WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 27, 2012

กระบวนการยุติธรรมที่ไร้ความรู้สึก

ที่มา ประชาไท

กฎหมายในโลกสมัยใหม่จำเป็นต้องมีความชัดเจน แน่นอน มั่นคง เพื่อผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย โดยเนื้อหาสาระของการกระทำใดที่จะเป็นความผิดจะต้องมีการระบุและอธิบายไว้ อย่างชัดเจนล่วงหน้า เพื่อหวังว่าคนที่กำลังชั่งใจว่าจะทำดีหรือไม่จะได้ใช้เป็นต้นทุนประกอบการ ตัดสินใจและงดเว้นการกระทำผิดเสีย
อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญกว่า คือ กระบวนการที่จะพิสูจน์ว่าบุคคลได้กระทำการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดหรือไม่
กฎหมายหมายในปัจจุบันจึงต้องมีการบัญญัติถึง กระบวนการพิสูจน์ “ความจริง” ว่าบุคคลได้กระทำจริงดังที่ได้มีการกล่าวหากันหรือไม่ การตัดสินว่าบุคคลนั้น “ถูก หรือ ผิด” จึงเกิดตามภายหลังดังนั้นกระบวนการยุติธรรมที่พิสูจน์ข้อเท็จจริงจะต้องยืน อยู่บนหลักฐานในเชิงประจักษ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ผลที่ชัดเจนแน่นอน ก่อนที่จะนำข้อเท็จจริงนั้นมาปรักปรำให้บุคคลต้องรับโทษทัณฑ์
จากประสบการณ์อันเลวร้ายในทุกสังคม ซึ่งประวัติศาสตร์ได้สะท้อนการกระทำอันเป็นผลร้ายต่อผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า บทเรียนเหล่านั้นได้ก่อให้เกิดกระบวนการยุติธรรมต้องมีการประกันสิทธิของคู่ กรณี เพื่อป้องกันการลงโทษ “แพะ” ที่ถูกลากมาให้ “รับบาป” จากสิ่งที่ตนมิได้กระทำ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในปัจจุบันจึงกำหนดให้ คู่กรณีฝ่ายที่ถูกกล่าวหา หรือ “จำเลย” ได้รับการประกันสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเข้มแข็ง ด้วยเหตุว่า ถ้าจำเลยต้องคำพิพากษาว่า “ผิดจริง” จะต้องรับโทษทางอาญาที่มีผลร้ายแรง ลิดรอนสิทธิอย่างกว้างขวางและยาวนาน
บทบาทการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาจึงต้อง คำนึงถึง หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้อย่างปราศจากข้อสงสัย ว่าผิดจริง ดังที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ในคดีอาญาหลายกรณี ศาลได้ใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาจจะมิได้พิเคราะห์คำอธิบาย ที่แตกต่างจากการรับรู้ทั่วไปของสังคมที่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของวาทกรรม “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ซึ่งมีความคลุมเครือ
ยกตัวอย่างคดีอาญาหลายคดี เช่น คดีสิ่งแวดล้อม คดียาเสพย์ติด คดีก่อการร้าย คดีการใช้สิทธิในการชุมนุม และคดีการแสดงความคิดเห็นอันสุ่มเสี่ยงต่อความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือความ มั่นคง ประชาชนที่ตกเป็นจำเลยมักจะพยายามอธิบายการกระทำซึ่งเป็นข้อเท็จจริงแห่งคดี ที่แตกต่างไปจากวาทกรรมเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ และตุลาการเข้าใจ และยึดถือเป็นสรณะ แต่ในแทบทุกคดีไม่ได้รับการตอบสนอง
ท่ามกลางข้อถกเถียงและโต้แย้งว่า ขอบเขตของสิ่งที่เรียกว่า “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ควรจะหมายถึงอะไร กรณีใดจะเข้าลักษณะดังกล่าว ประชาชนที่แสดงความเห็นต่างในหลายคดี ก็ต้องคำพิพากษาจำคุกมาอย่างต่อเนื่อง
จากการทบทวนความคิดเห็นของประชาชนชาวไทยในพื้นที่สื่อสาธารณะทั้งหลาย ทั้งในข่าว บทสัมภาษณ์ เครือข่ายทางสังคมบนโลกอินเตอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งโพลล์ คนในสังคมไทยมักแสดงออกว่ายอมรับในความหลากหลาย แต่เมื่อเกิดคดีในกลุ่มข้างต้น พวกเขากลับดูดายต่อผู้ที่เห็นต่างในกรณีเหล่านี้ โดยเฉพาะในเมื่อคดีเข้าสู่การพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม
การตีความเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ของผู้ที่ใช้อำนาจรัฐทั้งฝ่ายปกครองอันมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นหลัก และการตีความของฝ่ายตุลาการที่มีผู้พิพากษาเป็นหัวหอก โดยพยายามเชื่อมโยงประเด็นเหล่านี้เข้ากับ “ความรู้สึก” ย่อมมีผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้เห็นต่างเป็นอย่างมาก ไม่ว่ารัฐจะอ้างว่าเป็น “ความรู้สึกของปวงชนชาวไทย” แต่คนที่อ้างก็มิเคยทำประชามติหรือประชาพิจารณ์ หรือแม้มีลูกขุนมาให้ความเห็นเลยสักครั้ง
ท่ามกลาง “ฝุ่นควันของความขัดแย้งทางความคิดในช่วงเปลี่ยนผ่าน” การใช้อำนาจรัฐดำเนินการต่อความหลากหลายทางความคิดย่อมกดทับ ความพยามยามในการต่อสู้ทางการเมืองบนพื้นฐานของสันติวิธีให้เหี้ยนเตียนไป อนึ่งการแสดงความคิดเห็นเป็นวิธีการที่ประหยัดเลือดเนื้อที่สุดอันควรค่าแก่ การรักษา
กระบวนการยุติธรรมที่ตีความขยายขอบเขตเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” “ความสงบเรียบร้อยของสังคม” และ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” ออกไปจำกัดการใช้สิทธิของประชาชน โดยอ้างเรื่อง “ความรู้สึก” ย่อมเป็นการทำลายความเป็นคนที่ตั้งอยู่บนความแตกต่างหลากหลายเป็นที่สุด
หากต้องการรักษาสันติภาพไว้ในสังคมไทยที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่แหลม คมขึ้นเรื่อง การตีความและใช้กฎหมายบนพื้นฐานของเหตุผลที่รองรับด้วยกฎหมายที่ประกันสิทธิ เสรีภาพเป็นที่ตั้ง ย่อมเป็นหนทางที่ “ต้องเลือก” อย่างถึงที่สุด เนื่องด้วยกฎหมายลำดับรองและการบังคับใช้กฎหมายเหล่านั้นภายใต้บริบทของรัฐ ไทยที่มีปัญหาเรื่องอำนาจนิยมจะมีผลต่อการลิดรอนสิทธิของประชาชนไม่ฝ่ายใดก็ ฝ่ายหนึ่งเสมอ แล้วแต่ว่าตอนนั้นอำนาจรัฐอยู่กับใคร ดังนั้นการยึดมั่น “สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” จึงมีความสำคัญต่อทุกคนที่อาจจะตกเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐเมื่อไหร่ก็ได้
หากกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านยังไม่มีการปรับตัว และคงดำเนินไปอย่างชาชินต่อความรู้สึกเจ็บปวด ทรมาน ไม่ยุติธรรม ของเหยื่ออธรรม ซึ่งสั่งสมขึ้นเป็นความคลั่งแค้น กงล้อแห่งความรุนแรงย่อมหมุนไปบนเงื่อนไขที่ทำให้สังคมก้าวเดินไปสู่ภาวะ “ไร้ความรู้สึกต่อเพื่อนมนุษย์” ในท้ายที่สุด
เมื่อจุดแตกหักทางความคิดและกระบวนการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมา ถึง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ “มนุษยธรรม” ต่อผู้ที่เห็นต่าง ก็อาจจะไม่หลงเหลืออยู่ในสังคมนี้อีกเลย เพราะท่ามกลางความขัดแย้งที่กำลังคุกรุ่น และพร้อมที่จะระเบิดขึ้นนั้น คนที่มีความกลัวย่อมเกิดความหวากระแวงและพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงเข้าประหัต ประหารฝ่ายตรงข้ามในในอีกไม่ช้า