WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 3, 2008

ประชาธิปไตยที่เราอาจจะไม่เข้าใจ

บทความ โดย ปูนนก


นับจากเกิดปรากฏการณ์ พธม. ในปลายปี 2548 เป็นต้นมาประเทศไทยจากที่เคยรุ่งโรจน์จนถึงขั้นก้าวขึ้นเป็นผู้นำอาเซียน ได้ตกต่ำลงมาเทียบชั้นกับประเทศเผด็จการอย่างพม่า และหลังจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 รัฐประหารในครั้งนั้นได้ทำลายโครงสร้างความเจริญรุ่งเรืองที่กำลังพัฒนาไปให้เทียบเคียงเข้าสู่นานาอารยะประเทศ ให้พังทลายลงอย่างย่อยยับ พธม. ได้อ้างว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นการกระทำที่ใช้สิทธิอย่างสมบูรณ์ตามระบอบประชาธิปไตย ที่จะต้องตรวจสอบนักการเมืองเพื่อให้คนดีมาปกครองบ้านเมือง ดังนั้นการก่อการชุมนุมกดดัน การสร้างความวุ่นวายในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากการประท้วงตามที่ต่าง ๆ และลักษณะต่าง ๆ คือ วิถีทางตามระบอบประชาธิปไตยที่สามารถทำได้



การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะนายทหารผู้ก่อการก็อ้างว่าเป็นการกระทำตามระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้ได้รัฐบาลที่ดี (Good Government) จึงใช้ชื่อคณะผู้ก่อการว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข คณะผู้ก่อการรัฐประหารในครั้งนั้นเชื่อว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลที่ดี ดังนั้นการรัฐประหารจึงสามารถกระทำได้ เพราะเป็นวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย




หลังจากนั้นผ่านการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นต้นมารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็เข้ามาบริหารประเทศ พธม. ก็อ้างสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยอันเดิมสร้างความวุ่นวายให้กับประเทศอีก จนถึงขั้นใช้กองกำลังติดอาวุธบุกเข้ายึดสถานีโทรทัศน์ NBT ยึดกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตร และในที่สุดก็ปักหลักยึดอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลมาจนทุกวันนี้ และไม่มีผู้ใดที่สามารถเข้าไปดำเนินคดีตามกฎหมายได้ด้วย เกิดเป็นคำถามที่ไม่มีนักรัฐศาสตร์คนใดในโลกให้คำตอบได้ว่า ที่อ้างว่าประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาธิปไตยในประเทศไทยคือสิ่งใดกันแน่




จะว่าไปแล้วประชาชนชาวไทยได้ก้าวกระโดดทางการเมืองโดย กลุ่มหัวก้าวหน้า ที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร์ ได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งจุดมุ่งหมายในครั้งกระนั้นก็มุ่งหมายที่จะให้ประเทศไทยได้เปลี่ยนการปกครองจากระบบกษัตริย์ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศ มาเป็นให้ประชาชนพลเมืองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศแทน กระบวนการได้มาซึ่งประชาธิปไตยในขณะนั้นเกิดจากกลุ่มบุคคล ที่มีโอกาสได้ไปศึกษาร่ำเรียนมาจากต่างประเทศ และได้เห็นถึงความเจริญในประเทศต่าง ๆ ที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย โดยได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ จึงได้นำแนวคิดนี้ติดมาเพื่อจะมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย




ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นแนวคิดที่ดีและก้าวหน้า แต่ทว่าประชาธิปไตยที่ได้รับมานั้นเป็นประชาธิปไตยที่ขาดซึ่ง พื้นฐานแห่งพัฒนาการ ประชาชนไทยส่วนมากยังไม่เข้าใจว่า พวกเขาควรจะได้รับสิ่งใด, ควรจะหวงแหนสิ่งใด และไม่ควรจะละเมิดสิ่งใด ประกอบกับวัฒนธรรมประเพณีการปกครองที่สืบต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ทำให้ประชาชนไทยส่วนมากยังขาดแรงผลักดันในความต้องการประชาธิปไตยเพื่อตนเอง ด้วยเหตุนี้ตลอดระยะเวลากว่า 76 ปี หลังจากที่คิดว่าได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยแล้วนั้น ประเทศไทยจึงยังคงหมุนอยู่ในวังวนแห่งอำนาจเผด็จการที่พากันเข้ามายึดอำนาจ (ซึ่งก็คือของประชาชน) ไปปกครองประเทศอย่างไม่ขาดสาย และครั้งล่าสุดก็คือเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้ เพราะพวกเขาไม่เข้าใจว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาได้สูญเสียสิ่งใดในความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ไปบ้างในการยึดอำนาจแต่ละครั้ง





คำว่า ประชาธิปไตย ดูเหมือนเป็นคำที่ใครต่อใครก็ใช้อ้างกันอย่างฟุ่มเฟือย แต่ในขณะที่จะมีคนที่เข้าใจหลักการอย่างแท้จริงสักเท่าใด ขอให้ท่านผู้อ่านลองถามตัวเองและพิจารณาดูว่า ประชาธิปไตย ในมุมมองหรือแนวคิดของท่านคืออะไรแล้วลองตอบตัวเองดู...........อย่างไรก็ดี ประชาธิปไตย นั้นมีหลักที่เป็นสากลอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้คือ




1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ( Sovereignty of People ) อำนาจอธิปไตยหมายถึงอำนาจในการปกครอง อำนาจในการเลือกผู้ที่จะปกครองหรือแนวทางที่จะปกครองตนเอง อำนาจอธิปไตยนี้จะต้องมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในประชาชนทุกคนในประเทศนี้ ถ้าประเทศใดประชาชนยังไม่สามารถที่จะเลือกหรือกำหนดได้ว่าตนเองต้องการ ได้รับการปกครองแบบใด ประเทศนั้นก็ยังไม่มีความเป็นประชาธิปไตย




2. ประชาชนมีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ (Full Freedom) หลักการทื่สำคัญของประชาธิปไตยนั้นประชาชนจะต้องได้รับเสรีภาพของตนเองอย่างบริบูรณ์ โดยเป็นเสรีภาพในการที่จะ พูด, คิด, อ่าน, เขียน, วิพากษ์วิจารณ์, ฯลฯ ซึ่งเสรีภาพนั้นจะเป็นเสรีภาพที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ถ้าประเทศใดประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพเหล่านั้นได้อย่างอิสระ ก็แสดงว่ายังไม่มีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ




3. ความเสมอภาค ( Equality ) ทั้งความเสมอภาคทางกฎหมาย และความเสมอภาคทางโอกาส ประชาธิปไตยนั้นยึดถือความเสมอภาคของกันและกัน โดยมีแนวคิดว่ามนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ไม่ถือว่าใครมีความแตกต่างกันในเรื่องนี้ ด้วยเหตุนี้คนพิการ, คนด้อยโอกาส, คนจน, คนรวย ฯลฯ ทุก ๆ คนจึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับความเสมอภาคกันในการได้รับบริการ, การได้รับการดูแลปกป้องจากรัฐบาล, ความเสมอภาคในด้านการศึกษา และการพยาบาล ฯลฯ ดังนั้นถ้าประเทศใดประชาชนยังไม่มีความเสมอภาคกันในด้านสิทธิและการได้รับการบริการต่าง ๆ รัฐ ก็แสดงว่าประชาธิปไตยที่มีอยู่นั้นไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริง




4. ยึดหลักกฎหมายเป็นหลักสูงสุด ( Rule of Law ) กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ กฎหมายนี้จะเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันกับประชาชนทุกคนในประเทศ จะไม่มีผู้ใดที่ละเมิดหลักแห่งความยุติธรรมของกฎหมายสูงสุดนี้ได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญนี้จะไม่เป็นเพียงแค่บันทึกที่อยู่ในแผ่นกระดาษ แต่เป็นศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณแห่งความเป็นประชาธิปไตยของปวงชนทั้งปวงอีกด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเป็นผู้ควบคุมดูแล และบังคับใช้กฎหมายโดยนิติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน ตราบใดที่ในประเทศยังไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา และให้เป็นไปตามนิติธรรมได้ นั่นก็หมายความว่าความเป็นประชาธิปไตยได้ถูกล่วงละเมิด และถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง




5. ที่มาของรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง (Elected Government ) รัฐบาลจะเป็นผู้ใช้อำนาจของปวงชนทั้งมวลในการบริหารประเทศ ดังนั้นการได้มาของรัฐบาลนั้นจะต้องมาจากการยินยอม หรือลงความเห็นของประชาชนทั้งชาติ และวิธีที่จะเป็นอย่างนั้นได้ก็คือวิธีการเลือกตั้งทั่วไปโดยประชาชนทั้งชาติ ด้วยเหตุนี้ประเทศที่ต่อสู้เพื่อให้ได้มาเพื่อการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยจะย้ำไปตรงที่มาของรัฐบาลนั่นคือ ต้องมาจากการเลือกตั้งเป็นประเด็นแรก ดังนั้นประเทศที่จะมีการปกครองด้วยประชาธิปไตยได้จุดเริ่มแรก ที่มาของรัฐบาลจำเป็นจะต้องมาจากการเลือกตั้งทั่วไปของคนทั้งประเทศเท่านั้น




ทุกท่านควรจะพิจารณาว่าท่านเข้าใจคำว่า ประชาธิปไตย ที่แท้จริงอย่างไร ถ้าความเข้าใจในเรื่อง ประชาธิปไตย ของท่านคลาดเคลื่อนไปจากหลักการนี้ นั่นก็แสดงว่า ท่านยังอาจจะไม่เข้าใจในเรื่องหลักการของประชาธิปไตยที่ถูกต้องดีพอ เพราะถ้าท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนวิธีการและมุมมองของท่านก็จะคลาดเคลื่อนตามไปด้วย จากนี้ไปข้าพเจ้าเชื่อว่าเมื่อหลักการถูกต้องวิธีการและความเข้าใจก็จะถูกต้องอย่างแน่นอน


ปูนนก

จาก thaifreenews