WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 25, 2012

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: จิตสาธารณะ

ที่มา ประชาไท


จิตสาธารณะคือการที่สมาชิกในสังคมตระหนักถึงความสำคัญในการเสีย สละแบ่งทรัพยากรหรือผลประโยชน์ส่วนตนให้กับสังคม เพื่อให้สังคมนั้นนั้นนำทรัพยากรหรือผลประโยชน์ส่วนนี้มาใช้ก่อเกิดประโยชน์ ให้กับสมาชิกทุกคนในสังคมตลอดจนตัวผู้ให้เอง

เราจะมาเริ่มต้นอธิบายกันว่าเหตุใดมนุษย์จึงมีความเชื่อเช่นนั้น?
มนุษย์มีกรรมสิทธิ์ (property) ในสิ่งที่ตนครอบครองและสามารถใช้ประโยชน์ในสิ่งที่ตนครอบครองได้ตามต้องการ แต่ทว่ามนุษย์เองเป็นสัตว์สังคม และไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ตามลำพัง กรรมสิทธิ์จะไม่มีประโยชน์ใดเลยถ้าไม่มีกรอบของสังคมมารับประกันความเป็น เจ้าของ ยกตัวอย่างเช่น สมมติเราอยู่ในยุคป่าเถื่อนที่ผู้แข็งแรงกว่าย่อมกินผู้ที่อ่อนแอกว่า กรรมสิทธิ์ไม่มีความหมายเมื่อผู้แข็งแรงกว่าสามารถใช้กำลังแย่งชิงสิ่งของ จากผู้อ่อนแอกว่าได้เสมอ

ดังนั้นมนุษย์จึงรวมตัวกันอยู่เป็นสังคม และกำหนดกรอบของสังคมเพื่อคุ้มครองสิ่งของที่ตนครอบครอง อย่างไรก็ตามปัญหาต่างๆ จะตามมามากมายยิ่งขึ้นถ้าจำนวนกรรมสิทธิ์ของเอกชนมากขึ้นตามลำดับ เราจะสามารถระบุได้อย่างไรว่า ของที่ใช้ร่วมกันไม่สามารถแยกจากกันได้ อย่างเช่น อากาศที่หายใจนั้นเป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อลดข้อขัดแย้งในสังคม สังคมจึงมีสินค้าสาธารณะขึ้นเพื่อให้ทุกคนในสังคมมีสิทธิร่วมใช้โดยมิได้ ระบุว่ามันเป็นของปัจเจกคนใดคนหนึ่ง การกำหนดสินค้าสาธารณะนั้นนอกจากเพื่อลดข้อขัดแย้งแล้ว ยังส่งผลช่วยเกิดประโยชน์ให้กับปัจเจกบุคคลและสังคมโดยรวมมากกว่าการเห็นแก่ ตัวครอบครองทุกอย่างเพียงผู้เดียว ยกตัวอย่างเช่น สมมติ นาย ก ต้องการสร้างสะพานข้ามแม่น้า ซึ่งถ้า นาย ก ต้องการสร้างเพื่อใช้คนเดียวแล้วกีดกันไม่ให้ผู้อื่นใช้ นาย ก ต้องสะสมเงินเป็นเวลานานเท่าใดถึงสามารถสร้างสะพานได้ และถ้าคนทั้งสังคมคิดเหมือนนาย ก แต่ละคนคงต้องเก็บเงินเพื่อสร้างสะพานทั้งชีวิต และสมมติเมื่อทุกคนเก็บเงินและสร้างเสร็จแล้ว สังคมนี้จะมีสะพานจำนวนมากโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าทุกคนในสังคมเจียดเงินรวมกันสร้างสะพานหนึ่งเส้นเพื่อให้ทุกคนได้ใช้ เป็นสินค้าสาธารณะแล้ว ทุกคนในสังคมก็สามารถมีสะพานใช้ได้ทันใจ และประหยัดทรัพยากรส่วนตัวและส่วนรวมได้มากกว่า

แนวความคิดที่นำทรัพยากรส่วนบุคคลมาเป็นทรัพยากรสาธารณะ หรือการก่อให้เกิดจิตสาธารณะนั้นมีสองแนวความคิดคือ สายอรรถประโยชน์นิยม (utilitarisme) และสายเสรีนิยม (liberal)

Utilitarisme and Liberalisme
สายอรรถประโยชน์นิยม Jeremy Bentham เชื่อว่าในระดับปัจเจกบุคคลสิ่งที่กระทบต่อประโยชน์สำหรับมนุษย์เช่น ความสุข ความเจ็บปวด สามารถวัดค่าเป็นสเกลและเปรียบเทียบได้ ผลประโยชน์เป็นแรงผลักดันของมนุษย์ให้เกิดกิจการต่างๆ มนุษย์ที่มีเหตุผลย่อมหาหนทางเพื่อให้ตนเองได้ผลประโยชน์สูงสุด และเพราะเนื่องจากอรรถประโยชน์ของปัจเจกคนสามารถบวกลบได้ ในระดับสังคม welfare ของสังคมจึงเกิดจากการบวกรวมกันของอรรถประโยชน์ปัจเจกทุกคนในสังคม

ถึงแม้มนุษย์แสวงหาประโยชน์ตนเองสูงสุด แต่ก็ตระหนักถึงความสำคัญในสภาพความเป็นอยู่ของสังคมที่สามารถส่งผลกระทบต่อ ประโยชน์ของพวกเขาทั้งทางตรงและทางอ้อม policy maker ที่เป็นพวกอรรถประโยชน์นิยมจึงสนใจที่จะแสวงหาว่าควรจะโอนถ่ายทรัพยากรของ แต่ละคนมาเท่าไรเพื่อนำทรัพยากรนี้ไปใช้ผลิตนโยบายสาธารณะที่ส่งผลประโยชน์ ให้ทุกคนในสังคมสูงสุดและส่งผลให้ welfare สังคมมากขึ้นตามมา เมื่อเขียนสมการจึงได้ว่า


(1)

W คือ welfare ของสังคม,
คือ ทรัพยการที่แต่ละคนควรถูกโอนถ่าย, คือ อรรถประโยชน์ของปัจเจกบุคคล, คือ ทรัพยากรที่ปัจเจกบุคคลมี, P คือ นโยบายสาธารณะ และ b คืองบประมาณ

สมการที่หนึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า หมายถึง งบประมาณสาธารณะมีค่าได้น้อยกว่าหรือเท่ากับทรัพยากรที่รัฐเก็บมาจากปัจเจกบุคคลทุกคน สมการที่หนึ่งมีจุดประสงค์เพื่อหา optimal เพื่อให้เกิด welfare สังคมสูงสุด

อย่างไรก็ตามมนุษย์มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตน ผู้ใดจะมาพรากมิได้ การที่รัฐโอนถ่ายทรัพยากรของเอกชนเพื่อไปใช้นโยบายสาธารณะจึงเป็นการละเมิด กรรมสิทธิ์ แต่ทว่าสังคมต้องการทรัพยากรเพื่อมาทำนโยบายสาธารณะให้เป็นจริง และปัจเจกบุคคลก็ตระหนักผลดีนี้เช่นกัน ปัจเจกบุคคลจึงเข้าร่วมสังฆกรรมนี้โดยการทำสัญญาประชาคม ให้องค์กรทางสังคมเป็นผู้มีอำนาจในการโอนถ่ายทรัพยากร ซึ่งองค์การทางสังคมนี้คือองค์การบริหารที่มีอำนาจทางกฎหมายรองรับ ถ้ารัฐกระทำการยึดกรรมสิทธิ์เอกชนใดๆ โดยปราศจากกฎหมายแล้วมันก็ไม่ต่างอะไรจากการปล้น

ในสายเสรีนิยมมีความเชื่อต่างจากสายอรรถประโยชน์นิยมว่า ปัจเจกบุคคลมีจิตสำนึกสาธารณะได้เองโดยรัฐไม่ต้องแทรกแซง ซึ่งต่างจากสายอรรถประโยชน์นิยมที่เชื่อว่า ปัจเจกบุคคลมีสายตาไม่กว้างไกลไม่สามารถรู้ได้ว่าควรจะถ่ายโอนทรัพยากร เท่าไร และการรอคอยความเมตตาให้คนบริจาคนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาแทรกแซงกำหนดว่าแต่ละคนควรจ่ายเท่าไร สำหรับสายเสรีนิยมนั้นการถ่ายโอนทรัพยากรของเอกชนเกิดได้เฉพาะกรณีที่เอกชน ยินยอมมอบให้เอง เช่นการบริจาค แต่จุดประสงค์ของสายเสรีนิยมนั้นมิใช่ welfare ของสังคม แต่ต้องการ maximize อรรถประโยชน์ของตนเอง และเป็นตัวปัจเจกบุคคลเองที่รู้ว่าควรจะจ่ายให้สาธารณะเท่าไรเพื่อที่ว่าตน เองได้ประโยชน์จากการให้ทั้งทางตรงและทางอ้อม สมการจึงเขียนได้ว่า

(2)

คือ อรรถประโยชน์ของบุคคล, คือ ทรัพยากรที่ปัจเจกบุคคล, คือทรัพยากรที่ปัจเจกบุคคลตัดสินใจโอนถ่าย และ D คือฟังก์ชันผลประโยชน์ที่เกิดจากการโอนถ่ายทรัพยากร

สมการที่สองมีจุดประสงค์เพื่อหา optimal ที่ทำให้ปัจเจกชนได้ประโยชน์สูงสุด โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเขาไม่สามารถบริจาคมากกว่าทรัพย์สินที่เขามี

ภาษีและการบริจาค
การมีจิตสาธารณะเพื่อโอนถ่ายผลประโยชน์หรือทรัพยากรนั้นมีได้หลายแบบ เช่น การโอนแรงงานให้สาธารณะ เป็นต้น แต่เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราจะดูกรณีเปรียบเทียบกันระหว่างภาษีกับการบริจาคด้วยเงิน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สามารถวัดค่าได้ชัดเจน เมื่อส่วนรวมจำเป็นต้องมีทรัพยากรเพื่อใช้กับนโยบายสาธารณะ การนั่งรอให้ปัจเจกบุคคลนั่งสมาธิเกิดนิมิตจิตสาธารณะขึ้นเพื่อแบ่งทรัพยากร มาให้นั้นอาจไม่เพียงพอ รัฐจึงทำการให้ทุกคนมีจิตสาธารณะขึ้นโดยการจ่ายภาษี

ภาษีคือ จำนวนเงินที่เอกชนมีหน้าที่ต้องจ่ายให้กับรัฐตามหน้าที่ที่กติกากฎหมายบ้าน เมืองเขียนเอาไว้ เพื่อที่ว่ารัฐจะได้นำภาษีมาใช้กับนโยบายสาธารณะเพื่อประโยชน์ทั้งต่อคนจ่าย ภาษีและทุกคนในสังคม และเมื่อปัจเจกชนตัดสินใจที่จะเซ็นสัญญาประชาคมนี้จึงต้องมีภาระหน้าที่ตาม มา ภาษีโดยตัวของมันเองแล้วคือการลดทรัพย์สินของปัจเจกชนอันเป็นการลดกำลังซื้อ และอรรถประโยชน์โดยตรง และสิ่งที่แตกต่างระหว่างภาษีกับเงินบริจาคคือ ภาษีนำมาเพื่อใช้กับนโยบายสาธารณะโดยที่รัฐบาลมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิด สวัสดิภาพโดยรวมในสังคมสูงสุด ดังนั้นบางนโยบายสาธารณะอาจไม่ส่งผลกระทบต่อ นาย ก แต่อาจจะส่งผลดีกับนาย ข และส่งผลเสียต่อ นาย ค แต่เมื่อรวมผลประโยชน์แต่ละคนรวมกันแล้วปรากฏว่า สวัสดิภาพของสังคมดีขึ้นนโยบายนี้ย่อมสมเหตุสมผล ซึ่งต่างจากเงินบริจาคตรงที่คนให้เป็นคนตัดสินใจยินยอมเองและผลประโยชน์จาก การบริจาคก็ให้กับตัวผู้ให้เองโดยตรง จึงไม่แปลกที่การเสียภาษีสร้างความไม่พอใจให้กับคนบางกลุ่ม และคนจำนวนมากจึงทำการหลีกเลี่ยงภาษี หรือออกมาโวยวายจะไม่จ่ายภาษี

แต่ทว่าภาษีเป็นหน้าที่ที่ทุกคนในสังคมต้องจ่ายตามกฎหมาย ข้ออ้างที่จะไม่จ่ายภาษีเพราะว่านโยบายสาธารณะไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ตน หรืออวดอ้างว่าภาษีนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ดังนั้นตนควรมีสิทธิในการกำหนดนโยบายสาธารณะเองนั้นย่อมฟังไม่ขึ้น บุคคลย่อมต้องรับผลของการไม่จ่ายภาษีเอง แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจกับเหตุการณ์ในสังคมไทยปัจจุบันชี้ให้เห็นว่ามีคน จำนวนมากไม่เข้าใจว่าภาษีคืออะไร การอวดอ้างว่า ภาษีเป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้วมีการลำเลิกบุญคุณนั้นจึงเป็นการไร้เหตุผล ยิ่ง เพราะ

  • ปัจเจกบุคคลมีกรรมสิทธิ์เฉพาะในทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น ซึ่งถ้าคุณเหมารวมว่าภาษีทั้งหมดเป็นของคุณย่อมเป็นการมั่วซั่วอย่างยิ่ง เช่น ถ้าคุณจ่ายภาษีตลอดทั้งชีวิตรวมทั้งหมดหนึ่งแสนบาท คุณก็ควรเป็นเจ้าของเฉพาะแสนบาท การที่รัฐบาลออกนโยบายเยียวยามูลค่ากว่าพันล้านบาทแล้วคุณไม่พอใจ คุณก็ควรจะเรียกร้องในส่วนที่คุณเสีย ไม่ใช่มาเหมารวมความเป็นเจ้าของทั้งหมด เพราะภาษีเกิดจากรวบรวมเงินจากทุกคนในสังคม มิใช่ว่าคุณไม่พอใจแล้ว คนอื่นจะไม่พอใจตามคุณด้วย

    อย่างไรก็ตาม การคิดแบบนี้เป็นวิธีการคิดที่ผิดอย่างยิ่งและไม่ควรเกิดขึ้นในสมองเลย เพราะมันหมายความว่าคนที่จ่ายภาษีมากกว่าย่อมเสียงดังมากกว่าในสังคม ซึ่งในสังคมประชาธิปไตยมันไม่ใช่ ทุกคนเท่าเทียมกันหมดภายใต้การเลือกตั้ง หนึ่งคนหนึ่งเสียง แค่คุณคิดว่าเพราะคุณจ่ายภาษีจึงเป็นเจ้าของภาษี มันก็เป็นการเริ่มต้นที่ผิดแล้วการไม่พอใจนโยบายสาธารณะแล้วออกมาวิจารณ์ นั้นเป็นสิทธิที่ทุกคนทำได้ แต่อย่างน้อยควรอยู่ในกรอบของกฎหมายที่ถูกต้อง และความเข้าใจที่ดีก่อน

  • และถ้าวิเคราะห์ให้ลึกซึ้ง ภาษีนั้นไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ถึงแม้รัฐบาลเป็นผู้ใช้จ่ายภาษีก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเจ้าของ รัฐบาลเป็นแค่ตัวกลางที่นำภาษีมาใช้ตามนโยบายสาธารณะที่ตนเองหาเสียงก่อน เลือกตั้งให้เป็นจริง ปัจเจกบุคคลหมดสภาพกรรมสิทธิ์ในเงินภาษีที่จ่ายไปนับตั้งแต่ที่เขาจ่ายไป แล้ว

    การที่รัฐมีนโยบายสาธารณะต่างๆ เป็นหน้าที่ของรัฐ และภาษีที่รัฐใช้ก็ไม่ใช่ของรัฐ ดังนั้นข้อดีของนโยบายสาธารณะคือ บุคคลที่ได้รับประโยชน์นั้นไม่ได้เป็นหนี้ชีวิตใครที่ต้องชดใช้คืน เพราะว่ารัฐไม่ได้มีตัวตนจริง ยกตัวอย่างเช่น กรณีทุนการศึกษาที่ใช้เงินภาษีอากรจ่าย ผู้ที่มีสิทธิได้รับทุนนั้นไม่ได้เป็นหนี้ชีวิตรัฐแต่อย่างใด รัฐเพียงแต่ให้เงินทุนกับคนนี้เพราะเชื่อได้ว่าจะสามารถนำความรู้ที่เรียน มากลับมาผลิตผลประโยชน์ให้ตนเองตลอดจนคนอื่นๆ มากขึ้นและส่งผลให้สวัสดิภาพสังคมโดยรวมมากขึ้นตามมา ส่วนการใช้ทุนนั้นไม่ได้หมายความว่านักเรียนทุนทำการชดใช้บุญคุณของรัฐแต่ อย่างใด มันเป็นเพียงแต่ข้อสัญญาระหว่างรัฐกับนักเรียนทุนเท่านั้นว่า หลังจากจบการศึกษาแล้วจะกลับมาทางานในประเทศ การทวงถามบุญคุณจากนัก เรียนทุน โดยที่ตนเองไม่ได้ออกเงินสักบาทและภาษีนั้นไม่ได้มีใครเป็นกรรมสิทธิ์ใคร จึงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดอย่างยิ่ง

ส่วนเงินบริจาคนั้น ผลประโยชน์ที่ได้จากการทำบุญมีทั้งทางตรง เช่น ทำบุญเพื่อได้ชื่อเสียง สร้างภาพลักษณ์ ได้การยอมรับในสังคม เพื่อลดภาษี ได้ความอิ่มเอมใจ หรือตลอดจนเพื่อได้ขึ้นสวรรค์เป็นต้น ผลประโยชน์ทางอ้อม เช่น เงินบริจาคให้กับสมาคมหนึ่ง นำไปช่วยให้เด็กมีการศึกษามากขึ้นและลดอัตราการเกิดอาชญากรรมเป็นการส่งผล ทางอ้อมให้ผู้ให้สามารถมีชีวิตในสังคมได้อย่างสงบสุข อย่างที่กล่าวไว้แล้ว การบริจาคแตกต่างจากภาษีสองประการคือ การบริจาคมีไว้เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง และผู้ให้รู้เองว่าจะให้เท่าไรถึงจะดีกับตัวเองที่สุด แตกต่างจากภาษีที่รัฐเป็นคนมาตัดสินโดยที่ไม่รู้ว่าผู้เสียภาษีจะได้ ประโยชน์จริงหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ เราอาจเจอคนที่นิยมชมชอบการทำบุญแต่กลับหลบเลี่ยงหนีภาษี

นอกจากนี้การบริจาคสามารถก่อให้เกิดห่วงโซ่สำนึกบุญคุณขึ้น มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่สามารถระบุตัวผู้ให้และผู้รับได้ชัดเจน การบริจาคทำให้เกิดสภาพความไม่เท่ากันระหว่างผู้ให้และผู้รับ เมื่อผู้ให้รู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้รับ และสามารถเรียกร้องบุญคุณใดๆ ได้จากผู้รับ แต่ทว่าการทวงลำเลิกบุญคุณเป็นวิสัยที่มนุษย์ปุถุชนที่ดีควรทำหรือ? เพราะการบริจาคนั้นส่งผลดีโดยตรงกับตัวผู้ให้เองอยู่แล้ว แล้วผู้ให้ยังคงหวังผลตอบแทนในอนาคตจากผู้รับอีกหรือ? ถ้าผู้ให้หวังจะให้ผู้รับมาตอบแทนในอนาคตแล้วการบริจาคก็ไม่ได้แตกต่างจาก การลงทุนเลยและยังเป็นการลงทุนที่ใช้ทุนต่ำมาก เพียงแค่คุณให้เงินคนอื่นคุณก็สามารถทวงบุญคุณได้ชั่วชีวิต และถ้าวิเคราะห์กันตามจริงแล้วกรรมสิทธิ์ในตัวเงินที่ให้มันถูกโอนถ่ายไปให้ ผู้รับตั้งแต่ผู้รับได้เงินบริจาคนั้น

บทส่งท้าย
การจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีจิตสาธารณะไม่ได้ยากเย็นอย่างที่คิด โดยทุกคนสามารถแบ่งผลประโยชน์บางส่วนให้กับสาธารณะ เพื่อให้สังคมนำกลับมาสร้างประโยชน์ให้กับทุกคน ถ้าทุกคนมีจิตสำนึกได้เองว่าจิตสาธารณะเป็นสิ่งจำเป็น ก็สามารถกระทำการได้เองตามแนวเสรีนิยม หรือถ้าคุณนิยมจิตสาธารณะแบบตามข้อบังคับจากรัฐส่วนกลาง ก็เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการนำธุรกิจใต้ดินมาอยู่บนดินและจ่ายภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย เท่านี้คุณก็ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลมีจิตสาธารณะแล้ว

ไม่เข้าใจอย่างยิ่งว่ารัฐบาลจะเสียเงินเป็นพันล้านให้คณะกรรมการหนึ่งวิจัยเรื่องจิตสาธารณะไปทำไม