WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 27, 2012

นปช.รวมตัวคึกคัก แรลลี่จุดแรก ลานพระบรมรูปฯ

ที่มา Voice TV

 นปช.รวมตัวคึกคัก แรลลี่จุดแรก ลานพระบรมรูปฯ



นปช.จัดแรลลี่จุดแรกจากบริเวณลานพระบรมรูปฯ ตั้งแต่10.00-15.00น. เตรียมคลื่อนไปตามจุดต่าง ๆ ที่มีคนเสื้อแดงเสียชีวิต


กองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ประกาศแจ้งข่าว (วันนี้) วันเสาร์ที่ 27 ต.ค. 2555 เวลา 10.00-15.00 น. กลุ่มนปช.จัดกิจกรรมแรลลี่ โดยขบวนแรลลี่จะเคลื่อนไปตามจุดต่าง ๆ ที่มีคนเสื้อแดงเสียชีวิต ทั้งนี้จะออกจากจุดแรกเวลา 10.00 น. บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า


Source : News Center / thanonline
27 ตุลาคม 2555 เวลา 09:18 น.

ธเนศวร์ เจริญเมือง: แรงเงา – แรงซ้ำรอยเดิมๆ

ที่มา ประชาไท



เพราะมีคนบอกว่า ละครทีวีเรื่อง แรงเงา สนุกมาก  ผมก็เลยไปหาซื้อนิยายเล่มละ 25 บาทมาอ่าน เพราะไม่มีเวลานั่งดูนานๆ (เหตุผลหนึ่งคือ เพราะโฆษณามากไป)  แต่ก็หาซื้อไม่ได้ ไปร้านไหน ก็ขายหมดเกลี้ยง  แสดงว่าของเขาแรงจริงๆ    วันนี้ มีคนใจดีไปหานิยายเล่มนั้นมาให้ผมแล้วครับ แต่อยู่ไกลกัน ยังไม่ได้ไปเอามาอ่านเลย
แต่หลายวันมานี้  เท่าที่ฟังคนรอบๆ แล้วก็เปิดดูกูเกิ้ล อ่านเรื่องย่อ  และวันนี้ มีตัวแทนมูลนิธิหญิงไทยก้าวไกล ออกมาวิจารณ์ละครทีวีเรื่องนี้ว่าเน้นความรุนแรง เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อสังคม  ผมคิดว่ามีประเด็นอยู่ 4-5 เรื่องที่น่าสนใจ
1. เรืองนี้นำนิยายมาทำหนังและละครทีวีแล้วถึง 4 ครั้ง  ครั้งแรก ทำเป็นหนังปี 2529 ครั้งที่ 2 ทำเป็นละครทีวี ปี 2531 ครั้งที่ 3 ปี 2544 ก็ทำเป็นละครทีวี และครั้งล่าสุดคือขณะนี้ก็ทำเป็นละครทีวี การเอามาเล่นบ่อยๆสะท้อนได้หลายแง่ คือ คนจัดเห็นทางหาเงินทำกำไร เพราะคนดูชอบ ก็เลยจัดทำใหม่ แต่ก็จะเห็นว่าเมืองนอก ถ้าเรื่องไหนดี สมมุติ Les Miserables (ที่ยิ่งใหญ่มากและสิงคโปร์เคยนำมาแสดงแล้วหลายปีก่อน) เป็นละครเพลงบนเวที เหมือนละครทีวีเรื่องเรยา หรือปริศนาของเรา ก็คือชุดนั้นเล่นกันทุกคืน เล่นเป็นปีๆๆๆ นับสิบปีเลย เพราะคนดูทั่วโลกชอบมาก  เป็นละครเพลงที่สุดยอดแห่งความบันเทิงและให้สาระแก่ผู้ชม   แต่ของเราที่นำมาเล่นบ่อยๆ  กลับเป็นความฟุ่มเฟือย เพราะเอาดาราดังยุคปัจจุบันไปเล่น  ใช้เนื้อหาเก่าๆ  เรื่องที่ว่านี้ก็คือเรื่องการตบตีกัน เพราะเรื่องผู้ชาย  เกิดแรงแค้น ก็แก้แค้นกัน  แถมด้วยบาปกรรมที่พ่อแม่ก่อไปส่งผลถึงลูก
2. ที่จริง  นิยายเป็นเรื่องแต่ง  เรื่องที่แต่งก็ย่อมสะท้อนสังคมยุคนั้นๆ   แต่ถ้าเอานิยายอายุ 20-30 ปีมาเล่น แถมยังเป็นนิยายออกไปทางน้ำเน่านี่  ต้องแสดงละครับว่า  ในโลกที่เปลี่ยนไปมากมายนั้น  ทำไม่กรอบความคิดที่ล้าหลังทำไมยังมีการนำมาแสดงซ้ำ  ทำไมถึงไม่มีการปรับปรุงแก้ไข  และท่ำคัญกว่ามากก็คือ ทำไมนิยายใหม่ๆ  ทันสมัย และสะท้อนสังคมได้ดีนั้น ไม่มีหรืออย่างไร  หรือว่าคนทำละคร ยังมีความคิดแบบเก่าๆ  คิดว่าทำอย่างไรก็ทำเงินแน่นอน  แล้วคิดบ้างไหมว่า ละครเหล่านี้ให้อะไรแก่สังคม
3. เนื้อหาของนิยายเรื่องนี้แรง ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมจึงได้รับความนิยมมาก เพราะแรงได้ใจ และต่อสู้กัน เอาชนะคะคานกันเม็ดต่อเม็ด  แต่โปรดสังเกตว่าละครเรื่องนี้ ผู้ชายเป็นข้าราชการระดับ ผอ. มีครอบครัวแล้ว แต่ไปรังแกข้าราชการสาวชั้นผู้น้อย ผู้อ่อนต่อโลก แทนที่เมียหลวงจะจัดการให้เหมาะสม กลับไปทำร้ายสาวน้อย   จนกระทั่ง คู่แฝดของสาวน้อยตามมาล้างแค้น ผู้เขียนทำให้ครอบครัวคือลูกๆ เมียหลวงต้องเผชิญบาปกรรม ได้รับความเดือดร้อน   คำถามมีว่า  แล้วผู้ชายที่เป็นข้าราชการระดับสูง  มีคนอยู่ใต้บังคับบัญชามากมาย  ทำไมจึงไม่ทำตัวเป็นแบบอย่าง  เหตุใด ไม่มีข้าราชการระดับล่างคนไหนคิดฟ้องร้องกล่าวโทษ  กลายเป็นว่านิยายเรื่องนี้เน้นแรงแค้นของหญิงสาวคนหนึ่ง  ให้ผู้หญิงหันไปต่อสู้กัน  เชือดเฉือนกันต่อเนื่อง   แน่นอนครับ  นี่เป็นการเปิดโปงสังคมแบบหนึ่ง  แต่การเปิดโปงสังคมเช่นนี้  ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุแต่ประการใด  เพราะข้าราชการฝ่ายชายที่ก่อเรื่องกลับลอยนวล
4.  การที่พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบไม่เข้าใจลูก  ไม่ยอมรับว่าคนเราแต่ละคนมีอุปนิสัย บุคลิกที่แตกต่างกัน  แต่ละคนต่างมีดีของตนเอง  แต่ละคนล้วนต้องการความรัก ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและกำลังใจ  กลับเรียกร้องคนหนึ่งให้เหมือนอีกคนหนึ่ง  พูดจาไม่ดีกับลูก ว่าให้ลูกเสียใจ  มองไม่เห็นสองด้านของชีวิต  บังคับให้ลูกต้องสูญเสียบุคลิกของตัวเองไป  ทำให้ลูกๆขัดแย้งกันอย่างรุนแรง  ที่สำคัญ  ทำให้ลูกท้อแท้หมดกำลังใจ จนนำไปสู่การคิดสั้น เป็นบทเรียนที่ดีมากๆ ต่อทุกๆคน ที่เป็นพ่อแม่  และญาติ
4. ทัศนะของผู้เขียนนิยายเรื่องแรงเงาในปี พศ. 2529  เก่าไป เอาหญิงมาทำร้ายหญิง ละเว้นไม่เอาผิดกับผู้ชายตัวการ   นี่ก็คือ การที่ผู้เขียนตกเป็นทาสของสังคมชายเป็นใหญ่  ยิ่งการหันไปโยน บาปกรรมให้แก่ลูก  ยิ่งเป็นการแก้ไขปัญหาผิดจุด  ลูกๆไม่ควรได้รับผลอะไรแบบนี้
5. คนไทยที่ดูแรงเงา ควรไปหาละครทีวี (ซีรีย์) เกาหลีใต้เรื่อง “ฮวาง จินยี” ที่เป็นสาวคณิการะดับสูง แล้วก็ถูกชนชั้นสูงทำร้าย ทำลาย จนคนรักต้องตายจากไป จากนั้น เธอจึงลุกขึ้นสู้ แต่ไม่ใช่ล้างแค้น แต่เป็นการสู้กับระบบศักดินา เปิดโปงความชั่วร้ายที่ขุนนางหลายคนได้กดขี่ข่มเหงเธอ
6. ผมเห็นว่าคนไทยเวลานี้  พร้อมที่จะดูหนังดีๆ  สังเกตจากหนังเกาหลีดีๆมาไทย  คนนั่งเฝ้าจอมากมายทั่วประเทศทุกเสาร์อาทิตย์ค่ำ   พล็อตเรื่องแรงเงา แรงเหมือนละครเกาหลี  ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีคนพูดถึง ติดตามเฝ้าชมละครเรื่องนี้  และหนังสือก็ขายดีมาก  แต่เสียดายครับ  เอานิยายมาแสดงใหม่   ก็ควรนำเนื้อเรื่องมาปรับปรุงให้ทันสมัย และเสนอปัญหาสังคมให้เข้มกว่านี้ได้    เพราะความผิดที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาการกดขี่ทางเพศ  ปัญหาชายกดขี่หญิง จะต้องแก้ไขให้ตรงจุด  ไม่ใช่ให้ผู้หญิงมาต่อสู้แย่งชิงกันเพื่อผู้ชาย หรือเพื่อความสะใจ  เพราะตราบใด  ผู้หญิงไม่เข้มแข็ง  กล้าเปิดเปิงการกดขี่ของชาย  ชายก็จะทำความผิดอยู่ร่ำไป
7.  ที่มีคนออกมาบอกว่าการนำเสนอละครที่ไม่ดีจะเป็นแบบอย่างให้คนดู เป็นแบบอย่างแก่เยาวชน  ผมก็ว่าทุกอย่าง ก็มีการจัดหมวดหมู่ อายุเท่าใดควรดูหนังละครประเภทใดอยู่แล้ว   และที่สำคัญ ในสังคมประชาธิปไตย  ละคร นิยาย และการแสดงทุกอย่างก็ต้องมีอภิปรายกัน ต้องมีเวทีถกเถียง และวิพากษ์วิจารณ์ให้กว้างขวาง   วิทยุ ทีวีควรมีรายการวิพากษ์วิจารณ์ เปิดมุมมองต่างๆให้คนได้ฟัง และแลกเปลี่ยนความเห็นกันให้มากๆ  ระบบการศึกษาต้องมีเวที มีวิชาที่ให้ครูอาจารย์และนักเรียนนักศึกษานำมาถกเถียงกันได้  เป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆ   โลกของเรา  ทุกอย่างมีด้านดีและ ด้านลบทั้งนั้นครับ   ถ้าจะผิด  ก็เพราะว่า ดูแล้ว แสดงแล้ว  ออกอากาศแล้ว  แต่กลับไม่มีความเห็นใดๆ  ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์  อย่างนี้ไม่ได้ครับ  บันเทิงและการวิจารณ์ต้องควบคู่กันตลอดในทุกๆสังคมครับ
 8.  นิยาย-ละคร และงานประพันธ์ที่จะมีคนอ่านมาก มีคนติดตามมากๆ ล้วนต้องมีอะไรแรงๆทั้งนั้นเป็นธรรมดาครับ  ถ้ามันไม่แรง ไม่แปลก ไม่เศร้าสุดๆ ไม่ชวนตื่นเต้น ขนหัวลุก หรือหวาดเสียว ฯลฯแล้วมันจะไปน่าสนใจได้อย่างไรเล่าสำหรับคนส่วนใหญ่  ใช่ไหมครับ ดูนิยายเกาหลีแต่ละเรื่อง เข้มข้นและแรงๆ ทั้งนั้น  แต่ที่สำคัญกว่านั้น ที่นิยายเกาหลียอดเยี่ยมคืออะไรเล่า  ก็คือ  เขามีแง่คิดดีๆ ให้กับสังคมต่างหาก  เช่น 1. เกิดเป็นคนต้องมุ่งมั่น ต้องทำงานหนัก ต้องต่อสู้ ต้องไม่กลัวความยากลำบาก ไม่ยอมแพ้โชคชะตา  แต่ละคร-นิยายเราส่วนใหญ่ไม่ใช่   มีแต่เรื่องของคนรวยๆ ทุกเรื่อง ไม่ทำมาหากินเลย แทบไม่มีเรื่องสู้ชีวิตเลย  มีแต่แย่งแฟนกัน หรือแย่งมรดกกัน  2. ยกย่องสตรีให้กล้าต่อสู้ กล้าเผชิญปัญหา และมองเห็นระบบที่เอาเปรียบ ของเราเห็นมีแต่ เขียนบทให้พระเอกปล้ำนางเอก แล้วภายหลัง ก็แต่งงานกัน ก็ทำไมไม่เขียนบทให้นางเอกสู้ล่ะ ฟ้องพระเอก ให้ติดคุกเล่า 3. เน้นคุณค่าสำคัญๆ เช่น รักท้องถิ่น  รักครอบครัว ความรักสายใยในระหว่างคนรัก  ญาติ  เพื่อน พ่อแม่ลูก  ต่อต้านอำนาจเถื่อน  เปิดโปงการเล่นพวก  คอรัปชั่น  เปิดโปงการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 
เคยดูหนังเกาหลี เรื่อง กิมจิ ไหมครับ  เน้นทั้งท้องถิ่น สายใยครอบครัว  การมุ่งมั่นทำสิ่งดีให้ออกมาดีที่สุด  ฯลฯ  หรือเรื่อง คนล่าทาส ที่เปิดเผยความรักที่ยิ่งใหญ่  รักที่มีแต่ให้  รักที่ยอมเสียสละ 
ความจริง ถ้าเรามีนิยายดีๆ ละครทีวีดีๆ เปิดโปงสังคมไทยได้ จ่ะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในสังคมไทยมากมาย   และเชื่อว่าคนไทยจะได้ประโยชน์มาก จากการอ่านนิยาย  การดูละครทีวีที่มีสาระต่อสังคม  สังคมของเรายังไม่เห็นความสำคัญของงานบันเทิงว่าเป็นการศึกษาที่ดีมากๆ  มีประโยชน์มากต่อผู้ชม   เราเห็นการบันเทิงเป็นเพียงธุรกิจหารายได้  และผู้สร้างหลายคนคิดแต่จะหากำไรจากคนดู  แต่ไม่เคยคิดว่าจะให้อะไรที่มีคุณค่าแก่คนดู   งานบันเทิงที่ดีคือการให้การศึกษาที่ดีมากๆ  เราควรจะเป็นหนึ่งในอุษาคเนย์แห่งนี้  ให้บันเทิงและสาระแก่ผู้ชมในภูมิภาคนี้  ไม่ใช่ให้หนังจีนหนังเกาหลี-ญี่ปุ่นมาครองตลาดในภูมิภาคนี้   แต่ผมว่าทั้งคนสร้างละคร-นิยาย-หนังในบ้านเราต้องศึกษาเรื่องดีๆจากประเทศ อื่นให้มากๆครับ และปรับปรุงงานให้มีคุณภาพกว่านี้  ไม่ใช่เห็นแก่เงินหรือรายได้อย่างเดียว  แล้วก็อ้างเหตุผลแบบน้ำเน่าว่าคนไทยชอบแบบนั้น  จึงต้องทำตามใจคนดู   ผมว่าคนสร้างหนัง สร้างละคร และเขียนนิยายจะต้องคิดใหม่  จะต้องกล้านำสังคมครับ   ไม่ใช่เดินตามสังคม  หรือคิดแต่จะหาประโยชน์จากสังคม  ด้วยการมอมเมาสังคมให้จมอยู่กับที่เดิม.     ถ้านิยายน้ำเน่า 30 ปีมาแล้ว ยังแสดงโดยใช้เนื้อหาเดิมๆ  ไม่มีการดัดแปลง ปรับปรุง  ผมว่าลำบากครับ   สังคมนี้.

26 ตุลาคม 2555

เ(ค)รื่องพระ เ(ค)เรื่องเพศ ใน ไตรปิฎก ตอนจบ : ความเป็นชายที่เลื่อนไหล

ที่มา ประชาไท

 
ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
พุทธศาสน์ของราษฎร

ตอนที่ 1 เป็นการทำให้เห็นถึงเรื่องต้องห้ามอย่างเรื่องเพศที่ระบุไว้ในไตรปิฎก และผู้เขียนได้ทิ้งท้ายไว้ถึงความเป็นชายที่เลื่อนไหลในร่มกาสาวพัสตร์ ความน่าสนใจก็คือ เรื่องเพศในพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากคราวที่แล้ว ดังที่เราทราบกันดีว่า จุดศูนย์กลางของพุทธศาสนานั้นให้ความสำคัญอย่างมากกับสถานภาพที่ “ชาย” เป็นใหญ่ แม้ว่าโดยปรมัตถธรรมแล้วจะประกาศอย่างชัดเจนถึง อนัตตา ความไม่ยึดมั่นในตัวตนก็ตาม การเลือกปฏิบัติระหว่างเพศที่เกิดขึ้นในภายหลังได้รับการแก้ต่างไปว่า นั่นคือ เรื่องเปลือกเป็นสิ่งสมมติเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็สามารถที่จะบรรลุธรรมะได้เท่าเทียมกัน

เรื่องความเป็นหญิงและการถูกกีดกันเราอาจเคยได้ยินการถกเถียงกันมาพอ สมควรแล้ว ตั้งแต่ประเด็นการห้ามผู้หญิงขึ้นพระธาตุ, การห้ามผู้หญิงบวช ที่ถกเถียงกันถึงประเด็นความเสมอภาค และบริบททางวัฒนธรรม
ปัจจุบันประเด็นทางเพศหนึ่งที่ยังไม่ได้มีการถกเถียงกันจริงจังก็คือ เพศที่สามของพระภิกษุสงฆ์ การกลายเพศพระสงฆ์ไปสู่เพศที่สามถูกค้นพบอยู่เรื่อยๆ ทั้งที่เป็นข่าว และไม่เป็นข่าว ทั้งในประสบการณ์ตรง หรือผ่านภาพถ่ายใน Social Network และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วที่สังคมชนชั้นกลางไทยจะ “ทนไม่ไหว” ต่อความอ่อนไหวนี้ การออกมาประณามก่นด่าในพฤติกรรมที่ผิดมาตรฐาน ตราบใดที่จำเลยอยู่ตรงข้ามกับฝ่ายของตนจึงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะกับเสื้อสีไหน บทความนี้เราจะเข้าไปดูเรื่องเพศที่ 3 ในไตรปิฎกกัน ว่าเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว เพศที่ 3 ดำรงอยู่ด้วยสถานะอย่างไรผ่านวรรณกรรมที่ชื่อไตรปิฎก
สู่คำอธิบายนอกตะกร้าทั้งสาม

หากยกการจัดประเภทสรรพสิ่งทั้งสาม จากบทความที่แล้ว ก็จะจำแนกได้เป็น มนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งแบ่งเป็นเพศทั้ง 4 ได้แก่ เพศหญิง เพศชาย กระเทย (บัณเฑาะก์) และผู้ที่มีสองเพศในร่างเดียว (อุภโตพยัญชนก) จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า เพศที่ 3 มีอยู่จริงในไตรปิฎก เพศที่ 3 ในที่นี้หมายถึงพระมีร่างกายเป็นชาย และมีพฤติกรรมและจิตใจออกทางเพศหญิง หรือกระทั่งมีอวัยวะเพศหญิงอยู่ร่วมด้วยกัน ดังนั้นเราอาจแบ่งเพศที่ 3 หยาบๆ เป็นกระเทย และคนสองเครื่องเพศด้วยความด้อยสามารถของผู้เขียน จึงไม่สามารถค้นหาจากไตรปิฎกเรื่องการนิยามเพศที่ 3 ได้ชัดเจนกว่านี้อีกแล้ว แต่มีการอ้างอิงคำอธิบายเพิ่มเติมผ่านคัมภีร์อรรถกถาซึ่งผู้เขียนก็ไปพบจากบ ล็อกเกอร์ท่านหนึ่งได้พยายามอธิบายไว้เช่นกันโดยเฉพาะในส่วนของกระเทยหรือ บัณเฑาะก์ จึงขอสรุปความมาดังนี้ [1]
คำว่า บัณเฑาะก์ (ในที่นี้หมายถึงกระเทย และไม่นับคนสองเครื่องเพศ) มาจาก ภาษาบาลีว่า ปณฺฑก ดังวจนัตถะว่า ผู้ที่มีเครื่องหมายแห่งบุรุษและสตรีขาดตกบกพร่องไป (ปฑติ ลิงฺคเวกลฺลภาวํ คจฺฉตีติ ปณฺฑโก) ได้แก่บัณเฑาะก์ 5 จำพวกได้แก่
1) อาสิตตบัณเฑาะก์ ได้แก่ ชายที่มีกิจกรรมทางเพศกับชาย
2) อุสุยยบัณเฑาะก์ ได้แก่ ชายที่ไม่ถึงกับมีกิจกรรมแต่พอใจที่จะดูกิจกรรมทางเพศ โดยตัวเป็นชายแต่ก็ไปชอบใจในชายที่ดูอยู่นั้น
3) โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ได้แก่ บุคคลผู้ที่ถูกตอนไปแล้ว เช่นขันที
4) ปักขบัณเฑาะก์ ได้แก่ บุคคลบางคนข้างแรมเกิดความกำหนัด ยินดีกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรม เมื่อถึงข้างขึ้นความกระวนกระวายนั้นก็หายไป
5) นปุงสกับบัณเฑาะก์ ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีเพศหญิงเพศชายไม่ปรากฏทั้ง 2 เพศ มีแต่ช่องที่สำหรับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น พวกนี้ถือว่า นปุงสกบัณเฑาะก์ เป็นการแสดงโดยตรง (มุขยัตถนัย) ขณะที่บัณเฑาะก์ที่เหลือ 4 พวก เป็นการแสดงโดยอ้อม (สทิสูปจารัตถนัย)
เพศที่สาม เพศต้องห้ามจริงหรือ?

ในพระวินัยกล่าวถึงคนเหล่านี้ไว้อย่างเด่นชัดในฐานบุคคลต้องห้ามสำหรับการอุปสมบท ดังนี้ [2]
เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท
[๑๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ. เธอเข้าไปหาภิกษุหนุ่มๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า. ภิกษุทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า. เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกสามเณรโค่งผู้มีร่างล่ำสัน แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า. พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบหาย เจ้าบัณเฑาะก์จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า. เธอถูกพวกสามเณรพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวกคนเลี้ยงช้างคนเลี้ยงม้า แล้ว พูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านทั้งหลาย จงประทุษร้ายข้าพเจ้า. พวกคนเลี้ยงช้างพวกคนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้วจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้เป็นบัณเฑาะก์ บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์ แม้พวกนั้นก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์. ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า พากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.
จะเห็นได้ว่าในบริบทนี้ ไตรปิฎกเขียนว่า กระเทย(บัณเฑาะก์)คนหนึ่งได้บวชเป็นภิกษุแล้วทำตัวระรานเพศชายด้วยกัน โดยใช้คำว่า “จงประทุษร้ายข้าพเจ้า” นอกจากจะทำตัวรุงรังกับพระด้วยกันแล้ว ยังไปยุ่งกับ “สามเณรโค่งล่ำสัน” และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเพ่นพ่านไปนอกอารามยังกวนใจชายเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เรื่องนี้เป็นขี้ปากชาวบ้านจนมีคนเอาไปฟ้องพุทธะ เรื่องดังกล่าวกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่จนถึงที่สุด พุทธจับสึกแล้วประกาศไม่ให้ภิกษุมีพฤติกรรมกรุ้มกริ่มกับหนุ่มๆเยี่ยงนี้อีก ขณะที่อีกเรื่องเป็นเรื่องของคนสองเครื่องเพศ
เรื่องห้ามอุปสมบทอุภโตพยัญชนก

[๑๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล อุภโตพยัญชนกคนหนึ่งได้บวชในสำนักภิกษุ. เธอเสพเมถุนธรรมในสตรีทั้งหลาย ด้วยปุริสนิมิตของตนบ้าง ให้บุรุษอื่นเสพเมถุนธรรมในอิตถีนิมิตของตนบ้าง. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ อุภโตพยัญชนก ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบทที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย.


นี่คือ กรณีของคนสองเครื่องเพศที่ได้รับการบวชแล้ว แต่มีเรื่องว่าได้ร่วมเพศกับผู้หญิงด้วยเครื่องเพศชายที่ตนมี และร่วมเพศกับผู้ชายด้วยเครื่องเพศหญิงที่ตนมีเช่นกัน พอภิกษุสายตายาวเห็นจึงอดรนทนไม่ไหวไปฟ้องพุทธะ และตามระเบียบเรื่องร้ายแรงเช่นนี้ก็ทำให้ชายสองเครื่องเพศถูกจับสึก และเรื่องนี้ก็ถูกบัญญัติไว้เป็นข้อห้าม สองกรณีนี้ปรากฏชัดในไตรปิฎก
แต่ในอรรถกถาพบการตีความที่พิสดารกว่านัก นั่นคือ [1]  อาสิตตบัณเฑาะก์ (ชายมีอะไรกับชาย) และอุสุยยบัณเฑาะก์(ชายชอบดูชายมีอะไรกับชาย) ไม่ห้ามบรรพชา, โอปักกมิยบัณเฑาะก์ (บุคคลผู้ถูกตอนไปแล้ว) นปุงสกับบัณเฑาะก์ (ไม่ปรากฏอวัยวะเพศชัดเจนมีแต่รูปัสสาวะ) ห้ามบรรพชา ส่วน ปักขบัณเฑาะก์ (บุคคลข้างแรมกำหนัด ข้างขึ้นกลายเป็นปกติ) ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์ที่เป็นบัณเฑาะก์ซึ่งน่าจะหมายถึงว่า ห้ามเฉพาะตอนที่ผิดปกติ และบัณเฑาะก์ สองประเภทที่ว่าบวชได้นั้น หมายถึงว่า แม้จะเป็นบัณเฑาะก์เมื่อก่อนบวช แต่เมื่อมาบวชแล้วต้องรักษาวินัย และต้องสละความประพฤติเบี่ยงเบนนั้นออกให้หมด
สำหรับการอธิบายถึงคนสองเครื่องเพศ นั้นแบ่งเป็นอิตถีอุภโตพยัญชนก และปุริสอุภโตพยัญชนก
1) อิตถีอุภโตพยัญชนก (คนสองเพศหญิงเด่น) จะมีรูปร่าง อาการเป็นหญิงรวมถึงอวัยวะเพศ แต่เมื่อเวลาพอใจในหญิงอื่นๆเกิดขึ้นแล้ว จิตใจที่เป็นอยู่ก่อนนั้นก็หายไป เปลี่ยนสภาพเป็นจิตใจของผู้ชายขึ้นมาแทน ในเวลาเดียวกันนั้นอวัยวะเพศชายก็เกิดขึ้น อวัยวเพศหญิงก็หายไปสามารถสมสู่ร่วมกับหญิงนั้นได้
2) ปุริสอุภโตพยัญชนก (คนสองเพศชายเด่น) จะมีรูปร่าง อาการเป็นชายอวัยวะเพศก็เป็นชาย ต่อเมื่อเวลาที่แลเห็นผู้ชายมีความพอใจรักใคร่เกิดขึ้น จิตใจที่เป็นชายอยู่ก่อนก็หายไป เปลี่ยนสภาพเป็นจิตใจของหญิงขึ้นแทน และในเวลาเดียวกันนั้นอวัยวะเพศหญิงก็ปรากฏขึ้น อวัยวะเพศชายก็หายไปสามารถสมสู่ร่วมกับชายนั้นได้
โดยที่ความแตกต่างกัน คือ อิตถีอุภโตพยัญชนกบุคคลนั้น ตัวเองก็มีครรภ์กับบุรุษทั้งหลายได้ ทำหญิงอื่นทั้งหลายให้มีครรภ์กับตัวก็ได้ สำหรับปุริสอุภโตพยัญชนกบุคคลนั้น ตัวเองไม่สามารถบังเกิดครรภ์ได้ แต่กรณีของคนสองเพศเช่นนี้ ไม่ได้รับสิทธิให้บวชเลย

ที่น่าสนใจก็คือว่า การตีความในอรรถกถานี้ไม่ได้ยึดเอาพฤติกรรมเสี่ยง เท่ากับสภาพทางกายภาพที่กำหนดเพศเป็นสำคัญ และการอนุโลมเช่นนี้ทำให้เห็นว่า อรรถกถายังมีความประนีนอมกับความหลากหลายทางเพศที่ยอมให้เข้ามาอยู่ในพุทธ ศาสนา แม้ว่าบัณเฑาะก์ที่มีรสนิยมลิ้มลองชาย ก็ยังให้โอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ได้ด้วย

การแตกตื่นเรื่องเพศที่ 3 ที่ถูกค้นพบเรื่อยๆในสังคมพุทธชาวไทย จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่นักแต่เกิดมาแล้วกว่าพันปี แต่ที่น่าสนใจก็คือว่า การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์เช่นนี้ในสังคมไทยมันมีเงื่อนไขจากอะไร ในบทความนี้ยังไม่มีปัญญาจะถกเถียง
ข่าวใหญ่ที่เคยสร้างความตระหนกเมื่อปี 2552 [3] ได้พาดหัวว่า “บุกวัดจับ-สมภารตุ๊ด ตะลึง"มีนม" ฉายาฉาว"เจ๊ดาว” ซึ่งเป็นการกล่าวหา เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง จ.ลำพูน วัดใหญ่ที่อยู่กลางเมืองที่เป็นคดีเนื่องจากการตามเรื่องของ “เกย์นที” นที ธีระโรจนพงษ์ เลขานุการกลุ่มเชียงใหม่อารยะ เนื่องจากมีนักศึกษาสาวมาร้องเรียนว่า แฟนหนุ่มมีหนี้สินจากการเล่นพนันฟุตบอลจำนวนมาก โดยมีกระเทยรุ่นใหญ่ซึ่งช่วยเหลือเงินทองแต่ต้องยอมมีความสัมพันธ์ด้วยและ กระเทยคนนั้นก็คือ “เจ๊ดาว” นั่นเอง


จนเมื่อ Social Network ได้กลายเป็นแหล่งปลดปล่อยตัวตนอย่างถึงพริกถึงขิง เรื่องกล้า บ้าบิ่น ท้าทายถูกนำมาโพสต์โชว์กันอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม ทั้งชายจริง หญิงแท้ ชายไม่จริง หญิงไม่แท้ต่างโพสต์รูปภาพต้องห้ามกันอย่างบ้าระห่ำ ในสังคมไม่ถึง 3G แต่พระเณรก็ไม่ยอมตกเทรนด์เทคโนโลยี พวกเขาได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวสร้างตัวตนของตนเองขึ้นมาเช่นกัน เราจึงพบภาพหลุดของพระเณรเพศที่ 3 ให้เห็นกันทั่วไป ไม่ว่าจะรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่
บทความนี้ขอปิดท้ายด้วยภาพที่เว็บดราม่าฯ [4] ให้ชื่อว่า “หลวงเจ๊ฟินาเล่” ที่แม้จะเป็นการ set ฉากเพื่อถ่ายงานศิลปะประเภทหนึ่งของนักศึกษาแห่งหนึ่ง แต่ก็สามารถก่อเรื่องราวถกเถียงใหญ่โต แม้ว่ามันจะเป็นเพียงสมมติบัญญัติก็ตาม

รายการอ้างอิง
[1] ชาวมหาวิหาร (นามแฝง). "บัณเฑาะก์ที่ห้ามบวชตามพระวินัย หมายถึงอะไร?". http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=thepathofpurity&month=16-04-2011... (16 เมษายน 2554) อ้างถึง
1] พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ข้อ [๑๒๕] (link)
2] อรรถกถาปัณฑกวัตถุ (อธิบาย มหาวรรค ภาค ๑ ข้อ [๑๒๕])
3] มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา วิถีมุตตสังคหะ เล่ม ๑
4] พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ข้อ [๕๗๓] (link)
5] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 333 (จากฉบับมหามกุฏฯ)
6] พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ข้อ [๑๓๒] (link)
7] อรรถกถาอุภโตพยัญชนกวัตถุ (อธิบาย มหาวรรค ภาค ๑ ข้อ [๑๓๒])
8] พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๖ ยมกปกรณ์ ภาค ๒ (link)
9] อรรถกถาอิตถินทริยนิทเทส, อรรถกถาปุริสินทริยนิทเทส  ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา (คู่กับพระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑)
10] คู่มืออภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉท ๖
[2] พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1๑ เล่มที่ 4  บรรทัดที่ 3481-3608, หน้าที่ 141-146 อ้างใน . http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=3481&Z=3608 (27 กรกฎาคม 2546)
[3] ข่าวสดรายวัน (7 กุมภาพันธ์ 2552)
[4] ดราม่า. "หลวงเจ๊ฟินาเล่". http://drama-addict.com/2012/02/15/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%... (15 กุมภาพันธ์ 2555)

มุสลิมใต้ฉลองรายอ รำลึกตากใบยันวันเชือดสัตว์พลีทาน

ที่มา ประชาไท



ชาวมุสลิมชายแดนใต้ร่วมพิธีละหมาดในวันอีดิ้ลอัฎฮา หรือวันฮารีรายอ พร้อมเพรียงทั่วโลก ให้อภัยต่อกัน เชือดสัตว์พลีทาน กลาโหมอนุมัติหยุด 5 วันรวด นักศึกษาใต้ร่วมลำลึกตากใบ ขณะเดียวกัน สนนท.แถลงให้รัฐยกเลิกกฎหมายพิเศษ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

ฉลองรายอ – ชาวมุสลิมนับพันคนร่วมฟังเทศนาธรรมหลังละหมาดวันรายอ เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 26 ตุลาคม 2555
ที่สนามศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา (ภาพจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศอ.บต.)
เมื่อเวลา 08.00 น.วันที่ 26 ตุลาคม 2555 ที่สนามศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา บรรดาพี่น้องชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ทั้งชายและหญิงกว่าพันคน เดินทางมาเพื่อร่วมพิธีละหมาด เนื่องในวันอีดิ้ลอัฏฮาหรือวันฮารีรายอ โดยมีพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พร้อมด้วยนายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา มาร่วมงานและพบปะกับผู้นำศาสนา ตลอดจนแจกเงินให้แก่เด็กๆ
หลังการละหมาดมีการอ่านคุตบะห์หรือการเทศนาธรรม เสร็จละหมาดมุสลิมทุกคนจะมีการจับมือให้สลาม พร้อมกับการขออภัยซึ่งกันและกันในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นต่อกันในช่วงที่ ผ่านมา หลังจากนั้น แต่ละคนต่างรีบไปร่วมกันเชือดสัตว์พลีทาน หรือกุรบาน สำหรับคนที่ตั้งใจไว้ ได้แก่ อูฐ วัว ควาย แพะหรือแกะ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ทั้งแก่ผู้ยากไร้ เพื่อนบ้านรวมทั้งเก็บไว้รับประทานเอง
บรรยากาศดังกล่าว เกิดขึ้นเช่นเดียวกับชุมชนมุสลิมทั้งหลายทั่วโลก รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในพื้นที่สัตว์ที่ใช้เชือดเป็นสัตว์พลีทานส่วนใหญ่จะเป็นวัว ทั้งนี้ตลอดทั้งวันโดยเฉพาะในช่วงก่อนและหลังละหมาดทุกมัสยิดจะมีการกล่าวคำ สรรเสริญพระเจ้า “อัลลอฮุอักบารฺ”ดังกึกก้องไปทั่ว
วันอีดิ้ลอัฏฮาเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ตรงกับวันที่ 10 เดือนซูลฮิจญะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ตามปฏิทินอิสลาม โดยปีนี้เป็นปีฮิจเราะฮฺศักราช(ฮ.ศ.)ที่ 1433 เป็นวันเดียวกับผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย กำลังประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
สำหรับความสำคัญของวันอีดิ้ลอัฎฮา นายอับดุลสุโก ดินอะ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นผู้รู้ทางศาสนาอิสลาม กล่าวไว้ในบทความชื่อ “เทศกาลฮัจญ์ มุสลิมในประเทศเฉลิมฉลองอย่างไร” ว่า พิธีฮัจญ์ เป็นการรวมตัวของประชาชาติมุสลิมที่มีขนาดใหญ่ที่ก้าวพ้นพรมแดนแห่ง ชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรม แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เดินทางไปประกอบพิธฮัจญ์ จะฉลองวัน"อีดิลอัฎฮา"ด้วยศาสนกิจและศาสนกุศลมากมายโดยเฉพาะเชือดสัตว์เพื่อ พลีทานเป็นสวัสดิการชุมชน
“วันตรุษอีดิลอัฎฮา เป็นคำภาษาอาหรับ มาจากคำว่า อีด แปลว่า รื่นเริง เฉลิมฉลอง และ อัฎฮา แปลว่า เชือดสัตว์พลีทาน ดังนั้น วันตรุษอีดิลอัฎฮา จึงหมายถึง วันเฉลิมฉลองการ เชือดสัตว์เพื่อพลีทานเป็นสวัสดิการชุมชน” นายอับดุลสุโก กล่าว
นายอับดุลสุโก กล่าว่า การเชือดกุรบ่านดังกล่าว เริ่มได้หลังจากจากละหมาดอีดิ้ลอัฎฮาไปจนถึงเวลาละหมาดอัสรีในช่วงเย็นของ วันอีดิ้ลอัฎฮาวันที่ 4 หรือระหว่างวันที่26 - 29 ตุลาคมของปีนี้
ทั้งนี้ วันอีดิ้ลอัฎฮาปีนี้ กระทรวงกลาโหม ได้ออกประกาศอนุมัติให้ทหารกองประจำการที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีความ ประสงค์จะไปประกอบศาสนกิจในวันอีดิลอัฎฮา ปีฮิจเราะฮฺศักราช 1433 ได้หยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ มีกำหนด 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 - 28 ตุลาคม 2555 ส่วนข้าราชการอื่นๆ ให้ใช้สิทธิ์การลาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555 ซึ่งเป็นวันก่อนถึงวันอีดิ้ลอัฎฮา เรียกว่าวันอารอฟะห์ เป็นวันที่ชาวมุสลิมได้ถือศีลอดด้วยอีกหนึ่งวัน และยังตรงกับวันครบรอบ 8 เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส ที่นำไปสู่การเสียชีวิตของประชาชน 85 คน จากการสลายการชุมนุมและการขนย้ายผู้ชุมนุมโดยการนอนทับกันบนรถของทหาร หรือเรียกว่าเหตุการณ์ตากใบ
ในวันดังกล่าว มีองค์กรภาคประชาชนหลายองค์กรในพื้นที่ เช่น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) ได้ร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมรำลึกถึง เหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมๆกับร่วมปฏิบัติศาสนกิจในวันดังกล่าวด้วย ได้ การถือศีลอด การละหมาดฮายัตและการอ่านบทสวนอุทิศผลบุญถึงผู้เสียชีวิต

**********************************************************
แถลงการณ์ในวาระครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์ตากใบ

                เหตุการณ์ในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ที่มีการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมของประชาชนที่หน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส จนนำไปสู่การสูญเสีย และมีการเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งในหลายเหตุการณ์ที่เกิดจากการกระทำละเมิด และเป็นเหตุการณ์ที่ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า  “อากาศคือฆาตกร”
                ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์แล้วว่าหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบดูแลไม่ได้ให้ความจริงใจใน การแก้ปัญหา แม้ว่าจะมีการจ่ายเงินเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ตาม แต่ก็เทียบไม่ได้กับการสูญเสียชีวิต สูญเสียอิสรภาพ สูญเสียสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีพึงได้ ด้วยเพราะว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้ทำการละเมิดสิทธิ ทำลายหลักสิทธิมนุษยชนจนหมดสิ้น แต่การกระทำดังกล่าวก็มิได้มีการพิสูจน์การกระทำความผิด มีแต่เพียงผู้นำกองทัพและเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ออกมาแก้ต่างแทนเจ้าหน้าที่ ตลอดจนการนำเงินภาษีของประชาชนไปซื้อเครื่องมือยุทโธปกรณ์ต่างๆ ก็ส่อไปในทางทุจริตและก็ยังไม่เห็นว่าหน่วยงานใดจะออกมาตรวจสอบความจริง ด้วยเพราะกลัวอำนาจมืดที่แฝงอยู่ในกองทัพ
                ด้วยเหตุการณ์เหล่านี้ที่ปรากฏต่อสังคม สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จึงยื่นข้อเรียกร้องและขอประณามการกระทำดังกล่าว
                1.การกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเห็นเชิงประจักษ์แล้วว่านโยบายที่ได้กำหนดขึ้นมานั้นไม่สามารถตอบสนอง หรือใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่ยิ่งกลับไปสร้างภาระและละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง
                2.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จนบัดนี้ได้ครบรอบ 8 ปี แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงขอเรียกร้องให้มีการชำระประวัติศาสตร์ความรุนแรงที่ก่อโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และให้นำตัวผู้สั่งการ ผู้กระทำในเหตุการณ์ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้สูญเสียและให้สืบ สวนสอบสวนผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ระดับเหนือนโยบาย ระดับนโยบาย จนถึงระดับปฏิบัติการ
                3.ขอประณามกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นสากลทั้งระบบ และตั้งข้อสังเกตถึงคำพิพากษาตลอดจนการทำหน้าที่ของศาลและอัยการ
                4.ขอประณามอย่างรุนแรงต่อเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นในวันนั้น โดยกำลังหลักที่ใช้คือทหารและตำรวจปฏิบัติการพิเศษภายใต้การประกาศกฎอัยการ ศึก ซึ่งไม่มีเหตุสมควรที่จะใช้กฎหมายดังกล่าว
                5.ลดการใช้อำนาจในการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ การละเมิดสิทธิมนุษยชนและดูแลความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)
*******************
ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
             
                จากการที่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)ได้เฝ้าติดตามการแก้ปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดมา จึงได้มีข้อเสนอต่อระดับนโยบาย ดังนี้
             
                1.เสนอให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมแล้วว่ากระบวนการยุติธรรมไม่สามารถเข้ามาแก้ ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ การตัดสินของศาลยังมีความไม่เป็นมาตรฐานของความยุติธรรม และอำนาจของศาลก็ไม่ได้มาจากประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจทั้งสามควรจะเป็นของประชาชน อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจที่มาจากประชาชน ยกเว้นเพียงอำนาจตุลาการเท่านั้น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) จึงเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาโดยประชาชนเป็นผู้เลือก การเลือกผู้พิพากษาที่เป็นคนในท้องถิ่นเข้าไปตัดสินคดีจะสามารถทำให้เข้าใจ รากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น เข้าใจวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น และไม่เป็นการไปกดทับความเป็นมนุษยชน และอำนาจที่มาจากประชาชนก็สามารถตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้
             
                2.เสนอให้มีการร่างนโยบายที่มาจากประชาชนโดยแท้จริงและเสนอให้ยกเลิกการใช้ นโยบาย เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ไม่เข้าใจในแก่นสารของนโยบายดัง กล่าว และมีการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเข้าใจผิด เข้าไม่ถึงประชาชน และยัดเยียดการพัฒนา ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ดีถ้าผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) เห็นว่าการแก้ปัญหาในพื้นที่ควรจะให้ประชาชนมีบทบาทในการกำหนดชะตากรรมของตน เอง และได้ร่วมกำหนดนโยบายที่เป็นของประชาชนเพื่อการแก้ปัญหาอย่างถูกทางและมี ส่วนร่วม
             
3.เสนอให้เลิกการใช้อำนาจในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ปิดกั้นการแสดงออก การละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนให้ดูแลรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนในพื้นที่ โดยให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นโดยไม่ถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐ
             
4.เสนอให้ยกเลิกกฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึก, พรก.ฉุกเฉิน และห้ามนำกฎหมายพิเศษมาใช้กับเหตุการณ์ทางการเมือง เพราะกฎหมายดังกล่าวล้วนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายล้างผู้บริสุทธิ์ โดยเสนอให้ใช้กฎหมายปกติในพื้นที่

จีนบล็อค 'นิวยอร์กไทมส์' หลังตีแผ่ทรัพย์สินครอบครัว 'เวิน เจียเป่า'

ที่มา Thai E-News



http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=42642.0
(26 ต.ค.55) ช่วงสายวันนี้ ตามเวลาประเทศจีน
รัฐบาลจีนบล็อคเว็บไซต์นิวยอร์กไทมส์ทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ
หลังเผยแพร่บทความชื่อ Billions in Hidden Riches for Family of Chinese Leader
http://www.nytimes.com/2012/10/26/business/global/family-of-wen-jiabao-holds-a-hidden-fortune-in-china.html?_r=0
ที่กล่าวถึงเส้นทางความมั่งคั่งของครอบครัว เวิ่น เจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีน

โดยบทความดังกล่าว เผยแพร่ในภาษาอังกฤษเมื่อเวลา 4.34 น.
ตามด้วยเวอร์ชั่นภาษาจีนในเวลา 8.00น.
หลังจากนั้นไม่นาน จีนก็ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บนิวยอร์กไทมส์
โดยเริ่มจากเว็บภาษาจีนตามด้วยเว็บภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ ยังมีการบล็อคการพูดถึงนิวยอร์กไทมส์และ เวิ่น เจียเป่า ในเว็บเว่ยป๋อ
ซึ่งเป็นบริการไมโครบล็อกกิ้งคล้ายทวิตเตอร์ของจีนด้วย

บทความดังกล่าวระบุว่าครอบครัวของเวิ่น เจียเป่า
ถือครองสินทรัพย์มูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยในช่วงที่เวิ่น เจียเป่า เข้าสู่อำนาจ
คนในครอบครัวตั้งแต่ลูกชาย ลูกสาว น้องชายและน้องเขยของเขา ก็ร่ำรวยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในทรัพย์สินเหล่านั้นไม่มีชื่อของ เวิ่น เจียเป่าเลย

ทั้งนี้ นิวยอร์กไทมส์ระบุว่าทั้งรัฐบาลจีนและญาติของเวิ่น เจียเป่า
ต่างปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าว

โฆษกของนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า
รู้สึกผิดหวังต่อการบล็อคดังกล่าวและหวังว่าเว็บจะกลับมาเข้าได้ในไม่ช้า

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. จีนได้บล็อคเว็บไซต์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก
หลังเผยแพร่บทความแจกแจงจำนวนทรัพย์สินของรองประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
ผู้ซึ่งถูกคาดว่าจะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไปของจีน


ที่มา:
  New York Times blocked in China over Wen Jiabao story
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-china-20091675
  China Blocks Web Access to Times After Article
http://www.nytimes.com/2012/10/26/world/asia/china-blocks-web-access-to-new-york-times.html

ล้านคำบรรยาย (พิเศษ) การ์ตูนเซีย 27/10/55 ปรับ ครม.แล้วต้อง ปรับตัว ปรับใจ

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน





ศึกนอกใน รุมเร้า เข้ามาซัด
ตอดจิกกัด จนระส่ำ ทำปวดหัว
คนโน้นแห้ว คนนี้ได้ ไม่ลงตัว
ความหม่นมัว มากทวี ไม่มีจาง....

ไม่ใช่สมบัติ ผลัดกันนั่ง หัดฟังหน่อย
อย่าคิดคอย แต่ตอกย้ำ ทำบาดหมาง
ปรับครม. ควรปรับใจ ให้เป็นกลาง
ไม่คิดอย่าง เคืองแค้น สุดแสนระอา....

ขัดแข้งขา กันเอง ทำเก่งกาจ
ลุอำนาจ โอ้อวดตน เป็นคนกลัา
ลืมหรือไร ใครถูกเชือด เลือดน้ำตา
ยังคิดมา ชวนทะเลาะ เพราะเก้าอี้....

ศึกนอกเขา เตรียมฟัด ซัดให้น่วม
ควรหล่อรวม ให้มั่นคง ณ ตรงนี้
พอขัดใจ ใช่ตั้งท่า มาราวี
คิดให้ดี อาจโง่เง่า เข้าทางโจร....

๓ บลา / ๒๗ ต.ค.๕๕

28ตุลานี้คนเสื้อแดงมีชุมนุมไม่ใหญ่ ที่ไหนมั่ง?

ที่มา Thai E-News






ประชาสัมพันธ์: เชิญร่วมกิจกรรมเปิดตัวหนังสือใหม่ "จักรภพ เพ็ญแข"




เชิญร่วมงานเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุดของ “คุณจักรภพ เพ็ญแข”
วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2555
เวลา 13.00-16.00 น.                     
ร้านทีพีนิวส์ (TPNewsชั้น 4 (หน้าลิฟต์แก้ว) อิมพีเรียลลาดพร้าว
วิทยากรรับเชิญ... คุณวัฒน์ วรรลยางกูร
 พูดคุยในประเด็น “นักเขียนกับเสรีภาพทางการเมือง”
และวิดีโอลิ้งค์ “คุณจักรภพ เพ็ญแข” เจ้าของผลงาน
ผู้ดำเนินรายการรับเชิญ...คุณสุมาลัย มัชแมน
(โปรดิ๊วเซอร์รายการโทรทัศน์/นักพากย์อิสระ)
                               แขกรับเชิญ... แม่น้องเกด, คุณสุชาติ นาคบางไทร, ฯลฯ

ที่ชิคาโก้ อเมริกา

หนุนปฏิวัติ ?

ที่มา uddred

 ข่าวสด 27 ตุลาคม 2555 >>>






อีกแค่วันเดียวก็จะรู้แล้วว่าม็อบล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะออกมากันมากน้อยขนาดไหน จะมากัน 2 หมื่นหรือไม่ถึง 1 พัน 28 ต.ค. นี้ ก็คงได้รู้กัน
เพราะ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประ สิทธิ์ ประกาศไว้ชัดเจนว่าถ้ามาไม่ถึงพันก็จบ เสธ.อ้าย จึงทุ่มสุดตัวตั้งข้อหาเอาใจพวกซ่าหริ่ม ไม่พอใจทุจริต-ทักษิณ แถมยังโหนสถาบันกันแบบสุดๆ
โปรโมตกันตั้งแต่แรกเลยว่าจัดม็อบขึ้นมาล้มรัฐบาลโดยเฉพาะ มีจุดมุ่งหมายให้ทหารออกมาปฏิวัติรัฐประหาร จุดประสงค์สุดท้ายนี้แหละที่เป็นปัญหา ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีการปฏิวัติ
   "รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ทุกคนต้องการประชาธิปไตย มันจะเสียหาย จะดีหรือไม่ดีก็ไปว่ากัน มันมีกติกา มีคณะทำงานตรวจสอบ"
การันตีแบบนี้ก็สร้างความอุ่นใจให้ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาล ขนาดนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดงที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอด ยังชื่นชมท่าทีของ ผบ.ทบ. ที่ไม่เอาด้วยกับการปฏิวัติ
นายจตุพรยังระบุว่า "ชะตากรรมของรัฐบาลตอนนี้ คล้ายกับช่วงปลายรัฐบาลทักษิณ ที่กลุ่มอิทธิพลลงขันกันโค่นล้ม เรามีบทเรียนจากอดีตมาแล้วถึง 3 รัฐบาล จึงรู้ว่าควรป้องกันอย่างไร"
ตรงนี้ก็แสดงว่ารัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ เตรียมแผนรับมือไว้แล้ว ความจริงแล้ว สถานการณ์ในตอนนี้บ้านเมืองกำลังจะเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยแท้จริง แม้จะไม่ถูกอกถูกใจคนทั้งหมด แต่ก็เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย
ที่สำคัญบ้านเมืองตอนนี้กำลังกลับเข้าสู่ความสุขสงบ หลังผ่านวิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อปี"53 หลังผ่านวิกฤตมหาอุทกภัยเมื่อปี"54
ฉะนั้น การปลุกม็อบด้วยการประกาศหนุนการปฏิวัติล้มรัฐบาล ประชาชนส่วนใหญ่จะเอาด้วยหรือ ? บทเรียนในอดีตยืนยันได้

Friday, October 26, 2012

สุรพศ ทวีศักดิ์: วัฒนธรรมโปรโมทความดี

ที่มา ประชาไท



ชื่อบทความเดิม:
วัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดีและการหลอกตัวเองทางศีลธรรม กับปัญหาการเมืองและศาสนาในสังคมไทย

(ปรับจากบทความชื่อเดียวกัน เสนอในการสัมมนาวิชาการประจำปีของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 วันที่ 25 ต.ค.55 ณ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร นครปฐม)
...............................

วัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดี หมายถึง การส่งเสริมความดี/คนดีในความหมายเชิงจารีตประเพณี โดยการปลูกฝังอบรมผ่านระบบการศึกษา กลไกรัฐ ศาสนา กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ฯลฯ บทความนี้ต้องการสำรวจว่า วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีสะท้อนภาวะ “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” อย่างไร และส่งผลกระทบต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนาในสังคมไทยอย่างไร

1.ศูนย์กลางของวัฒนธรรมโปรโมทความดี/คนดี คือสถาบันกษัตริย์ และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์

1.1 สถาบันกษัตริย์ถูกนิยามว่า มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นไทย ความรุ่งเรืองทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และเกียรติยศของชาติ พระมหากษัตริย์เป็นทั้งผู้ปกครอง และเป็น “ผู้นำทางจิตวิญญาณ” จึงถูกอ้างอิงเป็น “ศูนย์กลางทางศีลธรรมแห่งรัฐ” ในความหมายสำคัญ คือ 1) เป็นผู้มีบุญคุณต่อพสกนิกร หรือเป็น “พ่อของแผ่นดิน” ที่พสกนิกรต้องกตัญญูรู้บุญคุณ 2) เป็นสมมติเทพผู้ทรงทศพิธราชธรรมที่พสกนิกรต้องจงรักภักดี 3) เป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจในการทำความดีของพสกนิกร ดังกระแสค่านิยม “ทำดีเพื่อพ่อ” และ 4) เป็นผู้สอนศีลธรรม ดังพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ เป็นต้น
แต่สถานะของสถาบันกษัตริย์ใน “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” นั้น กษัตริย์ถูกกำหนดให้ “อยู่เหนือการเมือง” โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ในความหมายว่า พ้นไปจากการบริหารบ้านเมืองและความเป็นฝักฝ่ายทางการเมือง จึงเป็นที่ “เคารพสักการะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้” เพราะกษัตริย์ทำอะไรไม่ผิด (the king can do no wrong) ในความหมายว่า ไม่ได้ทรงทำอะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องการบริหารบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง เพราะมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้กระทำและรับผิดชอบการกระทำนั้นๆ แทน ตามกฎหมายบัญญัติ [1]
ปัญหาคือ “อยู่เหนือการเมือง” ขอบเขตอยู่ตรงไหน การเมืองมีความหมายแคบๆ แค่การลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันเพื่อมีอำนาจรัฐเท่านั้นหรือ เรื่องอื่นๆ ที่ใช้งบประมาณของรัฐ ใช้กลไกรัฐในการขับเคลื่อน และกระทบต่อประโยชน์สาธารณะเป็นการเมืองหรือไม่ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นนโยบายแห่งรัฐ โครงการพระราชดำริต่างๆ ที่ใช้งบประมาณของรัฐจำนวนมาก อำนาจเหนือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งรับผิดชอบทรัพยากรแผ่น ดินมูลค่ามหาศาล ฯลฯ  เรื่องต่างๆ เหล่านี้ถูกตั้งคำถามว่าเป็นการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะหรือ ไม่ ถ้าเป็นการเมืองและเป็นเรื่องที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ ก็ควรถูกวิจารณ์ตรวจสอบความสุจริต โปร่งใส ประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ความรับผิดชอบ (เป็นต้น) ได้ใน “มาตรฐานเดียว” กับที่วิจารณ์ตรวจสอบนักการเมือง และบุคคลสาธารณะอื่นๆ ไม่ใช่หรือ แต่ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ไม่มีการจำแนกให้ชัดเจนระหว่างอะไรคือหมิ่นประมาท กับอะไรคือการวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะทำให้ สถานะของสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการตรวจสอบ ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบเรื่องต่างๆ เหล่านี้ (เป็นต้น) ได้เลย
1.2 พุทธศาสนาตามที่เป็นอยู่จริงในบ้านเราคือ พุทธศาสนาที่ธงชัย วินิจจะกูล เรียกว่า “พุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์” [2]  รูปธรรมของพุทธที่ว่านี้คือ “พุทธราชาชาตินิยม + พุทธพราหมณ์” หมายถึง พุทธเถรวาทไทยที่ถูกตีความสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยมว่า กษัตริย์เป็นสมมติเทพ ทรงทศพิธราชธรรม เป็นศาสนาที่ขึ้นต่อรัฐ โดยรัฐออกกฎหมายสถาปนาองค์กรปกครองสงฆ์ เรียกว่า “มหาเถรสมาคม” ที่ขึ้นต่อระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์ โดยระบบสมณศักดิ์ขึ้นต่อ “พระราชอำนาจ” ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับสถาบันกษัตริย์เนื่องด้วยเหตุผลเรื่องความ มั่นคงแห่งรัฐตามอุดมการณ์ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” วัดมีบทบาทส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ผ่านการเทศนาอวยคุณงาม ความดีของสถาบันกษัตริย์ และผ่านพิธีกรรมต่างๆ ในวันสำคัญของสถาบันกษัตริย์ วันสำคัญทางศาสนา และอื่นๆ
มายาคติของพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือ การที่พุทธศาสนาถูกตีความสนับสนุนราชาธิปไตยมาเป็นพันๆ ปี พระสงฆ์ปัจจุบันเทศนาอวยสถาบันกษัตริย์ วัดต่างๆ ทำกิจกรรมส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ หรือการที่พระสงฆ์ต้องรับสมณศักดิ์ ซึ่งเป็นฐานันดรศักดิ์อย่างหนึ่งโดยการสถาปนาของกษัตริย์ การบริหารคณะสงฆ์ต้องขึ้นต่ออำนาจรัฐซึ่งมีผลกระทบต่อหลักการสำคัญของพุทธ ศาสนาที่ถือว่า “สังฆะ” ไม่มีระบบชนชั้น ไม่มีฐานันดรศักดิ์ หรือไม่มีอำนาจรัฐในมือ เป็นต้น อะไรต่างๆ เหล่านี้ไม่ถูกมองว่า “พุทธศาสนายุ่งเกี่ยวการเมือง”
แต่ถ้ามีการตีความหลักการของพุทธศาสนาสนับสนุนประชาธิปไตย และการเรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาค จะถูกมองว่าดึงพุทธศาสนามายุ่งเกี่ยวการเมืองทันที อีกประการหนึ่งการอ้างทศพิธราชธรรมยกย่องเจ้า แต่ยอมรับเงื่อนไข “อยู่เหนือการตรวจสอบ” ของสถาบันกษัตริย์ ย่อมขัดแย้งกับหลักการพุทธศาสนาเอง เช่น หลักกาลามสูตรที่ถือว่า “เราจะยอมรับว่าอะไรจริง ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่ามันจริง” และตามหลักอริยสัจนั้น เราจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ จำเป็นต้องรู้ความจริงของปัญหานั้นๆ ก่อน ทว่าความจริงของสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นความจริงด้านบวกหรือลบ ไม่มีทางที่ประชาชนจะ “รู้” ได้ด้วยการพิสูจน์/ตรวจสอบเลย
ฉะนั้น ศูนย์กลางของวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดี คือสถาบันกษัตริย์และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่อย่างแรกอยู่เหนือการวิจารณ์ตรวจสอบ และอย่างหลังสนับสนุนค้ำจุนสถานะเหนือการตรวจสอบ จึงถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าคือรากฐานของ “วัฒนธรรมหลอกตัวเองทางศีลธรรม” หรือไม่ และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนาในบ้านเราอย่างไร บ้าง

2.ชุดความดีและคุณค่าของความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2.1 ชุดความดี/คนดีตามนิยามของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คือตัวอย่างของ “ชุดความดี/คนดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม” ดังที่เขาได้ให้ความหมายของความดี/คนดีไว้ ว่า จง รักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละและจงรักภักดี ยึดถือ และปฏิบัติตามพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำรงวัฒนธรรมไทย เป็นต้น ชุดความดีดังกล่าวผูกโยงกับ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” อย่างมีนัยสำคัญ ดังที่พลเอกเปรมสรุปว่า "..ผมเชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชมีจริง และจะปกป้องคนดี และสาปแช่งคนไม่ดี คนทรยศต่อชาติบ้านเมืองให้พินาศไป นั่นคือความเชื่อของผม ส่วนบุคคลอื่นจะเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับจริยธรรมและคุณธรรมของแต่ละคน" [3]
จากนิยามความดี/คนดีดังกล่าวนี้ เกษียร เตชะพีระ วิจารณ์ว่า
การผูกโยง "พระสยามเทวาธิราช" อันเป็นเทพารักษ์ของราชาชาตินิยม (royal-nationalistpalladium ในหลวงรัชกาลที่4 ทรงสร้างขึ้น) เข้ากับจริยธรรม-คุณธรรม ของพลเอกเปรมข้างต้น มีนัยชวนคิดต่อ 2 ประการ คือ1) มันยกปัญหาจริยธรรม-คุณธรรมให้หลุดลอยไปจากกรอบขอบข่ายการคิด การเชื่อของปัจเจกบุคคล แล้วเอาไปผูกโยงกับชาติ กลายเป็นว่าการทำดี คิดดี มีจิตใจดี ไม่ใช่เป็นความดีระดับปัจเจกต่อไป แต่จะเกิดได้ มีได้ ก็แต่ในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของชุมชนราชาชาตินิยมเท่านั้น  2) มันชวนให้ตั้งคำถามว่า บรรดาจริยธรรม-คุณธรรมประดามีล้วนแล้วแต่สอดคล้องต้องกันกับผลประโยชน์ของ ชาติทั้งนั้น ทั้งสิ้นหรือ?...
พูดอีกอย่างก็คือ พลเอกเปรมเสนอให้บุคคล (ที่เป็นคนไทย) อิงพลังราชาชาตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์ (ชาตินิยมเป็นศาสนาทางโลกชนิดหนึ่ง secular religion) มากำกับกดข่มกิเลสในตัวปัจเจกบุคคล แล้วจึงจะกลายเป็นคนดีได้...บุคคลดีด้วยตัวเองไม่ได้ หากแยกออกจากสมมุติเทพแห่งราชาชาตินิยมอันศักดิ์สิทธิ์นั้น ... [4]
ตามข้อวิจารณ์ของเกษียร ภายใต้ระบบการปลูกฝังชุดความดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม ประชาชนเป็นคนดีไม่ใช่เพราะว่าเขาเป็นปัจเจกที่มีเสรีภาพในตัวเองที่จะนิยาม ความหมายของความดี และเลือกหลักการที่ถูกต้องทางจริยธรรมด้วยเหตุผลของตนเอง แต่เขาเป็นคนดีเพราะเขาทำตัวเป็น “เครื่องมือที่ดี” ตามกรอบหรือลู่ทางแห่งความกตัญญู ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อชนชั้นปกครองเท่านั้น ทำให้ผมนึกถึง A Clockwork Orange หรือ “คนไขลาน” ที่เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์ (แต่ไม่ใช่มนุษย์) ทำหน้าที่เพียงไขลานเพื่อให้กลไกต่างๆ ในนาฬิกาทำงานได้อย่างปกติ ไม่มีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตมากกว่านั้น ในบทความชื่อ “A Clockwork Orange: ความเป็นมนุษย์และการสูญสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์” ของอาทิตย์ ศรีจันทร์ เขาเขียนทิ้งท้ายอย่างน่าคิดว่า
ถ้าสิทธิในการเลือกใช้ชีวิต คือสิทธิของมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น เพราะการเลือกเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีชีวิต มีจิตใจ มีเจตจำนง และมีเสรีภาพ เมื่อมนุษย์ไม่สามารถเลือกอะไรได้ในชีวิต มนุษย์จะเรียกตัวเองว่ามนุษย์ได้อย่างไร หรือแตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานและสิ่งไร้ชีวิตได้อย่างไร หรือเป็นได้แค่เพียง “คนไขลาน” ที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง โดยปราศจากอารมณ์และความรู้สึก...กระนั้นหรือ? [5]
ตามการปลูกฝังชุดความดีข้างต้น ประชาชนคือ “คนไขลาน” ให้นาฬิกาแห่งอุดมการณ์ราชาชาตินิยมเดินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่ใช่ “เสรีชน” หรือ “คน” ที่มีเหตุผล เสรีภาพและศักดิ์ศรีในตัวเองตามความหมายของการเป็นประชาชน หรือเป็นคนตาม Concept ของประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนดังที่เราหลอกตนเองว่าสังคมเรายึดหลัก เสรีภาพ ความเสมอภาค ตามระบอบประชาธิปไตย และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด
2.2 ชุดความดีทางศาสนาที่สนับสนุนความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาติ นิยม+สุขนิยมส่วนตัว (individual hedonism/egoism) เป็นชุดความดีที่โปรฯความดี/คนดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่ มี “ตราประทับความจงรักภักดี” มากกว่าที่จะสนับสนุนความดีที่วางอยู่บนรากฐานทางจริยศาสตร์ที่สนับสนุน “ความเป็นมนุษย์” ที่เสรีภาพ เสมอภาคตามหลักประชาธิปไตย ดังเช่น คำเทศนาพระสงฆ์ทั่วไปและพระที่มีชื่อเสียงแห่งยุคอย่าง ว.วชิรเมธี
อาตมาเพิ่งกลับจากยุโรปเมื่อ 2-3 เดือนก่อน ฝรั่งที่มานั่งกรรมฐานกับอาตมาบอกว่า...ในหลวงของคนไทยเป็นผู้นำทางจิต วิญญาณที่ฝรั่งอิจฉา ฝรั่งเขารู้ว่าในหลวงเป็นพระราชาที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก การที่เรามีพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เป็นเครื่องหมายของประเทศด้อยพัฒนา แต่เป็นเครื่องหมายของความเป็นอารยประเทศที่มีสดมภ์หลักในทางจิตวิญญาณ ต่างชาติเขามีเพียงเสรีภาพเป็นที่พึ่ง ในขณะที่เรามีพระองค์ท่านเป็นประจักษ์พยานที่มีชีวิตชีวา แล้วเราตระหนักในคุณค่าแห่งคำสอนของพระองค์หรือเปล่า? คนไทยนั้นแปลก เรามีของดีที่สุดอยู่ในแผ่นดินแต่ต้องรอให้ฝรั่งเขามายกย่อง เราจึงจะเห็นคุณค่า ประการแรก เพราะเราตกเป็นอาณานิคมทางปัญญาของฝรั่ง ประการต่อมา เพราะเราคิดน้อย เราไม่ชอบคิดในเชิงวิเคราะห์ แต่เราชอบสะเดาะเคราะห์  [6]
ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีการอ้างอิงหลักพุทธศาสนาเพื่อขจัดฝ่ายที่ถูกล่าวหาว่าเป็นศัตรูของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ดังวาทะอันลือลั่นของ กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ในช่วงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19 ที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” [7] หรือในยุคสมัยของเรา ก็คือวาทะอันโด่งดังของพระเซเลบอย่าง พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ที่ว่า “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” ดังที่ทราบกันทั่วไป เป็นต้น

3.การหลอกตัวเองทางศีลธรรม

การหลอกตัวเองคืออะไร ข้อโต้แย้งของฌอง ปอล ซาร์ต ข้างล่างนี้บอกเราได้ชัดเจนดี
ผมในฐานะผู้หลอกลวง ต้องรู้ความจริงที่ตัวเองปิดบังไว้จากตัวผมเองในฐานะผู้ถูกหลอกลวง และที่ดียิ่งกว่านั้นอีกคือ ผมต้องรู้ความจริงนั้นอย่างถ่องแท้ด้วย เพื่อที่จะปิดบังมันไว้อย่างรอบคอบรัดกุมยิ่งขึ้น และนี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นในสองช่วงขณะที่ห่างจากกันพอที่จะทำให้เราคิด ถึงอะไรบางอย่างที่คล้ายกับทวิลักษณ์ได้ แต่มันอยู่ในโครงสร้างเพียงหนึ่งเดียวของกิจกรรมเดียวกันนั้น [8]
มีปรากฏการณ์ในโซเชียลมีเดียที่ถูกตั้งคำถามว่า เป็นการหลอกตัวเองทางศีลธรรมหรือไม่ เช่นข้อโต้แย้ง (arguments) เรื่อง “freedom of speech” ของบรรดาคนรักเจ้า [9] ที่อ้างว่า พวกเขาย่อมมีเสรีภาพที่จะรัก มีเสรีภาพที่จะพูดสรรเสริญคุณความดีของสถาบันกษัตริย์ แต่ปัญหาคือ ข้อโต้แย้งนี้เป็นข้อโต้แย้งที่มีฉากหลัง (background) หลักๆ 2 อย่างคือ 1) เป็นข้อโต้แย้งต่อฝ่ายที่เรียกร้องให้มีระบบกฎหมายเปิดให้วิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ได้ จึงเป็นข้อโต้แย้งที่ไม่แฟร์ในตัวของมันเอง เพราะการยืนยันเสรีภาพที่จะพูดถึงความดีงามของสถาบันกษัตริย์เพื่อโต้อีก ฝ่ายที่เขาไม่มีเสรีภาพที่จะพูดด้านตรงข้ามได้ 2) “freedom of speech” ที่ยืนยันนั้น จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ “freedom of speech” เลย เพราะฝ่ายที่ยืนยันนั้นเอง ก็ไม่มีเสรีภาพในการเลือกที่จะพูดด้านตรงกันข้ามกับการสรรเสริญ ฉะนั้น “freedom of speech” ของบรรดาคนรักเจ้าจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของการหลอกตัวเอง คือพวกเขารู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเองไม่มี “freedom of speech” เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เพราะกฎหมายไม่เปิดให้ แต่ก็ยังพยายามจะยืนยันว่าตนมี
ประเด็นคือ “freedom of speech” เป็นศีลธรรมขั้นพื้นฐานที่แสดงคุณค่า “ความเป็นมนุษย์” ที่สำคัญยิ่งตามหลักสิทธิมนุษยชน ดังปรากฏในตอนต้นของคำปรารภและข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรับรองไว้ว่า การดำรงไว้ซึ่งเสรีภาพในความคิดเห็นและการแสดงออก (freedom of speech) คือปณิธานสูงสุดของสามัญชน และ “บุคคลมีสิทธิ เสรีภาพในความคิดเห็น และการแสดงออก สิทธิดังกล่าวนี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรก แซง ไปจนถึงการแสวงหา รับเอา ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูล และความคิดเห็นผ่านสื่อใดๆ โดยปราศจากพรมแดน” [10] ฉะนั้น ทั้งที่รู้อยู่ก่อนแล้วว่าตนเองไม่มี “freedom of speech” เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เพราะกฎหมายไม่เปิดให้ แต่ก็ยังพยายามยืนยันว่าตนมี จึงเป็น “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ในระดับพื้นฐานเลยทีเดียว
เราจะเข้าใจปัญหานี้ชัดขึ้นจากคำอธิบายของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ ต่อคำถามที่ว่าทำไมเราจึงควรคิดว่า การเคารพในอิสรภาพส่วนบุคคล และสิทธิที่จะคิดต่างจะสร้างสวัสดิการแก่สังคมได้ในระยะยาว? มิลล์ให้เหตุผลว่า
ความเห็นต่างอาจปรากฏว่าเป็นความจริง หรือมีส่วนจริง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงแก้ไขความเห็นกระแสหลักได้ และต่อให้มันไม่เป็นจริง การนำความเห็นกระแสหลักมาสู่การปะทะสังสรรค์ทางความคิดจะช่วยป้องกันไม่ให้ มันแข็งตัวเป็นลัทธิกดขี่และอคติ สุดท้าย สังคมที่บังคับสมาชิกให้ทำตามธรรมเนียมและจารีตต่างๆ สุ่มเสี่ยงว่าจะตกอยู่ในภาวะทำตามๆ กันไปอย่างโง่เขลา ขาดพลัง และความมีชีวิตชีวาซึ่งขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม [11]
ฉะนั้น วัฒนธรรมโปรฯความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและพุทธมรดก สมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงเป็น “วัฒนธรรมหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ที่ทำให้สังคมมีค่านิยมไม่ให้ความสำคัญกับความจริง ความถูกต้องที่ตรวจสอบได้ตามหลักการประชาธิปไตย และความมีเหตุเป็นวิทยาศาสตร์ กระทั่งยอมละทิ้งหลักการพุทธแบบดั้งเดิม เช่น ไม่ให้ความสำคัญกับการปรับใช้หลักกาลามสูตร และหลักอริยสัจในการตรวจสอบความจริง หรือ “ทุกขสัจจะ” ทางสังคมการเมืองเป็นต้น

4.การท้าทายโต้แย้งชุดความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์จากจุดยืนเสรีประชาธิปไตย

พร้อมๆ กับการโปรฯความดี/คนดีดังกล่าวอย่างเข้มข้น ก็เกิดการท้าทายมากขึ้น ดังการท้าทายอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” อย่างถึงรากของมุกหอม วงศ์เทศ บนจุดยืนการปกป้อง “ความเป็นมนุษย์” ตามอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยที่ว่า “เมืองไทย เป็นประเทศที่เต็มใจอยู่กับความฝันแบบแฟนตาซี เทพนิยายโกหก แบบเด็กไม่ยอมโต ทาสที่ปล่อยไม่ยอมไป หลอกทั้งตัวเอง หลอกทั้งคนอื่น แถมยังคิดว่าคนอื่นต้องเชื่อเรื่องโกหกแบบเราด้วย อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นอุดมการณ์ที่ทำลายความเป็นมนุษย์มากๆ ส่วนที่ทำลายมากที่สุดคือการใช้ปัญญาและเหตุผล” [12]
ขณะเดียวกันการโปรฯความดี/คนดีของพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบพระเซเล็บ ก็ถูกตั้งคำถามมากขึ้น ดังข้อวิจารณ์ของ วิจักขณ์ พานิช
ตราบใดที่การสื่อสารธรรมะทางเดียวยังคง ดำเนินต่อไปในลักษณะเพิกเฉยต่อบริบทความทุกข์ที่หลากหลายของผู้คนในสังคม อีกทั้งโครงสร้างพุทธศาสนาแบบไทยๆ ยังวางตัวอิงแอบอยู่กับอำนาจรัฐด้วยภาพลักษณ์วาทกรรม “ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” จนบ่อยครั้งกลายเป็นอำนาจมืดที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้  คำคมอย่าง “ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” หรือความคิดเห็นแปลกๆ ที่ขาดการเข้าใจบริบททางสังคมอย่างรอบคอบ ก็จะยังคงปรากฏออกมาตามสื่อต่างๆ เรื่อยไป  และแน่นอนว่าคำสอนเหล่านั้น เมื่อปรากฏต่อสาธารณชน ย่อมหนีไม่พ้นการถูกโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์  ส่วนการพยายามอธิบายเหตุผลที่มาของข้อความเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยการยก สถานะอันเป็นที่สักการะของพระสงฆ์ หรือความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากการเมืองของคำสอน ก็ยิ่งจะแสดงถึงอวิชชา ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอันซับซ้อน และการพยายามปัดความรับผิดชอบที่ข้อความอันมักง่ายเหล่านั้นมีผลกระทบต่อคน เล็กคนน้อยในทางสังคม...ปฏิกิริยาทั้งหมดยิ่งสะท้อนถึงแนวโน้มเผด็จการ “อำนาจนิยม” ของพุทธศาสนาในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการร่วมรักษาความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันใน สังคมประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ไว้โดยรู้ตัวก็ดีหรือไม่รู้ตัวก็ดี  [13]
กระทั่งเสนอให้ “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” โดยให้แปรรูปองค์กรทางศาสนาอยู่ในรูปองค์กรเอกชนทั้งหมด โดยที่รัฐไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิง ยกเว้นว่าการดำเนินกิจการทางศาสนาจะเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองในสังคม ประชาธิปไตย [14]

5. ผลกระทบต่อปัญหาทางการเมืองและศาสนา

วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังที่อภิปรายมา ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญตามมา เช่น
5.1 การปลูกฝังชุดความดีดังกล่าวนั้น ด้วยการประชาสัมพันธ์ด้านเดียว ผ่านระบบการศึกษา หน่วยงานราชการ องค์กรศาสนา กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม สื่อมวลชน ฯลฯ ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเบลอๆ (มีการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบสังคมการเมืองให้ เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ได้ แม้แต่จะแก้ไขกฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 ตามข้อเสนอของนักวิชาการและประชาชนก็ทำไม่ได้ เพราะเกรงกลัวกองทัพและอำนาจนอกระบบ) มีเสรีภาพเบลอๆ (คือเสรีภาพที่ถูกจำกัดด้วย ม.112 ไม่ใช่เสรีภาพสมบูรณ์ตามหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน) มีความยุติธรรมเบลอๆ เพราะไม่มีความเสมอภาค (ใช้สองมาตรฐานในการวิจารณ์ตรวจสอบ เรียกร้องความรับผิดชอบทางกฎหมาย และศีลธรรมกับบุคคลสาธารณะ) เป็นพุทธเบลอๆ ที่สนับสนุนศีลธรรมเครื่องมือเพื่อครอบงำประชาชนให้กลายเป็น “มนุษย์เครื่องมือ” ค้ำจุนสถานะ อำนาจศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นปกครอง
5.2 เพราะความเป็นประชาธิปไตยเบลอๆ เป็นพุทธเบลอๆ สังคมเราจึงมีการอ้างสถาบันกษัตริย์ อ้างศีลธรรมทางศาสนาต่อสู้ทางการเมือง แบ่งแยกคนในชาติเป็นฝ่ายคนดีที่มีตราประทับ “ความจงรักภักดี” กับฝ่ายคนเลวที่มีตราประทับ “ความไม่จงรักภักดี” และจบลงด้วยรัฐประหาร การล้อมปราบนักศึกษาประชาชนบาดเจ็บล้มตายซ้ำซาก จนกระทั่งบัดนี้สังคมยังไม่สามารถอ้างอิงหลักการประชาธิปไตยในการแยกแยะ ถูก-ผิดทางการเมืองได้อย่างมีวุฒิภาวะ เพราะรากฐานทางจริยศาสตร์แห่งวัฒนธรรมโปรฯความดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นจริยศาสตร์แห่ง “การหลอกตัวเองทางศีลธรรม” ที่มีผลให้วิธีคิดและการตัดสินถูก-ผิดทางศีลธรรมของสังคมเบลอๆ อยู่กับสภาพกึ่งจริงกึ่งเท็จ จึงเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาสัจจะ การถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างถึงที่สุดเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันว่าอะไรคือหลักการ อุดมการณ์ที่ถูกต้องที่สังคมควรยึดถือร่วมกัน
5.3 สังคมติดกับดักของ “ศีลธรรมทางการเมืองตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยม” การที่สถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดี ทำให้ 80 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย แทนที่สังคมจะส่งเสริม “ความรัก” ในเสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ แต่กลับเน้นการส่งเสริมความรักสถาบันกษัตริย์ในฐานะ “ตัวบุคคล” มากว่า จนกลายเป็นกับดักปัญหาทางศีลธรรมตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมเรื่อง “ความจงรักภักดี-ไม่จงรักภักดี” อันเป็นเหตุให้สถาบันกษัตริย์ดำรงสถานะ อำนาจ บทบาทที่ถูกอ้างอิงในการต่อสู้ทางการเมือง และการทำรัฐประหารได้ไม่สิ้นสุด
5.4 ความดีทางศาสนาถูกทำให้เป็น “ยากล่อมประสาท” มอมเมาผู้คนให้ตกอยู่ในสภาพเบลอทางศีลธรรมที่คลุมเครือในเรื่องจริง-เท็จ ถูก-ผิด คนดีทางศาสนากลายเป็นคนแปลกแยกจากสังคม หมกมุ่นกับความทุกข์ ความสุขส่วนตัว มองปัญหาสังคมการเมืองเป็นเรื่องทางโลก วุ่นวาย เป็นเรื่องของกิเลสตัณหา ไม่ใช่ความดี เพราะความดีคือการทำบุญ ศีล ทาน ตามคำสอนของพุทธศาสนา เป็นความดีที่มีอานิสงส์ดลบันดาลให้เกิดสุขทั้งในโลกนี้ โลกหน้า ความดีดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม การปกป้องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตย ประกอบกับโครงสร้างอำนาจของสังคมสงฆ์ที่ขึ้นต่ออุดมการณ์ราชาชาตินิยม บทบาทขององค์กรทางศาสนาจึงอยู่ข้างชนชั้นปกครองมากกว่าจะยึดโยงกับประชาชน และประชาธิปไตย
5.5 เกิดกระแสท้าทายโต้แย้งวัฒนธรรมโปรฯความดีเชิงบรรทัดฐานตามอุดมการณ์ราชา ชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ บนจุดยืนเสรีประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เช่น กระแสต่อต้านรัฐประหารโดยคนดีมีคุณธรรม การเรียกร้องให้แก้ไขยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯมาตรา 112 การปฏิรูปกองทัพ สถาบันกษัตริย์ การตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองโดยอ้างธรรมะอ้าง ศาสนาสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยม การเรียกร้อง “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” หรือรัฐฆราวาส (secular state) ที่รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา การแปรรูปองค์กรศาสนาให้เป็นกิจกรรมของเอกชนโดยสิ้นเชิง เป็นต้น

บทสรุป : เราไม่ใช่ “มนุษย์เครื่องมือ” อีกต่อไป (?)

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า วัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีตามอุดมการณ์ราชาชาตินิยมและพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์นับวันจะถูกท้าทายโต้แย้งด้วยหลักการ เหตุผล บนจุดยืนของอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยมากขึ้นๆ สังคมเราไม่อาจอยู่กับความจริงที่ว่า “เราถูกปลูกฝังให้หลอกตัวเองทางศีลธรรม” เช่นนี้ตลอดไป เราผู้ซึ่งเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพจะเลือกชีวิตทางสังคมการเมืองที่ดีกว่า เป็นอารยะกว่า ไม่สมควรจะ “ถูกกด” ถูกมอมเมาให้กลายเป็นเพียง “มนุษย์เครื่องมือ” หรือ “คนไขลาน” อีกต่อไป
กลิ่นไอของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพ มีคุณค่ามีศักดิ์ศรีในตัวเองในโลกปัจจุบันและอนาคต ดูจะมีเสน่ห์ยั่วยวนชวนปรารถนาเกินกว่ามนต์สะกดแห่งอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะตรึงผู้คนให้ติดอยู่กับความไม่มีเหตุผลของศีลธรรมหลอกตัวเองอีกต่อไป
คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่า สังคมจะเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมโปรฯความดี/คนดีบนฐานศีลธรรมหลอกตัวเอง ไปสู่การสร้างระบบสังคมการเมืองที่ยุติธรรมบนฐานของศีลธรรมเหตุผลเป็นสากล คือหลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพอย่างสันติได้อย่างไร ซึ่งผมคิดว่าไม่มีทางเป็นไปอย่างสันติได้เลย หากสังคมไม่สามารถถกเถียงด้วยเหตุผลอย่างเป็นสาธารณะ และอย่างถึงที่สุด เพื่อหา “ฉันทามติ” ร่วมกันว่า ต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และพุทธมรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้อยู่ภายใต้หลัก เสรีภาพ และความเสมอภาคตามระบอบประชาธิปไตยอย่างอารยประเทศ
เชิงอรรถ
  1. “ในระบอบประชาธิปไตย ย่อมไม่มี the king ที่ can do wrong เพราะในระบอบประชาธิปไตย มีแต่ the king ที่ can do nothing เนื่องจากผู้รับสนองพระบรมราชโองการต่างหากที่เป็นผู้กระทำและผู้รับผิดชอบ” ดู ปิยบุตร แสงกนกกุล “องค์กษัตริย์ไม่อาจถูกละเมิดได้คืออะไร?” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) หน้า 49
  2. ดู ธงชัย วินิจจะกูล. มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบัน. http://prachatai.com/journal/2011/05/34433
  3. มติชน 3 เม.ย.55 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333427789
  4. เกษียร เตชะพีระ เรื่องจริยธรรม-คุณธรรม ชาตินิยมและพระสยามเทวาธิราช. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333553868...
  5. อาทิตย์ ศรีจันทร์. A Clockwork Orange: ความเป็นมนุษย์และการสูญสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์. อ่าน ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม 2554-มีนาคม 2555) หน้า 187
  6. LIPS ปักษ์หลัง ธันวาคม 2552, หน้า 87
  7. จัตุรัส ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 (29 มิถุนายน 2519)
  8. แบล็กเบิร์น, ไซมอน.อ้างแล้ว, หน้า 103
  9. ปัญหา freedom of speech เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์และ ม.112 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล วิเคราะห์ไว้หลายที่ เช่น http://www.youtube.com/watch?v=ifr8jolc5F8 เขากล่าวว่าปัจจุบันเสรีภาพวิจารณ์สถาบันกษัตริย์แย่กว่าสมัย ร.6 ร.7
  10. ดูอาทิตย์ พุธิพงษ์. เรื่องของอากง: Freedom of Speech และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม. http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38254
  11. อ้างใน  Sandel, Michael J. ความยุติธรรม= What’s the Right Thing to Do?. แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล.กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2554 หน้า 71-72
  12. อ้างใน วรพจนน์ พันธุ์พงศ์/ธิติ มีแต้ม.ความมืดกลางแสงแดด.(กรุงเทพฯ: หอนาฬิกา 2555), หน้า 236
  13. วิจักขณ์ พานิช “ความคมของฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน” บทเรียนของพุทธศาสนาในสังคมประชาธิปไตย http://blogazine.in.th/blogs/budddhistcitizen/post/3465
  14. ดูเก่งกิจ กิติเรียงลาภ. ปัญหาธรรมกาย-พระไพศาล-มหาเถรสมาคม-สุรพศ และบททดลองเสนอเกี่ยวกับสถานะของสถาบันศาสนาในสังคมไทย. http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42403  และสุรพศ ทวีศักดิ์.ปัญหาการอ้าง “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” กับ “ความชอบธรรม” ในการดำเนินการทางพระธรรมวินัย http://prachatai.com/journal/2012/09/42410

ล้านคำบรรยาย (พิเศษ) การ์ตูนเซีย 26/10/55 เที่ยวนี้จะต้องข้ามไปอีกกี่ศพ...

ที่มา blablabla

โดย 

 ภาพถ่ายของฉัน




แสนเวทนา น่าสมเพช ประเทศนี้
คนอัปรีย์ จ้องล้มรัฐ ขัดแข้งขา
บ้าอำนาจ ขาดคุณธรรม ซ้ำมารยา
มันตั้งหน้า มุ่งโค่นล้ม ให้จมดิน....

จากบันได 4 ขั้น ที่มันสร้าง
คือคำอ้าง พวกจัญไร..ไล่ทักษิณ
คมช. ก่ออำพราง สร้างมลทิน
ชนทั่วถิ่น ต่างเห็นชัด ใครสัตว์-คน....

มาคราวนี้ พวกหลงยุค ปลุกกระแส
แค่นตอแหล ด้วยมายา พาสับสน
เอาวาทกรรม คำสับปลับ แสนสัปดน
สร้างมืดมน บันไดชั่ว มั่วอีกที....

จะ 5 ขั้น หรือกี่ขั้น มันเขียนบท
ล้วนโป้ปด เลวระยำ คำป้ายสี
หวังล้มรัฐ..ประชาชน คนทำดี
สร้างอัปรีย์ อีกรอบ ตอบแทนใคร....

ศพเดิมๆ มันฆ่าไว้ นับไม่หมด
มันเก็บกด เตรียมดาหน้า ฆ่ารอบใหม่
ช่างสมชื่อ ตอแหลแลนด์ แดนจัญไร
กี่บันได..พวกกูรอ ขอเอาคืน....

๓ บลา / ๒๖ ต.ค.๕๕

'เหวง' อัด เสธ.อ้าย ระวังจะโดน ม.113

ที่มา uddred

 Facebook นพ.เหวง โตจิราการ 26 ตุลาคม 2555 >>>


วานนี้ (25 ต.ค. 55) นพ.เหวง โตจิราการ โพสท์ข้อความอัด พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ (เสธ.อ้าย) ประธานองค์การพิทักษ์สยาม กรณีแสดงความเห็นเกี่ยวกับการรัฐประหารดังนี้

ผมขอคัดลอกบางข้อความของประมวลอาญามาตรา 113 มาให้ท่านทั้งหลายได้รับรู้นะครับ ดังนี้ครับ
   “ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อ
2. ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต”
อัน ที่จริง เสธ.อ้าย มีสิทธิ์เต็มที่ในการที่จะระดมคนมาชุมนุมกันที่สนามม้านางเลิ้งในวันที่ 28 ต.ค. 55 ตราบเท่าที่ไม่ได้ทำผิดรัฐธรรมนูญ หรือทำผิดกฎหมายใดๆ และคนที่นิยมชมชอบ เสธ.อ้าย ก็มีสิทธิที่จะไปชุมนุมกับเขา ผมไม่ได้ค้านดอกครับ
แต่ประเด็นอยู่ที่ เสธ.อ้าย ให้ข่าว ว่า ถ้ามีคนมามากพอจะทำการปฎิวัติ หรือมีกำลังทหารอยู่ในมือพอจะทำการปฏิวัตินี่เป็นสิ่งที่ผิดรัฐธรรมนูญ ผิดกฎหมายไม่ใช่หรือครับ ?
เมื่อไปเทียบดูกับสิ่งที่ประมวลอาญามาตรา 113 ที่ผมคัดลอกเอาตอนที่เกี่ยวข้องมาให้อ่านแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นการกระทำที่กฎหมายเขียนไว้ว่าเป็นความผิด
ผมจึงได้เตือน เสธ.อ้าย ในวันนี้ (25 ต.ค. 55) ครับ ว่าระวังหน่อยนะว่า อาจจะผิดประมวลอาญามาตรา 113 ซึ่งความผิดเป็นกบฎและมีโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตเลยนะครับ
แต่ ความที่ผมอ่านคำพูดของ เสธ.อ้าย จากหนังสือพิมพ์ไม่ได้ฟังด้วยตนเอง จึงอาจจะยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ ดังนั้นจึงต้องปรึกษาหารือท่านผู้รู้กฎหมาย และท่านที่มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการพูดของ เสธ.อ้าย ว่า จะเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 113 ประมวลอาญาหรือไม่ ??? และควรจะดำเนินการตามกฎหมายกับเขาหรือไม่ ?????
หากมีหลักฐานมัดแน่น และน่าจะมีความผิดเข้าข่ายมาตรา 113 จริง ก็น่าจะดำเนินการไปตามกระบวนยุติธรรมนะครับ
ใน เมืองไทยเราทุกวันนี้ เห็นพวกอำนาจนิยม พวกอำมาตยาธิปไตย พูดขู่เรื่องการทำปฏิวัติ (อันที่จริงมันเป็นรัฐประหารนะครับ) กันอย่างง่ายๆและบ่อยๆ
ทั้งนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นผลสืบเนื่องจาก ในอดีตเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาได้ชี้ไว้ว่า “การรัฐประหารที่ได้รับชัยชนะนั้นเป็นรัฐฎาธิปัตย์” และพวกที่รัฐประหารชนะก็เสวยสุขกันทุกคนไม่ต้องรับผิดกับการกระทำความผิดของ ตนเองเลยแม้แต่คนเดียวจนถึงปัจจุบันนี้ ความเห็นส่วนตัวของผม
1. คำพิพากษาศาลฎีกาไม่ใช่กฎหมายครับ แต่เป็นคำตัดสินที่บังคับกับคู่กรณี และเป็นตัวอย่างในการ นำเอาข้อเท็จจริงมาประกอบเข้ากับข้อกฎหมายเพื่อให้นักกฏหมายที่พรรษาอ่อนจะ ได้ใช้เป็นบทเรียนในการศึกษาให้มากยิ่งๆขึ้นต่อไป กฎหมายนั้นต้องมาจากรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ครับ
2. ปัจจุบันนี้ ความข้อนี้เนื่องจากมีผู้คนนำไปอ้างใช้กันอย่างผิดๆ จนกระทั่งกลายเป็นหลักการทางความคิดพื้นฐานทั่วไปเสียแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะเท่ากับยอมรับความชอบธรรมของการทำรัฐประหารและจะนำไปสู่การรัฐประหาร อย่างไม่มีที่สิ้นสุดในสังคมไทยอย่างแน่นอน
ดังนั้นในแง่มุมของการเป็น รากฐานทางความคิดของคนในสังคม พวกเราคงต้องช่วยกัน แก้ไขความคิดที่ผิดดังกล่าวให้หมดไปจากสังคมไทย โดยการยืนยันว่า การรัฐประหารเป็นสิ่ง ที่ชั่วร้าย ต้องกำจัดให้สิ้นไปจากประเทศไทย ไม่ให้เกิดขึ้นอีกเป็นอันขาด
เพราะในสังคมประชาธิปไตย ความขัดแย้งทางความคิดเห็น ทางการบริหารหรือทางการเมืองการปกครอง เป็นเรื่องธรรมชาติปกติ ไม่มีอะไรน่ากลัว การชุนนุมแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่ต่างกันก็ทำได้ ตราบเท่าที่ไม่ปะทะกัน ไม่ผิดรัฐธรรมนูญไม่ผิดกฏหมาย
ความขัดแย้งทางการเมืองทุกชนิดไม่ว่าจะสาหัสสากรรจ์หรือวิกฤตแค่ไหน ก็สามารถหาทางออกได้แก้ไขได้
ทุกอย่าง สามารถแก้ไขได้โดยการคืนอำนาจสูงสุดของประเทศนี้ให้แก่ราษฎรทั้งหลาย กล่าวคือ การยุบสภาคืนอำนาจสูงสุดทางการเมืองให้ประชาชนได้ตัดสินใจทางการเมืองนั่น เอง
หรือพูดง่ายก็คือยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ เช่นเดียวกับที่พวกเราเรียกร้องเมื่อเมษา-พฤษภา 53 นั่นแหละครับ แต่รัฐบาลทรราชย์กลับมอบความตายให้กับพวกเรา ดังนั้นพวกเราต้องทวงความเป็นธรรม ความถูกต้องทุกอย่างคืนมาจากพวกรัฐบาลทรราชย์ในสมัยนั้นให้สำเร็จให้ได้ครับ

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: เผด็จการไทยใกล้หมดตาเดิน

ที่มา Thai E-News






รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
จาก “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2555

รัฐบาล พรรคเพื่อไทยเข้ากุมอำนาจบริหารมาได้ปีเศษ นับว่า เกินกว่าความคาดหมายของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์และพวกเสื้อเหลืองพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เคยเชื่อว่า รัฐบาลนี้จะอยู่ได้ไม่เกินหกเดือน เนื่องจากความเข้มแข็งของกลไกเผด็จการในรัฐธรรมนูญ 2550 และการขาดประสบการณ์ของนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะทำให้รัฐบาลบริหารงานผิดพลาด จนเป็นเงื่อนไขให้ถูกโค่นล้มลงโดยง่ายดาย ดังเช่น รัฐบาลพรรคพลังประชาชน

แต่รัฐบาล พรรคเพื่อไทยก็ยืนหยัดมาได้ ภายหลังผ่านพ้นวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ปลายปี 2554 ก็สามารถสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นคือ สามารถสร้างผลงานทางการบริหารตามนโยบายที่หาเสียงไว้ได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการวางตัวของนางสาวยิ่งลักษณ์ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานแต่ถ่ายเดียว ไม่เล่นการเมืองรายวัน จนถูกขนานนามว่า “ดีแต่ทำงาน” ไม่ใช่จำพวก “ดีแต่พูด” เล่นสำบัดสำนวนเอาแต่ตีกินทางการเมืองไปวัน ๆ แต่ทำงานเป็น อันเป็นแบบฉบับของผู้นำพรรคประชาธิปัตย์

จนถึงปัจจุบัน นางสาวยิ่งลักษณ์ กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีคะแนนนิยมสูงสุดเท่าที่เคยมีมานับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549


ฝ่ายเผด็จ การแฝงเร้นของไทยยังคงประกอบไปด้วยผู้บงการวางแผนกลุ่มเดิม ผู้รับคำสั่งปฏิบัติการและกลไกแขนขาที่ครบถ้วนเหมือนเดิม ประกอบด้วยสี่ขาหยั่ง ได้แก่ ตุลาการและบรรดา “องค์กรอิสระ” ในรัฐธรรมนูญ กองทัพ พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คนพวกนี้ยังคงติดกับอยู่ในโลกทัศน์ วิธีคิดและประสบการณ์เดิม ๆ ยุทธวิธีของพวกเขาจึงยังคงซ้ำซากเหมือนกับที่เคยใช้มาแล้วในการโค่นล้ม รัฐบาลพรรคไทยรักไทยและรัฐบาลพรรคพลังประชาชน คือ สร้างกระแสต่อต้านรัฐบาล ใช้ข้ออ้างสามประเด็นหลักคือ ทุจริตคอรัปชั่น แก้รัฐธรรมนูญ และหมิ่นกษัตริย์ ให้กลุ่มอันธพาลการเมืองรับจ้างออกมาเคลื่อนไหว ใช้ความรุนแรงก่อจลาจลบนท้องถนน ประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ที่คอยก่อกวนอยู่ในสภา ให้ดูเหมือนว่า รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้และกำลังถูกต่อต้านจากประชาชนจำนวนมาก จากนั้น ก็ใช้กลไกตุลาการในรัฐธรรมนูญเข้ามาทำลายรัฐมนตรีรายบุคคลไปจนถึงตัวนายก รัฐมนตรีและรัฐบาลทั้งคณะ ตามด้วยเครื่องมือสุดท้ายคือ ใช้กองทัพเข้าแทรกแซงโดยตรงด้วยการรัฐประหารทั้งอย่างเปิดเผยหรือซ่อนรูป

แต่ทว่า ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ทำให้การเดินหมากของฝ่ายเผด็จการไทยเข้าสู่สภาพ “เข้าตาจน หมดตาเดิน” เพราะก่อนการเลือกตั้ง พวกเขายังเพ้อฝันไปว่า พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถบริหารประเทศประสบความสำเร็จ และ “ซื้อใจประชาชน” จนสามารถชนะเลือกตั้งได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้พรรคเพื่อไทยไม่สามารถได้เสียงเกินครึ่งหนึ่งของสภาฯ แต่การณ์กลับเป็นว่า พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งถล่มทลาย ได้คะแนนเสียงเด็ดขาดเกินครึ่งหนึ่งของสภา

นี่เป็น ความพ่ายแพ้ครั้งที่ห้าในระบอบการเมืองแบบเลือกตั้งของพวกเขา และในเฉพาะหน้านี้ ก็เป็นการปิดประตูตายในเวทีรัฐสภาของฝ่ายเผด็จการ การที่พรรคเพื่อไทยได้คะแนนเสียงเกินครึ่งในสภา ย่อมหมายความว่า การทำ “รัฐประหารด้วยตุลาการ” ที่สำเร็จมาแล้วกับรัฐบาลพรรคพลังประชาชน คือ ใช้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค ถอดนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลทั้งคณะ แล้วใช้กองทัพเข้าข่มขู่พร้อมยื่นผลประโยชน์เข้าล่อ ให้พรรคแตกแยก เกิดเป็น “งูเห่า” มาร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้จำนวนเสียงในสภาเกินครึ่งแล้วจัดตั้งรัฐบาล สำเร็จอีกนั้น ทั้งหมดนี้ทำได้ยากเสียแล้ว เพราะถึงยุบพรรคเพื่อไทยและถอดถอนนายกรัฐมนตรีได้ แต่ถ้าดุลคะแนนเสียงในสภายังคงเดิมหรือเปลี่ยนไปไม่มากพอ พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถตั้งรัฐบาล “งูเห่า” ได้อยู่ดี และรัฐบาลใหม่ก็จะยังคงเป็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

นัยหนึ่ง การที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มีเสียงเกินครึ่งในสภา ทำให้การเปลี่ยนมืออำนาจบริหารให้กลับมาเป็นของฝ่ายเผด็จการอีกครั้งภายใน กรอบรัฐสภานี้ทำได้ยากยิ่ง เพราะถึงอย่างไร ตุลาการและ “องค์กรอิสระ” ตามรัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถเปลี่ยนดุลคะแนนเสียงในสภาได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งหมดนี้ทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการเอาชนะฝ่ายประชาธิปไตยด้วยวิธีการที่ “ไม่ใช่การเลือกตั้งและจำนวนคะแนนเสียงในสภา”

รูปแบบการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยวิธีการนอกสภาที่พวกเขาเคยกระทำมานับสิบครั้งก็คือ รัฐประหาร แต่ทว่า การรัฐประหารในวันนี้จะถูกต่อต้านจากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั่วประเทศ อย่างแน่นอนและจะเป็นรัฐประหารที่นองเลือดยิ่งกว่าครั้งใดในอดีต นอกจาก นั้น ประชาคมโลกในหลายปีมานี้ ก็เหมือนกับประชาชนไทยจำนวนมากคือ “รู้ความจริง” เข้าใจปัญหาถึงรากเง่าความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง รู้ชัดว่า อะไรคือปัญหาที่แท้จริงที่ขัดขวางประชาธิปไตยในไทยตลอดหลายสิบปีมานี้ รัฐประหารไม่ว่าจะเปิดเผยหรือซ่อนรูป รวมทั้งรัฐบาลเผด็จการที่คลอดออกมาจะถูกปฏิเสธจากประชาคมโลกและประชาคมอา เซียนอย่างแน่นอน

แต่ฝ่าย เผด็จการแฝงเร้นไม่เคยลดละที่จะบั่นทอนรัฐบาลพรรคเพื่อไทย การรุกครั้งใหญ่ล่าสุดของพวกเขาคือ กรณีการแก้รัฐธรรมนูญ ม.291 ให้สามารถจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ ที่บรรลุไปถึงการพิจารณาในวาระสาม ก็ได้ถูกทั้งพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรฯ ใช้เป็นข้ออ้างเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้มรัฐบาล ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญที่กระโดดเข้ามารับคำร้องคัดค้าน ทั้งที่ไม่มีอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จนเกิดเป็นกระแสสูงที่จะให้ยุบพรรคเพื่อไทยและดำเนินคดีอาญาต่อผู้ที่ผลัก ดันการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ในที่สุด การรุกครั้งใหญ่นี้ ก็ “ฝ่อ” ไปเสียก่อน

บัดนี้ ดูเหมือนว่า การรุกครั้งใหม่ของฝ่ายเผด็จการกำลังก่อตัวขึ้นอีก จากการเคลื่อนไหวนอกสภาอย่างคึกคักของพรรคประชาธิปัตย์ที่ดำเนินต่อเนื่องมา หลายเดือน การก่อกระแสต่อต้านโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการรับจำนำข้าว ที่ประสานร่วมมือกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ นักวิชาการเสื้อเหลือง กลุ่มนายทุนพ่อค้าที่เสียประโยชน์ กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นสมุนเผด็จการ ความพยายามของคนพวกนี้เข้าขั้น “จนตรอก” เมื่อไม่สามารถหาเรื่องจริงมาบิดเบือนได้อีก ก็ใช้วิธีกุเรื่องไซฟ่อนเงิน 16,000 ล้านบาทที่ฮ่องกง อันเป็นการสร้างเรื่องขึ้นจากอากาศธาตุโดยแท้ กระทั่งล่าสุด ความพยายามที่จะก่อการชุมนุมของมวลชนเพื่อขับไล่รัฐบาลในวันที่ 28 ตุลาคมนี้

แต่การ เคลื่อนไหวรุกในขอบเขตใหญ่โตอย่างทรงพลงและเป็นระบบทั่วด้าน ดังเช่นในกรณีการแก้รัฐธรรมนูญวาระสามนั้น จะกระทำได้ยากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ยังเข้มแข็ง นายกรัฐมนตรีก็เป็นที่นิยมของประชาชนอย่างสูง และเครือข่ายอำนาจเผด็จการแฝงเร้นที่ได้อ่อนแอและเสื่อมทรามลงไปอย่างมากใน ช่วงปีเศษมานี้

หนทางของ พวกเผด็จการแฝงเร้นภายในกรอบรัฐสภานั้นตีบตัน ขณะที่หนทางนอกรัฐสภาก็สุ่มเสี่ยงและเต็มไปด้วยอุปสรรค การรุกครั้งนี้จึงเป็นการกระเสือกกระสนที่สิ้นหวังและไร้อนาคต ยิ่งถ้าพวกเขาเกิดอาการ “วิปลาส” ดันทุรังไปจนถึงการทำรัฐประหาร ฝืนความต้องการของประชาชนไทยและประชามติโลก พวกเขาก็จะมุ่งไปสู่จุดจบที่เด็ดขาดและรวดเร็วยิ่งขึ้น

โพลชี้ผู้ว่าฯกทม.ยุค AEC ต้องกล้าคิด--แก้ปัญหาไว

ที่มา Voice TV

 โพลชี้ผู้ว่าฯกทม.ยุค AEC ต้องกล้าคิด--แก้ปัญหาไว



นิด้าโพล ชี้ คนกรุงต้องการ ผู้ว่าฯ กทม. ในยุค AEC กล้าคิดกล้าตัดสินใจ แก้ปัญหาฉับไว ที่สำคัญมีความรู้ความสามารถ เป็นผู้บริหารและนักจัดการที่ดี

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "ผู้ว่าฯ กทม. ในยุค AEC" ระหว่างวันที่ 9-24 ตุลาคม 2555 จากประชาชนทั่วกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,494 หน่วยตัวอย่าง โดย ผลสำรวจคุณสมบัติของผู้ว่าฯ กทม. ที่เหมาะสมในการบริหารจัดการกรุงเทพมหานคร ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั้น พบว่า ชาว กทม. ร้อยละ 52.00 ต้องการผู้ว่าฯ กทม. ที่กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาฉับไว มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 49.10 ระบุว่า ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม ร้อยละ 34.30 ระบุว่า ต้องมีความรู้ความสามารถ และอีกร้อยละ 24.20 ต้องเป็นผู้บริหารและนักจัดการที่ดี

Source :  News  Center / INN /  VocieTV (Image)
26 ตุลาคม 2555 เวลา 10:31 น.

ประชาสัมพันธ์: เชิญร่วมกิจกรรมเปิดตัวหนังสือใหม่ "จักรภพ เพ็ญแข"

ที่มา Thai E-News





เชิญร่วมงานเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุดของ “คุณจักรภพ เพ็ญแข”
วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม 2555
เวลา 13.00-16.00 น.                     
ร้านทีพีนิวส์ (TPNewsชั้น 4 (หน้าลิฟต์แก้ว) อิมพีเรียลลาดพร้าว
วิทยากรรับเชิญ... คุณวัฒน์ วรรลยางกูร
 พูดคุยในประเด็น “นักเขียนกับเสรีภาพทางการเมือง”
และวิดีโอลิ้งค์ “คุณจักรภพ เพ็ญแข” เจ้าของผลงาน
ผู้ดำเนินรายการรับเชิญ...คุณสุมาลัย มัชแมน
(โปรดิ๊วเซอร์รายการโทรทัศน์/นักพากย์อิสระ)
                               แขกรับเชิญ... แม่น้องเกด, คุณสุชาติ นาคบางไทร, ฯลฯ