WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 6, 2009

ผ่าตัดรัฐบาล ชี้ชะตาอภิสิทธิ์

ที่มา ข่าวสด



กระแสปรับครม.ที่ปะทุขึ้นมาในช่วงรัฐบาลกำลังจะอายุครบ 1 ปี

แม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และผู้จัดการรัฐบาลนายสุเทพ เทือกสุบรรณ พยายามจะตัดไฟแต่ต้นลมแต่ก็ทำท่าว่าจะคุมไม่อยู่

ในส่วนพรรคร่วมรัฐบาล 4-5 พรรคถึงจะมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อยู่บ้าง

แต่ก็ไม่หนักหน่วงเมื่อเทียบกับแรงกดดันภายในพรรคประชาธิปัตย์เองที่พุ่งเข้าใส่นายอภิสิทธิ์

เสียงเรียกร้องของส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ดังขึ้นมาเป็นระลอกตั้งแต่รัฐบาลบริหารประเทศครบ 6 เดือน

หรือในช่วงพรรคประชาธิปัตย์ขัดแย้งกันเองอย่างหนัก จากปัญหาการแต่งตั้งผบ.ตร. จนนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ต้องตัดสินใจทิ้งเก้าอี้เลขาธิการนายกฯ

ครั้งนั้น นายอภิสิทธิ์แก้ปัญหาอย่างรวบรัด จำกัดขอบเขตอยู่แค่การโยกนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ จากรองนายกฯ มาเป็นเลขาธิการนายกฯ แทนนายนิพนธ์ แล้วดึงนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เข้ามาเสียบเป็นรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ

ถึงจะยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ แต่ก็สามารถยับยั้งแรงกระเพื่อมจากคลื่นใต้น้ำในพรรคให้สงบลงได้ชั่วคราว พร้อมกันนั้น นายอภิสิทธิ์ ยังทิ้งทุ่นไว้ว่า

จะตรวจสมุดการบ้านรัฐมนตรีทุกคนเมื่อทำงานครบ 1 ปี

มีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกความเป็นไปได้ว่าการปรับ ครม. น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันไม่ใกล้ไม่ไกลจากนี้

สัญญาณดังกล่าวไม่ได้มาจากผลสำรวจของสำนักวิจัยหลายสถาบัน ที่พบว่ารัฐบาลสอบตกผลงานหลายเรื่องโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาขัดแย้งทางการเมือง และด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

หรือผลงานด้านแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ถึงจะสอบผ่านแต่ก็ได้คะแนนแค่คาบเส้น

แต่มาจากแรงกดดันของส.ส.พรรคประชาธิปัตย์บางกลุ่มบางก้อน ที่ส่งตัวแทนออกมาให้สัมภาษณ์ทวงสัญญาเรียกร้องให้มีการผ่าตัดโฉมหน้าครม.ครั้งใหญ่

ในเบื้องต้นมีการพุ่งเป้าไปยังกระทรวงพาณิชย์ คมนาคม และมหาดไทยในความดูแลของพรรคร่วมรัฐบาล โดยอ้างว่าชาวบ้านไม่ค่อยปลื้มผลงาน รวมทั้งพฤติกรรมไม่โปร่งใส

ลงท้ายกลับวกมาลงที่รัฐมนตรีในพรรคเดียวกันว่ามีหลายคนที่ส.ส.พากัน"ยี้"

ไม่ได้ระบุชื่อเสียงเรียงนามลงไปตรงๆ แต่เมื่อประมวลจากข่าว"บัญชีดำ"ที่เล็ดลอดออกมาก่อนหน้านี้

ที่มีชื่อติดกลุ่มอย่างเช่น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทยาศาสตร์ฯ นายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมฯ

นอกจากนี้ยังมีชื่อ นายวีรชัย วีระเมธีกุล รมต.ประจำสำนักนายกฯ นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทย นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์

แม้แต่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ที่ว่าเป็นมือขวาของนายอภิสิทธิ์ ก็ยังมีชื่อติดอยู่ในโผ

ขณะที่ในมุมต่อต้านภายนอก นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ ดูเหมือนเป็นเป้าใหญ่กว่าใครเพื่อน เพราะถูกมองว่าคือต้นตอปัญหาขัดแย้งทั้งในประเทศ และกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา

เช่นเดียวกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ที่เป็นเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯ และพรรคการเมืองใหม่

เมื่อมองจากตรงนี้แล้ว แค่ประชาธิปัตย์พรรคเดียว

ก็ยากที่การปรับครม.ครั้งนี้จะไม่เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายตามมา

ความเป็นไปได้ในการปรับครม. ต้องนับรวมไปถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้น.พ. พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง พรรคเพื่อแผ่นดิน พ้นสภาพจากการเป็นรัฐมนตรี

เนื่องจากขาดคุณสมบัติจากการถือหุ้นบริษัทเกินร้อยละ 5 ซึ่งเป็นคิวต่อจากนายมานิต นพอมรบดี รมช. สาธารณสุข จากพรรคภูมิใจไทย ที่โดนกกต.เชือดนำร่องไปก่อนหน้านี้ไม่นาน

ตามขั้นตอนกฎหมายยังต้องรอการชี้ขาดจากศาลรัฐธรรมนูญ แต่เสียงทวงถามเรื่องสปิริตของนักการเมืองก็ดังกระหึ่ม ซึ่งต้องจับตาดูต่อไปว่าพรรคต้นสังกัดจะถือโอกาสเฉือนนิ้วร้ายทิ้งหรือไม่

ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึก ษาพรรค ล่าสุดได้ออกมาสนับสนุนให้มีการปรับครม. ในส่วนของพรรค

พล.ต.สนั่น เผยถึงจุดประสงค์ชัดเจนว่าพร้อมจะสละโควตาเก้าอี้รองนายกฯ เพื่อเปิดทางให้ลูกชายคือนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เข้ามาเสียบแทนในตำแหน่งรมช. กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง

ความต้องการของพล.ต.สนั่น อาจเป็นการเพิ่มภาระให้กับพรรคประชาธิปัตย์ที่ต้องจัดการเกลี่ยเก้าอี้กันใหม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

จากประวัติศาสตร์ของการปรับครม.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับครม. ในรัฐบาลผสม ถ้าปรับน้อยเก้าอี้ ความปั่นป่วนวุ่นวายก็น้อย แต่หากปรับใหญ่ ปัญหาความปั่นป่วนวุ่นวายก็จะใหญ่ตามไปด้วย

ในจังหวะที่กลุ่มเสื้อแดงและฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทยประกาศพักรบชั่วคราว

เพื่อออมแรงไว้สำหรับการระดมพลชุมนุมใหญ่ ตีคู่ไปกับการยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลทันทีที่เปิดสมัยประชุมสภาช่วงปลายเดือนม.ค.ปีหน้า

เชื่อมโยงกับการตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านที่กระชั้นชิดเข้ามาทุกขณะ

เป็นเหตุให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำเป็นต้องทุ่มสุดตัวในทุกด้านเพื่อเอาชนะเดิมพันก้อนใหญ่นี้ให้ได้

การต่อสู้จะดุเดือดเข้มข้นขนาดไหนเป็นเรื่องประเมินกันได้ไม่ยาก

พรรคประชาธิปัตย์ย่อมรู้ดีว่ารัฐบาลจำเป็นต้องมีความแข็งแกร่งจากภายใน

หมายถึงพรรคร่วมและพรรคแกนนำต้องสามัคคีกลมเกลียวกันให้ได้เสียก่อน ถึงจะฝ่าฟันมรสุมลูกใหญ่นี้ไปได้

การปรับครม.ที่กำลังจะมีขึ้นจึงเป็นบททดสอบฝีมือของนายอภิสิทธิ์ ว่าจะควบคุมจัดการกับปัญหาอย่างไรเพื่อให้รัฐบาลเดินหน้าต่อไปได้

โดยไม่สะดุดขาตัวเองเสียก่อน