WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 5, 2011

"ยิ่งลักษณ์" น้ำตาคลอ ย้ำไม่เคยท้อเพราะได้กำลังใจจาก ปชช. ลั่นจะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปอย่างเร็วที่สุด

ที่มา มติชน

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 5 พฤศจิกายน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทย (มท.) นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เดินทางมายังบริเวณลานหน้าศากลางจังหวัดนครสวรรค์เยี่ยมชมการจัดกิจกรรม “บำบัดทุกข์ บำรุง ราษฎร์-รัฐรวมใจ เพื่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.นครสวรรค์” ซึ่งมีประชาชนจากอำเภอต่างๆ จำนวนมากมาให้กำลังใจ จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้รับมอบสิ่งของจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคตามแผนฟื้นฟูช่วย เหลือผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด มอบเมล็ดพันธุ์พืชแก่ตัวแทนเกษตรกร และมอบเงินช่วยเหลือครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 36,498 ครัวเรือน คิดเป็นเงิน 182 ล้านบาทเศษ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรัฐมนตรียังได้ทักทายประชาชนที่มาร่วมกิจกรรม และได้ร่วมประกอบอาหารกลางวัน คือ ผัดกระเพราหมูสับ และตักแจกจ่ายให้ประชาชนมารอรับข้าวกล่องจากนายกจำนวนมาก


น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปราศรัยทักทายว่า ตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ชาวนครสวรรค์ต้องประสบอุทกภัย รัฐบาลทราบดีว่าประชาชนเดือดร้อนขนาดไหน การที่ได้เดินทางกลับมานครสวรรค์วันนี้รู้สึกดีใจ ที่น้ำที่เคยท่วมลดลง เห็นสีหน้าชาวบ้านยิ้มแย้มแจ่มใสอีกครั้ง สิ่งที่ผ่านมา 2 เดือนทำให้คนนครสวรรค์มีความเข้มแข็ง ที่ต้องต่อสู้กับมหาอุทกภัยครั้งนี้ น้ำท่วมในจังหวัดนครสวรรค์สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นคือความรัก ความสามัคคีของประชาชน ที่ร่วมกันต่อสู้ มีธารน้ำใจจากทุกภาคส่วนหลั่งไหลมาช่วยเหลือ ยังมีอีกหลายจังหวัดที่น้ำยังท่วมอยู่ ซึ่งจะต้องร่วมกันต่อสู้อย่างชาวนครสวรรค์ ซึ่งเป็นต้นแบบของความอดทน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องฟื้นฟูจิตใจ ด้วยการทำความสะอาด และให้ความช่วยเหลือหลังน้ำลด นอกจากจะฟื้นฟูจิตใจคนไทยแล้วแล้ว ยังเป็นการฟื้นความเชื่อมั่นของคนไทยและความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติ ที่กำลังจับตาดูการต่อสู้ปัญหาของคนไทยอยู่ ดังนั้นเราต้องสร้างความมั่นใจให้ชาวต่างชาติได้รับรู้


"การฟื้นฟูดูแล การเยียวยาให้ความช่วยเหลือ ถนนหนทางจะต้องทำให้เรียบร้อยภายใน 45 วัน ทุกอย่างต้องกลับสู่ภาวะปกติภายใน 45 วันจากนี้ เพราะประชาชนทนทุกข์มานานมานาน ขอยืนยันว่าดิฉันไม่เคยท้อถอย เพราะรู้ว่าทุกครั้งที่ท้อถอย ก็มีกำลังใจจากประชาชน ขอให้ชาวนครสวรรค์เป็นตัวอย่างของจังหวัดอื่นๆ ให้รู้ถึงความเข้มแข็ง ว่าเราจะฟื้นฟูและเดินหน้าทำให้ทุกอย่างเป็นปกติเหมือนเดิม ด้วยความสามัคคี และทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไป วันนี้เราผ่านโรคร้ายมาแล้ว ถือเป็นวันดีที่จะทำให้จังหวัดนครสวรรค์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว" นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและมีน้ำตาคลอเบ้า โดยน้ำเสียงของนายกรัฐมนตรีจะหายเป็นห้วงๆ ทำให้ผู้ร่วมงาน ส.ส.และรัฐมนตรีที่ยืนด้านหลังนายกฯ ถึงกับนิ่งเงียบ ก่อนที่จะมีเสียงตะโกนขอให้นายกสู้ๆ ต่อไป จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกองทัพที่เป็นกำลังหลักในการช่วยเหลือประชาชนจากน้ำท่วมใหญ่ครั้ง นี้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนายกฯจะเดินทักทายกับประชาชนแล้ว นายกรัฐมนตรียังได้ร่วมกิจกรรมทาสีบ้านของ น.ส.ณัฐนันท์ ศิริวรรณ และ นางทัศนีย์ ศิริวรรณ ชาวชุมชนวัดพรมจริยาวาส ซึ่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมด้วย ก่อนจะนั่งรถตรวจความเสียหายและการฟื้นฟูหลังน้ำลดภายในตัวเมืองนครสวรรค์ จากนั้นจึงเดินทางกลับ

นายกฯ ควง มท.1–อธิบดี ปภ.ขึ้น ฮ.ฟื้นฟูนครสวรรค์

ที่มา ข่าวสด

  • ภาพ : ภาพจากเฟซบุ๊ก yinglunk shinawatra

  • วันที่ 5 พ.ย. ที่พล.ม.2 สนามเป้า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายยงยุทธ์ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมบรรเทาและป้องกันสาธารณภัย (ปภ.) เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ แบล็คฮอว์ก เดินทางลงพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อตรวจเยี่ยมและรับฟังรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัดถึงสถานการณ์อุทกภัย แผนฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด

    นายกรัฐมนตรี รับมอบสิ่งของจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคช่วยเหลือจังหวัดตามแผนฟื้นฟูช่วย เหลือ ผู้ประสบอุทกภัย จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้มอบเมล็ดพันธุ์พืชแก่ตัวแทนเกษตรกร มอบเงินช่วยเหลือครัวเรือนที่ประสบภัยน้ำท่วม และมอบเงินสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน และให้กำลังใจกับประชาชน

    ถนนสายเอเชียในชัยนาททรุด หลังน้ำท่วมกว่า 2 เดือน

    ที่มา ข่าวสด


    วันที่ 5 พ.ย. ที่ จ.ชัยนาท สะพานบริเวณถนนสายเอชียทรุดตัวลงกว่า 1 เมตร หลังจากที่ปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอ สรรพยา จังหวัดชัยนาท นานกว่าสองเดือน เนื่องจากความแรงของกระแสน้ำที่ไหลผ่าน ส่งผลให้ช่องทางการการจราจรได้รับความเสียหาย สามารถใช้การได้เพียงช่องทางเดียวที่บนถนนสายเอเชีย บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 126+800 ฝั่งขาขึ้นจังหวัดนครสวรรค์ ในพื้นที่ตำบลตุลก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

    สะพานที่ทรุดตัวลง ทำให้รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ เจ้าหน้าที่จากแขวงการทางจังหวัดชัยนาทต้องเร่งนำแบริเออร์คอนกรีต มาปิดช่องจราจรที่ได้รับความเสียหายทั้งสามช่องทาง เพื่อให้รถยนต์สามารถสัญจรได้เพียงช่องทางเดียว

    นายสิทธิชัย วนานุเวชพงศ์ แขวงการทางจังหวัดชัยนาทกล่าวว่า สาเหตุที่สะพานทรุดตัว คาดว่าเกิดจากการที่น้ำได้ไหลเข้าท่วมเป็นจำนวนมาก ประกอบกับสะพานตรงจุดนี้มีความยาวกว่าจุดอื่นๆ ทำให้น้ำปริมาณมากไหลผ่านสะพานด้วยความแรง เสาตอม่อสะพานจึงเกิดทรุดตัว ส่งผลให้คานปูนหักลง ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการซ่อมแซมได้ ทำได้เพียงปิดช่องการจราจร หลังจากน้ำลดจะเร่งรื้อถอนสะพานตรงจุดนี้และดำเนินการก่อสร้างใหม่โดยเร็ว ที่สุด จึงขอให้ประชาชนที่สัญจรผ่านบริเวณจุดเส้นทางชำรุดให้ชะลอความเร็วและขับรถ ด้วยความระมัดระวัง

    "ปู" โอดเจอทั้งปัญหามวลน้ำและมวลชน ลั่นรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม

    ที่มา ข่าวสด


    วันที่ 5 พ.ย. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ กล่าวในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ว่า เป็นเวลาต่อเนื่อง 2 เดือนแล้วที่น้ำไหลเข้าท่วม จ.พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี ต่อเนื่องมายังปทุมธานี นนทบุรี และเริ่มขยายวงกว้างมายังบางส่วนของ กทม.โดยเฉพาะฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลเข้าท่วมอยู่ในขณะนี้ ซึ่งปริมาณน้ำที่สะสมมาตั้งแต่พายุนกเตนช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ต่อเนื่องด้วยพายุไหหม่า เนสาด นานแก และในช่วงเดือน ก.ย.ได้พัดเข้าสู่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน ทำให้เกินขีดความสามารถของเขื่อนต่างๆ ตั้งแต่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนคลองน้อย และเขื่อนป่าสักที่ไม่สามารถรับน้ำเพิ่มได้

    ในวันนี้ จ.นครสวรรค์จะเป็นจังหวัดที่สอง ที่ประกาศการฟื้นฟู ขณะที่ จ.อยุธยาจะได้เริ่มกลับมาฟื้นฟูและแซ่อมแซมในเวลาอันใกล้นี้ ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมแผนงานและงบประมาณในการการฟื้นฟูแล้ว โดย ครม.มีมติตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยเตรียมงบประมาณเบื้องต้น จำนวน 1 แสนล้านบาท เพื่อใช้สำหรับการเยียวยา ซ่อมแซม ฟื้นฟูบ้านเรือนประชาชนที่เสียหาย รวมทั้งเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ

    น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้มวลน้ำที่เริ่มขยายตัวท่วมขังจากทางเหนือของ กทม.เริ่มขยายวงกว้างมายังดอนเมือง ม.เกษตร ลาดพร้าว รัชดาและจตุจักร ส่วนฝั่งตะวันตกน้ำท่วมเขตตลิ่งชัน บางแค และภาษีเจริญบางส่วน รัฐบาลไดรับความร่วมมืออย่างดีจากนักวิชาการ และทำงานใกล้ชิดกับกรมชลประทาน กทม. และผู้แทนกองบัญชาการกองทัพไทย โดยจัดตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการระบายน้ำในพื้นที่เสี่ยงสาธารณภัยร้าย แรง ซึ่งได้ประชุมกันทุกวันเพื่อกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติในพื้นที่ ซึ่งข้อสั่งการจะเห็นชอบร่วมกันและสั่งการตามมติที่ประชุม โดยมอบหมายให้กรมชลประทานและ กทม.เป็นผู้ตัดสินใจด้านเทคนิค โดยหลักการ คือลดความเสียหายต่อพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ชุมชน และสนับสนุนการระบายน้ำของหน่วยงานดังกล่าว

    แม้ว่าจะมีการวางระบบบริหารจัดการ แต่ก็ยังมีอุปสรรคปัญหา อาทิ ปัญหาด้านเทคนิค เพราะธรรมชาติน้ำไหลทะลุทะลวงจากที่สูงลงที่ต่ำ แม้แต่คันกั้นน้ำยังทานแรงน้ำไม่ไหว แตกและร่วมซึมตลอดเวลา อาคารระบายน้ำรวมทั้งเครื่องสูบที่ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงก็เสียหาย โดยเฉพาะการบริหารจัดการช่วงน้ำทะเลนหนุนสูงช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าปัญหาเกิดขึ้นทุกฝ่ายต้องช่วยกันเพื่อให้ปัญหาบรรเทาลงไป โดยอาศัยการรวมพลัง ระดมความคิด เพื่อซ่อมและเสริมคันกั้นน้ำรวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม

    ปัญหาที่สำคัญกว่าคือ ปัญหามวลชน ประชาชนที่อยู่หลังประตูอยากเปิดประตูเพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ ส่วนประชาชนใต้ประตูก็ไม่อยากให้เปิด เพราะน้ำจะท่วมพื้นที่ของตนเอง

    หากทุกคนไม่มองภาพรวมหรือผลประโยชน์ส่วนรวม มองเพียงการปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนและกลุ่มของตน จะทำให้เกิดผลกระทบภาพรวมของประเทศ ดังนั้น ในฐานะนายกฯ ซึ่งรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน ขอยืนยันกับประชาชนว่าการบริหารและแก้ไขวิกฤติครั้งนี้ จะยึดหลักโดยรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติในส่วนรวมเป็นหลัก ดำเนินการทุกอย่างภายใต้กรอบของกฎหมาย และแก้ปัญหาให้ลุล่วงโดยเร็ว จะไม่ปล่อยให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาขัดขวางแนวทางการ แก้ไขปัญหาให้บ้านเมืองอย่างเด็ดขาด ยอมรับว่าการทำงานครั้งนี้เหนื่อยจริงๆ แต่ไม่ท้อ ขอเพียงพี่น้องประชาชนเข้าใจก็พอแล้ว จะตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่

    ใครสั่งน้ำ (2)

    ที่มา thaifreenews

    โดย เสรีชน คนใต้

    พญาไม้ทูเดย์ พญาไม้
    น้ำมาตามสั่ง...จริงดังที่มีคนกล่าวถึงหรือไม่...

    ใคร...จึงจะสามารถและมีอภินิหาริย์...ปานนั้น

    เจ้า กรมบาดาล...อธิบดีกรมชลประทาน...เป็นหนึ่งในผู้มีอภินิหาริย์...ผู้สร้าง ไฟฟ้า...ซีอีโอ...ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต...เป็นอีก 1 ของผู้ลิขิตเส้นทางเดินของน้ำ

    หน้าร้อนของปี...2553...ข่าวใหญ่พาด หัวไปทั่วไทยว่า...2...เขื่อน ภูมิพล-สิริกิติ์ ประสบกับภาวะแล้งอย่างหนักจนปริมาณน้ำในเขื่อนแห้งขอด...นั่นเป็นเหตุการณ์ เมื่อ 16 เดือนที่แล้ว...

    ปี 2554...คาดหมายกันว่า...จะเป็นปีแล้งน้ำแห้งอีกปี...ทันทีที่มีฝน...เขื่อนทั้ง 2 จึงกักตุนน้ำอย่างเต็มที่...จนถึงระดับน้ำปกติ...

    แต่ น้ำไม่แล้งอย่างคำทำนาย...ฝนใหญ่ตกลงมาใต้เขื่อน...น้ำในแม่น้ำทุกสายเต็ม ตลิ่ง...จนทุกเขื่อนต้นน้ำต้องขังน้ำไว้...ไม่ปล่อยให้ไหลลงมาเพราะเกรง ว่า...จะทำให้น้ำท่วมทุ่งที่กำลังปลูกข้าว

    ฝนใหญ่หยุดตกใต้ เขื่อน...ประเทศวุ่นวายอยู่กับการต่อสู้แก่งแย่งอำนาจทางการเมือง...ประเทศ ไร้ผู้บริหารจัดการ...รัฐบาลลาออกมีการเลือกตั้ง...ในระหว่างหาเสียงทางการ เมือง...พายุใหญ่หอบฝนหลายลูกไปตกอยู่ตอนบนของประเทศเหนือเขื่อน...

    ประเทศ ไทยตอนบนแบกน้ำไว้เกินกว่าปกติธรรมดาหลายเท่า...ในขณะที่นาข้าวกำลังผลิดอก ออกผล...น้ำล้นทั้งบนเขื่อนและในน้ำลำธาร...แต่ทั้งดีเปรสชั่นและไต้ฝุ่นก็ ยังหอบน้ำมาคายทิ้งเหนือฟากฟ้ากรุงไทย...

    เขื่อนสิ้นสุดขีดรับ น้ำ...ทุกฝั่งแม่น้ำอิ่มตัว...น้ำรวมตัวเป็นทัพน้ำยิ่งใหญ่...ถาโถมเทตัวลง ใต้...สะบัดหัวสะบัดหางแกว่งไกวไร้ทิศไร้ทาง

    ไม่มีกำแพงใด...ยิ่งใหญ่พอที่จะหยุดกองทัพน้ำ...ยิ่งกีดขวางมันก็ยิ่งพิโรธโกรธเกรี้ยว...

    ถ้าจะมีใครสักคนที่สั่งน้ำได้...กรรมบาปของความแตกแยกนั่นแหละ...คือกรรม...มันนำน้ำลงมาชะเลือดที่เปื้อนอยู่บนถนนหนทาง

    http://www.bangkok-today.com/node/10946

    ระบายแค้น

    ที่มา ข่าวสด

    คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
    สับไก กระสุนธรรม



    ปัญหาน้ำที่น่าปวดเฮดในช่วงน้ำท่วมคือ "น้ำลาย" สัญลักษณ์แห่งการจ้อ

    ผู้ตกเป็นเหยื่อแห่งการจ้ออันดับหนึ่งตอนนี้ เป็นใครไม่ได้นอกจากนายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจนำการบริหารประเทศ

    ส่วนผู้นิยมจ้อที่แซงหน้าสมาชิกฝ่ายค้าน คือบรรดา "ผู้รู้ดี" ตามเครือข่ายสังคมออนไลน์

    นัยว่าไม่มีช่วงไหนที่จะเป็นโอกาสทองเท่านี้อีกแล้ว

    ในเมื่อมีทั้งน้ำหลากไหลและซึมลึกมาถึงกรุงเทพมหานคร

    การ "หาพวก" รุมถล่มนายกรัฐมนตรี ผู้ใช้เวลาเพียง 49 วันในการก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศนั้นจึง "เป็นใจ" อย่างยิ่ง

    ระหว่างที่นายกฯ และทีมงานพยายาม "ระบายน้ำ" ออกจากเมืองลงทะเลในสภาะแข่งกับเวลาอย่างนี้ ยังต้องเผชิญกับการ "ระบายแค้น" จากกลุ่มผู้มีอคติเหล่านี้อีก

    ถ้อยคำเย้ยหยันจำพวก "โง่" "อ่อนหัด" และ "ไร้ประสิทธิภาพ" จึงปรากฏอย่างต่อเนื่อง

    ยังไม่แน่ชัดว่า คำพวกนี้ช่วยสร้างสรรค์ หรือกระตุ้นให้รัฐบาลทำงานดีขึ้นได้ขนาดไหน

    แต่คำที่สะท้อนถึงการเหยียดเพศที่ยังเกาะหนึบอยู่ในสังคมไทยได้ชัดเจนที่สุด คือการโจมตีว่า เพราะนายกรัฐมนตรีคนนี้เป็นผู้หญิง

    ไม่ว่าจะเป็นวาทะจิกด่า "สาวเหนือ" ด้วยคำว่า หน้าด้านและไร้สติปัญญา

    หรือประโยคว่า "ความละมุนของเธอนั้น จริงๆ แล้วมาจากความอ่อนแอ"

    น่าสังเกตว่า ข้อความจากคนเหล่านี้ไม่ปรากฏเหตุผลว่า การเป็นผู้หญิงขัดขวางการทำหน้าที่เป็น "หัวหน้าทีม" รับมือกับปัญหาอย่างไร

    ทั้งที่ประเด็นสำคัญสำหรับการเป็นผู้นำ อยู่ที่ว่าคนๆ นั้นรวมพลังทีมงานช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างไร หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือไม่

    ความอ่อนแอที่เอ่ยอ้างนั้นเป็นเหตุให้นายกรัฐมนตรีนอนกอดหมอนร้องไห้อยู่ที่บ้าน จนหนีการทำงานหรือไม่ - ก็ไม่ใช่

    การเป็นสาวเหนือทำให้รอยหยักในสมองน้อยกว่า หรือรู้ผิดรู้ถูกน้อยกว่าคนภาคอื่นหรือไม่ - ก็ไม่ใช่

    หรือการเป็นผู้หญิง ทำให้นายกฯ คนนี้ไม่กล้าเผชิญกับเสียงวิจารณ์ ติติงต่างๆ นานาหรือไม่ - ก็ไม่ใช่อีก

    ถ้อยคำที่ปั้นแต่งกันสะใจเหล่านี้จึงเป็น "น้ำลาย" ที่สิ้นเปลืองต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง

    ทำท่าจะระบายทิ้งได้ยากเสียด้วย

    รายการ ชูธง 04-11-2011

    ที่มา thaifreenews

    โดย bozo

    RuMi CBR


    ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ & จตุพร พรหมพันธุ์
    รายการ ชูธง ทางสถานีโทรทัศน์ Asia Update

    ประจำวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2554

    -
    mp3 http://www.mediafire.com/?z3h15g32bd23dvi

    http://www.4shared.com/audio/69aKTT2n/_04-11-2011.html


    http://www.thaivoice.org/board/index.php?

    ายการ ชูธง 03-11-2011

    ที่มา thaifreenews

    โดย bozo

    RuMi CBR


    ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ & จตุพร พรหมพันธุ์

    รายการ ชูธง ทางสถานีโทรทัศน์ Asia Update
    ประจำวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2554


    *** ขออภัยค่ะ เสียงเบาไปหน่อย




    http://www.thaivoice.org/board/index.php?

    ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 05/11/54 สัตว์ร้ายมากับน้ำท่วม......

    ที่มา blablabla


    สารพัด สัตว์ร้าย หลากหลายชนิด
    ล้วนมีพิษ มากมาย จากสายน้ำ
    ต่างรายล้อม ดาหน้า มารุมยำ
    ด้วยมุ่งหวัง ขยี้ขย้ำ กลางน้ำนอง....

    หางเริ่มโผล่ โชว์สันดาน พล่านเยี่ยงสัตว์
    ทั้งลอบกัด จัดให้ ไม่เป็นสอง
    เขียวแมมบ้า ว่าจัดเจน ยังเป็นรอง
    มันขวางคลอง กว่าไอ้เข้ โคตร..เท่ห์ตาย....

    ดีแต่ด่า ดีแต่เห่า เอาตัวเด่น
    แอบซ่อนเร้น มารยา พาฉิบหาย
    ยิ่งเห็นชื่อ สัตว์สงวน จวนเจียนตาย
    พ่นน้ำลาย คำสำรอก บอกตัวมัน....

    สารพัด สัตว์ร้าย รายรอบทิศ
    ล้วนมีพิษ มากมาย ร้ายมหันต์
    เชิญพี่น้อง ร่วมด้วย มาช่วยกัน
    สกัดกั้น เพื่อไม่ให้ เข้าใกล้ตัว....

    ภัยน้ำหลาก เอ่อท่วม จนอ่วมมิด
    สัตว์มีพิษ แม้ซ่อนเร้น ก็เห็นทั่ว
    หากจ้องดู เต็มตา แค่น่ากลัว
    แต่พวกชั่ว เลวกว่าสัตว์ ลอบกัดคน....

    ๓ บลา / ๕ พ.ย.๕๔

    ท่วมหมื่นชื่อ: พลังประชาธิปไตยในวิกฤตน้ำท่วม

    ที่มา ประชาไท

    ผู้เขียนขอเสนอแนวคิด ท่วมหมื่นชื่อ facebook.com/10000flood เป็น แนวคิดไม่ปิดตายที่หวังพลิก วิกฤตอุทกภัยมาเป็น โอกาสประชาธิปไตย เพื่อฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นสุขถ้วนหน้าและแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิม
    วิกฤตเวลานี้แม้ความช่วยเหลือจะมีมาก แต่ที่มากยิ่งกว่า คือ พวกเราที่ยังรอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และพวกเราที่กะจะช่วยแต่ไม่ได้ช่วยเสียที ยิ่งไปกว่านั้น การฟื้นฟูเยียวยาหลังน้ำลดต้องใช้เวลาและเงินเกินกว่ากำลังอาสาสมัครหรือ การบริจาค และไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งของ เช่น บ้านเรือนไร่นา เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการฟื้นฟูเชิงโครงสร้าง เช่น การกู้อุตสาหกรรม การช่วยเหลือผู้ตกงาน ตลอดจนการเยียวยาจิตใจซึ่งวันนี้ยังมีคำถามคาใจที่ไม่รู้จะเชื่อคำใคร
    ล่าสุดรัฐบาลได้พิจารณาใช้เงินมหาศาลฟื้นฟูประเทศ แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าจะนำเงินมาจากไหน หรือจะบริหารได้ดีหรือโปร่งใสเพียงใด
    ในยามเช่นนี้ พวกเราซึ่งเป็นเจ้าของประเทศระดมพลังประชาธิปไตยเพื่อร่วมแก้วิกฤตได้ กล่าวคือ คนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ๑ หมื่นคนขึ้นไป สามารถใช้สิทธิร่วมลงชื่อเพื่อเสนอกฎหมายเยียวยาฟื้นฟูประเทศ และผลักดันผ่านรัฐสภาให้เป็นกฎหมายประชาชน ฉบับแรกในประวัติศาสตร์ โดยไม่ต้องและต้องไม่ให้นักการเมืองเป็นผู้กุมชะตาพวกเราไว้ฝ่ายเดียว
    แนวคิดกฎหมายจากประชาชนท่วมหมื่นชื่อที่ว่า อาจมีหลักการดังนี้
    หลักการรวมใจแบ่งเบาภาระ
    พวกเราที่ไม่ได้เสียหายจากวิกฤตอุทกภัย หรือเสียหายน้อยมาก ยินยอมพร้อมใจให้รัฐบาลเก็บรายได้พิเศษ ตามกำลังจ่ายของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยเยียวยาพวกเราส่วนที่ยังเสียหายอย่างสาหัส โดยวิธีที่ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม เช่น การเพิ่มภาษีที่มีการจัดเก็บอยู่แล้ว หรือการเพิ่มค่าน้ำค่าไฟที่จ่ายเป็นประจำอยู่แล้ว
    การเก็บรายได้ควรยกเว้นไม่เก็บจากผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่ เสียหายมาก อาจยกเว้นนิติบุคคลเพื่อไม่กระทบต่อการลงทุน และอาจเปิดช่องให้พวกเราสามารถนำเงินที่จ่ายไปให้รัฐบาลหักกลับคืนมาได้บาง ส่วน โดยเรายินดีช่วยกันคนละไม้คนละมือ คนละเล็กละน้อยตามความสามารถ แต่ทำอย่างโปร่งใส เป็นระบบและพร้อมเพรียงกัน เพื่อระดมทุนแก้วิกฤตของประเทศ
    กรณีดังกล่าวไม่ใช่การขึ้นภาษีเพื่อลงโทษคนที่ไม่ถูกท่วม แต่เป็นข้อเสนอที่อาศัยกระบวนการประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือ ก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน โดยทุกคนมีส่วนร่วมอย่างพร้อมเพรียงตามกำลังความสามารถ เพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของสังคม ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจตลอดจนความสามัคคีปรองดองของคนใน ชาติ
    หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
    เงินที่รัฐบาลเก็บจากพวกเราไม่ได้ให้รัฐบาลนำไปใช้เองอย่าง เดียว แต่ต้องแบ่งไปสนับสนุนอาสาสมัครหรือองค์กรท้องถิ่นที่ทำงานใกล้ชิดกับ ประชาชนในพื้นที่ มีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาเป็นไปอย่างทั่ว ถึง
    หลักการประหยัด
    นอกจากรัฐบาลจะเก็บรายได้เพิ่มจากพวกเราแล้ว รัฐบาลต้องเสนอมาตรการตัดลดค่าใช้จ่ายควบคู่กันไปอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งแจกแจงให้พวกเราทราบว่าได้ตัดงบประมาณส่วนใดจากโครงการใดเพื่อนำมา ช่วยพวกเราและฟื้นฟูประเทศ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อหนี้กู้ยืมเงินตราต่างประเทศในภาวะที่เศรษฐกิจ โลกมีความไม่แน่นอน
    หลักการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
    กฎหมายให้อำนาจรัฐบาลนำรายได้ที่จัดเก็บไปใช้รักษาเสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของคนไทยทุกคน เช่น การจ้างงาน การฟื้นฟูพัฒนาจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ การซ่อมแซมนิคมอุตสาหกรรม การปรับปรุงระบบระบายน้ำ ฯลฯ แต่รัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้เงินกระจุกตัวอยู่กลุ่มธุรกิจหรือ อุตสาหกรรมใดโดยเฉพาะ
    หลักการค้นหาความจริง
    กฎหมายฉบับนี้จัดให้มีคณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบค้นหาความ จริงเพื่อรายงานพวกเราว่าวิกฤตครั้งนี้เกิดอะไรขึ้น ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอมีอะไรบ้างที่จริงหรือไม่จริง มีอะไรบ้างที่พลาดพลั้งไป และประเทศไทยจะมีวิธีเตรียมตัวป้องกันรับมือปัญหาในอนาคตอย่างไร ทั้งนี้ กฎหมายอาจกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลแก่คณะ กรรมการอิสระ มิใช่ปล่อยเงียบจนเรื่องถูกกลบลบหายไป
    หลักการป้องกันแก้ไขระยะยาว
    กฎหมายฉบับนี้กำหนดกรอบเวลาให้นำความจริงที่ได้รับการตรวจสอบ มาตีแผ่พร้อมนำเสนอแผนการแก้ไขต่อประชาชนเพื่อรับฟังความเห็นและนำไปดำเนิน การแก้ไขให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่นำขึ้นหิ้งแล้วลืมเหมือนทุกครั้ง
    หลักการใช้แล้วไม่ต้องทิ้ง
    กฎหมายที่เสนอสามารถนำไปใช้ได้ต่อไปในอนาคตหากเกิดวิกฤตร้าย แรง โดยเปิดช่องให้รัฐบาลขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเพื่อเสนอมาตรการพิเศษสำหรับ เฉพาะคราวในกรอบเวลาที่จำกัด ส่วนเงินที่เก็บจากพวกเราก็นำไปก็เก็บไว้ในกองทุนเพื่อรับมือแก้ไขปัญหาใน อนาคตได้ต่อเนื่องเช่นกัน
    แนวคิดนี้ปฏิบัติได้จริงหรือ ?

    ในประวัติศาสตร์ชาติไทยยังไม่เคยมีร่างกฎหมายฉบับใดที่เสนอ โดยประชาชนและผ่านสภาจนกลายมาเป็นกฎหมายที่ใช้ได้จริง ในทางหนึ่งจึงเป็นนิมิตหมายอันดีที่จะอาศัยวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้เป็นแรง เคลื่อนประชาธิปไตยไทยให้ก้าวไปอีกขั้น อย่างน้อยก็โดยการเรียนรู้และร่วมจดจำใบหน้าและนามสกุลของผู้ที่ปฏิเสธเสียง ของประชาชนอย่างไร้เหตุผล

    ตรงกันข้าม หากนักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดมีแนวคิดตรงกันหรือได้แรงบันดาลใจจาก ประชาชน ก็ทำหน้าที่ผู้แทนโดยการนำแนวคิดนี้ไปปรับปรุงและเสนอต่อสภาได้เช่นกัน
    ผู้เขียนได้นำแนวคิดเหล่านี้มาจัดทำเป็น ร่างพระราชบัญญัติรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย พ.ศ. ... โดย มีเนื้อหาเป็นกรอบทางกฎหมายให้รัฐบาลและรัฐสภาสามารถร่วมกันกำหนดมาตรการและ รายละเอียดที่เหมาะสมว่าจะจัดเก็บรายได้เมื่อใด โดยวิธีใด นานแค่ไหน ใครได้รับการยกเว้นอย่างไร ฯลฯ ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ แม้ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจพร้อมให้นำไปเข้าชื่อเพื่อเสนอต่อสภา แต่ก็ยังมีประเด็นที่สามารถนำไปถกเถียงและแก้ไขต่อไป อีกทั้งเสียงที่โต้แย้งด้วยเหตุผลอันหนักแน่นย่อมมีคุณค่าทางประชาธิปไตย ยิ่งกว่าเสียงชมตามอารมณ์หรือมารยาทยิ่งนัก
    จึงขอเชิญชวนพวกเราร่วมระดมความคิดเกี่ยวกับ ท่วมหมื่นชื่อ และ ร่างพระราชบัญญัติรวมใจแก้วิกฤตสาธารณภัย พ.ศ. ... ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ และช่วยกันปรับปรุง แก้ไข วิพากษ์วิจารณ์ หรือเสนอร่างอื่นได้อย่างอิสระได้ที่เพจ ท่วมหมื่นชื่อ http://www.facebook.com/10000flood

    สิริพรรณ นกสวน สวัสดี: เห็นอะไรในสายน้ำ?

    ที่มา ประชาไท

    เห็นอะไรในสายน้ำ: เห็นการขาดบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำ เห็นปัญหาผังเมือง เห็นการแก้ปัญหาแบบ “กลัวชั้นในเปียก” เห็นความไม่สามารถในการสื่อสารกับประชาชน เห็นการขีดเส้นแบ่งความรับผิดชอบระหว่างการบริหารส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เห็นความขัดแย้งทางความคิดที่ร้าวลึกแบบไร้สติ เห็นสื่อยังคงคุณภาพในการเต้าข่าว เห็นความหลง อคติ และชิงชัง เห็นวิกฤติหลังวิกฤติ

    เห็น การขาดบูรณาการในการบริหารจัดการน้ำ

    การปล่อยให้เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้ำสูงกว่าปรกติจน เข้าหน้าฝน ดูจะเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาน้ำท่วม อันน่าจะเป็นผลจากวิสัยการทำงานแบบต่างคนต่างทำ ต่างเป้าหมายของหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งได้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่ต้องการเก็บน้ำไว้ทำไฟ กรมชลประทานที่เก็บน้ำเพื่อการเกษตร และกรมอุตุนิยมวิทยาที่พยากรณ์ดิน ฟ้า อากาศ

    ส่วนที่ชี้นิ้วกันไปมาระหว่างฝ่ายที่มองว่ารัฐบาลที่แล้ววางยาไว้ และมีอำนาจที่มองไม่เห็นจัดให้เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรืออีกฝ่ายที่บอกว่า เป็นเพราะรัฐบาลเองที่เข้ามาบริหารประเทศเมื่อต้นฤดูฝน ปริมาณน้ำในเขื่อนยังไม่มาก แต่ไม่ยอมระบายน้ำออกจากเขื่อนเพื่อเล็งผลเลิศเรื่องนโยบายจำนำข้าว จะเป็นกรณีไหน คงต้องรอให้ตอผุด หลังน้ำลด หากประเมินจากข้อมูลที่มองเห็นได้ ระยะเวลาสำคัญของการตัดสินใจเก็บหรือปล่อยน้ำเป็นช่วงคาบเกี่ยวของสองรัฐบาล ที่วุ่นวายกับการหาเสียง และการเข้ารับตำแหน่งใหม่ ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่ความรับผิดชอบของรัฐบาลใดรัฐบาลเดียว

    ห็น ปัญหาผังเมือง การขาดองค์ความรู้เรื่องน้ำที่เป็นระบบ และความไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา

    ความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการนำพื้นที่รับน้ำเดิมไปทำเป็นบ้านจัดสรร และนิคมอุตสาหกรรม คำถามคือ เกิดอะไรขึ้นกับการวางผังเมือง

    เมื่อน้ำท่วมได้กลายเป็นวิกฤติลุกลามไปทั่ว เราไม่เห็นภาพการใช้ประโยชน์จากนักวิชาการน้ำและผู้มีประสบการณ์เรื่องน้ำ โดยภาครัฐ มีเพียงทีวีช่องต่าง ๆ เชิญนักวิชาการด้านน้ำมาให้ความรู้ ทำให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ได้ถูกนำไปสังเคราะห์ใช้

    ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ตัดสินใจเลือกใช้คนที่มี ความสามารถ มีทีมงานจัดระเบียบและระบบข้อมูล และการตัดสินใจที่ชัดเจนทันท่วงที แต่สิ่งที่เห็นคือ แม้แต่ในสถานการณ์เดียวกันก็ยังมีความเห็นไม่ตรงกัน เช่น รมต. คนหนึ่งบอกว่าจะเจาะถนน อีกคนบอกเจาะไปก็ไม่เกิดประโยชน์ วันหนึ่งประกาศว่า รัฐบาลเอาอยู่ วันรุ่งขึ้น กทม.แถลงว่าวิกฤติแล้ว อีกวันโอ่ว่า 19 เขตใน กรุงเทพฯ จะรอด พอวันถัดมาบอกว่า 50 เขตไม่รอดแล้วครับพี่น้อง

    เห็น การแก้ปัญหาแบบ “กลัวชั้นในเปียก”

    แนวทางการแก้ปัญหาที่ใช้ตลอดมา คือการยกภาระของคนกรุงเทพให้คนจังหวัดอื่น และการให้คนกลุ่มหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร คนเล็กคนน้อยที่ไม่มีปากเสียง ต้องเสียสละให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งส่วนมากเป็นผู้มีอันจะกิน อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรราคาแพง และกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม คนกลุ่มหลังจะได้รับความช่วยเหลืออย่างทุ่มเทใช้กำลังทรัพย์ป้องน้ำกันสุด ฤทธิ์ แต่ดูเหมือนว่าน้ำเป็นสสารที่ไม่เข้าใจคำว่าสองมาตรฐาน ไม่เลือกคนจนคนรวย วิธีการให้คนอื่นรับน้ำแทนคุณดูจะไม่ได้ผลตามเป้า เพราะน้ำไปเยี่ยมเยียนทุกที่อย่างเท่าเทียม เฉลี่ยทุกข์อย่างถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นชั้นนอกหรือชั้นในของกรุงเทพฯ

    เพียงเมื่อน้ำทะเลหยุดหนุนสูงซึ่งหมายความว่าความเสี่ยงในการเผชิญภัยน้ำ ท่วมของเขตเศรษฐกิจที่เป็นไข่แดงลดลง ทั้งรัฐบาล และ กทม. ต่างออกมาแสดงความเชื่อมั่นว่าต่อไปนี้สถานการณ์จะดีขึ้น แต่ประชาชนกลับรู้สึกว่ามันสวนทางกับความจริง น้ำกำลังเอ่อท่วมกรุงเทพ “ชั้นใน” ที่เฝ้าปกป้องไม่ให้เปียกไม่ให้อับชื้นมานาน ทั้งมีปริมาณเพิ่มขึ้นและขยายวงกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา จนคนฝั่งธนฯ จะขอแยกเป็นจังหวัดปกครองตนเอง แถมตอนน้ำยังไม่เข้ากรุงเทพฯ รัฐบาลดันประกาศวันหยุดยาว ทำเอาคนแห่อพยพกันก่อนกาล พอน้ำเข้ามาจริง ๆ กลับไม่หยุดให้เสียแล้ว (แต่เห็นด้วยกับรัฐบาลนะคะ ที่ไม่ต่ออายุวันหยุดราชการ เพราะถ้าหยุดกันหมดใครจะช่วยเหลือประชาชน ปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของหน่วยงานแบบนี้ ดีแล้วค่ะ)

    เห็น ความไม่สามารถในการสื่อสารกับประชาชน

    ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง หรือคนเสื้อสลิ่ม น้ำได้ทำให้ทุกคนเป็น หรือมีโอกาสเป็นคนเสื้อเปียกได้เหมือนกัน และอาการที่แทบทุกคนมีคล้ายคลึงกันคือสูญเสียความเชื่อมั่นใน ศปภ. เริ่มตั้งแต่บุคลากรหน้าจอที่ไม่มีความรู้เรื่องน้ำ เนื้อหา วิธีการ และรูปแบบขาดความเป็นมืออาชีพ แม้แต่โต๊ะเสนอข่าวก็จัดแบบขอไปที การนำเสนอแต่ละครั้งขาดการเตรียมพร้อม ไม่มีรูปแบบและเวลาของรายการที่ชัดเจน ปล่อยให้หน้าจอทีวีของช่อง 11 ถูกใช้อย่างไร้ประโยชน์ ที่สำคัญ ไม่มีข้อมูลสำคัญที่จะช่วยเอื้อต่อการตัดสินใจของประชาชน

    ส่วน กทม. และผู้ว่าฯ เองไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ถนัดและชัดเจนที่สุดดูจะเป็นประโยคว่า “พี่น้องครับ ขอให้ประชาชนอพยพทั้งเขตครับ”

    เห็น การขีดเส้นแบ่งความรับผิดชอบระหว่างการบริหารส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่ไม่ควรมีในภาวะวิกฤติ

    ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะมีผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ข้อเท็จจริงคือ น้ำไม่ได้ท่วมเฉพาะกรุงเทพฯ การไม่ยอมให้น้ำไหลผ่านกรุงเทพฯของผู้ว่าฯ ด้วยการบอกว่า ผู้ว่ากทม.มีหน้าที่รับผิดชอบต่อชาว กทม. ไม่ใช่รับผิดชอบต่อคนทั้งชาติ เป็นคำกล่าวที่หยาบคายมาก ความไม่มีเอกภาพระหว่างกทม. และรัฐบาลเป็นที่ประจักษ์ ปัญหาที่ประตูระบายน้ำคลองสามวาชี้ให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างแก้ปัญหาด้วยการ เอาการเมืองเป็นตัวตั้ง ฝ่ายผู้ว่า ฯ กทม ต้องการปกป้องนิคมอุตสาหกรรมบางชัน และพื้นที่ชั้นในอื่น ๆ ซึ่งเลือกพรรคปชป. ในขณะที่รัฐบาลต้องการเอาใจฐานเสียงของตนที่อาศัยอยู่ด้านเหนือของประตู ระบายน้ำ

    เห็น นักการเมืองทั้งสองขั้วต่างฉกฉวยโอกาสเพื่อโฆษณาตัวเอง แบบไม่ยอมลงทุน

    ภาพที่สังคมได้รู้ได้เห็นคือ การเอาของบริจาคไปเป็นของส่วนตัวโดยแปะชื่อนักการเมืองประหนึ่งตนเป็นนักบุญ มาโปรด พฤติกรรมไร้รสนิยมเยี่ยงนี้มีให้เห็นจากนักการเมืองทั้งสองพรรคใหญ่ แต่แปลกใจเวลาคนด่า จะเลือกด่าเฉพาะพรรคที่เจ้าตัวเกลียดขี้หน้าอยู่เดิม

    เห็น ความขัดแย้งทางความคิดที่ร้าวลึกแบบไร้สติ

    ถึงแม้ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลจะแย่พอกัน ถึงแม้ทั้ง ศภป. นายกฯ ยิ่งลักษณ์ และผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์จะพูดไม่รู้เรื่องไม่ต่างกัน แต่ถึงเวลาตำหนิ ติเตียน ส่อเสียด จะจัดเต็มเฉพาะฝ่ายที่ตนชิงชัง นอกจากนี้ยังมีทั้งกลุ่มคนที่อาศัยสถานการณ์น้ำท่วมซาบซึ้งเกินพิกัด และอคติเกินบรรยาย หรือกลุ่มคนที่ปากบอกว่าเราควรสามัคคี แต่กดแชร์ กดไลค์ทุกประเด็นที่จะก่อความเสียหายให้ฝ่ายตรงข้าม

    การเรียกร้องให้รัฐบาลและ กทม. ต้องแสดงความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมเป็นเรื่องสมควร เช่น ลดเงินเดือนตัวเองอย่างนักการเมืองหลายประเทศเค้าทำกัน แต่หากกดดันให้รัฐบาลลาออก ต้องถามกลับว่าจะให้ใครเข้ามาแก้ปัญหาในยามนี้ หรือที่เห็นเชียร์น้องทหารกันจังจะมีนัยแอบแฝง

    เห็น สื่อยังคงคุณภาพในการเต้าข่าว

    น้ำท่วมครั้งนี้สื่อทีวีทุกช่องเน้นสรรพกำลังในการระดมและกระจาย ของบริจาคไปยังผู้ประสพภัย นับว่าเป็นการลงทุนต่ำแต่ได้ผลประชาสัมพันธ์สูง มีการทำข่าวโฆษณาสินค้าและโฆษณาตนเองอย่างแยบยล ในภาวะภัยพิบัติ สื่อยังคงเน้นพาดหัวแรงๆ เช่น กรุงเทพจมแน่ มุ่งรายงานและเสนอภาพข่าวกระตุ้นให้ตื่นตระหนก สื่อไทยจะบอกว่าวิกฤติแล้ว ก่อนวิกฤติจะเกิดประมาณ 1 อาทิตย์ จนถึงเดี๋ยวนี้ ยังไม่เห็นสื่อตั้งคำถามถึงสาเหตุของน้ำท่วม อธิบายวิธีการแก้ปัญหาของภาครัฐให้เข้าใจได้ง่ายและช่วยให้ข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ แต่ยังคงทำข่าวแบบเน้นตัวบุคคล เช่น นายกฯ ร้องไห้ และส.ส. (ที่ตนเชียร์) แจกของ เป็นต้น

    เห็น ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของประชาชน

    ข้อนี้ไม่ได้ประชดประชันเหมือนประโยคที่ถูกใจใครหลายคนว่า “ขอให้รัฐบาลอยู่เฉย ๆ ประชาชนจะดูแลรัฐบาลเอง” แต่เห็นจริง ๆว่า สังคมไทยในระดับชุมชนและท้องถิ่นมีความเข้มแข็งสูง และมีน้ำใจไม่เลือกสี เลือกข้าง เห็นได้ในหลายพื้นที่มีการรวมพลังทำอาหารให้ผู้อพยพ จัดอาสาสมัครช่วยเหลือกันเองอันน้ำใจไทยนั้นยิ่งใหญ่ไม่แพ้ประเทศอื่น แต่อย่ามั่วว่ามีแต่คนไทยเท่านั้นที่ช่วยกันยามทุกข์ยาก เพราะประเทศอื่นเค้าก็ช่วยเหลือกันไม่แพ้เรา

    ส่วนพวกที่บอบบางเป็นพิเศษ ออกมาคร่ำครวญมากกว่าใครคือ คนชั้นกลางและผู้มีอันจะกิน บางคนน้ำยังไม่ท่วมหรือยังไม่เข้าบ้านด้วยซ้ำ ก็โวยวายประหนึ่งว่าชีวิตจะดับลงซะเดี๋ยวนั้น ส่วนประชาชนคนเล็กคนน้อยที่ถูกให้รับน้ำแทนไปก่อนเป็นเดือน ที่อาจต้องสิ้นเนื้อประดาตัว เป็นหนี้นอกระบบมหาศาล ดูเหมือนจะยอมรับธรรมชาติได้ดีกว่า

    เห็น ความหลง อคติ และชิงชัง

    น่าเสียดายที่การเลือกเชื่ออย่างที่ตนอยากเชื่อ โดยไม่คิดด้วยเหตุผล จะไม่ไหลลงทะแลไปพร้อมกับสายน้ำ แต่จะตกตะกอนขุ่นคั่กท่ามกลางจิตใจของคนจำนวนมาก และจะกลายเป็นชนวนใหม่แห่งความขัดแย้งของการเมืองไทยในปีหน้า

    เห็น วิกฤติหลังวิกฤติ

    หลังวิกฤติน้ำท่วมผ่านไป วิกฤติใหม่จะท้าทายรัฐบาล ทั้งการฟื้นฟูชีวิต จิตใจของผู้ประสบภัย ของเศรษฐกิจ และสังคม สังคมไทยจะเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหารที่แหล่งผลิตถูกน้ำท่วม ปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ ภัยหนาวในภาคเหนือและภาคอีสาน ปัญหาโรคระบาด ปัญหาซ่อมแซมสาธารณูปโภค ถนน หนทาง บ้านเรือนและอื่น ๆ

    แต่ทั้งนี้ก็ไม่อยากเห็นรัฐบาลเร่งรีบประกาศใช้เงินมหาศาลชุบตัวประเทศ ตั้งแต่ยังไม่มีแผนการจัดการน้ำที่ท่วมอยู่ และยังไม่รู้ว่าน้ำจะลดเมื่อไหร่ เพราะจะทำให้เกิดคำครหาว่าอยากงาบงบประมาณจนน้ำลายไหลปนน้ำท่วม

    เมื่อญี่ปุ่นส่งออก “นิวเคลียร์”

    ที่มา ประชาไท

    พลันที่ เหวียน เติ๋น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม จับมือกับ โยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่กรุงโตเกียวซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนญี่ปุ่น 4 วัน ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 254 ถือว่าสัญญาระหว่างเวียดนามและญี่ปุ่นในข้อตกลงให้ญี่ปุ่นสร้างโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ในเวียดนาม และเป็นสัญญาณของการส่งออกนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น

    เวียดนาม มีแผนจะสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์ 15-16 เตา ในอีก 20 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2574) โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกกำหนดจะสร้างที่เมืองนิญ ทวน (Ninh Thuan) ในภาคกลางตอนล่าง ซึ่งห่างจากประเทศไทยจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ เพียง 800 กิโลเมตร เท่านั้น ในการนี้รัฐสภาของเวียดนามได้อนุมัติแผนการสร้างในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552

    อนึ่ง แผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นิญ ทวน มี 2 โครงการ โดยนิญ ทวน 1 เลือกใช้เทคโนโลยีจากรัสเซีย ของบริษัท รอสะตอม (Rosatom) ประกอบด้วยเตาปฏิกรณ์ 2 เตา เตาแรก มูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์ กำหนดเดินเครื่องในปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า และในปีถัดไป เตาที่ 2 จะเริ่มเดินเครื่องเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นิญ ทวน 2 เลือกใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่น ของบริษัท Japan Atomic Power ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองโตไกมูระ และเมืองซึรุกะ ในญี่ปุ่น โดยรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) ได้ลงนามความตกลงในวันที่ 30 กันยายน 2554 ให้บริษัท Japan Atomic Power ศึกษาความเป็นไปได้ โดยใช้เวลา 18 เดือน ด้วยเงินทุน 26.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสนับสนุนโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งโครงการนิญ ทวน 2 กำหนดจะดำเนินการในปี พ.ศ. 2563 และ 2573 ตามลำดับ

    วิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ-ไดอิจิ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ แทนที่จะทำให้โครงการดังกล่าวได้ทบทวนแผนการ แต่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนามกลับเปิดเผยว่าเหตุการณ์ใน ญี่ปุ่นจะไม่ทำให้เวียดนามต้องชะลอการสร้างโรงงานนิวเคลียร์ที่ นิญ ทวน โดยระบุว่า ปัญหาในญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์ต่อแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของ เวียดนาม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งชาติของเวียดนาม ได้เสนอให้รัฐบาลลดขนาดโครงการลง และให้เลื่อนการก่อสร้างออกไปอีกใน 10 ปีข้างหน้า แต่รัฐบาลเวียดนามยังคงเดินหน้าตามแผนการเดิม เพียงแต่ลดขนาดโรงไฟฟ้าลง และแยกโครงการออกเป็น 2 ระยะ (เฟส) โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระยะที่ 1 ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า 2 โรง มีเตาปฏิกรณ์แห่งละ 1 เตา มีกำลังผลิตหน่วยละ 1,000 เมกะวัตต์ โดยจะใช้ค่าก่อสร้าง16,000-18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่ประเมินไว้เดิม 3 เท่าตัว

    ผู้เชี่ยวชาญของเวียดนามมีความกังวลประเด็นการกำจัดกากนิวเคลียร์ภายหลัง การเดินเครื่อง 10 ปี ซึ่งจะมีกากของกัมมันตภาพรังสีจำนวนมหาศาล อีกทั้งภายในเวียดนามเองยังมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง อันจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของโรงไฟฟ้า และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนชาวประมง

    ในวันที่ 18 สิงหาคม 2554 นักวิทยาศาสตร์เวียดนาม นำโดย ดร. เจิ่น เติ๋น วัน (Trần Tấn Văn) ได้พบรอยเลื่อนขนาดใหญ่ถึง 2 แนวในแถบชายทะเลเมืองนิญ ทวน โดยเรียกว่า รอยเลื่อน “เสือย เมีย” (Suối Mia) และ "หวีญ หาย" (Vĩnh Hải) รอยเลื่อนทั้งสองแห่งยังมีการเคลื่อนตัว ทั้งนี้ รอยเลื่อนเสือยเมีย พบรอยแยกยาว 1.52 กิโลเมตร ตัดผ่านแนวหินแกรนิตใต้ท้องทะเลในอ่าวนิญ ทวน และ รอยเลื่อยหวีญหาย ปรากฏเป็นแนวแยกยาว ตัดเกาะเฮินแด่ว (Hơn đèo) และเกาะอื่นๆ ให้แยกออกจากแผ่นดินใหญ่ ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหวจะส่งผลต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รุนแรงกว่าโรงไฟฟ้าที่ฟู กูชิมะ เนื่องจากโรงไฟฟ้าที่ฟูกูชิมะอยู่ห่างแนวแผ่นดินไหว และการค้นพบนี้ ถือเป็นข่าวร้ายสำหรับชาวเวียดนามและประเทศเพื่อนบ้าน

    ขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันธรณีวิทยาและแหล่งแร่ของเวียดนาม ได้เสนอให้ทางการย้ายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปที่ตั้งบริเวณอื่น หรือให้เลื่อนเวลาก่อสร้างออกไป

    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2553 นายนาโอโตะ คัง อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้ลงนามในสัญญามูลค่า มูลค่า13.2ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,000,000,000,000 ล้านเยนเพื่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์จำนวน 2 แห่งในเวียดนาม โดยมีนายดิมิทรี เมดเดเวฟ ประธานาธิบดีรัสเซีย เป็นพยาน

    เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2554 นายกรัฐมนตรี เหวียน เติ๋น สุง ของเวียดนาม ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนญี่ปุ่น 4 วัน ได้พบหารือกับนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น นายโยชิฮิโกะ โนดะ ที่กรุงโตเกียว โดยนายโนดะ ให้คำมั่นจะช่วยก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 2 แห่งในเวียดนาม ตามข้อตกลงในเดือนตุลาคม 2553

    ในการประชุมของผู้นำทั้งสองประเทศในครั้งนี้ จะมีการหารือถึงการส่งออกนิวเคลียร์ และอาจมีข้อตกลงในโครงการอื่น ซึ่งแหล่งข่าวรัฐบาลในญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลเวียดนามเคยระบุว่า หากญี่ปุ่นช่วยเหลือเงินลงทุนในโครงการ 7 โครงการของเวียดนาม อาทิ ไฮเทค ปาร์ค สนามบินนานาชาติ ทางด่วนแนวจากใต้ถึงเหนือ โครงการพัฒนาแร่เลอาร์ท เป็นต้น เวียดนามจะรับซื้อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากญี่ปุ่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เมื่อประสบปัญหานิวเคลียร์ภายใน ญี่ปุ่นจึงมีแนวคิดส่งออกเทคโนโลยีนิวเคลียร์ โดยให้ความช่วยเหลือพัฒนาทางการของญี่ปุ่น (ODA) อันเป็นการช่วยเหลือทางการเงินและเทคนิค เพื่อขายนิวเคลียร์ ซึ่งชาวญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย เพราะเงินดังกล่าวมาจากภาษีประชาชน

    อย่างไรก็ตาม นายเกวียน ซวน ฮุก รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ภาษาญี่ปุ่น ชื่อ มายนิจิ ว่า เวียดนามและญี่ปุ่นจะมีการตกลงที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสองแห่ง โดยใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่นตามข้อตกลงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยมีเงื่อนไขว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องแก้ไขในเงื่อนไข 6 ข้อ เช่น ต้องใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยและทันสมัยที่สุด และการจัดการขยะนิวเคลียร์ เป็นต้น และยังเผยอีกว่า ข้อตกลงในการปล่อยกู้เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็ตกลงกันได้แล้ว

    ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวในประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นรับปากประเทศเวียดนามว่า จะนำกากไปทั้งที่ญี่ปุ่น และมีรายงานอีกว่า เวียดนามได้เตรียมการสำหรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเตรียมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 1,000 คน เพื่อประจำการในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 1 แห่ง ใน 30 ปีข้างหน้า และยังจะตรากฎหมายบริการจัดการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกหลายฉบับ

    ประสบการณ์ที่ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณู ที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ ผู้คนล้มตายจำนวนมหาศาล มีผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการทิ้งระเบิด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 จนกระทั่ง ปัจจุบัน ก็ยังแสดงผล ประสบการณ์เลวร้ายครั้งนั้น ไม่ได้ทำให้คนญี่ปุ่นในเวลาต่อมาเกิดความตื่นกลัว มหันตภัย ทำราวกับว่าการทิ้งระเบิดเมื่อสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไม่เคยเกิดขึ้น แม้สภาพทางธรณีวิทยาของญี่ปุ่นยังคงประสบปัญหาแผ่นดินไหวมาโดยตลอด ญี่ปุ่นก็ยังสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นหลายต่อหลายแห่ง ในหลายเมือง และแม้จะเกิดอุบัติเหตุทั้งเล็กและใหญ่หลายต่อหลายครั้ง

    เหตุผลหลักที่ทำให้ญี่ปุ่นดูเหมือนไม่ยี่หระต่อมหันตภัยจากนิวเคลียร์ เป็นเพราะความต้องการฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน และญี่ปุ่นก็ก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก รวมกลุ่มอยู่ประเทศในอเมริกาและยุโรป เป็น กลุ่ม G7 และเนื่องจากเป็นชาติที่พลเมืองมีความเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด นัยว่าเป็นสายเลือดบูชิโด ทำให้ประชาชนของประเทศนี้มีระเบียบวินัยอย่างสูง เชื่อในการนำของรัฐบาล และก็ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว จึงทำให้ญี่ปุ่นก้าวกระโดดในทุกมิติที่ประเทศนี้ตั้งเข็มมุ่ง

    แม้อุบัติเหตุครั้งล่าสุด ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ-ไดอิชิ และผลกระทบก็ยังคุกรุ่นอยู่จนปัจจุบัน แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็สามารถสยบความวุ่นวาย ตลอดจนกุมการนำในหมู่ประชาชน ก็ด้วยความมีระเบียบและเชื่อผู้นำชาติพ้นภัยนี่เอง ทำให้ผลกระทบเลวร้าย และไม่สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะ หรืออีกนัยหนึ่ง ประชาชนญี่ปุ่นถูกปิดหูปิดตา ด้วยสื่อสารมวลชนไม่กล้านำเสนอในสิ่งที่จะสร้างความตื่นตระหนกในสังคม แต่กระนั้น ก็ยังมีกลุ่มคนที่มองเห็นความมหันตภัย และทนไม่ได้กับการนำของรัฐบาล จึงเกิดกลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์ อาทิ กลุ่มเครือข่ายฟุกุชิมะเพื่อความปลอดภัยแก่เด็กจากกัมมันตรังสี (Fukushima Network to Save Children from Radiation) องค์กร Citizens' Nuclear Information Center ซึ่งได้จัดประชุม NNAF (No Nuke Asia Forum 2011 ขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม – 7 สิงหาคม 2554 ณ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งได้เสนอทางออกแก่รัฐบาล นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงแก่ประชาชนในเขตภัยพิบัติ และมีแนวทางในการต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

    ขณะเดียวกัน ประเทศกำลังพัฒนาในแถบอินโดจีน ทั้งลาวและเวียดนาม กำลังวางแผนและโครงการนานาเพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม และก้าวให้พ้นจากประเทศด้อยพัฒนาและยากจน ช่องทางใหญ่ในการพัฒนาประเทศเหล่านี้ คือ การนำเอาทรัพยากรขึ้นมาใช้ ทั้งแร่ธาตุ และป่าไม้ และความหวังอันเรืองรองที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้า คือ การเป็นประเทศส่งออกพลังงาน โดยเฉพาะกระแสไฟฟ้า

    ความเคลื่อนไหวและความต้องการประเทศเหล่านี้ ล้วนอยู่ในสายตาของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นประเทศสนับสนุนทางด้านเงินทุนในการพัฒนาโดยผ่านหลายช่องทางแก่ ประเทศเหล่านี้มาก่อน จึงเกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นต่อญี่ปุ่นกับประเทศเหล่านี้ และความสัมพันธ์อันดีนี้จึงถูกแปรให้เป็นมูลค่าทางธุรกิจ

    เมื่อกระแสการต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ภายในญี่ปุ่นเริ่มคุกรุ่นและมี แนวโน้มว่าจะสูงขึ้น เพราะอายุการใช้งานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เริ่มมากขึ้นตามลำดับ ตลอดจน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันจะส่งผลถึงความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน ญี่ปุ่นจึงใช้ความสัมพันธ์อันดีกับเวียดนาม โดยการทำข้อตกลงเพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นในเวียดนาม เมื่อเดือนตุลาคมปีกลาย และมีผลในต้นเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ และเร็วๆ นี้

    การส่งออกนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นให้แก่เวียดนาม เป็นการส่งออกพร้อมกับความเสี่ยงที่ยังไม่อาจแก้ไขได้ในประเทศของตน แม้ว่าจะรับเงื่อนไขของเวียดนามที่ว่า “ต้องใช้เทคโนโลยีที่ปลอดภัยและทันสมัยที่สุด” ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงคำมั่นก่อนการขาย ซึ่งจะต้องติดตามบริการหลังการขาย ... ด้วยลุ้นระทึก

    อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าที่ฟุกุชิมะ-ไดอิชิ ในญี่ปุ่น แม้จะส่งผลกระทบอย่างเกินความคาดหมาย นับว่าโชคยังดีที่ “ฝนและลมที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรรังสี” ไม่ได้พัดขึ้นทางทิศเหนือ ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้จีน และประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากถูกกระแสลมพัดลงใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก แต่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าใต้ท้องมหาสมุทรจะมีสารกัมมันตรรังสีมากน้อยเพียงใด เพราะยังไม่มีใครลงไปตรวจสอบได้

    แต่หากอุบัติเหตุที่จะเกิดกับโรงไฟฟ้าเวียดนาม ที่นิญ ทวน พายุความแรงระดับไต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ที่พัดเข้าสู่ฝั่งเวียดนาม จำนวน 8-10 ลูกในทุกปี ส่วนหนึ่งพัดขึ้นภาคเหนือ กระจายสู่ตอนเหนือของลาว ไทย และพม่า รวมทั้งมณฑลยูนนาน ของจีน บางส่วนก็พัดเข้าสู่ภาคกลาง ก็จะผ่านภาคใต้ของลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา รวมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

    แล้ว “ฝนและลมที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรรังสี” จากนิญ ทวน 1 และ 2 ก็ต้องถูกแพร่กระจายตามทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และแผ่คลุมเหนือประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่ต้องสงสัย

    EM และน้ำหมักชีวภาพ แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียได้จริงหรือ?

    ที่มา ประชาไท

    กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เขียนบทความอธิบายข้อเท็จจริงเรื่องการใช้ EM เพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่า ประชาไทเห็นว่าน่าสนใจจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ


    กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ที่มา:
    www.eng.chula.ac.th/index.php?q=th%2Fnode%2F3915

    ในช่วงเวลาปัจจุบันมีหลายหน่วยงานและหลายภาคส่วนได้สนับสนุนการใช้ EM (Effective Microorganisms) เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายรวมถึงประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะอธิบายข้อเท็จจริงและให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับ EM และจะกล่าวถึงกรณีศึกษาในการบำบัดน้ำเสียของต่างประเทศในภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ บทความนี้มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่อย่างใด แต่มุ่งหวังถึงประโยชน์สูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์น้ำ ท่วมในปัจจุบัน

    ปัญหาน้ำเน่าอาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการที่สารอินทรีย์ในน้ำมีปริมาณสูง เมื่อเกิดการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์จึงส่งผลให้ออกซิเจนในน้ำมีปริมาณลดลง และในที่สุดอาจก่อให้เกิดสภาวะไร้อากาศซึ่งส่งกลิ่นเหม็น และส่งผลเสียต่อปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ค่าการละลายออกซิเจนนับเป็นพารามิเตอร์หนึ่งที่สามารถบ่งบอกคุณภาพน้ำได้ โดยในแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย โดยทั่วไปจะมีค่าการละลายออกซิเจนประมาณ 3 - 7 มิลลิกรัมต่อลิตร การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนสามารถอธิบายอย่างง่ายดังนี้

    EM (Effective Microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถเฉพาะทาง ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 กลุ่มหลัก คือ 1) กลุ่ม Lactic acid bacteria 2) กลุ่ม Yeast และ 3) กลุ่ม Phototrophs (Purple bacteria) ซึ่งได้รับการพัฒนามาจาก Professor Teruo Higa ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงได้มีการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านการเกษตร ด้านการหมักขยะมูลฝอยเพื่อทำปุ๋ย และด้านการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสุขา (โถส้วม) เป็นต้น โดยทั่วไป จุลินทรีย์ใน EM สามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic conditions) และไม่มีออกซิเจน (Anaerobic conditions) อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการประยุกต์ใช้งาน EM ในสภาวะที่ในน้ำท่วมขังซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen, DO) อยู่อย่างจำกัด กล่าวได้ว่า EM จะใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ และในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงและไม่เพียงพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำในบริเวณดังกล่าวมีสารอินทรีย์ปนเปื้อนอยู่มาก รวมถึงมีการใส่ EM ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม (ปริมาณที่มากไปหรือใส่เข้าไปในสภาวะหรือรูปแบบที่ไม่เหมาะสม) ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียจากการขาดออกซิเจนที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม

    อีกประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน EM กล่าวคือ จุลินทรีย์ใน EM ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถในการสร้างออกซิเจนแต่อย่างใด นอกจากนี้ องค์ประกอบของ EM ball หรือ Micro ball ซึ่งมีการปั้นโดยใช้องค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กากน้ำตาล และ รำข้าว เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างผลกระทบของสารอินทรีย์ข้างต้นต่อการเน่าเสียของแหล่งน้ำ อาทิ

    • กรณีกากน้ำตาล ที่ส่งผลต่อปัญหาน้ำเน่า เช่น การลักลอบทิ้งน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาล และกรณีเรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา
    • กรณีรำข้าว อาจพิจารณาการที่เรานำรำข้าว หรือ เศษอาหาร ไปทิ้งไว้ในน้ำในปริมาณมากๆ และเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมส่งผลให้น้ำเน่าเสียเช่นกัน

    ดังนั้น เมื่อโยน EM ball ลงในแหล่งน้ำจึงเปรียบเสมือนการเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ให้กับแหล่งน้ำใน บริเวณที่มีการท่วมขังอีกทางหนึ่ง โดยสารอินทรีย์ดังกล่าวที่ยังคงเหลืออยู่ย่อมก่อให้เกิดความต้องการออกซิเจน ในน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงได้ และแม้แต่จุลินทรีย์ใน EM เอง เมื่อตายไปก็นับเป็นแหล่งสารอินทรีย์ในน้ำเช่นกันซึ่งก็ยังต้องใช้ออกซิเจน ในการย่อยสลายเช่นกัน ดังนั้น กล่าวได้ว่าการเติม EM นอกจากจะไม่ช่วยสร้างออกซิเจนแล้ว ยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมจากการลดลงของ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมถึงเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณสารอินทรีย์ (ดังที่กล่าวถึงข้างต้น)

    ทั้งนี้ การย่อยสลายสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำท่วมขังควรกระทำภายใต้สภาวะที่มีอากาศหรือ ออกซิเจนเท่านั้น การย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศถือได้ว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในแหล่ง น้ำ โดยสรุป เราสามารถกล่าวได้ว่าการบำบัดสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำมีลักษณะแตกต่างจากการ บำบัดสารอินทรีย์ในสุขา และการหมักขยะเพื่อทำปุ๋ย (ซึ่งมีการใช้ EM ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นด้านออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพแหล่งน้ำ รวมถึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพแหล่งน้ำดังที่กล่าวไว้ในบท ความก่อนหน้านี้ (http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3881)

    ถึงแม้ EM ต้นแบบ (ลิขสิทธิ์ Professor Teruo Higa) ซึ่งอ้างว่ามีความสามารถในการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำใส แต่ก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาชั่วคราวในระยะสั้นเท่านั้น แต่หากสารอินทรีย์ในน้ำยังคงอยู่ และออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถกล่าวได้ว่าน้ำนั้นสะอาดจริง กล่าวคือน้ำดังกล่าวยังไม่ปลอดภัยที่จะนำมาใช้และไม่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำแต่ อย่างใด และอาจยังเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ ได้อยู่ นอกจากนี้ หากมองถึงประเด็นการผลิตน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ในแบบต่างๆ ด้วยตนเอง จุลินทรีย์ที่ได้อาจมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากจุลินทรีย์ใน EM ต้นแบบ และหากไม่ได้ผ่านกระบวนการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ EM และ น้ำหมักชีวภาพอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้ ซึ่งนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ควรระวังและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกๆ หน่วยงานและภาคส่วนที่มีสนับสนุนการใช้ EM เพื่อบำบัดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเน่าเสียในบริเวณน้ำท่วมขัง

    ผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศญี่ปุ่น (ซึ่งไม่สามารถเอ่ยนามได้ เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตไว้) ได้ให้ข้อมูลว่าจากเหตุการณ์สึนามิในประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการพยายามจัดการ แก้ไขปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ต่างๆ ขององค์กรอิสระต่างๆ ที่รณรงค์ร่วมกันใช้ EM เพื่อบำบัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่น (กระทรวงสิ่งแวดล้อม) ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสามารถของ EM ในการบำบัดน้ำเสีย และพบว่า EM ไม่ได้ช่วยในการบำบัดน้ำเสียแต่อย่างใด ในการนี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นจึงไม่แนะนำการใช้ EM ในการบำบัดน้ำเสียในสถานการณ์ดังกล่าว นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สึนามิซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียถูกทำลาย ทางหน่วยงานรัฐบาลของญี่ปุ่นได้ทำการแก้ไขปัญหาระยะสั้นโดยการเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคลงในท่อบำบัดน้ำเสีย และเลือกใช้การตกตะกอน (Sedimentation) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) เพื่อบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราว รวมถึงได้มีการวางแผนจะพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียชั่วคราวโดยใช้ระบบบำบัดทาง ชีวภาพร่วมกับการตกตะกอน และการฆ่าเชื้อโรค (Biological treatment - Sedimentation - Disinfection) ส่วนในบริเวณชนบทนั้น ดำเนินการบำบัดน้ำเสียโดยทำการรวบรวมน้ำเสีย และทำการการฆ่าเชื้อโรค จากนั้นปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนกระทั่งระบบบำบัดขนาดเล็กได้รับการฟื้นฟู

    ทั้งนี้ทางกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าใจดีถึงความปรารถนาดีของทุกฝ่ายในการช่วยกันร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะเกิดขึ้น หากแต่อยากนำเสนออีกแง่มุมหนึ่งของ EM เพื่อประกอบการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุดในการฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมในปัจจุบัน

    ธงชัย วินิจจะกูล ปาฐกถาที่ลอนดอน: สังคมไทยหลอกตัวเอง

    ที่มา ประชาไท

    เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ (Samaggi Samagom - The Thai Association in the UK) ร่วมกับสมาคมนักเรียนไทยแห่งวิทยาลัยบูรพศึกษาและแอฟริกาศึกษา (School of Oriental and African Studies-SOAS Thai Society) มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) จัดเสวนาในหัวข้อ Thailand: State of Denial โดยอาจารย์ธงชัย วินิจจะกูลเป็นผู้บรรยาย

    ธงชัย วินิจจะกูล ปาฐกถาที่ลอนดอน: สังคมไทยหลอกตัวเอง
    รูปโดย สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

    ธงชัยอภิปรายเรื่องภาวะการหลอกตัวเองและปฏิเสธไม่ยอมรับความจริงของสังคม ไทยโดยการยกตัวอย่างสิ่งที่สังคมไทยตัดสินว่าเป็นสัจจธรรม (truth) ซึ่งในความเป็นจริง (reality) สิ่งๆนั้นเป็นสิ่งที่สังคมกำหนดขึ้นมาว่าเป็นสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ทุกคน ต้องทำ (the normative) เพื่อให้คิดว่าเราจะทำอย่างไรหากสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นจริงแท้ที่จริงแล้ว มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อตีกรอบให้สังคมเท่านั้น

    ธงชัยยกตัวอย่างแรกจากภาพยนตร์เรื่องแสงศตวรรษ ซึ่งผู้กำกับภาพยนตร์ดังกล่าว (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)ได้ถูกบังคับให้ตัดฉากที่ไม่เหมาะสม (inappropriate) ออกไป เช่นฉากพระสงฆ์ดีดกีตาร์และฉากนายแพทย์เกิดอารมณ์ทางเพศ ในส่วนนี้ธงชัยได้อภิปรายว่าสังคมไทยกำลังกำหนดสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ขึ้นมาว่า แพทย์ไม่ควรเกิดอารมณ์ทางเพศ พระสงฆ์ไม่ควรประพฤติผิด จนเกิดภาพที่ว่าแพทย์ไม่มีอารมณ์ทางเพศและพระสงฆ์ไม่ประพฤติมิชอบ ซึ่งในความเป็นจริง (reality) แพทย์ชายย่อมมีอารมณ์ทางเพศและพระสงฆ์บางรูปย่อมประพฤติผิดวินัย

    ตัวอย่างถัดมาธงชัยยกเรื่องการทำวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่องการ ทุจริต (corruption) ของตำรวจซึ่งกระทำประมาณปี พ.ศ.2538-39 โดยผลวิจัยระบุว่าตำรวจกระทำการทุจริต ผลวิจัยดังกล่าวทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาโต้แย้งว่าตำรวจส่วนน้อยเท่านั้น ที่เป็นผู้ทุจริต ในขณะที่ตำรวจส่วนใหญ่ไม่มีการทุจริตในหน้าที่ ธงชัยได้ตั้งคำถามว่าแล้วอะไรคือสิ่งที่เป็นความจริงแบบสัจจธรรม (truth) ระหว่างสิ่งที่เราอยากให้เป็น (the normative) หรือว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น (reality)

    ตัวอย่างสุดท้ายคือสิ่งที่เรียกว่า ‘คนไทยทุกคนรักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (Every Thai loves the King.)’ ในส่วนนี้ธงชัยกล่าวว่ากลุ่มคนที่ไม่รักในหลวงไม่สามารถพูด แสดงออกหรือโต้แย้งได้ว่าไม่รักและคนที่แสดงออกว่ามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ สถาบันกษัตริย์จะถูกตราว่าไม่ใช่คนไทย ไม่สมควรอาศัยอยู่ในประเทศไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเราจะยอมรับความจริง (reality) ได้หรือไม่ว่าไม่ใช่ทุกคนที่รักพระเจ้าอยู่หัว และตั้งคำถามว่าสังคมแบบใดคือสังคมที่เราต้องการ

    จากตัวอย่างข้างต้น ธงชัยชี้ให้เห็นว่าหากสิ่งที่เราคิดว่าเป็นจริงเป็นสัจจธรรม (truth) ขัดแย้งกับความเป็นจริง (reality) แล้ว สังคมไทยจะใช้วิธีแสดงออกโดยการทำให้มันเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเราควรจะทำ (the normative) โดยปฏิเสธไม่ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น (reality)

    ประเด็นที่สุ่มเสี่ยงที่สุดของการเสวนาครั้งนี้คือคำกล่าวที่ว่าสถาบัน กษัตริย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทย ธงชัยยก wikileaks ขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นว่าคำกล่าวข้างต้นขัดแย้งกับบทสนทนาที่หลุดออกมาจาก wikileaks ว่าในความเป็นจริง (reality) เครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (network of monarchy) ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลานานแล้ว และบทสนทนาของพวกเขาต่อบุคคลเช่นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่พวกเขาพูดในที่สาธารณะว่าสถาบันกษัตริย์ ไม่ยุ่งกับการเมือง

    ทั้งนี้ ธงชัยย้ำว่าคำว่ากษัตริย์ (monarchy) ไม่ได้หมายถึงกษัตริย์ในแง่บุคคล แต่หมายถึงสถาบันกษัตริย์โดยรวมที่ประกอบไปด้วยบุคคลในเครือข่าย ฉะนั้น คำถามที่เกิดขึ้นคือแล้วเราจะทำอย่างไร ในเมื่อมีการผลิตซ้ำของสิ่งที่ควรทำสิ่งที่ควรเป็นกฎเกณฑ์ (the normative reproduced) จนทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ (actual truth, fact) ทั้งที่สิ่งๆนั้นเป็นเรื่องโกหก (lie) เช่นสถาบันกษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ถึงแม้จะพูดได้ว่าไม่มีความพยายามสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมาอีก ครั้ง แต่ในความเป็นจริงย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าสถาบันกษัตริย์ไม่เคยเกี่ยวข้องกับการ เมือง นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อย่างน้อยในช่วงเวลา 15 ปีแรกหลังเปลี่ยนระบอบได้มีเหตุการณ์และความรุนแรงหลายเหตุการณ์ เช่น กบฎบวรเดชและมีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งถูกบังคับให้เดินทางออกจากประเทศไทย และธงชัยตั้งคำถามว่าสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือถ้าสถาบันกษัตริย์ไม่ได้ เกี่ยวข้องทางการเมืองดังเช่นพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น เหตุใดเรื่องการเปลี่ยนรัชกาลและสืบทอดราชบัลลังค์ (royal succession) จึงเป็นประเด็นสำคัญมาก ธงชัยอภิปรายว่านั่นเป็นเพราะการเปลี่ยนรัชกาลจะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยโดย เฉพาะต่อกลุ่มที่เกี่ยวข้องและพวกนิยมสถาบันกษัตริย์นั่นเอง

    ประเด็นถัดจากนี้คือการใช้มาตรา 112 (ซึ่งมีเนื้อความว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี) เขาเสนอว่าควรมีการแก้ไขมาตรานี้และต้องทำให้คนทั่วไปสามารถพูดเรื่องสถาบัน กษัตริย์ได้ตราบเท่าที่ไม่ได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันกษัตริย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลบสภาวะแห่งความกลัว (climate of fear) ออกจากสังคมไทยที่คนทั่วไปไม่กล้าพูดและแยกไม่ออกว่าอะไรคือเรื่องจริงและ อะไรคือเรื่องเท็จ ซึ่งความเป็นจริงคือไม่ใช่คนไทยทุกคนที่รักพระเจ้าอยู่หัว แต่เขาชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว เพราะคนกลุ่มนี้เป็นคนส่วนน้อยและการวิจารณ์กษัตริย์มีมานานนับร้อยปี ตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่คนส่วนใหญ่ยังจงรักภักดีต่อกษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ คำถามถัดมาคือเราควรจะปล่อยให้มีการพูดคุยเรื่องสถาบันหรือไม่ หรือเราควรจะแสร้งทำเป็นว่ากลุ่มคนที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไม่มีตัว ตน

    อย่างไรก็ตาม ธงชัยยืนยันว่าไม่เคยเรียกร้องให้ล้มสถาบันกษัตริย์ แต่ย้ำว่าสิ่งที่เรียกร้องคือให้แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 เพราะมาตรานี้ถูกใช้ในทางการเมืองอย่างไม่เป็นธรรมจากกลุ่มอำนาจที่มีผล ประโยชน์เกี่ยวข้อง และมีผลกระทบต่อคนอีกนับ 60 ล้านคนในสังคมไทย ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ผิดและไม่มีความยุติธรรม

    นอกจากนี้ธงชัยยังชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่อดีตแล้วแม้คนจำนวนหนึ่งจะไม่ได้ ต่อต้านสถาบัน แต่พวกเขาก็ไม่ใช่คนที่จงรักภักดีอย่างสุดตัว (ที่เรียกว่า strong royalists) ในทางกลับกันในช่วงระยะเวลาเพียง 30 กว่าปีให้หลัง โดยเฉพาะหลัง พ.ศ.2525 เป็นต้นมา กลุ่มที่จงรักภักดีอย่างสูงสุดได้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า hyperroyalism คือแนวคิดจงรักภักดีอย่างสุดขั้วต่อสถาบันกษัตริย์ แสดงออกมาในรูปของรายการพระราชกรณียกิจ งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานครบรอบครองราชย์และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งการกระทำเหล่านี้กลับส่งผลเสียต่อภาพสถาบันกษัตริย์เสียเอง

    ธงชัยได้สรุปจบการบรรยายว่าเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ต้องแก้ไขมาตรา 112 และอนุญาตให้ประชาชนได้พูดคุยเรื่องสถาบันกษัตริย์อย่างอิสระมากขึ้น และย้ำว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอันตรายเท่ากับการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการพูด คุยเรื่องนี้ เพราะคนจำนวนมากไม่ใช่คนที่ต่อต้านหรือต้องการล้มล้างสถาบันกษัตริย์ การปิดปากไม่ให้คนได้พูดหรือแสดงออกต่างหากที่เป็นอันตรายมากกว่าและทำให้ สังคมไทยอยู่ในสภาวะปฏิเสธที่จะยอมรับความจริง (state of denial) และจมอยู่กับสิ่งที่สร้างขึ้นมาว่าเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมไทย (the normative) โดยไม่ยอมรับว่าในความเป็นจริงแล้ว (reality) ขณะนี้กำลังมีอะไรเกิดอะไรขึ้น

    รูปโดย สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

    ถอดประสบการณ์น้ำท่วม 1 : พลิกวิกฤตน้ำท่วม รวมพลังชุมชนแนวตั้ง

    ที่มา ประชาไท

    ประสบการณ์ของลูกบ้านคอนโดซิตี้โฮม รัชดา-ปิ่นเกล้า ในเขตบางพลัด กทม.ปลายเดือน ตุลาคม 2554 พวกเขาร่วมแรงร่วมใจกันปกป้องอาคารที่พักอาศัยของตนเอง ให้ลูกบ้านกว่า 400 ชีวิต สามารถพักอาศัยอยู่ได้ท่ามกลางน้ำซึ่งท่วมเต็มพื้นที่โครงการทั้งหมด จากความร่วมมือกันก่อเกิดเป็นระบบการจัดการ และเป็นชุมชนขนาดย่อมในแนวตั้งบนตึกสูง



    ‘แอนดรูว์ มาร์แชล’ เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง 'เอกยุทธ อัญชันบุตร'

    ที่มา ประชาไท

    แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล' เขียนจดหมายถึง 'เอกยุทธ อัญชันบุตร' ต่อข้อครหา "ฝรั่งนั่งเทียนเขียนด่าประเทศไทย" โต้อย่าใส่ความโดยไม่มีหลักฐาน แจง ประชาชนไทยฉลาดพอที่จะตัดสินได้เองว่าใครคือศัตรูของประเทศ

    วันนี้ (4 พ.ย. 54) ‘แอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล’ นักข่าวอิสระและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองไทยโดยใช้ข้อมูลในโทรเลขวิ กิลีกส์ “Thaistory” ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง เอกยุทธ อัญชันบุตร เจ้าของเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ สืบเนื่องจากการโพสต์ข้อความดูถูกสตรี โดยกล่าวถึง “สาวเหนือ” ที่ “ไร้ปัญญา” และ “ขี้เกียจ” ว่าควรไปทำหน้าที่ “ขายบริการ”

    Andrew Marshall fb post on Akeyuth

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 54 เอกยุทธ อัญชันบุตร ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กพาดพิงถึงแอนดรูว์ มาร์แชลว่า “มีนักข่าวที่รับจ้างนั่งเทียนเขียนด่าประเทศไทยและคนที่ต่อต้านพวกตระกูล โกงเมือง เขียนบทความเกี่ยวกับข้อความผม โดยอ่านภาษาไทยยังไม่ออก แต่แปลเป็นภาษาอังกฤษ...ฝรั่งหน้าโง่เอ้ย”

    Akeyuth Anchanbutr fb post

    แอนดรูว์ มาร์แชล อดีตผู้สื่อข่าวอาวุโสรอยเตอร์ และปัจจุบันประจำอยู่ประเทศสิงคโปร์ จึงได้เขียนจดหมายเปิดผนึกบนหน้าเฟซบุ๊ก และแปลเป็นภาษาไทย ดังนี้

    0000
    เรียนคุณเอกยุทธ
    ผมรู้สึกสนใจที่ได้อ่านความคิดเห็นล่าสุดบนเพจเฟซบุ๊คของคุณที่คุณได้ เรียกผมว่า "ฝรั่งหน้าโง่" และกล่าวหาว่าผมได้รับเงินเพื่อบ่อนทำลายประเทศไทยและใครก็ตามที่ต่อต้าน ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวของเขา ดูเหมือนว่าคุณจะไม่พอใจเพราะผมได้วิพากษ์วิจารณ์ข้อความอันน่าทึ่งของคุณ เมื่อเร็ววันนี้ ที่คุณกล่าวว่าสาวเหนือที่ไร้การศึกษาและขี้เกียจนั้นควรจะทำงานขายบริการ และได้บอกเป็นนัยอีกว่านายกรัฐมนตรีของประเทศคุณนั้นควรจะเลือกทำอาชีพนี้ ผมถือว่าความคิดเห็นเช่นนี้นั้นน่ารังเกียจยิ่ง และผมก็กล่าวไปเช่นนั้น
    วิกฤติทางการเมืองอันซับซ้อนที่ได้แบ่งแยกประเทศไทยในทศวรรษที่ผ่านมา นั้นมีหลายมิติ และไม่สามารถทำให้ดูไม่ยุ่งเหยิงโดยง่าย แต่ข้อคิดเห็นของคุณนั้นเป็นตัวอย่างของทัศนคติที่อยู่ในใจกลางของวิกฤตินี้ ชาวไทยบางส่วนเชื่อว่าผู้ที่มีทรัพย์สินและฐานะที่มั่งคั่งนั้น สมควรได้รับความเคารพมากกว่าผู้อื่น มีอำนาจทางการเมืองมากกว่าผู้อื่น และไม่สมควรอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกับผู้อื่น พวกเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องสนุกที่จะล้อเลียนและข่มเหงคนจน และปฏิบัติต่อเพศสตรีด้อยกว่าบุรุษ พวกเขาไม่เชื่อในสังคมที่เท่าเทียมกัน พวกเขาเชื่อในสังคมเจ้าขุนมูลนายที่มีพวกเขาอยู่บนยอดสุด
    คนไทยส่วนอื่นนั้นเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในการได้รับความเคารพและ เกียรติที่เท่าเทียมกัน มีสิทธิ์ที่จะได้รับการนับคะแนนเสียงทางประชาธิปไตย และมีสิทธิ์ที่จะได้รับการปฏิบัติภายใต้กฎหมายเท่าๆกัน พวกเขาเชื่อในสังคมประชาธิปไตยที่เท่าเทียม ซื่อสัตย์ ไม่มีสองมาตรฐาน
    ผมได้ลาออกจากงานที่รอยเตอร์ในเดือนมิถุนายนของปีนี้ หลังจากที่ใช้เวลา 17 ปี เป็นผู้สื่อข่าวนานาชาติ เพื่อที่ผมจะได้เขียนเกี่ยวกับประเทศไทยอย่างเปิดเผยและซื่อตรง ผมทำเช่นนี้เพราะผมรักประเทศไทยจากใจจริง และผมเชื่อว่าประเทศไทยนั้นมีศักยภาพมหาศาลเมื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองใน ปัจจุบันแล้ว ผมยังเชื่ออีกว่าประชาชนชาวไทยนั้นมีสิทธิที่จะได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับ การเมืองและประวัติศาสตร์ของพวกเขา แทนที่จะเป็นคำโกหกที่คนที่มีอำนาจมักจะชอบกล่าว ไม่มีใครจ่ายเงินให้ผมทำสิ่งนี้ และแน่นอน การทำแบบนี้นั้นเป็นการเสียสละทางการเงินพอสมควร แต่ผมก็รู้สึกยินดีกับการตัดสินใจนี้ เพราะผมเชื่อว่าคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และการช่วยเหลือผู้อื่นนั้นมีความสำคัญและมีค่ามากกว่าเงิน
    มันน่าผิดหวังที่ได้เห็นคุณได้กล่าวอ้างอย่างผิดๆ ว่าผมได้รับเงินมาเพื่อบ่อนทำลายประเทศไทย บางทีคุณอาจอธิบายได้ - อะไรที่ผมเขียนได้สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทย? มันดูแปลกสำหรับผมที่ความจริงนั้นเป็นสิ่งที่อันตรายได้ขนาดนี้ และอีกข้อคือ คุณมีหลักฐานอะไรที่จะมาพิสูจน์คำกล่าวอ้างของคุณที่ว่าผมได้รับเงินจาก ศัตรูของประเทศไทย? ผมรู้คำตอบสำหรับคำถามนี้: คุณไม่มีหลักฐาน เพราะมันไม่มีหลักฐาน เพราะว่ามันไม่ใช่ความจริง
    ผมเคยคิดว่าคนที่มีภูมิหลังอย่างเช่นคุณจะใช้ความระมัดระวังมากกว่านี้ ก่อนที่จะพยายามป้ายสีผู้อื่น ในเมื่อภูมิหลังส่วนตัวคุณนั้นดูน่าสงสัยเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่าบริษัทชาร์เตอร์อินเวสต์เมนต์ของคุณนั้นเป็น ธุรกิจแชร์ผิดกฎหมาย คนไทยธรรมดาหลายๆคนนั้นถูกทำลายชีวิตลงเมื่อบริษัทล้มละลายไปในปีพ.ศ. 2526 ในขณะคุณหลบหนีไปยังสหราชอาณาจักรและใช้ทรัพย์สินที่คุณขโมยมาจัดตั้งเครือ ร้านค้า คุณรอเวลา 20 ปีเพื่อที่คดีความจะหมดอายุ และคุณก็กลับมายังประเทศไทย
    ในตอนนี้ดูเหมือนคุณจะเชื่อว่าคุณมีสิทธิที่จะออกความเห็นชี้ขาดทาง ศีลธรรมเกี่ยวกับผู้อื่น และไม่ควรมีใครมาวิพากษ์วิจารณ์คุณ ผมไม่เห็นด้วย
    ประชาชนของประเทศไทย รวมไปถึงประชาชนทางเหนือและทางใต้และทุกๆจังหวัด นั้นเฉลียวฉลาดพอที่จะตัดสินได้สำหรับตัวพวกเขาเอง พวกเขาสามารถอ่านความคิดเห็นของคุณ และอ่านคำตอบของผม และตัดสินว่าใครคือศัตรูตัวจริงของความเจริญ ความซื่อสัตย์ และประชาธิปไตยในประเทศไทย
    ด้วยความจริงใจ
    Andrew MacGregor Marshall

    ภาคประชาชนเชียงใหม่รวมพลังประณาม “เอกยุทธ”

    ที่มา ประชาไท

    องค์กรภาคประชาชนในเชียงใหม่ร่วมประณามข้อความเอกยุทธ อัญชันบุตร พร้อมยืนยัน “พนักงานบริการ” มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่ได้โง่






    วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2554) เวลา 10.30 น. บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จังหวัดเชียงใหม่ หลายองค์กรด้านสตรี รวมถึงองค์กรต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ได้รวมตัวกันแถลงประณามข้อความของนายเอกยุทธ อัญชันบุตรที่โพสต์ลงในเฟซบุค โดยต่างยืนยันว่าข้อความดังกล่าวเป็นการดูถูกและทำลายความเป็นมนุษย์ของคน ที่ทำอาชีพ“พนักงานบริการ” และดูถูกผู้หญิงชาวเหนือด้วย
    จากกรณีนายเอกยุทธ อัญชันบุตรโพสต์ข้อความลงเฟซบุ้ค (ดูข่าวเก่า) ในวันนี้ องค์กรต่างๆ ในเชียงใหม่หลายองค์กร เช่น กลุ่มพลังผญ๋าแม่ญิงล้านนา มหาวิทยาลัยล้านนา มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ กลุ่มพัฒนาสตรีเชียงใหม่ ทีมงานของสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งกลุ่มผู้หญิงเสื้อแดง ได้ทยอยมารวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ รวมแล้วราว 200 คน
    กิจกรรมมีทั้งการเขียนข้อความคัดค้านนายเอกยุทธบนป้าย แจกแถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยล้านนา (ดูล้อมกรอบด้านล่าง) การกล่าวประณามข้อความของนายเอกยุทธและเรียกร้องให้เขามาขอขมาต่อสตรีชาว เหนือ โดยข้อความที่กลุ่มผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมเขียน มีอย่างเช่น “สตรีเชียงใหม่มีศักดิ์ศรี...ไม่ยอมให้ใครมาดูหมิ่นเหยียดหยาม” “ฉันรักเพศแม่” “เรารักศักดิ์ศรี ให้เกียรติคนเพศแม่” “หยุด! ดูหมิ่นศักดิ์ศรีสาวเหนือ” “เราชาวเหนือ รักศักดิ์ศรีของคนล้านนา” หรือแม้แต่ข้อความที่คัดลอกมาจากข้อความของนักเขียนชื่อดัง อย่างคำ ผกา

    จากนั้นนางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 พรรคเพื่อไทย ได้แถลงความเห็นว่า ตนได้ตีความหมายข้อความนี้ว่ากำลังดูถูกเหยียดหยามเกียรติของผู้หญิงภาค เหนือมาก โดยอันที่จริงแล้วการขายตัวเป็นอาชีพสุจริต คนขายตัวก็มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทุกอาชีพล้วนต้องอาศัยความเพียร อาศัยทักษะ อาศัยความอดทนทั้งสิ้น ผู้หญิงขายตัวก็มีศักดิ์ศรีเท่ากัน เป็นพลเมืองที่มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในประเทศประชาธิปไตย ซึ่งไม่ว่าจะอาชีพใดก็มีคุณค่ามากกว่าคนที่ตัดสินคนอื่นว่าด้อยปัญญาอย่าง ที่นายเอกยุทธทำ และแม้จะไม่สามารถทำให้นายเอกยุทธเปลี่ยนมุมมองหรือวิธีคิดได้ แต่อยากให้นายเอกยุทธใคร่ครวญสักนิดก่อนที่จะเขียนหรือกล่าวพาดพิงถึงใคร ควรจะให้มีความสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ของคนอื่น
    นางสาวทัศนีย์กล่าวต่อว่า ตนอยากเรียกร้องให้คนไทยทุกภาคส่วนร่วมกันประณามและต่อต้านพฤติกรรมของนาย เอกยุทธ เพื่อให้นายเอกยุทธออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง และขอโทษต่อสตรีชาวเหนือ มิเช่นนั้นองค์กรชาวเหนือกลุ่มต่างๆ จะดำเนินคดีต่อการกระทำนี้อย่างถึงที่สุด และจะยังคงเคลื่อนไหวเรียกร้องความยุติธรรมจากสังคมไทย หากมีการเพิกเฉยพฤติกรรมดูถูกเหยียดหยามสตรีชาวเหนือแบบนี้อีก
    ขณะที่นางสาวมาลี (ขอสงวนนามสกุล) ตัวแทนจากมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (Empower Foundation) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานกับ “พนักงานบริการ” ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่าทางคนทำงานในมูลนิธิล้วนไม่พอใจกับข้อความของ นายเอกยุทธ เพราะพนักงานบริการไม่ใช่คนโง่แบบที่นายเอกยุทธกล่าวหา พวกเธอมีทักษะต่างๆ ในการดำเนินชีวิต บางคนพูดได้หลายภาษา บางคนขยันเรียนจนจบการศึกษา และการทำงานบริการไม่ได้หมายถึงการให้บริการทางเพศอย่างเดียว ซึ่งคนภายนอกมักมองคนกลุ่มนี้แต่เรื่องเซ็กซ์ แต่งานบริการมีความหมายตั้งแต่การไปกินอาหาร ไปเป็นเพื่อนเที่ยว หรือการดูแลให้คนที่รับบริการมีความสุข
    พนักงานบริการจึงเป็นอาชีพหนึ่งเหมือนอาชีพอื่นๆ มีเวลาเข้าออกงานเหมือนกัน อยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน และเป็นมนุษย์ที่มีหัวใจเหมือนกับทุกๆ คน อาชีพนี้จึงควรได้รับความคุ้มครองดูแลเหมือนกับอาชีพอื่นๆ แรงงานแบบอื่นๆ และคนทำงานบริการก็มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี พวกเธอไม่ได้ไปขโมยของใคร ไม่ได้ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ถ้านายเอกยุทธจะด่าใครก็ควรด่าตรงๆ ไม่ใช่ด่าไปทั่วแบบนี้ และควรรับผิดชอบต่อสิ่งที่พูด ถ้าเขามีความเป็นลูกผู้ชายเพียงพอ และอยากให้ลองคิดกลับกัน ว่าถ้าคนอื่นไปด่าเขาว่าโง่ เขาจะรู้สึกอย่างไร
    สำหรับมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เป็นองค์กรที่ส่งเสริมโอกาสให้"พนักงานบริการ"ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคน ทั่วไปในสังคม เรียกร้องต่อสู้ให้งานบริการมีความปลอดภัย ยุติธรรม มีมาตรฐาน ในประเทศไทย มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้พนักงานบริการได้มีการเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ กศน. เรียนคอมพิวเตอร์ ให้คำปรึกษาเรื่องการไปทำงานต่างประเทศ ทำวีซ่า สุขภาพเกี่ยวกับการทำงาน และรวมถึงให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมาย สิทธิต่างๆ และมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ กรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต (http://www.empowerfoundation.org/)
    นอกจากนั้นในช่วงบ่ายผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางกลุ่มพลังผญ๋าแม่ญิงล้านนาได้เดินทางไปฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างเป็นทางการ ต่อนายเอกยุทธในข้อหาหมิ่นประมาท ที่สถานีตำรวจภูธรภูพิงค์ราชนิเวศน์ด้วย อีกทั้งในวันเดียวกันนี้ยังมีเครือข่ายแม่ญิงพะเยาเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่า ราชการจังหวัดพะเยาเพื่อประณามนายเอกยุทธ อัญชันบุตรเช่นกัน
    แถลงการณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งล้านนา
    เรื่อง ขอประนามทัศนะของนายเอกยุทธ อัญชันบุตรที่ดูหมิ่นสตรีล้านนาและนายกรัฐมนตรีหญิงของไทย จากกรณีที่นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ออกมากล่าวเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 นี้ ว่า

    “ไม่อยากจะกล่าวคำแบบนี้ เพราะจะดูเสมือนดูถูกสตรี..แต่ในความเป็นจริงนั้น..สาวเหนือที่ไร้การศึกษา หรือขี้เกียจ และด้อยปัญญา จะมาทำงานสบายที่หญิงปกติไม่ทำกัน..หลักๆก็คือขายบริการ..ฉะนั้นสาวเหนือที่ ไร้สติปัญญาและโง่เขลาขนาดหนักแต่หน้าด้านมารับตำแหน่ง ก็ควรจะรู้นะว่าอาชีพอะไรที่เหมาะแก่คุณ?...” และ “ตำแหน่งนายกฯนั้น ไม่ใช่ของครอบครัว..และไม่ใช่ที่ฝึกหัดงาน..หากไร้ปัญญาก็อย่าหน้าด้านมารับ ตำแหน่ง...”

    เราคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งล้านนารู้สึกเศร้าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง คิดไม่ถึงว่าจะมีคนไทยคนใดออกมากล่าวถ้อยคำเช่นนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ประชาชนไทยหลายล้านคนโดยเฉพาะในเขตภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ต้องประสบปัญหาจากภัยน้ำท่วมที่รุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ
    ข้อที่หนึ่ง ถ้อยคำของนายเอกยุทธที่ดูหมิ่นเหยียดหยามสตรีภาคเหนือว่าคนที่ไร้การศึกษา หรือคนที่ขี้เกียจและด้อยปัญญาชอบงานสบายคือขายตัวนั้นไม่เป็นความจริง เพราะ
    1.สตรีภาคเหนือก็เหมือนสตรีภาคอื่นๆ ทั่วโลก นั่นคือเป็นคนมีสติปัญญา ต่อสู้ดิ้นรน ไม่กลัวงานหนัก รักครอบครัว รับผิดชอบต่อครอบครัวและส่วนรวม ในสังคมไทยยุคก่อนที่ประเพณีการแต่งงานคือชายเข้าไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง และสังคมไทยไม่มีนามสกุล ทำให้หญิงกับชายมีฐานะและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ต่างคนต่างช่วยกันทำงานสร้างครอบครัวและสร้างสรรค์สังคม กระทั่งในหลายกรณี หญิงมีบทบาทมากยิ่งกว่าชาย สตรีในสังคมเช่นนี้มีบทบาทโดดเด่นแตกต่างจากสังคมบางแห่งที่ยกย่องให้ชาย เป็นใหญ่และกดขี่หญิงให้เป็นเช่นทาส ไร้สิทธิไร้เสียง
    2. ในรอบกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ระบบเศรษฐกิจการค้าเสรีที่ขยายตัวได้กระตุ้นให้เกิดการค้าโสเภณี มีการล่อลวงหญิงจากต่างจังหวัดเข้าไปเป็นโสเภณีในเขตเมืองหลวงและลามออกไป การกล่าวว่าสตรีภาค เหนือขี้เกียจ โง่เขลา และชอบงานสบายเลยไปขายตัวจึงเป็นการโป้ปดและดูถูกกันอย่างรุนแรง

    3. โลกทุนนิยมเสรีทุกวันนี้ยังคงมีการหลอกลวงและบีบบังคับสตรีจากทุกสังคมให้ เข้าสู่ธุรกิจการขายตัว ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะภาคเหนือ สตรีชาวเหนือมีปัญญา ไม่เคยเกี่ยงงาน หาเงินเลี้ยงครอบครัวในทุกสาขาอาชีพ ขณะที่เขียนแถลงการณ์นี้ ก็มีสตรีชาวเหนือจำนวนหลายคันรถที่สละเวลาไปช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมในภาค กลางและกรุงเทพฯ คนที่ไปไม่ได้ก็ช่วยกันบริจาคสิ่งของตามจุดต่างๆในแทบทุกอำเภอของภาค

    ข้อที่สอง การที่นายเอกยุทธกล่าวในทำนองนายกฯหญิงของไทยไร้สติปัญญาและโง่เขลาอย่างมาก ทั้งหน้าด้านมารับตำแหน่ง และกล่าวว่าน.ส. ยิ่งลักษณ์น่าจะรู้ว่าอาชีพอะไรเหมาะกับตัวเองจึงไม่ใช่เพียงการดูถูกสตรี ชาวเหนือคนนี้ หากยังเป็นการดูถูกประชาชนไทยส่วนใหญ่ว่าโง่เง่าที่เลือกน.ส. ยิ่งลักษณ์ให้เป็นนายก รัฐมนตรี และดูถูกสติปัญญาของคนไทยทั้งประเทศในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาที่ยังคงยินยอมให้เธอบริหารประเทศต่อไปในฐานะนายกรัฐมนตรี นี่เป็นทัศนะที่ต่ำทรามและไม่สร้างสรรค์อย่างที่สุด

    คำกล่าวของนายเอกยุทธช่วยเปิดด้านที่หยาบช้าและเลวร้ายในสติปัญญาของคน กลุ่มหนึ่งที่ต้องการดิสเครดิตผู้นำของรัฐบาลและหวังสร้างความปั่นป่วนใน สังคม เอาปัญหาอคติทางเพศ ปัญหาสังคมและปัญหาการเมืองมาพันกัน หวังทำลายสังคมการเมืองแบบประชาธิปไตยในปัจจุบันด้วยการด่ากราดสตรีชาวเหนือ และหมิ่นแคลนนายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่ทุกๆฝ่ายควรจะช่วยกันแก้ไขวิกฤตปัญหาน้ำท่วมให้มากที่สุด

    คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยแห่งล้านนาขอประณามคำกล่าวและทัศนะของนายเอกยุทธ อัญชันบุตรในครั้งนี้ ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันประณามทัศนะกดขี่ทางเพศ ทัศนะที่ดูถูกประชาชนในระบอบประชาธิปไตย และทัศนะที่ดูถูกเหยียดหยามและเหยียบย่ำคนที่เป็นผู้นำของประเทศ

    นายเอกยุทธจะต้องกล่าวขอขมาต่อสตรีชาวเหนือ ต่อนายกรัฐมนตรี และต่อประชาชนไทยอย่างเป็นทางการ พี่น้องคนไทยจะต้องร่วมกันคัดค้าน อย่าให้ทัศนะที่ผิดพลาดร้ายแรงครั้งนี้ดำรงอยู่อีกต่อไปในสังคมไทย.

    คณาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งล้านนา
    รศ.ดร.รังสรรค์ จันต๊ะ
    อ.สมชาย ประทุมเมศร์
    อ.สุทธิวัฒน์ วงศ์รังสรรค์
    อ.ภูรินทร์ เทพเทพินทร์
    อ.วัชระ ศรีสรรค์
    อ.สมจินต์ รักยุติธรรม
    อ.พลดี มงคล
    ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง
    3 พฤศจิกายน 2554

    คานอำนาจสื่อ

    ที่มา Thai E-News

    ภาพประกอบ:Gag Las Vegas

    สงครามสื่อต้องดำเนินต่อไป เพราะความต้องการคงอิทธิพล “อำนาจพิเศษ” ของสื่อกระแสหลัก กลายเป็นอุปสรรคประชาธิปไตย พลังประชาธิปไตยจะเติบโตได้ต้องทำลายอิทธิพลของสื่อกระแสหลักลง

    โดย ใบตองแห้ง
    5 พฤศจิกายน 2554

    หมายเหตุไทยอีนิวส์:เราได้เริ่มธรรมเนียมเชิญนักเขียนเกียรติยศ เขียนบทความหรือทัศนะในวาระครบรอบ 4 ปีไทยอีนิวส์เมื่อปีที่แล้ว เป็นคราวแรก โดยครั้งนั้นได้รับเกียรติจากจักรภพ เพ็ญแข

    ส่วนในวาระครบรอบ 5 ปีในวันนี้ เราได้เชิญ"ใบตองแห้ง"เป็นนักเขียนเกียรติยศประจำปีนี้

    .............

    รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการติดต่อจากสำนักข่าวไทยอีนิวส์ให้ เขียนลงในวาระครบรอบ 5 ปี เพราะไทยอีนิวส์เป็นเว็บไซต์ที่ผมติดตามอ่านอยู่เสมอเพื่อตรวจสอบตรวจทาน ข่าวสารที่ได้รับจากสื่อกระแสหลัก

    ในทัศนะของผม ไทยอีนิวส์เป็น “เว็บเสื้อแดง” คือไม่ได้ “เป็นกลาง” แต่ “เลือกข้าง” แล้ว กระนั้นก็เป็นการเลือกข้างอย่างมีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง และมีความสามารถในการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน จนมีผลงานชิ้นโบแดงมาหลายครั้ง เท่าที่จำได้ประทับใจก็เช่น ไทยอีนิวส์เป็นสำนักข่าวเดียวที่ตรวจจับการกระทำความผิด โฆษณาขายหุ้น NBC ในเครือเนชั่นเกินจริง ซึ่งน่าเสียดายว่าถ้าเนชั่นไม่ใช่สื่อทรงอิทธิพล หรือถ้าไทยอีนิวส์เป็นสื่อกระแสหลักด้วยกัน ไม่ใช่แค่เว็บไซต์ กลต.ก็คงดำเนินคดีถึงที่สุดไปแล้ว

    หรืออย่างเมื่อเร็วๆ นี้ที่ “เอิน” กัลยกร วิจารณ์ยิ่งลักษณ์ ไทยอีนิวส์ก็ขุดคุ้ยมาแฉว่าที่แท้เธอคือลูก ผอ.ASTV “ลูกอำมาตย์รักชาติ”

    ข่าวสารทำนองนี้แหละที่ทำให้ผมต้องเปิดไทยอีนิวส์อ่านเพื่อตรวจทานอยู่เสมอๆ

    ถ้าถามว่าไทยอีนิวส์ลำเอียงหรือไม่ คำตอบของผมคือไทยอีนิวส์เป็น “กระบอกเสียงอิสระของมวลชนเสื้อแดง” คำที่มีนัยสำคัญคือ “อิสระ” และ “มวลชน” เพราะแม้ไทยอีนิวส์ตอบโต้แก้ต่างให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ ทักษิณ หรือแกนนำเสื้อแดงอยู่บ่อยๆ (รวมทั้งแสดงความเกลียดชังเป็นศัตรูกับอำมาตย์ สลิ่ม และพรรคแมลงสาบอย่างโจ่งแจ้ง) แต่เท่าที่ตามอ่านมาหลายปี ก็มีหลายครั้งที่ไทยอีนิวส์วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช.

    แม้การวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายเดียวกันจะไม่มากนัก เข้าใจว่าไทยอีนิวส์ต้องการรักษาขบวนไว้เป็นสำคัญ แต่ก็เป็นด้านที่สะท้อนให้เห็นว่าไทยอีนิวส์มีความเป็น “อิสระ” เป็นผู้สนับสนุน-แต่ไม่ได้ขึ้นต่อแกนนำ นปช.ไม่ได้ขึ้นต่อพรรคเพื่อไทย หรือรับท่อน้ำเลี้ยงจากทักษิณ ฉะนั้น ทัศนคติของไทยอีนิวส์ถ้าจะเอียงข้าง ก็สะท้อนทัศนคติของมวลชนเสื้อแดงอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ทัศนคติที่เอียงไปตามผลประโยชน์นักการเมือง

    ยกตัวอย่างง่ายๆ คือผมเห็นว่าไทยอีนิวส์ชื่นชมนักคิดนักต่อสู้อย่างจักรภพ เพ็ญแข, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ มากกว่าทักษิณ,จตุพร, ณัฐวุฒิ

    นั่นสะท้อนถึงจุดยืนของไทยอีนิวส์ ที่มุ่งมั่นจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ปลอดการแทรกแซงของอำนาจพิเศษนอกระบบ ไทยอีนิวส์ยืนอยู่ข้างมวลชนที่ต้องการต่อสู้ถึงที่สุด ที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสังคมไทย ซึ่งต่างกับนักการเมืองที่ต้องการเพียงได้อำนาจ ไทยอีนิวส์ให้ความรู้กับผู้อ่านตั้งแต่การปฏิวัติประชาธิปไตย 2475 ยกย่องเชิดชู อ.ปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎร มาจนถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในช่วง 14 ตุลา2516 ถึง 6 ตุลา 2519 และสนับสนุนข้อเรียกร้องให้แก้ไขมาตรา 112 ตลอดจนการลบล้างผลพวงรัฐประหารของนิติราษฎร์ (ซึ่งไม่ใช่ว่าฝ่ายการเมืองจะยอมเอาด้วยใน 2 ประเด็นนี้)

    นี่คือสิ่งที่ผมชื่นชมไทยอีนิวส์ในฐานะ “สื่อเสื้อแดง” ที่ไม่ต้องเสแสร้งเป็นกลาง แต่มีความแตกต่างและมีจุดยืนของตัวเอง นอกจากนี้ หลายๆ ครั้ง ไทยอีนิวส์ยังกล้าพูดความจริงทั้งที่ปล่อยไปก็จะส่งผลทางการเมืองมากกว่า เช่น ตอนที่สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ถูกจับ มีการอ้างว่าเพราะอ่านบทกวีที่สมัคร สุนทรเวช เขียนไว้ก่อนตาย แต่ไทยอีนิวส์แย้งทันทีว่าไม่ใช่ อย่าเข้าใจผิด เป็นบทกวีของจักรภพ เพ็ญแข ต่างหาก

    บทบาทของไทยอีนิวส์ด้านสำคัญ ได้แก่การตรวจสอบสื่อกระแสหลัก ทั้งตอบโต้ แฉเบื้องหลัง และเปิดโปงพฤติกรรมสื่อ ซึ่งบางครั้งอาจถูกมองว่าไทยอีนิวส์อคติ ปลุกความเกลียดชัง แต่ผมว่าไม่เป็นไร เพราะสื่อกระแสหลักที่มีอคติและปลุกความเกลียดชังก็ควรจะโดนเสียบ้าง เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย

    ผมมาจากสื่อกระแสหลัก แม้เคยทำแต่หนังสือพิมพ์ฉบับเล็กๆ แต่ก็มีเพื่อนมีน้องอยู่ค่ายใหญ่หลายค่าย จึงเห็นว่าความเข้าใจของมวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าสื่อกระแสหลักเป็น ปรปักษ์ประชาธิปไตยเพราะได้ผลประโยชน์นั้นไม่จริง ถ้าจริงก็แค่ตัวเจ้าของสื่อ แต่ที่เห็นและเป็นอยู่มันคือทัศนคติของสื่อ ตั้งแต่บรรณาธิการข่าว หัวหน้าข่าว รีไรเตอร์ ลงมาจนถึงนักข่าวพื้นที่

    ทำไมสื่อกระแสหลักจึงเป็นไปอย่างนั้น ในทัศนะผม สื่อเป็น “ฐานันดรที่สี่” เป็นอภิสิทธิ์ชนผู้ทรงอิทธิพล และเป็น “อำนาจพิเศษ” อย่างหนึ่งในสังคมไทย ซึ่งต้องการคงอำนาจที่จะแทรกแซงการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไว้ตลอดไป ไม่ต่างจากอำมาตย์

    สื่อไทยมีบทบาทต่อต้านเผด็จการและต่อสู้เพื่อประชาธิปไคยอย่างเข้มแข็งมา ตั้งแต่อดีต ในยุคของบรรพชนอย่างกุหลาบ สายประดิษฐ์, อารีย์ ลีวีระ, อิศรา อมันตกุล, อุทธรณ์ พลกุล ฯลฯ ซึ่งสร้างเกียรติยศศักดิ์ศรีของคนหนังสือพิมพ์ไว้เป็นมรดกตกทอดให้คนรุ่น หลัง 14 ตุลา สื่อก็มีบทบาทสำคัญในการโค่นล้มเผด็จการ แม้หลัง 6 ตุลา 2519 รัฐบาลหอยโดยสมัคร สุนทรเวช ใช้ ปร.42 ปิดหูปิดตาปิดปากสื่อ แต่ก็ปิดกั้นพัฒนาการสังคมไม่ได้ เมื่อรัฐบาลหอยถูกรัฐประหาร เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ธุรกิจหนังสือพิมพ์ก็เติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยม สื่อมีบทบาทวิพากษ์วิจารณ์จนกระแสสังคมปฏิเสธ พล.อ.เปรมไม่ให้เป็นนายกฯอีก แต่ก็สื่ออีกนั่นแหละที่ตั้งฉายารัฐบาลชาติชายว่า บุฟเฟต์คาบิเนต จนถูก รสช.แล้วสื่อก็มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านสุจินดา “เสียสัตย์เพื่อชาติ”

    พฤษภา 35 ได้ยกฐานะของฐานันดรที่สี่ขึ้นมาเป็นอำนาจชี้นำสังคม เป็นตัวแทนของพลังคนกรุงคนชั้นกลาง หรือ “ม็อบมือถือ” ตั้งแต่การแบ่งแยก “พรรคเทพ” “พรรคมาร” เย้ยหยันสมบุญ ระหงษ์ แต่งชุดขาวรอเก้อ ไปจนสุทธิชัย หยุ่น ตั้งรัฐบาลทางโทรทัศน์ ในคืนที่รู้ผลการเลือกตั้ง โดยใช้บทบาทสื่อผูกมัด “พรรคเทพ” ให้ร่วมกันสนับสนุนชวน หลีกภัย

    จาก 2535 ถึง 2544 สื่อเป็นตัวแทนคนกรุงคนชั้นกลาง ทำหน้าที่ล้มรัฐบาลที่คนชนบทเลือกมา ตามทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย ตั้งแต่รัฐบาลชวน กับกรณี สปก.4-01 รัฐบาลบรรหาร กรณีกลุ่ม 16 แบงก์บีบีซี และสัญชาติเตี่ย รัฐบาลชวลิต กับกรณีลดค่าเงินบาทและชูธงเขียวรับร่างรัฐธรรมนูญ 40 และรัฐบาลชวน 2 ซึ่งตอนแรกได้รับการโห่ร้องต้อนรับ แต่จบลงด้วยฉายา “ช่างทาสี” และ “ปลัดประเทศ”

    ในภาพรวม ถือว่าสื่อได้ทำหน้าที่ตรวจสอบผู้มีอำนาจตามบทบาทที่ควรจะเป็นในระบอบ ประชาธิปไตย จากต่อสู้เผด็จการมาถึงตรวจสอบนักการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบรัฐบาลทักษิณ ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2549 หรือแม้แต่ไล่ทักษิณ ในฐานะผู้นำที่เหลิงอำนาจและสอบตกทางจริยธรรม ก็เป็นการทำหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย

    แต่สื่อเปลี่ยนไป เมื่อเห็นว่าทักษิณได้คะแนนนิยมจากประชาชนในการเลือกตั้ง จนยากที่จะล้มรัฐบาลตามระบอบ สื่อหันไปร่วมมือกับขบวนการให้ร้ายป้ายสี ม็อบสนธิสวนลุม ทั้งที่ตอนแรก เถ้าแก่เปลวของผมด่าสนธิเองว่า “แปลงสถาบันเป็นอาวุธ” สื่อร่วมมือกับพันธมิตร สร้างกระแส ม.7 ขอนายกพระราชทาน แล้วก็เตลิดเปิดเปิงกระทั่งสนับสนุนรัฐประหาร (อย่างเต็มอกเต็มใจไม่ต้องเอาปืนจี้) โดย 3 นายกสมาคมสื่อ พร้อมใจเข้าไปเป็น สนช.

    หลังจากนั้นไม่ต้องพูดถึง สื่อกระแสหลักเลือกข้างเต็มตัว ช่วยสร้างกระแสความชอบธรรมให้พันธมิตร ยึดทำเนียบยึดสนามบินเป็นการใช้สิทธิประชาธิปไตยของประชาชน แม้เกินเลยไปบ้างต้องให้อภัย แต่ยึดราชประสงค์เอาไว้ไม่ได้ 7 ลาเป็นการปราบปรามประชาชน 19 พฤษภาเป็นการรักษาความสงบของประเทศ

    ถามว่าทำไมสื่อจึงเปลี่ยนบทบาทจากผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จากกลไกที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในสังคมประชาธิปไตย ไปเป็นปรปักษ์ประชาธิปไตย ผมคิดว่าสื่อยึดติดในบทบาทและอำนาจของตัวเอง พูดง่ายๆ ว่าสื่อเคยชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ สังคมก็คล้อยตาม สื่อล้มรัฐบาลมาทุกยุคทุกสมัย แต่ล้มทักษิณไม่ลง ทั้งที่สื่อรวมหัวกันชี้ว่ามันชั่วมันเลว คราวนี้ชาวบ้านโดยเฉพาะคนชนบทกลับไม่ฟัง

    สื่อไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนาการของประชาธิปไตย ที่นโยบายพรรคไทยรักไทยทำให้มวลชนตระหนักว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งเปลี่ยน แปลงชีวิตพวกเขาได้ ไม่ใช่มวลชนไม่เข้าใจว่านักการเมืองทั้งหลายล้วนแสวงหาผลประโยชน์ แต่จะให้เขาเลือกใครระหว่างพรรคที่มีนโยบายสนองปากท้อง เปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ กับพรรคที่ดีแต่พูด

    แต่สื่อกลับมองว่าชาวบ้านโง่ ถูกซื้อ ทักษิณจะผูกขาดอำนาจไปอีก 20 ปี ประเทศชาติจะหายนะ สื่อไม่อดทนรอการพัฒนาไปตามลำดับของมวลชน คิดแต่ว่าสังคมจะต้องเดินตามที่พวกตนชี้

    พูดอีกอย่างก็พูดได้ว่าสื่อ “เหลิงอำนาจ” เคยตัวกับบทบาทชี้นำสังคม ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ได้เป็นไปตามตำรานิเทศศาสตร์ สื่อไทยไม่ได้ทำหน้าที่เสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา แยกข่าวจากความคิดเห็นเหมือนสื่อฝรั่ง แต่สื่อไทยสอดแทรกการชี้นำเข้าไปในข่าว ใช้พาดหัวข่าวเป็นที่ประกาศวาทะกรรม แสดงการสนับสนุน ต่อต้าน รัก ชอบ เกลียด ชัง หรือถ้าเป็นสื่อทีวี ก็เรียกว่า “สื่อมีหาง(เสียง)”

    แต่ที่ผ่านมามันเป็นการต่อสู้เผด็จการ หรือขับไล่นักการเมืองทุจริตคอรัปชั่นในช่วงที่ประชาธิปไตยยังอ่อนแอ สังคมไทยจึงยอมรับบทบาท (และอิทธิพล) ของสื่อ (รวมทั้งอภิสิทธิ์ของสื่อ) กระนั้นเมื่อประชาธิปไตยเติบโตขึ้น เป็นสังคมที่มีความคิดเห็นแตกต่างหลากหลาย ก็ไม่ยอมรับการชี้นำของสื่ออีกต่อไป

    สื่อไทยเลย “วีนแตก” หน้ามืดตามัวเพื่อเอาชนะ เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นฝ่ายถูก เป็นผู้มีอุดมการณ์สูงส่ง ขาวสะอาด มีเกียรติมีศักดิ์ศรี สมควรที่จะยกไว้ในที่สูงเพื่อชี้นิ้วด่ากราดนักการเมือง

    ถ้าให้เห็นภาพชัด “เนชั่นโมเดล” น่าจะเป็นตัวแทนสื่อกระแสหลักชัดเจนที่สุด สุทธิชัย หยุ่น ก่อตั้งเดอะเนชั่นเมื่อปี 2515 แล้วมาเปิดกรุงเทพธุรกิจในปี 2530 แล้วขยับขยายไปจัดรายการทีวี หลัง 2535 ก็ร่วมก่อตั้งไอทีวี ซึ่งแม้ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล แห่งแปซิฟิค จะเป็นผู้บุกเบิกข่าวทีวีสมัยใหม่รายแรก แต่ต้องถือว่าหยุ่นเป็น “ตัวพ่อ” ที่มีอิทธิพลต่อนักข่าว พิธีกร รุ่นต่อมามากกว่า
    คน หนุ่มสาวที่เข้าไปเป็นนักข่าวพิธีกรค่ายเนชั่นในทศวรรษ 2530 คือตัวแทนคนชั้นกลางที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค 2520 ซึ่งกรุงเทพฯเริ่มก่อเกิดชุมชนบ้านจัดสรร กั้นรั้วแยกจากคนชั้นล่างและคนชนบท คนชั้นกลางที่เติบโตในยุคนี้ ถูกตัดขาดจากประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นสมัยคณะราษฎรหรือขบวนการนักศึกษายุค 14-6 ตุลา พวกเขาเห็นแต่ประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งสอนให้เชื่อความมีคุณธรรมจริยธรรมของ “ผู้หลักผู้ใหญ่” คนชั้นกลางรุ่นนี้เติบโตมาโดยมุ่งหวังที่จะประสบความสำเร็จส่วนตัว และโดยเชื่อว่าสังคมไทยที่ดำรงอยู่เป็นสังคมที่ดีงามเป็นธรรมแล้ว ถ้าจะเลวร้ายอยู่อย่างเดียว ก็คือนักการเมือง

    สื่อแบบ “เนชั่นโมเดล” จึงเป็นตัวแทนคนชั้นกลางที่เรียนจบมหาวิทยาลัย คล่องแคล่ว ฉาดฉาน ได้งานดี เงินดี ไม่เคยยากลำบากเหมือนสื่อในอดีต และไม่เหมือนค่ายหัวสีที่ต้องจับเนื้อกินเอง (เงินเดือนนักข่าวเพิ่มพรวดพราดแบบก้าวกระโดดในช่วงต้นทศวรรษ 2530 อานิสงส์จากสนธิ ลิ้มทองกุล ตั้งอัตราเงินเดือนให้นักข่าวผู้จัดการ) นอกจากนี้ยังได้รับการให้เกียรติจากทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ใช่แค่ไม่ต้องกลัวตำรวจแจกใบสั่ง แต่เป็นนักข่าว 2-3 ปี คุณก็ได้นั่งกินข้าวกับรัฐมนตรี ประธานบริษัท ได้บินตามนายกฯ ไปเมืองนอก หรือได้ขึ้น ฮ.ไปกับผู้บัญชาการเหล่าทัพ เรียกพี่เรียกน้องกับนายพล

    ไม่มีอาชีพไหนให้คุณอย่างนี้นะครับ ยกหูโทรศัพท์กริ๊ง อธิบดีรองอธิบดีต้องมารับ

    สื่อจึงมีฐานันดรพิเศษ ที่ทำให้ทรนงและหลงตน ว่าข้านี่แหละคือตัวแทนคนชั้นกลางผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง สามารถชี้นิ้วผลักดันสังคมไปตามต้องการ นักการเมืองชั่วหรือ ถล่มมันซะ ข้าราชการมีแผล ก็บดขยี้ให้ไม่เหลือซาก คนเหล่านี้จึงต้องเกรงอกเกรงใจสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อ

    ที่ผมยก “เนชั่นโมเดล” อันที่จริงก็คล้ายกันทุกค่าย เพียงแต่หัวสีก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ฉบับเล็กก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ขณะที่ค่ายมติชน (รวมทั้งผู้จัดการ) ยังมีคนรุ่นเก่าสืบทอดมาจาก 14 ตุลา 6 ตุลา ไม่ใช่ภาพของคนชั้นกลางที่ตัดขาดจากประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เสียทีเดียว เนชั่นชัดเจนกว่ากับภาพลักษณ์นักข่าวพิธีกรขวัญใจคนชั้นกลาง ตั้งแต่หยุ่น หย่อง มาถึงสรยุทธ์ กนก สู่ขวัญ จอมขวัญ ฯลฯ (และเนชั่นก็เป็นแม่แบบให้ TPBS ปั๊มคนออกมาคล้ายๆ กัน)

    ที่พูดมาทั้งหมดไม่ใช่ว่าสื่อไม่มีผลประโยชน์ ทั้งตัวค่ายและตัวบุคคล มี-แต่ไม่ใช่นักข่าวส่วนใหญ่ สาเหตุหลักที่สื่อกระแสหลักกลายเป็นปรปักษ์ประชาธิปไตย ก็คือความเหลิงอำนาจของสื่อ คือความเชื่อว่าตัวเองรู้มากกว่า เก่งกว่า ดีกว่า สมควรจะเป็นผู้ชี้นำประชาชนที่โง่เขลา ไม่ยอมรับว่าประชาชนมีสิทธิจะคิดต่างเห็นต่าง เมื่อชี้นำไม่ได้ เอาชนะไม่ได้ และกลายเป็นฝ่ายแพ้ โค่น “คนชั่วคนเลว” ในสายตาตัวเองไม่ลง แพ้ทักษิณ แพ้พรรคพลังประชาชน แพ้พรรคเพื่อไทย สื่อจึงหน้ามืดมุ่งเอาชนะคะคานโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ ไม่ว่าเชียร์รัฐประหารหรือโยนหลักการประชาธิปไตย หลักสิทธิเสรีภาพ ที่เป็นหัวใจของสื่อทิ้งไป

    เห็นได้ง่ายๆ จากวิกฤติน้ำท่วมคราวนี้ ที่สื่อแปลงมาเป็นอาวุธโค่นรัฐบาล จนเห็นชัดเจนว่าเป็นการจ้องจับผิด มากกว่าวิจารณ์ตามเนื้อผ้า แม้ข้อวิจารณ์หลายส่วนเป็นจริง (รัฐบาลทำงานห่วยจริงๆ) แต่ก็ขยายปมจนเห็นเจตนา

    สงครามสื่อต้องดำเนินต่อไป เพราะความต้องการคงอิทธิพล “อำนาจพิเศษ” ของสื่อกระแสหลัก กลายเป็นอุปสรรคประชาธิปไตย พลังประชาธิปไตยจะเติบโตได้ต้องทำลายอิทธิพลของสื่อกระแสหลักลง ถ่วงดุล คานอำนาจ ด้วยการสร้างสื่อที่หลากหลาย ทั้งเว็บไซต์ วิทยุชุมชน ทีวีดาวเทียม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก เป็นตัวแทนความคิดของประชาชนที่แตกต่าง ดิสเครดิตสื่อกระแสหลักด้วยการเปิดโปงพฤติกรรมอย่างที่ไทยอีนิวส์ทำ

    การเปิดโปงสื่อกระแสหลัก ไม่ใช่เพียงพฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์ (ซึ่งใช้ได้กับนักข่าวร้อยล้าน แต่ใช้ไม่ได้กับคนดีๆ อย่างเถ้าแก่เปลวของผม) ประเด็นสำคัญอยู่ที่อคติและความไร้หลักการของสื่อ ทั้งในการเสนอข่าวจริงบ้างเท็จบ้าง ให้น้ำหนักข่าว พาดหัวข่าวอย่างไม่เที่ยงธรรม วิพากษ์วิจารณ์มักง่าย (เอาคำทำนายหมอดูมาใช้ก็มี) ตวัดลิ้นกลับไปกลับมา สองมาตรฐานหน้าไม่อาย วันก่อน เดือนก่อน ปีก่อน พูดอย่าง วันนี้พูดอีกอย่าง (ยกตัวอย่างถ้าใครไปขุดข้อเขียนชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ สมัยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจนถูกทหารตีหัว มาเทียบกับ “ท่านขุนน้อย” แล้วจะเซอร์ไพรส์ว่าคนเราเปลี่ยนไปได้ถึงเพียงนี้เชียวหรือ)

    ผมเชื่อมั่นว่าไทยอีนิวส์จะสานต่อภารกิจอย่างเข้มแข็งในปีที่ 6 แต่ขณะเดียวกัน ภารกิจของสื่อฝ่ายประชาธิปไตยภายหลังชัยชนะของพรรคเพื่อไทยก็มีความยากลำบาก และซับซ้อนขึ้น เพราะต้องทำหน้าที่ทั้งสองด้าน นั่นคือด้านหนึ่งต้องปกป้องรัฐบาลจากการโจมตีให้ร้ายของพวกสลิ่มและฝ่ายแค้น ที่มุ่งหวังฟื้นอำนาจนอกระบบ หวังโค่นล้มแทรกแซงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ขณะที่อีกด้านก็ต้องไม่ละเว้นการทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ให้สมกับที่ได้ชัยชนะมาจากชีวิตเลือดเนื้อของมวลชนเสื้อแดง

    ซึ่งก็เป็นการปกป้องประชาธิปไตยในอีกมุมหนึ่งเช่นกัน


    ใบตองแห้ง
    5 พ.ย.54

    ...............................................

    เรื่องเกี่ยวเนื่อง:


    -ผลสำรวจผู้อ่าน:ครบ5ปีไทยอีนิวส์ควรไปทางไหน?

    -ชูธงสัจธรรมโต้กระแสทวน ปรับขบวนก้าวรุดไป

    -จักรภพ เพ็ญแข:สื่อไทย ณ ทางแยก เนื่องในโอกาสครบรอบ ๔ ปีสำนักข่าวไทยอีนิวส์