WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, December 21, 2009

กกต.กับคดีเงินบริจาคปชป.

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




โคทม อารียา /ธีระ สุธีวรางกูร

การประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. มีมติเสียงข้างมาก

เห็นควรส่งข้อกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาค จำนวน 258 ล้านบาท จากบริษัททีพี ไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) และกรณีไม่ได้ใช้จ่ายเงิน กองทุนพัฒนาการเมืองที่ได้รับจาก กกต. ตามวัตถุประสงค์ อาจเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.พรรคการ เมือง

ให้ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการ เมืองพิจารณาทำความเห็นว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรม นูญวินิจฉัยยุบพรรคหรือไม่

มติดังกล่าวส่งผลให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการซื้อเวลาเพื่อช่วยเหลือพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่หลังจากคดีนี้ยื้อมานานพักใหญ่

นอกจากนี้การที่นายอภิชาต สุขขัคคานนท์ ประธาน กกต. เป็น กกต.เสียงข้างน้อยที่เห็นควรให้ยกคำร้องกรณีดังกล่าว

ทำให้การพิจารณาทำความเห็นในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ถูกจับตาว่าผลจะออกมาอย่างไร

แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น นักวิชาการและอดีตกกต. สะท้อนกรณีดังกล่าวไว้เป็นแง่คิด ดังนี้



โคทม อารียา

อดีตกกต.



สำหรับข้อกฎ หมายในกรณีดังกล่าวมีบางส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต เนื่องจากมีการเปลี่ยนกฎหมายจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

ตอนผมเป็นกกต. ขณะนั้น การจะมีคำวินิจฉัยและพิจารณา เรื่องที่เกี่ยวกับพ.ร.บ.พรรคการ เมือง

ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองต้องขอมติและความเห็นจาก กกต.ทั้ง 5 คนก่อน

ส่วนที่กกต.ชุดนี้มีมติเสียงข้างมากส่งเรื่องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองเพื่อทำความเห็นนั้น

ไม่ได้เป็นการโยนเผือกร้อน แต่เป็นการมอบภาระให้กับนายทะเบียนพรรคการเมือง

เราต้องมองย้อนกลับไปดูว่ากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในตอนนี้ ต้องการให้บุคคลเพียงคนเดียววินิจฉัยหรือต้องการให้กกต.ทั้ง 5 คนพิจารณา

แต่ยอมรับว่าการดำเนินการของกกต.ในเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องแปลก

เสรี สุวรรณภานนท์ / กิตติศักดิ์ ปรกติ



เนื่องจากเรื่องนี้กกต.พิจารณาและตรวจสอบมานานหลายเดือนแล้ว เมื่อมาถึงตอนนี้กกต.กลับมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการพิจารณาและวินิจฉัยกลางคัน

เราต้องมองย้อนกลับไปว่าเพราะเหตุใด หรือมีความจำเป็นอะไร

ที่ทำให้กกต.ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการพิจารณาและวินิจฉัย



ธีระ สุธีวรางกูร

อาจารย์นิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



ต้องดูข้อกฎหมายว่าให้อำนาจประธานกกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการ เมืองเป็นผู้ชี้ขาด เรื่องนี้ หรือให้กกต. ชุดใหญ่ชี้ขาด

ถ้ากฎหมายให้อำนาจหน้าที่นายทะเบียนพรรคชี้ขาดถือว่าเป็นไปตามขั้นตอน ไม่ได้เป็นการโยนเผือกร้อน

แต่หากกฎหมายไม่ให้อำนาจนายทะเบียนพรรคการเมืองถือว่าผิดขั้นตอน เพราะคนมีหน้าที่พิจารณา กลับไม่ทำหน้าที่

แต่ถ้ากฎหมายให้นายทะเบียนพรรคการเมืองหรือประธานกกต.ชี้ขาด แต่ประธานกกต.เป็นเสียงข้างน้อยที่ไม่ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็ว่ากันไม่ได้อีก

ส่วนประธานกกต.จะพิจารณาอย่างไร ลำเอียงหรือไม่ ต้องดูเหตุผลว่าใช้หลักกฎหมายข้อใดมารองรับว่าไม่ต้องยุบพรรค หรือเทียบกับการยุบพรรคอื่นๆ แล้ว แตกต่างกันอย่างไร

สำหรับการทำงานของกกต.ชุดนี้บอกตรงๆ ว่าที่มาของกกต.ถูกตั้งข้อสงสัยมากเพราะมาจากประกาศคปค.

ผมไม่ได้บอกว่าไม่ยุติธรรม แต่เมื่อถูกตั้งข้อสงสัยในเรื่องที่มาแล้ว หากกระบวนการทำงานของกกต.น่าเชื่อถือก็อาจทำให้ข้อสงสัยลดลงได้

แต่ดูกระบวนการทำงานยิ่งทำให้ถูกตั้งข้อสงสัย เช่น บางเรื่องพิจารณาล่าช้า บางเรื่องพิจารณาเร็วอย่างไม่มีเหตุผล เทียบเชิงเนื้อหา การทำงานไม่สามารถหาดุลยภาพได้

ทำให้กระบวนการถูกตั้งคำถามซ้ำถึงดุลยภาพที่ช้าหรือเร็ว

ผมไม่ได้สรุปว่าการทำงานของกกต.ไม่ดีหรือบก พร่อง เพียงแต่ตั้งข้อสงสัยถึงที่มาและวิธีทำงาน

ว่าอาจทำให้คนตั้งข้อสงสัยว่าทำงานเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้



เสรี สุวรรณภานนท์

อดีตรองประธานสภา

ร่างรัฐธรรมนูญปี"50



คงตอบไม่ได้ว่ามติของกกต. ที่ใช้ช่องทาง ตามมาตรา 95 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ให้นายทะเบียนพรรค การเมืองคือประธานกกต. ตรวจสอบและทำความเห็นก่อนดำเนินการขั้นต่อไปนั้น เป็นการอุ้มพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่

ตอนแรกเมื่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งเรื่องเงินบริจาคพรรคประชาธิปัตย์ 258 ล้านบาทให้ กกต.พิจารณา กกต.สามารถส่งเรื่องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาได้เลย แต่กกต.ได้เลือกช่องทางตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบแทน

ขั้นตอนจากนี้ไป อยู่ที่นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องตรวจสอบและเป็นผู้รับผิดชอบ

ถ้าหากพิจารณาแล้วนายทะเบียนพรรคการเมืองบอกว่าไม่ผิดก็ไม่มีเหตุการณ์นำไปสู่การยุบพรรค ไม่ต้องนำเรื่องให้กกต.พิจารณาอีก

แต่ถ้าพบมีการกระทำผิดจริง นายทะเบียนพรรคการ เมืองต้องส่งเรื่องกลับมาให้กกต. ก่อนจะส่งให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคต่อไป

คดีนี้มีการพูดกันมาก ว่ามีเหตุหรือไม่มีเหตุแห่งการยุบพรรค หากนายทะเบียนพรรคการเมืองมีคำตอบกลับมาว่าไม่ผิด ก็ต้องมีเหตุผลที่อธิบายได้

เพราะหากใช้ดุลพินิจที่แตกต่างหรือฝืนกับข้อเท็จจริง นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง

ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีความผิดจริงแล้วบอกไม่ผิด การเมืองคงร้อนระอุขึ้นแน่ เรื่องนี้สาธารณชนสามารถวิเคราะห์ได้จากลำดับความเป็นมาของคดีที่เกิดขึ้น

ส่วนข้อครหาเรื่องสองมาตรฐานที่ว่าทำอย่างไรพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มีวันถูกยุบนั้น

ผมมองว่าก่อนหน้านี้ผู้เกี่ยวข้องมีวิธีการทำงานหรือปฏิบัติกันมาอย่างไรทั้งเรื่องหลักการและเกณฑ์การพิจารณา น่าจะยึดปฏิบัติตามนั้น



กิตติศักดิ์ ปรกติ

อาจารย์คณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



การพิจารณาคดีเงิน บริจาคพรรคประชา ธิปัตย์ของกกต. ต้อง ดูว่าพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงคดีนี้ชัด เจนหรือไม่ น่าเชื่อถือหรือไม่ พยานหลักฐานขัดกันเองหรือไม่

หากพยานหลักฐานไม่ชัดเจน การพิจารณาเสียงก้ำกึ่งก็อาจมีปัญหา แต่ถ้าพยานหลักฐานชัดเจน แม้เสียงก้ำกึ่ง ก็ไม่มีปัญหา

กรณีที่เกิดขึ้นต้องดูพฤติการณ์ของกกต. เพราะคนเป็นกกต.มีเกียรติยศชื่อเสียง เป็นผู้พิพากษา ทำไมถึงจะเอาเกียรติยศที่ทำมาตลอดชีวิตมาทิ้งง่ายๆ

ตอนนี้ยังไม่อยากให้ไปตัดสินใคร หากไม่มีหลักฐานพยานว่า กกต.ไปทำสิ่งที่ได้ประโยชน์โดยมิชอบก็ต้องให้เกียรติ เราต้องเชื่อว่ากกต.ตัดสินโดยสุจริตไว้ก่อน

แต่หากมีพยานหลักฐานว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับการรับประโยชน์ ทำให้ข้อตัดสินไม่น่าเชื่อถือก็เป็นปัญหาได้

ส่วนที่โยนเรื่องให้ประธานกกต. ในฐานะนายทะเบียน พรรคการเมืองชี้ขาดคดีนี้ ความจริงกกต.มีหน้าที่ตัดสินคดีโดยเร็ว แต่กกต.ก็ต้องดูหลักฐานข้อเท็จจริง อาจไม่ใช่การโยนเผือกร้อนให้ประธานกกต.

แต่การทำหน้าที่ตัดสินคดีครั้งนี้ยิ่งต้องแสดงให้ชัดเจนว่าตัดสินเพื่อผลประโยชน์ของบ้านเมือง

อาจไม่ใช่เผือกร้อน แต่ในทางกลับกันจะเป็นเกียรติกับตัวเอง เพราะสิ่งที่ประธานตัดสินจะสะท้อนการรักษาประโยชน์สาธารณะ และต้องตัดสินบนฐานความถูกต้อง ตามหลักกฎหมาย

การทำงานของกกต.หากตัดสินไม่ถูกใจใครอาจมองว่าลำเอียงได้ แต่ต้องดูเหตุผลการพิจารณาว่าสอดคล้องกฎหมายหรือไม่ กกต.ตัดสินอะไร ก็ต้องทำเร็ว

หากเห็นว่าเกี่ยวข้องมีประโยชน์ได้เสีย ต้องปล่อย ให้คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปทำ ต้องละวางบ้าง