WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 13, 2008

ย้อนรอยทีวีสาธารณะ ก่อนจะมีทีวีเสรีช่องใหม่

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน2550 คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ ยู เอช เอฟ ซึ่งหมายถึงสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องเป็นนัดสุดท้าย เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายองค์กรพัฒนาเอกชนกับฝ่ายธุรกิจโทรทัศน์ที่มีความเห็นแตกต่างกันค่อนข้างมาก


ในครั้งนั้นมีการตั้งโจทย์ทำนองให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง "ทีวีเสรี” กับ “ทีวีสาธารณะ" โดยกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนบางคนประกาศทวงถามถึงสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ที่เกิดขึ้นเพื่อต่อสู่กับเผด็จการ หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 และเห็นว่าทีไอทีวี ต้อง เป็น"ทีวีสาธารณะ" สถานเดียว

จนที่สุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งองค์กรบริหารสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟ หรือทีไอทีวีในลักษณะสื่อสาธารณะ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของสถานีวิทยุโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟ ที่มีนางดรุณี หิรัญรักษ์ ประธาน

โดยก่อนที่จะมีการตัดสินใจดังกล่าว มีการพิจารณาทั้งรูปแบบสื่อสาธารณะ ที่เสนอโดยนายสมเกียรติ ตั้งกิจวณิชย์ นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ และรูปแบบทีวีเสรี โดยนายเถกิง สมทรัพย์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่ด้วยติดขัดในข้อกฎหมายจึงทำให้ต้องเลือกแปรรูปทีไอทีวี เป็นทีวีสาธารณะ ท่ากลางความเห็นของบรรดานักวิชาการว่าน่าจะเกิดทีวีทั้ง 2 รูปแบบขึ้นในเมืองไทย เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด

โดยเอกสารที่ผ่านคณะกรรมการฯ เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. นำเสนอว่า ทีวีสาธารณะ (public service television) แตกต่างจากสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ เช่น ITV ในอดีต และสถานีโทรทัศน์ของรัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือการมีปรัชญาและแนวทางในการดำเนินการที่ถือว่าประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศเป็นพลเมืองในขณะที่สื่อเป็นพื้นที่สาธารณะในการให้ข้อมูลข่าวสารและตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ

เพื่อให้สามารถเป็น "พื้นที่สาธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะ" ได้อย่างแท้จริง ทีวีสาธารณะต้องมีความเป็นอิสระจากรัฐบาลและกลุ่มทุน การเป็นอิสระจากรัฐบาลจะช่วยให้ทีวีสาธารณะสามารถนำเสนอข่าวสารที่ครบถ้วนรอบด้านแก่ประชาชน และสามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้ ส่วนการที่ต้องเป็นอิสระจากกลุ่มทุนก็เนื่องจาก นอกจากการตรวจสอบรัฐบาลแล้ว สื่อมวลชนรวมทั้งสื่อโทรทัศน์ยังควรมีหน้าที่ตรวจสอบกลุ่มทุนด้วย เพราะในหลายกรณีกลุ่มทุนที่ดำเนินธุรกิจอย่างผิดกฎหมายหรือไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

จากปรัชญาและแนวคิดดังกล่าว ทีวีสาธารณะจึงมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.มีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน จากการมีหลักประกันทางกฎหมายที่ป้องกันการแทรกแซงจากทางรัฐบาลและให้ความมั่นคงทางการเงินควบคู่ไปกับการห้ามโฆษณา เพื่อให้ปลอดจากการถูกแทรกแซงจากกลุ่มทุน

2.ผลิตรายการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะที่มีคุณภาพสูง เช่น รายการข่าว และรายการเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งให้ข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนรอบด้านในประเด็นที่มีความสำคัญต่อสาธารณะ รายการการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชน และรายการที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

3.ผลิตและเผยแพร่รายการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมจากการมีข้อกำหนดด้านมาตรฐานของรายการ (programming standard) และจริยธรรมทางวิชาชีพ (code of conduct)

4.มีกลไกให้สังคมมีส่วนร่วม เช่น การสนับสนุนผู้ผลิตรายการอิสระทั้งผู้ประกอบการรายย่อยและชุมชนให้สามารถใช้ประโยชน์จากโทรทัศน์ในการสื่อสารเพื่อเรียนรู้ระหว่างกัน และมีกลไกสำรวจความพึงพอใจของประชาชนเป็นประจำตลอดจนมีกลไกที่ประชาชนสามารถให้คำแนะนำและข้อคิดเห็น ร้องเรียน และตรวจสอบการดำเนินงานของทีวีสาธารณะได้โดยง่าย

ขณะเดียวกันสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นจากการมีทีวีสาธารณะ ก็คือ
1.รายการข่าว และรายการสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น รายการอภิปรายปัญหาเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ที่มีความเที่ยงตรง เป็นกลางและครบถ้วนรอบด้าน ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มทุน สามารถทำข่าวเจาะลึก เปิดเผยเรื่องที่ประชาชนควรรู้แต่ไม่มีโอกาสรับรู้มาก่อนได้

2.รายการการศึกษาและบันเทิงสำหรับเด็กและเยาวชนที่เอื้อต่อการเรียนรู้พัฒนาสติปัญญา ไม่มีพิษภัยจากเนื้อหาทางเพศที่ไม่เหมาะสม ความรุนแรงภาษาหยาบคาย การดูถูกผู้อื่น เช่น คนกลุ่มน้อย

3.รายการสารคดีทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่มีคุณภาพสูง น่าติดตามและให้ความรู้ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย

4.รายการบันเทิงที่ดูสนุก เพลิดเพลิน ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์และยกระดับรสนิยมของคนในสังคม

ในขณะที่แนวคิดเรื่อง "สื่อเสรี" ตามแนวทางของนายเถกิง ชี้ให้เห็นว่าเป็นแนวคิดที่เข้าข่าย "ธุรกิจเพื่อสังคม" ซึ่งภายใต้แนวคิด ธุรกิจเพื่อสังคมจะดำเนินกิจการแบบแสวงหากำไร เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพของการบริหารจัดการแบบธุรกิจให้ได้มากที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีประโยชน์ทางสังคมเป็นเป้าหมายสูงสุดในการดำเนินงาน ไม่ใช่ผลกำไรสูงสุด

สถานีโทรทัศน์รูปแบบอิสระ เป็นสถานีโทรทัศน์ ที่ดำเนินงานโดยระบบเอกชนเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกับภาคประชาชนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) เปิดกว้างต่อการนำเสนอความคิดเห็นที่หลากหลาย สามารถวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล คำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวม มีรายได้ของตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐ

เป็นสถานีโทรทัศน์แบบผสมเพื่อสาธารณะและแสวงหากำไรได้แต่ไม่มากเกินไป และไม่อยู่ในการครอบงำ ของกลุ่มทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เปิดโอกาสให้ประชาชน ตลอดจนองค์กรไม่แสวงหากำไรเป็นเจ้าของและร่วมตรวจสอบการทำงาน

ซึ่งแม้ว่าประชาชนอาจจะมีหุ้นส่วนเพียงส่วนน้อย แต่ก็สามารถมีส่วนร่วมในการบริหารได้ แล้วแต่จะจัดโครงสร้างการบริหารจัดการบริษัทอย่างไร เพราะอันที่จริงสัดส่วนการถือหุ้นนั้นเชื่อมโยงอยู่กับ "ความเป็นเจ้าของเงินทุน" เพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกับอำนาจการบริหารจัดการด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ถือหุ้นที่ใส่เงินร้อยละ 25 ในบริษัท อาจยอมสละอำนาจในการบริหารจัดการทั้งปวงในบริษัท หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "silent partner" หากผู้ถือหุ้นรายนั้น "ไว้ใจ" ว่าผู้ถือหุ้นใหญ่รายอื่นจะสามารถควบคุมดูแลคณะกรรมการและผู้บริหารบริษัทให้นำส่งผลตอบแทนสูงๆ ต่อเนื่องกันทุกปีได้

การมีผู้ถือหุ้นแบบ silent partner อาจทำให้ภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัท มีสิทธิเลือกกรรมการอิสระขึ้นมาปกป้องประโยชน์สังคม ในสัดส่วนที่สูงกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของตน เช่น ภาคประชาชนถือหุ้นร้อยละ 25 แต่มีสิทธิเลือกกรรมการอิสระ 5 คน จากกรรมการทั้งหมด 10 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ของคณะกรรมการทั้งหมด เป็นต้น

นอกจากนี้ ข้อบังคับของบริษัททีวีเสรีอาจมีข้อกำหนดแบบเฉพาะเจาะจง ให้อำนาจชี้ขาดในประเด็นสำคัญๆ ที่มี "มิติทางสังคม" สูง และสะท้อนระดับ "ความเป็นอิสระ" ขององค์กร เช่น ผังรายการข่าวและนโยบายด้านการทำข่าว ตกเป็นของประธานกรรมการอิสระซึ่งเป็นตัวแทนของภาคประชาชน แทนที่จะเป็นประธานกรรมการบริษัทเหมือนกรณีการทำธุรกิจทั่วๆ ไป

นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อาจทำสัญญาระหว่างกัน หรือที่เรียกว่า shareholders’ agreement เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่ง หรือหลายรายรวมกัน จะขายหุ้นออกไปให้กับกลุ่มธนกิจการเมือง ที่ต้องการครอบงำสื่อ โดยระบุในสัญญาฉบับนี้ว่า ผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะขายหุ้นออกจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ ได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นทุกรายที่เหลือก่อน

เพราะฉะนั้นคณะกรรมการนโยบายทีวีสาธารณะทั้ง 5 คน ที่กำลังร้อนๆ หนาวๆ ก็ไม่เห็นจะต้องไปวิตกกังวลอะไร เมื่อมีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดทีวีสาธารณะ ให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำเสนอข่าวสารตามสาระสำคัญที่กำหนดไว้ ก็ทำงานไปตามหน้าที่ ไม่ต้องหวั่นไหวกับการจะเกิดสื่อโทรทัศน์ขึ้นมาอีกหรือไม่ เพียงแต่อย่างทำงานให้เกิดความกังวลสงสัยหรือเกิดความเสียหายต่อบ้านเมืองก็เพียงพอ

ขณะเดียวกันการเกิดทีวีเสรี หากดูตามแนวทางดังข้อเสอนอข้างต้นแล้วก็ไม่มีอะไรเสียหายเช่นกัน เพราะมีแต่เรื่องที่ประชาชนจะได้ประโยชน์ และก็สามารถจัดรูปแบบให้ปลอดจากการเมือง ให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้เช่นเดียวกัน ที่สำคัญยังสามารถหารายได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้งบประมาณจากรัฐบาลปีละมหาศาล
ถือเป็นโอกาสในการสร้างทางเลือกใหม่ให้กับประชาชน...!!

ต้นแบบสื่อสาธารณะ

ตารางเปรียบเทียบสื่อสาธารณะในประเทศอื่น

BBC (อังกฤษ) PBS (สหรัฐ) NHK (ญี่ปุ่น) CBC (แคนาดา) ABC (ออสเตรเลีย)

1.ภารกิจ
ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยการนำเสนอรายการและบริการที่ให้ข้อมูล การศึกษาและให้ความบันเทิง ยกระดับคุณภาพชีวิตคนอเมริกันด้วยรายการคุณภาพ ให้บริการด้านการศึกษาซึ่งให้ข้อมูล สร้างแรงบันดาลใจและความเบิกบานใจ นำเสนอรายการที่มีคุณภาพแลความถูกต้อง รวมทั้งข้อมูลและข่าวสารที่เป็นกลาง เพื่อยกระดับวัฒนธรรม ความผาสุกและสร้างเสริมประชาธิปไตย ให้บริการโทรทัศน์และวิทยุที่หลากหลาย โดยมุ่งให้ข้อมูล ความรู้และความบันเทิง สร้างคุณค่าและบูรณาการวัฒนธรรมของประเทศ โดยนำเสนอรายการที่หลากหลายมีความเป็นอิสระ แตกต่างและน่าสนใจ

2.รูปแบบกฎหมายในการจัดตั้งองค์กร
แต่เดิมการกระจายเสียงดำเนินการโดยบริษัทเอกชน แต่เกิดปัญหาด้านการแทรกแซงความถี่ รัฐบาลอังกฤษก่อตั้ง BBC ด้วยกฎบัตร (Charter) ในพระบรมราชโองการผ่านทางรัฐสภาในปี ค.ศ. 1927 CPB (Corporation for Public Broadcasting) ได้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ PBS (Public Broadcasting Service) ขึ้นในปี ค.ศ.1969 ด้วยการสนับสนุนของสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์สาธารณะทั่วประเทศมากกว่า 1,000 แห่ง SCAP (Supreme Commander for Allied Powers) ได้ยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ที่รัฐใช้ควบคุมสื่อและออกกฎหมายกระจายเสียงในปี ค.ศ.1950 กำหนดให้การกระจายเสียงเป็น Dual System โดยเปลี่ยนโครงสร้าง NHK เป็นบรรษัทสาธารณะ ตั้งขึ้นในปีค.ศ.1936 ในฐานะบรรษัทของกษัตริย์ (Crown Corporation) โดย Act of Parliament ตาม Royal Commission เพื่อลดอิทธิพลของวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปีค.ศ.1932 โดยนายกรัฐมนตรีในฐานะ Australian Broadcasting Commission เพื่อให้เป็นสถานีบริการสาธารณะ โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศอังกฤษในการดำเนินการต่างๆ

3.การกำกับดูแล
รัฐบาลเป็นผู้เสนอรายชื่อคณะกรรมการบริการจำนวน 12 คน ที่มาจากสาขาอาชีพที่ต่างกัน ขึ้นทูลเกล้าสมเด็กพระราชินีของอังกฤษ เพื่อให้แต่งตั้งเป็น คณะกรรมการบริหาร (Broad of Governor) มีอายุการทำงาน 5 ปี มีรูปแบบการบริหารงานแบบองค์กรเอกชนโดยมีคณะกรรมการ (Broad of Director) ซึ่งเป็นตัวแทนของมลรัฐต่างๆ และเจ้าหน้าที่ (Corporate Officer) ซึ่งรับผิดชอบงานด้านต่างๆ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีประสบการณ์และความรู้จากสาขาอาชีพต่างๆ มาจากทั้ง 8 ภูมิภาคของประเทศ มีอายุการทำงาน 3 ปี รัฐสภาจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการ (Broad of Director) จำนวน 12 คน ซึ่งรวม chairperson และ president&CEO ด้วย ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 5 ปี รัฐบาลเป็นผู้แนะนำแต่งตั้ง Board จำนวน 7 คนเพื่อทำหน้าที่แต่งตั้ง Broad Managing Director โดยกำหนดคุณวุฒิตาม ABC Act

4.เนื้อหารายการ
BBC มีช่องรายการโทรทัศน์ 4 ช่องโดยช่อง 1 มีรายการโทรทัศน์ทุกประเภท ช่อง2 นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ สารคดีและศิลปะ ช่อง3 เน้นกลุ่มวัยรุ่นเริ่มต้นทำงาน โดยนำเสนอข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมือง ดนตรี และรายการบันเทิง ช่อง4 นำเสนอเรื่องราวนอกกระแสหลัก ชุดรายการหลักที่ PBS จัดให้แก่สถานีสมาชิกได้แก่ รายการเกี่ยวกับเด็ก วัฒนธรรม การศึกษา ประวัติศาสตร์ ข่าวธรรมชาติ เรื่องที่สาธารณชนสนใจ วิทยาศาสตร์ และรายการเสริมทักษะต่างๆ รายการโทรทัศน์ของ NHK มีจำนวน 2 ช่อง –Geneal TV เสนอข่าว 40.5% วัฒนธรรม 24.7% บันเทิง 23.7% และการศึกษา 11.1% -Education TV เสนอรายการการศึกษา81.1% วัฒนธรรม16.3% และรายการข่าว 2.6% ให้บริการในรูปแบบภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส (ตามลักษณะประชากรของประเทศที่ใช้สองภาษา) ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต โดยมุ่งนำเสนอรายการที่ให้ข้อมูล เรื่องที่อยู่ในความสนใจทั่วไป ดนตรี วัฒนธรรม รายการโทรทัศน์ของสถานีมีสัดส่วนดังนี้ รายการเด็ก 18.8% ภาพยนตร์ 13.1% บันเทิง 11.8% เหตุการณ์บ้านเมือง 9.3% ละคร 9.3% การศึกษา 8.5% และอื่นๆ
รายการวิทยุมีสัดส่วน ดังนี้ ดนตรี 35.3% ข่าว 20% Factual 18% กีฬา 5.2% และอื่นๆ

5.ที่มาขอรายการ
ผลิตรายการส่วนใหญ่ด้วยตนเอง รับซื้อรายการจากผู้ผลิตทั้งแบบประจำและผู้ผลิตอิสระ (ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดส่งรายการให้สถานีต่างๆ) ผลิตรายการต่างๆ ด้วยตนเอง (แยกแผนสำหรับผลิตรายการต่างๆ ) ส่วนใหญ่จะผลิตเอง แต่บางส่วนจะร่วมผลิตกับต่างประเทศ หรือให้ผู้ผลิตอิสระเป็นผู้รับผลิต ผลิตเองและรับซื้อจากผู้ผลิตต่างๆ

6.ผู้ชมรายการ
-ผู้ชม/ผู้ฟังรับชม/ฟังรายการโทรทัศน์ 86.5% วิทยุ 63.4%
-สัดส่วนความนิยม โทรทัศน์ 38.44% วิทยุ 50.2%
-99% ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์สามารถรับรายการของสถานีได้
-71% ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ได้ชมรายการของสถานีโดยใช้เวลามากกว่า 7.5 ชั่วโมง/เดือน -สมาชิกของ NHK มีจำนวนประมาณ 37.6 ล้านครัวเรือน
-ผู้ชมใช้เวลาชม NHK ประมาณ 1 ชั่วโมง 13 นาทีต่อวัน -88% ใช้บริการเครือข่าย ABC อย่างน้อย 1 บริการ
-Rating รายการโทรทัศน์ของสถานีอังกฤษและฝรั่งเศสคือ 7.6% และ 14%
-40% รับชมรายการวิทยุของสถานี -91% เชื่อว่าสถานีให้บริการที่มีคุณค่าต่อชุมชน
-78% เชื่อมั่นว่ารายการของสถานีโทรทัศน์ของ ABC มีคุณภาพดี (เปรียบเทียบกับสถานพาณิชย์ที่มีความเชื่อมั่น 43%) 7. กลไกการตรวจสอบ

การทำงานของ BBC อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการมาตรฐานการกระจายเสียง (BSC-Broadcasting Standards Commission) ซึ่งสามารถตรวจสอบเนื้อหารายการในแง่ต่างๆ และต้องทำรายงานประจำปีเพื่อเสนอรัฐสภา สำนักงานผู้ตรวจการ (IG:Office of the Inspector General) เป็นผู้กำกับดูแลการทำงานของ CPB ในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาเงินทุน เนื้อหารายการ การดำเนินงานตาม พ.ร.บ.สื่อสาธารณะ NHK ได้ตั้ง “กรรมาธิการที่ปรึกษาเกี่ยวกับผู้ชม” (Audience Advisory Councils) ประกอบด้วยบุคคลจากสาขาอาชีพต่างๆ กระจายไปทุกจังหวัด เพื่อประเมินผลรายการและให้ข้อเสนอแนะ มีความรับผิดชอบต่อชาวแคนาดาทุกคน โดยต้องนำเสนอรายการประจำปีผ่านรัฐสภาและมี The Office of the Ombudsman เพื่อรับข้อร้องเรียนต่างๆ โดยขึ้นตรงกับประธานาธิบดี มีการว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อสำรวจความนิยมของสถานี และรับข้อร้องเรียนโดยตรง (ผ่านจดหมาย โทรศัพท์ อีเมล์) นอกจากนี้ยังมี Australian Nation Audit Office (AN
AO) เพื่อตรวจสอบการบริหารจัดการของสถานี รายงานตรงต่อรัฐสภา 8. แหล่งที่มาของเงินสนับสนุนในการดำเนินงานแต่ละปี

-รายรับภายในประเทศทั้งหมด 2,778.6 ล้านปอนด์
-จากค่าธรรมเนียมการรับ 91.8%
-อื่นๆ 9.2% รายรับทั้งหมด 534 ล้านเหรียญ
-จากการขายรายการ 40.5%
สมาชิก 28.7% CPB และรัฐบาล 14.6% ดำเนินธุรกิจ 8.2% ขายผลิตภัณฑ์ทางการศึกษา 8% รายรับทั้งหมด 668.7 พันล้านเยน
-จากค่าธรรมเนียม 97%
-อื่นๆ 3% รายรับทั้งหมด 1506 ล้านเหรียญ
-รัฐสภา 64.5%
-โฆษณา 21.2%
-อื่นๆ 14.3% รายรับทั้งหมด 859 ล้านเหรียญ
-จากรัฐบาล 82.7%
-จากการขายสินค้าและบริการ 12.1%
-อื่นๆ 5.2% 9.รายจ่ายของสถานี

รายจ่ายการผลิตภายในประเทศทั้งหมด 2,602.1 ล้านปอนด์
-ผลิตรายการและกระจายเสียง 55.9%
-อื่นๆ 0.5%

*ไม่รวมต้นทุนค่าบุคลากร 758 ล้านปอนด์ รายจ่ายทั้งหมด 520 ล้านเหรียญ
-จัดหารายการ 73%
-ให้สมาชิกและสนับสนุนรายการด้านการศึกษา 18%
-บริการทางเทคนิค 6%
-บริหารจัดการองค์กร 3% รายจ่ายทั้งหมด 660.35 พันล้านเยน
-ผลิตและกระจายเสียง 74.2%
-กระบวนการทำสัญญาและค่าธรรมเนียมต่างๆ 12.5%
-การบริหารจัดการ 4.8%
-อื่นๆ 8.5% รายจ่ายทั้งหมด 1,496 ล้านเหรียญ
-สถานีโทรทัศน์ภาษาอังกฤษ 37.4%
-สถานีโทรทัศน์ภาษาฝรั่งเศส 21.3%
-สถานีวิทยุรวม 18.2%
-การจัดจำหน่ายและบริษัทย่อยต่างๆ 5.3%
-อื่นๆ 17.8% รายจ่ายทั้งหมด 773.1 ล้านเหรียญ
-Supplier 40.3%
-ค่าจ้างพนักงาน 35.8%
-ผ่อนรายการ 13.8%
-อื่นๆ 10.1%
* จากงานวิจัยเรื่อง 'สื่อสาธารณะ' โดย ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ และ วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตุลาคม 2546