WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 30, 2011

"หมอเหวง"ตอกกลับ"สดศรี"วิตกจริต ยันเสื้อแดงไม่ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ไม่มีการกดดัน-คุมคาม กกต.แน่

ที่มา มติชน

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำคนเสื้อแดง กล่าวเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ถึงกรณีที่ นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาระบุว่า ถูกขู่ฆ่าว่า นางสดศรีวิตกจริตจนเกินไป แม้ว่าคนเสื้อแดงจะข้องใจที่ กกต.แขวนนายจตุพร พรหมพันธุ์ ว่าที่ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำ นปช. เพียงคนเดียว โดยเห็นว่าเป็นเรื่องประหลาด แต่เชื่อว่าไม่มีใครคิดทำเช่นนั้นแน่นอน ที่ผ่านมาแกนนำก็ได้พูดกับสมาชิกคนเสื้อแดงให้ใจเย็นๆ ได้มีการปราม ข้อร้องทุกเวที ปรามว่าอย่าไป กกต. ถ้าจะมาก็ให้มาที่เรือนจำ มากดดันนายจตุพรว่า ทำไม่ไม่ออกมาเสียที ทั้งที่ประชาชนเลือกมา 15.7 ล้านเสียง แต่ตนสงสัยที่นางสดศรีระบุว่า จะมีการใช้อำนาจนอกระบบนั้น จริงหรือ หรือ นางสดศรีไปเจรจากับทหารที่พร้อมจะเผด็จการมา จึงไม่เข้าใจว่าทำไมเรื่องนายจตุพรเพียงคนเดียว ทำไมไปไกลถึงขนาดนั้นได้ หรือนางสดศรีไปตกลงอะไรมา และเรายืนยันว่า แม้ว่า กกต.จะไม่รับรองนายจตุพร ก็จะดำเนินการตามแนวทางของกฎหมาย จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือกฎหมายอื่นที่มากกว่านั้น


ผู้ สื่อข่าวถามว่า นางสดศรีระบุว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับ กกต. อาจจะมีคนฉวยโอกาส เพราะมีมือที่ 3 นพ.เหวงกล่าวว่า นางสดศรีควรที่จะหากล้องซีซีทีวีมาติดที่บ้าน เพราะเชื่อว่าที่ กกต.คงจะมีแล้ว และถ้าพบว่าใครผิดก็จับกุมมาดำเนินการทางกฎหมายได้ทันที เพราะตนเชื่อว่าคนเสื้อแดงไม่ทำกริยาที่ฉุนเฉียว โมโห หรือเกรี้ยวกราด เพราะขณะนี้คนเสื้อแดงมีวุฒิภาวะที่สูงมาก ไม่ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย ที่ผ่านมาที่มีการไปรวมตัวที่ กกต.เพื่อรอการรับรองผลให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์และแกนนำ นปช. 12 คน โดยประชาชนนำปิ่นโต เสื่อไปปูรอ เมื่อได้รับการรับรองแล้วก็กลับอย่างเรียบร้อย แต่อาจจะมีบางคนที่พูดจาหยาบคายบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนหมู่มาก จะให้เรียบร้อยทุกคนก็คงจะเป็นไปไม่ได้ และเรายืนยันว่า แม้ว่า กกต.จะไม่รับรองให้กับนายจตุพร คนเสื้อแดงก็จะไม่ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมายแน่นอน เพราะวันนี้บ้านเมืองต้องการการแก้ไข เพื่อให้ความยุติธรรมกลับคืน จะไม่มีการกดดัน คุกคาม หรือทำร้าย กกต.เป็นอันขาด

คนนอกพรรคในมือ "ทักษิณ" โควตากลาง ครม. "ยิ่งลักษณ์" ศก.-ความมั่นคง ปูพรมทักษิณกลับบ้านราบรื่น ??

ที่มา มติชน





ระหว่างที่แกนนำตัวจริง ทั้งในตึกชินวัตร กำหนดสคริปต์สำหรับแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

กลุ่ม ก๊วน มุ้ง ทั้งภาคเหนือ อีสานในพรรค ต่างวิ่งต่อรองเก้าอี้เสนาบดีในช่วงโค้งสุดท้ายกันอย่างดุเดือด จนทำให้โผคณะรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ 1" เปลี่ยน ไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา

เพราะดัชนี-ภาพลักษณ์ "ครม." จะเป็นตัวเปิดทางปูพรมให้ "ทักษิณ" กลับบ้านได้ราบรื่นขึ้น

ดังนั้น โควตารัฐมนตรีอย่างน้อย 4-5 คนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ-ความมั่นคง จึงถูกส่งสัญญาณว่าเป็น "โควตากลาง" ของ "ทักษิณ"

ด้วยการ "กัน" โควตารัฐมนตรีเกรดเอบางกระทรวงให้พ้นจากการวิ่งเต้น-ต่อรองของบรรดากลุ่มก๊วน

โควตา แรก กระทรวงการต่างประเทศ คือ "วิกรม คุ้มไพโรจน์" อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ ซึ่งมีบทบาทช่วยเหลือ "ทักษิณ" เมื่อครั้งลี้ภัยการเมืองและยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้ "ทักษิณ" ฮุบสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้ได้สำเร็จ

รายที่ 2 "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่คาดว่าจะมาใช้ชั้นเชิงด้านเศรษฐศาสตร์เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของ เศรษฐกิจโลก

เผือกร้อนรอโยนเข้ามือ รมว.ต่างประเทศคนใหม่ มีทั้งสาง-สานประโยชน์ด้านการต่างประเทศให้กับ "ทักษิณ" พ่วงด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ที่ "กระทรวงมหาดไทย" เวลานี้ตามโผล่าสุดมีชื่อของ "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" หัวหน้าพรรค อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย รั้งเป็นเต็ง 1 ส่วน "พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก" ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับ 3 คนที่ "ทักษิณ" ไว้ใจไม่แพ้ "ยงยุทธ" เกาะกระแสตามมาเป็นเต็ง 2

เพราะ "ยิ่งลักษณ์" กับ "ทักษิณ" หนุนกันคนละคน จึงต้องลุ้นจนวินาทีสุดท้าย แต่ "บิ๊กข้าราชการมหาดไทย" สายเพื่อไทย ต่างมั่นใจเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ว่า "ยงยุทธ" จะแซงทางโค้งเบียดขึ้นนั่งเก้าอี้ "มท.1" ได้ในที่สุด

เหตุผลที่ "ยงยุทธ" ควรได้เป็นเจ้าของรหัส "มท." ตามความเห็นของแกนนำพรรค อาทิ รอบรู้ช่องทางการบริหารงานทั้งด้าน "คน" และ "งบประมาณ" เพราะในแต่ละปี "มหาดไทย" ได้งบฯกว่า 3 แสนล้านบาท โดยเฉพาะ "กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น" เพียงกรมเดียว กำงบฯถึง 1 ใน 3 ของกระทรวง

จึงแน่นอนว่า "มหาดไทย" ยุค "ยิ่งลักษณ์ 1" จะใช้กลไกท้องถิ่นกดปุ่มปล่อยงบประมาณ "แสนล้าน" เพื่อเอาใจชนชั้นรากหญ้าได้สะดวกง่ายดาย

งาน เร่งด่วนอีกวาระหนึ่งที่ รมว. มหาดไทยคนใหม่จะเร่งสะสาง คือโยกย้าย สลายขั้ว ข้าราชการที่อยู่ขั้ว "ภูมิใจไทย" ให้พ้นเส้นทางอำนาจตั้งแต่ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด

ทั้งผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ ปลัดจังหวัด นายอำเภอ โดยเฉพาะถิ่น "อีสานใต้" ย่านจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา

ขณะ เดียวกัน ข้าราชการที่เติบโตในสาย "ทักษิณ" ถูกเด้งเข้ากรุ โดนลด ชั้น ลดบทบาท ก็มีแนวโน้มว่าจะถูก ชุบชีวิต คืนชีพในเส้นทางสายราชการ เรียงหน้าขึ้นมารับตำแหน่งสำคัญในกระทรวงอีกครั้ง

สำหรับ "กระทรวงพาณิชย์" มีชื่อ "วิรุฬ เตชะไพบูลย์" เหนียวแน่นมานาน สอดแทรกด้วยอีกหลายชื่อ ทั้ง "เผดิมชัย สะสมทรัพย์" "วัฒนา เมืองสุข"

มรสุม ในกระทรวงพาณิชย์ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีทั้งผลกระทบลูกโซ่อันเกิดจากนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่ผุดขึ้นเพื่อเอาใจชาวไร่ชาวนา กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน เช่น รับจำนำข้าวตันละ 15,000 บาท และข้าวหอมมะลิตันละ 20,000 บาท

ขณะที่ "กระทรวงการคลัง" เวลานี้เหลือแคนดิเดตเพียงชื่อเดียว คือ "วิชิต สุรพงษ์ชัย"

ชื่อ ของ "วิชิต" โด่งดังในแวดวงการเงินการธนาคารมาช้านาน เคยนั่งเก้าอี้ ผู้บริหารธนาคารมาหลายแห่ง ก่อนจะนั่งเก้าอี้ "ซีอีโอ" ในตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบัน

สำคัญที่สุดเขาเป็นกรรมการบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

โจทย์ ใหญ่ของกระทรวงการคลังหนีไม่พ้นนโยบายประชานิยมของพรรคต้นสังกัด ที่ล่าสุดทีมเศรษฐกิจเพื่อไทยได้เข็น "นโยบายเศรษฐกิจเร่งด่วน" ทั้งบัตรเครดิตเกษตรกร บัตรเครดิตพลังงาน ขยายฐานภาษี ลดภาษีนิติบุคคล การพักหนี้ครัวเรือน อยู่ในวาระต้องทำ "ทันที"

"กระทรวงกลาโหม" ตำแหน่งนี้ถือว่ามีความสำคัญต่อเสถียรภาพ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" เป็นอย่างยิ่ง

การ เฟ้นหาคนที่จะมานั่งตำแหน่ง "รมว.กลาโหม" จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แกนนำพรรคได้ยินว่า "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" ต่อสายหารือกับกองทัพ เปิดโอกาสให้กำหนดสเป็ก กำหนดชื่อว่าต้องการให้ใครเข้ามากุมบังเหียนด้วยตัวเอง เพื่อให้ถูกใจ "กองทัพ" มากที่สุด

ชื่อในโผ คือ "พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา" เพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร 10 อดีตของ "ทักษิณ"

ทั้งหมดคือบทสรุป "คนนอก-คนใน" โควตากองกลางที่ "ทักษิณ" ภูมิใจนำเสนอ

..............

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 1-3ส.ค.2554 คลิกอ่านข่าวหมวดอื่นๆ

ความเป็นอนิจจังของรัฐ

ที่มา มติชน



โดยวีรพงษ์ รามางกูร

(คอลัมน์ "คนเดินตรอก" ในประชาชาติธุรกิจ ฉบับ1-3ส.ค. 2554)



วันนี้ จะคุยกันเรื่อง "รัฐ" ต่อ อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่ามนุษย์ทุกคนทุกสังคมต้องอยู่และคุ้นเคยกับรัฐ รัฐเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเพราะธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องการรัฐ อย่างนักปราชญ์กรีกว่า หรือเกิดจากการใช้อำนาจบีบบังคับเอา หรือเกิดจากการประสงค์ของสวรรค์ หรือเพราะ พระอิศวร พระวิษณุ แบ่งภาคมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ หรือเกิดจากความประสงค์ของพระเจ้าหรือสวรรค์ หรือเกิดจากสัญญาประชาคมก็ดี อย่างไรเสียมนุษย์ต้องอยู่ในสังคม และสังคมก็ต้องมีรัฐ เพราะรัฐมีประโยชน์สำหรับมนุษย์ที่จะพัฒนาตัวเองและสังคม รัฐจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีอยู่เสมอ

ปัญหาแรกที่ถกเถียงก็คือ รัฐควรมีอำนาจมากน้อยเหนือบุคคลอย่างไร ฝ่ายที่เห็นว่ารัฐควรมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง มีอำนาจมาก เพราะจะทำให้รัฐบาลสามารถทำงานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการทหารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ พวกที่เห็นอย่างนี้ภาษาฝรั่งมักเรียกว่าเป็นพวก "นักรัฐนิยม" หรือ "statist" พวกเผด็จการทั้งหมดเป็นนักรัฐนิยม แม้แต่นักประชาธิปไตย เช่น แฮมมิลตัน หนึ่งในบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ อเมริกา และมีบทบาทสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญอเมริกันก็ต้องการให้สหรัฐ อเมริกามีรัฐบาลที่เข้มแข็ง ไม่อ่อนแอแบบรัฐบาลที่มาจากรัฐสภาแบบอังกฤษ

นัก ประชาธิปไตยเห็นว่า ถ้าบุคคล ในสังคมมีสิทธิเสรีภาพ ปราศจากความเกรงกลัว "รัฐ" แล้วมนุษย์จะมีความคิดสร้างสรรค์ในทุกด้าน สามารถพัฒนา ให้เจริญก้าวหน้าได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ประเทศจะพัฒนาตรงกันข้ามถ้าสังคมปราศจากสิทธิเสรีภาพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ก็จะไม่เกิด ประเทศก็จะหยุดอยู่กับที่ ความพอดีอยู่ตรงไหนไม่มีสูตรสำเร็จ เพราะความเป็นอนิจจังของรัฐ กล่าวคือ รัฐจะต้องปรับตัวแก้ไขสิ่งที่ผิดที่ล้าสมัยแล้วให้เหมาะสมที่จะรับใช้และ เป็นประโยชน์ต่อสังคมเสมอ จะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้ เพราะสังคมก็เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

มีนักปราชญ์หลายคนที่คิดว่า "รัฐ" เป็นสิ่งชั่วร้าย เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อกดขี่ข่มเหงกัน มนุษย์สามารถมีความสุข มีอิสระ มีสิทธิเสรีภาพมากที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอนารยะหรือป่าเถื่อน ไม่ต้องมีรัฐเป็นผู้คอยจัดการสังคมได้ ผู้ที่เห็นอย่างนี้ เช่น รุสโซ และคาร์ล มาร์กซ์ เป็นต้น

ไม่ว่าจะเป็นรัฐที่ก่อกำเนิดขึ้นมาด้วย ทฤษฎีใดก็ตาม สิ่งที่รัฐนั้น ๆ ต้องดำรงให้คงอยู่เสมอ เพื่อให้ความเป็นรัฐอยู่ได้ต้องมี 3 สิ่งด้วยกัน คือ

1.ความชอบธรรม หรือ legitimacy ความชอบธรรมนั้นเป็นสิ่งที่อธิบายยาก แต่ทุกสังคมต่างก็มีสิ่งที่เชื่อ ที่ยึดถือปฏิบัติกัน ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำเนิดของรัฐล้วนเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐและผู้ปกครอง ทิ้งสิ้น

เมื่อสังคมเปลี่ยนไป ความเชื่อเปลี่ยนไป ความชอบธรรมก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น สมัยหนึ่งความชอบธรรมขององค์อธิปัตย์มาจากสวรรค์ หรือพระเจ้า ความเชื่อนี้ก็ล้าสมัยไปแล้ว ทางพุทธศาสนาของเราก็มีทฤษฎีที่สร้างความชอบธรรมว่าเป็นเพราะบุพเพกตปุญญตา ผู้ปกครองจึงได้มีบุญญาบารมีมาสร้างธรรมะและปราบฝ่ายอธรรม

ผู้ ปกครอง ต้องอาศัยความชอบธรรมในการดำรงอยู่ในอำนาจ นอกจากสร้างความชอบธรรมแล้วยังต้องรักษาความชอบธรรมไว้ให้ได้เสมอ เมื่อสังคมเปลี่ยนไปเพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ก็ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

ความชอบธรรมพื้นฐานก็คือ การอ้างกฎหมายธรรมเนียมประเพณี หลักเกณฑ์ เหตุผล และโน้มน้าวให้คนในสังคมยอมรับความเชื่อ

แม้ในหน่วยการปกครองระดับล่าง ลงมา ความชอบธรรมก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ผู้อยู่ใต้ปกครองยอมรับ และต้องปรับตัวปรับปรุงอยู่เสมอ

2.การ เป็นนิติรัฐหรือการปกครองด้วยกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า rule of law เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าที่มาของกฎหมายมาจากที่ใด เช่น มาจากสวรรค์ พระเจ้า จากองค์อธิปัตย์ หรือจากรัฐสภา หรือจากการออกเสียงโดยตรง กฎหมายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอหน้ากัน

ตรงกันข้ามกับการปกครอง โดยกฎหมายก็คือ การปกครองตามอำเภอใจ หรือ arbitrary rule การปกครองตามอำเภอใจผู้ปกครอง หรือองค์อธิปัตย์ การปกครองตามอำเภอใจก็คือ การกระทำตามใจชอบ ไม่สนใจ ไม่เคารพต่อกฎหมาย หรือการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรม มีหลายมาตรฐานในการใช้กฎหมาย ใช้กฎหมายกับบุคคลไม่เสมอหน้ากัน

การเป็นนิติรัฐ หรือการปกครองโดยกฎหมายเป็นหลักสำคัญมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมาเป็นเมื่อมีการตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตย

การ ละเมิดกฎหมาย แม้ว่าจะมีกันทุกสังคมทุกประเทศ แต่ถ้าถูกเปิดเผย เปิดโปง ก็จะบั่นทอนความชอบธรรมของผู้ปกครองทันที บางครั้งถึงกับอยู่ไม่ได้ เช่น กรณีวอเตอร์เกต เรื่องกบฏคอนทรา เป็นต้น

3.ความสามารถอธิบายได้ด้วย ความ รับผิดชอบ หรือ accountability และความโปร่งใส รัฐสมัยใหม่ เรื่องทุกเรื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่สังคมภายในและสังคมระหว่างประเทศ เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ "รัฐ" โดยรัฐบาลต้องรับผิดชอบสามารถอธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้

การที่จะต้อง รับผิดชอบอธิบายได้ "รัฐ" จะต้องมีความโปร่งใส หรือ transparency คำพูดที่ว่า "รัฐบาลรู้อะไรประชาชนต้องรู้ด้วย" เป็นวาทะที่ถูกต้องและต้องทำให้ได้ไม่ใช่ "ดีแต่พูด"

การกระทำของรัฐ ที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่ต้องอธิบาย ไม่ต้องให้ความจริง ไม่โปร่งใส หรือปิดบังซ่อนเร้นการกระทำของตัว จะเป็นบ่อเกิดของระบอบการปกครองโดยอำเภอใจ หรือ arbitrary rule ได้โดยง่าย และเมื่อเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็จะเกิดข่าวลือทำลายความเชื่อมั่น ความเชื่อถือศรัทธา ทำลายความชอบธรรมลงได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้รัฐอ่อนแอลง ความสงบสุขเสื่อมสลายไปเพราะต่างใช้ "อำนาจ" เข้ามาแทนที่ "การยอมรับ" ในที่สุดความขัดแย้งทาง การเมืองก็จะเกิดขึ้นและรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นต้องใช้กำลังทหารเข้าบังคับ และในที่สุดก็จะบังคับไม่ได้

ความ โปร่งใสก็เป็นเครื่องมืออันสำคัญ เพื่อให้เกิดความเชื่อว่า "รัฐ" มีความรับผิดชอบ การกระทำทุกอย่างสามารถอธิบายได้ ถ้าความโปร่งใสถูกปิดกั้น เช่น การปิดข่าว การตรวจข่าว สื่อมวลชนไม่มีอิสระเสรีภาพ ซึ่งแสดงว่ารัฐไม่สามารถรับผิดชอบหรือไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ตนทำได้ "นิติรัฐ" ก็ไม่เกิดความชอบธรรม ไม่ว่าจะอธิบายด้วยทฤษฎีอำนาจ "รัฐ" ใด ๆ ก็ตาม ความชอบธรรมก็จะเสื่อมทรุดลง

ความจริง "reality" กับการรับรู้ "perception" 2 คำนี้มีความสำคัญมากในการปกครอง หรือการสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ปกครอง ความจริงนั้นอาจจะมี 2 อย่าง คือ ความจริงที่พิสูจน์ได้ และความจริงที่พิสูจน์ไม่ได้ หรือไม่ต้องการพิสูจน์ ในโลกสมัยใหม่ที่วิทยาศาสตร์เจริญขึ้น เทคโนโลยีเจริญขึ้น ความจริงทุกอย่างก็สามารถพิสูจน์ได้ ไม่เหมือนกับสมัยโบราณที่หลาย อย่างพิสูจน์ไม่ได้ หรือไม่ต้องการการพิสูจน์ เช่น ศรัทธาในเรื่องศาสนา ความเชื่อเรื่องปรัมปรา หรือ myth ไม่ต้องการการพิสูจน์ เพราะมนุษย์ไม่ได้เชื่อ เพราะความเป็นจริงเป็นอย่างนั้น แต่เชื่อด้วยศรัทธา

แม้ จนทุกวันนี้ความเชื่อว่าเป็นจริงจะด้วยการได้ข้อมูลที่สุด หรือเชื่อจากการโฆษณาชวนเชื่อ หรือเชื่อจากข่าวลือเพราะ "รัฐ" ไม่มีความโปร่งใส ปิดกั้น หรือปิดบังข้อมูลข่าวสาร ยิ่งผู้คนขาดข้อมูลข่าวสารมากเพียงใด ข่าวลือก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพียงนั้น

เป็นที่ทราบกันในวิชา รัฐศาสตร์ว่า ในระยะสั้นหรือปานกลาง สิ่งที่ประชาชนรับรู้และเชื่อว่าเป็นจริงย่อมมีความสำคัญกว่าความจริง ดังนั้นการปล่อยข่าวการสร้างกระแสทำลายความชอบธรรมของผู้ปกครองจึงสามารถทำ ได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการรับรู้และความเชื่อของประชาชนนั้น ในระยะยาวต้องมีความสัมพันธ์กับความจริง และข้อเท็จจริงเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยปัจจุบันที่มีวิทยาการ เทคโนโลยี ตรรกะ และความเจริญทั้งทางวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และด้วยความต้องการความเป็นจริงของกระแสโลกที่อารยะ

ผู้คนในสังคม ส่วนใหญ่มีทัศนคติไปในทางอนุรักษนิยม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนส่วนบนของสังคม ความเปลี่ยนแปลงจึงมาจากการกดดันของ คนชั้นล่าง สหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่าง อันดี ฝรั่งเศส อังกฤษ และยุโรปก็มีลักษณะอย่างเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นจึงมีอยู่เสมอ "รัฐ" โดยรัฐบาลจึงต้องปรับตัวอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งต่าง ๆ กลายเป็นความรุนแรงในสังคม

การรับรู้ที่เชื่อว่าเป็นความจริง ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ในระยะสั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงมักจะตามมาด้วยอารมณ์ร่วม เมื่อเกิดอารมณ์ร่วมถ้ายิ่งถูกสนับสนุนด้วยข้อเท็จจริงบางส่วน partial information ในสังคมที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ทางการเมือง ก็ยิ่งจะใช้อารมณ์มาก การชั่งข้อดีข้อเสียผลประโยชน์ของชาติ การบริหารจัดการกับอารมณ์ของคนในสังคมจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ บทบาทของ "ปัญญาชน" นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีสติปัญญา มีวิจารณญาณที่สังคมยอมรับจึงมีความสำคัญมาก หากเกิดกระแสการใช้อารมณ์กดดันไปในทางที่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ ชาติในระยะยาว

ทุกประเทศที่เป็นอารยะ กลุ่มคนที่เรียกว่าเป็นปัญญาชน ที่เป็นชนชั้นนำที่เป็นที่ยอมรับ จะมีบทบาทอย่างมากในการเตือนสติสังคมในระยะเวลาที่เกิดอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ให้สังคมเกิดสติ ยั้งคิดไม่ตัดสินใจไปตามกระแส เพราะอารมณ์เป็นเรื่องระยะสั้นอย่างมาก เกิดขึ้นง่าย ตอบสนองต่อการรับรู้เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปอารมณ์อันเกิดจากการรับรู้ก็จะค่อย ๆ เบาบางลงเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ หรือเมื่อสติปัญญากลับคืนให้สามารถหาเหตุผลซึ่งเป็นผลดีผลเสียในระยะยาวได้

ที่ ว่ากลุ่มคนที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นปัญญาชนนั้นมีความจำเป็นต้องมีในทุกสังคม ยิ่งสังคมที่เจริญแล้วยิ่งมีบทบาทมาก ภาระหน้าที่ของกลุ่มชนกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ เพราะในกรณีที่สังคมใช้อารมณ์จะพึ่งพานักการเมืองและสถาบันการเมืองใด ๆ ไม่ได้ เพราะมีผลประโยชน์ในการแสวงหาอำนาจ การดำรงรักษาอำนาจมาเกี่ยวข้อง

"รัฐ" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสังคมจึงมีลักษณะเป็นอนิจจังอย่างยิ่ง เมื่อเป็นอนิจจังก็ย่อมไม่มีตนที่ความต้องการการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ใครไปยึดถือยึดติดว่าเป็นตัวตนถาวรไม่เปลี่ยนแปลงปรับปรุงก็ย่อมเป็นทุกข์ ตามหลักของศาสนาพุทธของเรา

หลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเป็นจริงอยู่เสมอ

วังน้ำเขียว-ทับลาน รีสอร์ตการเมือง!

ที่มา มติชน



โดย จำลอง ดอกปิก

(ที่มา คอลัมน์ระหว่างวรรค หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2554)

ปฏิบัติ การรุกคืบทวงคืนที่ดินรัฐช่วงรอยต่อการเมือง บริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน ครอบคลุมอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา และนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วยการบุกรุกอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ และที่ดิน ส.ป.ก. ถูกตั้งข้อสงสัย การประกาศล้างบางด้วยท่าทีเอาจริงเอาจังอย่างมิเคยปรากฏมาก่อน ของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือ ส.ป.ก.ทั้งที่ข้อเท็จจริงปรากฏปัญหามานาน มีวาระการเมืองซ่อนเร้นอยู่หรือไม่

ทั้งนี้ เนื่องจากปกติแล้ว ช่วงเปลี่ยนผ่านเช่นนี้ ฝ่ายข้าราชการประจำมักเข้าเกียร์ว่าง ขอรอดูทิศทางลมก่อน และการไปแตะต้องของร้อนที่เกี่ยวพันอำนาจเงิน ระบบเส้นสาย และอิทธิพลทางการเมืองนั้นมิใช่วิสัยข้าราชการประจำ

กระนั้น ความพยายามปกป้องผืนป่า ที่ดินทำกินเกษตรกรนั้นเป็นเรื่องถูกต้อง และสมควรได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เพียงแต่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จริงจัง และไม่กระทำการลักษณะลูบหน้าปะจมูก

พื้นที่อำเภอนาดี และโดยเฉพาะวังน้ำเขียวนั้น มีลักษณะการทับซ้อนของปัญหา ทั้งที่เป็นป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ และ ส.ป.ก. มีการกระทำผิดกฎหมายทั้งการบุกรุก ซื้อขายเปลี่ยนมือ

สภาพของวังน้ำเขียววันนี้ เต็มไปด้วยบ้านพักตากอากาศ และรีสอร์ต ที่แปลกประหลาดอย่างยิ่งก็คือ แหล่งท่องเที่ยววังน้ำเขียว ชูธรรมชาติเป็นจุดขาย แต่กลับไร้ต้นไม้ ความเขียวขจี ภูเขาที่เป็นเนินลดหลั่น เล่นระดับสวยงามตามธรรมชาติ ต้นไม้ถูกโค่นล้มไม่เหลือแม้ตอ กลายสภาพเป็นเขาหัวโล้น ปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง บ้านพัก และรีสอร์ต ลักษณะโผล่เป็นแท่งคอนกรีตก็มีปรากฏ การเข้าไปจัดระเบียบใหม่จึงสมควรดำเนินการอย่างยิ่ง

เพียงแต่ต้องหาทางออกให้กับผู้ประกอบการด้วย

เพราะ วันนี้สภาพวังน้ำเขียวเปลี่ยนไปจากอดีต การประกอบอาชีพและสังคมที่นั่นก็เปลี่ยนไป เม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเข้ามาหล่อเลี้ยงพื้นที่มากขึ้น เกิดอาชีพใหม่ของชาวบ้านที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

การ จัดระเบียบใหม่จึงต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างคนกับป่า โดยไม่ละทิ้งหลักการกฎหมาย อย่างการสงวนไว้เพื่อจัดสรรให้เกษตรกรทำกิน หรือการอนุรักษ์ผืนป่า ขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อการประกอบกิจการ หรือการทำมาหากินของชาวบ้าน เนื่องจากการเพิกเฉยของฝ่ายรัฐเอง ก็เป็นตัวการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสะสมมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ข้อ เสนอการแก้ปัญหา เชิงรอมชอมจากผู้บริหารจังหวัด และผู้ประกอบการก็น่าสนใจมิใช่น้อย เช่น การจัดแบ่งโซนใหม่ กันพื้นที่ป่าให้ชัดเจน หรือการเพิกถอนกลับมาเป็นของรัฐ จากนั้นจัดให้ผู้ประกอบการรายเดิมเช่าเป็นรีสอร์ต หรือสวนเกษตรธรรมชาติ โดยมีเงื่อนไขผูกมัดต้องปลูกต้นไม้ เพื่อฟื้นฟูป่าด้วย

ทางออก ยังสามารถแก้ได้ด้วยการ ให้หน่วยงานรัฐ ที่กำกับดูแลเรื่องการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ททท. ประกาศพื้นที่วังน้ำเขียวเป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศแบบถาวร จากนั้นทำเรื่องแจ้งไปยังคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อขอใช้พื้นที่บริเวณนี้ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจาก พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 2518 กำหนดอำนาจให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ได้ สำหรับกิจการที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมอยู่แล้ว

เพียง แต่กรณีการแก้ปัญหา ด้วยการให้เช่าที่ดินนั้น ต้องกำหนดค่าเช่าให้สูงพอ ที่จะสกัดกั้นรายใหม่ มิให้มีแรงจูงใจในการลงทุน หรือคุ้มค่าต่อการเสี่ยงบุกรุกอีก

ข้อเสนอเหล่านี้เป็นแนวทางหนึ่งที่อาจช่วยคลี่คลายปัญหาได้

ส่วน เรื่องนี้เกี่ยวพันการเมืองหรือไม่ มีข้อมูลดิบชิ้นหนึ่งน่าสนใจ รีสอร์ตแห่งหนึ่งมีเจ้าของเป็นนักการเมือง จู่ๆ วันหนึ่งพรรคต้นสังกัดถูกขับพ้นจากการเป็นรัฐบาล เมื่อกลายเป็นฝ่ายค้าน จึงถูกนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลรุกไล่ ใช้อิทธิพลผ่านข้าราชการในจังหวัด นำเรื่องรีสอร์ตมาต่อรอง บีบย้ายพรรค

นักการเมืองรายนี้ยอมย้ายพรรค และแม้ชนะเลือกตั้ง แต่ต้องกลายเป็นฝ่ายค้านในที่สุด ขณะพรรคต้นสังกัดกลับมาเป็นฝ่ายรัฐบาล

เรื่องจริงเป็นดั่งนิยาย

วิบากกรรมรีสอร์ตการเมือง!

ธิดา ถาวรเศรษฐ: ทำไมประชาธิปัตย์จึงพ่ายแพ้การเลือกตั้ง

ที่มา ประชาไท


ได้ อ่านคำสัมภาษณ์ของคนประชาธิปัตย์ที่ออกมาโวยวายกล่าวโทษผู้อื่นรวมทั้ง ประชาชน สื่อมวลชน ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำดีที่สุดแล้วทำไมประชาชนยังไม่เปลี่ยนใจหันมาเลือก ประชาธิปัตย์

ความจริง คนในพรรคประชาธิปัตย์มีมากมายที่เก่ง (ในระบบการศึกษาปัจจุบัน) มีกลไกรัฐและเครือข่ายระบอบอำมาตยาธิปไตยทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมสนับสนุนเต็มกำลัง มีทั้งการสร้างการอุ้มชูด้วยกองทัพและการทำรัฐประหาร หน่วยงานความมั่นคง ซ้ำด้วยตุลาการภิวัตน์และรัฐประหารทางกฎหมาย ประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคที่ไม่มีวันถูกยุบ แต่พรรคอื่น ๆ จะถูกยุบหมด ขนาดนี้แล้วยังแพ้การเลือกตั้ง ลงท้ายโทษประชาชนกับโทษสื่อ ที่ไม่โทษก็คือตัวเองแต่ละคน และพรรคประชาธิปัตย์ของตนเอง

ลองมาฟังดูไหมล่ะ ทำไมจึงแพ้ ?

เบื้องแรกเลย

ตัว ช่วยของประชาธิปัตย์ทั้งหมดนั่นแหละทำให้แพ้ เพราะตัวช่วยของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดนั้นมี จุดยืนและผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกับประชาชน คนเหล่านี้ไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับประชาชน แต่เป็นพวกที่รักษาอำนาจในฐานะผู้ปกครองและกุมกลไกอำนาจรัฐไทยไว้มั่นคง พูดง่าย ๆ ยืนอยู่ตรงข้ามกับผลประโยชน์ประชาชน เมื่อคนเหล่านี้อยู่เบื้องหลังพรรคประชาธิปัตย์ ภาพที่ประชาชนมองเห็นพรรคประชาธิปัตย์ คือเป็นพรรคตัวแทนกลุ่มเครือข่ายระบอบอำมาตยาธิปไตยแท้ ๆ ชัด ๆ นั่นเอง ขอให้ทราบไว้ด้วยว่า แม้แต่ทัศนะภูมิภาคนิยมในภาคใต้ ที่สนับสนุนพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมอย่างประชาธิปัตย์ ก็จะเสื่อมความนิยมไปได้ เมื่อรู้ความจริงว่าตั้งแต่อดีตก่อตั้งพรรคมาจนปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์ยังมีจุดยืนเดิมที่เครือข่ายจารีตนิยม เพื่อรักษาอำนาจการปกครองไว้และกลายเป็นคู่ขัดแย้งหลักกับประชาชน

เพียง แค่นี้ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้ง เพราะคุณยืนอยู่คนละฟากกับประชาชนส่วนใหญ่ ยิ่งประชาชนรู้มากขึ้น เข้าใจการเมืองมากขึ้น เขาจะยิ่งหาทางเลือกใหม่ ๆ มากขึ้น

ประการ สำคัญต่อมา คือ การดำเนินงานพรรคการเมืองใด ๆ ก็ตาม ถ้าจะเป็นพรรคใหญ่ พรรคหลักของประเทศในฐานะพรรครัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้านก็ตาม คุณต้องมีองค์ความรู้และแนวทางของพรรค สำหรับการขับเคลื่อนประเทศที่ชัดเจน แม้จะเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมก็ชอบที่จะมีหลักทฤษฎีเศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม ตามแบบฉบับอนุรักษ์นิยม หรือจะจารีตนิยมสุดขั้วก็ตาม เพื่อให้สังคมไทยที่มีกลุ่มคนอนุรักษ์นิยมเป็นจำนวนมาก สนับสนุนแสดงออกถึงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ตามหลักการความเชื่อและแนวทางของพรรคตน

ตัวอย่างเช่น นโยบายทางเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ ควรให้สังคมรู้ว่าท่านเดินตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบไหน การเมืองการปกครอง ภาพที่สนับสนุนมาตรา 7 ไม่คัดค้านการรัฐประหาร จนถึงขั้นสนับสนุนออกหน้าออกตาก็มี หลายคนขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อจัดการกับรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แสดงออกถึงการไม่เอาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้านเศรษฐกิจยิ่งน่าเกลียดที่ไม่มีหลักการชัดเจน นอกจากการลอกเลียนสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ เคยด่าว่าเป็นนโยบายประชานิยม ความจริงนโยบายเศรษฐกิจของพรรคไทยรักไทยเดิมเป็น “Dual Tracts” ทวิวิถีซึ่งมีรายละเอียดทั้งเศรษฐกิจภายนอก ภายใน เศรษฐกิจระดับบน ระดับล่าง และอื่น ๆ รวมทั้งการทำ Hub ภูมิภาคทางเศรษฐกิจการเมือง การนำเสนอวิสัยทัศน์ทางการเมืองการปกครอง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม เป็นเรื่องสำคัญที่พรรคใหม่ทุกพรรคทุกแนวทางต้องแสดงต่อสังคมให้ชัดเจน

คือ จะเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมก็แสดงองค์ความรู้วิสัยทัศน์ นโยบายให้ชัดเจนไปเลย ไม่ใช่คิดแย่งชิงประชาชนง่าย ๆ แบบดูถูกประชาชน คือแจกเงินดื้อ ๆ เกทับด้วยจำนวนเงินที่แจก เพราะคิดเอาง่าย ๆ ว่าถ้าแจกเงินมากกว่า เสนอผลประโยชน์มากกว่าน่าจะซื้อประชาชนได้ ขอโทษค่ะ ประชาชนไทยหลังรัฐประหารเขาก้าวหน้าไปไกลแล้ว

ประเด็นองค์ความรู้และ หลักการของพรรคประชาธิปัตย์ต่อเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ปัญหางานต่างประเทศเรื่องเขาพระวิหารแต่ละครั้งท่านพูดไม่เหมือนกัน ตอนปี 43 ก็พูดอย่างหนึ่ง ตอนปี 51 ก็พูดอย่างหนึ่ง ปี 54 ก็พูดอีกอย่างหนึ่ง แม้แต่พวกจารีตนิยมด้วยกันก็โจมตีหนัก และในที่สุดก็เดินตะแคงตามจารีตนิยมสุดขั้วอย่างกล้า ๆ กลัว ๆ ดีที่จบรัฐบาล หาไม่ จะทำอย่างไร เรื่องถอนทหาร นี่จึงแสดงว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำงานการเมืองตามคำชี้นำของระบอบอำมาตยา ธิปไตย ไม่ใช่เป็นการทำตามหลักการแนวทางทฤษฎีของพรรคของตน จึงเป๋ไปเป๋มา พาประเทศชาติถูลู่ถูกัง ตามการเดินแบบไร้หลักการในทุกด้านทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม นี่จึงสร้างความไม่เชื่อมั่นให้กับประชาชน ที่แม้จะมีวิธีคิดแบบอนุรักษ์นิยม หรือเป็นอนุรักษ์นิยมโดยชนชั้น ก็ไม่อาจเชื่อมั่นไว้วางใจพรรคประชาธิปัตย์ได้ แล้วเขาก็จะหาทางเลือกใหม่อีกเช่นกัน

ประเด็นที่สาม ประสิทธิภาพในการบริหารประเทศให้ก้าวหน้าประชาชนเป็นสุข เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ทำให้แพ้การเลือกตั้งหลังรัฐประหาร รัฐบาลอำมาตย์ของคณะรัฐประหารและรัฐบาลประชาธิปัตย์ได้โอกาสบริหารประเทศ โดยจี้ปล้นอำนาจจากประชาชนไป แต่ไร้ฝีมือในการแก้ความทุกข์ยากของประชาชน ลองไปสำรวจความคิดเห็นของ SME ของพวกผลิต OTOP ของประชาชนรากหญ้า ชาวไร่ชาวนา แรงงานนอกระบบ แรงงานในระบบ ว่าเขาทุกข์ยากเพียงไร ?

ถ้า พรรคประชาธิปัตย์มีจุดยืนกับประชาชน รู้ร้อนรู้หนาวกับความทุกข์ยากของประชาชน จะได้ยินเสียงร่ำร้อง คร่ำครวญถึงความทุกข์ยากทั่วทุกสารทิศในยามนี้ แม้แต่ นปช. ซึ่งมีข้อเรียกร้องทางการเมือง ทวงความยุติธรรมเป็นจุดสำคัญ ยังต้องยอมรับให้เวลารัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ดังนั้นฝีมือในการบริหารเศรษฐกิจถือว่าล้มเหลวในแง่ของคนรากหญ้า (เพราะนึกว่าแจกเงินคนชรา, อาสาสมัครสาธารณสุข, ทำประกันราคาข้าว, เรียนฟรีปลอม ๆ คงจะซื้อประชาชนได้)

ฝึมือในการบริหาร การเมืองการปกครอง การแก้ความขัดแย้งในสังคมยิ่งล้มเหลว หายนะ ระเนระนาด โดยเอาการทหารมาแก้ความขัดแย้งทางการเมือง ในขณะที่ความขัดแย้งทางการเมืองพัฒนาสู่ระดับสูง จากข้อเรียกร้องให้ยุบสภาของ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน พรรคประชาธิปัตย์โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เข้าไปอยู่ในค่ายทหารนานนับเดือน ใช้วิธีคิดวิธีทำงานในการแก้ปัญหาการเมืองด้วย วิธีคิดวิธีทำงานแบบการทหาร และหน่วยงานความมั่นคงที่มีจุดยืนแบบการใช้อำนาจการทหาร เผด็จการ อำนาจของประชาชน นี่จึงไม่ใช่การบริหาร, แก้ไขความขัดแย้งที่ถูกต้อง เกิดการขอคืนพื้นที่, กระชับพื้นที่, ก่อนใช้อาวุธจริงและการรบเต็มรูปแบบตามที่เอกสารการทหาร เสนาธิปัตย์ได้ระบุไว้ และอ้างถึงผลสำเร็จในการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนอันเนื่องมาจากนโยบายรัฐบาล ชัดเจนในการให้ปราบปราบประชาชน ทั้งจากคำสั่งที่ออกมาชัดเจนตามกฎหมาย ทั้ง พรบ.ความมั่นคงและ พรก.ฉุกเฉิน การบริหารประเทศเศรษฐกิจการเมืองที่ล้มเหลว ทำให้ประเทศชาติเสื่อมถอย ประชาชนทุกข์ยาก ถูกปราบปรามเข่นฆ่าอย่างเลือดเย็น รวมทั้งการใช้กฎหมายไม่เสมอภาค ตั้งข้อหารุนแรง จับกุมคุมขังโดยไร้หลักฐาน ใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อลงโทษปฏิปักษ์ทางการเมืองแทนคำพิพากษา

ความ อยุติธรรมเหล่านี้เป็นแรงส่งให้ประชาชนหันมาสนับสนุนพรรคเพื่อไทยกัน เต็มกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแกนนำคนเสื้อแดงในพื้นที่ต่าง ๆกลายเป็นแกนนำของประชาชนส่วนใหญ่ให้ตื่นตัวทางการเมือง นี่จึงเป็นประเด็นสุดท้ายที่ว่าประชาชนไม่ยอมให้พรรคการเมืองเครือข่ายระบอบ อำมาตย์ปกครองต่อไป ความตื่นตัว ความเข้าใจทางการเมืองการปกครองและสาเหตุปัญหาทางเศรษฐกิจเหล่านี้มาจากการ ยกระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนทั้งประเทศ โดยการขับเคลื่อนจากการต่อสู้ของประชาชน การจัดองค์กร การสร้างแกนนำ ผู้ปฏิบัติงานทั่วประเทศ เหตุผลทั้งสี่ประเด็นนี้แหละที่ผู้เขียนเชื่อว่าคือเหตุผลหลักที่ทำให้ประชา ธิปัตย์พ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ยังไม่นับวิธีการที่พูดใส่ร้ายป้ายสีคน ที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เชื่อ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงสภาพเช่นนี้อยู่ ก็คงแพ้อีกในการเลือกตั้งครั้งหน้า กลุ่มอนุรักษ์นิยมอาจต้องหาทางตั้งพรรคใหม่ ไหวไหมล่ะ ?

อริสมันต์โชว์รูปถ่ายล่าสุดเผื่อให้ธาริตไว้ดูต่างหน้า ตัวเป็นๆค่อยมาปลายปีอธิบดีDSIคงเป็นคนใหม่แล้ว

ที่มา Thai E-News

อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เปิดเผยภาพถ่ายล่าสุดของเขา ลงในเฟซบุ๊ค Arisman ปลดแอกประเทศไทย

โดยภาพถ่ายระบุวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 ไม่ปรากฎสถานที่แน่ชัด โดยเขียนบรรยายว่า
ขอ ขอบคุณ! ทุกๆคอมเมนท์ และกำลังใจ จากเพื่อนๆ และ พี่น้อง รากหญ้าทุกคน ที่ให้ผมมาตลอด นะครับ เป็นกำลังใจให้ทุกคนเช่นเดียวกัน เราจะไม่ทิ้งกันครับ รักและคิดถึงทุกคน จากใจจริง อริสมันต์

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
30 กรกฎาคม 2554

นาง ระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง ภรรยาของ “กี้ร์-อริสมันต์” แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ว่า การเข้ามอบตัวของนายอริสมันต์ นั้นคาดว่าจะเดินทางเข้ามอบตัวปลายปี 2554 โดยต้องรอให้รัฐบาลใหม่พรรคเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลและทำงานแก้ปัญหาปากท้อง ประชาชนไปก่อนค่อยว่ากัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นายอริสมันต์ยังคงอาศัยอยู่กับญาติสนิทในที่ปลอดภัยแห่งหนึ่ง และยืนยันว่านายอริสมันต์ไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้ายตามที่ถูกกล่าวหา

ก่อน หน้านี้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยเกี่ยวกับกรณีที่มีข่าวว่า นายอริสมันต์ ผู้ต้องหาในคดีก่อการร้าย จะเดินทางติดต่อขอเข้ามอบตัวกับทางดีเอสไอ ว่า ยืนยันในเรื่องดังกล่าว ยังไม่มีการติดต่อเข้ามอบตัวจาก นายอริสมันต์

อย่างไรก็ตาม ในส่วนขของผู้ต้องหาที่เป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) รายอื่นๆ ทางดีเอสไอ กำหนดวันนัดเข้ารับทราบข้อกล่าวหา คดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ (คดีล้มเจ้า) ในวันที่ 17 ส.ค. ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีผู้ทำเรื่องขอเลื่อนนัด

ล่าสุดเฟซบุ๊คของนายอริ สมันต์ได้วิจารณ์กกต.กรณีแขวนจตุพรว่า กกต.รับงานมาจากพวกอำมาตย์ให้ปล​่อย ส.ส. พรรคประชาธิปัติย์ทุกคน แม้กระทั้งนายสุเทพ ที่ได้กล่าวปราศรัยใส่ร้ายพรรคเพื่อไทย"ว่าเผาบ้านเผาเมือง" ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งผิดกฏหมายเลือกตั้งมาตรา ๕๓ อย่างชัดเจน เป็นการกระทำให้ประชาชนเข้าใจผิดในคะแนน เป็นการทำลายชื่อเสียงของพรรคเพ​ื่อไทย ด้วยความจงใจ คนอย่างนี้ทำทุกอย่างได้ เพื่อเอาชนะโดยไม่สนผิดชอบชั่วด​ี แต่ กกต. ดันรับรองให้เป็น ส.ส. เพราะเชื้อชั่วพวกเดียวกัน

นี่คืออำนาจนอก ระบบที่สามารถสังได้ จะให้ใครเป็น ส.ส. ไม่เป็น ส.ส. ก็ได้ เพราะต้องการที่จะบอกกับแนวร่วมฮาร์ดคอร์ ไม่มีความเป็นธรรมให้นักสู้ ไม่มีความปราณีต่อนักต่อสู้ผู้เรียกร้องความเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง หมดเวลาอำมาตย์เผด็จการแล้ว องค์กรอิสระที่เป็นเชื้อชั่วของอำมาตย์ต้องออกไป พี่น้องแดงยอมให้มันขังจตุพรมานานแล้ว อำนาจชั่วควรต้องหมดเสียที พลังแดงต้องออกแรงอีกครั้งหนึ่งหรือไม่?

*******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-อริสมันต์เปิดเส้นทางหนียิ่งกว่าในหนัง เปิดใจถึงแม่ยกรัฐบาลหากหมายหัวจะเอาชีวิตก็ให้บอกมาเลย

-คลิปรายการอาจารย์ยิ้ม+หวาน องค์กรอิสระ(แน่นะ?)





-จดหมายจากโพ้นทวีปสู่เรือนจำ:พวกอสัตย์อธรรมขี้ขลาดได้ทำให้จตุพรกลายเป็นวีรบุรุษจากลหุโทษ

ถามชำนาญ จันทร์เรือง:เรื่องออกพรก.ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ไปใช้ปี ๔๐ ไม่ได้

ที่มา Thai E-News



คำถาม:เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แล้วเหตุใดคณะรัฐประหารจึงประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญได้

โดย ผศ.เอกพิชัย สอนศรี


เรียน คุณชำนาญ จันทร์เรือง


ผมได้อ่านข้อเขียนของท่านเรื่อง “ออก พรก.ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ไปใช้ปี ๔๐ ทำไม่ได้” ทำให้ผมเข้าใจเกี่ยวกับศักดิ์ของกฎหมายมากขึ้น

ซึ่ง แม้กระผมเองแม้ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายอย่างทนายความ อาจารย์ทางนิติศาสตร์ และอื่นๆ ทำให้ผมรู้สึกแปลกใจ และสงสัยไม่น้อย ผมจึงขอเรียนถามเป็น ดังนี้

มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับมิได้

คำถาม :เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แล้วเหตุใดคณะรัฐประหารจึงประกาศยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ และ/หรือมีใช้อำนาจตามความในมาตราใด (ทำไมคณะรัฐประหารทำอะไรก็ได้)?

หาก ท่านอ่านแล้วพิจารณาตามเนื้อหานี้ แล้วท่านยังจะเชื่อถืออำนาจ ตามประกาศของคณะรัฐประหาร และยอมรับรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ เพราะหากยอมรับเท่ากับเราจะยอมให้มีการกระทำรัฐประหารในประเทศนี้อีก เหตุที่ต้องให้รัฐประธรรมนูญสิ้นสุดลงเพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุด การใดๆที่ได้มาโดยไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ ถือว่าเป็นกบฏ เมื่อกระทำความผิดสูงสุดและไม่ต้องรับโทษก็คือ สั่งให้กฎหมายสูงสุดนั่นแหละสิ้นสุดลง

หลังประกาศคปค. ฉบับที่ ๑ อำนาจอธิปไตยของปวงชน อยู่ภายใต้ คปค. และประกาศคปค. ฉบับที่ ๓ อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี ถูกแทนที่ด้วยคปค. เรียบร้อยแล้ว กฎหมายสูงสุดที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ไม่สูงอีกต่อไป มาตรา ๖ มีไว้อ่านเล่นให้เพลินใจเท่านั้น

แม้แต่ประกาศ คปค. ก็ถูกละเมิดกฎหมายสูงสุดของตัวเอง ในระหว่างที่รัฐธรรมนูญปี ๔๐ สิ้นสุดลง เช่น ประกาศ คปค. (ที่อ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว) แต่งตั้งนายสวัสดิ์ โชติพานิช (ขออภัยที่เอ่ยนามพาดพิง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน คตส. ภายหลังได้ลาออกไป

ถามว่า:“นั่นเป็นการทำผิดกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ หรือไม่” และ “เมื่อแต่งตั้งแล้วบุคคลนั้นไม่ยอมรับ ตำแหน่งหัวหน้า คปค. หรือผู้ถูกแต่งตั้งควรเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญนั้น”?

การปฏิเสธ กฎ ข้อบังคับของคณะรัฐประหาร ที่กระทำตนเองเป็นผู้เหนือกฎหมายสูงสุดได้ ตอนนั้นประชาชนจะรอใครออก พ.ร.ฎ., พ.ร.ก., พ.ร.บ. เมื่อรัฐสภาถูกยุบ คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ในเมื่อประชาชนมือเปล่าคนหนึ่ง เขาออกมายืนยันสิทธิของอำนาจของเขา “ผมไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจการประกาศของคุณ” (จะฉบับใดก็ตาม)

ทีนี้ ผมขอยกตัวอย่าง “องค์กรที่เป็นการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร” และที่มีการถกเถียงกันอยู่พักหนึ่ง แล้วเรื่องก็เงียบหายไป พร้อมๆกับการสิ้นสุดของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์

ผม ได้เขียนบทความนี้เมื่อปี ๒๕๕๑ ที่จำเป็นต้องยกตัวอย่าง องค์กรนี้ เพราะนี่คือ องค์กรอิสระ ที่มีกฎระเบียบว่าด้วย “การห้ามรับของกำนัลเกิน ๓,๐๐๐ บาท” ของบรรดาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลาย แต่องค์กรนี้กลับนำเข็มกลัดช่อสะอาดไปแสดงความยินดีกับผู้ได้รับการเลือก ตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แม้ว่าเข็มกลัดช่อสะอาดจะมีราคาเพียง ไม่กี่บาทก็จริงอยู่ แต่ใช้งบประมาณว่าด้วยการใช้จ่ายเรื่องอะไร แล้วองค์กรอื่นๆ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตุลาการศาลรัฐ และอื่นๆ ควรจะมอบอะไรเพื่อแสดงความยินดีกับ สส. สว.เหล่านั้น

การแต่งตั้งป.ป.ช. เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์: เมื่อคปค.กระทำผิดกฎหมายตนเอง

ตาม ที่คณะกรรมการป.ป.ช. ได้จัดทำสมุดปกขาวโชว์หนังสือ “ราชเลขาธิการ” ชี้แจงที่มาของคณะกรรมการ ถูกต้องตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๙ และฉบับที่ ๓๑ ข้อ ๘ บรรดาบทบัญญัติใดของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบ ปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน

ข้อเท็จจริงมีว่า

ประ กาศคปค. ฉบับที่ ๑๙ ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วย

คำว่า “ให้คณะกรรมการ...ประกอบด้วย” (ประกาศฉบับที่ ๑๙) ในที่นี้ถือว่ามีความสมบูรณ์โดยการแต่งตั้งแล้วหรือไม่? เนื่องจากประกาศคปค. ฉบับที่ ๓๑ ข้อ ๑ และให้ถือว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับแต่ง ตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙ ลงวันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

๑. การแต่งตั้งคณะกรรมการป.ป.ช.เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

๒. ประกาศคปค.ฉบับที่ ๑๙ เรื่อง ให้กรรมการประกอบด้วย

๓. มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “ คณะกรรมการ ป.ป.ช.” ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคนซึ่งพระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

๓. มาตรา ๗ (๒) วรรค ๓ ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ

๔. มาตรา ๑๒ กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่ง ได้เพียงวาระเดียว

กรรมการซึ่งพ้นจากตำแน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่

ประกาศ ของคปค. ฉบับที่ ๓๑ (โดยยังไม่พิจารณาตามข้อ ๘) อย่างน้อย ๔ ข้อข้างต้น นั้นขัด หรือแย้ง ประกาศฉบับ ๓๑ นี้ ให้ใช้ฉบับ ๓๑ นี้แทน

การแต่งตั้งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามคำแนะนำของ “รัฐสภา”

ด้วย รัฐสภา เป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญได้มีบทบัญญัติไว้ ทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้า ให้พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของรัฐสภา เช่น

มาตรา ๒๐๔ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้

มาตรา ๒๒๙ คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วย ประธานคณะกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา......

ให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๒๔๒ ผู้ตรวจการแผ่นดินจำนวนสามคน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามคำแนะนำของรัฐสภา ..................

มาตรา ๒๕๒ การตรวจเงินแผ่นดิน........

คณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน ............

ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการ........

มาตรา ๒๕๕ พนักงานอัยการ........................

การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งอัยการสูงสุด

มาตรา ๒๕๖ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน...........

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ใน เมื่อประกาศคปค. ฉบับที่ ๓ ข้อ ๒.วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญไปแล้วนั้น ใคร คือ รัฐสภา

คำตอบ คือ หัวหน้าคปค. ตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖

ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๖

เพื่อ ประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่องในระหว่างที่ยัง ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้การ ดำเนินการเรื่องใดต้องได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ในเรื่องนั้น

ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


ดัง นั้น ประกาศคปค. ฉบับนี้ (และฉบับอื่น) ที่ถือเป็นกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลฎีกา หัวหน้าคปค. คือผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ ตามที่คปค.ร่างขึ้น ลงนามและประกาศใช้ ตามอำนาจนั้นประธานวุฒิสภาจึงเป็นผู้ที่ต้องลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จะตีความเป็นอย่างอื่นมิได้

การที่เลขาธิการคณะกรรมการป.ป.ช. ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็ดี หรือ ความเห็นจากสำนักราชเลขาธิการว่า คณะกรรมการป.ป.ช. ที่ได้รับการแต่งตั้งตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๙ และประกาศคปค. ฉบับที่ ๓๑ (ที่อ้างว่า) เป็นไปโดยชอบแห่งประกาศของ “รัฏฐาธิปัตย์” ขณะนั้น และข้อ ๘ ยังรับรองประกาศฉบับนี้อีกชั้นหนึ่ง นั่นก็มิใช่อำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และ/หรือ มิได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

ประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖ เมื่อหัวหน้าคปค. มิได้ปฏิบัติหน้าที่รัฐสภา ในการถวายคำแนะนำ ตามมาตรา ๖ และ/หรือ มิได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ตามมาตรา ๗ (๒) วรรค ๓ โดยอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมาย (ตามประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖ ที่ร่างขึ้น ลงนาม และประกาศใช้เอง) แล้ว จักถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่

หากว่ารัฏฐาธิปัตย์สามารถละเว้น การปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วมีประกาศการว่าการใดที่ขัด หรือแย้งนั้นใช้มิได้ แล้วเหตุใดรัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ในหลายมาตราจึงมีบทบัญญัติ “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา” และ “ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง”

หรือกฎหมาย มิให้ใช้บังคับกับหัวหน้าคปค. และคปค. เท่านั้น โดยแท้ที่จริงการสรรหาโดยวุฒิสภา เป็นอำนาจประกาศคปค. ฉบับที่ ๑๖ แต่การแต่งตั้งเป็นพระราชอำนาจ ของพระมหากษัตริย์ตามมาตรา ๖ ที่หัวหน้าคปค. มิได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล และตามมาตรา ๗ (๒) วรรค ๓หัวหน้าคปค. มิได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

ผู้ออกกฎหมาย กลายเป็นผู้ฝ่าฝืนเสียเอง มิได้ปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแล้วจะอ้างอำนาจว่า นี่คือประกาศของรัฏฐาธิปัตย์ ได้อย่างไร ในเมื่อพร่ำสอนแก่ประชาชนว่า

“ประชาชนจะทำผิดกฎหมาย โดยอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้”

1ตำบล1ครูฝรั่ง/อาชีวะต้องก้าวสู่หลักสูตรอินเตอร์

ที่มา Thai E-News



โดย ส.ส.สุนัย จุลพงศธร

ก่อน และหลังการเลือกตั้งนโยบายหาเสียงของทุกพรรคการเมือง ถูกกลบด้วยนโยบายลดแลกแจกแถม ที่เรียกว่า นโยบายประชานิยม จนทำให้นโยบายการศึกษาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของทุกพรรคการเมืองถูกบดบังไปหมด

เมื่อ วันที่ 22 เดือนนี้ นายแอนดริว มอริส ตัวแทนองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือที่รู้จักในนามยูนิเซฟ และคณะได้เข้าเยี่ยมคารวะ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรีที่พรรคเพื่อไทย โดยแสดงความเป็นห่วงในเรื่องการศึกษาของเด็กไทย

ผมจึงขอถือโอกาสนี้ บอกเล่ามายังประชาชนในนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในนามสมาชิกพรรคเพื่อไทย เพื่อให้พี่น้องประชาชนทราบถึงความห่วงใยและแนวคิดของพรรคบางด้านเกี่ยวกับ การศึกษา

แต่ต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า ที่กระผมนำเสนอนี้มิใช่เพื่อเสนอตัวแข่งขันที่จะเป็นรัฐมนตรีศึกษากับเขา ในเทศกาลจัดตั้งคณะรัฐมนตรีในขณะนี้ ซึ่งถือเป็นปกติหลังเลือกตั้งที่ประชาชนค่อนข้างจะรู้สึกเบื่อหน่ายต่อข่าว แย่งกันเป็นรัฐมนตรี

แต่กระผมขอเสนอในฐานะที่เคยนั่งบริหารอยู่ใน กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรี และเลขานุการรัฐมนตรี รวมทั้งนั่งอยู่ในกรรมาธิการการศึกษาของสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย ดังนี้

หาก จะดูแผนการปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาปี 2542 จนมาถึงวันนี้ถือว่ามีจุดอ่อนอย่างยิ่งในประเด็นสำคัญ และแม้รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ได้ผ่านแผนการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ ในโอกาสครบ 1 ทศวรรษนับแต่ปี 2542

จุดอ่อนประเด็นสำคัญนี้ก็ยังไม่มีการพูดถึง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปประเทศเพื่อให้ก้าวทันโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ และจะนำมาซึ่งความขัดแย้งทางสังคมในลักษณะชนชั้นที่เป็นช่องว่างระหว่างคน รวยกับคนจนที่ขยายตัวกว้างขวางมากขึ้น

ปัญหาสำคัญที่จะขอกล่าวในที่ นี้มี2 ประเด็นที่รัฐบาล คุณยิ่งลักษณ์ จะต้องให้ความสนใจ โดยไม่ว่ากระทรวงศึกษาจะเป็นโควต้าของพรรคชาติไทยพัฒนาก็ตามคือ

1.ปัญหาระบบการบริหารการศึกษาที่ไม่ยอมกระจายอำนาจถ่ายโอนไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.ปัญหาความล้มเหลวของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ที่เราใช้จ่ายงบประมาณไปอย่างมากในแต่ละปีแต่ไม่บังเกิดผล ด้วยกรอบวิธีคิดของความเชื่อโบราณว่า
“ภาษา อังกฤษไม่ใช่ภาษาพ่อแม่ของเรา และที่เราพูดและใช้ภาษาอังกฤษไม่ได้เป็นความภาคภูมิใจของเราเพราะประเทศไทย ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง”

วาทะกรรมข้างต้นนี้ได้ กลายเป็นอุปสรรคทางวัฒนธรรมการเรียนรู้ของครูส่วนข้าง มากและนักเรียนส่วนข้างมาก และเกิดผลกระทบต่อการเรียนวิชาชีพในระดับ ปวช. และ ปวส. อย่างน่าเสียดายโอกาสยิ่ง

ทั้งๆที่ความเป็นจริงแล้วใน วันนี้ยุคนี้ภาษาอังกฤษมิใช่ภาษาต่างประเทศ หากแต่เป็นภาษากลางภาษาหนึ่งของมนุษยชาติที่ใครๆก็ต้องเรียนรู้และใครๆก็ ต้องใช้

ปัญหาประเด็นที่ 1 เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอำนาจและผลประโยชน์ ที่ กระทรวงศึกษาขัดขวางการถ่ายโอนอำนาจตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่เมื่อรัฐธรรมนูญถูกฉีกและรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีกำหนดไว้ก็ยิ่งกลายเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ของจังหวัดต่างๆ

โดยเฉพาะจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมเยือนมาก ซึ่งหากมีการถ่ายโอนก็จะช่วยให้เกิดการปรับตัวได้ง่ายขึ้น

ปัญหาประเด็นที่ 2 เป็นปัญหาทางวัฒนธรรมที่ยาวนาน เชื่อหรือไม่ว่านโยบายเรียนฟรีของรัฐบาล ในโรงเรียนของรัฐยังไม่สอนภาษาอังกฤษให้เด็กในระดับ ป.1 – ป.4 และเมื่อขึ้นประถม 5 จึงจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษที่เป็นไวยากรณ์อังกฤษเป็นหลักและเรียนไม่กี่ ชั่วโมงต่อสัปดาห์

เป็นผลให้เด็กไทยส่วนใหญ่ถูกปิดกั้นทางโอกาสที่จะ เรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เป็น จริง ปัญหาเหล่านี้พ่อแม่ผู้มีฐานะรู้ดี และแก้ด้วยวิธีส่งลูกเข้าโรงเรียนหลักสูตรอินเตอร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ เกือบทุกวิชา ด้วยค่าเล่าเรียนที่แพงสูงลิ่ว

กระแสความต้องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของประชาชน กลายเป็นกระแสที่เป็นจริงแต่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ไม่สนใจ

วันนี้ ครูโรงเรียนรัฐบาลก็รับรู้ปัญหานี้หลายโรงเรียนของรัฐได้เปิดหลักสูตร พิเศษเช่นเดียวกับโรงเรียนอินเตอร์ และก็เก็บค่าเล่าเรียนเป็นพิเศษที่ลูกคนจนเรียนไม่ได้

แน่นอนที่สุด อีก 10 ปี ต่อไปในอนาคต เด็กที่รู้ 2 ภาษา ทั้งเขียนได้,พูดได้,ใช้ได้ ย่อมได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าเด็กที่รู้ภาษาไทยภาษาเดียว

ดังนั้นลูกคน รวยจึงยิ่งรวยขึ้นในขณะเดียวกันลูกคนจนยิ่งจนลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในอนาคตอีก 10 ปี ช่องว่างทางสังคมจะยิ่งกว้างขึ้น ความยากจนจะกลายเป็นวิกฤติความขับข้องใจ หรือ “วิกฤติแห่งการก้าวไม่ทันทางวัฒนธรรม” ที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างรุนแรงและยากที่จะแก้ไข ซึ่งส่วนหนึ่งมีปรากฏการณ์อยู่ใน 3 จังหวัดภาคใต้ของไทยในขณะนี้

ที่ น่าสังเกตที่สุดก็คือ การตื่นตัวเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นไปเองโดยรัฐไม่ได้ให้ความสนใจเกิด ขึ้นเฉพาะในส่วนของโรงเรียนสายสามัญ แต่ไม่เกิดขึ้นในโรงเรียนอาชีวะหรือวิทยาลัยอาชีวะ เลย ดังจะเห็นได้จากหาโรงเรียนอาชีวะอินเตอร์ยากมากทั้งภาคเอกชนโดยเฉพาะภาครัฐ

เด็ก อาชีวะส่วนใหญ่เป็นลูกคนยากคนจนที่มาเรียน ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยคนจนเป็นฝ่ายข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับสายสามัญ ดังนั้นความเป็นจริงที่คนรวยส่วนน้อยจะยิ่งรวยขึ้น และคนจนส่วนใหญ่จะยิ่งจนลง โดยสืบต่อความยากจนถึงชั้นลูกชั้นหลาน จากความล้มเหลวของระบบการศึกษานี้

จากบทความนี้ยังคงไม่สามารถจะนำ เสนอการแก้ไขทั้งระบบได้ คงต้องหารือจากนักการศึกษาหลายฝ่าย แต่เฉพาะเรื่องการแก้ไขปัญหาจุดอ่อนเรื่องการศึกษาในประเด็นนี้ ผมขอนำเสนอนโยบายเร่งด่วนก้าวกระโดด 2 โครงการใหญ่คือ

1.โครงการ 1 ตำบล 1 ครูฝรั่ง ซึ่งจะใช้ครูฝรั่งอาสาสมัครจากประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ประมาณ 7,000 คน เท่านั้น ด้วยต้นทุนต่ำสุดด้วยการประสานงานกับหน่วยงานทางสากลที่ผมได้เคยทาบทามไว้ แล้วในครั้งเมื่อทำงานด้านนโยบายในกระทรวงศึกษา

2.ปรับหลักสูตรการเรียนรู้ของอาชีวะศึกษาทั้งหมดทันทีเป็น 2 ภาษา คือ ไทย – อังกฤษ เพื่อเร่งรัดยกระดับประสิทธิภาพของแรงงานไทยเพื่อก้าวสู่แรงงานทางสากลที่จะ ได้รับผลตอบแทนสูง ทั้งแรงงานในประเทศและที่จะส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยตรง

ทั้งหมดนี้เป็น สิ่งที่ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย เพียงแต่ใช้การบริหารเชิงนโยบายเท่านั้น และจะต้องเร่งให้เรื่องการศึกษางอกขึ้น

ให้พ้นจากการปกคลุมด้วยนโยบายประชานิยม ปาก – ท้อง โดยเร่งด่วน

อดีตสสร.ฟันธงกกต.เข้ามุมอับต้องรับรองจตุพรเท่านั้น แจกใบแดงเลื่อนตัวสำรองเสียบแทนผิดกม.

ที่มา Thai E-News



สรุป กกต.พลาดเอง ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นที่จะต้องประกาศรับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร ไปก่อน รอให้มีประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วจึงยื่นให้ประธานสภาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจตุพร จะต้องพ้นจาก ส.ส. เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือไม่ หากทำนอกจากนี้ผิดหมด

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา Asia Update TV


นาย คณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และนักกฎหมาย กล่าวในรายการประชาธิปไตยที่ปลายอุโมงค์ ทางโทรทัศน์เอเชียอัพเดต เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม กรณีที่กกต.มีมติด้วยเสียงข้างมากเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ยังไม่รับรองนายจตุพร พรหมพันธุ์ ให้เป็นส.ส.ในระบบบัญชีรายว่า เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก

ประการที่ 1 รัฐ ธรรมนูญมาตรา 98 กำหนดชัดเจนว่า กกต.ต้องประกาศรับรองส.ส.ตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองเรียงตามลำดับ หมายเลขของพรรคการเมืองนั้น

แล้วทำไมไม่รับรองในเมื่อนายจตุพรมีชื่อในลำดับที่ 8

ประการที่ 2 เมื่อกกต.คำนวณว่าพรรคเพื่อไทยได้ส.ส. 61 คน

ทำไมรับรองแค่ 60 คน ไม่รับรองนายจตุพร

ประการที่ 3 มาตรา 45 กฎหมายประกอบรธน.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.กำหนดไว้ชัดเจนว่า หากกกต.สงสัยว่าผู้ใดขาดคุณสมบัติ ต้องพิจารณาโดยเร็วและยื่นต่อศาลฎีกาให้เพิกถอนก่อนวันเลือกตั้ง

แล้วเหตุไฉนจะมายื่นเอาทีหลังเลือกตั้งเป็นเดือน กกต.จะใช้อำนาจแทนศาลฎีกาได้หรือ

ประการที่ 4 หากกกต.ให้ใบแดงจตุพร กกต.จะจัดเลือกตั้งใหม่ได้อย่างไร

ในเมื่อจัดการเลือกตั้งซ่อมในกรณีบัญชีรายชื่อไม่ได้ ตามที่กฎหมายกำหนด

ประการที่ 5 ในเมื่อกกต.ให้ใบแดงไม่ได้ หรือยื่นศาลฎีกาเพิกถอนไม่ได้ ก็เหลือช่องทางเดียวคือยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยสถานภาพของนายจตุพร หลังประกาศรับรองให้เป็นส.ส.แล้วเท่านั้น ช่องทางระหว่างที่พ้นจากอำนาจศาลฎีกาเพิกถอนก่อนวันเลือกตั้งกับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหลังประกาศผลย่อมไม่มีแน่นอน

ประการสุดท้าย หาก กกต.ไม่รับรอง โดยการให้ใบแดงไม่รับรองนายจตุพรแล้วเลื่อนผู้มีบัญชีรายชื่ออันดับที่ 62 ขึ้นมาแทน ย่อมไม่มีทางเป็นไปไม่ได้แน่นอน

เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 99 วงเล็บสอง รธน.กำหนดไว้ชัดเจนว่า หากจะเลื่อนขึ้นมาก็ต้องเป็นกรณีมีส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อว่างลง จึงเลื่อนขึ้นมาแทนได้

แต่กรณีนี้นายจตุพรยังไม่ได้เป็นส.ส. แล้วตำแหน่งจะว่างลงได้อย่างไร

และ หากไปบอกว่านายจตุพรถูกเพิกถอนเพราะขาดคุณสมบัติ ก็ต้องถามว่านายจตุพรถูกเพิกถอนไปเมื่อไหร่ เพราะศาลฎีกาไม่เคยเพิกถอนก่อนวันเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพรรคเพื่อไทยได้ส.ส.61ราย นายจตุพรอยู่ในลำดับที่8จะไม่รับรองได้อย่างไร

ดังนั้นการที่กกต.คิดจะไม่ยอมรับรองนายจตุพรเป็นส.ส.แล้วจะเลื่อนอันดับที่62ขึ้นมาแทนจึงผิดกฎหมาย

ผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่พนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งกกต.ได้

**********
รายละเอียดเพิ่มเติมจากเวบไซต์ www.kaninboonsuwan.com

โต้แย้ง กกต. กรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์


กรณีที่ กกต. มีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับรองการเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม นั้น ผมมีข้อโต้แย้ง ทั้งในทางวิชาการ และโดยหลักกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง ใน เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๘ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า กกต. จะต้องประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการ เมือง ตามเกณฑ์คะแนนที่คำนวณได้เรียงตามลำดับหมายเลข ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง นั้น

แล้วเหตุไฉน กกต. จึงไม่รับรองการเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งมีชื่ออยู่ในลำดับ ๘ ของบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ?

ประการที่สอง ในเมื่อ กกต. ได้คำนวณเกณฑ์คะแนนที่พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อว่าได้ ๖๑ คน

แล้วเหตุไฉน กกต. จึงรับรองการเป็น ส.ส. ของระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย เพียงแค่ ๖๐ คน ?

ประการที่สาม ในเมื่อมาตรา ๔๕ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้า กกต. สงสัยว่าผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยเร็ว และยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือก ตั้งของผู้นั้นก่อนวันเลือกตั้ง

แล้วเหตุไฉน กกต. จึงเพิ่งจะมาถอนการสมัครรับเลือกตั้งของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ฐานขาดคุณสมบัติ เนื่องจากขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เอาเมื่อผ่านวันเลือกตั้งมาแล้วตั้งเกือบเดือน ถามว่า กกต. ใช้อำนาจแทนศาลฎีกาได้หรือ ?

ประการที่สี่ ใน กรณีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ถ้า กกต. จะให้ใบแดงผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้ง กกต. ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งนั้น แต่ในกรณีการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ถ้า กกต. ให้ใบแดง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งอยู่ในอันดับ ๘ ในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย

แล้ว กกต. จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้อย่างไร เมื่อจัดการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อใหม่ไม่ได้ แล้ว กกต. ไปให้ใบแดง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้อย่างไร ?

ประการที่ห้า การ ที่ กกต. บอกว่า ไม่รับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นั้น ถามว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ มีสถานภาพทางกฎหมายอย่างไร เป็นผู้ถูกให้ใบแดงก็ไม่ใช่ เพราะล่วงเลยวันเลือกตั้ง ซึ่งพ้นจากอำนาจของ กกต. และศาลฎีกามาแล้ว ช่อง ทางทางกฎหมายที่จะเล่นงาน นายจตุพร พรหมพันธุ์ จึงเหลืออยู่ทางเดียว คือ ต้องยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ หลังประกาศให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็น ส.ส. ไปแล้ว เท่านั้น

ช่องทางระหว่างที่พ้นจากอำนาจของศาลฎีกาก่อนวันเลือกตั้ง กับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหลังการประกาศผล ย่อมไม่มีอย่างแน่นอน

ประการที่หก กรณี ที่ กกต. อ้างว่า จะไม่รับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แล้วจะเลื่อนบุคคลในบัญชีรายชื่อลำดับที่ ๖๒ ของพรรคเพื่อไทยขึ้นมาแทน นั้น ถ้าดูตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่มีทางที่จะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๙ (๒) บัญญัติไว้ชัดเจนว่า กรณีที่จะเลื่อนผู้มีรายชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคเดียวกันขึ้น มาเป็น ส.ส. แทนได้ จะต้องเป็นกรณีที่มี ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อพ้นจากตำแหน่งซึ่งทำให้ตำแหน่ง ส.ส. ว่างลงหนึ่งตำแหน่ง จึงเลื่อนขึ้นไปได้

แค่กรณีนี้ ถามว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ มีตำแหน่งเป็น ส.ส. หรือยัง ถ้า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังไม่ได้เป็น ส.ส. ตำแหน่ง ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะว่างลงได้อย่างไร

ในทางกลับกัน ถ้าบอกว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้สมัคร ก็ถามว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ถูกถอนการเป็นผู้สมัครไปตั้งแต่เมื่อไร ดังนั้น ในเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่เคยถูกศาลฎีกาสั่งถอนการสมัครก่อนวันเลือกตั้ง และผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ๖๑ คน กกต. จะไม่ให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งอยู่ในลำดับที่ ๘ เป็น ส.ส. ได้อย่างไร

เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า การที่ กกต. ไม่ยอมให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็น ส.ส. แล้วสั่งเลื่อนบุคคลในลำดับที่ ๖๒ ขึ้นมารับรองเป็น ส.ส. แทน จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด “หรือไม่ก็เข้าข่ายส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย” ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๗๐ ซึ่งอาจถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งได้

ประการที่เจ็ด กรณี ที่ กกต. อ้างว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม เนื่องจากถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล จึงขาดสมาชิกภาพของพรรคเพื่อไทย และดังนั้น จึงต้องพ้นจาก ส.ส. นั้น

คำถามง่ายๆ คือ ในเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังไม่ได้เป็น ส.ส. แล้ว จะพ้นจาก ส.ส. ได้อย่างไร

และ ที่ กกต. อ้างว่า เนื่องจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ ๓ กรกฎาคม จึงทำให้ขาดคุณสมบัติเพราะขาดจากสมาชิกภาพของพรรคเพื่อไทยตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา ๒๐ (๓) นั้น

ก็ ถามง่ายๆ เช่นเดียวกันว่า พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง จะมาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญได้อย่างไร ในเมื่อ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ในฐานะที่เป็นผู้ที่ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล ไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๐๒ (๓)

ดังนั้น ในเมื่อตามรัฐธรรมนูญ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่มีลักษณะต้องห้ามและได้เป็นผู้สมัครมาตลอดจนถึงวันเลือกตั้งและจนถึงทุกวันนี้
จะไปเอาข้อความในกฎหมายลูก ซึ่งยังไม่ชัดเจนด้วยซ้ำ มาลบล้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้อย่างไร ?

และประการสุดท้าย กรณี ที่คุณสดศรี สัตยธรรม กกต. อ้างว่า เรื่อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นเรื่องการขัดกันระหว่าง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ กับรัฐธรรมนูญ จึงต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเสียก่อน นั้น

คุณสดศรี พูดเองนะครับว่า เป็นเรื่องขัดกันระหว่างกฎหมายลูกกับรัฐธรรมนูญ แล้ว กฎหมายลูกจะไปขัดกับกฎหมายแม่ได้อย่างไร

และการที่คุณสดศรี อ้างว่าจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นั้น คุณสดศรี และ กกต. ทุกคน ย่อมทราบดีว่า อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการชี้ขาดว่า ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นต้องพ้นจาก ส.ส. นั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๑
คือ กกต. ส่งเรื่องไปที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญอีกทอดหนึ่ง ในเมื่อตอนนี้ยังไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายจตุพร ก็ยังไม่ได้รับการรับรองให้เป็น ส.ส. แล้ว กกต. จะส่งเรื่องให้ใคร ?

สรุป กกต. พลาดเอง (หรือ อาจจะไม่ได้พลาดก็ได้ เพราะรู้อยู่แล้ว) ที่ไม่ส่งเรื่องการขาดคุณสมบัติของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเสียก่อนวันเลือกตั้งตามมาตรา ๔๕ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ดังนั้น จะชอบหรือไม่ชอบ เต็มใจหรือไม่เต็มใจ หรือจะมีอะไรหรือไม่มีอะไรแอบแฝงอยู่เบื้องหลังก็ตาม กกต. ก็คงไม่มีทางเลือกอื่นที่จะต้องประกาศรับรองการเป็น ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไปก่อน รอให้มีประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วจึงยื่นให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์จะต้องพ้นจาก ส.ส. เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่

เสียงเล็กๆจากนักโทษหญิงเสื้อแดง:อีก3เดือน14วันตอน9โมงเช้า14พ.ย.ฉันจะได้ออกไปสู้ร่วมกับพี่น้อง

ที่มา Thai E-News


โดย ป๋าจอมตั๊ป กลุ่มสหายสีแดง รักราษฎร
ที่มา บันทึกจากเฟซบุ๊คป๋าจอมตั๊บฯ

หลังจากเข้าเยี่ยมและมอบของขวัญแด่นักโทษการเมืองเสื้อแดง 49 คนในเรือนจำชายเรียบร้อยแล้ว (อ่านรายละเอียด:เสียงเล็กๆจากคนเสื้อแดงหลังลูกกรง บทสัมภาษณ์นักโทษการเมืองคดี 112 จากกิจกรรม"ของขวัญสีแดงแด่เพื่อนสีแดง")

ทาง ทีมงานกิจกรรม"ของขวัญสีแดงแด่เพื่อนสีแดง" นำโดยทีมทนายจากสำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ และพี่นกแดง ก็เดินทางต่อมายังทัณฑสถานหญิง เพื่อตีเยี่ยมนักโทษการเมืองหญิงที่เหลืออยู่ 4 คน
ในเรือนจำหญิงแห่งนี้แต่ละคนแต่ละสายก็แบ่งหน้าที่กันเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังกันชุดละสามคน ทั้งพี่ดา ตอร์ปิโด และคนอื่นๆอีก3คน

ตัว ผม พี่บี้ อัฐพล และพี่เอก เอกชัย(ผู้ต้องหาคดี112ที่ได้ประกันตัวออกมาสู้คดี) ได้ตีเยี่ยมผู้ต้องขังหญิงเสื้อแดง ที่ต้องโทษคดีพกพาวัตถุระเบิด คุณพยอม หนูสูงเนิน ชาวจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งศาลพิพากษายืน จำคุก 1 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา

พวก เราได้พูดคุย สอบถาม ให้กำลังใจ รวมทั้งขอสัมภาษณ์สั้นๆมาเพื่อนำสาส์นนี้มาเผยแพร่ให้กับพี่น้องเสื้อแดงภาย นอกได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้น

พี่พยอมเล่าว่า สามีของพี่เขา ชื่อพี่โชค (โชคอำนวย สุรการ) ติดคุกคดีก่อการร้าย ที่ฝั่งเรือนจำชายเช่นกัน พี่โชคถูกจับในวันที่ 17 พ.ค. 53 ส่วนพี่พยอมถูกจับในวันที่ 18 ที่บริเวณคอนโด หลังจากแวะกลับไปอาบน้ำ

พี่ เอกชัยได้แจ้งกับพี่พยอมว่า เมื่อเช้าเข้าไปเยี่ยมในเรือนจำชาย พี่โชคก็ฝากความคิดถึงมา ฝากมาบอกว่าพี่โชคยังไม่ลืม และยังเป็นห่วงพี่พยอมเสมอ ให้อดทนเอาไว้ พี่โชคก็จะอดทนเช่นกัน พี่พยอมก็ตอบว่าก็มีแต่พี่โชคนี่แหล่ะที่ยังเป็นกำลังใจให้กันและกัน เขียนจดหมายคุยกันข้ามกันไปข้ามกันมาในสองเรือนจำนี่แหล่ะ


ต่อไปเป็นบทสัมภาษณ์พี่พยอม หนูสูงเนิน นะครับ


ผม : สภาพความเป็นอยู่ข้างในเป็นอย่างไรบ้างครับ?

พี่ พยอม : ตอนนี้ก็ลำบาก จริงๆก็ลำบากมาตลอด อยู่เฉยๆไม่ได้เลย มันคิดมาก มันฟุ้งซ่าน ไม่รู้จะทำยังไง ตอนหลังนี่เขาก็ให้พี่ไปปูกระเบื้อง ไปช่วยบำเพ็ญประโยชน์อยู่ข้างในนี้

ผม : ตอนนี้ขาดเหลืออะไรบ้างมั๊ยครับ พวกผมจัดกิจกรรมช่วยเหลือคนข้างในจะพยายามจัดส่งเข้าไปให้ครับ

พี่ พยอม : ตอนนี้หน้าฝน ลำบากมากเรื่องเสื้อผ้า ก็ขอเป็นชุดผ้าบาง(แบบไม่มีแถบ) ชุดชั้นใน กางเกงใน ผ้าถุง ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก สบู่ แชมพู ผ้าอนามัย พวกนี้ ยังไงก็ขอบคุณพวกเรามากนะที่ยังไม่ลืมกัน

ผม : ที่ผ่านมามีใครมาเยี่ยมพี่พยอมบ้างมั๊ยครับ

พี่พยอม : ...(ไม่พูดอะไร แต่หยิบผ้าปิดปากขึ้นมาซับน้ำตา ร้องไห้... ผมอดน้ำตาซึมไปด้วยไม่ได้) ... 4 เดือนแล้ว ไม่มีใครมาเยี่ยมเลย วันนี้นกแดงเขามาด้วยมั๊ย พี่คิดถึงนกแดง มีแต่เขาที่คอยมาเยี่ยมคนในนี้อยู่ตลอด

ผม : ตอนที่พี่พยอมอยู่ในที่ชุมนุมเป็นการ์ดนปช.เหมือนกันใช่มั๊ยครับ ?

พี่ พยอม : ตอนแรกน่ะนะ พี่กับพี่โชค ก็เป็นพ่อค้าแม่ค้าขายเสื้อแดงธรรมดานี่แหล่ะ ไปๆมามาพอรู้จักคนเยอะเข้า ก็เริ่มมีลูกน้อง แล้วก็เข้าไปทำงานกับการ์ดส่วนกลาง ไปขึ้นตรงกับพี่อารีย์(อารีย์ ไกรนรา) แล้วพอดีว่าในลูกน้องที่เป็นการ์ดนั้น มันมีสายจากฝั่งตรงข้ามมาแฝง คอยรายงานนายมัน ชื่อไอ้โต้ง กับไอ้ตี๋ แล้วก็ยังมีอีกหลายคน ส่วนใหญ่ที่โดนจับกันก็เพราะไอ่ที่เป็นสายมาแฝงตัวนี่แหล่ะ

ผม : แล้วพี่พยอมได้รับความช่วยเหลือจากทางนปช.หรือทางพรรคบ้างมั๊ยครับ หรือมีใครจากทางนั้นมาเยี่ยมบ้างไหม?

พี่ พยอม : ...ตั้งแต่ติดคุกมา 1 ปี 3 เดือน ได้จากพรรคช่วยเหลือมา 600 บาท ตอนนั้นให้ญาติไปทำเรื่อง ไปเซ็นต์ไปขอเบิกมา โอ๊ย ยากเย็นจริงๆน่ะ เรื่องคนจะมาเยี่ยมก็ได้แต่รอคอยความหวังกันไป

ผม : ทางคุณอารีย์ ไกรนรา หัวหน้าการ์ดที่พี่พยอมเคยทำงานให้นี่เขาได้ส่งข่าวคราวหรือแวะมาเยี่ยมบ้างรึยังครับ?

พี่พยอม : ไม่เคยนะ

ผม : พี่พยอมอยากฝากอะไรถึงพี่น้องเสื้อแดงที่ยังร่วมกันต่อสู้เพื่อความยุติธรรมด้วยกันอยู่ข้างนอกมั๊ยครับ ?

พี่ พยอม : ก็อยากจะฝากความคิดถึงพี่น้องเสื้อแดงทุกๆคน ขอให้สู้กันต่อไปนะ คนข้างในนี้ก็ยังสู้อยู่ ฉันโดนโทษ 1 ปี 6 เดือน ตอนนี้ติดมา 1 ปี 3 เดือนแล้ว หลังจากสิ้นเดือนนี้ ฉันก็จะนับถอยหลังไปอีก 3 เดือน 14 วัน เพื่อรอให้ถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน เวลา 9 โมงเช้า ฉันก็จะพ้นโทษออกไปจากที่นี่ และสัญญาว่าจะไปร่วมต่อสู้ด้วยกันกับพี่น้องข้างนอกต่ออย่างแน่นอน

ผม : วันที่ 14 พ.ย. นี้พี่พยอมจะพ้นโทษแล้วใช่มั๊ยครับ มีญาติๆรู้ข่าวกันบ้างรึยังครับ มีใครจะมารับรึปล่าวครับพี่ ?

พี่พยอม : ก็อยากให้มีคนมารับเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าญาติๆพี่ที่ชัยภูมิเขาจะสะดวกมากันรึปล่าวจ้ะ

ผม : ถ้าอย่างนั้นพวกผมทั้งพี่นกแดงแล้วก็พี่น้องเสื้อแดงจะมาต้อนรับพี่ออกจากเรือนจำด้วยกันครับ เช้าวันที่ 14 พ.ย.นี้ นะครับ

พี่พยอม : ยิ้มๆ แล้วก็บอกว่าขอบคุณทุกๆคนที่มาเยี่ยมพี่มากๆเลยนะ


จาก นั้นเราทั้ง 3-4 คนก็ร่ำลากัน แล้วก็แยกย้ายกันออกมา ข้าวของเครื่องใช้ที่ขาดเหลือจะให้ทางสำนักงานกฎหมายราษฎรประสงค์ส่งเงิน เพื่อจัดซื้อสิ่งของที่ยังขาดอยู่เข้าไปให้กับพี่พยอมและนักโทษคนอื่นๆต่อไป ครับ

ทั้งนี้ ผมจึงขอเชิญชวนพี่น้องเสื้อแดงทุกๆคนที่สนใจไว้ล่วงหน้า เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ต้อนรับเพื่อนเรากลับบ้าน ในวันที่ 14 พ.ย. 54 นี้ เวลา 9 โมงเช้า ขอเชิญร่วมแสดงความยินดีกับอิสรภาพที่พี่น้องเรากำลังจะได้รับ แม้จะยังไม่ครบทุกคน

********


ขอมั่งดิ

โดย บี้ อัฐพล
ที่มา เฟซบุ๊ค

25 ก.ค. 2554
12.30 น. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ


ผมยืนอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยเพื่อน ๆ พี่น้อง ลุงป้าน้าอา ส่วนใหญ่แต่งเครื่องแบบสีแดงกันเต็มยศ

แทบทุกคนกำลังพยายามสื่อสารสื่อสารข้ามแผ่นกระจกหนาขนาดใหญ่ที่กั้นกลางระหว่างพวกเขากับผู้ชายในเครื่องแบบสีเหลืองกลุ่มหนึ่ง

บาง คนได้ใช้โทรศัพท์พูดคุย หลายคนตะโกน บ้างก็ชูมือชูไม้ส่งสัญลักษณ์สื่อความหมาย ให้กำลังใจกับคนอีกฟากฝั่งหนึ่ง เสียงดังเซ็งแซ่เหมือนนกกระจอกแตกรัง

"สู้!...สู้!"
"เราชนะแล้วนะ เดี๋ยวก็จะได้ออกมาแล้ว"
"อดทนหน่อย ข้างนอกกำลังช่วยอยู่"
"ทำไมวันนี้ใส่สีเหลืองล่ะ?"...(ฮา)

การเข้าเยี่ยมวันนี้ อาจจะเป็นวันที่มีคนเข้าเยี่ยมและคนถูกเยี่ยมมากที่สุดก็เป็นได้

ผมยืนมองชายชุดเหลืองฝั่งตรงข้าม เห็นหลายคนพูดคุยผ่านโทรศัพท์กับคนที่มาเยี่ยมด้วยความตื่นเต้น ดีใจ

ถึง แม้พวกเขาแทบจะไม่รู้จักกันเลยก็ตาม หลายคนยืนยิ้มโบกไม้โบกมือกับคนชุดแดงฝั่งนี้ แต่มีหลายคนยืนชิดผนังด้านหลัง สีหน้าเรียบเฉย ยากจะเดาความรู้สึก

"พวกนั้นมันน้อยใจน่ะ ยังไม่ได้คุยกับใครเขาเลย" พี่นกแดงที่คุ้นเคยกับพวกเขาดี อธิบายเวลามีน้อย โทรศัพท์ก็มีน้อยไปในวันนี้

ขณะ ที่ผมกำลังยืนสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ อยู่นั่นเอง พี่ชายผมสีดอกเลา รูปร่างค่อนข้างบึกบึนในชุดเหลืองคนหนึ่ง สบตาผมแล้วชี้มือชี้ไม้มาที่กระจกพร้อมกับป้องปากพูดอะไรบางอย่าง

ผมตรงเข้าไปใกล้กับกระจก พยายามฟัง แต่ความหนาของมันทำให้เราทั้งคู่ไม่ได้ยินเสียง

พี่ชายคนนั้นหาทางสื่อสารกันใหม่ แกก้มตัวลงพูดผ่านแถบโลหะที่ปิดไว้ด้านล่างสุดของกระจก ผมก้มลงฟัง คราวนี้ได้ยินชัดขึ้น

"ไปเยี่ยมฝั่งผู้หญิงด้วยนะ!"
ผมทำหน้างง ๆ "อะไรนะพี่?"
"ช่วยไปเยี่ยมฝั่งผู้หญิงด้วย แฟนผมอยู่ฝั่งโน้น ผมเป็นห่วง" สีหน้าดูกังวลด้วยความเป็นห่วงเป็นใย

ผมรับปาก แต่ในใจไม่มั่นใจนัก...

14.30 น.
ฑัณทสถานหญิงกลาง


พี่นกแดงพาพวกเรามาเยี่ยมผู้ต้องขังหญิง

ผม,จอม และเอกชัย(ผู้ถูกกล่าวหา 112 แต่ได้ประกันตัว) ได้เข้าเยี่ยมพี่พยอม โชคดี...พี่พยอมเป็นคนที่พี่ชายฝั่งโน้นฝากให้มาเยี่ยม

จอม กับเอกชัยพูดคุยกับพี่พยอมผ่านไมโครโฟน (ไม่เหมือนฝั่งโน้นที่ใช้โทรศัพท์) การพูดคุยคราวนี้เรียกน้ำตาจากทั้งสองฟากกระจก โดยไม่ต้อง"บิ้วด์" อารมณ์ หวังเรตติ้งคนดู แบบเดียวกับรายการทอล์คโชว์งี่เง่าทั้งหลาย (ของผมกับจอมแค่น้ำตาซึมนะ... เพื่อรักษาภาพความเป็นแมน แหะ แหะ)

ถึงคิวผม

"พี่ ครับ พวกผมมาให้กำลังใจพี่นะครับ เมื่อกี้ผมไปฝั่งโน้นมา แฟนพี่เค้าฝากให้มาเยี่ยมพี่ให้ได้ พี่เค้าเป็นห่วงพี่มากนะครับ ส่วนพี่เค้าสบายดี"

"พี่เค้าฝากบอกให้พี่ดูแลตัวเองให้ดี เค้าคิดถึงพี่มากนะครับ"...
เอ่อ...ประโยค หลังนี่ พี่ผู้ชายไม่ได้ฝากมานะครับ ผมขออนุญาตพูดแทนก็แล้วกัน แหะ แหะ (คิดว่าพี่เค้าคงอยากบอกแหละน่า แต่ตามธรรมชาติคนต่างจังหวัด มักจะไม่ค่อยแสดงความรู้สึกดราม่าซักเท่าไหร่ มันจะเขินเขินน่ะ -> สรุปจากตัวเองหรือเปล่าเว้ย?)

หลังจากส่งสาร ไม่มีคำพูดใด ๆ ออกมาจากปากพี่พยอม เห็นแต่หยาดน้ำใส ๆ ที่เริ่มเอ่อออกมาซึมดวงตาอีกครั้ง พร้อม ๆ กับเห็นความพยายามอย่างมากที่จะสะกดกลั้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองให้เป็น ปกติ

ผมเชื่อว่า ตอนนี้ในใจของพี่พยอม คงเต็มไปด้วยกำลังใจที่จะช่วยให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายนี้ไปให้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคำพูดหวาน ๆ ซึ้ง ๆ ไม่จำเป็นต้องจ้องหน้าสบตากัน ทั้งสองคนได้รับรู้ว่าในช่วงเวลาที่แสนเลวร้าย ยังคงมีคนที่คอยยืนหยัดอยู่เคียงข้างกันเสมอและตลอดไป

เท่านี้ก็คงเพียงพอแล้ว

ผม จากที่นั่นมา พร้อมกับความรู้สึกอิ่มใจที่ได้ทำตามสัญญา ขณะเดียวกันก็มีอาการแปลก ๆ เกิดขิ้นกับผม มันเป็นอาการแสบ ๆร้อน ๆ ที่บริเวณขอบตา

มันเกิดขึ้นตอนที่ผมกำลังคิดในใจว่า
"ขอ มั่งดิ ขอมั่ง...ขอฟิลโรแมนติกประมาณนี้กับกรูบ้าง อะไรบ้าง จะได้ไหม?...แต่ขอแบบไม่ต้องมีรั้วคอนกรีตหนา ๆ ไม่ต้องมีลูกกรง ไม่มีลวดหนามมากั้นนะเว้ย...กรูป๊อดดด!"...
********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:

-สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์:กิจกรรม“ของขวัญสีแดงแด่เพื่อนสีแดง” ทะลุเป้า ! : คำขอบคุณที่แทรกผ่านลูกกรงจากเพื่อนสู่เพื่อน

-เสียงร้องหาความเป็นธรรมจากเรือนจำมหาสารคาม


-ผู้ตาย บาดเจ็บ ถูกคุมขัง และสูญหายจากเหตุการณ์


ดร.กฤตยา อาชานิจกุล รองผอ.สถาบัน วิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะตัวแทนศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณีเม.ย.-พ.ค. 2553 (ศปช.) แสดงข้อมูลไล่เรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงรายละเอียดของผู้เสียชีวิต 92 ราย

นางกฤตยา กล่าวว่า รัฐบาลไม่สมควรสั่งทหารใช้ปืนสไนเปอร์กับประชาชน และยังมีข้อเท็จจริงจากศปช.ด้วยว่า มีการใช้จำนวนกระสุนปืนสไนเปอร์ในเหตุการณ์ทั้งหมด 2,000 กว่านัด จาก 3,000 กว่านัด ทั้งๆ ที่สิทธิการใช้ปืนชนิดนี้จะต้องเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยพิเศษเท่านั้น ไม่ใช่ทหารทุกคนจะสามารถใช้ได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงคลี่คลายได้ยาก หากความจริงกับการพูดของแต่ละฝ่ายยังบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยเฉพาะการทำงานของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และตำรวจ ยังล่าช้าไม่มีความคืบหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารของศปช.ระบุว่า จากการติดตามรวบรวมข้อมูลของศปช. จำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม มีทั้งสิ้น 92 ราย แบ่งเป็นขอคืนพื้นที่ วันที่ 10 เม.ย. 26 ราย กระชับพื้นที่ วันที่ 14-19 พ.ค. 57 ราย ในจำนวนนี้มี 3 ราย ไม่ทราบชื่อ เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 9 ราย ในเหตุการณ์ปะทะย่อยรวมถึงเหตุปะทะในต่างจังหวัด

นอกจากนี้ข้อมูลของ ศปช. ณ วันที่ 1 เม.ย. 2554 ยังระบุว่า ภายหลังจากประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน วันที่ 7 เม.ย. โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วนั้น พบว่าปัจจุบันยังมีผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับการประกันตัวทั่วประเทศอีก 133 ราย เป็นชาย 121 ราย หญิง 12 ราย ชาวต่างด้าวอีก 3 ราย ซึ่งข้อหาส่วนใหญ่ คือ การละเมิดพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยการชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไป การร่วมวางเพลิง สถานที่ราชการ และก่อการร้าย อีก 5 ราย ฯลฯ โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการออกหมายจับ และการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุม ของกลุ่มนปช. ต่อ สาธารณะ อย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ ศปช.ยังได้รับข้อมูลคนหายในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าวจากมูลนิธิกระจกเงา จำนวน 20 ราย ซึ่งบางส่วนพบว่ามีการทำให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐอีกด้วย

แต่เราก็ยังคงต้องยืนหยัดสู้ร่วมกันต่อไป

′ชนชั้น, ประชาธิปไตยและการซื้อเสียง: ข้อคิดจากฟิลิปปินส์′

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ



Frederic C. Schaffer



แผ่นพับรณรงค์เลือกตั้งของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย

สาย วันก่อน ขณะจะเดินเข้าชั้นไปสอนหนังสือ ตาก็เผอิญเหลือบเห็นแผ่นพับของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย (www.tpd.in.th) ที่เพื่อนอาจารย์บางท่านไปร่วมผลักดันเคลื่อนไหวช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ที่ผ่านมาติดอยู่บนบอร์ดข้างทางเดิน

จ่าหัวว่า "ผู้แทน (ส.ส.) ที่ดี" ในสายตาคุณ เป็นคนแบบไหน มีช่องให้ผู้อ่านเลือกกาคุณสมบัติของผู้แทน/ส.ส. ตามคำบรรยายสรรพคุณต่างๆ ทางหน้าขวาอยู่ 18 ข้อ พร้อมกันนั้นก็มีคำเฉลยอยู่ทางหน้าซ้ายว่าคุณสมบัติข้อไหนบ้างใน จำนวน 18 ข้อนั้นที่ต้องสงสัยและพึงทบทวนว่าดีจริงหรือเปล่า? รวม 9 ข้อด้วยกัน พอแยกแยะเป็นตารางได้ดังนี้:

คุณสมบัติที่ต้องสงสัย

1) พบเห็นทุกงานบุญ งานศพ ร่วมงานแต่ง งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ เปิดงานต่างๆ

2) พบง่าย ไม่ถือตัว เป็นคนธรรมดา น่ารักดี

3) พึ่งได้ ช่วยประกันผู้ต้องหา ฝากลูกเข้าเรียน ฝาก หลานเข้าทำงาน

4) ช่วยวิ่งเต้นให้ได้เลื่อนขั้น ย้าย โอน โน่นนี่

5) เป็นญาติพี่น้อง พวกกันเอง

6) วิ่งเต้นหางบประมาณลงจังหวัด ลงพื้นที่

7) ใจกว้าง สนับสนุนงานสาธารณะ บริจาคเงิน เป็นประธาน-ที่ปรึกษา-ผู้จัดการทีมฟุตบอลจังหวัด นายกสมาคมโรงเรียนประจำจังหวัด

8) มีเงิน มีฐานะ มีการศึกษาสูง น่าเชื่อถือ

9) กว้างขวาง มีเพื่อนฝูงมาก

คุณสมบัติที่ไม่ต้องสงสัย

1) จัดเวทีชุมชนหรือร่วมเวทีชุมชน ถกปัญหาในท้องถิ่นเป็นประจำ

2) ไม่แสวงหาประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ

3) ไม่บุกรุกที่สาธารณะ ทำลายป่า ทำลายทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4) ยึดหลักสันติในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม

5) มีความรู้ความสามารถ มีประวัติดี ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน

6) มีความคิดความอ่าน แสดงให้เห็นชัดเจนว่ารู้-เข้าใจ ปัญหาของประชาชนในพื้นที่

7) มีทักษะในการสื่อสารกับสาธารณชน

8) อยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่พัวพันกับสิ่งผิดกฎหมายหรือ ผิดศีลธรรม เช่น บ่อน หวย ยาเสพติด

9) มีสำนักงาน ส.ส. เพื่อเปิดรับฟังปัญหาจากประชาชนและเผยแพร่ข้อมูลสม่ำเสมอ

(ดูแผ่นพับได้ที่ http://www.tpd.in.th/v2/pdffile/ส.ส.ที่ดี.pdf)

อ่าน แล้วอดรู้สึกไม่ได้ว่าช่อง "ต้องสงสัย" ทางซ้ายดูจะตรงกับคุณสมบัติที่เป็นจริงของ ผู้แทน/ส.ส.ส่วนใหญ่ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากเสียงข้างมาก ส่วนช่อง "ไม่ต้องสงสัย" ทางขวาค่อนข้างจะสะท้อนภาพลักษณ์ผู้แทน/ส.ส. ในฝันของคนชั้นกลางชาวเมืองผู้มีการศึกษาที่อยากเห็นการเลือกตั้งสะอาดและ การเมืองบริสุทธิ์ตามเจตคติของตน

ทำให้นึกได้ว่าอะไรบางอย่างทำนองนี้ก็เกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์เหมือนกัน.....


แผ่นพับรณรงค์เลือกตั้งของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย





Frederic C. Schaffer รองศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์แห่ง University of Massachusetts at Amherst สหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งออกมาเมื่อ 3 ปีก่อนชื่อ The Hidden Costs of Clean Election Reform (2008 , ต้นทุนแอบแฝงของการปฏิรูปการเลือกตั้งให้ใสสะอาด) อันมาจากการค้นคว้าวิจัยภาคสนามของเขาเรื่องประชาธิปไตย, การเลือกตั้ง, การซื้อเสียงและการรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาดในฟิลิปปินส์โดยให้ความ สำคัญกับภาษาและทัศนคติทางการเมืองของชาวบ้านรากหญ้าผ่านการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างผู้ลงทะเบียนเลือกตั้ง 139 รายในย่านคนจน เขตเคซอน ซิตี้ของกรุงมะนิลา

แชฟเฟอร์พบว่าการรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาด ของเอ็นจีโอคนชั้นกลางและชั้นสูงชาวฟิลิปปินส์ส่งผลโอละพ่อกลับตาลปัตรให้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนจนคนรากหญ้ารู้สึกแปลกแยกจาก ประชาธิปไตยในความหมายของกลุ่มผู้รณรงค์, ไม่ค่อยร่วมมือกับการรณรงค์, กระทั่งแสดงพฤติกรรมประชดประชันไปในทางตรงข้ามกับที่การรณรงค์เรียกร้องหนัก ข้อขึ้น

กลายเป็นว่าการรณรงค์ให้การเลือกตั้งใส สะอาดซึ่งกลุ่มผู้จัดมุ่ง หมายให้เป็นยาบำรุงรักษาประชาธิปไตยกลับส่งผลเสียต่อประชาธิปไตยเองให้ป่วย ไข้ไปอีกแบบ (an iatrogenic or treatment induced illness) !?!

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เหตุปัจจัยแกนกลางในคำตอบของแชฟเฟอร์คือชนชั้น

เขา ชี้ว่าโดยทั่วไปนักสำรวจหยั่งเสียงและนักวิจัยตลาดจะแบ่งชาวฟิลิปปินส์ตาม ระดับราย ได้ออกคร่าวๆ เป็น 5 ชนชั้นได้แก่: A = รวยมาก, B = รวยพอควร, C = คนชั้นกลาง, D = ค่อนข้างจน, E = จนมาก หากคิดเป็นร้อยละของจำนวนประชากร พบว่า

ชนชั้น A+B+C ซึ่งก็คือคนชั้นกลางและชั้นสูงรวมกันจะมีสัดส่วนราว 7-11%

ชนชั้น D ที่ค่อนข้างจนมีประมาณ 58-73%

ชนชั้น E ที่จนมากมีประมาณ 18-32%

เห็น ได้ชัดว่าในแง่ชนชั้น คนชั้นกลางและชั้นสูงเป็นเสียงข้างน้อยในสังคมฟิลิปปินส์ ส่วนคนจนคนรากหญ้าเป็นเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น แน่นอนว่าในบริบทของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ถือหลัก "เมื่อคนเราเท่ากัน อำนาจย่อมเกิดจากตัวเลข, ตัวเลขมากมีอำนาจมาก ตัวเลขน้อยมีอำนาจน้อย" ความแตกต่างของตัวเลขจำนวนคนดังกล่าวย่อมมีนัยต่อเนื่องสำคัญ ยิ่งทางการเมือง

แต่ชนชั้นไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ทางภาววิสัยที่วัดกัน ด้วยทรัพย์สินหรือฐานะตำแหน่งในระบบเศรษฐกิจเท่านั้น หากมันยังถูกสร้างขึ้นในทางอัตวิสัยผ่านการเผยแพร่ปลูกฝังค่านิยม, รสนิยม, อุปนิสัยและจุดยืนการเมืองที่มีร่วมกันในกลุ่มพวก "ชนชั้น" เดียวกันด้วย

ในความหมายหลังนี้ "ชนชั้น" จึงมีลักษณะเป็นเสมือนโครงการ (project) ในทางการเมือง วัฒนธรรมที่ชนกลุ่มหนึ่งใช้มันมานิยามตนเอง (ว่าชนชั้นเราเป็นใคร? สีอะไร? เราเหมือนกันเองแต่แตกต่างจากคนชั้นอื่นตรงไหนอย่างไร?) พร้อมกับสถาปนาอำนาจนำเหนือชนชั้นอื่น (พยายามยัดเยียดวิถีชีวิต, ทีทรรศน์ และเจตคติของชนชั้นตนให้) ไปด้วยในเวลาเดียวกัน

แช ฟเฟอร์วิเคราะห์ฟันธงว่า การรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาดก็คือโครงการในลักษณะดังกล่าวของคนชั้นกลาง และชั้นสูงชาวฟิลิปปินส์ที่ใช้มันมานิยามความเป็นตัวตนของชนชั้นตนเองในทาง การเมืองวัฒนธรรม พร้อมทั้งกำหนดวินัยจัดระเบียบพฤติกรรมทางการเมืองที่ชอบที่ควรในระบอบ ประชาธิปไตยให้กับคนจนคนรากหญ้าด้วยนั่นเอง

ปัญหาอยู่ตรงโครงการ กำหนดวินัยจัดระเบียบพฤติกรรมให้คนจนคนรากหญ้าดังกล่าวตั้งอยู่บนมิจฉาทิฐิ ทางชนชั้น (class-bound misperception) ที่เอาเข้าจริงเอ็นจีโอปฏิรูปการเมืองซึ่งเป็นคนชั้นกลางและชั้นสูงชาว ฟิลิปปินส์นั้นไม่รู้จักไม่เข้าใจคนจนคนรากหญ้า เสมือนหนึ่งฝ่ายหลังเป็น "เกาะแก่งหรืออาณานิคมที่ยังไม่ถูกค้นพบในหมู่เกาะ (ฟิลิปปินส์) ของเรา"

จึง ทำให้การรณรงค์ที่เริ่มด้วยเจตนาดีกลับนำไปสู่การปะทะกันของ ศีลธรรมสองชุด (a clash of moral codes) ซึ่งจัดวางนักปฏิรูปคนชั้นสูงและชั้นกลางให้ประจัญหน้ากับ "ผู้กระทำผิด" ที่เป็นคนชั้นล่างทั้งหลาย

เหล่านี้แสดงออกผ่านความเข้าใจการเมืองและประชาธิปไตยที่ต่างกันระหว่างสองฝ่าย

ฝ่ายคนชั้นกลางและชั้นสูง (ซึ่งเป็นกำลังหลักเบื้องหลังองค์กรรณรงค์ให้การเลือกตั้งใสสะอาดของ ฟิลิปปินส์ไม่ว่า Namfrel-National Citizens Movement for Free Elections หรือ Ppcrv-Parish Pastoral Council for Responsible Voting) มองประชาธิปไตยและการเลือกตั้งด้วยความหงุดหงิดและวิตกกังวล ก่อนอื่นเพราะพวกตนเป็นเสียงข้างน้อยและหวาดเสียวว่าเสียงข้างมากซึ่งเป็นคน จนคนรากหญ้าที่กุมอำนาจปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะลากพาบ้านเมือง (ของกู) ไปทางไหน

นอกจากนั้นก็คือเหม็นเบื่อพฤติกรรมของนักการเมืองจากการ เลือกตั้งที่มุ่งหาเสียงเอาใจคนจนคนรากหญ้าด้วยนโยบายประชานิยมและระบบ อุปถัมภ์ พวกนี้พอชนะเลือกตั้งได้อำนาจมาก็พากันทุจริตคอร์รัปชั่นโกงบ้านกินเมือง ด้วยความหิวกระหาย ฉะนั้นถ้าไม่กำหนดวินัยจัดระเบียบพฤติกรรมการเลือกตั้งของชาวบ้านเสียงข้าง มากให้ดีและใสสะอาดแล้ว ประชาธิปไตยก็อาจเสื่อมถอย กลายเป็นระบอบทรราชย์ของเสียงข้างมากในทางปฏิบัติได้

ในทางกลับกัน คนจนคนรากหญ้าเสียง ข้างมากผู้ตกเป็นเป้าของการณรงค์จัดระเบียบให้ การเลือกตั้งใสสะอาดนั้นก็รู้สึกว่าระบอบประชาธิปไตยแบบของ "พวกมึง" (คนชั้นกลางและชั้นสูง) ไม่เคารพและไม่เอื้อเฟื้อ "พวกกู", คนที่มีอำนาจและเงินทองทำตัวหยาบช้า, หมิ่นหยามน้ำใจกันหรือเหนือกฎหมาย ประชาธิปไตยจะมีจริงได้อย่างไรเมื่อคนรวยดูหมิ่นถิ่นแคลนและไม่ฟังเสียงคนจน เลย ทำราวกับคนจนเป็นนกหนูหมูหมากาไก่หรือวัวควาย นึกจะว่ากล่าวอบรมสั่งสอนหรือทุบตีเราอย่างไรก็ทำเอาๆ ตามอำเภอใจ

การเมืองของคนจนคนรากหญ้าจึงเป็นการเมืองเรื่องของศักดิ์ศรี (the politics of dignity) ซึ่งให้คุณค่าความสำคัญกับผู้สมัคร ส.ส./ผู้แทนที่มีน้ำใจห่วงใยดูแล, ช่วยเหลือเกื้อกูล, ไม่ถือเนื้อ ถือตัว, นอบน้อมเคารพนับถือให้เกียรติแก่คนจนคนรากหญ้าฉันเพื่อนมนุษย์ด้วยกันดัง ญาติมิตร, หรือนัยหนึ่งมันเป็นการเมืองของการเห็นหัวกูนั่นเอง

จึง ขณะที่คนชั้น ABC ในฟิลิปปินส์มองการซื้อสิทธิขายเสียงจากมุมธุรกิจในตลาดล้วนๆ เหมือนธุรกรรมซื้อขายสินค้าธรรมดาทั่วไปและพิพากษาว่ามันผิดเพราะขายสิ่งที่ ไม่ควรขาย ได้แก่ ขายสิทธิหรือขายชาติเป็นต้นนั้น

คนชั้น D และ E กลับมองมันต่างออกไป การรับเงินจากผู้สมัคร ส.ส. มีบ้างที่เกิดจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีเหตุอื่นซึ่งซึมซับด้วยนัยทางศีลธรรม-วัฒนธรรมเช่นกัน อาทิ เกรงใจผู้หยิบยื่นเงินให้ ไม่อยากให้เขาเสียหน้าถ้าถูกปฏิเสธ, รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่ชอบที่ควรแล้วที่ผู้สมัครจะให้ "สินน้ำใจ" (goodwill money) แก่ผู้สนับสนุนตน

โดยที่ "สินน้ำใจ" ต่างจาก "การซื้อเสียง" เพราะไม่มีข้อผูกมัด เอาเข้าจริงจากการสำรวจของแชฟเฟอร์พบว่าส่วนใหญ่ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือก ตั้งในหมู่คนจนคนรากหญ้าที่รับเงินจากผู้สมัคร (70%) ยังคงเลือกลงคะแนนอย่างเสรี

ทัศนคติต่อการเมืองที่ดี/เลวใน ฟิลิปปินส์จึงมีลักษณะแตกต่างทางชนชั้นเด่นชัด กล่าวคือ คนจนคนรากหญ้ามองว่าการเมืองที่เลวคือการเมืองของการดูหมิ่นถิ่นแคลนและไม่ เห็นหัวคนอื่น ส่วนการเมืองที่ดีคือการเมืองของการเกรงอกเกรงใจและมีน้ำใจ

ใน ทางตัดกัน คนชั้นกลางและชั้นสูงกลับเห็นว่าการเมืองที่เลวคือการเมืองสกปรกของการ อุปถัมภ์และทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วนการเมืองที่ดีคือการเมืองสะอาดที่ว่าด้วยประเด็นนโยบายต่างๆ, ความพร้อมรับผิดและความโปร่งใส

พูดแบบนี้หมายความว่าจะปล่อยให้การเลือกตั้งสกปรกซื้อสิทธิขายเสียงกันต่อไปตามใจชอบกระนั้นหรือ?

เปล่า เลย ประเด็นของแชฟเฟอร์อยู่ที่ว่าถ้าคิดจะแก้เรื่องนี้ให้ตรงจุดและได้ผล ก็ต้องเรียนรู้เข้าใจความเป็นจริงและทัศนคติที่แตกต่างกันในหมู่ชนกลุ่ม ต่างๆ ของสังคมเสียก่อน

การดื้อดึงรณรงค์ทื่อๆ ไปตามอคติเฉพาะของชนชั้นตนรังแต่ส่งผลเสียให้กลุ่มเป้าหมายไม่เพียงปฏิเสธ สารที่ส่งไป หากพลอยแปลกแยกจากการเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้วย

ใน ความหมายนี้ จุดเริ่มของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงก็คือทัศนคติของคนชั้นกลางและชั้นสูงที่ฉาบ ทาด้วยอคติอย่างหนาและความไม่รู้จักไม่เข้าใจทั้งต่อคนชั้นล่างและต่อระบอบ ประชาธิปไตยนั้นเอง

"กรุงเทพโพลล์" เผยนักเศรษฐศาสตร์มองเศรษฐกิจไทยอีก3เดือนไปได้สวย เหตุ"ท่องเที่ยว-ลงทุนภาครัฐ"ขยายตัว

ที่มา มติชน









วัน ที่29ก.ค. ในระหว่างวันที่ 15-21 ก.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ และวิจัยเศรษฐกิจ ระดับชั้นนำของประเทศ เกี่ยวกับเรื่อง "ดัชนีคาดการณ์เศรษฐกิจไทย 3 เดือนข้างหน้า" จาก 26 แห่ง จำนวน 62 คน


ทั้งนี้ เพื่อต้องการสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจของไทยใน ปัจจุบันและทิศทางในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า และต้องการทราบสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจว่าจะส่งผลอย่างไร เพื่อเสนอแนะประเด็นเศรษฐกิจของนักเศรษฐศาสตร์ไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง


จากการสำรวจ พบว่า ดัชนี คาดการณ์ เศรษฐกิจไทยในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 62.11 (ค่าดัชนีจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100) ซึ่งเป็นระดับที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งก่อนหน้า และเป็นการปรับเพิ่มมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบปี ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนมุมมองนักเศรษฐศาตร์ที่มีต่อเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ยังคงสดใส โดยเฉพาะการคลายความกังวลจากปัจจัยการเมืองภายหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ ด้วยดี


มากกว่านั้น ดัชนี สถานะทางเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันยังคงอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งเห็นได้จาก ค่าดัชนีที่อยู่ในระดับ 56.94 ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่า 50 เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า ค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ทุกปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ค่าดัชนีอยู่ ในระดับที่สูงกว่า 50 ค่อนข้างมาก คือเท่ากับ 69.17 และ 59.68 ตามลำดับ


ส่วน การคาดการณ์ในแต่ละปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พบว่า การปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีคาดการณ์เป็นผลมาจาก (1) การท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูการท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาว (2) การบริโภคภาคเอกชนที่จะได้รับผลดีจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายของรัฐบาลใหม่ (3) การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ได้ผลดีจากการมีรัฐบาล ใหม่และโครงการต่างๆ ที่จะเริ่มดำเนินการตามที่ได้หาเสียงไว้

ตาราง ปัจจัยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน และคาดการณ์อนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า เปรียบเทียบย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 1 ปี ดังนี้




การสำรวจดังกล่าว ทำให้สรุปได้ว่า เศร ษฐกิจไทยอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่ง แนวโน้ม 3 เดือนข้างหน้าก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

หมายเหตุ: ค่าดัชนีเท่ากับ 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะปกติ (สำหรับสถานะปัจจุบัน) ค่าดัชนีสูงกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะแข็ง แกร่ง (สำหรับสถานะปัจจุบัน) ค่าดัชนีต่ำกว่า 50 หมายถึง นักเศรษฐศาสตร์มีความเชื่อมั่นว่าปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ในสถานะ อ่อนแอ (สำหรับสถานะปัจจุบัน)

สัญญาณ จากทูต เตือน "อำนาจพิเศษ" โลกธรรม อำนาจ

ที่มา มติชน



(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2554)


การที่พื้นที่ข่าวตกเป็นของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มากกว่าพื้นที่ข่าวของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดังที่การสำรวจของโพลสะท้อนออกมา

เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้

มิได้เป็นเรื่องแปลกที่ถนนทุกสายจะทอดไปยังพรรคเพื่อไทย ขณะที่ทางด้านพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มเงียบเหงา โรยรา

นี่เป็นเรื่องของโลกอย่างที่พระท่านว่า "โลกธรรม"

กระนั้น ปรากฏการณ์ 1 อันปรากฏขึ้นอย่างคึกคักพร้อมกับ "ปรากฏการณ์ยิ่งลักษณ์" คือ การแสดงออกของทูตานุทูต

ไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่อย่างจีน อย่างสหรัฐ อย่างญี่ปุ่น อย่างสหราชอาณาจักร

ไม่ว่าจะเป็นประเทศรองลงมาอย่างนอร์เวย์ อย่างสวิตเซอร์แลนด์ อย่างอิสราเอล อย่างภูฏาน

เป็นปรากฏการณ์อันปรากฏตั้งแต่ "ก่อน" และ "ภายหลัง" การเลือกตั้ง

เป็นปรากฏการณ์อันก่อสภาวะกระบอกตาร้อนผ่าว และก่อสภาวะหงุดหงิดให้กับกองเชียร์ของพรรคประชาธิปัตย์เป็นอย่างสูง

ทำไมจึงเกิดปรากฏการณ์อย่างนี้ขึ้นได้

หากมองจากมุมของพรรคประชาธิปัตย์ หากมองจากระเบิดที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประสานกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ วางเอาไว้

นี่เท่ากับนานาชาติยอมรับพรรคอันเป็นตัวแทนของคนเผาบ้านเผาเมือง กระนั้นหรือ

นี่เท่ากับนานาชาติไม่เกรงอกเกรงใจรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์อันเป็นสถาบันทางการเมืองที่ก่อรูปโดย นายควง อภัยวงศ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช พระยาศรีวิศาลวาจา เป็นต้น ตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2489 กระนั้นหรือ

คำตอบคือทั้งใช่ และไม่ใช่

ที่ว่าใช่ เพราะว่าชัยชนะของพรรคเพื่อไทยที่มีความเหนือกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเด่นชัดอย่างยิ่งแห่งทางเลือกของประชาชน

ที่ ว่าไม่ใช่ เพราะว่าที่ประชาชนเลือกพรรคเพื่อไทยมิใช่เป็นการแสดงความเห็นด้วยกับการเผา บ้านเผาเมือง อย่างที่อีกฝ่ายพยายามโฆษณาป่าวร้อง ตรงกันข้าม ความล้มเหลวของรัฐบาลที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแก่นแกนต่างหาก ซึ่งบีบบังคับให้ประชาชนจำเป็นต้องเลือกพรรคเพื่อไทยแทนที่จะเป็นพรรคประชา ธิปัตย์

เป็นความล้มเหลวอันมาจากความอ่อนหัดในเชิงการบริหารจัดการของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประสานเข้ากับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยจึงอยู่บนซากปรักหักพังทางการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์

กระนั้น ภายในท่าทีและการเคลื่อนไหวของทูตานุทูตซึ่งเดินทางไปแสดงความยินดีกับชัยชนะของพรรคเพื่อไทย ชัยชนะของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สำคัญเป็นอย่างมากคือ

1 สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวทางด้านการเมืองระหว่างประเทศของพรรคประชาธิปัตย์

ขณะเดียวกัน 1 สะท้อนให้เห็นความหวาดระแวงของนานาประเทศต่อเมฆหมอกแห่ง "อำนาจพิเศษ" ซึ่งครอบคลุมเหนือกระบวนการทางการเมืองของประเทศไทย

เป็นอำนาจพิเศษอันก่อให้เกิดรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549

เป็น อำนาจพิเศษอันก่อให้เกิดกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ผ่านรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ผ่านองค์กรอิสระอันเป็นผลิตผลจากกระบวนการรัฐประหาร ทั้งโดยเปิดเผยและกระบวนการรัฐประหารซ่อนรูป

การแสดงความยอมรับต่อชัยชนะที่พรรคเพื่อไทยและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มาโดยอาณัติของประชาชนกว่า 15 ล้านคน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม จึงเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญ

เป็นการเตือนให้กลุ่ม "อำนาจพิเศษ" ต้องระมัดระวังในการเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น

หากกลุ่ม อำนาจพิเศษไม่ยอมรับผลการตัดสินใจของประชาชนผ่านกระบวนการเลือกตั้ง โอกาสที่สังคมไทยจะเป็นเหมือน ตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย ในตะวันออกกลาง และแอฟริกาตอนเหนือก็สูงเป็นอย่างสูงยิ่ง

การเคลื่อนไหวของทูตานุทูตจึงเท่ากับเป็นสัญญาณเตือนอย่างทรงความหมาย

ปรากฏการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องดี ขณะเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยจักต้องรับผิดชอบ

รับ ผิดชอบ 1 ต่อคะแนนเสียงที่ประชาชนมอบให้ด้วยความหวัง ขณะเดียวกัน รับผิดชอบ 1 ต่อนานาอารยะประเทศที่ต้องการเห็นประเทศไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างสร้าง สรรค์ เป็นคุณ

เป็นคุณต่อประชาชน เป็นคุณต่อประเทศ และเป็นคุณต่อโลก