พ.ศ.2451 ฝรั่งเศสจัดทำแผนที่ฝ่ายเดียวส่งมอบให้ไทยแผ่นหนึ่ง คือ “แผ่นดงรัก” ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องพ.ศ.2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยือนปราสาทพระวิหารพ.ศ.2479 ไทยขอปรับปรุงเขตแดน แต่ฝรั่งเศสขอผัดผ่อนพ.ศ.2482 ไทยขอปรับปรุงเขตแดนกับฝรั่งเศสอีกครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้พ.ศ.2484 อนุสัญญาโตเกียวทำให้ดินแดนที่เสียไปเมื่อร.ศ.123 และ ร.ศ.126 บางส่วน รวมถึงปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยพ.ศ.2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการยกเลิกอนุสัญญาโตเกียวโดยสนธิสัญญาประนีประนอม โดยมีสหรัฐอเมริกาอังกฤษ และเปรูเข้ามาไกล่เกลี่ยพ.ศ.2492 ประเทศไทยเข้าครอบครองปราสาทพระวิหารโดยใช้หลักสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างนี้มีการประท้วงจากฝรั่งเศส 3 ครั้งพ.ศ.2493 กัมพูชาเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสพ.ศ.2501 กัมพูชาเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหารพ.ศ.2502 กัมพูชาฟ้องร้องต่อศาลโลกพ.ศ.2505 ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาด้วยเสียง 9 ต่อ 3พ.ศ.2509 ไทย-กัมพูชา สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้ง หลังหยุดชะงักไป 3 ปีพ.ศ.2513 กัมพูชาเปิดเขาพระวิหารให้นักท่องเที่ยวขึ้นชมจากฝั่งประเทศไทยพ.ศ.2518 ปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากเขมรแดงยึดอำนาจและเกิดสงครามกลางเมืองพ.ศ.2535 เปิดเขาพระวิหารให้ขึ้นชมอีกครั้ง เมื่อพรรคประชาชนกัมพูชาของสมเด็จฮุนเซนชนะการเลือกตั้งพ.ศ.2536 ปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากกำลังเขมรแดงยึดครองพื้นที่เขาพระวิหารพ.ศ.2546 กัมพูชาตัดถนนเข้าไปจนสำเร็จสมบูรณ์หลังจาก
รอคอยมาเป็นเวลาช้านาน แต่ก็มีการห้ามเข้าอยู่เป็นระยะโดยมิได้กำหนดล่วงหน้าพ.ศ.2550 กัมพูชาเสนอองค์การยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยังไม่มีข้อสรุปปี พ.ศ.2551 วันที่ 18 มิถุนายน นายนพดล ปัทมะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ในขณะนั้น)ลงนามยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ร่วมกับ นายอึง เซียง เอกอัครราชทูตกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง24 มิถุนายน 2551 ทางการกัมพูชาปิดปราสาทพระวิหารชั่วคราว หวั่นผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปทำร้ายชาวกัมพูชาในบริเวณใกล้เคียง28 มิถุนายน 2551 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม. ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น8 กรกฎาคม 2551 องค์การยูเนสโกประกาศรับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกเฉพาะแต่เพียงตัวปราสาทคำตอบของปี 2551 สิ้นสุดลงที่ นายนพดล ปัทมะลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโดยในช่วงนั้นโดนตราหน้าว่า “ขายชาติ” เพื่อคนหน้าเหลี่ยมและพรรคพวกเข้าสู่ ปี 2552 ภายใต้การทำงานของรัฐบาล “อภิสิทธิ์เวชชาชีวะ” ก็ยังไม่มีบทสรุป มีแต่ “สุเทพ เทือกสุบรรณ”รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปพูดคุยกับ สมเด็จฮุนเซนนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551 และมีคำตอบทำนอง “ยกธงขาว” ยอม “จำนน” ให้เขมรเอวัง!!! ■