WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 19, 2010

สาวไส้ความสัมพันธ์นายทุนชาตินิยม สหพัฒน์-สหยูเนียน-แพรนด้า จิวเวลลี่

ที่มา Thai E-News

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 ธันวาคม 2553








ไหนๆ
สหพัฒน์ก็ไม่สนใจการแคมเปญของคนไร้การศึกษาอยู่แล้ว เรามาทำความรู้จักกับเครือสหพัฒน์ และนักธุรกิจชาตินิยมในสายสัมพันธ์กับกลุ่มนี้กันหน่อย(อ่านรายงานข่าวเกี่ยวเนื่อง: มาม่ากราดใส่20ล้านคนคว่ำบาตร:'ไร้การศึกษา'!)


ย้อนประวัติศาสตร์ไปช่วงปี 2515 - 2516 อานันท์ ปันยารชุน ในฐานะเอกอัคราชฑูตไทยประจำสหประชาชาติ ได้เชิญ CEO ของไนกี้ มาประเทศไทย เพื่อเชิญชวนให้สั่งผลิตสินค้ากับกลุ่มสหพัฒน์และสหยูเนียน ผลการเจรจาเป็นไปอย่างน่าปลาบปลื้ม สหยูเนียนเปิดโรงงานหลายแห่งเพื่อผลิตรองเท้าและเสื้อผ้าให้ไนกี้ กลุ่มสหพัฒน์ตั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งเพื่อรองรับออเดอร์รองเท้าและเสื้อผ้าจากไนกี้ และตามมาด้วยเกือบทุกยี่ห้อทั้ง Adidas, Reebok, Timberlands, Mark & Spencer และ Scholl รวมทั้งแบรนด์ดังยี่ห้ออื่นๆ ในขณะเดียวกันก็พัฒนาแบรนด์ของตัวเอง "Pan" และสหพัฒน์กลายเป็นผู้ผลิตรองเท้าไนกี้ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก

“. . .กลุ่มสหพัฒน์ เป็นกลุ่มนายทุนที่ทรงอิทธิพลเรื่องรองเท้าภายใต้ชื่อกลุ่มบางกอกรับเบอร์ และแพนกรุ๊ป รับจ้างผลิตให้กับเกือบทุกแบรนด์เนมระดับโลก โดยเฉพาะ Nike Clarks, Marks & Spencer และ Scholl เฉพาะกลุ่มแพนกรุ๊ป นั้นมีมูลค่าการส่งออกปี 2545 จำนวน 155.47 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 33.7 ของมูลค่าส่งออกรองเท้ากีฬาของไทย โดยกลุ่มแพนซึ่งเป็นหนึ่งใน Partner group ของ Nike มี order Nike ในสัดส่วนร้อยละ 10 รองจากกลุ่ม Feng Tay และ Pou Chen ที่ได้รับสัดส่วน order ร้อยละ 18 และ 17 ตามลำดับ[3] ไนกี้ยังได้เลือกสวนอุตสาหกรรมสหพัฒน์ศรีราชา .ชลบุรี ของแพนกรุ๊ป เป็นศูนย์ฝึกสอนขั้นตอนและกระบวนการทำรองเท้าให้กับระดับผู้บริหารจากทั่วโลก ซึ่งเดิมศูนย์นี้อยู่ที่อินโดนีเซีย" (คัดย่อมาจากรายงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้า และผลกระทบต่อแรงงานหญิง โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย)

สหพัฒน์มีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องต่อต้านสหภาพแรงงานอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู และทั้งเครือไม่มีสหภาพแรงงาน หมายความว่าคนงาน 100,000 คนที่ผลิตให้สหพัฒน์ ไม่สามารถต่อรองเรียกร้องผลประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ กับผู้บริหารได้เลยแม้แต่น้อย

มีความพยายามของนักสหภาพแรงงานหลายคนและต่อเนื่องมานับสามสิบปีที่จะช่วยคนงานสหพัฒน์จัดตั้งสหภาพ แต่คนงานที่เป็นแกนนำทั้งหลายส่วนใหญ่ถูกเลิกจ้าง จ้างออก หรือปรับเพิ่มตำแหน่งให้ยุติบทบาทการตั้งสหภาพแรงงาน เรื่องความยากในการตั้งสหภาพแรงงานของเครือสหพัฒน์ ต้องถามนักสหภาพแรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะในหมู่นักสหภาพแรงงานที่ภาคตะวันออก

สหพัฒน์เป็นกลุ่มทุนกลุ่มแรกๆ ที่เป็นต้นแบบการจ้างงานระบบตั้งเป้า และรับเหมาช่วง ที่เป็นปัญหาใหญ่ของขบวนการสหภาพแรงงานทั่วโลก เป็นหนึ่งในต้นตอที่ทำให้ขบวนการแรงงานอ่อนแอ และไร้อำนาจในการต่อรอง

ขบวนการแรงงานทั่วโลกทำงานกันหลายปีเพื่อที่จะแก้ปัญหาเรื่่องระบบกาาจ้างงานรับเหมาช่วงนี้ แต่ก็ยังเป็นปัญหาปวดใจอยู่จนถึงปััจจุบัน

ขบวน การแรงงานไทยเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนกฎหมายคุ้มครองให้ยกเลิกการจ้างงาน ระบบรับเหมาช่วงมาหลายปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้า และจำนวนคนงานทีี่ถูกผลักไปสู่ในระบบการจ้างงานรับเหมาช่วงนอกระบบที่ไร้การ คุ้มครองทางกฎหมายมีจำนวนสูงกว่าคนงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมกว่าเท่าตัว ในปัจจุบัน - นี่คือปัญหาที่กลุ่มทุนชาตินิยมนำโดยสหพัฒน์ได้มอบให้กับสังคมไทย

ด้วยความสำเร็จในการไม่สามารถทำให้คนงานรวมตัวต่อรองได้ ระบบนี้จึงได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ไม่ใช่เฉพาะเสื้อผ้าและรองเท้า แต่รวมทั้งอิเลคทรอนิกส์​ เครื่องประดับ อาหาร และยานยนต์

การเน้นการสร้างแรงจูงใจด้วยเงินเป้าเริ่มจากฐานค่าแรงขั้นต่ำ ไม่สนใจค่่าแรงตามกฎหมาย ไม่ยอมรับการเจรจาต่อรองกับคนงาน และไร้การควบคุมและมาตรฐานเช่นนี้ คนงานบอกว่า "เป้าขยับขึ้นสูงอยู่ตลอดเวลา การจะได้ตามเป้าเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อคนงานต้องเปลี่ยนชิ้นงานกันบ่อยๆ" และผลที่เกิดขึ้นคือเมื่อคำนวณชั่วโมงการทำงานแล้ว พวกคนงานอาจจะได้เงินต่ำกว่ากฎหมาย เพราะไม่ได้มีการคำนวณค่าทำงานล่วงเวลาให้กับคนงาน

เมื่อพูดถึงสหพัฒน์ ก็อดโยงไปยังนายทุนที่เป็นพันธมิตรร่วมชาตินิยมกลุ่มอื่นๆ อีกไม่ได้ โดยเฉพาะสหยูเนียน และแพรนด้า จิวเวอรี่กรุ๊ป ซึ่งทั้งณรงค์ โชควัฒนา แห่งสหพัฒน์ อานันท์ ปันยารชุน แห่งสหยูเนียน (ปัจจุบันเป็นนายกกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์) และปรีดา เตียสุวรรณ์ เจ้าของแพรนด้า จิวเวอรรี่ กรุ๊ป ของนายทุนใหญ่แห่งพันธมิตร และพรรคการเมืองใหม่

ทั้งสามคนนี้นำเสนอภาพตัวเองเป็นกลุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคม สนใจปัญหาชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ยอมรับอำนาจต่อรองของคนงานและของสหภาพที่ทั้งสามกลุ่มมีร่วมกันก็น่าจะร่วม 200,000 คน คนงานเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้รับค่าแรงตามกฎหมายแรงงานขั้นต่ำ หรือถ้าเป็นคนงานที่รับซับในหมู่บ้านห่างไกลที่ต่างจังหวัด คงมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับค่าแรงตามกฎหมาย และไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ ทั้งสิ้น

อานันท์ ปัญญารชุน เป็นประธานกรรมการบริหารสหยูเนียน ตั้งแต่ปี 2534 สามเดือนก่อนได้รับพระราชทานตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นอกจากเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เขามีชื่อเสียงว่าในสมัยรัฐบาลอานันท์มีการออกกฎหมายถึง 267 ฉบับ หลายฉบับเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นไม่ได้อย่างเด็ดขาดในรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง"

มีความคลุมเคลือว่าอานันท์สร้างผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ จากการตั้งโรงงานไฟฟ้าในจีนได้ถึง 11 แห่ง ในระหว่างคาบเกี่ยวของการเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย และในฐานะบทบาทซ้ำซ้อนของการเป็นประธานกรรมการบริหารสหยูเนียนไปด้วยในเวลาเดียวกัน (ไม่รวมทั้งการตั้งสำนักงานนายกที่สำนักงานใหญ่ของสหยูเนียน)

ความสำเร็จจากโรงไฟฟ้าที่จีน นำมาซึ่งกำไรให้กับสหยูเนียนอย่างเห็นได้ชัด และนำมาสู่การคิดเบนเข็มสหยูเนียนไปสู่ธุรกิจพลังงานในประเทศไทยด้วย แต่ก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนักจากชาวชุมชนบ่อนอกและบ้านกรูดตั้งแต่ปี 2538 เมื่อสหยูเนียนได้รับอนุญาตให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดประจวบ

แกนนำการต่อสู้โรงไฟฟ้าที่ประจวบ ของชาวบ้านบ่อนอก และบ้านกรูด เจริญ วัดอักษร ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547บริเวณทางเดินเข้าบ้าน หลังเดินทางไปยื่นข้อมูลความผิดปกติกับคณะกรรมการธิการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา

ไหนๆ ก็ลากยาวมาแล้ว ขอสาวความสัมพันธ์ของนายทุนสายชายตินิยมกลุ่มนี้ ต่อยาวเลยไปถึงความแนบแน่นของอานันท์ ปันยารชุน กับนายมีชัย วีระไวทยะ (ทั้งคู่เป็นเขยของเชื้อพระวงศ์) ผู้ได้รับการรู้จักในนามมิสเตอร์ คอมดอม หรือ ถุงยางมีชัยที่สามารถหากินจากชื่อเสียงจากเรื่องการส่งเสริมให้คนไทยใช้ถุงยางได้ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เขาเป็น NGO ที่ได้รับเงินบริจาคจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจากมูลนิธิของบรรษัทข้ามชาติทั้งหลาย ทั้งไนกี้ และเกตต์ และทำงานร่วมกับโครงการรัฐฯ มากมาย เรากำลังพูดถึง NGO ที่มีเงินไหลเข้าระดับร้อยล้าน พันล้าน ไม่ใช่ NGO กระจอกรับเงินบริจากแค่แสนสองแสน หรือล้านสองล้าน แล้วต้องแสดงรายการการใช้จ่ายกันถี่ยิบ

จากกรุงเทพธุรกิจในบทความครูคนใหม่แห่ง .. นอกกะลา

"35 ปีที่ผ่านมาของ PDA จุดประกายให้เกิดโครงการต่างๆ กระจายเครือข่ายทั่วประเทศครอบคลุมพื้นที่กว่า 25,000 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้เป็นโครงการที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 2,500 หมู่บ้าน คิดเป็นเม็ดเงินระดมทุนไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากกว่า 3,700 ล้านบาท"

ช่างเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากจริงๆ ลงทุน 1,200 ล้านบาท ได้คืนมาเพียง 3,700 ล้านบาท มีชัยน่าจะลองปรึกษา จิรายุ อิศรางกูร อยุธยา ผอ. สำนักงานทรัพย์สินดูบ้างว่าทำอย่างไรผลกำไรถึงได้งอกงามระดับล้านล้านบาท

องค์กรแรงงานและสหภาพแรงงานช่วยคนงานประท้วงเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทตลอดสิบปีที่ผ่านมา ใช้เงินกันไม่ถึงยี่สิบสามสิบล้าน ช่วยคนงานหลายพันคนได้รับค่าเสียหายกลับคืนมาร่วมกันก็น่าจะหลายพันล้านแล้ว

โครงการของมีชัยด้านหนึ่งคือการตั้งโรงงานมากมายทั่วภาคอีสานใต้ เพื่อรับจ้างเย็บเสื้อผ้าและรองเท้า ที่ประชาสัมพันธ์ว่าเป็นการส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น แต่ด้วยงานคือการรับเหมาช่วงงานต่อไปจากสหยูเนียน จึงถูกตั้งข้อสงสัยว่าเพื่อการจ้างงานหรือว่าเพื่อป้อนแรงงานราคาถูก(ที่รับจ้างเย็บรายชิ้น ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่มีสวัสดิการที่พอเพียง) ให้กับกลุ่มสหยูเนียนของเพื่อนซี้อานันท์ ปันยารชุน กันแน่

นี่คือภาพขยายนิดๆ หน่อยๆ เกี่ยวกับทุนชาตินิยมไทย ที่บอกว่าคนไทยต้องปกป้อง และอุดหนุน

---------------------------------------------------

เกี่ยวกับเครือสหพัฒน์จากข้อมุลที่เผยแพร่ในเว็บไซด์ของเครือสหพัฒน์ ดาวโหลดเมื่อเช้านี้
บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เป็นจุดเริ่มต้นของเครือสหพัฒน์ โดยเริ่มจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย ต่อมาได้พัฒนาไปสู่การ เป็นผู้ผลิตสินค้าและเป็นตัวแทนจำหน่าย อีกทั้งยังมีการร่วมทุนกับต่างประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ

ปัจจุบันเครือสหพัฒน์เติบใหญ่จนเป็นเครือ บริษัทของคนไทย ที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง มีบริษัทในเครือกว่า 200 บริษัท และมีสินค้าและบริการเป็นที่รู้จักหลากหลายกว่า 30,000 รายการ จากกว่า 1,000 แบรนด์ที่จำหน่ายในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก

สินค้าส่วนใหญ่ในเครือสหพัฒน์ผลิตโดยตรงจากโรงงานในสวนอุตสาหกรรมของ เครือสหพัฒน์ทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สวนอุตสาหกรรม ศรีราชา .ชลบุรี สวนอุตสาหกรรม กบินทร์บุรี .ปราจีนบุรี และสวนอุตสาหกรรมลำพูน .ลำพูน รวมพื้นที่ทั้งหมดถึง 6,000 ไร่ เครือสหพัฒน์มีพนักงาน รวมทั้งสิ้นกว่า 100,000 คนทั่วประเทศ