WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 4, 2012

กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ยันศาล รธน. มีอำนาจรับวินิจฉัยร่างแก้ไข รธน.

ที่มา uddred

 MCOT 4 มิถุนายน 2555 >>>


นักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ ยันศาล รธน. มีอำนาจรับวินิจฉัย รธน. ตามมาตรา 7 หากรัฐสภาดื้อลงมติวาระ 3 ต้องรับผิดชอบ เพราะคำสั่งศาลมีผลผูกพันรัฐสภา

นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หนึ่งในนักวิชาการกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าขัดรัฐ ธรรมนูญหรือไม่ และให้รอการดำเนินการไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ว่า ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ กระบวนการรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกระทำล้มล้างรัฐธรรมนูญ ล้มล้างประชาธิปไตย ต้องยื่นให้อัยการสูงสุด เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ที่ผ่านมา ไม่เคยปรากฏว่าอัยการสูงสุดส่งเรื่องเข้ามา จึงเกิดปัญหาเรื่องการดำเนินการ และถ้าสังคมเห็นว่ามีความไม่ปกติเกิดขึ้น เสนอให้ตรวจสอบ แต่ฝ่ายการเมืองไปล็อกอัยการสูงสุดเรื่องก็จบ ดังนั้น จึงเห็นว่าการที่ศาลฯ รับวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งนี้ มีอำนาจที่จะสามารถดำเนินการได้ โดยใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข
นายคมสัน กล่าวว่า การออกมาตีความของพรรคเพื่อไทย และกลุ่มนิติราษฎร์ว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถรับวินิจฉัยเรื่องนี้ได้นั้น ไม่ได้เป็นการตีความผิด แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่ายื่นไปแล้วอัยการสูงสุดไม่มีการดำเนินการอะไรออก มา และถ้าลงมติวาระ 3 อาจเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ศาลฯ จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นมา และรับวินิจฉัยเพื่อไม่ให้มีช่องว่าง
ต่อข้อถาม ว่าหากรัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายคมสัน กล่าวว่า ก็ต้องรับผิดชอบเพราะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 5 ระบุชัดว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ และการให้รอการดำเนินการไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ก็เป็นคำสั่งส่วนหนึ่งของศาลด้วย