WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 14, 2010

Asia Update TV DNN

ที่มา Asia Update TV

คอลัมน์อัพเดท 13-08-53




รายงานพิเศษ : เจาะสนามเลือกตั้ง สก.-สข. เมืองหลวง



ข่าววันละคำ 13-08-53



ญาติเหยื่อพฤษภาร้อง เพื่อไทยหาคนผิด



เพื่อไทยชี้ ระเบิดเชียงใหม่รัฐบาลอยู่เบื้องหลัง



“เสธ.หนั่น”โบ้ย “ปู่ชัย”ต้นเหตุสภาฯล่ม



ปชป.มั่นใจเสียงรัฐบาลมีเอกภาพผ่านงบ 54



“ฮุนเซน”สั่งถอนทหารรับ “บันคีมูน”



สัมภาษณ์ : ต่อพงษ์ ไชยสาส์น





กทช.แจ้งเปิดบริการนัมเบอร์พอร์ต 1 ก.ย.



สรุปข่าวในรอบวัน 13-08-53

ชาตินิยมสยามและชาตินิยมไทย กับกรณีปราสาทพระวิหาร และมรดกโลก

ที่มา มติชน



โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

ณ ตอนนี้ กำลังงงๆๆ งวยๆๆ (แกมขำขัน)


กับ "มรดกโลก และ ปราสาทพระวิหาร"


(ซึ่งกลายเป็นความเมืองระหว่างประเทศหลังจากประชุมที่บราซิเลียของ นรม.และกับ รมต. ของรัฐบาลไทย versus รอง นรม. และ ครม.กัมพูชา Who speaks the truth to each and their own peoples, or none at all? หรือไม่มีใครพูด "ความจริง" ทั้งหมดกับประชาชนเลย)


"ต้นตอ" ของปัญหานี้


ขอสรุปเป็นเบื้องต้นว่า


สมัยเมื่อเรายังเป็น "สยาม" กับสมัยที่เปลี่ยนเป็น "ไทย" แล้ว


ความคิดความอ่านหรือ "ลัทธิชาตินิยม" และ "ความรักชาติ"


ของทั้ง 2 ยุคสมัย-ต่างกันมาก


ซึ่งก็จะเลยเถิดไปถึงการ "รับ" หรือ "ไม่รับ" แผนที่ "เจ้าปัญหา" แผ่นนั้น


แผนที่แผ่นนี้


มักเรียกกันด้วยชื่อผิดๆ และประหลาดๆ


โดยนักวิชาการ-นักการทหาร-และสื่อมวลชนฯ ว่า


"แผนที่ 1 ต่อ 200,000" (หนึ่งต่อสองแสน!!!???)


ซึ่งสร้างความงุนงง-มึนให้กับประชาชนทั่วๆ ไป


ความจริงชื่อที่แท้จริงของมันก็มี คือ แผนที่ Dangrek


ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่าแผนที่ "ดงรัก" หรือ "ดงเร็ก" นั่นเอง


(คลิกดูได้ที่http://wms.cfcambodge.org/mambo/images/stories/CartePreahvihear.jpg)


"แผนที่ดงรัก" ดังกล่าวนี้ รัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ ร.5


ซึ่งมีสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ (ต้นสกุลดิศกุล) เป็นมหาดไทย


กับมีสมเด็จกรมฯเทววงศ์ (ต้นสกุลเทวกุล) เป็นการต่างประเทศ


ได้ "รับรอง" แผนที่แผ่นนั้น และนำมาใช้ในประเทศของเราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


(เพราะต้องการรักษา "อธิปไตย" ของสยาม (ส่วนใหญ่) เอาไว้)


ไม่รับก็ไม่ได้ เพราะสมัยนั้น


คือ gunboat diplomacy/politics


และนี่ก็เป็นหลักฐานหรือเหตุผลเพียงพอที่ทำให้ "ศาลโลก" ที่กรุงเฮก


ในปี พ.ศ.2505 ตัดสินด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 ว่า


"ปราสาทพระวิหาร ตั้งอยู่ในอาณาเขต ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา"


แล้วลูกระเบิดทางการเมืองสำหรับสังคมไทย ก็ถูกวางไว้ตั้งแต่สมัยของจอมพลสฤษดิ์ ครั้งกระนั้น


ย้อนกลับไปให้ไกลในประวัติศาสตร์-ปวศ. อีก คือ


ครั้งเมื่อ "รัฐบาลปีกขวา" ของ "คณะราษฎร"


นำโดย "พิบูลสงคราม-วิจิตรวาทการ"


เปลี่ยน "สยาม" เป็น "ไทย"


เปลี่ยน Siam เป็น Thailand นั่นแหละ


ก็ได้เริ่มกระบวนการที่จะไม่รับ "แผนที่ดงรัก" แผ่นนั้น


(รวมทั้งไม่รับสนธิสัญญาสมัยสยามกับฝรั่งเศส (ร.ศ.112) อีกด้วย


นี่ก็นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 หรือสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา


สรุป จะเห็นได้ว่าเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้ว


รัฐบาลของรัชกาลที่ 5 ในยุคของ "ลัทธิชาตินิยมสยาม"


ได้ยอมรับทั้งสนธิสัญญาและแผนที่กับฝรั่งเศส


แต่ต่อมาเมื่อ 70 ปีที่แล้ว


รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ที่ส่งทอดมายังจอมพลสฤษดิ์)


ในยุคของ "ลัทธิชาตินิยมไทย" ไม่ยอมรับ


พอมายุคสมัยนี้ ที่เราๆ ท่านๆ อาจถูกชี้หน้าถามว่า


"เป็นคนไทยหรือเปล่า" สังคมของเราจึงยังย่ำอยู่กับ "ลัทธิชาตินิยมไทย"


(ไม่ใช่ "ลัทธิชาตินิยมสยาม")


ดังนั้น ทั้งรัฐบาลปัจจุบันและพันธมิตรร่วมอุดมการณ์


(รวมทั้งนักวิชาการที่ขังตนเองอยู่ใน "เขตแดนรัฐชาติ" อย่าง ดร.อดุล-อ.ศรีศักร) ก็รับช่วงต่อๆ กันมาจาก

"ลัทธิผู้นำของพิบูลสงคราม-วิจิตรวาทการ-สฤษดิ์-เสนีย์"


(จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม)


ตกทอดกันมา


ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของ "ลัทธิชาตินิยมไทย"


ซึ่งถือได้ว่าเป็น "เวอร์ชั่นแปลง" ของ Thailand


มิใช่ "ลัทธิชาตินิยมสยาม" ซึ่งเป็น "เวอร์ชั่นดั้งเดิม" ของ Siam


บุคคลระดับ "ผู้นำ" เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น


จอมพล-นายกฯ-รมต.


นักการเมือง


นักการทหาร


นักวิชาการ (ที่จำกัดอยู่ในเขตแดนของรัฐ)


นักเคลื่อนไหวมวลชน


หรือสื่อมวลชนกระแสหลัก


ไม่ว่าเป็นภาครัฐ หรือภาค (ที่อ้างว่าเป็น) ประชาชน


ไม่ยอม "รับรู้" หรือ "ประสงค์" ที่จะรับรู้ว่า


"เสด็จพ่อ ร.5 กับสมเด็จกรมเทววงศ์ (กต.) และสมเด็จกรมดำรงฯ" (มท.)


ได้ทรงทำอะไรไว้


ได้ทรงกำหนดเขตแดน-ขอบเขต-และเส้นทางเดินของรัฐ "สยาม" กับประเทศข้างเคียงไว้อย่างไร


ที่ในช่วง "หน้าสิ่วหน้าขวาน" เมื่อประมาณระหว่าง พ.ศ.2436-2450 (1893-1907)


อันเป็นจุดสูงสุดของลัทธิอาณานิคมล่าเมืองขึ้น Height of colonialism หรือ 100 ปีมาแล้วนั้น


ในห้วงเวลาที่ไม่มี "มหามิตร" ที่สยามคิด (ฝัน) ว่าจะพึ่งพาได้เข้ามาช่วย


ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษของพระนางวิกตอเรีย ไม่ว่าจะเป็นรัสเซียของพระเจ้าซาร์


ไม่มีองค์กรระหว่างประเทศอย่าง "สันนิบาตชาติ" หรือ "สหประชาชาติ"


หรือ Unesco ฯลฯ ที่จะเข้ามาแทรกแซง ดังนั้น จึงต้อง "จำยอม" และ "เลยตามเลย"


แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ถึง พ.ศ.2482 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ดังที่กล่าวข้างต้น


รัฐบาลใหม่ (ปีกขวาของคณะราษฎร)


และ/หรือ "ผู้นำใหม่" อย่าง "พิบูลสงคราม-หลวงวิจิตรวาทการ"


ก็เปลี่ยน "สยาม" เป็น "ไทย" เปลี่ยน Siam เป็น Thailand


แล้วก็เปลี่ยนจินตนาการใหม่ และก็เริ่มสร้างปัญหาใหม่ๆ ส่งทอดต่อๆ มา


ผ่านนักการทหารบ้าง (อย่างสฤษดิ์) ผ่านนักการเมืองบ้าง (อย่าง ม.ร.ว.เสนีย์)


ให้มาเป็นปัญหาอยู่กับเราๆ ท่านๆ จนถึงทุกวันนี้


และเราประชาชนไม่ว่าจะชนชั้นบน-กลาง-ล่าง


ก็ต้องรับมรดกอันเลวร้ายทาง ปวศ. (บาดแผล-บกพร่อง)


ที่ถูกนำมา "ปลุกผี" และ "ปัดฝุ่น" ทำให้กลายเป็นปัญหาของ "มรดกโลก"


นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2551 จากควิเบก ไปเซวีญา ไปบราซิเลีย และก็จะไปบาห์เรน ในปีหน้า 2554


นี่เป็น "โศกนาฏกรรมระดับชาติ"


ในยุคสมัยที่เราน่าจะก้าวไปข้างหน้าเพื่อสิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่า


เพื่อคนรุ่นใหม่


ไปให้พ้น "อดีตเก่าๆ"


ที่ "ล้าหลังและคลุ้มคลั่ง"


ไปให้พ้น "ปวศ.บกพร่อง"-"ปวศ.บาดแผล"


เดินไปข้างหน้า


ตั้งฝันไปให้ไกล ไปให้ถึง


"โลกาภิวัตน์-โลกไร้พรมแดน-และประชาคมอาเซียน"


เราไม่เพียงจะต้อง "ปฏิรูป-ปรองดอง-สมานฉันท์-รักสามัคคี" กันกับผู้คนในชาติบ้านเมืองของเราเท่านั้น


แต่ยังต้อง "ปฏิรูป-ปรองดอง-สมานฉันท์-รักสามัคคี" กับเพื่อนร่วมภูมิภาค และมนุษยชาติร่วมโลกอีกด้วย


ป.ล.


รัฐธรรมนูญใหม่ของบ้านนี้เมืองนี้


ถ้าไม่เป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม-สยาม"


ก็ "ปฏิรูป-ปรองดอง-สมานฉันท์-รักสามัคคี" กันไม่ได้

"ความตายที่รอคำตอบของฟาบิโอ"

ที่มา มติชน



ภาพถ่ายหน้าศพฟาบิโอ โพเลนกี ในงานฌาปนกิจที่วัดคลองเตยใน, 24 พ.ค. 2553

อิซาเบลลา โพเลนกี

โดย เกษียร เตชะพีระ

รายงานพิเศษของ The Committee to Protect Journalists (CPJ-คณะกรรมการปกป้องนักข่าว-อันเป็นองค์การอิสระที่ไม่แสวงกำไรเพื่อส่งเสริมเสรีภาพหนังสือพิมพ์ทั่วโลกด้วยการปกป้องสิทธิของนักข่าวที่จะรายงานข่าวโดยไม่ต้องกลัวถูกเล่นงานตอบโต้) เรื่อง "In Thailand unrest, journalists under fire" (ในเหตุไม่สงบในประเทศไทย นักข่าวถูกยิงใส่-http://cpj.org/reports/ 2010/07/in-thailand-unrest-journalists-under-fire.php) เขียนโดย Shawn W. Crispin ผู้แทนอาวุโสของ CPJ ประจำเอเชียอาคเนย์และเผยแพร่เมื่อ 29 กรกฎาคม ศกนี้


ได้ระบุถึงกรณีสังหารฟาบิโอ โพเลนกี ว่า: -


ในกรณีการยิงโพเลนกี, การสอบสวนที่อึมครึม


การตายของฟาบิโอ โพเลนกี ช่างภาพชาวอิตาเลียน เป็นศูนย์รวมเรื่องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฉบับต่างๆ ที่มาประชันขันแข่งกัน โพเลนกีวัย 48 ปีถูกฆ่าด้วยกระสุนปืนเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม ศกนี้ระหว่างรายงานข่าวปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่ผู้ชุมนุมออกจากบริเวณถนนราชดำริอันเป็นเขตพื้นที่การชุมนุมประท้วงที่ซับซ้อนพิสดารซึ่ง นปช.ได้สร้างขึ้นในย่านการค้าสุดยอดของกรุงเทพฯ


แบรดลี คอกซ์ นักทำหนังสารคดีผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เล่าว่า เช้าวันนั้นก่อนเกิดเหตุทหารได้ยิงปืนประปรายจากด้านหลังเครื่องกีดขวางเข้าใส่พื้นที่ห่างออกไป 200 เมตรซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของ นปช. คอกซ์บอกว่าทั้งเขากับโพเลนกีได้บันทึกภาพผู้ประท้วงคนหนึ่งถูกยิงที่ขาเวลาประมาณ 10.45 น.


เวลา 10.58 น. เมื่อรู้สึกว่าการยิงสงบลงพักหนึ่ง คอกซ์เล่าว่า เขาก็ออกจากบังเกอร์ที่ นปช.คุมอยู่ไปยังถนนที่เกือบโล่งร้างเพื่อสืบดูว่าความปั่นป่วนวุ่นวายในหมู่ผู้ประท้วงห่างไปราว 30-40 เมตรนั้นมันเรื่องอะไรกัน คอกซ์บอกว่าเขาเชื่อว่าโพเลนกีตามหลังเขาไปห่างกันไม่กี่ก้าว ขณะวิ่งไปตามถนน คอกซ์รู้สึกปวดแปลบด้านข้างของขา ปรากฏว่ากระสุนนัดหนึ่งเฉี่ยวหัวเข่าเขาบาดเจ็บเล็กน้อย เมื่อเขาหันกลับไปมองในทิศทางของกองทหาร เขาก็เห็นโพเลนกีแผ่หราอยู่กับพื้นข้างหลังเขา 2-3 เมตร ตอนนั้นโพเลนกีสวมหมวกกันน็อคสีฟ้าเขียนคำว่า "สื่อสิ่งพิมพ์" ทั้งหน้าหลังและติดปลอกแขนสีเขียวเพื่อบอกว่าเขาเป็นนักข่าวที่ปฏิบัติงานอยู่


"ตอนนั้นผมรู้สึกว่าเราถูกยิงพร้อมกันเป๊ะเลย บางทีอาจจะโดยกระสุนนัดเดียวกันด้วยซ้ำไป" คอกซ์กล่าว และเสริมว่า เขาไม่ได้ยินเสียงปืนหนึ่งหรือหลายนัดที่ยิงถูกเขาหรือโพเลนกี "ผมไม่รู้ว่าใครยิงผมหรือฟาบิโอ แต่ถ้าทหารกำลังพยายามยิงพวกเสื้อแดงละก็ มันไม่มีใครอยู่รอบตัวพวกเราเลยนี่ครับ ... ทหารกำลังยิงใส่สิ่งของหรือผู้คนแบบไม่เลือก"

ภาพวิดีโอที่คอกซ์ถ่ายเหตุการณ์บรรดานักข่าวและผู้ประท้วงช่วยกันหามร่างโพเลนกีออกจากถนนขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ไปยังโรงพยาบาลแถวนั้นดูเหมือนจะแสดงให้เห็นว่ากระสุนเจาะเข้าตัวโพเลนกีทางใต้รักแร้ซ้ายและทะลุออกสีข้าง รายงานข่าวต่างๆ ระบุว่าเขาเสียชีวิตแล้วเมื่อไปถึงโรงพยาบาลในท้องที่ เจ้าหน้าที่ไม่ได้รายงานว่าพบหัวกระสุนใดๆ


ครอบครัวของโพเลนกีได้แสดงความห่วงกังวลที่รัฐบาลสนองตอบต่อการตายของเขาอย่างอึมครึม อิซาเบลลา โพเลนกี น้องสาวของเขาบอก CPJ ว่า ครอบครัวเธอได้ร้องขอรายงานชันสูตรพลิกศพทางการครั้งแล้วครั้งเล่าแต่ยังไม่ได้รับ เธอกล่าวว่าตำรวจกับกระทรวงยุติธรรมบอกเล่าขัดกันว่าตำแหน่งบาดแผลของพี่ชายเธออยู่ตรงไหนแน่ ซึ่งเธอเองก็ไม่ทันได้เห็นร่างเขาก่อนฌาปณกิจ เธอยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่าทรัพย์สินส่วนตัวของโพเลนกีหลายรายการรวมทั้งกล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์หายไป ความขัดแย้งและคลุมเครือทำนองนี้ทำให้เธอยิ่งหวั่นวิตกว่าโพเลนกีอาจถูกหมายหัวในฐานที่เป็นนักข่าวก็เป็นได้


เธอกับเพื่อนร่วมงานของโพเลนกีกลุ่มหนึ่งจึงร่วมกันปะติดปะต่อวิดีโอคลิปต่างๆ ที่บ้างก็ได้จากนักข่าวผู้อยู่บริเวณข้างเคียงกับโพเลนกีและบ้างก็ดาวน์โหลดจากแหล่งไม่ทราบชื่อบนอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นลำดับเหตุการณ์การเคลื่อนไหวก่อนและหลังการยิง เท่าที่ทราบไม่มีฟิล์มภาพตัวเหตุการณ์การยิงนั้นเอง วิดีโอคลิปอันหนึ่งแสดงภาพชายสวมหมวกกันน็อคสีเงินที่ไม่รู้ว่าเป็นใครเข้าถึงตัวโพเลนกีหลังถูกยิงเป็นคนแรก ฟิล์มภาพสั้นๆ นั้นแสดงภาพเขาคลำไปรอบอกโพเลนกีและกระแทกเข้ากับกล้องถ่ายรูปของโพเลนกีอยู่ประเดี๋ยวหนึ่ง ขณะที่ชายสวมหมวกกันน็อคสีเหลืองที่ไม่รู้ว่าเป็นใครอีกคนคุกเข่าลงและถ่ายรูปโพเลนกีไว้


ฟิล์มภาพของคอกซ์ดูจะแสดงภาพชายคู่เดียวกันอยู่ในหมู่คนที่เคลื่อนย้ายร่างของโพเลนกีออกจากถนนไปขึ้นรถมอเตอร์ไซค์ที่พาเขาไปโรงพยาบาล ภาพของชายสวมหมวกกันน็อคสีเงินถูกตีพิมพ์ทั้งในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและมติชน แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่รู้ว่าเขากับชายสวมหมวกกันน็อคอีกคนหนึ่งนั้นเป็นใครกันแน่ อิซาเบลลา โพเลนกี กล่าว


นายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาล ไม่ตอบคำถามจาก CPJ เกี่ยวกับการยิงโพเลนกี รวมทั้งคำกล่าวอ้างที่ว่าตอนนั้นทหารยิงไม่เลือกหน้า หรือรายละเอียดของกรณีการยิงรายอื่นๆ นายเสก วรรณเมธี อัครราชทูตของสถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ตอบข้อห่วงใยของ CPJ กว้างๆ ในจดหมายลงวันที่ 14 มิถุนายนว่า "รัฐบาลเสียใจที่เกิดการสูญเสียชีวิตและยึดมั่นที่จะสืบสวนกรณีการตายทั้งหลายอย่างเต็มที่และเที่ยงธรรม....."


ล่าสุด Shawn Crispin ยังได้รายงานความคืบหน้ากรณีนี้ไว้ในเว็บล็อกของ CPJ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ศกนี้ ภายใต้หัวข้อ "In Polenghi case, autopsy shared but more needed" (ในคดีโพเลนกี เผยผลชันสูตรพลิกศพแล้ว แต่ต้องทำมากกว่านี้)http://cpj.org/blog/2010/08/in-polenghi-case-autopsy-shared-but-more-needed.php ว่า: -


.....อย่างไรก็ตาม กว่าสองเดือนต่อมา (หลังการตายของฟาบิโอ) มันก็ไม่ปรากฏชัดว่าทางการไทยกำลังพยายามทำดีที่สุดเพื่อไขคดีนี้ให้กระจ่างและนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม


อิซาเบลลา โพเลนกี น้องสาวของเขา ได้แสดงความห่วงใยดังกล่าวนั้น ณ ที่แถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ (ที่ 30 กรกฎาคม ศกนี้) ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยในกรุงเทพฯ ทาง CPJ เราได้ร่วมขึ้นเวทีเพื่อนำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "ในเหตุไม่สงบในประเทศไทย นักข่าวถูกยิงใส่" ซึ่งสืบสวนกรณีการตายและบาดเจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้กับนักข่าวในประเทศไทย รวมทั้งการยิงโพเลนกีจนเสียชีวิตด้วย


ในบรรดาข้อเสนอแนะต่างๆ ของเรา CPJ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยร่วมมือกับผู้สืบสวนอิสระและเปิดเผยผลการชันสูตรพลิกศพทางการรวมทั้งหลักฐานเชิงนิติเวชอื่นๆ ปรากฏว่ารัฐบาลไม่ได้ตอบสนองผลการสืบสวนของเราอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แม้ว่าดูเหมือนทางราชการจะรับฟังข้อเสนอแนะของ CPJ ประการหนึ่ง


ในวันพฤหัสบดี (ที่ 29 กรกฎาคม ศกนี้) อันเป็นวันเผยแพร่รายงานของ CPJ ข้างต้น ตำรวจกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้พบกับอิซาเบลลา โพเลนกี เป็นการส่วนตัวและนำผลการชันสูตรพลิกศพคดีพี่ชายของเธออย่างเป็นทางการให้เธอดูเป็นครั้งแรก ตำแหน่งบาดแผลที่แน่ชัดของโพเลนกีจะเป็นร่องรอยให้สืบเสาะได้ว่าเขาถูกยิงโดยทหารจากระดับพื้นถนนหรือโดยผู้ประท้วงที่อยู่บนตึกข้างเคียง


ในที่แถลงข่าว อิซาเบลลา โพเลนกี ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลการชันสูตรพลิกศพและเน้นว่าเป้าหมายของการพบปะกับทางเจ้าหน้าที่ซึ่งสถานทูตอิตาลีช่วยจัดให้นั้นก็เพื่อ "ร่วมด้วยช่วยกัน" และหาทางประกันให้มั่นใจว่าการสืบสวนของของทางการ "กำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเธอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่สืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษถือการค้นหากล้องถ่ายรูปและโทรศัพท์ของโพเลนกีที่หายไปคืนมาเป็นเรื่องสำคัญก่อนอื่นทั้งด้วยเหตุผลทางนิติเวชศาสตร์และทางอารมณ์ความรู้สึก


อิซาเบลลา โพเลนกี กล่าวว่า เธอเข้าใจว่าการสืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ "อาจนานหลายปี" แต่ก็บอกว่าถ้าหากไม่มี "ความรุดหน้า" ใดๆ ในสองเดือนข้างหน้าแล้วเธอก็คงจะกลับมาเมืองไทยอีกเพื่อกดดันในเรื่องที่เธอห่วงใย


พรรคพวกเพื่อนฝูงของฟาบิโอซึ่งหลายคนเป็นนักข่าวชาวต่างชาติผู้มาหลงรักเมืองไทย อาศัยอยู่เป็นเหย้าและตั้งใจจะเอาเป็นเรือนตายเหมือนกัน ได้เล่าให้ฟังว่าพวกเขาพิศวงงงงันมากว่าเพราะเหตุใดก็ไม่รู้หน่วยราชการต่างๆ ไม่ว่าอำอวด, อีเอสไอ, หรืออ๋ออออ๋อ ต่างพากันยัวะเป็นฟืนเป็นไฟที่พวกเขาพยายามร่วมด้วยช่วยกันหาความกระจ่างเกี่ยวกับสภาพการณ์การตายของฟาบิโอ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าใครเป็นคนเอาการ์ดบันทึกข้อมูล (memory card) และกล้องถ่ายรูปของฟาบิโอไป รวมทั้งช่วยกันจัดแถลงข่าวให้อิซาเบลลา น้องสาวของฟาบิโอ


แล้วจู่ๆ เพื่อนชาวอเมริกันที่นำภาพวิดีโอที่เขาถ่ายไว้ตอนฟาบิโอตายมาเปิดเผยก็ถูกดำเนินการขับไล่ออกจากประเทศและข้างภรรยาที่เป็นคนไทยของเพื่อนคนนั้นก็ถูกคุมตัวด้วยอำนาจพิเศษ, โทรศัพท์บางเบอร์ที่เพื่อนๆ ของฟาบิโอใช้ติดต่อประสานงานกันก็ชักมีอาการรบกวนแปลกๆ, เวลาพวกเขาไปไหนมาไหนก็มีคนหน้าตาบ้องแบ๊วคอยติดตามยังกับนิยายสืบสวนสอบสวน.....


นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รัฐมนตรีองอาจ คล้ามไพบูลย์, อธิบดีธาริต เพ็งดิษฐ์, โฆษกปณิธาน วัฒนายากร, ผู้การสรรเสริญ แก้วกำเนิด-ไม่แปลกหรือครับที่หน่วยงานราชการซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบสืบสวนสอบสวนหาความจริงทุกกรณีการตายที่เกิดขึ้นช่วงเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตที่ผ่านมา-ทั้งการตายของฟาบิโอและคนไทยกับชาวต่างชาติอื่นๆ อีก 90 คน-ดูเหมือนจะพยายามนานัปการที่จะไม่ให้คนอื่นเขาทำความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณะ?


พวกคุณกลัวอะไรหรือครับ?

จุดชนวนม็อบแดง

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ ชกไม่มีมุม

วงค์ ตาวัน



เมื่อรัฐบาลไม่ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินจัดการกับม็อบพันธมิตรที่ชุมนุมเกินกว่า 5 คน แถมนายกฯอภิสิทธิ์ยังไปขึ้นเวทีด้วย

เข้าข่ายร่วมสนับสนุนฝ่าฝืนพ.ร.ก.ด้วยซ้ำ!

ล่าสุดนายจตุพร พรหมพันธุ์ ประกาศจะระดมม็อบเพื่อทวงถามความเป็นธรรม ในกรณีอัยการสั่งฟ้อง 19 แกนนำนปช.ข้อหาก่อการร้าย

คราวนี้รัฐบาลจะปฏิบัติกับม็อบแดงอย่างไร

คงต้องย้ำว่า ก่อนหน้านี้คนรักประชาธิปไตย รวมไปถึงฝ่ายเสื้อแดง ได้เรียกร้องมาตลอด ให้ยกเลิกพ.ร.ก. เพราะเป็นเครื่องมือเผด็จการปิดกั้นและคุกคามเสรีภาพ

แต่รัฐบาลไม่ฟัง ม็อบเหลืองก็เชียร์ให้คงพ.ร.ก.ต่อไป

บัดนี้พ.ร.ก.ได้ย้อนศรใส่รัฐบาลและเสื้อเหลือง เมื่อมีการชุมนุมกรณีเขาพระวิหารแล้วรัฐบาลไม่ใช้พ.ร.ก.จัดการ

เพราะข้อกำหนดในพ.ร.ก.นั้น ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน โดยไม่ได้จำกัดว่าชุมนุมกรณีใด

แล้วถ้าเสื้อแดงจะชุมนุมบ้าง จะเกิด 2 มาตรฐานหรือไม่

หันมาดูประเด็นที่เสื้อแดงจะนำมาเป็นเงื่อนไข นั่นคือการสั่งฟ้องคดีก่อการร้าย ซึ่งดีเอสไอเป็นผู้ทำสำนวน แล้วล่าสุดอัยการสั่งฟ้อง

เป็นคดีที่สร้างความตื่นตะลึงให้วงการนักกฎหมายและพนักงานสอบสวนอย่างยิ่ง!

ประการแรก 19 จำเลย มีนายหรั่งและส.ต.รชต วงค์ยอด รวมอยู่ด้วย

ทั้งที่ 2 รายนี้ถูกดีเอสไอจับกุมอย่างไม่มีความน่าเชื่อถือเลย

ประการต่อมา ในคำฟ้องระบุพฤติกรรมแกนนำว่า สั่งการให้ผู้ชุมนุมเข้าปะทะกับทหาร แล้วจัดกองกำลังติดอาวุธยิงใส่ทหาร และตามสถานที่ต่างๆ

เหมาคนตายทั้ง 91 ศพไปให้ 19 แกนนำทั้งหมด

ที่ยิงเอ็ม 79 วางระเบิดทั่วกทม. รวมทั้งกรณีสไนเปอร์ยิงใส่ทหารหน่วยมอเตอร์ไซค์ที่ดอนเมือง ก็มาจากเสื้อแดง ทั้งที่นักข่าวทั้งไทยและเทศก็เห็นกันหมดว่า ยิงมาจากไหน

โยนเรื่องรุนแรงทุกเหตุการณ์ในเดือนเม.ย.และพ.ค.โยงไปที่ 19 แกนนำนปช.ทั้งสิ้น!

เรื่องความเชื่อก็ประการหนึ่ง แต่ในทางกฎหมาย จะสามารถหาพยานหลักฐานทุกเหตุการณ์มาเชื่อมโยงเพื่อให้ทั้ง 19 คนนี้เป็นตัวการได้อย่างไร

ต้องถือว่าพนักงานสอบสวนดีเอสไอยุคนายธาริต คืออัจฉริยะ

เป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิงสำหรับพนักงานสอบสวนปกติ!!

แล้วอัยการก็สั่งฟ้องทันควัน หลังจาก รมว.ยุติธรรม มีจดหมายไปเร่งรัดอัยการให้รีบฟ้อง ซึ่งผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง

ดูแล้วก็เชื่อว่าน่าจะเป็นชนวนชั้นดีให้ม็อบแดงกลับมาได้จริงๆ!

วิบาก

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ เหล็กใน




อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง 19 นปช. ทั้งระดับแกนนำ และมือปฏิบัติการสายฮาร์ดคอร์ไปแล้ว

โดยเหลืออีก 6 ราย (มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรด้วย) ที่หากตามเจอตัวเมื่อไร ก็จะโดนฟ้องเช่นกัน

ข้อหาฉกรรจ์ "ก่อการร้าย"

จากคำบรรยายฟ้องนั้น กล่าวหาพฤติกรรมต่างกรรมต่างวาระของนปช. ในช่วงที่มีการชุมนุมยืดเยื้อในกทม.

ตั้งแต่เรื่องปิดถนน บุกสถานที่ราชการ ตลอดจนถล่มระเบิดที่โน่นที่นี่

ร้ายแรงที่สุด ก็คืออยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่ (ซึ่งรวมยอด 91 ศพ) ทั้งทหารและผู้ชุมนุมด้วยกัน

จากนี้ไป ความยากลำบากแสนสาหัสจะต้องอยู่กับฝ่ายจำเลย

แม้จะได้รับความช่วยเหลือเต็มที่ จากทีมทนายความนปช.เอง และทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย

แต่ใครก็ตามที่โดนข้อหา "หลายกระทง" มากมายขนาดนี้ จะต้องเจอศึกหนักที่สุดในชีวิต

เป็นภาระที่ต้องหาพยานหลักฐานมาแก้ต่าง ในเหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไล่กันเรียงประเด็น

บางพฤติการณ์ โอกาสต่อสู้ให้ชนะก็แทบจะมืดมน อาทิ การบุกรุกรัฐสภา แล้วมีการรุมตื้บสห.

ภาพของสื่อมวลชน เห็นเหตุการณ์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มจนจบ

ถ้าสามารถหาพยานหลักฐานมาปฏิเสธได้ ต้องถือว่าสุดยอด

แต่ในบางประเด็นที่ร้ายแรงกว่า อย่างการสังหารเจ้าหน้าที่และประชาชน

ถึงข้อหาจะหนักมากถึงมากที่สุด แต่โอกาสต่อสู้ก็เปิดกว้างให้กับจำเลยมากเช่นกัน

คาดเดาล่วงหน้าได้เลยว่า ในห้องพิจารณาคดี

จะต้องเกิด "สงครามคลิป" นำเสนอต่อหน้าผู้พิพากษากันอุตลุด

เช่น ฝ่ายจำเลยก็คงฉายคลิป "สไนเปอร์" ของทหาร ที่มีสื่อต่างชาติถ่ายไว้อย่างชัดเจน

มือยิง ยิงคนจนล้มลง มือตรวจการณ์สั่งหยุดยิง ก็ยังยิงแถมไปอีกเปรี้ยง

แต่ฝ่ายอัยการ ก็คงฉายคลิป ภาพวินาทีแถวทหารล้มครืน เนื่องจากโดนระเบิดถล่มเข้าใส่

แล้วก็คลิปชายชุดดำที่กำบังเสา สาดกระสุนอาก้าอย่างเลือดเย็น

ว่าไปแล้ว เรื่องราวการชุมนุมจะไม่บานปลายถึงขณะนี้

หากว่าเมื่อวันที่ 10 เมษาฯ ไม่มีเสียงระเบิดตูมแรกดังขึ้น!

เมื่อมีการสูญเสียของทหารสัญญาบัตร ก็แน่ชัดตั้งแต่นั้นว่า กองทัพคงต้องเอาคืนด้วยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ซึ่งถึงตอนนี้ ก็เห็นกันแล้วว่า นปช.สูญเสียชีวิตของคนเสื้อแดงไปมากมายไม่พอ

ยังต้องกลายเป็นฝ่ายถูกกล่าวหาอีกต่างหาก ว่าฆ่าพวกเดียวกัน!

สำนวนคดี ให้ฝ่ายนปช.รับผิดชอบต่อการตายของคนทั้งหมด ไม่ว่าทหาร ตำรวจ และชาวบ้าน

ตรงนี้ต้องบอกว่าน่าเห็นใจยิ่ง

เพราะมีคนมากมายเห็นกับตา ว่ารัฐทำอะไรลงไป!

ย้อนปมร้าวประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย

ที่มา ข่าวสด


คอลัมน์ รายงานพิเศษ




การตีกลับโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี มูลค่า 6.4 หมื่นล้านของกระทรวงคมนาคม ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ครม. ไม่ยอมอนุมัติโครงการดังกล่าว แต่เป็นการสั่งให้นำกลับมาศึกษา ทบทวน และตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลทุกครั้งที่คมนาคมเสนอเรื่อง

โครงการนี้จึงกลายเป็นปมความขัดแย้งสำคัญระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคภูมิใจไทย

บรรยากาศการโต้คารมระหว่างนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม ระหว่างที่ครม.พิจารณาเรื่องนี้

ระอุถึงขั้นนายโสภณ ประชดว่า "ถ้าวันนี้ไม่จบก็ไม่ทำแล้ว เอาไปทำกันเองเลยแล้วกัน"

โครงการเช่ารถเมล์ ถูกเบรกตั้งแต่แรกเริ่ม ครม.ตีกลับ ตัดยอดเช่าจาก 6,000 คัน มูลค่าแสนกว่าล้าน เหลือ 4,000 คัน มูลค่า 6.4 หมื่นล้าน และให้สภาพัฒน์ ไปศึกษาว่าการเช่าคุ้มหรือไม่

ก่อนจะให้กระทรวงคมนาคม ไปทำแผนกำหนดปฏิทินทั้งการเออร์ลี่รีไทร์พนักงาน การตั้งอู่เอ็นจีวีขึ้นมารองรับ

ข้ามมาถึงปี "53 มติครม. ครั้งล่าสุด ได้ตั้งคณะกรรมการทบทวน 3 ประเด็นที่ครม.คาใจ ประกอบด้วยแผนรองรับพนักงานที่ไม่สมัครใจลาออกก่อนเกษียณ รถเมล์ฟรี และรถร่วมบริการที่จะมีผลกระทบต่อโครงการ

พร้อมมอบหมาย นายไตรรงค์ สุวรรณ คีรี เป็นประธาน มีกรอบการทำงาน 2 เดือน

หลังมติดังกล่าว การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันรุ่งขึ้นก็ล่มไม่เป็นท่า เป็นไปตามคำเตือนล่วงหน้าของแกนนำพรรคภูมิใจไทย

เช็กยอดส.ส.ที่ขาดประชุม พบมีส.ส.จากทุกพรรค แต่ผิดสังเกตตรงที่พรรคภูมิใจไทยที่ขาดประชุม 9 คนนั้น 8 คน เป็นส.ส.ในกลุ่มของนายเนวิน ชิดชอบ

ขณะที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา พ่อของนายเนวิน ที่นั่งทำหน้าที่ประธาน ไม่กดบัตรแสดงตน

แล้วยังใช้ความเก๋าสั่งนับองค์ประชุม เมื่อไม่ครบก็สั่งปิดประชุมทันที

เป็นการเรียกนับองค์ประชุมทั้งที่ส.ส.ลงชื่อ ครบแล้ว ผิดจากที่เคยปฏิบัติจนพรรคประชาธิปัตย์ข้องใจ

ปฏิกิริยาของพรรคภูมิใจไทย ชัดเจนถึงความไม่พอใจ

นายโสภณ ยืนยันชี้แจงครม.ได้หมดทุกเรื่อง แต่ที่ครม.ไม่อนุมัติเป็นเพราะความเชื่อ

นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ยอมรับผู้ใหญ่ในพรรคภูมิใจไทยหลายคนมีความรู้สึกกับมติครม. ที่ออกมาต่างจากทุกครั้งที่ผ่านๆ มา แม้ข่าววงในจะระบุความไม่พอใจ แต่การให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณะจะเป็นไปในลักษณะประนีประนอม บอก ปัดความขัดแย้ง

พรรคภูมิใจไทยอาจคิดว่า "เหลืออด" แล้วก็ได้

เพราะความขัดแย้งของ 2 ฝ่าย ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก และไม่ได้มีแค่เรื่องรถเมล์เอ็นจีวี เพียงเรื่องเดียว

ความเห็นแย้งในการบริหารงานระหว่าง 2 พรรค เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นของรัฐบาล

13 พ.ค.52 ครม. มีมติเบรกการระบายสต๊อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.49 แสนตัน ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของภูมิใจไทยเช่นกัน

บรรยากาศการประชุมครม. หนนั้น เดือดถึงขั้นนายกฯ สั่งให้นายยรรยง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน ที่เข้าชี้แจงออกจากห้องประชุม

ด้าน นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ถึงกับน้ำตาคลอเบ้า หลุดปากนายกฯ 2 มาตรฐาน

ปลายส.ค. รอยร้าวระหว่างประชาธิปัตย์กับภูมิใจไทย ปะทุขึ้นที่กระทรวงพาณิชย์อีกครั้ง

เมื่อนางพรทิวา เสนอแต่งตั้ง นายยรรยง พวงราช ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ แต่นายกฯ ไม่หยิบขึ้นมาพิจารณา และเลื่อนการพิจารณาถึง 3 ครั้ง 3 ครา

กระทั่งนายยรรยง เข้าพบพูดคุยกับนายกฯ เป็นการส่วนตัว ครม.จึงมีมติแต่งตั้ง

เหตุผลการเลื่อนมองกันไปหลายมุม บ้างว่ามาจากการเข้าชี้แจงเรื่องสต๊อกข้าวโพด ที่นายยรรยง กล้าต่อปากต่อคำนายกฯ จนถูกเชิญออกจากห้องประชุม

ข่าวอีกทางระบุ นายกฯ เล็งแต่งตั้งนายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เพราะต้องการให้ความสำคัญกับการส่งออกเพื่อฉุดเศรษฐกิจ

บางกระแสว่าเป็นการยื้อเพื่อแลกเสียงโหวตแต่งตั้งผบ.ตร. ที่ขณะนั้นเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาล

ซึ่งประเด็นผบ.ตร. ก็เป็นอีกข้อขัดแย้งหนึ่งของประชาธิปัตย์ กับภูมิใจไทย ด้วยเช่นกัน

ตอนนั้น นายกฯ ผลักดัน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ขึ้นสู่ตำแหน่ง

แต่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาด ไทย หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) กลับประกาศชัดเจนว่าสนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย

ปัญหาความขัดแย้งของ 2 พรรค ทำให้คาดเดากันไปถึงการพิจารณางบประมาณ ในวันที่ 18-19 ส.ค. ที่จะถึงนี้

ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ดูเชื่อมั่นกับเสียงสนับสนุนอย่างยิ่ง

นั่นอาจเพราะ การแต่งตั้งผบ.ตร. ที่คาราคาซังมานานนับปีได้เสร็จสิ้นลงแล้ว

อีกทั้ง การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปีก็จบลงด้วยดี

นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ยังเบิกโรงตีปี๊บสังคมสวัสดิการ เพื่อใช้หาเสียงครั้งหน้าอย่างต่อเนื่องแล้ว

เป็นการขยับเข้าสู่โหมดเลือกตั้งเข้าไปทุกขณะ

ขณะที่พรรคภูมิใจไทย แม้จะเห็นการตระเตรียมความพร้อมอยู่บ้าง แต่ก็ยังเป็นรองโดยเฉพาะกระแส

ยิ่งถ้าวัดจากโครงการรถเมล์เอ็นจีวี จะเห็นว่าผลสำรวจออกมาทีไรไม่เข้าตาประชาชนสักที ถึงขั้นเป็นโครงการ "สร้างชื่อเสีย" ของรัฐบาลเลยด้วยซ้ำ

จึงไม่แปลกที่พรรคประชาธิปัตย์ จะมั่นใจในเสียงโหวตงบประมาณ

พร้อมระบุ หากไม่ผ่านนายกฯ ก็ต้องยุบสภาตามที่กฎหมายกำหนด

แล้วจะมีใครกันที่นั่งเป็นรัฐบาลอยู่ดีๆ อยากให้ยุบสภาก่อนวาระ

ได้ฟรี

ที่มา ไทยรัฐ


ผลจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎักาลงมติ 103 ต่อ 4 เสียง ไม่รับอุธรณ์คดียึดทรัพย์สิน 49,000 ล้านบาท ของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว

เนื่องจากคำร้องของอดีตนายกฯทักษิณทั้ง 5 ประเด็น ไม่ถือเป็น "หลักฐานใหม่" ที่มีสาระ สำคัญ

จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลฎีกาจะรับพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 278 ของรัฐธรรมนูญ

มติของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจึงเป็นการปิดฉากคดีนี้อย่างสิ้นเชิง

หมายความว่าทรัพย์สิน 4.9 หมื่นล้านบาทจากการขายหุ้นชินคอร์ป ของ "อดีตนายกฯทักษิณ" จะถูกยึดเป็นรายได้แผ่นดินทุกบาททุกสตางค์

ทำให้กระทรวงการคลังมีรายได้ ฟรีๆอีกก้อนโต

"แม่ลูกจันทร์" สรุปว่าความผิดพลาดที่สุดในชีวิต "ทักษิณ" คือการตัดสินใจเล่นการเมือง

แถมผิดพลาดซ้ำสองที่ไว้วางใจ "เนวิน ชิดชอบ" เป็นแม่ทัพใหญ่คนเดียว

โดนคนที่ไว้ใจที่สุดหักหลังมันเจ็บปวดยิ่งกว่าโดนแมงป่องต่อยพร้อมกันพันตัว

ใครไม่เจอกับตัวเองก็คงอธิบายไม่ถูกว่ามันเจ็บปวดยังไง??

"แม่ลูกจันทร์" ย้อนกลับไปที่เงินก้อนใหญ่ สี่หมื่นเก้าพันล้านบาทที่ถูกยึดเป็นของแผ่นดิน

อธิบดีกรมบัญชีกลาง "พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์" เปิดเผยว่า เงินก้อนนี้ได้โอนเข้าในบัญชีเงินคงคลังครบถ้วนเรียบร้อย พร้อมเอาออกมาใช้ได้ทันที

แผนแรก จะแบ่งเงิน 4.2 หมื่นล้านบาทไปใช้หนี้เงินกู้ ซึ่งกฎหมายเปิดช่องให้เอาเงินคงคลังไปใช้ได้เลย

ส่วนเงินเหลืออีก 7,000 ล้านบาท รัฐบาลจะล้วงควักไปใช้อะไรต่อไปขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐบาล??

"แม่ลูกจันทร์" เชื่อว่ารัฐบาลคงไม่เก็บเอาไว้ให้ปลวกกิน

เพราะ "นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชา-ชีวะ" เชี่ยวชาญอยู่แล้วในด้านการใช้เงิน

อย่างไรก็ตาม มีข่าวน่ายินดีว่าอาการไส้กลวงของรัฐบาลเริ่มดีขึ้นผิดหูผิดตา

เพราะการจัดเก็บภาษีรายได้ในช่วง 10 เดือน มีเงินไหลเข้าคลังเป็นกอบเป็นกำ

สามารถจัดเก็บรายได้ถึง 1.3 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้า 2.7 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์

"แม่ลูกจันทร์" เห็นว่าเป็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจประเทศโดยรวม

ถ้ามองอีกมุม...ถึงแม้กระทรวงการคลังเก็บรายได้สูงกว่าเป้าก็จริง แต่ ฐานะการคลังของประเทศก็ยังไม่มั่นคง

เพราะงบประมาณแผ่นดินปีนี้ และปีหน้ายังติดลบตัวแดง

ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นๆ ทุกวันๆ

แถม "เงินกู้นอกงบประมาณ" ก็บานทะโร่เพิ่มขึ้นทุกที

ล่าสุด ครม.ได้ลงมติอนุมัติให้ กระทรวงการคลังกู้เงินเพิ่มอีก "หกหมื่นล้านบาท" ตามโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล

เป็นการกู้เพิ่มใหม่หลังจากกู้เรียบร้อยไปแล้วสองแสนสามหมื่นล้านบาทในช่วงต้นปี

รวมหนี้เก่าหนี้ใหม่ก็สามแสนล้านบาทโดยประมาณ

แต่สามแสนล้านบาทก็ยังไม่พอ...

เพราะโครงการไทยเข้มแข็งต้องใช้เงินลงทุน "สามแสนห้าหมื่นล้านบาท" ขึ้นไป

"แม่ลูกจันทร์" ไม่เคยเห็นรัฐบาลไหนกล้ากู้เงินนอกงบประมาณมากมายมหาศาลเท่ารัฐบาลปัจจุบัน

นี่ยังดีนะเนี่ย...ที่ยึดเงินทักษิณได้ ฟรีๆอีกก้อนโต ยังเอามาใช้แก้ขัดหนักขัดเบาไปได้พอสมควร

อ้อ...ยังมีกำไรสะสมหวยบนดินตั้ง แต่ยุครัฐบาลทักษิณติดค้างอยู่ในคลังอีก "สองหมื่นล้านบาท" เชียวนะโยม

เอากำไรหวยบนดินออกมาใช้ ซะก่อนจะได้กู้เงินน้อยลง

ขืนเก็บเอาไว้เฉยๆ ก็น่าเสียดาย.

แม่ลูกจันทร์

การเมืองไม่สะเด็ดน้ำ

ที่มา ไทยรัฐ


เป็นอันว่าศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยไม่รับ อุทธรณ์คดียึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านไปเรียบร้อย คดีนี้ก็ถือว่าสิ้นสุด ปิดบัญชีคดียึดทรัพย์สินนักการเมืองไปอีกรายการ ถ้าจะพูดจาประสาการเมืองแรงขับเคลื่อนทางการเมืองในระยะนี้ปัจจัยต่างๆไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายค้านหรือฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาล แต่อยู่ที่เนื้อในรัฐบาลเองมากกว่า เสื้อแดง ก็ยังไม่มีข้ออ้างหรือแรงจูงใจที่จะออกมาเคลื่อนไหว

โฟกัสไปอยู่ที่การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาในวาระ 2-3 วันที่ 17-18 ส.ค.นี้ ทันทีที่รถเมล์เช่า 4 พันคันไม่ผ่าน ครม.ก็ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างภูมิใจไทยกับประชาธิปัตย์ และโยงไปถึงการพิจารณางบประมาณวาระ 2-3 จะราบรื่นแค่ไหน

มีคำถามกันเล่นๆว่า สมมติในระหว่างการพิจารณางบ ประมาณแล้ว องค์ประชุมไม่ครบ หรือองค์ประชุมล่มเหมือนการเปิดประชุมสภาครั้งแรกที่ผ่านมา จะแก้ปัญหาอย่างไร

ถือว่างบประมาณไม่ผ่านสภาหรือไม่

ถ้าถือว่าไม่ผ่านสภาจะส่งผลกระทบต่อสถานภาพของรัฐบาลอย่างไร จะสมควรลาออกหรือถึงขั้นต้องยุบสภา หรือเฉยๆอยู่กันไปอย่างนี้เป็นรัฐบาลเสียงปริ่มไปปริ่มมา ต่อรองกันฝุ่นตลบ รัฐบาลขาดความมั่นคงและไม่มีเอกภาพที่จะบริหารงานต่อไป

คงต้องเป็นการบ้านไปคิดกันเล่นๆ แต่สถานการณ์โดยทั่วไป แล้วงบประมาณปี 2554 คงต้องผ่านสภาแน่นอนเพราะถ้างบประมาณจำนวนนี้ไม่ผ่านสภา นักการเมืองก็คงทำงานลำบาก ดีไม่ดีขัดแย้งถึงกับยุบสภานอกจากจะไม่มีผลงานไปหาเสียงแล้ว เงินสนับสนุนจากเอกชนในช่วงการเลือกตั้งก็จะหดหายไปอีกด้วย บวกลบคูณหารดูแล้ว งบประมาณผ่านสภาไปแล้วค่อยคิดบัญชีกันก็ไม่สาย

การเมืองไทยบางครั้งก็มีสมการง่ายๆไม่ซับซ้อนถ้ามองถึงจุดหมายปลายทางของนักการเมืองได้ทะลุปรุโปร่งเพราะนักการเมืองไม่มีอะไรมาก นอกจากผลประโยชน์ และตำแหน่ง ทางการเมือง อะไรที่ตกลงกันได้ก็เฉลี่ยผลประโยชน์กันไป ผลประโยชน์ลงตัวก็จบเรื่อง

มีเท่านี้เอง

ประมาทไม่ได้กับอุบัติเหตุทางการเมือง โดยเฉพาะวิบาก กรรมของพรรคประชาธิปัตย์ จะยุบไม่ยุบ ก็มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้งสิ้น

แว่วๆว่าการเมืองไทย อาจจะมีการเว้นวรรคอีกกระทอก ในรูปแบบไหนยังไม่รู้ อาจจะมีการยกเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หรือไม่ก็อาจจะฉีกรัฐธรรมนูญนับหนึ่งกันใหม่ถ้ายุ่งยากเกินกว่าจะควบคุมได้ นั่นหมายถึงว่าอาจมีรัฐบาลแห่งชาติหรือนายกฯคนกลางมาสลายปัญหาทางการเมือง

จะออกหัวออกก้อยห้ามกะพริบตา.

หมัดเหล็ก

การ์ตูนเซีย 14/08/53

ที่มา ไทยรัฐ

การ์ตูนเซีย 14/08/53

“เทือก” หืดจับ! ลุ้นระทึก‘เขาแพง’

ที่มา บางกอกทูเดย์


กล้านรงค์ จันทิก-สุเทพ เทือกสุบรรณ

ปชป.ผวา...ถ้าซ้ำรอย 4-01 ปชป.ก็จบ!!
กรรมสิทธิ์ที่ดิน บนเกาะ บนภูเขา และผืนป่า สำหรับในเมืองไทยดูเหมือนว่า จะเป็นของแสลง สำหรับใครก็ตามที่ความอยากได้อยู่เหนือความถูกต้อง

ล่าสุดที่เป็นกรณีให้เกิดการตั้งคำถามไปทั่วทั้งประเทศ ก็คือ กรณีที่ดินเขายายเที่ยง กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งแม้ว่าวันนี้จะจบไปแล้ว จากการที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ยอมคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้และรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปหมด

แต่เรื่องเหล่านี้ก็ยังไม่เลือนไปจากความทรงจำของสังคมไทยง่ายๆแน่

เช่นเดียวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นของแสลงสำหรับตระกูลเทือกสุบรรณ เป็นอย่างยิ่ง

เทพเทือก – นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้พ่อนั้น โดนพิษกรณีกรรมสิทธิ์ที่ดิน สปก. 4-01 สอยจนร่วงจากตำแหน่งรัฐมนตรี แถมยังพาให้พรรคประชาธิปัตย์หมองไหม้อยู่นานเป็น 10 ปี กว่าจะโชคดีมีคนหนุนหลัง มีทหารอุ้มชู จนเพิ่งกลับมาเป็นรัฐบาลได้ในรอบนี้

ลำพังหากเป็นการเลือกตั้งตรงไปตรงมาตามระบอบประชาธิปไตย ไม่แน่ใจเลยว่าประชาชนจะยังฝังใจจำกรณี สปก.4-01 กันแค่ไหน???

และพรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาลอีกครั้งหรือไม่

ครั้งนี้กรณีที่ดิน เขาแพง ที่กระทบเต็มๆ คือ นายแทน เมือกสุบรรณ ผู้ลูก เพราะเป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเจ้าปัญหาผืนนี้

แต่แน่นอนว่า ด้วยสถานะของนายสุเทพผู้พ่อ ซึ่งเป็นทั้งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถมยังเป็นคนคุม ศอฉ. อีกด้วย จึงหนีไม่พ้นที่จะต้องโดนลากเข้ามาตรวจสอบด้วย

แน่นอนทั้งนายแทน และนายสุเทพ ต่งายืนยันว่า เป็นที่ดินซึ่งซื้อมาตามกระบวนการ แต่บังเอิญเอกสารสิทธิ์ โดยเฉพาะ สค.1 ที่ดันทะลึ่งเจาะจงหายเฉพาะที่แปลงนี้

แถมเมื่อมีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น นายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการชิงแสดงสปิริตล่วงหน้า ว่าหากที่ดินมีปัญหาก็พร้อมที่จะคืนให้

เท่านั้นเอง สังคมมองนายสุเทพด้วยสายตาแปลกๆทันที เพราะคนหนึ่งพร้อมคืน อีกคนยืนยันว่าสู้ไม่ถอย แบบนี้แน่นอนว่าต้องมีมุมที่ไม่ธรรมดาแน่ ๆ เพราะที่ดิน 2 ผืนนี้อยู่ติดกันเสียด้วย ย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่จะมีกรณีที่ว่า แปลงหนึ่งถูก อีกแปลงหนึ่งผิด!!!

ที่พอเป็นไปได้คือ หากจะถูกก็ควรจะถูกทั้ง 2 แปลง

หากจะผิดกฎหมาย ก็ควรที่จะผิดด้วยกันทั้งคู่

อย่างไรก็ตามอีกไม่นานเรื่องนี้ก็จะชัดเจนว่า จะมีผลลงเอย ซ้ำรอยที่ดิน สปก.4-01 อีกหรือไม่

เพราะล่าสุด นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หนึ่งในผู้รับผิดชอบสำนวนคดีถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กรณีโฉนดที่ดินบนเขาแพง ต.แม่น้ำ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงความคืบหน้าในการไต่สวนว่า

ขณะนี้มีการเซ็นคำสั่งตั้งคณะทำงานจำนวนกว่า 10 คน เพื่อลงพื้นที่ไปตรวจสอบว่าการออกเอกสารสิทธิโฉนดที่ดินดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ โดยจะไปที่เกาะสมุยภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนจะใช้เวลาตรวจสอบเท่าใด ยังตอบไม่ได้ เพราะต้องไปเปรียบเทียบว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องมีความถูกต้องหรือไม่

นายกล้านรงค์กล่าวว่า ส่วนการตรวจสอบทรัพย์สินซึ่งพรรคฝ่ายค้านกล่าวหาว่า นายสุเทพปกปิดบัญชีทรัพย์สิน เพราะใช้ชื่อนายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายถือที่ดินแปลงดังกล่าวไว้แทน ได้มอบหมายให้สำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง 1 สำนักงาน ป.ป.ช. ที่มีนายวรวิทย์ สุขบุญ เป็นผู้อำนวยการ เข้าไปตรวจสอบ บัญชีทรัพย์สินของนายสุเทพว่ามีอยู่จริงหรือไม่

หรือให้ใครถือครองไว้แทนหรือไม่??

อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องทำหนังสือสั่งการออกไป เพราะระหว่างการประชุม ตัวแทนสำนักตรวจสอบทรัพย์สินฯ 1 ก็อยู่ในที่ประชุมด้วย

ทั้งนี้มีรายงานจาก ป.ป.ช. ระบุว่า นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบโฉนดที่ดินเขาแพง ระหว่างการประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา

โดยรายชื่อคณะทำงานส่วนใหญ่เป็นบุคคลในสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและเคยทำคดีด้านที่ดินมาหลายคดีแล้ว อาทิ ที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ นำโดยนายโกศล ขำศิริ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตภาครัฐ สำนักงาน ป.ป.ช.

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.หลายคน อยู่ระหว่างการเร่งปิดคดีที่ดินอัลไพน์ กว่าจะตรวจสอบที่ดินเขาแพงได้ น่าจะหลังจากวันที่ 20 สิงหาคม

ซึ่งนายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาสรุปผลการพิจารณาศึกษาตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีการถือครองที่ดินของนายแทน กล่าวว่า ขณะนี้อนุ กมธ.ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิที่ดินเขาแพงครบถ้วนหมดแล้ว พบว่าที่ดินบางส่วนมาจาก ส.ค.บิน ตำแหน่งไม่ถูกต้อง และอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

โดยวันที่ 17 สิงหาคมนี้ จะประชุมอนุ กมธ.เพื่อสรุปประเด็นครั้งสุดท้าย โดยเชิญ นายสามารถ เรืองศรี หรือโกเข็ก เข้าชี้แจง แต่นายสามารถ บอกกับอนุ กมธ.ว่าพร้อมจะให้ข้อมูล แต่ต้องเป็นการไปนั่งกินรับประทานอาหารส่วนตัว และพร้อมจะเล่าอะไรบางอย่างให้ฟัง แต่ไม่ใช่เวทีอนุ กมธ.

ซึ่งทางอนุ กมธ.จะพิจารณาว่าทำได้หรือไม่

นอกจากนี้จะเชิญนักวิชาการด้านที่ดิน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดินจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงอดีตอธิบดีกรมที่ดิน มาให้ความเห็นด้วยเพื่อความรอบคอบรัดกุม

“เมื่อสรุปได้แล้วอนุ กมธ.จะเสนอต่อ กมธ.กฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นชุดใหญ่เพื่อพิจารณาก่อนยื่นต่อ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการกับอธิบดีกรมที่ดินและพวกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกเอกสารสิทธิทั้งหมด มั่นใจว่าน่าจะได้ข้อสรุปที่ไม่พลาด และใกล้จบแล้ว เพราะเรื่องต้นน้ำลำธาร เราต้องรักษาปณิธานของเบื้องบน ในการรักษาต้นน้ำลำธารเอาไว้ ไม่ใช่คนรวยบุกรุกได้ แต่คนจนทำแล้วถูกจับ”นายประเกียรติกล่าว

งานนี้จบสวยหรือไม่สวย คนที่ต้องลุ้นหนักก็คือ พรรคประชาธิปัตย์

เพราะเมื่อครั้งที่ดิน สปก.4-01 ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคตกฮวบ จนต้องกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านอยู่นานหลายปี

แล้วครั้งนี้ “เขาแพง” หากเกิดซ้ำรอยขึ้นมาอีก ... แบบนี้ไม่รู้ว่าจะกระทบกี่ปีกันแน่??

อัครมหาเตโช "ฮุน เซน"

ที่มา thaifreenews


โดย Porsche


ประเทศไทยกับประเทศกัมพูชามีพรมแดนติดกันยาวถึงเกือบ 800 กิโลเมตร

ถ้าใช้ทหาร 1 คนยืนทุก 1 เมตร เราต้องให้ทหารถึง 800,000 นาย

เมื่อโลกนี้ยังไม่มีเทคโนโลยี่ใดสามารถย้ายประเทศที่มีพรมแดนติดกันให้หนีห่างจากกันได้

"ไทย" และ "กัมพูชา" จึงต้องเป็น "เพื่อนบ้าน" กันต่อไป

เพียงแต่เราจะเลือกว่าจะมี "ความสัมพันธ์" ฉัน "เพื่อน" กันแบบใด

"เพื่อนรัก"

หรือ "เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด"

นับตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นต้นมา ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ "กัมพูชา" มาตลอด

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปี เมืองไทยเปลี่ยน "นายกรัฐมนตรี" แล้ว 10 คน

พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายอานันท์ ปันยารชุน
พล.อ.สุจินดา คราประยูร
นายชวน หลีกภัย
นายบรรหาร ศิลปอาชา
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายสมัคร สุนทรเวช

และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

แต่นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ยังเป็นคนเดิม

"สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเตโช ฮุน เซน"

ต้องยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่าง "ไทย-กัมพูชา" อยู่ในภาวะเลวร้ายที่สุดก็คือ
ในสมัยรัฐบาล "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"

ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศชื่อ "กษิต ภิรมย์"

ส่วนหนึ่งเพราะมีตัวเร่งปฏิกิริยาชื่อ "ทักษิณ ชินวัตร" ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งกับ "ฮุน เซน"

แต่ส่วนสำคัญมาจากท่าทีของ "อภิสิทธิ์" ในช่วงที่เป็น "ผู้นำฝ่ายค้าน"
ที่อภิปรายเรื่อง "เขาพระวิหาร" ในสภาผู้แทนราษฎร

และ "กษิต" ในฐานะ "วิทยากร" บนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

"ทัศนคติ" ที่แสดงผ่านบทบาท "ฝ่ายค้าน" ของทั้ง 2 คนย่อมสร้างความแค้นเคืองให้กับ "ฮุน เซน"
และได้ปฏิกิริยาให้เห็นจนความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศเลวร้ายลงเรื่อยๆ

ในยุคที่ "อภิสิทธิ์" เป็นนายกฯ และ "กษิต" เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

จนถึงขั้นที่หวั่นเกรงว่าจะเกิด "สงคราม" ระหว่างประเทศ

เพื่อช่วงชิงพื้นที่แค่ 1,500 ไร่



จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง คือ เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร

ปมขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2505 ถูกจุดขึ้นมาอีกครั้งใน พ.ศ. นี้

เริ่มตั้งแต่ที่ "กลุ่มพันธมิตรฯ" ใช้ประเด็นนี้ในการเคลื่อนไหวไล่รัฐบาล "สมัคร สุนทรเวช"

โดย "อภิสิทธิ์-กษิต" มี "จุดยืน" เดียวกันกับกลุ่มพันธมิตรฯ

จนกระทั่ง "อภิสิทธิ์-กษิต" เปลี่ยนตำแหน่งยืนใหม่จาก "ฝ่ายค้าน" เป็น "รัฐบาล"

กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มปลุกกระแส "ชาตินิยม" ขึ้นอีกครั้งจากประเด็น "เขาพระวิหาร"
และทวงถาม "จุดยืน" เดิมของ "อภิสิทธิ์"

การเคลื่อนไหวจบลงแบบ "แฮปปี้เอ็นดิ้ง" เมื่อ

1.กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ชุมนุมใหญ่ทั้งที่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยไม่ถูกจับกุม

2."อภิสิทธิ์" ยอมขึ้นปราศรัยและตอบคำถามบนเวทีพันธมิตรฯ

และ
3. "แกนนำ" พันธมิตรฯ ได้ออกโทรทัศน์ร่วมกับ "อภิสิทธิ์"

ในทางการเมืองการส่งลูกระหว่าง "อภิสิทธิ์" กับ "กลุ่มพันธมิตรฯ" ได้จุดกระแส "ชาตินิยม" ขึ้น
สามารถชิง "พื้นที่ข่าว" กลบกระแสด้านลบของรัฐบาลที่เริ่มเพลี่ยงพล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่การจุดกระแสดังกล่าวได้ทำให้ความสัมพันธ์กับ "กัมพูชา" เลวร้ายยิ่งกว่าเดิม

การปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ ของ "อภิสิทธิ์" ประกาศใช้มาตรการด้านการทูต
และการทหารกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่ "ฮุน เซน" หยิบยกขึ้นมาเพื่อฟ้อง "สหประชาชาติ"

"กัมพูชาขอยืนยันว่าจะไม่ใช้กองกำลังทหารกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่กัมพูชามีสิทธิปกป้องอธิปไตยของตน

การที่ไทยขู่ว่าจะใช้กองทหารแก้ปัญหาความขัดแย้งตามแนวชายแดนนั้น
ข้าพเจ้าขอให้ท่านแจ้งให้สมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศทราบในสิ่งที่เกิดขึ้น"

คือ ประโยคตบท้ายในหนังสือของ "ฮุน เซน"

ความเก๋าของ "ฮุน เซน" ที่ครองอำนาจมานาน และต้องเดินเกมการทูตบนเวทีโลก
ตั้งแต่ยังรบกับ "เขมร 3 ฝ่าย" ทำให้ "กัมพูชา" เหนือกว่า "ไทย" อย่างชัดเจน

"ฮุน เซน" นั้นมีสไตล์การทูตไม่เหมือนใคร

ในขณะที่ใช้ท่าที "นักเลง" กับ "อภิสิทธิ์-กษิต" แบบไม่สนใจมารยาททางการทูต

แต่ทุกครั้งที่ความขัดแย้งเริ่มคุกรุ่นมากขึ้น "ฮุน เซน" จะตะโกนฟ้ององค์กรระหว่างประเทศทันที

เขาใช้ความเป็น "ประเทศเล็ก" เรียกคะแนนสงสาร

เหมือนกับไทยจะรังแกประเทศเพื่อนบ้านที่อ่อนด้อยกว่า

ในขณะเดียวกันปฏิกิริยาของนานาชาติกับไทยในหลายเรื่องไม่สู้ดีนัก

กลุ่มอาเซียนที่ไทยเคยมีบทบาทระดับ "ผู้นำ" มาก่อน กลับมอง "ไทย" เป็น "ตัวปัญหา"
ทั้งกรณี "ม็อบเสื้อแดง" และความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อแนวทาง "รวมอาเซียน" ให้เป็นหนึ่ง

กรรมการยูเนสโกจากหลายประเทศก็มีท่าทีในทาง "บวก" กับ "กัมพูชา" มากกว่า

จน "อภิสิทธิ์" ต้องเล่นไม้แข็งขู่ถอนตัวจาก "ยูเนสโก"

ณ วันนี้ภาพลักษณ์ของ "ไทย" ในเวทีโลกไม่ได้ดีเหมือนในอดีต



การเลือกเล่นเกม "เขาพระวิหาร" ของ "อภิสิทธิ์" จนบดบังมิติด้านอื่นของความสัมพันธ์
ระหว่าง "ไทย-กัมพูชา"

เป็นเกมที่ไทยมีแต่เสียเปรียบ

เพราะคำตัดสินของ "ศาลโลก" เมื่อปี 2505 เป็นประโยชน์กับ "กัมพูชา" มากกว่า "ไทย"

ไม่แปลกที่ไทยจะพยายามจำกัดวงให้อยู่ในระดับ "ทวิภาคี"

ไม่ยอมให้ประเทศใดเข้ามายุ่งเกี่ยว

ในขณะที่ "กัมพูชา" ก็เรียกร้องให้ "ต่างชาติ" เข้ามาไกล่เกลี่ย เพราะเชื่อว่าฝ่ายตนได้เปรียบในข้อกฎหมาย

และบางครั้งก็ขู่ถึงขั้นจะฟ้องศาลโลก

พระราชดำรัสของในหลวงเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2535 จึงเป็น "ทางออก" ที่ดีที่สุด

"ทั่วตลอดเขตแดนไทยกับต่างประเทศเป็นปัญหาอย่างนี้ทั้งนั้น
ไม่ทราบว่าตรงไหนเป็นเขตไทยและเขตต่างชาติ ถึงโดยมากในเขตแดน
ระหว่างประเทศทุกประเทศทุกแห่งที่ทำกันอย่างมีวัฒนธรรม
เขตแดนคือหลักเขตแดนอยู่แห่งหนึ่ง
และมีระยะหนึ่งที่ไม่ใช่ประเทศนี้
และประเทศโน้นถึงจะทำให้ไม่มีปัญหา
และแก้ปัญหาได้ บางประเทศในยุโรปมีบ้านหลังคาเรือนเดียวกัน
ประตูข้างหนึ่งอยู่ประเทศหนึ่งนี้มีแต่เขาก็ไม่บ้าบอที่จะบอกว่ามายึดกันไปยึดกันมา
แต่ต้องมีข้อตกลงกันว่าเขตที่ชายแดนที่วางไว้สองข้างนั้นอย่าไปทำกิจกรรมใดๆ
หรืออีกอย่างคือทำกิจกรรมร่วมกัน"

แม้ "อภิสิทธิ์" จะเป็นคนหยิบยกพระราชดำรัสดังกล่าวเพื่อใช้ "สยบ" กลุ่มพันธมิตรฯ

แต่ดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาของ "อภิสิทธิ์" จะยังไม่สุกงอมในแนวทางนี้

"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ" ที่มีมิติต่างๆ มากมาย กลับถูกบดบังเพียงแค่ปราสาทพระวิหาร

ลืมไปว่ายังมีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับกัมพูชา การค้า และผลประโยชน์ร่วมกันต่างๆ มากมาย

"บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" เคยสรุปในหนังสือ "แฉเอกสารลับที่สุด ปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505-2551" ว่า
ปัญหาปราสาทพระวิหารเป็นเพียงปัญหาเดียวในความสัมพันธ์พหุมิติ
การรักษาผลประโยชน์ของเรา เราก็ต้องทำ
แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เสียสัมพันธ์ทุกมิติดังที่เคยตัดความสัมพันธ์ทางการทูตทั้ง 2 ครั้ง ระหว่างปี 2500-2509

"เราจะจำกัดปัญหาไม่ให้ลุกลามไปทำลายพหุมติติแห่งความสัมพันธ์อย่างไร นี่คือ
โจทย์ใหญ่ที่คนที่รับผิดชอบต่อบ้านเมืองต้องคิด

และจะคิดได้รอบคอบก็โดยอาศัยสติและปัญญา"



http://info.matichon.co.th/weekly/member/wk_txt.php?srctag=MDkxMzA4NTM=

เสียงสะท้อนจาก "เฟซบุ๊ก" หลัง "สกอ." เตรียมคุมเข้มละครเวที นศ. ไม่ได้ "ห้าม" แค่ "เตือน" แต่อย่า "คิดต่าง"

ที่มา thaifreenews


โดย Porsche

อยู่ดีๆ เรื่องที่ไม่น่าจะเป็นเรื่องก็กลับกลายมาเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ส่งหนังสือเวียนลงวันที่ 29 กรกฎาคม ถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่างๆ
เรื่องขอความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางด้านการเมืองของแกนนำนักศึกษา
มีเนื้อหาระบุว่า

"ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณี
เกี่ยวกับการพิจารณาควบคุมการจัดแสดงละครเวทีทางด้านการเมืองของแกนนำนักศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา
เนื่องจากปัจจุบันมีแกนนำนักศึกษา จัดแสดงละครเวทีเพื่อแสดงความคิดเห็นด้านการเมือง
ในลักษณะบิดเบือนสถานการณ์ทางการเมืองอันเป็นการปลุกระดมยั่วยุ
สร้างความแตกแยกในสังคม ซึ่งอาจก่อให้เกิดเหตุความไม่สงบภายในประเทศได้นั้น

สกอ.พิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภายในสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งเป็นอำนาจของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมาย
หรือข้อบังคับของแต่ละสถาบันอุดมศึกษา
จึงใคร่ขอความร่วมมือในการควบคุมสอดส่องดูแลการจัดแสดงละครเวที
ให้มีความเป็นกลางทางการเมือง หลีกเลี่ยงการปลุกระดมยั่วยุ
หรือสร้างความแตกแยกในสังคมและสร้างความเข้าใจกับนักศึกษาทุกระดับ

เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดความสามัคคีในสังคมและความสงบสุขภายในประเทศต่อไป"



หนังสือเวียนดังกล่าวของ สกอ. ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์
หรือการแสดงความเป็นห่วงขึ้นอย่างหลากหลาย

นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แสดงความเห็นว่า หนังสือดังกล่าวอาจนำไปสู่ปัญหาในทางปฏิบัติของบางมหาวิทยาลัย
ที่อาจตีความถ้อยคำในหนังสือไปในแง่
ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของนักศึกษาอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ

นายปริญญาแสดงความห่วงใยว่า
ผู้ใหญ่ไม่ควรกีดกันการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษา
และการชอบพูดกันว่าเด็กสมัยนี้ไม่สนใจการเมือง
แต่ไปสนใจเรื่องบันเทิงหรือเรื่องราวไร้สาระอื่นๆ นั้น
บางทีก็อาจเกิดมาจากการที่ผู้ใหญ่มีความกลัวมากเกินไป
จนนำไปสู่การปิดกั้นการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษาในท้ายที่สุด

ด้าน นายอำนาจ เย็นสบาย รองอธิการบดีฝ่ายเครือข่ายเรียนรู้เพื่อสังคม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ก็ตั้งข้อสังเกตในฐานะที่เคยมีประสบการณ์ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ว่า
ถ้ารัฐบาลมีระเบียบออกมาอย่างนี้
จะคล้ายเป็นการย้อนเวลากลับไปในยุคสังคมเผด็จการครั้งอดีต
เพราะในสมัย 6 ตุลาฯ ก็มีการห้าม
และขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาไม่ให้นักศึกษาแสดงความเห็นทางการเมืองเช่นกัน

สอดคล้องกับอดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตนักศึกษาในยุค 6 ตุลาฯ อีกคน อย่าง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่ระบุว่า
การออกหนังสือเวียนของ สกอ. นำไปสู่บรรยากาศที่เหมือนกับ
ยุคก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และยุคหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
ซึ่งรัฐบาลสมัยนั้นพยายามปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทางวิชาการของนิสิตนักศึกษา
จนทำให้เกิดความกดดัน บีบคั้น
กระทั่งความรู้สึกร่วมของสังคมปะทุออกมาในการแสดงออกรูปแบบอื่นๆ

ตามความเห็นของนายจาตุรนต์ เรื่องการแสดงละครล้อเลียนนั้น
ถือเป็นการระบายออกตามปกติของสังคมที่ไม่ค่อยจะเป็นประชาธิปไตย
ซึ่งไม่สามารถพูดความจริงได้
แต่ต้องแสดงความเห็นออกมาในแนวล้อเลียน เสียดสี
ด้วยเหตุนี้ ยิ่งรัฐบาลไปปิดกั้นหรือกดดันการล้อเลียนเสียดสีดังกล่าว
ก็จะยิ่งทำให้นิสิตนักศึกษาหันไปแสดงออกในรูปแบบอื่น
หรือมีความกล้าคิดกล้าทำ กล้าเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น

ส่วนนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่าง
นายภัทรนันท์ ลิ้มอุดมพร ได้แสดงความเห็นว่า การส่งหนังสือเวียนดังกล่าว
หากมองในมุมของรัฐ
ก็ถือเป็นการออกคำสั่งควบคุมไม่ให้บุคคลแสดงออกทางความคิดผ่านงานศิลปะ
อย่างการแสดงละครเวที
ซึ่งอาจถูกรัฐมองว่ามีการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นการสร้างความแตกแยกในสังคม
ทั้งที่นักศึกษาเพียงแค่จะพยายามนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเมืองผ่านการแสดงละครเวที
โดยไม่มีนัยยะอื่นใดแอบแฝงอยู่

ขณะที่ น.ส.วริศรา ดำรงเวช นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
นักแสดงละครเวที เรื่อง "แสงศรัทธาเหนือลำน้ำเจ้าพระยา" ที่มีเนื้อหาสะท้อนภาพ
การเมืองไทยยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
ผ่านชีวิตตัวละครผู้หญิงหลากหลายกลุ่ม
โดยมีตัวละคร "ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์" เป็นศูนย์กลางของเรื่อง
ซึ่งท้าทายแม่บทประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ
ก็สรุปความเห็นไว้อย่างหนักแน่นว่า

การควบคุมหรือจำกัดสิทธิของนักศึกษาในเรื่องการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
ยิ่งจะทำให้เด็กเกิดความต่อต้าน และอยากจะแสดงออกมากขึ้น

ทั้งนี้ ผู้อยู่ในแวดวงละครเวทีของนักศึกษา เชื่อกันว่า
ละครเวทีที่ทำให้มีผู้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง สกอ.
จนนำมาสู่การออกหนังสือเวียนอันถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางนั้น
น่าจะเป็นผลงานละครเรื่อง
"ดาลิต...ผู้เป็นที่รัก"
โดยนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งจะเปิดแสดงในช่วงเดือนกันยายนนี้

ละครเวทีเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของ "อตุล" ตัวแทนของมนุษย์ที่ถูกตีค่าจากสังคมอินเดีย
ในยุคก่อนว่าเป็นพวก "จัณฑาล" จนถูกข่มเหงเหยียดหยันจากผู้คนที่เชื่อว่า
ตนมีวรรณะ คุณธรรม อำนาจ ความมั่งคั่ง และความแข็งแรงสูงกว่า
อตุลตัดสินใจกล้าลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่แตกต่างจากจารีตและความเชื่อของผู้คน
ทว่าสิ่งที่ตามมา คือ
ความเกลียดชัง การแบ่งแยก ความสูญเสีย และกลับกลายเป็นความไร้ค่าเช่นเดิม

วันเวลาผันผ่านไปจนบ้านเมืองเปลี่ยนมาปกครองในระบอบ "ประชาธิปไตย"
แต่ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ยังคงอยู่
เหล่า "จัณฑาล" เลือดใหม่จะทำอย่างไร หรือต้องใช้เลือดรดพื้นดิน?



พ้นออกไปจากพื้นที่ของสื่อกระแสหลัก หนังสือเวียนฉบับดังกล่าวของ สกอ.
ก็ได้ก่อให้เกิดเสียงสะท้อนกลับอย่างมากมายจากสมาชิกของชุมชนออนไลน์เฟซบุ๊กเช่นกัน
ซึ่งปรากฏทั้งในรูปแบบขำขันและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดจริงจัง อาทิ

"กลัวกระทั่งละครนักศึกษา หึๆ"

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 1 - "คงไม่ต้องถามแล้วว่าวันนี้
เรากำลังมีชีวิตอยู่ภายใต้เงาคิดแบบไหน ที่น่าสงสัยคือ ต่อไปจะต้องเจออะไรอีกบ้าง")

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 2 - "และคาดว่าละครเวทีเรื่อง ดาลิต
ของวารสารฯ ธรรมศาสตร์ น่าจะเป็นเชื้อไฟสำคัญที่ทำให้ออกมาเต้นเร่าๆ กัน
ว่าแล้วก็ไปดูละครเวทีเรื่องนี้กันดีกว่า หมั่นไส้หนังสือเวียน ชิ")

"ถึงเพื่อนๆ น้องๆ วารสาร มธ. - ข่าวนี้เป็น "ดาลิต เอฟเฟ็กต์" หรือเปล่าเนี่ย?"

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 1 - "คิดในแง่ดีนะ..ถ้าเค้าร้อนตัว
เพราะดาลิตจริง แสดงว่าละครเราต้องดีมากๆ และเนื้อหาฉลาดสุดๆ")

"เพิ่งได้รับโทรศัพท์จาก... ว่าสรุปแล้วข่าวที่มติชนลงเรื่องละครเวทีการเมืองนั้น
เป้าหมายสำคัญในการจับตามองอยู่ที่ "ดาลิต" ของวารสาร มธ.
และละครเวทีของ ม.กรุงเทพ เรื่องหนึ่ง"

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 1 - "ทำเอาข้าพเจ้าอยากดูดาลิตเลย ฮ่าๆๆ")

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 2 - "ชักอยากดูขึ้นมาเลย 555")

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 3 - "ดีจัง โปรโมตให้ฟรี")

"การควบคุมการแสดงออกของนักศึกษาที่ขยายวงจากเรื่องการเมืองเป็นการแสดงละครแบบนี้คือ
ตัวอย่างว่ารัฐเดินหน้าควบคุมความคิดของสังคม
คำถามไม่ใช่อยู่ที่ระบอบปัจจุบันเลวร้ายแค่ไหน
แต่คือระบอบจะเดินหน้าเลวร้ายต่อไปอีกไกลขนาดไหนจนถึงจุดที่มืดมิดที่สุดของมัน"

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 1 - "มืดที่สุดก็หมายความว่าใกล้สว่างแล้ว
อย่ากลัวที่จะมืดกว่านี้ เพราะความสว่างมันกำลังมาเยือน")

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 2 - "น่าสนใจว่าละครเวทีนักศึกษาโดนเล่นก่อนหนังสั้น
(ทั้งที่ประเด็นบางอย่างในหนังสั้นน่าจะไปไกลและเล่นแรงกว่า) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ
1.ละครเวทีดูเป็นกิจกรรมที่แมสกว่าในสายตาของรัฐและสังคม?
2.รัฐยังติดกับความหลังเรื่องละครแขวนคอ? ฯลฯ")

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 3 - "มันมาใกล้เราเข้าไปทุกทีๆ
การแสดงเสร็จก็จะต่อด้วย หนัง และ ทัศนศิลป์")

(บทสนทนาโต้ตอบกับสถานะดังกล่าว 4 - "สงสัยนี่เป็นขั้นตอนแรกของการปฏิรูปสื่อครับ...ฮา")

"ประโยคอมตะของ "ผู้ใหญ่ไทย" สไตล์คนดีศรีประเทศ "ไม่ได้ห้ามหรอกจ้ะ
แค่เตือนๆ จ้ะ (แต่อย่าทำนะมรึง คิดต่างจากกรูมรึงตาย)" "

http://info.matichon.co.th/weekly/member/wk_txt.php?srctag=MTIxMzA4NTM=

รายงานพิเศษ: คลี่ปมเยียวยา(ตอนที่3) สารพันปัญหาเงินเป็นตัวตั้ง

ที่มา ประชาไท


เปรียบเทียบตัวเลขการเยียวยากลุ่มเสื้อแดงกับผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อผู้สูญเสียในทางการเมืองได้รับเงินช่วยเหลือสูงกว่าเท่าตัวถ้าเทียบกับประชาชนทั่วไปในชายแดนใต้

เทียบตัวเลขการเยียวยาเสื้อแดง

ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านจนมีผู้เสียชีวิตถึง 88 คน รัฐบาลได้ควักเงินช่วยเหลือเยียวยาให้ด้วย ทั้งผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายและชดเชยเรื่องการประกอบอาชีพ

หากเปรียบเทียบการให้เงินช่วยเหลือเฉพาะผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกับการช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่าต่างกันเท่าตัว รัฐบาลได้มอบเงินชดเชยให้แก่ครอบครัวญาติผู้เสียชีวิตในกรุงเทพมหานคร ศพละ400,000 บาท และกระทรวงสาธารณสุขมอบให้อีก 50,000 บาท ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บรายละ 6 หมื่นบาท บาดเจ็บเล็กน้อย รายละ 2 หมื่นบาท

ในขณะที่การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในจังหวัดชายแดนภาคใต้สำหรับประชาชนทั่วไป กรณีเสียชีวิตศพละ100,000 บาท บาดเจ็บให้เงินช่วยเหลือตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 80,000 บาท ส่วนประชาชนที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือราชการในการรักษาความสงบในพื้นที่ที่เสียชีวิต ศพละ 200,000 บาท ส่วนบาดเจ็บให้การช่วยเหลือเหมือนประชาชนทั่วไป

ยกฟ้อง - แต่ไม่ได้รับเงินชดเชย

การใช้กฎหมายพิเศษในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในพื้นที่จำนวนมาก ทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และกฎหมายปกติ คือประมวลกฎหมายอาญา ส่งผลกระทบให้กับญาติพี่น้องพอสมควร เนื่องจากหลายคนเป็นกำลังหลักของครอบครัว จึงมีการเรียกร้องให้มีการชดเชยในส่วนนี้ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ถูกควบคุมตัวที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว

นายแพทย์สุภัทร กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเรียกร้องไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีการชดเชยผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายปกติและกฎหมายพิเศษทั้งหลายที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธโดยระบุว่า ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องการช่วยเหลือเยียว แต่เป็นเรื่องกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

กล่าวสำหรับผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุว่า ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีคดีที่ขึ้นสู่ศาลและมีคำพิพากษารวม 216 คดี จากทั้งหมด 7,004 คดี แต่ศาลตัดสินลงโทษเพียง 130 คดี ยกฟ้องถึง 86 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ขอคดีที่ขึ้นสู่ศาล

ทั้ง 7,004 คดี แยกเป็นคดีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว 1,388 คดี อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว 562 คดี โดยในปี 2552 ปีเดียว มีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวมากถึง 548 คน

นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ หัวหน้าศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา ไม่มีผู้ที่ถูกยกฟ้องแม้แต่รายเดียวในคดีความมั่นคงที่ได้รับการชดเชยในระหว่างถูกคุมขัง จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ซึ่งเจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัดยะลาให้เหตุผลว่า ศาลไม่ได้ยกฟ้องเพราะไม่ได้กระทำผิด แต่ยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานอ่อน จึงมีการอุทธรณ์ไปอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 จำนวนมาก แต่ยังไม่มีคำสั่งอุทธรณ์ใดๆ ออกมา

การเยียวยาของภาคประชาชน

ภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากนอกพื้นที่ ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อยู่ไม่น้อย ทั้งยังช่วยเสริมการทำงานของฝ่ายรัฐด้วย ในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าเข้าไปทำงาน

นางเตะหาวอ สาและ หัวหน้าศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า หลายเรื่องที่องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่มีส่วนจุดประกายหลายเรื่องให้กับรัฐ จนกลายมาเป็นหลักเกณฑ์การช่วยเหลือในปัจจุบัน

หลายองค์กรที่ลงไปทำงาน ไม่ว่าการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ชาวบ้าน การช่วยเหลือกลุ่มสตรีหรือเด็กกำพร้า ซึ่งหลายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมีความเข้มแข็งขึ้นมา จนสามารถไปช่วยเหลือคนอื่นได้อีกด้วย

ตัวอย่างกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่สามารถรวมตัวขึ้นมาได้ เช่น กลุ่มสตรีสานสัมพันธ์สู่สันติสุข (สอซิกหรือ ส.6) ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้หญิงทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม มีนางณัฐกานต์ เต๊ะละ ผู้สูญเสียลูกชายการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นประธานกลุ่ม

กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้า เยี่ยมเยียนและฟื้นฟูจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งติดตามสิทธิอันควรจะได้รับของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาครัฐ และจัดหาและส่งเสริมอาชีพของผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ในขณะที่หลายองค์กรได้พัฒนารูปแบบขยายบทบาทและกิจกรรมออกไป

นายเตะหาวอ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันองค์กรภาคประชาสังคมจำเป็นต้องทำงานเยียวยาอีกหรือไม่ ในเมื่อการเยียวยาได้เข้าสู้ระบบของราชการแล้ว บทบาทที่ดีที่สุดขององค์กรภาคประชาสังคมคือ การเป็นชุมทางในการนำผู้ได้รับผลกระทบเข้าสู่ระบบการเยียวยาของรัฐ เป็นเพียงผู้ประสานงาน

“อีกบทบาทที่สำคัญคือ การตรวจสอบเรื่องการใช้งบประมาณในการเยียวยา เนื่องมีงบประมาณจำนวนมากที่ลงมาในพื้นที่ งบเหล่านี้ถูกตัดตอนก่อนถึงมือผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ หรือไม่ มีการใช้งบประมาณอย่างไร ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องยอมให้มีการตรวจสอบด้วย” นางเตะหาวอ กล่าว

เยียวยาด้วยการให้ความยุติธรรม

กระบวนการยุติธรรมที่เป็นปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการก่อความไม่สงบ หลายคนปฏิเสธการช่วยเหลือเยียวยาจากจากรัฐ แต่ต้องการให้รัฐให้ความยุติธรรมมากกว่า

อย่างกรณีของนายนิเลาะ บาเห๊ะ อายุ 16 ปี ชาวบ้านตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งถูกอาสาสมัครทหารพรานยิงเสียชีวิตหลังเรียกตรวจ แต่นายนิเลาะขับรถจักรยานยนต์หนี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2552กรณีนี้ฝ่ายทหารพรานเสนอชดใช้ 290,000 บาท

ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดยะลา เป็นโจทย์ยื่นฟ้องอาสาสมัครทหารพรานนิรันดร์ หนูเชื้อเป็นจำเลยในข้อหาทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายอัตราโทษจำคุก 3 – 15 ปี แต่นายนิแม พ่อของนายนิเลาะ ได้โต้แย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ โดยอ้างว่า ก่อนหน้านั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่า

นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ หัวหน้าศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา กล่าวว่า พ่อของนายนิเลาะต้องการให้ตั้งข้อหาพยายามฆ่า ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาเช่นเดียวกับคดีความมั่นคงอื่นๆในพื้นที่ ไม่ใช่คดีทะเลาะกัน แล้วมีการทำร้ายร่างกาย

ต่อมาศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยสารภาพ จึงลดโทษเหลือกึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 ปี 6เดือน แต่เนื่องจากจำเลยช่วยเหลือราชการ และได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ญาติผู้ตายไปแล้ว รวมทั้งไม่เคยติดคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอไว้ก่อน 1 ปี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์

การเยียวยาคุณภาพ

จากปัญหาเรื่องเงินเยียวยาที่มีอยู่มากมายทำให้เกิดแนวคิดเรื่อง การเยียวยาคุณภาพขึ้นมาโดยการผลักดันของมูลนิธิเพื่อการเยียวและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้

นพ.สุภัทร กล่าวถึงถึง การเยียวยาคุณภาพว่า จุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้มาจากที่การให้เงินชาวบ้าน 1 แสนบาทขึ้นไปนั้น พบว่าใช้หมดไปภายในเดือนเดียว เช่น นำไปชำระหนี้ โอกาสที่เงินก้อนนี้จะถูกนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตน้อยมาก

“บทเรียนสำคัญที่ทีมผมได้สัมผัส คือบทเรียนของ อาจารย์ปิยะ กิจถาวร (คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) ที่ช่วยเหลือคนยากลำบาก ด้วยการให้เงินทุน 5,000 บาท เพื่อพัฒนาอาชีพให้ยั่งยืน”

ยกตัวอย่างที่อำเภอจะนะ มีคนสานเศษกระจูด เดิมเขาซื้อกระจูดมาทีละนิด เนื่องจากไม่มีทุน สานเสร็จก็รอคนมารับซื้อผืนละ 40 บาท วันหนึ่งสานได้อย่างมากก็ 2 ผืน แต่พอได้เงินทุน 5,000 บาท เขาสามารถซื้อเศษกระจูดได้มากขึ้น สานเสร็จก็ไม่ต้องรีบขายเพราะมีทุนอยู่ รอเอาไปขายวันตลาดนัด จะราคาก็สูงขึ้น เป็นต้น

วงจรจากเงิน 5,000 บาท ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่เงินนี้ต้องชำระคืน รูปธรรมอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่น่าจะนำมาใช้กับงานเยียวยา ให้คนที่ยากลำบากทางเศรษฐกิจ สามารถใช้เงินจำนวนน้อยแต่ยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้ เราก็เลยเรียกแนวคิดนี้ว่า เยียวยาคุณภาพซึ่งมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ ได้รับแนวคิดนี้มาดำเนินการต่อไป โดยเน้นกลุ่มผู้หญิง กลุ่มสตรีหม้ายที่ยากจน เด็กกำพร้า ผู้หญิงที่สามีเสียชีวิต ทุพพลภาพ และมีลูกหลายคน

“การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนมันต้องเกิดจากความไว้วางใจและการเห็นอกเห็นใจกันของคนในชุมชน ซึ่งการเยียวยาคุณภาพแบบนี้จะช่วยได้เยอะ” นายแพทย์สุภัทร กล่าว

มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง (วันที่ 26 พฤษภาคม 2553)

มาตรการ

มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ

มาตรการช่วยเหลือจากภาคเอกชน

กลุ่มผู้ประกอบการ

ค้าขายรายย่อย

1.ครม.จ่ายเงินให้เปล่าช่วยเหลือให้เป็นกรณีพิเศษ รายละ 50,000 บาท

2.เจรจาให้ผู้ให้เช่าไม่เก็บค่าเช่า 1 เดือนแล้วรัฐบาลจะไปเจรจากับผู้ให้เช่าว่าจะชดเชยช่วยเหลือกันอย่างไร

3. เงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารของรัฐเช่น SMEแบงค์ ธนาคารออมสิน ฯลฯ การกู้ทุกกรณีจะได้รับระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้นเป็นเวลา 2ปี โดยมีหลักดังนี้

· ผู้กู้ที่มีหลักประกันจะสามารถกู้ได้เต็มที่รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท

· ผู้กู้ไม่มีหลักประกันจะสามารถกู้ได้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท

· ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ร้านค้าถูกเพลิงไหม้ กรณีกู้เงินไม่เกิน 1ล้านบาท จะได้รับระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยช่วงการผ่อนชำระ

คืน 3 แสนบาทแรก ส่วนอีก 7แสนบาท จะ

คิดอัตราดอกเบี้ย3%

· หากเป็นกรณีผู้ประกอบการที่ได้รับ

ผลกระทบจากการชุมนุม แต่กิจการไม่ได้ถูกไฟไหม้ ก็จะกู้ได้ในวงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3% ไม่ต้องค้ำประกัน

4. ยกเว้นการชำระภาษี สำหรับผู้ประกอบการและห้างร้านที่มีการประกันอัคคีภัยแล้ว หากได้รับการชดเชย

สินไหม

5.จัดให้มีพื้นที่ค้าขายพื้นที่ชั่วคราวกทม.จะเปิดถนนคนเดิน รวมพลัง เพื่อวันใหม่ (Together We Can Grand Sale)ที่สีลม เพื่อช่วยผู้ค้ารายย่อยที่ไม่มีที่ขายสินค้าและมีรายได้น้อย 600 บู๊ธ ระหว่างวันที่ 28-29พฤษภาคม พื้นที่ค้าขายใหม่ ปิดถนนวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นถนน

คนเดินซึ่งจะมีหลายส่วนด้วยกัน

· ผู้ประกอบการสยามสแควร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีแผนรองรับ

โดยจะมีการกันพื้นที่บางส่วนในสยามส

แควร์ทำเป็นเต็นท์ขายชั่วคราว และระยะ

ถัดไปก็จะทำเป็นเต็นท์กึ่งถาวรก่อนที่จะ

กลับไปอยู่ที่เดิม

· ผู้ประกอบการพื้นที่อื่น ๆจะมีการหา

พื้นที่ใกล้เคียงโดยจะติดต่อไปยังเช่น ห้าง

ต่าง ๆ ในบริเวณนั้น พื้นที่ของสำนักงาน

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในบางส่วน

ซึ่งรัฐบาลกำลังจะเจรจาในการที่จะเช่าและ

เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ไปค้าขายได้

· ผู้ประกอบการจากเซ็นเตอร์วันอาจไป

ขายที่บางกอกบาร์ซาร์ ราชดำริ

· ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหา

ต้องปิดกิจการหรือค้าขายไม่ได้ในช่วงการ

ชุมนุม โดยรัฐบาลจะไปเจรจาให้ผู้ให้เช่าไม่

เก็บค่าเช่า 1 เดือน

1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ประกาศงดเก็บค่าเช่า 3 เดือน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายจากเหตุชุมนุม รวมทั้งจะจัดหาที่สำรองให้ค้าขายชั่วคราวด้วย

2. เซ็นทรัล แบ่งพื้นที่ขายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อยได้ถึง 3 ศูนย์ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 21-70 ตร.. ได้แก่

· ท็อปส์ มาร์เก็ต เพลส อุดมสุข ให้พื้นที่ขายฟรี3เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

· ศูนย์การค้าพาวเวอร์เซ็นเตอร์ (บิ๊กซี)หัวหมาก ตั้งอยู่เยื้องมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เฉพาะศูนย์นี้คิดค่าเช่าในอัตราพิเศษตั้งแต่ 200บาทขึ้นไปต่อวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่

· ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ วังบูรพา ให้พื้นที่ขายฟรี3 เดือน

3. ศูนย์การค้าสยามพารากอน มีแผนช่วยเหลือ

ร้านค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา

การเมืองในพื้นที่ราชประสงค์และพื้นที่อื่นๆ ด้วย

การ

· เปิดให้เข้ามาขายสินค้าในชั้น 5 โซน รอยัล พารากอน ฮอลล์ ที่มีพื้นที่รวม 12,000 ตร..โดยไม่คิดค่าเช่าพื้นที่

· รวมทั้งมีแผนจัดคอนเสิร์ตด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานร่วมกับกทม.เพื่อทำแผนงานร่วมกัน คาดว่าจะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดได้ในเร็วๆนี้

· นอกจากนี้ สยามพารากอนยังมีพื้นที่ ลานพาร์คพารากอน ที่ติดกับศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ขนาดพื้นที่

3,500 ตร..ด้วย ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นพื้นที่ขายสินค้าได้เช่นกัน

4. The Mall Group เปิ ดพื้นที่ให้ร้านค้าที่

ได้รับผลกระทบจากย่านราชประสงค์ขายของที่

ซอยสุขุมวิท 35 ตั้งแต่วันที่2-6 มิถุนายน

5. ด้านผู้ค้าที่อยู่ห้างในเซ็นเตอร์วัน โดย1

เดือนนับจากนี้ จะให้ย้ายไปขายที่แฟชั่นมอลล์ ซึ่ง

อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเซ็นเตอร์วัน หรือที่เคยเป็นห้าง

โรบินสัน มี 2 ชั้น พื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ซึ่งพอ

มาทำเป็นแฟชั่นมอลล์ มีปัญหาภาระหนี้สินกับ

ธนาคารเอสเอ็มอี โดยผู้ค้าตรงนี้จะไม่เก็บค่าเช่า 6

เดือน

6. กลุ่มคนรักจุฬาฯรักสยาม จัดกิจกรรม

กองทุนไทยไม่ทิ้งกัน ระดมเงินบริจาคช่วยเหลือผู้

ที่รับผลกระทบย่านสยามสแควร์

7. ครอบครัว ตันสัจจา เจ้าของโรงหนังAPEX,

Siam Scala และ Lido เปิ ดพื้นที่ให้กลุ่มผู้ขายของ

ใต้โรงหนังสยามเข้าไปขายของใต้ lido ชั่วคราว

8. นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการบริษัท

โออิชิ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม

ในเครือโออิชิ กล่าวว่า บริษัทได้นำที่ดินจำนวน14

ไร่ ในพื้นที่สนามฟุตบอลอารีน่า ซอยทองหล่อ10

โดยเปิ ดให้ทั้งผู้จำหน่ายสินค้าทั้งแบบแบกะดิน

และเปิดท้ายขายของโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเปิดให้

ผู้ประกอบการลงทะเบียนในวันที่ 25 .. นี้ เพื่อ

รับสิทธิจำหน่ายสินค้าตั้งแต่เวลา 11.00-17.00.

โดยเปิ ดจำหน่ายสินค้าในระหว่างวันที่ 28..-6

มิ..นี้ ระหว่างเวลา 16.00-21.00

กลุ่มผู้ประกอบการ

ธุรกิจท่องเที่ยว

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง ให้การดูแลพิเศษเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น พร้อมให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาพิเศษหรือขยายเวลาการผ่อนชำระเงินตามข้อตกลง นอกจากนี้ธนาคารยังพร้อมให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ด้วย

กลุ่มผู้ใช้แรงงาน

ลูกจ้างในระบบประกันสังคม

· ได้รับการชดเชยตามหลักเกณฑ์ของ

ประกันสังคม ไม่เกิน 6 เดือน

· รัฐบาลจสมทบให้อีก 7,500 บาท/

เดือน เป็นเวลา 6 เดือน ระหว่างยังไม่มีงาน

ทำ

ลูกจ้างที่ไม่ได้ผูกกับระบบประกันสังคม เช่น หาบเร่แผงลอยรัฐบาลจะชดเชยให้ 7,500 บาท/เดือน ระยะเวลา3-6เดือน

หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ที่มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการ

นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาลงในรายละเอียด และอยู่ระหว่างการสรุปขึ้นทะเบียนผู้ที่ได้รับผลกระทบว่ามีทั้งหมดกี่ราย

นักเรียน

33 โรงเรียนเลื่อนการเปิดภาคเรียน

ถึงวันที่ 31 ..

นักศึกษา

· กระทรวงศึกษาธิการจะหยิบยก

โครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยโดยใช้

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง มาเป็นนโยบาย

สำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาให้คน

ในชาติ

ประชาชนทั่วไป

ด้านการลดภาระค่าใช้จ่าย

ขยายมาตรการภาษีภาคอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของการลดค่าธรรมเนียมจดจำนองและค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ0.01%ออกไปอีก 1 เดือน เป็น 30มิ..53จากเดิมสิ้นสุด 31..53

ด้านจิตใจ

เปิดศูนย์ปฏิบัติการที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หมายเลข02-2244680 หรือ 02-2212141-69 ต่อ

1462 Z โดยกทม.เปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือเยียวยา ด้านจิตใจ ผู้ได้รับ

ผลกระทบ จากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยเฉพาะคนในครอบครัวผู้เสียชีวิต88ราย อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ จากการเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวน

29 ราย ในเหตุการณ์เมื่อวันที่10เม..พบว่า 80 % มีปัญหาซึมเศร้าปานกลาง ถึงมาก ซึ่งจะต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย ส่วนผู้บาดเจ็บมีปัญหาสุขภาพจิต 12 %

นอกจากนี้ ยังต้องติดตาม ผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม ซึ่งมีรายชื่อแล้ว จำนวน3,000ราย และจะตามไปดูประชาชนใน24จังหวัด ที่มีการประกาศ พ...ฉุกเฉิน รวมทั้งในส่วน กทม. 23ชุมชน ประมาณ100,000 รายด้วย

สนับสนุนการเงินต่าง ๆ โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยใช้ชื่อบัญชีรวมกัน เราทำได้เลขบัญชี 088 004 320 2

ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยศาลาว่าการ กทม.

1. พารากอนลดราคาตั๋วชมภาพยนตร์เริ่มต้น

ที่ 100 บาท ประเดิมเปิ ดวันแรกตั้งแต่วันนี้ถึง31

..

2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือ

ธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับ

ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง ให้การ

ดูแลพิเศษเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น

พร้อมให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยในช่วง

ระยะเวลาพิเศษหรือขยายเวลาการผ่อนชำระเงิน

ตามข้อตกลง นอกจากนี้ธนาคารยังพร้อมให้

ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

ท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่

ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ด้วย

3. 27 ..นี้ จุฬาฯจะจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

ให้บริการตรวจร่างกาย ปอดจากการที่สูดควันยาง

ที่ถูกเผา การประเมินความเครียดและให้คำปรึกษา

ด้านจิตวิทยา ที่ชั้นใต้ดินอาคารวิทยกิตติ์หรือ

ศูนย์หนังสือจุฬาฯสาขาสยามสแควร์

ผู้ได้รับบาดเจ็บ-ตาย

ผู้ตาย

รัฐบาลให้เงินค่าชดเชยแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 400,000 บาท

กระทรวงสาธารณสุขชดเชยให้50,000บาท

ผู้บาดเจ็บ

ผู้บาดเจ็บ รายละ 6 หมื่นบาท

ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย รายละ 2 หมื่นบาท

ที่มา : สำนักนายกรัฐมนตรี, http://www.pm.go.th/blog/32058