WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, July 21, 2009

กลุ่มหนุนแห่รอ “เซลายา” กลับประเทศถึงบ้านพัก

ที่มา ประชาไท

เจรจารอบสุดสัปดาห์นี้ไม่เป็นผล มิเชลเลตตีไม่ยอมรับมติรัฐบาลร่วม ด้านเซลายายังคงหนุนให้มีการต่อต้านรัฐบาลชั่วคราว เพื่อให้เขาเตรียมตัวกลับประเทศได้ หลายคนยังหวั่นสงครามกลางเมือง ขณะที่กลุ่มสนับสนุนเซลายาบางส่วนไปที่บ้านพักของเซลายาในคาตาคามาส เพื่อรอประธานาธิบดีพลัดถิ่นกลับมา

กลุ่มผู้สนับสนุนเซลายา พากันไปที่บ้านพักของเซลายาในคาตาคามาส ซึ่งเป็นเขตปกครองในทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอลานโช ประเทศฮอนดูรัส เมื่อวันที่ 18 ก.ค. เพื่อรอว่าเขาอาจจะกลับมา
(Reuters/Edgard Garrido)
กลุ่มผู้สนับสนุนเซลายา เตรียมรับประทานอาหารกันที่บ้านพักของเซลายาในคาตาคามาส ขณะรอ
(Reuters/Edgard Garrido)
กลุ่มผู้สนับสนุนเซลายาพากันเข้าไปรอในบ้านพักที่คาตาคามาส
(Reuters/edgard Garrido)
ผู้สนับสนุนเซลายาหลับพักผ่อนกันหลังจากประท้วงในคาตาคามาส
(AP Photo/Arnulfo Franco)
หญิงผู้สนับสนุนเซลายาคนหนึ่งนำหุ่นจำลองเสื้อที่เขียนข้อความต่อต้านรัฐบาลชั่วคราวของมิเชลเลตตีมาเผาที่พักของเซลายาในคาตาคามาส
(REUTERS/Edgard Garrido)
ผู้สนับสนุนเซลายาพากันปิดทางตำรวจขณะประท้วง
(AFP/Orlando Sierra)
ภาพวาดใบหน้าของเซียวมารา ภรรยาของมานูเอล เซลายา ภายในบ้านพักของเขาที่คาตาคามาส
(REUTERS/Edgard Garrido)
มานูเอล เฮอร์นานเดส ยามในบ้านพักของเซลายาที่คาตาคามาส แสดงห้องสำนักงานส่วนตัวของเซลายาให้ชม
(REUTERS/Edgard Garrido)
ผู้สนับสนุนเซลายาที่เข้าร่วมประท้วงสวมเสื้อที่มีข้อความว่า "เมลกำลังกลับมา" ซึ่ง 'เมล' คือชื่อเล่นของมานูเอล เซลายา (REUTERS/Edgard Garrido)
ผู้สนับสนุนเซลายาพากันนั่งปิดถนนในการประท้วงที่คาตาคามาส วันที่ 18 ก.ค.
(REUTERS/Edgard Garrido)
ผู้ประท้วงในวันที่ 18 ก.ค. ชูหนังสือพิมพ์ "Resistance" ซึ่งมีรูปของมานูเอล เซลายา
(REUTERS/Tomas Bravo)
กลุ่มตัวแทนเจรจาของทั้งสองฝ่าย ซ้ายสุดคือคาร์ลอส โลเปซ ตัวแทนของมิเชลเลตตี อีกสามคนถัดมาทางขวาคือ ริกซี่ มอนคาดา , อริสทิเดส มาเจีย และ เอนริค ฟลอเรซ์ ตัวแทนของฝ่ายเซลายา
(AFP/Mayela Lopez)
มานูเอล เซลายา ทักทายเด็กคนหนึ่งขณะเดินทางมายังสถานฑูตฮอนดูรัสในกรุงมานากัว ประเทศนิคารากัว วันที่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมา (REUTERS/Oswaldo Rivas)
คนงานของที่ทำการประธานาธิบดียืนมองรูปปั้นของมานูเอล เซลายา ที่นอนอยู่บนพื้น
(AFP/Yuri Cortez)
รูปปั้นหุ่นของเซลายาที่ตั้งอยู่ในที่ทำการประธานาธิบดี โดยก่อนหน้านี้หุ่นพวกนี้ถูกปิดล็อกอยู่ภายในอาคาร ก่อนถูกนำออกมาโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลชั่วคราว
(REUTERS/Tomas Bravo)
มีคนไปนั่งถ่ายรูปใต้หุ่นจำลองของประธานาธิบดีเซลายาและผู้นำคนสำคัญอื่น ๆ ที่จัดแสดงในวันที่ 19 ก.ค.
(AP Photo/Rodrigo Abd)
มีผู้นำเสื้อที่เป็นรูปลายมานูเอล เซลายา มาขายซึ่งบนเสื้อเชิ้ตมีคำว่า "แด่ประชาธิปไตยที่แท้จริง" เขียนอยู่
(AFP/File/Jose Cabezas)
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา มีคนขว้างระเบิดเข้าไปในสมาคมบาร์ของฮอนดูรัส จนทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินเล็กน้อย (REUTERS/Tomas Bravo)
กลุ่มผู้สนับสนุนเซลายาประท้วงหน้าบ้านพักของของประธานาธิบดีอาเรียส ในคอสตาริกา เมื่อวันที่ 18 ก.ค.
(ที่มา: ภาพบน:REUTERS/Juan Carlos Ulate ภาพล่าง:AP Photo/Kent Gilbert)
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (18 ก.ค.) มีการจัดการเจรจาระหว่างมานูเอล เซลายา ประธานาธิบดีฮอนดูรัสผู้ถูกยึดอำนาจและรัฐบาลชั่วคราวของฮอนดูรัส ที่มาจากการยึดอำนาจ โดยมีคนกลางคือออสการ์ อาเรียส ประธานาธิบดีของคอสตาริกาผู้เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
อาเรียสได้เสนอแผนการณ์ให้เซลายาดำรงตำแหน่งต่อจนกว่าจะหมดวาระ โดยมีการเลื่อนการเลือกตั้งมาในช่วงปลายเดือนตุลาคมปีนี้แทน โดยให้นิรโทษกรรมข้อหาทางการเมืองทุกอย่างที่เขากระทำก่อนถูกรัฐประหารในวันที่ 28 มิ.ย. และให้มีการนำผู้แทนของพรรคการเมืองหลักเข้าไปอยู่ในรัฐบาลร่วมด้วย
โดยอาเรียสกล่าวว่า เซลายาควบยกอำนาจควบคุมกองทัพให้แก่ศาลเลือกตั้งในช่วงหนึ่งเดือนก่อนการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความแน่ใจในด้านความเป็นกลางและขอให้เขายกเลิกแผนการจัดลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้คณะรัฐประหารออกมายึดอำนาจด้วย
เมื่อถามว่าจะวามารถให้เซลายากลับสู่ฮอนดูรัสในฐานะประธานาธิบดีของรัฐบาลร่วมได้หรือไม่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ มาร์ธา ลอเรนา อัลวาราโด ก็ตอบปฏิเสธ โดยหันมาเสนอว่าจะก่อตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริงเพื่อให้ชาวฮอนดูรัสและประชาคมโลกได้รับรู้สาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติการเมืองในปัจจุบันทั้งหมด
"มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างข้อตกลงที่เป็นที่พอใจได้เลย แม้ตัวแทนเจรจาของฝ่ายเซลายาจะยอมรับข้อเสนอแต่ฝ่ายของโรเบอร์โต มิเชลเลตตี ไม่ยอมรับ" อาเรียสกล่าว เขายังได้บอกอีกว่าจะพยายามให้มากกว่านี้ในการเจรจาอีกสามวันถัดไป
ทางด้านเซลายาซึ่งก่อนหน้านี้คยประกาศว่าจะจะกลับฮอนดูรัสและจัดตั้งรัฐบาลคู่ขนานหากการเจรจาไม่เป็นผล ก็กล่าวในวันที่ 19 ก.ค. ว่าเขาอยากจะให้มีการเปิดกว้างทางการฑูตและการเจรจา แต่ขณะเดียวกันก็บอกว่าจะผลักดันให้มีการจัดตั้ง "กลุ่มต่อต้าน" (Resistance) ภายในฮอนดูรัสต่อไป เพื่อเตรียมตัวสำหรับการกลับประเทศของเขาเอง
ขณะที่ผู้ช่วยของเซลายา อัลลัน ฟาจาร์โด บอกว่าเซลายาวางแผนจะกลับมาก่อนวันศุกร์ (24 ก.ค.) นี้ โดยไม่สนใจเรื่องข้อตกลง
นอกจากนี้เซลายายังได้กล่าวหาด้วยว่าฝ่ายมิเชลเลตตีแสดงท่าทีเย้ยหยันการเจรจาของออสการ์ อาเรียส ทั้งยังได้เรียกร้องให้ทางประชาคมโลกกดดันรัฐบาลชั่วคราวของมิเชลลตตีให้มากขึ้น โดยบอกว่าหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นการสนับสนุนรัฐประหาร
"ประชาคมโลกกำลังเผชิญกับทางตัน" เซลายากล่าวในการแถลงข่าวที่สถานฑูตฮอนดูรัสในนิคารากัว เมื่อวันอาทิตย์ (19 ก.ค.) ที่ผ่านมา "พวกเขาเรียกร้องให้ทหารกองโจรเมื่อ 20 ปีที่แล้ววางอาวุธ ... แล้วตอนนี้พวกอนุรักษ์นิยมก็กลับมาใช้กำลังอาวุธขับไล่ฝ่ายซ้ายที่พยายามทำการปฏิรูป"
ทางด้านอิเฟรน ดิอาส นักวิเคราะห์การเมืองจากศูนย์พัฒนามนุษย์ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนในฮอนดูรัสให้ความเห็นว่าการพยายามกลับประเทศของเซลายาอาจทำให้เกิดความรุนแรงภายในประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้เซลายาได้พยายามกลับประเทศโดยเครื่องบินแต่ถูกห้ามให้ลงจอด ขณะเดียวกันในขณะนั้นก็มีการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมที่มาต้อนรับเซลายาที่สนามบิน จนมีผู้เสียชีวิต โดยดิอาสบอกว่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาความตึงเครียดก็เพิ่มมากขึ้น
รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลเซลายา แพทริเซีย โรดาส เรียกร้องให้มีการเดินขบวนหากการเจรจาไม่เป็นผล ขณะที่เขาเข้าร่วมงานครบรอบ 30 ปี การปฏิวัติซาดินนิสตาเมื่อวันอาทิตย์ (19 ก.ค.) ที่ผ่านมา
ทางด้านกลุ่มแรงงานที่สนับสนุนเซลายาเรียกร้องให้มีการประท้วงหยุดงานในวันพฤหัสฯ และวันศุกร์นี้ และในวันจันทร์ (20 ก.ค.) นี้ผู้สนับสนุนเซลายาจะเดินขบวนไปที่รัฐสภาในกรุงเตกูซิกาลปาเมืองหลวงของฮอนดูรัส
โฆษกของตำรวจอกมาประกาศในวันอาทิตย์ (19 ก.ค.) ว่าให้เด็กและผู้สูงอายุอยู่ห่างจากการประท้วงในสัปดาห์นี้ โดยระบุว่าทางกองกำลังรักษาความสงบไม่อาจทนกับผู้ที่ทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายในประเทศของเราได้
ทางด้าน ออสการ์ อาเรียส เองก็แสดงความวิตกกังวลว่าการเจรจาที่ไม่ประสบผลสำเร็จนี้อาจส่งผลให้เกิดการนองเลือด
ที่มาของข่าว: แปลและเรียบเรียงจาก
Tensions rise as Honduran crisis talks fail, Simon Gardner and Esteban Israel, Reuters, 20/07/2009
Honduras talks break down over Zelaya's return, MARIANELA JIMENEZ, AP, 19/07/2009