WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, February 6, 2010

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553

มือปืนรัว19นัด ดับเสื้อแดง สนิท'ฉายแสง'

"สมคิด" หวั่งภาพลักษณ์ปท.จะค่อยๆ ล้มละลาย

เจโทรเตือนไทย เสียโอกาส มาบตาพุดทำเจ๊ง

พัลลภยุติบทบาท ฉุน'จตุพร' ไม่เห็นหัวรุ่นพ่อ

คนกับวัว

ประชาธิปไตย

มีดเหน็บหลัง

รายงาน : ฟังนักศึกษาคุยกัน "สนนท.และองค์กรภาคีกับบทบาททางสังคม"

ที่มา ประชาไท


สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย( สนนท.) องค์กรนักศึกษาที่เริ่มต้นจากการรวมตัวขององค์การนักศึกษาจาก 14 สถาบันที่เข้ามาจัดรูปองค์กรประสานงานกันใหม่ในปี 2527 หลังการยุติบทบาทลงของศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย( ศนท.) จนกระทั่งวันนี้มีอายุถึง 26 ปี ซึ่งทุกๆ ปีจะมีการสมัชชาเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการบริหารจากบุคคลากรในองค์กรสมาชิก เพื่อเข้าไปวางยุทธศาสตร์และทำงานร่วมกับภาคประชาชน และองค์การนักศึกษาอื่นๆ อาทิ องค์กรพันธมิตรอย่างสหพันธ์นิสิตภาคอีสาน (สนนอ.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ (สนน.จชต.) สำหรับกรรมการบริหาร สนนท.ชุดปัจจุบันที่เข้ามาทำงานต่อหลังจากการสมัชชาเมื่อเดือนสิงหาคมในปีที่ผ่านมา มีด้วยกัน 8 คน แต่ละคนต่างก็มาจากคนละสถาบันและต่างองค์กร

สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม 2553 สนนอ.และองค์กรภาคีในภาคอีสาน ร่วมกับ สนนท.จัดงานประชุมสัมมนากลางปีขึ้น เพื่อสรุปความเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของ สนนท.นอกจากนั้นยังได้วิเคราะห์สถานการณ์ทางเมืองและกำหนดการเคลื่อนไหวของ สนนท.ในอนาคตด้วย นอกจากการประชุมแกนนำนักศึกษาแล้ว ยังมีเวทีเปิดที่พูดคุยเกี่ยวกับบทบาทของนักศึกษากับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาภายนอกและแกนนำนักศึกษาซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

นายอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้นักศึกษาไม่สามารถเป็นตัวนำในการเคลื่อนไหว แต่สามารถเป็นได้เพียงตัวหนุนเสริมขบวนการประชาชน เนื่องจากสภาพสังคมแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้บทบาทของนักศึกษาเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของนักศึกษาในช่วงปี2516 นั้น เนื่องจากสภาพสังคมก่อน 14 ตุลาคม 2516 เป็นเผด็จการที่ปราศจากประชาธิปไตย ดังนั้นชนชั้นกลางและนักศึกษาที่กำลังจะพัฒนาไปเป็นชนชั้นกลางจึงออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยและเสรีภาพในด้านหนึ่ง เมื่อชนชั้นกลางพอใจกับเสรีภาพในด้านเดียวที่ไม่ใช่ความเสมอภาค เช่น การใช้ชีวิตที่สามารถไปเดินช้อปปิ้ง ไปร้องเพลง หรือทำทุกอย่างได้ตามอำเภอใจนั้น ขบวนการนักศึกษาที่ก้าวหน้าจริงๆ ที่หลงเหลือมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาจึงถูกผลักออกมาและนำมาซึ่งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งสภาพนั้นยังคงส่งผลมาถึงปัจจุบัน และนักศึกษาก็อยู่ในฐานะชนชั้นกลาง
ในขณะที่ชนชั้นรากหญ้าออกมาเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยที่มีความเสมอภาคมากขึ้น นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนชั้นกลางก็เกิดทัศนะดูถูกดูแคลน ไม่เข้าใจ และมองว่าเป็นการก่อความวุ่นวายในสังคม ส่งผลให้นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นคล้อยไปกับชนชั้นกลางที่พอใจกับเสรีภาพในการใช้ชีวิตบางส่วน พอพูดถึงความเสมอภาคก็จะมีทัศนะที่ดูถูกและแย้งขึ้นมาในทันที
อย่างไรก็ดียังมีนักศึกษาในส่วนที่ก้าวหน้าอยู่ ไม่หลงประเด็นไปกับความเป็นชนชั้นกลางที่มีทัศนะดูถูกคนรากหญ้า เส้นแบ่งที่สำคัญของนักศึกษาที่ก้าวหน้าหรือไม่นั้น ดูได้จากทัศนะต่อความเสมอภาคว่า ดูถูกหรือเห็นด้วย ทุกวันนี้ขบวนการนักศึกษาในส่วนที่ก้าวหน้าก็เป็นส่วนน้อยในหมู่นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นกลาง ดังนั้นบทบาทของขบวนการนักศึกษาในปัจจุบันนี้จึงไม่ใช่ลักษณะการนำอีกต่อไป ตอนนี้ส่วนที่กำลังนำและไปไกลกว่านักศึกษามากก็คือรากหญ้า
ดังนั้น บทบาทที่สำคัญของนักศึกษาที่ก้าวหน้า ควรจะเป็นการหนุนเสริมการต่อสู้ของคนรากหญ้าในทางวิชาการหรืออาศัยทักษะบางประการที่นักศึกษามี เช่น เทคนิคการค้นคว้าข้อมูล ทฤษฎี อินเตอร์เน็ต หนังสือ หรือตำราต่างๆ เพื่อหนุนขบวนการรากหญ้าให้มีความครบถ้วนมากขึ้น และประการที่สำคัญคือการลงไปศึกษากับตัวของประชาชนเอง เข้าใจความคิด ความรู้สึก เข้าใจการเรียกร้อง ความต้องการของขบวนการคนรากหญ้า ฉะนั้นเราจะสามารถมีทัศนะที่ถูกต้องไม่ไปดูถูกดูแคลนคนจนว่าโง่หรือถูกซื้อ เหมือนที่นักศึกษาจำนวนมากกำลังมีทัศนะเช่นนี้อยู่”
จากการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและขบวนการนักศึกษานั้น พบว่าปัญหาของบทบาทนักศึกษาต่อการเคลื่อนไหวนั้นเกิดจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากตัวของนักศึกษาเองและทั้งที่มาจากปัจจัยภายนอก จะพบว่าในส่วนของตัวบุคคลนั้น นักศึกษาที่อยู่ในกิจกรรมนักศึกษาในยุคปัจจุบันยังขาดความมั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจในทางการเมือง เนื่องจากขาดข้อมูลในการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เพียงพอ
ในส่วนของปัจจัยภายนอกนั้น ได้แก่ สภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น สื่อที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและตกอยู่ในความควบคุมของคนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม ส่งผลให้นักศึกษาส่วนมากขาดข้อเท็จจริงในการวิเคราะห์สังคมและการเมือง นอกจากนี้กระแสบริโภคนิยมที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของนักศึกษาในยุคนี้ ส่งผลให้นักศึกษาเกิดการรวมตัวได้ยากขึ้นและถูกแบ่งแยกให้มีลักษณะปัจเจกสูงขึ้นด้วย นอกจากนั้นขบวนการนักศึกษาไม่มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นของตนเอง
นายยุทธนา ดาศรี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตภาคอีสาน เสนอแนะว่า นักศึกษาควรที่จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สังคมในประเด็นที่เป็นประเด็นสาธารณะ และยึดมั่นในหลักการและเหตุผลของระบอบประชาธิปไตย เช่น เรื่องการปฏิบัติแบบสองมาตรฐานของชนชั้นปกครอง นอกจากนั้นนักศึกษาควรศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองอยู่เสมอ และมีจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนในการเคลื่อนไหวร่วมกับประชาชน เพื่อผลักดันระบอบประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ นักศึกษาควรมีองค์กรเคลื่อนไหวกับฝ่ายประชาชนอย่างชัดเจน ไม่อยู่ในฐานะปัจเจกบุคคล นอกจากนั้นนักศึกษาควรตรวจสอบความคิดของตนเองและองค์กรเพื่อไม่ให้ถูกครอบงำจากมหาวิทยาลัยหรือการสร้างสำนึกแบบรัฐ
ทั้งนี้ในการประชุมครั้งนี้ ยังได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับการรัฐประหาร ซึ่งบทสรุปจากการประชุมสัมมนากลางปี มีมติร่วมกันว่า แม้การรัฐประหารจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ทาง สนนท.และองค์กรร่วมเคลื่อนไหวไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการแสดงออกของทหารในเชิงข่มขู่และคุกคามภาคประชาชน และพร้อมที่จะลุกขึ้นมาต่อต้านการกระทำของทหารที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
หลังจากนั้น สนนท.จะร่วมกับองค์กรนักศึกษา เยาวชนที่ยึดมั่นในแนวทางประชาธิปไตยจัดมหกรรมประชาธิปไตยสัญจรตามมหาวิทยาลัยต่างๆ และเปิดเวทีรณรงค์เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย โดยการนำรัฐธรรมนูญปี 2540เป็นต้นร่าง ซึ่งนั่นคือกิจกรรมหลักที่ สนนท.จะทำต่อไปในอนาคต

ใต้เท้าขอรับ : ข้อเสนอเสื้อแดง ทวงสัญญาเสื้อเหลือง

ที่มา ประชาไท


"ในวรรณกรรมร้อยพันเรื่องที่อ่าน
จำใครไม่ได้เลย
นอกจาก 'กาโล' แห่ง 'คนขี่เสือ'
ผู้กล้าลงจากหลังเสือ
ท่ามกลางเสียงรุมด่าระยะสั้น
แต่อยู่ในความทรงจำระยะยาว"

ผมเอง

0 0 0

ใครๆ ก็บอกว่า สถานการณ์ทางการเมืองเดือนกุมภาพันธ์จะร้อนระอุ ด้วยเหตุที่ปลายเดือนนี้จะเป็นวันชี้ชะตาคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งทำให้เสื้อแดงต้องนัดหมายเคลื่อนขบวนใหญ่ สื่อเองที่ทำงานกับสถานการณ์การเมืองก็เชื่อเช่นนั้น

แต่นัยของความเชื่อนี้มีพื้นฐานมาจากไหน หากไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อที่ว่า ‘การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเป็นไปเพื่อทักษิณ’ ทั้งๆ ที่ ‘แดง’ นั้นมีหลายเฉด และไม่ได้มีเพียง ‘แดง’ กลุ่มที่เรียกร้องเพื่อคืนเงินให้ทักษิณเท่านั้น

หรือแม้กระทั่งการเคลื่อนไหวที่ถูกตราว่า เพื่อคืนเงินให้ทักษิณ เพื่อตัวบุคคล ก็ยังไม่ได้หมายความถึง ‘ตัวเงิน’ หรือ ‘ตัวทักษิณ’ หากแต่มันยังรวมไปถึงการเรียกร้อง ‘ความเป็นธรรม’ ให้กับคนที่เขารักด้วย

มีแต่มองด้วยสายตาอย่างเข้าใจ จึงจะสามารถเข้าใจความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงได้

เราอาจจะดูถูกคนสองคนสามคนสี่คนหรือร้อยคนว่า เงินจ้างเขาเคลื่อนไหวได้ แต่หากดูถูกคนเรือนแสนเรือนล้านว่าถูกซื้อ หรือถูกล้างสมอง หรือถูกชักจูงง่ายๆ ทั้งๆ ที่เขาเป็นคนเหมือนกัน มีสมอง คิดเป็น และเสพสื่อมากกว่าเรา (ไม่เชื่อไปสำรวจดู) นอกจากมันไม่เป็นวิทยาศาสตร์แล้ว มันยังเท่ากับเราดูถูกตัวเอง และสะท้อนว่า เราเองต่างหากได้สูญเสียความเป็นมนุษย์ไปแล้วบางส่วน

ไม่ว่าจะอย่างไร การวิเคราะห์และสร้างกระแสความกลัวในห้วงเวลาก่อนการตัดสินคดียึดทรัพย์ มันก็ได้ทำหน้าที่ลดความชอบธรรมของการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงไปเรียบร้อยแล้ว พูดอีกอย่างก็คือ ความไม่เป็นธรรมที่สื่อกระแสหลักใช้เป็นแว่นมองสถานการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว

งานนี้จึงไม่มีกรรมการ

แต่เอาละ นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรก มันเป็นเช่นนั้นเสมอมานานหลายปี และสำหรับคนเสื้อแดง มันก็เลยและข้ามจากปัญหาความไม่เป็นธรรม ไปสู่ระดับของการกดขี่แบบไม่มีอะไรต้องสงสัยมานานแล้วเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มีเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องมองไปข้างหน้าให้ยาวกว่านี้สักนิด โดยเฉพาะกับคำถามที่ว่า ใครได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวเฉพาะหน้านี้

ทักษิณกระนั้นหรือ

‘แดง’ กระนั้นหรือ

ไม่ล่ะครับ และยังอาจจะต้องเรียกว่า ห่างไกลเหลือเกินด้วยซ้ำ

เพราะต่อให้แดงออกมาเต็มแผ่นดิน แล้วทักษิณจะได้ทรัพย์สินคืนหรือ? เสื้อแดงจะได้ความเป็นธรรม หรือประชาธิปไตยคืนมาอย่างนั้นหรือ?

หากการเคลื่อนไหวเป็นไปในอาการสงบ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เครือข่ายอำนาจเก่าโบราณ (เพื่อป้องกันความสับสนกับอำนาจเก่าที่พันธมิตรเคยใช้เรียกเครือข่ายทักษิณ ในที่นี้จะขอเรียกตามคนเสื้อแดงว่า ‘อำมาตย์’) ก็จะยังคงออกข่าวทำลายความชอบธรรมต่อไป

หากคนเสื้อแดงออกมาชุมนุมทำลายสถิติแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เชื่อเถิดว่า หน้าประวัติศาสตร์ก็ไม่มีให้บันทึก จำไม่ได้หรือว่า คนหลายแสนเมื่อเดือนเมษานั้น แทบไม่มีใครให้ความสำคัญ ไม่ได้มีการหยิบมาพูดถึง สิ่งที่สื่อและรัฐพูดก็มีแต่จราจลและจราจล

แล้วหากเกิดความไม่สงบขึ้นไม่ว่าจะโดยฝ่ายใดฉวยโอกาส สื่อและนักวิชาการก็โทษคนเสื้อแดงอยู่แล้วอย่างไม่ต้องสงสัย รัฐและกองทัพก็ปราบ ปราบเหมือนที่ปราบเมื่อเดือนเมษา แน่ละไม่ง่ายแบบเดิม และต่อให้ที่สุดบานปลายเป็นการจราจล อย่างน้อยรัฐก็ค่อยๆ ปราบ อย่างมากก็รอตุลาการตัดสินคดี แล้วรัฐประหาร

ฉากที่เลวร้ายสุดหลังการรัฐประหาร คือเกิดเป็นสงครามกลางเมืองต้านรัฐประหาร เด็ดหัวผู้นำแดง ลอบสังหารอำมาตย์ แล้วสุดท้ายอำมาตย์ตายเป็นรายคน แต่โครงสร้างก็ยังอยู่อยู่นั่นเอง

อย่าลืมนะครับ สถานการณ์ชายแดนใต้นั้นยิ่งกว่าสงครามกลางเมือง รัฐอำมาตย์ก็บริหารแบบสงครามกลางเมือง กองทัพก็ได้ประโยชน์จากสงครามนั้น และอาจครองอำนาจยาวชนิดไม่ต้องมีเลือกตั้งก็อาจจะเป็นได้

และถ้าจะมองแบบเข้าข้างเสื้อแดง ปลุกความหวังกำลังใจกันสุดๆ ให้สงครามกลางเมืองนี้ฝ่ายแดงชนะ ยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ ไม่ยากหรอก แล้วไงต่อ – วอทเนกซ์ - What next? จะกุมสภาพและสถานะความสงบเรียบร้อยได้อย่างไร

ก็อย่างที่รู้ว่า ถึงเวลานั้น งานมวลชนของฝ่ายปฏิกริยาก็ใช่ย่อย งานใต้ดิน ลอบวางระเบิด ใส่ร้าย การสร้างกระแสของฝ่ายเหลือง (ไม่ใช่แค่พันธมิตรฯ) ฝ่ายน้ำเงิน ฝ่ายขาว ฝ่ายเขียวฯลฯ ก็เหี้ยมเกรียมและทำได้ดีกว่ามาก เห็นกันมาตั้งแต่การจุดประทัดเรียกมวลชน ไปจนกระทั่งปิดสนามบินให้คนหลายแสนทั่วโลกเดือดร้อนแสนสาหัสก็ทำมาแล้ว ทั้งยังสามารถทำได้ในนามของความดีแบบไม่ต้องรู้สึกผิดบาปได้เสียด้วย

ได้อำนาจรัฐมา แต่กุมสภาพไม่ได้ ปกครองก็ไม่ได้ จะเรียกว่าปฏิวัติสำเร็จได้อย่างไร

พูดจริงๆ เลย จากการติดตามความคิด และแอบฟังแอบรู้จักเสื้อแดงหลากหลายกลุ่ม แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ หรือเรียกได้ว่าเกือบทั้งหมด ก็มองเห็นสถานการณ์ที่จะเกิดแบบทะลุปรุโปร่ง มีเพียงบางกลุ่มที่ออกแนวฮาร์ดคอร์ “ป่วนไว้ก่อน เพื่อหวังฟ้าคนมาตัดสิน” แต่ก็เชื่อว่าไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะชี้นำการเคลื่อนไหวอะไรได้มากนัก

และเพราะเห็นเช่นนี้ จึงพอจะสันนิษฐานได้ว่า สถานการณ์ในห้วงเดือนกุมภาที่ปรากฏอยู่ในหน้าสื่อนั้น ร้อนระอุเกินปัจจัยและแรงจูงใจ

สื่อและรัฐ (ที่ไม่ได้หมายถึงแค่พรรคประชาธิปัตย์) เองต่างหากที่ทำหน้าที่ปั่นให้ร้อน ยั่วยุ และสร้างหลุมพราง

อย่าลืมว่า สัปดาห์ก่อน นักวิชาการ ‘มาตรา 7’ ก็ออกมาขยับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ออกมาส่งเสียง และสัญญาณอื่นๆ ก็ตามออกมา อันเป็นจังหวะก้าวเดียวกันเป๊ะก่อนที่จะเกิดการตัดสินจากฝ่ายตุลาการให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และการรัฐประหาร 2549

แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีการชุมนุมหรือการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง เพียงแต่การชุมนุมที่จะเกิดนั้นไม่ใช่เพื่อการต่อสู้ครั้งสุดท้ายแน่ๆ จุดประสงค์สูงสุดอย่างมากก็เพื่อเลี้ยงกระแสและร้อยรัดคนเสื้อแดง

เพราะท้ายที่สุด เอาเข้าจริง การต่อสู้ครั้งสำคัญนั้นไปอยู่ที่ ‘การเลือกตั้ง’ ต่างหาก และนั่นคือเหตุผลว่า ทำไมทุกฝ่ายของคนเสื้อแดงจึงออกมาประกาศต้านรัฐประหาร และยันรัฐประหารไม่ให้เกิดขึ้น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลอยู่ในเวลานี้ และทั้งๆ ที่เป็นรัฐบาลที่จะถูกรัฐประหาร แทนที่จะร่วมกับเสื้อแดงต้านรัฐประหาร กลับมีท่าทีวางเฉย

นั่นก็เพราะในสถานการณ์ที่ความนิยมจากประชาชนยังเป็นของพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย และข้อเท็จจริงที่พรรคประชาธิปัตย์เครื่องมือเดียวของอำมาตย์ในระบอบประชาธิปไตย ยังไร้น้ำยาที่จะครองอำนาจอันชอบธรรมที่ได้มาจากการเลือกตั้ง หากการเลือกตั้งเกิดขึ้นก่อนจะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบกและโยกย้ายทหาร ก็มีแต่การรัฐประหารเท่านั้นที่เป็นวิถีทางที่เหลือเพียงทางเดียวที่จะสืบทอดอำนาจอำมาตย์ได้ แม้มันจะไม่ชอบธรรมก็ตาม

ก็ถ้ายุทธศาสตร์ยังอยู่ที่ ‘การเลือกตั้ง’ เสื้อแดงจะสร้างเงื่อนไขให้เกิดความปั่นป่วนเพื่อเสี่ยงต่อการรัฐประหาร หรือสงครามกลางเมืองที่ไม่มีใครชนะไปทำไม

และสำหรับคนที่เกลียดทักษิณเข้าไส้และรักทักษิณมากๆ ก็ต้องถามตัวเองอยู่เหมือนกันว่า การเคลื่อนไหวในเดือนกุมภาฯ แบบที่สื่อและรัฐโหมปั่นให้ร้อนระอุเกินเงื่อนไขและปัจจัยนี่นะหรือ ที่จะทำให้ทักษิณได้เงินที่ถูกอายัดคืน

สำหรับคนเสื้อแดงทั้งหลายในทุกระดับ หากนับเวลาของสภาผู้แทนที่เหลืออยู่ การให้ความสำคัญในการยึดกุม ‘การเลือกตั้ง’ ให้ได้ บางทีอาจจะคุ้มกว่า ต้นทุนถูกกว่า และยั่งยืนกว่าการต่อสู้ด้วยวิธีอื่น

มีแต่ต้องหันหน้าคุยกัน เพื่อกำหนดทิศทางร่วมอย่างเป็น ‘ขบวนเดียวกัน’ รักษาและสร้างโอกาสที่จะมีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด ด้วยการสร้างสรรค์นโยบาย ผู้นำใหม่ๆ และความหวังใหม่ๆ ที่ทำให้ประชาชนอยากเลือกตั้งให้ได้

เพราะไม่ว่าอย่างไร การได้ชัยชนะและความนิยมอย่างถล่มทลายในอดีตนั้น คือสิ่งที่ทำให้ ‘เขา’ กลัว และเมื่อมันถูกขโมยไปด้วยการรัฐประหารและการใช้อำนาจอื่นๆ แทรกแซง สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เกิดเสื้อแดงเต็มแผ่นดิน ที่บั่นเซาะและนับถอยหลังสภาพที่เชิดชู ‘คนเราไม่เท่ากัน’ อย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่างในวันนี้ และทำให้คนวัยปลายๆ อย่างเปรม ติณสูลานนท์ ที่อยู่เหนือคนอื่นมาตลอดชีวิต ต้องนับถอยหลังชีวิตที่เหลืออยู่แบบไม่ค่อยเป็นสุขนัก

และมันจะยังคงเป็นจุดแข็ง ที่คราวนี้ใครก็ยากจะปล้นไปได้ง่ายๆ อีก

สำหรับแกนนำเสื้อเหลืองซีกฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น ไม่ว่าจะอย่างไร แกนนำพันธมิตรฯเหล่านี้ก็ไม่เคยประกาศตัวเป็นศัตรูกับ ‘คนเสื้อแดง’ (ส่วนเด็กบ้าไมค์ชอบให้สัมภาษณ์ ก็อย่าไปสนใจมากนัก แม้แต่หัวหน้า ‘สนธิ’ ยังด่าออกสื่อบ่อยๆ ไป) แม้แกนนำเหล่านี้จะเกลียดและกลัวทักษิณอย่างเข้ากระดูกดำแบบไม่ต้องสงสัยก็ตาม

หลายคนเคยพูดกับผมเมื่อก่อนรัฐประหาร 2549 ว่า “ไม่เป็นไรถ้าจะรัฐประหาร ไล่ทักษิณก่อน แล้วค่อยไล่ทหาร (อำมาตย์)” แล้วบัดนี้ถึงเวลานั้นหรือยัง

ถึงเวลาหรือยังที่จะเลิกให้ทักษิณมาบงการชีวิต เพราะความกลัวทักษิณที่มีอยู่นั้นในทางกลับกัน ก็คือการให้ทักษิณมากำหนดว่า ควรจะทำอะไรไม่ทำอะไร ไม่ใช่พ่อก็ยิ่งกว่าพ่อ (ไม่ได้ว่านะ แค่เลียนแบบคำที่ทักษิณเคยใช้)

ถึงเวลาหรือยังที่จะกล้าหาญพอจะออกมาสนับสนุนคนเสื้อแดง เอาเฉพาะประเด็นที่เขาเรียกร้องให้คนเราเท่ากันก็ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่า จะไปเข้าทางทักษิณให้มากไปนัก

กลัวให้น้อยลง ตรงไปตรงมาให้มากขึ้น อะไรดีก็ว่าดี โดยไม่ต้องคำนึงว่าเขาอยู่ฝ่ายไหนสีอะไรบ้างไม่ได้หรือ

ท่านเป็นของท่านอย่างนี้ มีแต่จะช่วยขยายรากฐานอำมาตย์ฯที่ตรวจสอบไม่ได้และไม่เห็นหัวประชาชนให้แข็งแรงขึ้น

โดนหลอกใช้อยู่แท้ๆ แต่ต้องหลอกตัวเองว่า “เราก็ใช้เขาอยู่” ทั้งๆ ที่ใจตัวเองก็รู้อยู่ว่า ที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะก้าวข้ามผลประโยชน์และการอุปถัมภ์ที่เขาให้ไปได้

คัดค้านรัฐประหาร ผลักดันยุบสภา แก้ปัญหารัฐธรรมนูญ 50

ที่มา ประชาไท


การเคลื่อนไหวของ “คนเสื้อแดง” และ “สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)” เพื่อคัดค้านรัฐประหาร

นับเป็นคุณูปการที่สำคัญยิ่งต่อ ประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย เนื่องเพราะไม่มีครั้งใดที่องค์กรประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจะมีการเตรียมการคัดค้านการก่อการรัฐประหารได้เหมือนครั้งนี้
และคงไม่ต้องกล่าวกันมากนักว่าการรัฐประหารขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยกันอย่างไร เพราะเป็นที่รู้ๆกันอยู่ในยุคที่่ประชาชนตาสว่างกันแล้ว หากจะมีก็แต่ผู้นิยมอำมาตยาธิปไตย พวกได้ประโยชน์จากการรัฐประหารเช่นกลุ่มทุนอนุรักษ์นิยม ปัญญาชนที่มืดบอดทางปัญญา เกลียดทักษิณเข้ากระดูกดำประโยชน์จากการบิดเบือนทางวิชาการเฉกเช่น อธิการ”บ่”ดี ม.ธรรมศาสตร์และคณะเท่านั้นที่ยังเป็นสิ่งมีชีวิตในโลกดึกดำบรรพ์ยอมเป็นข้าทาสหามเสลี่ยงให้กับผู้ปกครองที่มาจากการรัฐประหารอยู่
การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมไทย ระหว่างฝ่ายนิยมประชาธิปไตยกับฝ่ายนิยมอำมาตยาธิปไตย ที่นับว่าเป็นเวลายาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคสมัยปัจจุบันและมีแนวโน้มหมิ่นเหม่ที่จะนำสู่ความรุนแรงในสังคมไทยได้
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง นั้น วิญญูชนทั้งหลาย ควรกดดันให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน ทุกฝ่ายต้องร่วมกันพัฒนาระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา เพื่อยกระดับการเมืองไทยให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ต้องยืนยันหลักการหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงของประชาชนในการเลือกตั้งผู้ แทนราษฎรว่าเป็นหัวใจของประชาธิปไตย
แม้ว่าระบบการเลือกตั้งอาจไม่เท่า กับประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ แต่ก็มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน มีวาระการเลือกตั้งที่แน่นอนต่อผู้ปกครองผู้บริหารประเทศและต้องร่วม กันคิดค้นกระบวนการต่างๆที่ทำให้ประชาธิปไตยในสังคมไทยพัฒนาขึ้นไม่ใช่กลับไปสู่เส้นทางรัฐประหาร ปล่อยให้อำมาตยาธิปไตยครองเมืองอย่างที่เห็นและเป็นอยู่
และท่ามกลางการขับเคลื่อนใน ประเด็น แก้หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ 50 จะแก้ทั้งฉบับหรือบางมาตรา ที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคแต่ละส่วนมีข้อเสนอแตกต่างขัดแย้งกัน อยู่นั้น ก็ควรให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเข้ามีส่วนร่วมตัดสินใจ โดยการผลักดัน ให้พรรคการเมืองต่างๆ ในช่วงสถานการณ์การเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น หลังมีการยุบสภานั้น ควรชูธงแสดงจุดยืนให้ชัดเจนว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 หรือไม่? ว่าจะแก้ไม่แก้ไขอย่างไร? มีกระบวนการมีส่วนร่วมเหมือนรัฐธรรมนูญปี 40 ไหม...? เพื่อเป็นนโยบายหาเสียงที่สำคัญเพื่อ ให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยพิจารณาเลือก และประชาชนกลุ่ม สาขาอาชีพต่างๆ ก็ควรจัดตั้งตนเอง มีข้อเสนอต่อพรรคการเมืองต่างๆเพื่อให้ประชาธิปไตย พัฒนาก้าวหน้าขึ้น ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีหลักการเพื่อลดทอนอำนาจนอกระบบเพิ่มอำนาจ ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ และให้ประชาชนทุกคน ทุกฝ่ายการเมือง ต้องยอมรับผลการเลือกตั้งที่ยุติธรรม เพื่อยอมรับกติกาประชาธิปไตยในสังคมไทย
ดังนั้น จึงต้องคัดค้านการรัฐประหาร ผลักดันให้รัฐบาลยุบสภา คืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในประเด็นรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน