WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 30, 2010

เบื้องหลังโยกย้ายผู้ว่าฯ ภท.กรุยทางยึดเก้าอี้ส.ส.

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




การแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าฯ 48 จังหวัด แบ่งเป็นตั้งรองผู้ว่าฯ ขึ้นแทน 21 เก้าอี้ที่ว่าง และโยกย้ายอีก 27 ตำแหน่ง

แม้ ตอบโจทย์ 3 ข้อ คือ ระบบอาวุโส ประสิทธิภาพการบริหารงาน และลงโทษผู้ว่าฯ ที่ไม่สามารถแก้ปัญหากลุ่มเสื้อแดงได้ แต่ที่ชัดเจนสุดคือการจัดทัพเตรียมการเลือกตั้ง

เมื่อเชื่อมโยง ไปถึงสิ่งที่ครูใหญ่-นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย พูดกับส.ส.ในที่ประชุมพรรค ย้ำถึงความลำบาก สาหัสสากรรจ์ในการเสนอชื่อเข้าครม.

พร้อมระบุจะฝากใครขอให้ฝากเพื่อมาช่วยงานในพื้นที่ตัวเอง ห้ามฝากเด็กนอกพื้นที่เด็ดขาด

ภาพก็เริ่มชัดขึ้น

ที่ ผ่านมาแม้พรรคภูมิใจไทยมีเรื่องงัดข้อกับประชาธิปัตย์ แต่การแต่งตั้งครั้งนี้ยังคงเป็นลักษณะการแบ่งเมืองกันปกครองระหว่างพรรค ร่วมรัฐบาล

กล่าวคือภูมิใจไทยดูแลพื้นที่อีสาน ส่วนภาคกลางเป็นการประสานประโยชน์ร่วมกันกับพรรคชาติไทยพัฒนา ภาคใต้เป็นอำนาจพรรคประชาธิปัตย์ ภาคตะวันออกเป็นรายการ 'คุณขอมา' จากพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน

ขณะที่ภาคเหนือ เป็นการผสมผสานระหว่างเรื่องความมั่นคงและตอบสนองข้อเรียกร้องของการเมือง

เช่น การดัน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าฯ นครปฐม ทายาทวังวรดิศที่ได้ชื่อว่าเป็น 'บลูบลัด' ขึ้นเป็นผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ถิ่นคนเสื้อแดง

หรือการดัน นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าฯ พิจิตร เป็นผู้ว่าฯ เชียงราย ตามคำขอของคนตระกูล 'จงสุทธนามณี'

ตลอด จนการให้นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร จากรองผู้ว่าฯ พิจิตร ขึ้นเป็นผู้ว่าฯ พิจิตร ก็ปฏิเสธถึงความแนบแน่นกับพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประ ธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ไม่ได้เช่นกัน

สำหรับภาคอีสานปรับโยกย้ายถึง 14 จังหวัด ใน 19 จังหวัด

โดย 5 จังหวัดที่ไม่ปรับย้าย คือ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ เลย มหาสารคาม ยโสธร ล้วนเป็นพื้นที่ที่วางฐานเสียงไว้เรียบร้อย และไม่มีปัญหาต้องปรับหรือขยับขยายอะไร

ใน 14 จังหวัดมีเหตุผลแตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมเพื่อกระชับพื้นที่อีสานของพรรคภูมิใจไทยให้เข้มข้นมากขึ้น

เช่น จ.นครราชสีมา โยกเอา นายระพี ผ่องบุพกิจ เติบโตจากพื้นที่อีสานใต้ ไล่ตั้งแต่ จ.ศรีสะเกษ และสุรินทร์ เลื่อนไปคุมพื้นที่โคราชที่มีส.ส.อันดับ 2 ของประเทศรองจากกทม.

เพื่อช่วยเหลือพลพรรคของกลุ่ม นายบุญจง วงศ์ไตร รัตน์ รมช.มหาดไทย พร้อมบดขยี้กลุ่มอื่นโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยให้สูญพันธุ์

นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ โยกจากผู้ว่าฯ สกลนคร เป็นผู้ว่าฯ ขอนแก่น เพราะแม้มีสายสัมพันธ์ชั้นดีในพื้นที่สกลนครและอุดรธานี

แต่ ต้องลงมาช่วยนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ และนายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น ต่อสู้กับกลุ่มอำนาจของนายเสริมศักดิ์-นางระเบียบรัตน์ พงษ์ พานิช สองสามีภรรยา อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตส.ว. ขอนแก่น ในสายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถือว่าเป็นเจ้าถิ่นอยู่

การ ตั้ง นายจรินทร์ จักกะพาก ไปเป็นผู้ว่าฯ ชัยภูมิ ตามคำขอของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น รวมทั้ง นายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ จากรองผู้ว่าฯ อุดรธานี ไปเป็นผู้ว่าฯ หนองคาย

เพื่อรับการลง พื้นที่ของ นางแว่นฟ้า ทองศรี ภรรยานายทรงศักดิ์ ทองศรี สมาชิกบ้านเลขที่ 109 ที่ว่ากันว่าอยู่เบื้องหลังการแยก 'บึงกาฬ' ออกเป็นจังหวัดที่ 77 และพร้อมดันภริยาลงปักธงผู้แทนในพื้นที่นี้

หรือกระทั่งการดัน นายเสริม ไชยณรงค์ รองผู้ว่าฯ ไม่ถึง 2 ปี แต่ส่งประกวดจาก จ.บุรีรัมย์ ไปรักษาพื้นที่ จ.สุรินทร์ ถิ่นอีสานใต้อันเป็นที่หมายปองของชาวภูมิใจไทย

มีเพียงจังหวัดเดียวในอีสานที่กลายเป็นโควตาของประชาธิปัตย์

คือ การดัน นายสุรพล สายพันธ์ รองผู้ว่าฯ อุบลราชธานี เป็นพ่อเมืองเต็มตัว รวมทั้งส่ง นายชวน ศิรินันท์พร จากผู้ว่าฯ อุบลราชธานี ไปเป็นผู้ว่าฯ แพร่ ให้พ้นจากพื้นที่อีสาน

เพื่อสกัดกลุ่มของ นายสุพล ฟองงาม ว่าที่เลขาธิ การพรรคเพื่อไทย และนำส.ส.ประชาธิปัตย์ใน จ.อุบลราชธานี เข้าสภาให้มากที่สุด

ไล่ ดูพื้นที่ภาคกลาง ยังคงชัดเจนอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี ของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ร้องขอให้ นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ต้องนั่งผู้ว่าฯ สุพรรณบุรี ต่อไปแม้จะอยู่ครบวาระ 4 ปีแล้วก็ตาม

รวมทั้งส่ง นายวันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ จากรองผู้ว่าฯ สุพรรณบุรี ไปเป็นผู้ว่าฯ อุทัยธานี พื้นที่พรรคชาติไทยพัฒนาเช่นกัน

ใน ส่วนของภูมิใจไทย หลังเปิดเกมดูดส.ส.ภาคกลางเพราะคิดว่าง่ายกว่าเจาะพื้นที่อีสาน ต้องจับตามอง นาย สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ขึ้นจากรองผู้ว่าฯนครนายก มานั่งผู้ว่าฯ นครนายก

มีข่าวว่าแนบแน่นกับ นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร หนึ่งในส.ส.กบฏเพื่อไทย จนเป็นเงื่อนไขย้ายมาอยู่ภูมิใจไทยว่า

ผู้ว่าฯ ต้องชื่อ 'สุทธิพงษ์' เท่านั้น

หรือ แม้แต่ในจังหวัดที่ไม่ได้เปลี่ยนผู้ว่าฯ อย่างนนทบุรี ที่มี นายวิเชียร พุฒิวิญญู ขึ้นจากรองผู้ว่าฯ นั่งอยู่ ก็มีข่าวสัญญาใจดูแลพื้นที่ให้กับ นางพิมพา จันทรประสงค์ เจ้าแม่เมืองนนท์ของพรรคภูมิใจไทยเช่นกัน

รวม ทั้ง จ.สมุทรปราการ ที่ให้ นายเชิดศักดิ์ ชูศรี มานั่งเป็นผู้ว่าฯ เพื่อดูแลกลุ่มงูเห่าจากเพื่อไทยที่เพิ่งย้ายมา พร้อมรองรับยุทธการ 'ดูด' อีกระลอก

ภาคตะวันออก เป็นการผสมผสานระหว่างเสียงร้องขอของพรรคประชาธิปัตย์ และการวางตัวของภูมิใจไทยเอง

เช่น นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ถูกขอมาเป็นพ่อเมืองระยอง รวมทั้งนายวิชิต ชาติไพสิฐ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง สนง.ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็น ผู้ว่าฯ ชลบุรี ถูกร้องขอมาจากประชาธิปัตย์เช่นกัน

ด้วยความแนบแน่นกับ นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นทุนเดิม ทำให้ภูมิใจไทยไม่มีปัญหาอะไรมากมาย

แต่ พื้นที่ที่ภูมิใจไทยส่งมาเองก็มี เช่น จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่ของกลุ่มบ้านริมน้ำ ส่งตรง นายกิตติ ทรัพย์วิสุทธิ์ รองผู้ว่าฯ ราชบุรี แนบแน่นกับนายสรอรรถ กลิ่นประทุม มาดูแลพื้นที่ให้

ภาค ใต้ยังคงเป็นสิทธิ์ขาดของประชาธิปัตย์ส่งชื่อมาคุมพื้นที่ ทั้ง จ.ภูเก็ต สตูล พังงา สุราษฎร์ธานี แต่ยังผสมปนเปกับเสียงร้องขอของฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ทั้งหมดนี้คือการรุกคืบของฝ่ายการเมืองเข้ามาในกระทรวงมหาดไทย

ถึงขนาด นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ยังออกปากว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ตัดตอนระบบอาวุโส

พร้อม ถามหาความชอบธรรมกรณี นายปรีชา บุตรศรี ผู้ว่าฯ ปทุมธานี โดนเด้งไปเป็นผู้ตรวจราชการ ทั้งที่ดูแลรับมือม็อบเสื้อแดงอย่างดี ไม่ปล่อยให้เผาศาลากลางเหมือนบางจังหวัด

แม้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย จากพรรคภูมิใจไทย ยืนยันความถูกต้องชอบธรรมโดยอ้าง มติครม. ที่อนุมัติเห็นชอบ

แต่ การรุกของฝ่ายการเมืองยังไม่หยุดแค่นี้ ต้องจับตาการแต่งตั้งโยกย้ายในระดับรองๆ ลงไป โดยเฉพาะตำแหน่งนายอำเภอทั่วประเทศที่ถือว่าใกล้ชิดประชาชน เชื่อมโยงกับกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านที่เป็นฐานเสียงในพื้นที่มากที่สุด

รองรับศึกเลือกตั้งที่บู๊กันดุเดือดแน่นอน