WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 5, 2012

การใช้สิทธิของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยในการร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลในองค์กรการเมืองที่กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ

ที่มา Thai E-News



359774

 โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล  พรหมิกบุตร
นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี

                   กรณีที่ประชาชนทั้งประเทศสามารถใช้สิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ พิจารณาเพื่อดำเนืนคดีบุคคลในองค์กรการเมืองต่าง ๆ ที่กระทำการอันส่อว่าอาจเป็นความผิดทางอาญาและเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ  อาจแจกแจงได้ดังนี้ ;

                   ๑,  การร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีอาญาต่อแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ จัดการชุมนุมประชาชนแต่มีการปิดกั้นขัดขวางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากรวม ทั้งเจ้าพนักงานประจำรัฐสภาจำนวนหนึ่งไม่ให้เดินทางเข้าปฏิบัติราชการในการ ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาร่าง พรบ. ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ ๔ ฉบับ  การกระทำดังกล่าวอาจมีเจตนาต้องการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๘   มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

                   ๒.  การร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีอาญาต่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จำนวนหนึ่งซึ่ง ขี้นไปยื้อยุดฉุดตัวประธานสภาผู้แทนราษฎรบนบัลลังก์เหนือการประชุมสภาผู้แทน ราษฎรขณะกำลังปฏิบัติราชการในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ  การกระทำของนักการเมืองกลุ่มดังกล่าวมีพฤติกรรมส่อว่าอาจมีเจตนาขัดขวางการ ปฎิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของประธานสภาผู้แทนราษฎร  การขัดขวางดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๘    นอกจากนั้นยังอาจเป็นการข่มขืนใจโดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อประธานสภาผู้ แทนราษฎรให้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ  ซึ่งยังอาจเป็นความผิดเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๙ มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินแปดพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ [1]

                   ๓. การร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีอาญาต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะ รายที่ร่วมกันมีมติให้ออกหนังสืออันมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจกดดันหรือสั่ง การให้ระงับการประชุมรัฐสภาซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนการพิจารณาร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐  การใช้อำนาจดังกล่าวอาจเป็นการกระทำผิดทั้งตามประมวลกฎหมายอาญาและอาจเป็น การฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ด้วยเหตุผลโดยสังเขป ดังนี้ ;

                             ๓.๑  การประชุมพิจารณาคำร้องขอให้ระงับการประชุมรัฐสภาที่จะพิจารณาเพื่อลงมติ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว  อาจเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันที่มีเงื่อนไขให้ผู้ร้อง ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย  ขณะที่อัยการสูงสุดยังไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีอำนาจ พิจารณาก่อนหน้ากระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงชองอัยการสูงสุด[2]   ใน กรณีดังกล่าวนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้ในระบบงานของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่มีอำนาจประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ อัยการสูงสุดจะดำเนินการ  รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมิได้ให้อำนาจสิทธิขาดเป็นเอกเทศในเรื่องดังกล่าวแก่ ศาลรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียงองค์กรการเมืององค์กรหนึ่งที่ต้อง ใช้อำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญ มิใช่สามารถใช้อำนาจเหนือกว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวอาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่น บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  เพราะอาจเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐสภาและ ประชาชน

                             ๓.๒  การส่งหนังสืออันมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจกดดันหรือสั่งการถึงเจ้าพนักงาน รัฐสภาเพื่อให้แจ้งผู้มีอำนาจหน้าที่ให้ชะลอการประชุมรัฐสภาที่จะพิจารณาลง มติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว  อาจเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการประชุมเพื่อใช้ อำนาจนิติบัญญัติโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ   ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการดังกล่าวในขณะที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าร่างรัฐ ธรรมนูญดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่[3]  อำนาจวินิจฉัยสั่งการของศาลรัฐธรรมนูญจึงยังไม่เกิดเนื่องจากยังไม่มี กฎหมาย ที่เป็นประเด็นขัดแย้งให้วินิจฉัย[4]  การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้จึงอาจเป็นการใช้อำนาจอย่างฝ่าฝืน หรือละเมิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง  ซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๘ และ ๑๕๗  นอกจากนั้นยังอาจเป็นการใช้อำนาจที่เป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อบทบัญญัติ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งหากสมาชิกรัฐสภาผู้มีศรัทธามุ่งมั่นพิทักษ์รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็น ผู้มีความซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งหน้าที่ของตนอย่างแท้จริงก็สมควรร่วมกันริ เริ่มกระบวนการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวโดยเร็วเพื่อป้องกันภัย พิบัติร้ายแรงอันอาจเกิดขึ้นกระทบต่อศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรการเมืองอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

คำแถลงท้ายบทความ
                   กระบวน การยุติธรรมของไทยถูกเพ่งเล็งวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องโดยมีทั้งข้อเท็จ จริงและเหตุผลรองรับว่าถูกบิดเบือนความเป็นธรรมโดยผู้มีอำนาจแบบเผด็จการ   การใช้สิทธิของประชาชนในประเด็นทั้งสามที่กล่าวถึงข้างต้นจะเผชิญกับปัญหา อุปสรรคในกลไกอันยืดยาวต่อเนื่องของกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ  อัยการ  ศาลยุติธรรม)  แต่มีความจำเป็นที่ประชาชนทั่วประเทศจะต้องระดมกันใช้สิทธิแจ้งความร้อง ทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) เพื่อแสดงให้เห็นว่าประชาชนยังยืนยันว่าตนเองเป็น เจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่แท้จริงของประเทศและจะไม่ยินยอมให้องค์กรการเมืองใดใช้อำนาจอย่างบิด เบือนความเป็นธรรมหรือใช้อำนาจในทางที่เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  และเพื่อพิสูจน์ด้วยตนเองให้เป็นที่ประจักษ์ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทย สามารถอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างตรงไปตรงมาและ ทันท่วงทีต่อสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อประชาชนในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่  ผลการพิสูจน์เรื่องนี้จะมีความสำคัญยิ่งยวดต่ออนาคตของประเทศและสวัสดิภาพ ทางการเมืองของประชาชนโดยส่วนรวม

                   ในการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนนั้นประชาชนไม่จำเป็นและไม่ ควรผูกมัดตนเองเป็นโจทก์ผู้กล่าวหาโดยตรง   เนื่องจากอาจถูกอำนาจส่วนใดส่วนหนึ่งของบุคคลากรในกลไกอันยืดยาวของกระบวน การยุติธรรมที่บิดเบือนกลับมาทำร้ายทางกฎหมายต่อประชาชน  แต่ประชาชนสามารถแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้ให้เบาะแสข้อเท็จจริง (เช่น ข้อเท็จจริงจากรายงานข่าวทางสื่อมวลชนต่าง ๆ ประกอบกัน) แล้วแจ้งความจำนงให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ทางราชการ โดยไม่ชักช้า  ประชาชนสามารถติดตามทวงถามความคืบหน้าในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ตามลำดับเวลาอันเหมาะสมและไม่เนิ่นช้าจนสถานการณ์ลุกลามบานปลายเป็นโทษ ต่อประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

                   ในอนาคตอันใกล้ภายใน ๑-๒ สัปดาห์อาจมีความพยายามต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาของกลุ่มการเมืองที่ เป็นปฏิปักษ์กับอำนาจรัฐบาลปัจจุบัน  ในอันที่จะใช้สถานการณ์ต่าง ๆ ยกระดับการเผชิญหน้าสร้างความรุนแรงทางมวลชนให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อหลอกล่อต่อ ไปให้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตรประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและเพื่อเปิดทางให้กองทัพกลับเข้ามีอำนาจใน การถืออาวุธปราบปรามอีกครั้ง    หากคณะรัฐมนตรีมีการประชุมเพื่อลงมติให้นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุก เฉิน  ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับดังกล่าวจะเป็นเสมือนคำสั่งประหารอายุราชการของ รัฐบาลเองและจะกลายเป็นคำสั่งที่ก่อปัญหาร้ายแรงให้แก่กระบวนการประชาธิปไตย ของประชาชนเสียงส่วนใหญ่ของประเทศที่ได้เสียสละทุ่มเทตนเองใช้ความเพียร พยายามในการทำให้พรรครัฐบาลปัจจุบันได้รับการเลือกตั้งเป็นเสียงส่วนใหญ่ใน รัฐสภา   

                ผู้บัญชาการทหารบกให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปฏิเสธข่าวการรัฐประหารและกล่าวว่าทหารปัจจุบันมีหน้าที่ขุดคลองตามคำสั่ง รัฐบาล  ทหารปัจจุบันควรทำหน้าที่พัฒนาสร้างสรรค์ประเทศทำนองนั้นต่อไป  ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศในปัจจุบันอย่างมากที่สุดควร เป็นหน้าที่การป้องกัน  แก้ไข  ปราบปราม  และดำเนินคดีโดยอำนาจหน้าที่ของตำรวจและหน่วยงานราชการที่ไม่ใช่กองทัพ   

               ข้ออ้างที่อาจมีการระบุในอนาคตว่าสถานการณ์ได้ยกระดับความรุนแรงเกินกำลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นข้ออ้างที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลมากกว่า จะเป็นการค้ำจุนรัฐบาลให้ดำรงตำแหน่งงครบสี่ปีตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  ในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการ เผชิญหน้าทางมวลชนที่จะกลายเป็นการช่วยสร้างความรุนแรงตาม ความต้องการของกลุ่มพลังอนาธิปไตยที่เป็นพันธมิตรกับระบอบเผด็จการ     ทั้งนี้   ประชาชนในระบอบประชาธิปไตยยังสามารถแสวงหาวิธีการร่วมกันทั้งประเทศในการ ประกาศตนร่วมกันว่าต่อต้านอำนาจที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยซึ่ง กำลังดำเนินการเคลื่อนไหวผ่านกลุ่มพลังมวลชนและองค์กรการเมิองต่าง ๆ ในการยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                   การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ประชาชนซึ่งต้องการระบอบประชาธิปไตยต้องร่วมกัน แสดงเจตนารมณ์ผลักดันดำเนินการอย่างสันติวิธีทั้งประเทศให้รัฐสภาสามารถ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการทางกฎหมายต่อไปไม่ให้สะดุด  ข้อกล่าวอ้างเหตุผลว่าพรรคแกนนำรัฐบาลควรยับยั้งหรือชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เสียก่อนเป็นการชั่วคราวเพื่อมิให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลายกระทบต่อเสถียรภาพ ของรัฐบาลนั้นอาจสมเหตุสมผลในสถานการณ์ที่พรรคแกนนำรัฐบาลไม่มีเสียงส่วน ใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎรช่วยรองรับสนับสนุน   

                  หากพรรคแกนนำรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎรไม่ดำเนินการคืบหน้าต่อไปในการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญต่างหากที่จะกลับกลายเป็นการบั่นทอนเสถียรภาพของรัฐบาลและทำลายความ น่าเชื่อถือของพรรคแกนนำรัฐบาลว่าไม่มีความสามารถดำเนินการตามที่ประกาศใน นโยบายหาเสียงกับประชาชน   พรรคฝ่ายค้านที่ร่วมมือกับกลุ่มและองค์กรต่าง ๆ ในการสร้างอุปสรรคขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่างหากที่จะได้ประโยชน์ทั้งใน ระยะสั้นและระยะยาวทางการเมืองหากพรรคแกนนำรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการเร่งรัด ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สำเร็จต่อไปตามที่ได้ริเริ่มดำเนินการไว้แล้ว   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคแกนนำรัฐบาลปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่ สุดกว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เนื่องจากมีประชาชนจำนวนท่วมท้นเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศที่พร้อมจะสนับ สนุนและปกป้องแม้แต่จะต้องออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการรัฐประหารหากจะเกิดขึ้น อีกครั้งในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕

                   การเผชิญหน้าต่อสู้กันระหว่างพลังผลักดัน การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐กับพลังต่อต้านการแก้ไชรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้ทวีความตึงเครียดมากขึ้นตามลำดับ  แต่ก็มีข้อบ่งชี้ถึงภาวะจนตรอกของกลุ่มอำนาจที่มีรากฐานมาจากการรัฐประหาร ๒๕๔๙ ด้วยเช่นกัน
วันที่ ๔  มิถุนายน  ๒๕๕๕                


[1] นอก จากนี้ การขัดขวางมิให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญยังเป็นการ กระทำที่เป็นปฎิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  หากสมาชิกรัฐสภาที่เชื่อมั่นศรัทธาปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีความซื่อ สัตย์ต่อตนเองอย่างแท้จริงก็ควรริเริ่มกระบวนการถอดถอนบรรดาสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่กระทำการอุกอาจดังกล่าวเสียด้วยตนเองแทนที่จะรอขัดขวางกระบวนการถอด ถอนที่พรรคการเมืองอื่นอาจริเริ่มดำเนินการ
[2] หลัก กฎหมายเดียวกับการที่ศาลยุติธรรมยังไม่สามารถนั่งประชุมพิจารณาคดีความได้ หากอัยการยังไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีมูลเพียงพอที่จะสั่งฟ้องจำเลย
[3]  ประธานศาลรัฐธรรมนูญให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน (รายงานข่าวสื่อมวลชนวันที่ ๓  มิถุนายน ๒๕๕๕) โดยใช้คำว่า หรือไม่ และไม่อาจยืนยันได้ว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองตามที่มีการใช้เป็นข้ออ้างทางกฎหมายในการร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งระงับการประชุมพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว  (แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้อำนาจในทางที่ส่อว่าเป็นการขัดขวางการประชุมรัฐสภาไปเรียบร้อยแล้ว)
[4]  ร่างกฏหมาย ยังไม่มีสถานะเป็น กฎหมาย