บทความโดย..ลูกชาวนาไทย
การเมืองแบบสี คือพัฒนการทางการเมืองที่ก้าวหน้าของไทย เป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์
บาง คนอาจวิตกกังวลเกี่ยวกับการแตกแยกของสังคมไทยที่แบ่งออกเป็นสองขั้ว อย่างชัดเจน เรียกว่าประชาชนแบ่งสี เป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นที่น่าวิตกกังวลยิ่งนัก เพราะมันหมายถึงความแตกแยกของคนในชาติ
คน ไทยเคยอยู่ในสังคมที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันทางอุดมการณ์ทางการเมืองมาก่อน แม้จะมีสงครามความไม่สงบภายในสมัยการปราบปรามคอมมิวนิวส์ ซึ่งเป็นการต่อสู้กันทางอุดมการณ์ แต่หากวิเคราะห์กันให้ลึกจริงๆ ก็เป็นการต่อสู้ของคนส่วนน้อยจำนวนหนึ่งที่เป็นปัญญาชนก้าวหน้าในสมัยนั้น รับเอาอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นกระแสโลกในเวลานั้น เพื่อเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ตามความเชื่อและอุดมการณ์ในขณะนัน
แต่ ประชาชนไม่ได้เข้าร่วมทั้งประเทศ ในระดับทั้งสังคมเหมือนในเวลานี้ แม้จะมีผลกระทบต่อสังคมบ้าง แต่ก็ไม่ได้ซึมรากลึกเ้ข้าไปถึงจิตใจของประชาชนอย่างแท้จริง เหมือนการต่อสู้ใน "สงครามสองสี ปี 2549-2553...."
หาก มองให้ลึกลงไป การแบ่งแยกของสังคมไทยเป็นสองสีในปัจจุบันนี้ ไม่ได้เป็นการแบ่งแยกที่ตื้นเขิน แต่เป็นการแบ่งแยกกันทางอุดมการณ์และความเชื่อมากกว่า โดยแต่ละสี หมายถึงความเชื่อและอุมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน
เท่าที่ผมมีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมืองในขณะนี้มาตั้งแต่ต้น เราสามารถแบ่งอุมการณ์ของแต่ละสีออกได้ค่อนข้างชัดเจน
สีแดง หมายถึง ความคิดและความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมือง ประชาธิปไตยเสรีนิยม (Liberal Democracy) บวกกับแนวคิดแบบ สังคมนิยมประชาธิปไตย (Socialism Democracy) ซึ่ง หมายถึงความเชื่อในความเป็นประชาธิปไตย เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน ความยุติธรรม เป็นต้น ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ส่งเสริมการแข่งขันกันทางการเมือง เพื่อประชาชนจะได้มีทางเลือกที่ดีกว่า และเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ
สีเหลืองหมายถึง ความคิดความเชื่อแบบ อนุรักษ์นิยม บวก ฟาสซิสม์ และชาตินิยมแบบคลั่งชาติ (Conservative + Fascism + Nationalism) พวกอนุรักษ์นิยม บูชาความสงบเรียบร้อยของสังคม (Social Order) การ เชื่อฟังคนชั้นนำ ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ไม่ส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงมาก ต้องการให้สังคมเปลี่ยนแปลงช้าๆ หรือหยุดอยู่กับที่ เพื่อรักษาระเบียบแบบแผนดั้งเดิมของสังคมไว้ ซึ่งระเบียบแบบแผนเดิมหมายถึงโครงสร้างที่คนชั้นนำได้เปรียบมาแต่ดั้งเดิม
เราจะเห็นว่าในช่วงแรกของความวุ่นวายของสังคมไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2549 นั้น อุดมการณ์ของแต่ละสีเสื้อยังไม่ชัดเจนมากนัก อาจมองเห็นคร่าวๆ ว่าพวกเสื้อแดงคือ พวกที่นิยมทักษิณ พวกเสื้อเหลืองคือพวกที่นิยมเจ้า (Royalist) แต่ การต่อสู้และความขัดแย้งทางการเมืองที่ยาวนานมากทีสุดในประวัติศาสตร์ของ ชาติไทย มีการณรงค์ในลักษณะสงครามที่ระดมคนออกมาต่อสู้กันอย่างเต็มที่ เพียงแต่ไม่ติดอาวุธเข้าแถวยิงกันเท่านั้นเอง แต่ก็มีการปะทะกันแบบย่อยๆ หลายครั้ง รวมทั้งมีการตั้งค่าย ปักหลักประท้วงกันอย่างยาวนายหลายเดือน ของแต่ละฝ่ายทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลือง
การ โต้แย้งกันทางเว็บไซต์แบบสงครามไซเบอร์ที่สู้กันทางความคิดอย่างรุนแรง มีการจัดตั้งสื่อของแต่ละฝ่ายออกมาต่อสู้กันแบบเต็มรูปแบบ ทำให้ "อุดมการณ์ของแต่ละสีเสื้อชัดเจนขึ้น" อย่างที่ผมได้แบ่งแยกเอาไว้
พัฒนาการ ของสังคมที่เป็นการต่อสู้กันทางอุดมการณ์แบ่งแยกออกเป็นสองฝ่าย สองอุดมการณ์อย่างชัดเจนนั้น ถือเป็นความก้าวหน้าทางสังคมอย่างชัดเจน
สังคมที่เคลื่อนตัวจากสังคมเกษตรกรรม เข้าสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมนั้น มักจะมีการต่อสู้กันทางอุดมการณ์ทางการเมืองเสมอ เพราะ โครงสร้างและระบบความเชื่อของสังคมเปลี่ยนแปลงจากเดิม เพราะคนได้อพยบออกจากสังคมหมู่บ้าน เข้าสู่สังคมเมือง หลุดพ้นจากกรอบดั้งเดิมของสังคม ทำให้รับอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง ระบบการสื่อสารที่ก้าวหน้า รวดเร็ว ทำให้ความคิดและอุดมการณ์แผ่ขยายดัวอัตราความเร็วที่เร็วกว่าในอดีตมากมาย นัก
ดังนั้น เรา จึงไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลกับ การแบ่งสีของสังคมไทยในเวลานี้ให้มากนัก เพียงแต่คนไทยต้องเรียนรู้ที่จะต้องต่อสู้กันอย่างสันติในระบบเลือกตั้ง และยอมรับระบบเลือกตั้งหรือเสียงส่วนใหญ่เท่านั้น แบบที่เกิดกับประเทศในตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน ที่ผ่านจุดนี้มาเกือบสามร้อยปีแล้ว หากไม่ยอมรับระบบเลือกตั้ง สุดท้ายก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและเกิดวสงครามกลางเมืองเสมอ ไม่มีทางที่สังคมที่ระบบความเชื่อเปลี่ยนไปแล้วจะสามารถควบคุมให้สังคมหยุด นิ่งไม่ปลี่ยนแปลงเลยแบบสังคมไทยก่อนปี 2549 ได้
สงคราม สีเสื้อยังไม่จบ แต่จุดจบของสงครามแบ่งสีครั้งนี้ หากติดตามประวัติศาสตร์พัฒนาการลำดับขั้นของสังคม ก็จะสามารถคาดเดาได้ว่าจะจบลงแบบใด เพียงแต่ว่าหาก ชนชั้นนำมีขันติธรรม และคุณธรรมมากพอ สังคมก็จะผ่านจุดนี้ไปได้อย่างสันติไม่นองเลือด
แต่สังคมไทยได้นองเลือดไปแล้วในเดือนพฤษภาคม 2553 และผมยังมองไม่เห็นว่าชนชั้นนำนั้นมี อัจฉริยภาพและสายตาที่ยาวไกลพอ ยังเข่าใจอยุ่นั่นเองว่าตัวเองสู้กับทักษิณ มองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและระบบความเชื่อของคนในสังคม จึงเห็นพวกเขาทุ่มโปรประกันดา ในระบบความเชื่อแบบดั้งเดิมอย่างเต็มที่ ซึงทำอย่างไรมันก็คงเปลี่ยนประชาชนที่ก้าวหน้าไปแล้วให้ถอยหลังกลับไปแบบ เดิมและหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นไม่ได้
พัฒนาการในเวลานี้จึงมองเห็นแต่หนทางนองเลือดและความรุนแรงอยู่ข้างหน้า
แต่ผมเชื่อว่าทุกสังคมมีทางออกที่เราคาดไม่ถึงอย่เสมอ Life have it own way ชีวิตมีทางออกที่เราคาดไม่ถึงเสมอ
สงครามสองสีเสื้อจึงเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าของการเมืองไทย ในระดับคุณภาพอย่างชัดเจน