"ขณะนี้กำลังหารือกันว่า เมื่อได้ดูร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของประชาชนแล้ว เห็นตรงกันว่าจะเสียเวลาตรวจสอบรายชื่อ จึงมีแนวทางว่า ส.ส.จำนวน 1 ใน 5 เข้าชื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยนำร่างของประชาชนมาเป็นตัวตั้ง ส่วนอีกแนวทางคือนำร่างที่จะมีการพิจารณาแก้ไขของ ส.ส. เมื่อเป็นเช่นนี้อย่างไรก็ต้องยื่น แต่จะทันการประชุมสภาฯ สมัยวิสามัญหรือไม่ ต้องหารือกันอีกครั้ง" คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคพลังประชาชน กล่าว คณะกรรมการประชาสัมพันธ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคพลังประชาชน กล่าวต่อกรณี พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เตรียมเคลื่อนไหวคัดค้าน ว่า ถือเป็นสิทธิ์ที่ทำได้ แต่ขอยืนยันว่า ส.ส.ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการแก้รัฐธรรมนูญ เพียงแต่ขอให้ต่อสู้ในประเด็นรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าววันนี้ (17 พ.ค.) กรณีรัฐบาลอาจเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ช่วงเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ช่วงปลายเดือน มิ.ย. ว่า ต้องติดตามดูต่อไปว่ารัฐบาลจะเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ พรรคประชาธิปัตย์ย้ำว่า หากจะแก้ไขต้องผ่านกระบวนการศึกษาและการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่าง ๆ ของสังคม หากการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ตัวเอง ไม่ว่าจะการประชุมสภาสมัยใด ก็คงไม่เหมาะ แต่ถ้าแก้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมก็ทำได้ แต่ถามว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนหรือไม่ ตอบได้ว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคพลังประชาชน กล่าวกรณีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยหากมี ส.ส.ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ว่า ที่ผ่านมา คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (คปพร.) ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมด้วยรายชื่อประชาชน ถือว่าเริ่มกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ในส่วนของนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาลแถลงชัดแล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร
