WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 14, 2008

DSI เตรียมใช้กระบวนการปราบผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

หลังจาก 1 ปีที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีผลบังคับใช้ มาแล้วนั้น ให้จับตา 23 สิงหาคมนี้ เพราะประกาศกระทรวงไอซีที จะมีผลบังคับเต็มรูปแบบ ให้ทุกหย่อมหญ้า ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต เล็ก-ใหญ่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา ไม่เว้นร้านเน็ต เกมออนไลน์ ทั่วประเทศ ที่ได้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บุคคลหรือลูกค้าในองค์กร ต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 90 วัน "ดีเอสไอ" เชื่อยื่นมือถึงตัวป่วนเน็ต และพวกชอบส่ง-อัพโหลดภาพลามก เผยองค์กรใดไม่ทำตาม เตรียมรอโทษปรับ 5 แสนบาท

ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการและการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองและโลกการค้า การบริโภคข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องการความฉับไวเป็นอันดับต้นๆ แต่ความรวดเร็ว ฉับไวนั้นก็มาพร้อมๆ กับความเสี่ยงและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจทำให้ "ความลับ" ที่เป็นส่วนตัวของคน และองค์กร ถูกนำมาใช้โดยมิชอบหรือเพื่อประโยชน์ด้านอื่น หรือถูกก่อกวนเพื่อให้เกิดความผิดพลาดเสียหาย นำไปสู่การสูญเสียชื่อเสียง ภาพลักษณ์ ทรัพย์สิน และบางครั้งอาจรวมถึงชีวิตของคนที่เรารักก็เป็นได้ ความเสียหายเหล่านี้กระทบกระเทือนต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน

ดังนั้น ความสำคัญของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์และอาจก่อให้เกิดความเสียหายนี้ จึงได้รับความสำคัญจากภาครัฐได้ตราเป็น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ขึ้น และเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีประกาศกระทรวงไอซีที ถึงระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ดังกล่าว ไว้อย่างชัดเจน เมื่อ 23 สิงหาคม 2550

หนึ่งปีเต็มสำหรับผลการบังคับใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่การสืบสวนสอบสวนเพื่อติดตามตัวผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมารับโทษยังมีข้อจำกัดหลายด้านโดยเฉพาะข้อจำกัดด้านความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสืบสวนสอบสวนนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้ออกประกาศกระทรวงฯ ให้กลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทยอยดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน ซึ่งคำว่า "ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" นั้นหมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

โดยกลุ่มแรกที่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. นี้แล้ว คือกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งเคลื่อนที่และระบบไร้สาย ได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลของผู้บริโภคที่ใช้โทรศัพท์ติดต่อ หรือส่งข้อความส่งคลิปวิดีโอไปแหล่งใดหรือได้รับจากแหล่งใดผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ ISP ไม่ว่าจะเป็น ทรู ซีเอสล็อกอินโฟ สามารถ เคเอสซี เอเน็ต เอเชียเน็ต TOT ได้เริ่มเก็บข้อมูลการให้บริการเหล่านี้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา

ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ "กลุ่มที่ 3" ซึ่งอาจเรียกได้ว่าที่เหลือจากกลุ่มที่หนึ่งและสองทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่ข้าราชการหรือพนักงานหรือลูกค้าของตน เช่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา โรงแรม แฟลต อพารต์เมนต์ ห้องเช่า บ้านเช่า ร้านกาแฟ ร้านเน็ตคาเฟ่ จะต้องเริ่มจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 90 วัน เช่นเดียวกัน ยกเว้นแต่ผู้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตตามบ้านพักอาศัยทั่วไป เท่านั้น

พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการ สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะการส่งต่ออีเมลหรือดาวน์โหลด อัพโหลด เผยแพร่ภาพลามกอนาจาร หรือการเขียนข้อความหมิ่นประมาทผู้อื่นรวมถึงก่อความไม่สงบสุขต่อบ้านเมืองจำนวนมาก ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของผู้กระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ พร้อมกับแจ้งเตือนประชาชนเป็นระยะ แต่การสืบหาตัวผู้กระทำความผิดแม้ที่ผ่านมาจะมีการสืบสวนสอบสวนกระทั่งได้ตัวผู้กระทำความผิดมาแล้วหลายราย ขณะเดียวกันยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่สามารถติดตามตัวผู้กระทำผิดตัวจริงมาดำเนินคดีได้

พ.ต.อ.ญาณพล เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ที่จะถึงนี้จะเป็นวันแรกที่ประกาศกระทรวงไอซีที ที่อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จะมีผลบังคับใช้ ให้หน่วยราชการ สถานศึกษา องค์กร ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน ธนาคาร โรงแรม บ้านเช่า แฟลต อพาร์ตเมนต์ ร้านอินเตอร์เน็ตคาร์เฟ่ ผู้ให้บริการร้านเกมออนไลน์ ต้องเก็บข้อมูลการใช้บริการไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยสิ่งที่ผู้ให้บริการร้านอินเตอร์เน็ต ต้องเก็บข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ เช่น ชื่อ สกุล หรือ หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น ส่วนที่ 2 วันเวลาที่ลูกค้าเข้ามาใช้ และเลิกใช้เครื่อง และ ส่วนที่ 3 หมายเลขเครื่องที่ใช้ IP Address (ภายนอกและภายใน) และ URL ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตามรอยผู้กระทำความผิด เช่น หากบุคคลในองค์กรไปส่งรูปลามกอนาจาร หรือทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้ตรวจสอบผู้กระทำความผิดได้ไม่ยาก

และภายหลังจากที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้และพบว่าหน่วยงานใดไม่ดำเนินการตามกฎหมายหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ จะต้องรับผิดชอบโดยมีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท

ส่วนการสร้างระบบที่จะจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวเป็นหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ที่จะดำเนินการหรือสั่งการ เช่น ให้ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรติดตั้งระบบล็อกอินก่อนเข้าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อให้สามารถระบุผู้ใช้บริการได้ชัดเจน

การดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเฉพาะในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ หากยังไม่มีมาตรการใดที่จะห้ามมิให้บุคลากรในหน่วยงานของท่าน กระทำผิดกฎหมาย อาทิ ส่งข้อมูลโป๊ ลามก โกหก หลอกลวง สร้างความไม่สงบต่อบ้านเมืองหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี ส่งเมลไปให้ผู้อื่นจนทำให้เกิดความเบื่อหน่าย รำคาญใจ ส่งไวรัส สัญญาณก่อกวน แฮ็กข้อมูลบุคคลอื่น ซึ่งล้วนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

"ท่านจะต้องเก็บข้อมูลการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรท่านไว้อย่างน้อย 90 วัน ไม่อย่างนั้นแล้วหากมีการสืบสวนแล้วพบว่า มีบุคคลในองค์กรของท่านได้ใช้คอมพิวเตอร์ของท่านเพื่อกระทำความผิดดังกล่าว แต่หน่วยงานนั้น ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ หน่วยงานของท่านจะต้องถูกปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ซึ่งไม่เพียงหมายถึงทรัพย์สิน งบประมาณ รายได้ที่ขององค์กรที่ต้องสูญเสียไปกับค่าปรับ แต่หากยังรวมถึง หน้าตา ชื่อเสียง ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของหน่วยงานท่านด้วย" พ.ต.อ.ญาณพล กล่าว