WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 9, 2011

จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล: กรณีการดำเนินคดีทางการเมืองและคดีอื่นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมือง

ที่มา มติชน



โดย สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์

สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์ขอแสดงความยินดีกับ สังคมไทยที่สามารถก้าวผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 มาได้อย่างเรียบร้อย และกำลังจะได้รับรัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่ของ ประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งได้ให้คำมั่นว่าจะเข้ามาแก้ไขปัญหา มิได้เข้ามาเพื่อแก้แค้นผู้ใด


จาก เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในห้วง เวลา 4- 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก รวมทั้งยังนำพาประเทศถอยหลังเข้าสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางมาก เป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ได้เกิดความแตกแยกของประชาชน และรัฐบาลได้ใช้อำนาจอย่างป่าเถื่อน และใช้ความรุนแรงกับประชาชน จับกุมคุมขังประชาชนผู้มีความเห็นต่างทางการเมือง และดำเนินคดีกับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบัน ยังมีประชาชนถูกขังในเรือนจำต่างๆ ในคดีการเมืองทั่วประเทศหลายร้อยคน และมีประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ได้รับ การเยียวยาจากรัฐจำนวนมากเช่นกัน


สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์ ในฐานะเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ทางการเมือง ขอเสนอแนวทางการแก้ปัญหา และเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังต่อไปนี้


1. ให้รัฐบาลประสานกับสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการถอนฟ้องจำเลยในคดีที่ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งหมดซึ่งอยู่ในชั้นพิจารณาของศาล สำหรับคดีที่อยู่ในชั้นของพนักงานอัยการให้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดี และคดีที่อยู่ในชั้นสอบสวนก็ให้พนักงานสอบสวนมีคำสั่งไม่ฟ้อง รวมทั้งร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนหมายจับสำหรับผู้ต้องหาตามหมายจับ


ตามพระ ราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงาน อัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนหรือจะ มีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.อ." ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่พนักงานอัยการการในการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี ในกรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ และต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุดได้ออกระเบียบชื่อ "ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์ต่อ สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ พ.ศ.2554" ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2554 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2554 โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์อันเป็นสาระสำคัญสำหรับการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการ เอาไว้อย่างครบถ้วนแล้ว


สำนักกฎหมาย ราษฎรประสงค์เห็นว่า การดำเนินคดีกับประชาชนในเหตุการณ์ทางการเมืองหาได้เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ ไม่ ซ้ำยังก่อให้เกิดความเกลียดชังและแค้นเคืองกันในหมู่ประชาชนทั้งสองฝ่าย กล่าวโดยเฉพาะคือ จากเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วม ประชาชนต่อต้านเผด็การแห่งชาติก็ล้วนแต่เป็นการแสดงออกทางการเมืองและ ถูกกระทำจากรัฐที่เป็นขั้วตรงข้ามของทั้งฝ่ายทั้งสิ้น ผู้ได้รับผลกระทบทั้งถูกดำเนินคดี หรือได้รับความเสียหายอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นประชาชนที่เป็นมวลชนซึ่งมีเจตนาอันบริสุทธิ์ในการแสดงออกทาง การเมือง รวมทั้งในหลายกรณีก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมโดยถูกกลั่น แกล้งจากฝ่ายการเมืองซึ่งมีอุดมกาณ์ทางการเมืองตรงข้ามกัน การกระทำที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองจนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีจึงถือว่ามี ลักษณะพิเศษในทางอาชญวิทยา ที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยหาได้มีแนวคิดที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตน และถือเป็นการกระทำทางการเมืองซึ่งควรได้รับการผ่อนปรนในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อความสงบของสังคม ( เทียบคำสั่งไม่ฟ้องคดีกรณีเหตุการณ์ตากใบ)


สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์เห็นว่า ในปัจจุบันมีกฎหมายที่สามารถใช้เป็นทางออกให้สังคมอย่างเพียงพอแล้วดังที่ ได้เรียนข้างต้น และ ไม่เห็นด้วย กับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมอันจะทำให้ความศักดิ์สิทธิของกฎหมายถูกสั่นคลอน และทำให้หลัก "นิติรัฐ" อันเป็นหัวใจของสังคมสูญสิ้นไปรวมทั้งจะเป็นเงื่อนไขที่อาจก่อให้เกิดความ วุ่นวายทางการเมืองในภายภาคหน้า


สำนักกฎหมาย ราษฎรประสงค์เห็นว่า บรรดาคดีที่มีการกระทำอันมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งคดีหมิ่นหระบรมเดชานุภาพด้วย สมควรได้รับการถอนฟ้องหากคดีอยู่ในชั้นพิจารณาของศาล หรือมีคำสั่งไม่ฟ้องหากอยู่ในชั้นพิจารณาของพนักงานอัยการหรือชั้นสอบสวนของ พนักงานสอบสวน และเพิกถอนหมายจับในกรณีที่ถูกดดำเนินการออกหมายจับ ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมสามารถเดินหน้าต่อไปได้และเพื่อความปรองดองในสังคมที่แท้ จริง


2. ให้รัฐบาลดำเนินการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากเหตุการณ์ ทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งดำเนินการเจรจาเพื่อรับผิดในกรณีที่ผู้ได้รับความเสียหายได้ยื่นฟ้อง หน่วยงานของรัฐให้รับผิดจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิดในเหตุการณ์ทาง การเมือง


จากจำนวนผู้เสียชีวิตและบาด เจ็บจาก เหตุการณ์ทางการเมืองและความรับผิดชอบของรัฐบาลที่ผ่านมา สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์เห็นว่า รัฐบาลยังไม่สามารถเยียวยาความเสียหายได้อย่างเพียงพอแต่อย่างใด จะเห็นได้จากการที่ผู้เสียหายบางส่วนยังมีการดำเนินการฟ้องร้องเพื่อให้ รัฐบาลรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งจากการบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งผู้ได้รับบาดเจ็บบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทาง กฎหมายได้ก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใด เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบในนามของรัฐบาลสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์จึงขอ เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายอย่างเต็มที่ และสำหรับกรณีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาล หากปรากฎข้อมูลเบื้องต้นว่าเป้นผู้เสียหายจากเหตุการณ์ทางการเมืองจริง รัฐบาลควรเข้าเจรจาเพื่อรับผิดในความเสียหายและชดใช้ความเสียหายอย่างเต็ม ที่มิควรต่อสู้คดี หรือประวิงคดีให้ล่าช้าเพื่อปัดความรับผิดชอบแต่อย่างใด


3. ให้รัฐบาลตรวจสอบความจริงของเหตุการณ์ทางการเมือง และนำเสนอความจริงนั้นต่อสังคม รวมทั้งนำตัวผู้ที่เป็นผู้กระทำความผิดในนามรัฐมาลงโทษตามกฎหมาย


สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์เห็นว่า ความรับผิดของประชาชนกับความรับผิดของรัฐนั้นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ประชาชนเป็นผู้ถูกบังคับใช้กฎหมายโดยรัฐ ส่วนรัฐนั้นเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายและมี "หน้าที่พิเศษ" ในการคุ้มครองประชาชน ดังนั้น ตามข้อเรียกร้องในข้อ 1. ที่เสนอมิให้ดำเนินคดีกับประชาชนจึงมิได้รวมถึงการกระทำผิดโดยรัฐและผู้อยู่ เบื้องหลังรัฐแต่อย่างใด ทั้งนี้จะเห็นได้จากเหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้งที่ผ่านมา บุคคลที่เป็นผู้สั่งการให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการต่อประชาชนทั้งการสลายการ ชุมนุม การฆ่าโดยเจตนา หรือการจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ล้วนแต่ไม่ได้ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้อยู่เบื้องหลังสั่งการได้กระทำการอันโหดร้าย ต่อประชาชนซ้ำแล้วซ้ำอีก รวมทั้งเหตุการณ์ทางการเมืองในปี 2553 ด้วย


สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการตรวจสอบความจริงและดำเนินการเพื่อนำผู้สั่งการให้สลายการชุมนุม เข่นฆ่าประชาชน รวมทั้งการจับกุมคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มาลงโทษตามกฎหมายเพื่อมิได้บุคคลเหล่านั้นได้มีโอกาสกระทำความผิดอีกและ เพื่อป้องปรามการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในภายภาคหน้าด้วย


4. ให้รัฐบาลยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง


สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์เห็นว่า "กฎหมาย" เป็นเครื่องมือที่รัฐใช้ในการละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างกว้างขวางใน เหตุการณ์ทางการเมือง ซึ่งกล่าวโดยเฉพาะคือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112) และพระราชกำหนดการบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 รวมทั้งกฎหมายหมายที่ให้อำนาจพิเศษอื่นแก่รัฐด้วย


สำนัก กฎหมายราษฎรประสงค์เห็นว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเสมือนเครื่องมือที่รัฐใช้เพื่อปกปิดความ จริง และปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกลั่นแกล้งประชาชนผู้เห็นต่างทางการเมืองมา โดยตลอด อันเป็นกฎหมายที่ละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างกว้างขวาง และบทบัญญัติของพระราชกำหนดการบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในหลายมาตรายังเปิดเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเกินกว่าความจำเป็น เป็นผลให้เกิดการละเมิดสิทธิของประชาชน รวมทั้งลิดรอนเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย เช่น การให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ปิดสื่อ สั่งห้ามการชุมนุมอันเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จับกุมคุมขังตามอำเภอใจ จำกัดสิทธิในการกระบวนการยุติธรรมของประชาชน และอื่นๆอีกหลายประการ


การ ที่รัฐยังคงให้มีกฎหมายดังกล่าวอยู่จึง เสมือน "การเลี้ยงงูพิษไว้เฝ้าบ้าน" สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้มีความชอบธรรมในการยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพราะเป็น รัฐบาลที่ได้รับเสียงจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยทั้งประเทศ รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสนี้ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้สังคมและ ประชาชนมีเสรีภาพมากขึ้นรวมทั้งกาวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์


ด้วย ข้อเรียกร้องทั้ง 4 ประการข้างต้น สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์หวังว่าจะได้รับการตอยรับจากรัฐบาลชุดใหม่นี้ ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะนำพาประเทศก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แท้จริงในไม่ช้า

เชื่อมั่นและศรัทธา


สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์


9 กรกฎคม 2554

"วงศ์เทวัญ"มาแรง

ที่มา มติชน



คอลัมน์ โฟกัสกองทัพ

เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กลายเป็นโจทย์สำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ต้องคิดหนัก

เพราะ ตำแหน่งนี้ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้การทำงานของรัฐบาล "ปู 1" จะราบรื่นแค่ไหน รวมทั้งเป็นการส่งสัญญาณปรองดองต่อกองทัพว่าจะไม่มีการเข้าไปแทรกแซง โดยมีแคนดิเดตในพรรคเพื่อไทย ไล่ตั้งแต่ "บิ๊กตุ้ย" พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ญาติผู้พี่ พ.ต.ท.ทักษิณ "บิ๊กเมธ" พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี เพื่อนรัก ตท.10 "บิ๊กอ๊อด" พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีต รมว.กลาโหม หรือแม้แต่ "บิ๊กลภ" พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรอง ผอ.กอ.รมน.

ขณะที่แคดิเดตอย่าง "บิ๊กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม คนปัจจุบันที่ยังคงแบ่งรับแบ่งสู้ว่า "มีเทียบเชิญ" หรือไม่อย่างไร หรือจะรับตำแหน่งต่อหรือไม่

แต่ ชื่อที่ยังแรงต่อเนื่องไม่มีตก เนื่องจากเป็นบุคคลที่ทุกเหล่าทัพนับถือ "บิ๊กหมง" พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีต ผบ.สส. "ลูกป๋า" ที่ทำงานให้กับบ้านสี่เสาฯมายาวนาน ส่วน "บิ๊กสร้าง" พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีต ผบ.สส. และ "บิ๊กอุ๊" พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตท.6 ที่มีชื่อพาดพิงติดโผมาด้วยก็ได้พร้อมใจปฏิเสธว่า "ยังไม่ได้มีการทาบทาม" พร้อมกับแจงว่า ที่ปรากฏชื่อไปนั้นน่าจะเป็นการคาดเดากันไปเองมากกว่า?!?

อย่าง ไรก็ดี มีกระแสข่าวลือไปทั่วกองทัพว่า พ.ต.ท.ทักษิณเจรจากับกองทัพแล้ว โดยยืนยันว่าจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการหาคนไปนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม จะปล่อยให้กองทัพเป็นผู้พิจารณาเฟ้นตัวกันเอง หากกองทัพเสนอใครมาจะไม่มีการขัดขวาง แต่มีข้อแม้สำคัญหากเกิดปัญหากองทัพต้องรับผิดชอบ

ดีลนี้เพื่อความ ปรองดองและไม่ให้มีปัญหากับกองทัพล้วนๆ ถ้าข่าวนี้เรื่องจริง ถือได้ว่าเป็นการประนีประนอมของทั้ง 2 ฝ่าย สอดรับ "บิ๊กตุ้ย" พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. "บิ๊กติ๊ด" พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. เพื่อน ตท.10 ที่เดินทางไปอำลาตำแหน่งที่ประเทศบรูไน ซึ่งก็บังเอิญว่ามีข่าวระบุ พ.ต.ท.ทักษิณบินไปประเทศบรูไนช่วงเดียวกันพอดี ซึ่งข้อสงสัยที่ว่าจะมีการพบปะพูดคุยกันหรือทำข้อตกลงตามที่มีข่าวลือออกมา หรือไม่นั้นยังเป็นปริศนาอยู่

ทั้งนี้ แต่สำหรับแคดิเดตคนล่าสุดอย่าง "บิ๊กเกาะ" พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ อดีต ผบ.ทบ. ที่มาแรงอยู่เหมือนกัน ก็ยังไม่มีคำตอบว่ามีการเชิญมานั่งเก้าอี้ "สนามไชย 1" ซึ่งคนใกล้ชิด "บิ๊กเกาะ" ยืนยันว่า "ยังไม่มีการติดต่อเข้ามา"

ซึ่ง ก็มีคำถามว่า ทำไมต้อง "บิ๊กเกาะ" นั้น คำอธิบายง่ายๆ ก็เนื่องจากเป็นทหาร "วงศ์เทวัญ" อดีต ผบ.พล.1 รอ. มีประวัติทำงานที่ดี มีระเบียบวินัย เป็นนายทหารตัวอย่าง และเป็นที่รักในกองทัพ และไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการเมือง "ไม่มีแผล" มีสายสัมพันธ์อันดีตั้งแต่ชนชั้นสูงถึงชนชั้นล่าง เป็นต้น

วัด บารมีนาทีนี้พูดกันว่า "บิ๊กเกาะ" ไม่แพ้ใครในกองทัพ จนถูกเรียกว่า "เป็นเทพ" ของทหาร "วงศ์เทวัญ" อย่าได้แปลกใจหากชื่อ "พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์" มีเสียงเชียร์มาอื้ออึง

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 9 ก.ค.54)

เสียงที่ 300

ที่มา มติชน



คอลัมน์ ลึกกว่าข่าว

นึก ว่าจะปิดตัวเลขรัฐบาล 5 พรรค ที่ 299 เสียงแต่สุดท้าย "นายใหญ่" ก็ปิดจ๊อบที่ตัวเลข 300 เสียง โดยการดึงพรรคน้องใหม่ที่ชื่อ "ประชาธิปไตยใหม่ (ปธม.)" มาร่วมรัฐบาล ทั้งๆ ที่จำนวน 299 เสียงที่มีอยู่ ก็ทำให้มั่นใจได้ว่ารัฐนาวาพรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิง มีเสถียรภาพเต็มเปี่ยม

คำถามที่ว่า "ทำไม" ต้องดึงอีก 1 เสียงมาเพิ่ม แล้วทำไมต้องเป็น ปธม.??

ปธม.ก่อ ตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 โดยมีนายสุรทิน พิจารณ์ เป็นหัวหน้าพรรค ซึ่งแม้นายวิมล สารมะโน เลขาธิการพรรค จะออกมาปฏิเสธว่า "สุชน ชาลีเครือ" อดีตประธานวุฒิสภา ที่ได้ชื่อว่า "เอื้ออาทร" รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างมาก ไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อตั้งและสนับสนุน หรืออยู่เบื้องหลังในการก่อตั้งพรรค แต่คนในวงการก็รู้กันดีว่าอะไรเป็นอะไร

เมื่อผนึกเข้ากับเครือข่ายและความใกล้ชิดของ "คนเบื้องหลัง" ที่ยืนทะมึนกำกับ ปธม.อยู่ ย่อมหนีไม่พ้นว่า พรรคน้องใหม่ถูกยกสถานะเป็น "พรรคสำรอง" ไว้รองรับสถานการณ์ หากพรรคเพื่อไทยต้องเผชิญชะตากรรมเหมือนที่พรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชนเคยประสบมาแล้วในอดีต

ใน การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ปธม.ได้ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อด้วย อาศัยเครือข่ายครูและเครือข่ายขายตรงที่มีอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ ปธม.มีคะแนนเสียงมากพอที่จะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน ซึ่งบังเอิญว่า นายสุรทิน หัวหน้าพรรค ปธม. ผู้สมัครลำดับที่ 1 ได้ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตัดสิทธิ โดยไม่ได้รับการประกาศให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากเป็นบุคคลล้มละลาย

ทำให้ "พัชรินทร์ มั่นปาน" ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรคได้รับการเลือกตั้งแทน จึงกลายเป็นว่าที่ผู้แทนใหม่ที่ไปนั่งเปิดตัวร่วมงานกับพรรคเพื่อไทยกับ "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางความเสียดายเป็นอย่างยิ่งของ ชพน.

เพราะเล่าต่อๆ กันมาว่า ก่อนที่ทีมงานของนางพัชรินทร์ และแกนนำ ปธม.จะไปเปิดตัวแถลงข่าวเข้าร่วมงานกับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยนั้น พรรค ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) พยายามจะฉก 1 เสียงของ ปธม.ให้ไปร่วมทีมงานด้วย นัยว่าเป็นการเพิ่ม "พลังต่อรอง" ให้ทรงพลังมากยิ่งขึ้น เหมือนที่พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ของนายชุมพล ศิลปอาชา ประสบความสำเร็จในการ "อัพโควต้า" จากการมี ส.ส.จากพรรคมหาชนมาร่วมงานอีก 1 คน

พูดกันว่าดีลเริ่มแรกทำ ท่าจะเรียบร้อยโรงเรียน ชพน. เพราะว่าที่ ส.ส.หญิงหนึ่งเดียวของ ปธม.ตกลงปลงใจจะไปร่วมก๊วน "พรรคหลายพี" แล้ว แต่ก็ไม่วายมี "ผู้ใหญ่" ที่ทำตัวเป็นผู้มีอำนาจนอกพรรคมาเจรจาต่อรอง-ประสานขอเงื่อนไขที่ "ดีกว่า" และ "มากกว่า" จากพรรคเพื่อไทย

จึง เป็นที่มา ของกิจกรรมตั้งโต๊ะแถลงข่าวปิดตัวเลขพรรคร่วมรัฐบาล 300 เสียงดังว่า ขณะที่ "เก้าอี้" ที่เสนาบดีที่มีการต่อรองนั้นยังอยู่ในโควต้าของพรรคแกนนำเช่นเดิม !!

(ที่มาจากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 9 ก.ค. 54)

วิพากษ์รายงานกรรมการสิทธิฯ กรณีความรุนแรงปี 53 แล้วย้อนอ่านจดหมายโต้ตอบระหว่าง "ยุกติ-อมรา"

ที่มา มติชน



น.พ.ชู ชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะประธานคณะทำงานแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานกรณีเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่ง ชาติ(นปช.) ได้รายงานผลการศึกษาผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มนปช. ระหว่างวันที่ 12 มี.ค.2553 - 19 พ.ค.2553 ต่อที่ประชุมกสม. เมื่อวันที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา


ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เมื่อรายงานดังกล่าวมีข้อสรุปว่า "รัฐบาลอภิสิทธิ์กระทำภายใต้หลักกฎหมาย" "ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เกินกว่าเหตุ" และ "ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน" ส่วนการชุมนุมของ นปช.นั้น "มิใช่การชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธ" และ "ละเมิดสิทธิผู้อื่น"


ขณะ เดียวกัน มีผู้วิจารณ์รายงานของคณะกรรมการสิทธิฯ บางท่าน ได้อ้างอิงถึงจดหมายวิพากษ์วิจารณ์จุดยืนและการทำงานในฐานะประธานคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ของ ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งเขียนโดย ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร นักวิชาการมานุษยวิทยารุ่นหลัง แห่งมหาวิทยาธรรมศาสตร์


ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสื่อมวลชนที่เผย แพร่จดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าว มติชนออนไลน์จึงขออนุญาตนำจดหมายที่ อ.ยุกติ เขียนถึง อ.อมรา มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง พร้อมด้วย จดหมายที่ อ.อมรา เขียนตอบ อ.ยุกติ ในอีกไม่กี่วันหลังจากนั้น


จาก "ยุกติ" ถึง "อมรา"


เรียนอาจารย์อมรา พงศาพิชญ์ที่นับถือ


ผม เฝ้าติดตามการทำงานในหน้าที่ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของ อาจารย์อมรามาโดยตลอด ในฐานะที่เป็นผู้ศึกษามาทางมานุษยวิทยาด้วยกัน นักมานุษยวิทยารุ่นเยาว์ผู้ห่วงใยสังคมไทยอย่างผมย่อมยินดีที่วิชาชีพทาง มานุษยวิทยาจะได้มีส่วนสร้างสรรค์สังคมที่ยุติธรรม ด้วยความละเอียดอ่อน ลึกซึ้งและกว้างขวางของสาระในวิชามานุษยวิทยาเพื่อการทำความเข้าใจมนุษย์ ผมเชื่อว่าวิชามานุษยวิทยาจะช่วยให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเล็งเห็นถึงปัญหา สิทธิมนุษยชนอย่างละเอียดอ่อนตามไปด้วย


อย่าง ไรก็ดี ขณะนี้เห็นได้ชัดว่าเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในประเทศไทย แต่ผมสงสัยว่า อาจารย์อมราได้แสดงบทบาทของการเป็นนักสิทธิมนุษยชนที่เห็นแก่มนุษยธรรมอย่าง ลึกซึ้งจากการฝึกฝนให้ทำงานกับเพื่อนมนุษย์แบบนักมานุษยวิทยาหรือไม่


มานุษยวิทยากับสิทธิมนุษยชน


พวก เรานักมานุษยวิทยาคงไม่ค่อยได้ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนกันอย่าง จริงจังหรอก แต่ในขณะที่โลกก้าวมาสู่ยุคปัจุบัน ที่ความเป็นสากลของหลักการหลายๆ ประการเป็นที่ยอมรับ เป็นบรรทัดฐานสำหรับมนุษยชาติ พวกเรานักมานุษยวิทยาก็ยอมรับหลักการเหล่านั้นมาโดยตลอด อาจารย์อมราคงมิได้จะต้องมาถกเถียงกับผมในประเด็นปลีกย่อยเหล่านี้หรอกนะ ครับ


เช่น การที่มานุษยวิทยาหลังฟรานซ์ โบแอส บิดามานุษยวิทยาอเมริกันที่ผมมั่นใจว่าอาจารย์อมราก็จะต้องได้ศึกษามาไม่มาก ก็น้อย หรืออย่างน้อยอาจารย์ก็ต้องนับได้ว่าเป็นหลานศิษย์ของลูกศิษย์คนใดคนหนึ่ง ของโบแอส ได้ต่อสู้กับแนวคิดวิวัฒนาการที่หลงใหลในความสูงส่งของชนชาติตนเอง (ethnocentrism) แล้วเขาเสนอให้ยอมรับว่า ความแตกต่างของมนุษย์ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเหนือหรือ ด้อยกว่ามนุษย์อีกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาจารย์ก็คงเคยสอนนักศึกษาว่า หลักการนี้พวกเราเรียกกันว่าวัฒนธรรมสัมพัทธ์ (cultural relativism) นอกจากนั้น หากใครร่ำเรียนมาทางมานุษยวิทยาแบบอาจารย์ ก็ย่อมทราบเช่นกันว่า โบแอสเป็นชาวยิว การที่เขาอพยพมาสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนหนึ่งก็เนื่องจากการเริ่มเกิดกระแสคุกคามชาวยิวในเยอรมนีในต้นศตวรรษที่ 20


หรือการที่นักมานุษยวิทยาอย่างโคลด เลวี-สโตรสส์ ได้รับการยกย่องจากแวดวงนักมานุษยวิทยาโลก ก็มิได้เพียงเพราะเขาแสดงความปราดเปรื่องแบบที่หลายๆ คนในโลกนี้ไม่สามารถทำได้ ด้วยการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏในนิทานที่ดูไร้เหตุผลของคนทั่วโลกเท่านั้น หากแต่ด้วยความที่เขายืนยันมาตลอดถึงการที่มนุษย์ทั้งผองมีความเป็นมนุษย์ อย่างเท่าเทียมกัน อันแสดงให้เห็นจากความสลับซับซ้อนของวิธีคิดในบรรดานิทานต่างๆ ตลอดจนความสลับซับซ้อนของระบบความคิดของมนุษย์ทั่วโลก ที่แสดงในระบบต่างๆ ของวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ การแต่งงานและเครือญาติ หรือแม้แต่อาหารการกิน


หากจะเล่าต่อไปเรื่อยๆ ถึงเกียรติประวัติของนักมานุษยวิทยาท่านต่างๆ ต่อการสร้างสรรค์ความเข้าใจกันและกันระหว่างมนุษย์ ผมและอาจารย์อมราก็คงจะแลกเปลี่ยนต่อกันไปได้ไม่มีวันสิ้นสุด แต่ สิ่งที่อาจารย์น่าจะเห็นตรงกับผมคือ มานุษยวิทยามิได้แยกตนเองจากกระแสโลก หลักการสำคัญๆ ของมานุษยวิทยาสอดคล้องไปกับหลักการสากล ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนพื้นฐานก็เช่นเดียวกัน นักมานุษยวิทยาย่อมเห็นตรงกันว่า การทำลายชีวิตมนุษย์ และการปิดกั้นสิทธิในการแสดงตัวตนของมนุษย์ ย่อมเป็นสิ่งที่มิอาจยอมรับได้ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานทางวัฒนธรรมใดๆ ประเทศไทยจึงไม่ควรได้รับการยกเว้นจากคำวิพากษ์วิจารณ์ของหลักการสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน


บทบาทต่อเหตุการณ์รุนแรง


แต่ กระนั้นก็ตาม ผมยังไม่ได้เห็นบทบาทที่เหมาะสมของอาจารย์อมราต่อเหตุการณ์รุนแรงที่เกิด ขึ้นเลย เรื่องที่เห็นได้ชัดในลำดับแรกเลยคือการที่มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากในการ ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เป็นต้นมา กระทั่งข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ต้องการการสืบสาวหาข้อสรุป ในกรณีการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 - 20 เมษายน 2553


อาจารย์ อมราที่นับถือ ผมหวังว่าอาจารย์จะไม่ใช้วาทศิลป์ทำนองเดียวกันกับถ้อยคำที่รัฐบาลใช้เรียก ปฏิบัติการเหล่านี้เลย เพราะนักเรียนมานุษยวิทยารุ่นเยาว์อย่างผม ที่คิดด้วยหลักการง่ายๆ ทางมานุษยวิทยา ก็ยังเห็นได้ไม่ยากว่า คนที่ยืนอยู่บนพื้นที่เหล่านั้นย่อมสำคัญกว่าพื้นที่และที่ว่าง หรือหากจะให้ผมอ้างนักทฤษฎีหรือใครต่อใครมายืนยันว่าคนสำคัญกว่าพื้นที่ ก็คงจะต้องยกชื่อนักมานุษยวิทยามาหมดโลกนั่นแหละ แต่คนที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีและลึกซึ้งที่สุดคงไม่พ้นนักภูมิศาสตร์ชื่ออองรี เลอร์แฟบวร์ ที่วิพากษ์การทำพื้นที่ให้ไร้ความเป็นมนุษย์ เพื่อการที่ผู้มีอำนาจจะได้สามารถแปลงพื้นที่เหล่านี้ไปเป็นผลผลิตและการขูด รีดมนุษย์ ถ้าพูดแบบเลอร์แฟบวร์ ซึ่งอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ถ้อยคำแบบ ศอฉ.และรัฐบาลเป็นภาษาที่นายทุนอำมหิตใช้เข่นฆ่าผู้คนอย่างไม่เห็นหัวมนุษย์ ชัดๆ


ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ผมเห็นบทบาทอาจารย์อย่างชัดเจน ว่ามิได้แสดงความกระตือรือล้นที่จะประณามการกระทำของทุกฝ่าย และมิได้พยายามมุ่งค้นหาความจริง โดยเฉพาะการตั้งคำถามกับฝ่ายรัฐบาลว่าได้ใช้กำลังติดอาวุธสงครามเข้าสลายการ ชุมนุมจนเป็นเหตุให้มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตหรือไม่ แต่อาจารย์อมราในฐานะประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกลับให้ท้ายคำอธิบายของ รัฐบาลอย่างน่าละอาย


บทบาทต่อการปิดกั้นสื่อ


ที่ น่าละอายอย่างยิ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกำลังปล่อยให้บทบาทในการค้นหาความจริงในประเทศนี้ ตกอยู่ในมือของคนส่วนน้อยของสังคมบางคน ที่นั่งอยู่บนโพเดียม เป็นนักวิชาการติดเก้าอี้ แบบที่นักมานุษยวิทยาต้นศตวรรษที่ 20 วิจารณ์นักมานุษยวิทยาวิวัฒนาการในสมัยวิคทอเรียน แต่เที่ยวไปไล่ตัดสินใครต่อใครโดยมิได้พยายามทำความเข้าใจพวกเขาจากมุมมอง ของพวกเขาเอง


ผมคงไม่ต้องเท้าความไปมากมายนักถึงเรื่องการปิด กั้นสิทธิในการ แสดงออก ด้วยการปิดสื่อที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล หากเราจะไม่ยินดียินร้ายกับสื่อของ นปช. ผมก็ไม่เห็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนยินดียินร้ายกับการปิดสื่อที่เสนอความ จริงหลายด้าน หลายระดับความลุ่มลึก อย่าง "ประชาไท" แต่ประชาไทก็คงจะไม่ยินดีนักหรอกหากเขาจะได้รับการยกเว้นแต่ผู้เดียว เพียงเพราะพวกเขาเสนอมุมมองหลายด้านหลายระดับความลุ่มลึก เพราะทุกวันนี้ ศอฉ.เองนั่นแหละที่เสนอข่าวปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชัง ให้เกิดความแตกแยก อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยปราศจากคำประณามของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน


หากอาจารย์อมรา เห็นว่าการประกาศแต่ละครั้งของ ศอฉ.จะก่อให้เกิดความมั่นคง ความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติขึ้นมาได้ อาจารย์คงจะยังไม่ได้อ่านงานที่ศึกษาเหตุหนึ่งแห่งความรุนแรงในรวันดา รวมทั้งความสลับซับซ้อนของการทำให้คนดำกลายเป็นคนอื่นจนกระทั่งสามารถ ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรมได้อย่างสม่ำเสมอบนท้องถนนในสหรัฐอเมริกา หากจะยกเรื่องราวในสหรัฐฯ ประเทศที่อาจารย์อมราร่ำเรียนมาทางมานุษยวิทยาเอาไว้ก่อน เพราะต้องอาศัยกลวิธีการวิเคราะห์สื่ออย่างแยบยลพอสมควร แล้วมามองเฉพาะที่รวันดา การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่การปลุกปั่นของสื่อมวลชนมีส่วนรับผิดชอบอย่างยิ่ง นั้น ให้บทเรียนกับคนทั่วโลกอย่างตรงไปตรงมาแก่ประเทศไทย


กรณีการ เสนอข่าวของศอฉ. ก็มีทิศทางที่เป็นไปได้ว่าจะสร้างเงื่อนไขให้เกิดความแตกแยกที่นำไปสู่การ ทำลายล้างชีวิตกันอย่างในรวันดา หากว่าสื่อมวลชนไทย คณะวารสารศาสตร์ และคณะนิเทศศาสตร์ของสถาบันอันทรงเกียรติทั้งหลายในประเทศไทย ที่แสดงออกอย่างสม่ำเสมอว่าพวกเขาไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับการนำเสนอข่าวด้าน เดียวของสื่อมวลชนไทย ไม่อยากเรียนรู้บทเรียนอะไรจากเพื่อนร่วมโลก ผมก็ยังหวังว่าอาจารย์อมราและคณะกรรมการสิทธิที่อาจารย์เป็นประธานอยู่ จะเข้าใจปัญหานี้เป็นอย่างดี


การที่ผมอ้างเรื่องราวในรวันดา คงไม่ทำให้อาจารย์อมราคิดเห็นเป็นว่า เรื่องที่รวันดาจะมาเทียบกับสังคมพุทธที่รักสงบอย่างเมืองไทยของเราได้อย่าง ไร แต่เพราะวิธีการทางมานุษยวิทยาย่อมสนับสนุนให้มีการศึกษาเปรียบเทียบบทเรียน จากสังคมต่างๆ เพื่อส่องสะท้อนแก่กัน และเพื่อให้ตระหนักว่าเราก็ไม่ได้ดีเด่นต่างจากเขาเท่าไรนัก


แต่ หากอาจารย์จะอ้างแบบที่ใครต่อใครมักพูดกัน ว่า ประเทศของเรามีลักษณะพิเศษแตกต่างจากที่อื่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะเรามีใครต่อใครที่ค้ำจุนหลักธรรมของประเทศอยู่ อาจารย์อมราก็ควรเลิกใช้ตำแหน่งศาสตราจารย์ทางมานุษยวิทยาเสียเถิด เพราะนั่นเท่ากับว่าอาจารย์อมราเลิกเชื่อในหลักการทางมานุษยวิทยาว่าด้วย ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ต่างสังคมไปแล้ว ผมเห็นว่า วิธีคิดในเชิงสัมพัทธ์นิยมดังกล่าวเป็นการบิดเบือนสัมพัทธ์นิยมมารับใช้ อำนาจนิยมอย่างสามานย์ หาใช่สัมพัทธ์นิยมเพื่อมนุษยธรรมไม่


บทบาทต่อการคุกคามนักวิชาการ


อาจารย์ อมราที่นับถือ อาจารย์คงมิได้ทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชนจนมือเป็นระวิง จนกระทั่งไม่ทราบว่าขณะนี้มีเพื่อนนักวิชาการหลายคนกำลังถูกคุกคาม ถูกกักขัง ถูกไล่ล่า หลายคนในจำนวนนั้นอาจไม่ได้มีความผิดจริงตามข้อกล่าวหาของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ ศอฉ. หลายคนยังไม่ได้ถูกตั้งข้อกล่าวหาด้วยซ้ำ แต่กลับถูกตัดสินด้วยวิธีการประโคมข่าวให้เกิดความเกลียดชังผ่านการสื่อสาร ทางเดียวของรัฐบาล และถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดยมิได้ดำเนินคดี หากนี่จะยังมิได้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่มีอาจารย์อมราผู้เป็นศาสตราจารย์ทางมานุษยวิทยา เป็นประธานอยู่ควรเปลี่ยนชื่อ ด้วยการใส่สร้อยท้ายอะไรก็ตาม ให้หมดความเป็นสากลของแนวคิดสิทธิมนุษยชนไปเสียดีกว่า


แน่ นอนว่าประเทศต่างๆ ย่อมมีกฎหมายที่รับรองหรือปกป้องอำนาจอธิปไตยของประเทศ หากใครละเมิดอำนาจอธิปไตย ก็เท่ากับว่ากำลังทำลายสังคมนั้นอยู่ แต่ในฐานะนักมานุษยวิทยาที่ปวารณาตนเองว่าจะปกป้องสิทธิมนุษยชนของคนใน ประเทศ เราก็ต้องยอมรับได้ว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันของบุคคลต่างๆ ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการแสดงออกและได้รับการรับฟัง ตราบเท่าที่ความคิดเห็นเหล่านั้นมิได้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น การอ้างหลักการความมั่นคงของอำนาจอธิปไตยมาเพื่อกำจัดความคิดเห็นที่แตกต่าง เท่ากับไม่เคารพในความเป็นมนุษย์ของคนบางกลุ่ม


ผมสู้อุตส่าห์ ใช้ความพยายามมากโข ในการศึกษางานรุ่นหลังทศวรรษ 1970 ที่นักมานุษยวิทยาอย่างเชอร์รี ออร์ตเนอร์ ประกาศให้พวกเราสืบสาวถึงบทบาทของมนุษย์ในการสรรค์สร้างพร้อมๆ กับถูกกระทำจากโครงสร้าง มานุษยวิทยาหลังแนวคิดมาร์กซิสม์ หลังแนวคิดโครงสร้างนิยม หลังแนวคิดสตรีนิยม จึงรุ่มรวยด้วยการยกย่องพลังในการต่อสู้กับระบบและโครงสร้างที่กดทับมนุษย์ หากนั่นจะไม่ถึงกับทำให้มานุษยวิทยากลายเป็นปัจเจกชนนิยมไปในชั่วข้ามทศวรรษ อาจารย์อมราคงเห็นด้วยกับผมว่า แนวโน้มใหม่ๆ ของมานุษยวิทยายิ่งทำให้เราเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ คุณค่าของความแตกต่างหลากหลายที่ไม่เพียงจำกัดเฉพาะความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไปสู่การยกย่องคุณค่าความหลากหลายของการสร้างสรรค์ของผู้กระทำการทางสังคมใน โครงสร้าง (human agency) และคงไม่ใช่เฉพาะคนเล็กคนน้อยที่ยากจน ไร้อำนาจต่อรองใดๆ อยู่ชายขอบหรือใต้ถุนสังคมเท่านั้น ที่เราจะประยุกต์ใช้หลักการนี้ด้วย


หากเราในฐานะนักมานุษยวิทยา จะยอมรับร่วมกันถึงความเท่าเทียมกันของ ความคิดเห็นที่แตกต่าง เราก็ไม่สามารถตัดสินคนอื่นๆ หรือความคิดที่แตกต่างอื่นๆ จากความคิดที่แตกต่างของเราได้ ความอดกลั้นต่อความเห็นที่แตกต่าง คือมาตรฐานทางศีลธรรมแบบมานุษยวิทยาที่พวกเราสู้อุตส่าห์ฝึกฝนกันมาอย่างยาก เย็นมิใช่หรืออาจารย์อมราที่นับถือ ผมเฝ้ารอดูอยู่ว่า ในเวลานี้อาจารย์อมราจะปกป้องสิทธิมนุษยชนในด้านการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ที่แตกต่างของเพื่อนนักวิชาการอย่างไร อย่างน้อยที่สุด จะทำอย่างไรที่จะให้พวกเขาได้รับความยุติธรรมตามกระบวนการยุติธรรมแบบปกติ ของประเทศ มิใช่กระบวนการยุติธรรมที่รัฐธรรมนูญที่ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกงด เว้นในสภาวะที่ใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินอยู่อย่างทุกวันนี้


บทสรุป


อันที่จริงผมไม่เคยลืมเลยว่า ผม สงสัยในความ เป็นนักสิทธิมนุษยชนของอาจารย์อมรามานานแล้ว ดังที่ได้เห็นจากเมื่อหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 อาจารย์อมรารับตำแหน่งในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ผมไม่สามารถยอมรับได้ว่าการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 จะอยู่บนหลักการใดๆ ของหลักสิทธิมนุษยชน หรืออยู่บนหลักการใดๆ ของหลักมานุษยวิทยา แต่ผมก็ยังมิได้แสดงออกแต่อย่างใด เนื่องจากหวังว่า อาจารย์อมราในขณะนั้น อาจจะตัดสินใจอย่างบริสุทธิ์ใจด้วยความหวังว่าจะได้นำเอาวิชาความรู้ทาง มานุษยวิทยาเข้าไปหน่วงรั้งความเลวร้ายอันอาจจะเกิดขึ้นจากระบอบรัฐประหาร


แต่ เมื่อเกิดการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ด้วยการยกเว้นบทบัญญัติต่างๆ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง แต่อาจารย์อมราและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็มิได้ประณาม หรือแม้แต่ทัดทาน ท้วงติง หรือมิได้แม้จะแสดงความเห็นตักเตือนรัฐบาลสักเพียงเล็กน้อย จนขณะนี้รัฐบาลได้บริหารประเทศในสถานการณ์ที่เรียกว่า "ภาวะฉุกเฉินร้ายแรง" ในพื้นที่เกือบครึ่งประเทศ มาเนิ่นนานจนในบางพื้นที่ อย่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถูกปกครองด้วยระบอบภาวะฉุกเฉินมาเป็นระยะเวลาเกินกว่า 50 วันแล้ว อาจารย์อมราและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะปล่อยให้ระบอบภาวะฉุกเฉิน ที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง กลายเป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศไปหรืออย่างไร


วิชา มานุษยวิทยาในปัจจุบันมิได้มุ่งเพียง เพื่อให้มนุษยชาติมีความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ต่างๆ ทั่วโลก แต่มานุษยวิทยาปัจจุบันให้ความสำคัญกับการที่มนุษย์ต่างเผ่าพันธุ์ ต่างสังคม ต่างระบบคุณค่าทางวัฒนธรรม ต่างชนชั้น จะรู้สึกถึงความสุข ความทุกข์ ของเพื่อนร่วมโลก ของมนุษยชาติ หากอาจารย์อมราจะไม่รู้สึกรู้สากับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลในขณะนี้ ผมก็ยังหวังว่าอาจารย์จะรู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะต้องดำรงตำแหน่งประธานคณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนโดยไม่เคารพหลักการของวิชามานุษยวิทยา แต่หากอาจารย์ไม่รู้สึกรู้สากับประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ผมก็สงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าอาจารย์จะยังคงเรียกตนเองว่านักมานุษยวิทยาได้ หรือไม่


ด้วยความห่วงใยประเทศชาติและมนุษยชาติ
29 พฤษภาคม 2553
ยุกติ มุกดาวิจิตร


จาก "อมรา" ถึง "ยุกติ"


ตอบจดหมายเปิดผนึกของอาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร


ขอบ คุณ อาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร ที่ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงดิฉัน ในฐานะที่ดิฉันเป็นผู้ร่วมวิชาชีพทางมานุษยวิทยา และปัจจุบันรับทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและสิทธิมนุษยชนที่อาจารย์เขียนมา ดิฉันเห็นด้วยทั้งหมด และชื่นชมในความลุ่มลึกทางความคิดและความสามารถในการนำเสนอข้อคิดเห็นที่ ลุ่มลึกนี้ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ทางมานุษยวิทยาสู่สาธารณชนในวงกว้างได้อย่างทั่วถึง มากขึ้น ดิฉันได้ติดตามอ่านผลงานของอาจารย์ยุกติอย่างชื่นชมในความสามารถในการถ่าย ทอดความคิดที่น่าสนใจเสมอมา และในครั้งนี้อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสาธารณะได้อย่างไม่ผิดหวัง


ดิฉัน ไม่มีข้อแก้ตัวในสิ่งที่ไม่ได้ทำ หรือไม่ได้ทำตามความคาดหวังของอาจารย์และเพื่อนร่วมวิชาชีพ นอกจากจะบอกว่าเมื่อมานั่งเป็นประธานคณะกรรมการขององค์กรอิสระภายใต้รัฐ ธรรมนูญ ดิฉันพบว่า ดิฉันไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระเหมือนเมื่อเป็นอาจารย์ใน มหาวิทยาลัย ซึ่งมีเสรีภาพทางวิชาการสูง และอาจารย์สามารถแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลต่อสาธารณะได้


ปัจจุบัน การแสดงความคิดเห็นของดิฉันต้องคำนึงถึง ความคิดเห็นของกรรมการร่วมคณะอีก 6 ท่าน อำนาจหน้าที่ขององค์กรที่มีจำกัดเฉพาะในบางเรื่อง ภาพลักษณ์ขององค์กรต่อสาธารณะทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในกรณีที่ข้อมูลไม่ชัดเจน การแสดงออกของดิฉันจึงมีความล่าช้า รอบคอบ และคำนึงถึงองค์กรมากกว่าส่วนตัว หลาย ครั้งดิฉัน อยากจะถอดหมวกประธานกรรมการฯ เพื่อจะได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวได้อย่างเต็มที่ แต่ดิฉันก็ไม่ได้ทำตามที่อยาก ต้องขออภัยที่ทำให้อาจารย์ยุกติผิดหวัง


คณะ กรรมการสิทธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนและการแสดงความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ มีทั้งจากผู้ถูกละเมิดสิทธิ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ผู้สนับสนุนผู้ชุมนุม (เสื้อแดง) ผู้ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม (เสื้อเหลือง) ผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้รักชาติ ฯลฯ ดิฉันถูกต่อว่าว่าเข้าข้างกลุ่มเสื้อแดงและถูกต่อว่าว่าอยู่ในกลุ่มเสื้อ เหลือง ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะแต่ละคนต่างมีอัตตาและเชื่อว่าความคิดเห็นของตัว เองคือสิ่งที่ถูกต้อง และคาดหวังให้คณะกรรมการสิทธิฯ ทำตามความคิดเห็นของตน


ขอเรียนเพิ่มเติมว่า การทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหลายอย่างที่ไม่ได้เป็นข่าว หรือเป็นประเด็นสาธารณะ แต่คณะกรรมการสิทธิฯ ได้แสดงให้รัฐบาลเข้าใจว่า เราไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง เราจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐ และเราจะส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มแข็งตลอดไป


ใน โอกาสนี้ ดิฉันขอบคุณอาจารย์ยุกติที่ได้ทำหน้าที่ของนักวิชาการ โดยตั้งคำถามแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และเปิดโอกาสให้ดิฉันได้ชี้แจงในส่วนที่ทำได้ ดิฉันทราบดีว่าคำตอบนี้ไม่เพียงพอและไม่ช่วยให้ท่านหายข้องใจทั้งหมด แต่หวังว่าคงจะช่วยแก้ปัญหาความคับข้องใจของท่านได้ในบางส่วน


ขอบคุณในความห่วงใยและข้อคิดเห็นที่ลึกซึ้ง
อมรา พงศาพิชญ์
2 มิถุนายน 2553

ฟัง เหยี่ยวข่าวซีเอ็นเอ็น "Ralph J. Begleiter" วิพากษ์สื่อใหม่ การเมืองใหม่

ที่มา มติชน











เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ได้มีงานเสวนา “การสื่่่อสารทางการเมือง ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของสื่อ: จากประสบการณ์สากลสู่สังคมไทย” จัดโดย ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศน์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


โดยในงานได้มีปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “สื่อใหม่ การเมืองใหม่: ประสบการณ์จากอเมริกาและไกลโพ้น” โดย นาย Ralph J. Begleiter อดีตผู้สื่อข่าวอาวุโสของ CNN, ผู้อำนวยการศูนย์การสื่อสารการเมืองประจำมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ และผู้จัดและดำเนินรายการ Great Decisions ทางสถานีโทรทัศน์ PBS

นาย Ralph J. Begleiter


นาย Begleiter กล่าวว่า ทุกวันนี้มีช่องทางการสื่อสารเกิดขึ้นมากมายที่นอกเหนือไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งถูกควบคุมโดยรัฐบาล และผู้คนทุกวันนี้ก็ได้เลือกที่จะหันไปรับสื่ออื่น และหลีกเลี่ยงสื่อจากรัฐบาลเมื่อทำได้ อย่างเช่นกรณีความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในอียิปต์ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลมีแต่ความว่างเปล่า ชาวอียิปต์จึงหันไปพึ่งการสื่อสารทางเฟสบุ๊คหรือทวิตเตอร์แทน สิ่งนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของสื่อสังคมออนไลน์ ที่ทำให้ประชาชนส่งผ่านข้อความทางการเมืองกันได้โดยปราศจากการควบคุมของ รัฐบาล และในกรณีนี้รัฐบาลอียิปต์ก็ได้ตอบโต้ด้วยการมีตั้ง account เฟสบุ๊คของรัฐบาลเองขึ้นมา ทั้งนี้ตนคิดว่า ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆไป สื่อออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรือยูทูบ จะเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น


นาย Begleiter ยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วทางอินเตอร์เน็ตไม่ได้แปลว่าคนในประเทศนั้นจะมีการ

สื่อ สารกับคนอื่นๆมากแต่อย่างใด แต่ต้องดูจากปริมาณผู้ใช้เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมด้วย โดยประเทศที่มีผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเฟสบุ๊คมากที่สุดคือกลุ่มประเทศ ในยุโรปและอเมริกาเหนือ นาย Begleiter ยังกล่าวด้วยว่า “คุณไม่ควรปล่อยให้ตัวเองอยู่แต่ในกะลาภายในประเทศเท่านั้น แต่คุณต้องเปิดตาออกไปมองและสื่อสารทางการเมืองกับคนอื่นๆในโลกด้วย”


นอกจากนี้ นาย Begleiter ยังได้กล่าวถึงทิศทางในการรับสื่อในอนาคตข้างหน้าด้วยว่า ในอนาคตที่กำลังจะมาถึงนั้น ผู้คนจะไม่ได้แค่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองอีก ต่อไปแล้ว แต่ผู้คนจะสามารถใช้อุปกรณ์การสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าไปในเครือข่าย ทางสังคมออนไลน์ต่างๆ และเลือกข้อมูลข่าวสารทางการเมืองได้ด้วยตัวเอง


“ยกตัวอย่างแคมเปญหาเสียงของโอบามาในยูทูบ ซึ่งทีมงานของโอบามาผลิตวีดีโอหาเสียงในยูทูบเป็นจำนวนมากกว่านายเเมคเคน และมีสถิติผู้ชมวิดีโอจำนวนสูงกว่า จึงทำให้นโยบายของนายโอบามาสามารถสื่อสารไปถึงผู้คนในจำนวนที่มากกว่า ซึ่งนี่ได้แสดงให้เห็นอำนาจของโซเชียลเน็ตเวิร์คในการส่งผ่านข้อความทางการ เมือง”

ภาพแสดงข้อมูลในแคมเปญการหาเสียงระหว่างโอบามากับแมคเคนโดยใช้วิดีโอคลิปบนเว็บไซต์ยูทูป


นาย Begleiter ได้หยิบยกอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือปกนิตยสาร The New Yorker โดยครั้งหนึ่งนิตยสารดังกล่าวได้ขึ้นปกโอบามา ซึ่งเป็นภาพที่สื่อออกมาได้ว่า นายโอบาเป็นคนไม่ดีพอที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม นิตยสาร The New Yorker นั้นไม่ใช่นิตยสารที่มีจำนวนคนอ่านมากนัก ดังนั้นการสื่อข้อความทางการเมืองดังกล่าวจึงสื่อไปถึงผู้คนจำนวนไม่มาก ในขณะที่พรรคคู่แข่งโอบามาต้องการให้ข้อความนี้ได้รับการส่งผ่านไปยังผู้คน จำนวนมาก พวกเขาจึงก็อปปี้ภาพปกดังกล่าว แล้วส่งไปตามอีเมล์หรือเฟสบุ๊ค ซึ่งมีผู้ชมจำนวนมาก

ภาพปกนิตยสาร The New Yorker


อีกตัวอย่างหนึ่งคือ กรณีของชายคนหนึ่งในฟิลาเดเฟียที่ไม่เห็นด้วยกับโอบามา ชายคนนี้ไม่ใช่นักข่าว แต่ใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมเผยแพร่ข้อความทางการเมืองของเขา ในการแสดงข้อความต่อต้านโอบามาดังกล่าว ชายผู้นี้เรียกโอบามาในชื่อ “ฮุสเซน” ซึ่งเป็นชื่อกลางของโอบามา โดยชื่อที่ว่านั้นพ้องกับชื่อของซัดดัม ฮุสเซน ที่สื่อถึงความเป็นผู้ร้ายและความเป็นเผด็จการ ซึ่งนี่ทำให้เห็นได้ว่าสงครามใต้ดินของโซเชียลมีอิทธิพลเพียงใด




วีดีโอโจมตีโอบามาในเว็บไซต์ยูทูป


อดีตนักข่าว CNN กล่าวว่า การที่ผู้คนได้รับข้อมูลซ้ำๆจากสื่อกระแสรองที่ปราศจากการตรวจสอบข้อเท็จ จริง เช่นบน feed ของเฟสบุ๊ค หรือบนทวิตเตอร์นั้น สามารถทำให้คนๆหนึ่งทึกทักไปว่าข้อมูลชิ้นหนึ่งที่ตนได้รับมานั้นเป็นความ จริง และส่งต่อข้อมูลดังกล่าวไปยังคนอื่นๆโดยปราศจากการตรวจสอบ ปราศจากคำถาม และทรงอิทธิพลอย่างมากต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนอื่นๆในสังคม โดยทั้งที่จริงแล้ว ข้อความที่ไม่แน่ว่าอาจเป็นจริงหรือเท็จเหล่านี้ไม่สามารถใช้ช่องทางของสื่อ หลักในการสื่อสารได้ เพราะสื่อหลักมีบรรณาธิการที่ดีที่จะคัดกรองข้อมูล

"สำหรับผมแล้ว ยิ่งมีช่องทางการสื่อสารมากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสที่ประชาชนจะได้รับข้อมูลที่ผิดๆมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้วกับประชาชนชาวอเมริกัน"


สุดท้ายนี้ นาย Begleiter ได้เน้นย้ำเอาไว้ว่า “ผู้คนไม่ได้ต้องการแค่ “ข้อคิดเห็น” เท่านั้น แต่พวกเขาจำเป็นจะต้องได้รับ “ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง” ด้วย”

และสิ่งนี้เป็นหน้าที่ของสื่อกระแสหลักอย่างแท้จริง

นาย Begleiter ให้สัมภาษณ์กับมติชนออนไลน์





นาย Begleiter ให้สัมภาษณ์กับมติชนออนไลน์ ซึ่งมีสรุปใจความได้ว่า ตนเห็นด้วยและสนับสนุนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองบนโซเชีย ลมีเดีย แต่ตนคิดว่า เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นไม่ใช่แหล่งที่ดีสำหรับการค้นหาข้อมูลที่ เป็นข้อเท็จจริง เนื่องจากข้อมูลบนโซเชียลมีเดียยืนอยู่บนพื้นฐานของ "ความคิดเห็น" เท่านั้น

แพ้ไม่เป็น

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุม
สับไก กระสุนธรรม



ผ่านมาหนึ่งสัปดาห์กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนฯ ครั้งสำคัญของไทย ซึ่งต่างประเทศจับตาอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน

ตลอดสัปดาห์ รัฐบาลหลายประเทศทยอยแสดงความยินดีกับไทยที่การเลือกตั้งผ่านมาได้ราบรื่น

และยินดีกับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของพรรคเพื่อไทยที่จะได้เป็นนายก รัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ

ออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า ดีใจที่ไทยได้ผู้นำเป็นผู้หญิง โดยผ่านกระบวนการประชา ธิปไตย

ฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา แช่มชื่นว่าจะได้เริ่มความสัมพันธ์ "ยุคใหม่" ระหว่างสองประเทศ

ส่วน สื่อมวลชนตะวันตก เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นอีกปรากฏการณ์ของผู้นำหญิงในเอเชียที่สานต่อภารกิจสมาชิก ชายในครอบครัวซึ่งเคยเป็นผู้นำมาก่อน

ตามแบบ นางคอราซอน อาคีโน ของฟิลิปปินส์ นางเมกาวาตี ซูการ์โน บุตรี ของอินโดนีเซีย รวมถึงนางซู จี ของพม่า

แม้ ว่าชัยชนะของน.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ใช้เวลาหาเสียงเพียง 49 วันนับจากวันเปิดตัว จะอิงอยู่กับชื่อ พ.ต.ท. ทักษิณ พี่ชาย แต่ปฏิกิริยาของบุคคลต่างๆ นับจากวันเลือกตั้งเป็นไปในทางสร้างสรรค์

มีทั้งให้กำลังใจและจะจับตาดูต่อไป

ยกเว้นนักการเมืองของไทยเองที่ยังยึดติดอยู่กับอาการ "ตกยุค"

ประชดประชันว่า ประชาชนไปเลือกคนที่เอาแต่ ชูนิ้วและส่งจูบ

ทั้งยังลามไปถึงคนเสื้อแดงที่สนับสนุนน.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า อาจเปลี่ยนแปลงการปกครองในอนาคต

ล้วนเป็นวาทะที่ไม่เคารพประชาชน และพยายาม "แบ่งแยกประชาชน" ออกจากการเป็นคนไทย

ผู้ที่ออกอาการผิดปกติเช่นนี้ แสดงถึงความไม่มีน้ำใจนักกีฬาอย่างชัดเจน

หากจะดูตัวอย่างของสปิริต นักกีฬา ในช่วงเดียวกับวันเลือกตั้ง มีการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดันที่อังกฤษ

ราฟาเอล นาดาล และ มาเรีย ชาราโปว่า นักเทนนิสคนดังซึ่งพ่ายแพ้ในรอบชิงชนะเลิศ ต่างชื่น ชมผู้ชนะและพูดเหมือนกันว่า ตนเองเล่นไม่ดีพอ

เป็นการสำรวจข้อบกพร่องของตนเองก่อน

คนที่เอาแต่โทษประชาชน จึงสมควรแล้วที่ถูกประชาชนลงโทษ

ประชาชนตัดสิน

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ ชกไม่มีมุม
วงค์ ตาวัน


มี การพูดถึงผลการเลือกตั้งส.ส.ในกทม. ซึ่งพรรค ประชาธิปัตย์ยังเหนือกว่าพรรคเพื่อไทย โดยได้ส.ส. 23 เขต ในขณะที่เพื่อไทยได้ 10 เขต ว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงกระแสของชนชั้นกลาง ยังยอมรับประชาธิปัตย์มากกว่า

อาจจะจริงส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

ถามคนในฝ่ายเพื่อไทย ว่ายอมรับหรือไม่ ในประเด็นคนกรุงเทพฯยังไม่หลงรักเพื่อไทยนัก

คำตอบคือ ยังต้องขอเวลาศึกษาหาคำตอบที่แน่ชัดเสียก่อน

ประการหนึ่ง แม้ประชาธิปัตย์จะได้ส.ส.มากกว่าเพื่อไทย 13 เขต แต่ในจำนวนนี้หลายเขตคะแนนสูสีมาก

อีกประการ น่าสังเกตว่าคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ กลับห่างกันเพียงแค่ 6 หมื่นเศษเท่านั้น!?!

จะให้แปลว่าคนจำนวนมาก เลือกประชาธิปัตย์ให้เป็นส.ส.เขต แต่ลงคะแนนพรรคเลือกเพื่อไทยอย่างนั้นหรือ

เป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นขั้วตรงข้ามกันอย่างแท้จริง

ข้อผิดสังเกตที่เห็นได้จากผลคะแนนดังกล่าว จึงมีข่าวว่าพรรคเพื่อไทยได้ตั้งทีมขึ้นมาศึกษาหาข้อมูลอย่างจริง

เพื่ออุดช่องโหว่ของสนามเลือกตั้งเมืองหลวงให้ได้

อย่างไรก็ตาม คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ที่ประชาธิปัตย์เหนือกว่าเพื่อไทยในกทม. 6 หมื่นเศษ

จึงทำให้ตัดสินได้ไม่แน่ชัดว่า ในความขัดแย้งนองเลือด 91 ศพนั้น คนกรุงเทพฯให้น้ำหนักอะไรมากกว่ากัน

ระหว่างการเผาบ้านเผาเมือง

กับการฆ่าประชาชน

แต่ในขอบเขตทั่วประเทศชัดเจนว่า ประชาชน 15.7 ล้านคนเทเสียงให้เพื่อไทย อีก 11.3 ล้านคนเทเสียงให้ประชาธิปัตย์

นั่นก็เป็นคำตอบได้ว่า คนส่วนใหญ่ทั้งกลาง เหนือ อีสาน ต้องการให้การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐบาล!

ภายใต้ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นก่อนเลือกตั้งคือข้าวของแพง

และความดำมืดของคดี 91 ศพ

โดยเลือกให้พรรคเพื่อไทยเข้ามาสะสาง 2 ปมปัญหาใหญ่นี้

ตรงกันข้าม กระแสเผาบ้านเผาเมืองที่จุดโดยประชาธิปัตย์ ไม่อาจทำให้คนในขอบเขตทั่วประเทศหวาดกลัวเสื้อแดงจนไม่เลือกเพื่อไทยได้

แถมกระแสชาตินิยม ป่าวร้องว่าขั้วตรงข้ามขายชาติ ที่จุดโดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ ในเวทีมรดกโลก โดยประสานกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น

คนทั่วประเทศตัดสินให้แล้ว ให้กิจสังคมสูญพันธุ์!

คนทั่วประเทศตัดสินให้แล้ว ให้กิจสังคมสูญพันธุ์!

ได้เวลา…ล้างกาลี!!!

ที่มา vattavan

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช

ารตีฝ่าวงล้อมของผู้หญิงคนหนึ่ง เพื่อให้ไปถึงป้ายบอกตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ท่ามกลางการไล่ขบ ไล่กัด ของเหล่า “หมาหมู่” ตลอดเวลา 40 วัน ของการหาเสียงเลือกตั้ง แต่ในที่สุด เธอก็สามารถช่วงชิง เอาชัยชนะมาจนได้ในที่สุด

content/picdata/308/data/photo1.jpg

เป็นเรื่องที่ ‘น่าทึ่ง’ มาก!
ความสำเร็จในครั้งนี้ ได้ส่งให้ผู้หญิงที่ชื่อ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” สามารถ สร้างประวัติศาสตร์ ให้กับสยามประเทศของเรา โดยเธอแซงคู่ชิง ซึ่งครองตำแหน่งอยู่เดิม ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหญิง คนแรกของไทยแลนด์ และเป็นผู้นำสตรีที่มีอายุน้อยที่สุดในโลกอีกด้วย
ผมคิดว่า...
เมื่อผลการเลือกตั้งเป็นที่แน่ชัด พี่น้องเพื่อนร่วมชาติจำนวนมาก คงจะถอนใจด้วยความโล่งอก ที่สุภาพสตรีหมายเลข 1 ของคนไทยผู้นี้ สามารถนำพรรคเพื่อไทย กลับเข้าบริหารประเทศได้อีกครั้ง
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารสูงสุด ในยามที่บ้านเมืองของเราต้องบอบช้ำ เพราะตกอยู่ใต้การบริหารของพรรคกาลีอย่างประชาธิเปรต ผนวกกับ “อำนาจมืด” รวมทั้งมือและหมอย ที่มองเห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง
ไอ้พวกนี้มันไม่เคารพเสียงประชาชน ได้พยายามเข้าแทรกแซงการบริหารประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่การโค่นล้มรัฐบาลของ นายกฯสมัคร-นายกสมชายฯ จน กระทั่งวิ่งราวอำนาจจากพรรคที่ประชาชนเลือกมาเป็นเสียงข้างมาก และดันทุรังจัดตั้งรัฐบาลกาลีขึ้นในค่ายทหารจนได้ อย่างที่เห็นกันแล้ว

ชัยชนะเด็ดขาด ของสุภาพสตรีหมายเลข 1 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ครั้งนี้ มาจากความรัก และความเสียสละ ของประชาชนผู้ศรัทธา โดยแท้ ซึ่งพรรคเพื่อไทยจึงต้องตระหนักและสำนึกบุญคุณ ของพ่อแม่พี่น้องคนไทยส่วนใหญ่ ที่พร้อมใจกัน “ปลดแอกประเทศ” ด้วยมือของพวกเขาเอง
ที่ผมประทับใจเป็นอย่างมาก ที่พี่น้องของพวกเราบางคนแม้มีรายได้ไม่มาก ต้องกินอยู่อย่างกระเบียดกระเสียร แต่กลับมีหัวใจประชาธิปไตยดวงโต กล้าสละเงินของตน ที่มีอยู่น้อยนิด เป็นค่ารถค่าเรือ พาตัวเองเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อไปลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย
ในที่สุดพลังประชาชน ที่รวมกันอย่างเหนียวแน่นอดทน สามารถรวมพลังตีน ถีบไอ้พรรคกาลี ให้มันตกจากเก้าอี้การบริหารประเทศที่แย่งชิงมาโดยมิชอบสำเร็จ และเป็นการยัดเยียดความพ่ายแพ้ ให้กับพวกไอ้ตะไลห้าร้อยชนิด ที่เรียกได้ว่า
ราบคาบ-เด็ดขาด!

จุดเด่นของผลการเลือกตั้งที่น่าสนใจมาก ได้แก่คะแนนของพรรคเพื่อไทย ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นล้านคะแนน แต่พรรคดักดานอย่างประชาธิเปรต กลับสูญเสียคะแนนสนับสนุน ที่เคยได้รับเมื่อปี พ.ศ.2550 ไปถึง 2 ล้านเสียง ทั้งๆที่ตัวเองเป็นฝ่ายบริหารประเทศ คุมอำนาจอยู่แท้ๆ
จึงเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน และชาวโลก ซึ่งแสดงให้เห็นความล้มเหลว ทั้งพรรคกาลีและตัวหัวหน้าพรรค คือนายอภิแสบฯ หรือ นายมาร์ค มุกควาย นั่นเอง
เป็นความปราชัยที่น่าอับอาย จนด้านหน้าต่อไปอีกไม่ไหว!
เลยชิงลาออก จากตำแหน่งหัวหน้าพรรคไป!!
ความจริงแล้ว ถึงนายมาร์ค มุกควาย จะดื้อด้านไม่ยอมลาออกก็คงไม่ได้ เพราะผู้คนเขาก็จะจี้ถึงสปิริต (ที่แกคงไม่ค่อยจะมี) ซึ่ง หลบเลี่ยงยาก เนื่องจากนายบัญญัติฯ อดีตหัวหน้าพรรค ก็ได้เคยทำ ‘บรรทัดฐาน’ เอาไว้ก่อน เมื่อครั้ง ‘โกหยัด’ นำพรรคดักดาน เข้าสู่สนามการเลือกตั้งเมื่อ ปี พ.ศ.2548 แต่คราวนั้นก็พ่ายแพ้แบบ
‘รูดมหาราช’ เลยทีเดียว!!!

ความผิดฉกรรจ์อันเป็นเหตุให้ ‘ประชาธิปัตย์’ ต้องพ่ายแพ้ยับเยินในครั้งนี้ นอกจากจะบริหารงานไม่เป็นสับปะรด ล้มเหลวแทบจะทุกด้าน แต่ที่ชาวบ้านเขารับไม่ได้จริงๆ คือ
พรรคเก่าแก่นี้ ตั้งหน้าตั้งตาเข้ามากอบโกย อย่างฉับพลันทันทีที่ได้เข้าบริหารประเทศ ดังที่ผมเคยเรียนท่านผู้อ่านเอาไว้ นั่นคือ โครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งโกงกันฉิบหายวายวอด แล้วตามติดด้วยข่าวคราวการโกงในระดับรัฐมนตรี ซึ่งเสียหายร้ายแรง และยังปิดบังความผิดกันไว้ ให้แค่ลาออกกันไปเท่านั้น
เรื่องการคดโกงฉ้อฉล ข่มเหงรังแกข้าราชการประจำ ระหว่างการเป็นบริหารประเทศของพรรคดักดาน และแก๊งร่วมรัฐบาลอย่าง ภูมิใจไถ” นั้น ซึ่งได้มีความพยายามปกปิดกันนักหนานั้น...
รัฐบาล ใหม่จะถือเป็น ‘เรื่องเล็ก’ ไม่ได้เป็นอันขาด และจะต้องมีการดำเนินการ อย่างตรงไปตรงมา ผิดก็ว่ากันไปตามผิด เพราะต้องพิสูจน์ให้ประชาชนคนไทย ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์กันให้ได้ว่า บ้านเมืองของพวกเรานั้น ได้ถูกรัฐบาลกาลีมันปู้ยี่ปู้ยำไปเพียงใด ภายในระยะเวลา 2 ปี กับ 4 เดือนที่พวกมันเข้าบริหารประเทศ
ผมจึงขอเสนอให้รัฐบาลใหม่ ลงมือสืบสวนสอบสวนกันอย่างจริงจัง โดยมีการตั้งทีมเข้าไปดำเนินการ แล้วกระจายข่าวให้ประชาชนทราบเป็นระยะๆด้วย!

อกจากนั้นแล้ว รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน ในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ
กิจการต่างประเทศ!
ทั้งนี้ เพราะนายนายมาร์ค มุกควาย แห่งประชาธิปัตย์ได้นำชาติของเรา เข้าสู่การสงครามด้วยความโง่เขลา สร้างความบรรลัยทางการทูตของไทย ซึ่งผมได้วิพากษ์วิจารณ์เอาไว้แหลกลาญในคอลัมน์ ไอ้คนหนีทหาร มันลากชาติไทยเรา เข้าสู่…สงคราม!!! (
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=279)
ความล้มเหลวด้านการต่างประเทศนั้น เริ่มตั้งแต่การตั้งบุรุษที่ไม่พึงปรารถนา ในวงการระหว่างประเทศ อย่าง “กษิต ภิรมย์” มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผมเตือนเอาไว้แล้วว่า
บ้านเมืองของเราจะต้องเดือดร้อน เพราะบุรุษนายนี้ และในที่สุด ก็ความเป็นจริงดังคาด เพราะประเทศของเราต้องเข้าสู่การสงครามจนได้
ถึงแม้สงครามไทย-เขมรที่เพิ่งเกิดนั้น จะเป็น ‘สงครามจำกัดขนาด’ (Limited Warfare) แต่ก็ได้สร้างความเดือดร้อน ให้กับราษฎรชายแดนกว่าครึ่งแสนคน ที่ต้องอพยพพลัดที่นาคาที่อยู่
ซึ่งนับเป็นครั้งแรก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนไทยต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่ เพราะภัยสงคราม และบางส่วนต้องบาดเจ็บล้มตายอีกด้วย
นี่เป็นเพราะเราได้รัฐบาลกาลี ที่มีนายมาร์ค มุกควาย เป็นหัวหน้า เข้ามาบริหารชาติบ้านเมือง
จึงได้ฉิบหาย-วายป่วงอย่างนี้!

content/picdata/308/data/photo2.jpg

ดังนั้น การดำเนินวิเทโศบาย หรือนโยบายต่างประเทศต่อจากนี้ไปภายใต้การบริหารของ “นารีขี่ม้าขาว” จะต้องเป็นไปด้วยความรอบคอบ รัดกุม มีวิสัยทัศน์นอกจากเพื่อประโยชน์ของชาติเราแล้ว จะต้องโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนบ้านด้วย จึงจะสามารถฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ให้กลับมาดีเหมือนเดิมให้ได้
ผมเชื่อว่า คุณยิ่งลักษณ์ฯคงทำได้ เพราะแค่เขมรทราบข่าวว่า พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลาย สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อ 5 ก.ค.2554 ว่า
ทางการกัมพูชาเปิดแชมเปญเลี้ยงฉลอง และคุณฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา กล่าวหลังชนแก้วกับบรรดานักการทูตว่า
กัมพูชาไม่อาจปิดบังความสุข ที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง และหวังว่ารัฐบาลใหม่ของไทย จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับกัมพูชาในทางบวก และสันติมากกว่าเดิม
ท่านเห็นไหมครับ การที่พรรคเพื่อไทยชนะ เขมรก็ยังบอกว่าเป็นความสุขของประเทศเขาด้วย
ขนาดนั้นเลย ทีเดียวเชียว!

ยิ่งไปกว่านั้น ทางภาคเอกชนของกัมพูชา อย่างคุณ มง ฤทธี ส.ว.และนักธุรกิจชื่อดัง ที่มีธุรกิจร่วมกับนักลงทุนเป็นจำนวนมากกล่าวว่า
รู้สึกดีใจมากที่ทราบข่าว ผลการเลือกตั้งของไทย เพราะทุกคนรู้ดีว่า รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มองกัมพูชาเป็นศัตรู ไม่เหมือนรัฐบาลชุดอื่น ๆ ก่อนหน้านี้
ชัดหรือยังครับ ว่า นายมาร์ค มุกควาย นั้น เป็นปัญหาไม่ใช่เฉพาะกับเมืองไทยของเราเท่านั้น บ้านอื่นเมืองอื่นเขาก็ชิงชัง ออกหน้าออกตาอย่างนี้ “วาทตะวัน” จึงสามารถยินยันอย่างเต็มปากเต็มคำได้ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้....
คนไทย ‘ตัดสินใจ’ ถูกต้องแล้ว!

ท่านผู้อ่าน ที่เคารพครับ

พรรค ประชาธิปัตย์นั้น ได้ก่อกรรมทำเข็ญ ให้กับประเทศของเรา ทั้งทุจริต คดโกง ลากประเทศเข้าสู่สงคราม ฯลฯ จนบ้านเมืองเสียหายร้ายแรง และเป็นเหตุให้...
ไทยต้องเดินออกจากเวทีโลกศิวิไลซ์ อย่างที่ประชุมมรดกโลก ของยูเนสโก
น่าอับอาย...ขายหน้านัก!
หาก เราต้องการเห็นชาติไทย เดินก้าวหน้าต่อไป ก็จะต้องจัดการ ตามล้างตามเช็ดความไม่ถูกต้อง ที่รัฐบาลโลซกของนายมาร์ค มุกควาย ทิ้งเอาไว้เป็น ‘ปฏิกูลกองใหญ่’ ให้กับบ้านนี้เมืองนี้ เสียโดยด่วน
การ พยายามกวาดล้างการทุจริตนั้น ไม่ใช่เป็นการกลั่นแกล้งแม้แต่พรรคประชาธิปัตย์กับฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณฯ ทั้งระหว่างที่คนเหล่านี้อยู่ในตำแหน่ง มีอำนาจรัฐ ก็ได้เคยเพียรพยายามตรวจสอบ ทั้งนายกทักษิณฯ สมาชิกพรรคเพื่อไทย รวมทั้งเพื่อนพ้องของทักษิณมาหลายปี ตั้งแต่มีการรัฐประหาร 2549 แต่ไม่สามารถดำเนินคดี ในข้อหาทุจริตกับทักษิณและพวกได้สำเร็จ แม้แต่คดีเดียว

ด้งนั้น รัฐบาลใหม่ของคุณยิ่งลักษณ์ฯ สมควรจะดำเนินการ ตามที่ได้แนะนำไว้ข้างต้น ด้วยเป็นโอกาสดี ที่จะกวาดล้างเสนียดจังไร ที่ไอ้พวกกาลีมันก่อไว้เสียที เพราะระยะเวลาที่พวกมันครองอำนาจ นับได้สองปีกับสี่เดือน ที่ผ่านมานี้...

...พวกมัน ‘ย่ำยี’ บ้านเมืองของเรา หนักหนาสาหัส เหลือเกินแล้ว!!!

...................

ท้ายบท ผมได้เขียนวิพากษ์วิจารณ์ ท่าทีของทั้งนายมาร์ค มุกควาย กับนาย กษิต ภิรมย์ ที่ แสดงในเวทีโลก รวมทั้งนโยบายต่างประเทศของพวกเขา ซึ่งสร้างความเสียหาย ให้กับชาติบ้านเมืองของเรา ซึ่งท่านจะอ่านได้จากบทความที่ผมได้จัดเรียงไว้ให้ท่านค้นคว้าแล้ว
หวังว่าข้อมูลที่ปรากฏ คงจะช่วยสร้างเสริมความเข้าใจในนโยบายต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกระทบกระทั่งกับประเทศเพื่อนบ้านได้ตามสมควร

1. “ฝีคัณฑสูตร” ในรูทวาร ของประชาธิปัตย์!!! (http://vattavan.com/detail.php?cont_id=137)

2. เหตุฉิบหายจะเกิดขึ้นกับเมืองไทยได้...ไม่ยากเลย!!!
(
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=157)

3. “รัฐมนตรีผู้ร้าย กับนายกฯโลซก!?”
(
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=159)

4. “คนไทย ‘เงี่ยน’ สงคราม!!!”
(
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=242)

5.ไอ้คนหนีทหาร มันลากชาติไทยเรา เข้าสู่…สงคราม!!!
(
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=279)

6. เขมรจะจัดฉลอง “วันรบชนะไทย” (http://vattavan.com/detail.php?cont_id=280)

7. รัฐบาล ‘หมาบ้า’ แห่งสุวรรณภูมิ!!!?
(
http://vattavan.com/detail.php?cont_id=294)

(***คอลัมน์ ประจำสัปดาห์ ตอน ได้เวลา…ล้างกาลี!!! ออนไลน์ วันเสาร์ ที่ 9 กรกฎาคม 2554)

กก.พิทักษ์อำนาจรัฐ

ที่มา มติชน



โดย สุริวงค์ เอื้อปฏิภาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2554)

คณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพิ่งประชุมสรุปผลการตรวจสอบเหตุการณ์ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ไปเมื่อไม่นานมานี้ เพื่อจะนำมาแถลงต่อสาธารณะในช่วงวันสองวันนี้ กระนั้นก็ตามมีข้อมูลเผยแพร่เป็นข่าวออกมาแล้ว

ไม่ได้ผิดไปจากที่คาดคิด เพราะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดนี้ แสดงจุดยืนแน่วแน่ในกรณี 91 ศพมาตลอด ว่าเห็นพ้องกับผู้กุมอำนาจรัฐ

เมื่อไม่นานมานี้มีเหตุการณ์ตลกร้าย ไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ลาออกจากภาคีมรดกโลก

ไทย น่าจะเป็นประเทศแรกในโลกอีกเหมือนกัน ที่มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน มายืนดูคนตายเพราะการชุมนุมประท้วง 91 ศพแล้วบอกว่า รัฐบาลและกลไกอำนาจรัฐทำถูกต้อง

บทสรุปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เพิ่งประชุมกันไปนั้นบอกชัดเจนว่า "รัฐบาลอภิสิทธิ์กระทำภายใต้หลักกฎหมาย" "ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่เกินกว่าเหตุ" "ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน"

ส่วนการชุมนุมของ นปช.นั้น "มิใช่การชุมนุมที่สงบและปราศจากอาวุธ" "ละเมิดสิทธิผู้อื่น"

สรุปว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ทำถูกทุกอย่าง ส่วน นปช.ทำผิดทุกอย่าง

อาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร แห่งคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เคยเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงอาจารย์อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ภายหลังผ่าน 19 พฤษภาคม 2553 ไม่กี่วัน

เขียนในฐานะนักวิชาการด้านมานุษยวิทยาด้วยกัน โดยอาจารย์ยุกตินั้นรุ่นอ่อนเยาว์กว่า

"มานุษย วิทยามิได้แยกตนเองจากกระแสโลก หลักการสำคัญๆ ของมานุษยวิทยาสอดคล้องไปกับหลักการสากล ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานก็เช่นเดียวกัน นักมานุษยวิทยาย่อมเห็นตรงกันว่า การทำลายชีวิตมนุษย์และการปิดกั้นสิทธิในการแสดงตัวตนของมนุษย์ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้"

อาจารย์ยุกติเขียนอีกตอนหนึ่งถึงปฏิบัติการขอคืนพื้นที่ว่า

"คน ที่ยืนอยู่บนพื้นที่เหล่านั้นย่อมสำคัญกว่าพื้นที่และที่ว่าง หรือหากจะให้ผมอ้างนักทฤษฎีหรือใครต่อใครมายืนยันว่าคนสำคัญกว่าพื้นที่ ก็คงจะต้องยกชื่อนักมานุษยวิทยามาหมดโลกนั่นแหละ แต่คนที่จะตอบคำถามนี้ได้ดีและลึกซึ้งที่สุดคงไม่พ้นนักภูมิศาสตร์ชื่ออองรี เลอร์แฟบวร์ ที่วิพากษ์การทำพื้นที่ให้ไร้ความเป็นมนุษย์ เพื่อการที่ผู้มีอำนาจจะได้สามารถแปลงพื้นที่เหล่านี้ไปเป็นผลผลิตและการขูด รีดมนุษย์ ถ้าพูดแบบเลอร์แฟบวร์ ซึ่งอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ถ้อยคำแบบ ศอฉ.และรัฐบาล เป็นภาษาที่นายทุนอำมหิตใช้เข่นฆ่าผู้คนอย่างไม่เห็นหัวมนุษย์ชัดๆ"

จดหมายเปิดผนึก ยังวิพากษ์ "อาจารย์อมราผู้เป็นศาสตราจารย์ทางมานุษยวิทยา" อีกหลายแง่มุม หาอ่านได้ในหลายๆ เว็บไซต์

ที่ อยากจะเสริมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดนี้ ซึ่งอันที่จริงก็มีผู้ทรงภูมิความรู้มากมาย แต่เหมาะสมกับความเป็นนักสิทธิมนุษยชนหรือไม่

เอาง่ายๆ กรณี พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ซึ่งเป็นนายตำรวจมือดี เติบโตมาในสายกองคดี เป็นอดีตผู้ช่วย ผบ.ตร.ด้านกฎหมายและสอบสวน ตำแหน่งสุดท้ายคือที่ปรึกษา สบ10 ด้านความมั่นคง

เกียรติประวัติในชีวิตตำรวจดีงาม

ทั้งชีวิตก็คือผู้รักษากฎหมาย แล้วจิตวิญญาณนักสิทธิมนุษยชนก่อเกิดขึ้นเมื่อไร

เพียงแค่นี้ก็พอจะเข้าใจกรรมการสิทธิชุดนี้ได้ไม่ยาก

92 ศพมีนา-พฤษภาอำมหิต : เกิดอะไร? อย่างไร? และทำไม? (ตอน 2)

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



หลัง จากประมวล ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลเหตุการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้นในช่วงมีนา-พฤษภาอำมหิตแล้ว งานวิจัยเรื่อง "บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมืองในช่วงเดือนมีนาคม- พฤษภาคม 2553" ของคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี สกว. ที่มีศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เป็นประธาน ได้ตั้งคำถามหลักที่มุ่งค้นคว้าหาคำตอบไว้ 2 ประการคือ: -

1) การชุมนุมประท้วงที่เริ่มต้นโดยสันติเปลี่ยนไปสู่ความรุนแรงได้อย่างไร? และ

2) อะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว?

อย่างไร?

งาน วิจัยตอบคำถามนี้โดยพยายามจับและยึดกุมพลวัต (dynamics) ของกระบวนการเปลี่ยนแปลงคลี่คลายขยายตัวของเหตุการณ์ ว่ามีการขยายขอบเขตและเพิ่มระดับความรุนแรงอย่างไรในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นศูนย์กลางการประท้วงและศูนย์รวมเหตุการณ์รุนแรง ทั้งในมิติเชิงเวลาและสถานที่

พวกเขาค้นพบว่ากล่าวสำหรับเหตุการณ์ รุนแรงที่เชื่อมโยงกับการประท้วงของ นปช. (ซึ่งส่วนใหญ่เกือบ 80% เป็นไปโดยไม่ใช้ความรุนแรง) มีเหตุปัจจัยและลักษณะอันนำไปสู่การยกระดับ ความรุนแรง (escalation) ดังนี้: - (โปรดดูแผนที่ประกอบ)

1) การยึดครองพื้นที่รอบแยกราชประสงค์อย่างยาวนานนั้นล่อแหลมสุ่มเสี่ยงต่อการ เกิดเหตุรุนแรงกว่าการยึดครองพื้นที่ย่านสะพานผ่านฟ้าฯ เพราะเป็นพื้นที่ธุรกิจโดยตรง, มีนัยเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองน้อยกว่า, และฝ่ายผู้ประท้วงก็วิตกกังวลต่อการปราบปรามที่จะตามมามาก

แผนที่เหตุการณ์รุนแรงในกรุงเทพฯ (มี.ค.-พ.ค.2553)

สัญลักษณ์แทน : ระเบิด, การเผา, การต่อสู้, การยิง, ถนนหลวง/ถนนสายหลัก, เขตจังหวัด, แม่น้ำ



2) "ผู้ใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจระบุได้"/"กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" (ซึ่งอาจมีหลายพวกก็ได้) เป็นตัวการก่อความรุนแรง เพื่อมุ่งทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งคงอยู่ต่อไปและยกระดับมันให้รุนแรงยิ่ง ขึ้น พร้อมทั้งลดพื้นที่การเมืองของผู้สนับสนุนการแก้ปัญหาอย่างสันติทั้งสองฝ่าย ลง โดยสามารถแบ่งลักษณะของการก่อความรุนแรงดังกล่าวออกเป็น 2 ช่วงคือ: -

ก) ก่อนปฏิบัติการขอคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้าและบริเวณโดยรอบเมื่อ 10 เม.ย.2553 มีการใช้ระเบิดและเอ็ม 79 เป็นหลัก โจมตีสถานที่ราชการและอาคารธุรกิจที่ห่างไกลจุดประท้วงในตอนกลางคืน น่าจะเป็นไปได้ว่าเพื่อพยายามสร้างความกลัวให้เกิดขึ้นแก่สาธารณชนสูงสุด โดยไม่มุ่งประสงค์ทำอันตรายคนที่ไม่เกี่ยวข้อง นับเป็นการยั่วยุฝ่าย รัฐบาลที่คาดการณ์ไว้แล้วอย่างรอบคอบ

ข) เมื่อการยั่วยุได้ผล รัฐบาลส่งกำลังทหารเข้าขอคืนพื้นที่สะพานผ่านฟ้าฯและบริเวณโดยรอบเมื่อ 10 เม.ย.2553 ส่งผลให้ทหาร 5 คน, ผู้ชุมนุมเสื้อแดง 19 คน และบุคคลอื่น 2 คน เสียชีวิต หลังจากนั้นแบบแผนการโจมตีของ "ผู้ใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจระบุได้"/"กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" ก็แตกต่างไปจากเดิมกล่าวคือหันมามุ่งโจมตีโดยตรงต่อผู้คน พลเมืองและผู้ไม่เกี่ยวข้องในบริเวณใกล้พื้นที่ประท้วง เพื่อเพิ่มการยั่วยุและแรงกดดันทั้ง ต่อรัฐบาลและผู้ประท้วง

แผนภาพจำนวนเหตุการณ์รุนแรงในกรุงเทพฯและปริมณฑลจำแนกตามสัปดาห์และผู้กระทำ

(แถบดำ = ผู้ใช้ความรุนแรงที่ไม่อาจระบุได้/แถบเทาทึบ = ทหาร/แถบลายประ = นปช.)



3) อาจกล่าวได้ว่าในกระบวนการยกระดับความรุนแรงที่ขับเคลื่อนโดย "ผู้ใช้ความรุนแรง ที่ไม่อาจระบุได้"/"กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" เป็นตัวการสำคัญนั้น ฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุม นปช.ต่างก็มีส่วนตัดสินใจผิดพลาดและเต้นไปตามแรงยั่วยุกดดันนั้นด้วยกันทั้ง คู่ ที่สำคัญได้แก่: -

-การที่รัฐบาลส่งกำลังทหารเข้าเผชิญหน้าและ ปะทะกับผู้ชุมนุม นปช.ที่สะพานผ่านฟ้าฯและบริเวณโดยรอบในเวลากลางคืน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553

-การที่ นปช.ไม่สนใจข้อเสนอแนะทางยุทธวิธีให้กลับไปชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าฯทั้งหมด

-การ ชุมนุมโดยไม่ใช้ความรุนแรงของ นปช.บริเวณแยกราชประสงค์ลดขนาดลง แต่กลับถูกทำให้มีลักษณะสู้รบอย่างทหาร (militarized protest) มากขึ้น โดยก่อตั้งรั้วไม้ไผ่เป็นป้อมปราการปิดกั้นถนน ในขณะที่ฟากตรงข้ามกองกำลังทหารก็มาตั้งประจันหน้าเพิ่มขึ้น

-โอกาส ของการพูดคุยเพื่อปรองดองกันผ่าน Road Map ของนายกรัฐมนตรีล้มเหลวเพราะการผลัดกันแข็งขืนดื้อรั้นของทั้งสองฝ่าย ทำให้จังหวะคับขันที่อาจยุติความขัดแย้งลงได้โดย ไม่เกิดความรุนแรงมากไปกว่านี้พลัดหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย

-ปฏิบัติ การของรัฐบาลโดยกองกำลังทหารต่อผู้ประท้วงแยกราชประสงค์จาก 14-19 พ.ค.2553 นำไปสู่การต่อสู้กันอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบของ นปช.ด้วยความรุนแรงเช่นกัน (ดูแผนภูมิประกอบ)

งานวิจัยสรุปพลวัตของความรุนแรงมีนา-พฤษภาอำมหิตไว้ว่า:

"การ ประท้วงของ นปช.ในกรุงเทพฯ อาศัยการประท้วงที่ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นหลักมาแต่แรก ขณะที่การโต้ตอบของฝ่ายรัฐก็อาศัยแนวทางการไม่ใช้ความรุนแรงเป็นหลัก แต่เมื่อกลุ่มบุคคลที่ไม่อาจระบุได้หนึ่งกลุ่มหรือมากกว่า ได้ใช้กลยุทธ์ยกระดับความรุนแรง และได้สร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ (pretext) การใช้กำลังทหารเข้าปฏิบัติการ "กระชับพื้นที่" ที่สะพานผ่านฟ้าฯ ผลที่ตามมาคือทำให้ความขัดแย้งมีลักษณะรุนแรงสุดโต่งมากยิ่งขึ้น (radicalized) เมื่อผนวกกับการใช้ความรุนแรงในรูปต่างๆ ของกลุ่มบุคคลที่ไม่อาจระบุได้และการตัดสินใจใช้กาลังทหาร "กระชับพื้นที่" ของรัฐบาล

จนที่สุดฝ่ายผู้ประท้วงก็โต้ตอบด้วยการใช้ความรุนแรงในฐานะปฏิกิริยาต่อต้าน การใช้กำลังของฝ่ายทหารในครั้งที่ 2"

"ดร.เกษียร เตชะพีระ" ปาฐกถาวิพากษ์การเมือง เผยระเบิด 3 ลูกที่ "ยิ่งลักษณ์" ต้องเจอ

ที่มา มติชน



เมื่อ เวลา 13.45 น.วันที่ 8 ก.ค.ที่ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ รศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ "บ้านเมืองเรื่องของเรา" วิพากษ์สังคมและการเมืองไทย พร้อมวิพากษ์แนวนโยบายของรัฐบาลใหม่ โดยรศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ กล่าวว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บ้านเมืองกำลังเปลี่ยนแปลงทั้งในหมู่ชนชั้นนำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จนเลยไปสู่การเป็นกลุ่มชนชั้นนำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งไม่ได้เป็นครั้งแรกที่สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลง สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 2 ครั้งคือ ในปีพ.ศ. 2475 และช่วง 14 ตุลา พ.ศ. 2516 ที่มีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ โดยมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเก่า คือทหาร และข้าราชการ กับกลุ่มใหม่คือ ชนชั้นกลาง และกลุ่มนายทุนหัวเมืองต่างจังหวัด


พลังการเปลี่ยนแปลงจากชนชั้นนำไปสู่คนส่วนใหญ่ จนมวลชนยกขบวนเข้าสู่การเมืองในขนาดใหญ่ ส่วนที่เรากำลังพบตอนนี้คือ มวลชนทางการเมืองระดับชาติ 2 ขบวน คือกลุ่มเสื้อเหลือง และแดงที่ไม่ได้จัดตั้งโดยระบบราชการ ถือได้ว่าเป็นความใหม่ ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีทหาร หรือข้าราชการแต่โดยพื้นฐานนี่คือขบวนการที่เกิดเอง ดังนั้น จึงเพิ่มความรู้สึกไม่มั่นคงให้กับราชการที่มีหน้าที่ดูแลความมั่นคง


ดร.เกษียร กล่าวต่อว่า ในด้านความเปลี่ยนแปลงในระบอบเศรษฐกิจ การก่อตัวของนโยบายจากการพัฒนาที่ชี้นำโดย "เทคโนแครต" ไปเป็นโยบายการกระจายความมั่งคั่ง ขับเคลื่อนด้วยพลังทางการเมือง แต่ทุกวันนี้ภาพนี้หายไป กลายเป็นภาพในห้องที่เป็นตัวแทนกลุ่ม ธุรกิจกับทีมที่ปรึกษาทำหน้าที่หาสมดุลที่รับได้ระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวม และส่วนธุรกิจ โดยเทคโนแครตคอยแนะอยู่ข้างห้อง ส่วนบรรดาส.ส.ตัวแทน หรือม็อบ กดดันภายนอก เป็นนโยบายที่วางบนการกดดันของการเมือง


ดัง นั้น สภาพมันเปลี่ยนแปลงไป ในแง่กลับกันมีความเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจแวดล้อมทางเศรษฐกิขระหว่างประเทศ ที่ทำให้เป็นแบบนี้คือ ระเบียบเศรษฐกิจโลกที่ไม่สมดุล อย่างที่นักประวัติศาตร์เศรษฐกิจในฮาร์วาร์ดเรียกว่า "ชีนเมริกา" (Chimerica) คือการที่อเมริกานำเข้า จีนส่งออก อเมริกาในเข้าทุน จีนส่งออกทุน มันไม่สามารถธำรงได้อีกต่อไป เพราะวิกฤติศรัทธา ความตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลก


ตัวเลขการส่งออกของหลายๆประเทศ เริ่มเทเป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกของ จีน ในภาวะที่จีนปรับตัวถอนตัวความสัมพันธ์แบบ "ชีนเมริกา" ซึ่งไทยก็ยากที่จะพึ่งการส่งออก เลยต้องปรับตัว จึงเป็นเบื้องหลังของการปรับตัวของพรรคการเมืองที่บอกว่าประชาชนต้องเพิ่ม รายได้ ส่วนหนึ่งเองก็ต้องหาเสียง และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นการปรับตัวจากสภาพเศรษฐกิจโลก


ทั้งนี้ ปัญหาความเสี่ยงต่างๆเกิดจากวิธีการที่ฝ่ายต่างๆใช้ และผลักดัน ต่อต้านไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยวิธีการที่ใช้คือ 1. ดึงมวลชนเข้าร่วมการเมืองขนานใหญ่ เพราะ พลังเก่าที่ต้องการรักษาระเบียบเก่า พบว่าลำพังตัวเองรักษาไม่อยู่จึงดึงมวลชนเข้ามา คำตอบคือ "กลุ่มเสื้อเหลือง" ส่วนกลุ่มชนชั้นนำใหม่ก็พบเช่นเดียวกัน ดังนั้น เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ดึงมวลชนเข้าร่วม คำตอบคือ "เสื้อแดง" ดังนั้นจึงเป็นการเมืองที่ชนชั้นนำกรุยทางให้มวลชนเข้ามา


2. พลังการเมืองที่ขัดแย้งระหว่างกลุ่มเก่าและใหม่ใช้วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ โดยพลังเก่าพยายามรักษาระเบียบเก่า และพบว่ากติกาอาจช่วยรักษาไม่ได้ จึงฉีกรัฐธรรมนูญ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง พบว่า หากสู้ในกรอบก็ไม่สามารถสู้ได้จึงใช้วิธีการนอกรธน. อันเป็นที่มาอย่างเรื่อง รัฐประหาร, ตุลาการธิปไตย ,ก่อจลาจล, ยึดทำเนียบ, ยึดสนามบิน, ยึดย่านธุรกิจกลางเมือง ซึ่งจำเป็นในการต่อสู้ของแต่ละฝ่าย


3. ดึงสถาบันเบื้องสูงเข้ามาพัวพันกับการเมือง การดึงสถาบันเข้าไปอยู่ในแห่งที่ที่ไม่สมควร ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่ตั้งคือการตั้งอยู่กับรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย ที่เดียวกัน ข้างเดียวกัน ขณะที่การต่อสู้ที่ผ่านมามีการดึงเอาไปใช้เพื่อทำร้ายคู่ต่อสู้ สนับสนุนความชอบธรรมของตัวเองซึ่งไม่เป็นผลดีอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของระบบ โดยผลเชิงปฏิบัติของปัญหานี้ ก็คือ ตัวเลขของคดีที่ผิดม. 112 ระหว่างปี 2535-2547 มีไม่ถึง 10 คดี แต่หลังจากนั้นมีปีละร้อยกว่าคดี

การ ดึงมวลชนเข้าร่วมโดยที่ไม่สามารถคุมได้ ใช้วิธีการนอกรธน. ทำให้หลายปีที่่ผ่านมาไม่จบ อำนาจนิยมในรัฐบาล และอนาธิปไตยในท้องถนนใช้กฎหมายพิเศษนานาประการเพื่อคุมให้ได้ พอฝั่งนึงกลับข้างขึ้นเป็นรัฐบาลก็อำนาจนิยม ฝั่งนึงกลับข้างอยู่บนถนนก็เป็นอนาธิปไตย มันไม่มีทางไป จนกว่าจะปลีกตัวออกจากวงจรนี้


การปลีกตัว ที่เราต้องการคือ "รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทยใหม่ในยุคการเมืองมวลชน" หมายความว่า วัฒนธรรมไทยที่หยั่งลึกในใจจนไม่อาจฉีกทำลายได้ (นิยามโดยอ.นิธิ เอียวศรีวงศ์) ในสภาพการเมืองที่เปลี่ยนไปเราต้องการรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อทำให้รัฐและการ เมืองมวลชนมีความศิวิไลซ์ ไม่สามารถทำวิธีอะไรก็ได้เพื่อชนะ


ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ เราต้องอยู่กับการเมืองระดับใหญ่ โดยมีสิ่งสำคัญคือ 1. ถือความขัดแย้งเป็นปกติวิสัยของสังคมไทย ความ ขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติกับความสามัคคี ที่ต้องเริ่มความคิดแบบนี้เพราะ หากคิดว่าความขัดแย้งผิดก็จะจัดการความขัดแย้งในแบบสิ่งที่เราไม่ชอบ อย่างที่เราบี้สิว จนสิวแตก เป็นรอยปรุ ซึ่งหลังจากช่วง มีนา-เมษา "เราสิวแตก"


2. ปฏิเสธเป้าหมายสุดขั้วทางการเมืองเช่น เอาสงครามครั้งสุดท้าย เอานายกฯพระราชทาน มันไปไกลเกินไป ขัดแย้งกับโครงสร้างประวัติศาสตร์และอำนาจในทางการเมือง ผลคือการโดดเดี่ยว ไล่มิตร เพิ่มศัตรู ไปไกลสุดโต่ง การเมืองแบบสุดโต่งทำร้ายสิ่งดีงาม ในนามสิ่งดีงามหากไปอย่างสุดโต่งแล้วจะทำลายสิ่งอื่นๆเช่น ต่อต้านคอร์รัปชั่นจึงทำลายประชาธิปไตย


สุดท้ายคือ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งยากมากที่จะเคารพสิ่งที่อยู่ตรงข้าม แต่นี่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่น่าเศร้าคือ พออยู่ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่เห็นเขาเป็นคน เขาตายก็ไม่แคร์ ไม่เสียใจ


สรุปโดยรวม ปัญหาที่รออยู่คือ คุณทักษิณบอกว่ายิ่งลักษณ์เป็นโคลนนิ่ง เราอาจเริ่มรู้จักรัฐบาลโคลนได้หากถ้ากลับไปทบทวนคุณทักษิณ ในแง่การเมืองระหว่างประเทศได้เดินนโยบายที่เป็นแฟชั่น คือ นโยบายเศรษฐกิจใหม่ ปรับตัวเรื่องรัฐกับการเมืองในระบอบปชต. จึงกลายเป็นเสรีนิยมใหม่ทางสังคม คือ รู้ว่าตลาดไม่ชอบธรรมพอจึงต้องขยายกว้าง เมื่อรู้ว่าต้องการแรงของประชาชน ก็มีแนวโน้มเป็นเรื่องสัญญาประชาคมในแบบประชานิยม


ในแง่กลับกัน ก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โยนห่วงชูชีพเพื่อชวนมวลชนสู่ตลาดด้วยประชานิยม อีกทางนึงคือกลุ่มทุนที่เป็นพวกพ้อง ซึ่งโลกาภิวัฒน์ของทักษิณเป็นเรื่องการเอียงไปทางกลุ่มทุนฝั่งตน ดังนั้น หากยิ่งลักษณ์โคลนมาก็ต้องเจอต้าน จากฝั่งขวา จากรัฐ และรัฐประชาชาตินิยมหรืออำมาตย์ รวมถึงพลังฝ่ายซ้ายตลาดเสรี (มักเป็นนักเศรษฐศาสตร์) และฝ่ายซ้ายภาคประชาชน


ตราบใดที่โคลนมา ตราบนั้นก็จะเผชิญการคัดค้านดังกล่าว ในการนี้จะมีทางแพร่งที่ยิ่งลักษณ์ต้องเจอคือ ทาง แพร่งระหว่างประชาธิปไตยกับหลักนิติธรรม หรือทางแพร่งจากอาญาสิทธิ์จากการเลือกตั้ง กับ การจำกัดอำนาจรัฐให้อยู่ในกรอบที่ไม่ล่วงละเมิดรัฐธรรมนูญของบุคคลและเสียง ข้างน้อย โดยมีตุลาการอิสระคุมเส้น กล่าวง่ายๆคือเป็นหลักนิติรัฐ ซึ่งต้องการจำกัดอำนาจรัฐไม่ให้ยุ่มย่ามกับเสียงข้างน้อย โดยตรงนี้คือจุดปัญหาที่ผ่านมา และจะรวมศูนย์อยู่ในรูปแบบปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นระเบิดลูกที่ 1


แพร่งที่ 2 คือ ผลประโยชน์ส่วนตน กับส่วนรวม ซึ่งจะแสดงออกรวมศูนย์ในรูปธรรมปัญหาการทวงคืนทรัพย์สินเป็นระเบิดลูกที่ 2


แพร่งที่ 3 คือ ความ จำเป็น สองด้านที่ต้องการรอมชอมกับชนชั้นเก่า และการตอบสนองความต้องการของคนเสื้อแดง ถ้าทำได้รัฐบาลโคลนแม้วก็อยากรอมชอมและเอาใจแดงด้วย แต่ถ้าต้องเลือกทางใด คงง่ายกว่าที่จะโน้มไปรอมชอมกับกลุ่มเก่ามากกว่าเอาใจแดง ทักษิณคงหยิบยื่นสิ่งที่ไม่ใช่ข้อเรียกร้องหลักให้กับมวลชนแดง อย่างการยกย่อง สดุดี, ให้ตำแหน่งรัฐมนตรีแก่แกนนำ เปิดโอกาสให้ไต่สวนอย่างยาวนาน แพร่งนี้จะแสดงชัดในเรื่องปัญหาความจริง ความยุติธรรมและความรับผิดชอบต่อกรณี 91 ศพ เป็นระเบิดลูกที่ 3


สำหรับการปรองดอง ที่สำคัญที่สุดคือ การปรองดองกับประชาธิปไตย แปลว่า ให้มีจุดเริ่มต้นคือ "ประชาธิปไตยเป็นจุดยืนที่ไม่หายไปไหน" หากการปรองดองเกิดปัญหาก็ขอให้แก้ไขในระบอบนี้


สุด ท้ายคือ เรื่องยิ่งลักษณ์ การปรองดองที่สำคัญคือการปรองดองกับความยุติธรรม นิติธรรม ต้องไม่ใช้อำนาจเกินเลย ต้องไม่กลายเป็นประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยมสมัยคุณทักษิณ เพราะ ประชาธิปไตยอำนาจนิยม คือตัวการที่ขับดันคนไปหาทางออกด้วยการรัฐประหาร


"สำหรับ ผู้รักประชาธิปไตยทุกคน เป็นความจริงว่าคนบางกลุ่มไม่รักประชาธิปไตย เรียกร้องรัฐประหารไม่ขาดปาก วิธีการที่จะพ้นฐานนี้คือ อย่าทำให้พวกเขากลายเป็นวีรชน ถ้าคุณรังแก ข่มเหง ลิดรอนสิทธิเขา เขากลายเป็นวีรชน วิธีการปรองดองกับพวกเขา พูดอย่างเป็นผู้รักประชาธิปไตยควรทำ ก็คือทำให้เขาเป็นตัวตลกดีกว่า"

ปรากฏการณ์"กบฏแตงโม" บทเรียน"ประยุทธ์" ศึกชิง กห. และวาทะ"กูไม่กลัวมึง"

ที่มา มติชน









รายงานพิเศษ : มติชนสุดสัปดาห์

ผลการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 ได้ถูกจารึกในประวัติศาสตร์ของกองทัพไปแล้วว่า ได้เกิดการก่อกบฏทหารประชาธิปไตย เมื่อ "นายสั่งไม่ได้"

ในมุมหนึ่งก็เป็นผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ความคิดอิสระทางการเมืองของประชาชนในเครื่องแบบทหารที่ปลดแอกตัวเองออกจากการเป็น "หัวสี่เหลี่ยม"

แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็น่าเป็นห่วงในระบบการสั่งการควบคุมบังคับบัญชาทางทหาร ที่ไม่ใช่แค่ไม่ทำตามคำสั่ง แต่ยังทำสวนทางกับคำสั่งอีกด้วย

พร้อมๆ กันนั้นก็เป็น "บทเรียน" บทสำคัญของผู้นำกองทัพ โดยเฉพาะคนที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก หรือ ผบ.ทบ. จะได้รู้ว่า ความศักดิ์สิทธิ์ ความขลังของเก้าอี้แห่งอำนาจตัวนี้ ได้เปลี่ยนไปแล้ว

โดยเฉพาะกับบิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ที่ต้อง "เสียเซ้ลฟ์" เสียความมั่นใจในตัวเองไปมากโข และต้องมานั่งคิดทบทวนแล้วว่า เกิดความผิดพลาดอะไรขึ้น

เพราะ ขนาดส่งสัญญาณควรเลือกใคร ช่วยพรรคไหน ไม่เลือกพรรคใด แต่ผลออกมาตรงกันข้าม แล้วถ้าจะสั่งให้เอารถถัง ถือปืนออกไปปฏิวัติ ทหารจะทำตามทั้งหมดหรือไม่

ต้องยอมรับว่าบทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ ก่อนการเลือกตั้งนั้นชัดเจนในการสกัดกั้นพรรคเพื่อไทย นอกเหนือจากจุดยืนที่ต่อต้านสีแดงเดิม

ทุก คำพูดทุกความคิดและความเคลื่อนไหวของ จอมพล ผู้นำกองทัพบก นั้นอยู่ในสายตาของทหารทุกนาย ไม่ว่าจะนายพล นายพัน นายร้อย ชั้นประทวน หรือแม้แต่พลทหาร ที่รู้ดีว่า ผบ.ทบ. ต้องการอะไร

แม้ ในยุคนี้ จะมาสั่งกันตรงๆ ว่าให้เลือกเบอร์ไหน พรรคใดไม่ได้เพราะกลัวถูกถ่ายคลิป แต่ก็มีการกระซิบ และเกลี้ยกล่อมพูดอ้อมๆ ให้คิดเอง โดยเฉพาะการเอาซีดีภาพเหตุการณ์เสื้อแดงเผาเมือง มาฉายให้ทหารเกณฑ์และกำลังพลในแต่ละหน่วยดูทุกวัน รวมทั้งนักเรียนทหารทุกเหล่าทุกหน่วย

แต่ ผลออกมา พรรคเพื่อไทยก็ยังชนะเกินครึ่ง ได้ ส.ส. มาถึง 265 เสียง ที่ยิ่งทำให้ผู้นำกองทัพเจ็บใจก็ที่เขตดุสิต ที่ถือเป็นเขตทหาร มีหน่วยทหารมากมาย แต่ก็กลับเลือก ลีลาวดี วัชโรบล พรรคเพื่อไทย แม้จะชนะ จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี พรรคประชาธิปัตย์ แค่ 700 กว่าคะแนน แต่ก็ถือว่า เลือกตั้งครั้งนี้ได้เกิด 2 ปรากฏการณ์พร้อมกันคือ

หนึ่ง ปรากฏการณ์ "กูไม่กลัวมึง" เสมือนว่า พวกเขาไม่กลัวผู้บังคับบัญชา แม้รู้ว่าอาจต้องถูกลงโทษอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ต่อให้มีการเปลี่ยนการนับคะแนน มานับหน้าหน่วย แล้วมีทหารมาเดินจดยอด รายงาน "นาย" ก็ตาม

สิ่ง ที่ ผบ.หน่วย แต่ละหน่วย ชี้แจงต่อบิ๊กๆ จนถึง ผบ.ทบ. ก็คือ เราไม่สามารถบังคับความคิดทางการเมืองของทหารได้ ทหารในเครื่องแบบยังคงมีวินัย เลือกตาม "นาย" อยู่บ้าง แต่ครอบครัวลูกเมียทหารนั้นเสื้อแดงเป็นส่วนใหญ่

แต่แน่นอน ผบ.หน่วย ก็ต้องถูก "เอ็ด" เป็นธรรมดา เพราะจะให้ไปลงโทษก็คงไม่ได้

สอง คือ ปรากฏการณ์ "กบฏแตงโม" คือ ทหารจำนวนไม่น้อย ที่ไม่แค่ไม่เลือกตามนายสั่ง แต่กลับเลือกพรรคเพื่อไทย สวนคำสั่งสกัดเลยด้วยซ้ำ จึงถือว่าบรรดาทหารแตงโมทั้งที่เปิดเผยตัว และแอบแฝงหลบในกันมานานนั้น ได้เผยตัวออกมาในรูปผลการเลือกตั้งด้วยการก่อกบฏขึ้นมาแล้ว

แต่ ทว่า ปรากฏการณ์แตงโมกบฏนี้ หาใช่เพราะพวกเขารัก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือคลั่งไคล้ความงามขาวของปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือกระแสนายกฯ หญิงไม่ แต่เพราะพวกเขานึกถึง "ตัวเอง" มากกว่า "สถาบันกองทัพ" ที่ส่วนหนึ่งอาจเพราะการวางตัวของผู้นำกองทัพ ที่อาจทำให้เสื่อมศรัทธา

อีก สาเหตุหนึ่งคือ ทหารจำนวนไม่น้อยที่เป็นลูกน้องเก่าของนายทหารสายทักษิณ สายสีแดง ที่ต้องการล้มขั้วอำนาจแห่งอำมาตย์ เพื่อที่จะให้ "นาย" ของพวกเขา ได้กลับมามีอำนาจ พวกเขาจะได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งบ้าง

ประกอบ กับการที่อำนาจในกองทัพ อยู่ในมือกลุ่มอำนาจเดียวมาตลอดตั้งแต่ปฏิวัติเรื่อยมา เฉพาะบูรพาพยัคฆ์ ทหารเสือราชินี และวงศ์เทวัญบางส่วนเท่านั้นที่ได้อยู่ในศูนย์กลางและคุมอำนาจ จึงเป็นการผลักไสให้ทหารอาชีพที่ไม่มีขั้ว ไม่เลือกข้าง ต้องแอบเป็นแตงโม

ไม่นับทหารที่เปิดรับสื่อในหลายรูปแบบ ก็ทำให้คิดนอกกรอบ จนนำไปสู่การก่อกบฏนั่นเอง

เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง แบบที่ทหารไม่สามารถ "ออกอาวุธ" หรือเคลื่อนไหวอะไรตามแผนเดิมได้เลยนั้น ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ต้องการแบบนี้ ทุกสายตาจึงจับจ้องมาที่ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าจะมีชะตากรรมอย่างไร กองทัพจะเป็นอย่างไร

รมว.กลาโหม จะเป็นดัชนีชี้วัดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเอาอย่างไรกับ พล.อ.ประยุทธ์ และกองทัพ

ด้วย จำนวน ส.ส. มากมาย ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องง้อบิ๊กป้อม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์ มาเป็น รมว.กลาโหม อีกแล้ว ฝ่าย พล.อ.ประวิตร เอง ถึงกับลั่นว่า "ไม่อยากเป็น เสียศักดิ์ศรี" ไม่ได้อยากจะมาเป็น เพราะกลัวเสียภาพพจน์

แต่ ด้วยความเป็นห่วง พล.อ.ประยุทธ์ และทายาทอำนาจในกองทัพ รวมทั้งหวั่นน้องๆ จะถูกเช็กบิล ทั้งการปราบเสื้อแดง การจัดซื้อรถเกราะยูเครน เรือเหาะ จีที 200 จึงทำให้ พล.อ.ประวิตร จึงต้องเปิดการเจรจาต่อรอง

จึง ไม่แปลกที่จะมีชื่อทั้ง เวสปอยเตอร์ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีต ผบ.สส. เพื่อนรัก ตท.6 ของ พล.อ.ประวิตร เป็นแคนดิเดต รมว.กลาโหม และอดีต ผบ.ทบ. และ ผบ.ทร. หลายคน

และบิ๊กป๊อก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. และเพื่อน ตท.10 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เอง เพราะแม้จะเป็นแกนนำปฏิวัติล้มทักษิณ แต่ความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ตั้งแต่ช่วยทักษิณกลับประเทศครั้งก่อน และบทบาทแสนดีในยุค นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ควบ รมว.กลาโหม นั้น ก็ร่ำลือกันว่า มีการจูบปากกันแล้ว

ลำพัง พล.อ.อนุพงษ์ นั้น ไม่อยากเล่นการเมือง แต่เพราะห่วงน้อง ห่วงกองทัพ และหวั่นจะถูกตรวจสอบโครงการต่างๆ จึงอาจต้องตัดสินใจ

ไม่แค่นั้น ยังมีชื่อของบิ๊กหมง พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีต ผบ.สส. ลูกป๋าคนโปรด ซึ่งมีความใกล้ชิดกับ

พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างมาก และพยายามกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มาให้ตลอด จนป๋าเปรมสั่งให้เลิกพยายาม

แต่ พล.อ.มงคล ปฏิเสธเพราะเขามีโอกาสที่จะได้เป็นหลายครั้ง แต่เขาไม่ต้องการเล่นการเมือง แต่ครั้งนี้ เสธ.หนั่น พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นผู้เสนอ เพราะต้องการให้เป็น รมว.กลาโหม ปรองดองกับทุกฝ่าย ทั้งบ้านสี่เสาฯ และทุกขั้วในกองทัพ

แต่เชื่อกันว่า พล.อ.มงคล ไม่ได้ไฟเขียวแน่

ถ้าสังเกตให้ดี พ.ต.ท.ทักษิณ กำลัง "เล่นเกม" อะไรบางอย่างกับกองทัพ เพราะเดิมเขาต้องการให้เพื่อน ตท.10 เป็น รมว.กลาโหม ทั้ง พล.อ.สุรพล เผื่อนอัยกา อดีตเลขาฯ สมช. บิ๊กติ๊ด พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. เป็น รมว.กลาโหม แต่เจ้าตัวไม่ต้องการ แค่ฝากโครงการเรือดำน้ำไว้เท่านั้น. หรือ บิ๊กตุ้ย พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. ที่จะเกษียณกันยายนนี้ ก็เป็นตัวเลือกหนึ่ง แต่เขาก็ปฏิเสธมาแล้ว

จนมีข่าวการทาบทามบิ๊กอุ๊ พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีต ผบ.ทร. ที่แม้จะเคยร่วมในทีม คมช. ปฏิวัติ แต่ก็ด้วยความจำใจ เพราะส่วนตัวเขาสนิทสนมกับคุณหญิงอ้อ พจมาน ชินวัตร และเป็นขาประจำบ้านจันทร์ส่องหล้า อย่างมาก เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่อยากได้ทหารบก เป็น รมว.กลาโหม จะเอาทหารเรือหรือทหารอากาศ นั่นเอง

จน มาพิจารณาทหารในพรรค ทั้งบิ๊กเปีย พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย (ตท.8) เพราะเคยเป็นอาจารย์ ร.ร.เสธ.ทบ. บิ๊กอ๊อด พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีต รมช.กลาโหมและปลัดกลาโหม ที่มีความใกล้ชิดกับ พล.อ.ดาว์พงษ์ และทุกขั้วในกองทัพ รวมทั้ง พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี มีผลงานมากมาย ในการช่วยพรรคในศึกเลือกตั้ง ที่อาจได้เป็นรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง

รวม ทั้ง พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี อดีต ผบ.อย. เพื่อนซี้ ตท.10 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ทุ่มเททำเพื่อเขาตลอด จนพิสูจน์ว่าเป็นเพื่อนแท้ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยบอกก่อนเลือกตั้งว่า "เมธ. เป็น รมว.กลาโหม ได้ไหม" จึงทำให้เขามีชื่อเป็นเต็งหนึ่งในพรรค

มี ความหวาดหวั่นกันว่า ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ อาจย้อนเกล็ดทหารด้วยการให้ ปู ยิ่งลักษณ์ เป็นทั้งนายกฯ ควบ รมว.กลาโหม สร้างประวัติศาสตร์เป็นทั้งนายกฯ หญิงคนแรกและ รมว.กลาโหมหญิงคนแรก ที่คงทำให้กองทัพกระเพื่อมไม่น้อย เพราะถือว่า "ทั้งแสบ ทั้งหยาม" กันเลย ที่ผู้นำกองทัพ โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จะต้องมายืนตะเบ๊ะ ผู้หญิง แถมนามสกุล ชินวัตร อีกด้วย ไม่ใช่แค่ในฐานะผู้นำประเทศ แต่ยังเป็นผู้บังคับบัญชา

เพราะนายสมัคร และนายสมชาย ก็ยังต้องควบ รมว.กลาโหม มาแล้ว ยิ่งในยามที่ทหารในพรรคและนอกพรรค มีการแย่งชิงต่อรองกันเช่นนี้

แต่ คนที่น่าเห็นใจ คือ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ทุกสายตาจ้องเขม็ง เขาทำหน้าที่อย่างเต็มที่ แต่วันนี้กระแสประชาชน ทำให้ทุกคนพร้อมที่จะเปลี่ยนขั้วเปลี่ยนสี

แม้ พรรคเพื่อไทย ประกาศจะไม่แก้แค้นกองทัพ ไม่โยกย้าย พล.อ.ประยุทธ์ ก็ตาม แต่มีความเคลื่อนไหวจาก "พวกเดียวกันเอง" ที่จะกดดันให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ทุบโต๊ะ ให้เด้ง ผบ.ทบ. อย่างคึกคัก

โดยเฉพาะชื่อ ของ บิ๊กต่าย พล.อ.ภุชงค์ รัตนวรรณ ผบ.สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (ผบ.สปท.) อดีต ผบ.นสศ. ที่มาแรง ที่ไม่ใช่เพราะเขาเป็นเพื่อน ตท.10 ของ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือเป็นการคืนความชอบธรรมที่เขาเคยถูก บิ๊กบัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ตอนเป็น ผบ.ทบ. เตะโด่งออกจาก ทบ. ทั้งๆ ที่จ่อขึ้นห้าเสือ ทบ. เท่านั้น

แต่เพราะ พล.อ.ภุชงค์ เป็นน้องเลิฟของ บิ๊กแอ้ด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี

ตอน นี้ พล.อ.ประยุทธ์ อาจบอบช้ำ เสียหาย และเป็นแม่ทัพที่แพ้สงคราม ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ แถมสะบักสะบอม จนต้องเปลี่ยนม้ากลางศึก อย่าลืมว่าโดยสถานะทหารเสือราชินีแถวหน้า การเป็น ผบ.ทบ. ของ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เป็น "ก้าง" ขวางอำนาจของบางกลุ่ม ที่ไม่อาจ "แอบอ้างสถาบัน" ได้อีก เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ รับใช้ใกล้ชิดอยู่แล้ว

ขณะ ที่แรงดันจากในพรรคเพื่อไทย ที่อยากให้เปลี่ยน ผบ.ทบ. ก็ยังหนุนบิ๊กเล็ก พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน (ตท.11) อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 ที่เป็นน้องเขยของ ส.ส.เพื่อไทย จ.พะเยา ที่มีอายุราชการถึงปี 2556 ขึ้นเป็น ผบ.ทบ.

แต่ยังเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะยอมปรองดอง ทั้งในการเลือก รมว.กลาโหม และจะไม่แก้แค้นล้างบางกองทัพ ไม่โยกย้าย พล.อ.ประยุทธ์ ที่เกษียณปี 2557 พ้นเก้าอี้ ผบ.ทบ. แต่ต้องมีการสกัดแผนการสร้าง "แผงอำนาจ ตท.12" ด้วยการไม่ให้ บิ๊กเจี๊ยบ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาปกรณ์ เสธ.ทหาร ขึ้นเป็น ผบ.สส. แต่อาจดัน พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ รอง ผบ.สส. ที่มีสัมพันธ์กับเพื่อไทย ขึ้นเป็น ผบ.สส. ขัดตาทัพไว้ก่อน 1 ปี

เช่น เดียวกับที่ บิ๊กโอ๋ พล.ร.อ.ยุทธนา ฟักผลงาม แกนนำ ตท.12 ที่จะขึ้นเป็น ผบ.ทร. คนใหม่ ก็จะแผ่วลง ขณะที่บิ๊กหรุ่น พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ตท.13 นายทหารเรือสุขุม อัธยาศัยดี เป็นที่ยอมรับ กลายเป็นเต็งหนึ่ง

ส่วน ผบ.สส. ก็อาจเป็น บิ๊กต่าย พล.อ.ภุชงค์ ที่หากผิดหวังจากการเป็น ผบ.ทบ. เพื่อสกัด พล.อ.ธนะศักดิ์

ใน ส่วนของ ทบ. พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมทำโผโยกย้ายทหารปลายปีไว้แล้ว โดยดึงบิ๊กหนุ่ย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เพื่อนรัก ตท.12 ขยับจาก เสธ.ทบ. ขึ้นเป็น รอง ผบ.ทบ. ครองอัตราจอมพล

ที่น่าจับ ตามองคือ มีการวางทายาทอำนาจว่าที่ ผบ.ทบ. ในอนาคต เพราะล้วนเกษียณปี 2558 คือ บิ๊กบี้ พล.ท.ศิริชัย ดิษฐกุล (ตท.13) รอง เสธ.ทบ. น้องรักของ บิ๊กป้อม ขึ้นเป็น เสธ.ทบ. บิ๊กโด่ง พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร (ตท.14) แม่ทัพภาคที่ 1 ทหารเสือราชินี ขึ้นเป็น ผช.ผบ.ทบ.

ที่ ฮือฮาคือ พล.อ.ประยุทธ์ ดึง บิ๊กแป๊ะ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก (ตท.14) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษจาก บก.ทัพไทย ที่มีผลงานจากเรื่องการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา และมรดกโลก ข้ามมาเสียบเป็น ผช.ผบ.ทบ. เพื่อหมายให้ดูแลปัญหากัมพูชาโดยเฉพาะ

แต่แน่นอน การมีรัฐบาลใหม่ เปลี่ยนขั้วอำนาจ รมว.กลาโหม คนใหม่ ก็ต้องเข้ามาดูแลเรื่องความยุติธรรม

ที่ คาดว่า พล.อ.ทนงศักดิ์ ถ้าไม่ได้เป็น ผบ.ทบ. ก็จะได้ขึ้นจากผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทบ. เป็นประธานที่ปรึกษา ทบ. ครองอัตราจอมพล แต่รัฐบาลเพื่อไทย ก็อาจจะเข้าเป็น ห้าเสือ ทบ. ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้สัญญาไว้ ที่สำคัญ อาจเสียบเป็น รอง ผบ.ทบ. หายใจรดต้นคอ พล.อ.ประยุทธ์ ให้หนาวๆ ร้อนๆ

เพราะแม้พรรคเพื่อไทย จะไม่เด้ง พล.อ.ประยุทธ์ พ้นเก้าอี้ ผบ.ทบ. ในครั้งนี้ แต่โยกย้ายปลายปีหน้า ก็ไม่แน่

แต่ ที่ต้องจับตาคือ อนาคตของ พล.อ.ดาว์พงษ์ จอมกระชับพื้นที่ ที่ในสายตาทหารสายเพื่อไทย มองว่าเขาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง พล.อ.ประยุทธ์ ทุกอย่าง อีกทั้งเป็นผู้ตั้งกองบัญชาการ สกัดกั้นเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ที่เขาอาจจะเป็นประธานที่ปรึกษา ทบ. ไม่ได้เป็น รอง ผบ.ทบ. แต่ถึงเวลานั้น พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อนรัก จะยอมหรือไม่ หากไม่สามารถปกป้องหรือต่อรองเพื่อเพื่อนรักได้

แม้ จะไม่แทรกแซง ไม่แก้แค้น แต่หากกลั่นแกล้ง เหยียดหยามกันในเรื่องต่างๆ ไม่ให้เกียรติ พาดพิงสถาบัน และหยาม "นาย" เริ่มมีเสียงนายทหารคนสำคัญหลายคนลั่นออกมาแล้วว่า "กูไม่กลัวมึง"

เช่นเดียวกัน ทักษิณ และทหารในพรรคเพื่อไทย ก็บอกว่า "กูไม่กลัวมึง" เหมือนกัน

...โปรดติดตามตอนต่อไปด้วยใจระทึก.

ตปท.ชี้ทักษิณควรเสียสละตัวเองไม่กลับปท.เพื่อการปรองดอง กังขาพท.กำชัยแต่โดนเสื้อแดงรุกใส่

ที่มา มติชน



สำนัก ข่าวซินหัวรายงานอ้างทัศนะของรศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ควรจะเสียสละตัวเองไม่กลับประเทศไทยอีก เพื่อว่าคนไทยจะได้เห็นการปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้นในประเทศ โดยหากพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการประนีประนอม เขาก็จะต้องแลกด้วยการทิ้งแผ่นดินเกิดไม่หวนกลับมาเมืองไทยอีก เพราะที่ผ่านมา เขาได้ทิ้งมรดกที่ลึกซึ้งต่อเมืองไทย และเป็นมรดกที่มีทั้งด้านบวกและลบ นอกจากนี้ ในส่วนของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ก็ควรจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะหากทำเช่นนั้นก็จะเกิดปฎิกิริยาต่อต้าน

ก่อน หน้านี้ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยกล่าวว่า ต้องการกลับเมืองไทยเพื่อร่วมงานแต่งงานของน.ส.พิณทองทา ลูกสาว ในเดือนธ.ค.แต่บอกว่า หากกลับแล้วเกิดความขัดแย้งขึ้น เขาก็จะยอมคอย และในช่วงแรก ๆ พรรคเพื่อไทย ยังได้รวมเรื่องการนำพ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ อยู่ร่วมในนโยบายพรรค แต่หลังจากเกิดกระแสวิจารณ์โจมตีอย่างกว้างขวางพรรคแก้ตัวว่าเป็นเรื่องการ นิรโทษกรรมให้กับกลุ่มการเมืองทุกฝ่าย

รศ.ดร.ฐิตินันท์ กล่าวด้วยว่า เมืองไทยอาจเกิดเข้าสู่การเผชิญหน้าในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า หากไม่สามารถเดินหน้าไปด้วยการประนีประนอมในช่วงเร็ว ๆ นี้ โดยสิ่งสำคัญที่สุดเวลานี้ก็คือ เมืองไทยจะต้องสร้างบรรยากาศที่ดีและเหมาะสม รวมทั้งอุดมการณ์และความตั้งใจที่จะประนีประนอมกัน โดยตระหนักว่าที่ผ่านมาประเทศชาติบอบช้ำมาพอแล้ว และจำเป็นจะต้องเดินหน้า และทุกฝ่ายที่เกี่่ยวข้องกับวิกฤตและถูกมองว่ากระทำผิดในสายตาของผู้คน จะต้องปล่อยวางต่อกันและกัน

อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า กรณีการสอบสวนการสังหารประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างทหารและคนกลุ่มเสื้อแดง เมื่อปีที่แล้ว ควรจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ แนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.)ทำหน้าที่ โดยการค้นหาข้อเท็จจจริงเป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด เมื่อการประนีประนอมและการสมานฉันท์ยากจะบรรลุได้ จนกว่าจะเกิดกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกิดขึ้น

ซินหัว รายงานด้วยว่า ปัญหาอุปสรรคอีกประการที่อาจนำพรรคเพื่อไทยล่มพังหากทำไม่ดีก็คือ การนำคนกลุ่มเสื้อแดงเข้ามาร่วมครม.โดยถึงขณะนี้ ผู้นำกลุ่มพรรครัฐบาลได้ส่งสัญญาณแล้วว่า ไม่ยอมรับที่จะให้กลุ่มเสื้อแดงเข้ามาร่วมรัฐบาล เพราะเกรงว่าภาพลักษณ์ของรัฐบาลจะมัวหมอง อย่างไรก็ตาม กลุ่มเสื้อแดงได้ยืนกรานว่าพวกเขามีสิทธิอย่างชอบธรรมที่จะเรียกร้องตำแหน่ง ดังกล่าว เมื่อคำนึงถึงสิ่งที่พวกเขาได้ทำให้แก่พรรคเพื่อไทย โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายก่อแก้ว พิกุลทอง หนึ่งในสมาชิกระดับนำของกลุ่มเสื้อแดง อ้างว่า สาเหตุที่พรรคเพื่อไทยรอดอยู่และชนะเลือกตั้งได้อย่างถล่มทลาย ก็เพราะแรงสนับสนุนจากคนเสื้อแดง

นอกจากนี้ ผู้นำกลุ่มเสื้อแดงที่มีภูมิลำเนาทางภาคเหนือ ซึ่งฐานสนับสนุนใหญ่ของพรรคเพื่อไทย ยังได้เรียกร้องตำแหน่งรัฐมนตรีสิบตำแหน่งด้วย ขณะที่ฐิตินันท์ชี้ว่า กลุ่มเสื้อแดงมองว่า พวกเขาได้รับความไม่เป็นธรรมมาตลอด และถึงขณะนี้ พวกเขาต้องการสิ่งแลกเปลี่ยน คือ ตำแหน่งรัฐมนตรีในครม.เพื่อเป็นเครื่องป้องกันตัวให้แก่พวกเขา รวมทั้งยังเป็นการให้คำตอบแก่กลุ่มผู้สนับสนุนเสื้อแดงด้วย

ด้าน"กา ร์เดี้ยน"รายงานว่า หัวหน้ากลุ่มนปช.ได้เตือนให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินหน้าสอบสวนคดีสังหารผู้ประท้วงเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ราย และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน โดยนางธิดา ถาวรเศรษฐ หัวหน้ากลุ่มนปช.กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะต้องดำเนินการสอบสวนดังกล่าว หากต้องการได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเสื้อแดงนปช.


ทั้งนี้ การ์เดี้ยนระบุว่า ในขณะที่กลุ่มเสื้อแดงฝ่ายซ้ายสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ และอีกจำนวนเป็นกลุ่มที่มีศรัทธาต่อเขาอย่างสูง กลุ่มได้ผนึกกำลังต่อต้านการรัฐประหารเมื่อปี 2006 และพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขึ้นสู่อำนาจจากการต่อรองทางการเมือง หลายฝ่ายวิตกว่า การให้นิรโทษกรรมแก่พ.ต.ท.ทักษิณ จะหมายถึงการไม่ดำเนินการจัดกับเหล่าผบ.ทหาร ที่พวกเขาเชื่อว่ารับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของคนกลุ่มเสื้อแดงด้วย

"อนาคต ของคนเสื้่อแดงและพรรคเพื่อไทยขึ้นกับว่าพรรคเพื่อไทยจะบริหาร ประเทศและฟังประชาชนหรือไม่ เราหวังว่าจะไม่มีใครไม่ฉลาดที่ไม่ฟังเสียงประชาชน"นางธิดากล่าว

สื่อไทยกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหลังเลือกตั้ง...สิ่งที่ขาดหายไป ?

ที่มา มติชน





เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ได้มีงานเสวนา “การสื่่่อสารทางการเมือง ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของสื่อ: จากประสบการณ์สากลสู่สังคมไทย” จัดโดย ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


โดยในช่วงแรกเป็นการเสวนาในหัวข้อย่อยที่ชื่อ“สื่อไทยกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหลังเลือกตั้ง”มี ผู้ร่วมเสวนาได้แก่รุ่งมณีเมฆโสภณ สื่อมวลชนและนักเขียนอิสระ, ธีรัตน์ รัตนเสวี บรรณาธิกรข่าว และอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้อำนวยการเนชั่นฯ ส่วนในช่วงที่สองของการเสวนานั้น มติชนออนไลน์จะได้นำเสนอในคราวต่อไป


สื่อไทยกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหลังเลือกตั้ง

รุ่งมณี ในฐานะสื่อมวลชนอาชีพ กล่าวว่าตนคิดว่าหลังการเลือกตั้งความขัดแย้งก็ยังดำรงอยู่ เวลาเพียงชั่วข้ามคืนไม่สามารถทำให้ความขัดแย้งหมดไปได้ และได้กล่าวในประเด็นของสื่อว่า คำถามสำคัญคือ เราจะจัดการอย่างไรสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสื่ออาชีพหรือสื่อกระแสรอง


“บทบาท ของสื่อที่เกิดใหม่และไร้ระเบียบในขณะนี้ได้สร้างความตื่นตัวทาง การเมืองอย่างก้าวกระโดด ถ้ามองในเชิงบวกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย เพียงแต่ว่าคนเสพสื่อกระแสรองอาจจะยังถูกล้อมกรอบอยู่กับสื่อใดสื่อหนึ่งและ ไม่เปิดรับอีกด้านหนึ่งเลย ซึ่งตรงนี้แหละที่สื่อกระแสหลัก หรือสื่อมืออาชีพจะเข้ามามีบทบาท เป็นไปได้หรือไม่ที่สื่อหลักจะทำให้คนทุกสีหันมาดูเรา ถ้าทำได้ก็จะทำให้คนทุกสี ที่นอกจากจะดูทีวีที่ตนชอบตนชื่นชมแล้ว เขาสามารถที่จะไว้ใจ เชื่อใจสื่อกระแสหลัก เพราะสื่อกระแสหลักนำเสนอข้อเท็จจริงที่เขาควรรับรู้”


รุ่ง มณี กล่าวว่า นี่เป็นยุคที่ท้าทายมากสำหรับคนทำสื่อ และถ้าสื่อไหนสามารถทำอย่างที่กล่าวมาข้างต้นได้ก็จะถือเป็นการช่วยพัฒนา ประชาธิปไตย สื่อนั้นจะช่วยปลุกคนทุกระดับตั้งแต่ชนชั้นกลางชนชั้นนำและชนชั้นรากหญ้า ซึ่งเมื่อก่อนชาวไร่ชาวนาไม่รู้สึกว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องเป็นเขา แต่ตอนนี้ พวกเขารู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมกับการเมือง ดังนั้นเราจะทำอย่างไรถึงจะช่วงชิงการเติบโตของการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการมีสำนึกในประชาธิปไตยเหล่านี้ไว้ได้ ซึ่งนี่เป็นบริบทใหม่ที่ท้าทายสำหรับทุกภาคส่วน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนจะหันมามีตื่นตัวทางการเมือง ไม่ว่าจะด่าทอ หรือจะเกลียดกันก็ตาม แต่นี่คือถือได้ว่ามีความตื่นตัวขึ้นมาแล้ว ทำอย่างไรเราถึงจะรักษาเขาไว้ได้ ไม่ใช่ให้เขาเป็นเบี้ยในกระดานหรือเบี้ยนอกกระดาน แล้วบทบาทของเขาก็หมดไป ตนคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก ปรากฎการณ์นี้เป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ


“ตนเชื่อในความหลากหลายของสื่อ ความหลากหลายนั้นงดงาม แต่เราต้องยอมรับในความแตกต่าง และอาวุธที่สำคัญของสื่อไม่ว่าจะเป็นสื่อกระแสหลักหรือว่าสื่อชุมชนคือการทำ investigative reporting (การรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน)"


ด้านนายธีรัตน์กล่าว ว่า ตนคิดว่าสื่อใหญ่ยังไม่ปรับตัว สื่อใหญ่ๆคิดว่าตนเป็นสื่อที่ใครๆต้องหันมาดู จึงทำให้สื่อกระแสหลักเหล่านี้ละเลยเสียงเล็กๆน้อยๆในสังคมไป นอกจากนี้ในตอนนี้สื่อไม่ได้เป็นการสื่อสารทางเดียวอีกต่อไป ยกตัวอย่างเช่นทวิตเตอร์ เป็นต้น นี่เป็นยุคที่ผู้ใช้สามารถมีส่วนช่วยสร้างเนื้อหา มีการแสดงความเห็นต่อรายการข่าวที่ดู พวกเขาสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทางเฟสบุ๊คหรือทวิตเตอร์ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของคน ที่จะชอบแสดงความคิดเห็น และตนเห็นว่ายิ่งมีการแสดงความคิดเห็นมากก็ยิ่งดี ดีกว่ากว่าจะไปปิดกั้น


“คนทำงานสื่อต้องไม่ทำงานแค่ 5W 1H อีกต่อไป แต่คุณต้อง investigate (ทำงานในเชิงสืบสวนสอบสวน) คุณต้องเช็คข้อเท็จจริงต่างๆให้ครบถ้วน และต้องกลั่นกรองว่าอะไรจริงอะไรเท็จ ตอนนี้ข่าวลือเกิดขึ้นง่ายมาก เช่นคนที่มีแบล็กเบอร์รี่ ก็สามารถส่งข่าวสารไปสู่คนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ว่าข่าวนั้นจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม ข่าวลือตอนนี้มีมากมาย และทุกคนส่ามารถที่จะสร้างข่าวลือได้ง่าย และนักข่าวนี่แหละที่ตกเป็นเหยื่อ นี่คือปัญหาของคนเป็นนักข่าว”


ส่วนนายอดิศักดิ์กล่าว ว่า สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้คือ นักข่าวยังไม่ค่อยตระหนักมากนักถึงการตลาดของพรรคการเมือง ไม่ตระหนักว่าบทบาทนักข่าวควรจะอยู่ตรงไหน
“ยิ่ง แรงกดดันของสื่อ ของคนที่รับรู้ จะกดดันให้รัฐบาลทำในสิ่งที่สัญญาไว้ โดยไม่ทราบว่าสิ่งที่สัญญาไว้เนี่ยจะทำได้หรือเปล่า แต่ต้องทำ เพราะได้สัญญาไว้แล้ว ไม่ว่าสิ่งที่สัญญาไว้อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อประเทศชาติมากเพียง ใด”


“สื่อต้องตระหนักอย่างมาก และต้องเตรียมตัวในการทำข่าวใน เชิงinvestigateให้มากขึ้นไม่ใช่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองนักข่าวควร จะตั้งคำถามให้มาก แค่คอนเฟิร์มข่าวนั้นยังไม่พอ แต่ต้อง investigate สื่อต้องตามนักการเมืองให้ทัน”


สุด ท้ายนี้นายอดิศักดิ์ได้ให้ความเห็นว่า ตนเชื่อในเรื่องสื่อเสรี และการมีส่วนร่วมในการใช้สื่อเพื่อนำเสนอสิ่งที่คนต้องการจะแสดงออก ตนชอบที่มีสื่อเยอะๆและคิดว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้สังคมเติบโตและมีวุฒิภาวะ การมีสื่อมากขึ้นทำให้คนรับสื่อมีทางเลือก จากเดิมที่ถูกบังคับให้ดูฟรีทีวีแค่ไม่กี่ช่อง ปัจจุบัน คนสามารถเลือกฟังได้เลือกดูได้ แน่นอนว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ย่อมมีความสับสนอลหม่าน แต่ในที่สุดแล้ว เมื่อทุกคนมีที่ยืน มีพื้นที่ในการนำเสนอความเห็น สิ่งนี้จะนำไปสู่เป็นสิ่งที่ดีขึ้น