WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 6, 2008

ชัยชนะที่เพิ่งประกาศของพันธมิตรฯ

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

โดย ศรัทธา สารัตถะ
ที่มา : ประชาไท


กลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศยุติการชุมนุมยืดเยื้อทันที ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีผลให้รัฐบาลสมชายต้องมีอันพ้นสภาพไปพร้อมกัน การประกาศยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว สอดประสานรับลูกอย่างเหมาะเจาะกับการตัดสินยุบพรรคการเมือง นับเป็นปฏิบัติการทางการเมืองที่ไม่ธรรมดา เพราะการเดินเกมสอดรับกันอย่างแยบยลระหว่างการเมืองในระบบกับการเมืองนอกระบบ ส่งผลให้เกิดสุญญากาศทางอำนาจ และเกิดวิกฤติความชอบธรรมขึ้นโดยพลัน

ไฮไลต์ของกระแสทางการเมืองพุ่งสูงสุด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองพร้อมกันถึง 3 พรรค ตามด้วยการประกาศยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยึดสนามบินสองแห่งเอาไว้ จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเกือบจะกลายเป็นอัมพาตตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่การตัดสินคดียุบพรรคการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ ถูกตั้งข้อสังเกตจากนักการเมืองและสาธารณชนอย่างกว้างขวางว่า เป็นการตัดสินที่ค่อนข้างรวบรัดและรวดเร็วอย่างผิดปกติ นำไปสู่ความคลางแคลงใจเกี่ยวกับบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งในแง่ที่มาของอำนาจ ตัวผู้ใช้อำนาจ และวิธีการใช้อำนาจ

ท่ามกลางความสงสัยและไม่มีความพยายามใดๆ ที่จะให้คำอธิบายเกี่ยวกับเหตุผลเบื้องหลังการเร่งตัดสินคดีดังกล่าวแล้ว การตัดสินคดียุบพรรคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความขัดแย้งทางการเมืองกำลังเขม็งเกลียว ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกมการเมืองพลิกผันอย่างไม่น่าเชื่อ จึงเลี่ยงไม่พ้นคำถามที่ตามมาว่า ตุลาการภิวัตน์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการชิงความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมืองหรือไม่

ในขณะที่สาธารณชนยังไม่หายข้องใจกับบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ การประกาศยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ กลายเป็นข่าวที่มาเร็วเหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีท่าทีแม้แต่น้อยว่าจะยุติการชุมนุม เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนการประกาศยุติการชุมนุม แกนนำพันธมิตรฯ ยังประกาศว่าจะไม่ถอนกำลังออกจากสนามบิน รวมถึงมีการตระเตรียมความพร้อมเพื่อรักษาพื้นที่สนามบินดอนเมืองให้แน่นหนามากขึ้น เพราะเหตุนี้ จึงมีผู้ตั้งข้อสังเกตผ่านเว็บบอร์ดประชาไทว่า แม้แต่พันธมิตรฯ ก็ยังไม่รู้ตัวว่าต้องเลิกชุมนุมวันนี้ (http://www.prachatai.com/webboard/wbtopic.php?id=755680)

ดูเผินๆ ราวกับว่าการประกาศเลิกชุมนุมของพันธมิตรฯ เป็นสิ่งที่ไม่ได้จงใจหรือวางแผนไว้ล่วงหน้า หรือเป็นเพียงปฏิกิริยาตอบสนองในทางบวกต่อผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ พูดง่ายๆ ว่า เพราะพอใจผลการตัดสินของศาล จึงเลิกชุมนุม ตรรกะง่ายๆ นี้ฟังดูสมเหตุผล หากไม่พิจารณาข้ออ้างที่แกนนำยกมา ได้แก่ 1.ได้รับชัยชนะในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้เป็นผลสำเร็จ และ 2.ได้รับชัยชนะในการขับไล่รัฐบาลทรราชฆาตกรหุ่นเชิดเป็นผลสำเร็จ

หากพิจารณาเหตุผลที่ยกมาอ้างเพื่อเลิกชุมนุมกะทันหัน สาธารณชนคงไม่ปักใจเชื่ออย่างง่ายดายว่า พันธมิตรฯ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวอ้างมาแล้วจริงๆ เพราะหากพันธมิตรฯ มั่นใจในชัยชนะจริง ก็คงไม่จำเป็นต้องประกาศชัยชนะไป พร้อมกับตั้งเงื่อนไขข่มขู่ไปว่า จะกลับมาชุมนุมอีกครั้ง หากเงื่อนไขที่ตั้งเอาไว้ไม่เป็นไปดังต้องการ ประเด็นที่น่าสังเกตอยู่ที่ว่า แถลงการณ์ยุติการชุมนุม (ชั่วคราว) ของกลุ่มพันธมิตรฯ ครั้งล่าสุด คือเงื่อนงำสำคัญที่ชี้ให้สาธารณชนเห็นถึงสถานะที่แท้จริงของกลุ่มพันธมิตรฯ

ก่อนหน้านี้ไม่นานนัก สังคมเริ่มตั้งข้อสงสัยถึงเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะข้อเรียกร้องที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นข้อเรียกร้องไม่มีที่สิ้นสุด มาจนถึงข้อเรียกร้องเรื่องการเมืองใหม่ ซึ่งความหมายที่แท้จริงยังไม่มีความชัดเจน จนมาถึงวันที่กลุ่มพันธมิตรฯ เข้ายึดพื้นที่สนามบินทั้งสองแห่ง ทั้งๆ ที่กลุ่มพันธมิตรฯ เองรู้ดีว่าการยึดสนามบินย่อมสร้างความเดือดร้อนและความไม่พอใจให้กับคนทั้งในและต่างประเทศ แต่พันธมิตรฯ ก็ยังคงเลือกยุทธศาสตร์ปิดสนามบินเพื่อต่อรองทางอำนาจกับรัฐบาล ข้ออ้างที่ว่าต้องการชุมนุมที่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อต้อนรับนายกสมชายที่เดินทางกลับจากต่างประเทศฟังไม่ขึ้น เพราะแม้นายกสมชายประกาศว่าจะไม่เดินทางมาที่สุวรรณภูมิ พันธมิตรฯ ก็ยังคงยึดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองต่อไป การยึดสนามบินเป็นตัวประกัน สร้างความงุนงงสงสัยให้กับสาธารณชนวงกว้างว่า แท้จริงแล้วพันธมิตรฯ ต้องการอะไรกันแน่

แล้ววันที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดียุบพรรคการเมือง ก็กลายเป็นวันที่พันธมิตรฯ เฉลยสถานะแท้จริงของตนเอง เพราะหากไม่มีพันธมิตรฯ คอยประณามรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างหนักหน่วง และยึดสนามบินสร้างกระแสความปั่นป่วนตึงเครียดให้กับสังคมวงกว้าง การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญก็คงไม่มีน้ำหนักมากถึงเพียงนี้ หรืออาจถูกต่อต้านอย่างหนักจากมวลชนอีกฝ่ายหนึ่ง ในทางกลับกัน หากไม่มีตุลาการภิวัตน์เป็นบันได พันธมิตรฯ ก็คงหาทางลงให้กับปฏิบัติการยึดสนามบินที่ไร้ความชอบธรรมได้ยากขึ้นทุกที

เงื่อนไขที่กลุ่มพันธมิตรฯ ทิ้งท้ายเอาไว้ว่า “ขอให้หยุดยั้งอย่าให้มีนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณ ขอให้สะสางความผิดนักการเมืองในระบอบทักษิณ และขอให้ร่วมกับประชาชนสร้างการเมืองใหม่เพื่อปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง” ชี้ชัดว่าชัยชนะที่พันธมิตรฯ เพิ่งประกาศไปนั้น ยังไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด หากเป้าหมายสูงสุดยังไม่บรรลุผล พันธมิตรฯ ก็ยังคงไม่ยอมลงจากเวทีเป็นแน่

การเคลื่อนไหวทางการเมืองในฐานะกลุ่มกดดันนอกสภาที่ทำได้ทุกอย่างเพื่อชัยชนะ คอยส่งลูก รับลูก สอดประสานกับกลุ่มอื่นๆ ทำให้พันธมิตรฯ กลายเป็นกลุ่มกดดันทางการเมืองที่ทรงอิทธิพล ยากที่กลุ่มการเมืองในระบบจะแข่งขันได้ ปฏิบัติการยึดสนามบินที่ส่งผลให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองขึ้นสำเร็จในขณะนี้เป็นการปูทางให้กับการเปลี่ยนขั้วอำนาจในระบบ ภายใต้การกำกับของอำนาจนอกระบบ ซึ่งจะมีที่ทางและความชอบธรรมมากขึ้นซึ่งจะเข้ามากำหนดทิศทางการเมืองขั้นต่อไป

ชัยชนะที่เพิ่งประกาศของพันธมิตรฯ จึงไม่ใช่ชัยชนะของประชาชน!