WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 24, 2012

เปิดใจหมดเปลือก "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ถึง (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ?)

ที่มา thaifreenews

โดย bozo

เปิดใจหมดเปลือก "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ถึง (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ?):
ผมกำลังตอบแทนบุญคุณทุนอานันทมหิดล




สัมภาษณ์ : พันธวิศย์ เทพจันทร์

หลังจากที่ “นิติราษฎร์” แถลงการณ์เรื่อง การแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 วันที่ 15 มกราคม 2555
จนไปถึงการออกแถลงการณ์ลบผลพวงที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร วันที่ 22 มกราคม 2555


แรงสะท้อนกลับจากข้อเสนอร้อนๆ รุนแรงอย่างไม่น่าเชื่อ


ฝ่ายที่เห็นด้วยก็มาก ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็โผล่ออกมาไม่น้อย


แต่ที่ดุเดือดแบบสุดๆ คือ
การปรากฎตัวของมวยรุ่นใหญ่อย่าง “ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ”
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ


ดร. ปื๊ด ตั้งสเตตัสในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า


“ผมว่าก่อนจะแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พวกคุณเสนอ
ควรแก้ข้อบังคับทุนอานันทมหิดล ให้ผู้รับทุนสาบานว่าจะไม่เนรคุณ
และไม่ทรยศต่อพระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานทุนจะง่ายกว่าไหม
ข้อเสนอผมไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญเลย”



ครั้งหนึ่ง ดร.ปื๊ด เคยกล่าวยกย่อง ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ว่าเป็นนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง

แต่วันนี้ ข้อหา"เนรคุณ"ดูจะกลายเป็นข้อหาฉกรรจ์ไปเสียแล้ว

ก่อนหน้านี้ มติชนออนไลน์ เคยถามคำถามทำนองเดียวกันนี้กับ “วรเจตน์ ภาคีรัตน์” มาแล้ว


“สิ่งที่อาจารย์ทำอยู่นั้นไม่ขัดแย้งกับทุนที่อาจารย์เคยได้รับ
เพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศรึเปล่า”


ไปฟังคำตอบกันเลย...
-----------------------------------------


เหตุใดนิติราษฎร์จึงต้องพูดถึงสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์
ในสังคมมากขึ้น




วันนี้ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปเยอะ
แล้วการพูดเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ค่อนข้างเสี่ยงในสังคมไทย
แต่ว่าวันนี้ไม่ว่ามองไปทางไหนก็ไม่เห็นพอมีใครที่จะหยิบจับเรื่องนี้
มาทำได้อย่างเป็นวิชาการ เป็นเหตุเป็นผล
ผมจึงตัดสินใจทำ และทำทุกอย่างด้วยความปรารถนาดีต่อสังคมไทย
ด้วยความหวังดีอย่างที่สุดต่อสถาบันฯ
ไม่มีความมุ่งหมายต่อการที่จะล้มล้างสถาบันฯ แต่อย่างใด

อีกอย่างหนึ่งคือคนที่กล่าวหาว่าล้มเจ้าหรือล้มล้างสถาบันฯ นั้น
ส่วนใหญ่ก็จะไม่ให้เหตุผลในการโต้แย้งสักเท่าไหร่
เรายืนยันตลอดมารวมถึงในร่างแก้ไขก็ชัดเจนว่า
เราอยู่ในรัฐที่เป็นราชอาณาจักร
เพียงแต่ต้องทำให้สถาบันฯ สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย
พอมีคนที่ไม่สามารถใช้เหตุผลถกเถียงได้ ก็เบี่ยงประเด็นไปถามว่า
นิติราษฎร์ต้องการปกครองแบบไหน
ตอนไปรายการ “ตอบโจทย์” คุณภิญโญก็ถาม ผมว่าผมก็ตอบชัดว่า
นิติราษฎร์ยึดถือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรัฐที่อยู่เป็นราชอาณาจักร
ผมก็สงสัยว่าคนที่ถามผมต้องการการปกครองในระบอบไหนครับ
ต้องการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างงั้นหรือ
ซึ่งถ้าเป็นระบอบนี้ เราจะไม่มีการยอมรับ เราจะสู้ไม่ยอมย้อนกลับไปในระบอบนั้นแล้ว
เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อสังคมเข้าสู่จุดแตกหักทางความคิด สถาบันฯ
ก็จะดำรงอยู่อย่างยากลำบาก ดังเช่น
ช่วงก่อนและหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475
สุดท้ายการกลับไปในระบอบนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์จะทำการใดๆ
พระมหากษัตริย์จะทำการใดต่างๆ
ในทางกฎหมาย พระองค์ก็ต้องรับผิดชอบในทางกฎหมายนั้นด้วย
ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางการเมือง เราอยากให้เป็นแบบนั้นหรือ
ระบอบที่เรารณรงค์อยู่ในตอนนี้เป็นระบอบที่สอดคล้องกับสากลที่สุด




อาจารย์รู้สึกอย่างไรที่มักโดนฝ่ายตรงข้ามถามว่า “ล้มเจ้ารึเปล่า”
เพราะอาจารย์เองก็เป็นคนไทย อีกทั้งยังพูดและคิดตามกรอบของกฎหมาย



ก็รู้สึกว่าบางทีคนก็ไม่เข้าใจ และก็ต้องอดทนในการอธิบาย
ซึ่งผมก็ใช้ความอดทนตลอดมาในระยะเวลาหลายปี
พยายามอธิบายให้สังคมได้รับฟัง
เราต้องเข้าใจว่าสังคมมันเปลี่ยนไปมากแล้ว มันไม่เหมือนเดิมแล้ว
คนที่ไม่เข้าใจในข้อเสนอของนิติราษฎร์คือ
ไม่เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม
จะยึดจะเอาสังคมให้อยู่ในรูปแบบเดิมซึ่งมันเป็นไปไม่ได้
แล้วผมห่วงเหลือเกินว่า
หากไม่มีการเปลี่ยนอะไรให้มันรับกับสภาพการณ์
มันจะเกิดการแตกหักแล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา
หลังจากนั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่พึงปรารถนา
แล้วเราคาดไม่ถึงว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นมา




มีประวัติศาสตร์อยู่แล้วใช่ไหม
ที่เหตุการณ์แบบนี้ไม่มีความประนีประนอมกัน



ในประวัติศาสตร์โลกก็เป็นบทเรียนให้เราอยู่แล้ว
ทำไมเราต้องไปซ้ำรอยในที่อื่น
ทำไมเราไม่หาทางออกแล้วเปลี่ยนผ่านสังคมไปอย่างสันติ สถาบันฯ
ไหนต้องอยู่กับกฎหมายแบบไหน องค์กรไหนต้องอยู่กับกฎหมายแบบไหน
ผมเรียนแบบนี้ว่าคนที่พูดเรื่องนี้ต้องลดละประโยชน์ส่วนตัวไว้เสียก่อน
คนที่เคยได้ประโยชน์หลังการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมา
กรุณาคิดและก็วางประโยชน์ส่วนตัวหน่อย
หลายคนก็ได้รับประโยชน์ไปมากแล้ว
เป็นประธานกรรมการ ดำรงตำแหน่ง ได้รับเงินมากมายแล้ว
นิติราษฎร์ไม่เคยได้รับประโยชน์อะไรจากสิ่งที่ได้นำเสนอออกไปแม้แต่บาทเดียว
เราทำด้วยใจ หลายคนในกลุ่มนิติราฎร์ก็ไม่ได้เป็นคนมีฐานะสูง
แต่ว่าเวลาจะทำอะไรเราก็ลงขันกันครับ
อาจจะครั้งละหนึ่งพันเพื่อทำกิจกรรม แผ่นพับและอื่น ๆ ในการจัดเวทีเสวนา
มีหลายคนจะบริจาคเงินให้กิจกรรมที่นิติราษฎร์ทำ
ผมไม่ต้องการเงินของใครทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะนิติราษฎร์มีเงิน
แต่เราต้องการให้เรื่องที่รณรงค์อยู่นั้นเป็นเรื่องที่บริสุทธิ์และเป็นเรื่องทางวิชาการจริงๆ



เมื่อต้องการจะให้สถาบันมีสถานะ
ที่สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เหตุใดจึงเริ่มที่การขอยื่นแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเรื่องแรก



เป็นเพราะว่ากฎหมายอาญามาตรา 112
เป็นกฎหมายที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ
ที่จะต้องพูดกันต่อไป
เวลานำออกมาบังคับใช้มันมีคนถูกจับ ถูกลิดรอนเสรีภาพ
ปัญหาสำคัญของมาตรานี้คือ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475
กฎหมายหมิ่นฯ เขียนว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว
จึงเขียนว่า “หมิ่นประมาทองค์พระมหากษัตริย์”
แม้ถ้อยคำจะเขียนแบบเดียวกันเลย
แต่เวลาจะมาบังคับใช้นั้นจะตีความแบบเดียวกันไม่ได้
เพราะว่าอุดมการณ์ที่กำกับตัวบทกฎหมายนั้นอยู่คนละประเภทกัน
แต่ปัจจุบันการตีความกฎหมายหมิ่นฯ
ดูจะขัดแย้งกับระบอบการปกครองระบอบประธิปไตย
ซึ่งแบบนี้มันจะเกิดผลเสียเพราะมันไม่รับกับตัวระบอบ



กระแสสังคมส่วนหนึ่งบอกว่า
การที่นิติราษฎร์แยกกฎหมายอาญามาตรา 112 ออกจากหมวดความมั่นคง
เท่ากับกำลังทำให้สถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงหรือไม่



ตัวบทกฎหมายเขียนชัดเจนว่า
คนที่กระทำความผิดก็ต้องได้รับโทษตามข้อกฎหมาย
ยังมีการคุ้มครองพระเกียรติของพระมหากษัตริย์อยู่
แล้วก็คุ้มครองเป็นพิเศษมากกว่าประชาชนทั่วไป
เพียงแต่เราทำให้สถานะของสถาบันฯ มีความเป็นสากลมากขึ้น
ตามประเทศที่มีประมุขของรัฐคือพระมหากษัตริย์
เวลาเราพูดว่าต้องรักษาความมั่นคงของสถาบันฯ ไว้
เราต้องหมายถึงการรักษาให้สง่างามตามมาตรฐานสากล
ไม่ใช่ว่าประเทศไทยพูดอย่าง แต่ต่างประเทศพูดอีกอย่าง




พูดถึงกลุ่มคนที่ต้องการให้บทลงโทษ
เกี่ยวกับกฎหมายอาญามาตรา 112 มีโทษมากขึ้น




นักวิชาการด้านกฎหมายอีกฝ่ายบอกว่า
ถ้าต้องแก้ให้กฎหมายอาญามาตรา 112 ออกจากกฎหมายความมั่นคง
หรือยกเลิกไปเลยนั้น ก็จะต้องยกเลิกมาตรา 8 ของรธน.ด้วย



เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องมาถกเถียงกัน
สังคมเข้าใจเรื่องมาตรา 8 ตาม รธน. ต่างกัน
เวลาเราทำความเข้าใจตัวบทกฎหมาย
ไม่ใช่เพียงแค่ตีความไปตามลายลักษณ์อักษรที่เขียนขึ้นมา
เพราะถ้าเป็นแบบนั้นใคร ๆ ก็ตีความตามความเข้าใจของตัวเองทั้งนั้น
ดังนั้นรธน.เป็นส่วนหนึ่งของระบอบการปกครอง
เราจึงต้องตีความระบอบการปกครองของเราด้วย
ด้วยเหตุนี้การแก้ไขม.112 จึงไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับมาตรา 8
ในแง่ที่ว่า ความมุ่งหมายของมาตรานี้
ก็เพื่อเทิดองค์พระมหากษัตริย์ให้ทรงพ้นไปจากการเมือง
เพราะการเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์และความขัดแย้ง
จะดึงพระมหากษัตริย์ลงมาไม่ได้


อีกกระแสหนึ่งบอกว่าเสนอให้ยกเลิกม.112 ไปเลย
อาจารย์ทำไมจึงไม่เสนอไปถึงขั้นนั้น



เราศึกษาเปรียบกฎหมายในหลายประเทศก็ยังมีกฎหมายคุ้มครองประมุขของรัฐอยู่
แม้ประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีกฎหมายคุ้มครอง แต่หลายประเทศยังมี เราจึงอนุโลมไปตามนั้น



หลายครั้งเวลามีข้อเสนอจากนิติราษฎร์ปรากฎออกมาในหน้าสื่อสารมวลชน
ก็จะถูกเรียกว่า “นิติเรด” “แก๊งค์ลิงหลอกเจ้า”
ซึ่งทำให้คนที่ฟังข้อเสนอของเรามีภาพลบต่อสิ่งที่เราจะพูด
ในแง่นี้จะแก้ไขหรือโต้ตอบกลุ่มคนที่ให้ค่ากับนิติราษฎร์ไปในทางลบอย่างไร




มีนักวิชาการบอกว่านิติราษฎร์กำลังทำอะไรอยู่
แก้กฎหมายกลับไปกลับมา
ไม่รู้หรือว่า “เมื่อเสียงปืนดังขึ้น กฎหมายจะต้องเงียบ”



ปืนไม่ได้ดังตลอดเวลามันแค่ดังอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้น
สังคมที่ถูกกดทับเอาไว้ เนียนบ้างไม่เนียนบ้าง
สักวันหนึ่งคนก็จะรู้ แล้วเขาก็จะค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน
แน่นอนว่าการลุกขึ้นยืนมันต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวด
เพราะฝ่ายที่ไม่อยากให้ลุกขึ้นยืนจะกดทับแล้ว
แต่เชื่อเถอะว่า
ไม่มีพลังไหนที่จะแข็งแกร่งไปกว่าพลังหรืออำนาจของประชาชน
แม้เสียงปืนจะดัง พลังของปืนจะรุนแรง
แต่สุดท้ายแม้ในประวัติศาสตร์โลกก็จารึกไว้ว่า
พลังของประชาชนนั้นแข็งแกร่งที่สุด
ไม่มีใครต้านทานกระแสความเปลี่ยนแปลงได้หรอก


สิ่งที่นิติราษฎร์กำลังทำอยู่
หวังผลประโยชน์จากพรรคการเมืองบางพรรคหรือไม่



สิ่งที่เราทำอยู่นั้นมาจากมโนสำนึกของเรา
ถ้าเราไม่ทำในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เรามองหน้าในกระจกไม่ได้
เท่ากับว่าเราเลือกไปในอีกข้างแล้วหากเราอยู่เฉยกับความอยุติธรรมในสังคมนี้
หลายคนที่เวลาเลือกแล้วมันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนก็คือ
เวลาที่อีกฝ่ายเลือกเข้าได้ประโยชน์ เงิน ตำแหน่งต่าง ๆ
หลังจากที่เขาเลือกข้างไปแล้ว
แต่นิติราษฎร์เลือกไปยืนฝั่งตรงข้ามซึ่งเราไม่ได้อะไรเลย
เงินก็ไม่ได้รับ ตำแหน่งทางการเมืองหรือวิชาการก็ยังอยู่กับที่
นอกจากไม่ได้อะไรแล้วเรายังต้องเสียเงินเพื่อต้องการบรรลุในสิ่งที่เราทำ
ผมพูดตรง ๆ เปิดใจเลยนะ
ถ้าผมไปเชียร์รัฐประหาร ไปเป็นคนร่างรธน.หลังจากรัฐประหาร
ผมว่าผมคงได้อะไรมากกว่าที่เป็นอยู่แน่นอน
อาจจะได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือวิชาการมากมาย
แต่ที่ผมเลือกอยู่ข้างนี้ ผมไม่ได้อะไรเลย
นอกจากว่าความรู้สึกที่ว่าเราได้ทำตามหลักการ
ในสิ่งที่เราเรียนมาในเรื่องกฎหมายมหาชน รู้สึกได้ทำในสิ่งที่มันถูกต้อง
ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพและประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจ
ผมรู้สึกสลดใจกับสังคมนะ ในขณะที่ข้างหนึ่งได้ประโยชน์เห็นจากการทำรัฐประหาร
ไม่มีสื่อไหนมาตรวจสอบ กลุ่มปัญญาชน นักวิชาการเงียบสนิท
ฝ่ายผมที่ไม่เคยได้อะไรเลย ทำไปจากอุดมการณ์กลับถูกกล่าวหา ป้ายสีอยู่ตลอดเวลา
ว่าทำเพื่อทักษิณ ทั้งชีวิตผมจนถึงตอนนี้ยังไม่เคยคุยกับทักษิณเลย


จะเล่นการเมืองไหม


ผมยังไม่อยากพูดอะไรที่มันต้องมัดตัวเองในอนาคต
แต่ใจผมจริง ๆ ไม่อยากเล่นการเมือง
คุณพ่อผมก็เตือนเสมอว่า ถ้าเป็นไปได้อย่าไปเล่นการเมืองเลย



เวลาเดินสวนกับอาจารย์ร่วมคณะ
ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับนิติราษฎร์ อาจารย์มีปฏิกิริยาอย่างไร



ถ้าคนที่คุยกันได้ก็คุยเรื่องดิน ฟ้า อากาศ ไม่ได้คุยกันเรื่องกฎหมาย
เพราะเรารู้ว่าแต่ละคนต่างมีความคิดเป็นของตัวเอง
ผมเชื่อว่าทางเดินผมถูก เขาก็คงเชื่อว่าทางเดินของเขาก็ถูก
แต่ผมเชื่อว่าอาจารย์หลายคนในคณะนี้ที่รู้จักผมดี
แม้จะยืนฝั่งตรงข้ามกันแต่เขาก็จะยืนยันแทนผมได้ว่า
ผมเป็นคนธรรมดา ไม่ได้มีอะไร ไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองคนไหนเลย
เพราะกลุ่มอาจารย์ในคณะนี้ก็เห็นกันมาตลอด
ตั้งแต่ยังไม่มีกลุ่มนิติราษฎร์ด้วยซ้ำ รู้จักกันดี
แน่นอนว่าหลังจากมีกลุ่มนิติราษฎร์เกิดขึ้นมา
ความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่คิดต่างจากเราก็จะลดน้อยลงไป
ส่วนอาจารย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ยืนตรงข้ามกับเรา
ในลักษณะที่ชวนหาเรื่องมากกว่าคุยกันด้วยเหตุผลก็จะบอกว่า
ไม่ควรใช้คำว่านิติหรืออ้างความเป็นอาจารย์นิติศาสตร์ มธ.
ผมอยากตอบว่า
ผมมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ถูกต้องตามกฎบังคับของมหาวิทยาลัยทุกข้อ



ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์
ถ้าลูกศิษย์มีจุดยืนทางการเมืองแบบหนึ่งที่ทั้งตรงกับเราและไม่ตรงกับเรา
ในฐานะอาจารย์ก็เป็นที่รู้จักในทางการเมือง อาจารย์จะสอนลูกศิษย์อย่างไร



ผมบอกลูกศิษย์เสมอว่า
เวลาจะเชื่อผมหรือเคารพคล้อยตามในเหตุผลของผมนั้นให้เชื่อเพราะเหตุผลของผมนั้นดี
ไม่ใช่ว่าเพราะเป็นผมบอกจึงเชื่อ เราต้องเคารพในเหตุผลมากกว่าตัวบุคคล
ไม่ใช่ใครบอกอะไรมาก็เชื่อไปหมดเพราะเห็นว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน
อีกทั้งถ้าจะแย้งผมว่าผมพูดผิดตรงไหนก็สามารถทำได้แต่ต้องมีเหตุผลรองรับด้วยนะ
ไม่ใช่กล่าวหาลอย ๆ สำหรับนักศึกษาที่อาจจะมีความคิดไม่ค่อยตรงกับผมนั้น
โดยปกติวิชาที่ผมสอนบางครั้งในเทอมหนึ่งอาจจะมีอาจารย์ผู้สอน 2 คน
ใครไม่ชอบหลักการของผมก็สามารถไปเรียนกับอีกคนหนึ่งได้
หรือถ้าปีไหนไม่มีอาจารย์ผู้สอนอีกคน ผมก็จะเปิดวิชานี้ไว้แค่เทอมหนึ่ง
แล้วเทอมสองก็ให้คนที่ไม่อยากเรียนกับผมไปเรียนช่วงเทอมสอง คือ
ผมพยายามที่จะไม่ผูกขาดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นผู้สอนคนเดียว
ผมจะพยายามให้มีผู้สอนที่หลากหลายในวิชาที่ผมสอนอยู่
ให้นักศึกษามีสิทธิเลือกอาจารย์ที่อยากเรียน


ในอีกแง่หนึ่งที่เรานำเสนอสิ่งที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์จากฝ่ายตรงข้าม
เคยโดนขู่ไหมครับ แล้วถ้าเคยรู้สึกกลัวไหม



ก็มีเขียนจดหมายมาด่า มีมาขู่บ้าง
ในความเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อก็ต้องกลัวเป็นธรรมดา
ผมเป็นนักวิชาการตัวเล็ก ๆ คงไม่สามารถจ้างบอดี้การ์ดมาคุ้มครองได้
แต่เหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้ผมไม่ทำอะไรเลย คนเราเกิดมาตายครั้งเดียว
เพียงแต่ชีวิตหนึ่งผมอยากทำสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม ให้ผลประโยชน์แก่เพื่อนร่วมชาติ




สุดท้ายอาจารย์เป็นนักกฎหมาย
ที่จบจากเยอรมันด้วยทุนอานันทมหิดล
หลายคนบอกว่าสิ่งที่อาจารย์ทำอยู่นั้นขัดแย้งกับทุน
ที่อาจารย์เคยได้รับเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศรึเปล่า



เพราะผมเป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดลนี่แหละครับ
ผมจึงต้องออกมาเคลื่อนไหว
สิ่งที่ผมทำอยู่คือการตอบแทน กตัญญูต่อผู้ที่ให้ทุนอานันทมหิดลแก่ผม
ที่ผมทำทุกอย่างก็เพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ผมไม่รู้ว่านักเรียนคนอื่น ๆ ที่ได้ทุนนี้มีจินตนาการเรื่องนี้อย่างไร
แต่สำหรับผมแล้ว
สิ่งที่ผมทำก็เพื่อความดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์สืบไป
ผมชัดเจนเสมอว่าผมต้องการรัฐธรรมนูญในประเทศที่เป็นราชอาณาจักร



http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327323116&grpid=01&catid=&subcatid=