WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 15, 2012

สมเด็จพระนโรดม สีหนุ สวรรคตแล้วที่ปักกิ่ง

ที่มา ประชาไท



"พระวรราชบิดา" ของกัมพูชา สวรรคตแล้วขณะประทับอยู่ที่ประเทศจีน โดยช่วงที่ทรงพระชนม์ชีพ ทรงมีบทบาทอย่างสูงในการเมืองกัมพูชาสมัยใหม่ ทั้งการเรียกร้องเอกราช - ตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยม - มีบทบาทในสงครามกลางเมือง - ตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่ายกับเขมรแดง นำมาสู่การเลือกตั้งและสิ้นสุดสงครามกลางเมืองในปี 2536 ก่อนสละราชสมบัติในปี 2547
แฟ้มภาพกษัตริย์นโรดม สีหนุ ระหว่างเยือนโรมาเนียในปี 2515 โดยพระองค์สวรรตแล้วเช้าวันนี้ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน  (ที่มาของภาพ: วิกิพีเดีย)

เช้าวันนี้ (15 ต.ค.) อดีตกษัตริย์กัมพูชา สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ซึ่งได้รับการนับถือของชาวกัมพูชา สวรรคตแล้วด้วยพระชนมายุ 89 พรรษา จากการเปิดเผยของรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งอ้างถึงข่าวของสำนักข่าวซินหัวของจีน ที่ระบุว่าพระองค์สวรรตที่กรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน

พระญาติชั้นที่ 3 ของเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ และผู้เรียกร้องเอกราชกัมพูชา
สมเด็จพระนโรดม สีหนุทรงพระราชสมภพเมี่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และสมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ผู้เป็นพระอัยกา และพระราชบิดาของสมเด็จพระราชินีกุสุมะ พระราชมารดาสวรรคต
เมื่อนับพระญาติทางฝ่ายพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์นับเป็นพระญาติ ชั้นที่ 3 ของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โดยเป็นญาติทางฝ่ายพระบิดาของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
เมื่อสมเด็จนโรดม สีหนุทรงขึ้นครองราชย์ในปี 2484 ได้ทรงเรียกร้องเอกราชของกัมพูชาจากฝรั่งเศสได้สำเร็จในปี 2496 โดยก่อนที่จะได้รับเอกราชในเดือนพฤษภาคมปี 2496 พระองค์เสด็จลี้ภัยอยู่ที่กรุงเทพฯ และกลับไปกัมพูชาเมื่อได้รับการรับรองเอกราชในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน

ชีวิตการเมือง จากพรรคสังคมราษฎร์นิยม สู่แนวร่วมเขมรแดง
และต่อมาในปี 2498 ทรงสละราชสมบัติ เพื่อให้พระบิดาของพระองค์คือพระนโรดม สุรามฤต ขึ้นครองราชย์แทน จากนั้นพระองค์หันมาเล่นการเมือง ทรงตั้งพรรคสังคมราษฎร์นิยม (Sangkum Reastr Niyum หรือ ส็องกุมเรียะนิยุม) เรียกสั้นๆว่า "พรรคสังคม" เป็นพรรคแนวอนุรักษ์นิยมผสมแนวคิดพุทธศาสนา โดยพรรคนี้มีบทบาทมากในกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2498 - 2513 โดยบางช่วงพระองค์มีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นทั้งประมุขของรัฐต่อจากพระบิดาที่สวรรคตด้วย กระทั่งถูกลอน นอล ทำรัฐประหารในปี 2513 ตั้งระบอบสาธารณรัฐขึ้นมา
ทั้งนี้แม้พระองค์พยายามที่จะรักษาประเทศให้พ้นจากความขัดแย้งในช่วง สงครามเย็น ที่เขม็งเกลียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงทศวรรษที่ 2510 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้หลังพระองค์ถูกรัฐประหาร พระองค์ลี้ภัยไปอยู่ปักกิ่ง และเปียงยาง และตั้งแนวร่วมสหชาติเขมร (FUNK) ขึ้นที่ปักกิ่ง เพื่อต่อต้านรัฐบาลลอน นอล และทรงเป็นแนวร่วมกับพรรคกัมพูชาธิปไตยหรือเขมรแดง โดยทรงเสด็จไปเยี่ยมแนวรบของเขมรแดงด้วย โดยมีชาวนาจำนวนมากมาร่วมสนับสนุนการปฏิวัติของเขมรแดงเนื่องจากเข้าใจว่า เขมรแดงต่อสู้เพื่อสนับสนุนพระองค์ ต่อมาโดยภายหลังในปี 2522 พระองค์ต้องชี้แจงการร่วมมือกับเขมรแดงว่าเป็นเพราะระบอบกษัตริย์กำลังถูก โค่นล้ม พระองค์สู้เพื่อเอกราชของประเทศ แม้ว่าประเทศจะต้องเป็นคอมมิวนิสต์ก็ตาม
โดยในช่วงของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐของลอน นอล กษัตริย์สีหนุทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ที่บ้านรับรองขนาด 60 ห้องที่กรุงเปียงยาง เกาหลีเหนือ
ในปี 2518 แนวร่วมของพระองค์คือพรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดงได้ยึดอำนาจนายพลลอน นอล โดยพระองค์ได้กลับไปประทับที่กรุงพนมเปญและเป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ ในเดือนเมษายนปี 2519 เขมรแดงบีบให้พระองค์วางมือทางการเมือง ระหว่างนั้นพระองค์ถูกระบอบเขมรแดงส่งไปพูดในที่ประชุมสหประชาชาติเพื่อต่อ ต้านการที่เวียดนามส่งกองทัพเข้ามารุกรานกัมพูชา
ทั้งนี้ระบอบเขมรแดงซึ่งปกครองประเทศอย่างโหดเหี้ยมในระหว่างปี 2518 ถึง 2522 ได้ทำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เลวร้ายที่สุดในศตวรรษที่ 20 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 ล้านคน และข้อมูลบางแหล่งเชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 2.5 ล้านคน กระทั่งต่อมาพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา นำโดยเฮง สัมริน และฮุน เซ็น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเวียดนามเข้ามาขับไล่เขมรแดงออกจากพนมเปญในปี 2522

ตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่าย - สู่การเลือกตั้งทั่วไป ขึ้นครองราชย์ครั้งที่ 2 และสละราชสมบัติ
ในช่วงที่พรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชามีอำนาจ ทรงลี้ภัยไปประทับในจีนและเกาหลีเหนือ และทรงร่วมมือกับกลุ่มต่างๆ ตั้งแนวร่วมเขมรสามฝ่าย (The Coalition Government of Democratic Kampuchea - CGDK) ประกอบด้วย เขมรแดงภายใต้การนำของเขียว สัมพันและพล พต แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมรของซอนซาน และพรรคฟุนซินเปกของสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2525 และเข้าไปมีที่นั่งในสหประชาชาติ แทนที่รัฐบาลพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชาของเฮง สัมริน และฮุน เซ็น
ต่อมาหลังจากเวียดนามถอนทหารในปี 2532 มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2536 และสิ้นสุดสงครามกลางเมือง สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงขึ้นครองราชย์หนที่สองในปี 2536 และต่อมาได้สละราชสมบัติให้กับสมเด็จพระนโรดม สีหมุนี เมี่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ขณะทรงมีพระชนมพรรษา 82 พรรษา หลังจากนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น "พระมหาวีรกษัตริย์ พระวรราชบิดา เอกราช บูรณภาพดินแดน และความเป็นเอกภาพแห่งชาติเขมร" หรือ "The King-Father of Cambodia"
ทั้งนี้แม้พระองค์จะต้องลี้ภัยอย่างยาวนานขณะดำรงพระชนม์ และทรงสละราชสมบัติในปี 2547 ด้วยเหตุผลด้านพระพลานามัย แต่สมเด็จพระนโรดม สีหนุ ยังคงเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลต่อสังคมกัมพูชาเสมอ

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก
Cambodia former king Norodom Sihanouk 'dies' in Beijing, BBC 14 October 2012 Last updated at 23:01 GMT http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-19943963
Norodom Sihanouk, Wikipedia, http://en.wikipedia.org/wiki/Norodom_Sihanouk