WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 27, 2009

สำรวจพบนักท่องอินเตอร์เน็ตยี้การเมืองใหม่พธม. ขอเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง เทใจให้ทักษิณมาที่1

ที่มา Thai E-News

ที่มา ประชาทรรศน์
26 มกราคม 2552

สำรวจพบนักท่องอินเตอร์เน็ตอยากให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดยส่วนใหญ่มีความนิยมทักษิณสูงสุด แต่ก็ยี้การเมืองใหม่ของพันธมิตรมากที่สุด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ (25 ม.ค.) ที่สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล มีการจัดเสวนา หัวข้อ'การเมืองกับโลกออนไลน์' ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ที่สนใจในการนำอินเทอร์เน็ต และสื่อใหม่มาเป็นเครื่องมือในการช่วยผลักดันนโยบายจากภาคประชาชน การตรวจสอบนักการเมือง และพรรคการเมือง ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยอินเทอร์เน็ต อีกทั้งรูปแบบงานเป็นการเสวนากลุ่มย่อยระหว่างผู้สนใจโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เสวนา โดยมีหัวข้อนำเสนอด้วยกัน 4 หัวข้อ ดังนี้

1.เสรีภาพในการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ โดยเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network)
2.การสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทย โดย Siam Intelligence Unit)
3. เว็บไซต์ฐานข้อมูลนักการเมืองไทย โดย Thailand Political Bast และ Thaiswatch
4.การผลักดันนโยบายและไอเดียจากภาคประชาชนสำหรับกรุงเทพมหานคร โดยทีม IdeaBangkok

ทั้งนี้ในส่วนสุดท้ายเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรณรงค์ด้านการเมืองผ่านอินเทอรืเน็ต จากเยาวชนโดยเสรีภาพในการแสดงความเห็นบนโลกออนไลน์ นั้นเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องสื่อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 เรื่อง อาทิ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทาง Hi5 การตอบ-โพสต์ ในกระทู้ การแสดงความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งผ่านทางเว็บฯ ซึ่งทั้งหมดนี้เราไม่สามารถต่อสู้อะไรได้จากความจริงที่มีอยู่ แต่เราสามารถแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เราไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยในเรื่องนั้นๆได้ ทั้งนี้การแสดงความเห็นบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอินเทอรืเน็ตด้วย เช่น รัฐ ผู้ให้บริการ เว็บโฮส เว็บมาสเตอร์ ผู้ดูแลเว็บบอร์ด/บล็อกเกอร์ที่เปิดพื้นที่คอมเม้นท์ ประชาชนคนใช้เน็ต

อย่างไรก็ตามยังมีพลเมืองเน็ตที่ให้คุณค่ากับการเข้าถึงโดยเสรี เสรีภาพในการมีส่วนร่วม ความโปร่งใส พรสวรรค์และการคิดค้นนวัตกรรม ความเท่าเทียมทางสังคม การกระจายศูนย์อำนาจ ทั้งนี้เสรีภาพคือการมีส่วนร่วมในอำนาจ อีกทั้งแนวทางการใช้เน็ตไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย แต่คนที่เข้าไปเป็นสมาชิกเป็นความต้องการของแต่ละบุคคล แต่การโพสต์ข้อความหรืออัพโหลดรูปภาพต้องไม่ละเมิดสิทธิคนอื่น ซึ่งตรงนี้เราไม่สามารถบังคับบุคคลที่จะแสดงความคิดเห็นได้ แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณของผู้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต และโพสต์ข้อความ

ด้านการสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้น นายกานต์ ยืนยง กล่าวว่า เป็นการทำการสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติทางการเมืองของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งการสำรวจทางอินเทอร์เน็ตในการเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พบคนเน็ตยังเลือกพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นอันดับหนึ่ง โดยเลือกจำนวน 1,281 คน จากผลสำรวจทั้งหมด 4,279 คน หรือคิดเป็น 31% สำหรับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรับมนตรีตามมาเป็นลำดับที่ 2 ที่ 636 คน หรือ 15 % ส่วนลำดับที่ 3 เป็นนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรับมนตรีที่ 299 คน หรือ 7%

ทั้งนี้ยังมีการสำรวจในเรื่องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับแนวคิด “การเมืองใหม่” ของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งมีบุคคลที่ไม่เห็นด้วยสูงถึง 56% และเห็นด้วยเพียง 15% แต่เห็นด้วยกับการเลือกนายกรัฐมนตรีทางตรงถึง 56% ขณะที่มีผู้ไม่เห็นด้วยเพียง 23% เท่านั้น

ซึ่งผลสำรวจนี้กระทำผ่านแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 4,279 คน ผ่านเว็บไซต์ขนาดใหญ่ เช่น twitter blognone kapok.com และประชาไท ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ทั้งนี้แบบสำรวจ “ทัศนคติการเมืองของผู้ใช้อินเทอรืเน็ต” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ challenge Thailand 2010 ที่มีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำทางการเมือง นักวิชาการ ที่มีอิทธิพลกับนโยบายสาธารณะ เพื่อคาดการณ์สถานการณ์ประเทศไทยในอนาคตและหาทางออกที่เป็นไปได้กับความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านรายการทีวีออนไลน์ชื่อ Practical Utopia โดยติดตามชมได้ที่เว็บไซต์ www.siamintelligence.com

ส่วนเว็บไซต์ฐานข้อมูลนักการเมืองไทย โดย Thailand Political Bast และ Thaiswatch กล่าวว่า คือรูปแบบเป็นการเปิดโอกาสให้เข้ามาแชร์ข้อมูลเรื่องของนักการเมืองแต่ละพรรคการเมือง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้ามาค้นหาข้อมูลเพื่อทำรายงานหรือทำงานวิจัยต่างๆเกี่ยวกับนักการเมือง ซึ่งทางเว็บมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาโพสต์ในเว็บฯ ว่าข้อมูลนักการเมืองแต่ละคนนั้นเป็นใครมาจากไหน

ทั้งนี้หากใครจะทำวิจัยสามารถเข้ามาดูในเว็บ ThaiWatch.com ได้ เพราะจะมีการนำเสนอข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจ เช่น มีร้านอาหารร้านใดบ้างที่นักการเมืองแต่ละคนใช้เป็นการนัดแนะพูดคุยกับเพื่อนหรือใช้เป็นที่ประชุมหารือของพรรค รวมทั้งมีรายชื่อกลุ่มคนข้ามชาติด้วย โดยเว็บนี้คนสามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลที่ตนอ่านแล้วไม่เข้าใจได้ด้วย เพราะเว็บเป็บแบบวิกิมิเดียแบบเปิด

ขณะที่การผลักดันนโยบายและไอเดียจากภาคประชาชนสำหรับกรุงเทพมหานคร โดยทีม IdeaBangkok กล่าวว่า เป็นการผลักดันโยบายและไอเดียของภาคประชาชนมาบริหารเพื่อให้กรุงเทพมหานครมีความเจริญก้าวหน้า และสามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ตอย่างมีความสุข เป็นการนำไอเดียจากภาคประชาชนมาปรับปรุงการทำงานของนักการเมืองและเว็บไซต์ที่มีการโพสต์ข้อความ