WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 2, 2010

เปิดปกขาว'สังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ'

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ รายงานพิเศษ



สํานักกฎหมาย อัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ซึ่งรับว่าจ้างเป็นทนายความให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ออกสมุดปกขาว การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ : ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบ ภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ
ที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม ความหนา 1,857 หน้า 9 หมวด

มีเนื้อหาโดยสรุป ดังนี้

บทนำ ระบุวัตถุประสงค์การทำหนังสือ

1.เพื่อเน้นถึงพันธกรณีของประเทศไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights- ICCPR)
ที่ต้องสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดง

ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาในการก่ออาชญากรรมการสังหารพลเรือนกว่า 80 ราย
ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.

ที่ข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนมีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยการใช้กองกำลังทหารอย่างเกินความจำเป็น
มีการกักขังอย่างพลการโดยต่อเนื่องเป็นเวลานาน การทำให้ประชาชนบางส่วนหายสาบสูญ และยังมีการไล่ล่า
ประหัตประหารทางการเมือง

มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงด้วย
หน่วยงานที่เป็นกลาง และเป็นอิสระ เพื่อให้มีการรับผิดชอบตามกฎหมายระหว่างประเทศ

2.หลังการรัฐประหารระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลที่มีทหารหนุนหลัง
พยายามผนึกอำนาจของตน โดย การกดขี่ ปราบปรามการคัดค้านทาง การเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง

มาตรการประการหนึ่งคือ การปราบปรามการเคลื่อนไหวโดยการประทุษร้ายประชาชนที่ไร้อาวุธอย่างเป็นระบบ
และกว้างขวาง อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรม นูญกรุงโรม
ซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก

การกระทำผิดต่อคนเสื้อแดงอย่างร้ายแรงอาจเป็นเหตุเพียงพอให้ได้รับการพิจารณา
ให้เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้

3.เพื่อยืนยันถึงสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศของสมาชิกนปช. หลายร้อยคนที่กำลังเผชิญข้อกล่าวหาทางอาญา
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง รับรองสิทธิในการต่อสู้อย่างยุติธรรม
สิทธิที่จะเลือกทนายสิทธิในการเตรียมการต่อสู้โดยมีเวลาและเครื่องไม้เครื่องมือ สิทธิในการเข้าถึงหลักฐานอย่างเท่าเทียม



หมวดที่ 2-5 เป็นการเล่าถึงประวัติการปกครองของไทย การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย จนถึงการขึ้นดำรง
ตำแหน่งของนายอภิสิทธิ์
ที่ระบุเป็นการผลักดันจากฝ่ายอำมาตย์และทหาร อันเป็นการฟื้นคืนชีพของระบอบอำมาตยาธิปไตย

หมวด 6 ฤดูร้อนอำมหิตของประเทศไทย : การสังหารหมู่คนเสื้อแดง

เป็นการเล่าถึงเหตุการณ์ชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือน มี.ค.2553 กระทั่งวันที่ 19 พ.ค. ที่มีการสลายการชุมนุม
โดยระบุ หลังการลอบสังหารเสธ.แดง มีการสังหารหมู่เกิดขึ้นทางทิศเหนือและใต้ของพื้นที่การชุมนุมที่ราชประสงค์
ในพื้นที่ดินแดง และสวนลุมพินี

ทหารประกาศให้พื้นที่บางแห่ง เช่น ซอยรางน้ำ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ และถนนพระราม 4 ซึ่งอยู่ทิศใต้ เป็นเขตใช้กระสุนจริง
และอนุญาตให้ยิงผู้ชุมนุมทุกคนที่พบ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอาวุธ ตามที่มีการบันทึกปากคำผู้เห็นเหตุการณ์ไว้อย่างละเอียด

เช่น บันทึกของ นิก นอสติตซ์ ช่างภาพนักข่าว แห่งเว็บไซต์ New Mandala ระบุผู้สัญจรไปมาจำนวนมากได้รับบาดเจ็บ
หรือถูกทหารยิงเสียชีวิต หนึ่งในนั้นเป็นเด็กอายุ 10 ขวบ ถูกยิงที่ท้องใกล้สถานีแอร์พอร์ตลิงก์ มักกะสัน เสียชีวิต
ที่โรงพยาบาล ผู้สื่อข่าวก็ตกเป็นเป้าด้วย

พยานผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งที่อยู่หลังแนวทหารที่ถนนพระราม 4 ได้ยินทหารถามผู้บังคับบัญชาว่า
"ยิงชาวต่างชาติกับนักข่าวได้ไหม"

ที่น่าละอายที่สุดคือการปิด "พื้นที่สีแดง" ไม่ให้อาสาสมัครหน่วยแพทย์พยาบาลฉุกเฉินเข้าไปในพื้นที่
ระดมยิงหน่วยอาสาฯ ขณะช่วยเหลือผู้ชุมนุม

และหลังการสลายการชุมนุมหลายชั่วโมง มีประชาชน 6 ราย เสียชีวิตจากการโจมตีที่วัดปทุมวนาราม
ซึ่งเป็นเขตหลบภัย

ผู้สื่อข่าวต่างชาติคนหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บอยู่บริเวณวัด เห็นทหารสไนเปอร์ยิงลงมาจากบนรางรถไฟฟ้า
เข้าใส่กลุ่มพลเรือนที่ถูกยิงเสียชีวิต ซึ่งมีพยาบาลอาสาในเครื่องแบบอยู่คนหนึ่งด้วย

ปกขาว ระบุการปฏิบัติการในเดือนเม.ย.-พ.ค. รัฐบาลอภิสิทธิ์ และกองทัพไทย ควบคุมฝูงชน
โดยขัดหลักมาตรฐานสากล ในทุกกรณี

หมวดที่ 7 ฤดูกาลใหม่ของการปกครองโดยทหาร ระบุ กองทัพกลับมามีอำนาจควบคุมประเทศอีกครั้ง
ซึ่งต่างจากช่วงหลังรัฐประหารปี 2549 คราวนี้ทหารปกครองโดยอำพรางใต้กฎหมาย
ใช้กฎหมายกดทับสิทธิเสรีภาพที่ทำให้เผด็จการทหารใหม่อยู่เหนือการตรวจสอบ

มีการใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ซึ่งเป็นการละเมิด ICCPR มาตรา 4 การระงับสิทธิจะทำได้เท่าที่จำเป็น
เร่งด่วนของสถานการณ์เท่านั้น รวมถึงการควบคุมข้อมูลข่าวสาร ที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ

ขณะที่ ศอฉ.เพิ่มมาตรการยับยั้งการเผยแพร่ข้อเท็จจริงและข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นคุณต่อรัฐบาล
ด้วยการออกข้อกำหนดภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปิดกั้นเว็บไซต์มากมาย

เวลาเดียวกัน รัฐบาลปิดพีทีวี นิตยสารอีก 5 ฉบับ และสถานีวิทยุชุมชนจำนวนมากซึ่งดำเนินการโดยคนเสื้อแดง

ข้อกล่าวหาเสื้อแดงว่ามีวัตถุประสงค์ในการสร้าง "รัฐไทยใหม่" และถูกขยับขยายให้หนักหน่วงขึ้นด้วย
การปรากฏของผู้ที่เรียกว่า "ผู้ก่อการร้าย" ในหมู่คนเสื้อแดง แต่แทบไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงนปช. และแกนนำ
หลักเข้าไปยุ่งกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่ถูกกล่าวหา

ประการแรก รัฐบาลล้มเหลวในการแสดงข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่จะโยงแกนนำคนเสื้อแดงเข้ากับเหตุระเบิดหลายสิบครั้ง

ประการที่สอง "ชายชุดดำ" ซึ่งดูเหมือนจะเป็นผู้สังหารเจ้าหน้าที่ทหารระหว่างการปะทะเมื่อ 10 เม.ย. ไม่เคยมีการระบุ
ตัวตนว่าเป็นใคร
นักรบกลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารที่ถูกฝึกมาอย่างดี ไม่ว่าจะยังประจำการหรือปลดประจำการแล้วก็ตาม

ประการที่สาม รัฐบาลโทษว่าเป็นฝีมือนปช. โดยทันทีหลังมีการโจมตีด้วยระเบิดเอ็ม 79 ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
สถานีศาลาแดง เมื่อ 22 เม.ย. ประจักษ์พยานซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมฝั่งสนับสนุนรัฐบาลอ้างระเบิดมาจากตึกแห่งหนึ่ง
ซึ่งขัดกับข้อสรุปของศอฉ. ที่ว่าถูกยิงมาจากพื้นที่ชุมนุมของคนเสื้อแดง

ประการที่สี่ รัฐบาลเตือนประชาชนหลายครั้งว่า กลุ่มคนเสื้อแดงมีอาวุธร้ายแรง มีคลังอาวุธขนาดใหญ่
ต่อมาศอฉ.จัดแสดงอาวุธอ้างถูกพบที่ราชประสงค์หลังเคลียร์พื้นที่
ซึ่งน้อยนิดกว่าที่คาดเมื่อเทียบตัวเลขความสูญเสียที่ไม่ได้ดุลกันเลยระหว่าง 2 ฝ่าย

จะเห็นว่ากลุ่มติดอาวุธร้ายแรงในหมู่เสื้อแดงมีเล็กน้อยมาก ขณะที่มีรายงานข่าวมากมายว่า
คนเสื้อแดงตอบโต้ทหารด้วยอาวุธที่ทำขึ้นเอง หรืออาวุธโบราณ

รัฐบาลยืนยันเหตุเพลิงไหม้ทั่วกรุง 39 แห่ง วันที่ 19 พ.ค. มีการวางแผนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ
แต่ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่ามีการสมรู้ร่วมคิดได้ เพราะแกนนำส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวแล้วในช่วงที่มีการวางพลิง

คำถามสำคัญเป็นเรื่องเวลาที่เกิดเหตุเพลิงไหม้เซ็นทรัลเวิลด์
และความรวดเร็วในการเข้าไปยังพื้นที่เกิดเหตุของทหาร และการดับไฟของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

อย่างแย่ที่สุดคือมีหลักฐานบ่งชี้ว่าเพลิงนี้ถูกจุดด้วยความคับแค้นของผู้สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดง
แต่การทำลายอาคารพาณิชย์ที่มีประกันไว้แล้วก็ยังฟังไม่ขึ้น

8.ข้อเรียกร้องหาการรับผิดชอบ ระบุ ไทยมีพันธกรณีหลายระดับ
ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องนำผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
ต้องสืบสวนและดำเนินคดีในทุกกรณีที่มีเหตุเชื่อว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงเกิดขึ้น

เช่น การสังหารพลเรือนอย่างรวบรัดตัดตอน หรือโดยพลการ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

การสืบสวนต้องเป็นธรรม ครบถ้วน และดำเนินการโดยคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลางอย่างแท้จริง

การปกปิดของรัฐบาลเท่ากับเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
และความล้มเหลวของรัฐภาคีในการนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก็เป็นการละเมิดสนธิสัญญาด้วย

นอกจากการละเมิด ICCPR และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศแล้ว
การสังหารอย่างกว้างขวางและเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงในกรุงเทพฯ ในช่วงเม.ย.-พ.ค.2553

และการไล่ล่าประหัตประหารทางการเมืองต่อคนเสื้อแดง ชัดเจนเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมฯ