WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 2, 2008

“ณัฐวุฒิ” ชี้ พันธมิตรฯเคลื่อนไหว หวั่นนองเลือดเหมือนปฏิวัติ 19 ก.ย.

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย กลุ่มพันธมิตรเคลื่อนไหวอาจใช้คำพูดและท่าทีที่รุนแรงเพื่อล้มล้างรัฐบาล อาจจะนำไปสู่สถานการณ์นองเลือดเหมือนกับเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 ได้

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศ 7 วันอันตรายว่า ในส่วนของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงปฏิบัติงานตามปกติ และคิดว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯ มีท่าทีชัดเจนในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ประกอบกับการเคลื่อนไหว การใช้คำพูด และท่าทีที่รุนแรงของกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ค่อนข้างทำให้สถานการณ์บ้านเมืองยิ่งเข้มข้น และอาจนำไปสู่ความตึงเครียดได้

ทั้งนี้ หากไม่มีการปรับท่าทีการเคลื่อนไหว ทำให้น่าเป็นห่วงว่า การได้ชัยชนะของกลุ่มพันธมิตรฯ อาจหมายถึงเหตุการณ์เช่นเดียวกับวันที่ 19 กันยายน 2549 พร้อมเตือนเรื่องวิธีการ รูปแบบ เนื้อหาในการเคลื่อนไหว ควรคำนึงถึงความบอบช้ำของบ้านเมือง และผลกระทบของคนส่วนใหญ่ด้วย



เอาไงดี

โฉมหน้า ครม.เวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่ของรัฐบาลชิมไปบ่อนไปจะดีขึ้น? หรือแย่ลง? หรือแปะเอี้ยเหมือนเดิม??

ประเด็นนี้ขอเก็บไว้ก่อนชั่วคราว

เพราะยังมีควันหลงกรณี “สุวิทย์ คุณกิตติ” หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่ประกาศ ถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล ที่ควรต้องหยิบมาวิจัยแก้เซ็ง

ประเด็นแรก ก็คือการที่ “สุวิทย์” ใช้อำนาจหัวหน้าพรรคประกาศนำพรรคเพื่อแผ่นดินถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาล แต่กลับโดน ส.ส.ในพรรคแข็งข้อไม่ยอมถอนตัวตาม

คำถามคาใจก็คือ...ในฐานะหัวหน้าพรรคซึ่งได้รับมอบอำนาจจาก กก.บริหารพรรค ให้สามารถตัดสินใจแทนพรรค เสมือนเป็นมติพรรคได้เลย

ฉะนั้น เมื่อหัวหน้าพรรคตัดสินใจประกาศ ถอนตัว ส.ส.สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดินทั้ง 23 คน ก็ต้องปฏิบัติตาม

แต่การที่ ส.ส.ลูกพรรคไม่ยอมถอนตัว ก็เท่ากับลูกพรรคมีเจตนาฝ่าฝืนมติพรรค ขัดคำสั่งหัวหน้าพรรคชัดเจน!!

ประเด็นต่อไป ถึงแม้ ส.ส.ของพรรคส่วนใหญ่ยืนยันจะสนับสนุนรัฐบาล แต่ก็มี ส.ส.กลุ่มภาคใต้ และ ส.ส.สัดส่วนบางคนที่เห็นด้วยกับหัวหน้าพรรคได้ประกาศไม่สนับสนุนรัฐบาล และขอทำหน้าที่ฝ่ายค้านทันที

พรรคเพื่อแผ่นดินจึงมี ส.ส.ที่สนับสนุน รัฐบาล และ ส.ส.ที่สนับสนุนฝ่ายค้านผสม อยู่ในพรรคเดียวกัน!!

คำถามคือ... สถานะของพรรคเพื่อแผ่นดิน จะถือเป็นพรรคร่วมรัฐบาล? หรือเป็นพรรคฝ่ายค้าน? หรือเป็นพรรคผสม 2 ขั้วทูอินวัน??

ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์พรรคการเมือง!!

ประเด็นที่สาม...การที่พรรคเพื่อแผ่นดิน มี ส.ส.สนับสนุนรัฐบาล และคัดค้านรัฐบาล อยู่ในสังกัดเดียวกัน

การทำงานของ ส.ส.ในสภาฯก็เกิดปัญหาคาราคาซัง

ส.ส.ที่ไม่ต้องการสนับสนุนรัฐบาล จะขอย้ายไปสังกัดพรรคฝ่ายค้านก็ไม่ได้

เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 160 กำหนดว่า ถ้า ส.ส.คนใดลาออกจากพรรคการเมืองที่สังกัดจะต้องพ้นจากความเป็น ส.ส.ทันที!!

หรือ ส.ส.กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลอยากจะยุบพรรคเพื่อแผ่นดินไปรวมกับพรรคการเมือง อื่นก็ไม่ได้!!

เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 104 กำหนดไว้ว่า ในระหว่างอายุของสภาฯ ห้ามไม่ให้พรรค การเมืองควบรวมกัน

ก็เท่ากับ ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน 2 กลุ่ม ซึ่งมีจุดยืนตรงข้ามกันจำเป็นต้องทู่ซี้อยู่ร่วมกันต่อไปจนกว่าจะครบเทอม 4 ปี

หรือจนกว่าจะมีการยุบสภาฯ

“แม่ลูกจันทร์” สรุปว่าปรากฏการณ์ที่เกิดกับพรรคเพื่อแผ่นดินได้สะท้อนให้เห็นว่าระบบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเสาหลักรองรับระบอบประชาธิปไตย ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง!!

พรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องมีเอกภาพ หรือมีจุดยืนเดียวกัน

ถึงเป็นพรรคฝ่ายรัฐบาล แต่ ส.ส.ก็มีสิทธิแหกค่ายไปสนับสนุนฝ่ายค้าน หรือเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่ ส.ส.ก็มีสิทธิแหกคอกไปสนับสนุนรัฐบาล

เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ระบุว่า ส.ส.ต้องไม่อยู่ในความผูกมัด หรืออาณัติ หรือความครอบงำใดๆ

รัฐธรรมนูญมาตรา 162 เขียนย้ำชัดๆว่า ส.ส.ย่อมมีอิสระจากมติพรรค ส.ส.จึงไม่ต้องปฏิบัติตามมติพรรคอย่างเดิม

ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ไม่จำเป็นที่ ส.ส.จะต้องสังกัดพรรคการเมือง

ประเด็นสุดท้าย... นายทุนพรรคหรือคนที่จ่ายเงินสนับสนุนพรรคย่อมมีสิทธิได้ โควตารัฐมนตรี

โดยไม่ต้องมีอาวุโสทางการเมือง

แถมไม่ต้องลงเลือกตั้งให้ลำบากลำบน

สรุปว่าใครมีเงินเหลือใช้ก็เอาเงินไปอัดฉีด พรรคก็จะได้เป็นรัฐมนตรี

เออ...มันก็สะดวกดีเหมือนกันนะโยม.

แม่ลูกจันทร์


“ทักษิณ” ไปบรรยายพิเศษที่ญี่ปุ่น

ความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภายหลังจากเดินทางไปรับฟังคำพิพากษา คดีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ที่ศาลอาญาแล้ว ในช่วง กลางดึกของคืนวันที่ 31 ก.ค. พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางไปที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขึ้นเครื่องไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อ ไปบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ผู้นำในอนาคต” ที่เมืองฟูกูโอกะ โดยมีแกนนำคนสำคัญ และ ส.ส.พรรคพลังประชาชนเดินทาง มาส่ง เช่น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม นาย ไชยา สะสมทรัพย์ ว่าที่ รมว.พาณิชย์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม นายพงศกร อรรณนพพร รมช.ศึกษาธิการ นายธีระชัย แสนแก้ว และนายสุพล ฟองงาม รมช. มหาดไทย ตลอดจนอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทยเดินทางมาส่ง ทั้งนี้เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณเดินทางมาถึงสนามบิน ได้เข้าไปพักผ่อน ในห้องรับรองพิเศษ (วีไอพี) พร้อมพูดคุยกับผู้ที่มารอส่ง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง

ปลื้ม รมต.ส.ส.เป็นเพื่อนร่วมทุกข์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างอยู่ที่ห้องรับรองพิเศษ พ.ต.ท.ทักษิณได้พูดคุยกับเหล่ารัฐมนตรี และ ส.ส. ว่า ขอบคุณ ทุกคนที่มาให้กำลังใจ ทำให้รู้สึกอบอุ่นขึ้นเมื่อเห็นมิตรแท้ อยู่ใกล้ๆ และคอยให้กำลังใจในช่วงที่มีความทุกข์ คนเรา จะได้ใจกันก็ต้องช่วงลำบากที่สุดของชีวิต ส่วนเรื่องคดีหลีกเลี่ยงภาษีคงต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ทั้งคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา และจำเลยอีก 2 คนไม่ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้น จึงมีสิทธิจะอุทธรณ์ต่อไป เรื่องนี้ต้องสู้กันอีกนาน ขอให้ทุกคนไม่ ต้องกังวลเรื่องคดี ยืนยันว่าสิ่งที่ทำมาเป็นเรื่องสุจริต อยาก ให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ อย่าเอาการเมืองเข้ามา แทรก เรื่องการเมืองจะเป็นอย่างไรก็ว่ากันไป แต่อย่าเอาตน เข้ามายุ่ง วันนี้การเมืองพยายามเอาตนเข้ามาโยงด้วย




กลุ่มพันธมิตรฯ เคลื่อนขบวนไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เช้าวันนี้

สะพานมัฆวานฯ 2 ส.ค.-เช้าวันนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ จะเคลื่อนขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประกาศจุดยืนและคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ถึงที่สุด

การชุมของกลุ่มพันธมิตรฯ คึกคักกว่าทุกคืน ถึงแม้จะมีฝนโปรยปรายลงมา เนื่องจากมีกลุ่มพันธมิตรต่างจังหวัด เดินทางมาสมทบจำนวนมาก ทำให้ต้องขยายพื้นที่การชุมนุมออกไป จนเกือบถึงลานพระบรมรูปทรงม้า โดยแกนนำพันธมิตรขึ้นปราศรัยครบทุกคน นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ประกาศว่า เช้าวันนี้เวลา 09.00 น. จะเคลื่อนขบวนเดินเท้าไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประกาศจุดยืน และคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากนั้นจะเดินเท้าไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอพรให้กลุ่มพันธมิตรฯ ทวงคืนเขาพระวิหารกลับคืนมาได้สำเร็จ

ก่อนหน้านี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นำกลุ่มผู้ชุมนุมร่วมทำพิธีสวดมนต์ ขอพลังจากปรากฏการณ์สุริยุปราคา เพื่อแก้เคล็ดขับไล่สิ่งชั่วร้าย หลังจากเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาทำพิธีบวงสรวงสุริยุปราคาเพื่อขอพรเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-08-02 01:07:51

ณัฐวุฒิ เผยพีทีวียกเลิกการชุมนุมหนุนแก้ รธน.หวั่นปะทะ


ทำเนียบฯ 1 ส.ค. - นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดชุมนุมใหญ่วันนี้ (1 ส.ค.) ว่า ขอให้แกนนำพันธมิตรฯ ดูแลการชุมนุมให้รอบคอบและระมัดระวัง เพราะมีการเผชิญหน้าของกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มต้านในหลายจังหวัด รวมทั้งขอให้ดูแลกลุ่มนักรบศรีวิชัย ที่มีข่าวเมาสุรา ทำร้ายประชาชน จึงควรคัดเลือกบุคคลที่อยู่ในสภาพที่พร้อมรับผิดชอบ ดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมได้

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พีทีวีขอยกเลิกการชุมนุมสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่สนามหลวง วันที่ 2 ส.ค.นี้ โดยขอเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุตึงเครียด หรือการเผชิญหน้ากัน รัฐบาลไม่ได้กังวลว่าจะเป็น 7 วันอันตรายต่อรัฐบาล แต่ไม่อยากให้เป็น 7 วันอันตรายต่อคนไทยและสังคมไทย. - สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-08-01 17:25:53

รัฐบาลติดตามผลงาน 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน

ทำเนียบฯ 1 ส.ค. - “พล.ต.ท.วิเชียรโชติ” ยืนยันรัฐบาลติดตามผลการปฏิบัติงาน 6 มาตรการ 6 เดือนฯ พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้รถโดยสาร-รถไฟฟรี ด้าน “ณัฐวุฒิ” ยันกรณี พปช.นำมาตรการดังกล่าวลงโฆษณาใน นสพ.ทำได้ ถือเป็นการประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐ

พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ติดตามผลการปฏิบัติงาน 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน ว่า ที่ผ่านมาในช่วงเช้า มีผู้ใช้บริการน้อย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ทราบ ดังนั้น จึงต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้บริการรถโดยสารหรือรถไฟฟรี ขณะที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) จะสำรวจความพึงพอใจการปฏิบัติและค่าใช้จ่ายเสนอรัฐบาล เพื่อหาโครงการช่วยเหลือประชาชนต่อไป

ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนนำ 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน ลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ ว่า สามารถทำได้ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และกระทรวงการคลังที่รับผิดชอบนโยบายดังกล่าว พรรคพลังประชาชนก็ดูแลอยู่ ดังนั้น สิ่งที่ดำเนินการไป จึงถือเป็นการสนับสนุนและประชาสัมพันธ์นโยบายของรัฐให้เกิดประโยชน์ และหากพรรคร่วมรัฐบาลจะทำเช่นเดียวกัน สามารถทำได้

ต่อข้อถามว่า การดำเนินการดังกล่าวของพรรคพลังประชาชน เป็นการไม่ให้เกียรติพรรคร่วมรัฐบาล นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า คงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะก่อนการพิจารณานโยบายดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้หารือร่วมกันที่จะหานโยบายที่เป็นประโยชน์กับประชาชน และขอย้ำว่า ไม่ใช่เตรียมการเลือกตั้งที่จะมาถึง เพราะการเลือกตั้งครั้งหน้าคงจะมีเวลาอีก 3 ปี. - สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-08-01 16:45:36

แจ้งจับ‘ไกรศักดิ์-เอเอสทีวี'หมิ่น‘ทักษิณ'

อดีตนายกฯทักษิณมอบอำนาจให้ดำเนินคดีหมิ่นประมาทต่อนาย"ไกรศักดิ์-เอเอสทีวี"ฐานหมิ่นประมาท กรณีปราศรัยเวทีพันธมิตร

วันนี้(1 ส.ค.)ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พ.ต.อ.วิบูลยุทธ สันทัดเวช ผกก.สน.นางเลิ้ง รายงานเหตุคดีอาญาน่าสนใจที่ 946/2551 ลงวันที่ 31 ก.ค.ข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาหรือป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น มายัง พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น.เหตุเกิดบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. เหตุเกิดวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมาเวลาประมาณ 19.00 น.

ทั้งนี้เมื่อค่ำวันที่ 31 ก.ค.นายวาสุเทพ ศรีโสดา อายุ 54 ปีอยู่บ้านเลขที่ 197/3 หมู่ 7 ต.วิศิษฐ์ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ผู้รับมอบอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯเข้าแจ้งความกับ พ.ต.ท.สมชัย หัสกุล พนักงานสอบสวน (สบ.3) สน.นางเลิ้ง ให้ดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทกับผู้ต้องหา 6 คนและบริษัทไทยเดย์ดอทคอม จำกัด บริษัทเอเอสทีวี จำกัด ประกอบด้วย 1.นายไกรศักดิ์ ชุณหวัณ 2.นายวสันต์ พาณิชย์ 3.นายจิตนาถ ลิ้มทองกุล 4.นายพชร สมุทวณิช 5.นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล และ 6.นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

จากการสอบสวนผู้เสียหายให้การว่า สืบเนื่องจากวันเกิดเหตุนายไกรศักดิ์ ได้ขึ้นเวทีปราศรัยพันธมิตรฯ กล่าวปราศรัยใส่ความหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อบุคคลที่สามซึ่งเป็นผู้ร่วมชุมนุมและผู้ที่ดูรายการถ่ายทอดสดเอเอสทีวี ระบุว่า ไม่เคยมีประวัติศาสตร์ที่มีการฆ่ามากมายเท่ากับรัฐบาลทักษิณ ข้อความที่นายไกรศักดิ์ กล่าวมานั้นทำให้คนฟังเข้าใจว่า นโยบายประกาศสงความของ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นทำให้มีคนตายเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้มีคนตายกว่า 2,800 ศพเพราะคำสั่งของอาชญากรหรือไม่ก็เป็นคำสั่งของคนบ้าสั่งให้มีการฆ่ากันตายมากมาย ทั้งที่นโยบายนี้ไม่ใช่การสั่งให้มีการฆ่าคนตาย แต่เป็นการต่อสู้เอาชนะยาเสพติดซึ่งมีขั้นตอนดำเนินงานประสานความร่วมมือกับทุกส่วนทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง

นายวาสุเทพ ให้การต่อว่า ถ้อยคำที่นายไกรศักดิ์ กล่าวปราศรัยในวันนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดและไม่ใช่เพื่อความชอบธรรมหรือติชมด้วยความเป็นธรรมแต่เป็นการพูดเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับความเสียหาย และกรณีที่ 2 การที่บริษัทไทยเดย์ดอทคอมจำกัดโดยนายจิตตนาถ และ บริษัทเอเอสทีวี โดยนายวริษฐ์ กรรมการผู้มีอำนาจนั้นได้ร่วมกันถ่ายทอดสดคำพูดของนายไกรศักดิ์ ในข้อความหมิ่นประมาท ถือว่าสมรู้ร่วมคิดกันใส่ความ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้เกิดความเสียหาย จึงถือเป็นการกระทำความผิดร่วมกันข้อหา ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกัยนายไกรศักดิ์และผู้เกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด

อย่างไรก็ตามหลังรับรายงานดังกล่าว พล.ต.ท.อัศวิน ได้สั่งกำชับไปยัง ผกก.สน.นางเลิ้งให้สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานคดีดังกล่าว พร้อมเน้นย้ำให้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมาให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

จาก thai-grassroots

ชุมชนแท็กซี่หนุนมิเตอร์มีใบเสร็จตรวจสอบได้ง่าย

จากกรณีที่กระทรวงคมนาคม โดย นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กำลังมีแนวคิดที่จะออกนโยบายและกำหนดให้เป็นกฎกระทรวง บังคับให้รถแท็กซี่ทุกคันใช้มาตรวัดค่าโดยสาร (มิเตอร์) ชนิดมีใบเสร็จ (มิเตอร์พรินเตอร์)

เพื่อให้สามารถบอกราคา บอกทะเบียนรถ บอกเวลาขึ้นลงและบอกชื่อคนขับได้ ให้สามารถติดตามได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่ผู้โดยสารเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นลืมของ หรือจะแจ้งพฤติกรรมในการให้บริการ รวมทั้งใบเสร็จยังนำไปใช้เบิกคืนในกรณีคนที่เบิกคืนจากที่ทำงานได้ด้วย

กรณีดังกล่าว นายชินวัฒน์ หาบุญพาด แกนนำชุมชนคนแท็กซี่ กล่าวว่าทางชุมชนคนแท็กซี่ขอสนับสนุน เพราะว่าในปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหา หากผู้โดยสารไม่สามารถจำอะไรได้ก็ไม่สามารถจะติดตามได้เลย


รถเมล์-รถไฟฟรีบริการแล้ววันนี้โปรดสังเกตสติ๊กเกอร์กันพลาด!

รถเมล์ฟรีพร้อมให้บริการ 73 เส้นทางวันนี้ “ทรงศักดิ์” แนะดูสติ๊กเกอร์ "รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน" ที่ติดอยู่บนรถโดยสาร ขสมก. ชี้ช่วยประชาชนประหยัดเงินเดือนละ 400-500 บาท พร้อมจ่ายค่าชดเชยเบี้ยเลี้ยงให้พนักงาน ขสมก. วันละ 8,500 บาทต่อคัน ขณะที่ รฟท. ติดป้ายสีเขียวข้างตู้โดยสารชั้น 3 ทุกตู้ โดยมีตัวอักษรสีขาวว่า "รถไฟฟรีเพื่อประชาชน" ผู้โดยสารสามารถขึ้นขบวนรถได้ทันที ไม่ต้องขอออกตั๋วโดยสาร

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงโครงการรถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน ตามที่รัฐบาลมีนโยบายนำ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคนว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้จัดรถเมล์ร้อน 800 คัน รวม 73 เส้นทาง ให้บริการฟรีแก่ประชาชนเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม นี้เป็นต้นไป มาตรการนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายของประชาชนถึงเดือนละ 400-500 บาท

สำหรับรถโดยสารที่ให้บริการนั้น ประชาชนสามารถสังเกตได้จากสติ๊กเกอร์ข้อความ “รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน” ตัวอักษรสีน้ำเงินบนพื้นสีขาว ที่กระจกด้านหน้ารถ และกระจกหลังรถ และด้านบนประตูขึ้นลงรถ ซึ่งจะมีการสลับกับรถปกติ

ทั้งนี้ ผู้โดยสารที่ไม่ได้รับความสะดวกสบาย หรือมีการเรียกเก็บค่าโดยสาร สามารถแจ้งได้ที่เบอร์ 184 นอกจากนี้ จะมีนายตรวจและพนักงานเก็บค่าโดยสารคอยดูแลประชาชนในเรื่องของความปลอดภัย และควบคุมผู้โดยสารไม่ให้เกินคันละ 80 คน ในชั่วโมงปกติ และไม่เกิน 120 คน ในชั่วโมงเร่งด่วน

ส่วนรายได้ของพนักงาน รัฐบาลจะชดเชยส่วนแบ่งค่าตั๋วโดยสาร และค่าเบี้ยเลี้ยง ให้พนักงานขับรถ และพนักงานเก็บค่าโดยสาร วันละ 8,500 บาทต่อคัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

พนักงานขับรถโดยสาร กล่าวว่า แม้การชดเชยรายได้ดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน แต่มาตรการนี้ก็ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น จากเดือนละ 300 บาทเศษ ไปเป็นกว่า 400 บาท

นายวิสูตร อินทรวิเชียร นายท่ารถประจำทางสาย 95 ขสมก. กล่าวว่า รถเมล์สาย 95 ซึ่งวิ่งในเส้นทางบางเขน-รามคำแหง 1 จะเป็นรถสายแรกของโครงการนี้ และเตรียมปล่อยรถคันนี้ในเวลา 05.00 น. วันนี้ ที่อู่รถบางเขน

ขณะที่ นายไพรัช โรจน์เจริญงาม ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์และบริการท่องเที่ยว การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงรถไฟชั้น 3 ที่เปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรี ตามนโยบายลดรายจ่ายในการเดินทาง 6 มาตรการของรัฐบาล โดยผู้โดยสารสามารถขึ้นขบวนรถได้ทันที ไม่ต้องขอออกตั๋วโดยสาร เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าตั๋วโดยสาร รวมทั้งผู้โดยสารไม่ต้องเสียเวลาเข้าคิวขอออกตั๋ว โดยจะให้เจ้าหน้าที่รถไฟเข้าไปดูแลและจัดระเบียบผู้โดยสารแทน

ดังนั้น ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ รฟท. จะติดป้ายสีเขียวข้างตู้โดยสารทุกตู้ โดยมีตัวอักษรสีขาวว่า "รถไฟฟรีเพื่อประชาชน" ในขบวนจะพ่วงด้วยรถชั้น 3 ล้วน เพื่อป้องกันผู้โดยสารขึ้นโดยสารผิดขบวน โดย รฟท. ได้สั่งการให้สถานีรถไฟทุกสถานีประกาศทางเครื่องกระจายเสียงทุกครั้งที่มีขบวนรถไฟฟรีจอดบริการที่สถานี

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบจากป้ายประกาศของสถานี หรือจากเว็บไซต์ของการรถไฟฯ www.railway.co.th หรือโทรศัพท์สายด่วน 1690 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ รถไฟที่ให้บริการฟรีมีจำนวน 164 ขบวนเท่านั้น ซึ่งเป็นรถโดยสารชั้น 3 ไม่ปรับอากาศ และเป็นขบวนรถชานเมือง รถธรรมดา รถท้องถิ่น และรถรวม

กองทัพธรรม ไม่แตกต่างจากโจรก่อการร้าย?!!

คอลัมน์ : มารศาสนา

แทบไม่อยากเชื่อว่า สันติอโศก จะตั้ง “กองทัพธรรม” ขึ้นมาเป็นกองกำลังนักรบมือเปล่า ถูกวางตัวลงให้ทำงานเป็นแนวหน้าหัวหอกชุมนุมประท้วง ประกาศขับไล่รัฐบาล ทั้งๆ ที่รัฐบาลเพิ่งจะเข้ามาบริหารประเทศได้ไม่กี่เดือน

สันติอโศกได้ตั้งข้อกล่าวหานายกรัฐมนตรี ฯพณฯ นายสมัคร สุนทรเวช ว่าเป็น “นอมินี” ของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร โดยมีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นคอหอยกับลูกกระเดือก ร่วมกัน “ประท้วง” จะเอาให้ออกจากการเป็นรัฐบาลให้ได้

มันเป็นการขับไล่โดยที่รัฐบาลยังไม่เคยทำอะไรผิด

สันติอโศก กับ พันธมิตรฯ ไม่สนใจว่าผิดหรือไม่ผิด เขาสนอยู่เพียงอย่างเดียวว่า ต้องขับไล่ให้สำเร็จให้ได้ ถ้าขับไล่ยังไม่สำเร็จ ก็ต้องชุมนุมประท้วงขับไล่ต่อไป

เรื่องราวแบบนี้ได้ก่อความเสียหายให้เกิดกับประเทศไทยของเราอย่างไม่มีทางเลี่ยง ผมเชื่อว่าผู้คนในโลกคงจะแปลกใจพิลึกว่า ประเทศไทยที่ได้ชื่อว่ามีทุกอย่าง เช่น มีสิทธิเสรีภาพ มีอาหารการกินมากมายก่ายกอง ประชาชนร้อยละ 95 อยู่ดีกินดี

แล้วเหตุไฉนบ้านเมืองกลับเต็มไปด้วยความเลวร้าย?

คนต่างชาติเขาสงสัยประเทศไทย แต่เขาไม่มีวันรู้ดอกว่า ภายในประเทศไทยของเรานั้น มีคนชั่วอยู่กี่กลุ่ม กี่คณะ คนไทยเราเองสิครับรู้ดี รู้ว่า “พันธมิตร” ชั่วเพียงไหน สันติอโศกเลวเพียงไร แต่ก็อีกนั่นแหละ ขณะที่คนฝ่ายหนึ่งกล่าวหาว่าพันธมิตรฯ ชั่ว กล่าวหาต่อไปว่า สันติอโศกเลว...แต่ญาติธรรมของพวกเขา (พันธมิตรฯ และสันติอโศก) กลับพากันยกย่องสรรเสริญ!

ในเวลาเดียวกัน สื่อในประเทศไทยของเราเองก็พากันยกย่องเยินยอ จึงทำให้ทั้งพันธมิตรฯ และสันติอโศก พากันได้ใจ อยากจะทำอะไรกับรัฐบาลก็ทำทันที โดยไม่มีความเกรงใจประชาชนว่า ผู้คนส่วนใหญ่ที่เขาเป็นฝ่ายเสียงข้างมาก จะมีความรู้สึกอย่างไร

ความจริง ใครจะขับไล่รัฐบาลอย่างไรคงไม่มีใครห้ามได้

แต่ขอให้ใช้ “รัฐสภา” เป็นเวทีในการขับไล่ หรือหากจะขับไล่บนถนนก็ต้องถือเอาเรื่องไม่ดีมาอ้างอย่างสมเหตุสมผล มีข้อกล่าวหารัฐบาลมีความผิดมหันต์ แล้วลงมติเอาเองว่า ไม่อาจปล่อยให้บริหารประเทศชาติต่อไปได้ จำเป็นต้องประท้วงขับไล่บนถนน อย่างนี้เป็นต้น

บนความเป็นจริง...รัฐบาล 6 พรรค โดยมี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ปรากฏแม้แต่นิดว่ามีความผิด แต่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ต้องเผชิญกับเส้นทางวิบาก ถูกชุมนุมขับไล่คล้ายกับว่ามีความผิดมหันต์

พวกที่ชุมนุมขับไล่ไม่ได้มีความสงสารประเทศของตัวเองเลย มุ่งแต่จะเอาชนะสถานเดียว โดยเฉพาะ “สันติอโศก” ซึ่งประกาศนักประกาศหนาว่า เป็นผู้มีศีล-มีธรรม กลับประพฤติตนเยี่ยง “มหาโจร” จะปล้นดิบทุกคนที่ตัวเองอยากปล้น

สันติอโศกจึงไม่แตกต่างจากโจรก่อการร้ายในเมือง ที่กล้าแม้จะบ่อนทำลายชาติของตน และเรื่องนี้เกิดการโยงยึดกับตัว พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อย่างไม่มีทางเลี่ยง ซึ่งบางคนเรียกคนผู้นี้ว่า “ไอ้จำลอง” ผู้มีใจสกปรกโสมม นึกไม่ถึงว่าคนเคยเป็นผู้ว่าฯ กทม. เคยเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหญ่ เคยเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ จะมีหัวใจ “กระด้าง” ยิ่งกว่าหัวใจโจรป่า

แต่มันก็ได้เป็นไปแล้ว

เรื่องนี้นะครับ กระผม “นายสอาด จันทร์ดี” ต้องขออภัยท่านผู้อ่าน ขอเป็นคนเขียนหนังสือในภาษาและถ้อยคำที่ดุเดือด แดกดัน เพราะว่าถ้าไม่เขียนเช่นนี้ จะไม่มีวันเข้าถึงเลือดชั่วของคนชื่อ จำลอง ศรีเมือง

แน่ล่ะ...คำว่า เลือดชั่ว...ผมมีสิทธิ์ตกเป็นจำเลย

เพราะฉะนั้น...ผมขอขมวดเอาไว้ให้ชัดว่า เลือดชั่วที่ว่านี้ เกิดจากเลือดในสติปัญญาของคนชื่อ จำลอง ศรีเมือง ไม่ใช้พิจารณาญาณที่ถูกต้อง ไม่ใช้หลักนิติศาสตร์ในการชุมนุมประท้วง นั่นก็คือพวกสันติอโศกประกาศชุมนุมประท้วงขับไล่ นายสมัคร สุนทรเวช นอกรัฐสภา ว่าไม่ชนะไม่เลิก

การประกาศแบบนี้ ถือได้ว่าเป็นเลือดชั่ว

ถ้าจะพากันชุมนุมแบบเลือดไม่ชั่ว ได้แก่ตัว นายสมัคร สุนทรเวช มีความผิดอย่างร้ายแรงจนไม่อาจปล่อยให้บริหารประเทศชาติต่อไปได้ สันติอโศกจึงยกกำลังออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่ ถ้าเป็นเช่นนั้น คงไม่มีใครคัดค้าน

แต่บนข้อเท็จจริงของวันเวลาที่พันธมิตรฯ กับสันติอโศกพากันชุมนุมประท้วง

นายสมัคร สุนทรเวช ยังไม่มีความผิดในตำแหน่งหน้าที่อะไรเลย

เมื่อผมเขียนอย่างนี้ ผมขอขยายความต่อไปว่า คณะสันติอโศกมีพฤติกรรมที่ไม่ดีมาโดยตลอด เช่น บวชเป็นพระ ก็ประกาศไม่ขึ้นกับคณะสงฆ์ เมื่อถูกบังคับให้สละสมณเพศ (ถูกจับสึก) ก็ยังคงทำตัวเป็นพระ...ออกบิณฑบาตเหมือนพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป

วันนี้ สันติอโศกกำแหงหาญ ขนเอาสมาชิกบริวารมาตั้งเป็นกองทัพธรรม ยึดถนนราชดำเนินเป็นกองบัญชาการใหญ่...ดังนั้นผมจึงเขียนเอาไว้ว่า “กองทัพธรรมไม่แตกต่างจากโจรก่อการร้าย” เห็นไหมครับ เขาขัดขวางรัฐบาลทุกวิถีทาง

โดยไม่นึกถึงเลยว่าจะเกิดปัญหาอะไรกับประเทศชาติ

ผมจบเอาไว้เพียงเท่านี้ก่อน...ต่อไปยังมีเรื่องถลกหนังอีกเยอะ..!!

สอาด จันทร์ดี



นิติศาสตร์ต้องเป็นธรรม(จบ)

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

ความจริง การแสวงหาความยุติธรรมที่อยู่เหนือถ้อยคำตามตัวอักษรของตัวบทกฎหมาย น่าจะเป็น “หลักมโนธรรม”

“มโนธรรม” ในที่นี้มิใช่หมายถึง “อำเภอใจ” แต่เป็น “มโน” หรือ “จิตใจ” ที่เที่ยงธรรม อยู่เหนือ “อคติ” ทั้งหลายทั้งปวง และประกอบด้วยเหตุผล และศีลธรรมจรรยา หรือเป็นความรู้สึกที่ตระหนักได้ถึงความเป็นธรรมที่พึงเป็น หรือเป็นสามัญสำนึกของมนุษย์ในการรับรู้ได้ถึง “ความยุติธรรม”

ในการพิจารณาคดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกล่าวหากรณีซุกหุ้นเมื่อหลายปีก่อนนั้น มีนักกฎหมายหลายคนพยายามชักจูงว่า คดีนี้ต้องใช้หลักการพิจารณาอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรเท่านั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิด การพูดดังกล่าวนั้นจึงเป็นการอ้างอย่างสับสนว่า การพิจารณาอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษรเช่นนั้น คือ “หลักนิติธรรม”

ดังนั้น การใช้กฎหมายโดยตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามตัวอักษร ถือเอาแต่ความหมายตามตัวหนังสือซึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรของตัวบทกฎหมายเป็นหลักพิจารณาเท่านั้น โดยมิได้คำนึงถึง “เจตนารมณ์” หรือความยุติธรรมอย่างอื่น นอกเหนือไปจาก “ความยุติธรรมตามตัวบทกฎหมาย” จึงขัดกับ “หลักนิติธรรม” ในความหมายที่แท้จริง

กฎหมายนั้นมิใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตกลงมาจากสวรรค์ที่ไหน แต่ “กฎหมาย” เป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากจะเป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาให้กับสังคมมนุษย์แล้ว กฎหมายยังเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งในการใช้เพื่อประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม เพื่ออำนวยความยุติธรรม และอำนวย “ความผาสุก” ให้กับผู้คนในสังคมอีกด้วย

5.คดีตัวอย่างที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในปัญหาคุณธรรมและยุติธรรม
5.1 คดียุบพรรคการเมือง : พรรคไทยรักไทย คำถามว่า ทำไมจึงยุบพรรคเดียว อีกพรรคไม่ยุบ เหตุผลที่ใช้เขียนในคำพิพากษามีลักษณะใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย ประจานพรรคที่ถูกยุบอย่างไรหรือไม่ เหล่านี้เป็นข้อสงสัยที่คนที่มีความรู้มักตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของตุลาการรัฐธรรมนูญอาจจะไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานในทางกฎหมายมหาชนได้ ปัญหาการออกกฎหมายย้อนหลังให้เป็นผลร้าย ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญเห็นว่าห้ามใช้กับกฎหมายอาญาเท่านั้น

ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนกฎหมายมหาชน เห็นว่า ในเรื่องกฎหมายไม่มีผลย้อนหลังนี้มีหลักการคือ “ย้อนหลังไปเป็นโทษไม่ได้” ทั้งการย้อนหลังไปเป็นโทษกับสิทธิทางแพ่ง สิทธิทางอาญา และกับสิทธิทางการเมือง คือจะย้อนหลังไปเป็นผลร้ายกับสิทธิของพลเมืองไม่ได้ ซึ่งสิทธิของพลเมืองเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง

กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือแสวงหาความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อจุดมุ่งหมายทำลายล้าง แต่ต้องใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ดังนั้น ไม่ใช่แต่ในกฎหมายอาญาเท่านั้นที่กฎหมายห้ามมีผลย้อนหลัง แต่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน หลักนี้ก็ต้องห้ามด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายมหาชนซึ่งอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ซึ่งคำว่า “นิติ” หรือ “นีติ” นั้น ที่แท้จริงมีความหมายถึงการปกครองบ้านปกครองเมืองโดยกฎหมาย

“นิติ” หรือ “นีติ” นั้นไม่ได้แปลว่า กฎหมาย ตามที่เข้าใจทั่วไปในการศึกษาวิชานิติศาสตร์ หรือตามที่เข้าใจว่าคณะนิติศาสตร์คือคณะที่สอนกฎหมาย แต่ความหมายที่แท้จริงของนิติ หรือนีติ แปลว่า การปกครองบ้านปกครองเมืองโดยกฎหมาย และเป็นการปกครองที่เป็นธรรม

การปกครองโดยกฎหมายที่เป็นธรรมนี้ ประชาชนคนไทยได้ฟังปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรัสในตอนขึ้นครองราชย์แล้วว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

5.2 กฎหมายที่ดี (Good Law)
การปกครองบ้านปกครองเมืองโดยกฎหมายที่เป็นธรรม นั้นก็คือ ต้องมีกฎหมายที่ดี (Good Law) ซึ่งกฎหมายที่ดีจะมีลักษณะสำคัญอยู่ 5 ประการ คือ
1) กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป กล่าวคือ กฎหมายมีผลใช้บังคับทั่วไป มิได้มุ่งหมายใช้กับกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือบุคคลในบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
2) กฎหมายต้องมีความชัดเจนแน่นอน
3) กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง
4) กฎหมายต้องไม่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วน
5) กฎหมายต้องไม่กระทบต่อเนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของสิทธิและเสรีภาพ

กฎหมายใดก็ตามที่มุ่งให้เกิดผลแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ย่อมขัดต่อหลักแห่งความเสมอภาค และย่อมขัดกับหลักกฎหมายที่ดี ความไม่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วนก็มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลที่เป็นธรรม เพื่อให้ทุกฝ่ายดำรงอยู่ได้ ส่วนที่ว่ากฎหมายต้องไม่ขัดแย้งต่อเนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของสิทธิและเสรีภาพนั้นก็คือ พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่จะกระทำหรือดำเนินการอย่างใดๆ ได้ รวมทั้งสิทธิดำเนินการในทางการเมือง

ดังนั้น กฎหมายใดก็ตามที่จำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งหมายให้เกิดผลร้ายกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ย่อมไม่ใช่กฎหมายที่ดี

5.3 ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วรวม 18 ฉบับ ซึ่งมีการแก้ไข ยกเลิก เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์และกาลเวลา จึงเห็นได้ว่า แม้แต่รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ก็ยังมีทั้งที่ดีและที่ไม่ดี ซึ่งอาจจะแบ่งออกได้เป็น รัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนรัฐธรรมนูญที่ดีก็จะมีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ แม้ว่าเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบบ้าง ค่อนใบบ้าง เต็มใบบ้าง แล้วแต่จะแบ่งแยกกัน

รัฐธรรมนูญแบบเผด็จการ 6 ฉบับ ที่มีลักษณะเผด็จการ คือ
1.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2502
2.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2515
3.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519
4.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2520
5.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549

รัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 (27 มิ.ย. 2475) เป็นการปกครองแบบรัฐบาลภายใต้รัฐสภา

รัฐธรรมนูญ 11 ฉบับ เป็นรัฐธรรมนูญแบบรัฐสภา คือ
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2490
4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2492
5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2495
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2511
7.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2517
8.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521
9.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534
10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 นี้ ก็ยังมีปัญหากฎหมายอีกหลายประการ

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับหลักการของกฎหมายที่ดี ที่เป็นสากล หรือขัดกับหลักนิติธรรมแล้ว ก็ควรที่จะแก้ไขได้ด้วยกระบวนการทางรัฐสภา

ส่วนสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งมาเป็นมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นั้น คนทั่วไปมักเข้าใจว่า เมื่อตนเองมีสิทธิแล้วจะทำอะไรก็ได้ จึงใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น ในการเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าในทางกฎหมายมหาชนจะถือว่า “สิทธิคืออำนาจ” ที่เรียกร้องให้ผู้อื่นต้องปฏิบัติตามสิทธิหรือต้องไม่ขัดขวางการใช้สิทธินั้น แต่การใช้สิทธิดังกล่าวก็มิใช่ว่าจะไม่มีข้อจำกัด นอกจากจะต้องใช้สิทธิภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดแล้ว

การใช้สิทธิดังกล่าวต้องสุจริต คือ ไม่ไปก้าวก่าย รุกล้ำลิดรอนสิทธิตามกฎหมายของผู้อื่น และการใช้สิทธิต้องไม่ละเมิดหรือขัดแย้งต่อกฎหมายอื่นด้วย

แท้ที่จริงแล้ว มาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มีจุดมุ่งหมายคือ ให้บุคคลมีสิทธิในการต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่ง “การกระทำที่กระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” ถ้าจะกล่าวให้ตรงๆ ก็คือ เป็นสิทธิในการต่อต้านการรัฐประหาร นั่นเอง เพราะการรัฐประหารหรือการปฏิวัติ เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติรับรองเอาไว้เลย ดังนั้น หากมีการปฏิวัติรัฐประหาร ประชาชนก็มีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีได้ ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหาร โดยรัฐธรรมนูญเขียนรับรองสิทธินี้เอาไว้

5.4 กรณีการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30
ในประเด็นความชอบด้วยกฎหมายตามหลักนิติธรรม ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ 2 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ หรือห้ามการปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในการดำรงตำแหน่ง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการตรวจสอบ

ซึ่งข้อความดังกล่าวขัดแย้งกับหลักนิติธรรมที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 3 เพราะเป็นการแต่งตั้งบุคคลที่มีความเห็นขัดแย้งเป็นปฏิปักษ์ เป็นฝ่ายตรงข้าม หรือเป็นบุคคลที่เป็นคู่กรณีกับผู้ถูกกล่าวหา มานั่งพิจารณา ซึ่งอาจทำให้การวินิจฉัยมีอคติ ไม่เป็นธรรม ซึ่งขัดต่อหลักความปราศจากส่วนได้เสียซึ่งถือเป็นหลักรัฐธรรมนูญ ประกาศ คปค. (ฉบับที่ 30) นั้น ตามหลักลำดับศักดิ์แห่งกฎหมายก็เทียบเท่าพระราชบัญญัติ จึงไม่อาจจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งมีศักดิ์แห่งกฎหมายสูงสุดได้

กรณีข้างต้นมีข้อสังเกตคือ แม้แต่ผู้พิพากษาและตุลาการในองค์กรศาลยังอาจถูกคัดค้านได้ในกรณีมีส่วนได้เสีย หากจะมาเป็นองค์คณะที่นั่งพิจารณาคดี และในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็มีกฎหมายบัญญัติในเรื่องคัดค้าน ผู้พิพากษาที่มีส่วนได้เสีย แต่ใน คตส. คณะกรรมการ คตส. กลับได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นที่จะถูกคัดค้าน ทั้งที่ คตส. ก็เป็นองค์กรที่พิจารณาปัญหาทางกฎหมายเช่นเดียวกัน

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง เป็นกรณีตัวอย่างจากต่างประเทศในประเด็น “ความมีส่วนได้เสียของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดี” ที่ขัดแย้งกับหลักแห่งความเป็นกลาง ได้แก่ คดีปิโนเช่ต์ (Pinochet) ซึ่งความมีส่วนได้เสียของผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ศาลสภาขุนนาง (ศาลสูงอังกฤษ) ต้องพิพากษายกเลิกคำพิพากษาเดิมทั้งหมด เพราะเหตุที่มีผู้พิพากษาท่านหนึ่ง “มีส่วนได้เสียห่างๆ ในคดี” อันเป็นกรณีขัดต่อหลักแห่งความเป็นกลาง (Freedom from Interest or Freedom from Bias) ซึ่งเป็นหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ (Natural Justice) ตามกฎหมายอังกฤษ หลักแห่งความเป็นกลางนี้ไม่จำเป็นต้องถึงขนาดที่มีผลประโยชน์จริงๆ หรือมีอคติจริงๆ เพียงแต่อยู่ในฐานะเป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีผลประโยชน์ หรืออาจจะมีอคติเท่านั้น ก็ต้องห้ามเป็นผู้พิจารณาแล้ว

ความเห็นของ Lord Browne–Wilkinson ในคดีปิโนเช่ต์ ได้นำคำพิพากษาของ ลอร์ด เฮวาร์ด มาอ้างด้วยว่า “...เป็นความสำคัญขั้นพื้นฐานที่ว่า ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความยุติธรรมเท่านั้น แต่ต้องทำให้คนเห็นปรากฏชัดเจนและปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่ามีความยุติธรรมเกิดขึ้นจริง...”

ในคดีนี้ปรากฏว่า จากเหตุที่ผู้พิพากษาท่านหนึ่งอาจจะมีส่วนได้เสียในคดี ซึ่งขัดต่อหลักแห่งความเป็นกลาง ผู้พิพากษาศาลสูงจึงมีความเห็นพ้องกันให้พิพากษากลับคำพิพากษาเดิม โดยให้มีการพิจารณาคดีใหม่ และให้มีการตั้งองค์คณะผู้พิพากษาชุดใหม่ที่ไม่ใช่ชุดเดิมขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณาคดีนี้แทน และปิโนเช่ต์ก็ไม่ต้องถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศสเปนในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน

รศ.ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง
ภาควิชากฎหมายมหาชน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง



นิติศาสตร์ต้องเป็นธรรม(2)

คอลัมน์: ประชาทรรศน์วิชาการ

2.จากข้อสรุปงานวิจัยข้อที่ 4 นักกฎหมายขาดคุณธรรมหรือขาดความยุติธรรมนั้น ลองมาพิจารณาว่า คุณธรรมคืออะไร?

2.1 ความหมายของคุณธรรม

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 คุณธรรม คือ สภาพ คุณงามความดี

โดยนิยามของ วอลเตอร์และคนอื่นๆ (Walters and others. 1966 : 801) และพจนานุกรมของลองแมน (Longman. 1995 : 1226) กล่าวว่า คุณธรรม หมายถึง ความดีงามของลักษณะนิสัย หรือพฤติกรรมที่ได้กระทำจนเคยชิน

ส่วน ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2526 : 2) ได้ให้ความหมายของคุณธรรมว่า คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นว่าดี เช่น ความซื่อสัตย์ การมีวินัย การประหยัด เป็นต้น

ถ้านิติศาสตร์ขาดคุณธรรม เป็นภัยเพียงใด?

ถ้านักกฎหมายขาดคุณธรรมก็เป็นภัยอันมหันต์เช่นกัน ทั้งต่อประชาชนที่พึ่งกระบวนการยุติธรรม และต่อประเทศชาติ

ในเรื่องคุณธรรมนี้ ขอยกพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 (ภาคเช้า) มีใจความตอนหนึ่งว่า…

“การศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น มีเป้าหมายสำคัญที่จะปลูกฝังความเจริญงอกงามให้แก่บุคคลให้พร้อมทุกด้าน คือให้มีวิชาการระดับสูงสาขาใดสาขาหนึ่ง และให้มีคุณธรรม ความดีของกัลยาณชนอย่างหนักแน่น ความรู้กับคุณธรรมนี้เป็นของสำคัญคู่กัน ที่จะต้องฝึกฝนอบรมอย่างจริงจังให้เกิดมีเสมอกัน ถ้าบกพร่องไปอย่างใดอย่างหนึ่ง การศึกษาก็ไม่สำเร็จประโยชน์ อาจเกิดโทษเสียหายได้ร้ายแรง ข้อนี้ถ้าพิจารณาให้ดี ก็จะเห็นจริงว่า คนที่มีการศึกษาดี มีวิชาความรู้สูง แต่ขาดคุณธรรมนั้นเป็นภัยเพียงใด ส่วนคนซื่อตรงทรงคุณธรรม แต่ขาดความรู้ ความเฉลียวฉลาด ก็ไม่อาจทำงานใหญ่ที่สำคัญๆ ให้สำเร็จได้ จึงขอให้บัณฑิตทุกคนได้ศึกษาเรื่องความรู้และคุณธรรมที่กล่าวให้ทราบชัด แล้วฝึกหัดอบรมให้สมบูรณ์พร้อมขึ้นในตน จักได้ปฏิบัติตนปฏิบัติงานให้บังเกิดประโยชน์แท้จริงแก่ตน แก่ส่วนรวมต่อไป...”

ดังนั้น ในประเด็นปัญหาเรื่องคุณธรรมของนักนิติศาสตร์ จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องปลูกฝัง อบรมสั่งสอน และแก้ไขในการประกอบวิชาชีพ ทั้งเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น และในเรื่องการใช้กฎหมายเพื่อให้เกิด “ความยุติธรรมที่เป็นธรรม”

2.2 ความหมายของความยุติธรรม
ความยุติธรรมคืออะไร เป็นสิ่งที่นักกฎหมายต้องพิจารณาและให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะกฎหมายนั้นตราออกมาใช้บังคับเพื่อความเป็นธรรมในสังคม ความยุติธรรมนี้จะเอาอะไรมาเป็นปทัสถานของความยุติธรรมว่าพอดี หรือเพียงพอแล้ว เพราะเวลาพูดถึงความยุติธรรม ถ้าใช้สามัญสำนึกของตัวเองเป็นหลัก บางเรื่องก็อาจจะเห็นว่าไม่เป็นธรรม แต่ถ้าเอาสังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ก็อาจเป็นธรรม เช่น กรณีออกกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ หากใช้บังคับแก่คนทั่วไปโดยไม่เลือกใช้เฉพาะกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งแล้ว เช่นนี้ก็ย่อมถือว่ากฎหมายนั้นมีความยุติธรรมแล้ว

โดยทั่วไป ความยุติธรรมเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ “รู้สึก” ได้ หรือรับรู้ได้โดย “สัญชาตญาณ” แต่ก็ยากที่จะอธิบาย หรือให้นิยามความหมายของสิ่งที่รู้สึกได้ดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม

ความหมายของคำว่า “ความยุติธรรม” มีความหลากหลาย รายละเอียดต่างๆ อาจศึกษาหาอ่านได้โดยตรงในวิชานิติปรัชญา ในที่นี้จะเพียงยกคำจำกัดความของนักกฎหมายหรือนักปราชญ์บางท่าน เช่น

เดวิด ฮูม (David Hume) อธิบายไว้ว่า ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่มิได้ปรากฏขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เป็นคุณธรรมที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ (Artificial Virtue)

เพลโต (Plato : 427–347 B.C.) ปรัชญาเมธีชาวกรีก ในงานเขียนเรื่อง “อุดมรัฐ” (The Republic) ได้ให้คำนิยามความยุติธรรมว่า หมายถึงการทำกรรมดี (Doing well is Justice) หรือการทำสิ่งที่ถูกต้อง (Right Conduct)

อริสโตเติล (Aristotle) มองว่าความยุติธรรมคือ คุณธรรมทางสังคม (Social Virtue) ประการหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และคุณธรรมเรื่องความยุติธรรมนี้จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเมื่อมนุษย์ได้ปลดปล่อยตัวเขาเองจากแรงผลักดันของความเห็นแก่ตัวอย่างยิ่ง

อริสโตเติล แบ่งความยุติธรรมออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ความยุติธรรมโดยธรรมชาติ (Natural Justice) หมายถึง หลักความยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นสากล ไม่เปลี่ยนแปลง ใช้ได้ต่อมนุษย์ทุกคน ไม่มีขอบเขตจำกัด และอาจค้นพบได้โดย “เหตุผลบริสุทธิ์” ของมนุษย์

2.ความยุติธรรมตามแบบแผน (Conventional Justice) หมายถึง ความยุติธรรมซึ่งเป็นไปตามตัวบทกฎหมายของบ้านเมือง หรือธรรมนิยมปฏิบัติของแต่ละสังคมหรือชุมชน ความยุติธรรมลักษณะนี้อาจเข้าใจแตกต่างกันตามสถานที่ และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาหรือตามความเหมาะสม

กฎหมายกับความยุติธรรมนั้นย่อมมีความสัมพันธ์กัน ดังที่พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิต สมัยที่ 33 ปีการศึกษา 2523 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร 24 ตุลาคม 2524 ตอนหนึ่งว่า...“ตัวกฎหมายก็ไม่ใช่ความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมือที่ใช้ในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมเท่านั้น ดังนั้นนักกฎหมายในการใช้กฎหมาย จึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาและอำนวยความยุติธรรม และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดินก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามเป็นจริงด้วย”

3.กฎหมายเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์จริงหรือ?
“กฎหมายคืออะไร?” หากถือว่ากฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์ เมื่อไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ แล้วต้องถามต่อไปว่า “รัฐาธิปัตย์คือใคร?” ถ้าหากถือตามคำที่อธิบายว่า “รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจในบ้านเมือง” ผลก็จะออกมาเป็นที่น่าตกใจเป็นอันมาก เพราะกฎหมายจะกลายเป็น “สิ่งที่ผู้มีอำนาจสั่ง” และจะสั่งตามอำเภอใจอย่างไรก็จะเป็นกฎหมายทั้งนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้คำกล่าวที่ว่า กฎหมายเป็นที่พึ่งของประชาชนหรือหลักนิติธรรม (The Rule of Law) ได้อย่างไร

ซึ่ง ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย เคยให้ความหมายของหลักนิติธรรมไว้อย่างน่าฟังว่า “กฎหมายเป็นใหญ่” หรือมีผู้แปลว่า “การปกครองของกฎหมาย” ถ้าเรายอมรับคำตอบที่ว่า กฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์แล้ว “การปกครองของกฎหมาย” ก็จะหมายความว่า การปกครองของผู้มีอำนาจ กฎหมายเป็นใหญ่ ก็คือผู้มีอำนาจเป็นใหญ่ นักกฎหมายเป็นผู้รับใช้กฎหมาย ก็แปลว่า นักกฎหมายเป็นผู้รับใช้ผู้มีอำนาจ ถ้าผลเป็นอย่างนี้แล้ว ทุกคนก็จะต้องหวนกลับมาถามว่า ที่ว่า “กฎหมายเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์” นั้นถูกต้องจริงหรือ?

3.1 กฎหมายเป็น Will หรือเป็น General Will หรือ “อำนาจคือธรรม” หรือ “ธรรมคืออำนาจ”
ถ้ากฎหมายเป็นความต้องการของผู้มีอำนาจรัฐ กฎหมายก็เป็น Will หากกฎหมายเป็นเจตจำนงร่วมกันของประชาชนทั้งชาติ กฎหมายก็เป็น General Will ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Souverait? Populaire) และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเมืองภาคพลเมือง

ในความหมายที่ว่า กฎหมายเป็น Will คือเอาความต้องการของผู้ปกครองเป็นใหญ่ อำเภอใจของผู้ปกครองเป็นใหญ่ แม้ความต้องการนั้นจะไม่ชอบด้วยธรรมและเหตุผล ดังนั้นกฎหมายที่เป็น Will หรือเจตนาของผู้ปกครองนี้ ส่วนใหญ่จึงเป็นกฎหมายในระบอบเผด็จการ ซึ่งกฎหมายจะไม่มีความมั่นคงแน่นอน แต่จะปรับเปลี่ยนตามใจของผู้มีอำนาจว่าต้องการให้กฎหมายเป็นอย่างไร

ในความหมายนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า “อำนาจคือธรรม” คือ “สิ่งที่ถูกต้อง” แม้จะไม่ชอบด้วยธรรมและเหตุผล สิ่งไม่ดีกลายเป็นสิ่งดีและถูกต้องได้ ซึ่งกฎหมายลักษณะเช่นนี้ ประชาชนย่อมไม่ต้องการ

ในความหมายที่กฎหมายเป็น General Will หรือเป็นเจตจำนงร่วมกันของประชาชนทั้งชาติ เป็นหลักสากลที่ยอมรับกันในประเทศที่เป็นเสรีประชาธิปไตย เป็นที่ยอมรับตามทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ซึ่งแสดงออกโดยผ่านระบบผู้แทนฯ ที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

ดังนั้น การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการได้อำนาจรัฐมาจากตัวบทกฎหมาย คือรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลหรือรัฐสภา ออกกฎหมายใหม่ หรือแก้ไขกฎหมายที่ไม่ดีจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะกฎหมายคือเจตจำนงร่วมกันของประชาชนทั้งชาติ ซึ่งเป็น General Will (ไม่ใช่ Will แบบกฎหมายในระบอบเผด็จการซึ่งออกตามอำเภอใจ) กฎหมายจะมีความแน่นอนมากกว่า เพราะผ่านการพิจารณาจากตัวแทนของประชาชน บนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะและความต้องการของประชาชนในรัฐ

ส่วนที่ว่า “ธรรมคืออำนาจ” คือการใช้อำนาจโดยพิจารณาถึงความถูกต้อง ความเหมาะสม สมเหตุสมผล เป็นการใช้กฎหมายโดยคำนึงถึงความเป็นธรรม กฎหมายต้องเป็น “กฎหมายที่ดี” (Good Law) ถ้าเป็นกฎหมายที่ไม่ดีก็ยกเลิกได้ เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ หรือประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองฉบับใดที่ไม่มีความเป็นธรรม ก็ออกกฎหมายใหม่ ยกเลิกกฎหมายเก่าซึ่งเป็นกฎหมายเผด็จการได้

4.หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
ความหมายของ หลักนิติรัฐ โดยรวมหมายถึง หลักการปกครองโดยกฎหมาย มิใช่ปกครองตามอำเภอใจ และเป็นระบบที่สร้างขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหลักในการป้องกันและแก้ไขเยียวยาการใช้อำนาจรัฐตามอำเภอใจของฝ่ายปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
หลักนิติรัฐมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ

1.การใช้อำนาจรัฐทุกชนิดต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมาย

2.มุ่งที่การใช้อำนาจรัฐทุกประเภท

หลักนิติธรรม

หลักนิติธรรม (Rule of Law) เป็นหลักกฎหมายที่มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน นอกจากจะหมายถึง “การปกครองที่ทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย” แล้ว ยังมีความหมายถึง “การแสวงหาความยุติธรรม ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลกันตามธรรมชาติ หรือเป็นความยุติธรรมตามธรรมชาติ อันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือกว่าตัวอักษรของตัวบทกฎหมายนั้นเอง” อีกด้วย

หลักนิติธรรมมุ่งเน้นที่
1.การตีความเพื่อใช้กฎหมาย ต้องเป็นธรรม

2.มุ่งเน้นที่ความยุติธรรมที่อยู่เหนือกฎหมายลายลักษณ์อักษร
หลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐนั้นอยู่ด้วยกัน หลักนิติรัฐก็อยู่ในหลักนิติธรรมนั่นเอง แต่แยกกันตรงไหน? แยกกันตรงที่หลักนิติรัฐมุ่งที่ฝ่ายใช้อำนาจรัฐ

“หลักนิติธรรม” เป็นคำที่แปลมาจากคำภาษาอังกฤษ คือคำว่า Rule of Law ความหมายที่แท้จริงของ Rule of Law ซึ่งเป็นหลักกฎหมายของอังกฤษนั้น อาจจะสรุปความได้ว่า หมายถึง “การปกครองโดยกฎหมาย กฎหมายเป็นใหญ่ ไม่ใช่อำเภอใจของผู้มีอำนาจปกครองเป็นใหญ่ ฝ่ายบริหาร (ของอังกฤษ) ซึ่งได้แก่ กษัตริย์และคณะรัฐมนตรีไม่มีอำนาจ หากไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภา ซึ่งก็หมายถึง หากไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ฝ่ายบริหารก็ไม่อาจกระทำการอย่างใดๆ ได้เลย”

ซึ่งเท่ากับหมายความว่า “การปกครองต้องมิใช่การปกครองตามอำเภอใจ”

ในประเทศไทย ในระยะแรกๆ นักกฎหมายได้รับการศึกษามาจากอังกฤษ จึงได้แปลคำว่า Rule of Law นี้ว่า “หลักนิติธรรม” ซึ่งนอกจากจะให้หมายถึงการปกครองโดยกฎหมายแล้ว ยังหมายถึง “การแสวงหาความยุติธรรมโดยอาศัยตัวบทกฎหมาย” ด้วย

รศ.ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง
ภาควิชากฎหมายมหาชน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง



นิติศาสตร์ต้องเป็นธรรม (1)

คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

บทความนี้มุ่งเสนอความเป็นจริงในแวดวงนิติศาสตร์ของไทย ว่ามีการพัฒนาความคิด องค์ความรู้ ที่สอดคล้องกับความเป็นธรรมที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยอย่างไร

บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงทิศทางของนิติศาสตร์ในด้าน “การเรียนการสอนวิธีคิด” ให้กับบุคลากรในแวดวงนิติศาสตร์ว่า ทิศทางของนิติศาสตร์ที่ถูกต้อง ตั้งอยู่บนฐานแห่งความยุติธรรมที่เหมาะสมเป็นธรรมนั้น ควรจะเป็นอย่างไร

จากบทความของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ (ปี 2517) เรื่อง นักนิติศาสตร์หลงทางหรือ ซึ่งได้จบท้ายโดยถามคำถามว่า “นักนิติศาสตร์หลงทางหรือ?” และมีคำตอบว่า นักนิติศาสตร์ไม่ได้หลงทาง แต่นักนิติศาสตร์ไม่มีแม้แต่จุดหมายปลายทาง ถ้านักนิติศาสตร์ของเราจะหลงทางโดยมีจุดหมายปลายทาง เราน่าจะพอใจเสียยิ่งกว่า เพราะอย่างน้อยที่สุดเราก็พอจะทราบได้ว่าจุดหมายปลายทางของเราอยู่ ณ ที่ใด

1.จากบทสรุปว่า นักนิติศาสตร์ไม่หลงทาง แต่นักนิติศาสตร์ไม่มีแม้แต่จุดหมายปลายทางนั้น ฟังแล้วน่าตกใจ
แต่ในปัจจุบันนี้อาจจะน่าตกใจมากยิ่งกว่าคำว่าหลงทาง หรือไม่มีจุดหมายปลายทาง นั่นก็คือ นิติศาสตร์ขาดคุณธรรม ขาดความเป็นธรรม

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปผลการวิจัย สรุปประเด็นได้ดังนี้ คือ


1.หลักสูตรการศึกษาวิชากฎหมายยังมีเนื้อหาที่เน้นหนักไปในทางผลิตบุคลากรออกมาทำงานด้านอัยการ และผู้พิพากษา เป็นเป้าหมายหลักที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งต้องการนักกฎหมายที่มีความรู้ที่ลึกซึ้ง หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

2.นักกฎหมายขาดความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.นักกฎหมายขาดทักษะในการใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ

4.นักกฎหมายขาดคุณธรรม

5.นักกฎหมายมีข้อจำกัดในการใช้ภาษาและเทคโนโลยี

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลมาจาก ในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากทุกวงการ ทั้งในด้านของคุณภาพ อันได้แก่ ความรู้ความสามารถ และในด้านของคุณธรรม ซึ่งหมายถึง ความมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ

จากข้อสรุปข้อที่ 1 หลักสูตรการศึกษาวิชากฎหมายมีเนื้อหาหนักไปทางผลิตบุคลากรออกมาทำงานด้านอัยการ ผู้พิพากษา เป็นเป้าหมายหลัก ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งต้องการหนักกฎหมายที่มีความรู้ลึกซึ้ง และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

เหตุผลสนับสนุน ในข้อที่ 1 นี้ ผู้เขียนบทความซึ่งเป็นอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยมานานถึง 32 ปี ขอแสดงข้อคิดเห็นในเชิงบวกหรือเห็นด้วยกับข้อสรุปที่ 1 กล่าวคือ ในอดีตการจัดหลักสูตรในมหาวิทยาลัยของรัฐเน้นหลักสูตรแต่กฎหมายเอกชน เน้นเนื้อหาหนักไปทางผลิตบุคลากรออกมาทำงานด้านอัยการ ผู้พิพากษา เป็นหลัก ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ก็มีลักษณะการจัดหลักสูตรที่เน้นแต่ในเรื่องเอกชน

จนกระทั่งปี พ.ศ.2536 มีการปรับปรุงหลักสูตร เพิ่มวิชาหลักกฎหมายมหาชนเข้าไปแต่ก็น้อยวิชา จากปี 2514 จนถึงปัจจุบัน 2551 เป็นเวลาถึง 37 ปีแล้ว มีการปรับปรุงหลักสูตร 2 ครั้ง คือ ครั้งที่หนึ่ง ปี พ.ศ.2536 ซึ่งห่างจากปีแรกถึง 24 ปี ส่วนครั้งที่สองห่างจากการปรับปรุงครั้งแรก (2536) 15 ปีจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งในกฎหมายของ ก.พ.ร.จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 4-5 ปี

การจัดการศึกษานิติศาสตร์ในปัจจุบันจึงมิใช่เป็นการมุ่งผลิตนักกฎหมายเพื่อให้มาเป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ เหมือนกับการจัดการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา แต่ผู้สำเร็จการศึกษานิติศาสตร์ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในสังคมหลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษากฎหมายทนายความ นักการเมือง และกระจายไปอยู่ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

การประกอบวิชาชีพตุลาการ ผู้พิพากษา ทนายความ ในศาลที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่แตกต่างออกไป เช่น นักกฎหมายที่เชี่ยวชาญกฎหมายเอกชน ควรทำงานในศาลยุติธรรม แต่ในศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ควรอย่างยิ่งที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลปกครอง ควรเป็นนักกฎหมายมหาชนที่มีความเชี่ยวชาญระบบวิธีคิดวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายมหาชน ที่แตกต่างจากระบบกฎหมายเอกชน

กฎหมายเป็นวิชาชีพที่ให้คุณให้โทษแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง และกระทบต่อประเทศชาติอย่างมาก ดังนั้นการผลิตนักกฎหมาย ไม่มีความรู้ที่ลึกซึ้ง หรือไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จึงเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัย ตัดสินคดี และอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ความวุ่นวายของสังคม ความแตกแยกในประเทศชาติ

ปัจจุบันระบบกฎหมายในประเทศไทยมีการแยกระบบกฎหมายออกเป็น 2 ระบบอย่างชัดเจน คือ ระบบกฎหมายเอกชน (ที่ใช้อยู่ในศาลยุติธรรม) และ ระบบกฎหมายมหาชน (ในศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ฯลฯ เป็นต้น) ดังนั้น นักกฎหมายที่นั่งพิจารณาคดีเอกชนในศาลยุติธรรมที่มีความเชี่ยวชาญในกฎหมายเอกชน จึงไม่ควรไปนั่งพิจารณาคดีในศาลที่ต้องการบุคคล หรือนักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา 6 คน (อีก 3 คนมาจากศาลปกครอง) ไปเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และไปนั่งพิจารณาคดีที่เป็นปัญหาทางกฎหมายมหาชน (คดียุบพรรคไทยรักไทย)

จึงเป็นการแต่งตั้งที่ไม่ได้บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน หรือมีแนวคิดยึดหลักการทางกฎหมายมหาชน อาทิ หลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักประโยชน์สาธารณะ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักความคุ้มค่า หลักความได้สัดส่วน และหลักอื่นๆ อีกมากมายหลายประการ ซึ่งเป็นหลักการแนวความคิด ทฤษฎีทางกฎหมายมหาชน และใช้นิติวิธีทางกฎหมายมหาชนประกอบการพิจารณา ซึ่งผู้พิพากษาศาลฎีกาในศาลยุติธรรมอาจไม่คุ้นเคยในระบบวิธีคิดในหลักกฎหมายดังกล่าว หากไปนั่งพิจารณาในศาลที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชน

ดร.หยุด แสงอุทัย ปรมาจารย์ทางกฎหมาย ได้กล่าวถึงการศึกษากฎหมายในมหาวิทยาลัย ไว้ดังนี้

“การศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาให้รู้แจ้งเห็นจริง ประกอบด้วยเหตุด้วยผล ซึ่งต้องอาศัยทฤษฎีเป็นรากฐาน ฉะนั้นจึงเป็นความคิดที่ผิด ที่คิดว่าทฤษฎีไม่เป็นของจำเป็น เรียนไปก็เสียเวลา ควรศึกษาทางปฏิบัติดีกว่า การศึกษาในทางปฏิบัติโดยไม่รู้ถึงทฤษฎี ย่อมเป็นการศึกษาที่มีอันตรายเพราะเป็นการศึกษาที่ไม่มีหลักสำหรับคิด”
การศึกษานิติศาสตร์ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปประกอบวิชาชีพ และสามารถทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน แม้ว่าผู้ศึกษาและสำเร็จกฎหมายหรือนิติศาสตร์จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง และฐานะที่แตกต่างกัน แต่อาจกล่าวได้ว่า นักกฎหมายหรือนักนิติศาสตร์มีหน้าที่หลักประการหนึ่งที่ตรงกันคือ “การใช้กฎหมาย” ดังนั้นการศึกษานิติศาสตร์จึงมีเป้าหมายหลักในการเป็นสถาบันที่ผลิตผู้ใช้กฎหมาย

กระบวนการใช้กฎหมายมี 3 ขั้นตอน คือ

1.การวินิจฉัยข้อเท็จจริง การใช้กฎหมายเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ในสภาวการณ์เช่นใด นักกฎหมายจำเป็นต้องเข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้เข้าใจและถ่องแท้

2.การวินิจฉัยข้อกฎหมาย เมื่อผ่านขั้นตอนของการศึกษาและค้นหาข้อเท็จจริงแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการปรับข้อกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงนั้น นักกฎหมายจึงจำเป็นต้องรอบรู้ในข้อกฎหมายทั้งปวง เข้าใจนิติวิธีและวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น หากนักกฎหมายปรับใช้ข้อกฎหมายที่ไม่เหมาะกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ก็เปรียบเสมือนแพทย์ที่วินิจฉัยโรคผิด ขั้นตอนสุดท้ายต่อไปคือ การให้ยารักษาก็ผิดพลาดไปด้วย

3.การวินิจฉัยผลตามกฎหมาย เมื่อปรับข้อกฎหมายที่จะใช้กับข้อเท็จจริงนั้นๆ แล้ว นักกฎหมายจะต้องพิจารณาผลในทางกฎหมายให้ได้ว่า การกระทำนั้นผิดกฎหมายใด และผู้กระทำต้องรับผลอย่างไร มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่นหรือไม่

ในเรื่องการใช้การตีความกฎหมาย ผู้เขียนในฐานะอาจารย์ผู้สอนกฎหมายมหาชน ขอเสนอแนวคิดในประเด็นนี้ว่า นักกฎหมายควรแยกให้ออกว่า คดีที่ตนเองวินิจฉัยเป็นคดีประเภทใด กล่าวคือ เป็นปัญหาทางกฎหมายเอกชน หรือเป็นปัญหาทางกฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่ ปัญหาทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือปัญหาทางกฎหมายปกครอง หรือเป็นปัญหาทางกฎหมายอาญา ทั้งนี้ เพราะปรัชญาพื้นฐานของของกฎหมายทั้ง 3 ประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ

1.ปรัชญากฎหมายแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายเอกชน ตั้งอยู่บนหลักแห่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันของคู่กรณี และหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาและเสรีภาพในการทำสัญญา

2.ปรัชญากฎหมายอาญา คือ ความสมดุลระหว่างโทษของผู้กระทำความผิดอาญา กับความสงบเรียบร้อยของสังคม

3.ปรัชญากฎหมายมหาชน ได้แก่ การประสานดุลยภาพระหว่าง “ประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งเป็นประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐ กับ “การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชน” ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน

ในประเด็นการใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย ในการแสวงหาข้อยุติในกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน ก็มีความแตกต่างกัน ดังนี้

ในการแสวงหาข้อยุติของปัญหาในระบบกฎหมายเอกชนนั้น จะประกอบไปด้วย 1.ข้อเท็จจริง 2.ข้อกฎหมาย และ 3.การตีความและการปรับบทข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมาย

ส่วนการแสวงหาข้อยุติของปัญหาในระบบกฎหมายมหาชน จะประกอบไปด้วย 1.ข้อเท็จจริง 2.ข้อกฎหมาย 3.การตีความและการปรับบท 4.การวิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ของรัฐ

เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเรื่องกฎหมายเอกชนที่มีปรัชญาพื้นฐานตั้งอยู่บนความเสมอภาค ความสมัครใจของคู่กรณี หลักศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการทำสัญญา หากนำหลักกฎหมายเอกชนมาพิจารณาโดยตรงในเรื่องที่เป็นปัญหาทางกฎหมายมหาชน ก็อาจทำให้คำวินิจฉัยนั้นไม่ถูกต้องได้ ตัวอย่างคดีฉีกบัตรเลือกตั้ง ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง

ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน ศาลแต่ละศาลก็ใช้เหตุผลตีความที่แตกต่างกัน เช่น ศาลจังหวัดพิจิตรลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน แต่ให้รอการลงอาญา ขณะที่ศาลจังหวัดสงขลายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ หรือศาลอาญายกฟ้อง โดยให้เหตุผลที่อ้างว่า บัตรเลือกตั้งอยู่ในครอบครองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นกรรมสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว

ในประเด็นนี้เราจะพิจารณาเห็นได้ว่า เหตุผลที่ศาลนำมาใช้อ้างนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ โดยพิจารณาเนื้อหาของข้อเท็จจริงว่า บัตรเลือกตั้งโดยทั่วไปถือเป็นเอกสารของทางราชการ ไม่ใช่เป็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การฉีกบัตรเลือกตั้งจึงควรเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง ศาลจะลงโทษแล้วรอการลงโทษไว้ ก็เป็นดุลพินิจที่ทำได้ แต่ในประเด็นเกี่ยวกับ สิทธิเลือกตั้งนั้น ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนเจ้าของสิทธิ และเป็นสิทธิเฉพาะตัว หรือ เป็นสิทธิของพลเมืองของรัฐหรือพลเมืองของประเทศไทยที่จะใช้สิทธินี้ คนต่างด้าวย่อมไม่มีสิทธิ หรือไม่อาจอ้างสิทธิพลเมืองประเภทนี้ได้ ในรัฐธรรมนูญกำหนดให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน ที่จะไปลงคะแนนออกเสียง หากไม่ไปใช้สิทธิก็จะมีบทลงโทษ เช่น สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ไม่ได้

รศ.ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง
ภาควิชากฎหมายมหาชน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ท่องเสฉวน มองโกเลีย ประเทศจีน 9 วัน

คอลัมน์ : เราต่างมาจากทั่วทุกสารทิศ

เฉิงตู ฤดูใด มิไร้หมอก เขาเล่าบอก เมืองเต่า เมืองเก่าแก่
เมืองดอกบัวเมืองผ้าไหมไม่เปลี่ยนแปร ช่วยดูแล มรดก “สามก๊ก” ไกล

ในมณฑลซี่ชวน หรือเสฉวน แปรประมวลสี่ลำแม่น้ำใหญ่
สี่ภูเขาทะมึนเข้มอยู่เต็มไป คลุมด้วยไพรไผ่พฤกษ์ ศึกโบราณ

เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุย เคยรบลุย รุกไล่ ไปทุกด้าน
คือเรื่องจริงถ้วนครบจบตำนาน จีนเรียกขาน “ซานกั๋ว” กันทั่วไป

แยงซีเกียง โถเจียง และหมิ่นเจียง ซินซาเจียงสี่ลำลุ่มน้ำใหญ่
ต้าตู้เหอ ซินอี้เจียง อันเกรียงไกร ต่างวนเวียนรินไหลในเฉิงตู

ดินแดนแห่งหมาเห่าดวงอาทิตย์ เพราะมืดมิดหมอกหุ้มห่มคลุมอยู่
พอตะวันเจิดแจ่มเยี่ยมแย้มดู หมาไม่รู้ตกใจเห่าไล่ดัง

ซี่ชวน แดนถิ่น แผ่นดินโยก เพิ่งผ่านความเศร้าโศกน้ำตาหลั่ง
ยังยืนหยัด อยู่ตรงนี้ อย่างมีพลัง ยังวาดหวัง ไม่ท้อ สู้ต่อไป

ไม่ได้อยู่ประเทศไทย 9 วัน จึงได้รู้ว่าสื่อสารมวลชนบ้านเรามีอิทธิพล สามารถสร้างสีสันบรรยากาศและอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดกับผู้คนในสังคมอย่างไร

การที่เราได้ถอยออกจากเหตุการณ์ รับรู้ว่าโลกกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่ากะลาที่ครอบเราอยู่ เห็นผู้คนที่ต้องหยัดยืนยืดกายสู้ชีวิตโดยไม่เกี่ยวข้องกับความแตกแยกขัดแย้งของสังคมในกะลาประเทศไทย ทำให้รู้สึกโล่ง โปร่งใจ ปลง และผ่อนคลายความตึงเครียดลงได้มาก 9 วันในเฉิงตู ง้อไบ๊ โฮฮอท และมองโกเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ติดสอยห้อยตามกองถ่ายทำมิวสิกวิดีโอของ บริษัท โรส ไปทำงานชนิดแน่นโปรแกรม ประมาณกว่า 40 เพลง ตื่นแต่เช้ามืด นับการปลุกเป็นตี 5 มอร์นิ่งคอล 6 โมง รับประทานอาหาร 7 โมง ล้อหมุนเดินทาง อย่างค่อยยังชั่วหน่อยก็เป็นสูตร 6-7-8 ขยับเคลื่อนมาอีก 1 ชั่วโมง ถ่ายทำกันจนย่ำค่ำคืนถึงสองสามทุ่ม เพราะที่จีนยังมีแสง ไม่มืด เป็นความเหนื่อยร่างกายอย่างแท้จริง แต่ว่าไม่เหนื่อยใจดังกล่าว

เมืองเฉิงตู เสฉวน อยู่ห่างจากบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่เพียงกว่าร้อยกิโลเมตรเศษ ผู้คนที่นี่ยังอยู่กันอย่างปกติเป็นส่วนใหญ่ ไม่โยกย้ายหนีภัยธรรมชาติที่น่าหวาดกลัวไปทางไหน เพราะคนส่วนใหญ่ย่อมไม่ใช่คนรวยที่มีทางเลือก ประชาชนธรรมดาอยู่ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น เกิดที่ไหนก็ตายที่นั่น อยู่กับธรรมชาติก็ตายกับธรรมชาติ แม้ภัยขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ที่โหดร้ายถึงขั้นทำสงครามต่อกัน ประชาชนธรรมดาก็คือผลพลอยเสีย (ชีวิตไปด้วย) ในสงครามอย่างที่เห็นในหลายประเทศ ภาพทั่วไปที่ปรากฏในเฉิงตูคือ ความพลุกพล่านของผู้คนพลเมือง ทำมาหากินประกอบอาชีพไปตามปกติ คนจนก็อยู่อย่างคนจน รู้จนรู้เจียม กินอยู่อย่างประหยัด กินเท่าที่มีกิน หรือมีไม่พอกิน กินเพื่ออยู่ เพื่อรอดตาย ส่วนคนมีเงินก็อยู่อย่างหรูหรา ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย สวมเสื้อผ้าราคาแพง กินอยู่เหลือเฟือ ได้ดังใจต้องการ อันเป็น

ปรากฏการณ์ที่เห็นที่เป็นอยู่ทั่วไปในเมืองใหญ่ของทุกประเทศ ที่ประกอบไปด้วยชีวิตของคนชั้นสูง กลาง และล่างสุด ซึ่งคนจนคือคนจำนวนมากที่สุด ทว่าส่วนข้างมากที่สุดกลับไม่มีโอกาสและอำนาจที่จะจัดการให้ตนเองมีชีวิตที่ดีกว่าคนส่วนน้อยในสังคม

คนไทยในประเทศไทยเวลานี้ตกอยู่ในภัยขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ (ซึ่งจะโหดร้ายถึงขั้นทำสงครามต่อกันหรือไม่ ยังไม่รู้) ภายใต้การรายงานข่าวของสื่อแบบโหมกระแส และจงใจสร้างสีสัน เพราะหากสื่อให้ความสนใจเสนอข่าวความขัดแย้งในสังคมน้อยลง รวมถึงหยุดรายงานข่าวอย่างสร้างสีสัน บางทีตัวละครที่คิดว่าตนเองกำลังเป็นพระเอกในการแสดง อาจลดความบ้าเลือดลงได้บ้าง 9 วันที่ผมถอยออกมาอยู่นอกประเทศ คาดการณ์ว่ากลับถึงบ้านสถานการณ์คงจะคืบหน้าไปไกลถึงขั้นแตกหักกันไปแล้ว ปรากฏว่าผิดถนัด

อันที่จริงต้องถือว่าเป็นการชุมนุมประท้วงอย่างสงบโดยไม่เกิดความรุนแรงที่ยืดเยื้อยาวนานที่สุดในโลก โดยที่ไม่มีประเทศเสรีประชาธิปไตยใดๆ ในโลกปล่อยให้มีการชุมนุมยืดเยื้อประท้วงรัฐบาลได้นานขนาดนี้ ที่สำคัญ เนื้อหามิใช่แค่ประท้วง แต่หากเป็นการมุ่งโค่นล้มรัฐบาลเสียด้วยซ้ำไป แม้อเมริกาและอังกฤษ แม่แบบแห่งประเทศเสรีภาพ ก็คงต้องยอมรับ

พูดไปจะหาว่าโจมตีสื่อ ลองดูกันก็ได้ครับ จะเห็นว่าสื่อโหมกระพือทุกเรื่องที่คิดว่าเป็นประเด็นนำไปขายได้ มากกว่าที่จะคิดว่าเกิดประโยชน์อะไรกับสังคมโดยส่วนรวม สถานการณ์ความขัดแย้งของ 2 ฝ่าย รัฐบาลกับพันธมิตรฯ สื่อชอบรายงานว่า “ต่างฝ่ายต่างผลัดกันรุกและรับมาตลอด” เมื่อพูดถึงรัฐบาล สื่อก็จะบอกว่าเป็น “รัฐบาลพรรคพลังประชาชน” แทนที่จะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค

ถามว่าข่าวเขาพระวิหาร ผู้เสพข่าวได้รับข้อมูลความเข้าใจที่ถูกต้องในข้อเท็จจริง เกิดความรักสามัคคีเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือว่าเพิ่มน้ำหนักให้สังคมเกิดอารมณ์แตกแยกกันมากขึ้น ลองมาดูอารมณ์ของสื่อต่อไป

“ความฮึกเหิมของกลุ่มพันธมิตรฯ แผ่อิทธิพลกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ”

“ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ขาบู๊ของรัฐบาล ถูกเครือข่ายพันธมิตรฯ บุกล้อมกรอบถึงโรงแรมจนอยู่ต่อไม่ได้”

“เฉลิมสั่งสกัดกั้นเอเอสทีวีในต่างจังหวัด”

“พระเอกหนุ่ม ศรราม เทพพิทักษ์ ถูกกลุ่มคนโพกผ้าสีเหลืองที่ศีรษะเขียนคำว่า “กู้ชาติ” ไปยืนตะโกนด่าจนข้าวปลาไม่เป็นอันกิน ต้องรีบเช็กบิลเดินทางกลับ”

“กลุ่มพันธมิตรฯ นครราชสีมา กว่า 200 คน เคลื่อนขบวนบุกไปยังบ้านของ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ใน ต.สามเมือง อ.สีดา จ.นครราชสีมา จนหวุดหวิดจะปะทะกับกลุ่มต่อต้านพันธมิตรฯ”

“สมาชิกพันธมิตรฯ เปิดปราศรัยโจมตีรัฐบาลที่ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จ.เชียงใหม่ แล้วถูกกลุ่มสภาประชาชนภาคเหนือ และกลุ่มคนฮักทักษิณ ฮือเข้าล้อมกรอบ”

“คณะอาจารย์โรงเรียนราชวินิตมัธยม 10 คน ที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้องร้องกลุ่มพันธมิตรฯ ต่อศาลแพ่ง นำมาสู่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องเปิดถนน งดใช้เครื่องเสียง และย้ายเวทีการชุมนุมในที่สุด ถูกนำชื่อมาประจานด่าทอไม่มีชิ้นดี”

“ขณะนี้มีข้อมูลว่า มีความพยายามที่จะปฏิวัติตัวเอง โดยกลุ่มเตรียมทหารรุ่น 10 เพื่อช่วยเหลือทักษิณพ้นคดีความทั้งหมด” (มีข้อมูลว่า จริงหรือไม่จริงไม่รู้ เสนอข่าวเลย)

“เตรียมจับตัวนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ทันทีที่เดินทางกลับจากการเยือนบรูไน”

“พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษา ผบ.สส. แต่งเครื่องแบบทหารเต็มยศไปร่วมขึ้นเวทีกลุ่มพันธมิตรฯ” (ข่าวไม่ได้แจ้งว่านายทหารคนนี้จะเกษียณเมื่อไร และจะสมัคร ส.ส. หรือไม่)

เราเสนอข่าวความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท มากกว่าข่าวความดีความงาม การสร้างสรรค์ด้านดีใดๆ หรือไม่ หรือว่าไม่มีความดีใดๆ หรือของใครเลยในประเทศนี้ ผมไปเมืองจีน 9 วัน กลับมาจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าความรู้สึกที่เรานึกถึงความรุนแรงไปเอง ตึงเครียดไปเอง ในเวลาที่ดูข่าวสารต่างๆ ในประเทศไทย กลับมาจึงรู้สึกผิดหวังเล็กๆ ที่ไม่มีเรื่องร้ายแรงใดๆ เกิดขึ้น

ที่ยกตัวอย่างมาให้ดู คือข่าวที่สื่อจงใจเสนอแทบทุกเรื่องอย่างละเอียดยิบ ล้วนเป็นสีสันแห่งความขัดแย้งที่เหมือนกับว่า เพียงตัวละครเคลื่อนไหวสื่อก็ขานรับทุกเรื่องทันที ความยืดเยื้อยาวนานของการต่อสู้แบบไทยๆ จึงดำรงอยู่ได้ เพราะสื่อมีส่วนแต้มเติมความสนุกให้กับเหตุการณ์ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่กำลังทำสถิติการชุมนุมประท้วงที่ยาวนานที่สุดในโลกครับ

วิสา คัญทัพ



เอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนอื่น

คอลัมน์: บทบรรณาธิการ

องค์กรอิสระ หมายถึง องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดย เป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันการเมืองอื่น รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

แต่องค์กรอิสระที่ทำหน้าที่คอยตรวจสอบคนอื่นในวันนี้ มิต่างอะไรกับองค์กรเถื่อน ที่แสดงออกถึงความไม่มีมาตรฐาน ไร้คุณธรรม จริยธรรม ในการตีความข้อกฎหมายให้เข้าข้างตัวเอง พรรคพวกตัวเองได้ผลประโยชน์ และความชอบธรรม

ที่น่าสมเพชสุดๆ ก็เห็นจะเป็นการออกมาตะแบงว่า คณะกรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ตั้งขึ้นมาโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิวัติ มาอย่างถูกต้องชอบธรรมแล้ว

ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ตามข้อบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 12 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ และดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียวเท่านั้น

ไม่เพียงแต่ไม่แสดงสปิริตลาออก! แต่คณะกรมการ ป.ป.ช.กลับยังคงทำงานรับเงินเดือนจากภาษีของประชาชนแบบหน้าไม่อาย

ในกรณีเดียวกัน 3 รมต.ที่ถูกฟ้องคดีหวยบนดิน

กรรมการ ป.ป.ช. ท่านหนึ่งกลับหยิบยก พ.ร.บ. ป.ป.ช. พ.ศ.2542 มาตรา 55 ขึ้นมาหวังเล่นงาน 3 รมต. บอกว่าผู้ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ เพราะในบทบัญญัติของกฎหมายเขียนไว้อย่างนั้น

ตีความกฎหมายเข้าข้างตัวเองจนน่าเกลียด กฎหมายฉบับเดียวกัน ต่างกันที่มาตรา แต่กับบังคับใช้แบบสองมาตรฐาน ปกป้องตนเองและพวกพ้องให้พ้นผิด แต่กลับฟาดฟันคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามแบบเอาเป็นเอาตาย

นี่แหละคือ สันดานของผลผลิตเผด็จการ แสดงธาตุแท้ออกมาให้เห็นกันชัดเจนขนาดนี้ ใครดูไม่ออก จะบอกให้เอาบุญก็ได้ว่า เป็นพฤติกรรมของพวก “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วให้คนอื่น”

พวกที่มีพฤติกรรมแบบนี้ขอแนะนำให้ไปหาหนังสือของ คุณวาทตะวัน สุพรรณเภษัช เล่ม 2 เรื่อง “เหี้ยส่องกระจก” มาอ่านจะได้เข้าใจว่า “เหี้ยส่องกระจก” คืออะไร

หากหาซื้อไม่ได้ แนะนำให้เดินเข้าไปในห้องน้ำ แล้วหันมองกระจก นั้นแหละคือ คนจำพวก “เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น”



ประวัติทฤษฎีการเมืองการปกครอง“จีนโบราณ” กับสังคมไทยปัจจุบัน

คอลัมน์ : บทความพิเศษ

สถานการณ์การเมืองในปัจจุบันนี้ มีอภิสิทธิ์ชน นักวิชาการ และชนชั้นสูงบางส่วน กล่าวอ้างว่า ประชาธิปไตยของไทยควรจะต้องมีการควบคุม “ตามแบบไทยๆ” เนื่องจากประชาชนไทยส่วนมากยังขาดความรู้และข้อมูล ทำให้ไม่สามารถเลือกผู้แทนที่ “ดี” ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้อำนาจอภิสิทธิ์ชนเหล่านี้ออกมาผ่านอำนาจของกระบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” “วุฒิสภาที่มาจากการสรรหา” “องค์กรอิสระ” “นักวิชาการ” และ “องค์กรพัฒนาเอกชน (ที่ได้พยายามใช้ศัพท์ที่สวยหรูขึ้นว่า องค์กรภาคประชาชน)” และอำนาจทหารบางส่วน พยายามจำกัดสิทธิของ ส.ส. อันเป็นผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ตัวอย่างเช่น การออกกฎหมายว่า “

หากกรรมการบริหารพรรคการเมืองใดกระทำทุจริตการเลือกตั้ง ให้ยุบพรรค และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคการเมือง มิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง (รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 มาตรา237)” หรือ “ห้ามมิให้ ส.ส. เข้าไปแทรกแซงข้าราชการเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น (รธน.50 มาตรา 266)” โดยอ้างว่าเพื่อ “ป้องกันการแทรกแซงอำนาจรัฐ”

ซึ่งมีอภิสิทธิ์ชนและนักวิชาการจำนวนมาก รวมถึงผู้ที่จงเกลียดจงชัง “นักเลือกตั้ง” ให้การสนับสนุน จนกระทั่งล่าสุด มีความพยายามทำลายรัฐบาล พรรคการเมือง แม้กระทั่งอธิปไตยของปวงชน โดยการเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งเพียงร้อยละ 30 และมาจากการแต่งตั้งถึงร้อยละ 70

คำถามคือ การออกกฎหมายในลักษณะที่ควบคุมและลดทอนการใช้อำนาจของประชาชน และจัดการกับผู้ที่เดินออก “นอกกรอบ” ของตน โดยลักษณะ “ล้างโคตร” และดึงเอาผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นกับการกระทำผิด เพียงแต่มีความสัมพันธ์บางประการในด้านอื่นเข้ามารับโทษด้วย จะสามารถทำให้ผู้คนหวาดกลัวในอำนาจของกฎหมายจนต้องยอมสยบ ไม่ทำอะไรนอกลู่นอกทาง และทำให้ “บ้านเมืองสงบ” ตามที่ “อำนาจรัฐอำมาตยาธิปไตย” ต้องการหรือไม่?

และความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ประชาชนกับรัฐ ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง ควรจะเป็นเช่นไร? ประชาชนจะมีอำนาจกำหนดความเป็นไปของรัฐได้มากแค่ไหน? หากให้รัฐปกครองด้วยอภิสิทธิ์ชนบางส่วน แล้วจะให้อำนาจแก่พวกเขามากแค่ไหน

ความจริงแล้ว ในประวัติศาสตร์โลก ได้มีการถกเถียงกันในหลายยุคหลายสมัยว่า รูปแบบการปกครองที่ดี และกฎหมายที่ดี ควรจะเป็นเช่นไร ตัวอย่างหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์จีนสมัยยุคชุนชิว (742-481 ปีก่อนคริสตกาล) ได้มีการถกเถียงกันอย่างรุนแรงว่า ผู้ปกครองควรจะปกครองราษฎรเช่นใด ซึ่งสำนักคิดเชิงปรัชญาสำคัญ ที่มีทฤษฎีการเมืองการปกครองที่ทรงอิทธิพลในยุคนั้น มีสำนักดังต่อไปนี้

1.ลัทธิขงจื๊อ หรือสำนักปราชญ์นิยม ซึ่งนำโดย ขงจื๊อ หรือชื่อจริงว่า ข่งชิว และสานุศิษย์สำคัญได้แก่ เมิ่งจื่อ เป็นต้น ในเชิงการปกครอง ลัทธินี้เชื่อว่าประเทศจะเจริญรุ่งเรือง หากผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง (ซึ่งสามารถแยกย่อยตามหลักความสัมพันธ์ 5 ประการ ได้แก่ ราชากับราษฎร บิดามารดากับบุตร สามีกับภรรยา พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน) จะมีความสัมพันธ์ตามธรรมเนียมที่วางระดับและหน้าที่ของแต่ละบุคคลอย่างเคร่งครัด ซึ่งสำนักนี้อ้างว่า เป็นธรรมเนียมที่สืบต่อมาตั้งแต่ราชวงศ์โจวที่มาก่อน

โดยผู้ปกครองต้องมี “คุณธรรม” มีหน้าที่ “ให้โอวาท” แก่ผู้ถูกปกครอง ส่วนผู้ถูกปกครองต้อง “กตัญญู” ต่อผู้ปกครอง และมีหน้าที่ “น้อมรับคำสั่งสอนและกระทำตาม” แต่ว่าในขณะเดียวกัน ยังได้พยายามลดทอนอำนาจของเจ้าศักดินาใหญ่ ให้ต้องแบ่งอำนาจให้กับเจ้าศักดินาย่อยๆ เช่นเดียวกับกษัตริย์จีนราชวงศ์โจว ซึ่งมาก่อนสมัยชุนชิว และต้องรับฟังความคิดเห็นของ “สุภาพชน” ก็คือ ชนชั้นขุนนางและปัญญาชน ทำให้อำนาจในการบริหารไปตกอยู่ในมือของชนชั้นขุนนาง และเจ้าศักดินาขนาดเล็ก

2.ลัทธิเต๋า หรือสำนักมรรคนิยม ซึ่งนำโดย เหล่าจื้อ หรือชื่อจริงว่า หลี่ตาน มีสานุศิษย์ที่สำคัญได้แก่ จวงจื่อ เป็นต้น ในเชิงการปกครอง ลัทธินี้เชื่อว่า การปกครองที่ดีที่สุดคือการพยายามทำให้ผู้คนกลับไปใช้ชีวิตแบบใกล้เคียงกับบุพกาล คือ มีหน่วยเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก ที่พยายามให้อำนาจรัฐมีอำนาจปกครองน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ “ประเทศควรจะเล็ก ประชากรควรมีน้อย แม้มีเครื่องมือนับหมื่น ผู้คนก็ไม่รู้ว่าต้องใช้ประโยชน์ในยามใด... (ผู้คน) รู้เรื่องราวของหมู่บ้านใกล้เคียงแค่ผ่านเสียงไก่ขันและหมาเห่า” (เต้าเต๋อจิง บทที่ 80) และซึ่งใกล้เคียงกับความคิดของกลุ่มอนาธิปไตยในปัจจุบันอย่างยิ่ง

3.สำนักม่อ นำโดย ม่อจื่อ เป็นสำนักที่เชื่อในความเสมอภาคของมวลมนุษย์ โดยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิโดยกำเนิด เช่น สิทธิในชีวิต ทรัพย์สิน เป็นต้น ทุกคนไม่ควรใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และรัฐต่างๆ มีความเท่าเทียมกัน ทุกคนและทุกรัฐต้องอยู่ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน

หากมีแคว้นใดที่กำลังจะเพลี่ยงพล้ำพ่ายแพ้ ทางสำนักม่อจะรีบรุดยกพลไปช่วยรัฐนั้นรบ แต่ว่าในแง่ทฤษฎีทางการเมืองนั้น สำนักม่อจื่อถือว่าความวุ่นวายเกิดจากผู้คนมีธรรมชาติที่จะคิดไม่ตรงกันว่าสิ่งใดถูก และสิ่งใดผิด การแก้ไขคือ ให้ผู้มีคุณธรรมที่สุดจะเป็น “โอรสสวรรค์” รวบรวมผู้คนมาอยู่ใต้โองการสวรรค์ ปกครองโดยผ่านระบบขุนนาง และคอยสั่งสอนให้ผู้คนมีศีลธรรม ลด ละ เลิกธรรมเนียมและการละเล่นฟุ่มเฟือยต่างๆ และจัดตั้งระบบระเบียบต่างๆ ให้ผู้คนสามารถดำรงชีพอยู่ได้

4.ลัทธิฝ่า หรือสำนักกฎหมายนิยม ซึ่งนำโดย ซางจวิน หรือชื่อจริงว่า ซางเอียง และ หานเฟยจื่อ สำนักกฎหมายนิยมมองว่า มนุษย์ส่วนใหญ่มีธรรมชาติเลวทราม เป็นหน้าที่ของ “ผู้ปกครอง” ต้องใช้การเขียนกฎหมายขึ้นเพื่อควบคุมทุกคนไม่ว่าชนชั้นไหน ให้อยู่ในระเบียบตามที่ผู้ปกครองต้องการ หากใครละเมิดจะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง

นอกจากนั้นยังบังคับให้แต่ละครอบครัวขึ้นตรงเป็นหน่วยที่ถูกตรวจสอบโดยทางราชการ ซึ่งสำนักนี้เชื่อว่า “หากลงโทษรุนแรงไปถึงครอบครัวของผู้กระทำผิด จะทำให้ไม่กล้าทดลอง (ออกนอกขอบเขตกฎหมาย) และเมื่อไม่มีใครกล้าทดลอง (ออกนอกขอบเขตกฎหมาย) การลงโทษก็ไม่จำเป็น” (จาก “หนังสือของซางจวิน” บทว่าด้วยรางวัลและทัณฑ์)

ในยุคนั้น บางแคว้นได้นำเอาหลักการของสำนักคิดเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ แคว้นฉิน ซึ่งนำเอาระบบของสำนักกฎหมายนิยมเข้าไปใช้โดยการปฏิรูปของ ซางจวิน ผู้นำสำคัญคนหนึ่งของสำนักกฎหมายนิยม ซางจวินนำระบบการลงโทษอย่างรุนแรงสำหรับผู้ที่กระทำผิดต่างๆ เช่น ใครฆ่าคน ครอบครัวของฆาตกรต้องโดนประหาร รวมถึงผู้ที่ทราบแหล่งกบดานแต่ไม่รายงานต่อทางการอีกด้วย

หากใครเป็นกบฏ อาจต้องตายหมดทั้งวงศ์ตระกูล และปูนบำเหน็จแก่ผู้ที่ช่วยเหลือทางราชการ พร้อมกันนั้นก็บัญญัติว่า หากใครวิพากษ์วิจารณ์กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นในทางดีหรือทางร้าย จะต้องถูกประหารชีวิต เพื่อควบคุมให้ทุกคนต้องยอมรับกฎหมายโดยปราศจากความคิดเห็นทุกประการ

ต่อมาเมื่อ จิ๋นซีฮ่องเต้ แห่งแคว้นฉิน สามารถรวมแว่นแคว้นต่างๆ เป็นปึกแผ่น หนังสือเรื่อง “บันทึกประวัติศาสตร์” (Record of the grand historian) ของ ซือหม่าเชียน บันทึกว่า หลังจากที่จิ๋นซีฮ่องเต้ทำสงครามปราบปรามแคว้นอื่น และรวบรวมประเทศจีนขึ้นเป็นหนึ่งเดียว ได้นำกฎหมายของรัฐฉินที่โหดร้ายทารุณตามแนวคิดของสำนัก “กฎหมายนิยม” มาใช้ทั่วประเทศจีน ความหนักหน่วงของกฎหมายดังกล่าว

ทำให้ผู้คนต้องทนทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง เช่น หากกองทัพเดินทางไม่ถึงที่หมายตามกำหนด ให้ตัดศีรษะทั้งกองทัพ ใครไม่ไปเกณฑ์แรงงานมีโทษเท่าเทียมกับกบฏ แต่ว่า กฎหมายที่รุนแรงเช่นนั้นก็ยังไม่อาจปกป้องราชวงศ์ฉินได้ ผู้คนเริ่มทยอยกันก่อกบฏทันทีที่จิ๋นซีฮ่องเต้สวรรคต เนื่องจากการกดขี่และกฎหมายเช่นนั้นบีบให้จนตรอก ดังเช่นกรณีของ เฉิงเซ่อ และ อู๋กว่าง ผู้นำกบฏกลุ่มแรก ในหนังสือเรื่อง “บันทึกประวัติศาสตร์” กล่าวว่า เฉิงเซ่อและอู๋กว่างได้รับมอบหมายให้คุมทหารเกณฑ์ไปยังค่ายทหารในอีกมณฑลหนึ่ง แล้วเกิดติดฝน ไม่สามารถไปทันตามกำหนดได้ ซึ่งตามกฎหมายของราชวงศ์ฉินสมัยนั้น โทษของการเคลื่อนกองทหารไปถึงที่หมายล่าช้ากว่ากำหนดคือการตัดหัวทั้งกองทัพ ทั้ง 2 คนจึงปลุกระดมคนที่เหลือในขบวนว่า “ไปช้าโทษถึงตาย กบฏก็โทษถึงตาย ไยจึงไม่เลือกตายเพื่อประเทศชาติ หากต้องตายเช่นเดียวกัน?” และก่อกำเนิดเป็นกบฏกลุ่มแรก หลังจากนั้นการกบฏก็ลามไปทั่วทุกที่

เนื่องจากผู้คนจากแว่นแคว้นต่างๆ ที่ถูกราชวงศ์ฉินเข้ายึดครอง ไม่ยินยอมถูกกดขี่อีกต่อไป ทุกคนต่างรู้สึกว่าตนเองและญาติพี่น้องถูกรังแกจนถึงสุดเขตความอดทนแล้ว เหลือเพียงแค่จะตายอย่างไร ประกอบกับพระเจ้าฉินเอ้อซื่อฮ่องเต้ โอรสองค์ที่ 2 ของจิ๋นซีฮ่องเต้ ที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากจิ๋นซีฮ่องเต้ ถูกขันที เจ้ากาว ควบคุมต่างหุ่นเชิด เจ้ากาวเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์ทั้งสามัญชนและขุนนางที่ซื่อตรง เพื่อรักษาอำนาจของตนเอง และฉ้อราษฎร์บังหลวงไปมากมาย

ในที่สุดก็ลอบปลงพระชนม์ฉินเอ้อซื่อฮ่องเต้ เพื่อเตรียมยก จื่ออิง ขึ้นเป็นฮ่องเต้พระองค์ใหม่ แต่จื่ออิงรู้ตัวว่าหากเจ้ากาวยังมีชีวิตอยู่ ตนต้องประสบชะตากรรมเดียวกับฉินเอ้อซื่อฮ่องเต้ จึงจับเจ้ากาวประหาร แม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถต้านทานกระแสโค่นล้มราชวงศ์ฉินได้ ในที่สุดก็ต้องยอมจำนนต่อกองทัพของ หลิวปัง ซึ่งเข้ามายึดเมืองเซี่ยนหยาง ปิดฉากราชวงศ์ฉิน หลังจากสามารถปกครองประเทศจีนได้เพียงแค่ 15 ปีเท่านั้น

เมื่อผมอ่านประวัติศาสตร์ถึงจุดนี้แล้ว ก็เลยตั้งคำถามกับตนเองว่า “แล้วกฎหมายเช่นไรจึงจะทำให้บ้านเมืองสงบได้?” เมื่อผมอ่าน “บันทึกประวัติศาสตร์” ต่อ ก็ได้พบกับเรื่องราวที่น่าสนใจต่อจากสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ ดังนี้

หลิวปัง ในช่วงแรกเป็นแค่ชาวนาธรรมดาคนหนึ่ง ต่อมาได้มีโอกาสเป็นนายอำเภอและคุมกองทัพเล็กๆ เพื่อเข้าร่วมกับทัพพันธมิตร ต่อต้านราชวงศ์ฉินแห่งแคว้นฉู่เดิมที่เคยถูกราชวงศ์ฉินกลืนกินไป แต่ว่าเขาโชคดีได้โอกาสยึดครองเมืองเซี่ยนหยาง ราชธานีของราชวงศ์ฉินเป็นคนแรก เนื่องจากกองทัพหลักของราชวงศ์ฉินกำลังสาละวนกับการสู้รบกับกองทัพอื่นๆ แต่ว่าเมื่อเขาเข้าสู่เมืองเซี่ยนหยางแล้ว ก็ได้ออกกฎหมายใหม่มาทดแทนกฎหมายเก่าของราชวงศ์ฉินอันโหดร้าย กฎหมายใหม่มีแค่ 3 ข้อเท่านั้น คือ

1.ใครฆ่าคนตาย ให้ประหารเฉพาะฆาตกร

2.ใครทำร้ายคนให้บาดเจ็บ ให้จำคุก

3.ใครขโมยต้องชดใช้ของ

ซึ่งกฎหมายทั้ง 3 ข้อนี้ นับว่าทารุณน้อยกว่ากฎหมายในสมัยราชวงศ์ฉินมาก เนื่องจากแต่เดิมถ้าใครฆ่าคน คนในครอบครัวรวมถึงผู้ที่ทราบเบาะแสแต่ไม่แจ้งต่อทางการ จะต้องโดนลงโทษกันหมด ส่วนโทษทำร้ายคนอื่นให้บาดเจ็บและการขโมย อาจต้องถูกลงทัณฑ์อย่างรุนแรงถึงขั้นเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต หากทนการลงทัณฑ์ไม่ไหว ทำให้ผู้คนสรรเสริญมากว่า หลิวปังเลือกลงโทษตามควรแก่เหตุ และไม่ลงโทษผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดอย่างหว่านแหเช่นในอดีต การออกกฎหมายเช่นนี้ เป็นการสร้างความนิยมของหลิวปังในขั้นแรก

ซึ่งแม้ว่าหลิวปังจะไม่สามารถตั้งตัวขึ้นเป็นฮ่องเต้ได้ทันที เนื่องจากมีกลุ่มกบฏอื่นๆ ที่กล้าแข็งกว่ามาก เช่น กองทัพของ เซี่ยงหยี่ แต่ว่าหลิวปังก็สามารถบ่มเพาะความนิยมและความสนับสนุนได้ โดยมีกฎหมาย 3 ข้อดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้น จนสามารถรบชนะเซี่ยงหยี่ซึ่งเป็นศัตรู และขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เป็นจุดเริ่มต้นของประเทศจีนอย่างแท้จริง หลังจากนั้น ราชวงศ์ฮั่นปกครองประเทศจีนได้ยาวนานรวมทั้งสิ้น 410 ปี

จากตัวอย่างในประวัติศาสตร์จีนที่ผมได้อ่านมา จะเห็นได้ชัดว่า ราชวงศ์ที่ใช้กฎหมายอย่างทารุณ กดขี่ประชาชนให้ตกเป็นทาสเฉกเช่นราชวงศ์ฉิน มีอายุแค่ 15 ปี ในขณะที่ราชวงศ์ฮั่นกลับอยู่ได้ถึง 410 ปี ย่อมเป็นข้อเตือนสติให้กับทุกคนว่า การปกครองและกฎหมายที่ปราศจากความยุติธรรม และลงโทษเกินกว่าเหตุนั้น ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้นาน เพราะประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อต้านในที่สุด

สลักธรรม โตจิราการ



เมื่อไม่มีหนังสือราชเลขาธิการแล้ว ป.ป.ช. จะงัดมุกไหนมาเล่นอีก!?

คอลัมน์ : บทความพิเศษ

หลังจากที่ วาทตะวัน สุพรรณเภษัช “นักเขียน-มิลเลี่ยนคลิก” โยนระเบิดบทความแรกใส่ ป.ป.ช. แล้ว ก็เกิดการระเบิดต่อเนื่องจากบุคคลหลายฝ่าย และหลายองค์กร ที่สำคัญคือ

หนังสือราชเลขาธิการที่ ป.ป.ช. ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงนั้น ไม่ปรากฏว่ามีอยู่ในสารบบงานสารบัญ ทั้งของสำนักงาน ป.ป.ช. เอง และทางสำนักนายกรัฐมนตรี

ปัญหาภาพของความไม่ถูกต้องชอบธรรม ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชุดนี้ คงยังดำรงอยู่ต่อไปอีกนาน

ผมเขียนต้นฉบับนี้ เป็นเช้าวันจันทร์ที่ 28 เดือนกรกฎาคม 2551 ด้วยเห็นข่าวที่น่าสนใจพาดหัว “ประชาทรรศน์” รายวัน ว่า

ล็อกเป้า ‘กริพเพน’ ถล่ม ‘ชลิต’ พังคาเก้าอี้

ตามข่าวเขาลงตารางเปรียบเทียบชัดเจนว่า เมืองไทยซื้อของแพงกว่าประเทศอื่นเขามากมาย และความจริงเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินเจ้าปัญหานี้ ผมเคยเขียนเอาไว้แล้วว่า มันน่าจะต้องมีเรื่องแน่นอน แต่ประชาทรรศน์ยังรายงานขาดไปในประเด็นสำคัญอีก เพราะหนังสือพิมพ์สวีเดนเองเขาลงข่าวเอาไว้ชัดเจนว่า

เครื่องบินที่ขายให้เมืองไทยนั้นเป็นของ Rebuilt หรือของที่เขายกเครื่องใหม่ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า

เอาของมือสองมาขายให้เรานั่นเอง!

นี่เป็นผลงานของสมาชิกเก่า คมช. ที่ยึดอำนาจในแผ่นดิน ไล่อดีตผู้นำโดยกล่าวหาว่าทุจริต แต่กลับทำเรื่องพิกลในการจัดซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์ นอกเหนือไปจากที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่า

คมช. คณะนี้ ได้ถลุงเงินหลวงไปเป็นจำนวนมากมายหลายพันล้านบาท เพราะเบิกเงินจากคลังหลวงไปเป็นค่าทำรัฐประหาร 2 พันล้านบาท แล้วต่อมายังเบิกเพิ่มเติมอีก 5 พันล้านบาท นัยว่าเพื่อนำไปเป็นค่าส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ด้วยการรณรงค์ให้ผู้คนในบ้านเมืองยอมรับรัดทำมะนวย ที่มีค่าร่างแพงที่สุดในโลก และยังจัดพิมพ์ร่างรัดทำมะนวยออกแจกจ่าย 25 ล้านเล่ม ในราคาแพงกว่าปกติถึง 100% คนจัดทำฟาดไปอีกกว่า 200 ล้านบาท

ผมเลยแฉออกมาในหนังสือ “รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ” ที่เรียกว่า “หัวคูณ” นั้น ก็เพราะผู้ที่มีส่วนในการจัดพิมพ์ร่างรัดทำมะนวยร่วมกันปล้นชาติปล้นบ้านเมือง ด้วยการ “คูณกำไร” จากค่าจัดพิมพ์ เข้ากระเป๋าตัวเองและพรรคพวก ทั้งๆ ที่เงินค่าจัดพิมพ์นั้นไม่ใช่เงินของโคตรเง่าคนพวกนี้ แต่เป็นเงินหลวงแท้ๆ

ที่โผล่ออกมาล่าสุด เดลินิวส์ ฉบับวันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม 2551 ผู้เขียนคอลัมน์ ซึ่งใช้นามปากกาว่า “อันดามัน” รายงานว่า

“มีอดีตบิ๊ก คมช. ดอดไปซื้อบ้านที่ จ.ภูเก็ต มูลค่า 30-40 ล้านบาท” ซึ่งคุณอันดามันได้ตั้งปุจฉาว่า “ทำไมไม่มีใครไปตรวจสอบบ้างว่า เอาเงินมาจากไหน เกี่ยวข้องกับงบจัดซื้ออาวุธในกองทัพหรือเปล่า”

เป็นอย่างนั้นไปเสียอีก

น่าสงสาร...ประเทศไทยของเรามากจริงๆ!

ครั้นเราจะหวังว่าให้มีการสอบสวนโดยหน่วยงานของรัฐ ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก

ทำไมน่ะหรือครับ?...ตอบง่ายๆ ก็คือ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ชุดนี้ ได้ถือกำเนิดเกิดมาจากผลพวงของการยึดอำนาจในบ้านเมือง ของพวก คมช. เอง แล้วจะสอบสวนกันให้เป็นธรรมได้อย่างไร?

นอกจากนี้ ที่มาของคณะกรรมการชุดนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากมาย กล่าวคือ

หลังจากที่ผมเขียนบทความเรื่อง “วิบากกรรมของ ป.ป.ช. เห็นทีจะต้องคืนเงิน อย่างนั้นหรือ?” ตามด้วยบทความย้ำอีกครั้ง คือ

“ป.ป.ช. ยกคำสั่ง “บัง” เทียบชั้น “พระบรมราชโองการ!” อุเหม่!!!...อย่าบังอาจ!!!

จากนั้นก็มีผู้คนมากมาย ออกมาทวงหาความชอบธรรม ทั้งในการร้องเรียนต่อกรรมาธิการสภา รวมทั้งผู้คนที่ออกมาขับไล่ ป.ป.ช. ชุดนี้ อย่างที่ประชาทรรศน์วันเดียวกันได้พาดหัวว่า

“รวมพล 29 ก.ค. ไล่ ป.ป.ช. เถื่อนปล่อยเหี้ย 9 ตัว!”

ไม่รู้ว่า ป.ป.ช. จะปล่อยเหี้ยออกมาสู้รบปรบมือกับฝ่ายต่อต้าน ในจำนวนเท่าๆ กันหรือเปล่า? ผมก็ไม่ทราบได้ เพราะเขียนบทความก่อนที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น แต่สถานการณ์จะเป็นอย่างไรนั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หากสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันในวันนี้ ก็คือ

ในคอลัมน์ “ป.ป.ช. ยกคำสั่ง “บัง” เทียบชั้น “พระบรมราชโองการ!” อุเหม่!!!...อย่าบังอาจ!!! นั้น ผมได้แสดงความเคลือบแคลงใจในกรณีที่ นายภักดี โพธิศิริ หนึ่งในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกมาให้ข่าวว่า

...ราชเลขาธิการได้ส่งหนังสือตอบกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ป.ป.ช. ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะยึดอำนาจ ซึ่งถือเป็น “องค์รัฐาธิปัตย์” ผู้มีอำนาจเด็ดขาดขณะนั้น ถือว่าเป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย...

เหตุที่ผมเคลือบแคลงใจนั้น ได้แสดงให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า คำว่า “รัฐาธิปัตย์” แม้จะสะกดว่า “รัฏฐาธิปัตย์” หรือ “รัฐฐาธิปัตย์” นั้น ก็ไม่มีอยู่ในภาษาไทยทั้งนั้น ซึ่งผมได้ชี้แจงแสดงเหตุว่า

สำนักราชเลขาธิการคงไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่มีอยู่ในภาษาไทย ในการตอบหนังสือสำคัญอย่างนี้!

ไม่น่าเชื่อว่า ความคาดหมายของผมจะได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้องอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ก็เพราะ...

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมานี้ คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชนและกองทุน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี นายสุทิน คลังแสง เป็นประธานคณะกรรมการฯ ได้เรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบปากคำ หนังสือพิมพ์ได้รายงานข่าวชัดเจน ดังนี้

นายสุทินได้ขอเอกสารสำเนาหนังสือของราชเลขาธิการ จากเลขาธิการ ป.ป.ช. ซึ่งในวันพฤหัสบดีที่แล้วได้เข้ามาให้ปากคำกับคณะกรรมการ รวมทั้งขอสำเนาหนังสือดังกล่าวจากทางสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งทาง ป.ป.ช. ได้อ้างว่าหนังสือราชเลขาธิการมีมาถึงนั้น

ปรากฏว่าทั้ง 2 หน่วยงาน ไม่สามารถจัดส่งสำเนาหนังสือราชเลขาธิการ ที่ระบุว่า คมช. เป็น“องค์รัฐาธิปัตย์” อย่างที่ นายภักดี โพธิศิริ กล่าวอ้างแต่อย่างใด

นั่นไง...หนังสือที่ไม่มีอยู่จริง ยังอ้างกันดื้อๆ ได้!?

นอกจากนี้ ในเรื่องประเด็นเงินเดือน แม้ผมจะไม่ได้ไปเอง แต่ในเรื่องเดียวกันคือการร้องเรียนประเด็นเงินเดือนนั้น ก็มีทนายหนุ่มไฟแรง ซึ่งยื่นหนังสือให้ทาง ป.ป.ช. พิจารณาในประเด็นเดียวกันกับผม ได้เดินไปให้ปากคำกับคณะ
กรรมาธิการ ที่รัฐสภา ในฐานะผู้ร้องด้วย

ทนายหนุ่มผู้ร้องยังได้ชี้ประเด็นให้คณะกรรมาธิการฯ เห็นอีกว่า

1.แม้แต่ตัว พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คปค. ยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2551 ครั้นวันที่ 20 กันยายน 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองฯ ก็อย่างนี้แล้ว...

กรรมการ ป.ป.ช. เป็นใครกันเล่า ถึงไม่ต้องโปรดเกล้าฯ!?

2.ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ข้อ 4 วรรคสาม ยังกำหนดว่า กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เหลืออยู่ไม่ถึง 6 คน ก็ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีสรรหา แล้วนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

(ดูสิ...ขนาดจะแต่งตั้งซ่อม ยังต้องนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง!)

3.คำสั่งของ คปค. หากประสงค์จะให้รับเงินเดือนอย่างใด จะระบุไว้ในคำสั่ง คปค. อย่างชัดเจน เช่น คำสั่ง คปค. ที่ 10/49, 21/49, 22/49 และ 23/49 เป็นต้น

4.คำสั่ง คปค. ที่ 24/49 ยังมีคำสั่งให้ นายจรัญ ภักดีธนากุล ที่จะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ขอพระราชทานพระบรมราชโองการให้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

5.(ข้อนี้สำคัญมาก) เลขาธิการ ป.ป.ช. ได้หารือกับเลขาธิการ ครม. แต่เพียงเรื่องการแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ช. แต่...
ไม่ได้หารือต่อไปอีกว่า ตาม พ.ร.บ.เงินเดือนฯ ของกรรมการ ป.ป.ช. พ.ศ.2541 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ให้รับเงินเดือน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการให้ดำรงตำแหน่ง หากไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จะจ่ายเงินเดือนได้หรือไม่?

หรือตัวเลขาธิการ ป.ป.ช. จะตีความว่าคำสั่ง คปค. เทียบเท่ากับพระบรมราชโองการ? จึงจ่ายเงินเดือนให้กับคณะกรรมการ ป.ป.ช.

ในกรณีเดียวกัน สำหรับคณะกรรมการ ป.ป.ช. เอง ก็คงยินดีให้เกียรติกับคำสั่ง คปค. ว่าเท่ากับพระราชโองการ จึงรับเงินเดือนทุกเดือน อย่างที่รับกันอยู่นี้!

อย่างนั้น...ใช่หรือไม่?

กฎหมายเกี่ยวกับ “เงิน” นั้น จะต้องตีความตามลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด ซึ่งท่านเลขาธิการฯ ก็คงจะเห็นว่า กรรมการ ป.ป.ช. ชุดก่อนหน้านั้น แม้จะประกอบด้วยนักกฎหมายอย่างอดีตอัยการสูงสุด อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ก็ยังถูกลงโทษถึงจำคุก เพราะการตีความเกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือนตัวเองคลาดเคลื่อนนั่น ใช่หรือไม่?

สรุป คำสั่ง คปค. ทุกฉบับ จะต้องคำนึงถึงเรื่องเงินเดือน และการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ไม่ได้ใช้คำสั่ง คปค. แทนพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

เห็นกันหรือยังครับท่านผู้อ่านที่เคารพ...

ภาพของความถูกต้องชอบธรรม แห่งการดำรงอยู่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ นั้น...

...มั่วซั่ว มัวซัว เพียงใด!?

อยากจะรู้จริงๆ ว่า นอกจากจะท่องคาถา “รัดทำมะนวย” ฉบับ คมช. มาตรา 309 แล้ว

คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะงัดมุกไหนมาเล่นต่ออีก!!?

วาทตะวัน สุพรรณเภษัช



ถูกตามทฤษฎี ประชาชนได้อะไร

คอลัมน์: คุยเฟื่องเรื่องเศรษฐกิจไทย

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน พบกันอีกครั้งกับเรื่องราวของเศรษฐกิจที่ไม่น่าจะมีข่าวดีมากนักสำหรับคนไทยเรา ท่านผู้อ่านครับ วันนี้ถ้าท่านผู้อ่านติดตามข่าวสารบ้านเมืองในเวลานี้ ท่านจะเห็นว่ามีแต่เรื่องราวที่ต้องแก้ปัญหาทั้งนั้น และเป็นเรื่องใหญ่ๆ และชี้ชะตาความเป็นความตายของบ้านเมืองเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศกัมพูชา ณ จุดเขาพระวิหาร ปัญหาการเมืองทั้งเรื่องใบแดงของพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งพรรคชาติไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคพลังประชาชน

หรือแม้กระทั่งผู้นำรัฐบาลถูกตรวจสอบอย่างหนัก จากฝ่ายตรงข้ามอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าประเทศ อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ประเทศไทยเรายังหาทางควบคุมไม่ได้ อย่างปัญหาราคาพลังงาน ที่ขณะนี้มีผลกระทบมาถึงความเป็นอยู่ของประชาชน และสุดท้ายทางฝ่ายกระทรวงการคลัง

โดยการบริหารของฝ่ายรัฐบาล ได้ออกนโยบาย “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน” เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับประชาชน (นโยบายบรรเทาทุกข์) เป็นการชั่วคราว เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับประชาชน และในเวลาใกล้เคียงกัน ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลนโยบายการเงิน ก็ออกนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน 0.25% โดยให้เหตุผลเพื่อที่จะชะลอการเกิดเงินเฟ้อ ผ่านทางการลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจลง

ซึ่งทั้ง 2 นโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือน และการขึ้นดอกเบี้ยมาตรฐาน ถ้าดูเผินๆ โดยประชาชนทั่วไปก็รู้สึกว่า ไม่เห็นจะน่าเป็นอะไรเลย แต่ในทางวิชาการ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ดูเหมือนจะขัดกันอย่างมากเลย ตามความเห็นของผู้เขียน ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ และขัดแย้งกันอย่างไร เอาเป็นว่าผู้เขียนขออนุญาตวิจารณ์ตามหลักเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เสียก่อน เพื่อให้ได้เข้าใจในแนวคิดของแต่ละนโยบาย

1.นโยบายการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยอาศัยธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ท่านผู้อ่านครับ ตามที่ผู้เขียนได้ร่ำเรียนมาในหลักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ในตำราเกือบทุกเล่มมักจะบอกว่า การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคนั้น ให้ตระหนักว่าการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ให้เป็นความคิดหลังสุด ยกเว้นหาทางแก้ไขใดๆ มิได้แล้ว จึงให้มาคิดว่าควรจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือลง

โดยดูจากเงื่อนไขและปัญหาทางเศรษฐกิจ ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ในตำราบอกว่า การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะเมื่อปรับแล้วจะมีผลอย่างรวดเร็วต่อโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจทันที ถ้าดูตามทฤษฎี นั่นหมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีความเห็นว่า นี่เป็นทางออกสุดท้ายแล้ว

สำหรับการแก้ปัญหาเงินเฟ้ออันเกิดจากต้นทุนการผลิต (พลังงาน) เพิ่มขึ้น ตามทฤษฎีแล้ว การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อผู้กู้เงินจากสถาบันการเงิน ทั้งสินเชื่อเพื่อการบริโภค และสินเชื่อทางธุรกิจ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มภาระในการจ่ายชำระคืนเงินกู้ของผู้กู้ให้แก่สถาบันการเงิน ณ จุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดที่ว่า ผู้กู้เงินเพื่อการบริโภค และผู้กู้เงินเพื่อดำเนินธุรกิจ ก็จะลดการใช้จ่ายในการซื้อหาสินค้า นั่นหมายความว่า ความต้องการซื้อ-ขายสินค้าและบริการจะลดลง และราคาสินค้าและบริการก็จะไม่สามารถขยับสูงขึ้นได้ ตัวนี้เองที่จะทำให้เป้าหมายการชะลอเงินเฟ้อสัมฤทธิผล เพราะราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นส่วนสนับสนุนทำให้เกิดเงินเฟ้อ ถ้าราคาไม่ปรับตัวสูงขึ้น ก็หมายความว่า อัตราเงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้น นี่เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่สอนกันมาทุกมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ผู้เขียนคิดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยคงมองว่า หลังจากที่แก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ ก็จะแก้ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทได้โดยการไม่ให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวมากไป เพราะถ้าค่าเงินบาทอ่อนตัวลงไป นั่นหมายความว่า ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานในราคาที่แพงขึ้น และจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ ซึ่งจะไปซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้นอีก ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์บอกว่า

ถ้าหากว่าเกิดอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเพิ่มขึ้น มันจะส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการที่จะต้องแพงขึ้น ทำให้การส่งออกสินค้าและบริการมีปัญหา ถ้าเกิดต่อเนื่อง เงินทุนสำรองระหว่างประเทศก็จะลดลง พร้อมๆ กับความต้องการถือเงินบาทลดลง สุดท้าย อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลบาทก็จะอ่อนค่าลง และมันก็จะมีปัญหาอย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งสมมติฐานเอาไว้ ตามที่ผู้เขียนได้วิเคราะห์ข้างต้น

2.นโยบายการคลังที่ออกผ่านแนวทาง “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน” โดยกระทรวงการคลัง ไม่ต้องพูดเรื่องการตอบรับครับ เพราะผลตอบรับดีมาก แกนหลักของมาตรการนี้ก็คือ การเพิ่มรายได้ และการลดรายจ่ายของประชาชนลงไป โดยผ่านมาตรการต่างๆ ท่านผู้อ่านครับ ตามทฤษฎีแล้วบอกว่า นโยบายการคลัง คือการบริหารทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ และการจัดเก็บภาษีรายได้ โดยวิธีการเพิ่มหรือลดรายจ่ายภาครัฐ และการเพิ่มหรือลดการจัดเก็บภาษีรายได้ ทั้งบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และภาษีสรรพสามิต

โดยใน 6 มาตรการนี้ ใช้หลักการลดการจัดเก็บภาษี และในเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มการใช้จ่ายเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ในเวลาเดียวกันให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น จะได้ไปกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้ยังช่วยชะลออัตราเงินเฟ้อได้ด้วย เพราะนโยบายนี้ได้มีการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันลง มีผลทำให้ราคาน้ำมันที่ขายในตลาดลดลง

ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับราคาขายปลีกน้ำมัน แลผลโดยอ้อม ในทางจิตวิทยาผู้ประกอบการก็จะชะลอการขึ้นราคาสินค้าลง เพราะต้นทุนพลังงานลดลง ดังนั้น 6 มาตรการนี้ก็จะไปชะลออัตราเงินเฟ้อลงในช่วงระยะสั้น เป็นการบรรเทาทุกข์ให้แก่ประชาชน

ทั้ง 2 นโยบายต่างก็มีข้อเสียตามคำวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการ แต่ในความคิดของผู้เขียนแล้ว นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีข้อเสียมากกว่านโยบายของกระทรวงการคลัง เพราะเหตุว่า บนพื้นฐานของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอทำนั้น เป็นยาค่อนข้างจะแรงมาก เพราะไปกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการโดยตรงทันที อีก 0.25%

ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเรื่องของการขึ้นราคาสินค้าและบริการ แต่หากผู้ประกอบการขึ้นราคาไม่ได้ คำถามก็คือ แล้วเขาจะมีกำไรพอจะดำเนินกิจการต่อไปได้หรือไม่ หรือแม้กระทั่ง ถ้าขึ้นราคาสินค้าแล้ว ผู้ประกอบการจะขายสินค้าได้พอที่จะทำให้สายป่านของการดำเนินธุรกิจอยู่ได้หรือไม่ เพราะทฤษฎีการขึ้นดอกเบี้ยคือ การต้องการให้ความต้องการสินค้าและบริการลดลง คำตอบก็คือ

ถ้าผู้ประกอบการใดอยู่ได้ก็อยู่ หากอยู่ไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการไปอย่างถาวร ซึ่งมันผิดหลักของการบริหารประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก แต่กลับจะกลายเป็นความถูกต้องของทฤษฎีที่ร่ำเรียนมามากกว่า อีกอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นคือว่า นโยบายการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อยับยั้งเงินเฟ้อเป็นแนวคิดเพียงด้านเดียว ลืมมองถึงผลกระทบต่อสังคม ที่อธิบายได้ยากในเชิงวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กล่าวถึงความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

โดยเฉพาะเงินสำรองระหว่างประเทศ ที่เป็นตัวแปรที่บอกถึงความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจได้ วันนี้ประเทศไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างน้อย 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็มากมายกว่าปกติตามประวัติศาสตร์ครับ ดังนั้นในความคิดของผู้เขียนแล้ว เราไม่ต้องไปกลัวหรอกครับว่า ค่าเงินบาทจะอ่อนไปเกินกว่าเหตุ ซึ่งสถานการณ์อาจจะมีบ้างที่อ่อนค่าลง แต่ไม่ขึ้นหรือลงไปมากๆ จนค่าเงินบาทไม่มีเสถียรภาพ

เอาละ ข้อเสียในเรื่องนี้ก็รอดูเอาว่าจะมีผลออกมาเป็นอย่างไร 2-3 เดือนก็น่าจะรู้ผลแล้วครับ สถิติการจดทะเบียนบริษัท และเสียงด่าของนักธุรกิจ จะเป็นดัชนีชี้วัดความถูกต้องของการใช้นโยบาย

ในขณะที่นโยบายการคลังนั้นไม่มีข้อเสียหรืออย่างไร มีเหมือนกันครับ คือว่า รัฐบาลนั้นประเมินว่าการจัดเก็บภาษีจะเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และรายได้ที่ประเมินว่ามากกว่าเป้านี่แหละ จะเป็นเม็ดเงินที่นำมาใช้จ่ายในนโยบาย 6 มาตรการ มันเหมือนกับการนำอนาคตมาใช้ในปัจจุบัน ถ้าเก็บเกินกว่าเป้าหมายก็ชนะ แต่ถ้าเก็บไม่เกินกว่าเป้าหมาย อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการหาเงินมาบริหารหรือมาใช้หนี้นโยบาย 6 มาตรการ ทั้งนี้ผู้เขียนคิดว่าไม่น่าเป็นห่วงครับ ถึงแม้จะเก็บรายได้ไม่เกินกว่าเป้าหมาย ยังไงรัฐบาลก็ต้องหาเงินมาให้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะมันเป็นหน้าที่ครับ ถ้ารัฐบาลไม่ทำการลงทุนแบบนี้ แล้วใครจะมาทำให้ ถ้ามัวแต่บริหารแบบเด็กวัด แล้วเมื่อไรจะเป็นเถ้าแก่เสียที

ผู้เขียนหมายถึง มัวแต่ประหยัด กินข้าวกับน้ำปลา ไม่กล้าไปติดหนี้เพื่อเอาเนื้อหนังมากินกับข้าว ก็ต้องนั่งหน้าแห้งเหมือนเวลาเก่าๆ ผู้เขียนสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับ 6 มาตรการครับ

ดร.ญาณกร แสงวรรณกูล


เจอแล้ว!ใครทำเสียดินแดน

คอลัมน์ : Cover Story (1)

นิติฯ มธ. ย้ำชัดแผนที่ฝรั่งเศสทำ “ประเทศไทย” เสียดินแดน

รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช ภาควิชากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตีแผ่ข้อเท็จจริงกรณีปราสาทเขาพระวิหาร วอนคนไทยมีสติ อย่าบ้าตามกระแส “คลั่งชาติ” ทำให้เป็นประเด็นทางการเมือง ใช้ถ้อยคำปลุกเร้าปลุกระดม จนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเบลอไป ย้ำไทยต้องทำตามคำตัดสินของศาลโลก ไม่อย่างนั้นต้องถอนตัวจากสหประชาชาติ ยิ่งทำให้ประเทศเสียหายหนักกว่า ยัน 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อน เพราะอำนาจอธิปไตยทับซ้อนไม่ได้ ชี้เป็นพื้นที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ ระบุ ม.190 เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ เป็นช่องโจมตีของคู่แข่งทางการเมือง

*** ประเด็นเขาพระวิหารเป็นประเด็นทางด้านกฎหมายที่ทั่วโลกให้ความสนใจ หรือเป็นเรืองที่เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศอย่างไร

ประเด็นข้อพิพาททุกวันนี้เป็นเรื่องของพระวิหาร ฉะนั้นในชื่อของคดีจะเป็น “ปราสาทพระวิหาร” แต่เผอิญว่าตัวปราสาทไปตั้งอยู่บนเขาที่มีชื่อเดียวกัน ซึ่งคนไทยจะเรียกว่าเขาพระวิหาร แต่ว่ากัมพูชาจะเรียกว่า ปราสาทพระวิหาร ถามว่าศาลโลกคืออะไร ศาลโลกมีอำนาจในการสั่งพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐ คนที่จะมาใช้สิทธิเป็นโจทก์หรือจำเลยที่จะมาฟ้องศาลโลก จะต้องเป็นรัฐอธิปไตยเท่านั้น

คดีปราสาทพระวิหาร จริงๆ เป็นข้อพิพาทเหนือปราสาทเขาพระวิหาร แต่ตั้งประเด็นง่ายๆ ว่า ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของไทย ต่อมาตอนหลังทางกัมพูชาเพิ่มให้ศาลโลกวินิจฉัยความถูกต้องของแผนที่ด้วย ซึ่งเป็นแผนที่ฝ่ายเดียวที่ฝรั่งเศสทำ ซึ่งทางศาลโลกก็ไม่ได้วินิจฉัย เพราะว่าส่งมาช้าเกินไป ถ้าศาลโลกมาวินิจฉัยประเด็นนี้เข้าไปด้วยจะยิ่งยุ่งเข้าไปกันใหญ่ เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่าทำไมตั้งชื่อว่าไตรภาค ปราสาทพระวิหาร ผมมองเป็นหนังสตาร์วอร์ มี 3 ภาค 1.คือคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 เป็นภาคแรก 2.คือขึ้นทะเบียนมรดกโลก 3.ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต คือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่ต่างฝ่ายต่างอ้าง

ทั้ง 3 ภาคมีความสัมพันธ์กัน พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร เกิดจากที่ไทยถือสันปันน้ำ ส่วนของเขาถือตัวแผนที่ จะไปสัมพันธ์ในภาคที่ 1 ส่วนภาคที่ 2 ไทยจะแย้งกันตั้งแต่คำพิพากษา ไปรับทำไมกับแถลงการณ์ฝ่ายเดียวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แล้วโยงไปถึงแถลงการณ์ร่วม joint communique รวมไปถึงคำสั่งศาลปกครองที่คุ้มครองชั่วคราว เพราะในนั้นเขียนอ้างแถลงการณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เอกสารทุกอย่างของทั้ง 3 ภาคจะมีความสัมพันธ์กันหมด นี่คือความซับซ้อนของคดีนี้

ประเด็นแรก ที่เราต้องรู้คือ อยากให้ประชาชนคนไทยกลับไปอ่านคำพิพากษาของศาลโลกให้ดีๆ โดยเฉพาะประเด็นแรกที่บอกว่า ศาลพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารตกอยู่ภายใต้อาณาเขตหรือดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
ถามว่าประเด็นนี้ชัดหรือยัง บางคนบอกว่าชัดแล้ว บางคนบอกไม่ชัด นักการเมืองบางท่านบอกว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่พื้นที่เป็นของไทย เอาจริงๆ ตามความเห็นผมมองจากคำพิพากษาของศาลโลก ที่ยังไม่ได้ตัดสินแนวเส้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเลย ศาลโลกตัดสินแต่เพียงเรื่องตัวปราสาทเท่านั้นที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยและดินแดนของกัมพูชา คือตัวอำนาจและดินแดนต้องไปด้วยกันในทางกฎหมายระหว่างประเทศ

ฉะนั้น ในปี 2505 เราเสียตัวปราสาท แต่ปัญหามันมีอยู่ว่า พื้นที่รองรับจะต้องเป็นของใคร ประเด็นนี้หลายคนถกเถียงกันว่า ตัวปราสาทเป็นของใคร แต่ไปตั้งอยู่ในดินแดนของไทย ตีความไปต่างๆ นานา แต่ที่ชัดๆ คือ ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา และรวมไปถึงพื้นที่รองรับใต้ตัวปราสาท

ประเด็นต่อมาที่เราต้องทำความเข้าใจในการพิพากษาคือ คำตัดสินของศาลโลก 9 : 3 คณะกรรมการ 9 ท่านบอกให้ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ฝั่งเขมร หลายคนเข้าใจว่า 3 ท่านชี้ให้เป็นของไทย แต่เข้าใจผิด เพราะว่ามีเพียง 2 ท่านเท่านั้น ส่วนอีกหนึ่งท่านเป็นผู้พิพากษาชาวจีน บอกว่าประเด็นเรื่องดินแดนและอธิปไตยเป็นเรื่องซีเรียส แกตัดสินใจไม่ได้หรอกว่าจะเป็นคุณหรือโทษ จนกว่าข้อเท็จจริงจะยุติ ในเมื่อตัวแผนที่แย้งกันอยู่กับตัวสนธิสัญญา ท่านเป็นคนรอบคอบ บอกว่าแบบนี้ศาลตัดสินไม่ได้ ท่านจึงบอกว่าให้ศาลโลกไปแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ไปนำเสนอข้อเท็จจริงตรงนี้ให้กระจ่างและยุติเสียก่อน และนำเสนอข้อเท็จจริงให้ศาลทราบ ท่านจึงจะตัดสิน แต่ในเมื่อเสียงส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ ท่านก็ไม่เห็นด้วย คะแนนจึงออกมาเป็น 9 : 3

*** คำพิพากษาเป็นอย่างไร ผูกพันไหม เราไม่ต้องปฏิบัติตามได้หรือไม่ จัดตั้งข้อสงวนได้ไหม

ในตัวธรรมนูญศาลโลก คือเป็นตัวกำหนดการทำงานของศาลโลก ในธรรมนูญในมาตรา 59 บอกว่า คำพิพากษาผูกพันคู่ความ มาตรา 60 บอกว่า คำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด อุทธรณ์ไม่ได้ เหมือนกับคดีที่ดินรัชดาฯ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาจบศาลเดียว พูดง่ายๆ ว่าศาลของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกับศาลโลกเหมือนกัน คือจบศาลเดียว ไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา

เพราะฉะนั้นประเด็นคือว่า มันมีผลผูกพันแน่นอน ส่วนขั้นตอนที่ว่าประเทศที่แพ้คดีจะปฏิบัติตามหรือไม่นั้น ไม่ใช่เรื่องธุระของศาล เขาเลยไปใส่อยู่ในกฎบัตรยูเอ็นชาร์เตอร์ มันแยกออกจากกัน คือ ธุระของศาลแค่ตัดสินคดีเท่านั้นจบ ส่วนที่บอกว่าจำเลยจะปฏิบัติตามหรือไม่ จะต้องมีการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาให้ไปอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งมาตรา 94 ได้แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ข้อแรกสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ถ้าผมจำไม่ผิดผู้นำของไทยก็ออกแถลงการณ์ว่าไทยจำต้องยอมรับและปฏิบัติตาม คือ มาตรา 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามเราก็ต้องถอนตัวออกจากสหประชาชาติ นั่นจะกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต

อันที่สองบอกว่า เป็นมาตรการ Enforcement คือบังคับในกรณีที่ตัวเองไม่ยอมปฏิบัติตาม คือ ถ้ายอมปฏิบัติตามก็จบ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามในรัฐที่ชนะคดีอย่างกรณีนี้ก็ร้องไปที่คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ให้ออกมาตรการ Sanction ขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬาร

ประเด็นต่อมาคือว่า แถลงการณ์ฝ่ายเดียวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่บอกว่า จะขอสงวนสิทธิ์ ถ้ามองว่าประเด็นนี้จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไหม ผมมองว่ามันไม่น่ามีผลอะไร เพราะสังคมไทยไม่ได้มีการตั้งคำถามโดยตรงว่า แถลงการณ์ฝ่ายเดียวของ คุณถนัด คอมันตร์ มันมีผลระหว่างประเทศไหม หรือมันเป็นเพียงการกระทำแค่ฝ่ายเดียวที่ผูกพันกัมพูชา ผูกพันศาลโลก อาจจะผูกพันแค่เพียงฝ่ายเดียว แล้วถ้าถามต่อไปว่า มันจะมีผลไปลบล้างคำพิพากษาไหม ผมมองว่าไม่มี เพราะว่าในนั้นเขียนไว้ว่า คำพิพากษาถึงที่สุดมันเสร็จเด็ดขาด มันจบอยู่ตรงนั้น ศาลตัดสินไว้ว่าอย่างไรให้ปฏิบัติตามนั้นแล้วกัน ศาลย้ำหลายครั้ง

ส่วนภาค 3 ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของพื้นที่ ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ หลายคนใช้ว่าพื้นที่ทับซ้อน ผมไม่อยากใช้ เพราะว่าอำนาจอธิปไตยมันซ้อนใครไม่ได้ ในทางกฎหมายซ้อนกันยากมาก ผมเลยไปเลี่ยงคำอื่นว่า พื้นที่ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ ตอนนี้ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าเป็นของฉัน ตอนนี้เข้าใจว่ามีกลไกแก้ไข โดยมีการตั้งคณะกรรมการร่วมที่จะเข้ามาเจรจา ผมมองว่าคงต้องใช้เวลานาน และเข้าใจว่าบริเวณปราสาทเขาพระวิหารคงต้องใช้ระยะเวลาอีกนานกว่าจะปักปันเขตแดน
ส่วนประเด็นของการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ ผมขอเรียนว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ในอนุสัญญา 1972 อนุสัญญามรดกโลก เขาบอกไว้เลยว่า ยังเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐอยู่ และไม่ใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเขตแดนหรือแนวพรมแดน ทางยูเนสโกจะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เขาก็พิจารณาแค่ในเรื่องของวัฒนธรรมและในเรื่องของมรดกโลกเท่านั้นเอง

ผมเข้าใจว่าตอนนี้คดีปราสาทพระวิหารมันแย้งกันอยู่ เนื่องจากว่าในอนุสัญญามรดกโลกเขาให้หลักว่า มรดกโลกในส่วนที่เป็นวัฒนธรรมหรือธรรมชาติตั้งอยู่อาณาเขตไหน หลักมันมีอยู่แค่นี้ นอกนั้นก็มีสิทธิ์เสนอ ซึ่งถ้อยคำไปตรงกับคำพิพากษาของศาลโลกที่ผมเรียนไปก่อนหน้านี้ เหมือนกับพนมรุ้งของเราตั้งอยู่ที่ประเทศไทย เราเสนอไป กัมพูชาคงจะเห็นว่าถ้อยคำมันเหมือนกัน มันเป็นสิทธิ์ของเขา เขาเลยใช้สิทธิ์ตรงนี้ยื่นไป

ซึ่งเขาทำมาเป็นสิบปีแล้วตั้งแต่ปี 1993 หรือ 1994 ถ้าเราไม่ลงนามแถลงการณ์ร่วม เขาขอขึ้นทะเบียนได้อยู่แล้ว เพราะอนุสัญญามันเปิดช่องให้เขา

เราต้องมาทำความเข้าใจกันถึงยูเนสโกว่า เป็นทบวงการชำนาญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ พูดง่ายๆ คือว่า มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ และไม่ใช่เป็นองค์การระหว่างประเทศแบบเหนือรัฐ สั่งไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีหลายประเทศที่ถอนตัวจากองค์การระหว่างประเทศ

ผมอยากจะวิงวอนพี่น้องประชาชนชาวไทยให้มีสติ และมีข้อมูลที่รอบด้านพอสมควร ไม่เช่นนั้นมันจะเกิดความวิตกกังวลต่างๆ นานา ตอนนี้เอกสารมันไม่นิ่ง รัฐบาลไม่ยอมทำให้มันเป็นชุดเดียว ต่างคนต่างอ้าง ตอนนี้มันสับสนปนเปไปหมด กลับมาประเด็นที่ว่า การจะถอนตัวออกจากองค์การระหว่างประเทศสามารถทำได้ ส่วนที่เสียเงิน เป็นการเสียเงินบำรุงสมาชิกซึ่งมีทุกองค์การ ประเด็นมันมีความซับซ้อนในแง่ที่ว่า ทรัพยากรหรือวัฒนธรรมมรดกตั้งอยู่ที่ประเทศไหน ประเทศนั้นมีสิทธิ์เสนอ ปรากฏว่ามันมีเกณฑ์อยู่อันหนึ่งที่คณะกรรมการมรดกโลกตั้งเอาเอง คือเกณฑ์เรื่องความสมบูรณ์ เป็นเกณฑ์ภายในที่คณะกรรมการมรดกโลกใช้พิจารณา

ซึ่งประเด็นนี้ทางเราพยายามเสนอเงื่อนไขที่ว่า คุณต้องคำนึงถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ฝ่ายไทยด้วย ไม่เช่นนั้นมันจะขัดกับเกณฑ์ที่คุณตั้งขึ้นมา ประเด็นมีความสลับซับซ้อน เป็นไปได้ที่เรื่องดังกล่าวจะลามไปถึงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร แต่คงจะเป็นเรื่องของอนาคต คงจะอีกนานเพราะว่าเป็นประเด็นใหญ่ เพียงแต่ว่าตอนนี้มันยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ระหว่างตัวแผนที่ 11 ฉบับ ซึ่งทางเขมรยึดถือมาตั้งแต่สมัยฝรั่งเศส ของไทยถือสนธิสัญญาปี 2407 ที่ใช้สันปันน้ำ ตรงนี้ผมคิดว่ายังคงต้องใช้กลไกของเจบีที คณะกรรมการร่วม ให้เจรจากันไปว่าจะทำอย่างไร ตอนนี้ในส่วนที่ผมเป็นกังวลคือพื้นที่อนุรักษ์ว่าพื้นที่ตรงนี้จะกินเข้ามาฝั่งไทยไหม และอำนาจการจัดการจะเป็นอย่างไร

ส่วนในเรื่องที่ผมอยากจะฝากให้ทุกคนมีสติ คือ เรื่องรักชาติ ผมเองเกิดไม่ทันในช่วงที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น แต่รู้สึกเสียดาย และเสียใจ แต่ตอนนี้เราต้องกลับไปดูคำพิพากษาศาลโลก ต้องไปดูตัวธรรมนูญศาลโลก ต้องไปดูเอกสาร แต่ว่ามันอาจจะเป็นคำเรียกร้องที่ยากสำหรับประชาชน เพราะว่ากฎหมายเป็นกฎหมาย

ถ้าประเทศไทยบอกว่าเราจะไม่ปฏิบัติตาม ผมสงสัยว่าแล้วจะมีกลไกอะไรที่จะเอาตัวปราสาทเขาพระวิหารกลับคืนมา เพราะตัวแถลงการณ์ฝ่ายเดียวของ คุณถนัด คอมันตร์ บอกว่า จะเอาปราสาทเขาพระวิหารกลับคืนมาในอนาคต ซึ่งผมยังมองไม่ออกเลยว่ามันจะมีกลไกอะไร หรือว่าจะต้องถอนตัวออกจากสหประชาชาติแล้วเอากำลังทหารเข้าไป ซึ่งขนาดเราขอขึ้นทะเบียนปราสาทร่วม เขมรยังไม่ยอม เพราะฉะนั้นการจะไปเอาเขาพระวิหารคืนมา เขมรจะยอมหรือ ขนาดเราขอเป็นเจ้าภาพร่วม เขายังรังเกียจ เพราะฉะนั้นจะเอาปราสาทเขาพระวิหารคืนมาคงไม่ได้

การที่คนไทยทำใจรับไม่ได้กับเรื่องนี้ ผมมองว่าเราเองเป็นมาตั้งแต่ปี 2505 แล้วว่ากันตามกฎหมาย เราถือว่าคำพิพากษานั้นเป็นที่สิ้นสุด แต่ไม่ได้หมายความว่าคำพิพากษานั้นถูกต้องหรือไม่

โดยส่วนตัวผมมีความเห็นตรงกับตุลาการเสียงข้างน้อย โดยเฉพาะ เซอร์ เพอร์ซี เสปนเดอร์ (Sir Percy Spender) ชาวออสเตรเลีย ที่ชี้ให้เป็นของไทย ผมว่าท่านนี้การให้เหตุผลเขามีความละเอียดอ่อน และค่อนข้างที่จะเห็นใจฝ่ายไทย เพราะว่าช่วงนั้นทางฝรั่งเศสกำลังแผ่อิทธิพล และประเทศไทยก็ยังไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านแผนที่ จะไปโต้แย้งอย่างพระราชธิดาของเสด็จในกรม กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็เกรงว่าถ้าเราไปแย้งเขาอาจจะเป็นข้ออ้างในการลุกขึ้นมาเอาดินแดนอีก

ผมมองว่าฝ่ายไทยค่อนข้างโชคร้าย เพราะก่อนคดีปราสาทพระวิหาร เคยมีข้อพิพาทมาก่อนหน้านี้เรื่องแผนที่ไม่ตรงกับสนธิสัญญา ปรากฏว่าศาลโลกให้น้ำหนักกับสนธิสัญญามากกว่าให้น้ำหนักแผนที่ แต่มากรณีเขาพระวิหารศาลกลับฟังแผนที่ ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมศาลถึงเปลี่ยนแนวทาง

ถ้าสมมติว่ากัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

ได้ด้วยแถลงการณ์ร่วมของ นายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ผมถามว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่บอกว่าทำผิดรัฐธรรมนูญมีผลไหม คำตอบคือไม่มี เพราะว่าอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยสนธิสัญญาในมาตรา 46 บอกว่า รัฐจะอ้างว่าตัวเองทำผิดขั้นตอนกฎหมายภายในทั้งหลาย เพื่อที่จะมาขอให้ความสมบูรณ์ในการแสดงเจตนาเสียไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่มีทางที่กัมพูชาจะมาทราบว่าขั้นตอนเป็นอย่างไร ถ้ากิจการนั้นสำเร็จไปแล้วมาถอนกลับไม่ได้

ผมเข้าใจว่าประเด็นเรื่องปราสาทเขาพระวิหารกลายเป็นประเด็นทางการเมืองมาก มีการใช้ถ้อยคำปลุกเร้าปลุกระดม จนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายมันเบลอไป คนไม่สนใจเรื่องของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพราะคนไปให้ความสนใจเรื่องทางการเมืองเสียมาก

ส่วนประเด็นของมาตรา 190 ที่มีการคาดการณ์ว่าจะเสียดินแดน จากการที่ผมไปอ่านคำวินิจฉัย ผมรู้สึกว่าศาลรัฐธรรมนูญลังเลทั้งในแง่ของเหตุผล และลังเลตอนที่จะวินิจฉัย เพราะใช้คำว่า “อาจจะ” อยู่ประมาณ 3-4 ครั้ง ตอนที่วินิจฉัยแล้วบอกว่าเป็นสนธิสัญญาที่ “อาจจะ” ซึ่งในตัวบทมาตรา 190 ไม่มีคำว่า “อาจจะเปลี่ยนแปลง” มันต้อง “เปลี่ยนแปลง” เพราะฉะนั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผมมองว่าการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตรงนี้เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ไปก้าวล่วงการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ไปเพิ่มถ้อยคำ

ส่วนประเด็นที่ 2 ถ้าไปอ่านแล้วเหมือนกับว่าศาลรัฐธรรมนูญอบรมรัฐบาล เหมือนกับการตำหนิ เหมือนกับรัฐบาลเป็นเด็กนักเรียนที่ไม่ได้ทำการบ้าน ไปดูการใช้ภาษาเหมือนกับการอบรมฝ่ายบริหาร ทั้งๆ ที่อำนาจของศาลคือการวินิจฉัยข้อกฎหมาย เช่น กล่าวว่า ถ้าไปขึ้นมรดกโลกจะทำให้คนของทั้งสองประเทศเกิดความขัดแย้ง ทำไมศาลรัฐธรรมนูญไปคิดแทนกัมพูชา

ศาลเองยังยอมรับในเนื้อหาสาระเลยว่า ไม่แน่ใจว่าจะมีบทเปลี่ยนแปลงในอาณาเขตไทยหรือเปล่า เพราะฉะนั้นในตอนท้ายของคำวินิจฉัยศาลจะใช้คำว่า “อาจจะ” ผมมองว่าเหมือนเป็นการไปเพิ่มถ้อยคำในตัวบทกฎหมาย และเหตุผลหนึ่งที่ศาลบอกว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งคำนี้มันมีความหมายกว้าง ดูยังไงครับว่ามีผลกระทบ

ผมมองว่าตอนนี้ศาลน่าจะถูกตรวจสอบบ้าง อย่างแรกเลยคือคำวินิจฉัยของศาล มันชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุผลไหม อันนี้เป็นประเด็นหนึ่งที่สาธารณชนทำการตรวจสอบได้ อันที่สองที่ว่ามีการถอดถอนได้ไหม ในรัฐธรรมนูญของเรามีในกรณีที่กระทำผิดตำแหน่งหน้าที่ จงใจละเมิด อยู่ในข่ายถอดถอน มีกลไกทางสภาในการถอดถอน
ถ้ามาใช้ตุลาการภิวัตน์มากๆ ผมว่ามันจะเป็นอันตรายต่อศาลเอง ความน่าเชื่อถือหรือความศักดิ์สิทธิ์มันจะค่อยๆ ลดน้อยลง

*** ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ หลังจากที่ คุณนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ไปทำแถลงการณ์ร่วม จนถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าเราไปยกดินแดนให้กับเขมรหรือเปล่า ตรงนี้อยากให้อธิบายได้ไหม

ผมคิดว่าจุดที่ประชาชนสงสัยคือ ในตัวแถลงการณ์ร่วมนั้นมันมีคำว่า รอบๆ ปราสาท ซึ่งตรงนี้มันยังเป็นถ้อยคำที่มีความคลุมเครือว่ามันจะแค่ไหน เพียงใด อย่างไร ผมคิดว่าตรงนี้มันเป็นปัญหาทางเทคนิค ที่ทางกรมแผนที่ทหารหรือหน่วยงานที่เชี่ยวชาญที่สุดแล้วน่าจะออกมาชี้แจง ออกมาอธิบายว่า ที่บอกว่าพื้นที่รอบๆ ปราสาทนั้น มันตีความมากน้อยแค่ไหนอย่างไร มันผิดไปจากมติ ครม. หรือเปล่า แต่ทีนี้ในตัวแถลงการณ์มันบอกไม่ได้ มีเพียงว่าพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาท ที่ต้องดูจากแผนที่ อีกอย่างตอนนี้เอกสารเรายังไม่นิ่ง แต่ละคนก็ต่างถือแผนที่ไว้มากมาย

ซึ่งทางรัฐบาลผมคิดว่าถึงเวลานี้น่าจะออกมาทำการชี้แจงอีกสักครั้งหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนสบายใจ ให้มันได้ข้อยุติว่ามันรุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยหรือเปล่า เพราะอีกอย่าง เกณฑ์ของการตัดสินการเป็นมรดกโลกมันมีเกณฑ์อยู่อย่างหนึ่งที่เรียกว่า พื้นที่กันชน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พื้นที่อนุรักษ์ เหมือนกับการขึ้นทะเบียนใน จ.พระนครศรีอยุธยา มันจะต้องมีการอนุรักษ์พื้นที่รอบๆ ไว้ ไม่ให้ใครเข้าไปขายหมูปิ้ง เพราะเขากลัวว่าเดี๋ยวจะเข้าไปทำลาย ปัญหาคือว่า พื้นที่ตรงนี้มันจะเข้ามาในฝั่งไทยหรือเปล่า ตรงนี้ที่รัฐบาลจะต้องอธิบายและชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ

*** เรื่องราวที่มันบานปลายขึ้นมาอย่างที่เกิดขึ้นในปัจุบัน เพราะว่ามีการปลุกระดมในม็อบ หรือแม้กระทั่งการอภิปรายในสภา ตรงนี้มองว่าอย่างไร

ผมคิดว่าตัวคำพิพากษาของศาลโลกมันมีผลไปแล้วว่า ตัวปราสาทนั้นตั้งอยู่ในดินแดนหรืออาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2505 และเรามีมติ ครม. ออกมาใช้หัวเรื่องว่า ใช้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร แต่ทีนี้มันอาจจะมีปัญหาว่า ขอบเขตของคำพิพากษามันตีความมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะตัวแนวรั้ว แต่ทีนี้รั้วมันไม่มีอยู่แล้ว มันต้องไปดูแผนที่ว่าเป็นอย่างไร

*** มีนักวิชาการบางคนออกมาบอกว่า ทำไมเราไม่เอาเอกสารหลักฐานใหม่ขึ้นไปสู้บนศาลโลก แล้วเอาคืนมาทั้งหมดเลย ทั้งพระตะบอง เขมราฐ ตรงนี้จะสามารถทำได้ไหม

มีนักวิชาการที่บอกว่าเพิ่งค้นพบหลักฐานใหม่ ที่จะไปหักล้างให้คำพิพากษานั้นเป็นโมฆะ ทีนี้ผมต้องอธิบายนิดหนึ่งว่า ในตัวธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60 เขาบอกว่าคำพิพากษานั้นเป็นที่สุดแล้ว ไม่มีการอุทธรณ์ และขึ้นได้ศาลเดียว เหมือนกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ คือจบในศาลเดียว ไม่มีอุทธรณ์ฎีกา ทีนี้ปัญหาคือว่า มันมีอีก มาตรา 61 บอกว่า เปิดโอกาสให้พิจารณาคดีใหม่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ ค้นพบข้อเท็จจริงใหม่

ซึ่งค้นพบข้อเท็จจริงใหม่นั้นมันจะต้องมีผลต่อคดีด้วยนะ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลของคดี แล้วต้องมีการเสนอให้ศาลโลกพิจารณาภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ หรือภายใน 10 ปีจากวันที่พิพากษา ซึ่งระยะเวลาตรงนี้มันเลยมาแล้ว คือสิทธิในการที่จะขอพิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 61 พอผ่าน 10 ปีไปแล้วมันสิ้นสุดลง

*** ปัญหาตอนนี้คือเรื่องดินแดนที่มีข้อพิพาทกันอยู่ เพราะว่าศาลโลกยังไม่ได้ตัดสิน

ประเด็นนี้ผมคงจะตอบแทนรัฐบาลยาก เพราะว่าในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งผมไม่อยากเรียกว่าพื้นที่ทับซ้อน เพราะว่าอำนาจอธิปไตยมันจะทับซ้อนไม่ได้ แต่ผมจะเรียกว่าพื้นที่ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์แล้วกัน อันนี้มันเกิดมาจากที่ประเทศไทยถือสนธิสัญญา ปี 2504 และปี 2507 ว่าให้ถือสันปันน้ำในการแบ่งเขตแดน ซึ่งถ้ายึดตามสันปันน้ำพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร จะเป็นของเรา แต่ทางกัมพูชาไปยึดถือแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำ ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน

*** เรื่องการลงนามในแถลงการณ์ร่วมกรณีรัฐมนตรีคนอื่นๆ หากมีประเด็นในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก จะไม่มีใครกล้าไปลงนาม เพราะกลัว มาตรา 190 ตรงนี้เห็นว่าอย่างไร

มาตรา 190 นั้น ตอนที่เปิดให้ประชาชนลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เหตุผลหนึ่งที่ผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ มาตรา 190 ย้อนกลับไปดูได้เลยที่ผมเขียนวิจารณ์ไว้ในบทความ และผมยังทำนายด้วยว่า มาตรานี้ต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการไปทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และมาตรานี้ออกฤทธิ์ เพราะว่าทำไมครับ เพราะว่ามาตรานี้ไปกำหนด ไปควบคุมอำนาจในการทำสนธิสัญญา

ซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร มาตรานี้ลองไปดูมันจะอยู่ในหมวดของคณะรัฐมนตรี แสดงว่าอำนาจในการทำหนังสือสัญญามันอยู่ในฝ่ายบริหาร ฝ่านนิติบัญญัติ หรือสภา มันเข้ามามีส่วนร่วมในบางกรณี คือ ให้ความเห็นชอบกับหนังสือสัญญาบางประเภท ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรก เป็นอย่างนี้มาโดยตลอด แต่พอมาถึงรัฐธรรมนูญฉบับนี้ปั๊บคุมหนัก คุมทั้งก่อนทำ ระหว่างทำ หลังทำ และไปเพิ่มประเภทของหนังสือสัญญาว่าสภาจะต้องให้ความเห็นชอบ ซึ่งในตัววินิจฉัยบอกไว้ว่า 5 ประเภท แต่พอไปดูดีๆ แต่ละคนบอกไม่เหมือนกัน บางท่านบอก 8 บางท่านบอก 13 เพราะว่าที่เขียนไว้นั้นมันกว้างมาก และมันมีคำว่า “และ” “และหรือ” “หรือ” มันเลยไม่มีข้อยุติว่ามีหนังสืออะไรบ้างที่ต้องผ่านรัฐสภาก่อน

กรณีนี้มันมีขั้นตอนและรายละเอียดหยุมหยิมเยอะ ถ้ารัฐบาลลืม ลืมทำประชามติ ลืมชี้แจงต่อสภา ลืมเสนอกรอบการเจรจา ลืมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามจะอาศัยช่องตรงนี้มาบอกว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ แล้วยื่นถอดถอน มาตรา 157 ตามมาอีก ตรงนี้ผมคิดว่าผู้ร่างอาจจะมีประสบการณ์ไม่ดีต่อนักการเมือง ในการไปทำข้อตกลงต่างๆ ก็เลยเขียนคุมไว้เข้มเลย แต่ไม่ได้เขียนให้กระชับ แต่ไปเขียนคลุมไว้ทั้งหมด มันก็เลยเกิดปัญหาอย่างที่เป็นอยู่

*** ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ อยากจะถามว่า คุณนพดลทำถูกหรือทำไม่ถูกเกี่ยวกับกรณีนี้

กรณีการทำแถลงการณ์นั้น ถ้าตามที่ท่านชี้แจงว่าแผนที่ที่เขมรทำมาตอนแรกมันพ่วงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเข้าไปด้วย ถ้าตอนนั้นเราไม่คัดค้านจะทำให้เกิดปัญหา เพราะว่ามันอาจจะรวมพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรไปเป็นส่วนหนึ่งด้วย แต่ทีนี้ทางรัฐบาลไทยไปต่อรองว่า เอาพื้นที่ 4.6 ออก แล้วให้ขึ้นเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น

ซึ่งเท่าที่ดูมันอาจจะน้อยกว่าเมื่อปี 2505 แต่ข้อเท็จจริงอันนี้เป็นเรื่องรายละเอียดนะ ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดายว่าจริงๆ แล้วสังคมไทยเราน่าจะฟังคำชี้แจงของรัฐบาลก่อน แต่ถึงอย่างไรในช่วงนั้นตัวรัฐบาลเองอาจถูกสังคมมองว่ามีภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยดี มันทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีประเด็นทางการเมืองเข้ามา ส่วนเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยอาจจะรู้สึกกลัว เลยไม่มีใครกล้าออกมาพูด ออกมาชี้แจง ออกมาจัดเวทีสัมมนาชี้แจงให้ประชาชนรู้สึกว่าความจริงมันคืออะไร