ถึงจะเข้าใจโครงสร้างประโยคแล้วแต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะนึกภาพตามได้ง่ายๆ เลย ข้าพเจ้าคิดว่าการใช้เทคนิคทางด้าน graphic หรือ animation น่าจะช่วยได้เยอะทีเดียว

ต่อเรื่องการพูดกับอวัยวะ ไม่ใช่การพูดระหว่างคนกับคนด้วยกัน คึกฤทธิ์, รอยัลลิสต์คนสำคัญในอดีตผู้ทำให้รอยัลลิสต์รุ่นใหม่ทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญ สมัยนี้ดูจะเป็นเผ่าพันธุ์ที่เชาว์ปัญญาและไหวพริบปฏิภาณถูกทำลายจนเสียหาย ไปมาก, เปรียบเปรยได้กระจ่างแจ้งแก่กระหม่อมดียิ่งว่า “ธรรมดาคนเราเมื่ออยู่ใกล้อะไรก็ต้องติดต่อกับสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด ฉะนั้นเมื่อเราอยู่ใต้เท้าของท่าน เราจะไปพูดกับอวัยวะส่วนอื่นของท่านที่อยู่สูงขึ้นไปกว่าฝ่าเท้าได้หรือ? เราก็ได้แต่พูดกับ “ใต้เท้า” ของท่านที่กดตัวเราไว้นั่นเอง” แต่เนื่องจากการไขข้อข้องใจนี้เป็นการตอบผู้อ่านที่ถามเรื่องคำสรรพนาม “ใต้เท้า” มิใช่ “ฝ่าบาท” หรือ “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” คึกฤทธิ์จึงเหน็บ (ใครก็ไม่รู้) ต่อไปราวกับไม่ได้ฉุกใจไปถึงราชาศัพท์ว่า “แต่บังเอิญหนังเท้าของคนนั้น ธรรมชาติมิได้สร้างมาให้มีโสตประสาท คือมิได้สร้างมาให้ใช้ฟังเสียง เราจะพูดกับ “ใต้เท้า” ของท่านสักเท่าไรท่านจึงไม่ค่อยได้ยิน เพราะเท้ากับหูมันไกลกันนัก...”

จะส่งสารไปถึงใครก็ช่างคุณชาย แต่คนชั้นผู้น้อยอย่างเราก็เก็บเกร็ดความรู้มาประดับตัวว่า เมื่อต้องวิสาสะกับคนชั้นสูงหรือคนมีอำนาจบารมี คนสามัญชั้นต่ำต้องพูดกับฝ่าเท้าบ้าง ฝุ่นใต้ฝ่าเท้าบ้าง ไม่สามารถจะอาจเอื้อมเผยอตัวไปพูดกับตัว หัว หรือใบหน้าของคนที่มีสถานภาพสูงกว่าแบบเสมอกันหรือแม้แต่ใกล้กันได้

แน่นอนว่าหลักเกณฑ์ในการใช้ราชาศัพท์ยังมีความสลับซับซ้อนต่อไปอีกมากเฉก เช่นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ทำหน้าที่เสกสรรปั้นแต่งความมหัศจรรย์มลัง เมลืองแก่เทพยดา ตามอรรถาธิบายอย่างเป็นทางการ ราชาศัพท์หมายถึง “ระเบียบการใช้คำพูดของไทยให้สุภาพตามชั้นของบุคคล” โดยหลักเกณฑ์ในการใช้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่พูดด้วยเป็นสำคัญ อันสรุปได้ว่า ราชาศัพท์ใช้กับบุคคลที่มีฐานันดร-อิสริยยศสูงกว่าผู้พูด คำราชาศัพท์มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะศัพท์ที่ใช้กับราชาเท่านั้น แต่หมายถึงแบบแผนการใช้ภาษาสุภาพระดับต่างๆ ตามระดับชั้นของบุคคล แต่ถึงกระนั้น เมื่อพูดถึงราชาศัพท์ ก็เป็นที่เข้าใจทั่วกันว่าหมายเฉพาะถึงศัพท์ที่ใช้กับเจ้า

ราชาศัพท์ปรากฏดกดื่นที่สุดในบทกวีเทิดพระเกียรติ, ข่าวในราชสำนัก, การบรรยายพระราชพิธี, ภาษาราชการ,​ ข้อเขียนทั่วไป-วิชาการ, ถ้อยคำแสดงความจงรักภักดีผ่านมัลติมีเดีย ฯลฯ

ตำราทั่วไปอธิบายที่มาของคำราชาศัพท์ว่ามีขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติบุคคล ในสถาบันกษัตริย์ให้สูงกว่าคนทั่วไป ตำรามักอ้างอย่างสบายอกสบายใจว่าภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นภาษาในคัมภีร์ศาสนา จึงเป็นภาษาสูงส่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองที่จะหยิบยืมมาใช้เป็นราชาศัพท์ แต่ตำรามักอึดอัดคับข้องในการอธิบายว่าทำไมราชาศัพท์ไทยจึงใช้ภาษาเขมร และหลบหลีกเฉไฉให้คำอธิบายที่ไม่ได้อธิบายอะไรเลยทำนองว่า “เป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวไทยในฐานะทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน”

มรดกทางศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมไทยโดยเฉพาะในราชสำนักเต็มไปด้วยร่องรอย ที่มาจากวัฒนธรรมเขมร (ซึ่งรับวัฒนธรรมอินเดียอย่างพราหมณ์-ฮินดู พุทธมหายาน คติเทวราช-สมมติเทพ) ไม่ว่าจะตัวอักษร ตัวเลข คำศัพท์ ระบบความเชื่อ ประเพณีพิธีกรรม เครื่องนุ่งห่ม ดนตรี นาฏศิลป์ แต่วัฒธรรมไทยในยุคหลังและร่วมสมัยก็ส่งอิทธิพลต่อประเทศกัมพูชาหลายด้าน ด้วยเช่นกัน การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมกันไปมาตามเงื่อนไขทางสังคมการเมืองของแต่ละยุค สมัยจึงไม่ใช่เรื่องแปลก เรื่องที่โคตรแปลกกลับคือการรับแล้วไม่ยอมรับว่ารับ แถมกลับยักยอกเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองคนเดียว

นอกจากคำบาลี-สันสกฤตแล้ว ศัพท์จำนวนมากที่ประกอบกันขึ้นเป็น “ราชาศัพท์” คือ คำเขมรหรือขอม ผู้สันทัดกรณีให้ทัศนะว่า กษัตริย์และชนชั้นสูงในราชสำนักในรัฐทวาราวดี-ละโว้-อโยธยาก่อนสมัยอยุธยา ใช้ภาษาขอมหรือเขมรเป็นภาษาราชสำนัก ในขณะที่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินหลากหลายเผ่าพันธุ์อาจพูดไทย ลาว มอญ เขมร ชวา มลายู ฯลฯ ภาษาเขมรจึงถือเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนักและในวรรณคดีพิธีกรรมนับแต่ บัดนั้น ครั้นเมื่อกลุ่มชนชั้นนำใหม่ซึ่งพูดภาษาไทยในสมัยอยุธยาเข้ามามีอำนาจและ อิทธิพลแทนที่ชนชั้นนำเก่าที่พูดเขมร ภาษาไทยก็กลายเป็นภาษากลางในการสื่อสารทั่วไปทั้งในและนอกราชสำนัก โดยที่ภาษาเขมรที่เคยใช้ในราชสำนักก็มิได้ถูกยกเลิกไป แต่กลับถูกยกเทิดเป็น “ราชาศัพท์” หรือภาษาพิเศษสำหรับใช้กับพระราชาและเหล่าเจ้านายชั้นสูง ต่อมาบรรดาปราชญ์ราชสำนักสมัยหลังก็พัฒนาศัพท์แสงและกฎเกณฑ์เกี่ยวกับราชา ศัพท์ให้ทวีความซับซ้อนขึ้น เป็นกลอุบายสร้างภาษา “เทพ” เพื่อเนรมิตความขรึมขลังมหัศจรรย์น่ายำเกรงให้ท่วมท้นล้นพ้น และเพื่อที่พวกไพร่ทาสจะได้ประหวั่นพรั่นพรึงไปตลอดกาล

(ข้อโต้แย้งเรื่องเขมร กับขอม อาจยังไม่ยุติ แต่ในชั้นนี้คือการยืนยันข้อเท็จจริงพื้นฐานเพียงว่า “คำราชาศัพท์ไม่ใช่ภาษาไทย” - คำไทยซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาคำโดดคือ “กู-มึง” ไม่ใช่ “กระหม่อม-ฝ่าบาท” เมื่อรับคติวัฒนธรรมศาสนาจากภายนอกเพื่อเทิดทูนสถานะชนชั้นปกครองให้ทะลุถึง ยอดเขาพระสุเมรุ-สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คำพื้นเมืองแต่เดิมจึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป)

ภาษาเขมรซึ่งเป็นภาษาพูดของกษัตริย์และชนชั้นสูงในราชสำนักก่อนสมัย อยุธยา กลายมาเป็นภาษาที่กษัตริย์และชนชั้นสูงในราชสำนักสมัยต่อมาไม่ได้พูดในชีวิต ประจำวัน แต่กลับเป็นภาษาที่คนธรรมดาต้องฝึกฝนศึกษาวิธีใช้เมื่อจะพูด/เขียนถึงเจ้า

พูดอย่างไพร่ๆ แล้ว เนื่องจากเจ้ากับไพร่ไม่ใช่คนเหมือนกัน เจ้าจะพูดกับไพร่ด้วยภาษาปกติธรรมดา (“สบายดีไหม?”) แต่ไพร่ต้องพูดกับเจ้าโดยเฉพาะกษัตริย์และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ด้วยภาษาพิเศษ อันวิจิตรพิสดาร (“ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้ามีความสุขสบายดีพระพุทธเจ้าข้าขอรับ”) ส่วนการเรียนรู้วิธีที่จะ “เพ็ดทูล” แบบชาววังที่คนนอกวังไม่มีทางสำเหนียก ก็ย่อมจำกัดอยู่ในแวดวงราชสำนักอยู่นั่นเอง

นอกจากนี้เจ้าอาจใช้ราชาศัพท์ไม่คล่อง หรือรู้อย่างจำกัด เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ และดังนั้นจึงอาจฟังไม่เข้าใจ หากพวก “เกินกว่าเจ้า” ระริกระรี้ใช้ราชาศัพท์อย่างวิจิตรพิสดารด้วย

จะว่าไป, กฎพื้นฐานที่ใครก็อาจสังเกตได้ก็คือ ภาษาศักดิ์สิทธิ์มักต้องเป็นภาษาต่างด้าว ไม่ใช่ภาษาพื้นเมืองที่คนพื้นเมืองผู้อยู่ใต้การปกครองใช้กันทั่วไป เพื่อจำกัดผู้รู้ จำกัดผู้ใช้ จำกัดการเข้าถึง เพื่อเสกสร้างความวิเศษสูงส่งอันผิดแผกจากธรรมดา ความศักดิ์สิทธิ์ต้องลี้ลับและแยกขาดออกจากความสาธารณ์

อาจเรียบเรียงเรื่องราวให้รวบรัดอีกลีลาได้ว่า ในอดีต ภาษาเขมรที่ต่อมาเรียกว่า “ราชาศัพท์” เคยเป็นภาษาพูดปกติของเจ้า แต่ในปัจจุบัน “ราชาศัพท์” กลายเป็นภาษาที่เจ้าไม่ได้พูด แต่พวกไม่ใช่เจ้าต้องใช้พูดกับเจ้า อนึ่ง เจ้าต่ำศักดิ์กว่าต้องใช้ราชาศัพท์กับเจ้าสูงศักดิ์กว่าด้วยศัพท์แสงตาม ระดับของฐานันดรที่บัญญัติไว้เช่นกัน--แต่เราจะละไว้ ไม่กล่าวถึงกรณีเจ้าต่างชั้นหรือเจ้าเสมอกันเหล่านี้อีก

น่าคิดน่าขันพอประมาณที่ในอดีต “คำเขมร” เคยเป็นภาษาพูดแบบ native speaking ของกษัตริย์และชนชั้นนำในราชสำนัก แต่นับจากสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ กระทั่งทุกวันนี้ “คำเขมร-บาลี-สันสกฤต” กลายเป็น “ศัพท์เฉพาะ” ที่พวก “อเจ้า” ต้องใช้กับ “เจ้า”

โดยที่ “อ” เป็นสัญญะแบบ paradox ที่หมายถึง “ไม่ใช่” และ “เอา” ในเวลาเดียวกัน “อเจ้า” (ไม่ใช่เจ้า + เอาเจ้า) หมายถึงบุคคลผู้ไม่ใช่เจ้าแต่ทว่ามีอัตลักษณ์ยึดโยงกับระบอบเจ้าอย่าง แรงกล้า หากถูกสั่นคลอนหรือถูกพรากจากการโอบรัดนี้ก็จะรู้สึกสูญเสียอัตลักษณ์ความ เป็นคนไทยและอาจกระทั่งความเป็นคน “อเจ้า” คือผู้ที่ไม่สามารถมีความเป็น “ปัจเจกชน” ได้โดยปราศจากสถาบันอันเป็นศูนย์รวมจิตใจอันยิ่งใหญ่ ความเป็นตัวตนของ “อเจ้า” จึงเกาะเกี่ยวอย่างแน่นแฟ้นอยู่กับ “เจ้า” ซึ่งเป็นขั้วตรงข้ามหรือสิ่งที่เขามิได้เป็น กล่าวอีกนัยหนึ่ง การดำรงอยู่ของ “เจ้า” เป็นสิ่งนิยามตัวตนของ “อเจ้า” และการที่ความเป็น “เจ้า” ดำรงอยู่ได้ก็เพราะการดำรงอยู่ของพวก “อเจ้า” นั่นเอง

ในครรลองคล้ายกับความเป็น “fundamentalism” ที่บูชาลัทธิศาสนาและศาสดาด้วยท่าทียึดมั่นต่อคุณลักษณะอันล่วงละเมิดมิได้ และต่อต้านความเป็นสมัยใหม่อย่างสุดขั้ว (สโลแกนล่าสุด: “คนที่ไม่จงรักภักดี ต้องตายก่อนเวลาที่กำหนดไว้” “ล้าหลัง คลั่งเจ้า ดีกว่า ก้าวหน้า เนรคุณ”/ คติธรรมประจำยุคสมัย: ฆ่าคนที่ไม่จงรักภักดีไม่บาป ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ใช่อาชญากรรม) ราชาศัพท์คือพิธีกรรมแห่งถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์แห่งลัทธินิยมเจ้า ด้วยจุดมุ่งหมายอันชัดแจ้งจนแทบไม่ต้องขยายความ ชนชั้นปกครองและบริวารบังคับใช้ราชาศัพท์เพื่อ “ถ่าง-ตรึง” ลำดับชั้น และ “แยก-ยก” หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ออกจากชนชั้นใต้ปกครอง

ดังที่ชาวพุทธทราบกันดีว่า “พระพุทธเจ้าเสด็จไปตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา แต่เมื่อพระองค์ไม่ทรงพบทางพ้นทุกข์ จึงทรงหันมาบำรุงพระวรกายตามปกติ และในที่สุดพระองค์ก็ทรงตรัสรู้ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา” ขนบราชาศัพท์นี้ลุกลามไปถึงวงการพุทธศาสนาด้วย พระพุทธเจ้าออกผนวช ละทางโลกย์ ขบถต่อระบบวรรณะฮินดู ทิ้งฐานันดรศักดิ์ของ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ในระบอบกษัตริย์แล้ว แต่พุทธแบบไทยกระแสหลักยังพอกหนาด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานและความพะรุงพะรังของ พัดยศ-สมณศักดิ์-ฐานานุกรม-ราชทินนาม จนดูจะถวิลหาความเป็น “เจ้าชาย” มากกว่าความเป็น “นักบวช” ของ Buddha เสียอีก ยิ่งตรึกตรองก็ยิ่งตลก ทั้งพุทธเจ้าขุนมูลนายและพุทธพาณิชย์ต่างพากันเข้าหาพุทธศาสนาด้วยสำนึก เสน่หาอย่างลึกซึ้งในคุณสมบัติของความเป็น “เจ้า” ในระบอบกษัตริย์ ตั้งแต่ฐานันดร ทรัพย์สฤงคาร พิธีกรรม ไปจนถึงเดชานุภาพ

จารีตราชาศัพท์จึงเป็นเครื่องค้ำพุทธกระแสหลักแบบไทยที่รับใช้ราชสำนัก แต่เป็นเครื่องขวางการบรรลุธรรมอันเนื่องมาจากภาษาที่เต็มไปด้วยการยึดติดใน มายาและมิจฉาทิฐิแห่งลัทธิเทวราช คิดแบบเซนแล้ว คงต้องปัดกวาดผงฝุ่นราชาศัพท์ออกจากกระจกเงาแห่งภาษาธรรมและภาษาพรรณนาตถาคต ให้หมดสิ้น หนทางแห่งการบรรลุ “พุทธะ” จึงจะปรากฏ ตราบใดที่เหล่าพระเถระซึ่งไม่เพียงเสพติดลาภยศสรรเสริญและอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์หนักกว่าฆราวาส ซ้ำร้ายยังหล่อเลี้ยงตัวตนด้วยญาณวิทยาและจิตใจอันคับแคบ พวกเขาก็จะตกเป็นทาสวัฒนธรรมศักดินา-ชาตินิยมไทยภายใต้ผ้าเหลืองแห่งความ หลอกลวงตลอดไป

“ถ้าคนไม่นิยมจะรับคำยกยอนั้นมากขึ้น คำราชาศัพท์ก็คงละลายลบหมดไปเอง”

ในช่วงปี 2484 กรมดำรงฯ ณ “บ้านซินนามอน ปีนัง” และเจ้าฟ้านริศฯ ณ “ตำหนักปลายเนิน คลองเตย” เขียนจดหมายโต้ตอบกันเรื่อง “ราชาศัพท์” ตามความที่คัดมาดังนี้

“เห็นในหนังสือพิมพ์บางกอกไตม์วันที่ 19 กันยายน ลือว่าจะเลิกใช้ราชาศัพท์ หม่อมฉันนึกขึ้นถึงวินิจฉัยมูลของราชาศัพท์ ซึ่งได้เคยคิดมาแต่ก่อน จึงเอามาทูลบรรเลงในจดหมายฉบับนี้ ที่เรียกว่า “ราชาศัพท์” หมายความว่า “คำพูดของเจ้า” หรือ “คำพูดแก่เจ้า” มิใช่แต่เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น แต่ประหลาดอยู่ที่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะ -

ก. เจ้าพูดก็ไม่ใช่ราชาศัพท์สำหรับพระองค์เอง เช่นจะว่า “ฉันเสวย” “ฉันบรรทม” หรือ “พระขนงของฉัน” หรือ “พระเขนยของฉัน” หามีไม่ ย่อมใช้ศัพท์ภาษาไทยที่พูดกันเป็นสามัญว่า “ฉันกิน ฉันนอน คิ้วของฉัน และหมอนของฉัน” แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ตรัสเช่นนั้น

ข. คำราชาศัพท์ที่เป็นภาษาเขมรเช่น “ขนง เขนย” พวกเขมรแม้มาพูดในเมืองไทยเขาก็ใช้สำหรับคนสามัญ ไม่ได้เรียกว่า ขนง เขนย คิ้ว และหมอนของเจ้า

เค้ามูลดูเป็น 2 ภาษาต่างกัน คือ ภาษาไทยภาษา 1 ภาษาราชาศัพท์อันเป็นคำเอามาจากภาษาเขมรกับภาษามคธและสันสกฤตโดยมากภาษา 1 ลักษณะที่ไทยใช้ราชาศัพท์ก็เป็นคำผู้ที่มิใช่ใช้เรียกกิริยาหรือวัตถุอัน เป็นของเจ้า หรือว่าโดยย่อ ราชาศัพท์ดูเป็นคำผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ หรือถ้าว่าอีกอย่าง 1 ดูเป็นเอาภาษาของคนจำพวกอื่นที่ใช้สำหรับไทยที่มาเป็นเจ้านายผู้ปกครองของตน มีเค้าจะสังเกตในคำจารึกและหนังสือเก่า เห็นได้ว่าคำราชาศัพท์ใช้ในกรุงศรีอยุธยาดกกว่าที่อื่น ยิ่งเหนือขึ้นไปยิ่งใช้น้อยลงเป็นลำดับ...

...เมื่อแรกตั้งราชาศัพท์ ภาษาที่ใช้กันในพระนครศรีอยุธยายังสำส่อน เลือกเอาศัพท์ที่เข้าใจกันมากมาใช้ และราชาศัพท์ในครั้งแรกจะไม่มีมากมายนัก ต่อมาภายหลังจึงคิดเพิ่มเติมขึ้น ด้วยเกิดคิดเห็นว่าของเจ้าควรจะผิดกับของไพร่ให้หมด ใช่แต่เท่านั้นยังคิดใช้ราชาศัพท์ผิดกันในเจ้าต่างชั้น เช่น คำว่าตาย ใช้ศัพท์ต่างกันตามยศเป็นหลายอย่าง และคิดคำอย่างราชาศัพท์สำหรับผู้มียศแต่มิใช่เจ้าขึ้นอีก...ถ้ารวมความก็ ประสงค์จะแสดงว่าสูงศักดิ์ผิดกับผู้อื่นเท่านั้น...

...ราชาศัพท์นั้น ว่าที่จริงก็มีในภาษามนุษย์ทุกประเทศ เช่นคำว่า His Majesty, His Excellency ก็ราชาศัพท์นั่นเอง แต่ของไทยเราเลอะมาก โดยเฉพาะเมื่อมีผู้คิดตำราขึ้น และพูดเพื่อจะยกยอให้วิเศษไพเราะยิ่งขึ้นไป จึงเลยเลอะ แต่หม่อมฉันเห็นเป็นใหญ่อยู่ที่ความนิยม ถ้าคนไม่นิยมจะรับคำยกยอนั้นมากขึ้น คำราชาศัพท์ก็คงละลายลบหมดไปเอง เพราะใช้ราชาศัพท์นั้นผู้พูดต้องท่องจำและเลือกคำพูดลำบากมิใช่น้อย”

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, วันที่ 29 กันยายน และ 20 ตุลาคม 2484

“...จะเห็นได้ที่คำ “ข้าพระพุทธเจ้า” แต่ก่อนนี้ไม่มีใครเขาใช้แก่เราเลย ทำให้คิดเห็นได้ว่าคำทั้งปวงนั้นค่อยมีค่อยมาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น แล้วจึงเก็บทำขึ้นเป็นตำราราชาศัพท์ แต่ก็เก็บไม่หมด ทั้งคำที่เกิดขึ้นทีหลังก็ไม่ได้อยู่ในตำราราชาศัพท์ และตำราราชาศัพท์ก็ไม่ได้ประสงค์จะทำคำของเจ้าใช้อย่างที่เราเข้าใจกันอยู่ เดี๋ยวนี้ เป็นประสงค์เพียงแต่จะพูดกับเจ้าให้เพราะพริ้งเท่านั้น ...แม้หาคำในตำราราชาศัพท์ไม่ได้ก็ผูกขึ้น เช่น “หลอดพระวาตะ” ฝ่าพระบาทเข้าพระทัยหรือไม่ว่าเป็นอะไร หมายความว่าท่อหายใจ แปลเทียบมาจากคำที่เรียกกันตามสามัญว่า “หลอดลม” แต่เชือนไปเป็นลำไส้ เพราะ “วาตะ” คำเจ้าว่า “ ตด”
สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์, วันที่ 14 ตุลาคม 2484

พินิจแบบไม่สนเจ้าสนไพร่แล้ว ในยุคก่อนการโหมโฆษณาชวนเชื่อสถาบันกษัตริย์ “เจ้า” อย่างสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์นั้น (ในห้วงขณะที่ฝ่ายเจ้าถูกลิดรอนอำนาจและควบคุมกิจกรรมหลังการปฏิวัติ 2475) ดูจะมีความเป็น “รอยัลลิสต์” น้อยกว่าบรรดาพวก “อเจ้า” ที่ “เป็นเจ้ายิ่งกว่าเจ้า” ในยุคนี้อย่างไม่ติดผงธุลี

ในความเห็นของ “เจ้า” อย่างกรมดำรงฯ ราชาศัพท์ที่ “เป็นคำผู้เป็นบริวารชนใช้สำหรับผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่” เพื่อ “ยกยอให้วิเศษไพเราะยิ่งขึ้นไป” นั้น เป็นความ “เลอะมาก” (ของพวกสอพลอเจ้า) การดำรงอยู่ของราชาศัพท์ขึ้นอยู่กับความ “นิยม” หากใช้มากก็สร้างความ “ลำบาก” ให้ผู้พูด หากไม่นิยมใช้ ราชาศัพท์ก็ “ละลายลบหมดไปเอง”

เจ้าฟ้านริศฯ ช่วยยกตัวอย่างยั่วล้อให้รู้เช่นเห็นชาติพวก “ประจบเจ้า” ว่า “แม้หาคำในตำราราชาศัพท์ไม่ได้ก็ผูกขึ้น เช่น “หลอดพระวาตะ” ฝ่าพระบาทเข้าพระทัยหรือไม่ว่าเป็นอะไร หมายความว่าท่อหายใจ”!

ส่วนคึกฤทธิ์ผู้เป็นราชนิกุลเสนอแนวทางก่อนปี 2500 ไว้ว่า “ราชาศัพท์นั้นถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงเสียดีกว่า พึงใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้นเอง”

ในขณะที่พวก “อเจ้า” อย่างเหล่าราชบัณฑิตกลับออกมาสั่งสอนประชาชนถึงขนาดว่า “การกล่าวถึงหรือกล่าวลับหลังก็ต้องใช้ราชาศัพท์” ด้วยอุดมการณ์เดียวกัน คตินิยมเจ้าร่วมสมัยก็ประดิษฐ์ระบบคุณค่าขึ้นว่าการใช้ราชาศัพท์ “บ่งบอกถึงระดับการศึกษาของผู้ใช้” และแสดงถึง “เอกลักษณ์-วัฒนธรรม” “ความรักชาติ” และ “ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ไทย”

คงไม่ผิดหากจะชมเชยว่า อาการ “ultra-royalism” ของสังคมไทยเป็นผลงานอันงามหน้าน่าชื่นใจของพวก “อเจ้า” หรือที่กรมดำรงฯ เรียกว่า “บริวารชน” นั่นเอง

สำหรับข่าว “ลือว่าจะเลิกใช้ราชาศัพท์” ที่กรมดำรงฯ กล่าวถึงในจดหมายนั้น อ้างถึงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม หนึ่งเดือนก่อนหน้าฉบับนี้

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง
ให้ใช้คำว่า “วันเกิด” สำหรับบุคคลทุกคน

ด้วยบัดนี้ คำว่า “วันเกิด” ใช้กันอยู่หลายอย่าง คือ ใช้ “วันเกิด” บ้าง “วันชาตะ” บ้าง “วันประสูติ” หรือ “วันพระราชสมภพ” บ้าง ความจริงคำว่า “เกิด” ในที่นี้เป็นแต่เพียงใช้ประกอบกับคำ “วัน” ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องแปรผันตามราชาศัพท์ อนึ่งในภาษาต่างประเทศเช่นภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า Birthday สำหรับคนทุกชั้น แม้สำหรับพระมหากษัตริย์ก็ใช้ว่า King’s Birthday

ฉะนั้น แต่นี้ไปให้ใช้คำว่า “วันเกิด” สำหรับบุคคลทุกคนตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์ แต่เฉพาะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี ให้ใช้ว่า “วันเกิดในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ “วันเกิดในสมเด็จพระราชินี” สำหรับพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ ให้ใช้ว่า “วันเกิดใน...” เช่นเดียวกัน

ประกาศมา ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2484
(ลงนาม) พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

ในชั้นบรรยากาศแบบอาเศียรวาทสดุดีหรือในวัฒนธรรมประจบเจ้าร่วมสมัย คำสั่งของจอมพล ป. ว่า “...ไม่มีความจำเป็นอันใดที่จะต้องแปรผันตามราชาศัพท์...ภาษาอังกฤษก็ใช้คำ ว่า Birthday สำหรับคนทุกชั้น แม้สำหรับพระมหากษัตริย์ก็ใช้ว่า King’s Birthday...แต่เฉพาะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...ให้ใช้ว่า “วันเกิดในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”...” ดูแข็งกร้าวและเหี้ยมเกรียมจนอาจทำให้พสกนิกรที่ขวัญอ่อนบังเกิดอาการ โรคาพยาธิกำเริบเฉียบพลันจนต้องบริกรรมคาถา “เหิมเกริมหนอ ลบหลู่หนอ จาบจ้วงหนอ” แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในสภาพจิตปกติ การลิดรอนอิทธิฤทธิ์ฝ่ายเจ้าในเชิงสัญลักษณ์ (และอื่นๆ) โดยข้อใหญ่ใจความแล้วเป็นนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมเสมอภาคแบบสากลธรรมดาๆ ที่ไม่ได้มีอะไรโหดร้ายทารุณแม้แต่ละอองเกสรเมื่อเทียบกับประเพณีการปกครอง แบบ “อาญาไม่พ้นเกล้า” ในอดีตกาล

สองทศวรรษหลังการปฏิวัติ 2475 เป็นช่วงเวลาแห่งการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจและเจรจาต่อรองระหว่างฝ่ายคณะราษฎร และฝ่ายกษัตริย์นิยม มีทั้งการใส่ร้ายป้ายสีบุคคลสำคัญของฝ่ายคณะราษฎรและการลิดรอนอิทธิฤทธิ์และ อิทธิพลของฝ่ายกษัตริย์นิยม ด้วยการดึงอำนาจทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมมาสู่ความเป็นผู้นำเผด็จอำนา จฟาสซิสม์ของตนเอง แม้นโยบายรัฐนิยม-ชาตินิยมที่มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรม จรรยามารยาท และวิถีชีวิตคนไทยให้ทันสมัยเป็น “ไทยอารยะ” จะทิ้งคราบเขม่าลัทธิชาตินิยมและตำนานความอลหม่าน พิลึกพิลั่น ประดักประเดิก อันเปราะบางต่อการถูกชำแหละและหัวเราะขัน ทั้งโดนข้อหา “ตามก้นฝรั่ง” และ “คลั่งเชื้อชาติไทย” ในเวลาเดียวกัน (เช่น “มาลานำไทย”, ห้ามกินหมาก, ให้เลิกนุ่งโจงกระเบน เลิกเปลือยกายท่อนบน, ให้กล่าว “สวัสดี”, จงแต่งกายตามแบบสากล, ยืนตรงเคารพธงชาติ, เปลี่ยนอักขรวิธีภาษาไทยให้ง่ายขึ้น, เปลี่ยนชื่อเพลงไทยเดิม ฯลฯ) แต่จอมพล ป. เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพยายาม “ลดทอน” วัฒนธรรมเจ้าและสัญลักษณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ฝังรากลึกให้เสื่อมคลาย ลง และชักจูงให้คนไทยรู้จักคุณค่า “สากล” ตามมาตรฐานนานาอารยประเทศ

การลดความสำคัญและความซับซ้อนของราชาศัพท์ก็เป็นหนึ่งในนโยบายที่ส่ง เสริมความเสมอภาค (แต่ต้อง “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย” นะจ๊ะ) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนวัฒนธรรมการใช้สรรพนามจากเดิมที่ยึดโยงอย่างเข้มงวด กับสถานภาพบุคคลมาเป็น “ฉัน, ท่าน, เรา” แบบฝรั่ง การพยายาม “พลิก” แบบแผนความสัมพันธ์ที่ผูกมัดอย่างแน่นหนาอยู่กับความเหลื่อมล้ำต่ำสูงนี้ถือ เป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมในระดับมูลฐานเลยก็ว่าได้ ในขณะเดียวกันประเพณีพิธีกรรมในราชสำนักบางอย่างก็ถูกเพิกเฉยหรือยกเลิกจาก รัฐบาลในระบอบใหม่ และความเป็นรัฐชาติก็ได้รับการขับเน้นให้โดดเด่นเหนืออุดมการณ์และบารมีของ สถาบันกษัตริย์

แต่หลังจากจอมพล ป. ถูกรัฐประหารโค่นอำนาจจากกลุ่มรอยัลลิสต์ นโยบายสร้างชาติหลายอย่างก็ถูกยกเลิกไป พร้อมๆ กับการฟื้นคืนชีพเพื่อโลดแล่นและวิวัฒน์ในบรรยากาศใหม่ของวัฒนธรรมกษัตริย์ นิยมที่ถูกขันชะเนาะจนซบเซาไปชั่วคราว

ในวิถีโคจรเดียวกันกับการหมอบคลาน วัฒนธรรมราชาศัพท์ที่ฟื้นตัวจนแข็งแกร่งและอาจจะมีอาถรรพ์ยิ่งกว่าเดิมคือ แบบจำลองของสังคมไทยที่จวบจนวันที่แม่ค้ารถเข็นริมถนนนั่งเขี่ยแท็บเล็ต-อัพ สเตตัสเฟซบุ๊กเล่นยามว่างก็ยังคงละม้ายคล้ายจิตรกรรมฝาผนัง ด้วยเทคโนโลยีเคลือบฉาบอันวาววับ มันคือภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบดิจิตอลที่ตอกย้ำคติเดิมๆ ว่าด้วยการจำแนกช่วงชั้นของคนในสังคมตามจักรวาลวิทยาแบบพุทธ-ศักดินา อันประกอบไปด้วยเทวดาที่เหินหาวลอยล่องอยู่บนสรวงสวรรค์ เหล่าชนชั้นปกครองอันได้แก่ กษัตริย์ เครือญาติกษัตริย์ และขุนนางวางท่างามสง่าอยู่ถัดลงมาในเขตพระราชวังภายในกำแพงเมือง ส่วนราษฎรที่วุ่นวายอลเวงอยู่กับกิจกรรมอันหาความสง่างามมิได้อยู่ด้านล่าง สุดไม่ห่างไกลจากเหล่าสิงสาราสัตว์

มนต์สะกดแห่งวรรณศิลป์: hegemony without resistance?

หากไม่นับ “ทรง” และ “องค์” ซึ่งปรากฏเพียงครั้งสองครั้ง “ประกาศคณะราษฎร” มีการใช้ราชาศัพท์เพียงคำเดียวเท่านั้นคือ “พระเชษฐา” สปิริตแบบ 2475 และที่ควรจะไปไกลกว่านั้นมิใช่แค่เพียง “สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค รัฐธรรมนูญ” แต่รวมถึงการพยายามใช้ภาษาสามัญและลดทอนภาษาวิสามัญด้วย โครงการ “2475” และช่วงเวลาไม่ถึงสองทศวรรษหลังจากนั้น อาจถือเป็นความ “radical” อย่างเกินอภัยจากจุดยืนแบบ “เจ้าเป็นใหญ่” แต่ก็เป็นการ “compromise” อย่างน่าเสียดายยิ่งจากจุดยืนแบบ “ประชาชนเป็นใหญ่”

ดุจดั่งพระอาทิตย์ย่อมขึ้นทางทิศตะวันออก ฝ่ายอนุรักษนิยม-กษัตริย์นิยมซึ่งเถลิงอำนาจครอบงำวัฒนธรรมไทยฉบับราชการใน ช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาย่อมไม่พลาดโอกาสในการสรรเสริญเยินยอราชาศัพท์ว่า เป็นเครื่องบ่งชี้แบบแผนของอารยธรรมชั้นสูงที่ถึงพร้อมด้วยสุนทรียศาสตร์และ เอกลักษณ์ของภาษาไทยอันควรแก่การธำรงรักษาให้อยู่คู่ชาติไทยตลอดชั่วกาลปาว สาน หาใช่เครื่องมือทางอุดมการณ์การเมือง การแบ่งชนชั้นเพื่อจุดหมายในการปกครอง และการกดขี่ให้สยบยอมไม่

นอกจากขึ้นหิ้งเป็นภาษาราชการทั่วไปแล้วก็ได้เกิดความชินและความเชื่อใน หมู่นักอักษรศาสตร์หรือนักวิชาการเชื้อสาย “เจ้า” และ “อเจ้า” ว่า การรู้จักใช้คำราชาศัพท์อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นแบบอย่างทางวรรณศิลป์อันล้ำ เลิศเพริศแพร้วของการเขียนภาษาไทยร้อยแก้วและร้อยกรอง แม้แต่การแปลภาษาต่างประเทศเป็นไทยก็ต้องใช้ขนบภาษาเทวนิยมด้วยมาตรฐานเดียว กัน (แต่เวลาต่างประเทศเขียนถึงราชวงศ์ไทย เขาก็ใช้วัฒนธรรมภาษาที่ไร้เทวสถานะของเขาด้วยเช่นกัน สร้างความชอกช้ำแก่นักอักษรศาสตร์ไทยมิใช่น้อย)

“William greets fans ahead of wedding.” สำนักข่าว BBC

“เจ้าชายวิลเลียมทรงมีพระปฏิสันถารกับพสกนิกรที่มารอเข้าเฝ้าก่อนจะถึงพิธีอภิเษกสมรส” สำนักข่าวไทยในภาวะไข้สูง

“วิลเลียมทักทายเหล่าแฟนคลับก่อนพิธีแต่งงาน” สำนักข่าวไทยหลังหายไข้

ในทำนองเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม หากศาลพิพากษาไปตามอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่กำกับความคิดจิตใจ อุดมการณ์เดียวกันนี้ก็กำกับกิจกรรมการแปลด้วยเช่นกัน กระนั้นก็ตาม การทะลวงกรงขังแห่งภาษายากแค้นลำเค็ญกว่าวงการกฎหมาย-ตุลาการมากนัก

กระทั่งเราเองก็ “คุ้นชิน” มาช้านานจนอดจะซาบซึ้งอย่างหักห้ามใจมิได้ว่า คำราชาศัพท์เมื่อถูกประพรมด้วยทักษะอันเจนจัดในที่อันเหมาะอันควรนั้น เพิ่มสง่าราศี ความขรึมขลัง และความไพเราะสละสลวยให้กับข้อเขียน อีกทั้งเป็นสิ่งบ่งชี้ความเป็นผู้มีวัฒนธรรมการศึกษาอันเอกอุของผู้ประพันธ์ ด้วย

ในทางตรงกันข้าม การงดเว้นราชาศัพท์ในที่ที่พึงใช้ตามระบอบสุนทรียะทางภาษาที่ลงหลักปักฐานใน จิตใต้สำนึกย่อมส่งผลร้ายที่คาดเดาได้ ภาษาธรรมดาที่เข้ามาแทนที่มีแนวโน้มจะถูกวิจารณ์และพิพากษาในทันทีทันใด ไล่ตามระดับการระวางโทษจากเบาไปหนักได้ตั้งแต่ไม่สละสลวย ไม่สวยงาม ไม่ไพเราะ ไม่รื่นหู กระโดกกระเดก เฉิ่ม งุ่มง่าม ชาวบ้าน ไม่เป็นผู้ดี ไม่มีการศึกษา ไม่มีวัฒนธรรม ผิดไวยากรณ์ ผิดธรรมเนียมแบบแผนอันดี ก้าวร้าว เหิมเกริม บังอาจ เนรคุณ หมิ่นเบื้องสูง ไปจนถึงล้มเจ้า

(ยกเว้นชื่อเฉพาะหรือคอนเซ็ปท์ที่ยังไม่มี-หรือไม่สามารถมี-คำธรรมดาหรือ คำบัญญัติใหม่จะแทนที่ได้ การปฏิรูปภาษาจึงยังต้องคงคำสวยงามทั้งหลายไว้เป็นมรดกไปพลางๆ อาทิเช่น “พระราชอำนาจ” “ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา” “พยุหยาตราชลมารค” เป็นต้น หากอยู่ในสังคมที่ยึดมั่นคุณค่าเสรีประชาธิปไตย ชื่อเฉพาะและภาษาคอนเซ็ปท์ในระบอบกษัตริย์ที่มีอยู่มากมายเหล่านี้ก็ย่อม ดำรงอยู่ได้เป็นปกติธรรมดาไม่มีปัญหาแต่ประการใด ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับภาษาอาเศียรวาทสดุดีที่ไม่จำเป็นในสังคมสมัยใหม่ อย่าง “พระเนตร” “ฉลองพระองค์” “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท” “ประสูติ” “ตรัส” ฯลฯ)

หลุมพรางที่ล่อลวงได้อย่างร้ายกาจ เย้ายวน และยืนยาวที่สุดคือหลุมพรางที่สามารถ “มอบ” และ “ริบ” เกียรติภูมิของเราได้อย่างเบ็ดเสร็จประหนึ่งไม่เหลือทางเลือกอื่น ภาษาล้อมครอบความรู้สึกนึกคิดและตอกตรึงแบบแผนความสัมพันธ์ทางสังคม อำนาจในการควบคุมชี้นำที่แยบคายของภาษาทำให้ผู้ใช้ภาษายินยอมและยินดีที่จะ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมชี้นำนั้น วัฒนธรรมความเหลื่อมล้ำต่ำสูงในระดับจิตใต้สำนึกจะอยู่ดีมีพลังต่อไปได้ก็ ด้วยรหัสทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ว่าด้วย “อารยธรรมไทย” “ความงามในภาษาไทย” “เอกลักษณ์ของภาษาไทย” ฯลฯ
สภาวะนี้จะคืออันใดหากมิใช่ “the enchantment of feudal (language) splendor” - มนต์สะกดในความโอ่อ่าตระการตาของ (ภาษา) ศักดินา

ในบรรดาคำราชาศัพท์ทั้งมวล “ทรง” กับ “พระ” (รวมทั้ง “ทรงพระ”) เป็นคำที่น่าสนใจเป็นพิเศษ

“ทรง/พระ” ในฐานะ “magical prefix” ที่ “เปลี่ยน” (transform) คำธรรมดาหรือคำราษฎร์ให้กลายเป็นคำราชาศัพท์หรือคำหลวง เป็นคำที่ปราศจากความหมายในตัวเอง หน้าที่เพียงประการเดียวของ “ทรง/พระ” (เปลี่ยน “profane” (สาธารณ์) เป็น “sacred” (ศักดิ์สิทธิ์) เช่น “ขี่ม้า/ทรงม้า”, “เก้าอี้/พระเก้าอี้”) คือ “เทิดพระเกียรติ” ไม่ว่าจะตั้งใจ จำใจ หรือแม้แต่ไม่ได้คิดอะไร การใช้คำว่า “ทรง/พระ” จึงคือการร่วมสืบทอดและยืนยันสิทธิธรรมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ทางภาษา ภายในกรอบของการถูกครอบงำโดยสมยอม หรือ “domination by consent” น่าคิดพินิจนึกด้วยว่า ในความเป็นจริงแล้ว โทษทัณฑ์ของการตกหล่นคำว่า “ทรง/พระ” อาจแค่ถูกองครักษ์พิทักษ์ภาษาไทยขมวดคิ้วติเตียนหรือจีบปากกระแนะกระแหน แต่มิใช่ภยันตรายที่ร้ายแรงไปกว่านั้น

การที่ราชาศัพท์ถูกยกยอให้เป็นขนบอันวิจิตรทางอักษรศาสตร์ราวกับมิได้ สำเหนียกหรือสมรู้ร่วมคิดกับอุดมการณ์ศิโรราบต่อระบอบเก่า และมีสถานะเป็น “hegemonic language” หรือภาษาที่ยึดครองความเป็นเจ้าเสียจนทำให้การไม่รู้จักหรือไม่ยอมใช้ใน โอกาสอันควรกลายเป็นความบกพร่องในเชิงสุนทรียะและในเชิงทักษะการใช้ภาษาทาง การ-วิชาการ กระทั่งการมีท่าทีวิพากษ์สถาบันกษัตริย์ เราก็ยังต้องปฏิบัติผ่านความช่ำชองในการใช้ราชาศัพท์เพื่อสร้างเกราะกันภัย

ไม่ว่าจะรู้ตัวและเต็มใจหรือไม่ ภายใต้ภาวะกระอักกระอ่วน ผะอืดผะอม กลืนไม่เข้าคายไม่ออก และเป็น irony ในตัวเอง การวิพากษ์มรดกคติเทวราชาของสถาบันกษัตริย์จึงยังคงต้องกระทำ “ด้วย” และ/หรือ “โดยมิอาจเลี่ยง” มรดกภาษาของคตินั้น

อย่างไรก็ตาม การเลี่ยงที่จะไม่ใช้ย่อมทำไม่ได้อย่างถึงที่สุด เนื่องจากคำราชาศัพท์จำนวนไม่น้อยได้แทรกซึมเข้าไปในหลายปริมณฑลจนกลายเป็น “ขนบ” ที่บรรจุนัยยะทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งความนิยมใช้ตามความเคยชิน โดยไม่จำเป็นว่าการใช้นั้นต้องอยู่ในบริบทของการยอพระเกียรติเสมอไป หากอยู่ในวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่มีรากฐานแข็งแกร่ง คำราชาศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะในแวดวงต่างๆ ย่อมถูกใช้ในฐานะ “มโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์/วัฒนธรรม” หรือแม้แต่เป็นสำนวนลีลาภาษาเพื่อการสื่อสารให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน มิได้ใช้เพื่อจรรโลงวัฒนธรรมเทิดไท้อย่างคำศัพท์ในหมวดคำนาม หมวดคำกิริยา หมวดร่างกาย
แน่ล่ะว่า จากอีกมุมมองหนึ่ง มันตลกไร้สาระเกินไปที่จะใส่อัญประกาศกำกับทุกถ้อยกระทงความ การใช้ราชาศัพท์แบบ “ขืนขนบ” และ “บ่อนเซาะ” จึงอาจเหลือรูปแบบเดียวคือใช้ด้วยเจตนาท่าทีที่อยู่ในจักรวาลทัศน์แห่ง irony (วิหารแห่ง humor, satire, sarcasm)

ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญที่จริงแท้ หาใช่เป็นแต่เพียงในนาม ในบทบัญญัติทางกฎหมาย หรือโดยปล่อยให้ความเป็นไทยมาปู้ยี่ปู้ยำแล้วสักแต่แก้ตัวอย่างไม่มียางอาย ว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ จำต้องแตกหัก, แม้ไม่ต้องโดยเด็ดขาดแต่ก็ต้องโดยมีนัยสำคัญ, กับวัฒนธรรมราชาศัพท์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันเกรียงไกรของความไม่เสมอภาคที่มิใช่เพียงระหว่าง “คน” กับ “คน” ที่ “ไม่เท่ากัน” เท่านั้น โดยจิตวิญญาณแล้ว “ราชาศัพท์” คือโองการว่าด้วยการดำรงอยู่คนละภพภูมิระหว่าง “คน” กับ “เทวดา”

ทุกสังคมไม่ว่าจะเสรีหรือไม่เสรีล้วนมี “VIP” หรือ “Very Important Person” แต่พร้อมไปกับและเป็นองค์ประกอบของการสร้าง “cult of personality” ให้กับบุคคลในชนชั้นจารีต ราชาศัพท์คือการสร้าง “VSP” หรือ “Very Sacred Person” ที่ไม่สมเหตุสมผล

ประเทศไทยอาจผยองลำพองใจว่าเราไม่มีปัญหาเรื่องภาษาของเจ้าอาณานิคม “แบบ” ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมทางตรงเป็นเวลานาน ในบ้านเมืองเหล่านั้นคนพื้นเมืองถูกบังคับให้เรียนภาษาเจ้าอาณานิคมในฐานะ ภาษาที่มีอารยธรรมสูงส่งกว่าเพื่อการซึมซับรับความรู้และค่านิยมของเจ้า อาณานิคม ซึ่งในบางกรณีอาจดำเนินไปพร้อมกับการห้ามไม่ให้ใช้ภาษาพื้นเมืองของตนเอง ทว่าในหลายแห่งหลังการต่อสู้ปลดแอกจนได้รับเอกราช มรดกภาษาของเจ้าอาณานิคมที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของการรุกรานกดขี่ก็ถูกพลิกกลับ ปรับกลืนให้เป็นภาษาราชการแห่งการศึกษา-สื่อสารในโลกสากล (ยกตัวอย่างเฉพาะภาษาอังกฤษ เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ และบางประเทศในแอฟริกา) ถึงที่สุดแล้วประเทศอดีตอาณานิคมอาจไม่ได้จำเป็นต้องต่อต้านและกำจัดภาษา เจ้าอาณานิคมให้สิ้นซากด้วยปมแอกทางประวัติศาสตร์ชาตินิยมคับแคบ แต่สามารถใช้ประโยชน์ด้วยท่าทีที่ระแวดระวังกับอันตรายของการลบเลือนประวัติ ศาสตร์ความทรงจำก่อนสมัยอาณานิคมผ่านภาษาเจ้าอาณานิคมที่เข้าครองความคิดจิต ใจและถ่ายทอดปลูกฝังคุณค่าและความรู้แบบตะวันตก

ความยากลำบากและกระอักกระอ่วนในการเผชิญหน้า สลัดหลุด หรือสร้างสรรค์ใหม่ในสังคมหลังอาณานิคมย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกันไป การพยายาม “จัดการ” กับมรดกเจ้าอาณานิคมและสร้างอัตลักษณ์ใหม่อาจกระทำผ่านการรื้อฟื้นศักดิ์ศรี ของภาษาพื้นเมือง พร้อมไปกับการจงใจ “ปรับ-ดัดแปลง-เล่น” ภาษาของเจ้าอาณานิคมซึ่งกลายเป็นภาษาราชการและภาษาของคนพื้นเมืองที่มีการ ศึกษาไปแล้วให้มีกลิ่นอาย ลีลาและวิธีใช้แบบท้องถิ่นที่ผิดแผกไปจากภาษานั้นตาม “มาตรฐาน” ของประเทศแม่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่องสะท้อน ขัดขืน เอาชนะและก้าวข้ามประสบการณ์และบาดแผลของการตกเป็นอาณานิคม

น่าสนใจว่าประสบการณ์ของไทย ประเทศกึ่งศักดินาที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นอย่างเป็นทางการ อาจเทียบเคียงได้กับประสบการณ์แบบ post-colonial ในแง่มุมที่กลับหัวกลับหาง ในระบบการศึกษาไทยทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แม้จะไม่ใช่ภาษาที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันปกติ แต่คนพื้นเมืองที่มีการศึกษาก็ต้องรู้จักเรียนรู้และยอมรับ โดยเฉพาะในความหมายของการ “internalize” หรือรับภาษาศักดิ์สิทธิ์ขั้นพื้นฐานของเจ้าศักดินาให้เข้ามาอยู่ในตัวจนเป็น ธรรมชาติ เพื่อว่าเมื่อถึงคราวจำเป็นก็สามารถแสดงถึงทักษะในการใช้ภาษานั้นได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม

หลังการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบกษัตริย์ภาย ใต้รัฐธรรมนูญและหลังการหมดอำนาจของกลุ่มการเมืองฝ่ายคณะราษฎร การที่ราชาศัพท์ถูกสักการะเป็นภาษาชั้นสูงสุด รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีการศึกษาและวัฒนธรรมนั้น (ในทางกลับกัน การไม่กระดิกราชาศัพท์เป็นสัญลักษณ์ของคนด้อยการศึกษาหรือมีการศึกษาแต่ไม่ มีวัฒนธรรม) มิใช่ด้วยการตระหนักว่ามรดกที่เคยเป็น “แอก” มีคุณค่าทางสากลล้นเหลือพอที่จะใช้ประโยชน์ต่อไปเพื่อความก้าวหน้าของ พลเมือง แต่กลับด้วยความปีติในการเสกสรรปั้นแต่งมรดกแห่งการกดขี่ให้กลายเป็นมรดก แห่งความภูมิใจในความเป็นไทยชั้นสูง โดยที่ความจริงแล้วคือการสืบสานมรดกของระบอบเก่าต่อไปภายใต้การนิยามความ หมายใหม่ที่ฝังกลบความจริงดังกล่าว ทั้งนี้มิพักต้องกล่าวถึงว่า “แอก” นั้นหาได้มีคุณประโยชน์แต่ประการใดต่อพัฒนาการของคนพื้นเมือง แม้จะอยู่ภายใต้บรรยากาศแห่งอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ปกคลุมทุกภาคส่วน มันก็ออกจะน่าประหลาดใจมิใช่หรือที่ภาษาแห่งเจ้าศักดินากลับได้รับการยอมรับ และภักดีโดยผู้มีการศึกษาอย่างแทบจะปราศจากการขัดขืน

หรือเป็นเรื่องของความสุภาพ นอกจากวรรณศิลป์? เหล่าสุภาพชนไม่นิยมภาษาหยาบกระด้างและรังเกียจภาษาหยาบคายแบบชนชั้นล่างและ ชนชั้นกลางไร้วัฒนธรรม?

การอธิบายเรื่องราชาศัพท์ที่แพร่หลายนิยมยกข้อความจากปาฐกถา “กถาเรื่องภาษา” ของพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ว่า “...นอกจากคำพูดและวิธีพูดทั่วไปแล้ว ยังมีคำพูดและวิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่าอีกด้วย เช่น ราชาศัพท์ของเรา เป็นต้น ฝรั่งไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว แต่มีวิธีพูดยกย่องชั้นพระมหากษัตริย์หรือชั้นผู้ดีเหมือนกัน แต่วิธีพูดเช่นนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว โดยมากมักจะเป็นวิธีพูดอย่างสุภาพเท่านั้นเอง”

ข้อความในปาฐกถานี้เอื้อต่อการอ้างอิงในการนิยามราชาศัพท์ว่าเป็นคำสุภาพ สำหรับพูดกับและพูดถึงชนชั้นบนสุดของสังคม แต่ความจริงแล้วคำอธิบายของวรรณไวทยากรเองกลับเป็นสิ่งยืนยันว่า “ราชาศัพท์” ไม่อาจเทียบได้กับ “วิธีพูดอย่างสุภาพ” แบบ “ฝรั่ง” ซึ่ง “ไม่มีราชาศัพท์เป็นคำตายตัว...ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว” นั่นคือจริงๆ แล้วราชาศัพท์ไม่ได้มีเป้าประสงค์ที่จะเป็น “code of conduct” ใน “polite society” หรือวงสังคมชั้นสูง แต่ราชาศัพท์คือ “วิธีพูดสำหรับชนเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่า” ซึ่ง “วิธีพูดยกย่องชั้นพระมหากษัตริย์หรือชั้นผู้ดี” (หรือ “ยกยอให้วิเศษไพเราะยิ่งขึ้นไป”) นั้นมิใช่การปฏิบัติเพื่อธำรงไว้ซึ่งจรรยามารยาทสังคม แต่เป็นปฏิบัติการเพื่อการค้ำจุนสิทธิธรรมของเหล่าอภิชนในระบอบกษัตริย์ต่าง หาก ถ้า “ธรรม” ที่กดปราบมนุษย์บนฐานของฐานันดรย่อมไม่ใช่ธรรมที่แท้ ราชาศัพท์ก็ไม่ใช่ “พิธีกรรม” ในอุดมการณ์ธรรมราชา (“ธรรมราชา” ไม่ใช่อุดมการณ์ที่เรียกร้องภาษาเทพเทวดา) แต่เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับในอุดมการณ์เทวราชา

ด้วยวัตถุประสงค์และเหตุผลของการดำรงอยู่ดังกล่าว ราชาศัพท์หาใช่ประเภทของคำสุภาพอย่างที่ตำราภาษาไทยนิยมนิยามไว้ แต่คือคำการเมืองที่ยก-แยก-ย้ำสถานะที่แตกต่างห่างลิบลับระหว่างมนุษย์กับ เทพตามจักรวาลวิทยาแบบโบราณ

นอกจากความกลัวแล้ว ความเคยชินและการถูกล่อลวงใจในมนตราพลานุภาพแห่งเกียรติยศและสุนทรียะคือ สิ่งจรรโลงอุดมการณ์เทวราชาที่หยั่งรากลึกถึงศัพท์ ไวยากรณ์ และกระบวนการเปล่งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์

ด้วยเจตนารมณ์แห่งการใช้แบบขืนขนบและบ่อนเซาะ บางที “ถ้าคนไม่นิยมจะสมยอมอยู่ในระบอบเกียรติยศนั้นมากขึ้น คำราชาศัพท์ก็คงละลายลบหมดไปเอง”

การขัดขืนต่ออำนาจนำที่ทรงพลังจนซึมซ่านเข้าไปในถ้อยคำสำนวนของเรา คือการยอมที่จะไม่งามตามขนบเก่าเพื่อถากถางทางไปสู่ขนบความงามแบบใหม่ เมื่อทุกแห่งหนฟุ้งตลบอบอวลไปด้วยสุ้มเสียงและอักษรแห่งการสอพลอศิโรราบ เท่าที่จะทำได้และเป็นไปได้, การฝืนใจไม่ยินดีและไม่ยินยอมจะเป็นอักขระตัวแรกที่หยัดยืนบนเทือกบรรทัดที่ มุ่งไปสู่ภูภาษาแห่งการปลดปล่อย

อ้างอิง

คึกฤทธิ์ ปราโมช, เก็บเล็กผสมน้อย ชุดที่สอง. สำนักพิมพ์คลังวิทยา. 2502. หน้า 53.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ปัญหาประจำวัน ชุดที่เจ็ด. โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์. 2502. หน้า 162.
จำนงค์ ทองประเสริฐ, “ราชาศัพท์ที่มักใช้กันไม่ถูกต้อง” ใน ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. 2528. หน้า 226 http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1155
สาส์นสมเด็จ. เล่ม 23, คุรุสภา, 2505.
สุจิตต์ วงษ์เทศ, http://www.sujitwongthes.com/