WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 8, 2010

ยึดทรัพย์ 4.9 หมื่นล้าน"ทักษิณ" สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ จ้างนักกฎหมายระดับโลกสู้ต่อ

ที่มา ประชาชาติ

ยึดทรัพย์ 4.9 หมื่นล้าน"ทักษิณ" สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ จ้างนักกฎหมายระดับโลกสู้ต่อ

ยึดทรัพย์ อดีตนายกฯ ทักษิณ สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ 4.9 หมื่นล้าน เผยอุทธรณ์ไม่มีปาฎิหารย์ ล่าสุด จ้าง สำนักงานกฎหมายระดับโลก อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ สู้ถึงสุดขอบโลกประชาชาติธุรกิจ ตรวจสอบ คดียึดทรัพย์นักการเมืองในอดีต สำเร็จเพียงไม่กี่ราย นอกนั้นหลุดหมด

30 เมษายน 2553 ธนาคารทั้ง 6 แห่ง ได้โอนเงินฝากธนาคารตามคำพิพากษา
ในคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 เรียบร้อยแล้ว
เงินที่อยู่ใน 6 แบงก์ ประกอบด้วย ...
1.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 39,888,486,233.18 บาท
2.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จำนวน 8,586,316,008.22 บาท
3.ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) จำนวน 508,993,038.65 บาท
4.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 21,002,578.67 บาท
5.ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 10,441,003.88 บาท
6.ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,060,304.60 บาท
เบ็ดเสร็จ แล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 49,016,281,167.20 บาท
แบ่งเป็นเงินต้นจำนวน 46,210,549,396.96 บาท ดอกเบี้ยจำนวน 2,805,731,770.24 บาท
ทว่า จำนวนเงินต้นนั้น ยังไม่ครบตามคำพิพากษาฯ ขาดอีกจำนวน 163,138,057.74 บาท
ในส่วนที่ยังขาด อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี
และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายหน่วยลงทุนตามคำพิพากษา ให้ได้เงินครบจำนวน163,138,057.74 บาท
ล่าสุด วันที่ 3 พ.ค. ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มีมติเลือกองค์คณะพิจารณาอุทธรณ์ 5 คน คือ
นายพีรพล พิชยวัฒน์ รองประธานศาลฎีกา
นายสมศักดิ์ จันทรา ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา
นายมานัส เหลืองประเสริฐ ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา
นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา และ
นายฐานันท์ วรรณโกวิท ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา

องค์คณะทั้ง 5 จะพิจารณาว่า อุทธรณ์มีหลักฐานใหม่หรือไม่ ก่อนทำความเห็นเสนอศาลฎีกา !!!
แต่วงใน ต่างฟันธงว่า ไม่มีปาฎิหารย์ !!!

จริงๆ แล้ว การถูกยึดทรัพย์ 4.9 หมื่นล้าน เป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คาดหมายได้..
แต่ถามว่า ทักษิณ จะยอมจำนนแต่โดยดีหรือไม่ คำตอบคือ... ไม่

ล่าสุด "ทักษิณ"ตั้งบริษัทที่ปรึกษากฎหมายระดับโลก สู้คดีการเมืองในไทย
บริษัทระดับโลกที่ว่า คือ อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ (Amsterdam & Peroff) ที่ออกมาแถลงว่า บริษัทได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเพื่อช่วยในเรื่องการฟื้นฟูประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมในประเทศ

อัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ เป็นบริษัทที่ปรึกษากฎหมายระดับสากล
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2523 โดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม และ ดีน พีรอฟฟ์ บริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านการฟ้องร้องดำเนินคดีที่ซับซ้อน อนุญาโตตุลาการพาณิชย์ และคดีความทางการเมืองในตลาดเกิดใหม่ที่มีความท้าทาย
บริษัทมีสำนักงานในลอนดอน วอชิงตัน ดีซี และโทรอนโต
การต่อสู้คดีในศาลฎีกาฯ อดีตนายกฯและคุณหญิงพจมาน
เลือกใช้บริการทีมทนายความที่ถือว่า เก๋าส์ ในวงการ
จาก 7.6 หมื่นล้าน ก็ถูกยึดเพียง 4.9 หมื่นล้าน !!!!

ถ้าจะต้อง ทุ่มเงิน สู้อีกสักยก มีหรือ ทักษิณและคุณหญิงพจมาน จะไม่ดำเนินการ
เมื่อย้อนไปดูประวัติศาสตร์ การยึดทรัพย์ นักการเมือง ในอดีต
ต้องยอมรับว่า เงินที่เข้าคลัง 4.9 หมื่นล้าน มากที่สุดแล้ว
ในอดีตที่ผ่านมา มีนักการเมืองถูกยึดทรัพย์ไปแล้วหลายราย การยึดทรัพย์นักการเมืองทุกครั้งมีสาเหตุมาจากการที่นักการเมืองทุจริตคอรัปชั่น
การยึดทรัพย์นักการเมืองครั้งแรกเกิดขึ้นกับ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ฯ
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ในระหว่างดำรงตำแหน่งได้แสดงบทบาทเป็นอย่างสูงด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 สั่งประหารชีวิตและจำคุกผู้คนจำนวนหนึ่ง
หลังจากที่ถึงแก่อสัญกรรมไปไม่กี่เดือน บุตรชายของจอมพลสฤษดิ์ ฯ ที่เกิดจากภรรยาเก่าและพวกก็ได้ฟ้องขอให้ศาลแบ่งมรดกจำนวน 287 ล้านบาทเศษ ซึ่งก็ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากว่า จอมพลสฤษดิ์ ฯ นั้นร่ำรวยมาจากไหน!!!

นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ จอมพลถนอม กิตติขจร
จึงได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยมีพระมนูเวทย์วิมลนาท เป็นประธาน คณะกรรมการชุดดังกล่าวทำงานอยู่ 5 เดือน จึงได้รายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ฯ
ต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีก็ได้ออกคำสั่งตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญ
ปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 ยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ฯ 2 ครั้ง รวม 600 ล้านบาทเศษ
เมื่อท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ภริยาจอมพลสฤษดิ์ ฯ
ได้ยื่นฟ้องคัดค้านการยึดทรัพย์ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2508
แต่พอถึงที่สุด ศาลได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2510 จำหน่ายคดีดังกล่าว

การยึดทรัพย์นักการเมืองครั้งต่อมา คือ
การยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร และเครือญาติ ในปี พ.ศ. 2516 เกิดเหตุการณ์ “วันมหาวิปโยค” ขึ้น
และจอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกต้องเดินทางออกนอกประเทศ
รัฐบาลที่มีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ใช้อำนาจอายัดและตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม กิตติขจร กับพวกตามเสียงเรียกร้องของมหาชนในขณะนั้น โ
ดยมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาคณะหนึ่ง มีนายบุญมา วงศ์สวรรค์ เป็นประธานกรรมการ
คณะกรรมการตรวจสอบพบว่าจอมพลถนอม กับพวก (ซึ่งเป็นเครือญาติ) มีทรัพย์สินรวม 434 ล้านบาทเศษ นายกรัฐมนตรีคือ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 สั่งยึดทรัพย์จอมพลถนอม ฯ กับพวกไปเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2517
การยึดทรัพย์นักการเมืองครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งเกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 26 ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมืองขึ้นคณะหนึ่งมี พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้ออกคำสั่งอายัดทรัพย์สินของนักการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวม 25 คน ต่อมาภายหลังการตรวจสอบพบว่ามีนักการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องเพียง 13 คนเท่านั้นที่ “ร่ำรวยผิดปกติ”

แต่ในที่สุดก็มีเพียง 10 คนที่ถูกยึดทรัพย์การยึดทรัพย์
นำมาสู่การแก้ไขประกาศฉบับที่ 26 ให้ “ดูเป็นธรรม” ยิ่งขึ้น
โดยให้นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์มีสิทธิคัดค้านต่อศาลได้ นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ได้ใช้สิทธิดังกล่าวคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาล โดยโยงประเด็นไปถึงความชอบธรรมของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
ต่อมาศาลฎีกาซึ่งได้พิพากษาว่า
อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นอำนาจในการพิพากษาคดีที่เป็นของศาลประกาศฉบับที่ 26 จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับ
ศาลที่ขัดกับประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุผลดังกล่าวประกอบกับเหตุผลอื่น ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน
ซึ่งก็ส่งผลให้ทรัพย์สินของนักการเมืองทั้ง 10 คน ไม่ถูกยึด

ภายหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ประกาศใช้บังคับ มีการตั้งองค์กรในการตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองขึ้นมาใหม่ ๆ หลายองค์กร รวมทั้ง “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ด้วย
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ “ยึดทรัพย์” นักการเมืองไปแล้ว 1 คน คือ
นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า จนถึงวันนี้ ยังบังคับคดีนายรักเกียรติ ไม่แล้วเสร็จ โดยยังขายที่ดินของนายรักเกียรติ ไม่ได้สักแปลง เดียว

มาถึงเหตุการณ์ล่าสุด ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ได้ออกประกาศฉบับที่ 23 เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2549
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมืองขึ้น
โดยมีนายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการอีก 7 คน ซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่เป็นข้าราชการระดับสูงของประเทศทั้งนั้น

แต่ไม่ทราบด้วยเหตุใด 6 วันต่อมา คือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549
คณะรัฐประหารก็ได้ออกประกาศฉบับที่ 30 ยกเลิกประกาศฉบับที่ 23
แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินใหม่จำนวน 12 คน
โดยไม่ระบุตัวประธานกรรมการ และเป็นการตั้งบุคคลตามรายชื่อเฉพาะตัวเป็นกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

จากนั้นก็ส่งต่อไปให้องค์กรอื่นๆ
ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอยู่ตามปกติตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมาย
ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับที่ 30 เรื่อยมาจนกระทั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกิดจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
แล้วที่สุดศาลฎีกา ฯ ได้มีคำพิพากษา ยึดทรัพย์ อดีตนายกฯ ไปเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2553

สำหรับ การยึดทรัพย์ข้าราชการระดับสูงนั้น
ศาลฎีกาได้ตัดสินยึดทรัพย์จำนวน 69 ล้านบาทเศษของพลเอกชำนาญ นิลวิเศษ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) มีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ กับศาลฎีกาได้ตัดสินยึดทรัพย์จำนวน 16 ล้านบาทเศษของนายเมธี บริสุทธิ์ อดีตรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ป. มีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ
ทั้งหมดก็คือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการยึดทรัพย์ครั้งสำคัญ ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

แต่ไม่เคยมีครั้งใด สูงเท่ากับ คดียึดทรัพย์ อดีตนายกฯทักษิณ