WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 26, 2010

กวีประชาไท:เพ็ญ ภัคตะ "กรุงเทพมหานรก"

ที่มา ประชาไท


กรุงเทพมหานรก สกปรกแสนอัปรีย์
เทพาคว้าเทพี กระเจิดหนีกระเจิงไหน

ผ่านฟ้าเหมือนพ้นฝัน ผ่านคืนวันวิเวกใจ
คอกวัวหรือคอกใคร ขังคนไว้ในขื่อคา

บ่อนไก่แท้บ่อนเหยี่ยว ขย้ำเขี้ยวขยุ้มฆ่า
สวนลุมสังหารา แสนแสบคร่าร่ำอาลัย

ล่ามโซ่ราชประสงค์ ราชดำรงด้วยเกียรติใด
ปรารภกี่ศพไซร้ ดำเนินไฉนไกลราษฎร

ขึงพืดวัดปทุม จีวรวิ่นสบงว่อน
เผายางแค่ย่างร้อน เมืองอมรพ่นหมอกควัน

ทวงคืนทุกพื้นที่ แผ่นดินนี้ของใครนั่น
ตึกทรุดกี่สิบชั้น วิมานสวรรค์ชนชั้นกลวง

ไพร่คือผ้าเช็ดเท้า ใต้ฝุ่นเถ้าเป็นตัวถ่วง
ปัดกวาดสะอาดสรวง ลับ ลวง พราง ก่อการร้าย

กรุงเทพมหานรก ยังปิดปกประโคมป้าย
เบิกฟ้าบังอบาย สาปให้หายจมธรณี!

เพ็ญ ภัคตะ
๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๓

จับ "บก.ลายจุด" ไป ตชด.คลอง 5 ปทุมธานีข้อหาฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ที่มา ประชาำไท


"สมบัติ บุญงามอนงค์" นำสมาชิกกลุ่มไปผูกผ้าแดงที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ ก่อนตำรวจคุมตัวไป สน.ลุมพินี ตามหมายจับของ ศอฉ. เดิม ฐานฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินกรณีชุมนุมที่ลาดพร้าว 71 ใต้ทางด่วนช่วง 19 พ.ค. ล่าสุดมีการคุมตัวไปกองบังคับการ ตชด.ภาค 1 ที่คลอง 5 ปทุมธานีรอ จนท.ศอฉ.สอบปากคำ ขณะที่มีประชาชนอีกกลุ่มนำสติ๊กเกอร์ค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสติ๊กเกอร์ข้อความ "เราเห็นคนตาย" ไประดมติดบริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส

(แฟ้มภาพ) นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด

เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. วันนี้ (26 มิ.ย.) นายสมบัติ บุญงามอนงค์หรือ บก.ลายจุด นักกิจกรรม ได้นัดสมาชิกกลุ่มในเฟซบุคไปผูกผ้าสีแดง ที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเวทีปราศรัยของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา ก่อนถูกสลายการชุมนมุวันที่ 19 พ.ค.

ต่อมาเวลาประมาณ 17.30 น. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาพูดคุยกับนายสมบัติ และเชิญตัวไปสอบถามเพิ่มเติมที่ สน.ลุมพินี โดยขณะที่รายงานอยู่นี้ (18.00 น.) นายสมบัติยังอยู่ระหว่างการถูกสอบถามโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ สน.ลุมพินี ขณะที่ภายนอก สน.ลุมพินี มีกลุ่มผู้สนับสนุน และเพื่อนของนายสมบัติมาให้กำลังใจจำนวนมาก

นอกจากนี้มีประชาชนอีกกลุ่มนำสำสติ๊กเกอร์รณรงค์ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความ "เราเห็นคนตาย" หลายร้อยแผ่น มาติดบริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ถึงสถานีรถไฟฟ้าชิดลม และป้ายบริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย

โดย พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ผบก.น.5 กล่าวว่า ที่จับกุมนายสมบัติ เพราะนายสมบัติมีหมายจับของศาลเลขที่ 116/2553 ออกเมื่อ 21 พ.ค. ฐานฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังนายสมบัติจัดการชุมนุมที่บริเวณลาดพร้าว 71 เลียบทางด่วน ช่วงสลายการชุมนุม 19 พ.ค. เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นนายสมบัติปรากฏตัวในที่สาธารณะจึงจับกุมทันที

โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ไปนำนายสมบัติเดินทางไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ต.คลอง 5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อให้พนักงานสอบสวนของ ศอฉ. เดินทางมาสอบสวนนายสมบัติที่นั่น

นายสมบัติไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ กับผู้สื่อข่าว กล่าวเพียงแต่ว่ามาสี่แยกราชประสงค์เพื่อเตรียมรณรงค์กิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" ที่จะจัดในวันพรุ่งนี้ (27 มิ.ย.) เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมดังกล่าว จึงคิดว่าต้องมาเตรียมกิจกรรมเอง โดยก่อนถูกตำรวจควบคุมตัวไปที่กองบังึคับกรตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 นายสมบัติได้ตะโกนว่า "ทำวันอาทิตย์สีแดงต่อ"

สำหรับนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก่อนหน้านี้เคยถูกควบคุมตัวมาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 50 ถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎอัยการศึก หลังปราศรัยคัดค้านการรับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่สถานีขนส่ง อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อนถูกทหารจากจังหวัดทหารบกเชียงราย ค่ายเม็งรายมหาราชควบคุมตัวและสอบปากคำ ก่อนทหารยอมปล่อยตัวเช้าวันถัดมา

'ก่อแก้ว'แห้วเรือนจำห้ามใส่ชุดนักโทษสมัครเลือกตัั้ง ส.ส.

ที่มา ไทยรัฐ


Pic_92118

นายก่อแก้ว พิกุลทอง

ราชทัณฑ์ได้ย้าย6นปช.ไปขังรวมเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ร่วมกับแกนนำกลุ่ม "วีระ" ทั้งหมดสามารถเจอกันได้ที่แดนแรกรับ พร้อมสั่งห้าม "ก่อแก้ว" ใส่ชุดนักโทษลงรับสมัครส.ส.จันทร์นี้...

เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า เมื่อบ่ายวันที่ 25 มิ.ย. ได้มีคำสั่งย้ายนายก่อแก้ว พิกุลทอง, นพ.เหวง โตจิราการ, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย, นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก, นายอำนาจ อินทโชติ และนายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา แกนนำ นปช.6 คน จากเรือนจำกลางคลองเปรม ไปควบคุมในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครร่วมกับกับแกนนำ นปช.กลุ่มนายวีระ มุสิกพงศ์ อีก 5 คน โดยจัดให้อยู่รวมกันที่แดนแรกรับหรือแดน 1 แต่แยกห้องควบคุมทั้ง 2 กลุ่ม โดยในเวลากลางวันแกนนำ นปช.ทั้งหมดสามารถพบเจอกันได้ในแดนแรกรับ เป็นไปตามการร้องขอของทนายความ นปช.ที่อยากให้แกนนำ นปช.อยู่ที่เดียวกัน ส่วนขั้นตอนต่อไปตามระเบียบจะต้องจำแนกผู้ต้องขังกระจายไปตามแดนต่างๆ ในสัปดาห์หน้า

ส่วนกรณีทนายความ นปช.ระบุว่า นายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายที่ถูกคุมขังในเรือนจำ ต้องการใส่ชุดผู้ต้องขังไปสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขต 6 ที่สำนักงานเขตคลองสามวาในวันที่ 28 มิ.ย. นั้น ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้หารือมายังกรมราชทัณฑ์แล้ว สรุปความเห็นร่วมกันว่า อนุญาตให้นายก่อแก้วใส่ชุดผู้ต้องขังออกไปสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ เพราะชุดนักโทษเป็นเครื่องแบบของนักโทษเด็ดขาด เรือนจำมีสิทธิอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใส่ โดยเฉพาะการออกภายนอกเรือนจำ การแบ่งชุดผู้ต้องขังเป็นชุดสีฟ้าและชุดสีน้ำตาลลูกวัวในเรือนจำ เพื่อให้เป็นระเบียบและสังเกตได้ง่าย การออกไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เป็นเรื่องที่มีเกียรติ จึงเห็นว่าไม่เหมาะสมกับวาระโอกาส ได้แจ้งกับนายก่อแก้วแล้วว่า ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดผู้ต้องขังออกไป.

‘ฉุกเฉิน’คนใช้ลืมตัว ทำชาติวุ่นวาย!

ที่มา บางกอกทูเดย์



ไม่รู้ว่า...เสียงเรียกร้องของประชาชนที่ต้องการให้มีการประกาศ “ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” จะเข้าไปถึงโสดประสาทของรัฐบาลชุดนี้หรือไม่? ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยออกประกาศ ฉบับที่ 1 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ซึ่งกฎหมายนี้ได้กำหนดเงื่อนไข

และเงื่อนเวลาในการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ใน ตัวบทในมาตรา 5 วรรคสอง มาตรา 5 (วรรคสอง) การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาให้นายกรัฐมนตรี

โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปอีกเป็นคราวๆ ละไม่เกินสามเดือน (วรรคสาม)เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว หรือเมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบหรือเมื่อสิ้นสุดกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น

ประเด็นเพิ่มเติม คือ หากหลังจากสิ้นสุดการกำหนดระยะเวลาการประกาศในวันที่ 7 ก.ค.53 หรือครบสามเดือนแล้วรัฐบาลมีความจำเป็นอะไรที่ต้องขอขยายระยะเวลา เพราะเงื่อนไขในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ผ่านพ้นไปแล้ว และผู้ชุมนุมก็ถูกคุมขังสลายตัวไปหมดแล้วตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. 53 อย่างไรก็ตาม

ในสถานการณ์ที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อให้สามารถใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ได้เข็มข้นขึ้นกว่าอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ในมาตรา 5 ทำให้มีอำนาจในการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่า...เป็นผู้ร่วมกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

และสามารถใช้กำลังทหารเข้าระงับเหตุร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ โดยการใช้อำนาจตามมาตรานี้เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ที่มีลักษณะเข้มข้น...ทำให้รัฐบาลสามารถ “ก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพ” ของประชาชนได้มากกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินแบบธรรมดา ซึ่งในมาตรา 11 วรรคท้ายได้กำหนดเงื่อนเวลา

การใช้อำนาจตามมาตรา 11 นี้โดยให้ประกาศยกเลิกประกาศตามมาตรานี้โดยเร็วเมื่อสถานการณ์ร้ายแรงตามวรรคหนึ่งยุติลงแล้ว มาตรา 11 (วรรคท้าย) เมื่อเหตุการณ์ร้ายแรง ตามวรรคหนึ่งยุติลงแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกประกาศตามมาตรานี้โดยเร็ว หากวิเคราะห์กันตามเจตนารมภ์ของตัวบทยอมเห็นว่า...

กฎหมายได้วางหลักให้ “นายกรัฐมนตรี” ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงโดยเร็วเมื่อเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว โดยไม่มีบทให้สามารถขออนุมัติต่ออายุหรือขอขยายระยะเวลาได้เหมือนกับมาตรา 5 เพื่อไม่ให้รัฐบาลสามารถใช้อำนาจอย่างเข็มข้นในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

หากรัฐบาลไม่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องนี้ย่อมเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติตามกฎหมาย เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างชัดเจน ซ้ำร้ายหากผู้ปฏิบัติงานมุ่งสร้างสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงขึ้นในกรุงเทพมหานครจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมทำลายประเทศอย่างร้ายแรงเหมือนเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้

นายกรัฐมนตรีกล่าวเสมอว่า...บ้านเมืองต้องปกครองโดย “นิติรัฐ” ซึ่งหมายความว่าบ้านเมืองต้องปกครองด้วยหลักกฎหมาย ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย รัฐบาลก็ต้องยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมายเช่นกัน การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการที่เกินกว่าขอบเขตของกฎหมาย...ย่อมแสดงออกถึงความไม่เป็นนิติรัฐโดยรัฐบาลเอง

เป็นการกระทำที่เรียกว่า “ลุแก่อำนาจ” รัฐบาลพึงตระหนักว่า...การตีความการบังคับใช้กฎหมายที่มีบทบัญญัติขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ต้องกระทำโดยเคร่งครัด จะตีความอย่างกว้าง โดยไม่สนใจต่อเสรีภาพของประชาชน ย่อมเป็นความไม่ชอบธรรมที่ฝ่ายปกครองไม่พึงกระทำ

สรุปได้ว่า...การที่รัฐบาลจะขอขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามมาตรา 11 ย่อมกระทำไม่ได้เพราะกฎหมายไม่มีบทบัญญัติให้ขยายระยะเวลาในมาตรา 11 ซ้ำยังต้องประกาศยกเลิกโดยเร็วเมื่อสถานการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งสถานการณ์ชัดเจนว่าได้ผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. 53

สมศักดิ์ เจียมฯ:ความอับจนของคนเสื้อแดง

ที่มา Thai E-News



"คลื่น" การเคลื่อนไหว 3 "ระลอก" ของ "เสื้อแดง" ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการอภิปรายถกเถียง ในแง่ทิศทาง จังหวะก้าว ความผิดพลาด ฯลฯ พิสูจน์ให้เห็นอย่างแน่นอนว่า นี่ไมใช่การมี "สุขภาพดี" ของขบวนการทางการเมือง และขบวนการนี้ ขึ้นต่อการตัดสินใจ และกำหนดของกลุ่มคนเล็กน้อยเพียงหยิบมือเดียว


โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา
กระดานสนทนาคนเหมือนกัน

[1] ระลอกที่ 1

22 กรกฎาคม 2550 นี่คือช่วง "ก่อนประวัติศาสตร์" (pre-history)ของขบวนการเสื้อแดง การก่อรูปขึ้นจากการยุบพรรคไทยรักไทย การเข้าแทนที่ (take-over) การเคลื่อนไหวต้านรัฐประหารของกลุ่มย่อยอื่นๆที่ดำเนินไปก่อนหน้านั้น (โดยเฉพาะของ "คนวันเสาร์", รองลงมาคือ "เครือข่าย 19 กันยา" และ "พลเมืองภิวัฒน์" ก่อนหน้านั้น "พีทีวี" จัดชุมนุม 2-3 ครั้ง แต่ประเด็นไม่แหลมคมอะไร เช่น ไม่ยอมชูประเด็น เปรม เลย เป็นต้น) แต่แล้ว ไม่ถึง 2 เดือนดี (ต้นมิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม) ก็ "ลงเอย" ด้วยการไปปะทะหน้าบ้านเปรม (ซึ่งความจริง หลีกเลี่ยงได้) และที่ irony คือ ขณะที่กลุ่มย่อยก่อนหน้านี้ เคลื่อนไหวมา ครึ่งปีกว่า ไม่เคยถึงขั้นปะทะ กลุ่ม พีทีวี เคลื่อนไหวเพียงเดือนเศษ ก็ลงเอยที่ปะทะ

ผลคือ เกิดการชะงักชั่วคราว และ "ถอย" ลงชั่วคราวระดับหนึ่ง แกนนำถูกจับครั้งแรก และการชุมนุมยุติไปพอดีมีการเคลื่อนไหวเรื่องรับรองรัฐธรรมนูญ ก็เลยกลายเป็นการรณรงค์ในเรื่องนั้นแทน

การลงมติรัฐธรรมนูญแพ้ แต่พอดีเลือกตั้งชนะ ขบวนการเคลื่อนไหวมวลชนจึงหายไป (มีออกมาในรูปรายการทีวี "ความจริงวันนี้" แทนบางส่วน)



[2] ระลอกที่ 2

เมษายน 2552 การเคลือนไหวครั้งใหญ่ครั้งแรกของ "เสื้อแดง" โดยตรง (เกิด ตุลาคม 2551 ในท่ามกลางกระแสชุมนุมพันธมิตร และกรณี "น้องโบว์") ชุมนุมใหญ่สิ้นปี 2551 และเริ่มรณรงค์ มีนาคม 2552 ตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ทักษิณ ประกาศเปิดโปง เปรม (และ ปีย์ ฯลฯ) โดยตรง เป็นครั้งแรก "เสียงตบมือกึกก้อง" ให้กับการปราศรัยของจักรภพ, ก่อแก้ว

แต่ลงเอย ที่ สงกรานต์ 2552 ที่แกนนำถูกจับอีก และการชุมนุมถูกสลายไปพร้อมการตกเป็นฝ่ายรับทางการเมืองจากกรณีพัทยา มหาดไทย ยึดรถเมล์ รถน้ำมัน ในกรุงเทพ ฯลฯ

เดือนมิถุนาย-สิงหาคม 2552 มีการปรากฏตัวรณรงค์ใหม่อีก แต่คราวนี้ กลายเป็นเรื่อง "ล่ารายชื่อภวายฎีกา" ซึ่งเปรียบเทียบกับสิ่งที่ทำในช่วง ตุลาคม, ธันวาคม และ มีนาคม-เมษายน แล้ว ถือเป็นการ "ก้าวถอยหลัง" อย่างเห็นได้ชัด


[3] ระลอกที่ 3

มีนาคม - พฤษภาคม 2553

คราวนี้ ลงเอย ด้วยการถูกปราบหนักหน่วง และเสียหายทางการเมือง หนักหน่วง ยิ่งกว่า ระลอกที่ 2 หลายเท่า (ไม่ต้องพูดถึงเรื่องคนตาย ที่ผมยืนยันวา คือการพ่ายแพ้ที่สำคัญที่สุด) เครือข่าย กลไกต่างๆ ที่สะสมขึ้นมาในระยะ 2 ปีเศษ ถูกทำลายเกือบหมด (ทีวี, วิทยุชุมชน, นิตยสาร ฯลฯ) ขณะนี้ ยังบอกได้ยากว่า จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้หรือไม่


การเคลื่อนไหวทีแต่ละระลอก ลงเอยด้วยการแพ้ ด้วยการตกเป็นฝ่ายรับและด้วยความเสียหาย (ที่มากขึ้นกว่าครั้งก่อน) เช่นนี้ ถ้าเป็นขบวนการทางการเมือง ที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ในประเทศอื่น (หรือในประเทศในอดีต) คงตามมาด้วยการอภิปราย ถกเถียง อย่างกว้างขวาง ถึงประเด็นทิศทาง จังหวะก้าว ความผิดพลาด ฯลฯ แล้ว

แต่ปรากฏว่า ไม่มีเลย

บรรดากองเชียร์เสื้อแดง มักจะภูมิใจว่า ขบวนการของตนเป็นขบวนการ"ประชาธิปไตย" เรียกว่าเป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองในลักษณะ "โครงสร้าง" หรือในลักษณะ "ระบอบ" เลยทีเดียว (โค่น "ระบอบอำมาตย์" เป็นต้น)

แต่มีขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมลักษณะนี้ ในประเทศไหนหรือ ที่ช่าง อับจน ยากไร้ ในแง่ของการถกเถียงกันภายใน (internal debate) เกี่ยวกับเรื่องทิศทาง จังหวะก้าว ยุทธวิธี ความผิดพลาด ฯลฯ อย่างขบวนการเสื้อแดง ในระยะ 3 ปีที่ผานมา? ทั้งๆที่เห็นได้ชัดว่า การเคลื่อนไหวแต่ละระลอก ล้วนลงเอยที่การล้มในเวลา หรือ ถอยหลัง ในเวลาส้ันๆ หลังการเคลื่อนไหวเสมอ

เอาตัวอย่างง่ายๆ อย่างกรณี ยื่นฎีกา เห็นได้ชัดว่า เป็นอะไรบางอย่างที่ "เป็นปัญหา" แน่ (problematic) แต่มีการอภิปราย ถกเถียงหรือ? โดยเฉพาะในแง่ของภาพรวม ต่อการต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย

เอาเข้าจริงแล้ว การกำหนดกรณีอย่าง ถวายฎีกา หรือแม้แต่ กรณีเรื่อง "ยุบสภา" ครั้งล่าสุด (ไม่ต้องพูดถึงในเชิงยุทธวิธี ที่มุ่ง "ชน" การยึดราชประสงค์ การไม่ยอมลง ไม่ยอมเจรจา เป็นต้น) เป็นผลมาจากการระดม กลั่นกรอง ขึ้นมาจาก การถกเถียงภายในของขบวนการ ของมวลชน และคนสนับสนุนทั้งหลาย ฯลฯ หรือมาจากการกำหนด ของคนไม่กี่คน พูดง่ายๆคือ ของคนไม่กี่คนบรรดาที่ใกล้ชิดกับทักษิณ?

บรรดากองเชียร์เสื้่อแดง มักจะไม่พอใจ เมื่อถูกพวกผู้จัดการ พวก "อำมาตย์" โจมตีว่า เป็น "ขบวนการเพื่อทักษิณ" โดยพยายามโต้แย้งว่า มวลชน หรือ เสื้อแดง ได้ "ก้าวข้าม" "ก้าวพ้น" ทักษิณ ไปแล้ว (แม้แต่ทักษิณเอง ก็ออกมาพูดเช่นนี้) หลังๆ บรรดานักวิชาการที่หันมาเชียร์เสื้อแดงกันมากขึ้นก็พยายามอธิบายทำนองเดียวกัน ด้วยการยกเรื่อง "ความเปลี่ยนแปลงในชนบทไทย" ฯลฯ มาสนับสนุน

แต่ถามจริงๆว่า มีขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมือง- สังคม ที่ไหน ที่มีลักษณะอับจน ในแง่ของชีวิตทางภูมิปัญญาภายใน (internal intellectual life) ในแง่ของการขาดแคลนการดีเบต ในเรื่องทิศทาง จังหวะก้าว ความผิดพลาด อย่างเด่นชัดมากๆ อย่างที่เสิ้อแดงเป็นอยู่ในระยะ 2-3 ปีมานี้? มีขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมือง- สังคม ที่อ้างเป้าหมายใหญ่โต (โค่น "ระบอบอำมาตย์") ขนาดนี้ แต่ยังขึ้นต่อ การตัดสินใจ ในแง่ทิศทาง ประเด็น จังหวะก้าว ของคนเพียงไม่กี่คน หรือกระทั่ง ผูกติดอยู่กับ คนๆเดียว (ทักษิณ) ในระดับที่มากขนาดนี้?

ทั้งหมดนี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นลักษณะ "การมีสุขภาพดี" (healthy) ของขบวนการ แต่อย่างใด

การพ่ายแพ้ครั้งหลังสุดนี้ เป็นการพ่ายแพ้ที่รุนแรง และเสียหายอย่างมาก(เฉพาะเรื่องชีวิตคนเรื่องเดียวก็ประเมินค่าไม่ได้) โดยไม่เพียงแต่ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้น (วันยุบสภาตามที่เรียกร้อง) แต่ยังเสียหายในแง่กลไกต่างๆดังที่กล่าวข้างต้น อีกมหาศาล (ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์)

ถ้าพ่ายแพ้ และเสียหายถึงขั้นนี้ แล้วยังไม่สามารถ "ก่อให้เกิด" (generate) การอภิปราย แสวงหา สรุป ในแง่ความผิดพลาด ในแง่แนวทาง ทิศทาง ไปถึงในแง่บุคคลากรอีก (คือยังคง อับจนในเรื่องเหล่านี้อีก เช่นที่ผ่านๆ
มา)

6_ธรรมะjackson.flv

ที่มา Voice TV



รวบ 2 มือบึ้มภูมิใจไทย สารภาพหวังป่วนเมือง อ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมตำรวจไล่ล่าเพื่อนอีก 5คน

ทำไมต้องเนวิน

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ ชกไม่มีมุม



เพราะความไม่น่าเชื่อถือของรัฐบาลและศอฉ.ในวิกฤตบ้านเมืองต่อเนื่องมาตั้งแต่เหตุการณ์เม.ย.และพ.ค.เลือด เมื่อเกิดเหตุระเบิดขึ้นบริเวณใกล้ที่ทำการพรรคภูมิใจไทย ไปจนถึงมีระเบิดที่อุดรธานี และตรวจพบอีกลูกโยนทิ้งแถวรามอินทรา

แกนนำรัฐบาลและศอฉ. ต้องดาหน้ากันออกมาปฏิเสธข่าวพัลวันว่าไม่ใช่เป็นการสร้างสถานการณ์

มิใช่การสร้างเรื่องเพื่อคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินเอาไว้ ลากยาวต่อไป!

กล่าวได้ว่า ในเหตุนองเลือดที่ผ่านมา ดูจะเชื่อใครไม่ได้เลย

ภายใต้ความรุนแรง มือลึกลับเผานั่นเผานี่ นักรบชุดดำเอ็ม 79 เต็มไปด้วยความลึกลับซับซ้อน

เป็นฝีมือใคร ฝ่ายไหนก็ได้ทั้งนั้น!?!

แต่กระนั้นก็ตาม กรณีระเบิดที่ข้างพรรคภูมิใจไทยนั้น

ไม่ว่าเบื้องหลังจะเป็นเช่นไร ต้องไม่สนับสนุนวิธีการก่อเหตุเช่นนี้ เพราะมีแต่จะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ไม่ว่าจะต่อคนภายในที่ทำการพรรค คนสำคัญของพรรค และชาวบ้านที่พักอาศัยบริเวณรอบๆ

ต้องขอแสดงความเห็นใจ!

เพียงแต่หยิบยกมาพูด เพื่อตั้งข้อสังเกตว่า พอเกิดเหตุปุ๊บ ทำไมรัฐบาลต้องปฏิเสธข่าวสร้างสถานการณ์ปั๊บ นั่นสะท้อนถึงความรู้สึกของสังคมที่มีต่อรัฐ ว่าไม่น่าเชื่อถือ

ส่วนในทางคดี หลังจากพบผู้ร่วมก่อเหตุบาดเจ็บในที่เกิดเหตุ จึงสามารถสอบสวนหาต้นตอที่มาได้ ขณะนี้โยงถึงคนเสื้อแดงทางภาคตะวันออก

ฝ่ายนายเนวิน ชิดชอบ ถึงกับระบุว่า เป็นแผนลอบสังหาร

ไม่ว่าใครก็ตามที่ตกเป็นเป้าสังหาร ต้องเห็นใจ

เพียงแต่น่าคิดต่อไปว่า ถ้าเป็นฝีมือของเสื้อแดงพุ่งเป้าใส่นายเนวินจริงๆ แล้ว สาเหตุมาจากอะไร!??

อันดับแรกต้องมาจากความแค้นเคืองกรณีสลายม็อบ

ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ต้องคอยป้องกันความแค้นจากเสื้อแดงต่อเป้าหมายหลักคือ นายกฯ และรองนายกฯ เทพเทือก

แต่เหตุใดเสื้อแดงจึงลงมือมุ่งเป้านายเนวิน

ยังนึกอะไรไม่ออก นึกได้แต่กระแสข่าวที่สะพัดในช่วงจลาจล

ที่สงสัยกันว่านักรบชุดดำมาจากไหนกันแน่ มาจากชายแดนหรือไม่

ไปจนถึงข้อถกเถียงที่ว่า ศอฉ.ชี้เปรี้ยงว่าเสื้อแดงเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เผาโรงหนังสยาม

แต่ทำไมจับคนเผาไม่ได้ และทำไมจับชุดดำไม่ได้!

เลือกตั้งซ่อม กทม. กรณี ของ ก่อแก้ว พิกุลทอง บทบาท พรรคเพื่อไทย

ที่มา ข่าวสด


ไม่ว่าพรรคเพื่อไทยจะกำหนดให้ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ไม่ว่าพรรคเพื่อไทยจะกำหนดให้ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6

เป้าหมายย่อมเป็นอย่างเดียวกัน

เพราะว่า ไม่ว่า นายก่อแก้ว พิกุลทอง ไม่ว่า นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ล้วนเป็นนปช.แดงทั้งแผ่นดิน

มิใช่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 เท่านั้น

ตรงกันข้าม นายก่อแก้ว พิกุลทอง สัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยตั้งแต่ยังเป็นพรรคไทยรักไทย หรือแม้กระทั่งพรรคพลังประชาชน

ครั้งที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ควบคุมและกำกับดูแลงานองค์การร.ส.พ. ก็เคยมอบหมายให้ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ไปดำรงตำแหน่งเป็นผอ.ร.ส.พ.มาแล้ว

เขาจึงเป็นเนื้อแท้ของพรรคเพื่อไทย เป็นเนื้อแท้ของนปช. อย่างชนิดเนื้อกษัตริย์

การตัดสินใจเลือก นายก่อแก้ว พิกุลทอง ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมเป็น ส.ส.กทม.เขต 6 ของพรรคเพื่อไทย จึงมีความแจ่มชัด

แจ่มชัดในการที่จะช่วงชิงพื้นที่คืนจากพรรคประชาธิปัตย์

แจ่มชัดในการที่พร้อมจะเข้าสัประยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครจากพรรคการเมืองใหม่

เพราะอย่างที่ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ แถลง พื้นที่นี้เป็นของพรรคไทยรักไทยมาก่อน

เอาให้ถึงที่สุดก็คือ พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เดิมของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ตั้งแต่อยู่พรรคพลังธรรม

เมื่อย้ายมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทยจึงโอนย้ายมาเป็นพื้นที่ของพรรคไทยรักไทย

ดังนั้น หากประเมินในแง่รากฐานทางการเมืองจึงมิได้เป็นเรื่องยากที่พรรคเพื่อไทยอันสืบทอดจากพรรคไทยรักไทยที่จะได้ชัยชนะ

เว้นแต่มี "อำนาจอื่น" ไม่ต้องการให้ชัยชนะเป็นของพรรคเพื่อไทยเท่านั้น

กระนั้น หากประเมินจากการที่พรรคการเมืองใหม่ส่งผู้สมัครลงแข่งขัน นั่นหมายถึง คะแนนของผู้สมัครพรรคการเมืองใหม่จะต้องแย่งชิงกับคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์

นี่ย่อมเป็นโอกาสของพรรคเพื่อไทย เป็นโอกาสของ นายก่อแก้ว พิกุลทอง

ประเด็นอยู่ที่ว่าการเลือก นายก่อแก้ว พิกุลทอง เป็นไปตามข้อเสนอจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นไปตามข้อเสนอจาก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เมื่อเห็นว่ากรณีของตนอาจมีปัญหาในเรื่องภูมิลำเนา 5 ปีในกทม.

คนของพรรคเพื่อไทยมีความสุกงอมและเห็นชอบด้วยมากน้อยเพียงใด

คนของพรรคเพื่อไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ตระหนักในบทบาทและความสำคัญของ นายก่อแก้ว พิกุลทอง อย่างไร

เห็นว่านี่เป็นยุทธวิธี 1 ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหญ่ของพรรคเพื่อไทยหรือไม่

หากสายของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เห็นชอบด้วยและสุกงอมที่จะร่วมมือและช่วยเหลือ โอกาสย่อมเป็นของ นายก่อแก้ว พิกุลทอง เป็นอย่างสูง

นั่นย่อมหมายถึงโอกาสของพรรคเพื่อไทยเป็นปริโยสาน

การเลือกตั้งซ่อมส.ส.กทม. เขต 6 จึงมีความสำคัญทางการเมืองอย่างแหลมคมยิ่งเป็นพิเศษ

มิได้เป็นโอกาสในการเสนอตัวของพรรคการเมืองใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเป็นการปะทะทางความคิดและทางการเมืองอย่างทรงความหมายระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์

โดยมีชาวกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขต 6 เป็นกรรมการตัดสินและชี้ขาด

ปลุกผีกันอีกแล้ว

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ เหล็กใน




ประโยค "ปลุกผีแก่งเสือเต้น" เราจะผ่านตาตามหน้าหนังสือพิมพ์มานับสิบๆ ปี

ถ้าเป็นผีจริงละก็ ผีตัวนี้ลงหลุมไป แล้วก็ถูกปลุกขึ้นมาใหม่ ไม่รู้กี่รอบแล้ว

เฉพาะ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เอง อย่างต่ำก็ "ปลุกผี" มา 2 รอบแล้ว

ล่าสุดก็ตอนที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลอภิสิทธิ์

หลักการและเหตุผลของเขื่อนแก่งเสือเต้นรอบนี้ คือแก้ปัญหาภัยแล้ง

โดยอ้างความชอบธรรมเสริมขึ้นมาว่า ชาวบ้านตัดป่า โดยเฉพาะไม้สักทองไปหมดแล้ว

แต่ตามประวัติความเป็นมาของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น

แทบจะเป็น "ยาสามัญประจำบ้าน"

เวลาเดือดร้อนภัยแล้ง น้ำยมแห้งขอด สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ เขื่อนแก่งเสือเต้น

เวลามีอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก สิ่งที่จะช่วยได้ก็เช่นกัน เขื่อนแก่งเสือเต้น

แม้จะเกิดเหตุน้ำท่วมดินถล่ม ในแถบจังหวัดอีสาน

ก็ยังมีนักการเมืองบ่นว่า นี่ถ้ามีเขื่อนแก่งเสือเต้น คงจะไม่เกิดเหตุเช่นนั้น

อะไรมันจะสารพัดประโยชน์แสนดี มากมายปานนั้น!

แต่แม้นักการเมืองหลายยุคหลายสมัย พยายามผลักดันเขื่อนแก่งเสือเต้น

ก็น่าสังเกตว่าแรงต่อต้าน หรือพลังการพิทักษ์พื้นที่ป่าแก่งเสือเต้น ก็แข็งแรงสม่ำเสมอมาทุกยุคเหมือนกัน

โดยเฉพาะความเด็ดเดี่ยวชัดเจนของชาวบ้านในพื้นที่ป่า

พวกเขาประเมินความเสียหายไว้หมดแล้ว ทันทีที่น้ำถูกกักเก็บ

จะท่วมผืนป่าสักทองที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศ และป่าอื่นๆ จมหายไปถึง 4 หมื่นไร่!

ไม้สักทองล้ำค่าเหล่านั้น ชาวบ้านก็ตั้งข้อสงสัยว่า น่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่นักการเมืองอยากสร้างเขื่อนนี้

เพราะต้องมีการโค่นไม้สักพวกนี้ออกไปทำประโยชน์ก่อน

ไม่นับว่าโครงการระดับหมื่นล้านอย่างการสร้างเขื่อน จะเป็นวงจรการทำมาหากินของคนมีอำนาจได้อีกมากมาย

สิ่งที่น่าชื่นชมกว่านั้น ผู้นำชาวบ้านอย่างนายกอบต. ก็กล้าชนกับผู้มีอำนาจ

ทั้งที่ตำแหน่ง "นายกอบต." ในหลายๆ ที่ จะเป็นนักการเมืองที่กำลังไต่เต้าทางบารมีและฐานะ หรือไม่ก็เป็นเจ้าพ่อน้อยในท้องถิ่น

ซึ่งคนประเภทนี้ มุมมองก็มักจะมุ่งในเรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง เหมือนนักการเมืองระดับบิ๊กนั่นเอง

แต่นายกอบต.สะเอียบ เจ้าของพื้นที่แก่งเสือเต้น อย่าง นายชุม สะเอียบคง ดูแล้วหวังพึ่งได้ จากคำสัมภาษณ์

"การสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ไม่ใช่ทางออกแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม รัฐบาลควรใช้วิธีบริหารจัดการลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำยมให้ดีและเป็นระบบ ซึ่งจะแก้ปัญหาทั้งหมดได้ ชาวบ้านเห็นว่าการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะเป็นการทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่า

และในที่สุดแล้ว หากรัฐบาลยืนยันจะดำเนินการต่อไป

"กลุ่มชาวบ้านก็จะมีมาตรการในการคัดค้านที่หนักหน่วงขึ้น"

วิกฤติน้ำเน่า

ที่มา ไทยรัฐ


ไม่นึกว่าการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กทม.ครั้งนี้จะมีสีสันเป็นที่สนใจของบรรดาคอการเมืองทั้งหลาย เพราะไม่ใช่แค่การเลือกตั้งซ่อมธรรมดา แต่ เป็นการเลือกความนิยมของขั้วอำนาจทางการเมือง ก็ว่าได้ พูดจาภาษาชาวบ้านก็คือ จะได้รู้ว่าความนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใครจะมาแรงกว่ากัน

ดูได้จากตัวผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ส่ง คุณพนิช วิกิตเศรษฐ์ ที่สายตรงกับคุณอภิสิทธิ์มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ที่ได้ไปเป็นผู้ช่วย รมว.ต่างประเทศก็เพราะแรงดันของคุณอภิสิทธิ์ ที่เบียดคู่แข่งได้เลือกให้ลง ส.ส.เขต 6 ก็เพราะคุณอภิสิทธิ์อีกนั้นแหละ

ในขณะที่พรรคเพื่อไทยส่ง คุณก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำนปช.ที่ไม่ฮาร์ดคอร์จนเกินไป ดูดี มีความรู้พอฟัดพอเหวี่ยงกับคุณพนิช มีเจตนารมณ์ที่แน่วแน่จะเรียกร้องความชอบธรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีแม่ยกเป็นกองเชียร์ แม้ฐานเสียงจะสู้ประชาธิปัตย์ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ไม่ได้ แต่กองเชียร์ก็ไม่น้อยหน้า

สำหรับพรรคการเมืองใหม่ไม่ว่าจะส่งประพันธ์ คูณมี สำราญ รอดเพชร หรือตั้ว ที่เคยเป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน ก็คงจะเป็นแค่การชิมลาง วัดความนิยมของพันธมิตรว่ายังเหนียวแน่นแค่ไหน

โฟกัสจึงไปอยู่ที่สองขั้วอำนาจ ฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ไล่ล่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อีกฝ่าย ทวงความเป็นธรรม พยายามจะพา พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านให้ได้

ชนกันตรงๆ

จุดอ่อนของคุณก่อแก้วคือ รากฐานของพรรคไม่ค่อยจะแข็งแรงถ้าคุณก่อแก้วสอบผ่านคราวนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นเพราะตัวคุณก่อแก้วแนวร่วม และความนิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ โดยตรง
ไหนๆก็ไหนๆ คงจะจำกันได้ เมื่อครั้งตั้งพรรคไทยรักไทยมาใหม่ๆ พื้นที่เลือกตั้งจากลาดพร้าวถึงหนองจอก มีนบุรี อดีตพรรคไทยรักไทยกินเรียบ ไม่รู้ทำท่าไหน ประชาธิปัตย์ช่วงชิงกลับไปได้ทั้งหมด

ที่เห็นชัดเจนคือความอ่อนแอของพรรคนับตั้งแต่ ขาดหัว อย่างพ.ต.ท.ทักษิณ จากนั้นมาขั้วการเมืองนี้ก็สะบักสะบอม โดนมรสุม ทุกรูปแบบ ได้ยินมาว่ามีคนคิดกลยุทธ์ให้ขั้วการเมืองนี้หลังไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้นำ โดยทำให้สถานภาพของพรรคอ่อนแอไปก่อน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงเป็นเป้าการถูกยุบพรรคซ้ำซาก

จะเป็นความหวังดีแต่ปรารถนาร้ายหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ ถ้าวันนั้นหาหัวหน้าพรรคที่แข็งแรงเป็นสัญลักษณ์แทน พ.ต.ท.ทักษิณได้ ชะตากรรมก็คงไม่ล้มลุกคลุกคลานขนาดนี้ จะมีประชาชนช่วยกันโอบอุ้มและปกป้องจากอำนาจที่ไม่ชอบธรรมทั้งหลาย วิกฤติบ้านเมืองก็คงไม่ถลำลึกบานปลาย พ.ต.ท.ทักษิณก็สบายตัว

ประชาธิปไตยก็จะไม่ถูกย่ำยีขนาดนี้.

หมัดเหล็ก

การ์ตูน เซีย 26/06/53

ที่มา ไทยรัฐ

การ์ตูน เซีย 26/06/53

24 มิถุนากับพระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะทหาร และลูกชาย ที่ชื่อประชาธิปไตย

ที่มา ประชาไท


24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้รับฉายาว่า "เชษฐบุรุษประชาธิปไตย" และหลังจากที่คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกบัญญัติและเผยแพร่ไป มีชาวบ้านบางคนคิดว่า เป็นชื่อของลูกชายของพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยซ้ำ

การตีความ 24 มิถุนายน 2475
ผู้เขียนสนใจในประเด็นของการตีความ 24 มิถุนายน 2475 โดยเชื่อมโยงเรื่องเล่าการเข้าร่วมคณะราษฎรของพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และผู้เขียนอ้างอิงที่มาของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ๒๔ มิถุนา: การตีความ ๔ แบบ ซึ่งเริ่มต้นว่า เหตุการณ์ แบบไหนจัดว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์? วินาทีที่ผู้อ่านกำลังอ่านข้อความเหล่านี้ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย หรือในโลก มีเด็กกำลังเกิด ซึ่งสำหรับพ่อแม่ของเด็กนั้น คงทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย อาจจะเปลี่ยนแปลงชนิดตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้เลยก็ได้

ในแง่นี้ การเกิดของลูกย่อมเป็น “เหตุการณ์สำคัญ” ของพวกเขา แต่สำหรับคนอื่นๆ (“สังคม”) การเกิดของเด็กชายหรือเด็กหญิงคนนั้น จะถือว่าเป็น “เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์” ได้หรือไม่?

ปัญหาว่าอะไรคือ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นปัญหาที่นักประวัติศาสตร์เองและผู้สนใน ปรัชญาประวัติศาสตร์ถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบมาเป็นเวลานาน นักปรัชญาผู้หนึ่งเคยเสนอว่า เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์คือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความ สัมพันธ์เชิงโครงสร้างที่ดำรงอยู่ (causes a mutation in the existing structural relations) แต่ก็มีนักปรัชญาบางคนแย้งว่า เหตุการณ์อย่างการตายของคาร์ล มาร์กซ แม้จะไม่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง แต่ก็นับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ . . . . .
เหตุการณ์ ในประเทศสยาม เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์หรือไม่? สำคัญแค่ไหน?อย่างไร? ในเวลา ๗๑ ปีที่ผ่านมา ความคิดเห็น ความรู้สึก (หรือพูดแบบวิชาการหน่อยคือ “การตีความ”) ต่อเหตุการณ์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไป อาจกล่าวได้ว่าในระยะ ๗ ทศวรรษนี้ มีวิธีมอง “๒๔ มิถุนา” หรือ “๒๔๗๕” ได้ ๔ แบบ ถ้าจะยืมภาษาวิชาการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความคิดที่ได้รับการ ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ก็คือ มี “กระบวนทัศน์การตีความ” (interpretive paradigm) เกี่ยวกับ “๒๔ มิถุนา” อยู่ ๔ กระบวนทัศน์ คือ แบบที่หนึ่ง เชียร์คณะราษฎร โจมตีเจ้า แบบที่สอง เชียร์เจ้า โจมตีคณะราษฎร แบบที่สาม โจมตีทั้งเจ้า ทั้งคณะราษฎร และผู้เขียน ก็ขอเน้นที่มุมมองล่าสุดในการตีความ 2475 แบบที่สี่ เชียร์ทั้งเจ้า ทั้งปรีดี (คณะราษฎร) ในปัจจุบัน โดยเน้นชัดที่ปรีดี พนมยงค์ คือ

....กระบวนทัศน์ใหม่ได้ ขณะเดียวกัน การรื้อฟื้นเกียรติภูมิของปรีดี ก็มีลักษณะที่คล้ายกับการยกย่องผู้นำแบบจารีตของไทยในอดีตมากขึ้นทุกที (โปรดสังเกตการเรียกปรีดีว่า “พ่อ” ในกลอน “พ่อของข้าฯนามระบือชื่อปรีดี”) เราจึงอาจกล่าวถึง “การรองรับซึ่งกันและกัน” (mutual-accommodation) ระหว่างกระบวนทัศน์ทั้งสองต้นแบบ ของการรองรับซึ่งกันและกันนี้ เริ่มมีร่องรอยให้เห็นตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๓ ในหนังสือที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระปกเกล้า ซึ่งนอกจากมีเนื้อหาที่เป็นราชสดุดีต่อรัชกาลที่ ๗ แล้ว ยังมีการตีพิมพ์ประกาศคณะราษฎร (ที่ประณามพระองค์) ฉบับเต็มด้วย ในทางกลับกัน ในงานฉลอง ๑๐๐ ปีปรีดี ที่ธรรมศาสตร์ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ ในภาพสไลด์ชุดสดุดีปรีดี มีภาพหนึ่งเป็นพระราชหัตถเลขาสละราชย์ (ที่ประณามปรีดีและคณะราษฎร) แต่ที่อาจถือเป็นแบบฉบับของกระบวนทัศน์ใหม่นี้ คือบทความ (จากปาฐกถา) ของประเวศ วะสี เรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์ กับรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์”

ที่สำคัญ กระบวนทัศน์การตีความ “๒๔ มิถุนา” ใหม่นี้ แสดงออกที่ ในปัจจุบัน รัฐได้ให้การสนับสนุนและดำเนินการจัดตั้งองค์การอย่าง สถาบัน และ พิพิธภัณฑ์ พระปกเกล้า ขณะเดียวกับที่ ทำการเสนอชื่อปรีดี ให้เป็นบุคคลสำคัญของยูเนสโก และจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปีให้กับปรีดี (1)

คณะราษฎร:พระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะทหาร และลูกชาย ที่ชื่อประชาธิปไตย

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหนึ่งในคณะราษฎรฝ่ายทหารชั้นผู้ใหญ่ เป็น 1 ใน 4 ทหารเสือ ที่ประกอบด้วย ตัวท่าน, พระยาฤทธิ์อัคเนย์, พระยาทรงสุรเดช และ พระประศาสน์พิทยายุทธ ในระหว่างการประชุมวางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยาพหล ฯ ได้เคยมีดำริถึงเรื่องนี้มาก่อนและเปรยว่า ทำอย่างไรให้อำนาจการปกครองอยู่ในมือของคนทั่วไปจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ในมือของชนชั้นปกครองแค่ไม่กี่คน และเมื่อคณะราษฎรทั้งหมดยกให้ท่านเป็นหัวหน้า ท่านก็รับไว้

ในเช้าวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้สั่งเสียไว้กับภรรยา (ท่านผู้หญิงบุญหลง พลพยุหเสนา) ว่า หากทำการมิสำเร็จและต้องประสบภัยถึงแก่ชีวิตแล้ว ขอให้คุณหญิงจงเป็นพยานแก่คนทั้งหลายว่า "การที่คิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย ความมุ่งหมายจำกัดอยู่แต่เพียงว่า ให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ผู้น้อยและประชาราษฎรได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้านเมืองได้บ้าง" และฝากให้เลี้ยงลูกให้เป็นคนดีด้วย ก่อนออกจากบ้านไปพร้อมกับพระประศาสน์พิทยายุทธที่ขับรถมา มุ่งหน้าไปยังกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เพื่อสมทบกับพระยาทรงสุรเดชตามแผนที่วางไว้พร้อมกับเหน็บปืนพกค้อลท์รีวอลเวอร์ที่เอว เป็นอาวุธข้างกาย

ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เมื่อทหารทุกหน่วยมาพร้อมแล้ว พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เดินออกจากร่มเงาต้นอโศกข้างถนนราชดำเนิน เพื่อแสดงตนเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ และอ่านประกาศฉบับแรกของคณะราษฏร (2) เป็นต้นธารของประวัติศาสตร์ แน่นอนว่า เมื่อเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475 เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งคนในสมัยปัจจุบัน ก็ประเมินเหตุการณ์นี้ไปคนละแบบ โดยแต่ละมุมมอง (3) ก็น่าสนใจผู้เขียน ก็เห็นว่าไม่มีการเสียเลือดเนื้อใด

ในการเปลี่ยนแปลง 2475 และก็สมควรกับการทำหน้าที่ของสิ่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนา มีคติประจำใจว่า ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชาย ต้องไว้ชื่อ และบทบาทอันควรค่าของพระยาพหลพลพยุหเสนา ในฐานะทหาร กับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จนได้รับฉายาว่า "เชษฐบุรุษประชาธิปไตย" จากบทบาทที่มีค่อนข้างสูงในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพราะเป็นผู้นำคณะราษฎรฝ่ายทหารบก และหลังจากที่คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกบัญญัติและเผยแพร่ไป มีชาวบ้านบางคนคิดว่า เป็นชื่อของลูกชายของพระยาพหลพลพยุหเสนาด้วยซ้ำ ซึ่งต่อมาชื่อของพระยาพหลพลพยุหเสนา ก็ปรากฏเป็นชื่อ ถนนพหลโยธิน ต่างๆ นานา

เมื่อชาวบ้านบางคนคิดว่า จุดเริ่มต้นคำว่าประชาธิปไตยนั้น สัมพันธ์เป็นชื่อของลูกชายพระยาพหลพลพยุหเสนา กับอุดมการณ์ของคณะราษฎร ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนวันชาติ คือ วันที่ 24 มิถุนา หายไปในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ที่มีการสถาปนาการเมืองระบบพ่อขุนอุปถ้มภ์แบบเผด็จการ ซึ่งทหาร ก็มาลบภาพความทรงจำของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากความสำคัญของวันชาติในอดีต โดยสัญลักษณ์เชื่อมโยงวันต้นไม้ประจำปีของชาติ และวันเปิดสถานีโทรทัศน์ วิทยุ และตราสัญลักษณ์ของทีวี ในสมัยนั้น ซึ่งผู้เขียนเคยเขียนบทความไปก่อนหน้านี้ แล้วเวลาต่อมา พระยาพหลพลพยุหเสนา และปรีดี พนมยงค์ ก็ค่อยๆ จางหายไปจากประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง หลังยุคสฤษดิ์ไปอีกหลายปีนั้น ชื่อของปรีดี พนมยงค์ ก็กลับมาเป็น“พ่อ” ในกลอน เช่นว่า “พ่อของข้าฯนามระบือชื่อปรีดี แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ” แต่ว่า สิ่งที่แตกต่างในการตีความ 24 มิถุนายน 2475 จนปัจจุบัน ก็คือ การชูปรีดีแบบประเวศ วะสี และต่อมา ประเวศ ก็คิดเห็นแตกต่างจากปรีดีในเรื่องประเทศเพื่อนบ้าน (4) แล้วประเทศตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ก็เชื่อมโยงชาติไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม ทหารหายไปจากการระลึกถึงความทรงจำเชื่อมโยงชุมชนจินตกรรมแห่งชาติ ในความเป็นพ่อ หรือ ลุง (5) เฉกเช่นพระยาพหลพลพยุหเสนา ฉายาว่า "เชษฐบุรุษประชาธิปไตย" หลังจากที่คำว่าประชาธิปไตยได้ถูกบัญญัติและเผยแพร่ไปมีชาวบ้านบางคนคิดว่า เป็นชื่อของลูกชายของพระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งในแง่นี้ การเกิดของลูกย่อมเป็น “เหตุการณ์สำคัญ” ของพวกเรา เชื่อมโยงไม่ให้คณะราษฎร หรือทหารของราษฎรถูกลืมเลือนจางหายไป

อ้างอิง
1.ดูเพิ่มเติม สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ๒๔ มิถุนา: การตีความ ๔ แบบ
http://somsakwork.blogspot.com/2006/06/causes-mutation-in-existing-structural.html
2. ดูเพิ่มเติม วิกิพีเดีย th.wikipedia.org/.../พระยาพหลพลพยุหเสนา_(พจน์_พหลโยธิน)
3,ผู้เขียนเคยอ้างอิงในศิลปะกับการเมือง: มุมมองว่าด้วย รสนิยม ชนชั้น ประวัติศาสตร์ และการตีความ(19 กรกฎาคม 2551) และ
4. อรรคพล สาตุ้ม ปรีดี-ประเวศ กับทัศนะต่อประเทศเพื่อนบ้านต่างกัน (ดูในประชาไท หรือไทยอีนิวส์)
http://thaienews.blogspot.com/2009/12/blog-post_8771.html
5.อรรคพล สาตุ้ม ระลึกถึงลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ในฐานะญาติร่วมชาติไทยในเดือนตุลาคม(ดูในประชาไท หรือไทยอีนิวส์)
http://thaienews.blogspot.com/2009/10/blog-post_1945.html