WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 10, 2012

"รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย" ชื่นมื่น

ที่มา Voice TV



Voice News ประจำวันที่ 10 ก.พ. 55

- "รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย" ชื่นมื่น

- แอมนาสตี้ย้ำมหาวิทยาลัยไทย อย่าละเมิดสิทธิฯ

- เสกโลโซ พร้อมกับเข้าสังคมแล้ว

"รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย" ชื่นมื่น
งาน"รักเมืองไทยเดินหน้าประเทศไทย" ชื่นมื่น คนสำคัญจากทุกแวดวงเข้าร่วมงานรวมทั้งคนสำคัญอย่างพลเอกเปรม ติณสูลานนท์


แอมนาสตี้ย้ำมหาวิทยาลัยไทย อย่าละเมิดสิทธิฯ
องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนชื่อดังอย่างแอมนาสตี้เรียกร้องมหาวิทยาลัยไทย เปิดพื้นที่เสรีภาพทางวิชาการย้ำมติห้ามเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน


เสกโลโซ พร้อมกับเข้าสังคมแล้ว
เสกโลโซ พร้อมกลับสู่สังคมแล้ว หลังรับการบำบัดยาเสพติดนานครึ่งเดือนเจ้าตัวเผยไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด อีก พร้อมเอาอาชีพนักร้องในวงการการันตี

รีวิวหนังสือ A Life’s Work โดย พอล เอ็ม แฮนด์ลีย์

ที่มา ประชาไท


“งานชิ้นนี้ไม่ได้เข้ายึดครองการอธิบายเกี่ยวกับสถาบันฯโดยตรง
แต่เป็นงานที่พยายามให้สถาบันกษัตริย์ผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ให้ง่ายขึ้น”

---

ปลายปีที่ผ่านมามีการออกหนังสือ King Bhumibol Adulyadej, A Life’s Work: Thailand’s Monarchy in Perspective หนังสือเล่มนี้เป็นที่สนใจของปัญญาชนทั้งสายอนุรักษ์นิยมและสายวิพากษ์ โดยถือว่าเป็น “เสียง” ที่ออกมาจากทางฝ่ายสถาบันพระมหากษัตริย์หลังจากที่ประเทศไทยผ่านวิกฤตการณ์ ทางการเมืองโดยเฉพาะตั้งแต่รัฐประหาร พ.ศ.2549 เป็นต้นมา

พอล เอ็ม แฮนด์ลีย์ นักข่าวผู้เขียนหนังสือเล่มสำคัญคือ The King Never Smiles: A Biography of Thailand’s Bhumibol Adulaydej ซึ่งเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทย ได้เขียนบทรีวิวหนังสือเล่มนี้ในเวบไซต์นิวมันดาลา [http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2012/01/16/review-of-a-life%E2%80%99s-work-tlcnmrev-xxxi/] ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในกระทู้นี้ และมุมมองต่อหนังสือเล่มนี้อันแตกต่างกันไปอย่างสำคัญ

คณะนักเขียนแสงสำนึกเห็นว่า บทรีวิวนี้มีประโยชน์ในการจะเปิดพื้นที่การอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องสถาบันพระ มหากษัตริย์ไทยในสมัยใหม่ จึงแปลและเรียบเรียงมาแลกเปลี่ยนกับผู้ที่สนใจ

0 0 0

ในวาระครบรอบการครองราชย์ 50 ปีของพระมหากษัตริย์ในปี พ.ศ.2539 ราชสำนักได้ออกหนังสือเล่มหนาเกี่ยวกับชีวิตและงานของพระองค์ ซึ่งเสนอภาพใหม่ๆ ของรัชกาลปัจจุบัน การออกหนังสือในปีนั้นถือว่าช้าไปมากแล้ว ประเทศไทยผ่านการเติบโตทางเศรษฐกิจติดต่อกันเป็นสิบๆ ปี และทำให้สังคมมีสปริตของความมุ่งมั่น เพราะความเป็นสังคมทุนนิยมอย่างเข้มข้นและบริโภคนิยม ทำให้เกิดข้อเรียกร้องจะมีรัฐบาลที่ดีกว่าเดิม มีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าเดิม การเติบโตทางเศรษฐกิจครั้งนั้นทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกทิ้งให้ล้าหลัง แน่นอน เราในวันนี้รู้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจกำลังจะตามมาในหนึ่งปีหลังจากนั้น แต่ในเวลานั้นไม่มีใครรู้ และจะต้องมีอะไรบางอย่างที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ทันกับยุคกับสมัย

เพราะฉะนั้นหนังสือ Thailand’s Guiding Light [1] จึงเกิดขึ้น พิมพ์โดยบางกอกโพสต์ แต่ชัดเจนว่าได้รับการสนับสนุนจากราชสำนัก ในหนังสือเล่มนี้ สุเมธ ตันติเวชกุล และอานันท์ ปันยารชุน ได้กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างระมัดระวังในฐานะสถาบันในสมัยใหม่ สุเมธผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาของพระมหากษัตริย์ได้ฉายภาพว่า พระองค์เป็น “นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม” สมัยใหม่ ด้วยทรงเข้าใจถึงปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ก่อนหน้ากระแสเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะเกิดเสียอีก ท่ามกลางข้อเรียกร้องให้มีส่วนร่วมของสาธารณะในโครงการใหญ่ต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อชาวบ้านนั้น สุเมธกล่าวว่า “พระองค์ทรงยึดหลักการมีส่วนร่วมรับรู้รับฟังของสาธารณะตลอด 30 ปีที่ผ่านมา...ซึ่งเป็นกระบวนการที่โปร่งใสในการมีส่วนร่วมของสาธารณะ...มัน ไม่ได้เป็นระบบระเบียบ แต่เป็นธรรมชาติ”

ส่วนอานันท์ ผู้มีความใกล้ชิดกับทางราชสำนัก ได้อธิบายถึงพระเจ้าอยู่หัวฯว่า เป็นนักรัฐธรรมนูญที่ยึดหลักความรับผิดชอบ

ปัจจุบันประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็น ประมุข มุ่งหวังจะเป็นประเทศที่สังคมพัฒนาแล้ว แต่หลักการทางจารีตประเพณีของธรรมราชาและทศพิธราชธรรมยังคงมีความสำคัญอัน ยิ่งยวดต่อสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงแสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่องถึงความเข้าใจต่อความเป็นกษัตริย์ใน ระบอบรัฐธรรมนูญ และความเป็นสัญลักษณ์ของจารีตประเพณีการปกครองของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ในขณะเดียวกัน

ต่างจากในอดีตที่ผ่านมา อานันท์ได้ยืนยันว่า พระมหากษัตริย์ทรงเกี่ยวข้องกับการเมือง ทรงพบกับนายกรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ “เพราะฉะนั้นอิทธิพลทางอ้อมของพระองค์ต่อนโยบายและมาตรการของรัฐบาลไม่ควร ถูกมองข้าม” นี่เป็นเรื่องใหม่และสร้างสรรค์และเป็นประชาธิปไตยในสมัยใหม่ อานันท์ยังได้กล่าวว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีสิทธิทางรัฐธรรมนูญ โดยเขาไม่ได้อ้างกฎหมายไทย แต่อ้างไปถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบอบรัฐธรรมนูญชาวอังกฤษของศตวรรษที่ 19 วอลเตอร์ เบกอต ผู้ซึ่งกล่าวว่ากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญอังกฤษทรงมีสิทธิสามประการ คือให้คำแนะนำ ตักเตือน และกระตุ้น อานันท์เสริมว่า “พระองค์ยังทรงยึดหลักความรับผิดชอบ ที่พระองค์ทรงทำนั้นสาธารณะสามารถเห็นได้ ซึ่งมันไม่ใช่ภาระความรับผิดชอบในความหมายทางกฎหมาย ...แต่มันมีความโปร่งใสอยู่...”

การให้ภาพใหม่แม้ไมได้นำสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทันไปกับยุคสมัยเศรษฐกิจ เติบโต แต่ก็ได้นำสถาบันฯออกมาข้างหน้า การล่มสลายของเศรษฐกิจในปีถัดมา ทำให้สิ่งต่างๆ กลับหัวกลับหางชั่วคราว แต่ทันใดนั้นก็ทำให้พระมหากษัตริย์มีตำแหน่งแห่งที่อย่างสมบูรณ์ โดยอยู่ตรงกลางของ ยุคสมัย ของความเป็นสมัยใหม่และความเรียบง่าย และทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงก็อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมด พระองค์ทรงกินข้าวกล้อง และทุกคนก็ปฏิบัติตาม รู้ว่าทรงเป็นฝ่ายถูกมาโดยตลอด

---

ทศวรรษครึ่งถัดมา วาระพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ คลื่นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ที่ทำให้สถาบันเริ่มตกสมัยก็ได้ผลักให้หนังสือ เล่มใหม่ออกมา อีกครั้งที่มีอานันท์และสุเมธเป็นผู้นำ อีกครั้งหนึ่งที่พวกเขานำสถาบันฯมาข้างหน้า และอีกครั้ง หากแต่ด้วยความระมัดระวังล้นเกิน และการอาศัยการตีความ พวกเขาไปไม่ถึงในสิ่งที่จะต้องทำให้แก่สถาบัน แต่พวกเขาก็ได้ทำมากพอที่จะรักษาภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์เอาไว้ และนั่นดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับวันนี้

A Life’s Work เป็นหนังสือเล่มหนาจากสำนักพิมพ์สัญชาติสิงคโปร์ Didier Millet เขียนโดยนักเขียนผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมืองไทยอย่างคริส เบเกอร์ เดวิด สเตร็คฟัส พอพันธ์ อุยยานนท์ นักข่าวและอดีตนักข่าว โดมินิค ฟาวเดอร์ จูเลียน เกียริ่ง ริชาร์ด เออลิช พอล วีเดล โรเบิร์ต ฮอร์น และโรเบิร์ต วูดโรว รวมทั้งนักเขียนสารคดีท่องเที่ยวโจ คัมมิ่งส์

ผู้ดูแลการผลิต ในแง่หนึ่งถือได้ว่า เป็นคณะกรรมการด้านยุทธศาสตร์จากทางราชสำนัก อานันท์ สุเมธ บุตรี วีระไวทยะ ปราโมทย์ ไม้กลัด วิษณุ เครืองามและคนอื่นๆ

ในขณะที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคปลายรัชกาล และหลังจากที่ความวุ่นวายในหลายปีที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิดการอภิปรายและการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างกว้างขวาง (รวมทั้งงานของผู้เขียนเอง) พระมหากษัตริย์ควรจะมีหนังสือใหม่อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับพระองค์ เกี่ยวกับชีวิตและงานของพระองค์ เป็นหนังสือที่ไม่ต้องมีทิศทางแบบวิพากษ์วิจารณ์ แต่สามารถเติมรอยโหว่ของหนังสือชีวประวัติของพระองค์ที่ผ่านมา สามารถแก้ไขวันที่และรายชื่อต่างๆ ให้ถูกต้อง เป็นหนังสือที่ “นำเสนอ” มากกว่าที่จะ “สรรเสริญ” ชีวิตของพระองค์ หลังจากระยะเวลา 65 ปีของการครองราชย์นั้น กระบวนการสร้างมายาคติสามารถทำงานของมันได้เองอยู่แล้ว

ชื่อรองของหนังสือ “Thailand’s Monarchy in Perspective” บอกถึงจุดประสงค์อีกอันหนึ่ง คือมันส่งสัญญาณว่า ถึงแม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะไม่ได้เป็นการตอบโดยตรงต่อ The King Never Smiles [2, TKNS หลังจากนี้] และงานวิพากษ์อื่นๆ จากนั้น แต่มันก็คือการตอบโต้ คือการ “ขอคืนพื้นที่” การอธิบายจากผู้ที่วิพากษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด มันขอคืนพื้นที่จาก TKNS จากสเตรคฟัส [3] จากสื่อและองค์กรสิทธิมนุษยชนเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ขอคืนพื้นที่การอธิบายจากพอพันธ์ [4] และนิตยสารฟอร์บส์ [5] ในเรื่องความมั่งคั่งของราชวงศ์ และงานอื่นๆ ที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยใหม่

ทางราชสำนักยังมีอีกบางเรื่องที่ต้องสื่อสารออกมา คือหนึ่ง - สถาบันพระมหากษัตริย์กำลังถูกคุกคาม ซึ่งทำให้การคงอยู่ของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นเรื่องจำเป็น สอง - เรื่องความมั่งคั่งของราชวงศ์ ว่าเป็นของราชวงศ์เอง ไม่ใช่ของสาธารณะ และสาม – สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชจะเป็นผู้ขึ้นครองราชย์

ไม่มีอะไรผิดเกี่ยวกับการประกาศจุดยืนของตนเอง สถาบันจะต้องตามสถานการณ์ปัจจุบันให้ทัน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เวบไซต์ประชาไทหรือในห้องแชทต่างๆ แต่กับเวทีอภิปรายวิชาการต่างๆ กับสื่อต่างประเทศ และสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 2540 ที่ปฏิเสธไม่ได้ และต้องหยุดข้อสงสัยโดยเฉพาะเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์

ในแง่ของสไตล์ หนังสือเล่มนี้เป็นความยุ่งเหยิง มันแสดงเรื่องประวัติศาสตร์กษัตริย์ของราชอาณาจักรสยาม ชีวิตของพระมหากษัตริย์ในช่วง 12 รอบที่ผ่านมา งานด้านการพัฒนา และส่วนที่พูดถึงประเด็นร้อน – ความร่ำรวยของสถาบัน เรื่ององคมนตรี การสืบราชสันตติวงศ์และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เราไม่รู้ว่าใครเป็นผู้เขียนและตรวจส่วนต่างๆ เหล่านี้ แต่อย่างน้อยเราเห็นได้อย่างชัดเจนว่า กองบรรณาธิการพยายามไม่ให้มัน “แรงเกินไป” โดยเฉพาะว่าผู้เขียนเหล่านี้ก็คือคนที่ต้องการตามให้ทันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม แม้ในขณะที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ของตัวเอง แต่ A Life’s Work ไม่ได้เป็นงานอำพรางข้อเท็จจริง งานชิ้นนี้ไม่ได้เข้ายึดครองการอธิบายเกี่ยวกับสถาบันฯโดยตรง แต่มันพยายามให้สถาบันกษัตริย์ผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ให้ง่ายขึ้น

คำนำของอานันท์แสดงให้เห็นว่า ราชสำนักได้เห็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารใหม่ที่ตนเองจะต้องพบ และเน้นในวิธีการ “สร้างความสมดุลย์ ความเป็นภววิสัย และความถูกต้อง” ในเรื่อง “ที่เป็นที่สนใจไปตลอดของคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย” (น.11)

คำบรรยายเกี่ยวกับประเพณีของสถาบันกษัตริย์ก็เป็นไปตามปกติมาตรฐานที่ อธิบายกันทั่วไป โดยอธิบายพัฒนาการของมโนทัศน์เรื่องธรรมราชาอันมีความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งในสมัยอยุธยานั้นอ่อนแอ แต่เริ่มมาแข็งแรงมากขึ้นในยุคของราชวงศ์จักรี ข้อมูลเพิ่มเติมของพระมหากษัตรยิ์ในราชวงศ์จักรีนั้น ดูจะมีมายาคติน้อยกว่าที่เคย โดยมีการเปรยถึงความโกลาหลสมัยรัชกาลที่ 6 และรับรู้ถึงความอ่อนแอที่นำมาซึ่งการปฏิวัติ พ.ศ.2475 แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ใส่ร้ายคณะราษฎร การสละราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ถูกกล่าวถึงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มันก็หยุดการอธิบายอย่างที่เคยผ่านมา ว่ารัชกาลที่ 7 ทรงมีศีลธรรมอันสูงส่งกว่าเหล่านักการเมืองที่เข้ามาแสวงหาอำนาจ ถึงกระนั้นงานชิ้นนี้ก็ยกพระมหากษัตริย์ว่าเป็นตัวเลือกที่ “เหมาะสมที่สุด” (น.41) ในการจะกอบกู้ราชบัลลังก์ แต่โดยรวมแล้ว หนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้เต็มไปด้วยคำยกยอปอปั้นหรือคำสรรเสริญแต่อย่างใด

ในส่วนชีวประวัติของ A Life’s Work นั้น ดูจะดีที่สุดจากมุมมองของการอธิบายแบบกระแสหลัก มันพูดถึงเหตุการณ์สำคัญๆ เกือบทั้งหมด ได้เรียงร้อยเรื่องการเมืองเข้ากับพัฒนาการของครอบครัว และโครงการส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ กรณีสวรรคตของในหลวงอานันท์ก็ถูกพูดถึง พูดถึงทฤษฎีที่มีการกล่าวถึงทั้งหมด – แต่ไม่รวมถึงทฤษฎีที่คนกล่าวถึงมากที่สุดเอาไว้ด้วย เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ไม่มีข้อมูลอะไรใหม่ในเรื่องนี้เลย ทิ้งให้เรื่องนี้เป็นปริศนาเหมือนเดิม

ความวุ่นวายของช่วงกลางทศวรรษที่ 2510 ก็ถูกเล่าแปลกๆ ซ้ำๆ หนังสือเล่าว่า เดือนธันวาคม พ.ศ.2518 พระมหากษัตริย์ทรง “ไม่ได้วิตกกับการล้มลงของโดมิโนในอินโดจีน” (น.133) ยังเล่าอีกว่า ในเดือนกันยายน พ.ศ.2519 พระมหากษัตริย์และพระราชินีไม่ได้พบกับถนอม กิตติขจร หลังจากที่เดินทางกลับเมืองไทยและบวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ส่วนวันที่ 6-7 ตุลาคม พระมหากษัตริย์เสวยข้าวเย็นกับเจ้าหญิงอลิกซ์ของเบลเยียม จากนั้นก็พบผู้บริจาคเงินโครงการพระราชดำริ และทรงออกไปวิ่งจ๊อกกิ้ง “โดยลำพังอย่างครุ่นคิด” (น.137)

รัฐประหารในปีพ.ศ.2534-2535 และการลุกขึ้นประท้วง ก็ถูกเล่าออกมา ส่วนใหญ่จากมุมมองของผู้ประท้วง โดยดูจะพยายามไม่เลือกข้าง

แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ หนังสือได้กล่าวถึงเรื่องของบุคคลสำคัญทางการเมืองที่จะต้องต่อสู้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาในสื่อกระแสหลักและหนังสือเรียนไม่เคยพูดถึง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ปรีดี พนมยงค์ และนายกรัฐมนตรีเกือบทุกคน อาจจะยกเว้นก็คือจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ในวัฒนธรรมทางการก็ไม่มีคนทั้งสองเช่นกัน

แม้บทบาทของบุคคลสำคัญทางการเมืองเหล่านี้ดูจะไม่ชัดเจนในหนังสือเล่มนี้ แต่อย่างน้อยที่สุด มันได้แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์และความแตกต่างของประเด็นทางการเมืองที่ เป็นปัญหาของทั้งสองฝ่าย จอมพล ป.มี “บุคคลิกที่มีเสน่ห์เวลาปรากฏตัว” และ “หนังเหนียว” (น.94) แน่นอนว่าจอมพลสฤษดิ์จงรักภักดีมากกว่า แต่ชื่อเสียงในทางลบก็มีมาก ส่วนของจอมพลถนอม-ประภาสแทบจะไม่มีการกล่าวถึง แต่สิ่งที่กล่าวนั้นก็ค่อนข้างเป็นแง่ลบทีเดียว สำหรับเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์นั้นมีอำนาจ “ปานกลาง” (น.137)

งานชิ้นนี้ก็ครอบคลุมถึงทักษิณ ชินวัตร และการต่อสู้เสื้อเหลืองเสื้อแดง โดยยอมรับถึงความนิยมของทักษิณ และลักษณะความเป็นผู้นำที่เด็ดขาด ในหนังสือเล่มนี้ทักษิณดูจะเป็นบุคคลผู้จงรักภักดีอย่างมาก กล่าวถึงเสื้อเหลืองเสื้อแดงว่า ต่างสร้างความวุ่นวายและความเสียหาย ทั้งนี้เสื้อแดงดูจะแย่กว่าเล็กน้อย – รัฐประหาร พ.ศ.2549 นั้นเป็น “หายนะ” (น.178) และองคมนตรีสุรยุทธ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ล้มเหลว

และหนังสือก็กล่าวอย่างไม่อ้างอิงหลักฐานใดๆ ถึงสมาชิกราชวงศ์และงานศพของผู้เคลื่อนไหวเสื้อเหลืองคนหนึ่ง (น.180) และเสียงกระซิบกระซาบถึงคำวิจารณ์และความวุ่นวายทางการเมือง อย่างไรก็ตาม หนังสือยืนยันว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไม่แสดงสัญญาณการเข้าข้างฝ่ายใดๆ” (น.180) ในส่วนการรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทรงดำรงอยู่เหนือความขัดแย้ง เมื่อประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญได้ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง

ในขณะที่หนังสือเล่มนี้เป็นการพยายามปรับปรุงจากประวัติศาสตร์ฉบับทางการ ก่อนหน้านี้ แต่มันก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ไม่ใช่เพราะว่ามันเต็มไปด้วยอคติ หากแต่เพราะมันใช้ “วิธีการทางประวัติศาสตร์แบบฟอเรสต์ กัมป์” ในหนังเรื่องนั้น เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ด้วยวิธีการมองแบบคลุมเครือ โหยหาอดีต ประวัติศาสตร์แบบนี้ไม่มีอะไรดีหรือเลว เหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นในยุคของมัน

ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้ การปฏิวัติ พ.ศ.2475 กรณีสวรรคตของในหลวงอานันทมหิดล และความพ่ายแพ้ของจอมพล ป. และปรีดี ความรุนแรงในทศวรรษที่ 2510 และเหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ.2535 ได้เกิดขึ้นทั้งหมด กลุ่มต่างๆ ปะทะกัน สันติภาพกลับมา และประเทศไทยก็เดินต่อไป แต่มันไม่ชัดเจนเลยว่า ทำไมบุคคลหรือเหตุการณ์เหล่านั้นได้เกิดขึ้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ที่นั่นเสมอ อย่างต่อเนื่องและแน่วแน่อยู่ข้างประชาชน และอานันท์ก็ได้สรุปในส่วนนี้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการให้คำปรึกษา กระตุ้น และตักเตือนรัฐบาล แต่ “เช่นเดียวกับราชวงศ์ทั่วโลก” พระองค์ไม่ได้บอกเรื่องนี้กับสาธารณชน

ส่วนที่สองของหนังสือครอบคลุมงานของพระมหากษัตริย์ในเรื่องสาธารณสุข การศึกษา การพัฒนาชนบทและเศรษฐกิจพอเพียง ถึงแม้จะมีรายละเอียดบางประการที่แสดงให้เห็นข้อวิจารณ์ของโครงการพระราช ดำริก็ตาม แต่โดยรวมแล้วไม่มีอะไรใหม่ในส่วนนี้ ส่วนที่พูดถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง เหมือนรายงานของ UNDP ในปีพ.ศ.2550 ที่เคยเขียนมาแล้ว จุดประสงค์หลักของส่วนนี้ คือต้องการแก้ไขความเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์ ว่าจริงๆ แนวคิดของพระองค์เป็นหลักการโดยกว้าง ไม่ได้เป็นแผนการพัฒนา และพระองค์หมายความถึง ความพอเพียงโดยรวม ไม่ใช่กับเฉพาะปัจเจกเท่านั้น โดยยังมีหวังว่านักวิชาการจะเห็นด้วย

เวลาไม่กี่ปีอาจสั้นเกินไปที่จะประเมินผลกระทบของของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ผู้สนับสนุนทฤษฎีนี้เน้นว่า ยังต้องการการเปลี่ยนแปลงของความคิดอย่างลึกซึ้ง และนั่นคงกำลังเกิดขึ้น แต่จะต้องรอการขึ้นมาของคนรุ่นที่ได้ศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่โรงเรียน (น.279)

---

ส่วนที่ 3 ของ A Life’s Work “มงกุฏ” ไม่ได้พูดถึงพระมหากษัตริย์ แต่เป็น “ประเด็นที่เราจะต้องขบคิด เพราะคนจะไม่หยุดพูดถึงเรื่องเหล่านี้” นั่นก็คือเรื่องความมั่งคั่งของราชวงศ์ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การสืบราชสันตติวงศ์ และเรื่องคณะองคมนตรี แต่ละเรื่องถูกพูดถึงทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และแง่กฎหมาย และส่วนนี้ของหนังสือเห็นได้ถึงการยอมรับการตรวจสอบมากขึ้นของราชสำนัก

ในเรื่องคณะองคมนตรี หนังสือยืนยันว่า องคมนตรีมีบทบาทจำกัดและไม่ได้มีอำนาจที่แท้จริง โดยมีอยู่เพื่อพิจารณาโครงการหลวงและตรวจสอบเอกสารการขอพระราชทานอภัยโทษตาม ที่องคมนตรีเกษม วัฒนชัย ได้กล่าวเอาไว้ว่า คนเชื่อว่าองคมนตรีมีอำนาจเพราะชื่อตำแหน่ง และนักข่าว นักวิชาการมักนำสิ่งที่องคมนตรีกล่าวไปเสนอซ้ำ “คนไทยเชื่อว่าอะไรที่ดูสูงส่งมักจะมีอำนาจ” (น.322)

กระนั้นหนังสือก็กล่าวว่า คณะองคมนตรี “จู่ๆก็กลายมาเป็นประเด็นการอภิปรายอย่างกว้างขวาง” (น.3231) รวมทั้งข้อกล่าวหาที่ว่า องคมนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐประหารในปี พ.ศ.2549 หนังสือไม่ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ แต่กล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง องคมนตรีคงได้ “กระทำไปโดยฐานะส่วนตัว” คำพูดของ พล.อ.เปรม ที่กล่าวกับกองทัพหน่วยต่างๆ ก่อนหน้าการรัฐประหารที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางนั้น “ไม่ได้กระทำในฐานะประธานองคมนตรี” (น.323)

ในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ หนังสือได้กล่าวถึงฐานะทางประวัติศาสตร์และกฎหมายโดยละเอียด ยืนยันราชประเพณีของราชวงศ์จักรีว่า “รัชทายาทที่ฉลาดที่สุดและเหมาะสมที่สุดจะถูกเลือก” (น.327) หนังสือยังกล่าวถึงอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการเลือกผู้ที่พระองค์ต้องการ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญและกฎมณเฑียรบาลปี พ.ศ.2467 จะบัญญัติว่าอย่างไร

แต่ก็แปลกที่หนังสือกล่าวถึงการอนุญาตให้มีผู้สืบทอดหญิงในรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 โดยไม่อธิบายว่าเพราะอะไร – ว่าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเป็นเพียงรัชทายาทชายองค์เดียวที่เหลือในรุ่นของ พระองค์ และหนังสือก็ไม่ได้กล่าวว่า รัฐธรรมนูญและกฎหมายปี พ.ศ.2467 ที่ว่าผู้หญิงไม่สามารถขึ้นครองราชย์ได้นั้นถูกประนีประนอมอย่างไร ในหนังสือไม่มีการกล่าวถึงสมเด็จพระเทพฯ ในบทเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ แม้จะได้รับความนิยมและได้รับตำแหน่งเป็นสยามบรมราชกุมารีในปี พ.ศ.2520 นัยว่าทรงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งด้วย แทนที่จะเป็นเช่นนั้น หนังสือสรุปว่า

ยังมีความเชื่อกันอยู่ว่า...ยังไม่มีการตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ที่จะ ขึ้นครองราชย์...หากทุกอย่างยังเป็นเช่นในปี พ.ศ.2554 เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม คณะรัฐมนตรีจะเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้จะเชิญเสด็จสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชขึ้นครองราชย์ (น.333)

ส่วนที่พูดถึงความมั่งคั่งของสถาบันฯและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์ก็น่าสังเกต ที่อ้างถึงงานศึกษาชิ้นสำคัญของพอพันธ์ อุยยานนท์ ว่ามีทรัพย์สินอยู่ 3 หมื่น 3 พันล้านเหรียญ (ในปี พ.ศ.2548) และนั่นก็เป็นหลักฐานที่นิตยสารฟอร์บส์นำไปใช้ในการมองพระมหากษัตริย์ว่า เป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก (โดยไม่ได้นับรวมความมั่งคั่งจากการค้าน้ำมันของกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิ์ของ อ่าวเปอร์เซียด้วย) ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ซึ่งดูเหมือนว่าจะช่วยในการเขียนส่วนนี้ ดูจะยอมรับว่า มีความสนใจพุ่งมาที่สถาบันพระมหากษัตริย์ เขาได้เพิ่มรายละเอียดทางประวัติศาสตร์บางอย่างลงไป และได้ยืนยันตรงไปตรงมาว่า สำนักงานทรัพย์สินฯไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ แม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติให้พระองค์มีอำนาจเช่นนั้นก็ตาม แต่สำนักงานทรัพย์สินฯเป็นของพระมหากษัตริย์ในฐานะ “สถาบัน” (น.283) และมันไม่ได้เป็นภาระใดๆ ของประชาชน แต่หลักการรับผิดชอบก็มีข้อจำกัดของมันเช่นกัน จิรายุกล่าวว่า “ความสงสัยที่เกิดขึ้นมากมายจะทำให้ความสัมพันธ์ที่มีเกียรติและดำรงอยู่ ด้วยความเชื่อนั้นเสื่อมถอยลง กำไรที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯในยุคสมัยนี้ ทำให้ผมคิดอย่างจริงจังอยู่ตลอดเวลาถึงความสมดุลย์อันเหมาะสม” (น.301)

และส่วนสุดท้าย กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เวลานี้มีผู้ถูกจับกุมมากมาย และหลายคนก็ถูกตัดสินคุมขังจากกฎหมายนี้แล้ว ฉะนั้นราชสำนักก็คงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องนี้ได้ยาก หนังสือกล่าวว่า เรื่องนี้เป็น “ขวากหนามอันใหญ่” (น.303) ในหลายกรณี แต่ไม่ได้บอกว่าเพราะเหตุใด ตอนนี้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ออกมาแล้ว ใครๆ ก็กล่าวหาคนอื่นได้ คดีก็จะไปตามระบบราชการ และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยว่าคดีจะตกไป ความเสี่ยงเรื่องการจะได้รับโทษนั้น “มีอย่างท่วมท้น” (น.309)

หนังสือกล่าวว่า นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่การมีอยู่ของกฎหมาย แต่อยู่ที่การเพิ่มขึ้นของการใช้กฎหมาย อัตราโทษ และกฎหมายถูกใช้ในฐานะอาวุธทางการเมือง โดยเฉพาะตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 แต่หากนี่จะทำให้ใครคิดว่าราชสำนักจะส่งสัญญาณว่า ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ ก็นับว่าคิดผิดถนัด เพราะในขณะเดียวกัน หนังสือก็กล่าวด้วยว่า ทำไมกฎหมายนี้ถึงจำเป็น ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์ทรง “ไม่เคยฟ้องร้องประชาชนของพระองค์หรือใช้กฎหมายนี้เองเลย” (น.309)

สำหรับผู้เชี่ยวชาญกฎหมายฝ่ายนิยมเจ้าอย่างบวรศักดิ์ อุวรรณโณแล้ว กฎหมายนี้มีรากความเป็นมายาวนานในวัฒนธรรมไทย และความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ “มีลักษณะเฉพาะ” นอกจากนี้อานันท์กล่าวว่า “ผมเชื่อว่าพระองค์ไม่ได้สนพระทัยว่า กฎหมายนี้มีอยู่หรือไม่ แต่คนไทยจะไม่ยอมให้มีการวิพากษ์วิจารณ์พระองค์” (น.313)

หนังสือกล่าวว่า มากกว่านั้นคือภัยคุกคามที่แท้จริงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แม้สภาความมั่นคงแห่งชาติในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พิจารณาว่า การบังคับใช้กฎหมายนี้จะส่งผลเสียต่อประเทศและสถาบันฯเอง แต่ข้อสรุปสำคัญก็คือ “กฎหมายหมิ่นฯยังจำเป็นสำหรับการต่อต้านผู้ที่มีจุดประสงค์จะล้มล้าง สถาบันฯ” และ “คณะกรรมการฯพิจารณาเห็นว่าไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อกฎหมายหมิ่นฯ ทั้งนี้เพราะมีภัยที่แท้จริงต่อสถาบันฯ ซึ่งจะมองข้ามไปไม่ได้” (น.312) ยังมีต่ออีกว่า

ชัดเจนว่าการโจมตีพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์และสถาบันของราชวงศ์ในอินเตอร์เน็ต และการพูดในสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องนี้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ เรื่องการต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายนี้ (น.308)

หนังสือไม่ได้บอกว่าภัยนั้นคืออะไร และมาจากไหน ไม่มีความคิดเห็นโดยตรงจากราชสำนักเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่สำหรับใครที่หวังว่าจะมีการออกมาวิพากษ์กฎหมายโดยพระมหากษัตริย์นั้นล่ะ ก็ ผู้เขียนเห็นว่า การตอกย้ำความชอบธรรมของกฎหมายนี้ก็ถือว่าชัดเจนอยู่แล้วว่าราชสำนักคิดอะไร หนังสือกล่าวไว้ว่า ราชสำนักมองว่า ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายหมิ่นฯบางประเภทนั้นอันตราย ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เช่นนักวิชาการ นักข่าว ชาวต่างชาติขี้เมา เป็นต้น ไม่ได้สลักสำคัญ และไม่เห็นความจำเป็นในการลงโทษจริงจังอะไร แต่หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงยอมรับว่า คนทุกคนไม่เท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย แต่มันยังไม่ได้ตอบคำถามว่า แล้วคนไทยที่นำงานเขียนของนักวิชาการและนักข่าวต่างประเทศมาเผยแพร่ล่ะ? มันจะมีวิธีที่ชอบธรรมในระยะยาว ในการบังคับใช้กฎหมายนี้อย่างไม่เป็นการเมืองไหม?

---

ในฐานะที่เป็นหนังสือที่ระลึกของรัชสมัยปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ (รวมทั้งรูปที่พระองค์ทรงยิ้มที่เราไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก) ก็ทำหน้าที่ของมันได้ดี ทำให้ทันสมัยและปัดฝุ่นชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่แม้ว่าส่วนที่ 3 จะต่างออกไปจากส่วนอื่นของหนังสือมากก็ตาม บางคนก็อยากจะปรบมือให้กับราชสำนักที่รวมประเด็นร้อนๆ เหล่านี้เข้าไปในหนังสือด้วย และแน่นอนว่า มันถึงเวลาที่จะต้องมีการส่งสัญญาณของรัชกาลต่อไป หนังสือเล่มนี้ให้เหตุผลสนับสนุนการไม่เปลี่ยนแปลงของสถาบันฯ ซึ่งนั่นดูจะไม่ใช่วิธีอยู่ต่อไปที่ดีนัก

* พอล เอ็ม แฮนด์ลีย์ นักข่าว Agence France-Presse ในวอชิงตัน เขาเป็นผู้เขียนหนังสือสำคัญ The King Never Smiles: A Biography of Thailand’s Bhumibol Adulyadej (2006)

อ้างอิง
1. King Bhumibol Adulyadej : Thailand’s Guiding Light (Bangkok: Post Publishing, 1996).

2. Paul M. Handley, The King Never Smiles: A Biography of Thailand’s Bhumibol Adulaydej (New Haven: Yale University Press, 2006).

3. David Streckfuss, Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lèse-majsté (Milton Park, Oxon., and New York: Routledge, 2011).

4. ตัวอย่างเช่น Porphant Ouyyanont, “The Crown Property Bureau from Crisis to Opportunity,” pp. 155-186 in Pasuk Phongphaichit and Chris Baker, Thai Capital after the 1997 Crisis (Chiang Mai: Silkworm Books, 2008).

5. ดูเร็วๆนี้ใน “The World’s Richest Royals,” Forbes, 29 April 2011, at http://www.forbes.com/sites/investopedia/2011/04/29/the-worlds-richest-royals/.

คุยกับนักปรัชญาชายขอบ ว่าด้วยความดีที่ไม่หลากหลาย

ที่มา ประชาไท

บทสนทนาใต้ร่มพุทธศาสนาในสังคมไทยในฐานะเครื่องมือทางการเมืองที่ถูก อธิบายว่าปลอดพ้นจากการเมือง “ปัจจุบันเราใช้ธรรมะเป็น ‘วาทกรรม’ เพื่อตอบสนองจุดประสงค์อื่นๆ เช่น ยกย่องสถานะศักดิ์สิทธิ์ทางชนชั้น ใช้อ้างในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อยกตัวเอง พวกตัวเองให้สูงส่งแล้วกดอีกฝ่ายให้ต่ำลง”...

ประชาไทคุยกับสุรพศ ทวีศักดิ์ หรือ “นักปรัชญาชายขอบ” ในฐานะที่เป็นนักวิชาการด้านปรัชญาศาสนา ซึ่งวิพากษ์บทบาทพระสงฆ์ในทางสังคมการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง เราถามเขาในหลายๆ คำถามที่คาใจเกี่ยวกับบทบาทของพุทธศาสนาและคำสอนแบบพุทธๆ ในสังคมไทยซึ่งลักลั่นอิหลักอิเหลื่อในการอ้างอิงมาใช้รองรับความชอบธรรมใน ทางการเมือง แต่ขณะเดียวกันกลับถูกมองว่าบริสุทธิ์หลุดพ้นจากการเมือง

ตกลงว่าศาสนาพุทธสอนให้คนเป็นคนดีหรือไม่
อยู่ที่เราจะนิยาม “คนดี” ว่าอย่างไร ในทางจริยธรรมคนดีมีความสัมพันธ์กับความดี แต่ “ความดี” มันมีสองความหมายคือ 1) คุณธรรม หมายถึงคุณสมบัติที่ดีบางอย่างที่เราต้องสร้างขึ้นเป็นลักษณะนิสัยของตนเอง เช่น ความมีปัญญา ความกล้าหาญ ความอดทน ความเสียสละ การมีจิตใจที่รักความยุติธรรม

2) จริยธรรม คือหลักการ หรือกฎที่คนเราพึงยึดถือปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งมีหลากหลาย เช่น หลักจริยธรรมของศาสนาต่างๆ หลักจริยธรรมสากลคือ หลักสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ความยุติธรรม

จะเห็นว่าคุณธรรมเป็นเรื่องที่แต่ละคนจะสร้างขึ้นในตัวเอง แต่จริยธรรมเป็นหลักการในการอยู่ร่วมกัน หลักสิทธิมนุษยชนหรือกติกาในสังคมประชาธิปไตยก็สร้างขึ้นจากการยอมรับคุณค่า ตามหลักจริยธรรมสากล

ทีนี้การมีคุณธรรมถือว่าเป็น “คนดี” ไหม ก็ตอบได้ว่าเป็นคนดีในความหมายว่าดีสำหรับตัวเอง เช่น มีปัญญา มีความอดทน มีความกล้าหาญ ก็ดีสำหรับตัวเขาเอง แต่ดีสำหรับคนอื่นไหม ก็ดีได้ถ้าเขามีคุณธรรมในสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ เช่น มีเมตตา มีน้ำใจ มีความเสียสละ มีจิตใจรักความยุติธรรม ซื่อสัตย์

คนในโลกยุคเก่า หรือแม้แต่คนในสังคมเกษตรกรรม จะยึดคนดีในความหมายของคนที่มีคุณธรรมนี่แหละเป็น “บุคคลในอุดมคติ” ที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง เช่น ยึดคนอย่างโสเครตีส เป็นแบบอย่างของผู้มีปัญญา มีความกล้าหาญทางจริยธรรม พระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างของผู้มีปัญญาคุณ มีวิสุทธิคุณ กรุณาคุณ พระเยซูมีความรัก ความเสียสละ หรือคนดีอย่างมหาตมะ คานธี แม่ชีเทเรซ่า เป็นแบบอย่างของผู้มีความเสียสละเป็นต้น

แต่ในโลกสมัยใหม่ที่สังคมมีความซับซ้อนมาก การอ้างอิงคนดีหรือคนมีคุณธรรมสูงส่งเป็นแบบอย่าง หรือเป็นบุคคลที่เราต้องคอยพึ่งพาคำสอน หรือสติปัญญาในการบริหารบ้านเมืองจากเขามันเป็นเรื่องหาความชัดเจนได้ยาก เพราะความเป็นคนดีมีคุณธรรมมักจะถูกใช้เป็น “วาทกรรมทางการเมือง” สำหรับใช้หาเสียง หรืออาจจะใช้ทำลายฝ่ายตรงข้าม หรือบางทีก็เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้เกินจริง อย่างคนบางคนในบ้านเราถูกยกย่องเป็น “เสาหลักทางจริยธรรม” เป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ ไม่โกง แต่สังคมก็ละเลยที่จะตั้งคำถามว่าเขาซื่อสัตย์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือต่อระบอบประชาธิปไตยหรือไม่

ในโลกสมัยใหม่ คนจึงไว้วางใจคนที่มีภาพลักษณ์ว่าเป็นคนดีคนมีคุณธรรมน้อยลง แต่แสวงหาหลักจริยธรรมสากลในการอยู่ร่วมกันคือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม ซึ่งหลักดังกล่าวมันเป็นจริยธรรม ในแง่ที่ว่ามันมีคุณค่าต่อการปกป้องความเป็นคนของเรา และเพราะถือว่ามันมีคุณค่าปกป้องความเป็นมนุษย์ของเราจึงต้องสร้างกติกาการ เมืองขึ้นมาบนพื้นฐานของจริยธรรมสากลดังกล่าวนี้

ทีนี้ถ้าใช้ ‘ความดี’ คือหลักจริยธรรมสากลเป็นเกณฑ์วัด ‘คนดี’ ก็คือคนที่ทำตาม และหรือปกป้องหลักจริยธรรมสากลดังกล่าวนี้ คนดีในความหมายนี้ก็น่าจะดีต่อสังคมหรือส่วนรวมในโลกสมัยใหม่

แต่ทำไมเราถามว่าพุทธศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีหรือไม่ ก็เพราะความเป็นคนดีในพุทธศาสนาดูจะเน้นหนักไปทางการเป็นคดีมีคุณธรรมทาง ศาสนา ซึ่งบางครั้งคนที่มีคุณธรรมทางศาสนาก็ไม่ใส่ใจหลักจริยธรรมสากล เท่ากับไม่ใส่ใจส่วนรวมในสมัยใหม่ คนดีทางศาสนาจึงเหมือนไม่ดีต่อสังคม ที่แย่กว่านั้นคือ บางครั้งก็ออกมาขัดขวางความก้าวหน้าของจริยธรรมสากลด้วยการตีความพุทธศาสนา ให้รับใช้เผด็จการ เช่น “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”

และสังคมไทยมีไอดอลที่จะบอกว่าจะเอาคนดีมีศีลธรรมมาบริหารบ้านเมือง ต้องเป็นคดีมีศีลธรรม กินมังสวิรัติ ซึ่งมันไม่เกี่ยว ไม่ได้ตอบโจทย์ คือความป็นคนดีไม่ได้ตอบโจทย์ที่จะทำให้สังคมการเมืองมันดีขึ้น แล้วบางทีอ้างความเป็นคนดี อ้างคุณธรรมเพื่อจะไม่ต้องตรวจสอบ พอเชื่อว่าคนนี้เป็นคนดีแล้วเราไม่ต้องไปตรวจสอบ แล้วบอกว่าคนดีเป็นเผด็จการโดยธรรมได้ อย่างท่านพุทธทาสบอกว่า เผด็จการโดยธรรม คือถ้าเป็นคนดี ก็เป็นเผด็จการได้ มันเป็นคำอธิบายที่มีความขัดแย้งเยอะแยะมากมาย และเราเชื่อกันแบบนี้มาตลอด

สำหรับสังคมไทย การเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี คือการเป็นปัจเจกชน ให้ตัวเองหลุดพ้น เราไม่ต้องยุ่งกับสังคมและปล่อยให้คนดีปกครองสังคม

นี่เป็นความเข้าใจผิด คนใช้พุทธศาสนาแบบไม่จำแนกแยกแยะ คือความพ้นทุกข์เป็นมิติของปัจเจก แต่คุณจะมาอ้างว่าคุณมีความสงบมีความพ้นทุกข์แล้วจะมาปกครองสังคมมันไม่ เกี่ยวกัน คือเรื่องหลุดพ้นใครอยากหลุดพ้นก็หลุดพ้นไป แต่ปัญหาของบ้านเราคือการไปโปรโมทคนปฏิบัติธรรมหรือคนหลุดพ้นว่าเป็นที่พึ่ง ของสังคมได้ เช่นการโปรโมทพระอริยะ

คือเขาจะเป็นที่พึงได้ในแง่ความสงบของจิตใจของปัจเจกแต่ในแง่การเมืองเขา เป็นที่พึ่งไม่ได้ เพราะในทางการเมืองไม่ได้หมายความว่าพระจะรู้เรื่องสังคม เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรม เกิดความเสมอภาค แต่ปรากฏการณ์บ้านเรามันมั่ว เรามักอ้าง ธรรมนำหน้า อ้าง พ่อแม่ครูบาอาจารย์ อ้างว่า พระอริยสงฆ์หนุนเราอยู่เบื้องหลังเราจึงมีความชอบธรรมที่จะไล่คนชั่วออกไป มันไม่ใช่แนวทางพุทธศาสนาดั้งเดิม

ความหมายของความดีของไทยในไม่หลากหลายหรือเปล่า

ชุดความหมายของความดีของไทยมันถูกครอบด้วยมิติทางศาสนา เราอธิบายว่าความดี คือคนที่พยายามขัดเกลาตัวเอง ละกิเลส ดีด้วยกายวาจาใจ เราจึงไม่เคยมองว่าคนที่ออกมาต่อสู้ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา 14 หรือ 6 ตุลา คนที่ออกมาต่อสู้เหล่านี้เราไม่เคยมองว่าพวกเขาเป็นคนดี

คนดีคือคนที่อยู่ในกรอบศีลธรรมศาสนาและอยู่ในกรอบของความจงรักภักดี ถ้าใครบอกว่าจงรักภักดีปกป้องสถาบัน ก็กลายเป็นคนดีโดยอัตโนมัติใช่ไหม ใครเข้าวัดปฏิบัติธรรมก็ถูกมองว่าเป็นคนดี ถูกนับถือว่าเป็นคนดี ในขณะที่คนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เรากลับมองว่าพวกนี้มาสร้างความวุ่นวาย เป็นพวกหัวรุนแรง เราไม่ยกย่องว่ากุหลาบ สายประดิษฐ์เป็นคนดี จิตร ภูมิศักดิ์เป็นคนดี สังคมไทยเราไม่ยกย่องแบบนี้ คืออะไรก็แล้วแต่ที่เรามองว่าอยู่ฟากตรงข้ามกับสถาบัน กับศาสนามักจะถูกตัดสินโดยอัตโนมัติว่าเป็นคนไม่ดี

คนเสื้อแดงที่บาดเจ็บเสียชีวิตที่ออกมาต่อสู้ จะได้รับการเยียวยาก็ยาก เพราะถูกตัดสินไปแล้วว่าเป็นคนไม่ดี แต่ถ้าเรามองคอนเซ็ปท์ความดีอีกแบบอย่างคานท์ อย่างจอน สจ๊วต มิลล์ เขาพูดเรื่องเสรีภาพ ความเป็นคนดีคือการที่ตัวเองมีจิตสำนึกต่อเรื่องเหล่านี้และออกมาต่อสู้ให้ สังคมมีสิทธิเสรีภาพเสมอภาค เห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องปกป้อง คนดีต้องออกมาต่อสู้เพื่อสิ่งเหล่านี้

ถ้าใช้คอนเซปท์เหล่านี้เราก็จะมองว่าคนที่ออกมาต่อสู้ทางการเมือง ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยคนเหล่านี้ก็เป็นคนดี แต่สังคมไทยเราไม่ได้คิดมิตินี้ เราคิดแต่มิติความเป็นคนดีทางศาสนา กับรักสถาบัน

คือต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบสังคม แต่ถ้าออกมาค้าน เรียกร้องกลายเป็นพวกวุ่นวาย

ใช่ ต้องอยู่ในศีลธรรมอันดี แต่ศีลธรรมอันดีของใคร ก็ของผู้มีอำนาจ

นี่เป็นปัญหาของพุทธหรือเป็นปัญหาของสังคมไทย
เป็นปัญหาของสังคมไทย เพราะพุทธแบบไทยกับพุทธแบบดั้งเดิมไม่ตรงกัน แม้แต่คำว่าธรรมะก็ไม่เหมือนกัน คำว่าธรรมะ ไม่ได้แปลศัพท์บาลีออกมาเท่านั้นนะแต่เราต้องรู้บริบทของธรรมะ คือสมัยก่อนพุทธศาสนา ธรรมในศาสนาพราหมณ์ เป็นตัวแบ่งแยกชนชั้น ธรรมะคือหน้าที่ของคนแต่ละวรรณะที่จะก้าวก่ายกันไม่ได้

แต่ธรรมะในศาสนาพุทธแบบดั้งเดิมนั้น เป็นเรื่องของการใช้ปัญญา ใช้เหตุผลทำความเข้าใจความจริงของชีวิตและโลก เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ปัจจุบันเราใช้ธรรมะเป็น “วาทกรรม” เพื่อตอบสนองจุดประสงค์อื่นๆ เช่น ยกย่องสถานะศักดิ์สิทธิ์ทางชนชั้น ใช้อ้างในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อยกตัวเอง พวกตัวเองให้สูงส่งแล้วกดอีกฝ่ายให้ต่ำลง ใช้สร้างภาพให้ดูเป็นคนดี เข้าวัดปฏิบัติธรรม เป็นต้น

กรรมก็ใช้แบ่งชนชั้น ยากดีมีจนเพราะทำกรรมเก่ามาไม่เท่ากัน บุญก็มีไว้ขาย บาปมีไว้ขู่ แล้วเรื่องเหล่านี้ก็กลายเป็นพุทธพาณิชย์ คือธรรมะก็ถูกทำให้เป็นสินค้า จัดคอร์สปฏิบัติธรรมราคาแพง มีการแก้กรรมที่คนสอนวิธีแก้รวยวันรวยคืน การทำบุญแบบธุรกิจขายตรง เป็นต้น ยังไม่ต้องพูดถึงธุรกิจวัตถุมงคลพาณิชย์ที่มีการโฆษณาอย่างแพร่หลายและสร้าง รายได้เป็นกอบเป็นกำ

มองอีกแง่หนึ่งก็เหมือนกับว่าคนไทยบริโภคพุทธศาสนา บริโภคธรรมะ เหมือนบริโภคความจงรักภักดี คือเราใช้พุทธศาสนา ใช้ธรรม ใช้ความจงรักภักดีไม่ใช่เพราะเราต้องการปฏิบัติตามเนื้อหาสาระที่แท้จริงของ สิ่งนั้น แต่ใช้สิ่งนั้นเพื่อเป็นเครื่องมือไปสู่สิ่งที่เราปรารถนา ซึ่งก็เป็นเรื่องของอำนาจ ผลประโยชน์ ความสบายทางวัตถุ การสร้างภาพลักษณ์ที่ฉาบฉวย คำทางศาสนา เช่น ธรรมะ บุญ บาป ถูกใช้เป็นวาทกรรมที่สนับสนุนอำนาจทางการเมือง อำนาจทางศีลธรรม และบริโภคนิยม

เรามักพูดกันว่าศาสนา หรือพระไม่ควรยุ่งกับการเมือง

ที่ผ่านมา ถ้าเป็นการเมืองสนับสนุนอำนาจยุ่งได้ เช่น การสอนเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม ตรงนี้เป็นการเมืองเต็มๆ แต่ถ้ากระด้างกระเดื่องต่ออำนาจ เช่น ครูบาศรีวิชัย ก็ถูกจำกัด ถูกดำเนินการ จริงๆ ในประวัติศาสตร์ไม่มีศาสนาที่บริสุทธิ์จากการเมือง สมัยพระพุทธเจ้า ญาติสองฝ่ายทำสงครามแย่งน้ำกัน เป็นวิกฤตการเมืองที่คนกำลังจะฆ่ากัน พระพุทธเจ้าก็เข้าไปห้าม แบบนี้ก็ยุ่งการเมืองนะ แต่ยุ่งแบบเป็นบวก แต่ของเรานี่ ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป คือไปสนับสนุนฝ่ายมีอำนาจ แล้วก็ไม่ยุติธรรมกับอีกฝ่ายหนึ่ง กลายเป็นความรุนแรง

บางทีเราก็ไม่ได้มองอะไรที่สอดคล้องกับความจริง เช่น การบอกว่าพระต้องบริสุทธ์จากการเมือง ผมว่ามันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นเพราะเรามีพระสงฆ์จำนวนมาก และพระสงฆ์มีบทบาททางสังคมอยู่แล้ว จริงๆ เราควรให้พระเลือกตั้งได้ด้วยซ้ำ คือการที่เรามีกฎหมายไม่ให้พระเลือกตั้งก็ไม่ได้หมายความว่าพระไม่ได้สนับ สนุนพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองนี้ เราก็ควรมีกฎหมายให้พระสนับสนุนและเลือกพรรคการเมืองได้ เพราะไม่ได้ทำให้พุทธศาสนาเศร้าหมอง มีมลทิน

จริงๆ ถ้าเราเข้าใจพระ เราจะเข้าใจว่าพระมีข้อจำกัดเยอะมาก คือข้อจำกัดในเรื่องการรู้เท่าทันโลก รู้เท่าทันสังคม เนื่องจากท่านอยู่ในวัด และพื้นฐานที่มาของพระส่วนใหญ่มาจากคนชนบท ด้อยการศึกษา มาบวช แล้วเข้ามาสู่สถาบันสงฆ์ที่อนุรักษ์นิยมมาก

พระบางรูปเก่งในการพูดจา เก่งในการศึกษา แต่บริบทที่แวดล้อมท่าน สื่อที่แวดล้อมท่าน ดาราที่แวดล้อมท่าน ท่านก็ได้รับข้อมูลจากคนพวกนี้ เราต้องยอมรับว่ามันขึ้นกับคอนเนกชั่นนะ ก็มีบริบท แต่เราคาดหวังจากพระโดยคาดหวังว่าต้องบริสุทธิ์หมดจดทั้งเรื่องความประพฤติ ความคิดเห็น ผมว่าเราคาดหวังอะไรที่เกินมนุษย์ไปหน่อย เพราะพระก็เป็นคนเหมือนเรา

อาจารย์บอกว่าพระส่วน ใหญ่มาจากกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางสังคม แต่เมื่อบวชเรียนแล้วสังคมไทยมักคาดหวังว่าพระแนะนำได้ทุกเรื่อง จริงๆ แล้วพระสามารถแนะนำได้ทุกเรื่องจริงหรือ

นี่คือความคิดของชนชั้นกลาง อย่างที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลเรียกว่าชนชั้นกลางวัฒนธรรม ที่มักจะมองอะไรแบบโรแมนติก ไม่ได้ใช้เหตุผล เช่น กรณีนิติราษฎร์เราก็เห็นชัดเจนว่าเขาเสนออะไร มีเหตุผลอย่างไร แต่คนทั่วไปเขาก็พูดแค่ว่าล้มเจ้า

คนชั้นกลางในเมืองจะมองว่าพระเป็นผู้บริสุทธิ์ ศึกษาพุทธศาสนาซึ่งสามารถตอบอะไรได้ทุกเรื่อง คือเป็นวิธีการที่มองอะไรแบบสูตรสำเร็จ แต่ผมคิดว่าคนชนบทเขาไม่ได้มองอะไรแบบนั้นนะ ชาวบ้านเขาไม่ได้มองว่าพระสมบูรณ์แบบ แต่เขามองว่าเป็นลูกหลาน แต่นับถือกันในฐานะที่เป็นพระ บางทีพระก็ไปเกี่ยวข้าวกับชาวบ้าน

เราจะไม่เห็นบทบาทพระไทยแบบที่เห็นจากพระพม่า

พระไทยนั้นโดยประวัติศาสตร์ความเป็นมา เป็นพระของเจ้ามาตลอด อย่างตอนผมทำวิจัยบทบาทของพระสงฆ์ในช่วงที่คนเสื้อแดงชุมนุม ผมก็เห็นว่าพระเสื้อแดงมีความรู้สึกในเรื่องชนชั้นอยู่ เช่น ผมเคยถามท่านว่าสถาบันศาสนามีสามส่วน คือชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ผมถามว่าทำไมท่านมาอยู่กับฝ่ายที่ถูกกล่าวหาว่าล้มสถาบัน ท่านก็บอกว่า มันเป็นการหลอกกัน ดึงสถาบันมาเป็นเครื่องมือ ท่านเห็นว่าชาวบ้านถูกเอาเปรียบไม่ได้รับความเป็นธรรม

จริงๆ แล้วพระน่าจะมีความรู้สึกแบบนี้ เพราะพระส่วนใหญ่มาจากชนบทได้รับการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ ถ้าการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นแบบที่อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ บอกว่า ควรจะสอนให้พระรู้จักกำพืดตัวเอง รู้จักโครงสร้างที่อยุติธรรม พระจะเป็นของชาวบ้านมากขึ้น แต่การศึกษาในมหาวิทยาลัยของสงฆ์ไม่ใช่แบบนั้น เป็นการศึกษาแบบที่เป็นระบบทั่วไปที่เป็นการศึกษาเพื่อเป็นบันไดดารา เพื่อเลื่อนชนชั้นทางสังคมนั่นเอง

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 10/02/55 รักเมืองไทย..เดินหน้าประเทศไทย?

ที่มา blablabla

โดย

ภาพถ่ายของฉัน

ปากบอกรัก..เมืองไทย..ใจจะขาด
ให้พาชาติ บ้านเมือง รุ่งเรืองไสว
ขัดแข้งขา เหยียบย่ำ ทำ..ทำไม
คิดจัญไร แบบนี้ นี่หรือรัก....
ทั้งฉุดคร่า เหนี่ยวรั้ง ให้พังพาบ
ยื่นตราบาป อัปรีย์ สุดดีดัก
งบฟื้นฟู เยียวยา มาชงัก
เริ่มชัดเจน จนประจักษ์ รักยังไง....
ขบวนการ ล้มรัฐ จัดมาพร้อม
แล้วห้อมล้อม รุมเร้า เพื่อเผาไหม้
วางแผนชั่ว แยบยล หลอกคนไทย
พวกหน้าด้าน ก็เฉไฉ ไม่เคยพอ....
กฎหมายทาส กดหัวไว้ อย่าได้หือ
สมคำลือ ตอแหลแลนด์ แดนนี้หนอ
กี่ฉบับ ต้องตีความ ตามพ.ร.ก.
แถม ส.ว. ลากตั้ง มันคลั่งตาม....
รัฐธรรมนวย โคตรแย่ อย่าแก้ไข
เชิญเป็นไป ตามครรลอง ไม่ต้องถาม
รักเมืองไทย แม้นย่ำยี ก็ดีงาม
ปล่อยลุกลาม ต่อไป ดั่งไฟลน....
๓ บลา ๑๐ ก.พ.๕๕

ลับลวง-ล่วงลับ?กับ22เ้ดือน10เมษา53

ที่มา Thai E-News

วีรชนร่ำไห้ในหลุมศพ
วีระรบกลบเกลื่อนแล้วเลือนหาย
วีรภาพ10เมษาฯพร่าพราย
22เดือนเคลื่อนคล้ายละลายรอน
ไม่มีแล้วเผด็จการบ้านเมืองนี้
ชุดราตรีทักซิโด้สโมสร
ค่ำคืนนี้10ล้านงานบอล
มังกรคู่หงส์จะลงเอย
อย่า่ขัดขืนฝืนยิ้มเุถิดสหาย
คนที่ตายก็ไปฝังยังก็เฉย
ที่ติดคุกก็ส่งข้าว..เปล่าละเลย
สุดเฉลยลับลวงหรือล่วงลับ..?


สุดเฉลยลับลวงหรือร่วงโรย?
เสียงโอดโอยศพที่กองพี่น้องเรา..เขาข้ามไป!

โดย ปีกซ้าย


********

หมายเหตุประเทศไทย:เรามีนัดพบกันทุกเย็นวันที่ 10 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สี่แยกคอกวัว เพื่อทวงความยุติธรรมให้แก่วีรชน 10 เมษา 53

สำหรับวันนี้วาระพิเศษหน่อย หากมากันมากๆจนล้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หางแถวก็อาจยาวเฟื้อยไปถึงหน้าทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีการจัดงานราตรีสมานฉันท์ระหว่างรัฐบาลที่วีรชนแลกเลือดมา กับหัวหน้าอำมาตย์ใหญ่ นายพลอาวุโสเปรม ติณสูลานนท์

โรค "ความกลัวจนหัวหด" ทำระส่ำไปทั่ว - ล่าสุดลามไปถึงโรงแรมไม่ยอมให้จัดเวทีการเมืองที่สนับสนุนนิติราษฎร์

ที่มา Thai E-News

10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์



คำชี้แจง!! ย้ายสถานที่จัดงานสนับสนุนคณะนิติราษฎร์

สืบ เนื่องจากการที่ “กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ” จะได้จัดงานเสวนาเพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไขมาตรา 112 ตามข้อเสนอของ “คณะนิติราษฎร์” โดยในงานนี้ได้เชิญ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ปาฐกถาเรื่อง “ ระบอบสังคมการเมืองที่ฝืนการเปลี่ยนแปลงคืออันตรายที่แท้จริง” และต่อด้วยการเสวนาเรื่อง “สถาบันกษัตริย์กับสังคมประชาธิปไตย” โดยผู้ร่วมเสวนาคือ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล, อ.เวียงรัฐ เนติโพธิ และอ.สุรพศ ทวีศักดิ์

กิจกรรมครั้งนี้คณะผู้จัดจะจัดที่โรงแรมเอสดีอเวนิวและได้เตรียมการจัดงานไว้เรียบร้อยแล้วโดยสมบูรณ์

บัด นี้ทางโรงแรม เอสดีอเวนิวได้ตั้งเงื่อนไขขึ้นใหม่กดดันต่อการจัดกิจกรรมของกลุ่มฯ ทำให้ไม่สามารถจัดงานตามวัตถุประสงค์ได้ ทำให้ต้องยกเลิกการใช้สถานที่

โดย ฝ่ายจัดงานของ “กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ” ได้คาดล่วงหน้าแล้วว่าจะต้องมีเหตุและแรงกดดันจนทำให้ต้องยกเลิกการใช้สถาน ที่โรงแรมฯ อย่างแน่นอน

ส่วนสาเหตุและเบื้องหลังคาด ว่าผู้บริหารโรงแรมถูกกดดันจากแรงบีบภายนอก ซึ่งได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้ว ดังกรณีที่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติห้ามมิให้ “คณะนิติราษฎร์” ใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยฯ จัดงานรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ในประมวลกฏหมายอาญา

คณะผู้จัดงาน “กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ” จึงขอประกาศแจ้งต่อผู้ซื้อบัตรเข้าร่วมงานหรือผู้ได้รับเชิญ ดังนี้
  1. ยังคงจัดงานในวันเสาร์ที่ 11-2-12 (ฤกษ์ยาม 112 เหมือนเดิม) แต่เปลี่ยนเวลาและสถานที่จัดงาน เป็น โรงแรมรัตนโกสินทร์ ห้องราชา เริ่มงานเวลา 17.00-22.00 น.
  2. การปาฐกถาและการเสวนายังคงเดิมทุกประการ แต่จะมีผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อ “สถาบันกษัตริย์กับสังคมประชาธิปไตย” เพิ่มอีก 1 ท่านคือ ดร.พิชิต ลิขิตกิจ-สมบูรณ์ โดยมาเสวนาแทน อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่ต้องถอนตัวไปก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน และในงานนี้ “คณะนิติราษฎร์” จะมาร่วมงานด้วย พร้อมศิลปิน นักเขียน เช่น “จิ้น กรรมาชน” “วาดระวี” และ “คำผกา” ฯลฯ
  3. รูปแบบการจัดงานจะเป็น “Dinner Talk” คือ รับประทานอาหารเย็น “บุฟเฟ่ท์” ร่วมกัน ประมาณ 25-30 โต๊ะๆ ละ 10 ท่าน รวมไม่เกิน 300 ที่นั่ง


สำหรับ “ผู้ที่ยังไม่มีบัตร” แต่ประสงค์จะเข้าร่วมงานและช่วยเหลือสนับสนุนการรณรงค์ล่ารายชื่อของ ครก. 112 เพิ่อผลักดันข้อเสนอของ “คณะนิติราษฎร์” ให้ส่งผลทางความคิดต่อสังคมไทยต่อไป ก็สามารถไปร่วมงานนี้ได้ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น โดยสอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่เบอร์ 089-0477434 (คุณ สันติ)

ส่วนผู้ที่ไม่สะดวกเดินทาง สามารถติดตามชมรายการถ่ายทอดสดได้ที่ www.TUDEMOC.com หรือ www.SpeedHorseTV.com หรือการถ่ายทอดซ้ำได้ในสื่อต่างๆ ต่อไป

ในงานนี้จะมีเอกสารของ ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกุล แจกในงานด้วย

“กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ”
10 กุมภาพันธ์ 2555

คุยกับ 'ไท พฤกษาเกษมสุข' ก่อนประท้วงอดอาหาร ‘112 ชั่วโมง’

ที่มา Thai E-News

9 กุมภาพันธ์ 2555
ที่มา ประชาโท

"ไท" หรือ ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข ชายหนุ่มวัย 20 ปี ซึ่งปัจจุบันศึกษาอยู่ปี 2 คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุตรชายคนเดียวของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ตัดสินใจประกาศอดอาหารประท้วงเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับบิดาของเขา ซึ่งถึงตอนนี้ถูกควบคุมตัวในเรือนจำแล้ว 10 เดือน เนื่องจากศาลไม่ให้ประกันตัว

วันนี้ (9 ก.พ. 55) เขาแถลงข่าวร่วมกับ ส.ส. สุนัย จุลพงศธรที่รัฐสภาเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาและการทรมานของเจ้าหน้าที่รัฐ ไทแถลงด้วยความหนักแน่นถึงเหตุผลที่เขาตัดสินใจอดอาหารเป็นเวลา 112 ชั่วโมง หรือเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่สี่โมงเย็นของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ จนถึงแปดโมงเช้าของวันที่ 16 กุมภาพันธ์

“เรา ได้ดำเนินการทั้งในทางกฎหมาย ทั้งการยื่นหนังสือร้องเรียนต่างๆ นานาแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นผลอะไร ดังนั้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้เล็งเห็นว่าพวกเขาจะทำอย่างไร เพื่อให้เขาเห็นว่าความเป็นธรรมอยู่ที่ไหน เพื่อให้เห็นว่าสิทธิการประกันตัวมีความสำคัญยิ่งกว่าการทรมานร่างกายของ ข้าพเจ้าอย่างไร ข้าพเจ้าจึงได้ประกาศอดอาหารประท้วงเป็นเวลา 112 ชั่วโมง”

ประชาไท พูดคุยกับ ไท พฤกษาเกษมสุข ก่อนที่เขาจะเริ่มเข้าสู่การอดอาหารเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม 112 ชั่วโมง

0000


ทำไมถึงตัดสินใจไปอดข้าวที่ศาลอาญา อยากจะสื่อว่าอะไร

คือ จะไปเรียกร้องต่อศาลอาญาโดยตรง เราเรียกร้องต่อสิทธิในการประกันตัวของพ่อผม นั่นเป็นประเด็นหลักๆ คือ ผมคาดหวังให้ศาลรับรู้ประเด็นของเรา อยากให้เขาเข้าใจประเด็นว่า จุดที่เราต้องการเรียกร้องคือ สิทธิในการประกันตัว ไม่ได้หมายความเราต้องการถึงขั้นที่จะไปเปลี่ยนแปลง ยกเลิกหรือละเมิดอำนาจศาล คือถ้าศาลจะเปลี่ยนคำวินิจฉัย ก็เป็นเพราะดุลยพินิจของศาลเอง เพียงแต่ผมแสดงเพื่อประท้วงให้เห็นว่า ผมไม่เห็นด้วยกับการที่ศาลไม่ให้สิทธิในการประกันตัวของพ่อผม ซึ่งยื่นไปทั้งหมด 7 ครั้งแล้ว หลักๆ ก็คือเพื่อแสดงออกอย่างนั้น ถ้าศาลจะรับไปโปรดพิจารณา และเขาจะต้องเปลี่ยนใจ ก็ต้องเป็นเพราะว่าเขาเปลี่ยนเอง

แล้วได้ไปเยี่ยมพ่อที่เรือนจำบ้างไหม

ไป เยี่ยมสัปดาห์ละครั้ง ถ้าไม่ติดธุระไรก็จะไปเยี่ยมบ่อย โดยในช่วยแรกๆ ก็จะคุยเรื่องให้กำลังใจ แล้วเขาจะถามเรื่องข้อกฎหมาย หลักการ เรื่องคดี ข้อเท็จจริง ผมก็จะนำไปปรึกษาอาจารย์ที่คณะให้ด้วย แล้วก็พาเพื่อนมาเยี่ยม พาคนมาเยี่ยม พาอาจารย์ที่เขารู้ประเด็นพ่อมาเยี่ยมและให้กำลังใจ ก็จะติดต่อเรื่องนี้ให้กับพ่อด้วย ตอนหลังๆ ก็จะคุยเรื่องการให้กำลังใจและพูดคุยเรื่องอนาคตของคดีว่าจะเป็นยังไง ส่วนเร็วๆนี้ก็จะคุยเรื่องการอดอาหารอย่างเดียว

พ่อว่าอะไรบ้างเรื่องที่ไทจะอดอาหาร

พ่อ ก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ตอนแรกท่านก็ไม่เห็นด้วย เขาบอกว่ามันน่าจะเป็นหนทางสุดท้าย แต่ท่านก็ให้กำลังใจและให้คำแนะนำมา ไม่ได้ว่าอะไร แต่ท่านก็เป็นห่วงอยู่

ส่วนตัวสนใจทำกิจกรรมทางการเมืองเมื่อไร ก่อนหน้าที่พ่อตัวเองถูกจับหรือเปล่า

สนใจ ก่อนล่วงหน้าก่อนอยู่แล้ว ผมก็ทำกิจกรรมทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งกิจกรรมทั่วไปแทบทุกอย่าง ทั้งอีเวนท์ทั่วไปของมหาวิทยาลัย งานบอล ทำขบวน ถึงค่ายอาสา จัดกิจกรรมสัญลักษณ์ทางการเมือง ร่วมจัดเสวนาทางวิชาการ เดินขบวนชุมนุมประท้วงเรื่องสิทธิเรื่องการรับน้อง ผมก็เป็นคนเริ่มจัด ทำงานหมดเลย เรียกว่าทำกิจกรรมแทบทุกอย่างของกิจกรรมนักศึกษาภายในสองปีที่ผ่านมา

กฎหมาย ระบุว่าผู้ต้องหาทุกคนมีสิทธิได้รับ การประกันตัว แต่ในคดีของพ่อหรือนักโทษคดีหมิ่นฯ อื่นๆ กลับไม่ได้ประกันตัวเลย ในฐานะที่ตัวเองก็เรียนกฎหมายมา รู้สึกอย่างไร

นั่น มันตามกฎหมาย ไม่ได้ตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงคือสิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้เกิดขึ้น และในทางกฎหมาย เป็นเรื่องที่เราต้องพิจารณาว่ามันเป็นธรรมหรือเปล่า ถ้ามันเป็นธรรม มันก็ต้องเป็นสิ่งที่ใช้กับทุกคนโดยทั่วไปโดยเท่าเทียมกัน ในความเป็นจริงก็ต้องเป็นเช่นนั้น

ผม ไม่รู้สึกอะไร คือผมรู้สึกว่ามันต้องเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ไม่รู้สึกเดือดดาล ไม่รู้สึกอะไรทั้งสิ้น คือรู้สึกเฉยๆ แต่เราไม่ได้อยู่เฉยๆ มันเฉยทางความคิด แต่ในทางจิตใจของเรา เรารู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรม เราต้องเข้าไปแก้ไข เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข ฉะนั้น สิ่งที่ผมเชื่อและสิ่งที่ผมคิดมาตลอดก็คือ ผมต้องเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขสิ่งเหล่านั้นด้วย แต่ก็จะไม่ถึงขั้นใช้อารมณ์เข้าไปเกี่ยว ว่ามันไม่ยุติธรรม เราถึงโกรธหรือเสียใจ

แล้วเตรียมตัวอดอาหารในครั้งนี้ยังไงบ้าง

ตัดสิน ใจตั้งแต่ก่อนบวช ก็บวชมาเดือนครึ่ง ในระหว่างบวชนี้ก็ได้เป็นการฝึกในตัวด้วย เพราะก็เป็นการฉันอาหารแค่มื้อเดียวมา พอบวชเสร็จก็มีประชุมกับกิจกรรมนักศึกษา และเริ่มประกาศว่าจะเราจะทำอะไรบ้าง และเริ่มเตรียม หาคนที่เห็นด้วยและสนับสนุนแนวทางกิจกรรมว่าเป็นยังไงบ้าง และพอมาถึงช่วงหนึ่งก็จะเริ่มเดินสาย ไปพูดคุย ไปพบปะว่าเราจะทำกิจกรรม แล้วก็เตรียมตัว ทดลองอดอาหารอีกครั้งหนึ่งเมื่อประมาณสองอาทิตย์ที่แล้ว ก็มึนหัวนิดหน่อย

แล้วอดอาหารถึงสี่วันไม่กลัวบ้างหรือว่าจะเป็นอะไรไป

ไม่ ถึงขั้นขนาดนั้น ไม่กลัวเลย ไม่รู้สิ ผมอาจจะแปลกกว่าคนอื่น แต่ผมก็รู้สึกว่า ชีวิตมันก็เท่านั้นน่ะ ถ้าเรามองที่เป้าหมายในการใช้ชีวิตมากกว่า คือ ถ้าเราได้ทำสิ่งที่เราชอบ วันพรุ่งนี้จะอยู่หรือจะตายก็ไม่สำคัญ ถือว่าเราได้เดินมาทางที่เราเชื่อมั่น มาทางที่เราจะเดินไป ถ้าเป็นคนทั่วไปก็คงจะบอกว่า ก็มีความฝัน อยากเป็นนักดนตรี และเรากำลังอยู่ในเส้นทางนั้น จะเจ็บจะตายวันไหนก็ไม่จำเป็น คือก็มองที่ผลลัพธ์ มองในสิ่งที่ตัวเองได้ทำ ตรงนั้นก็พอแล้ว

หลังจากอดอาหารแล้วถ้าศาลยังไม่ปล่อยตัวพ่ออีกจะทำยังไง

ก็คงจะทำกิจกรรมอื่นต่อไป ก็คงดูว่าจะเป็นรูปแบบไหน เพราะผมก็ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ อายุก็ยังแค่ 20 ก็ คงยังไม่คิด ประสบการณ์ยาวเป็นช็อตๆ ก็ยังไม่มี ก็ต้องหาคำปรึกษา ดูกลุ่มนักศึกษาว่าอันไหนเป็นประเด็นหลัก ประเด็นรอง แล้วก็เอากำลังของเราไปหนุน มันก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในช่วงนั้นด้วย

แล้วคาดหวังจากศาลมากหรือเปล่าจากการอดอาหารประท้วง

คาด หวังอยู่แล้วครับ ถ้าเรียกว่าคาดหวังไหมก็ต้องคาดหวัง เพราะว่าก็เหนื่อยมาพอสมควรสำหรับการเตรียมตัวสำหรับการอดอาหาร ก็ต้องคาดหวังว่ามันจะได้รับผลตอบรับ ไม่ว่าจะจากสังคมตอบรับมา หรือจากศาล ซึ่งจะตอบรับมายังไงก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลอีกทีหนึ่ง

อยากจะบอกอะไรกับศาลบ้าง

ผม ก็เคารพการตัดสินใจของท่าน เพราะมันเป็นหลักที่ผมต้องเคารพอยู่แล้ว เนื่องจากศาลต้องมีดุลยพินิจเป็นอิสระ ใครคนหนึ่งจะไปอดอาหารประท้วงเพื่อให้ท่านเปลี่ยนการตัดสินใจ มันก็คงไม่ถูก เพราะมันก็คงผิดหลักกฎหมายที่ใครไม่เห็นด้วยก็ต้องไปอดอาหาร ก็คงไม่ใช่ แต่สิ่งที่ต้องการจะชี้ คือชี้ให้เห็นถึงความเป็นธรรม เหมือนจุดกระแสในเรื่องสิ่ทธิการประกันตัวของนักโทษ 112 ให้ เขาเห็นอีกครั้งหนึ่ง ให้เขาเลิกอคติ ไม่ว่าเขามีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไร ก็ให้เขาหันกลับมามองว่าอะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน ความยุติธรรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองของเขา เหมือนกับเป็นการเตือนอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเขาจะตัดสินใจยังไงนั้นก็เป็นเรื่องของเขา

ความ จริงแล้ว ถ้ามีคนเรียกการอดอาหารว่าเป็นการกดดัน ความจริงแล้วมันไม่ใช่การกดดันเลย การกดดันต้องมีพลังทางการเมือง แต่ว่าของผมนี่มันมีพลังทางสัญลักษณ์

แล้วโดยส่วนตัวได้รับอิทธิพลมาจากพ่อเยอะไหมในการทำกิจกรรม

ไม่ค่อยเท่าไหร่นะ พ่อผมไม่รู้เรื่องผมด้วยซ้ำ ตอนม. 5 ผม เป็นประธานนักเรียน เป็นประธานสภาของอำเภอเด็กของปากเกร็ด ทำกิจกรรมเยอะแยะไปหมด พ่อผมไม่รู้เรื่อง บอกว่าผมเล่นแต่เกม อยู่แต่บ้าน ที่รู้เพราะมีเพื่อนผมมาบอก พ่อยังไม่รู้เรื่องผมเลยด้วยซ้ำ บางทีก็ถามว่าอยู่ม.ไหนแล้ว เพราะแกออกไปทำงานทำกิจกรรม ส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยู่บ้าน กลับก็กลับมาตี 1 ตื่น 10 โมง ก็ไม่ค่อยได้เจอกัน เพราะผมก็ไปเรียนแล้ว แต่ก็เคารพท่านที่ทำงานเพื่อสังคม ก็เป็นแนวทาง แต่ท่านก็ไม่ได้สอนอะไรผมมากมาย

แสดงว่าก็ความสนใจก็มาจากตัวเองส่วนใหญ่

ก็ มีแรงบันดาลใจเยอะครับ ผมชอบหนังเรื่องคานธีมากเลย แล้วก็มีอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาที่ค่อนข้างดี ให้กำลังใจที่โอเค และก็ชอบอ่านหนังสือ อ่านทุกอย่าง ทั้งการเมือง ทุนนิยม สังคมนิยม ธรรมะ ประวัติศาสตร์ อะไรอย่างนี้ ก็เป็นแนวสังคมเป็นส่วนใหญ่

Thursday, February 9, 2012

เปิดคลิปจัญไรไฟไหม้บิ๊กเหล่-ยามซวยของเอกยุทธ

ที่มา Thai E-News




ฤกษ์หามยามซวย-ขุนทหารใหญ่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปทำพิธีที่วัดอ้อน้อย นครปฐม ซึ่งมีนัยทางการเมืองว่าอาจสุมหัวสมคบคิดเอาฤกษ์เอาชัยก่อการรัฐประหาร แต่ดูเหมือนฟ้าดินไม่เป็นใจ เพราะเกิดเหตุไฟไหม้เตาหลอมพระในพิธีขึ้น เคราะห์ดีไม่มีใครตายซักคน (คลิกชมคลิปนาทีระเบิด ไฟท่วม เกิดโกลาหล ที่สื่อต่างๆทำเป็นเฉย ไม่เคยนำไปออกอากาศ ด้านบนนี้)

อย่ารังแก..-เอก ยุทธ อัญชัญบุตร โพสต์รูปโดนทำร้ายลงเฟซบุ๊๋ค โดยอ้า่งว่า เหตุเกิดหลังไปดักพบนายกฯยิ่งลักษณ์ พร้อมกล่าวหาฝ่ายรัฐบาลว่า เขาเจอการกระทำแบบเถื่ือนๆ

ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและเป็นโจทย์เก่ากับเอกยุทธกรณีที่เขาเคยดูถูกสตรี ภาคเหนือ และเปรียบเปรยว่ายิ่งลักษณ์คู่ควรแค่อาชีพโสเภณี ไม่เหมาะมาเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย พากันโพสต์ตามเฟซบุ๊คว่า ก็สมควรโดนเอาคืนมั่ง!...

นี่คือประเทศไทยในเ้ดือนแห่งความรัก พ.ศ.2555 เพราะว่าเราฝืนรักกันไม่ไหว

อย่างไรก็ดี ไทยอีนิวส์เห็นว่า การฝืนรักกันไม่ไหว แต่ถึงขั้นต้องลงไม้ลงมือกันแบบนี้ ก็สมควรประณาม ไม่ว่าฝ่ายไหนจะลงมือ และฝ่ายไหนจะถูกกระทำก็ตามที

อย่างไรก็ตามเพื่อความกระจ่าง เรื่องพรรค์นี้ต้องแสดงพยานหลักฐาน ทางโรงแรมโฟร์ซีซันส์ก็น่าจะหาคลิปหลักฐานจากกล้องวงจรปิดได้ไม่ยาก นำมาเปิดเผยเลยว่า ใครเป็นคนทำร้ายเอกยุทธ เพื่อลงโทษผู้กระทำผิด(หากมีเหตุการณ์นี้ตามที่เอกยุทธกล่าวหา)

เพราะลำพังการกล่าวหาว่าเป็นคนใกล้ชิดทักษิณทำ แล้วถ่ายรูปโชว์ทางเฟซบุ๊คนั้นง่ายไปหน่อย และอาจเป็นการตีหัวเข้าบ้านได้เช่นกัน เพราะพฤติการณ์ที่ผ่านมาของเอกยุทธ อดไม่ได้ที่จะต้องทำให้ถามหาหลักฐาน

ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า เวลา 15.45 น. วันเดียวกัน ที่บน.6 ก่อนที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะขึ้นเครื่องเดินทางไปร่วมงานศิษย์เก่าที่โรงเรียนยุพราช จ.เชียงใหม่ เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามถึงกรณีที่นายเอกยุทธ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า ถูกทำร้ายร่างกายที่ร้านกาแฟ ภายในโรงแรมโฟร์ซีซั่น ภายหลังที่พบกับนายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีหันมามองผู้สื่อข่าวด้วยสีหน้างง ๆ และเมื่อผู้สื่อข่าวถามต่อว่าตกลงได้เจอกับนายเอกยุทธหรือเปล่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แต่อมยิ้ม แต่ไม่ตอบคำถามใด ๆ และเดินเข้าห้องรับรองของท่าอากาศ บน.6 ขณะที่ พ.ต.ท.วทัญญู วิทยผโลทัย เจ้าหน้าที่รักษารักษาความปลอดภัยนายกรัฐมนตรี กล่าวปฏิเสธว่าไม่รู้เรื่อง

เว็บไซต์ go6 ได้รายงานข่าวนี้ โดยตั้งข้อสังเกตไว้น่าสนใจว่า

หลังจากการพูดในเฟซบุ๊ค แหล่งข่าววงในได้ให้ข้อสังเกตว่า การเขียนของเอกยุทธนั้น มีลักษณะ "กำกวม" และเมื่อสอบถามข้อเท็จจริงปรากฏว่า

1. ในวันเกิดเหตุ นายเอกยุทธอ้างว่า "หลังจากเจอนายกฯ" ให้คนเข้าใจผิดว่า นายเอกยุทธ พบ นายกฯ แต่ความจริง นายเอกยุทธไปทานกาแฟโรงแรมเดียวกับที่นายกฯไปธุระ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกัน และไม่ได้เห็นหน้าซึ่งกันเลย

2. นายเอกยุทธอ้าง "หลังเดินออกไปไม่นาน" เหมือนจงใจบอกว่า เกิดเหตุการณ์โดยคำสั่งหรือจงใจ แต่ความจริงก็คือ เหตุเกิด "หลังจากนายกฯ ออกไปแล้วจริงๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับนายกฯ และไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับทีมงานนายกฯ

3. นายเอกยุทธอ้าง "โดนบุกประชิดตัวขณะทานกาแฟอยู่กับผู้ใหญ แล้วชกต่อย" ข้อเท็จจริงคือ ขณะเกิดเหตุนั้น อยู่ในโรงแรมระดับห้าดาว ใครคิดจะชกใครโดยไม่มีมูลเหตุเลย ก็ผิดปกติ และบอกว่า "การ์ดมาชาร์จ" ทำนองการ์ดโรงแรมมาคุมตัว แต่คุณเอกยุทธทำไมไม่บอกว่า "คุณเอกยุทธ มีบอร์ดี้การ์ดอยู่ข้างตัวด้วย" และ ทำไมคุณเอกยุทธ ไม่บอกว่า "อะไรเป็นมูลเหตุให้เกิดการชกต่อยกลางโรงแรม" อยู่ดีๆ คนเราจะเดินมาชกกันเลยไม่ใช่ แต่คุณเอกยุทธ ไปทำอะไรไว้ พูดอะไรไว้ก่อนหรือเปล่า จนกลายเป็นวิวาทะลุกลาม

4. นักธุรกิจคนที่นั่งทานกาแฟกับคุณเอกยุทธ เป็นพยานปากเอก "ทำไมไม่ระบุชื่อนักธุรกิจท่านนั้นมาเป็นพยานช่วย" คนจะได้เชื่อคุณเอกยุทธมากขึ้น

5. คุณเอกยุทธบอกว่า "วิ่งหนีเข้าไปในซอยหลังโรงแรมเล็กๆ" มันตลกเหมือนหนังมากไปใหมครับ ระดับคุณเอกยุทธนะครับ ไม่ใช่นักเลงเยาวราช ที่วิ่งหนีตำรวจ?

ดังนั้น หากคุณเอกยุทธจะพูด "ควรพูดให้จบว่าก่อนเกิดเหตุ ไปทำอะไร พูดอะไรกับใคร หรือไม่จนเป็นมุลเหตุวิวาท" และไม่ใช่ พาดพิงนายกรัฐมนตรี โดยอาศัยแค่ "บังเอิญไปทานกาแฟโรงแรมเดียวกัน โดยไม่ได้เจอหน้ากันเลย"

กูบิณฑ์กร่างรายวันเปิดศึกอาจารย์วีระด่าเห็นแก่ตัว

ที่มา Thai E-News


หลังจากสั่งสอนให้"สลิ่ม"ไปอ่านให้ดีๆว่าคณะนิติราษฎร์เสนออะไรกันแน่? ค่อยคิดจะไปตัดคอคณะนิติราษฎร์ ล่าสุดอาจารย์วีระ ธีรภัทร นักจัดรายการยอดฮิืต"คุยได้คุยดี"ได้จัดรายการตำหนิหน่วยกู้ภัยต่างๆว่า พากันขับรถฉวัดเฉวียน เปิดไซเรนเสี่ยงดัง บางทีไม่มีมารยาทปาดหน้าจี้ตูด และเร็วหวาดเสียว กระโชกโฮกฮากน่ากลัวมาก ผมเจอเป็นต้องหลบ ไม่รู้เขารีบไปทำอะไร

ผมว่ามันไม่ต้องเปิดไฟไซเรนก็ได้ ผมรู้ว่าจะไปกู้ภัย แต่พวกนี้ก็ขับรถรวดเร็วหวาดเสียวมาก จะพาคนตายระหว่างทาง หรือไปชนใครตาย ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของคนร่วมทางด้วย ขับไปธรรมดาไม่ได้เหรอ ต้องขับรถบึ้มๆๆๆตู้มๆๆๆบีบแตรไล่เปิดไฟไล่ ไล่จี้ตูด เลิกได้มั้ย เข้าใจอยู่ว่ามีจิตอาสา แต่เกินไปหน่อย เกินเหตุเกินเลยมากไป

ปรากฎว่าสร้างความไม่พอใจให้แก่คนทำงานกู้ภัีย พากันไปโพสต์ระบายในเฟซบุ๊คของบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ เจ้าของรหัสดารา 1 ของมูลนิธิร่วมกตัญญู

โดยมีรายหนึ่งโพสต์รูปโลงไว้อาลัยให้กับอาจารย์วีระด้วยถ้อยคำหยาบคาย

ส่วนบิณฑ์ ที่สร้างชื่อเสียงขึ้นมาในงานกู้ภัยได้โพสต์ว่า

ถึงพี่น้องอาสาทุกคนครับ..ผมรู้ทุกคนเจ็บปวดกับการที่มีนักจัดรายการท่านนึง มาพูดในทำนองคะนองปาก..ขอให้พวกเราอย่าหวั่นไหวกับการพูดของเขา..

ทุกคนมีความคิดต่างกัน และไม่สามารถที่จะยอมรับการกระทำของผู้อื่นได้ นักจัดรายท่านนี้ก็เช่นกันเขาคงมีอะไรที่รู้สึกถึงการกระทำของพวกเราโดยไม่ ยอมรับในการทำสิ่งที่ถูกต้อง..

การเปิดไซร์เรนเป็นการทำงานแข่งกับเวลาแข่งกับความเป็นความตายของผู้ประสพ ภัย..แต่นักจัดท่านนี้มองแค่เป็นความลำคาญส่วนตัวโดยไม่เห็นความเป็นความตาย ของผู้อื่นเป็นสำคัญ..เขาเรียกว่าความเห็นแก่ตัว

ผมขอให้พี่น้องที่ทำมูลนิธิทุกท่านอย่าได้ท้อแท้และหมดกำลังใจเราต้องทำต่อ ไปเพื่อส่วนรวม..ขอให้เพื่อนๆอาสาทุกคนอย่าตอบโต้โดยใช้วิธีรุนแรงขอให้มี สติและอย่าได้ใส่ใจกับคำพูดของนักจัดรายการท่านนี้..ยังมีประชาชนจำนวนมาก ต้องการความช่วยเหลือจากพวกเราอยู่ครับ..

ขอให้เพื่อนอาสาทุกคนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อประชาชนส่วนรวม

ตรงไปตรงมา 8-2-2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse









http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1132

ค้นหาความเป็นธรรม 8-2-2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse









http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1133

นปช.แถลงข่าว 8-2-2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse








http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1131

ชูธง 8-2-2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

กาแฟ



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1134

ถอดสลัก ข่าว อ สุดา รังกุพันธ์ 8 2 2012

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

speedhorse



http://speedhorse.blogsite.org/read.php?tid=1135

ชมภาพ นายกฯปู ใส่เสื้อเหลืองดูละครเเรื่องสมเด็จพระนเรศวรฯก่อนมีข่าวไฟไหม้

ที่มา thaifreenews

โดย น่ารัก ก็ไม่บอก

















ไฟไหม้บ.กราฟฟิกหนัง'นเรศวร'

ระทึก เพลิงไหม้บริษัทตัดต่อรับทำกราฟฟิกหนัง "พระนเรศวร" ภาคล่าสุดวอด 150 ล้าน คาดลงโรงช้ากว่ากำหนด ตร.ชี้ไฟฟ้าลัดวงจร

เมื่อ เวลา 12.00 น. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ต.ท.เชาวฤทธิ์ เงินฉลาด พนักงานสอบสวน สน.วังทองหลาง รับแจ้งเหตุไฟไหม้อาคาร 4 ชั้นครึ่ง ในซอยทาวน์อินทาวน์ 4-3 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ จึงประสานรถดับเพลิงจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ก่อนนำกำลังไปตรวจสอบพร้อมด้วยพ.ต.อ.ธวัช วงศ์สง่า ผกก.สน.วังทองหลาง และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

ที่เกิดเหตุเป็นอาคาร พาณิชย์ของบริษัท เฟม โพสท์ โปรดักชั่น จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 1401 ขนาด 40 ตารางเมตร ซึ่งเป็นบริษัทตัดต่อภาพยนตร์ มีพนักงานทำงาน 40 คน ภายนอกอาคารมีประชาชนยืนจับกลุ่มดูเหตุการณ์ พบเพลิงกำลังโหมลุกไหม้อาคารดังกล่าว มีควันพวยพุ่งออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ชั้น 3 เจ้าหน้าที่นำรถดับเพลิงกว่า 20 คัน ระดมฉีดน้ำกว่า 3 ชั่วโมง จึงควบคุมเพลิงไว้ได้ ตรวจสอบพบอาคารเสียหายไปกว่า 80% เคราะห์ดีไม่พบผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าสาเหตุไฟไหม้เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร

พ.ต.ท. เชาวฤทธิ์กล่าวว่า จากการสอบสวนนายวีระพันธ์ ธีระชาติ เจ้าของบริษัท เฟรม โพสท์ โปรดักชั่น จำกัด ซึ่งรับทำออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิกให้ภาพยนต์เรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรภาค ล่าสุด แต่เกิดเหตุไฟไหม้สตูดิโอจนพังทั้งหลังมูลค่าความเสียหายกว่า 150 ล้านบาท ทั้งนี้ สตูดิโอรับทำกราฟฟิกให้ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรเท่านั้น เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้จึงเสียหายเพียงแค่ข้อมูลกราฟฟิกที่ทำไป ส่วนฟิล์มต้นแบบไม่ได้อยู่ที่สตูดิโอจึงไม่เสียหาย เพราะแค่ก๊อบปี้เอาเฉพาะฉากบางตอนมาทำกราฟฟิกเท่านั้น อย่างไรก็ตามงานที่ทำมาทั้งหมดได้ถูกไฟไหม้ไปแล้ว จึงต้องเริ่มทำกันใหม่ คาดว่าอาจจะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องออกฉายช้ากว่ากำหนด

5555 ชูวิทย์เชือดชัยวัฒน์

ที่มา thaifreenews

โดย คนเมืองกาญ


xxx12 xxx12

ทำไมเราถึงลงสัตยาบันกับ ICC ไม่ได้

ที่มา thaifreenews

โดย Friend-of-Red


ด่วน!

จดหมายตราครุฑจากกระทรวงการต่างประเทศ
โดยผู้สื่อข่าวภาคพื้นยุโรป

พีเพิ่ลแชนเนิ่ลออนไลน์ ได้รับจดหมายตราครุฑของกระทรวงการต่างประเทศ (กต.0502/108) จากผู้สื่อข่าวพิเศษภาคพื้นยุโรป ส่งตรงถึงพีเพิ่ลแชนเนิ่ลเนื้อความในจดหมายตราครุฑ ฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 โต้ตอบความสงสัยของ “นายกชคง เจียงรวนนท์” ว่าเหตุใดประเทศไทยจึงไม่ยอมให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม

กระทรวงการต่างประเทศจึงได้แจ้งข้อเท็จจริงด้วยจดหมายตราครุฑที่ กต.0502/108 ความยาว 2 หน้า

พีเพิ่ลแชนเนิ่ล จึงได้นำเสนอเพื่อพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายจะได้รับทราบข้อเท็จจริง (อันละเอียด อ่อน) ว่าอะไรคือมูลเหตุทำให้ประเทศไทย ไม่อาจลงนามรับสัตยาบันได้

จึงขอให้ท่านผู้อ่าน โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากจดหมายตราครุฑ ที่ผู้สื่อข่าวภาคพื้นยุโรปส่งมาให้ และเราขอบคุณยิ่ง ดังต่อไปนี้




http://www.pchannelnews.com/index.php?name=others&category=19&file=readknowledge&id=1549

ตุลาการผิดเลน !

ที่มา Voice TV



รายการ Intelligence ประจำวันที่ 4 ก.พ. 55

ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอให้แก้มาตรา 112 ของนิติราษฎร์ แม้ชื่นชมว่าเป็นนักวิชาการที่มีความกล้า มีอิสระทางความคิด โดยเห็นว่า 112 ยังไม่ใช่เรื่องใหญ่ ปัญหาอยู่ที่การบังคับใช้ ซึ่งนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

ศ.อุกฤษยังไม่เห็นด้วยกับการให้คณะรัฐมนตรี เสนอชื่อตุลาการศาลสูงสุดให้รัฐสภารับรอง หรือการมีผู้พิพากษาสมทบ แต่เห็นด้วยกับการให้ผู้พิพากษาเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน พร้อมสำเนาการเสียภาษี และเห็นว่าสิ่งที่ควรรีบทำคือ แก้ไขกฎหมายละเมิดอำนาจศาล ที่ปิดกั้นการวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษา
ประธาน คอ.นธ.ชี้ว่าระบอบประชาธิปไตยเหมือนถนน 3 เลน ที่มีอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เป็นอิสระต่อกัน แต่หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 อำนาจตุลาการวิ่งนอกเลน กระบวนการยุติธรรมเบี่ยงเบนเสียหาย เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ทั้งนี้ คอ.นธ.ยังจะเสนอให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ให้ความเป็นธรรมแก่คนยากจนมากขึ้น ตั้งแต่การที่ตำรวจตั้งข้อหาสูง ตั้งวงเงินประกันสูง การแถลงข่าวประจานผู้ต้องหา และการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตอบ ชำนาญ จันทร์เรือง กรณีบทความ “ความผิดพลาดของนิติราษฎร์”

ที่มา ประชาไท

หมายเหตุชื่อบทความเดิม: ตอบ อ.ชำนาญ จันทร์เรือง กรณีบทความ “ความผิดพลาดของนิติราษฎร์”


แฟ้มภาพ 15 ม.ค.55

ดิฉันขออธิบายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองเกี่ยวข้องด้วยโดยตรงก่อน คือการขอชื่อ 118 คนแรก (ไม่ใช่ 112 คน) อ.ชำนาญ บอกว่า “ผู้ที่ร่วมลงชื่อในตอนแรกหลายคนออกมาปฏิเสธว่าเห็นด้วยแต่ไม่ได้หมายความ ว่าจะต้องไปเซ็นชื่อเพื่อเสนอกฎหมายพร้อมกับหลักฐาน เป็นต้น...กอปรกับในการติดต่อขอรายชื่อนั้นยังมีความไม่ชัดเจน เพราะโดยปกติในกระบวนการขอรายชื่อเพื่อเคลื่อนไหวอะไรสักอย่างหรือเพื่อออก แถลงการณ์นั้นจะต้องมีความชัดเจนว่าจะเอารายชื่อไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร หากเอาไปทำแถลงการณ์ก็ต้องมีการเวียนเนื้อหาให้ดูก่อน หากจะให้ดีก็ต้องเปิดโอกาสให้แก้ไขก่อนเผยแพร่ด้วยก็จะยิ่งสมบูรณ์”

ดิฉันขอชี้แจงว่า จดหมายที่ส่งถึงผู้ร่วมลงชื่อทุกคนได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ครก. 112 จะรวบรวมรายชื่อเพื่อเสนอร่างแก้ไข ม.112 ของคณะนิติราษฎร์เข้าสู่การพิจารณาของสภา และได้ขอให้ผู้รวมลงนามกรุณาส่งสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน และกรอกแบบ ขก.1 ไปยังที่อยู่ที่เราระบุไว้ค่ะ

สำหรับแผ่นพับที่เราทำแจกในวันเปิดตัว ครก.112 และมีรายชื่อ 118 คนต่อท้าย เป็นข้อความเดียวกับจดหมายที่ได้เวียนให้ทุกคนได้อ่าน พร้อมๆ ไปกับการขอให้ลงชื่อเพื่อสนับสนุนการรณรงค์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระที่สำคัญใดๆ ดิฉันยืนยันว่าทุกท่านได้เห็นข้อความที่เรานำมาทำแผ่นพับค่ะ

ข้อนี้ อ.เกษียร คงจะช่วยยืนยันได้ หาก อ.ชำนาญ ต้องการหลักฐาน ดิฉันยินดี forward mail ไปให้ดูค่ะ หรือจะถามอาจารย์แถวเชียงใหม่ให้หลากหลายขึ้นก็ได้ค่ะ

กรณีของ อ.เสกสรรค์นั้น คนที่ออกมาประณาม ไม่ใช่คนใน ครก.112 สำหรับดิฉันเอง เห็นว่าการที่ อ.เสกสรรค์กล่าวว่า “เนื่องจากถูกขอร้องโดยผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ” ก็เป็นการพูดอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งบางคนให้ความสำคัญกับประโยคดังกล่าวมาก จนมองข้ามประโยคที่ อ.เสกสรรค์ ต่อท้ายว่า “และผมเองก็ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่อยู่ในกรอบของการปฏิรูป กฎหมาย มีเนื้อหากลางๆ ออกไปในแนวมนุษยธรรม และที่สำคัญคือยังคงไว้ซึ่งจุดหมายในการพิทักษ์รักษาสถาบันสำคัญของชาติ” สำหรับคนทำงาน ดิฉันให้ความสำคัญกับประโยคหลังมากกว่าประโยคแรกค่ะ เพราะดิฉันเชื่อว่า ไม่ว่า อ.เสกสรรค์จะเคารพผู้ใหญ่ที่ไปขอสักเท่าไร แต่ถ้าอาจารย์ไม่เห็นด้วยกับร่างข้อเสนอของนิติราษฎร์เลย อาจารย์ก็คงไม่ร่วมลงชื่อด้วยแน่ ประการสำคัญ อ.เสกสรรค์ไม่ได้ประกาศถอนตัวอย่างที่สื่อบางฉบับเอาไปบิดเบือน

ดิฉันมองว่าคนที่มาร่วมลงชื่อต่างก็มีเงื่อนไขสำหรับการตัดสินใจที่แตก ต่างกัน บางคนอาจมีเรื่องให้ต้องคิดต้องกังวลมากกว่าอีกหลายๆ คน แต่เมื่อเขามาร่วมลงนาม เราก็ต้องขอบคุณเขา หรือต่อให้บางคนปฏิเสธ เราก็ไม่สามารถก่นด่าเขาได้

อ.ชำนาญบอกว่า “การแถลงข่าวของ ครก.ครั้งล่าสุดที่อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลานั้น ๑๑๒ คนในรายชื่อนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ครก.หรือไม่ ที่สำคัญก็คือหากถือว่าเป็นแล้ว ๑๑๒ รายชื่อนั้นเห็นด้วยแล้วหรือไม่ อย่างไร หากไม่ถือว่าเป็น ครก.แล้ว ๑๑๒ คนนั้นอยู่ในฐานะอะไร เพราะหลายคนไม่ได้ลงชื่อพร้อมหลักฐานเพื่อยื่นขอแก้ไขกฎหมายแต่อย่างใด”

ทางทีม ครก.112 ได้อธิบายในต่างกรรมต่างวาระว่า 118 ชื่อที่ร่วมลงชื่อกับเรา ไม่ใช่ แกนนำ ครก.112 ในวันเปิดตัว 15 ม.ค. อ.กฤตยา อาชวนิจกุล ได้ประกาศบนเวที รายชื่อองค์กรต่างๆ ที่รวมตัวกันเป็น ครก.112 ไปแล้ว การแถลงข่าวที่อนุสรณ์สถาน ก็ได้มีการย้ำเรื่องนี้เช่นกัน เมื่อวานบางกอกโพสต์โทรมาสัมภาษณ์ดิฉันๆ ก็ได้อธิบายเรื่องนี้ไปแล้วเช่นกัน (ข้อผิดพลาดของเราคือ ในแผ่นพับที่แจกในงาน ไม่ได้ใส่ชื่อองค์กรเหล่านี้ลงไป)

โดยปกติเวลาที่มีการขอรายชื่อเพื่อสนับสนุนแถลงการณ์อะไรสักอย่าง ดิฉันก็สรุปเอาเองว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจตรงกันว่า คนที่เขียนขอรายชื่อ คือ แกนนำการเคลื่อนไหวในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ลงชื่อมีสถานะเป็นแกนนำ หรือต้องกลายเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ ไปในทันที เช่น การรณรงค์ของกลุ่มสันติประชาธรรม บางครั้งมีคนร่วมลงชื่อ 50 คนบ้าง 100+ คนบ้าง 200+ คนบ้าง ดิฉันจึงคิดเอาเองว่าทั้งคนลงชื่อ และคนอ่านก็คงเข้าใจดีว่า ไม่ใช่ทุกคนเป็นสมาชิกของสันติประชาธรรม แต่เขาแค่เห็นด้วยกับประเด็นที่กลุ่มเสนอเท่านั้น ส่วนแกนนำของสันติประชาธรรม ก็มักเป็นผู้ที่โผล่หน้าออกมาในวันแถลงข่าวนั่น เอง

อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์ของ อ.ชำนาญในกรณี ครก.112 ทำให้ดิฉันต้องคิดหนักขึ้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้อีก หลังจากนี้ หากดิฉันขอให้ใครร่วมลงชื่อในเรื่องอะไรก็ตาม อาจต้องย้ำว่า “การลงชื่อของท่าน ไม่ได้หมายความว่าท่านเป็นสมาชิกของกลุ่ม...แต่ประการใด”

ประการสุดท้าย ดิฉันตระหนักดีว่า หลายท่านที่ร่วมลงชื่อกับเรา ไม่ได้เห็นด้วยกับร่างข้อเสนอของนิติราษฎร์ ทั้งหมด แต่ก็ยินดีลงนามด้วย โดยหลักๆ ก็คือ “เห็นด้วยในหลักการโดยรวมว่าควรที่จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมาย อาญามาตรานี้” เช่นเดียวกับอาจารย์ และเป็นก้าวแรกของการแก้ไขปัญหานี้ในวิถีทางที่ควรจะเป็น ซึ่งก็คงไม่สำเร็จในคราวเดียว และขอบคุณอาจารย์ที่ได้ส่งเอกสารมาสนับสนุนร่างแก้ไขนี้ด้วยค่ะ

สำหรับข้อวิจารณ์ที่ว่านิติราษฎร์มองแต่ประเด็นทางกฎหมาย ไม่มองประเด็นทางการเมืองนั้น ก็นับว่ามีความจริงอยู่ แต่ดิฉันมองเช่นนี้

จากการได้พูดคุยกับทางนิติราษฎร์หลายครั้ง ดิฉันเห็นว่าการที่ อ.วรเจตน์ ย้ำบ่อยครั้งว่าสิ่งที่ทำเป็นเรื่องวิชาการ ไม่ใช่การเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นความเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่เพื่อทำให้ตัวเอง “ลอยตัว” หรือ “เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง”

ดิฉันเองก็เคยบอกกับทางนิติราษฎร์ว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นี้ เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ฝ่ายนิติราษฎร์ยังยืนยันว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางวิชาการ ซึ่งทำให้ดิฉันเข้าใจได้ทันทีว่า เพราะเราต่างมีความเข้าใจความหมายของ “การเคลื่อนไหวทางการเมือง” ที่แตกต่างกัน ซึ่งก็จะเห็นได้ชัดเจนจากคำอธิบายในสเตตัสใน fb ของ อ.สาวตรี สุขศรี (แต่การกล่าวเช่นนี้ ก็หวังว่าท่านอธิการบดี สมคิด จะไม่นำคำพูดของดิฉันไปชี้หน้าว่า นี่ไงๆ แม้แต่ คนใน ครก. 112 ยังบอกว่านิติราษฎร์เคลื่อนไหวทางการเมือง จึงห้ามใช้ มธ.อีก ดิฉันขอบอกว่า สำหรับดิฉัน ซึ่งเป็นศิษย์เก่า มธ. และเป็นนักกิจกรรม ดิฉันใช้ มธ.เคลื่อนไหวทางการเมืองมาตั้งแต่เป็นนักศึกษา ก็ไม่เคยเห็นมีปัญหาอะไร กรุณาอย่าแยก มธ.ออกจากการเมืองเลย เพราะมันจะทำลายชีวิตของ มธ.ในที่สุด)

การไม่มองมิติทางการเมืองนั้น จึงเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของนิติราษฎร์ จุดอ่อนคือ ไม่ได้สนใจเรื่องจังหวะก้าวทางการเมืองอะไรสักเท่าไร จุดแข็งคือ มันทำให้นิติราษฎร์มุ่งผลักดันข้อเสนอต่างๆ ของตัวเอง โดยไม่สนใจแรงปะทะทางการเมืองที่จะกลับมาสู่ตนเท่าไรนัก แต่ผลักดันด้วยความเชื่อมั่นในหลักการ เหตุผล ความซื่อตรง และความบริสุทธิ์ใจของตนเองเป็นสำคัญ เราจะเห็นลักษณะเช่นนี้เด่นชัดมาก โดยเฉพาะในตัว อ.วรเจตน์ การไม่สนใจมิติการเมือง หรือไม่เป็นการเมือง จึงทำให้เราได้คนที่กล้าหาญ มั่นคงในหลักการของตัวเอง แม้ว่าจะโดนกระหน่ำอย่างรุนแรงจากรอบทิศ ก็ไม่ท้อ ไม่เคยโอดครวญเรียกร้องความเห็นใจจากสังคม ใน ทางตรงกันข้าม คนที่คำนึงถึงการเมืองมากๆ ก็มักเป็นคนประเภท “รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง” หรือคนประเภทจะทำอะไรแต่ละครั้ง ไม่เพียงต้องประเมินว่าผลการเมืองจะเป็นอย่างไร แต่ต้องประเมินว่าตัวเองจะได้หรือเสียอะไรด้วย แต่ดิฉันคิดว่านิติราษฎร์ไม่ได้สนใจเรื่องสิ่งนี้เลย

แม้ว่าจะเห็นข้ออ่อนบางประการของนิติราษฎร์ แต่ดิฉันเคารพในคุณลักษณะดังกล่าวของพวกเขา ที่นับวันก็หายากขึ้นทุกที

สุดท้าย กรณีเรื่องควรผลักดันเรื่องไหนก่อนหลัง เป็นการง่ายที่คนเราจะฉลาดหลังเหตุการณ์ แต่ก็อย่างที่ อ.สาวตรีบอก กรณีอากง ทำให้สังคมเห็นปัญหาของ ม.112 มากขึ้น มีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้โดยกลุ่มต่างๆ ก็นับว่าเป็นจังหวะที่ดีที่เราจะผลักดันเรื่อง ม.112 ให้ได้มากที่สุด

ในสภาวะที่นิติราษฎร์ถูกกระหน่ำอย่างหนักนี้ คนบางส่วนอาจหวั่นไหว และต้องการถอยห่างออกไป แต่เราก็ได้เห็นผู้ใหญ่หลายท่าน เช่น อ.ชาญวิทย์ อ.นิธิ อ.เกษียร ที่ยังยืนหยัด ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของคนในสังคม รวมถึงของนิติราษฎร์และ ครก. 112 ด้วย จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย