WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 3, 2010

ยุติธรรมอำมหิตยุคทมิฬถิ่นกาขาว

ที่มา Thai E-News



ยุคทมิฬถิ่นกาขาว -มีผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยถูกรัฐบาลฆ่าตายไม่น้อยกว่า 90 ศพ เจ็บ2,000คน 11แกนนำนปช.ถูกยัดคุกข้อหาก่อการร้าย ห้ามประกันทั้งที่ทั้งหมดเข้ามอบตัวโดยสมัครใจ นักเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างบก.ลายจุดโดนควบคุมตัวอีก7วัน การ์ดของแกนนำถูกสังหารโหดไปแล้ว 3 ราย รวมทั้งนายธนพล แป้นศรี (วงกลมในภาพ)การ์ดของณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่อยู่ดูแลณัฐวุฒิจนนาทีสุดท้ายที่เวทีราชประสงค์ เมื่อไม่กี่วันนี้โดนรถชนตายอย่างลึกลับอย่างไรก็ตามผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายยึดสนามบินยังคงลอยนวลมาเกือบ 2 ปีแล้ว


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
2 กรกฎาคม 2553

วันนี้ศาลอาญา ได้ยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว 11 แกนนำ นปช. ในคดีก่อการร้าย หลังทนายความยื่นคำร้องเป็นครั้งที่ 2 โดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 2 ล้านบาท โดยระบุว่าเป็นคดีร้ายแรง มีอัตราโทษสูงถึงขั้นประหารชีวิต หากปล่อยชั่วคราวเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี

ขณะเดียวกันก็ได้ยกคำร้องขอปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด อดีตแกนนำ นปก.รุ่น 2 พร้อมทั้งมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม ขยายระยะเวลาควบคุมตัวนายสมบัติ อีก 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 3-9 ก.ค.นี้ ด้วย

เพื่อไทยบุกประจานมาร์คเร่งคดีพธม.เทียบเท่าเสื้อแดง

ขณะที่วันก่อนหน้านี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐบาลเร่งทำคดีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกยึดสนามบินให้บรรจุเป็นคดีพิเศษ และเร่งตรวจสอบการทำธุรกรรมกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ โดยขอให้รัฐบาลเร่งบังคับใช้กฎหมายให้เท่าเทียมกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯกับกลุ่มนปช. เพราะขณะนี้ยังไม่มีการออกหมายจับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯทั้งที่เรื่องเกิดมาตั้งแต่ปี 2551 ถือว่ารัฐบาลเลือกปฏิบัติ รวมทั้งขอให้ตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินแก่กลุ่มบุคคล และนิติบุคคลที่สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะที่ผ่านมาตำรวจสันติบาลเคยส่งรายชื่อบุคคล องค์กร ห้างร้าน 78 รายชื่อ ให้แก่พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผบ.ตร. ไปเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2551 แต่กลับไม่มีการดำเนินการใดๆกับคนเหล่านี้ จึงต้องถามว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายอย่างสองมาตรฐานหรือไม่

หากนายกฯไม่เร่งดำเนินการเรื่องเหล่านี้ภายใน 7 วัน จะยื่นฟ้องนายกฯต่อป.ป.ช.ข้อหาปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

กก.สิทธิเยี่ยม 60 ผู้ต้องหาตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เรือนจำพิเศษ

วันนี้ เมื่อเวลา 14.00น. ที่เรือนจำพิเศษ กทม. นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง ได้เดินทางไปเยี่ยมผู้ต้องหาที่มีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวม 60 ราย ซึ่งเป็นเหตุต่อเนื่องจากคำร้องเรียนกรณีนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่เรียกร้องให้คณะกรรมการสิทธิฯ เข้ามาดูแลการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

โดย นพ.นิรันดร์ระบุว่า การมาครั้งนี้เพื่อจะมาดูสภาพความเป็นอยู่ของผู้ต้องหา ดูมาตรการในเรือนจำ รวมถึงการรับฟังปัญหาเรื่องความเหมาะสมในการจับกุมด้วย

กก.สิทธิแนะรัฐบาลเลิก พรก.ฉุกเฉิน ชี้คุมตัว "บก.ลายจุด" อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิทางการเมือง

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แนะรัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระบุพ้นสภาพความฉุกเฉินไปแล้ว ชี้กรณีจับสุธาชัย-สมยศ-สมบัติ เป็นการใช้กฎหมายในแง่ป้องปรามการกระทำในทางการเมืองหรือการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิทางการเมือง

(2 ก.ค.53) นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง กล่าวถึงความจำเป็นในการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาล ว่า อนุกรรมการฯ กำลังส่งหนังสือซึ่งเป็นมติร่วมกันวานนี้ให้รัฐบาลและผู้อำนวยการ ศอฉ. เพื่อพิจารณายกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ เพราะเห็นว่าพ้นจากสภาพความฉุกเฉินไปแล้ว หลังประกาศใช้มาร่วม 3 เดือน

ส่วนกรณีการจับนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายสมบัติ บุญงามอนงค์ นพ.นิรันดร์เห็นว่า เป็นการใช้กฎหมายในแง่ป้องปรามการกระทำในทางการเมือง หรือการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งอาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้ เมื่อดูในรายละเอียด กรณีนายสมยศและนายสุธาชัย ถูกควบคุมตัวหลังแถลงข่าวว่าจะจัดการชุมนุม ขณะที่นายสมบัติถูกจับหลังจากไปทำกิจกรรมผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์ ซึ่งล้วนเป็นการดำเนินการตามสิทธิทางการเมืองปกติ

อนุกรรมการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ถ้าเป็นการกระทำตามมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญ สามารถดำเนินการได้ ถ้ารัฐบาลใช้กฎหมายพิเศษในการควบคุมตัวเขา ควบคุมการสื่อสาร หรือกักบริเวณก็จะเข้าข่ายละเมิดสิทธิเสรีภาพ เป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะสิทธิการชุมนุมกำหนดไว้แล้วในรัฐธรรมนูญ ถ้าบุคคลมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม ก็ใช้่กฎหมายทั่วไปจัดการได้

“ภายใต้นโยบายความปรองดอง ถ้ายังคงกฎหมายนี้อยู่ก็ดูจะสวนทางกัน” นพ.นิรันดร์กล่าวและเตือนว่าการควบคุมตัวนายสุธาชัยและนายสมบัติอาจเป็นการสร้างแนวร่วมมุมกลับขึ้นมา