ที่มา ข่าวสด
การคลี่คลายปัญหาวิกฤตชาติบ้านเมืองของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
เป็นเรื่อง "มิบังควร" เป็นเรื่อง "ดึงฟ้าให้ต่ำ"
แล้วเราจะมีความเห็นอย่างไรต่อการเคลื่อนไหวเพื่อ "ถวายคืนพระราชอำนาจ" เพื่อนำไปสู่ "การพระราชทานนายกรัฐมนตรี" ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 ต่อเนื่องถึงเดือนกันยายน 2548 และคึกคักเป็นอย่างมากในเดือนมกราคม 2549
กระทั่ง มีการเสนอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตชาติบ้านเมือง
คงจำกันได้ว่า ปัญญาชน นักวิชาการจำนวนมากต่างออกมาเคลื่อน ไหวเรื่องมาตรา 7
แม้กระทั่งองค์กรอิสระอย่าง สภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาทนายความ ก็ร่วมออกแถลงการณ์แสดงความเห็นด้วยในเรื่องนี้
คงจำกันได้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เห็นด้วยกับแนวทางในเรื่องมาตรา 7
ขอถาม นายถาวร เสนเนียม ขอถาม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ หากกรณีของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นเรื่องมิบังควร เป็นเรื่องดึงฟ้าให้ต่ำ
แล้วจะประเมินกรณีมาตรา 7 ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าเป็นอะไร
ผู้คนที่ออกมาประณามหยามหมิ่นข้อเสนอของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ คงจะลืมรายละเอียดของสถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516 ไปแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีกระแสรับสั่งกับประชาชนทางโทรทัศน์ว่า
วันนี้เป็นวันมหาวิปโยคในประวัติศาสตร์ของประชาชนชาวไทยตลอดระยะเวลา 7-8 วันที่ผ่านมาได้มีการเรียกร้องและเจรจากัน จนกระทั่งนักศึกษาและรัฐบาลทำความตกลงกันได้
แต่แล้วการขว้างระเบิดขวดและยิงแก๊สน้ำตาทำให้เกิดการปะทะกันและมีคนได้รับบาดเจ็บหลายคน
ความรุนแรงได้ทวีขึ้นทั่วพระนครถึงขั้นจลาจลและยังไม่สิ้นสุด มีคนไทยด้วยกันต้องเสียชีวิตนับร้อย
ขอให้ทุกฝ่ายพึงระงับเหตุแห่งความรุนแรงด้วยการตั้งสติยับยั้งเพื่อให้ชาติบ้านเมืองคืนสู่สภาพปกติเร็วที่สุด
อนึ่ง เพื่อขจัดเหตุร้ายนั้น จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ลาออกจาก ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อค่ำวันนี้ ข้าพเจ้าจึงแต่งตั้งให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายร่วมกันสนับสนุนเพื่อคณะรัฐบาลใหม่สามารถบริหารงานแผ่นดินได้โดยมีประสิทธิภาพเต็มเปี่ยม และแก้ไขสถานการณ์ให้คืนสู่สภาพเรียบร้อยได้โดยเร็ว ยังความสุขความเจริญรุ่งเรืองให้บังเกิดแก่ประเทศและประชาชาวไทยโดยทั่วกัน
เป็นกระแสรับสั่งในตอนดึกของคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2516
ไม่เพียงแต่สถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516 เท่านั้น หากแม้กระทั่งสถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 ก็น่าศึกษา
นั่นเป็นเรื่องระหว่าง 1 พล.อ. กับ 1 พล.ต.
ภายหลังสถานการณ์นองเลือดเกิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเรียก พล.อ.สุจินดา คราประยูร กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ
จากนั้น สถานการณ์อันเป็นปัญหาและความขัดแย้งก็ยุติลง
จากนั้น รัฐสภาก็นำชื่อ นายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงทรงพระปรมาภิไธย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐ มนตรี
นั่นเป็นบทเรียนจากเมื่อปี 2516 และจากเมื่อปี 2535
เพื่อไทย

เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ
Wednesday, April 21, 2010
บทเรียน จากอดีต อดีต เดือนตุลาคม 2516 พฤษภาคม 2535
หากการกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อนำไปสู่