WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 4, 2010

"สดศรี"โต้"ชวน"อ้างแดงกดดันกกต.ให้ยุบปชป.ซัดคนดีๆมีสมองไม่มีทางพูดแบบนี้ท้าเปิดหลักฐาน

ที่มา มติชน

เมื่อ เวลา 09.30 น. วันที่ 3 ธ.ค.ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่าตนให้สัมภาษณ์ว่าถูกเสื้อแดงกด ดันทำให้ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ตนยืนยันว่าไม่เคยพูดในลักษณะนั้น หากนายชวนมีเทปหรือมีหลักฐานก็ขอให้นำออกมาเผยแพร่ เพราะคนดีๆ ที่มีสมอง ไม่วิกลจริตไม่มีทางที่จะพูดแบบนั้นแน่นอน นอกจากนี้ เรื่องการยุบพรรคจะต้องเป็นความเห็นของนายทะเบียนเท่านั้น กกต. 4 คนไม่มีอำนาจไปยุบพรรคได้เพราะเป็นอำนาจของนายทะเบียน เรื่องนี้เป็นการกล่าวร้าย ในความเป็นจริงตนไม่เคยพูดแบบนั้น นายชวนเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ดังนั้น การที่จะพูดอะไรออกมาต้องมีหลักฐาน

"ถาม ว่า กกต.ตัวเล็กๆ จะเอาอะไรไปยุบพรรคการเมืองท่านได้ ถ้านายทะเบียนไม่ทำความเห็นมาให้ยุบ เรื่องนี้ควรจบได้แล้ว เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการตีความข้อกฎหมาย เราไม่ได้เป็นศัตรูกับพรรคการเมือง หากไม่มีการร้องเรียนเข้ามาเราก็ไม่ทำ แต่เมื่อมีการร้องเข้ามาเราก็ต้องทำตามหน้าที่"นางสดศรี กล่าว

ส่วน กรณีให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทำความเห็นส่งคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ จากข้อกล่าวหาเงิน 29 ล้านบาทซ้ำหรือไม่นั้น นางสดศรี กล่าวว่า การจะฟ้องซ้ำได้ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองเท่านั้น ส่วนตัวไม่มีความเห็นใดๆ เพราะขึ้นอยู่กับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าจะฟ้องหรือไม่ ขอให้ไปถามนายอภิชาตเอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การให้สัมภาษณ์ของนางสดศรีครั้งนี้นางสดศรีได้เดินตรงมายังห้องสื่อมวลชน ก่อนที่จะร่วมพิธีถวายสัตย์ได้ร่วมปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีและร้องเพลง สดุดีมหาราชา เนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อชี้แจงข่าวที่นายชวนให้สัมภาษณ์พาดพิงนางสดศรี

กรณี WikiLeaks

ที่มา มติชน



โดย นายเอริค จี. จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 3 ธันวาคม 2553)



ประธานาธิบดี บารัค โอบามา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ฮิลลารี รอดดัม คลินตัน ถือว่าภารกิจเร่งด่วนประการหนึ่งของสหรัฐ คือการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งประธานาธิบดีโอบามาและรัฐมนตรีคลินตันได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อกระชับ ความร่วมมือที่ดำเนินอยู่ระหว่างสหรัฐกับประเทศต่างๆ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และริเริ่มความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อรับมือกับอุปสรรคท้าทายที่เรามีร่วมกัน ตั้งแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปจนถึงการหยุดยั้งภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ การต่อสู้กับโรคร้าย และความยากจน ในฐานะเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ผมภูมิใจที่มีส่วนร่วมในความพยายาม ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้แต่ความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งก็ต้องมีช่วงที่เกิดอุปสรรคบ้างอย่างแน่นอน เราได้ประจักษ์ในเรื่องนี้เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา เมื่อเอกสารข้อมูลที่อ้างว่าดาวน์โหลด มาจากคอมพิวเตอร์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้กลายเป็นข่าวในสื่อต่างๆ ดูเหมือนว่าในเอกสารเหล่านี้จะมีการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่การทูตของเราที่ มีต่อนโยบาย การเจรจาและผู้นำของประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งรายงานเกี่ยวกับการเจรจาส่วนตัวระหว่างเจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐกับ บุคคลในรัฐบาลและนอกรัฐบาลของประเทศต่างๆ

ผมไม่สามารถ รับประกันได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารจริงหรือไม่ แต่ผมบอกได้ว่าสหรัฐมีความเสียใจอย่างมากถ้ามีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่ถือว่าเป็นข้อมูลลับ และเราขอประณามการกระทำดังกล่าว

นักการ ทูตต้องเจรจาอย่างตรงไปตรงมากับนักการทูตด้วยกัน และต้องรับรองว่าการเจรจาเหล่านั้นจะเป็นความลับ การเจรจาอย่างตรงไปตรงมากับเจ้าหน้าที่ทั้งในรัฐบาลและนอกวงรัฐบาล เป็นส่วนหนึ่งของการทำความตกลงพื้นฐานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราไม่สามารถรักษาความสงบสุข ความมั่นคง และเสถียรภาพระหว่างประเทศได้โดยปราศจากการเจรจา ผมแน่ใจว่าเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐจะมีความเห็นเช่นเดียวกับผม เอกอัครราชทูตไทยเองก็ต้องการที่จะสามารถแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างตรงไปตรงมา กับเจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐที่วอชิงตันเหมือนกัน เพื่อที่จะสามารถรายงานกลับไปยังไทยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ของท่านที่มีต่อ ผู้นำนโยบายและมาตรการของสหรัฐ

ผมเชื่อว่าผู้ที่มีวิจารณญาณที่ดี ล้วนตระหนักว่ารายงานภายในของเจ้าหน้าที่การทูตไม่ได้เป็นสิ่งที่แสดงถึง นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในสหรัฐ รายงานเหล่านี้เป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในหลายๆ อย่างที่ใช้กำหนดนโยบายของเรา ซึ่งจะมีประธานาธิบดีและรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้าย และนโยบายเหล่านี้ก็ถือเป็นเอกสารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสุนทรพจน์หลายพันหน้า แถลงการณ์ เอกสารปกขาว และเอกสารอื่นๆ ที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐเปิดเผยต่อสาธารณชนทางอินเตอร์เน็ตและช่องทาง อื่นๆ

แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลนั้นไม่ใช่ประเด็นเดียวที่เป็น ข้อห่วงใยของเรา เจ้าหน้าที่การทูตสหรัฐยังพบปะกับนักสิทธิมนุษยชน นักหนังสือพิมพ์ ผู้นำทางศาสนา และบุคคลอื่นๆ นอกคณะรัฐบาล ซึ่งให้ข้อมูลและความเห็นของตนอย่างเปิดเผย การพบปะสนทนาเหล่านี้ต้องการความไว้วางใจและความเชื่อมั่น

ถ้า นักต่อต้านการทุจริตให้ข้อมูลแก่เราเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบทางราชการ หรือนักสังคมสงเคราะห์นำเอกสารเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงทางเพศมามอบให้กับ เรา การที่เราเปิดเผยตัวตนของบุคคลเหล่านี้อาจส่งผลร้ายแรง เช่น ทำให้คนเหล่านี้ถูกจำคุก ถูกทรมาน หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้

เจ้าของเว็บไซต์ WikiLeaks อ้างว่าได้ครอบครองเอกสารลับประมาณ 250,000 ฉบับ ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายฉบับที่นำออกเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนแล้ว ไม่ว่าพวกเขาจะมีเหตุจูงใจอะไรในการทำเช่นนั้นก็ตาม แต่สิ่งที่แน่ชัดก็คือการเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นทำให้คนบางคนอาจตกอยู่ใน อันตราย และมีบ่อยครั้งที่คนเหล่านี้เป็นคนที่อุทิศชีวิตเพื่อปกป้องชีวิตผู้อื่น การกระทำที่มีเจตนาเพื่อกระตุ้นเตือนผู้มีอำนาจอาจเป็นการทำให้ผู้ไร้อำนาจ ตกอยู่ในอันตราย

เราสนับสนุนและเต็มใจที่จะหารือในประเด็น เร่งด่วนเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ แต่การเปิดเผยเอกสารโดยขาดความใคร่ครวญและไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาไม่ใช่ วิธีการที่ถูกต้องในการเริ่มการหารือ

ในส่วนของรัฐบาลสหรัฐ เรายังมุ่งมั่นที่จะรักษาการเจรจาทางการทูตของเราไว้เป็นความลับ และกำลังดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าการเจรจาของเราจะคงเป็นความลับ เราจะใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อให้มั่นใจว่าการละเมิดแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก เราจะพยายามกระชับความร่วมมือกับไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสร้างความก้าวหน้าในประเด็นที่มีความสำคัญสำหรับประเทศของเราทั้งสอง เป้าหมายของเราจะไม่น้อยไปกว่านี้

ผมกำลังติดต่ออย่างใกล้ ชิดกับรัฐบาลไทย เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมุ่งเน้นในประเด็นและภารกิจที่เร่งด่วนต่อไป ประธานาธิบดีโอบามา รัฐมนตรีคลินตัน และผมจะยังคงเป็นหุ้นส่วนที่ไทยสามารถไว้วางใจในขณะที่เรามุ่งสร้างโลกที่ น่าอยู่และเจริญรุ่งเรืองสำหรับประชาชนทุกคน

มึน

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน

มันฯ มือเสือ




ชักจะยังไงๆ เสียแล้ว กรณีศาลรัฐธรรมนูญ 4 ต่อ 2 วินิจฉัยยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีเงิน 29 ล้าน

ตอนแรกนึกว่าเป็นเรื่องของการขาดอายุความ 15 วัน

จนเกิดการโต้เถียงกันสนั่นหวั่นไหวในแวดวงนักกฎหมายว่าคดีขาดอายุความจริงหรือไม่

ถ้าขาดจริงแล้วทำไมศาล ถึงไม่ชี้ตั้งแต่แรก

นั่นก็เรื่องหนึ่งที่ยังไม่เคลียร์

อีกเรื่องคือในกกต. 5 คนมีใครรู้เห็นรู้ข้อบกพร่องตรงนี้มาก่อนหรือไม่

แต่ด้วยความที่ส่วนใหญ่เป็นศาลกันมาก่อน เรื่องไม่รู้ ไม่น่าใช่

เป็นไปได้คือกกต.เห็นไม่ตรงกับศาล ในเรื่องเงื่อนเวลา 15 วันจริงๆ

ในคำวินิจฉัยศาล นับวันที่ 17 ธ.ค. 52 เป็นจุดเริ่ม

ถึง วันที่ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ยื่นคำร้องต่อศาล 26 เม.ย. 53 ถือว่าเกิน 15 วัน ทำให้คดีขาดอายุความ

ขณะ ที่ฝ่ายกกต. นางสดศรี สัตยธรรม ยืนยันว่าที่ถูก จะต้องนับวันที่ 12 เม.ย. 53 เป็นจุดเริ่ม เพราะเป็นวันที่นายทะเบียนฯ มีความเห็นให้ยื่นคำร้อง

ไม่ใช่ 17 ธ.ค. 52 เพราะวันนั้นนายอภิชาต ยังไม่มีความเห็น

เพียงแต่สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติมให้เสร็จใน 3 เดือนเท่านั้น

ดังนั้น การโทษว่า กกต.ไม่รู้เงื่อนไขเวลายื่นคำร้องจนเป็นเหตุให้ศาล สั่งยกคดีนั้น จึงไม่ถูกต้อง

ที่น่าสังเกตคือหลังข้อโต้แย้งของนางสดศรี

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการฯ ไม่ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้อโต้แย้งดังกล่าว

เพียงอ้างว่าเหตุผลการยกคำร้อง ไม่ได้มาจากเงื่อน ไขเวลา 15 วันอย่างเดียว ยังมีเหตุผลอื่นด้วย

คือในจำนวนตุลาการฯ 4 เสียงข้างมากที่เห็นควรให้ยกคำร้อง

มี 3 เสียงเห็นว่านายทะเบียนฯ ยังไม่มีความเห็นว่ามีการกระทำผิดและควรให้ยุบพรรค

มีเสียงเดียวเท่านั้นที่เห็นว่าคดีขาดอายุความ 15 วัน

ตามความเห็นชาวบ้านธรรมดาที่ไม่ใช่นักกฎหมาย

ฟังนายจรัญ แล้วรู้สึกเหมือนคดีนี้ยังมีโอกาสที่นายทะเบียนฯ จะยื่นคำร้องใหม่ได้---รึเปล่า

แต่สำหรับผู้รู้ด้านกฎหมายบอกว่าถึงเป็นไปได้ แต่ก็ยาก ถึงยากมาก

ต่างจากฝ่ายการเมืองที่ฟันธงฉับทันที แนวทางดังกล่าวไม่มีทางเป็นไปได้

ส่วนเพราะอะไร ทำไมเป็นไปไม่ได้

ก็ต้องไปถาม...มือที่มองไม่เห็น

เผลอๆ คดี 258 ล้านจะเดินซ้ำรอยอีกต่างหาก

กกต.กับศาลรัฐธรรมนูญ

ที่มา ไทยรัฐ

เนื่อง ในวโรกาส เฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา วันนี้สิบโมงเช้า ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย จะไปเปิดการฉายภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติจาก 7 ผู้กำกับชั้นนำของเมืองไทยรอบปฐมฤกษ์ที่โรงละครเล็กโรงแรมภูแมนรางน้ำ หนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติอันยิ่งใหญ่

ความสุขของคนไทยออยู่ที่ ไหน กับสิ่งที่กำลังโหยหาคือ ความสงบสุขของบ้านเมือง การจะยุติวิกฤติการเมือง โดยใช้ อำนาจ แม้จะเป็นคำตัดสินหรือชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า บ้านเมืองจะสงบ จะได้รับความเชื่อถือหรือยอมรับนับถือจากสังคมเสมอไป

เพราะ ปัจจัยจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ คงเป็นคำตอบได้ดีที่สุด อาจจะเป็นความยินดีของพรรคประชาธิปัตย์ ที่รอดพ้นจากการถูกยุบพรรค แต่ลึกๆก็ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าพฤติกรรมหรือการกระทำนั้นๆของพรรคประชาธิปัตย์ บริสุทธิ์จริง

แต่กลับเกิดข้อกังขาว่า พรรคประชาธิปัตย์ พยายามที่จะปกปิดอะไรไว้ นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเมือง นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจนับตั้งแต่วิธีการเข้ามาเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิ ปัตย์ และจนกระทั่งการเอาตัวรอดของพรรคประชาธิปัตย์

ไม่ได้เป็นไปตามครรลองคลองธรรม

คำ ตอบของความเป็น ประชาธิปไตย วันนี้ไม่ใช่อยู่ที่การกำหนดการชุมนุมของคนเสื้อแดง หรือการนำคดีเงินบริจาค 258 ล้านเข้าสู่การพิจารณา หรือไม่ใช่อยู่ที่การนัดชุมนุมของพันธมิตรฯต่อกรณีความไม่พอใจกับนโยบายต่าง ประเทศข้อพิพาทเขาพระวิหารของรัฐบาล

แต่อยู่ที่จะปลดแอกจากโซ่ตรวนแห่งพันธนาการได้อย่างไร

กรณีการ ยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ที่โฟกัสไปยัง กกต.และศาลรัฐธรรมนูญ วันหนึ่งสังคมก็จะลืม เช่นเดียวกับวิกฤติที่เกิดขึ้นกับ กกต.และศาลรัฐธรรมนูญมาหลายต่อหลายครั้ง บางวิบากกรรมทำให้บุคลากรในองค์กรเหล่านี้ต้องตกเป็นจำเลยด้วยซ้ำ

แต่ที่จะสะสมในสังคมต่อไปก็คือวิกฤติศรัทธา

เมื่อ พ้นจากหัวโขนแล้ว ทุกคนก็คือมนุษย์เท่ากัน มีความ รู้สึก มีชีวิตจิตใจ ถูกนินทา ถูกวิจารณ์ได้เป็นธรรมดา ยิ่งเป็นคนของสาธารณะก็ยิ่งจะถูกจับตาและเป็นที่วิจารณ์มากเท่านั้น

จึง ยังไม่มีคำตอบสำหรับวิกฤติบ้านเมืองที่ดำมืดและอึมครึมต่อไป แม้จะมีการเลือกตั้ง ก็จะนำไปสู่คำถามว่า แล้วพรรคที่ได้เสียงข้างมากจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่

แล้ว ก็จะมีคำถามตามมาว่า การเมืองในระบอบประชาธิปไตย บริสุทธิ์โปร่งใสตรวจสอบได้หรือไม่ แล้วจะไม่มีการยุบพรรค ไม่มี ส.ส.งูเห่า อีกหรือไม่ แล้วสุดท้ายจะไม่มีการยึดอำนาจอีกจริงหรือ

สถานภาพการเมืองไทยก็มีแค่นี้เอง.


หมัดเหล็ก

การ์ตูน เซีย 04/12/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_131424

การ์ตูน เซีย 04/12/53

คำเตือน !! ควรบริโภคก่อนวันหมดอายุ

ที่มา โลกวันนี้

http://www.dailyworldtoday.com/imgfull/2163_20101203toon1.jpg

เรื่องจากปก
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
ปีที่ 6 ฉบับที่ 288 ประจำวัน ศุกร์ ที่ 3 ธันวาคม 2010
โดย ทีมข่าวรายวัน

“แม้ ว่าต่อมาวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะมีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งที่ 43/2553 เห็นชอบให้ผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 93 กระบวนการดังกล่าวข้างต้นเป็นการตรวจสอบภายในองค์กร และเป็นเพียงการยืนยันการปรับบทบังคับใช้กฎ หมายให้ชัดเจนภายในองค์กรที่ยังคงต้องอยู่ภายในบังคับตามระยะเวลาที่ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 93 วรรค 2 กำหนดว่าต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 อันเป็นวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากในการพิจารณารายงาน ของคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนชุดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติแต่งตั้งนาย อิสระ หลิมศิริวงศ์ เป็นประธานในครั้งแรก และถือว่าเป็นวันที่ความปรากฏต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองด้วย

เมื่อ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในวันที่ 26 เมษายน 2553 จึงพ้นระยะเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคของผู้ถูกร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องในประเด็นอื่นอีกต่อไป ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยโดยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีนี้จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในกรณีอื่นอีกต่อไป ให้ยกคำร้อง”

ทันที ที่มีคำวินิจฉัยของตุลาการศาลธรรมนูญก็เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากมาย ในแง่มุมต่างๆ เพราะคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีใช้เงินกองทุน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ถือเป็นคดีที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะอาจทำให้กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ 2 ชุดต้องถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี รวมทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ข้อกฎหมายกับข้อเท็จจริง

แม้ตามหลักกฎหมาย สากลการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ผิดที่ พิจารณากระบวนการอันได้มาซึ่งข้อเท็จจริง การสอบสวนและการยื่นคำร้องว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อวินิจฉัยแล้วเห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและยกคำร้องจึงไม่มีการวินิจฉัยใน แง่ของข้อเท็จจริง

แต่นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ยืนยันว่าไม่ได้ละเลยเรื่องกำหนดเวลาแต่อย่างใด แต่มีการตีความเรื่องหมดอายุความ โดยเห็นว่านายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ที่ออกความเห็นในการประชุมครั้งแรกให้ยกคำร้องในคดีดังกล่าวนั้น ที่ประชุมได้สอบถามว่าเป็นความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งนายอภิชาตยืนยันว่าเป็นการออกความเห็นในฐานะประธาน กกต. จึงให้ตั้งคณะกรรมการสอบเพิ่มในกรณีนี้ และใช้เวลาในการสอบ 3 เดือน จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2553 จึงสอบเสร็จและเสนอกลับมาว่าสมควรฟ้องร้องให้มีการยุบพรรค ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงเสนอให้มีการลงมติร่วม กันของ กกต.

การนับอายุความจึงไม่ใช่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 อย่างที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้ง กกต. ยึดบรรทัดฐานจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อนหน้านี้คำวินิจฉัยที่ 18-19 และ 22/2550 เรื่องยุบพรรคธัมมาธิปไตย พลังธรรม และพรรคธรรมชาติ เรื่องการใช้เงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมืองผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งศาลวินิจฉัยประเด็น 15 วันตามมาตรา 65 วรรค 2 พ.ร.บ.พรรคการเมือง 2541 ที่ว่าคำว่า “ความปรากฏต่อนายทะเบียน” หมายถึงอะไ

เช่นเดียวกับนาย ธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ยืนยันว่า กกต. ยึดหลักข้อกฎหมายและคำวินิจฉัยที่ผ่านมา 3 ครั้งของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเห็นว่าความผิดปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองคือ วันที่ 12 เมษายน 2553 นายทะเบียนจึงมีความเห็นและลงมติให้ยื่นคำร้องต่อศาล

“เรื่อง เงื่อนไข 15 วันเรารู้มาโดยตลอด ไม่ใช่ไม่รู้ อีกทั้งยังได้ยึดหลักคำวินิจฉัยของศาลเป็นแนวทางมาโดยตลอด และคดีนี้ถือว่ายังไม่ขาดอายุความถ้าตามแนวปฏิบัติเดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยไว้ อีกทั้งเรื่องนี้มีเพียงตุลาการท่านเดียวที่เห็นว่าคดีหมดอายุความเกินเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนตุลาการอีก 3 คนเห็นในประเด็นอื่นที่เราถือว่ายอมรับได้ ยืนยันว่าทำอย่างถูกต้อง รอบคอบ และเต็มที่ ไม่รู้สึกถอดใจหรือหมดกำลังใจ”

อ่านคำวินิจฉัยส่วนตัว

ด้าน นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลับไม่ต้องการโต้แย้งกับ กกต. เรื่องอายุความ เพราะถือว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ทำคำวินิจฉัยไปแล้ว และจะเป็นการตอบโต้กันไม่รู้จักจบ แต่จะเปิดโอกาสให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ได้ ในฐานะเป็นคนตัดสินคดีจำเป็นต้องรับฟังและนำไปวิเคราะห์วิจัยกันต่อไป ไม่ใช่ออกมาโต้เถียงกันทุกเรื่อง แต่หากข้อมูลคลาดเคลื่อนก็จำเป็นจะต้องออกมาชี้แจง

นายจรัญระบุว่า หากสังคมต้องการฟังความคิดเห็นขององค์คณะอยากแนะนำให้ไปอ่านในคำวินิจฉัย ส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพราะข้อมูลที่ออกมาคลาดเคลื่อนมาก คณะตุลาการทั้ง 6 คนทำการบ้านมาทุกประเด็น ไม่มีใครรู้ธงคำตอบของตุลาการแต่ละคนมาก่อนล่วงหน้า เมื่อลงมติทีละประเด็น และเมื่อประเด็นข้อกฎหมายไม่ผ่าน การลงมติในข้ออื่นๆจึงไม่ทำ

กองทัพหนุน

อย่าง ไรก็ตาม นักวิชาการและนักกฎหมายตั้งข้อสงสัยเรื่องอายุความคล้ายกันว่า หากคำร้องตกไปเพราะยื่นเกินกำหนด 15 วัน ทำไมศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ชี้ขาดเรื่องนี้ตั้งแต่แรก ทำไมปล่อยให้มีการต่อสู้คดีและนำสืบนานนับปี

ขณะที่สำนักข่าวบีบีซี วิเคราะห์ทำนองเดียวกันว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการยื่นคำร้องไม่ถูกต้องแล้วทำไมต้องมีการไต่สวน คดีนานหลายเดือน ประเด็นนี้จึงอาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลโกรธแค้นได้

ด้าน สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คำตัดสินดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายเคลือบแคลงใจ โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลที่เชื่อว่ามี 2 มาตรฐาน แต่มีบางฝ่ายเชื่อว่าคนในกองทัพที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ยอมให้มี การยุบพรรคแน่นอน

ส่วนสำนักข่าวเอพีเห็นว่า แม้พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะรอดพ้นจากวิบากกรรมครั้งนี้ แต่จะนำไปสู่แรงกดดันต่อศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้น โดยเฉพาะคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท เช่นเดียวกับสำนักข่าวรอยเตอร์วิเคราะห์ว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีกองทัพสนับสนุน แม้จะมีปัญหาด้านเสถียรภาพก็ตาม

2 มาตรฐาน

นาย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แม้จะยังสงสัยเรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องเรื่องนี้เกินเวลา 15 วัน แต่ยังขาดคำอธิบายว่าทำไมถึงนับแบบนี้ และมีผลให้คำร้องตกไปยิ่งต้องอธิบาย อย่างไรก็ตาม เห็นว่าข้อบกพร่องในกระบวนการไม่น่าจะส่งผลให้เรื่องเป็นโมฆะหรือตกไปทุก เรื่อง

เช่นเดียวกับนายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า กรณีคดีมหาชน คดีปกครอง คดีศาลรัฐธรรมนูญ และคดีการเมือง หากเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนไม่ควรเคร่งครัดหรือนำมาบังคับใช้เรื่องอายุความ เหมือนกรณีศาลปกครองรับคดีที่ชาวบ้านฟ้องจำนวนมาก ซึ่งพ้นอายุความแล้ว แต่เพื่อประโยชน์ของสังคมและสาธารณชนศาลก็รับฟ้อง

นายเจษฎ์ โทณะวณิก อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงเรื่อง 15 วันไม่ชัดเจนก็เหมือนกับการเลี่ยงเนื้อหา และทำให้เกิดคำถามตามมาว่าทำไมกรณีนี้ไม่ผิด ทำไมกรณีนี้เลินเล่อได้ แล้วทำไมตอนพิจารณาคดี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่เป็นแบบนี้ ทำให้มีการนำไปเทียบกับพรรคอื่นๆก่อนหน้านี้ที่ถูกตัดสินยุบพรรค ซึ่งล้วนพิจารณาโดยเนื้อหาทั้งหมด

นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์ กลับรู้สึกกลัวนักกฎหมาย เพราะสามารถหาทางออกได้แทบทุกประเด็น ขนาดยังไม่ได้พิจารณาเลยว่าถูกหรือผิด แต่กลับหาช่องทางและวินิจฉัยได้เก่ง จึงต้องดูว่าต่อไปสังคมจะมองอย่างไร

คำวินิจฉัยโมฆะ

แต่ที่ น่าสนใจคือความเห็นของนายจุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เหลือเพียง 6 คนนั้นตัดสินคดีนี้ไม่ได้ เพราะการตัดสินต้องมีเสียงชี้ขาด เนื่องจากรัฐธรรมนูญกำหนดให้องค์คณะมี 15 คน หรือ 9 คน เพื่อให้องค์คณะตัดสินเป็นเอกฉันท์ หาเสียงข้างมากได้

“รู้ได้อย่างไร ยังไม่ฟังคำแถลงการณ์ ยังไม่พิจารณาคดี คุณหาเสียงข้างมากได้อย่างไร ขอย้ำว่าองค์คณะตุลาการต้องมีเสียงชี้ขาดเด็ดขาด”

นายจุมพลฟันธงว่า ถ้าพิจารณาในแง่กฎหมายจริงๆ การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องถือเป็นโมฆะ ใช้ไม่ได้

เพื่อไทยยื่นถอดถอน

การ วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงไม่เพียงสร้างความเคลือบแคลง สงสัยให้แก่ประชาชนทั่วไป ยังอาจทำให้เห็นว่าสังคมไทยทำอะไรผิดแต่ไม่ถูกลงโทษ หากสามารถนำเทคนิคทางกฎหมายมาใช้ ถ้าเป็นความผิดทั่วไปไม่อาจปฏิเสธว่ามีเรื่องอำนาจและการวิ่งเต้นที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายมากมาย แต่ไม่ควรเกิดกับคดีที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของบ้านเมือง คดีปกครอง หรือคดีการเมือง

ด้านนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เห็นว่าการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ถือว่าทำผิดอย่างมาก เพราะต้องชี้ประเด็นสาระของเนื้อหาว่าผิดหรือไม่ผิดแล้วค่อยยกฟ้องเนื่องจาก คดีหมดอายุความ เพื่อทำให้ประชาชนไม่มีข้อกังขา ยิ่งมีคลิปวิดีโอแพร่ออกมายิ่งทำให้มีคนเชื่อว่าศาลยืนข้างพรรคประชาธิปัตย์ แต่มีอคติกับพรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้นไปอีก

ขณะที่พรรคเพื่อไทยเตรียมหารือ กันจะฟ้องร้องเพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญทั้ง 6 คน เช่นเดียวกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตยประกาศจะเข้าแจ้งความกับกองปราบปรามให้ดำเนินคดีกับ กกต. ตามมาตรา 157 ฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเตรียมรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 รายชื่อเพื่อยื่นถอดถอน กกต. และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เห็นว่า คำวินิจฉัยทำให้กระทบกระเทือนต่อระบบมากกว่าคำตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์ เสียอีก และยังเป็นการทิ้งปมปัญหาให้กับ กกต. เรื่องความน่าเชื่อถืออีกด้วย จึงคิดว่าจากนี้ไปผู้คนจำนวนไม่น้อยอาจจะไม่หวังพึ่งระบบของประเทศอีก และอาจเกิดวิกฤตทางการเมืองอย่างรุนแรง เกิดความขัดแย้งวุ่นวายมากขึ้น

ขณะ เดียวกันสังคมต้องออกมาเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งคณะลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบ เนื่องจากไม่มีความชอบธรรมในการพิจารณาคดี 258 ล้านบาท หรือคดีอื่นๆอีกแม้แต่น้อย ศาลรัฐธรรมนูญมีผลต่อการล้มรัฐบาล ปลดนายกรัฐมนตรีโดยการเปิดพจนานุกรมยุบพรรคการเมือง ทั้งยังมีกรณีคลิปฉาวที่คนในสังคมยังเคลือบแคลงสงสัยอีก

“ขอย้ำว่า หากในระยะยาวจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรแก้เรื่องที่มาของ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ถูกต้องกว่านี้ และสามารถตรวจสอบได้มากกว่าปัจจุบัน วันนี้คงไม่มีใครคิดใช้ความรุนแรงต่อศาล หรือทำร้ายศาล ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ต้องเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และโต้แย้งทางความคิด”

ยุคมืดองค์กรอิสระ

กรณี ศาลรัฐธรรมนูญและ กกต. จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีผลกระทบต่อองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ เพราะองค์กรอิสระถือเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรรัฐอื่น หรือสถาบันการเมืองอื่น รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลา หนึ่ง

องค์กรอิสระจึงเป็นองค์กรตรวจสอบสำคัญในระบอบประชาธิปไตย ผู้เข้ามาสู่อำนาจจึงต้องไม่ฝักใฝ่ทางการเมืองฝ่ายใด ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียงเพราะรัก โลภ โกรธ หลง กลัว ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรมและชอบธรรม

ปรากฏว่านับตั้งแต่มี การตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญปี 2540 องค์กรอิสระหลายองค์กรถูกวิพากษ์ วิจารณ์ว่าถูกแทรกแซงโดยผู้มีอำนาจทางการเมืองและผู้มีอำนาจรัฐ โดยเฉพาะองค์กรอิสระที่มีอำนาจ เช่น กกต. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งยังมีปัญหาการทุจริตต่อหน้าที่จนศาลตัดสินลงโทษ เช่น ป.ป.ช. และ กกต. บางชุด

การแทรกแซงองค์กรอิสระจึงมีตั้งแต่กระบวนการสรรหาผู้จะเข้า สู่อำนาจ ซึ่งพรรคการเมืองและกลุ่มอำนาจต่างๆจะส่งคนของตนเข้ามา หลังจากนั้นจะมีการล็อบบี้กรรมการสรรหาจนถึงขั้นตอนของวุฒิสภา เมื่อได้เป็นกรรมการหรือตุลาการในองค์กรอิสระแล้วก็ใช้อำนาจเงินและอำนาจรัฐ ให้วินิจฉัยตามที่ต้องการโดยการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่างๆ

ในสมัย รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร องค์กรอิสระถูกกล่าวหาว่ารัฐบาลใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและไม่มีความยุติธรรม จนกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นหนึ่งในข้ออ้างการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

แต่องค์กร อิสระหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ถูกมองว่าเป็นร่างทรงของเผด็จการหรือสืบทอดอำนาจเผด็จการ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างเลวร้ายกว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 เพราะมีการตั้งพวกพ้องเข้ามาคุม นอกจากนี้ยังใช้อำนาจคณะรัฐประหารกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งยาวนานกว่าปรกติ โดยอาศัยบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 299 เช่น กกต. ให้ดำรงตำแหน่งไปอีก 5 ปี ป.ป.ช. ให้ดำรงตำแหน่งเกือบ 6 ปี

เปลี่ยนขาวเป็นดำได้

“ถ้า คนรู้กฎหมายจริงจะรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าต้องไปช่วยคนอื่นแล้วไม่ถูก ซึ่งทำได้ กฎหมายสามารถทำให้ขาวเป็นดำ ดำเป็นขาวได้ ถ้าคนไม่มีคุณธรรม อันนี้ต้องระวัง”

คำพูดของนายอักขราทร จุฬารัตน อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นเป็นอันตรายอย่างไร หากศาลหรือตุลาการไม่สุจริตเที่ยงธรรม หรือถูกนำไปเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายการเมืองและกลุ่มอำนาจต่างๆใช้ทำลาย ล้างฝ่ายตรงข้ามได้

อย่างคำว่า “ตุลาการภิวัฒน์” ที่ทำให้ศาลถูกดึงเข้ามาแก้ปัญหาการเมืองเพื่อทำให้สังคมเกิดความยุติธรรม และเสมอภาคกันอย่างแท้จริง แต่ที่ผ่านมากลับมีการนำกระบวนการยุติธรรมไปบิดเบือนเพื่อเป็นเครื่องมือของ ผู้มีอำนาจทางการเมือง จนเกิดวิกฤตศรัทธากับฝ่ายตุลาการอย่างร้ายแรง จน “ตุลาการภิวัฒน์” กลายเป็น “ตุลาการพิบัติ”

เหมือนกรณีศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำลังถูกท้าทายทั้งเรื่องของ “คลิปฉาว” และการวินิจฉัยคดีต่างๆ โดยเฉพาะคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถูกถามถึงจริยธรรม และคุณธรรม เพราะประชาชนชักไม่แน่ใจว่าอะไรขาว อะไรดำ อะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไรชั่ว คำว่า “คนดี” ดีจริงหรือไม่ อย่างไร? หรือเป็น “คนดี” สำหรับใคร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการไหนๆ ใครจะกล้ารับประกันว่าเป็น “คนดี” กว่าปุถุชนจริงหรือไม่?

แม้แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เองยังไม่มีคำตอบ มีแต่เหตุผลทางข้อกฎหมายที่คลุมเครือว่ายึดอะไรเป็นบรรทัดฐาน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันแต่กลับ วินิจฉัยอีกแบบหนึ่ง จนมีคำถามว่าเป็นการใช้เทคนิคทางกฎหมาย หรือใช้การวินิจฉัยอย่างสุจริตเที่ยงธรรมตามหลักกฎหมาย

เพราะ หากกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถตัดสินชี้ขาดได้ว่าใครเป็นคนดี ใครเป็นคนชั่ว ใครทำผิด ใครทำถูก ก็เท่ากับเป็นยุคมืดของบ้านเมือง เหมือนรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า อำนาจประชาธิปไตยเป็นของประชาชน แต่กลับถูกกลุ่มเผด็จการและนักการเมืองฉ้อฉลแย่งอำนาจไป แล้วอ้างอำนาจเผด็จการเป็นอำนาจที่ชอบธรรม ซึ่งเหมือนเป็นการดูถูกและตบหน้าประชาชน

แต่วันนี้ประชาชนไม่ได้กิน หญ้า จึงเริ่ม “ตาสว่าง” และรู้ดีว่าอะไรขาว อะไรดำ อะไรถูก อะไรผิด ใครเป็นคนดี ใครเป็นคนชั่ว ใครเป็นผู้บริสุทธิ์ ใครเป็นฆาตกร

ความจริงที่หนีไม่พ้นก็คือ ไม่มีผู้มีอำนาจใดหรือรัฐบาลใดอยู่ได้หากประชาชนไม่ต้องการ!

ไม่ใช่มีแต่ “คดี” เท่านั้นที่มีวันหมดอายุ!

“สรรพสิ่ง” ล้วนมีวันหมดอายุ...“คน” ก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่ายากดีมีจนหรือชนชั้นใด...ล้วนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

..เพียงแต่มิได้ระบุ “วันหมดอายุ” ล่วงหน้าไว้ข้างกล่อง (ใส่ศพ) เท่านั้น!!

อริสมันต์ดักควาย:กองกำลังติดอาวุธNATO

ที่มา Thai E-News


คำ ว่า"ติดอาวุธ" จริงๆ แล้วเป็นการ ติดอาวุธทางปัญญา ให้กับประชาชนซึ่งเราได้ทำกันอย่างต่อเนื่อง พวกคุณคิดกันไปถึงไหน อย่าเข้าใจไปในทางนั้น ผมต่อสู้ตามกฎหมาย และไม่เคยก้าวล่วงเกินสูงกว่าพวกอำมาตย์ตามที่เราได้ตกลงกันในหมู่เพื่อน น ป ช. และประชาชนทุกคน


โดย อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
3 ธันวาคม 2553

หมายเหตุไทยอีนิวส์:อริ สมันต์ พงศ์เรืองรอง ได้เขียนจดหมายขึ้นอีกฉบับ เพื่อชี้แจงการเขียนจดหมายฉบับก่อนหน้านี้ ซึ่งสื่อนำไปขยายผลว่าเขาเป็นผู้นิยมความรุนแรง จะจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ และขอให้เสื้อแดงลุกขึ้นสู้ด้วยการติดอาวุธ และจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูง โดยเขาได้อธิบายอย่างละเอียดว่า เป็นการป้ายสีในสิ่งที่เขาไม่ได้เป็น


เรียน พี่น้องประชาชนที่เคารพยิ่ง


ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ด้วยความเจ็บปวด ที่ สื่อบางสื่อได้นำขอความในจดหมายของผม(อ่าน อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง:สู้ทุกวิถีทาง) ไปแก้ไขข้อความในทำนองเกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน

ซึ่ง เป็นความพยายามที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในตัวผม ผมรู้ขอบเขตของตัวผมดีว่าทำได้แค่ไหน ผมขอชี้แจงให้พี่น้องได้เข้าใจ กรณีใน ยูทูบ ที่ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผมมันก็เป็นข้อมูลผิดเกือบทั้งหมด

คำปราศรัยของผมที่ดีๆ ก็เอาไปดัดแปลง กลายเป็นคำพูดที่ด่าพี่น้องเสื้อแดง มันก็ทำได้

ไม่ เป็นไรวันนี้ไม่ใช่วันของประชาธิปไตย ผมจะรอวันนั้นที่มีความยุติธรรม มีประชาธิปไตยบนแผ่นดินที่ผมเกิด คนที่อยากทำลายผม ผมคงไม่มีปัญญาไปห้ามได้ การบิดเบือนมันทำกันอย่างเป็นระบบ ขาวเป็นดำ ดำเป็นขาว ผิดเป็นถูก ถูกเป็นผิด อย่างที่เราได้สัมผัสอย่างชัดแจ้งเห็นจริงบนผืนแผ่นดินนี้

ระหว่างเทคนิคทางกฎหมายกับข้อเท็จจริงทางกฎหมายอะไรสำคัญกว่ากัน ?

๑. เทคนิคทางกฎหมายเรื่องของระเบียบการฟ้อง ระยะเวลาการฟ้อง ค่าธรรมเนียมการฟ้อง รายละเอียดเล็กน้อยด้านเอกสารการฟ้อง


๒. ข้อเท็จจริงทางกฎหมาย เกี่ยว กับการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดที่มีเจตนาครบองค์ประกอบแห่งความผิด ที่เล็งผลของการกระทำ พร้อมด้วยหลักฐานที่เป็นเอกสาร พยานเอกสารพยานบุคคล วัตถุพยาน และพยานแวดล้อม

เรื่องเทคนิคทางกฎหมายสามารถแก้ไขเพิ่ม เติมได้ เพราะถือว่าไม่ใช่เรื่องสาระสำคัญมากนัก ถ้าเปรียบเทียบกับคดีของบุคคลทั่วไปที่มีอายุความสิบปียี่สิบปีอย่างที่เรา ท่านทราบ

ส่วนเรื่องข้อเท็จจริงทางกฎหมายต้องถือว่าเป็นสาระสำคัญ มากกว่าเรื่องเทคนิคทางกฎหมาย เพราะกว่าที่จะรวบรวมหลักฐานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ พยานแวดล้อม ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญของการกระทำความผิด

เพราะ ฉะนั้น ขบวนการพิจารณาคดีทุกคดี ควรจะให้ความสำคัญต่อการไต่สวนข้อเท็จจริงแห่งการกระทำความผิดของคู่กรณี เป็นสำคัญ อย่าได้เอาตัวอย่างของคำตัดสินคดี กรณีการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวอย่าง หรือใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีอื่น ๆ

จดหมายของผมถึงพี่น้อง ประชาชนที่ผ่านมา สื่อเอาไปบิดเบือนสนุกปาก เป็นไปตามที่ผมคาดคิดไว้อยู่แล้ว เช่นคำพูดต่าง ๆ ที่ทำให้ประชาชนผู้อ่านเข้าใจผิดมันเป็นหน้าที่ของสื่อประเภทนี้อยู่แล้ว

คำที่ถูกนำไปดัดแปลงที่ทุกคนต้องรู้

๑. กองกำลังติดอาวุธ

จริงๆ แล้วเป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้กับประชาชนซึ่งเราได้ทำกันอย่างต่อเนื่อง พวกคุณคิดกันไปถึงไหน อย่าเข้าใจไปในทางนั้น

เพราะที่ผ่านมาเราก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เราไม่ปรารถนาความรุนแรง ความพยายามของสื่อบางสื่อจะสร้างภาพให้ผมเป็นผู้ก่อการร้ายดังที่ตนต้องการ นั้น สังคมโลกไม่สนใจ และไม่เชื่อ เพราะผมไม่ใช่พวกทหารที่คุมกำลังในกองทัพ

ความพยายามที่จะก่อวินาศกรรมในที่ต่าง ๆ ปล่อยข่าวจะยิงที่โน้นที่นี่ แล้วโยนความผิดนั้นให้กับผม และคนเสื้อแดง เป็นเรื่องธรรมดาของรัฐบาล เพราะหลังจากที่กองทัพสังหารเสธ.แดงได้แล้ว ระเบิดก็ยังคงดังอย่างต่อเนื่อง แต่หาคนทำไม่ได้

เพราะตอนนี้ไม่มี เสธ.แล้ว ไม่รู้จะโยนให้ใคร ตำรวจทหารที่อยากจะเอาใจนายสอพลอผู้บังคับบัญชา ก็เลยคิดว่าต้องเอาใครสักคนที่ประชาชนเห็นว่าเป็นความหวังของพวกเขา ก็คิดเลือกผม “อริสมันต์” เพราะกล่าวหาว่า ผมทำมันเป็นข่าวใหญ่

วิธีนี้คือยิงปืนนัดเดียวได้นกสามตัว

1. ได้ข่าว
2. ได้ทำลายผมพร้อมกับครอบครัว
3. สร้างความแตกแยกในหมู่เพื่อนๆ ที่เป็นพวกอหิงสา และประชาชน

๒. กองกำลังคือกองกำลังนาโต้ (NATO) No action talk only

ที่มีปากเป็นอาวุธ เป็นเสมือนปืนที่มีอนุภาพในการทำลายล้างสูง คือการพูดอธิบายอย่างมีหลักการเป็นเหตุเป็นผล โดยข้อเท็จจริงที่เราจะใส่ให้มวลชนผู้รักประชาธิปไตย

สมองคือคลังกระสุนที่ไม่จำกัดยิ่งไม่มีวันหมด กิจกรรมต่าง ๆ คือการรุกยึดพื้นที่ สิ่งที่เกิดขึ้นก็ได้พิสูจน์แล้วว่าเราจะสู้แบบของเราคือ การใช้อาวุธทางปัญญาล้วน ๆ ไม่มีอาวุธไม่ต้องใช้ความรุนแรง

๓. การสนับสนุนของประชาชนผู้รักประชาธิปไตย

คือ การสนับสนุนสินค้าแดงช่วยแดง สนับสนุนกิจกรรมที่ไปในทุกจังหวัด ช่วยบริจาคเงินสิ่งของ ช่วยส่งเสริมสร้างสรรค์ทางวิชาการ เผยแพรประชาธิปไตย ให้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่มีการผูกขาดเพียงแค่องค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น

เราจะร่วมกับทุกองค์กรประชาธิปไตยทั่วโลก เราจะช่วยกันตีทุกจุดที่เป็นความชั่วร้ายของอำมาตย์และรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างที่พวกมันคิดกันไปเอง

๔. ความพยายามเอาผมเข้าไปข้องเกี่ยวกับขบวนการล้มเจ้า

ผมเขียนไปในจดหมายฉบับก่อนหมายถึงคนสองคนคือ อำมาตย์ตุ๊ด กับอำมาตย์หญิงจิต ความพยายามของคนบางกลุ่มที่จะบิดเบือนข้อความในจดหมายของผมนั้นเพื่อจะได้สร้างข่าว ให้เป็นประเด็นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

วันนี้จะกล่าวหาผมอย่างไรก็ได้ซึ่งเป็นความต้องการที่กำจัดผม ถ้าทำได้แดงจะฝ่อ ซึ่งคิดผิดอย่างมาก

ผม ขอเรียนกับพี่น้องประชาชนให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง ผมต่อสู้ตามระบอบตามสิทธิแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย และไม่เคยก้าวล่วงเกินสูงกว่าพวกอำมาตย์ตามที่เราได้ตกลงกันในหมู่เพื่อน น ป ช. และประชาชนทุกคน

ด้วยความเคารพอย่างสูง

อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง

บก.ลายจุด:ยกเลิกTalk Showวอนนอนคุกรอบวันที่ 5 ธค.กระทันหันหลังถูกขู่คุกคาม ส่วน6ธค.มีตามปกติ

ที่มา Thai E-News




แต่ เมื่อได้รับการติดต่อจากผู้ใหญ่หลายท่านที่โทรมาแนะนำ ผมจำนนด้วยสถานการณ์ ผมไม่อยากให้ผู้ชมและทีมงานต้องตกอยู่ในเป้าหมายของคนที่สูญเสียความเป็น มนุษย์ และไม่มีประโยชน์ที่จะดื้อดึง (ภาพล่าง:คำขู่ทางface bookของอดีตนนายทหารนอกราชการที่ผันตัวมาเป็นครูผู้ฝึกการ์ดพันธมิตร)



โดย บก.ลายจุด
ที่มา face bookบก.ลายจุด

สำหรับ คนทำงานละครเวที พวกเรามีคำพูดหนึ่งคือ The Show Must Go On ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ การแสดงต้องเดินต่อไป นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้และใ้ช้เป็นหลักการในการทำละครเวทีมา 10 ปี

ไม่ น่าเชื่อว่า การแสดง Talk Show วอน นอน คุก จะต้องทบทวนหลักการเบื้องต้น มันมีเรื่องมากมายที่ีขัดแย้งกันภายในความคิดของพวกเราทีมงาน ที่ตั้งใจที่จะทำให้ วันอาทิตย์สีแดงในสัปดาห์นี้ เป็นอาทิตย์ที่พิเศษ เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และ ความสุข

ผมออกจะแปลกใจที่อยู่ดี ๆ การแสดงชุดนี้กลายเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อ ผบ ทบ พูดถึงและตามด้วย ผบ ตร ในวันต่อมา

ผมทราบดีว่า วันที่ 5 ธค. คือวันอะไร แต่ผมเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นข้อจำกัดในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ผิดกฎหมาย

หากการแสดงครั้งนี้เป็นการแสดงของ โน๊ต อุดม เรื่องนี้ไม่มีปัญหา แต่เรากำลังอยู่ในสภาวะพิเศษที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในสังคมไทย

เรื่องแบบนี้ผมสัมผัสได้ และผมยินดีรับฟัง Comment ต่าง ๆ ที่ทั้งแนะนำ และ ตำหนิ

บอก ตรง ๆ ว่าผมโกรธมากที่มีนายทหารนอกราชการคนหนึ่งข่มขู่ผมเรื่องอาจมีระเบิด M26 มาตกหลังเวทีการแสดง และผมตอบโต้ด้วยการยืนยันว่าจะยังจัดการแสดงต่อไป

แต่ เมื่อได้รับการติดต่อจากผู้ใหญ่หลายท่านที่โทรมาแนะนำ ผมจำนนด้วยสถานการณ์ ผมไม่อยากให้ผู้ชมและทีมงานต้องตกอยู่ในเป้าหมายของคนที่สูญเสียความเป็น มนุษย์ และไม่มีประโยชน์ที่จะดื้อดึง


ผมกราบขออภัยพี่ น้อง เพื่อนฝูงที่สนับสนุนบัตร และ คอยให้กำลังใจตลอดมา ผมน้อมรับการวิจารณ์จากทุกฝ่าย และแน่นอนว่า สำหรับพี่น้องเสื้อแดง ผมน้อมรับผิดแต่เพียงผู้เดียว

บัตรท่านสามารถคืนได้ที่หน้างาน หรือ ชั้น 5 อิมพีเรียล ลาดพร้าว หรือจะเปลี่ยนมาชม การแสดงในวันที่ 6 ธค ก็จะขอบพระคุณอย่างสูง

รายละเอียดในเรื่องนี้ ทีมงานจะขอแถลงในวันที่ 4 ธค เวลา 13.00 น. ที่ hall ชั้น 6 อิมพีเรียล ลาดพร้าว

บก.ลายจุด 3 ธค 53

Friday, December 3, 2010

สงครามเงินตรา อเมริกา vs จีน ในทรรศนะ "ฮาจูน ชาง"

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



ฮาจูน ชาง กับหนังสือเล่มล่าสุด "23 เรื่องที่พวกเขาไม่บอกคุณเกี่ยวกับทุนนิยม"

ใน บรรดานักเศรษฐศาสตร์เกาหลีวัยกลางคนที่ "โกอินเตอร์" แถมบังอาจทวนกระแสหลักของเสรีนิยมใหม่/โลกาภิวัตน์อย่างคงเส้นคงวามาแต่ เนิ่น ไม่มีใครเกิน ดร.ฮาจูน ชาง (ถ้าเรียกแบบไทยๆ ก็คงต้องสลับเอาแซ่ขึ้นหน้าว่า "ชางฮาจูน") อาจารย์เศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ วัย 47 ปี (ดูเว็บไซต์ประวัติผลงานส่วนตัวของเขาได้ที่ www.hajoonchang.net/)

เขา ได้ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล มาต่อปริญญาโท-เอกด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ จบแล้วก็ถูกรับเข้าทำงานวิจัย-สอนหนังสือต่อที่นั่นเลย เป็นคนขยันมาก เขียนหนังสือมาแล้ว 13 เล่ม เป็นบรรณาธิการอีก 9 เล่ม ตีพิมพ์บทความลงวารสารวิชาการและเป็นบทตอนหนึ่งในหนังสือเล่มอีก 90 กว่าบท ได้รางวัลเศรษฐศาสตร์ระดับอินเตอร์มาแล้ว 2 รางวัล ได้แก่รางวัลกุนนาร์ มีร์ดาลสำหรับเอกสารเฉพาะเรื่องดีที่สุดประจำปี ค.ศ.2003 จากสมาคมเศรษฐศาสตร์การเมืองวิวัฒนาการแห่งยุโรป และรางวัลวาสสิลี เลออนติเอฟสำหรับการขยายพรมแดนความคิดเศรษฐศาสตร์ให้ก้าวหน้าประจำปี ค.ศ.2005 จากมหาวิทยาลัยทัฟส์ในอเมริกา หนังสือขายดีเป็นที่ฮือฮาของเขาก็เช่น: -

-Kicking Away the Ladder - Development Strategy in Historical Perspective (2002)

-Reclaiming Development - An Alternative Economic Policy Manual (2004 ร่วมเขียนกับ Ilene Grabel)

-Bad Samaritans - Rich Nations, Poor Policies, and the Threat to the Developing World (2007) และล่าสุด

-23 Things They Don"t Tell You About Capitalism (2010)

ใน โอกาสประธานาธิบดีบารัค โอบามา เข้าร่วมประชุดสุดยอดเอเปคที่โซลและโต้แย้งปกป้องมาตรการ Quantitative Easing 2 ("ผ่อนคลายเชิงปริมาณ" โดยธนาคารกลางสหรัฐปั๊มเงินอีก 6 แสนล้านดอลลาร์ เข้าไปกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลและสินทรัพย์ชั้นดีอื่นๆ "กดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว" ส่งผลลดค่าเงินดอลลาร์ลง) จากการถูกนานาชาติโวยวายโจมตีว่าเป็นการทำสงครามเงินตรา

แต่ในทางกลับกันโอบามาก็ไม่สามารถหาพวกมาร่วมกดดันจีนให้ขึ้นค่าเงินหยวนได้เมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน ศกนี้

ดร.ฮาจูน ชาง ได้ให้สัมภาษณ์รายการทีวี DemocracyNow! ของอเมริกาเพื่อไขข้อข้องใจทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อ 12 พฤศจิกายน ศกนี้ว่า (www.democracynow.org/2010/11/19/economist_ha_joon_chang_on_currency): -

ฮวน กอนซาเลส : ทีนี้ในแง่การถกเถียงเรื่องเงินตรา เห็นได้ชัดว่าสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ในโลกได้กล่าวอ้างในเวทีระหว่างประเทศมาหลายปีแล้วว่าจีนไม่ยอมกำหนดค่าเงิน ตราของตนตามมูลค่าแท้จริงของมัน กระนั้นก็ตามมาตอนนี้ภายหลังธนาคารกลางสหรัฐเริ่มดำเนินการกว้านซื้อ พันธบัตรรัฐบาลเพิ่มและส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ต่ำลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จู่ๆ ข้อกล่าวหาอันนั้นกลับกำลังถูกตั้งกับสหรัฐเอง ใครเป็นฝ่ายถูกล่ะครับทีนี้? และบทบาทของประเทศตลาดเกิดใหม่ในโลกที่สาม รวมทั้งสหภาพยุโรปในการถกเถียงนี้เป็นอย่างไร?




ฮาจูน ชาง : ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้นะครับว่าทำไมชาวอเมริกันถึงหงุดหงิดกับความล่าช้า ในการปรับตัวของเงินตราสกุลจีน แต่เอาข้อเท็จจริงให้ถูกต้องแม่นยำก่อนดีกว่าว่ามันก็ถูกปรับอยู่นะครับ เพียงแต่ออกจะช้าเอามากๆ

ดังนั้น มันก็ไม่เชิงว่าหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรจีนก็ไม่ยอมขยับเอาเลยทีเดียวแต่ก็ใช่ ล่ะครับว่าเบื้องหน้าสภาพความไม่สมดุล (ทางเศรษฐกิจ) ที่สหรัฐเผชิญอยู่นั้น มันช่างดูอืดอาดล่าช้าทรมานใจเสียเหลือเกิน

แต่มองในมุมจีน คุณต้องเข้าใจเรื่องนี้นะครับว่า ประการแรก พวกเขาไม่ต้องการปรับแบบฉุกละหุกฉับพลันอย่างที่ญี่ปุ่นต้องทำกับเงินตรา สกุลของตัวในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ในสิ่งที่เรียกว่าข้อตกลงพลาซ่า ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดฟองสบู่การเงินมหึมาตามมาและทำลายเศรษฐกิจญี่ปุ่นลง ดังนั้น จีนจึงต้องการทำแบบช้าๆ

ประการที่สอง ก็อย่างที่คุณเองเพิ่งบอกตะกี้ ไม่ใช่มีแต่จีนที่ "บิดเบือนฉวยใช้" ค่าเงินของตน การที่ธนาคารกลางสหรัฐปล่อยเงินไหลท่วมเศรษฐกิจอเมริกันก็เป็นการบิดเบือน ฉวยใช้ค่าเงินตราเหมือนกันนั่นแหละ ฉะนั้นก็ชอบแล้วที่จีนจะขัดเคือง

ทว่า ในอีกแง่หนึ่ง ปัญหาก็คือนับแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา เราอยู่ภายใต้แนวคิดที่ว่าประเทศที่ขาดดุลเท่านั้นที่ต้องปรับตัว ความจริงประเทศที่เกินดุลก็ควรต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน แต่ใน 30 ปีหลังมานี้ ความคิดหลักที่เป็นเจ้าเรือนก็คือใครก็แล้วแต่ที่ใช้จ่ายเงินเกินตัวต้องถูก ลงโทษ

ไอ้นี่แหละครับเป็นตรรกะที่อยู่เบื้องหลังการลงโทษ บรรดาประเทศโลกที่สาม ในภาวะวิกฤตหนี้สิน (ต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980) รวมทั้งเศรษฐกิจของเหล่าประเทศเอเชีย (ในวิกฤตต้มยำกุ้ง) และเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา (ค.ศ. 2001-02) ในเวลาต่อมา

ฉะนั้น ในความหมายนั้น ไอ้สิ่งที่สหรัฐได้เพียรพยายามยัดเยียดให้กับโลกก็กำลังกลับมาหลอกหลอนตัว เองแล้วตอนนี้ เพราะสหรัฐเองนั่นแหละที่คอยสะแหลนแจ๋นออกหน้านำเสนอตรรกะที่ว่าประเทศขาด ดุลเท่านั้นที่ต้องปรับตัว และตอนนี้ประเทศอื่นๆ เขาจึงชอบธรรมที่จะพูดบ้างว่า "แล้วทีนี้ทำไมลื้อไม่ทำอย่างเดียวกันมั่งล่ะ?"

กอนซาเลส : แต่ในแง่ของเงินตรา - ทุนอเมริกันที่กำลังไหลบ่ามุ่งหน้าข้ามน้ำข้ามทะเลเพราะรัฐบาลสหรัฐกดอัตรา ดอกเบี้ยที่นี่ไหลรูดต่ำลง - ส่งผลให้ประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่หลายประเทศที่แน่ๆ คือบราซิล, อินเดียและที่อื่นๆ กำลังพากันหันมาหาทางป้องกันแข็งขันยิ่งขึ้นไม่ให้เงินเก็งกำไร

โดย พื้นฐานพวกนี้ไหลเข้ามาในเศรษฐกิจของตน คุณคิดว่ามันจะพัฒนาไปอย่างไรและยุโรปซึ่งเป็นพลังอำนาจยักษ์ใหญ่อีกพลัง หนึ่งในเวทีเศรษฐกิจโลกจะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้การถกเถียงระหว่างบรรดาประเทศ ตลาดเกิดใหม่กับสหรัฐในเรื่องการควบคุมเงินตราอย่างไร?

ชาง : ก่อนอื่นต้องมองปัญหานี้ในมิติที่ถูกต้องเหมาะสมครับ สาเหตุที่ธนาคารกลางสหรัฐต้องดำเนินการผ่อนคลายเชิงปริมาณขนานใหญ่ก็เพราะ ระบบการเมืองอเมริกันไม่สามารถตกลงกันให้ใช้จ่ายงบประมาณขาดดุลสืบต่อไป ดังนั้น ภาระการปรับตัวทั้งหมดจึงตกหนักอยู่กับนโยบายการเงินและนี่แหละครับคือราก เหง้าของปัญหา ฉะนั้น ในแง่หนึ่งการผ่อนคลายเชิงปริมาณก็อาจจะไม่ใหญ่โตขนาดนั้นถ้าหากฉากการ เมืองอเมริกันเป็นไปในลักษณะที่สามารถใช้งบประมาณรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ ไปได้ แต่ฉากที่ว่านั้นคงจะไม่เกิดขึ้นหรอก เราก็เลยติดแหง็กอยู่กับสถานการณ์แบบนี้

คราวนี้ในเมื่ออัตรา ดอกเบี้ยต่ำและมีสภาพคล่องปริมาณมหาศาลถูกปล่อยเข้าสู่ระบบ, เงินเหล่านี้จำนวนมากกำลังไหลเข้าไปสู่กลุ่มประเทศที่เรียกกันว่าเศรษฐกิจ ตลาดเกิดใหม่ - ซึ่งก็คือประเทศกำลังพัฒนาระดับกลางนั่นเอง - ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นตกอยู่ในสภาพหมดหวังเลือดเข้าตาจริงๆ บางประเทศเห็นค่าเงินของตนเพิ่มสูงลิ่ว ซึ่งทำให้ส่งสินค้าออกลำบาก และประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็กำลังเริ่มจัดวางมาตรการควบคุมเงินทุนแล้วตอน นี้ นี่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจมากเลยนะครับ เพราะไม่นานมานี้เองการควบคุมเงินทุนยังถือเป็นบาปมรณะอยู่เลย มาบัดนี้บางประเทศหรือแม้กระทั่งไอเอ็มเอฟเองก็ยังบอกว่า "บางทีเราควรจะวางมาตรการควบคุมเงินทุนซะ เพื่อว่าทุนเก็งกำไรจะได้ไม่ทำให้เศรษฐกิจของคุณไร้เสถียรภาพ"

กอนซาเลส : เวลาบอกว่า "ควบคุมเงินทุน" คุณหมายถึงอะไรกันแน่ครับ? เก็บภาษีเงินลงทุนและทุนการเงินที่เข้ามาจากนอกใช่ไหม? หรือจำกัดการถอนทุนกลับออกไป?

ชาง : มีชุดมาตรการที่จะดำเนินได้หลายอย่างใช่ครับประเภทที่หนักหน่วงที่สุดได้แก่ การที่คุณจะต้องขออนุญาตรัฐบาลเวลานำเงินเข้ามา และต้องขออนุญาตเวลาคุณเอาเงินออกไปเช่นกัน มาตรการแบบนั้นยังหายากสักหน่อย แต่หลายประเทศกำลังวางมาตรการอย่างเช่นข้อกำหนดเรื่องเงินฝาก หมายความว่าเวลาคุณนำเงินเข้ามา คุณต้องแบ่งเงินออกมาฝากไว้มีมูลค่าเท่ากับประมาณ 30 ถึง 50% ของเงินของคุณ ซึ่งคุณจะได้คืนเมื่อออกจากประเทศหลังเวลาผ่านไปปีสองปี แต่ถ้าคุณกลับออกไปก่อนกำหนดละก็ คุณจะเสียเงินที่ฝากไว้ไป....

กอนซาเลส : นั่นเพื่อเล่นงานการเก็งกำไรค่าเงินใช่ไหมครับ?

ชาง : ใช่แล้วครับ และอีกบางประเทศก็ได้เริ่มเก็บภาษีผลกำไรจากการลงทุนเอากับกระแสเงินทุนเก็ง กำไรเหล่านี้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามาตรการที่กำลังถูกใช้นี่น่ะหลากหลาย แต่ทิศทางแน่วแน่แจ่มชัด กล่าวคือไม่อาจจัดการกับเงินเก็งกำไรไหลเข้าเหล่านี้โดยกลไกตลาดได้ เพราะว่า - ที่พูดนี่ก็เพื่อให้เห็นมิติของมุมมองนะครับ - แม้แต่ตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาก็ยังมีมูลค่าไม่ถึง 1 หรือ 2% ของตลาดหุ้นสหรัฐเลย ดังนั้น เงินทุนหยดน้อยๆ ที่หยาดย้อยออกมาจากสหรัฐก็จะกลับกลายเป็นกระแสน้ำไหลบ่าเข้าท่วมท้น เศรษฐกิจเหล่านี้ ดังนั้น พวกเขาจึงจำต้องมีกลไกป้องกันตัวทั้งหลายแหล่ที่ว่ามา.....

กอนซาเลส : แล้วในแง่บทบาทของจีนกับเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ของเอเชียที่กำลังเติบโต รวมทั้งในแง่วิกฤตการเงิน คุณเห็นบทบาทของจีนแค่ไหนอย่างไรบ้างในหลายปีข้างหน้านี้?

ชาง : จีนเป็นกรณีพิเศษเฉพาะมากในความหมายที่ว่าตอนนี้กล่าวโดยทางการจีนเป็น เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับสองในโลกแล้ว แต่ในแง่รายได้ต่อหัวประชากร จีนยังอยู่แค่ระดับ 1 ใน 10 ของสหรัฐเท่านั้น ดังนั้น จีนก็เป็นเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องทำบางสิ่งบางอย่างที่แน่นอนเพื่อความสมดุลของโลก ฯลฯ

ทว่า กล่าวในแง่ภายในประเทศแล้ว จีนมีคนจนจำนวนมาก, มีรัฐสวัสดิการที่อ่อนแอและระบบการเมืองที่เปราะบางอย่างยิ่ง เสียจนกระทั่งเอาเข้าจริงจีนไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เรียกร้องต้องการการปรับตัวภายในประเทศอย่างมากมายได้ ที่เรื่องมันยุ่งก็ตรงนั้นล่ะครับ ตอนที่สหรัฐอยู่ในฐานะคล้ายจีนตอนนี้ (คือเป็นมหาอำนาจอันดับสองของโลก)

เมื่อสมัยปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 ต่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ระดับรายได้ของสหรัฐใกล้เคียงกับของประเทศที่ครองความเป็นเจ้าสมัยนั้นคือ อังกฤษ แต่ทุกวันนี้ เรากำลังประสบพบเห็นมหาอำนาจที่กำลังจะขึ้นครองความเป็นเจ้ารายใหม่ต่อไปภาย หน้า (หมายถึงจีน) ซึ่งยากจนขัดสนกว่ามหาอำนาจที่ครองความเป็นเจ้าอยู่ตอนนี้ (หมายถึงสหรัฐ) ณ ระดับรายได้แค่หนึ่งในสิบของฝ่ายหลังเท่านั้นเอง

เราก็เลยมีปัญหาใหญ่ล่ะครับเรื่องนั้นน่ะ

ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก (3)

ที่มา มติชน



โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

หมายเหตุมติชนออนไลน์: วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ จบการศึกษานิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) และนิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หมายเหตุจากผู้เขียน
: ความเห็นฉบับนี้เขียนขึ้นช่วงข้ามคืน ยังพร่องในความสมบูรณ์และหวังจะได้ปรับปรุงต่อไปในอนาคต หากผู้อ่านมีข้อคิดเห็น คำแนะนำ หรือข้อติติง ขอน้อมรับฟังที่ verapat@post.harvard.edu. ประเด็นวิชาการบางส่วนของความเห็นในฉบับนี้ ได้เคยนำเสนอไว้แล้วในวิทยานิพนธ์ สืบค้นได้ที่ Google: "Verapat Harvard Paper" อนึ่ง "มาตรา" และ "กฎหมาย" ที่กล่าวถึงในความเห็นนี้ หมายถึง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 (สำเนาดูได้ที่ http://www.parliament.go.th/mp2550/asset/law_party.pdf) เว้นแต่บริบทจะแสดงเป็นอื่น
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ณ http://sites.google.com/site/verapat/ (ดูฉบับเต็มและภาคผนวกในเว็บไซต์นี้)

----------

2.2 เหตุผลเรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์

ศาล อธิบายในคำวินิจฉัย (หน้า 9-11) ว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552 ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งครั้งที่ 144/ 2552 ในส่วนกรณีข้อกล่าวหาเกี่ยวกับคดีนี้ (กรณีเงิน 29 ล้านบาท) คณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเสียงข้างมากสั่งตามรวมกันไปกับอีกข้อหา (กรณีเงิน 258 ล้านบาท) ว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก่อน แล้วจึงเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น เป็นความไม่ชัดเจนในการปรับบทบังคับใช้กฎหมายในองค์กรขณะนั้นเท่านั้น การที่นายอภิชาตได้ทำความเห็นส่วนตนในการลงมติเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นการกระทำในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง ความเห็นของนายอภิชาตในการลงมติดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมติที่ประชุมคณะ กรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะร่วมลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ศาลอธิบาย ต่อว่าการลงมติดังกล่าวแตกต่างจากการสั่งที่ให้นำเรื่องเข้าสู่ การพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ได้มีความเห็นเช่นนั้นก่อนแล้ว จึงเสนอความเห็นให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบความเห็นของ นายอภิชาตในการลงมติ ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง

ศาล สรุปว่า เมื่อนายทะเบียนพรรรคการเมืองยังมิได้มีความเห็นให้ยุบ พรรคประชาธิปัตย์ ตามมาตรา 93 การให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553 จึงเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญ จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล รัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้


ผู้ทำความเห็นตั้งข้อสังเกตดังนี้


2.2.1 การให้เหตุผลดังกล่าว แท้จริงแล้วเป็นการเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ

ศาล ให้เหตุผลว่า นายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ต้องแสดงความเห็นในรูปแบบที่เฉพาะที่แยกชัดเจนจากการลงมติในฐานะประธาน กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ทำความเห็นไม่แน่ใจว่าศาลนำหลักอะไรมาตีความว่า มาตรา 93 วรรคสองที่บัญญัติว่า "ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน" หมายความว่า นายอภิชาต ต้องสวมสถานะนายทะเบียนพรรคการเมืองในรูปแบบเฉพาะที่ศาลพอใจ เพื่อแจ้งความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน โดยศาลก็มิได้ระบุว่ารูปแบบมีกฎเกณฑ์อย่างไร เช่นต้องทำเป็นหนังสือ หรือกล่าวโดยวาจาในที่ประชุมโดยแจ้งให้ทราบว่าตนกำลังแสดงความเห็นในฐานะนาย ทะเบียนพรรคการเมือง จากนั้นจึงกลับไปสนทนาในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง

ข้อ เท็จจริงสำคัญในคำวินิจฉัย (หน้า 7-8) ศาลรับฟังว่า ในวันที่ 12 เมษายน 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติสำหรับกรณีคำร้องในคดีนี้ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ (มีนายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งรวมอยู่ด้วย) ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิชาต ในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้งมีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา 93 วรรคสอง ศาลอธิบายต่อว่า 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง โดยนายทะเบียนพรรคการเมืองในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มิได้เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบให้นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ตามมาตรา 93 โดยถือว่าความเห็นส่วนตนของนายอภิชาตที่ลงมติไว้ในการประชุมคณะกรรมการการ เลือกตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 เป็นความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมือง

ผู้ทำความเห็นจำต้องนำ ประเด็นเรื่องมโนสำนึกในทางกฎหมายกลับมาถามว่า นายอภิชาตซึ่งเป็นนักนิติศาสตร์ที่กฎหมายให้ความไว้วางใจสวมหมวกสำคัญสองใบ ในเวลาเดียวกันเพื่อสามารถดำเนินภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกัน สามารถมีมโนสำนึกในทางกฎหมายแยกเป็นสองมาตรฐาน มาใช้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีเดียวกัน ให้ปรากฏผลต่างกันในเวลาเดียวกันได้ กล่าวคือ ในวันที่ 12 เมษายน 2553 ศาลรับฟังว่า นายอภิชาตในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นส่วนตนตามที่ลงมติว่า ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวัน ตามมาตรา 93 วรรคสอง และในวันเดียวกันนั้นเอง ศาลกำลังบอกว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้มีมโนสำนึกแยกเป็นอีกหนึ่งมาตรฐาน โดยเห็นว่า นายอภิชาต ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ กระนั้นหรือ?

2.2.2 การเพิ่มกฎเกณฑ์อันเข้มงวดที่ยึดรูปแบบมากกว่าสาระ นอกจากจะก่อให้เกิดผลประหลาดแล้ว ยังเป็นการใช้อำนาจตุลาการเข้าไปกำหนดการทำงานภายในของคณะกรรมการการเลือก ตั้ง ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ระบบปฎิบัติภายในองค์กรก็เพียงพอที่จะเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 93 วรรคสองแล้ว กล่าวคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีความเห็นตรงกัน โดยมโนสำนึกของนายทะเบียนพรรคการเมืองปรากฎชัดต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2553 แล้ว และต่อมาในวันที่ 21 เมษายน 2553 คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประชุมกันอีกครั้งหนึ่ง มีมติเห็นชอบยืนยันอีกครั้ง

2.2.3 ในขณะเดียวกัน ศาลไม่ได้ให้คำอธิบายเลยว่า หากปล่อยให้การดำเนินการดังกล่าวดำเนินต่อไปแล้ว จึงถือเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนของกฎหมายในส่วนสาระสำคัญด้วยเหตุใด เช่น หากพิจารณาตามหลักความชอบแห่งกระบวนการทางกฎหมาย (due process of law) แล้ว การดำเนินการดังกล่าวโดยผู้ใช้อำนาจคือ นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ใช้อำนาจละเมิดกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อได้มาซึ่งเป้าหมายที่ อาจจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม โดยริดรอนสิทธิเสรีภาพ สร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไร หรือ การดำเนินการดังกล่าวได้สร้างความเสียหายต่อระบบการใช้อำนาจระหว่างนาย ทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างไร และที่สำคัญเมื่อพิจารณาตามหลักความได้สัดส่วน (proptionality principle) แล้ว การนำข้อขัดข้องที่ศาลพบเห็นและไม่ได้มีระบุไว้ชัดในกฎหมาย มาเป็นเหตุให้กระบวนการยุติธรรมชะงักงันและเดินต่อไปไม่ได้ ดูประหนึ่งเป็นการทอดทิ้งเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหวังให้มีการตรวจสอบพรรค การเมืองยิ่งนัก

2.2.4 สมมติว่าเรายอมรับตรรกะของตุลาการเสียงข้างมากกลุ่มแรก 3 เสียง ที่เน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบมากกว่าสาระนี้ ผู้ทำความเห็นก็อดคิดไม่ได้ว่า ณ วันนี้ นายทะเบียนพรรคการเมืองจะอาศัยเหตุผลที่เข้มงวดในทางรูปแบบดังกล่าวกลับไป ให้ความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งได้หรือไม่ โดยตีความตามคำวินิจฉัยของศาลว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะ นายทะเบียนพรรคการเมืองเอง ก็ยังไม่เคยแจ้งให้ใครทราบโดยชัดเจนว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์ได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนแล้ว หรือไม่ เมื่อใด มีแต่แสดงออกผ่านการลงมติและความเห็นในฐานะประธานกรรมการการเลือกตั้ง อีกทั้งการยื่นคำร้องให้ศาลในคดีนี้ ศาลเองก็วินิจฉัยว่ากระบวนการไม่ชอบ ก็ย่อมต้องตีความโดยเน้นความเข้มงวดในทางรูปแบบว่า เหตุที่ให้ยุบพรรคพรรคประชาธิปัตย์แม้อาจจะได้ปรากฏต่อตัวนายทะเบียนในทาง สาระ แต่ก็มิได้ปรากฏโดยชอบในทางรูปแบบ ดังนั้น นายทะเบียนพรรคการเมืองและคณะกรรมการการเลือกตั้งย่อมกลับไปเริ่มกระบวนการ ใหม่ได้หรือไม่?

2.2.5 สิ่งน่าอัศจรรย์ปรากฏอีกครั้งเมื่อตุลาการเสียงข้างมากผู้ทำคำวินิจฉัยเอง ได้มีมโนสำนึกในทางกฎหมายที่แยกเป็นสองมาตรฐานในคำวินิจฉัยเดียวกัน เพราะตุลาการเสียงข้างมาก 3 เสียง เห็นว่านายอภิชาตในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องแสดงความเห็นเป็นรูปแบบ เฉพาะนั้น ต่อมาในการให้เหตุผลในส่วนตุลาการเสียงข้างมาก 1 เสียง ที่เห็นว่า นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ยื่นคำร้องต่อศาลเมื่อพ้นระยะเวลาสิบห้าวันตามที่ กฎหมายกำหนด กลับให้เหตุผลที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้

ใน คำวินิจฉัยหน้า 11-12 ศาลกล่าวว่า มีเหตุผลให้วินิจฉัยอีกทางหนึ่ง กล่าวคือกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา 93 วรรคแรกนั้น มาตรา 93 วรรคสอง มิได้บัญญัติให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเข้าเสนอความเห็นด้วยว่า พรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคแรกต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง ต่างจากกรณีข้อกล่าวหาตามมาตรา 94 ที่มาตรา 95 บัญญัติว่า เรื่องปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและนายทะเบียนได้ตรวจสอบแล้ว กล่าวคือนายทะเบียนต้องตรวจสอบ แล้วจึงเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมความเห็นว่า พรรคการเมืองใดกระทำตามมาตรา 94 หรือไม่

สมควร เน้นอีกครั้งว่า หากกลับไปพิจารณาตรรกะของวิธิในการลงมติแล้ว หากเราลองพิจารณาสาระของเหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากมีความเห็นเป็น สองกลุ่ม แม้จะอ้างว่าเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยอีกทางหนึ่งก็ตาม แต่สาระในทางเหตุผลไม่ใช่แค่ไม่ตรงกันบางประเด็น แต่กลับหักล้างกันเองในทุกประเด็นหลักเสียแล้ว มติทั้งสี่เสียงอันขัดแย้งกันในสาระอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ ยากที่จะถือว่าเป็นมติเสียงข้างมากโดยชอบธรรมได้

3. ศาลควรปรับปรุงระบบการบริหารคดี

ไม่ ว่าเราจะเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยหรือไม่ ผลจากคำวินิจฉัยก็เป็นตัวอย่างอันดีให้ผู้เกี่ยวข้องควรหันมาทบทวนระบบการ บริหารคดีของศาลว่า พอจะมีวิธีใดที่สามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรของชาติที่ทุ่มเทไปกับกระบวน การทั้งหมดได้หรือไม่ เช่น การพิจารณาคดีอาจแยกเป็นส่วน ส่วนแรกเรื่องเขตอำนาจและความชอบของกระบวนการยื่นคำร้อง ซึ่งพึงพิจารณาให้เสร็จก่อนที่จะทุ่มเวลากับการสืบพยานหลักฐานที่เป็น เนื้อหาสาระของคดี แน่นอนว่าการบริหารคดีที่มีความซับซ้อนเช่นนี้ ศาลเองย่อมอาศัยความช่วยเหลือจากบรรดาเลขานุการและนิติกรที่มีความรู้กฎหมาย และมาทำงานประจำได้เป็นแน่ อนึ่ง ผู้ทำความเห็นอดคิดไม่ได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ หากนายทะเบียนพรรคการเมืองได้สืบสวนหรือค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจทำให้ ปรากฏซึ่งเหตุอันเป็นความผิด แต่เผอิญข้อมูลดังกล่าวไม่ได้อยู่รวมเป็นส่วนหนึ่งในสำนวนของคดีที่ฟ้องอยู่ ทั้งสองคดีเสียแล้ว ก็อาจมีการเริ่มกระบวนการให้ถูกต้องเสียใหม่ โดยอาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 82 ก็ดี 94 (4) ก็ดี ซึ่งกินความกว้างพอสมควร

4. คู่ความต้องมีโอกาสในการสู้คดีอย่างเต็มที่

ผู้ ทำความเห็นไม่ติดใจว่าประเด็นระยะเวลาสิบห้าวัน ศาลยกขึ้นพิจารณาเองได้หรือไม่ แต่ที่สำคัญคือ การพิจารณาประเด็นดังกล่าวควรเป็นกรณีศึกษาว่า เมื่อศาลไม่ได้เปิดโอกาสให้คู่ความในคดีทราบได้แน่ชัดว่าในใจตุลาการแต่ละ ท่านคิดเห็นหรือสงสัยถึงประเด็นใดอยู่เป็นพิเศษ อีกทั้งการพิจารณาคดีโดยตุลาการตั้งคำถามสดก็มิอาจพบเห็นบ่อยนัก จึงน่าพิเคราะห์ว่า คู่ความในคดี ได้มีโอกาสนำเสนอข้อต่อสู้และตรวจสอบพยานหลักฐานในประเด็นเฉพาะเจาะจงที่ อยู่ในใจตุลาการอันเป็นประเด็นตัดสินคดีมากน้อยเพียงใด เพราะหากสุดท้ายกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินมาทั้งหมดติดอยู่กับเพียงประเด็น ว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือไม่และเมื่อเวลาใด หรือทำไปในฐานะใด ศาลก็สมควรให้คู่ความได้ทราบถึงความสำคัญของประเด็นเฉพาะเจาะจงดังกล่าว และคู่ความก็สมควรได้ซักถามนายทะเบียนพรรคการเมืองผู้นั้นต่อหน้าศาลอย่าง ละเอียด และนำเสนอข้อโต้แย้งในการตีความกฎหมายเรื่องระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับประชาชนที่จะได้ติดตามรับฟัง เพื่อสุดท้ายศาลสามารถรับฟังความอย่างรอบด้านและนำความจริงในห้องเปิดมา อธิบายให้ปรากฏ

แต่หากสุดท้ายความยุติธรรมคือกรณีที่หารือถือ เอาได้แต่เพียงในห้องปิด ซ้ำโดยอาศัยพยานสำคัญที่ตัวไม่ปรากฏแต่ส่งมาเพียงเอกสารเสียแล้ว ก็คงเป็นชะตากรรมของเรา ประชาชนชาวไทย ที่ต้องเลือกระหว่างการยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ หรือเรียกร้องสังคมที่ไม่เขินอายต่อความจริง

ไม่แน่ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ภาคต่อไป เราอาจได้เห็นกัน!

บทส่งท้าย

เหตุ แห่งกระแสความใส่ใจในความเป็นกลางและจริยธรรมของตุลาการนั้น ปรากฏพบเป็นครั้งคราว แต่เหตุอันพึงปรากฏโดยมิต้องอาศัยกระแส คือเรื่องความละเอียด แม่นยำ และแยบยลในนิติวิธีและหลักกฎหมาย ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการต่างเป็นผู้ใช้อำนาจของเรา แต่เราไม่อาจอาศัยกระบวนการทางการเมืองเพื่อคัดเลือก สนับสนุนหรือลงโทษตุลาการได้ดั่งที่เราพึงทำต่อนักการเมืองได้ อีกทั้ง การตรวจสอบตุลาการที่ผ่านมาปรากฏไม่ชัด ส่วนหนึ่งอาจด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญให้ตุลาการมีบทบาทสำคัญในการได้มาซึ่ง ส่วนหนึ่งของสมาชิกวุฒิสภาที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบตุลาการ เสียเอง

สิ่งที่เราประชาชนพึงทำได้ คือติดตาม ใคร่ครวญ และกล้าหาญที่จะหวงแหนในเหตุผลและความยุติธรรมของคำวินิจฉัย เพราะความยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยมิอาจดำรงได้ด้วยมาตรฐานทางเหตุผลหรือ คุณธรรมจำเพาะของคนบางกลุ่ม แต่ต้องฟูมฟักและงอกเงยจากสำนึกและประสบการณ์ของปวงชนที่สะท้อนผ่านกระบวน การและกฎหมายที่เรามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน

ครอบครัว คุณครู และมิตรสหาย ต้องร่วมกันกระตุ้นสำนึกดังกล่าวผ่านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน อย่างน้อยก็โดยปฎิเสธความมักง่ายที่จะนิ่งเฉยดูดายภายใต้เงาของความเป็นกลาง อันว่างเปล่า เราต้องเรียกร้องสถาบันวิชาการและสื่อมวลชนให้ยึดมั่นและกล้าหาญในการทำ หน้าที่เพื่อสังคม



ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก (2)
ศาลรัฐธรรมนูญกับมาตรฐานมโนสำนึก (1)

"ความรับผิดชอบ"

ที่มา มติชน



โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2553)


มิอาจปฏิเสธได้ว่า "มนุษย์" ทุกคนใน "สังคมการเมืองไทย" ที่ร่วม "เล่นเกมการเมือง" ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนส่งผลให้เกิดปัญหาลุกลามเรื้อรังยากจะแก้ไขนั้น


ล้วนมีส่วนต้อง "รับผิดชอบ" ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 3-4 ปีมานี้, สิ่งที่บังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และสิ่งที่กำลังจะอุบัติขึ้นในอนาคต


แต่ "ความรับผิดชอบ" ก็อาจมีความหมายอยู่อย่างน้อย 2 นัย


เพราะแม้ด้านหนึ่ง มันอาจถูกเน้นย้ำไปที่ความหมายในแง่ลบอย่าง "การรับผิด"


ทว่าในอีกด้าน มันอาจหมายถึง "การรับชอบ" ก็เป็นได้


หากสิ่งที่พวกท่านตัดสินใจกระทำลงไปด้วยวิจารณญาณของตนเอง ได้ส่ง "ผลดี" บางแง่มุมต่อผู้คนบางกลุ่มในสังคมไทย


เช่น การตัดสินใจของพวกท่าน ทำให้ม็อบแดง-เหลือง สงบราบคาบลง หรือส่งผลให้ประเทศไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างหนักแน่น มั่นคง มีเสถียรภาพ และราบรื่นไร้รอยต่อประหนึ่งภูษาไร้ตะเข็บ เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ถ้า "อนาคต" มิได้เป็นเช่นนั้น แต่ดำเนินไปในทิศทางตรงกันข้าม พวกท่านก็คงต้อง "รับผิด" มากกว่า "รับชอบ"


หากลองเปรียบเทียบประเทศไทยเป็น "เรื่องเล่า" เรื่องหนึ่ง


ณ ปัจจุบัน "เรื่องเล่า" ดังกล่าว ก็ถูก "บิดระนาบ" ไปเรียบร้อยแล้ว


ด้วยเหตุนี้ อะไรๆ ที่คล้ายว่าจะคงเดิม จึงไม่เหมือนเดิมหรือดำเนินไปในรูปการณ์แบบเดิมเสียหมด


ขณะเดียวกัน ตัวละครและ "เรื่องเล่า" ใหม่ๆ อันกระจัดกระจาย ก็ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างซ้อนทับลงไปใน "เรื่องเล่า" เรื่องเดิม


"เรื่องเล่า" ว่าด้วยประเทศไทย จึงซับซ้อนหลากหลายและคาดเดาได้ลำบากมากขึ้น


เช่นกันกับ "อนาคต" ที่จะยิ่งกลายเป็นเรื่องราวอันคลุมเครือ ยากจะคาดการณ์ได้อย่างแน่ชัด ถูกต้อง แม่นยำ


โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราไม่อาจนำ "อนาคต" ดังกล่าวไปเทียบเคียงกับ "อดีต" ที่บางคนรักและหวงแหน ได้อย่างแนบสนิทอีกต่อไป


ความคลุมเครือแห่ง "อนาคต" นี่เอง ที่ย้อนกลับมาสะท้อนให้เห็นถึงสถานะหรือความหมายอันกำกวมของคำว่า "ความรับผิดชอบ"


จึงหวังใจด้วยความปรารถนาดีเป็นอย่างยิ่งว่า "เพื่อนมนุษย์" ร่วมสังคมการเมืองไทยคนใด ที่เผลอหลุดหัวเราะเสียงดังออกมา ด้วยความดีใจ ชอบใจ โล่งใจ รวมทั้งใฝ่ฝันถึงอนาคตอันคลี่คลาย สดใส สวยงาม


หลังจากได้รับชม "เรื่องเล่า" แนว "หักมุม" อันลือลั่น เมื่อเร็วๆ นี้


ทั้งในฐานะกองเชียร์ฝ่ายชนะ หรือกองแช่งฝ่ายที่แพ้แล้วแพ้อีกตลอดมาในช่วงหลายปีให้หลัง


อาจจะหัวเราะเสียงเบาลง, ลองมอง "อนาคต" ในแง่มุมที่ไม่แน่นอนบ่อยครั้งขึ้น, เห็นใจหรือเบามือกับ "เพื่อนมนุษย์" ต่างกลุ่มมากขึ้น


รวมทั้ง ตระหนักถึงภาระ "ความรับผิดชอบ" ที่หนักอึ้งใน "อนาคต" อย่างจริงจังยิ่งขึ้น


เพื่อ พวกคุณจะได้มิต้อง "รับผิด" ต่อ "เสียงหัวเราะ" ของตนเองในวันนี้ ด้วย "เสียงร่ำไห้" และ "น้ำตา" (ตลอดจน "น้ำ" สีอื่นๆ) ในวันข้างหน้า

พี่สาว "ช่างภาพอิตาเลียน"เหตุสลายเสื้อแดง" ประณามทางการไทย ใช้เงิน "ปิดปาก" หลังผลสืบสวนไม่คืบ

ที่มา มติชน



สำนัก ข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พี่สาวของช่างภาพชาวอิตาเลี่ยน ซึ่งเสียชีวิตในเหตุการณ์ความวุ่นวายในกรุงเทพฯเมื่อช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา กล่าวหาทางการไทยต่อความพยายามในการ "ยัดเยียดเงิน" เพื่อ "ปิดปาก"ตนเอง ในจดหมายซึ่งมีการเปิดเผยในวันนี้ (3 ธค.)

น.ส.เอลิซาเบทต้า โปเลนกี พี่สาวของนายฟาบิโอ โปเลนกี ซึ่งเป็นช่างภาพอิสระ ที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา จากเหตุการสลายการชุมนุมของกลุ่ม "คนเสื้อแดง" ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เขียนในจดหมายฉบับดังกล่าวว่า

"แน่ นอนที่สุด สถาบันต่างๆในประเทศไทยได้เสนอเงินช่วยเหลือเราอย่างที่ทุกคนรู้กัน" นส.เอลิซาเบทต้า กล่าวในจดหมายซึ่งจ่าหน้าถึงนายสมศักดิ์ สุริยวงศ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม โดยเธออธิบายเพิ่มเติมว่า คนเหล่านั้นได้เสนอเงินให้เธอ "อย่างไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง" และกล่าวว่า "เราเชื่อว่านี่เป็นความพยายามอย่างชัดเจนในการปิดปากของเรา และตอบแทนศักดิ์ศรีให้กับฟาบิโอของเราด้วยเงินเพียงเล็กน้อย"

นายฟาบิโอ โปเลนชี ถูก ยิงเสียชีวิตระหว่างทำงานในฐานะช่างภาพ อิสระ ในระหว่างการชุมนุมประท้วงโดยกลุ่ม "คนเสื้อแดง" ในย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งกินเวลานานถึง 2 เดือน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ราย และบาดเจ็บอีกเกือบ 1,900 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือน

โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้กล่าวว่า กองทัพน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนจำนวน 13 ราย ซึ่งรวมถึงนายฮิโร มุราโมโตะ ช่างภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์ แต่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตรายอื่นๆยังคงมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ

จด หมายของนส.เอลิซาเบทต้า โปเลนชี ซึ่งถูกส่งไปยังสถานทูตไทยในกรุงโรม หลังที่เธอได้รับจดหมายเชิญให้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองเนื่องในวันคล้ายวันพระ ราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในประเทศไทย กล่าวในตอนหนึ่งว่า ทางการไทย "ไม่แม้แต่เพียงนิดเดียวที่จะตระหนักถึงความร้ายแรงของสถานการณ์" ที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอ

"หลังจากผ่านมามากกว่า 6 เดือน เราก็ยังคงไม่ทราบถึงเหตุการณ์การเสียชีวิตของฟาบิโอ และผลการสืบสวนโดยทางการไทยแต่อย่างใด"

"ความพยายามของทางการไทย ในความรู้สึกของฉัน ยังไม่นับว่าเป็นที่น่าพอใจ และละเอียดถี่ถ้วนพอ" นส.เอลิซาเบทต้ากล่าว

อย่างไรก็ตาม เธอได้ถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในโอกาสเนื่องในวันที่ 5 ธันวาคมด้วย

อำนาจไม่จีรัง

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ เหล็กใน

สมิงสามผลัด




คํา พิพากษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ น่าเป็นเพียงแค่การคลี่คลายปัญหาเปลาะแรกของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

ต้องยอมรับว่าคดีเงิน 29 ล้านถือว่าสิ้นสุดแล้ว

ทุกฝ่ายต้องน้อมรับคำตัดสิน

มีถกเถียงและแสดงความเห็นกันบ้างถึงเหตุผลการยกคำร้องของศาล

นักวิชาการหลายคนต่างเคารพคำพิพากษา ไม่ก้าวล่วง แต่ก็แสดงความเห็นว่าในคำวินิจฉัยยกคำร้อง ควรอธิบายให้สังคมเข้าใจมากกว่านี้

โดยเฉพาะเหตุผลที่ "เคร่งครัด" เรื่องกำหนดเวลา 15 วัน

เช่นเดียวกันมีกกต.หลายคนแสดงความเห็นในฐานะผู้ร้องคดีนี้

นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ระบุว่าในเมื่อการยื่นฟ้องพรรคประชาธิปัตย์ผิดกระบวนการ ขาดอายุความ ทำไมถึงปล่อยให้สืบพยานนานหลายเดือน

ไม่ยกคำร้องตั้งแต่แรก

ทำให้ขาดโอกาสรับฟังว่าพรรคประชาธิปัตย์มีความผิดตามคำฟ้องในอีก 4 ประเด็นที่เหลือหรือไม่

ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องดีใจกันเป็นธรรมดา เพราะรอดพ้นถูกยุบ

ขนาดนายอภิสิทธิ์ยังชี้ว่าเป็นชัยชนะครั้งสำคัญ ไม่ใช่แค่ชนะฟาวล์

แต่นี่เป็นคำวินิจฉัยในคดีแรก ยังมีอีกด่านที่ต้องเผชิญ

คดีเงินบริจาค 258 ล้านรอให้ศาลรัฐธรมนูญตัดสินว่าจะยุบหรือเปล่า?

ยังต้องรอลุ้นอีกยก

เพราะคดี 258 ล้านฟ้องคนละมาตรากับคดี 29 ล้าน

กระบวนการยื่นฟ้องก็อยู่ในกำหนดเวลาชัดเจน

และเมื่อศาลเริ่มกระบวนการไต่สวนแล้ว ก็คาดกันว่าคงใช้เวลาใกล้เคียงกับคดีแรก

ประมาณ 3-4 เดือน น่ามีคำพิพากษาว่าจะรอดพ้นถูก "ยุบ" อีกหรือไม่

แต่ด่านสำคัญที่สุด ซึ่งดูแล้วนายอภิสิทธิ์แทบไม่มีโอกาสผ่านไปได้เลย

คือ ความรับผิดชอบการสลายม็อบเสื้อแดง

ตรงนี้เป็นตราบาปติดตัวมาตลอด 6 เดือน

ความสูญเสีย 91 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2 พันคน เป็นความจริงที่ไม่ต้องรอให้มีการตัดสินหรือชี้ขาด

เพราะสังคมได้พิพากษาไปแล้ว

การใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน เป็นความจริงที่นายอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบในฐานะผู้มีอำนาจ-ผู้สั่งการ

แต่ทุกวันนี้นายอภิสิทธิ์ยังทำเหมือนไม่รู้ตัวว่าต้องรับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น

ทั้งที่มีบทเรียนในอดีต

การปราบปรามประชาชนจนบาดเจ็บล้มตายหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีบทสรุปทุกครั้ง

แต่อาจแตกต่างจากครั้งนี้บ้าง ตรงที่ยังไม่มีบทสรุปในทันทีทันใด

นายอภิสิทธิ์ต้องไม่ลืมว่าอำนาจไม่จีรัง!!

เมื่อไหร่ที่ต้องพ้นไปจากตำแหน่ง พ้นจากอำนาจ

ผลของสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ทำลงไป จะย้อนกลับมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ถึงเวลานั้นคงไม่มีใครปกป้องได้อีก

แฉเอกสารลับ สหรัฐบี้มาร์ค

ที่มา ข่าวสด

โต้วุ่น-โอบามา โทร.ขอตัว"บูท"



สื่อ ดังอังกฤษยกข้อมูลจากเว็บไซต์จอมแฉระดับโลก ′วิกิลีกส์′ ตีแผ่ข้อมูลในราย งานลับที่ ′เอริก จี. จอห์น′ ทูตสหรัฐประจำประเทศไทย แจ้งกลับไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เขียนแจกแจงพร้อมเสนอมาตรการกดดันให้รัฐบาลไทย ส่งตัว ′วิกเตอร์ บูท′ พ่อค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซียไปขึ้นศาลสหรัฐ เผยรุกหนักถึงขั้นเสนอให้ประธานาธิบดีโอบามาต่อสายโทร. บี้ ′มาร์ค′ ด้วยตัวเอง ด้าน ′บัวแก้ว′ มั่นใจเนื้อหาในเอกสารลับจะไม่ส่งผลกระทบต่อสัมพันธ์ไทย-หมีขาว

เมื่อ วันที่ 2 ธ.ค. เว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่อสิ่งพิมพ์ชั้นนำประเทศอังกฤษ รายงานว่า เว็บไซต์วิกิลีกส์ หรือ wikileaks.org สื่ออินเตอร์เน็ตชื่อดัง ซึ่งเน้นทำหน้าที่ขุดคุ้ยข้อมูลปิดลับของรัฐบาลทั่วโลก เผยแพร่ข้อมูล "เอมบาสซี่ เคเบิล" หรือรายงานลับที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกานับร้อยแห่งประจำประเทศต่างๆ ส่งไปถึงรัฐบาลกลางและกระ ทรวงต่างประเทศสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างปีพ.ศ.2509 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 ในจำนวนนี้มีเคเบิล หรือรายงานลับที่นายเอริก จี. จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเทพฯ แจ้งไปยังกระทรวงต่างประเทศสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เกี่ยวกับมาตรการกดดันให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลไทย ส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท พ่อค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย เป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปดำเนินคดีในศาลสหรัฐ ฐานต้องสงสัยขายอาวุธสง ครามให้กลุ่มกบฏฟาร์ก โคลัมเบีย เตรียมนำไปใช้สังหารชาวอเมริกัน

เด อะการ์เดียนรายงานว่า รายงานลับทูตเอริก จี. จอห์น ต่อคดีนายวิกเตอร์ บูท มีเผยแพร่ในวิกิลีกส์ 2 ชิ้น ชิ้นแรกลงวันที่ 13 ก.พ. 2552 หัวข้อ "Ambassador Engages PM Abhisit and Defense Minister on Viktor Bout Extradition Case." แจกแจงรายละเอียดภารกิจทูตเอริกในการหารือกับทั้งนายอภิสิทธิ์ นายกฯ และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม เรื่องการส่งตัวนายบูทไปให้สหรัฐดำเนินคดี ส่วนอีกชิ้นลงวันที่ 13 ส.ค. 2552 หัวข้อ "Next Steps on the Viktor Bout Extradition Case in the Wake of Lower Court Defeat." หรือการดำเนินมาตรการขั้นต่อไปของสถานทูตสหรัฐภายหลังศาลอาญาไทยปฏิเสธคำ ร้องขอส่งตัวบูทไปสหรัฐในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน และในรายงานสองชิ้นนี้ ทูตจอห์นชี้เป็นนัยด้วยว่ารัฐบาลรัสเซียคอยช่วยเหลือนายบูทอยู่เบื้องหลัง

สำหรับ ข้อมูลโดยสรุปในรายงานลับฉบับลงวันที่ 13 ก.พ. 2552 ทูตจอห์นระบุว่า เข้าพบนายอภิสิทธิ์ นายกฯ ไทยในวันที่ 12 ก.พ. 2552 เพื่อหารือความคืบหน้าคดีส่งตัวนายบูท และว่า ความพยายามขอตัวนายบูทเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งประธานาธิบดีบุชพบนายกฯ สมัคร สุนทรเวช เมื่อเดือนส.ค. 2551 อย่างไรก็ดี แม้การพิจารณาคดีนี้จะช้ามาก แต่ก็ไปในทิศทางที่สหรัฐต้องการ ขณะที่นายอภิสิทธิ์รับปากว่าจะไปดูรายละเอียดทางคดีให้สหรัฐ แต่ไม่ต้องการให้มีภาพปรากฏ ออกไปว่าถือหางเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ด้านนายเอริก โฮลเดอร์ อธิบดีกรมอัยการสหรัฐ ยังจะต่อสายโทรศัพท์ถึงอัยการสูงสุดของไทยเพื่อทบ ทวนคดีนายบูทอีกครั้ง เท่ากับว่าการทำงานฝ่ายสหรัฐจะเป็นการออกหมัดชุด 1-2 ต่อเนื่อง

เอก อัครราชทูตสหรัฐ บันทึกในรายงานอีกว่า ในช่วงที่พบกับนายอภิสิทธิ์ได้ช่วยฟื้นความจำให้ผู้นำไทยด้วยว่า เมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลไทยเคยไม่ส่งตัวนายซามชิด กัสเซมี ผู้ต้องหาคดีค้าอาวุธสงครามให้กับทางการสหรัฐมาแล้วเพราะถูกรัฐบาลอิหร่านกด ดัน จึงหวังว่าคราวนี้ผลลัพธ์คงไม่ซ้ำรอย

ส่วนข้อมูลในรายงานลับ ฉบับ วันที่ 13 ส.ค. 2552 พบว่า ทูตจอห์นนำเสนอความเห็นต่อกระทรวงต่างประเทศในเชิงดุดันและรุกหนักมากยิ่ง ขึ้น ภายหลังศาลอาญาไทยพิพากษาไม่ส่งตัวนายบูทเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2552 ทำให้รัฐบาลสหรัฐผิดหวังอย่างรุนแรง สถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยจึงมีข้อเสนอแนะให้อธิบดีกรมอัยการโฮลเดอร์ รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศในดี.ซี. และเจ้าหน้าที่สหรัฐประจำสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือกับเอกอัครราชทูตไทยในดี.ซี. และทูตไทยประจำยูเอ็น พร้อมกับร้องขอให้รัฐบาลอื่นๆ เช่น เบลเยียม โคลัมเบีย และบางชาติในแอฟริกา ซึ่งได้รับผลกระทบจากธุรกิจค้าอาวุธสงครามของบูทเข้ามาร่วมกดดันรัฐบาลไทย

นาย จอห์น ทูตสหรัฐในกรุงเทพฯ แจ้งผ่านรายงานลับต่อไปว่า หลังจากตนรับทราบคำพิพากษาดังกล่าวได้โทรศัพท์ไปถึงนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศไทยทันที และย้ำให้นาย กษิตเห็นว่าสหรัฐให้ความสำคัญกับคดีนายบูทมากตั้งแต่ระดับกระทรวงต่างประเทศ ไปจนถึงประธานาธิบดี ในส่วนของท่าทีนั้นสหรัฐควรแสดงออกให้ชัดเจนว่าผิดหวังในคำตัดสิน แต่ระดับรัฐบาลไทยถือว่าให้ความร่วมมือดี และชี้ให้เห็นว่าการไม่ส่งตัวนายบูทจะส่งผลกระทบต่อจุดยืนของรัฐบาลไทยที่ พยายามขอตัวพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน

นอกจากนี้ ทูตจอห์นยังเสนอให้ประธานา

ธิบดี บารัก โอมาบา โทรศัพท์สายตรงถึงนายกฯ อภิสิทธิ์ เพื่อหารือกันอย่างจริงจังถึงความกังวลของรัฐบาลสหรัฐต่อคำพิพากษาไม่ส่งตัว นายบูท โดยสถานทูตสหรัฐเชื่อว่าบทบาทของประธานา ธิบดีโอบามาในกรณีนี้จะมีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อฝ่ายไทย แต่ท้ายที่สุดแล้วนายบูทเป็นอิสระ รัฐบาลสหรัฐควรร้องขอให้รัฐบาลรัสเซียดำเนินคดีกับนายบูท หรือไม่เช่นนั้นถ้าแทบไม่มีทางเลือกอื่นใดอีกก็น่าจะบีบให้รัฐบาลรัสเซีย แถลงออกมาต่อสาธารณะว่าจะไม่ดำเนินคดีกับนายบูทเพื่อทำลายภาพพจน์รัสเซีย

"เรา จะกระตุ้นให้รัฐบาลราชอาณาจักรไทยออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังต่อคำตัดสิน ของศาลและประกาศเจตนารมณ์ที่จะเอาชนะในชั้นอุทธรณ์ต่อไป และให้เน้นย้ำถึงพันธกรณีด้านการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายสากล" ข้อความส่วนหนึ่งในรายงานลับทูตจอห์น ระบุ และเขียนย้ำอีกว่า สหรัฐจะจับตาดูปฏิกิริยาจากฝ่ายบริหารของไทยที่มีต่อคำตัดสินไม่ส่งตัวนาย บูท เพื่อใช้เป็นบทพิสูจน์ถึงสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับสหรัฐ

ผู้ สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จุดจบคดีนายบูทในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังจากศาลอุทธรณ์ไทยพิพากษาให้ส่งตัวนาย บูทเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามหมายจับศาลนิวยอร์กภายใน 90 วัน และเจ้าหน้าที่สหรัฐได้นำตัวนายบูทขึ้นเครื่องบินไปยังสหรัฐเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่ผ่านมา

เวลา 13.15 น. วันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเว็บไซต์วิกิลีกส์ เผยแพร่เอก สารลับของสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเทพฯ ที่เคยเสนอให้ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐ โทรศัพท์สายตรงหานายกฯ ไทยเพื่อให้ส่งตัวนายวิกเตอร์ บูท ไปสหรัฐ ว่า "ที่ผมเห็นในข่าวเป็นเอกสารช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นท่านทูตสหรัฐมาพบผมจริง แล้วก็มาแสดงความห่วงใยเรื่องของคดี ผมตรวจสอบและสั่งการว่าต้องไม่มีลักษณะของการที่จะไปแทรกแซงคดีทางหนึ่งทาง ใด"

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการเปิดเผยข้อมูลมีการระบุว่านายโอบามาโทร.มาหาด้วย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "อันนั้นไม่จริงหรอกครับ คือไม่ได้ถึงขั้นนั้น ท่านทูตท่านมาผมก็รับทราบเรื่อง และหลังจากนั้นที่ท่านทูตไปได้ข้อมูลว่ามีการไปแทรกแซงอะไรต่างๆ ผมก็ให้ไปพบผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด"

เมื่อถามต่อว่า การพูดคุยในวันนั้นทูตสหรัฐกดดันรัฐบาลไทยหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มีการกดดัน เขาบอกว่าเขาไม่ได้มีข้อสงสัยหรือจะมากดดันในแง่ของกระบวนการ แต่มีความเป็นห่วงว่ามันมีข่าวคราวว่ามีบุคคลซึ่งอาจจะมีอิทธิพลเข้าไปแทรก แซง ตนบอกไปว่ามันไม่มี และไม่ควรจะมี หากมีข้อสังสัยตรงไหนอย่างไรรัฐบาลจะตรวจสอบให้

"ยืนยันว่ากระบวนการ ทั้งหมดหลังจากนั้นมาใช้เวลานานมาก แล้วศาลชั้นต้นก็พิพากษาอย่างหนึ่งและศาลอุทธรณ์ก็มากลับ แล้วมีคดีที่สองอีก หลังจากนั้นมาไม่มีฝ่ายใดมาร้องเรียนกับผม" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

เมื่อถามว่า จะมีการดำเนินคดีอะไรกับการเปิดเผยข้อมูลแบบนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องเอกสารของสหรัฐ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรา ส่วนที่มีการเปิดเผยและกระทบมาถึงไทยนั้นตนคิดว่ากระทรวงการต่างประเทศ ติดตามอยู่ เพราะว่านายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำลังพูดคุยอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศ

ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายธานี ทองภักดี รักษาการโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กรณีเว็บไซต์วิกิลีกส์ดังกล่าว ว่า ทางการสหรัฐแจ้งเรื่องข้อมูลที่อาจพาดพิงถึงประเทศไทยให้กระทรวงการต่าง ประเทศรับทราบก่อนหน้านี้แล้ว แต่มิได้แจ้งว่าเอกสารเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่

นายธานี ยืนยันว่า การส่งตัวนายบูทไปสหรัฐดำเนินการตามคำสั่งของศาลและปราศจากแรงกดดันทั้งจาก สหรัฐและฝ่ายการเมือง มั่นใจว่าเอกสารที่เผยแพร่จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย เพราะกระทรวงการต่างประเทศรายงานความคืบหน้าคดีของนายบูท แก่ทางการรัสเซียเป็นระยะๆ อยู่แล้ว เชื่อว่าทางการรัสเซียจะคำนึงถึงเหตุผลที่แท้จริงที่ไทยปฏิบัติตามคำสั่งศาล

การ์ตูน เซีย 03/12/53

ที่มา ไทยรัฐ

Pic_131364

การ์ตูน เซีย 03/12/53

นิติราษฎร์ฉบับที่ 9 วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ตุลาการภิวัตน์กับการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการ

ที่มา ประชาไท

เผยแพร่ครั้งแรกที่ เว็บไซต์นิติราษฎร์

ตุ ลาการภิวัตน์ในความหมายที่ให้ศาลแผ่ขยาย บทบาทมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้ที่นำเสนอความคิดนี้ได้พยายามนำเอาหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจบริหารโดยองค์กรตุลาการอันเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของการปกครอง ในนิติรัฐมาอธิบายสนับสนุนบทบาทของศาลในการตัดสินคดีสำคัญ ๆ ซึ่งกระทบกับความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันที่จริงแล้ว การที่องค์กรตุลาการทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารโดย เกณฑ์ในทาง “กฎหมาย” โดยตระหนักรู้ถึงขอบเขตแห่งอำนาจของตน ตระหนักรู้ถึงภารกิจและความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยของตนย่อมไม่ใช่เรื่อง ประหลาด การตีความกฎหมายไปในทางสร้างสรรค์ สนับสนุนสิทธิเสรีภาพของราษฎร การตีความกฎหมายให้คุณค่าต่าง ๆ ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญอันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยปรากฏขึ้น เป็นจริงย่อมเป็นสิ่งที่วิญญูชนได้แต่สนับสนุน

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เรียกว่า ตุลาการภิวัตน์ (หรือที่บางท่านเรียกว่า ตลก.ภิวัตน์) ในประเทศไทยก็คือ...

การ ตัดสินคดีหลายคดีในช่วงระยะเวลานับ ตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เรื่อยมาจนกระทั่งหลังการรัฐประหาร ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นการตัดสินคดีที่องค์กรตุลาการ (ผู้พิพากษา ตุลาการ) เข้าทบทวนตรวจสอบการใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรือตรวจสอบบรรดาบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในทางการเมืองโดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ที่ถูกต้องเป็นธรรมจริงหรือไม่ การกล่าวอ้างสิ่งที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการให้คุณค่า ในถ้อยคำดังกล่าวด้วยว่าเป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นตัวแทนของคุณธรรมความดีงามทั้งปวง (ดังที่ภิกษุบางรูปเปรียบเทียบตุลาการภิวัตน์ว่าคือธรรมาธิปไตย) ในที่สุดแล้วจะมีผลเป็นการปิดปากผู้คนไม่ให้ตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์การใช้ อำนาจตุลาการซึ่งแสดงออกในคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลหรือไม่ ผู้ที่เสนอหรือสนับสนุนกระแสความคิดเรื่องตุลาการภิวัตน์ในบริบทของการ ต่อสู้ทางการเมืองที่มีขอบข่ายกว้างขวาง ครอบคลุมไปในทุกอณูของสังคมดังที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในประเทศไทยในขณะนี้แน่ ใจได้อย่างไรว่าการเรียกร้องให้ศาลขยายบทบาทออกไปเพื่อตอบสนองความต้องการ ทางการเมืองของตนนั้นจะไม่ทำให้ศาลใช้โอกาสนี้ปลดปล่อยตัวเองให้พ้นจากความ ผูกพันต่อกฎหมายและความยุติธรรมไปด้วย และในที่สุดแล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าตุลาการภิวัตน์ไม่ใช่เสื้อคลุมที่สวม ทับการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการเพื่อประโยชน์ทางการเมือง

ในระบบ กฎหมายไทย ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติความผิดฐานบิดเบือนหรือบิดผันการใช้อำนาจ ตุลาการ (ตลอดจนความผิดฐานบิดเบือนกฎหมาย) เอาไว้ การบิดเบือนหรือการบิดผันการใช้อำนาจตุลาการ คือ การที่ผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้หรือตีความกฎหมายไปในทางที่ผิดโดยเจตนา พิพากษาคดีไปในทางให้ประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร้ายแก่คู่ ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การใช้หรือการตีความกฎหมายไปทางที่ผิดอย่างประสงค์จงใจดังกล่าวถือว่าเป็น อาชญากรรมอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามพึงเข้าใจว่าการที่ผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้หรือตีความกฎหมาย อย่างไม่ถูกต้องหรือยากที่คล้อยตามได้ยังไม่พอที่จะถือว่าผู้พิพากษาหรือ ตุลาการผู้นั้นบิดเบือนกฎหมาย มิฉะนั้นแล้วย่อมจะกระทบกับความเป็นอิสระของตุลาการ และอาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องผู้พิพากษาหรือตุลาการโดยง่ายอันจะทำให้ในที่ สุดแล้ว บรรดาคดีความต่าง ๆ จะหาจุดสิ้นสุดไม่ได้

การวินิจฉัยว่า ผู้พิพากษาหรือตุลาการใช้อำนาจ ตุลาการอย่างบิดเบือนในทางที่เป็นประโยชน์หรือเป็นผลร้ายแก่คู่ความฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่อย่างใดก็ตามการพิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ตลอดจนเหตุผลที่ปรากฏในคำพิพากษาก็สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าผู้พิพากษาหรือ ตุลาการผู้นั้นบิดเบือนกฎหมายหรือใช้อำนาจตุลาการอย่างบิดเบือนหรือไม่ กรณีที่ปรากฏในต่างประเทศ เช่น ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษาเพื่อ ประโยชน์แก่บุตรสาวของตนทั้ง ๆ ที่คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองและผู้พิพากษาผู้นั้นไม่สามารถ ตัดสินคดีได้ เนื่องจากถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดี

ในทรรศนะของ ผู้เขียน การบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้พิพากษาหรือ ตุลาการถูกสั่งการให้พิจารณาพิพากษาคดีไปทางใดทางหนึ่ง และผู้พิพากษาหรือตุลาการยอมดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีไปตามนั้น ทั้ง ๆ ที่การปรับบทกฎหมายหรือการตีความกฎหมายเช่นนั้นเห็นได้ชัดว่าผิดพลาดอย่าง ชัดแจ้ง หรือผู้พิพากษาตุลาการมีอคติ เกิดความเกลียดชังคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอคติหรือความเกลียดชังดังกล่าวอาจเป็นมาจากอิทธิพลหรือกระแสความรู้สึก นึกคิดของคนในสังคม หรืออิทธิพลจากสื่อมวลชนก็ได้ ภายใต้อิทธิพลหรือกระแสดังกล่าวดังกล่าวนั้น ผู้พิพากษาหรือตุลาการจึงดำเนินกระบวนพิจารณาโดยคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริง หรือพยานหลักฐานที่สอดคล้องกับผลของคดีที่ตนต้องการเข้าสู่การพิจารณา ตัดข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานตลอดจนพยานบุคคลที่จะทำให้เห็นความจริงของคดี ออกไปโดยอำเภอใจ และในที่สุดแล้วจึงพิพากษาคดีไปตามที่ตนต้องการนั้น

ปัญหา หนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอในการ วินิจฉัยว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการหรือไม่ ก็คือกรณีที่การดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีนั้นกระทำในรูปขององค์คณะ และปรากฏว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการบางท่านในองค์คณะนั้นได้ออกเสียงไปในทาง คัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างมากที่บิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือนการ ใช้อำนาจตุลาการ แต่ในที่สุดแล้วก็ร่วมลงชื่อในคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยนั้นด้วย ในกรณีเช่นนี้จะถือว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการผู้นั้นบิดเบือนการใช้อำนาจ ตุลาการด้วยหรือไม่ เรื่องนี้มีความเห็นในทางตำราแตกต่างกันออกเป็นสองแนว แนวแรกเห็นว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ออกเสียงคัดค้านผู้พิพากษาหรือ ตุลาการฝ่ายข้างมากที่บิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการไม่มี ความผิดฐานบิดเบือนกฎหมายและไม่ถือว่าเป็นผู้สนับสนุน ถึงแม้ว่าจะร่วมลงชื่อเป็นองค์คณะด้วยก็ตาม เพราะได้ออกเสียงคัดค้านไปแล้ว อีกแนวหนึ่งเห็นว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างน้อยดังกล่าวกระทำความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนการบิดเบือนกฎหมาย แม้ว่าจะออกเสียงคัดค้านฝ่ายข้างมากไว้ก็ตาม เนื่องจากหากผู้พิพากษาหรือตุลาการฝ่ายข้างน้อยไม่ร่วมลงชื่อในคำพิพากษา หรือคำวินิจฉัยด้วยแล้ว คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยที่บิดเบือนกฎหมายย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ผู้เขียนเห็นด้วยกับความเห็นหลัง เพราะผู้พิพากษาหรือตุลาการในองค์คณะที่เห็นการบิดเบือนกฎหมายหรือบิดเบือน การใช้อำนาจตุลาการซึ่งเป็นการกระทำความผิด ย่อมต้องมีหน้าที่ต้องปฏิเสธการกระทำความผิดนั้น (ส่วนประเด็นที่ว่าผู้พิพากษาตุลาการฝ่ายข้างน้อยดังกล่าวสมควรถูกลงโทษหรือ ไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง) อย่างไรก็ตามความผิดฐานนี้ไม่ได้รับการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาของไทย และหากจะมีการบัญญัติเรื่องดังกล่าวขึ้นในอนาคต ก็ควรที่จะบัญญัติประเด็นที่กล่าวถึงนี้เสียให้ชัดเจน

ควรตั้งไว้ เป็นข้อสังเกตด้วยว่าการป้องกันไม่ ให้ผู้พิพากษาตุลาการบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการนั้น ไม่ได้อยู่ที่การกำหนดความผิดฐานดังกล่าวไว้ แต่อยู่ที่การจัดการปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตยและการจัดโครงสร้าง องค์กรตุลาการที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ การกำหนดความผิดฐานดังกล่าวย่อมจะไร้ประโยชน์ หากผู้พิพากษาตุลาการไม่ได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลาให้เห็นในคุณค่าของการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากยังปรากฏว่าการจ่ายสำนวนเข้าองค์คณะนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนแน่นอนซึ่งกำหนดไว้ล่วงหน้า หากปรากฏว่ากลไกการคัดเลือกผู้พิพากษาตุลาการนั้นยังเป็นระบบปิด ฯลฯ ด้วยเหตุนี้การอภิปรายถึงความชอบธรรมทางประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการจึงเป็น ความจำเป็นอย่างยิ่งในเวลานี้

การแสดงออกซึ่งอำนาจตุลาการ ไม่ว่าจะในลักษณะของการเป็นองค์กรคุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ธรรมนูญ (ศาลรัฐธรรมนูญ) องค์กรตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองหรือการคุ้มครองสิทธิ ของปัจเจกบุคคลจากการล่วงละเมิดโดยอำนาจปกครอง (ศาลปกครอง) หรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่น (ศาลยุติธรรม) ผู้พิพากษาหรือตุลาการไม่อาจแสดงออกซึ่งอำนาจตุลาการตามอำเภอใจเพื่อตอบสนอง ข้อเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ทั้งหลายทั้งปวงได้ ไม่ว่ากลุ่มผลประโยชน์นั้นจะยิ่งใหญ่สักเพียงใดก็ตาม การใช้อำนาจตุลาการพิจารณาพิพากษาคดี ผู้พิพากษาตุลาการจะต้องผูกพันตนต่อกฎหมายและความยุติธรรม และต้องสำนึกและตระหนักอยู่เสมอว่าอำนาจตุลาการที่ตนกำลังใช้อยู่นั้น โดยเนื้อแท้แล้วเป็นของประชาชน

หากข้อเสนอที่เรียกว่าตุลาการภิวัตน์ หน้าฉากคือข้อเรียกร้องให้ศาลแผ่ขยายบทบาทเข้าไปแก้ปัญหาทางการเมือง โดยอ้างอิงหลักการจากประเทศที่เป็นนิติรัฐ หลังฉากคือข้อเรียกร้องให้ศาลใช้อำนาจทางกฎหมายเข้าจัดการกับปรปักษ์ทางการ เมืองของตนโดยอ้างหลักกฎหมายจากต่างประเทศอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ และไม่ได้คำนึงถึงลักษณะโครงสร้างของอำนาจตุลาการของไทยว่ามีพัฒนาการมา อย่างไร ตลอดจนไม่ได้คำนึงถึงโครงข่ายความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองโดย เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในระดับบนแล้ว คำว่า “ตุลาการภิวัตน์” คงมีความหมายเท่ากับ “การบิดเบือนการใช้อำนาจตุลาการ” ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลายถือว่าเป็นความผิดอาญาเท่านั้น

พธม.เลิกชุมนุม 11 ธ.ค. เลื่อนเป็นปีหน้า จำลองเผยอยากให้เดือนนี้เป็นเดือนแห่งความสุข

ที่มา ประชาไท

พันธมิตร เลื่อนการชุมนุมเป็น 25 ม.ค. ปีหน้า "เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสมบูรณ์" จำลองลั่นจะมีการปักหลักพักค้างเพิ่มจำนวนคนให้มากกว่าเดิม เพื่อเรียกร้องรัฐบาลถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก ยกเลิกเอ็มโอยู 43

ASTVผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อเวลา 12.20 น.วันนี้ (3ธ.ค.) ว่า ที่บ้านพระอาทิตย์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้แถลงมติที่ประชุมแกนนำพันธมิตรฯ ซึ่งสรุปได้ว่า จะมีการเลื่อนการชุมนุมใหญ่จากวันที่ 11 ธ.ค.ไปเป็นวันที่ 25 ม.ค.2554 เวลา 10.00 น.ที่ถนนราชดำเนินนอก ด้านกองบัญชาการกองทัพบก

พล.ต.จำลอง กล่าวว่า การเลื่อนการชุมนุมดังกล่าวก็เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสมบูรณ์ หลังจากที่พันธมิตรฯ เคยเรียกชุมนุมด่วนเมื่อวันที่ 2 พ.ย.เนื่องจากรัฐบาลได้นำญัตติการรับรองบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดน ไทย-กัมพูชา(เจบีซี)เข้าสภา ทั้งที่ยังมีน้ำท่วมใหญ่ในภาคใต้ ซึ่งเราเห็นว่าถ้ารัฐสภาเห็นชอบ เราจะเสียดินแดนทันที เราจึงชุมนุมคัดค้าน ทำให้รัฐบาลยอมเลื่อนการพิจารณาไปก่อน แต่เราเห็นว่าการเลื่อนไม่ใช่การแก้ปัญหา จึงเรียกร้องให้ถอนญัตติออกไป ไม่เช่นนั้นจะนัดชุมนุมใหญ่วันที่ 11 ธ.ค. ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือนเศษ รัฐบาลก็ไม่ยอมถอน

พล.ต.จำลองกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เราเห็นว่า วันที่ 11 ธ.ค.เพิ่งจะผ่านการฉลองวันมหามงคล 5 ธันวาคม ไปไม่นาน และเราอยากจะให้เดือนธันวาคมเป็นเดือนแห่งความสุข และภาคใต้ยังมีน้ำท่วม เราจึงกำหนดวันชุมนุมใหม่เป็นวันที่ 25 ม.ค.ปีหน้า และหลังจากนี้ เราจะเดินสายทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้ประชาชน ให้ตระกว่าถ้าเราอยู่เฉยๆ เราจะเสียดินแดนให้เขมรเป็นพื้นที่ทางบก 1.8 ล้านไร่ และเสียทรัพยากรทางทะเลอีกจำนวนมาก

พล.ต.จำลองย้ำว่า ขอยืนยันเจตนารมณ์เดิมว่า การปกป้องไม่ให้เสียดินแดนนั้นไม่มีวิธีใดดีไปกว่าการชุมนุมกดดันให้รัฐบาล ทำหน้าที่ โดยในวันที่ 25 ม.ค. เราจะเรียกร้องให้รัฐบาลถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก ยกเลิกเอ็มโอยู.2543 พร้อมยกเลิกเอกสารประกอบทั้งหมด ซึ่งรัฐบาลสามารถทำได้อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ทำ เราจำเป็นต้องชุมนุมใหญ่ เพราะในชั่วอายุของเรา ไม่มีอะไรร้ายแรงเท่ากับการที่เราจะเสียดินแดนให้เขมรอีกแล้ว วันที่ 25 ม.ค.เราจะชุมนุมเต็มที่ มีการปักหลักพักค้างเพิ่มจำนวนคนให้มากกว่าเดิม เพื่อให้รัฐบาลทำหน้าที่ให้ได้ ถ้ายังไม่ทำเราก็จะชุมต่อไปไม่เลิก

ศาลรัฐธรรมนูญปฏิญาณตามรอยยุคลบาท

ที่มา Thai E-News


ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
3 ธันวาคม 2553

ศาลรัฐธรรมนูญร่วมถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมฯ ด้าน "ชัช"ปัดให้ข่าว จะสนองพระราชดำรัสอย่างไร

ศาล รัฐธรรมนูญ -ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำโดยนายชัช ชลวร ปรธานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้จัดพิธี ถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

โดยในพิธีนายชัชได้กล่าว เชิดชูพระเกียรติ พร้อมด้วยนำคณะตุลาการและเจ้าหน้าที่กล่าวปฏิญาน โดยยมีใจความว่า “จะประพฤติปฏิบัติตามรอยเบื้องพระยุคลบาทจะมุ่งมั่นแน่วแน่แก้ไขปัญหาของ ชาติประชาชน และเสริมสร้างคุณประโยชน์ให้แก่แผ่นดิน โดยยึดมั่นในหลักการและความถูกต้องตลอดไป" หลังจากนั้นจึงร่วมร้องเพลงสดุดีมหาราชาและเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นอันเสร็จสิ้นพิธี

ภายหลังเสร็จสิ้นพิธี ผู้สื่อข่าวพยายามขอสัมภาษณ์นายชัช เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาศาลรัฐธรรมนูญจะทำงานสนองพระราชดำรัสได้ อย่างไร แต่นายชัช กลับตอบว่า “ผู้สื่อข่าวใช่ไหม ไม่เอา” พร้อมกับเดินกลับขึ้นห้องทำงานไปทันที

จากณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถึงชนชั้นกลางชาวกรุง

ที่มา Thai E-News





ชนชั้นกลางชาวกรุง
ฟังชั้นล่างชาวทุ่งสักหน่อยไหม
เราเพียงต้องการประชาธิปไตย
แค่อยากให้คนไทยเท่าเทียมกัน

ที่ต่อสู้เพราะรู้ทันว่ากดขี่
แต่ที่ตายนี่ไม่คิดไม่คาดฝัน
ว่าทหารลูกหลานไทยไพร่เหมือนกัน
สไนเปอร์ประจัญบานจะไล่ยิง

แล้วชี้หน้าว่าไอ้ผู้ก่อการร้าย
นอนตายมือเปล่าทั้งชายหญิง
หรือหากใครผิดแนวทางอย่างว่าจริง
ต้องหลักฐานชัดทุกสิ่งหรือยิงเลย?

ว่าเผาบ้านเผาเมืองเป็นถ่านเถ้า
ข้อเท็จจริงชัดหรือเปล่าช่วยเฉลย
ที่จับชัวร์หรือมั่วอย่างเคย
จะอ้างเอ่ยยุติธรรมด้ามหอกอะไร

ว่าชั้นต่ำ รับจ๊อบม๊อบรับจ้าง
ข้าห่อข้าวแล้วเดินทางเอ็งรู้ไหม
หยุดงานหนักพักงานนามาด้วยใจ
จ้างเท่าไร?ถึงตายไม่เลิกรา

มาเรียกร้องประชาธิปไตยให้ดูถูก
แค่คนจนรักสนุกไร้การศึกษา
แล้วเอ็งเล่าเขาสอนอะไรมา
เพื่อปลูกสร้างปัญญาหรือครอบงำ

รู้จักไหมปรีดี,พระยาพหลฯ
อภิวัฒน์เพื่อผองชนชาวสยาม
จิตร,กุหลาบ,เปลื้อง,นายผีช่วยตีความ
รู้ไหมนามคณะราษฎร์,เสรีไทย

หรือให้เอ็งซาบซึ้งถึงรัฐชาติ
ที่เขาวาดให้กราบตามถามไม่ได้
เอ็งเย่อหยิ่งปริญญาก็ว่าไป
ข้าจะสร้างรัฐไทยใหม่ให้รู้ทัน

เอ็งมีคนบ้านนอกไว้ดูเล่น
เขาเก้อเขินเปิ่นให้เห็นเป็นน่าขัน
ชนบทไว้พักผ่อนตอนว่างงาน
ไปเที่ยววันสองวันเพื่อชาร์จไฟ

ได้หยิบยื่นอะไรให้นิดหน่อย
ก็ตัวลอยไปเล่าใครต่อใครได้
ว่าความสุขจากแบ่งปันนั้นปานใด
สร้างอนุสาวรีย์ใหญ่ให้ตัวเอง

แต่ไม่เคยมองเห็นความเป็นเขา
ไม่เคยเข้าใจอกขมถูกข่มเหง
พอเข้ากรุงสู้เยี่ยงไพร่ใจนักเลง
ก็ถูกเอ็งไล่ซ้ำเพราะรำคาญ

ไปบ้านทุ่งลื่นคันนาเหยียบกล้าหัก
เอ็งก็มักพูดนิ่มๆยิ้มหวานๆ
ข้ามากรุงปิดแยกอยู่เพราะสู้นาน
เอ็งไม่แคร์แม้ทหารจะฆ่าเรา

แล้วสละเวลามาล้างถนน
ชีวิตคนมองข้ามไม่ถามข่าว
พูดจนเฝือเหลือขนาดว่าชาติเรา
มารักกันอย่างเก่าก็แล้วกัน

ต้องเข้าใจเรื่องราวให้เข้าจุด
เรื่องใหญ่สุดยุติธรรมไร้มาตรฐาน
ประชาธิปไตยที่บอกเขาหลอกมานาน
เห็นชาวบ้านเป็นควายปลักต้องลากเดิน

เชื่อเถอะคนไทยไม่เกลียดกัน
แต่อย่าแบ่งชนชั้นให้ห่างเหิน
ถึงสูงต่ำก็ต้องย่ำผืนดินเดิน
ถ้าก้าวเกินศักดิ์ศรีมนุษย์ก็สุดทาง

เขียนมาหาใช่ต่อว่าให้โกรธขึ้ง
ใช่จะดึงสองฝ่ายให้บาดหมาง
แค่อยากให้เข้าใจในแนวทาง
ฟังเราบ้างดูให้ชัดแล้วตัดสินใจ

จะประณาม หยามเหยียด และเหยียบย่ำ
หรือก้าวข้ามจารีตมาอยู่ใกล้
จะร่วมสู้ ร่วมสร้าง ประชาธิปไตย
หรือซาบซึ้ง ตื้นตันใจ โอ้ว...ไทยแลนด์


ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เรือนจำคลองเปรม แดน 4 ห้อง 11,วันที่ 30 พ.ย. 53

Thursday, December 2, 2010

คุยข้ามคุกแกนนำนปช.:เราเดิมพันชีวิตเราไว้แล้ว

ที่มา Thai E-News



โดย วัฒนา อ่อนกำปัง
ที่มา โลกวันนี้ วันสุข


แกน นำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ที่ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฟ้องข้อหาทั้งฝ่าฝืน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ สะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ และมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความ วุ่นวายในบ้านเมือง วันนี้ถูกคุมขังมาแล้วมากกว่า 6 เดือน

แม้จะ ยื่นคำร้องขอประกันตัว แต่ศาลไม่อนุญาต โดยให้เหตุผลว่าคดีมีอัตราโทษสูง และเกรงว่าหากปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว ผู้ต้องหาจะหลบหนี “โลกวันนี้” จึง “คุยข้ามคุก” เพื่อสะท้อนให้เห็นความรู้สึกของแกนนำ นปช. แต่ละคนว่ายังมีจิตใจที่เข้มแข็งและพร้อมจะต่อสู้กับคนเสื้อแดงเพื่อให้ได้ ประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับมา

นพ.เหวง โตจิราการ:ประเทศไทยไม่มีความยุติธรรมและใช้ความรุนแรงกับประชาชน

“ทุกวันนี้ผมวิ่งออกกำลังกายวันละ 10 กิโลเมตร เพื่อรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น และออกมาต่อสู้หาความจริงที่เกิดขึ้นให้ได้

เพราะ สิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์กลัวมากที่สุดคือความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะ ถูกเปิดเผยออกมา เนื่องจากใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธครบมือสังหารประชาชนเสียชีวิตถึง 91 ราย บาดเจ็บเกือบ 2,000 ราย

แต่คนที่ถูกกระทำกลับต้องเข้าคุก ส่วนคนทำยังลอยหน้าลอยตาในสังคมต่อไป ผมเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้สังคมทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยไม่มีความ ยุติธรรมและใช้ความรุนแรงกับประชาชน”

นายนิสิต สินธุไพร: หัวใจผมยังมีอิสระอย่างเต็มที่

“ตอน นี้ไม่ได้ทำอะไรมาก เพราะตลอด 6 เดือนที่อยู่ในนี้ทำให้มีเวลาคิดอะไรมากขึ้น ตอนนี้สุขภาพร่างกายแข็งแรงมากขึ้น เพราะได้ออกกำลังกายทุกวัน โดยจะขึ้นเวทีซ้อมมวยกับณัฐวุฒิและเจ๋ง ดอกจิก

จากนั้นก็ดูทีวี.และอ่านหนังสือที่ทางเรือนจำมีไว้ให้ ก็สบายดีและยังแข็งแรงอยู่

แต่ ขอยืนยันว่าสิ่งที่ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ทำคือสิ่งที่ถูกต้อง และมั่นใจว่าเราทำเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เพื่อบ้านเพื่อเมือง เป็นการทำหน้าที่ตามสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่บัญญัติไว้ตามรัฐ ธรรมนูญ

เราไม่ใช่ผู้ต้องหาตามที่รัฐบาลกล่าวหา เราเป็นเพียงกลุ่มคนที่เห็นต่างทางการเมืองเท่านั้น เพราะในทางการเมืองเห็นต่างกันได้ เราไม่ได้เป็นคนสร้างความแตกแยกให้กับชาติบ้านเมือง

ผมเชื่อว่าเมื่อ ไรที่บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ความยุติธรรมก็จะตามมา ดังนั้น วันนี้ที่ผมอยู่ในนี้ก็เพียงแต่ไม่มีอิสรภาพเท่านั้น แต่ความคิดและหัวใจผมยังมีอิสระอย่างเต็มที่ ผมอยากบอกว่ารัฐบาลจะทำอะไรกับพวกผม ผมไม่กลัว เพราะผมไม่ได้ทำอะไรผิด”

นายก่อแก้ว พิกุลทอง: คุณอภิสิทธิ์เป็นคนตอแหล

“ตอน นี้ก็ไม่มีอะไรแล้ว แม้ว่าตอนแรกๆอาจปรับตัวยากหน่อย แต่ตอนนี้ไม่มีอะไร วันๆก็ดูทีวี. อ่านหนังสือ แล้วก็ออกกำลังกายบ้าง ไม่มีอะไรมาก

ที แรกที่เคยบอกว่าทำใจยาก เพราะผมถูกส่งไปอยู่แดน 8 ซึ่งเป็นแดนที่มีนักโทษเด็ดขาด และเข้าออกคุกเป็นว่าเล่น ก็ทำใจยากหน่อย แต่ตอนนี้ไม่เป็นอะไรแล้ว

บอกได้อย่างเดียวว่าคิดถึงลูกมาก แต่ก็ดีที่แม่เขามาเล่าให้ฟังบ่อยๆ ก็หายคิดถึงกันบ้าง

ผม อยากบอกดีเอสไอที่กล่าวหาพวกผมเป็นผู้ก่อการร้ายว่า ดีเอสไอทำงานรับใช้การเมือง ดังนั้น ดีเอสไอจะทำอะไรกับพวกเราก็เป็นเรื่องที่ทำเพื่อรับใช้การเมืองเท่านั้นเอง

แต่ คุณอภิสิทธิ์ที่เป็นนายกรัฐมนตรีบอกว่าการจะปล่อยแกนนำ นปช. เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ผมก็ไม่ได้หวังอะไร สำหรับผมไม่ฟังคุณอภิสิทธิ์มานานแล้ว เพราะคุณอภิสิทธิ์เป็นคนตอแหล เป็นคนปากพูดอย่างแต่สมองคิดอีกอย่าง พูดเอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนอื่น

การ ออกมาบอกว่าต้องการปรองดอง แต่พอเอาเข้าจริงก็เป็นเพียงแค่พูดไปวันๆเท่านั้น เพราะความเป็นจริงคุณเองต่างหากที่ทำให้บ้านเมืองแตกแยก เมื่อคนที่เป็นนายกรัฐมนตรีพูดอย่างนี้แล้วบ้านเมืองจะปรองดองได้อย่างไร”

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ: กองทัพเอาอาวุธมาฆ่าพี่น้องเรา

“ขอ ยืนยันว่าตอนนี้แม้ผมต้องเข้ามาอยู่ในเรือนจำเป็นครั้งที่ 2 แต่ก็มาจากการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย ผมยืนยันว่าจะสู้ต่อไปเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริง

ผม ยืนยันว่าไม่ได้ทำอะไรผิด เรามาทำหน้าที่ของเรา แต่เมื่อรัฐบาลกล่าวหาว่าเป็นผู้ก้อการร้าย ผมก็ยังงงว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายได้อย่างไร ในเมื่อผมไม่ได้ไปฆ่าใคร มีแต่กองทัพที่เอาอาวุธมาฆ่าพี่น้องเรา มีการใช้กำลังทหารกับเรา

ตอนนี้ผมกำลังฟิตหุ่นให้แข็งแรง ออกกำลังกายทุกวัน เพื่อเตรียมตัวออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยกับพี่น้องเสื้อแดงอีกครั้ง

ส่วน ที่ดีเอสไอบอกว่าเราฆ่ากันเอง ผมอยากถามว่าคิดได้อย่างไร และการที่ดีเอสไอคิดอะไร ทำอะไร ก็เป็นเรื่องของดีเอสไอ ผมไม่ให้ความสนใจอะไรมากนัก เพราะดีเอสไอวันนี้ทำงานเอาใจนักการเมืองเท่านั้น

อยากบอกว่าคน เสื้อแดงที่อยู่ในนี้ยังคิดถึงพี่น้องเสื้อแดงทั่วประเทศ หากมีโอกาสจะมาพบกันอีกครั้ง หลังจากประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้น”

นายขวัญชัย ไพรพนา:ต่อสู้เพื่อทวงถามประชาธิปไตยให้กับแผ่นดินเกิด

“ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้ว แม้ตอนแรกจะทำใจไม่ได้ก็ตาม แต่ตอนนี้ไม่มีอะไรแล้ว ผมยอมรับว่าที่ผ่านมาทำใจลำบากเพราะไม่เคยอยู่ในคุก

แต่มาถึงตรงนี้ผมไม่กลัวอะไรแล้ว ดีเสียอีกเพราะจะได้ออกกำลังกายมากขึ้น ตอนนี้น้ำหนักลดลงไปกว่า 10 กิโลกรัมแล้ว หุ่นดีขึ้นเยอะ

เรื่อง กำลังใจจึงไม่ต้องห่วง เพราะมีพี่น้องเสื้อแดงจากอุดรธานี และจังหวัดอื่นๆมาเยี่ยมผมเป็นจำนวนมาก เขามาเราก็ดีใจ และฝากบอกไปด้วยว่าไม่ต้องเป็นห่วง

ผมจะรักษาตัวให้ดีที่สุดเพื่อ กลับไปหาพี่น้องเสื้อแดงทุกคน อยากบอกว่าผมไม่เคยเสียใจที่ต้องมาอยู่ในนี้ แต่ผมภูมิใจที่ครั้งหนึ่งได้ร่วมกันต่อสู้กับพี่น้องประชาชนคนเสื้อแดง ต่อสู้เพื่อทวงถามประชาธิปไตยให้กับแผ่นดินเกิด”

นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย: เราเดิมพันชีวิตเราไว้แล้ว

“ตอน นี้ผมแข็งแรงดีเพราะออกกำลังกายทุกวัน และยังมีใจสู้อยู่ตลอดเวลา เพราะถ้ามองว่าไม่เป็นธรรมมันก็ไม่เป็นธรรม แต่ผมว่าก็ดีไปอย่างเพราะทำให้เรามีเวลาในการทำงานอย่างอื่นมากขึ้น ได้ดูแลร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น ตอนนี้หากมีเวลาว่างก็จะฝึกสมาธิมากขึ้น

พวกเราได้เข้ามาอยู่ในนี้อีกครั้งเพราะต้องการประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลให้ไม่ได้ การอยู่ในนี้เป็นการจำกัดอิสรภาพของเราเท่านั้น

เรา ไม่เสียใจในการทำหน้าที่ของประชาชนคนไทยที่ต้องการให้ประเทศชาติเป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ เพราะการร่วมกันสู้หมายถึงเราเดิมพันชีวิตเราไว้แล้ว

ดังนั้น แม้จะถูกขังคุก ก็ยังสูญเสียน้อยกว่าพี่น้องประชาชนที่มีอุดมการณ์ร่วมกับเราที่สูญเสียทั้ง ชีวิต บางคนสูญเสียอวัยวะ บางคนต้องเสียตา เสียแขน เสียขา เราเพียงแค่ติดคุก ซึ่งก็มีวันออก

ทั้งๆที่ความเป็นจริงเราไม่น่าจะเข้ามาอยู่ในนี้ แต่เป็นเพราะรัฐบาลไม่ต้องการให้พวกเราได้แสดงความคิดเห็นที่เป็นประชาธิปไตย

แต่ เรายังคงมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำมานั้นถูกต้อง เราต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชน แต่สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ไม่มีความยุติธรรมและความจริงเลย

ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนก็จะเรียกร้องให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นให้ได้”

นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก :ไม่เคยเสียใจหรือท้อใจต่อชะตากรรม


“ตอน แรกที่เข้ามาก็เครียดบ้างเพราะไม่เคยอยู่ในนี้ อย่างผมเป็นคนบันเทิง มีอิสระ มีเสรีภาพ เข้ามาใหม่ๆจึงลำบากหน่อย แต่พอนานไปก็ทำใจได้ ตอนนี้ก็สบายขึ้น ออกกำลังกายทุกวัน คือทุกวันผมจะวิ่งในเรือนจำกับพี่นิสิต วิ่งมาราธอนกันเลย

ผมบอกเลยว่าที่ต้องเข้ามาอยู่ในนี้ ผมไม่เคยเสียใจหรือท้อใจต่อชะตากรรม เพราะผมมีความเชื่อมั่นที่จะสร้างประชาธิปไตยในบ้านเมืองของเราให้เกิดขึ้น ให้ได้ เพียงแต่รู้สึกไม่ดีที่ไม่มีความเป็นธรรมในสังคมไทย

การที่ ผู้มีอำนาจตั้งข้อกล่าวหาเราเกินจริง ทั้งยังไม่ให้ประกันตัวอีก อ้างว่าจะหลบหนี ทั้งที่ความเป็นจริงเราเข้าไปมอบตัวกับเจ้าหน้าที่เอง หากเราตั้งใจจะหลบหนีจะมอบตัวทำไม

เรามอบตัวตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคมแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นความไม่เป็นธรรม และไม่ชอบธรรมของผู้มีอำนาจ ทุกวันนี้สิ่งที่แกนนำทุกคนที่อยู่ในนี้ทำคือการรักษาตัว และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อเตรียมตัวต่อสู้ในวันข้างหน้า”

นายสมชาย ไพบูลย์ :คุณก็หนีความจริงไม่พ้น

“ผม ยังยืนยันว่าจะสู้ต่อไป แม้จะอยู่ในนี้ผมก็ไม่มีวันท้อ แต่กลับเพิ่มกำลังใจมากขึ้นอีก เพราะได้รับความห่วงใยจากพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ

เราได้รับความ ไม่ยุติธรรมจากผู้มีอำนาจทั้งที่เราเรียกร้องประชาธิปไตย เหมือนทุกที่ในโลก ถ้าเขาเห็นว่าบ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยก็ต้องออกมาเรียกร้องตามสิทธิที่ พึงกระทำได้ แต่เขาไม่ใช้กำลังกับประชาชน

ผิดกับรัฐบาลนี้ที่ใช้ทั้งทหารและอาวุธมาห้ำหั่นประชาชน ยิงประชาชนจนตายเกือบ 100 ศพ แต่รัฐบาลกลับบอกว่าไม่ได้ทำ

อยาก บอกนายอภิสิทธิ์ว่าความจริงคือความจริง ยังไงก็หนีความจริงไม่พ้น วันนี้คุณยังมีอำนาจ คุณทำอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ แต่เมื่อคุณหมดอำนาจ วันนั้นจะรู้เองว่าความจริงคืออะไร เพราะประชาชนคงไม่ให้อภัยคนที่ฆ่าพี่น้องเขาแน่นอน”

อย่ามาทำตีแค่สำนวนโวหาร

นายสมหวัง อัสราษี :แกนนำ นปช. ที่ทำหน้าที่ดูแลแกนนำ นปช. ที่อยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

“หลัง จากแกนนำถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเข้าเรือนจำพิเศษฯ ในช่วงแรกมีคนรับไม่ได้ที่ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ โดยเฉพาะนายขวัญชัย ไพรพนา ถึงกับหลั่งน้ำตา เพื่อนๆก็ได้แต่ปลอบใจ แต่หลังจากอยู่ได้สักระยะตอนนี้ก็สบายใจขึ้น รวมทั้งได้รับกำลังใจจากคนเสื้อแดงที่ไปเยี่ยมทุกวัน เดี๋ยวนี้มีความสุขมากขึ้น

ที่นายขวัญชัยกลัวมาก เนื่องจากต้องไปอยู่ในแดน 8 ซึ่งเป็นแดนที่เป็นนักโทษเด็ดขาดเข้าออกคุกเป็นว่าเล่น และมีคดีร้ายแรงทั้งนั้น สำหรับคนอื่นๆก็มีการแยกขัง ไม่ได้อยู่รวมกัน ตั้งแต่แดน 4-8

“เรื่องอาหารผมใช้วิธีสั่งจากสโมสรของเรือนจำให้ไป รับประทานทุกวัน ซึ่งทางเรือนจำค่อนข้างเข้มงวดเรื่องนี้ แต่ดีที่สั่งอาหารจากที่นี่ได้ทำให้ไม่กังวลเรื่องนี้ ผมเองก็เข้าไปทุกวัน จัดน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกไปให้ ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะเจ้าหน้าที่ให้ความสะดวกในการเยี่ยมและส่งของ ซึ่งแกนนำที่อยู่ในนั้นก็ไม่ได้รับสิทธิพิเศษอะไร ปฏิบัติตัวเหมือนกับนักโทษคนอื่นๆ

แต่ที่ผมอยากถามรัฐบาลคือ การใช้อำนาจทั้งกำลังทหารและการออกมาขู่ไม่ให้ประกันตัวแกนนำ นปช. นั้นมาจากสาเหตุอะไร หรือเป็นเพราะกลัวว่าความจริงที่กระทำกับประชาชนในวันที่ 19 พฤษภาคม จะถูกเปิดเผยออกมา อย่ากลัวความจริง เพราะความจริงใครทำอะไรไว้ก็ต้องได้รับผลกรรมจากการกระทำนั้นแน่นอน การที่รัฐบาลใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธสงครามมาปราบปรามประชาชนไม่มีประเทศไหน ในโลกทำกัน

“ตอนนี้กลุ่ม นปช. กำลังจับตาดูว่ากรณีกลุ่มพันธมิตรฯที่ต้องขึ้นศาลในคดีก่อการร้ายเช่นกันจะ ได้รับการประกันตัวหรือไม่ เพราะกรณีของกลุ่ม นปช. ศาลเกรงว่าจะหลบหนี แต่กลุ่มพันธมิตรฯอยากไปไหน ไปทำอะไรก็ได้ หากได้รับการประกันตัวก็จะเป็นการตอกย้ำเรื่อง 2 มาตรฐาน ซึ่งจะยิ่งสร้างความแตกแยกให้กับสังคมมากขึ้น ผมอยากเรียกร้องรัฐบาลว่าหากอยากให้เกิดความปรองดองจริงต้องทำให้ความ ยุติธรรมที่แท้จริงปรากฏขึ้น อย่ามาทำตีแค่สำนวนโวหาร เพราะไม่ต่างอะไรกับลมปากที่พ่นแต่ความเหม็นเน่าออกมา”