WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 6, 2011

“ปชป.เหลว- เพื่อไทยขยาด” ภาระใหญ่ภาคประชาชน

ที่มา มติชน







เข้าสู่โหมดเลือกตั้ง เมื่อนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศจะยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ทว่า ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองแต่ละพรรคมุ่งไปที่การช่วงชิงอำนาจ ใครจะจับขั้วใคร รอเป็นรัฐบาลกับพรรคไหนมากกว่า นำเสนอนโยบายที่หวังจะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ลดความเหลื่อมล้ำ ความเป็นธรรมที่ กัดกินสังคมไทยมาช้านาน


ไล่สำรวจ การขับเคลื่อนของแต่ละพรรค พรรคเพื่อไทยที่มีโอกาสสูงจะชนะเป็นที่1 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ยังสะลาวนอยู่กับปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคว่า จะชูใครเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีระหว่างยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่พลาดเก้าอี้ตัวนี้แล้ว ก็กำลังเป็นระเบิดในพรรคอยู่

ไม่พ้นกับดักประชานิยม

ส่วนนโยบายที่จะใช้ในการหาเสียง แกนนำพรรคเพื่อไทยบอกว่า จะประกาศได้ในเดือนเม.ย. แต่ที่ทีมเศรษฐกิจของพรรคเปิดมาก่อนหน้านี้ ก็เห็นเค้าโครงว่า นโยบายของพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่เป็นการต่อยอดนโยบายประชานิยมสมัยทักษิณ และเกทับพรรคประชาธิปัตย์

เช่น เพิ่มค่าแรง 300 บาทต่อวันขณะที่พรรคประชาธิปัตย์จะให้ได้ 250 บาท ส่วนราคาผลิตผลทางการเกษตร ก็จะนำ “โครงการรับจำนำสินค้าเกษตร” กลับมาแทนที่ “โครงการประกันรายได้” ที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาใช้ พร้อมสัญญาว่า จะทำราคาข้าวให้ได้เกวียนละ 1.5 หมื่นบาท ส่วนเบี้ยยังชีพคนชราก็จะเบิ้ลให้สูงเดือนละพันบาท จากที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ให้คนละ 500 บาท

หลายนโยบายเน้น มหกรรม ลดแลกแจกกำลังสอง ต่อยอดประชานิยมจากไทยรักไทยและพลังประชาชน

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ดูได้เปรียบเพราะเป็นรัฐบาลและเดินหน้านโยบายต่างๆ มาก่อนหน้านี้ เช่น โครงการเรียนฟรี เบี้ยยังชีพ 500 บาท บัตรทองรักษาโรค ซึ่งเป็นถือเป็นโครงการยอดนิยมตามผลสำรวจของโพลสำนักต่างๆ

ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนยุบสภา พรรคประชาธิปัตย์ ออกนโยบายชุดใหญ่ เอาใจรากหญ้า และกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ไม่ว่า การนำแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน เข้าสู่ระบบประกันสงคม โครงการปล่อยกู้แท๊กซี่ และ วินมอเตอร์ไซด์เข้มแข็ง โดยรัฐบาลได้จัดระเบียบวินตามตรอกซอกซอยต่างๆ และ เตรียมงบจัดเสื้อวินฯ และหมวกกันน็อคไว้ให้ 2.4 แสนใบ ส่วนนโยบายพลังงาน ก็จะตรึงราคาก๊าซหุงต้ม น้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ไม่ให้คนจนเดือนร้อน

กรอบนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์จะนำไปหาเสียงเพิ่มเติม ตามที่ น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาแถลง เน้นใน 4 ด้าน

กรอบแรกคือการเร่งเพิ่มรายได้ในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี การปรับเพิ่มระบบการประกันสินค้าเกษตร ร่วมกับการสมทบเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ 2.การลดภาระค่าใช้จ่ายโดยให้ครอบครัวคนยากจนใช้ไฟฟรี แบ่งเบาภาระการเล่าเรียนด้วยการขับเคลื่อนโครงการเรียนฟรี 15 ปี และเพิ่มทุนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และแก้ไขปัญหาภาระหนี้นอกระบบให้ครบ 1 ล้านครอบครัว

3.ขจัดปัญหายาเสพติด โดยจัดตั้งกองกำลังพิเศษ 2,500 นายเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ และ 4. แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในประเทศ โดยเดินหน้าปฏิรูปประเทศ จัดสรรที่ทำกิน มอบโฉนดชุมชน สร้างระบบสวัสดิการให้คนไทยโดยการขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมคนทั้ง 25 ล้านคนให้ครบ

พรรคเล็กไร้ทางออก ขอแค่รวมขั้ว

นั่นเป็นจุดยืนของสองพรรคใหญ่ กวาดตามาดูพรรคเล็กพรรคน้อย หรือพรรคร่วมรัฐบาล ณ วันนี้ ไม่มีพรรคไหนประกาศนโยบายอะไรที่ชัดเจนนอกจากไหลตามน้ำ

เช่น พรรคภูมิใจไทยอันดับ 3 รองจากพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ “บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ “รองหัวหน้าพรรค กล่าวว่า พรรคจะเน้นไปที่การสร้าง ถนน และแหล่งน้ำ ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา ตัวแปรอีกพรรค ก็ยังไม่ประกาศนโยบาย มีแต่แพ็คคู่กับพรรคภูมิไจไทยเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการรวมขั้วตั้งรัฐบาล

ไม่ต้องพูดถึงพรรคเล็กพรรคน้อยอย่าง พรรคเพื่อแผ่นดินที่แตกออกเป็นสารพัดก๊ก ซึ่งยังเอาตัวเองไม่รอด พรรครวมชาติพัฒนาของ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ ได้กลุ่มการเมือง “3 พี” พินิจ จารุสมบัติ ปรีชา เลาหะพงษ์ชนะ และ ไพโรจน์ สุวรรณฉวี มาร่วม แต่ก็ยังไม่มีนโยบายออกมานอกจากตรึงพื้นที่เลือกตั้งให้ได้ ส.ส.มากที่สุด หรือ พรรคกิจสังคม พรรคมาตุภูมิ พรรคประชาราช กระทั่ง พรรคน้องใหม่อย่าง พรรคประชาสันติของกลุ่มเพื่อน ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ทุกพรรคมุ่งแค่ว่า “ฉันจะได้ส.ส.เท่าไร” “เราจะรวมกับใครเป็นรัฐบาล”

นักการเมืองจึงต่างมุ่งชิงอำนาจ มากกว่าจะเสนอนโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้างให้ประชาชนได้เลือกในวาระปฏิรูป ประเทศกบการเลือกตั้งครั้งสำคัญหนนี้ นโยบายหลายตัวที่โยนเข้าสู่จอทีวีตามโลโก้ของแต่ละพรรค เป็นแนวอภิมหาประชานิยม เพียงแต่ใครให้มากกว่าใครซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ประชานิยม เป็นนโยบายไฟไหม้ฟาง ไม่ได้ช่วยฟื้นฟูประเทศในระยะยาว แต่สร้างหนี้มหาศาลในอนาคต

จนถึงวันนี้ยังไม่มีพรรคใดกล้าประกาศนโยบายปฏิรูปภาษี หรือเดินหน้าภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทั้งที่ นี่เป็นมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เมื่อผลการศึกษาพบว่า มีช่องว่างด้านรายได้ระหว่าง ชนชั้นบนชนชั้นล่างห่างถึง 12 เท่า

เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ ถ้านโยบายปฏิรูปเหล่านี้มีผลออกมา ย่อมต้องกระทบต่อ ผู้มีฐานะ ชนชั้นปกครอง นักการเมืองด้วยกัน ที่เกือบครึ่งของ ส.ส.และ ส.ว.มีที่ดินรกร้างเป็นร้อยเป็นพันไร่ และเป็นผู้ร่ำรวยมีเงินเป็นร้อยล้านพันล้าน ดังนั้น พรรคการเมืองจึงไม่กล้าทำ เพราะจะกระทบกับ คนในพรรค

ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์เองก็มีชนชั้นปกครอง นายทุน นักธุรกิจไม่น้อย ทั้งที่ ก่อนหน้านี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยให้ความหวังด้วยการประกาศตั้งแต่ช่วงรับตำแหน่งใหม่ว่า จะผลักดันให้เกิดการปฏิรูปภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรม โดยจะให้กระทรวงการคลังดำเนินการ ส่วนภาษีที่ดินก็เคยระบุว่า จะทำให้ภาษีโรงเรือนกับภาษีบำรุงท้องที่มารวมกันและจะเป็นฐานรายได้ที่เป็น กอบเป็นกำให้กับท้องถิ่น แต่จนถึงขณะนี้ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เพราะถูกต่อต้านจากคนในพรรค

แม้แต่พรรคเพื่อไทยเองที่สถาปนาเป็นพรรคไพร่ เป็นพรรคของคนชั้นล่าง แต่นักการเมืองในพรรคนี้ก็ไม่ต่างจากพรรคประชาธิปัตย์ คือเต็มไปด้วยนักธุรกิจ กลุ่มทุน นักเลือกตั้งอาชีพ ซึ่งว่าไปแล้วก็มีกันแทบทุกพรรค ฝ่ายการเมืองจึงไม่อยากจะผลักดันนโยบายภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ออกมาบังคับใช้

นโยบายปฏิรูประบบภาษีเหล่านี้ หากปฏิบัติได้จริง นอกจากจะลดความเหลี่อมล้ำ แล้วยังจะช่วยให้รัฐมีรายได้เพื่อนำมาสร้างสวัสดิการให้กับประชาชน เกิดความมั่นคงในชีวิต ซึ่งปัจจุบันรายได้ของรัฐไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมาย ตรงกันข้าม นับวันรัฐต้องใช้เงินทุ่มไปกับนโยบายประชานิยมที่ประเทศนี้ได้ติดกับดักจน งอมแงมไปแล้ว ซึ่งก็กระทบกับฐานะการคลังของประเทศ

เดินหน้าปฏิรูปภาษี หารายได้ สร้างสวัสดิการ

ดร.สมชัย จิตสุชน ผอ.วิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) เคยนำเสนอ เรื่อง “การปฏิรูประบบภาษี” ในเวทีประชุม ปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสุขภาวะของคนไทย ครั้งที่ 39 ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อปีที่แล้ว โดยให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า หากรัฐต้องการสร้างสวิสการถ้วนหน้าให้กับประชาชนให้ได้ในปี 2560 รัฐจะต้องมีรายจ่าย 2.3 – 3.5 แสนล้านบาท โดยรัฐต้องทำ 5 เรื่องพร้อมๆ กัน เพื่อให้มีรายได้พอ ควรเก็บ VAT 7 – 10% ขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยกเลิก BOI ให้เงินไหลกลับเข้ากระเป๋า ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20 % และเร่งคลอดภาษีที่ดินฯ

“การจัดสวัสดิการถ้วนหน้าในปี 2560 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มการจัดเก็บภาษีให้เหมาะสม และหากจะทำให้ระบบภาษีเกิดความเป็นธรรมจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีหลักความเสมอ ภาค ทางภาษี ให้คนรวยจ่ายมาก คนจนจ่ายน้อย และยกเลิกแนวคิดจัดเก็บภาษีแตกต่างตามอาชีพ ซึ่งควรเก็บภาษีตามความสามารถในการจ่าย เช่น เกษตรกร นักธุรกิจ พ่อค้า คนไทยยังเสียภาษีไม่เสมอภาค ดังนั้นควรเริ่มจากการขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยยกเลิกแนวคิดจัดเก็บภาษีแตกต่างตามอาชีพ แต่เก็บภาษีตามความสามารถในการจ่าย ยกเครื่องค่าลดหย่อนและยกเว้นต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องปรับอัตราภาษี”

ดร.สมชัย บอกด้วยว่า การภาษีทรัพย์สิน ปัจจุบันเก็บจากฐานทรัพย์สินไม่มาก เช่น ภาษีรถยนต์ ก็ไม่ได้เก็บตามมูลค่า ภาษีบำรุงท้องที่ เก็บตามมูลค่าและฐานมูลค่าที่ล้าสมัย และอัตราต่ำมาก ขณะที่ภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ก็เก็บเฉพาะเมื่อมีการขาย ดังนั้น ประเทศไทยยังไม่มีภาษีทรัพย์สินที่เก็บเป็นเรื่องเป็นราว จึงเป็นที่มาว่า พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ควรเร่งผลักดันออกมา

ความเห็นของนักวิชาการทีดีอาร์ไอผู้นี้ สอดคล้องกับนักวิชาการรายอื่นๆ ที่เคยเสนอมาแล้ว กล่าวคือ ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ในประเทศไทย ทั้งในแง่ของฐานผู้เสียภาษีที่จะต้องกว้างขวาง มีช่องให้หลบรอดหรือหลีกหนีที่เป็นการเอาเปรียบคนอื่นๆ ในสังคมน้อยที่สุด และสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการ เดินหน้า ภาษีทรัพย์สินและภาษีมรดก

เมื่อฝ่ายการเมืองไม่นำเสนอ “นโยบายเชิงโครงสร้าง” ในการหาเสียง เห็นทีภาคประชาชน นักวิชาการ ผู้รักความเป็นความเป็นธรรมทั้งหลาย ต้องออกแรงขับเคลื่อนให้หนักเพื่อ “จุดกระแสนำ” ใน การเลือกตั้งครั้งนี้ เหมือนที่เคยประสบความสำเร็จ จากการรณรงค์ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพื่อปฏิรูปการเมือง จนบรรหาร ศิลปอาชา นำไปหาเสียงและได้เป็นนายกฯ ที่สุดก็ต้องดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เป็นภาระภาคประชาชนที่ต้องบีบนักการเมืองในจังหวะที่ “กระแสปฏิรูป” ได้ก่อตัวเข้มข้นมากขึ้น


เรื่อง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย www.thaireform.in.th