WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 25, 2012

ปัญหาการแต่งตั้ง รมต. ดร.นลินี กับการสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้อง

ที่มา ประชาไท

เจริญ คัมภีรภาพ
สถาบันแห่งการริเริ่มภาคประชาชน

ผมติดตามข่าวสารกรณีปัญหาการแต่งตั้ง ดร.นลินี ทวีสิน ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการโปรกเกล้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้วยความสนใจยิ่งใน ฐานะที่เป็นพลเมืองคนหนึ่ง ที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองหลักประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยอยากจะทราบว่าท้ายที่สุดแล้วผลจะออกมาเป็นเช่นไร แต่กระนั้นก็ตามขณะรอการเข้าถวายสัตย์และปฏิญาณเพื่อเข้าทำหน้าที่บริหาร ราชการแผ่นดินในฐานะรัฐมนตรี ได้มีการเปิดเผยภายหลังว่า ดร.นลินี ทวีสิน ถูกขึ้นบัญชีดำ หรือ blacklist จากหน่วยงานหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นบุคคลที่ห้ามมิให้ติดต่อทำธุรกิจ กับสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ดร.นลินี ให้การสนับสนุนด้านการเงินทำธุรกิจกับภรรยาผู้นำซิบบับเว นายโรเบริ์ต บูกาเบ้ ต่อมา ดร.นลินี ได้ออกมาปฏิเสธทันทีว่าเป็นความเข้าใจผิดไม่เป็นความจริงว่าตนไม่ได้ทำ ธุรกิจอย่างที่สหรัฐอเมริกากล่าวหา ขณะเดียวกันกับมี ส.ส.จากพรรคการเมืองเก่าแก่ พรรคประชาธิปัตย์รวมถึงผู้นำฝ่ายค้าน ออกมาแสดงความคิดเห็นทักท้วงให้นายกรัฐมนตรีทบทวนการแต่งตั้ง ดร.นลินี บางคนเสนอว่าให้ลาออกภายหลังการถวายสัตย์ปฏิญาณ ทั้งยังมี ส.ว. บางคนบอกว่าควรทบทวนเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศใหญ่ เป็นสมาชิกถาวรสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บางกลุ่มถึงกับยื่นเรื่องร้องขอต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยว่าการแต่งตั้ง ดร.นลินี นั้นมีปัญหาด้านจริยธรรม ขณะที่มี ส.ส. บางกลุ่มบอกว่าการตั้ง ดร.นลินี ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไม่สง่างาม เพราะเหตุแห่ง “ข้อกล่าวหา” ดังกล่าว..

ไม่ว่าข้อทักท้วงหรือการขยายผลให้เป็น “ปัญหาทางการเมือง” เพื่อหวังผลสืบเนื่องต่อไปอย่างไรก็สุดแล้วแต่ กรณีการแต่งตั้ง ดร.นลินี ที่เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันในเวลานี้ จริง ๆ ไม่ได้เป็น “ปัญหา” แต่มีคนบางกลุ่มพยายามทำให้เป็น “ปัญหา” ถ้าหากเป็นปัญหาจริงจึงเป็นปัญหาที่ต้องใคร่ควรต่อไปว่า ระหว่างปัญหาจากหน่วยงานหนึ่งในสหรัฐที่กล่าวหา กับ ปัญหาจากสังคมการเมืองฝั่งของประเทศไทยนั้น อย่างไหนเป็น “ปัญหาที่แท้จริง” ที่สมควรพิจารณาทบทวนมากกว่ากัน

ผมฟันธงได้เลยว่าเมื่อได้สำรวจตรวจสอบ ทัศนคติข้อคิดความเห็นต่อเรื่องนี้จาก ส.ส. ส.ว. หรือกลุ่มการเมืองที่ออกมาเรียกร้องในเวลานี้แล้ว ปัญหาจากฝั่งของประเทศไทยหรือปัญหาทางสังคมวิทยาทางการเมืองไทยต่างหากที่ เป็นปัญหามากสุด ๆ ในสายตาผมปัญหาที่ว่านี้ยิ่งใหญ่มากถึงขนาดว่าหากสังคมการเมืองไทยผ่าน เหตุการณ์นี้ไปไม่ได้ ไม่มีแม้บรรทัดฐานที่ถูกต้อง ประเทศไทยจัดว่าเป็นรัฐที่ล้มเหลว (failure state) จริง ๆ ทั้งนี้หากจะต้องพิเคราะห์ให้ถึงที่สุดมองจากทางฝั่งหน่วยงานของสหรัฐ อเมริกา หรือ ประเทศสหรัฐอเมริกาเอง เขาย่อมดำเนินการทุกวิถีทางที่จะรักษาผลประโยชน์ของเขาในทุก ๆ กรณี โดยเฉพาะต่อนโยบายระหว่างประเทศ รวมถึงหน้าตาประเทศด้วย ไม่ว่าจะมองผ่านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ความมั่นคง หรือ การเมืองเชิงภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม เขาย่อมทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อ “ผลประโยชน์” ของชาติเขาเป็นหลักใหญ่ใจความ ดูกรณีตัวอย่างการก่อสงครามในตะวันออกกลางเพื่อ น้ำมัน แม้แต่การผลักดันให้มีการลงโทษพม่าด้วยการบอยคอต (boycott) ไม่ให้ทำมาค้าขายกับพม่าจากปัญหาประชาธิปไตยในพม่า แต่กลับมีบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกามิใช่หรือ ที่แพ้คดีในศาลสูงสหรัฐอเมริกาที่ต้องจ่ายเงินให้ชาวกระเหรี่ยงในจำนวนมาก มายมหาศาล จากการถูกลงโทษโดยคำพิพากษาศาลในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการถูกกล่าวหามีส่วนร่วมเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวกระ เหรี่ยงในประเทศพม่า

ผมเองโดยส่วนตัวเคยมีประสบการณ์เล็กๆ กรณีคล้ายๆ ไม่แตกต่างจากรณี ดร.นลินี มากนักเหตุเกิดราวปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ขณะที่ผมและคณะช่วยกระทรวงสาธารณะสุข ริเริ่มกฎหมาย (Law Initiative) พระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิภูมปัญญาการแพทย์แผนไทย พุทธศักราช ๒๕๔๒ ที่ใช้บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน กฎหมายซึ่งสร้างหน่วยงานสำคัญในกระทรวงสาธารณะสุขที่รู้จักในนาม สถาบันการแพทย์แผนไทย ปัญหาเกิดขึ้นโดยมีหน่วยงานหนึ่ง ของสหรัฐอเมริกาไม่พอใจที่ประเทศไทยจะมีการตรากฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ คงเป็นเพราะหน่วยงานดังกล่าวของสหรัฐอเมริกาเกรงว่าจะกระทบกระเทือนสร้างผล กระทบต่อนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่สหรัฐพยายามผลักดันอยู่ในองค์การการค้าโลก โดยมีจดหมายโดยตรงมาทางสถานทูตสหรัฐอเมริกาและสถานทูตสหรัฐอเมริกา ได้ส่งจดหมายดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยเพื่อขัดขวางการจัดทำกฎหมายดังกล่าว โชคดีที่คุณหมอเพ็ญนภา ลาภเจริญทรัพย์ รมต. กระทรวงสาธารณะสุข รวมถึงรัฐบาลที่ผ่านมาถึงสองรัฐบาลคือ รัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ์ และ รัฐบาลคุณชวน หลีกภัย ที่สืบต่อมาไม่ยอมทำตามแรงกดดันจากหน่วยงานของสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้พวกผมในฐานะกลุ่มที่ริเริ่มได้รณรงค์เผยแพร่การแทรกแซงกิจการ ภายในของสหรัฐอเมริกาสู่สากล ผลปรากฏว่ามีองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า ๒๐๐ องค์กร สนับสนุนข้อริเริ่มร่างกฎหมายที่สหรัฐอเมริกาคัดค้านไทย เรื่องไปไกลถึงเวทีองค์การการค้าโลก WTO (World Trade Organization) สมาชิกในองค์การการค้าโลกต่างสนับสนุนจุดยืนของไทยในการมีกฎหมายดังกล่าวใน ทุกทวีป จนยกย่องข้อริเริ่มกฎหมายของไทยเป็นตัวอย่างในการปกป้องทรัพยากรชีวภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เหตุผลเบื้องหลังความยุ่งยากและความยากลำบากในการทำให้มี พระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิภูมปัญญาการแพทย์แผนไทย พุทธศักราช ๒๕๔๒

ที่กล่าวมา ซึ่งถูกหน่วยงานของสหรัฐอมริกามากดดันรัฐบาลไทยไม่ให้ทำนั้น มีท่าทีท่วงทำนองไม่ต่างจากกรณีการขึ้นบัญชีดำ ดร.นลินี นั่นก็คือ การบริหารประเทศ รัฐบาลต้องฟังและระมัดระวังไม่ทำอะไรที่สวนทางกับผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา แต่รัฐบาลในอดีตได้สร้างบรรทัดฐานที่ดี ในการดำรงรักษาความถูกต้อง การดำรงรักษาอิสรภาพอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ ผลที่ตามมาคือประเทศได้กฎหมายปกป้องทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาการแพทย์แผน ไทย และเป็นข้อริเริ่มที่ประเทศต่าง ๆ ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติระหว่างประเทศ ความต่างอาจจะมีบ้างเมื่อครั้งสหรัฐกดดันรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลไทย กรณีการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิภูมปัญญาการแพทย์แผนไทย พุทธศักราช ๒๕๔๒ ไม่มีคนไทย ส.ส. และ ส.ว. ตลอดจนกลุ่มการเมืองใดพยายามปกป้องให้ยอมทำตามที่หน่วยงานสหรัฐอเมริกาต้อง การ

แต่กรณีบัญชีดำ ดร.นลินี กลับมี ส.ส. จากพรรคการเมืองเก่าแก่ ผู้นำฝ่ายค้าน และ ส.ว. ออกมาแสดงออกในเชิงให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ดร.นลินี ยอมและถือเอาข้อกล่าวอ้างและการขึ้นบัญชีดำจากหน่วยงานสหรัฐอเมริกามาเป็น หลักเกณฑ์ ยกเว้นไม่ต้องคำนึงถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ในปัจจุบัน แม้ไม่มีมูลเหตุใด ๆ อันเข้าลักษณะขัดจากคุณสมบัติ หรือ มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

ผมยังเชื่อต่อไปอีกว่าคงมีมาตรการทางการเมืองตามมาอีกหลากหลายอย่างแน่ โดยมิพักต้องพิจารณาใคร่ครวญถึง หลักการความถูกต้องตามกฎหมาย บรรทัดฐาน และ นิติธรรมระหว่างประเทศ (International Rule of Law) ดังนั้นผมจึงขอสรุปฟันธงเลยว่าปัญหา หากจะเป็นปัญหาจริง ๆ นั้นเป็นปัญหาของเราเอง ที่ไม่ช่วยกันสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้อง หลักการที่ถูกต้อง เพื่อนำไทยสู่การเผชิญหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่นับวันยิ่งสลับซับซ้อน หลงใหลวกวนอยู่แต่การเล่นการเมืองไปวัน ๆ และดีแต่พูดคำที่สวยหรูหลอกคนไทยไปวัน ๆ

ผมอยากให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เอากรณีการแต่งตั้ง ดร.นลินี เป็นการแสดงภาวะผู้นำ (leadership) ในฐานะผู้มีอำนาจสูงสุดในทางบริหาร ที่จะเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ฯ มาดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อการนี้ ขอให้เข้าใจและพึงระลึกอยู่เสมอว่าประเทศไทยเป็นรัฐที่มีเอกราชอธิปไตย (sovereign state) มีความเป็นอิสระ (Independence) และ มีความสามรถในการใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ (Autonomous State) ในการดำเนินการใด ๆ ตามเงื่อนไขแห่งรัฐธรรมนูญ ถูกต้องสอดคล้องกับหลักนิติธรรมระหว่างประเทศ (International Rule of Law)ในประการสำคัญการที่หน่วยงานหนึ่งในรัฐ ๆ หนึ่งประกาศขึ้นบัญชีดำใด ๆ ออกมา จะไปสร้างข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ (International legal binding) กับรัฐอีกรัฐหนึ่งให้ปฏิบัติตาม หรือไปมีผลบังคับเหนือบุคคลหรือยับยั้งสิทธิของพลเมืองของรัฐอีกรัฐหนึ่งมิ ให้ใช้สิทธิหรือยกเลิกเพิกถอนสิทธิใด ๆ ที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญต้องเสียไปนั้น ยังไม่มีรัฐประเทศใดในโลกใช้หลักการนี้ให้มีผลการกำหนดเป็นหลักเกณฑ์บังคับ ใช้ หรือแม้จะเป็นกรณีจารีตธรรมเนียมระหว่างประเทศ (International Norms) ในทางตรงกันข้ามกรณีของประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายอาญา กำหนดลักษณะความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร บัญญัติไว้ความว่า มาตรา ๑๑๙ “ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร ตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต”

สุดท้าย ดร.นลินี ในฐานะที่ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยชอบตามรัฐธรรมนูญ ก็อย่าหลีกหนีถอดใจลาออกตามข้อเรียกร้อง เพราะเท่ากับท่านมีส่วนในการทำลายอธิปไตยที่รัฐทุกรัฐมีเท่าเสมอกันตามกฎ บัตรสหประชาชาติ อีกทั้งการเดินตามหนทางเสียงเรียกร้องดังกล่าวนั้นมาจากความคิดที่ป่วย หนัก....