WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 13, 2011

แก้แค้น VS แก้ไข : ความเหมือนในความต่าง?

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะชื่นชอบสีไหน
คงจำวรรคทองในวันที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศตัวลงสู้สนามการเมือง
ด้วยการเป็นผู้สมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 ของพรรคเพื่อไทยที่ว่า...

“พรรคเพื่อไทยนั้น ไม่คิดแก้แค้น แต่จะแก้ไข...” กันได้เป็นอย่างดี
เพราะถือว่า เป็นประโยคเด็ดที่ผู้คนยังนำมากล่าวขวัญถึงอยู่เนืองๆ ใน Social Media ต่างๆ

ต่อมาเมื่อผลการเลือกตั้งออกมาจนเป็นที่มั่นใจว่า
พรรคเพื่อไทยจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
ประโยคเด็ดนี้ จึงกำลังรอการพิสูจน์จากรัฐบาลใหม่
ภายใต้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยอย่างใจจดใจจ่อ

ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คำว่า “แก้แค้น” เป็นคำกริยา
หมายความว่า “ทําตอบด้วยความแค้นหรือเพื่อให้หายแค้น”
ส่วนคำว่า “แก้ไข” เป็นคำกริยาเช่นเดียวกัน
มีความหมายว่า “ทําส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น…”

หากดูตามคำนิยามในพจนานุกรมจะเห็นได้ว่า
คำสองคำนี้ มีความหมายที่ค่อนข้างจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน
แต่เมื่อถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางการเมืองแล้ว
หากผู้พูดไม่ระมัดระวัง อาจจะทำให้คำสองคำกลายเป็นคำๆ เดียวกันไปโดยไม่รู้ตัว

เหตุการณ์แรกภายหลังทราบผลการเลือกตั้งที่น่าจะเป็นตัวอย่าง
ให้การ “แก้ไข” กับการ “แก้แค้น” เกือบจะแยกกันไม่ออกคือ
การที่ตำรวจบุกยึดเครื่องส่งของสถานีวิทยุที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต
ตามกฎหมายและทราบกันดีว่าเป็นสถานีที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ในพรรคภูมิใจไทย
ในขณะที่สถานีวิทยุ (ที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเช่นเดียวกัน)
ของกลุ่มคนเสื้อแดงยังคงสามารถออกอากาศได้ตามปกติ

หากจะมองในมุมของการ “แก้ไข” การปิดสถานีวิทยุดังกล่าว
ถือเป็นการดำเนินการตามกฎหมายกับสถานีวิทยุที่ยังไม่ได้ใบอนุญาต
เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาทำหน้าที่
ออกใบอนุญาตตามกฎหมายพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง
และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ดังนั้น สถานีวิทยุทั้งหลาย
ไม่ว่าจะเรียกตัวดองว่า วิทยุชุมชน หรือวิทยุท้องถิ่น ต่างล้วนไม่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งสิ้น

แต่หากจะมองว่าเป็นการ “แก้แค้น” การปิดสถานีวิทยุของกลุ่มที่หมดอำนาจทางการเมือง
แต่ยังปล่อยให้สถานีวิทยุของฝ่ายที่สนับสนุนกลุ่มที่กำลังก้าวเข้ามามีอำนาจทางการเมือง
ยังคงออกอากาศได้ตามปกติ ย่อมถือเป็นการดำเนินการในลักษณะเดียวกับยุคที่รัฐบาล
ที่กำลังจะหมดอำนาจลงไปเคยดำเนินการกับวิทยุของคนเสื้อแดง
และปล่อยให้สถานีวิทยุที่สนับสนุนรัฐบาลสามารถดำเนินการได้โดยไม่มีใครไปกวนใจ



นอกจากนี้ หากรัฐบาลที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำเข้ามาบริหารประเทศอย่างเต็มตัว
แล้วมีการสั่งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง หรือผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่เคยได้รับแต่งตั้ง
ในสมัยที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำในแบบที่เรียกกันว่า “ล้างบาง”
ก็อาจถูกมองว่าเป็นการแก้แค้นได้เช่นกัน แม้ว่า รัฐบาลเพื่อไทยจะบอกว่า เป็นการแก้ไข
เพราะเป็นการโยกย้ายเพื่อให้ความเป็นธรรมกับข้าราชการ
ที่เคยถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรมในรัฐบาลก่อนก็ตาม

หรืออีกกรณีของการที่รัฐบาลใหม่จะเข้าไปรื้อโครงการขนาดใหญ่ที่รัฐบาลก่อนดำเนินการอนุมัติไปแล้ว
โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินการที่ผ่านมา ไม่โปร่งใส จึงต้องเข้ามาแก้ไข แต่ในอีกมุมหนุ่ง
การเข้าไปรื้อโครงการในลักษณะนี้ อาจถูกมองว่าเป็นการแก้แค้นที่รัฐบาลก่อน
ไม่เปิดโอกาสให้พวกพ้องของกลุ่มอำนาจใหม่ได้เข้าร่วมดำเนินโครงการกับภาครัฐ
และต้องยกเลิกสัญญาเพื่อให้พรรคพวกของตนเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์แทน

นี่ยังไม่ได้มองไปไกลถึงกรณีของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่ขณะนี้เริ่มมีข้อเสนอจากกลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยบางส่วนแล้วว่า
น่าจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ที่ทำให้พรรคที่ก่อตั้งโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องถูกยุบครั้งแล้วครั้งเล่า
ซึ่งอาจจะไปไกลถึงการยกเลิกบทบัญญัติที่รับรองการกระทำใดๆ
ของฝ่ายที่กระทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยก็เป็นได้

การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงอาจถูกมองว่า
เป็นการแก้ไขเพื่อเปิดช่องให้มีการแก้แค้น กลุ่มที่ทำรัฐประหารโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณให้พ้นจากอำนาจ



ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงแห่งพรรคเพื่อไทยเป็นอย่างยิ่งว่า
จะสามารถบริหารประเทศไปได้โดยให้ประชาชน “ทั้งประเทศ” สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนว่า
การดำเนินนโยบายใดของรัฐบาลใหม่ถือเป็นการ “แก้ไข” ไม่ได้เป็นการ “แก้แค้น”
ตามที่ได้ประกาศเป็นสัญญาประชาคมไว้



เพราะเส้นแบ่งทางการเมืองระหว่างคำว่า “แก้แค้น” กับ “แก้ไข” มันช่างเปราะบางเสียจริงๆ

อย่างไรก็ตาม
หากมีฝ่ายที่มองว่าการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเป็นการ “แก้แค้น” มากว่าการ “แก้ไข” แล้ว
ก็อาจเป็นเงื่อนไขที่นำไปสู่วังวนเดิมๆ ของการประท้วงคัดค้านรัฐบาล
ที่ล้วนแต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว...



ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี
www.twitter.com/chavarong
chavarong@thairath.co.th



http://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/185971