WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 23, 2011

นิทาน "พระวิหาร"

ที่มา มติชน



โดย สรกล อดุลยานนท์

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2554)

ถ้ารัฐบาล "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เป็น "บริษัท"

และกำลังต้องปิดกิจการ

ตอนนี้ "นักบัญชี" คงกำลังกดเครื่องคิดเลขคำนวณเพื่อดูว่า "บรรทัดสุดท้าย" เป็นอย่างไร

"ตัวดำ" หรือ "ตัวแดง"

"กำไร" หรือ "ขาดทุน"

ผมเชื่อว่าเมื่อตรวจสอบบัญชีอย่างละเอียด "อภิสิทธิ์" คงรู้แล้วว่าเขามี "รายจ่าย" มโหฬารจากการแต่งตั้ง "กษิต ภิรมย์" เป็น "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ"

2 ปีกว่าในตำแหน่งนี้ เวลาครึ่งหนึ่งเขาใช้กับการไล่ล่า "ทักษิณ ชินวัตร" ที่เหลือใช้กับการทะเลาะกับ "ฮุน เซน"

ถ้าดูข้อมูลเก่าเราจะเจอข่าว "กษิต" และ "ชวนันท์ อินทรโกมาลย์สุต" เลขานุการ รมต.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงความมั่นใจว่าจะไล่จับ "ทักษิณ" ได้อย่างแน่นอนเยอะมาก

ถึงวันนี้เราก็รู้แล้วว่าที่ทั้งคู่พูดมาตลอดนั้นเป็นความจริงหรือไม่

และไม่รู้ว่าเป็นสัญญาณอะไรหรือไม่ ที่บรรดาทูตประเทศต่างๆ จึงเข้าคิวพบ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งจนรู้ผลการเลือกตั้ง

ถ้อยคำที่เผยแพร่ออกมาเหมือนมีนัยยะอะไรบางประการ

เชื่อว่าหลังจากนี้เราคงจะได้ยิน "ความจริง" ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนจากคนในกระทรวงการต่างประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน

นั่นคือ "รายจ่าย" ของประเทศไทย

และที่ต้องจ่ายมากที่สุดคงไม่พ้นเรื่อง "ปราสาทพระวิหาร"

จนถึงวันนี้คนส่วนใหญ่ยังตั้งคำถามอยู่เลยว่าเมืองไทยเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

นึกถึงวันที่ "นพดล ปัทมะ" ลงนามในแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชา สนับสนุนให้ "กัมพูชา" จดทะเบียน "ปราสาทพระวิหาร" เป็นมรดกโลก

ส่วนพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ก็ให้ 2 ประเทศพัฒนาร่วมกัน

ถ้าทุกอย่างจบลงด้วยดีในวันนั้น "กัมพูชา" ก็ต้องรู้สึกดีว่า "ไทย" มีน้ำใจ

ส่วนการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนร่วมกันมี "นัยยะ" แห่งความจริงที่ไม่อยู่ในตัวอักษรในสัญญา

คือ "ไทย" ได้เปรียบ "กัมพูชา" ทั้งศักยภาพทางการเงิน และฝีมือทางธุรกิจ

แค่คิดง่ายๆ ว่านักท่องเที่ยวจะขึ้นปราสาทพระวิหารทางไหน

ก็เมื่อทางขึ้นอยู่ในประเทศไทย เขาก็ต้องขึ้นทางฝั่งไทย

พักที่ไหน ก็ต้องพักทางฝั่งไทยเพราะสะดวกสบายกว่า

แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาในช่วงรัฐบาล "อภิสิทธิ์" กลับมีแต่ความขัดแย้งจนถึงขั้นเปิดศึกที่ชายแดน

คนไทย 5 หมื่นกว่าคนต้องอพยพทิ้งบ้านเรือน

"อาเซียน" ต้องเรียกประชุมเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่าง "ไทย-กัมพูชา"

รัฐบาลไทยถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก

"กัมพูชา" ยื่นเรื่องเข้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

และในที่สุดก็ยื่นเรื่องให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 และคุ้มครองฉุกเฉินให้ไทย-กัมพูชาถอนทหารออกจากพื้นที่ความขัดแย้ง

นี่คือ "รายจ่าย" ครั้งใหญ่ของประเทศชาติ

ที่ผ่านมาแม้ว่าใครจะ "ปากแข็ง" ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของไทย แต่ในใจนั้นแฝงด้วยความหวาดหวั่นเพราะรู้อยู่ว่าถ้าเรื่องถึง "ศาลโลก" เมื่อไร เรามีโอกาสแพ้มากกว่าชนะ

ใครที่บอกว่าหลักฐานของเราดีกว่า

ใครที่บอกว่ากัมพูชาเสียพื้นที่มากกว่าเรา

ใครที่บอกว่าเราชนะแน่นอน ฯลฯ

ในโลกแห่งความเป็นจริง สุดท้าย "นิทาน" ก็ย่อมเป็น "นิทาน"

และ "นิทาน" เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า....

"คนโง่แต่ขยัน" อันตรายที่สุดจริงๆ

ฮีโร่พันธุ์ไทย:ตบเด็กเตะหมาตื้บหญิงยิงคนมือเปล่า

ที่มา Thai E-News



" ที่เขายิงต่อไปเพราะตรวจสอบแล้วในเบื้องต้นว่า บุคคลที่ถือระเบิดเข้ามาจะขว้างนั้น กำลังจะหยิบลูกระเบิดแล้วจะขว้างอีกรอบหนึ่ง"

พัน เอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด-ไก่อูยอมรับแล้วว่า สอ.คชารัตน์ เนียมรอดกับ สอ.ศฤงคาร ทวีชีพ สังกัด ม.พัน 5 ส่องยิงจริง เพื่อคุ้มกันกำลังภาคพื้นดิน

นั่นเป็นการแถของนายไก่อูเมื่อโดนจับได้คาหนังคาเขา ความจริงเป็นการยิงเอามัน ดูเคสข้างล่างนี้


นายชาติชาย ซาเหลา โดนยิงในรัศมีการทำงานของทเอี้ยสองคนนี้

นายชาติชาย ซาเหลา ไม่ได้ถือลูกระเบิดเพื่อจะเข้าไปขว้างปาใส่ทหาร แต่ถือกล้องถ่ายวิดีโอ ยิงเขาทำไม!(ที่มา:บอร์ดประชาทอล์ก)



รุมสาปแช่ง-คน ในโลกไซเบอร์รุมสาปแช่งมือ สไนเปอร์ที่สังหารผู้ชุมนุมเสื้อแดงอย่างเลือดเย็นอำมหิต โดยที่ 1 ใน 2 มือสังหารมีรูปถ่ายในเฟซบุ๊คที่อยู่กับป้ายคำขวัญว่า"อะไรก็ได้ ถ้านายสั่ง" รวมทั้งการสั่งสังหารประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย และไม่มีอาวุธ (ภาพ:กระดานสนทนาIF)


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา กระดานสนทนาInternet Freedom
23 กรกฎาคม 2554

ใน กระแสเชิดชูยกย่องวีรบุรุษทหารที่ตายในอุบัติเหตุเครื่องบินตก โดยยังไม่ทราบภารกิจแน่ชัด ในด้านหนึ่งก็มีทุรกรรมที่ไม่เคยเผยแพร่ผ่านสื่อโทรทัศน์และสื่อกระแสหลัก เช่นกัน เราเลยขอนำมาให้รำลึกอีกด้าน


เทือกทำหล่น-ภาพ สไลด์ที่อ้างว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำไปประกอบการชี้แจงและกล่าวหาเสื้อแดงในวันอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและ เผอเรอทิ้งไว้ ระบุว่ามือสไนเปอร์ คือ ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ และมือชี้เป้าคือ ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด กำลังสังหารผู้ชุมนุมมือเปล่าอย่างมันมือ ต่อมา 1 ใน 2 คนนี้ยังไปเขียนข้อความในเว็บบอร์ดของนายสิบทหารบกประกาศว่าตนคือทีมสไน เปอร์ ราวกับเป็นวีรกรรม

กระดานสนทนาการเมือง Internet Freedomได้ เปิดเผยภาพถ่ายสไลด์ที่อ้างว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง นำไปประกอบการชี้แจงและกล่าวหาเสื้อแดงในวันอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและ เผอเรอทิ้งไว้ ระบุว่า มือสไนเปอร์ คือ ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ และมือชี้เป้าคือ ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด ขณะกำลังสังหารผู้ชุมนุมมือเปล่าอย่างมันมือ







คลิปวิดิโอ-มือสไนเปอร์(ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ) และมือชี้เป้า (ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด)กำลังสังหารผู้ชุมนุมมือเปล่าอย่างมันมือ




หลักฐาน-สไลด์ ที่อ้างว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำไปประกอบการชี้แจงกล่าวหาเสื้อแดงในวันอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลและเผอเรอ ทิ้งไว้ แต่ในภาพกลางนั้นระบุวันที่ 15 เมษายน ความจริงเป็น 15 พฤษภาคม


วีรกรรม?-ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด (โอ๊ต)ไปโพสต์ข้อความในเวบบอร์ดของนายสิบรุ่นเดียวกันยอมรับว่า ตัวเองคือบุคคลในคลิป ศอฉ.ที่ชุมชนบ่อนไก่ด้วยความภาคภูมิใจ


ข้อมูลจำเพาะมือสไนเปอร์-ข้อมูลจำเพาะของส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ มือสไนเปอร์ที่สังหารผู้ชุมนุมมือเปล่าอย่างเลือดเย็น


กระดาน สนทนาIFระบุว่า จากการสืบค้นพบว่า มือสไนเปอร์คือ ส.อ. ศฤงคาร ทวีชีพ สังกัด ม.พัน ๕ รอ. เลขที่บัตรประชาชน 3189900095166 วันเกิด 4 กันยายน 2524 โทรมือถือ 086-7643501 ที่อยู่ 196 พหลโยธิน, ต.ปากข้าวสาร อ.เมือง จ.สระบุรี 18000

ส่วนส.อ. คชารัตน์ เนียมรอด (โอ๊ต)มีเบอร์อีเมล์ kacharat_746@hotmail.com เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/profile.php?id=100001606870309

อย่าง ไรก็ตามการนำข้อมูลมาเผยแพร่ต่อของไทยอีนิวส์ ไม่มีความประสงค์ให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพียงแต่ต้องการให้เป็นข้อมูลต่อDSI เนื่องจากหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปนาน 9 เดือน ยังไม่มีหลักฐานใดชี้ว่าDSIได้ดำเนินคดีต่อบุคคลทั้งสอง

เผยนายทหารตัวเอ้คุมสังหาร10เมษา-19พฤษภา,แก๊งฆ่าเสธ.แดง,กระชากโฉม5สมุนเหี้ย..มสังหาร6ศพวัดปทุม


ก่อนหน้านี้กระดานสนทนาบอร์ดInternet freedom เผยแพร่ครั้งแรก 30 มกราคม 2554 ได้เปิดเผยเอกสารรายชื่อทหาร-หน่วยงานที่ได้รับคำสั่งเข้าสลายการชุมนุมคน เสื้อแดง พร้อมพื้นที่ปฏิบัติการ และเหยื่อสังหาร ซึ่งรวมทั้งกรณีสังหารเสธ.แดง พลตรีขัติยะ สวัสดิผล และ 5 นายสิบมือสังหารบาป 6 ศพวัดปทุมฯ ดังต่อไปนี้

1.)พล.ม.2รอ.กับเหยื่อสังหารนักข่าวญี่ปุ่นและเหยื่อ10เมษาฯ

เอกสารแผ่นแรกเปิดเผยรายชื่อผู้เสียชีวิต 19 รายรวมทั้งนักข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่น ในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553
พล.ม.2รอ.มีชื่อเต็มๆว่า กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์
ปัจจุบันนี้มีพล.ต. สุรศักดิ์ บุญศิริ เป็น ผบ.พล.ม.2 รอ.

พ.อ.กู้เกียรติ ศรีนาคา ผู้รับผิดชอบเหตุการณ์แยกคอกวัว เคยไล่เสธ.แดงออกจากกองทัพมาแล้ว

พ.อ.ธรรมนูญ วิถี ผู้รับผิดชอบบริเวณถนนดินสอ ที่นักข่าวญี่ปุ่นเสียชีวิต และนายวสันต์ ภู่ทอง ถูกยิงกระโหลกเปิด แต่พ.อ.ธรรมนูญก็บาดเจ็บจากการนี้ ซึ่งได้รับพรระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงเยี่ยมอาการบาดเจ็บด้วย(ภาพข่าว:เดลินิวส์)

2.)พล.ม.2รอ.,พล.1รอ.และพล.ร.9กับ10เมษาและกรณีสังหารพลทหารณรงค์ฤทธิ์


เอก สารแผ่นทื่2เปิดเผยถึงเหตุการณ์เหยื่อสังหาร10เมษาอีกรายบริเวณสะพาน มัฆวานฯมีพล.1รอ.รับผิดชอบ,เหตุการณ์ระเบิดที่สีลม22เม.ย.และเหตุการณ์เสื้อ แดงเคลื่อนไปตลาดไทย เป็นเหตุให้พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ เสียชีวิต เวลานั้นสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าถูกฝ่ายเจ้าหน้าที่ด้วยกันยิง

พล.1รอ.ย่อมาจาก กองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ ส่วนพล ร.9 ย่อมาจาก กองพลทหารราบที่ 9 กาญจนบุรี

3.)พล.ม.2รอ.กับการตายของตำรวจและเหยื่อ


เอกสารแผ่นที่3กล่าวถึงการเสียชีวิตของตำรวจ 2 นาย ผู้ชุมนุม 1 ราย คือนายชาติชาย ซาเหลา

โดยมีพล.ม.2รอ.รับผิดชอบภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.อ.จุมพล จุมพลภักดี

4.)สังหารเสธ.แดงและ6ศพวัดปทุม-พล.ม.2รอ.,พล.1รอ.,ร.31พัน2รอ.และกองพันรบพิเศษที่1 กรมทหารรบพิเศษที่3(ลพบุรี)


เอกสารแผ่นที่4กล่าวถึงการสังหารเหยื่อในวันที่ 15 พ.ค.บริเวณซอยงามดูพลี,แยกบ่อนไก่,ซอยสุวรรณสวัสดิ์ มีผู้เสียชีวิต 4 ศพ

มีพล.ม.2รอ.ใต้บังคับบัญชาของ พ.อ.เพชรพรม โพธิ์ชัย รับผิดชอบ

เอกสารแผ่นนี้กล่าวถึงการสังหาร6ศพวัดปทุมฯรวมทั้ง"น้องเกด"เหตุเกิดวันที่ 19-20พ.ค.2553 มีพล.1รอ.ภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.ท.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์

ทหารกล้าฆ่า6ศพในวัดปทุมฯ?-หลัง จากนายจตุพร พรหมพันธ์ ได้เปิดเผยเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วถึงรายชื่อทหารที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นทีมปฏิบัติการสังหารหมู่เหยื่อ 6 ศพที่ลี้ภัยในเขตอภัยทาน วัดปทุมวนาราม เมื่อ 19 พฤษภาคม 53 ล่าสุดมีการเปิดเผยโฉมหน้าและประวัติทีมงานที่ถูกกล่าวหาดังกล่าวทาง อินเตอร์เน็ต (คลิ้กที่ภาพเพื่อขยายใหญ่)
นศล.ภายใต้บังคับบัญชาของ พ.อ.ณรงค์ฤทธิ์ คำภีระ

และรบพิเศษที่3ลพบุรี มีพ.ต.นิมิต วีระพงศ์ กับจสอ.สมยศ ร่มจำปา(ในภาพ) เป็นผู้บังคับบัญชา

เอกสาร แผ่นนี้ยังกล่าวถึงการยิงสังหารเสธ.แดงในระยะไกลด้วยว่ามีพล.ม.2 รอ.ภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.ต.สุรพงษ์ กาญจนโพธิ์ พ.ต.ณัฐพล บุญกระพือ ร.อ.จิรจำนง โกษาวัง(ในภาพ) และร.อ.ศันศนะ เพ็ชรสุข

5.)พล.ม.2รอ.กับเหตุการณ์สังหาร14-17เมษายน

เอกสาร แผ่นนี้กล่าวถึงเหตุการณ์สังหารที่บริเวณถนนวิทยุ,สนามมวย ลุมพินี,ธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่,ซอยปลูกจิต,สวนลุมพินี,แยกศาลาแดง ระหว่างวันที่ 14-17พ.ค.2553 นอกจากพ.อ.เพชรพนม โพธิ์ชัยแล้ว มีพ.ท.โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์ และพ.ท.วิฑูร โพธิ์ร่มรื่น เป็นผู้บังคับบัญชา

6.)พล.ม.2รอ.


เอกสาร แผ่นนี้กล่าวถึงเหตุการณ์ระหว่างวันที่15-19พฤษภาคม ซึ่งเป็นเหตุให้ช่างภาพชาวอิตาลีเสียชีวิต พร้อมผู้ชุมนุมที่ตกเป็นเหยื่อสังหารอีก 7 ราย อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของพล.ม.2

เหตุการณ์นี้มีผู้บังคับบัญชาคือพ.อ.ถนัดพล โกษยเสวี , พ.อ.ไตรเทพ ศรีพันธุ์วงศ์ ,พ.ท.ฉัตรชัย ดวงรัตน์,พ.อ.เพชรพนม โพธิ์ชัย


7.)พล.ม.2รอ.กับเหตุสลายม็อบราชประสงค์


เอกสาร แผ่นสุดท้านนี้เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิต1ราย โดยกองพลทหารม้าที่2รักษาพระองค์เป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากพ.อ.ไตรเทพแล้วมีพ.อ.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ เป็นผู้บังคับบัญชา (บุคคลในภาพ)

อะไรๆ ก็เสื้อแดง

ที่มา มติชน



โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 22 กรกฎาคม 2554)

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ให้สัมภาษณ์เมื่อหลายวันก่อนว่า เตรียมจะลดบทบาทตัวเองจากเสื้อแดงเพื่อหันกลับไปทำงานด้านเอ็นจีโอดังเดิม

ใครไม่รู้จักตัวตนของ บ.ก.ลายจุดอาจงุนงง สงสัยว่าขัดแย้งแตกแยกอะไรกันหรือ

แต่คนที่รู้จักความเป็นมาของ บ.ก.ลายจุดดี จะเข้าใจได้ไม่ยาก

เพราะแก่นแท้ไม่ใช่ นปช. ไม่ใช่แกนนำเสื้อแดงขนานแท้และดั้งเดิม แบบ วีระ มุสิกพงศ์, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, จตุพร พรหมพันธุ์ อะไรเหล่านั้น

บ.ก.ลายจุดโดดเข้ามาร่วมกับเสื้อแดง ด้วยการตั้งกลุ่มเฉพาะกิจ

เป็นกลุ่มที่ก่อเกิดขึ้นในจังหวะสถานการณ์ที่แกนนำเสื้อแดงตัวจริงอยู่ในคุกหรือลี้ภัย

เข้ามาเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวให้กับชาวเสื้อแดงเป็นการชั่วคราว

ความ ที่พื้นฐานคือเอ็นจีโอด้านศิลปการละคร เลยเกิดการเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ขึ้นที่แยกราชประสงค์ และตามจุดต่างๆ ที่มีคนตาย มีคนถูกฆ่า

การประท้วง ทวงถามความเป็นธรรมให้กับ 91 ศพ โดยไม่ต้องถือไมค์ไฮด์ปาร์ก แต่ใช้รูปแบบศิลปะ ผูกผ้าแดง แพลงกิ้งนอนตาย

จึงพอดิบพอดีกับช่วงที่ยังมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อำนาจ ศอฉ.ยังครองเมือง

อำนาจรัฐซึ่งกำลังหน้ามืดตามัวเพิ่งผ่านการละเลงเลือดมาหมาดๆ จึงได้แต่มองอย่างสับสน คิดตามไม่ทัน และไม่รู้จะหยุดยั้งได้อย่างไร

ชาวเสื้อแดงที่ไม่ถูกฆ่าตาย ไม่ถูกจับกุม จึงมีทางออก มีพื้นที่ได้ระบายในทุกๆ สัปดาห์

จนเมื่อการต่อสู้ของคนเสื้อแดงดำเนินไปอย่างสงบสันติ จนได้รับชัยชนะในขั้นแรกผ่านการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคมแล้ว

จึงไม่น่าแปลกใจที่ บ.ก.ลายจุดจะเตรียมตัวถอยกลับไปสู่ชีวิตเอ็นจีโอ เพราะคงจบภารกิจชั่วคราวนั้นแล้ว

ทั้ง ยังเป็นคำอธิบายว่า การโดดเข้ามาร่วมกับคนเสื้อแดงนั้น มาจากการทนเห็นรัฐบาลใช้อำนาจเผด็จการกับการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนไม่ ได้

ไม่ต่างจากผู้รักความเป็นธรรมหลายๆ คน ที่เข้ามาร่วมกับเสื้อแดงหลังเหตุการณ์ 91 ศพ เพราะรับไม่ได้กับคนที่สั่งทหารเข้ามาจัดการม็อบ

อย่างเช่น นที สรวารี "ไอ แอม คัมอะโลน"

แม้แต่อาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นักวิชาการที่ต่อต้านการใช้อำนาจรัฐผิดๆ มาตั้งแต่ยุคทักษิณ เมื่ออภิสิทธิ์ก็ใช้อำนาจไม่แพ้ทักษิณเลย อาจารย์สุธาชัยก็ต้องลงสนาม

ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่ใช่เสื้อแดง แต่ต้องเข้ามา เพราะเห็นคุณค่าชีวิตคนตาย มากกว่าเสียดายตึกถูกเผา

เสื้อแดงเลยเป็นขบวนใหญ่โตขึ้นมา ด้วยฝีมือของรัฐบาลอภิสิทธิ์-สุเทพ ซึ่งไร้ความชาญฉลาดนั่นเอง

ตั้งแต่เริ่มเข้ามามีอำนาจก็ตั้งเป้าเป็นศัตรูกับเสื้อแดง เลยตีกันมาตลอด จนสุดท้ายมีคนตายหมู่กลางเมือง

แม้แต่สื่อมวลชนที่กล้านำเสนอความจริงในเหตุการณ์ 91 ศพ ก็ถูกรัฐบาลจัดเป็นพวกเสื้อแดง

กวาดต้อนคนทุกฝ่ายไปยืนอยู่ตรงข้ามกับตัวเอง

กว่า 15 ล้านเสียง เมื่อ 3 กรกฎาคมนั้น ไม่ใช่เสื้อแดงทั้งหมดหรอก

แต่เป็นประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมรับกลุ่มอำนาจโง่ๆ

คนทำสื่อชี้! อย่ามองคนดูเป็นเพียง "ลูกค้า" ระบุปัญหา ′เรตติ้ง′ "อาชญากรฆ่าสติปัญญาคนในประเทศ"!!

ที่มา มติชน



"เรตติ้ง เป็นอาชญากรตัวสำคัญที่ฆ่าสติปัญญาของคนในประเทศนี้" จำนรรค์ ศิริตัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เจเอสแอลฯ กล่าวในเวทีเสวนา "ช่วยคิด ช่วยทำ เพื่อส่งเสริมและสร้างสรรค์สื่อรายการน้ำดี สู่สังคมไทย" เมื่อวันพฤหัสบดี (21 ก.ค.) ที่ผ่านมา โดยการเสวนาดังกล่าวเป็นเวทีย่อยของการสัมมนาระดมความคิดเห็น "สร้างสังคมให้ดี สร้างสื่อดีดีให้กับสังคม" ซึ่งจัด ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


"เรตติ้ง" มีปัญหา?
พิชญ์สินี หล่อวิจิตร
ผู้อำนวยการสายงานธุรกิจของบริษัท ออพติมัม มีเดีย ไดเร็คชั่นฯ กล่าวอธิบายคำว่า "เรตติ้ง" ว่า เรตติ้งคือการวัดจำนวนคนดูว่ามีจำนวนเท่าไรเมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายของ รายการนั้นๆโดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยี ซึ่งในทุกวันนี้ เรตติ้งเป็นตัวชี้วัดเดียวที่สามารถวัดผลออกมาเป็น "ตัวเลข"ได้


"ใน แง่ของธุรกิจ เราก็อยากได้คนดูสูงสุด แต่ในแง่จริยธรรมนั้นเราไม่ได้ใช้ตัวเลขเป็นตัววัด ซึ่งตรงนี้ ลูกค้าบางรายรับได้ แต่บางรายก็รับไม่ได้ หรืออาจจะมีอีกแบบหนึ่งคือ สปอนเซอร์แบบที่จะไม่ดูเรตติ้งเลย แต่ดูที่เนื้อหาว่าตรงกับกลุ่มเป้าหมายไหม ถ้าใช่ก็ไปด้วยกันได้"


ในมุมมองของนักวิชาการ ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในเรื่องนี้ว่า "เราต้องหาตัวชี้วัดตัวใหม่ที่ไม่ได้วัดแค่ยอดคนดูเท่านั้น และยังต้องมีผลในทางเศรษฐกิจได้ด้วย ซึ่งจะทำให้สปอนเซอร์หรือคนจัดสบายใจ ตอนนี้กำลังมีนิสิตนักศึกษากำลังทดลองในเรื่องนี้อยู่ เพราะในอเมริกาเองก็มีปัญหากับเรื่องเรตติ้งมาก"

จำนรรค์ ศิริตัน, ดร.สุภาพร โพธิ์แก้ว


รายการดี ไม่มีคนดูจริงหรือ?

พิชญ์สินี กล่าวว่า "คำถามที่ว่ารายการดีๆทำไมไม่มีคนดูนั้น คิดได้สองแบบ คือรายการอยู่ดึกเกินไป และ "คนดูของเราได้หลับไปหมดแล้ว" นั่นคือปัญหาของการอยู่ไม่ถูกที่ถูกทาง"


ส่วน ดร.สุภาพร กล่าวว่า "ผู้ผลิตรายการซึ่งทำหน้าสร้างสรรค์นั้นก็ไม่ใช่ผู้มีอำนาจสูงสุดของอุตสาหกรรมสื่อ" แต่ฝ่ายสถานี มีอำนาจคุมช่องทาง และฝ่ายเงินสนับสนุนหรือสปอนเซอร์เป็นอีกสองปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลมาก และเราควรจะต้องไปผลักดันในสองส่วนหลักนี้ให้มาก


"ถ้าสถานีไม่เปิดพื้นที่ให้ ต่อให้ผู้ผลิตรายการสร้างสรรค์ให้ตายก็ไม่มีที่แสดงออก" ดร.สุภาพรกล่าว


แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี?
ดร.สุภา พร: "ถ้าทำ (รายการ) อย่างชาญฉลาด แล้วเจอโจทย์ที่ชนเป๊ะเมื่อไหร่ รายการนั้นก็จะดังระเบิดเถิดเทิง ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาแล้ว มันอยู่ตรงจังหวะ เมื่อมันเกิดแล้วอย่าปล่อยให้มันนิ่ง ปัญหาคือจะหล่อเลี้ยงความเคลื่อนไหวและความรู้สึกแบบนี้ได้อย่างไร"


"ยกตัวอย่างจากซีรี่ส์อเมริกันเรื่อง "Ugly Betty" ซึ่งเป็นรายการแนวป๊อปปูลาร์ ซึ่งโจทย์ใหญ่ของรายการนี้คือคำถามที่ว่า ความงามแท้จริงคืออะไร รายการนี้เกิดมาจากจำนวนคนเชื้อสายลาตินในอเมริกานั้นมีเยอะมาก ทั้งคนเม็กซิกัน คนเปรู "อักลี่เบ็ตตี้" หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาอย่างชาญฉลาดมาก นางเอกเป็นคนที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความงามแบบตะวันตกเลย แต่ได้ไปทำงานในวงการแฟชั่นซึ่งมีแต่คนผิวขาวทั้งนั้น แล้วในเรื่องนี้เบ็ตตี้ก็เป็นฮีโร่ของสาวน้อยสาวใหญ่ สาวอ้วนสาวผอม และรายการก็เป็นที่ติดตลาดมาก"


"แต่จู่ๆก็เกิดความไม่เป็นธรรม ขึ้นในระบบการผลิตรายการนี้ คือคนเขียนบทถูกกดราคา แล้วเป็นครั้งแรกในระบบผลิตโทรทัศน์ในอเมริกา ที่คนเขียนบทสามารถนัดหยุดงาน แล้วมีผลให้ "อักลี่เบ็ตตี้" ไม่ได้ออกอากาศเป็นเวลาสามเดือน คนก็ถามกันใหญ่ว่ารายการนี้หายไปไหน ซึ่งนี่ก็ยังเกิดขึ้นได้ในสังคมที่มีความเป็นทุนนิยมสุดโต่ง"


พิชญ์สินี หล่อวิจิตร, ดวงกมล โชตะนา

ทางด้านดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธุรกิจมีเดียฯ กล่าวถึงแนวทางในการสร้างสรรค์สื่อน้ำดีว่า เรา "ต้องไม่มองว่าผู้ชมเป็น "ลูกค้า" แต่มองว่าผู้ชมนั้นเป็น "พลเมือง""


"ถ้า มองว่าคนดูเป็นลูกค้าก็จะพยายามยัดเยียดเนื้อหา จนในที่สุดจะนำมาสู่ความไม่พอใจของผู้ดู อย่างทีวีสาธารณะในอังกฤษเช่นบีบีซี พวกนี้เกิดขึ้นจากความไม่พอใจในสื่อที่เป็น commercial (สื่อที่มีความเป็นธุรกิจสูง) ก็เลยเกิดแนวคิดทีวีสาธารณะขึ้นมา มีการบังคับให้ผู้ชมจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนบีบีซี หรือในบ้านเราก็ใช้เงินกองทุนภาษีสุราเข้ามาเพื่อให้เกิดทีวีสาธารณะ"


นอก จากผู้ผลิตสื่อแล้ว ดวงกมลกล่าวว่า "สื่อจะดีได้ ไม่ได้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตฝ่ายเดียว แต่ประชาชนหรือผู้รับสื่อต้องเป็น พลเมืองที่กระตือรือร้น คนดูต้อง "เดินออกมาแล้วบอกว่า ฉันไม่ชอบรายการนี้!" พลเมืองต้องมีส่วนร่วมในการให้ feedback "สื่อไม่ดีเราต้องคอมเมนท์ สื่อดีเราต้องเชียร์" ดวงกมลกล่าว


นอก จากนี้ ดวงกมลยังกล่าวด้วยว่า การบ่มเพาะความเท่าทันสื่อในหมู่ประชาชนนั้นมีความสำคัญ สังคมต้องช่วยกัน "ตรวจสอบสื่อ" และกล่าวถึงสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นมามากมายในปัจจุบันว่า สื่อใหม่ทำให้การผลิตและเข้าถึงสื่อนั้นสามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ลดลง ซึ่งเป็นโอกาสในการผลักดันให้เกิดสื่อดีๆที่เข้าถึงสังคมได้มากขึ้น


ส่วน พิชญ์สินี กล่าวว่า เราต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าก่อนเป็นอันดับแรก เวลาที่ขายลูกค้าในแง่ของเนื้อหารายการ ลูกค้าก็จะบอกว่า ขอลองสักครั้งก็ได้ แต่เขาก็คิดว่าเขาควรจะได้อะไรกลับมาด้วย ซึ่งเราก็ต้องทำความเข้าใจกับลูกค้าก่อนว่า เรื่องแบบนี้ไม่มีทางเกิดได้ในหนเดียว มันต้องการการสะสมไปเรื่อยๆ มันอาจต้องทำกันเป็นปีๆ ต้องใช้แผนระยะยาว โดยถ้าวัดในเชิงคุณภาพมันแล้วมันก็จะออกมาได้เป็นความพึงพอใจ ซึ่งตัวเอเยนซี่เองก็ยังมีความพยายามในการทำแบบนี้อยู่

ปัญหาอุปสรรคทางแพร่งสำคัญของ ′รัฐบาลใหม่′

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



(เรียบ เรียงเพิ่มเติมจากส่วนท้ายของปาฐกถา "บ้านเมืองเป็นเรื่องของเรา" ในงานสัมมนา "ขับเคลื่อนประเทศไทย ภายใต้บริบทเศรษฐกิจสังคมยุครัฐบาลใหม่" จัดโดยเครือธนาคารกสิกรไทย, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสถาบันอิศรา อมันตกุล ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และเซ็นทรัลเวิลด์, 8 กรกฎาคม 2554)

รัฐบาล ผสมใหม่ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำซึ่งเพิ่งชนะการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กำลังฟอร์มตัวขึ้นสู่อำนาจท่ามกลางบริบทแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของสังคม การเมืองไทย ที่อำนาจกำลังเปลี่ยนย้ายในหมู่ชนชั้นนำ, การเมืองกำลังเปลี่ยนผ่านจากแวดวงชนชั้นนำไปสู่มวลชน และแนวนโยบายเศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาที่ชี้นำโดยเทคโนแครตไป เป็นการกระจายความมั่งคั่งที่ผลักดันด้วยพลังการเมือง

และในฐานะที่ ประกาศตัวอย่างเปิดเผยชัดเจนแต่แรกว่ารัฐบาลใหม่นี้เป็นรัฐบาลโคลนนิ่ง ทักษิณ รัฐบาลใหม่ก็อาจคิดและทำผิดพลาดเพลี่ยงพล้ำซ้ำรอยรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลนอมิ นีทักษิณแต่เดิม จนประสบความล้มเหลวในการรับมือและฟันฝ่ากระแสแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่ กำลังเกิดขึ้นได้เช่นกัน

เพื่อที่จะเข้าใจรัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณ จึงน่าจะทบทวนทำความเข้าใจลักษณะ ฐานะ และบทบาททางเศรษฐกิจการเมืองของรัฐบาลทักษิณสักเล็กน้อย

ใน กรอบของระเบียบเศรษฐกิจการเมืองเปรียบเทียบระดับโลก รัฐบาลทักษิณจัดเป็นรัฐบาลเสรีนิยมใหม่รุ่นสอง หรือที่เรียกว่าเสรีนิยมใหม่เชิงสังคม/ชดเชย (second-generation neoliberalism, or social/compensatory neoliberalism) เช่นรัฐบาลประธานาธิบดีบิล คลินตัน ของอเมริกา และรัฐบาลนายกฯโทนี แบลร์ ของอังกฤษ

ซึ่งปรับเปลี่ยนแตกต่างไปจากบรรดารัฐบาลเสรีนิยมใหม่รุ่น แรกที่ยึดมั่นหลักตลาดเสรี บริสุทธิ์สุดโต่งและต่อต้านการแทรกแซงของอำนาจการเมืองไม่ว่าจากการเลือก ตั้งหรือจากมวลชนโดยตรงเข้ามาในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ (the anti-politics of market fundamentalists/neoliberal purists) เช่น รัฐบาลเผด็จการทหารของพลเอกออกุสโต ปิโนเช่ต์ แห่งชิลี, รัฐบาลประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ของอเมริกา และรัฐบาลนายกฯมากาเร็ต แธตเชอร์ ของอังกฤษ

รัฐบาลทักษิณปรับแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่ให้เข้า กับความเป็นจริงของการเมืองเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยซึ่งเรียกร้องความชอบ ธรรมที่กว้างไปกว่าหลักการตลาดเสรี และต้องการแรงสนับสนุนของประชาชน ผ่านการสร้างนโยบายสัญญาประชาคมใหม่แบบประชานิยม (populist social contracts) นำเสนอสิทธิและความเสมอภาคแบบใหม่ที่ต่างไปจากสิทธิและความเสมอภาค แบบเดิมของรัฐชาติในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ เปลี่ยนจาก [สิทธิที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง + ความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการและสวัสดิการต่างๆ ของรัฐ] ---> [สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในตลาด + ความเสมอภาคในการเข้าถึงตลาด]

นโยบาย ประชานิยมต่างๆ ของรัฐบาลทักษิณก็คือการ ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น (ห่วงชูชีพ) เพื่อมวลชนโดยเฉพาะคนชั้นกลางระดับล่างซึ่งขาดแคลนทุน, ที่ดิน, ทักษะ, การศึกษา ฯลฯ สามารถเอื้อมถึงสิ่งเหล่านี้สำหรับอาศัยใช้มันในอันที่จะเข้าร่วมและประคอง ตัวลอยคออยู่รอดได้ในตลาดแข่งขันเสรี

เสรีนิยมใหม่ของ รัฐบาลทักษิณจึงมิใช่เสรีนิยมใหม่หรือตลาดเสรีบริสุทธิ์ หากมีทั้งแง่มุมเชิงสังคม (ประชานิยม) และเชิงอุปถัมภ์กลุ่มทุนพวกพ้อง (โลกาภิวัตน์แบบลำเอียงเข้าข้างทุนนิยม พวกพ้อง crony-capitalist oriented globalization) และดังนั้นจึงถูกต่อต้านคัดค้านจากพลังหลายฝ่าย โดยเฉพาะ 1) พลังฝ่ายขวาภาครัฐ-ราชาชาตินิยม ("อำมาตย์", คปค., พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย), 2) พลังฝ่ายซ้ายตลาดเสรี (TDRI) และ 3) พลังฝ่ายซ้ายที่ต้องการกระจายอำนาจและทรัพยากรออกไปจากภาครัฐและทุนมาให้ภาคประชาชน (สมัชชาคนจน ฯลฯ)

ตราบ เท่าที่รัฐบาลใหม่โคลนเอาแนวนโยบายเสรีนิยมใหม่เชิงสังคมและโลกาภิวัตน์แบบ ลำเอียงเข้าข้างทุนนิยมพวกพ้องของรัฐบาลทักษิณต้นแบบมา ตราบนั้นก็คงจะเผชิญกับพลังคัดค้าน ต่อต้าน 3 ฝ่ายดังกล่าวอีก

ใน ความหมายนี้ รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณจึงน่าจะเผชิญกับทางแพร่ง (dilemmas) ด้านแนวนโยบายใหญ่ๆ 3 ประการ คล้ายกับรัฐบาลทักษิณต้นแบบด้วย กล่าวคือ :-

1) ทางแพร่งระหว่างประชาธิปไตยกับหลักนิติธรรม หรือนัยหนึ่งทางแพร่งระหว่างอาญาสิทธิ์ที่ได้มาจากมติเสียงข้างมากของ ประชาชนในการเลือกตั้ง กับการจำกัดอำนาจรัฐไว้ให้อยู่ในกรอบที่ไม่ไปล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญ, สิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคล และเสียงข้างน้อย, รวมทั้งเหล่าสถาบันตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ โดยมีศาลตุลาการอิสระเป็นกรรมการคุมเส้น

ทางแพร่งนี้จะแสดงออกอย่างรวมศูนย์เป็นรูปธรรมในปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเปรียบเสมือนกับระเบิดลูกที่หนึ่ง

2) ทางแพร่งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเครือข่าย กับผลประโยชน์ส่วนรวม
หรือนัยหนึ่งปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) อันเป็นกลุ่มอาการประจำตัวของรัฐบาลทักษิณแต่ก่อน

ทางแพร่งนี้จะแสดงออกอย่างรวมศูนย์เป็นรูปธรรมในปัญหาการทวงคืนทรัพย์สินของคุณทักษิณและญาติมิตรที่ถูกรัฐยึดไปซึ่งเปรียบเสมือนกับระเบิดลูกที่สอง

3) ทางแพร่งระหว่างความจำเป็นสองด้านที่ต้องทั้งหาทางรอมชอมปรองดองกับชนชั้นนำ เก่า กับตอบสนองความเรียกร้องต้องการของฐานมวลชนเสื้อแดง ทำให้รัฐบาลใหม่จะตกอยู่ในแรงกดดัน 2 ด้านที่หนักหน่วงรุนแรงกว่ารัฐบาลทักษิณแต่เดิมก่อนเกิดการปะทะแตกหักกับ กลุ่มชนชั้นนำเก่า และก่อนเกิดมวลชนเสื้อแดงเป็นฐานพลังสนับสนุนในยามพ่ายแพ้ลี้ภัย

หาก ทำได้ รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณคงต้องการทั้งรอมชอมกับชนชั้นนำเก่าและเอาใจมวลชนเสื้อ แดงไปพร้อมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายอำนาจการเมืองและการทวงคืนความยุติธรรมของตน, แต่หากต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง คงง่ายกว่าที่รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณจะโน้มไปในทางเลือกรอมชอมกับชนชั้นนำเก่า แทนที่จะตอบสนองมวลชนเสื้อแดงอย่างเต็มที่ (ดังคำกล่าวของคุณทักษิณช่วงเลือกตั้งในทำนองว่าคนที่เจ็บกว่าใครเพื่อนต้อง ยอมลืมและให้อภัยก่อน)

รัฐบาลโคลนนิ่งทักษิณน่าจะหยิบ ยื่นสิ่งที่ไม่ใช่ข้อเรียกร้องหลักสำคัญ ที่สุดแก่มวลชนเสื้อแดงอย่างใจกว้าง ไม่ว่าให้ลำดับ ส.ส.บัญชีรายชื่อต้นๆ หรือตำแหน่งฝ่ายบริหารกับแกนนำเสื้อแดง, ยกย่องสดุดีหรือชดเชยค่าเสียหายบาดเจ็บล้มตายแก่ญาติมิตรของผู้เสียชีวิตใน เหตุการณ์มีนา-พฤษภาอำมหิต 2553, เปิดโอกาสเพิ่มงบประมาณให้คณะกรรมการชุดต่างๆ ไต่สวนแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างยืดเยื้อเรื้อรัง ยาวนานออกไปเรื่อยๆ ฯลฯ

ทางแพร่งนี้ย่อมแสดงออกเป็นรูปธรรม ชัดเจนและแหลมคมที่สุดในปัญหาความจริง, ความยุติธรรม และความรับผิดชอบต่อกรณี 92 ศพมีนา-พฤษภาอำมหิต 2553 ซึ่งเปรียบเสมือนกับระเบิดลูกที่สามนั่นเอง

ขณะที่ความแตก ต่างสำคัญระหว่างรัฐบาลทักษิณต้นแบบกับรัฐบาลโคลนนิ่งยิ่งลักษณ์ก็คือ รัฐบาลทักษิณปกครองโดยอาศัยรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมือง พ.ศ.2540 ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของฝ่ายบริหารโดยสร้างตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่เข้มแข็งขึ้นมา, ส่วนรัฐบาลโคลนนิ่งยิ่งลักษณ์กลับจะต้องบริหารอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ประชามติ พ.ศ.2550 (รวมทั้งพระราชบัญญัติฉบับอื่นๆ ที่ออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติของ คมช.) ที่ออกแบบมา "เพื่อป้องกันคนอย่างทักษิณ" โดยจำกัดควบคุมอำนาจฝ่ายบริหารไว้ในบทบัญญัติต่างๆ มากมายผ่านกลไกและตัวแทนของสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงข้าง มาก (non-majoritarian institutions) โดยเฉพาะฝ่ายตุลาการ

สรุป

เพื่อ ให้สอดคล้องกับบรรยากาศแห่งการปรองดองหลังการเลือกตั้งและต้อนรับรัฐบาลใหม่ ผมใคร่ขอสรุปจบลงด้วยเรื่องการปรองดอง 3 ข้อ กล่าวคือ

1) สำหรับพลังการเมืองทุกพรรคทุกฝ่าย การปรองดองที่สำคัญที่สุดคือปรองดองกับประชาธิปไตย หมายความว่า เราควรถือเป็นจุดเริ่มพื้นฐานในการออกเดินทางร่วมกันไปต่อจากนี้ว่า ประชาธิปไตยจะอยู่ยั้งยืนยงกับเราที่นี่, ฉะนั้น เราต้องหาทางปรองดองกับประชาธิปไตยและอยู่กับประชาธิปไตยให้จงได้ แม้ว่าผลการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยจะออกมาไม่ตรงกับใจเรา, ได้คนที่เราไม่ชอบหรือคิดว่าไม่ดี, เราก็ไม่มีทางเลือกของระบอบปกครองอื่นนอกจากประชาธิปไตย เพราะต้นทุนความเสียหายที่ได้เกิดต่อชาติบ้านเมืองมาแล้วในรอบ 5 ปีนี้ และจะเกิดต่อไปหากเลือกแก้ปัญหาด้วยรัฐประหารและระบอบเผด็จการอีก มันแพงเกินไป, การต่อสู้คัดค้านหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางการเมืองต่างๆ พึงต้องดำเนินไปภายใต้กรอบของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น

2) สำหรับแฟนๆ ของคุณยิ่งลักษณ์ การปรองดองที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์คือ ปรองดองกับหลักนิติธรรมในความหมายของการเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด (the rule of law = limited government) บรรดาผู้สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์ควรต้องช่วยเธอโดยหาทางป้องกันไม่ให้ระบอบ ประชาธิปไตยภายใต้รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์กลายเป็นแบบอำนาจนิยมเหมือนสมัยรัฐบาล ทักษิณ เพราะระบอบประชาธิปไตยอำนาจนิยม (authoritarian democracy) อันหมายถึงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมาก ทว่าใช้อำนาจเกินเลยไม่จำกัด ไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้คนพลเมืองโดยมิชอบนั่นแหละที่เป็นตัวขับดัน คนให้ไปหาการรัฐประหารเป็นทางออก

3) สุดท้าย สำหรับรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์เองและผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลาย วิธีจัดการ/ปรองดองกับพลังต่อต้านประชาธิปไตย ที่เรียกร้องรัฐประหารไม่ขาดปากนั้น ไม่ใช่ไปทำให้พวกเขากลายเป็น "วีรชน" ด้วยการกดขี่ข่มเหงรังแกพวกเขา แต่ควรทำให้พวกเขากลายเป็น "ตัวตลก" จะดีกว่า

เช็กเสียงใครเหมาะ"ท่านประธาน"

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ


หาก เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยืนยันประกาศรับรองส.ส.ให้ได้ ร้อยละ 95 เพื่อให้ทันเปิดสมัยประชุมนัดแรก ภายใน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 1 ส.ค. นี้

ทำให้เก้าอี้ประธานฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งจะทำหน้าที่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี คนใหม่ ขึ้นทูลเกล้าฯ ถูกจับตามอง

ให้หลัง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกฯ ระบุมีชื่ออยู่ในใจแล้ว เป็นคนที่มีประสบการณ์

อดีตรองประธานสภา ทั้ง สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ที่มีชื่อขับเคี่ยวกันมาแต่ต้น ก็ยิ่งอยู่ในข่าย

ในมุมมองของเพื่อนส.ส. และส.ว. ที่ต้องทำงานร่วมกัน ยอมรับได้หรือไม่ เห็นว่าใครเหมาะสมกว่ากัน หรือเห็นว่าควรเป็นตัวเลือกอื่น



นิคม ไวยรัชพานิช

ส.ว.ฉะเชิงเทรา รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1


ผมมองว่า พ.อ.อภิวันท์ มีคุณสมบัติความเหมาะสมเพียงพอกับตำแหน่งประธานรัฐสภา เพราะเป็นผู้ที่มีความเด็ดขาดและเคร่งครัดในข้อกฎระเบียบเป็นอย่างมาก

ถึงแม้จะมีความนุ่มนวลน้อยกว่านายสมศักดิ์ ซึ่งได้รับการสนับ สนุนจากส.ส.อีสานที่เคยสังกัดกลุ่มขุนค้อน ก็ตาม แต่ก็น่าจะสามารถควบคุมเกมในสภาได้ดี โดยเฉพาะในสภาวะที่เกิดความวุ่นวาย

ซึ่งนายสมศักดิ์ ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์และบททดสอบนี้ จึงไม่รู้ว่าจะสามารถทำหน้าที่ได้ดีเพียงใด แต่สำหรับพ.อ.อภิวันท์ เคยมีผลงานรองประธานสภาคนที่ 2 ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า มีการพยายามวางตัวเป็นกลาง แม้จะมีท่าทีที่อาจตกเป็นเป้าล่อต่อกรณีในฐานะนักเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อ แดงบ้างก็ตามที

ตำแหน่งประธานสภา ไม่ว่าคนใดจะได้รับเลือก หรือจะวางตัวเป็นกลางหรือไม่ กฎระเบียบก็บังคับควบคุมอยู่ และหากเป็นเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุม ส.ส.ให้การยอมรับแล้ว ทุกคนก็ควรเคารพในความคิดเห็น

คุณสมบัติความพร้อมของประธานสภา ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี พร้อมด้วยวัยวุฒิ และมีความคิด ความหนักแน่นในกฎระเบียบข้อบังคับการประชุม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมถึงการสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีได้ นอกจากนี้ ก็ควรสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับนานาประเทศ เป็นตัวแทนในนามสภาไทยในเวทีโลกได้อีกด้วย

ส่วนรองประธานสภาที่คาดว่าจะเป็นผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นคนใดก็รู้สึกยินดี และสนับสนุนที่จะเห็นระบบการทำงานของสภาไทยมีสีสันความนุ่มนวลมากขึ้น เช่นเดียวกับที่วุฒิสภาก็มีรองประธานวุฒิสภาที่เป็นผู้หญิงเช่นเดียวกัน



วิทยา แก้วภราดัย

อดีตประธานวิปรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์


ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานสภา เป็นใครก็ได้ที่ยึดตามข้อบังคับและเดินตามแนวข้อบังคับอย่างเคร่งคัด และต้องรู้ตัวว่าการเป็นประธานสภาหมายถึงความเป็นกลางและเป็นบุคคลของสภา ลดทิฐิความเป็นตัวตนที่พรรคตัวเองสังกัดอยู่ แค่นั้นก็ทำได้แล้ว

ส่วนชื่อของ พ.อ.อภิวันท์และนายสมศักดิ์ ทั้ง 2 ท่านมีประสบการณ์ทั้งคู่ แต่อยู่ที่พรรคเพื่อไทยจะตัดสินมอบหมายหน้าที่นี้ให้ใคร แต่เวลาเป็นแล้วต้องไม่เป็นคนของพรรค ผมจึงมองว่าคงเป็นได้พอๆ กันทั้ง 2 ท่าน

แต่ที่ผ่านมา พ.อ.อภิวันท์ แม้จะแม่นข้อบังคับการประชุม แต่อาจมีกิจกรรมนอกสภามากเกินไปถือว่าไม่เหมาะสม ดังนั้น หากจะมาเป็นประธานสภา ก็ต้องลดกิจกรรมนอกระบบลง เพราะถือเป็นตัวแทนของสภา

ส่วนนายสมศักดิ์ ก็เคยทำหน้าที่รองประธานสภา มาก่อน มีความเป็นกลาง เป็นตัวของตัวเองดีอยู่ แต่สุดท้ายแล้วจะเป็นใครมาเป็นประธานสภา ก็อยู่ที่พรรคเพื่อไทยจะให้ใครมาเป็น



วิชาญ มีนชัยนันท์

ส.ส.กทม. ประธานภาคกทม. เพื่อไทย


ผมไม่ทราบว่าแคนดิเดตประธานสภา มีใครบ้าง ที่มีชื่อระหว่างนายสมศักดิ์ กับ พ.อ.อภิวันท์ ให้น้ำหนักการทำงานไม่ต่างกัน เพราะต่างก็ตั้งใจทำงาน แต่สุดท้ายคนที่ตัดสินใจคือว่าที่นายกฯ

ส่วนที่มองว่านายสมศักดิ์ มีความเหมาะสมและมีภาพความเป็นกลาง ขณะที่พ.อ.อภิวันท์ ถูกมองว่าอาจมีการเอนเอียงไปบ้างเพราะไปมีบทบาทในฐานะแกนนำคนเสื้อแดงนั้น ผมไม่อยากให้ไปตัดสินแค่ความเป็นกลาง ไม่เป็นกลาง ถือเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน

แต่ต้องมองเรื่องการทำงานและประสานกับกลุ่มต่างๆ

สำหรับส.ส.ภาคกทม. ไม่ว่าพรรคจะเสนอชื่อใครก็พร้อมที่จะทำหน้าที่ในฐานะของตัวเองให้ดีที่สุด



อิทธิเดช แก้วหลวง

ส.ส.เชียงราย เพื่อไทย แกนนำกลุ่มวังบัวบาน


ไม่ว่าคณะกรรมการบริหารของพรรคจะเสนอใครขึ้นมา ส.ส.เหนือก็คงไม่ขัดข้อง แต่ถ้าถามความเห็นส.ส.เหนือ ก็ยังให้การสนับสนุนนายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย

ขณะรายชื่อแคนดิเดตที่ปรากฏหน้าสื่อทั้งนายสมศักดิ์ และพ.อ.อภิวันท์ นั้น คงให้น้ำหนักความเหมาะสมที่จะทำหน้าที่พอกัน เพราะทั้ง 2 คน ถือว่ามีประสบการณ์ในการทำงานในสภา มาก่อนเช่นเดียวกัน

แต่ส่วนตัวมองว่าภาพการทำงานของนายสมศักดิ์ ค่อนข้างมีความเป็นกลาง สามารถทำหน้าที่ประสานได้ทุกฝ่าย และเป็นตัวแทน ของส.ส. อีสาน ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากที่สุด

ขณะที่บุคลิกของ พ.อ.อภิวันท์ เห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะทำงานอย่างอื่นในฝ่ายบริหารน่าจะดีกว่า อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขึ้นอยู่กับว่าที่นายกรัฐมนตรี ว่าจะเลือกใคร



ดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี

คนที่จะมาเป็นประธานสภา คนใหม่ ในความเห็นส่วนตัว ต้องมีความอดทน ใจต้องเย็นเป็นที่ตั้ง ที่สำคัญต้องมีความเป็นกลาง การวินิจฉัยต้องไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง คุณสมบัติตรงนี้จึงจะเป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่าย

ส่วนกระแสข่าวที่มีการเสนอแคนดิเดต 2 คน ทั้งพ.อ.อภิวันท� และ นายสมศักดิ์ ที่เป็นตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย ส่วนตัวผมมองว่า บุคคลทั้ง 2 สามารถเป็นประธานสภา ได้ ไม่มีปัญหา เพราะทั้งคู่ก็ล้วนเป็นบุคคลที่มีความรู้ มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน ไม่น่ามีปัญหาอะไร

แต่ในส่วนของ พ.อ.อภิวันท์ อาจมีปัญหาบ้าง เนื่องจากข้องเกี่ยวกับการเป็นแกนนำคนเสื้อแดง อาจเกิดข้อครหาขึ้นได้ แต่จุดเด่นของพ.อ.อภิวันท� คือ คนที่นิ่ง สุขุมและใจเย็น

ขณะที่นายสมศักดิ์ แม้ไม่มีข้อครหาเรื่องเสื้อแดง แต่ติดที่อาจเป็นคนใจร้อนไปหน่อยเท่านั้น

ส่วนตัวมองว่า ถ้าพรรคเพื่อไทยอยากให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ นายสมศักดิ์ น่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

วิญญาณฝ่ายค้าน

ที่มา ข่าวสด

เหล็กใน
มันฯ มือเสือ



ในแวดวงการเมืองไทยมีเรื่องเล่าขานว่า

มีพรรคการเมืองหนึ่งเหมาะสมเป็นฝ่ายค้านมากที่สุด เรียกว่าถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ นั่นคือ พรรค ประชาธิปัตย์

ไม่ต้องไปเปิดประวัติสืบค้นใดๆ

แค่ดูอย่างตอนนี้ที่การเลือกตั้งเพิ่งจบไปหมาดๆ กกต.ยังรับรองส.ส.ไม่ครบตามเกณฑ์ที่จะเปิดสภาได้ด้วยซ้ำ ใบเหลือง-ใบแดงก็ยังไม่สะเด็ดน้ำ

นายกรัฐมนตรีคนใหม่มีแต่'ว่าที่'

ส่วนใครเป็นรัฐมนตรีกระทรวงนั้นกระทรวงนี้ ก็เป็นแค่ ข่าวกะเก็งกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งก็เปลี่ยนไปมาทุกวัน

นโยบายต่างๆ ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง

การขึ้นค่าแรง 300 บาท/วัน เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท การเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน การแจกแท็บเล็ตให้เด็กนักเรียน ฯลฯ

ทั้งหมดเป็นเพียงหัวข้อหยาบๆ ที่ยังขาดรายละเอียดในทางปฏิบัติ

แต่ปรากฏท่ามกลางความไม่ชัดเจนแน่นอนเหล่านี้

'วิญญาณฝ่ายค้าน'ได้เข้าสิงร่างสมาชิกประชาธิปัตย์อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเคาะสนิม

อย่างการจัดตั้งครม.'ยิ่งลักษณ์ 1' ที่พรรคประชาธิปัตย์โจมตีว่าการที่ใครจะได้ตำแหน่งใดนั้น ต้องรอฟังบัญชาจาก'มือที่อยู่ต่างประเทศ'

เหมือนแกล้งลืมไปว่าช่วงการเมืองพลิกขั้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกฯ ก็ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลกันในค่ายทหาร

โดยมี'พลังที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้'ยุ่มย่ามชักใยอยู่เบื้องหลัง

กรณีค่าแรง 300 บาท ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ในประชาธิปัตย์ก็ออกมาเร่งความชัดเจน ด้วยเชื่อว่านโยบายนี้จะมีผลกระทบต่อการจ้างงาน

และทำให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้น

ซึ่ง เป็นการพูดโดยไม่ยั้งคิดว่าต่อให้ไม่ปรับขึ้นค่าแรง ราคาสินค้าก็ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ดี และความจริงก็คือราคาสินค้าได้ปรับสูงขึ้นมานานแล้ว

แล้วก็เป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่อยู่มา 2 ปีกว่า แต่สุดปัญญาจะแก้ไข ดูได้จากกรณี'สวาปาล์ม' และการ'ชั่งไข่ขาย' เป็นต้น

พรรคประชาธิปัตย์นั้นมีชื่อเสียงลือลั่นว่าเป็นพรรคชอบพูด พูดเก่ง พูดเป็นต่อยหอย

แต่ปัญหาคือเวลาข้ามฝั่งจากฝ่ายค้านมาเป็นรัฐบาล หรือจากรัฐบาลมาเป็นฝ่ายค้าน มักพูดไม่เหมือนกันในเรื่องเดียวกันแต่คนละเวลา

หลายครั้งสิ่งที่'พ่น'ไว้ในอดีต

จึงกลายเป็นการขุดหลุมฝังตัวเองในเวลาต่อมา

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 23/07/54 สมุนด่านแรกของอำมาตย์

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน


เผยทาสแท้ สามานย์ คือค้านแหลก
ทำแต๋วแตก แก้เกี้ยว ไม่เหลียวหลัง
กลัวอำนาจ หลุดลอย คอยวันพัง
จึงบ้าคลั่ง สั่งสมุน ก่อวุ่นวาย....

เสียงเห่าหอน อ้อนบาทา น่าสมเพช
ความทุเรศ แฝงเร้น เห็นหลากหลาย
พวกตนแพ้ กลับทำกร่าง ไร้ยางอาย
จึงฉิบหาย ถ้วนทั่ว ทุกตัวตน....

ไม่ร่วมมือ แถมตอกย้ำ ทำไม่ได้
บิดพริ้วให้ ชาวประชา ว่าสับสน
ข้าราชการ ก็วางท่า พาวกวน
ด้วยเล่ห์กล แสนชั่ว มั่วทั้งปี....

พวกนายทุน ศักดินา ค้านตาตั้ง
ไม่เคยยั้ง พูดระยำ คำบัดสี
ทั้งข่มขู่ คุกคาม ตามราวี
ประเทศนี้ คนวิปริต จิตโสมม....

อีกสื่อชั่ว มั่วใส่ร้าย ป้ายความผิด
เพิ่มวิกฤติ ดาหน้า มาทับถม
ทำไม่ได้ หรือไม่ให้ทำ ย้ำอารมณ์
ผสานผสม คำสั่งมาร สันดานเลว....

พากันฉุด เมืองไทย ให้ตกต่ำ
ประชาชน รับกรรม ซ้ำดิ่งเหว
ทุกหัวระแหง หมองไหม้ ดุจไฟเปลว
จึงแหลกเหลว เพราะปีศาจ อมาตยา....

๓ บลา / ๒๓ ก.ค.๕๔

จดหมายถึงว่าที่ นรม.หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว

ที่มา ประชาไท

จดหมายถึงว่าที่ นรม. หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วย “อาเซียน” และสงครามกับสันติภาพไทย-กัมพูชา

จดหมายถึงว่าที่ นรม. หญิง
จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วย “อาเซียน”
และสงครามกับสันติภาพไทย-กัมพูชา

A Letter to a Woman Premier from Nai Cherng
Kaenkeo (21 July 2011)

ถึง

ว่าที่ นรม. หญิง (ผ่านกัลยาณมิตร และสื่อมวลชน)

(1) เนื่องในโอกาสที่จะถึง “วันแม่แห่งชาติ” ปีนี้ และเนื่องในโอกาสที่
ฯพณฯ จะเป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่ง นรม. ของ “สยามประเทศไทย” ผมขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง
“ความรักอันยิ่งใหญ่”
ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดมีต่อพี่น้องร่วมชาติของเรา

กับมนุษย์ “ข้ามพรมแดน” ใน “ประชาคมอาเซียน” อุษาคเนย์

(2) ต่อสถานการณ์การเมือง (ที่) เป็นพิษ และสภาพที่เสี่ยงต่อ “สงครามที่คนอื่น
(อาจ) ก่อ” ขึ้นได้นั้น ผมหวังว่า ฯพณฯ ว่าที่ นรม. จะใช้ทั้งแรงกายแรงใจ สติปัญญา
รวมทั้งความเป็น “หญิง” ความเป็น “แม่” และความเป็น “ภริยา” ในการบริหารบ้านเมืองเพื่อประโยชน์สุขของประชามหาชนในชาติของเรา

และเพื่อสันติสุขของมนุษย์ “ข้ามพรมแดน” ใน “ประชาคมอาเซียน” อุษาคเนย์

(3)

ผมมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้

ก. โปรดให้ความสำคัญต่อ “อาเซียน” ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศและการทูตของไทย
ข. โปรดสร้างสัมพันธไมตรี กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกัมพูชา

ลาว และพม่า

ค. โปรดไปเยี่ยมเยียน และสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมเป็นหลัก โดยไปเยือนประเทศอาเซียนที่เคยมี

หรือกำลังจะมีผู้นำระดับชาติที่เป็นสตรี

ง. โปรดไปเยือนสถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เช่น บรมพุทโธ (Borobudur) มัสยิดอีสติกัล (Istigal) หรือโบสถ์บาร๊อคฟิลิปปิน (Philippine Baroque Church) นาขั้นบันไดบานาเว (Banawe Rice Terraces) มหาเจดีย์ชเวดากอง
(Shwe Dagon) พุกาม (Pagan) ตลอดจนปราสาทวัดพู
(Vat Phou) ปราสาทนครวัด-นครธม (Angkor) ปราสาทจามปาหมี่เซิน (Myson) และ/หรือเมืองประวัติศาสตร์
เช่น เว้ (Hue) มะละกา (Melaka) และปีนัง (Pinang)
(4) อนึ่ง
ผมมีข้อเสนอเฉพาะกิจกับกัมพูชา ดังนี้ คือโปรด “เปลี่ยนเขตปลอดทหาร เป็นเขตสันติภาพถาวร”

(Turn the Demilitarized into a permanent Peace Zone) ตามแนวทางทั้งสองนี้ คือ

ก.

บทกวีประทับใจของสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ว่า

"ปราสาทพระวิหารสันติภาพ
ทาบปราสาทสวรรค์สโมสร
ศรีอุษาคเนย์นิรันดร
ประชากรหรรษาประชาคม"
ข.
คำสั่งของ ศาลโลก กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18
กรกฎาคม ที่กำหนดให้มี “เขตปลอดทหาร” หรือ demilitarized zone รอบๆ
ตัวปราสาท ทั้งในเขตแดนของไทย และของกัมพูชา โปรดร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านในการนำเอา
"เขตปลอดทหาร" นั้น มาแปลงเป็น "เขตสันติภาพถาวร” ให้มีลักษณะเป็น
“เขตแดนร่วม” หรือ shared border ทั้งนี้เพื่อกิจการด้านวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ ที่ปลอดจากการเมือง (ชาตินิยม) เป็นพิษ ทำให้เขตแดนเป็นสมบัติร่วมของ

"ชาวบ้าน" ของประชามหาชนทั้งสองชาติสืบไปชั่วกัลปาวสาน

ขออวยพรให้ ฯพณฯ ว่าที่ นรม. หญิง ประสบความสำเร็จในการทำงาน “เพื่อชาติ

และราษฎรของสยามประเทศไทย” ครับ

ด้วยความนับถือยิ่ง
เชิง แก่นแก้ว
น เกาะสิงหะปุระ

PS: Make

Love not War with ASEAN Neighbors, especially Cambodia, Laos and Burma

For PEACE click: http://www.petitiononline.com/sc2011/petition.html

PPS: แนบจดหมายเก่ามาเพื่อโปรดทราบด้วย ครับ FYI:

จดหมายถึงคุณหญิง

จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา

A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenke

จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว

(14 February 2011)
ถึงคุณหญิง และกัลยาณมิตร
(1) Happy Valentine’s Day และขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง “ความรัก”
ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดต่อพี่น้องร่วมชาติของเราใน
“สยามประเทศไทย” กับมนุษยชาติ “ข้ามพรมแดน” ใน “เขมรกัมพูชา”

ในลาว ในอุษาคเนย์ และใน “ประชาคมอาเซียน”

(2) ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ทำให้ผมนึกถึงข้อคิดข้อเขียนของ

อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อันเป็นที่รักเคารพของเรา “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” (

From

Womb to Tomb) ที่กล่าวไว้ว่า

“เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ
คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น
ตายในสงครามกลางเมือง
ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์
ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ
หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ
(3)
ผมเชื่อว่า “การเมือง
(ที่) เป็นพิษ” ในการเมืองภายในของบ้านเมืองเรา
ที่ลามปามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จาก “สันติภาพ”
(Peace) กำลังกลายเป็น “สงคราม” (War) จาก “สนามการค้า” (Market Place) กลับเปลี่ยนเป็น “สนามรบ” (Battlefield) นั้น ด้านหนึ่ง มาจากกิเลศและตัณหา จาก “โลภ-โกรธ-หลง”
และอีกด้านหนึ่งมาจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” ขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่
“บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำเอาไว้
และขาดการเคารพกติการะเบียบของสังคมโลกที่เป็น “สากล”

และเป็น “อารยะ”

(4) ปัญหาที่มาจากกิเลศและตัณหา ว่าด้วย “โลภ-โกรธ-หลง” นั้น ก็คือ
โลภ เพราะอยากได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่”
โกรธ เพราะไม่ได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่”
หลง เพราะคิดว่าอาจจะได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่”
(5) ส่วนปัญหาที่เกิดจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” และจากการขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่
“บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำไว้
ก็คือเรื่อง “หนังสือสัญญา” ฉบับต่างๆ

และแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น)

ที่
“สยาม” Siam ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 กับ เสนาบดีพระหัตถ์ซ้าย-ขวาของท่าน คือ คือ สมเด็จกรมเทววงศ์
(การต่างประเทศ) และสมเด็จกรมดำรงฯ (มหาดไทย)
จำต้องทำและให้สัตยาบันไว้กับฝรั่งเศสไม่ว่าจะเป็นฉบับ ค.ศ. 1893-1904-1907
(ตรงกับ ร.ศ. 112, 122, 125 และตรงกับ

พ.ศ. 2436, 2447, 2450 ตามลำดับ)

(6) รวมทั้งแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น ที่มักจะรู้จักกันในนามของ 1:
200,000)
ที่ขีดเส้นพรมแดนครอบคลุมดินแดนจากแม่น้ำโขงตอนบน
(แม่ กบ-เชียงล้อม)-น่าน-เทือกพนมดงรัก-ตลอดลงมาจนถึงเมืองตราด อันเป็นผลงานของ “คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม” (Commission de Delimitation
entre l’Indochine et Le Siam) และอัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส
(หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร) ที่ทรงรับมาเป็นจำนวน 50 ชุด และส่งกลับมากรุงเทพฯ
ถวายให้กับเสนาบดีการต่างประเทศ คือ สมเด็จกรมฯ เทววงศ์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม

พ.ศ. 2451 (1908)

(7) การที่ต้องทำหนังสือสัญญาต่างๆข้างต้น การที่ต้องให้สัตยาบัน
และการที่ต้อง “รับ”
แผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) นั้นมา ก็เป็นไปตามปรัชญาความเชื่อว่าด้วย “ชาติ” ของ “ราชาชาตินิยม”
หรือ Royal Nationalism ที่จะต้องรักษา “เอกราช-อธิปไตย” ของสยาม/Siam เอาไว้
ต้องยอมรับว่าสยามมีพื้นที่หรือดินแดน “จำกัด”
(limited land) เป็นเพียง “รูปขวานทอง”
และต้องยอมสละ “ส่วนเกิน” หรือส่วนที่เป็น “ประเทศราช-เมืองขึ้น” ที่ไป “ได้ดินแดน” (ของ “คนอื่น” ของ “เขมร-ลาว-มลายู”)
มา ไม่ว่าจะเป็น “เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณ-จำปาศักดิ์-หลวงพระบาง-เชียงตุง-เมืองพาน”
ตลอดจน “เคดะห์-ปลิส-กลันตัน-ตรังกานู”
(ที่ต้องยอมยกและแลกเปลี่ยนไปกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2452 หรือ ค.ศ.

1909 ปลายรัชสมัย “เสด็จพ่อ ร. 5”)

(8) แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (1932)
พวก “ผู้นำใหม่”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก “เสนาอำมาตย์” หรือ “ปีกขวา” นักการเมืองสายทหารของ
“คณะราษฎร” ก็เปลี่ยนปรัชญาความเชื่อของตน
เปลี่ยนและ “สร้างชาติ” ตามแนวลัทธิ “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” หรือ Military-Bureaucratic
Nationalism (แทน “ราชาชาตินิยม” Royal

Nationalsim)

ลัทธิใหม่นี้ เปลี่ยนนามประเทศจาก “ราชอาณาจักรสยาม” จาก Siam
เป็น “ประเทศไทย” เป็น Thailand พ.ศ. 2482 (1939) รวมทั้งเปลี่ยนเนื้อร้อง “เพลงชาติ”

(แต่ ไม่ได้เปลี่ยนทำนอง) จากประโยคขึ้นต้นว่า “อันสยาม นามประเทืองว่าเมืองทอง.....” เป็น “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย.....”

แล้วก็ปลุกระดมความ “รักชาติ” การ “กู้ชาติ” ดำเนินการขยายดินแดนด้วยการ “เรียกร้องดินแดน” เพื่อให้ “ประเทศไทย”
เป็น “มหาอานาจักรไทย” (สะกดด้วย
น. หนู ตามตัวสะกดที่ถูกรัฐบาลให้เปลี่ยนในสมัยนั้น) ดังนั้น “ประเทศไทย” หรือ Thailand ก็มีสภาพเป็น
expanded land หาใช่ limited land อย่างของ

“ราชอาณาจักรสยาม” หรือ Siam ไม่

(9) ในปี พ.ศ. 2484-85 หลังการเปลี่ยนชื่อประเทศเพียง 2 ปี ก็เกิด “สงครามอินโดจีน” รัฐบาลของหลวงพิบูลสงคราม ก็ส่งกำลังของกองทัพบก-เรือ-อากาศ
บุกเข้าไปยึดดินแดนต่างๆมาได้ อาทิ เมืองเสียมราฐ (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดพิบูลสงคราม”)-ยึดพระตะบอง-ยึดศรีโสภณ-(และปราสาทพระวิหาร)-ยึดจำปา ศักดิ์

(และปราสาทวัดพู)-ยึดไซยะบุรี (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดลานช้าง” สะกดโดยไม่มีไม้โท)

รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม “ประกาศสงคราม” กับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ
25 มกราคม พ.ศ 2485 (1942) และด้วยความช่วยเหลือของ “พันธมิตรญี่ปุ่น
“ ก็ทำการยึดเมืองพาน-เมืองเชียงตุง (ในพม่า
เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สหรัฐไทยเดิม”) แถมญี่ปุ่นยังมอบรัฐมลายู เช่น “เคดะห์-ปะลิส-กลันตัน-ตรังกานู”

ให้มาอีก รัฐบาลพิบูลสงครามเอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สี่รัฐมาลัย”

(10) นี่คือสภาพ “อีรุงตุงนัง” และ “มรดกทางประวัติศาสตร์”
ของสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศชาติของเราเกือบถูกยึดเป็น “เมืองขึ้น” และผู้นำของ “อำมาตยาเสนาธิปไตย”
หลายคนเกือบกลายเป็น “อาชญากรสงคราม” ถูกจับประหารชีวิต เมื่อมหามิตรญี่ปุ่นถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูแพ้สงครามไป
โชคดีที่มี ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ “ปีกซ้าย” ของ “คณะราษฎร” ตั้ง “ขบวนการเสรีไทย”
ทำการใต้ดินขึ้นมา “กู้ชาติ” ไว้ได้ ทำการ “ประกาศสันติภาพ” เมื่อ 16 สิงหาคม 2488 (1945) นี่คือผลงานของ “บรรพชน-มหาบุรุษ”
แต่ท่านปรีดี ก็ถูกกำจัดออกไปด้วย “การเมืองทราม-การเมืองเป็นพิษ”
(ถูกกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีในกรณีสวรรคตอันมืดมนของในหลวงรัชกาลที่ 8
เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) มีการ “รัฐประหาร พ.ศ. 2490”
โดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ที่นำ “อำมาตยาเสนาธิปไตย”
ของจอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมา
และสืบทอดกันต่อๆมาโดยจอมพลสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ฯลฯ

และยังทรงอิทธิพลอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้

(11) จะเห็นได้ว่า “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” ของสมัยจอมพล
ป. พิบูลสงคราม ที่มีหลวงวิจิตรวาทการเป็น “มันสมอง” มีทีมงานจากกรมศิลปากร (นายธนิต หรือ นายกี อยู่โพธิ์-นายมานิต วัลลิโภดม
หรือทีมงานของกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์)
อย่างนายมั่น-นายคง (นายสังข์ พัธโนทัย) ก็ส่งมรดกตกทอดกันมายัง “สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส” ตลอดจนทางสายของนักการเมืองพลเรือนอย่าง
“เสนีย์-คึกฤทธิ์ ปราโมช-ควง อภัยวงศ์”
เรื่อยมาจนบัดนี้เป็นเวลากว่า 70 ปี

จนถึงรุ่นของจำลอง-สนธิ-โพธิรักษ์-สมปอง-อดุล-ศรีศักร และรัฐบาลในปัจจุบัน

(12) นี่เป็น “หลุมดำทางการเมือง” (Political Black Hole) หรือ “หีบพยนต์-ผะอบนางโมรา” (Pandora’s Box) ที่หากตกลงไปก็ยากที่จะปีนป่ายขึ้นมาได้
หรือถ้าเปิดออกมา (จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม) ก็อาจถึงตายได้ คำถามของเรา ณ
บัด นี้ ก็คือเรา (หมายถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ นอก กทม.) จะรอดจาก “บ่วงกรรม” นี้ไปได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรให้ “การเมืองเป็นพิษ” หรือ “การเมืองทราม”
กลายเป็น “การเมืองดี” ทำให้ประเทศชาติของเรารุ่งเรือง
มีศักดิ์มีศรี มีเกียรติภูมิในวงการระหว่างประเทศ
เคารพกติการะเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ ดำเนินการที่เป็น “สากล”

และเป็น “อารยะ”

กัลยาณมิตร และเพื่อนๆของผมในกลุ่ม “สันติประชาธรรม” ขอเสนอมายังคุณหญิงอีกครั้งหนึ่ง
และขอให้ช่วยนำความไปเรียนต่อ “บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวคุณหญิง

ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน หรือเป็นทหาร ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำงาน หรืออยู่ที่บ้าน” ก็ตาม

ขอให้เรามาช่วยกัน “ปฏิบัติธรรม” ละเสียซึ่งโลภ-โกรธ-หลง
ขจัด “อวิชชา” และ “อประวัติศาสตร์” ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันหลีกเลี่ยง “สงคราม” ช่วยกันแสวงหา “สันติภาพ

“ ช่วยกันทำให้ “สนามรบ” กลับเป็น “สนามการค้า” อีกครั้ง

ขอให้เรามาช่วยกัน ทำดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอุษาคเนย์-อาเซียน
ที่หลากหลายไปด้วยชาติพันธุ์ ระบบนิเวศ ธรรมชาติและวัฒนธรรม จาก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถึงพนมดงรัก
จากปราสาทพนมรุ้ง ถึงปราสาทพระวิหาร และปราสาทวัดพู จรดแม่น้ำโขงตอนกลาง ณ
คอนพะเพ็ง-แก่งหลี่ผี” กลายเป็น “มรดกโลกข้ามเขตแดน” เพื่อ “ความรัก-สันติภาพ-สันติสุข-และอหิงสา” ของ “ประชาคมอาเซียน” ที่ “ไร้พรมแดน”
ให้จงได้ (Asean Trans-Boundary World Heritage Sites from
Dong Phyayen-Khaoyai to Phnom Dangrek-Prasat Phnom Rung/Preah Vihear/Vat Phou

to Khone Papeng/Li Phi Falls and the Middle Mekong Basin)

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อ “ชาติ และราษฎรไทย” ของเรา
เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพ่อแม่พี่น้องลูกหลาน
หลายพันหลายหมื่นชีวิต ที่อยู่ตามแนวชายแดนกว่า 800 กิโลเมตร จากอุบลฯ ศรีสะเกษ
จากสุรินทร์ บุรีรัมย์ จากสระแก้ว-จันทบุรี-ถึงตราด ผู้คนที่เป็นเพียงชาวบ้าน
แค่ชาวชนบท ด้อยการศึกษา (ไม่มีแม้แต่ประกาศนียบัตรมัธยม โดยไม่ต้องพูดถึงระดับปริญญาตรี

อย่างเราๆท่านๆ ในเมืองหลวง)

และก็ด้อยซึ่งโอกาส ที่ต้องเผชิญต่อ “สงคราม” และสภาพของบ้านแตกสาแหรกขาด
สูญ เสียชีวิตและเลือดเนื้อ ทำมาหากินไม่ได้ ที่อยู่ทางฝั่งตะเข็บชายแดนของ “สยามประเทศไทย” ที่ร่วมชะตาและร่วมกรรมกับผู้คนที่ก็เหมือนๆกัน
เป็นญาติพี่น้องกัน ร่วมสายเลือดเดียว ทั้งยังร่วมวัฒนธรรม
ร่วมภาษากันในฝั่งตะเข็บชายแดนของ “เขมรกัมพูชา” จากสตุงแตรง ถึงพระวิหาร จากอุดรมีชัย ถึงบันทายมีชัย โพธิสัตว์ และเกาะกง

ดังข้อเสนอต่อไปนี้

1. ขอให้กองกำลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม และความอดกลั้น
ยุติการสู้รบโดยทันที
ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของ

ทั้งสองฝ่าย

2.
ขอให้ถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่พิพาทอย่างเร่งด่วน

เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดนระหว่างกัน

3. ขอให้ยุติเคลื่อนกำลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอื่นๆ ที่ยังคงเป็นปัญหากันอยู่

เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุดอื่นๆตามแนวชายแดน

4. ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร
โดยผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคีซึ่งมีอยู่แล้ว อันได้แก่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมซึ่งได้จัดตั้งตามบันทึกความเข้าใจแห่งราช

อาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543

5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา
ยุติการนำประเด็นความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง
ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ

อันจะทำให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นชนวนสงครามที่ยากจะหาทางยุติลงได้

ด้วยความระลึกถึง
เชิง แก่นแก้ว
สิงหะปุระ

PS: Make

Love not War with ASEAN Neighbors, especially

Cambodia and Laos

รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับการบูรณาการอาเซียน

ที่มา ประชาไท

แม้ จะเป็นที่ทราบกันดีว่า การบูรณาการอาเซียนในปี 2015 นั้นตั้งอยู่บนฐาน การบูรณาการด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยนโยบายรูปธรรม ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการค้าเสรี การลดหย่อนภาษีสำหรับทุนต่างชาติ การลดลักษณะชาติภายใต้ความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favor Nation) และอาจตีความกลายๆ ว่า รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี

ด้านหนึ่ง ย่อมเป็นการขยายความมั่งคั่งสู่ประเทศในภูมิภาค ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การลงทุนจากต่างประเทศเป็นการขยายโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีชีวิตที่มีทาง เลือกมากขึ้น ความมั่งคั่งถูกแผ่กระจายออกไป และดึงประชาชนในพื้นที่ล้าหลังเข้าสู่ระบบการผลิตโลก ทำลายสังคมจารีตสู่สำนึกสากล และค่านิยมการบริโถคแบบแผนเดียวกัน แ

ต่ใน ขณะเดียวกัน ปัญหาที่ตามมาก็เป็นไปตามที่องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศพยายาม ชี้แจง คือความเปราะบางแบบใหม่ ความผันผวนของกลไกตลาด และการลงทุนที่ปราศจากจริยธรรม การกดขี่แรงงาน และการตักตวงทรัพยากรจากพื้นที่ที่ปราศจากกฎหมายคุ้มครอง ความเปราะบางข้างต้นนี้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายการบูรณาการอาเซียน สำหรับประเทศโดยมากในภูมิภาคที่มีปัญหาด้านการพัฒนาประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน การละเลยปัญหาข้างต้นย่อมเป็นการขุดหลุมฝังศพตัวเอง การลุกฮือในประเทศแถบภูมิภาคนี้อันมีต้นเหตุจากลักษณะการต่อสู้ในชีวิตประจำ วัน ที่มักจบลงด้วยการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุม อุ้มฆ่า หรือขังลืม อาจไม่สามารถทำได้โดยสะดวกนัก เพราะมันจะทำให้ทั้งภูมิภาคนี้เข้าสู่ภาวะมิคสัญญี สำหรับชนชั้นปกครอง มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคิดใหม่เรื่องการจัดการความขัดแย้งตลอดจน แนวทางการพัฒนาในสังคม

ในกรณีไทย ที่ผ่านมาชนชั้นปกครองมี “โลกภาพ” ที่ค่อนข้างล้าสมัยทั้งในแง่การพัฒนา และการจัดการความขัดแย้ง ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งทางสังคมนับจากทศวรรษ 2550 สื่อทางการไทยมักพยายามโฆษณาภาพชนชั้นปกครองเกี่ยวกับการพัฒนา พื้นที่ทุรกันดาร นำน้ำ ไฟ ถนนไปให้ ไม่นับรวมกับการบริจาคที่ทำกันเป็นเทศกาลงานบุญประเพณี ขณะที่วิธีคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง ก็มิได้มีความแตกต่างจากคู่มือ ซีไอเอ สมัยสงครามเย็นที่พยายามมองว่า ผู้ชุมนุมถูกล้างสมอง จ้างให้มา แกนนำเป็นสายตรงจากพรรคคอมมิวนิสต์พยายามล้มเจ้า คนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทย และจบลงด้วยการขนทหารมายิงประชาชนกลางเมืองแบบเดียวกันกับที่เคยทำเมื่อสาม สิบสี่สิบปีก่อน พร้อมทั้งการส่งเสริมให้เด็กไทยได้เรียนประวัติศาสตร์ว่าด้วยวีรกรรมอันยิ่ง ใหญ่ของชนชั้นปกครอง

สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จำเป็นต้องพิจารณาคือ ลักษณะความขัดแย้งในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความซับซ้อนและเชื่อมร้อยกัน การจัดการความขัดแย้งนั้นมิอาจใช้มุมมองโลกภาพแบบเดิมๆ

บทความนี้จะพิจารณาความขัดแย้งรูปแบบใหม่ที่จำเป็นต้องก้าวให้พ้นจากวิธีการจัดการความขัดแย้งแบบเดิมๆ

1. ปัญหาด้านอัตลักษณ์และวิถีชีวิต

บท ความของ สตีเว่น โบโรวิคได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งท้าทายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่พรรคเพื่อไทย ไม่ได้รับ ส.ส.แบ่งเขตสักที่นั่งเดียวในพื้นที่ภาคใต้ โดยหนึ่งในสาเหตุคงไม่พ้นจากการสลายการชุมนุมที่มัสยิด กรือแซะ อันนำสู่การเสียชีวิตของผู้ร่วมชุมนุม นักวิชาการสายอนุรักษ์นิยม พยายามโยงการจัดการปัญหาภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณเข้าเป็นหนึ่งใน “นโยบายประชานิยม” ที่ถูกผลักโดยความต้องการแบบสั้นๆ มักง่ายของผู้ลงคะแนน และนักการเมือง การพิจารณาเช่นนี้นับเป็นการละเลยพัฒนาการของสังคมไทย ทักษิณ ชินวัตรไม่ใช่วีรบุรุษหรือ ซาตานที่มาเสกบันดาลทุกเงื่อนไขในประเทศนี้ วิธีการลดทอนค่าความเป็นมนุษย์เพื่อจัดการปัญหาสังคมไทย ถูกสั่งสมมาในโครงสร้าง ผ่านประวัติศาสตร์แนวราชาชาตินิยมมาช้านาน ไม่ใช่เพียงแค่ประชาชนเชื้อชาติมาเลย์เท่านั้นที่เผชิญเงื่อนไขนี้ ประชาชนจากพื้นที่ตอนเหนือ และอีสาน ก็ถูกลดทอนความเป็นคน โดยชนชั้นกลางในเมืองมาช้านาน (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่) โดยอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ถูกต้อง ถูกแทนที่ด้วยประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม การโต้กลับของขบวนการที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นภาพสะท้อนการขัดขืนของคน ในพื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้มิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องอัตลักษณ์อย่างเดียวแน่นอน หากแต่เกี่ยวพันกับปัญหาเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่าง พื้นที่ แต่หลายปีที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าขบวนการดังกล่าวไม่มีศักยภาพพอ ที่จะพัฒนาและจัดการปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่เช่นกัน สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องก้าวให้พ้นเมนูนโยบายแบบเดิมๆ อาทิ “เราคนไทยเหมือนกัน” , “ขวานไทยที่ไม่มีด้าม เอาไปใช้การคงไม่ได้” รวมถึงวิธีคิดแบบเดิมๆเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดน

ในยุคสมัยแห่งการ บูรณาการ ประวัติศาสตร์ที่ควรพูดถึงคือประวัติศาสตร์ร่วมของประชาชนแต่ละพื้นที่ หาใช่ประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำ ประวัติศาสตร์เรื่องการเสียดินแดน ได้ดินแดน หรือข้าศึกมาเผาเมืองเมื่อหลายร้อยปีก่อน นับเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่สร้างสรรค์ และคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชนชั้นนำแต่ละยุคสมัยเป็นหลัก วิธีคิดศาสนาแห่งรัฐ(ไม่ว่าของรัฐส่วนกลางและฝ่ายแบ่งแยกดินแดน) ควรถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ศาสนาควรเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนมากกว่าการปลูกฝังโดยรัฐ การตั้งเขตปกครองพิเศษยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งมิใช่กับพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น หากแต่ต้องพิจารณาการกระจายอำนาจอย่างเต็มที่ในพื้นที่อื่นเช่นกัน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ทหาร ตำรวจ บุคลากรด้านศาล จากส่วนกลางอันนับเป็นมือไม้ของระบบรัฐรวมศูนย์แบบอำมาตยาธิปไตย พึงถูกยกเลิก หรือจำกัดอำนาจความรับผิดชอบให้น้อยที่สุด รัฐส่วนกลางพึงสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น บุคลากรและเครื่องมือด้านสาธารณสุข การสร้างเครือข่ายการคมนาคมราคาถูกโดยรัฐ และรณรงค์มาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลให้เป็น ขั้นต่ำของข้อบังคับในท้องถิ่น เปลี่ยนวิธีคิดของพื้นที่ชายแดนจากลักษณะพื้นที่ที่อำนาจอธิปไตยไปไม่ถึงสู่ การเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของแต่ละพื้นที่

2. ประเด็นแรงงาน แรงงานข้ามชาติ และความมั่นคงมนุษย์

เมื่อ ประมาณปี 2552 บริษัทบอดี้แฟชั่นได้ทำการเลิกจ้างพนักงานกว่าสองพันคน ในโรงงานย่านบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ แม้จะมีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย พนักงานโดยมากมีภูมิหลังมาจากครอบครัวฐานะยากจนในต่างจังหวัด และอพยพมาตั้งแต่ราวอายุ 14-15 โดยมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมต้นเป็นอย่างมาก การเลิกจ้างในวัยกลางคนนับเป็นหายนะของชีวิตแรงงาน ที่ไม่สามารถมีทางออกใดๆในประเทศนี้ ข้อสังเกตสำคัญคือพนักงานที่ถูกปลดออกมักเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ที่มีอายุ พร้อมกันนั้น บริษัทยังขยายสาขาไปเปิดสาขาที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีค่าจ้างขั้นต่ำต่ำกว่า ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ราวห้าสิบบาท และต่ำกว่าค่าจ้างที่บริษัทจ้างแรงงานที่ถูกปลดกว่าครึ่งหนึ่ง

การบูรณาการ รอาเซียนเป็นที่หวาดวิตกต่อ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ด้านหนึ่งคือการนำเข้าแรงงานราคาถูกบริเวณชายแดนไทย ซึ่งแรงงานที่อำนาจต่อรองต่ำนี้มีแนวโน้มที่จะรับค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมาย กำหนด ก่อให้เกิดการว่างงานในแรงงานไทย หรือกระทั่งการที่ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตสู่พื้นที่ที่ค่าจ้างต่ำกว่า ในลักษณะโรงงานไร้ราก แต่การปิดกั้นและปฏิเสธการบูรณาการอาเซียนโดยสิ้นเชิงก็ดูจะเป็นการปิดตา ข้างเดียวโดยปฏิเสธราวกับว่า การกดขี่แรงงานข้ามชาติ การปิดสถานประกอบการและไล่คนออกแล้วไปเปิดที่ใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมการ ผลิตไทย ในด้านหนึ่งการบูรณาการเป็นการเปิดโอกาสที่จะผลักดันประเด็นด้านความมั่นคง ของมนุษย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น แต่ทำอย่างไรให้แรงงานได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ภายใต้การบูรณาการเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้

มักมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าสังคมที่มีการเติบโต ทางเศรษฐกิจเกิด ขึ้นเพราะการปล่อยเสรีทางเศรษฐกิจ ฮ่องกงอันเป็นตัวอย่างของ มิลตัน ฟลิดแมน นักวิชาการผู้สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมใหม่ หากพิจารณาดูแล้ว ในฮ่องกง รัฐเป็นผู้สร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งสิ้น ทุกวันนี้ฮ่องกงเติบโตจากการเป็นประเทศอุตสาหกรรมของเก๊ สู่การเป็นศูนย์กลางการเงินและการบริการของภูมิภาค ประเด็นสำคัญที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องให้ความสำคัญ คือการสร้างหลักประกันพื้นฐานแก่ประชาชนโดยรัฐบาล อันจะเป็นเกราะป้องกันปัญหาความไม่มั่นคงจากการขยายตัวของการเปิดการค้าเสรี และบริการในระดับภูมิภาค

บทความของ นพ.พิทักษ์ วชิระศักดิ์มงคล ได้ชี้ให้เห็นลักษณะสำคัญของนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามสิบบาทรักษาทุกโรค ที่เปลี่ยนจากการรักษาแบบสังคมสงเคราะห์แบบเก็บตก สู่สิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถเข้ารับบริการได้โดยไม่ต้องพิสุจน์ความเจ็บ หรือความจน ดังนั้นหากพิจารณาหลักประกันความมั่นคงทางชีวิตของไทยด้านอื่นๆแล้วค่อนข้าง ต่ำมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย หรือการประกันรายได้...ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตลก เพราะประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ “หวงสัญชาติ”มาก ขนาดเด็กอายุเจ็ดขวบยังต้องมีบัตรประชาชน แต่เมื่อเอาตามจริงแล้วการเป็นคนไทยกลับไม่ได้สิทธิประโยชน์เป็นชิ้นเป็นอัน นัก ข้อเสนอนี้ฟังดูเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก แต่หากรัฐบาลส่งเสริมการประกันรายได้แก่ประชาชนทุกคน ให้มีรายได้เพียงพอในระดับเทียบเท่าค่าจ้างเริ่มแรก สิ่งเหล่านี้จะเป็นการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจต้องขึ้นค่าจ้างเพื่อจูงใจคนสู่ ตลาดแรงงาน การจ้างค่าจ้างแบบ”กันตาย” ควรจะสูญพันธ์ไปจากระบบการจ้าง ดังเช่นข้อเสนอ ของ คณะปฏิรูประบบค่าจ้างโดยขบวนการแรงงานไทย ที่ให้ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำสู่ “ค่าจ้างลูกจ้างไร้ฝีมือที่เริ่มทำงานปีแรก” นั่นหมายความว่าโครงสร้างค่าจ้างต้องมีความครอบคลุมถึง แรงงานทุกระดับ ไม่ว่าจะเริ่มงานใหม่ ทำงานมาแล้วสิบปี หรือใกล้เกษียณ โดยได้ค่าตอบแทนตามอายุงาน (เช่น ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานยี่สิบปี ควรมีค่าจ้างเป็นประมาณ 2.5เท่า ของผู้เริ่มงานปีแรกเป็นขั้นต่ำ) นั่นหมายความว่ารัฐจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากทั้งภาษีทางตรง (ภาษีเงินได้) และภาษีทางอ้อม (ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่ประชาชนมีอำนาจการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น) ซึ่งสามารถมาจัดเปินเงินชดเชยการว่างงานที่ประชาชนต้องได้ไม่น้อยกว่า “ค่าจ้างสำหรับผู้เริ่มทำงานปีแรก” และเป็นการให้ในฐานะสิทธิพลเมืองไม่ใช่การให้แบบเก็บตกหรือสงเคราะห์

หลัก การข้างต้นมิได้จำเพาะเพียงแค่แรงงานไทย หากแต่หมายรวมถึงแรงงานทุกสัญชาติที่อยู่ในตลาดแรงงานของไทย จึงเป็นที่แน่ชัดว่าหากค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น ความต้องการแรงงานข้ามชาติที่ค่าจ้างต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบย่อมสูงขึ้น เช่น งานประมง หรือก่อสร้าง การบูรณาการอาเซียนจะทำให้เงื่อนไขของแรงงานข้ามชาติมีความชัดเจนมากขึ้น ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติอาจต้องถูกวางเงื่อนไขให้ทำประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุแก่ลูกจ้าง รวมถึงต้องมีการปรับค่าจ้างตามมาตรฐานเดียวกับแรงงานไทย สิ่งที่ต้องตามมาคือการวิธีคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง ความเป็นพลเมืองไทย การได้มาซึ่ง “สัญชาติไทย” พึงพิจารณาผ่านลักษณะการทำงานของแรงงานนั้น โดยถือการคุ้มครองความมั่นคงของมนุษย์มากกว่าความมั่นคงของรัฐ รูปธรรมคือแรงงานข้ามชาติที่ทำงานอย่างต่อเนื่องสามปีไม่ว่าจะเข้าเมืองด้วย วิธีใด สามารถขอสัญชาติไทยได้ และได้รับสิทธิเยี่ยงพลเมืองไทย รวมถึงสิทธิประกันการว่างงาน

ประเทศไทยมักหลงทางกับวลี “การพัฒนาฝีมือแรงงาน” โดยมองว่าคนว่างงาน ว่างงานเพราะไร้ทักษะและไม่มีความสามารถเพียงพอ ซึ่งมิได้ผิดทั้งหมดหากแต่ละเลยว่าข้อเท็จจริงของการว่างงานโดยมากเกิดเพราะ การต้องการลดต้นทุนของผู้ประกอบการในกรณีที่แรงงานเริ่มสูงอายุ หรือเริ่มหัวแข็งและหัวหมอมิยอมจำนนต่อสภาพการจ้างงานที่ขูดรีด การเพิ่มอำนาจต่อรองของผู้ใช้แรงงานต้องขึ้นกับองค์กรของผู้ใช้แรงงานเอง นั่นคือสหภาพแรงงานซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับประเทศอารยะทั้งหลายที่การ แก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานเกิดจากการต่อสู้ด้วยองค์กรของพวกเขาเอง อันแตกต่างจากแบบแผนของไทย ที่มักใช้ระบบเส้นสายและการอุทิศตนขององค์กรพัฒนาเอกชนและช่วยเหลือเป็น ประเด็นแยกขาดมากกว่าการปฏิรูปสังคมโดยรวม ในประเด็นการพัฒนาฝีมือนั้น หลักการง่ายๆคือ การพัฒนาระบบการศึกษาถ้วนหน้าครบวงจร ที่ผู้ศึกษา ที่บรรลุนิติภาวะพึงได้ค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่า “ค่าตอบแทนสำหรับผู้เริ่มงานปีแรก” อันเป็นโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานไทยได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างเต็มที่ พร้อมกันนั้น สำหรับประชาชนชาวอาเซียนก็พึงได้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา(รัฐ)ไทย ด้วยอัตราค่าเล่าเรียนเดียวกัน โดยรัฐบาลพึงให้ทุนสนับสนุนแก่นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถ สูง เพื่อเป็นบุคลากรเพื่อพัฒนาสังคมไทย และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อการบูรณาการระหว่างประเทศ

3. สิทธิทางการเมือง และการแสดงออก

สิทธิ ทางการเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจ เป็นเงื่อนไขเดียวกัน การบูรณาการอาเซียนต้องนำสู่แนวคิด พลโลกที่เคารพความเป็นมนุษย์ระหว่างกัน ประวัติศาสตร์การเมืองแบบล้าหลังยุคสงครามเย็นควรถูกแทนที่ด้วยประวัติ ศาสตร์การร่วมมือกันของประชาชน ที่ต่างเผชิญปัญหาและความเปราะบางเดียวกัน กฎหมายที่จำกัดสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์บางสถาบันพึงถูกยกเลิก ไม่ว่า จะเป็นบางสถาบันของไทย พรรคเผด็จการคอมมิวนิสต์ หรือพรรคชาตินิยมของประเทศใดๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เงื่อนไขเฉพาะของภูมิภาคนี้ในลักษณะวัฒนธรรมสัมพัทธ์ หากแต่เป็นภาพสะท้อนความด้อยพัฒนาที่เกิดจากการกดขี่อย่างเป็นระบบของประเทศ ในภูมิภาคนี้ ชนชั้นนำและพรรคการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมมักพยายามสร้างแนวร่วมของวัฒนธรรม จารีตของชนชั้นสูง แต่ประชาชนและพรรคการเมืองของประชาชนชนชั้นล่างต้องไปไกลกว่านั้น คือการบูรณาการความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งตัวตน เสรีภาพ และประชาธิปไตย

ปัญหาของสิทธิเสรีภาพและการแสดงออกทางการเมืองไทย จึงมิใช่เรื่องเฉพาะของสังคมไทย ค่านิยมและความศักดิ์สิทธิ์ต่อบางสถาบันล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ สร้างความชอบธรรมให้แก่การกดขี่ในระบบทุนนิยม ลักษณะนี้เกิดขึ้นกับหลายประเทศในภูมิภาคนี้ โดยมีระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีลักษณะร่วมคือ การได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ในประเทศภูมิภาคนี้ (New Rich of Asia) โดยเป็นกลุ่มที่เปราะบาง กลวงเปล่าและไร้อุดมการณ์ คนกลุ่มนี้หาใช่พลังประชาธิปไตยตามทฤษฎีการพัฒนากระแสหลัก ตรงกันข้ามคนกลุ่มนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อความก้าวหน้าทุกชนิด แม้ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มแรกๆที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการพัฒนาระบบทุนนิยม ที่ผ่านมา ในกรณีประเทศไทยคนกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่ม”สลิ่ม” ชนชั้นกลางที่ก่นด่าการสร้างทางรถไฟฟ้า หรือกั้นทางรถเมล์ด่วนพิเศษว่าทำให้รถติด ทั้งๆที่เส้นทางโดยสารทางรางทั้งหมดเชื่อมพวกเขาจากคอนโดฯหรูสู่ออฟฟิสกลาง เมืองอีกย่านหนึ่ง คนกลุ่มนี้โวยวายกับการขึ้นค่าแรงวันละสามร้อยบาทว่าจะทำให้ค่าครองชีพสูง ขึ้น ทั้งๆที่ความเป็นจริงคนเหล่านี้ก็รับประทานอาหารมื้อละร้อยบาทตามร้านอาหาร แฟรนไชส์ที่กดขี่ค่าแรงผู้ใช้แรงงานและปราศจากสหภาพแรงงาน (พวกเขามักชื่นชมเด็กมัธยมที่ทำงานในร้านอาหารพาร์ตไทม์ว่ามีจิตสำนึกผู้ ประกอบการตั้งแต่เด็ก โดยลืมเฉลียวใจว่าค่าจ้างชั่วโมงละ 22 บาทไม่สามารถซื้ออะไรแก่พนักงานวัยเยาว์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าชีวิตที่ดีในปัจจุบันหรืออนาคต) และหากจำกันได้คนกลุ่มนี้คือคนที่สรรเสริญการสังหารผู้ชุมนุมของรัฐเพื่อทวง คืนห้างสรรพสินค้าและสี่แยกของพวกเขา คนกลุ่มนี้มักจะฟูมฟายกับความเป็นไทย และจารีตอันงดงาม รวมถึงคุณค่าแบบเอเชียๆทั้งหลาย เช่น ซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัดอดทน แต่ชีวิตประจำวันของพวกเขากลับมีแต่ความกลวงเปล่า การฟังธรรมะจากเกจิอาจารย์ชื่อดังในวันหยุดนับเป็นหนทางการไถ่บาปภาระในระบบ ทุนนิยมของพวกเขา

คนกลุ่มนี้ไม่มีพลังใดๆทั้งสิ้น การก้าวเข้าสู่สังคมใหม่ไม่จำเป็นต้องใส่ใจคนเหล่านี้ซึ่งมักเป็นเครื่องมือ สร้างความชอบธรรมให้กับ พรรคการเมืองแนวอนุรักษ์นิยม ด้วยเงื่อนไขโครงสร้างทางสังคม พวกเขามีทรรศะเหยียดเพศ เชื้อชาติ และชนชั้น ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการบูรณาการภูมิภาค คนกลุ่มนี้มีอยู่ในทุกสังคมทุกประเทศ สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องพิจารณาคือ จะทำอย่างไรให้คนส่วนน้อยที่มีทรรศนะคับแคบเหล่านี้ เป็นเพียงตัวตลกของสังคมมากกว่าอภิชนที่น่ายกย่อง (เราจะเห็นตัวอย่างในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ ที่วิถีชีวิตและทรรศนะชนชั้นกลางแบบมาตรฐานถูกทำให้เป็นเรื่องตลกในภาพยนตร์ ทั่วไป มากกว่าเรื่องการเสียสละทำตามหน้าที่อันน่ายกย่องแบบคุณค่าเอเชียใน ปัจจุบัน) การบูรณาการอาเซียนจึงจำเป็นต้องพิจารณาการแสดงออกทางการเมืองที่สะท้อนผล ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงมากกว่า ข้อเรียกร้องของเหล่าอภิชนที่กลวงเปล่าในแต่ละประเทศ

เทคโนโลยี สารสนเทศ เป็นเงื่อนไขสำคัญกับการบูรณาการทางสังคม และการแสดงออกทางความคิดอันเป็นสากล การสร้าง “ฮาร์ดแวร์” และ “ซอฟท์แวร์” ทางไอที ที่ราคาถูกและเข้าถึงผู้คนส่วนมากนับเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของ บรรษัทข้ามชาติในการผูกขาดพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ รัฐบาลแต่ละประเทศพึงเป็นผู้สนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเพื่อนำสู่เทคโนโลยีการ สื่อสารเพื่อนำสู่การสร้าง ซอฟท์แวร์สาธารณะของประชาชนในภูมิภาค มากกว่าทรัพย์สมบัติของบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งมักถูกควบคุมโดยชนชั้นอภิสิทธิ์ชนของแต่ละสังคมอีกต่อหนึ่ง

โดย สรุปแล้วการบูรณาการอาเซียนจึงไม่ใช่เรื่องของวลีที่สวยงาม ในลักษณะ “พลโลก” หรือมิตรภาพไร้พรมแดนเท่านั้น แต่เป็นการท้าทายพลังของประชาชนผู้ถูกกดขี่ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ซึ่งกำลังจะเผชิญกับ เงื่อนไขความขัดแย้งและความเปราะบางแบบใหม่ อันเป็นสิ่งที่ท้าทายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่จำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า ในฐานะพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงจากคนยากจนส่วนใหญ่ของประเทศจะสามารถ นำเงื่อนไขการบูรณาการนี้เพื่อประโยชน์ของคนส่วนมากได้หรือไม่ ซึ่งโจทย์ของสังคมหลังการบูรณาการอาเซียน จึงมิใช่เพียงแค่การสร้างความมั่นคงแก่พลเมืองชาติตน หากแต่ต้องตีความถึงเหล่า “ไพร่” ที่ถูกกดขี่ในภูมิภาคนี้ การสร้างแนวร่วมของพรรคเพื่อไทย จึงมิอาจคิดคำนวณได้เพียงแค่เรื่องปัจจัยทางธุรกิจและผลกำไร หากแต่เป็นการถามท้าถึงมิติความมั่นคงของมนุษย์ทั้งภูมิภาคนี้